Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13268624
ทั้งหมด:13579911
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2015 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมโว! ก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน คืบหน้าเร็วกว่าแผน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 กุมภาพันธ์ 2558 18:24 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐาน ภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน ว่า ขณะนี้โครงการก่อสร้างเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด การทำงานรวดเร็วกว่าแผนที่วางไว้ โดยจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้งระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้ ก่อนที่จีนจะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามาสำรวจเส้นทางในประเทศไทยปลายเดือนกุมภาพันธ์ จากเดิมที่วางแผนไว้ว่าจะเริ่มสำรวจได้ในเดือนมีนาคม 2558
นอกจากนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยังกล่าวถึงการดำเนินความร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่นถึงการลงนามบันทึกแสดงเจตจำนง หรือ MOI ว่าด้วยความร่วมมือในการพัฒนาระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมไทยกับประเทศญี่ปุ่น ว่า ในวันที่ 9 กุมภาพันธ์นี้ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะแถลงความชัดเจนอีกครั้งระหว่างการเดินทางเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ กระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอ 3 เส้นทางให้ญี่ปุ่นเลือก คือ เส้นทางแม่สอด จังหวัดตาก-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กิโลเมตร เส้นทางพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จังหวัดระยอง ระยะทาง 339 กิโลเมตร และเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กิโลเมตร

//-------------------------

ทูตพิเศษ “สี จิ้นผิง” บินถก “บิ๊กตู่-บิ๊กป้อม” ย้ำจีนพร้อมพัฒนาเส้นทางรถไฟ
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
5 กุมภาพันธ์ 2558 15:49 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2558 15:54 น.)

ทูตพิเศษประธานาธิบดีจีน พบ “ประยุทธ์-ประวิตร” กระชับสัมพันธ์ ย้ำจีนพร้อมเดินหน้าพัฒนาเส้นทางรถไฟกับไทย ร่วมมือด้านเศรษฐกิจและความมั่นคง

ร.อ.นพ.ยงยุทธ มัยลาภ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ภายหลังนายเมิ่ง เจี้ยนจู้ ทูตพิเศษประธานาธิบดีสี จิ้นผิง สมาชิกกรมการเมือง และหัวหน้าคณะกรรมาธิการการเมืองและกฎหมาย คณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์จีน เข้าพบ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหมว่า เป็นการกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านความมั่นคง และพูดคุยถึงความร่วมมือด้านต่างๆ ในวาระครบรอบความสัมพันธ์ 40 ปี ไทย-จีน รวมถึงความสัมพันธ์ในระดับราชวงศ์ไทยที่มีมาอย่างต่อเนื่อง

โดยนายสี จิ้นผิง ได้ฝากความประทับใจในครั้งที่ พล.อ.ประยุทธ์เดินทางไปเยือนจีน ซึ่งการพูดคุยบรรลุผลสำเร็จในหลายเรื่อง และจีนพร้อมเดินหน้าพัฒนาเส้นทางรถไฟกับไทย ร่วมถึงความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ พลังงาน การค้า การศึกษา รวมถึงการซื้อสินค้าเกษตร ทั้งข้าว ยางพารา จากประเทศไทย ขณะที่ พล.อ.ประยุทธ์ได้ฝากความปรารถนาดีไปยังนายสี จิ้นผิง เช่นกัน

ผู้สื่อข่าวถามว่าได้มีการพูดคุยถึงสถานการณ์ทางการเมืองในประเทศไทยหรือไม่ โฆษกประจำสำนักนายกฯ กล่าวว่า ไม่มี ทางจีนเข้าใจในสถานการณ์ และชื่นชมการทำงานของรัฐบาลไทยที่ดำเนินการตามโรดแมป

//-------------

ดีเดย์รถไฟไทย-จีน ดึงอิตาเลียนฮุบเริ่มสร้างปี58
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 12:23:08 น.


รัฐบาล จีนเสนอแผนลงทุนสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นทาง "หนองคาย-มาบตาพุด" ยกแพ็กเกจ ชงเงินกู้ "ไชน่าเอ็กซิมแบงก์" ดอกเบี้ย 3% ยาว 30-40 ปี พ่วงรับเหมาจีน 3 บริษัท "ไชน่าเรลเวย์-ไชน่าพาวเวอร์-ซีเคซีซี" นำทีมลุยก่อสร้าง ซุ่มเจรจา "อิตาเลียนไทย-เอ.เอส." ดึงเข้าร่วม "เปรมชัย" มั่นใจได้งานเกินครึ่ง "บิ๊กจิน-บิ๊กตู่" ลั่นคิกออฟ ธ.ค. 58 เป็นของขวัญคนไทย ดีเดย์ ก.พ. เตรียม 3 เส้นหารือญี่ปุ่น ด้าน "หม่อมอุ๋ย" ติงใช้เงินกู้ ตปท.หวั่นเสี่ยง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า อีก 10 เดือนจากนี้ไป หรือประมาณเดือน ต.ค. 2558 แผนลงทุนก่อสร้างรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 734 กม. และเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯ 133 กม. ซึ่งรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนลงนามความร่วมมือ (MOU) แบบรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) จะได้ข้อสรุปเป็นทางการ จากนั้นวันที่ 1 ธ.ค. 2558 จะเดินหน้าก่อสร้าง



เบื้องต้นประเมินงบฯลงทุนไว้ 392,570 ล้านบาท อาจเพิ่มหรือลดลงกว่านี้บ้าง แบ่งการก่อสร้างเป็น 4 ช่วง ได้แก่ 1.หนองคาย-โคราช 2.โคราช-แก่งคอย 3.แก่งคอย-ระยอง และ 4.แก่งคอย-กรุงเทพฯ เพื่อให้รับกับการเวนคืนที่ดินซึ่งอาจจะมีอุปสรรค แต่จะเร่งรัดให้เร็วขึ้น เพราะคณะทำงานที่ตั้งขึ้นจากหลายภาคส่วน เช่น ตัวแทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ว่าราชการจังหวัดที่โครงการตัดผ่าน นักวิชาการ เจ้าหน้าที่ด้านเทคนิค จะร่วมกันทำงานและชี้แจงทำความเข้าใจกับประชาชนที่ได้รับผลกระทบ

กู้เงินจนพ่วงขายข้าว-ยางใช้หนี้

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ส่วนรูปแบบการลงทุนยังไม่สรุป แต่ที่หารือกันจีนจะเป็นผู้รับผิดชอบการก่อสร้างและหาเงินลงทุนให้ ส่วนที่เหลือจะทำงานร่วมกันทั้งการออกแบบ สำรวจเส้นทาง ประมาณราคา จัดหาระบบเทคนิค โดยใช้ของจีนเป็นหลัก ขณะที่การบริหารโครงการจะเป็นของรัฐบาลไทย

"ต้องกู้เงินจีนเป็นเงินสกุลหยวน ซึ่งธนาคารของจีนเสนอให้พิจารณาหลายออปชั่น เช่น แบงก์แห่งหนึ่งเสนอกู้แสนล้านบาท อัตราดอกเบี้ย 3% ระยะเวลาชำระหนี้ 20 ปี อีกรายเสนอให้กู้ 2 แสนล้านบาท ดอกเบี้ย 2.9% ระยะเวลาชำระหนี้ 15 ปี เป็นต้น มาดูว่าแบบไหนเหมาะสมกับไทยจากนั้นจะต่อรอง เพราะดอกเบี้ยกู้ในประเทศปัจจุบันอยู่ที่ 5-5.5% เมื่อจีนคิดดอกเบี้ย 3% จึงน่าสนใจ อย่างไรก็ตามคงต้องต่อรองขยายเวลาชำระหนี้คืน เพราะ 10 ปี หรือ 15 ปีอาจไม่พอ"

ส่วนเงินลงทุนอาจได้มาจากการขายข้าวและยางพาราที่เซ็น MOU ไปพร้อมกัน แต่ไม่ใช่การบาร์เตอร์เทรด เพราะเซ็นคนละฉบับ และเป็นเงินคนละส่วนกัน ทั้งนี้ รถไฟสายนี้เป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ของ 2 ประเทศที่จะเชื่อมโยงกัน เพื่อขนส่งสินค้าจากจีน ผ่านลาว มาไทย ที่ท่าเรือแหลมฉบัง

ไชน่าเอ็กซิมฯให้กู้ 40 ปี ดบ. 3%

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ความคืบหน้ารถไฟไทย-จีนราง 1.435 เมตร เส้นทางอีสาน ล่าสุดรัฐบาลจีนเสนอใช้รูปแบบเทิร์นคีย์ โดยจีนจะหาเงินลงทุน ออกแบบรายละเอียด และก่อสร้าง โดยให้ไชน่าเอ็กซิมแบงก์เป็นผู้ปล่อยกู้อัตราดอกเบี้ย 3% ระยะเวลา 30-40 ปี คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ใช้เงินลงทุนปีละกว่า 1 แสนล้านบาท

ด้านการก่อสร้างจะให้บริษัทผู้รับเหมาไทยเป็นผู้ก่อสร้าง โดยร่วมกับผู้รับเหมาจีนที่ถูกคัดเลือกไว้เรียบร้อยแล้ว เป็นบริษัทที่รัฐบาลจีนเป็นผู้ถือหุ้น เนื่องจากจีนจะไม่มีแรงงานก่อสร้าง มีแต่ผู้เชี่ยวชาญ ต้องใช้แรงงานจากไทย และเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่รัฐบาลไทยระบุไว้ว่าต้องใช้ผู้รับเหมาไทย

"ขณะนี้กำลังทำแบบรายละเอียดโครงการให้ได้ราคาก่อสร้างที่เหมาะสม เดิมเคยประมาณการลงทุนไว้ 392,570 ล้านบาท คาดว่าแบบรายละเอียดจะรวดเร็ว เพราะแบบเดิมมีอยู่แล้ว จากผลศึกษาระบบรถไฟความเร็วสูง แต่มาปรับใหม่ให้มีความเร็ว 180 กม./ชม. ซึ่งรถไฟสายนี้รัฐบาลให้ความสำคัญมาก และพยายามผลักดันให้เกิดขึ้น"

3 ยักษ์รับเหมาจีนจีบ ITD

นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เปิดเผย"ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้รับการติดต่อจากผู้รับเหมาจีน 3 ราย ได้แก่ บริษัท ซีเคซีซี, บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป (ซีอาร์อีซี) และบริษัท ไชน่า พาวเวอร์ ให้ร่วมงานก่อสร้างรถไฟที่รัฐบาลไทยและจีนจะพัฒนาร่วมกัน จากการหารือร่วมกัน จีนมั่นใจว่าโครงการนี้จะเกิดขึ้นได้แน่ในรัฐบาลชุดนี้ เนื่องจากรัฐบาลจีนจัดเงินลงทุนไว้ให้แล้ว ดอกเบี้ย 3% ให้ผ่อนชำระ 30-40 ปี แค่รอการตอบรับจากรัฐบาลไทยว่าจะรับเงื่อนไขที่จีนเสนอหรือไม่

"จากที่ได้หารือกัน ผู้รับเหมาจีนจะลงทุนสร้างพร้อมกันทั้งเส้นให้แล้วเสร็จใน 3-4 ปี รัฐบาลจีนอยากจะให้โครงการเกิดเร็ว ๆ เพราะจะเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงที่นครเวียงจันทน์ประเทศลาว ซึ่งจีนสร้างลงมาจากคุนหมิง"

นายเปรมชัยกล่าวว่า สำหรับรถไฟสายนี้บริษัทมั่นใจจะได้งานก่อสร้างเกิน 50% ของเนื้องาน เนื่องจากบริษัทมีประสบการณ์ก่อสร้างทางรถไฟกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) มาร่วม 20 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่จึงอาจต้องใช้รับเหมาไทยหลายบริษัทร่วมก่อสร้าง ทราบว่านอกจากอิตาเลียนไทยฯแล้ว รับเหมาจีนได้ติดต่อ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอ็นจิเนียริ่ง (1964) ด้วย

บิ๊กตู่มอบเป็นของขวัญปี 58

ด้านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) กล่าวว่า การไปเยือนจีนครั้งที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการกระชับความสัมพันธ์กับจีนที่เป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจอันดับ 2 ของโลก และในปี 2558 จะเป็นปีที่ครบรอบ 40 ปีของการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-จีน พร้อมทั้งได้ยืนยืนว่ารัฐบาลจะเดินหน้าลงทุนโครงการแน่นอน เพื่อพัฒนาการคมนาคมขนส่งของประเทศให้ทันสมัยจะได้เชื่อมโยงกับประเทศอาเซียน เพราะไทยเป็นศูนย์กลางของภูมิภาค

ทั้งนี้คณะกรรมการร่วมของทั้ง 2 ฝ่ายจะเร่งหารือรายละเอียดโครงการตั้งแต่เดือน ม.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อทำความเข้าใจ หากกฎกติกาการค้า การร่วมลงทุนต่าง ๆ ให้เสร็จโดยเร็วเพื่อดำเนินการก่อสร้างเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับคนไทยในปี 2558

นอกจากนี้ยีงขอให้จีนสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมของภูมิภาค โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องของความพร้อมของไทยที่จะเป็นสถานที่ตั้งของศูนย์ควบคุมระบบรถไฟในภูมิภาค รวมทั้งตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับกิจการรถไฟ

ขณะที่ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ มองว่าไม่จำเป็นต้องใช้แหล่งเงินกู้ที่จีนจัดหาให้ก่อสร้างรถไฟสายนี้ เนื่องจากเป็นเงินตราต่างประเทศ มีความเสี่ยง นึกว่าถูกอาจจะกลายเป็นแพง จึงต้องพิจารณาให้ดี ซึ่งไทยมีทางเลือก เพราะขณะนี้ประเทศไทยมีเงินอยู่มากและดอกเบี้ยก็ถูก เงินไม่ใช่ประเด็น และการเซ็น MOU เป็นแค่การตกลงพัฒนาร่วมกัน

เปิดปูม 3 รับเหมาจีน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบผู้รับเหมาจีน 3 บริษัท พบว่า 1.บริษัท ไชน่า เรลเวย์ กรุ๊ป (CREC) ก่อตั้งเมื่อ 12 ก.ย. 2550 ด้วยทุนจดทะเบียน 1.28 หมื่นล้านหยวน ถือหุ้น 100% โดย CRECG (China Railway Engineering Corporation Group) รัฐวิสาหกิจจีน ทำธุรกิจการก่อสร้างแบบครบวงจร ทั้งโครงสร้างพื้นฐาน สำรวจ ออกแบบ และเป็นที่ปรึกษาโครงการ อีกทั้งผลิตชิ้นส่วนและอุปกรณ์ด้านวิศวกรรม รวมถึงนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ มีบริษัทลูก 46 แห่ง มีส่วนร่วมก่อสร้างเส้นทางรถไฟสายสำคัญในจีนทุกสาย ระยะทางมากกว่า 50,000 กม. คิดเป็น 2 ใน 3 ของระยะทางรถไฟที่เปิดใช้งานในจีนแผ่นดินใหญ่

2.บริษัท ไชน่า พาวเวอร์ อินเวสต์เมนต์คอร์ปอเรชั่น (CPI) เป็นองค์กรลงทุนในธุรกิจพลังงาน ถ่านหิน อะลูมิเนียม ทางรถไฟและท่าเรือ ก่อตั้งเมื่อ 29 ธ.ค. 2545 ทุนจดทะเบียน 1.2 หมื่นล้านหยวน เป็น 1 ใน 3 บริษัทในจีนที่ได้รับอนุญาตให้พัฒนา สร้างและดำเนินการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

ส่วน "ไชน่าเอ็กซิมแบงก์" หรือธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน เป็นธนาคารของรัฐ หลังจีนเปิดยุทธศาสตร์พัฒนาเศรษฐกิจเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเล เริ่มปล่อยเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ เพื่อสนับสนุนโครงการเชื่อมโยงระหว่างกันในอาเซียน (ASEAN Connectivity)และยังสนับสนุนเส้นทางรถไฟสายทรานส์เอเชีย (Trans-Asian Railway) และมีส่วนร่วมวางแผนและจัดสรรเงินทุน

สำหรับเส้นทางรถไฟลาว-จีน เส้นทางรถไฟไทย-จีน เส้นทางรถไฟกัมพูชา-จีน และเส้นทางรถไฟเวียดนาม-จีน

ลุ้นญี่ปุ่นเคาะ 3 เส้นทาง

ด้าน พล.อ.อ.ประจินกล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากเส้นทางดังกล่าวแล้ว รัฐบาลมีรถไฟอีก 3 เส้นทาง อยู่ระหว่างรอเจรจาร่วมกับประเทศญี่ปุ่น ได้แก่

1.สายแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร เชื่อมการค้าชายแดนและรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร
2.สายบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อมโยงการขนส่งด้านใต้ จากท่าเรือแหลมฉบัง-ท่าเรือทวาย ที่ญี่ปุ่นจะมาร่วมลงทุนด้วย และ
3.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ คาดว่าจะหารือร่วมกันปลายเดือน ม.ค.-ก.พ.นี้ หลังญี่ปุ่นตั้งรัฐบาลเสร็จเรียบร้อย

"จีนได้สายอีสานแล้ว ก็คาดหวังว่าญี่ปุ่นจะสนใจ 3 เส้นนี้ ส่วนจะพัฒนาร่วมกันแบบจีทูจีหรือไม่ ยังต้องให้ผู้ใหญ่หารือกันก่อน กระทรวงคมนาคมเป็นผู้เตรียมความพร้อมให้"

เปิดความพร้อมแต่ละโครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ความพร้อมแต่ละโครงการ
1. เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ต้องออกแบบใหม่คือช่วงหนองคาย-นครราชสีมา และช่วงศรีราชา-แหลมฉบัง ส่วนที่เหลือจะนำแบบรายละเอียดเดิมมาทบทวนใหม่
2. สายแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น-มุกดาหาร 658 กม. การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ศึกษาช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม เสร็จแล้ว 358 กม. แต่เป็นทางคู่ 1เมตร ลงทุน 42,106 ล้านบาท ส่วนช่วงแม่สอด-พิษณุโลก-เพชรบูรณ์-ขอนแก่น ยังไม่มีการศึกษา แต่ ร.ฟ.ท.จ้างที่ปรึกษาศึกษาช่วงแม่สอด-กำแพงเพชร-นครสวรรค์ 240 กม.แล้ว
3. สายบ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ระยอง ร.ฟ.ท.ศึกษากรุงเทพฯ-ระยองเสร็จแล้ว เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. 193 กม.ลงทุน 152,000 ล้านบาท ช่วงบ้านพุน้ำร้อน-กรุงเทพฯ 180 กม. ไม่ได้ศึกษา

4. ส่วนสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ศึกษาเสร็จแล้ว ทั้งโครงการเป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กม./ชม. 749 กม. เงินลงทุน 445,304 ล้านบาท ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ยื่นรายละเอียดการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) แล้ว

ก่อนหน้านี้ ทั้งจีนและญี่ปุ่นได้ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน 3-4 โครงการนี้แล้ว โดยจีนศึกษากรุงเทพฯ-หนองคาย และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ญี่ปุ่นศึกษากรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จึงเป็นไปได้สูงที่ใครออกแบบเส้นทางไหนแล้ว ก็น่าจะได้เป็นผู้ลงทุนโครงการนั้น ๆ

//-----------------
จีนเสนอเงินกู้ 4%สร้างรถไฟทางคู่ ไทยอ้อนขอดอกถูกๆ
เดลินิวส์
วันศุกร์ 6 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 05:04 น.
จีน เสนอไทย ปล่อยกู้ลงทุนสร้างรถไฟดอกเบี้ย 2-4% ปลอดหนี้ 4 ปี คืนทุน 20 ปี ด้านไทยยังไม่พอใจดอกเบี้ย ชี้หากไม่ลดจะพิจารณาแหล่งเงินทุนอื่น


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯว่า เบื้องต้นทางรัฐบาลจีนได้เสนอรูปแบบการลงทุนในลักษณะของการกู้ร่วมผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน ในอัตราดอกเบี้ย 2-4% ระยะเวลาปลอดหนี้ 4 ปีแรก และคืนทุนภายใน 20 ปี พร้อมกับเสนอให้ใช้เทคโนโลยีของประเทศจีน โดยมีจีนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา และบริหารการเดินรถ

“เบื้องต้นทางไทยได้ยืนยันไปแล้วว่าเรื่องของการเดินรถไทยจะตั้งบริษัทขึ้นมาดำเนินการเอง ส่วนรูปแบบการลงทุนจะต้องพิจารณาอีกครั้ง เพราะที่ประชุมมองว่าดอกเบี้ยที่จีนเสนอมานั้นสูงเกินไป หลังจากก่อนหน้านี้ไทยเคยกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์ ยังจ่ายดอกเบี้ยเพียง 1.5% เท่านั้น”

ดังนั้นไทยจึงได้เสนอให้ฝ่ายจีนลดดอกเบี้ยลง ให้เป็นอัตราดอกเบี้ยพิเศษมากกว่านี้ และเพิ่มระยะเวลาปลอดหนี้ให้มากกว่า ซึ่งทางจีนบอกว่าหากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่านี้ต้องนำกลับไปให้รัฐบาลจีนพิจารณาก่อนว่าจะลดลงได้อีกหรือไม่ แต่หากจีนไม่สามารถเสนออัตราดอกเบี้ยในระดับที่ไทยพอใจ ก็อาจพิจารณาแหล่งเงินกู้แห่งอื่นที่มีต้นทุนถูกกว่าแทน นอกจากนี้ไทยจำเป็นต้องหารือเพิ่มเติมด้วยว่า การกู้จะทำในรูปแบบเงินหยวนหรือสกุลเงินใด โดยพิจารณาจากเรื่องดอกเบี้ย ระยะปลอดหนี้ การคืนทุน และการคุ้มทุนที่เกิดประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายเป็นสำคัญ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2015 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

จีนเสนอจัดการรถไฟเบ็ดเสร็จ-ไทยขอลดดอกเบี้ย
ธุรกิจ
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2558 13:00

“อาคม” เผยจีนเสนอจัดการรถไฟเบ็ดเสร็จ ไทยปัดข้อเสนอลั่นเดินรถเอง พร้อมขอลดอัตราดอกเบี้ย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนภายใต้บันทึกความเข้าใจ ไทย-จีน เรื่องโครงการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐาน 1.435 เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ว่า เบื้องต้นทางรัฐบาลจีนได้เสนอรูปแบบการลงทุน ในลักษณะของการกู้ร่วมกัน ผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน ในอัตราดอกเบี้ย 2-4% ระยะเวลาปลอดหนี้ 4 ปี และคืนทุนภายใน 20 ปี

ขณะเดียวกันจีนยังได้เสนอให้ใช้เทคโนโลยีของประเทศจีน ให้จีนเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้างงานโยธา และบริหารการเดินรถ ซึ่งเบื้องต้นทางไทยได้ยืนยันไปแล้วว่าเรื่องของการเดินรถ ไทยจะเป็นผู้บริหารจัดการเอง เพราะสามารถที่จะตั้งบริษัทมาร่วมบริหารจัดการเดินรถได้

“รูปแบบการลงทุนจะต้องมีการพิจารณาอีกครั้ง เพราะที่ประชุมมองว่าอัตราดอกเบี้ยที่จีนกำหนดสูงเกินไป เนื่องจากก่อนหน้านี้ไทยเคยกู้เงินจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)เพื่อก่อสร้างรถไฟฟ้า เช่น รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ ยังจ่ายดอกเบี้ยเพียง 1.5% เท่านั้น ดังนั้นจึงได้เสนอให้ฝ่ายจีนลดอัตราดอกเบี้ยลงให้เป็นอัตราดอกเบี้ยพิเศษมากกว่านี้ และเพิ่มระยะเวลาปลอดหนี้ให้มากขึ้น ซึ่งทางจีนบอกว่าหากเป็นอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่านี้ ต้องนำกลับไปให้รัฐบาลจีนพิจารณาก่อนว่า จะสามารถลดลงได้อีกเท่าไหร่ แต่หากจีนลดอัตราดอกเบี้ยลงแล้วยังไม่พอใจ ก็อาจจะพิจารณาแหล่งเงินกู้แห่งอื่นที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ถูกกว่า แต่จะต้องพิจารณาอีกทีว่าจะเป็นการกู้ในสกุลเงินหยวนหรือสกุลเงินใด โดยจะต้องพิจารณาเรื่องอัตราดอกเบี้ย ระยะปลอดหนี้ การคืนทุน และการคุ้มทุนที่จะเกิดประโยชน์กับทั้งสองฝ่าย” นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า สำหรับเรื่องของการใช้วัสดุอุปกรณ์หรือวัตถุดิบชิ้นส่วนต่างๆนั้น จะต้องหารือร่วมกันก่อนว่าเงื่อนไขในการใช้ชิ้นส่วน อุปกรณ์ประกอบรถไฟจะเป็นอย่างไร เบื้องต้นทางจีนเสนอที่จะเข้ามาลงทุนก่อสร้างโรงงานผลิตและประกอบชิ้นส่วนรถไฟในประเทศไทย โดยอาจจะใช้พื้นที่โรงงานที่มีอยู่ในไทยเพื่อดำเนินการ

อย่างไรก็ตามรูปแบบการลงทุนรายละเอียดขั้นตอนต่างๆ คาดว่าจะสามารถดำเนินการเจรจาในรายละเอียดและได้ข้อสรุปในการประชุมร่วมกับจีนครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 11-12 ก.พ. 2558 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน แต่ยืนยันว่าการดำเนินงานในครั้งนี้จะเป็นรูปแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล(จีทูจี) ตามแผนงานจะแบ่งก่อสร้างเป็น 4 ช่วง คือ
ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร
ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร จะก่อสร้างได้เดือนกันยายนหรือต้นเดือนต.ค. 2558
ส่วนช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และ
ช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนธ.ค.2558 หรือต้นปี 2559

//-------------------

"ประจิน"เล็งกู้เงินในประเทศสร้างรถไฟไทย-จีน
ข่าวค่ำ ตรงประเด็น
Now TV 26
วันที่ 06 กุมภาพันธ์ 2558

ช่วงบ่ายวันนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม รวค.เตรียมการสำหรับเข้าร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่าง ไทย - จน ครั้งที่ 2 ก่อนที่ พล.อ.อ.ประจิน จะเดินทางไปหารือรอบสุดท้ายที่จีนในวันที่ 11-13 ก.พ.2557

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า การเดินทางไปประชุมครั้งนี้จะได้ข้อสรุปด้านการเงินและสัดส่วนการลงทุนรถไฟรางคู่มาตรฐานของไทยและจีน และคาดว่าปลายเดือน ก.พ.ถึงต้น มี.ค.นี้ จะเริ่มออกแบบละสำรวจพื้นที่ก่อสร้างได้ รวมทั้งจะเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อสอบถามคณะกรรมการกฤษฎีกาว่าการกู้เงินหรือการลงนามที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้จะต้องเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) หรือไม่
ทั้งนี้ จีนเสนออัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 2-4 % ระยะปลอดหนี้ 4 ปี ถือว่าอัตราสูงเมื่อเทียบกับการกู้เงินจากญี่ปุ่นเพื่อก่อสร้างแอร์พอร์ตลิงค์ที่อยู่ระดับ 1%

ไทยต้องการอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่า 2 % แต่ถ้าเจรจาไม่ได้ก็จะกู้เงินในประเทศแทน ซึ่งเชื่อว่าสภาพคล่องในประเทศมีเพียงพอที่รัฐจะกู้เงินเพื่อลงทุนโครงการนี้

ตามแผนงานจะแบ่งก่อสร้างเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 133 กิโลเมตร ช่วงที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 246.5 กิโลเมตร จะก่อสร้างได้เดือนกันยายนหรือต้นเดือนต.ค. 2558 ส่วนช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 138.5 กิโลเมตร และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กิโลเมตร จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนธ.ค.2558 หรือต้นปี 2559
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44605
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/02/2015 8:35 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กจิน"เตรียมแผนสำรองลงทุนรถไฟทางคู่ เล็งกู้เงินในปท.บางส่วน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กุมภาพันธ์ 2558 07:34 น.

"ประจิน"เตรียมแผนสำรอง กู้ในประเทศ และตั้งกองทุนอินฟราฟันด์ฯ ลงทุนก่อสร้างรถไฟไทย-จีน กรุงเทพ-แก่งคอย-หนองคาย หลังจีนเสนอเงื่อนไขเงินกู้ดอกเบี้ย2-4% เผยสูงเกินไป ชี้ หากได้ต่ำสุดที่ 2% จะลดสัดส่วนเงินกู้จีนลงไม่ใช้100%แน่นอน เตรียมเจรจา11-13 ก.พ.นี้ที่กรุงปักกิ่ง เพื่อหาข้อยุติที่ชัดเจนพร้อมแบ่งสัดส่วนงานก่อสร้างผู้รับเหมาไทยกับจีน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ว่า กรณีที่รัฐบาลจีนเสนอให้ใช้การลงทุนรูปแบบ EPC (Engineering Procurement Construction) โดยให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 2-4% ปลอดหนี้ 4 แรก ระยะเวลาชำระหนี้ 20 ปี โดยรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ จีนรับหน้าที่ออกแบบ จัดหาระบบ และก่อสร้าง ในโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร
เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดนั้น อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังเป็นอัตราที่สูงเกินไป หากเปรียบเทียบกับสถาบันการเงินอื่น ดังนั้นจะมีการหารือในประเด็นดังกล่าวกับจีนที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 11-13 กุมภาพันธ์นี้

ทั้งนี้ รัฐบาลไทยมีแผนสำรอง กรณีจีนยืนยันอัตราดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% โดยจะกู้เงินจากจีนบางส่วน ที่เหลือจะใช้เงินกู้ในประเทศมาดำเนินโครงการในช่วงแรก ซึ่งแม้อัตราดอกเบี้ยในประเทศจะอยู่ที่ 3-4% ซึ่งสูงกว่าจีน แต่ข้อดีคือ จะช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศได้ดีกว่า ซึ่งจากการประเมินขณะนี้มั่นใจว่าแหล่งเงินในประเทศมีพอแน่นอนสำหรับการลงทุนในช่วงแรกส่วนระยะต่อไปอาจใช้วิธีการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐาน

"ที่ผ่านมาพบว่าธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกแห่งประเทศจีน หรือ Exim Bank จะให้กู้ปกติในอัตราดอกเบี้ย 3% แต่หากเป็นอัตราดอกเบี้ยพิเศษก็จะต่ำกว่า 3% ดังนั้นต้องเจรจารายละเอียดกับจีนในวันที่ 11-13 ก.พ.นี้ก่อน ทางไทยอยากได้อัตราดอกเบี้ยพิเศษ แต่หากจีนให้ดอกเบี้ยต่ำสุดที่ 2% ทางออกคือ ใช้เงินกู้จากจีนในสัดส่วนที่น้อยลงเพราะเรามีแผนสำรองไว้แล้วว่าจะหาแหล่งเงินกู้ในประเทศและการออกกองทุนโครงสร้างพื้นฐานในระยะต่อไป” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

นอกจากนี้จะหารือในเรื่องสัดส่วนการก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐานของผู้รับเหมาไทยและผู้รับเหมาจีน ซึ่งหลักการเบื้องต้นจะแบ่งตามความเชี่ยวชาญของแต่ละประเทศ เช่น งานฐานราก จะเป็นผู้รับเหมาไทย งานรางและไม้หมอน รวมถึงระบบและตัวรถจะใช้ผู้รับเหมาจีนเป็นหลัก เมื่อตกลงกันได้แล้วก็จะดำเนินการลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันและหลังจากสรุปผลการหารือร่วมกันแล้ว จะนำเสนอรูปแบบการลงทุนให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) พิจารณา หลังจากนั้นจีนจะส่งคณะทำงานเข้ามาสำรวจออกแบบได้ โดยจะเริ่มตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์-ต้นเดือนมีนาคมนี้ เพื่อประเมินค่าก่อสร้างที่ชัดเจนอีกครั้ง ส่วนการก่อสร้างจะเริ่มได้ในเดือนตุลาคม 2558
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2015 4:41 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นโอเคเขตเศรษฐกิจพิเศษลุยตั้งโรงงาน-ฐานผลิต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 14:30:34 น.


"บิ๊กตู่"ควง ครม.บุกญี่ปุ่น โรดโชว์ดึงเอกชนลงทุน 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ตั้งโรงงาน-ฐานผลิตรับเออีซี สำรวจรถไฟ 3 เส้นทาง กู้สร้างถนน 138 กม. บูมท่าเรือทวาย มหาดไทยชี้จุดผังเมืองสระแก้วและตาก บิ๊กจินลุยจีนกู้เงินสร้างรถไฟ 4 แสนล้าน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 8-10 ก.พ.นี้ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี มีกำหนดการเยือนประเทศญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ จะหารือในประเด็นความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การพัฒนาระบบราง โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย การเพิ่มมูลค่าการส่งออกสินค้าไทยสู่ญี่ปุ่น

เซ็นลงนามร่วม 2 ฉบับ

จะมีลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ คือ บันทึกแสดงเจตจำนง MOI (Memorandum of Intent) พัฒนาระบบราง โดยระบุเส้นทางที่มีความสำคัญลำดับต้นที่สองฝ่ายจะร่วมมือพัฒนา และการยกระดับกลไกคณะทำงานระบบรางไทย-ญี่ปุ่น และบันทึกความร่วมมือMOC (Memorandum of Cooperation)ความร่วมมือส่งเสริมธุรกิจไทยในญี่ปุ่น, ญี่ปุ่นในไทย และธุรกิจระหว่างกันในประเทศที่สาม

กู้ญี่ปุ่นสร้างถนนรับทวาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า การหารือหลัก ๆ คือ การลงนาม MOI ศึกษาและสำรวจเส้นทางรถไฟราง 1.435 เมตร 3 เส้นทาง ได้แก่

1.แม่สอด-สุโขทัย-พิษณุโลก-บ้านไผ่-มุกดาหาร
2.บ้านพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง(และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ) และ
3.กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

ที่ญี่ปุ่นให้ความสนใจเป็นลำดับแรกคือเส้นทางบ้านพุน้ำ ร้อน-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ

อีกทั้งจะให้ญี่ปุ่นจัดเงินกู้ดอกเบี้ย พิเศษให้รัฐบาลเมียนมาร์สร้างถนนในโครงการทวายจากบ้านพุน้ำร้อน-ทวาย ระยะทาง 138 กม. วงเงิน 3,900 ล้านบาท เพราะเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องให้รัฐบาลเมียนมาร์เป็นผู้รับผิด ชอบการก่อสร้างแทน บมจ.อิตาเลียนไทยฯและจะลงนาม MOC กับญี่ปุ่นเพื่อร่วมกันพัฒนาทวายที่รัฐบาลญี่ปุ่นจะเป็นประเทศที่ 3 เข้ามาร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยและเมียนมาร์หลังเฟสแรกทางอิตาเลียนไทยฯพัฒนา พื้นที่นิคมอุตสาหกรรมแล้ว

ดึงญี่ปุ่นบูม 6 เขตเศรษฐกิจพิเศษ

สำหรับเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดน นายกรัฐมนตรีจะเชิญให้บริษัทเอกชนญี่ปุ่นเข้ามาตั้งโรงงานและฐานการผลิตใน เขตเศรษฐกิจ 6 แห่ง ได้แก่ ตาก มุกดาหาร ตราด สระแก้ว สงขลา และหนองคาย

"จะให้ญี่ปุ่นสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาลงทุนเขตเศรษฐกิจชายแดนทั้ง 6 แห่ง อยู่ที่ว่าเขาจะให้ความสนใจว่าแห่งไหน ซึ่งไทยจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานไว้รองรับ เช่น ไฟฟ้า ประปา ถนน ด่านศุลกากร ในปี"58-59 ลงทุน 1 หมื่นล้านบาท ที่ผ่านมาญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยทุกอย่าง ทั้งอาหารบริการ และชิ้นส่วนรถยนต์ แต่ถ้ามาลงทุนเพิ่มในเขตเศรษฐกิจที่จัดไว้ จะได้สิทธิประโยชน์เพิ่มขึ้น"

เปิดเงื่อนไขบีโอไอพลัส

สำหรับการพิจารณาสิทธิประโยชน์จะเป็นไปตามเกณฑ์ของคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ฉบับใหม่ที่ปรับแก้รายละเอียดแล้วโดยให้สิทธิพิเศษผู้ลงทุนในพื้นที่เพิ่ม ขึ้น เช่น ถ้าเป็นกิจการเป้าหมายและตั้งในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จะยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 8 ปี ลดหย่อนสำหรับกำไรสุทธิที่ได้จากการลงทุนในอัตรา 50% ของอัตราปกติ เป็นระยะเวลา 5 ปี เป็นต้น

ส่วนกิจการที่ไม่ได้รับการส่งเสริมจากบี โอไอ จะได้ลดหย่อนภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 20% เหลือ 10% เป็นเวลา 10 รอบบัญชี ด้านมาตรการการเงิน ให้เงินกู้ดอกเบี้ยผ่อนปรนรายละ 10-20 ล้านบาท ด้านสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากกรมศุลกากร กรณีตั้งเขตปลอดอากรและคลังสินค้า จะยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร วัตถุดิบที่นำมาผลิตเพื่อส่งออก ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)

ให้ต่างชาติเช่าที่ดิน 30-50 ปี

นาย อาคมกล่าวว่า พื้นที่จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมนั้น ยังไม่ชัดเจนจะอยู่บริเวณไหน แต่จะอยู่พื้นที่อำเภอที่ได้ประกาศไปก่อนหน้านี้ แต่ที่ดินมีราคาแพงมากจึงต้องใช้ที่ดินของราชการ เช่น ที่ราชพัสดุ ที่ดินกรมธนารักษ์ ที่ป่าเสื่อมโทรมมาดำเนินการแทน ที่จะทำได้ทันทีคือ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและระบบสาธารณูปโภค ส่วนที่จะพัฒนาพื้นที่นิคมอยู่ระหว่างพิจารณาจะให้เอกชนเช่าที่ดินของรัฐ หรือจะให้การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เป็นผู้จัดหาที่ดินมาบริหารจัดการต่อไป

หากเอกชนจะเช่าที่ดินของรัฐ กรณีที่เป็นคนต่างชาติ ตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรม พ.ศ. 2542 ให้สิทธิในการเช่าอสังหาฯเพื่อพาณิชยกรรมและอุตสาหกรรมเกินกว่า 30 ปี แต่ไม่เกิน50 ปี ครบกำหนดสัญญาต่อระยะเวลาการเช่าได้อีกไม่เกิน 50 ปี

เคาะที่ตั้ง-คลอดผังเมือง

พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เปิดเผยว่า กำลังเร่งรัดหาพื้นที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจ จะโฟกัสจุดไหนบ้างจากที่ได้ประกาศครอบคลุมไว้แล้วโดย 6 แห่งนำร่องคาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้ พร้อมกับการจัดวางผังเมืองที่จะชี้นำการพัฒนาแต่ละพื้นที่ เช่น พาณิชยกรรม อุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัย กรมโยธาธิการและผังเมืองจะดำเนินการเสร็จ ก.พ.-มี.ค.นี้

"จะพยายามใช้พื้นที่ส่วนราชการเป็นหลักในการพัฒนา เช่น พื้นที่ป่าเสื่อมโทรม ที่ราชพัสดุกรมธนารักษ์ เพราะทำให้ต้นทุนการพัฒนาของเอกชนที่จะมาลงทุนถูกลง แต่จะต้องสำรวจว่าพื้นที่ไหนที่ยังมีการบุกรุก จะเร่งรื้อย้ายออกไป"

พลเอกอนุพงษ์กล่าวอีกว่า จากการลงพื้นที่สำรวจ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว พื้นที่เหมาะที่จะอยู่ ต.ป่าไร่ และ ต.บ้านใหม่หนองไทร เนื่องจากเป็นพื้นที่ไม่ถูกน้ำท่วมและมีที่สาธารณประโยชน์ 2,145 ไร่ คาดว่าพื้นที่อรัญประเทศจะเกิดได้ก่อนพื้นที่อื่น ๆ

ปัจจุบันกรมโยธาฯร่วมกับการนิคมฯ ร่วมกันศึกษาพื้นที่เพื่อออกแบบวางผังพื้นที่เฉพาะเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ จำนวน 4 พื้นที่ ได้แก่ 1.ต.ป่าไร่ เนื้อที่ 500 ไร่ อยู่ในการดูแลของกรมป่าไม้ ห่างจากจุดผ่านแดนถาวรบ้านคลองลึกประมาณ 10 กม. 2.ต.ป่าไร่ เนื้อที่ 679 ไร่ เป็นที่ น.ส.ล. อยู่ในการดูแลของเทศบาลตำบลป่าไร่ 3.พื้นที่ ต.บ้านด่าน เนื้อที่ 1,000 ไร่ เป็นที่ ส.ป.ก. อยู่ในการดูแลของสำนักงานการปฏิรูปที่ดินฯ ห่างจากจุดผ่านแดนคลองลึก 12 กม. และ 4.บริเวณ ต.บ้านด่าน เนื้อที่ 1,000 ไร่ เป็นที่ของการรถไฟฯและเอกชน

ส่วนพื้นที่เขตเศรษฐกิจตาก พลเอกอนุพงษ์กล่าวว่า จะอยู่ที่อำเภอแม่สอด จะใช้ที่ป่าเสื่อมโทรมของกรมป่าไม้บริเวณ ต.แม่ปะและ ต.ท่าสายลวด

เร่งเจรจาจีนสร้างรถไฟ

ขณะที่ความคืบหน้ารูปแบบการลงทุนรถไฟไทย-จีนเส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา- แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ 873 กม. วงเงิน 4 แสนล้านบาท ที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 2 ที่ปักกิ่งวันที่ 11-13 ก.พ.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าเสนอการลงทุน 2 รูปแบบเจรจากับจีน คือ

รูปแบบที่ 1 ช่วงก่อสร้างรัฐบาลไทยรับผิดชอบการก่อสร้างโครงการรูปแบบ EPC+F+O คือ จีนจะสำรวจ ออกแบบ จัดหาระบบ ก่อสร้าง และให้เงินกู้ดอกเบี้ยพิเศษ โดยเสนอดอกเบี้ย 2-4% ปลอดหนี้ 4 ปี คืนทุน 20 ปี แต่จะเจรจาให้ข้อเสนอดีที่สุด โดยจะนำแหล่งเงินอื่นมาเปรียบเทียบด้วย เช่น องค์กรเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) ดอกเบี้ย 1.5%

"ส่วนการเดินรถจะให้จัดตั้งบริษัทร่วมไทย-จีน รูปแบบบริษัทรัฐวิสาหกิจ เพื่อบริการเดินรถตามสัดส่วนที่ตกลงกัน อาจจะเป็นไทย 51% และจีน 49%"

แหล่งข่าวกล่าวว่า รูปแบบที่ 2 จัดตั้ง SPV (นิติบุคคลเฉพาะกิจ) ไทย-จีน มาดำเนินการก่อสร้างและให้บริการเดินรถ แต่มีความเป็นไปได้ว่ารูปแบบที่ 1 จะมีความเป็นไปได้มากที่สุด เพราะต้องเร่งรัดการดำเนินการให้ทันการก่อสร้างเดือนกันยายนนี้ที่รัฐบาล ตั้งเป้าไว้ ช่วงแรกจากกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 09/02/2015 6:43 pm    Post subject: Reply with quote

"กรณ์" หนุนรถไฟความเร็วสูงจีน-หนองคาย
เนชั่นทันข่าว
8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา16:13 น.
'กรณ์' เฮ! ไทยกู้เงินจีนสร้างรถไฟความเร็วสูงสะดุด
โดย ไทยรัฐออนไลน์
8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 18:32

เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า "เราอยากเห็นการดำเนินการโดยเร็วในโครงการรถไฟเชื่อมกับจีนที่หนองคาย แต่ผมมองว่าเป็นข่าวดีที่มีการรายงานว่ามีการสะดุดในการเจรจาระหว่างไทยกับจีนต่อเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อลงทุนในรถไฟความเร็วสูงสะท้อนให้เห็นว่าข้าราชการกระทรวงการคลังยังทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของไทยเราได้ดี ไม่ได้ยอมเขาไปทุกเรื่อง ซึ่งปัญหาที่ทำให้สะดุดคืออัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอ และเงื่อนไขของจีนที่ต้องให้จีนรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของโครงการ รวมถึงการบริหารรถไฟด้วย ผมว่าทางจีนอาจสบายเกินไป รถไฟก็ได้ขาย งานก่อสร้างก็ได้ทำ เงินไม่ต้องลง แถมได้เก็บดอกเบี้ยจากเรา วันนี้ไทยเราควรเจรจาให้เป็นการร่วมลงทุนตามแนวบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) เดิมที่เราเคยเจรจาไว้กับจีน วิธีการคือไทยใช้เส้นทางรางเป็นทุน จีนลงเงิน และสองประเทศร่วมกันถือหุ้นในบริษัทที่มีสัมปทานเดินรถและบริหารโครงการ การกู้เงินเป็นการกู้โดยบริษัทร่วมทุนแทนที่จะเป็นการกู้โดยรัฐไทย

การกู้เงินมาลงทุนนั้นง่ายกว่าเพราะไม่ต้องเหนื่อยเจรจาเงื่อนไขอะไรมาก แต่ความเสี่ยงตกอยู่ที่เรา 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่ฝ่ายจีนได้ประโยชน์มหาศาลทั้งในแง่รายได้จากของที่ขายเรา และในทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมผ่านเราสู่อาเซียนได้ ซึ่งการเอาง่ายไว้ก่อนมักซ่อนภัยไว้ภายหลัง"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44605
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/02/2015 7:15 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าสร้างรถไฟทางคู่ไทย! จีนถอย คิดดอก2% ไทยดูแลงานโยธา-ให้จีนออกแบบและเดินรถ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 06:50:19 น.

ได้ข้อสรุปเบื้องต้นแล้วสำหรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ไทย โดยจีนจะเป็นผู้ออกแบบ ส่วนไทยจะรับผิดชอบเรื่องเวนคืนที่ดิน ส่วนอัตราดอกเบี้ยที่จีนให้ไทยกู้ตกลงที่ 2%

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงผลการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ เพื่อหารือโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ว่า ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันเกี่ยวกับรูปแบบความร่วมมือและรูปแบบการลงทุนเบื้องต้น 2 รูปแบบหลักๆ คือ การรับผิดชอบโครงการในเบื้องต้น จีนจะรับผิดชอบการออกแบบ ส่วนไทยจะรับผิดชอบการเวนคืนที่ดินในไทย และประเมินผลกระทบด้านสิ่งเเวดล้อม ส่วนการประเมินราคาก่อสร้างนั้นสองฝ่ายจะประเมินร่วมกัน ส่วนเรื่องรูปแบบการลงทุนนั้น รัฐบาลไทยจะเป็นเจ้าของโครงการรับผิดชอบงานโยธาส่วนใหญ่, การพัฒนาสถานีบริการ สถานีขนถ่ายสินค้า และสถานีชุมทางต่างๆ ส่วนฝ่ายจีนจะรับผิดชอบงานด้านการออกแบบและวางระบบเดินรถและอาณัติสัญญาณ รวมไปถึงงานโยธาที่ต้องใช้เทคโนโลยีพิเศษ เช่น การขุดเจาะอุโมงค์, การสร้างเส้นทางเลียบเชิงเขา เป็นต้น

สำหรับงานระบบเดินรถในระยะแรกจีนจะรับผิดชอบ เนื่องจากเทคโนโลยีระบบเดินรถเป็นของฝ่ายจีน โดยระหว่างนั้นไทยจะส่งเจ้าหน้าที่ไปฝึกอบรม จากนั้นฝ่ายจีนจะโอนงานเดินรถทั้งหมดให้ฝ่ายไทย เช่นเดียวกับศูนย์ซ่อมจีนจะรับผิดชอบในช่วงแรกก่อน เพื่อถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายไทย ก่อนโอนงานมาให้ไทยทั้งหมด นอกจากนี้ให้จีนเข้ามาตั้งโรงงานผลิตชิ้นส่วนและอะไหล่รถไฟฟ้าในไทยด้วย ซึ่งจะมีการหารือรายละเอียดหลังจากเดือนเมษายนนี้ ส่วนเรื่องอัตราดอกเบี้ยเงินกู้นั้นสรุปร่วมกันว่า จะอยู่ที่ 2% ส่วนจะกู้เท่าไหร่ต้องรอตกลงอีกรอบ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 17/02/2015 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"กรณ์" หนุนรถไฟความเร็วสูงจีน-หนองคาย
เนชั่นทันข่าว
8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา16:13 น.
'กรณ์' เฮ! ไทยกู้เงินจีนสร้างรถไฟความเร็วสูงสะดุด
โดย ไทยรัฐออนไลน์
8 กุมภาพันธ์ 2558 เวลา 18:32

เมื่อวันที่ 8 ก.พ.2558 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายกรณ์ จาติกวณิช รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า "เราอยากเห็นการดำเนินการโดยเร็วในโครงการรถไฟเชื่อมกับจีนที่หนองคาย แต่ผมมองว่าเป็นข่าวดีที่มีการรายงานว่ามีการสะดุดในการเจรจาระหว่างไทยกับจีนต่อเงื่อนไขการกู้เงินเพื่อลงทุนในรถไฟความเร็วสูงสะท้อนให้เห็นว่าข้าราชการกระทรวงการคลังยังทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของไทยเราได้ดี ไม่ได้ยอมเขาไปทุกเรื่อง ซึ่งปัญหาที่ทำให้สะดุดคืออัตราดอกเบี้ยที่จีนเสนอ และเงื่อนไขของจีนที่ต้องให้จีนรับผิดชอบในทุกขั้นตอนของโครงการ รวมถึงการบริหารรถไฟด้วย ผมว่าทางจีนอาจสบายเกินไป รถไฟก็ได้ขาย งานก่อสร้างก็ได้ทำ เงินไม่ต้องลง แถมได้เก็บดอกเบี้ยจากเรา วันนี้ไทยเราควรเจรจาให้เป็นการร่วมลงทุนตามแนวบันทึกความเข้าใจ(เอ็มโอยู) เดิมที่เราเคยเจรจาไว้กับจีน วิธีการคือไทยใช้เส้นทางรางเป็นทุน จีนลงเงิน และสองประเทศร่วมกันถือหุ้นในบริษัทที่มีสัมปทานเดินรถและบริหารโครงการ การกู้เงินเป็นการกู้โดยบริษัทร่วมทุนแทนที่จะเป็นการกู้โดยรัฐไทย

การกู้เงินมาลงทุนนั้นง่ายกว่าเพราะไม่ต้องเหนื่อยเจรจาเงื่อนไขอะไรมาก แต่ความเสี่ยงตกอยู่ที่เรา 100 เปอร์เซ็นต์ ทั้งๆที่ฝ่ายจีนได้ประโยชน์มหาศาลทั้งในแง่รายได้จากของที่ขายเรา และในทางยุทธศาสตร์ที่สามารถเชื่อมผ่านเราสู่อาเซียนได้ ซึ่งการเอาง่ายไว้ก่อนมักซ่อนภัยไว้ภายหลัง"


ผมเห็นด้วยกับคุณกรณ์นะครับ งานนี้ขืนยังเป็นแบบนี้ไม่ต่างอะไรกับคุณซื้อรถค่ายที่มีลิซซิ่งปล่อยกู้ให้ด้วย ที่แย้กว่าคือ เค้าจัดสเป็คได้ตามใจเจ๊เค้า กำไรก็ได้เยอะ แถมได้ลูกหนี้อีก

ประเทศไทยจำเป็นต้องมีรางมาตรฐานเหรอ? ถ้ามีรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง ถามว่าคุณอยู่เชียงใหม่ คุณอยู่หาดใหญ่ ค่าเครื่อง 1,200-2000 บาท ต่อเที่ยว รถไฟนอนปรับอากาศปาเข้าไป 700-800 บาท ถ้าเป็นรถไฟความเร็วสูงราคาคงเกือบเท่าเครื่องบิน ถามว่าคุณจะนั่งรถไฟถึงแม้จะเป็นความเร็วสูงเลยก็ต้องใช้เวลา 3-4 ชม เทียบกับเครื่องบิน 1-1.5 ชม ราคาพอๆกันคุณจะเลือกนั่งอะไร โอเคในที่นี้บอกผมชอบรถไฟ ถามโดยสามัญสำนึกว่าคุณจะนั่งรถไฟความเร็วสูงกี่ครั้งกันละ? ความเห็นส่วนตัวผมนะ คือ
1. เราแค่ต้องการรถไฟรางคู่(รางคู่ดูได้มาตรฐานแบบมาเลย์ ไม่เอารางคู่แบบที่บ้านเราทำๆกันอยู่ แบบนั้นถ้าภาษาญี่ปุ่นเค้าเรียกชินกังเซ็นหรือทางรถไฟสายใหม่แบบนั้นไม่เอา) ความเร็วเฉลี่ยรถโดยสารตอนนี้แค่ 40-50 โดยประมาณ ถ้ามีทางคู่ก็อัพได้เป็น 80-100 ซึ่งถ้าขึ้นรถไฟจากหาดใหญ่ หรือ เชียงใหม่ ขึ้นรถไฟ 2ทุ่ม ถึง กทม 6โมงเช้าพอดีพี่น้องชาวไทยก็แฮปปี้แล้วครับ
2. ซื้อเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟ เข้ามาต่อยอดไปเลยครับ เซ็ตโรงงานผลิตประกอบขึ้นมาเองเลยให้มีความสามรถสัมพันธ์กับอัตราการใช้ภายในประเทศ อาจเซ็ตให้Capสูงกว่านิดหน่อยเผื่อส่งขายเพื่อนบ้านบ้าง พวกโลกแคบบอกทำไปก็เเพงกว่าจีน ไม่เถียงครับ แต่เงินทั้งก้อนมันหมุนภายในประเทศ ไม่ดีกว่าเหรอ? ว่างอายุการใช้งานรถไฟให้ชัดเจนมีการหมุนเวียนรถเก่าใหม่ 25-30ปี โละทิ้ง ทำให้เป็นวัฏจักร ยังไงก็อยู่ได้ นักวิชาการมีตั้งมากมายทำไมไม่เอามาต่อยอดเทคโนโลยีละครับ? ไม่ดีกว่าทำงานวิจัยขึ้นหิ่ง นอนเฝ้าศูนย์เหรอ?
3. ด้านการขนส่ง อันนี้มีประเด็นตลกมากๆ หลายนิคมอุตสาหกรรมมีทางรถไฟผ่านบริเวณใกล้เคียง ตัวอย่างเช่นนวนคร รางรถไฟผ่านหลังนิคมเลย ไม่มีผู้บริหารคนไหนเห็นช่องทางเพิ่มรายได้ให้กับการรถไฟบ้างหรือไง กลัวบริษัทขนส่งไม่รวยหรือมัวแต่จะหากินเรื่องที่ดินอย่างเดียว ทำไมไม่ทำเป็นMini ICDหลังนิคมเลยละครับ? ขนตู้คอนเทนเนอร์ขึ้นรถไฟยิงตรงไปแหลมฉบัง หรือปาดังเบซาร์ได้เลย แถมขนคนเข้าเมืองหรือออกตจว.ได้สบายๆ ใครเคยผ่านหน้านวนครตอนเย็น ไม่ต้องบอกนะครับว่ารถติดสุดยอดขนาดไหน หลายพื้นที่หลายจังหวัดมีศักยภาพซึ่งเห็นเริ่มทำกันไปบ้างแล้วครับ

ที่ดินมักกะสัน จตุจักร อาจเป็นตัวช่วยเรื่องรายได้ แต่การรถไฟเองก็ต้องทำให้ดีให้มีประสิทธิภาพด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2015 7:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เดินหน้าสร้างรถไฟทางคู่ไทย! จีนถอย คิดดอก2% ไทยดูแลงานโยธา-ให้จีนออกแบบและเดินรถ
วันที่ 17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558 เวลา 06:50:19 น.


รถไฟไทย-จีนเจรจาดอกเบี้ยที่ 2% เตรียมลงหนองคายดูสถานีเชื่อมลาว

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
16 กุมภาพันธ์ 2558 17:59 น. (แก้ไขล่าสุด 16 กุมภาพันธ์ 2558 19:00 น.)


“ประจิน” เผยผลเจรจารถไฟทางคู่ไทย-จีนราบรื่นตามแผน เบื้องต้นคุยดอกเบี้ยเงินกู้ที่ 2% เตรียมหารืออีกรอบที่ไทย 10-11 มี.ค.นี้ พร้อมลงพื้นที่ จ.หนองคายสำรวจที่ตั้งสถานีหลักและเชื่อมไปลาว ส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ตั้งคณะทำงานร่วมและเสนอ 3 เส้นทางให้เลือก

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการเดินทางไปหารือร่วมไทย-จีน ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในการก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุดระหว่างวันที่ 11-13 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า ได้มีการหารือเรื่องรูปแบบการลงทุนซึ่งเบื้องต้นสรุปว่าจะใช้รูปแบบ EPC (Engineering Procurement Construction) โดยจีนให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ปลอดหนี้ 4 ปีแรก และให้เวลาชำระหนี้ 20 ปี โดยรัฐบาลไทยเป็นเจ้าของโครงการ จีนรับหน้าที่สำรวจ ออกแบบ จัดหาระบบ และร่วมก่อสร้าง โดยการหารือในครั้งนี้ได้ตกลงร่วมกันว่าดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 2% จากก่อนหน้านี้ที่อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ 2-4% ซึ่งทางจีนยืนยันว่าไม่ได้เสนออัตราดังกล่าวตายตัว

ทั้งนี้ ยังได้แบ่งหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบหลักและมีสัดส่วนในการทำงานมากกว่า 50% ประกอบด้วย งานเวนคืนที่ดิน การประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) การก่อสร้างงานโยธา ยกเว้นแต่เป็นงานก่อสร้างที่ใช้เทคนิคขั้นสูง เช่น การเจาะอุโมงค์ งานวางระบบรางและระบบอาณัติสัญญาณ ที่จะต้องให้ทางจีนเป็นผู้ดำเนินการหลัก รวมถึงงานสำรวจ ออกแบบ และศูนย์ซ่อมบำรุงซึ่งจีนจะดำเนินการช่วงแรกจากนั้นจะโอนงานให้ไทย

โดยในวันที่ 10-11 มีนาคมนี้กระทรวงคมนาคมของไทยจะหารือร่วมกับผู้แทนรัฐบาลจีนอีกครั้ง พร้อมลงพื้นที่ จ.หนองคายเพื่อสำรวจที่ตั้งสถานีหลักและพิจารณาเส้นทางเชื่อมต่อไปยังสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) รวมทั้งชี้แจงโครงการแก่ประชาชนในพื้นที่ หลังจากนั้นไทยและจีนจะมีการลงนามบันทึกความร่วมมือเพื่อการทำงานร่วมกัน (Memorandum of Cooperation : MOC) เพื่อให้มีความชัดเจนในรายละเอียดการแบ่งงานระหว่างสองฝ่าย

“การลงนาม MOC ร่วมกันเพื่อความชัดเจนในการแบ่งงานว่าใครรับผิดชอบเรื่องใด เนื่องจากจะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะงานช่วงแรกที่ฝ่ายไทยต้องดำเนินการระหว่างรอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อนุมัติรูปแบบลงทุน ไทยและจีนก็ต้องช่วยกันออกเงินไปก่อน ตรงนี้แหละที่ต้องมีการระบุรายละเอียดให้ชัดเจน” พล.อ.อ.ประจินกล่าว

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงผลการเดินทางร่วมกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ไปเยือนประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่า หลังจากนี้ฝ่ายไทยจะตั้งคณะทำงานขึ้นมาเพื่อทำหน้าที่ประสานงานกับทางญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบรางร่วมกันตามข้อตกลงที่ได้มีการร่วมลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง หรือ MOI (Memorandum of Intent) เพื่อศึกษาโครงสร้างทางรถไฟพัฒนาระบบรางของประเทศญี่ปุ่น โดยไทยเสนอให้พิจารณา 3 เส้นทาง คือ

1. แม่สอด (จ.ตาก)-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร ระยะทาง 770 กม.
2. พุน้ำร้อน (จ.กาญจนบุรี)-กรุงเทพฯ-มาบตาพุด จ.ระยอง ระยะทาง339 กม. และ
3. กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 653 กม.

โดยไทยจะให้ญี่ปุ่นเลือกได้ 1 เส้นทางเท่านั้น ซึ่งทางญี่ปุ่นยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่าจะเลือกเส้นทางใด

//----------

“พล.อ.อ.ประจิณ” แจงผลหารือความร่วมมือพัฒนาระบบรางไทย-จีน /ไทย-ญี่ปุ่น
โดย เมธา สกาวรัตน์
ข่าวรายวัน - คอลัมน์ : ข่าวในประเทศ
ฐานเศรษฐกิจ
วันอังคารที่ 17 กุมภาพันธ์ 2015 เวลา 18:27 น.

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าความคืบหน้าการประชุมร่วมของคณะกรรมการเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 2ภายหลังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทยร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการเดินทางไปร่วมประชุมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนในช่วงที่ผ่านมานั้น เบื้องต้นได้ข้อสรุปหลายประเด็น เช่น ฝ่ายจีนมีการนำเสนอรูปแบบการลงทุน 2แนวทาง โดยเฉพาะการลงทุนแบบความร่วมมือ EPC (Engineering Procurement and Construction) ซึ่งเป็นแนวทางการลงทุนที่เป็นไปได้มากที่สุด สำหรับรูปแบบการลงทุนจะแบ่งการดำเนินการออกเป็น คือ ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีสาระสำคัญ เช่น ไทยจะเป็นคนกำหนดลักษณะวัสดุก่อสร้างและแรงงานไทย ไทยจะเป็นผู้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาและดำเนินการตามกฎหมายไทย รวมทั้งเงื่อนไขการลงทุนที่ดีกว่าที่ไทยจะจัดหาได้ การหารือประเด็นกฎหมายต่าง ๆ และการบริหารการเดินรถ จีนจะช่วยกำกับดูแลการถ่ายทอดเทคโนโลยี แนวทางการดำเนินการแบบ EPC มีข้อตกลงสำคัญ 5-6ด้าน เช่น

1.การดำเนินการก่อสร้าง ช่วงเส้นทางแบ่งออกเป็น 2ช่วง จะดำเนินการให้เสร็จใน 30-36เดือน
2.ไทยจะเร่งดำเนินการรับภาระเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินการก่อสร้าง
3.เร่งศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้เสร็จภายใน 6เดือน
4.กำหนดรูปแบบการลงทุนร่วมกันระหว่างไทยและจีน รายละเอียดการลงทุนจะประชุมหารือให้ได้ข้อสรุปในการประชุมครั้งที่ 3ที่ประเทศไทยภายในเดือนมีนาคมนี้ รวมทั้งจะต้องมีการลงนามร่วมกันในการพัฒนาต่อไป

ทั้งนี้ กรอบระยะเวลาดำเนินการความร่วมมือไทย-จีน ประกอบด้วย 4ช่วง กรุงเทพฯ-แก่งคอย, แก่งคอย-มาบตาพุด จะเร่งรัดศึกษาโครงการให้เสร็จภายในเดือนกันยายนปีนี้ หลังจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างดำเนินการ ซึ่งทั้ง 2ช่วง จะใช้ระยะเวลา 30เดือน และช่วงที่ 3และ 4แก่งคอย-นครราชสีมา, นครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งทั้ง 2ช่วงจะศึกษาความเหมาะสมของโครงการให้เสร็จภายในปี 2558เริ่มต้นก่อสร้างต้นปี 2559 ระยะเวลาเสร็จภายใน 36เดือน ทั้งนี้ ช่วงที่ 3และ 4ใช้ระยะเวลามากกว่า 2ช่วงแรก เนื่องจากเป็นอุโมงค์ต้องใช้เทคนิคดำเนินการ

นอกจากนี้ การเจรจาร่วมกันจีนรับปากจะถ่ายทอดเทคโนโลยีระบบราง ระบบควบคุม ระบบรถไฟฟ้า ให้กับไทย

ส่วนความร่วมมือรถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เจรจากับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นในช่วงที่ผ่านมาญี่ปุ่นให้ความสนใจพัฒนาเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และแม่สอด-มุกดาหาร พร้อมพัฒนาโครงการทั้งรางขนาด 1 เมตร และขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร หลังจากนี้ทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันศึกษาและวิจัยการพัฒนาเส้นทางดังกล่าว โดยจะแบ่งออกเป็นช่วง ประกอบด้วย กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ซึ่งจะเป็นแนวเส้นทางในการพัฒนาตามเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้ง 2 ฝ่ายจะร่วมกันพัฒนาระบบขนส่งมวลชนทางรางในกรุงเทพฯ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสีแดง ซึ่งญี่ปุ่นจะพัฒนาเทคโนโลยีให้กับไทยด้วย

//--------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 17/02/2015 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

สนร่วมลงทุนรถไฟทางคู่ “ประจิน”เคลิบเคลิ้มญี่ปุ่น-จีนโปรยยาหอม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
17 กุมภาพันธ์ 2558 05:45


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเดินทางร่วมกับคณะนายกรัฐมนตรี เพื่อลงนามความร่วมมือการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ไทย-ญี่ปุ่น ว่า จากนี้ไปจะมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับปลัดกระทรวงทั้ง 2 ประเทศ เพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือการศึกษาโครงสร้างทางรถไฟร่วมกัน 3 เส้นทาง คือ เส้นทางพุน้ำร้อน กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา แยกไปอรัญประเทศ จ.สระแก้ว และอีกทางแยกจากฉะเชิงเทราไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง เส้นทางจาก อ.แม่สอด จ.ตาก-จ.มุกดาหาร รวมถึงเส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่

นอกจากนี้ ยังจัดตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรี 2 ฝ่าย ร่วมกันอีก 1 ชุด เพื่อหารือรายละเอียดเกี่ยวกับระบบรถไฟ การถ่ายทอดเทคโนโลยีว่าจะดำเนินการโดยใช้ระบบใด เนื่องจากญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีหลายระบบ เช่น ชินคังเซน (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) รถไฟฟ้าธรรมดา ตลอดจนหาข้อสรุปเกี่ยวกับ
ความต้องการของญี่ปุ่นว่าต้องการดำเนินการเส้นทางใด ซึ่งญี่ปุ่นยืนยันจะเข้าร่วมลงทุนแน่นอนอย่างน้อย 1 เส้นทาง แต่ขอกลับไปหารือกับรัฐบาลญี่ปุ่นก่อน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวต่อว่า ส่วนผลการเดินทางเยือนจีนเพื่อหารือโครงการพัฒนารถไฟทางคู่นั้น ได้ตกลงรูปแบบความร่วมมือและรูปแบบการลงทุนเบื้องต้นแล้ว จะแบ่งความรับผิดชอบการดำเนินโครงการ โดยจีนรับผิดชอบงานสำรวจออกแบบ ขณะที่ไทยรับผิดชอบงานเวนคืนที่ดิน และประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนการประเมินราคาโครงการก่อสร้างทั้ง 2 ฝ่ายจะรับผิดชอบร่วมกัน คาดว่าภายในเดือน เม.ย.58 นี้ จะลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือเพื่อกำหนดรายละเอียดของโครงการทั้งออกแบบสำรวจ ค่าใช้จ่าย ส่วนประเด็นดอกเบี้ยเงินกู้คงที่ 2% นั้น ขอเวลาพิจารณารายละเอียดอีกครั้ง.

//-------------------

ประจิน แจงไทย-ญี่ปุ่น ร่วมทำรถไฟความเร็วสูง
การเมือง - ราชการ, ข่าวเด่นวันนี้
เจ้าพระยานิวส์
วันอังคาร 17 กุมภาพันธ์ 2558 16:51
แบ่งปัน

ประจิน แจงผลเดินสายถกรถไฟเร็วสูง ด้านญี่ปุ่นจองแน่ 1 เส้นทาง รอศึกษาก่อนเคาะชัดเจน ส่วนจีนรอเซ็นเดือนเม.ย.นี้
พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังเดินทางร่วมกับคณะนายกรัฐมนตรีเพื่อลงนามความร่วมมือการศึกษาพัฒนาโครงข่ายรถไฟทางคู่ไทย-ญี่ปุ่นว่าหลังจากนี้จะมีการจัดตั้งคณะทำงานระดับปลัดกระทรวงทั้ง 2 ประเทศเพื่อหารือรายละเอียดความร่วมมือการศึกษาโครงสร้างทางรถไฟร่วมกัน 3 เส้นทาง คือ

1. เส้นทางพุน้ำร้อน กาญจนบุรี- กรุงเทพฯ- ฉะเชิงเทรา แยกไปอรัญประเทศ จ.สระแก้วและอีกทางแยกจากฉะเชิงเทราไป อ.มาบตาพุด จ.ระยอง 339 กม.
2. เส้นทางจากอ.แม่สอด จ.ตาก-จ.มุกดาหาร - 770 กม.
3. เส้นทางเชื่อมภาคเหนือ กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ - 653 กม.

นอกจากนี้ยังจัดตั้งคณะทำงานระดับรัฐมนตรี 2 ฝ่ายร่วมกันอีก 1 ชุด เพื่อหารือรายละเอียดเกี่ยวกับระบบรถไฟการถ่ายทอดเทคโนโลยีว่าจะดำเนินการโดยใช้ระบบใด เนื่องจากปัจจุบันญี่ปุ่นมีเทคโนโลยีหลายระบบเช่น ชินคังเซน (รถไฟฟ้าความเร็วสูง) รถไฟฟ้าธรรมดาตลอดจนหาข้อสรุปเกี่ยวกับความต้องการของญี่ปุ่นว่าต้องการดำเนินการเส้นทางใดซึ่งญี่ปุ่นยืนยันจะเข้าร่วมลงทุนแน่นอนอย่างน้อย 1 เส้นทางแต่เป็นเส้นทางใดต้องกลับไปหารือกับรัฐบาลญี่ปุ่นก่อน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวถึงผลการเดินทางเยือนจีนเพื่อหารือโครงการพัฒนารถไฟทางคู่ด้วยว่าได้ตกลงรูปแบบความร่วมมือและรูปแบบการลงทุนเบื้องต้นแล้วโดยเบื้องต้นจะมีการแบ่งความรับผิดชอบการดำเนินโครงการโดยจีนรับผิดชอบงานด้านสำรวจออกแบบ ส่วนไทยรับผิดชอบงานเวนคืนที่ดินและประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ส่วนงานด้านการประเมินราคาโครงการก่อสร้างทั้ง 2ฝ่ายจะรับผิดชอบร่วมกัน

ทั้งนี้คาดว่าภายในเดือนเม.ย.นี้ ทั้ง 2ฝ่ายจะลงนามร่วมกันบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (เอ็มโอซี)เพื่อกำหนดรายละเอียดการบริหารจัดการโครงการทั้งหมดว่าจะดำเนินการอย่างไรบ้าง เช่นการออกแบบสำรวจเพราะต่อจากนี้จะต้องมีเรื่องของค่าใช้จ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องจึงจำเป็นต้องทำข้อตกลงร่วมกันไว้ก่อนและในวันที่ 17 ก.พ.นี้ ตน และรมช.คมนาคม พร้อมด้วยตัวแทนจากรัฐบาลจีนและญี่ปุ่นจะร่วมแถลงข่าวรายละเอียดผลการหารือร่วมกันระหว่างไทย-ญี่ปุ่น และ ไทย-จีน
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=R1wGEaFNWNY
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44605
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/02/2015 9:11 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งรายงาน "อีไอเอ" รถไฟไทย-จีนฟาสต์แทร็ก 6 เดือนจบ
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 ก.พ. 2558 เวลา 21:00:24 น.

"ประจิน" ประสานกระทรวงทรัพยากรฯ เร่งรัดอีไอเอรถไฟไทย-จีนให้จบ 6 เดือน เตรียมสารพัดแหล่งเงินสู้ดอกเบี้ยจีน ทั้งงบฯกลางปี-เงินกู้-กองทุน-อินฟราฯฟันด์ เข็นเฟสแรก "กทม.-แก่งคอย-มาบตาพุด" ตอกเข็มให้ทันเดดไลน์ ต.ค.นี้

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผลหารือครั้งที่ 2 โครงการรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทางรวม 873 กิโลเมตร ได้ข้อสรุปการลงทุนรูปแบบ EPC (Engineering Procurement and Construction)

Click on the image for full size

กู้เอ็กซิมแบงก์จีน ดบ. 2%

รายละเอียดคือ ฝ่ายจีนออกแบบ จัดหาระบบราง ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบควบคุม ส่วนการก่อสร้างจีนจะแบ่งสร้างบริเวณอุโมงค์และไหล่เขา ซึ่งต้องใช้เทคโนโลยีพิเศษ ฝ่ายไทยจะทำเรื่องเวนคืนที่ดิน รายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) และเป็นผู้ก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐานตลอดเส้นทาง

ด้านเงินลงทุน (Finance) ทั้งอัตราดอกเบี้ยและสัดส่วนกู้ กำหนดหารือ 10-11 มีนาคมนี้ ที่กรุงเทพฯและหนองคาย พร้อมกับลงพื้นที่สถานีหนองคาย ที่เป็นจุดเชื่อมต่อรถไฟไทย-ลาวด้วย ส่วนการบริหารโครงการ (Operate) ฝ่ายไทยและจีนดำเนินการร่วมกัน ทั้งเรื่องสถานีรถไฟ ศูนย์รับ-ส่งสินค้า ศูนย์ซ่อมบำรุง ในช่วงแรกของการเดินรถจีนจะรับผิดชอบอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทยจนกว่าจะมีความเชี่ยวชาญ จากนั้นถึงจะโอนมาอยู่ในความรับผิดชอบของฝ่ายไทยทั้งหมด

"ทั้ง 2 ฝ่ายหารือแนวทางด้านการเงินลงทุนโครงการ อาจจะระดมในไทยโดยกู้ในประเทศ ใช้เงินกู้เงื่อนไขพิเศษจากธนาคารเพื่อการนำเข้าและส่งออกของจีน ดอกเบี้ย 2% มาก่อสร้างบางส่วน และลงทุนงานระบบที่จีนเป็นหลัก ส่วนที่เหลือกู้จากแหล่งอื่นที่ดอกเบี้ยต่ำกว่า เช่น งานก่อสร้าง หากไทยเป็นแกนนำจะใช้เงินกู้ในประเทศ หลังเมษายนนี้คาดว่าจะมีข้อสรุปกู้จากไหน สัดส่วนเท่าไหร่ หลังจากนั้นจึงจะมีการลงนามความร่วมมือหรือ MOC"

นอกจากนี้ ทางองค์การรถไฟจีน (China Railway Corporation : CRC) เป็นหลักในการดำเนินโครงการ โดยจีนเสนอ 3 บริษัทเข้าร่วมคือ บริษัท ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CRCC), บริษัท ไชน่าเรลเวย์ เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด (CREC) และบริษัทจีนที่เป็นผู้ผลิตอุปกรณ์หัวจักร การเดินรถและระบบซัพพลายต่าง ๆ ซึ่งมีบริษัทลูกอีก 30 บริษัทมาร่วมด้วย ส่วนฝ่ายไทยจะกำหนดบริษัทด้านโครงสร้างฐานราก ไม้หมอนหรือบางส่วนเป็นงานราง ศูนย์ซ่อมบำรุง และคัดเลือกด้วยวิธีประมูล

เร่งทำอีไอเอเสร็จใน 6 เดือน

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า กรอบเวลากำหนดดำเนินการทุกขั้นตอนให้เสร็จใน 6 เดือน ได้เร่งรัดดำเนินการ โดยเดือนมีนาคมนี้จะเริ่มสำรวจพื้นที่ ออกแบบรายละเอียด ทำรายงานอีไอเอ เวนคืนที่ดิน โดยของบฯกลางประจำปีเพื่อเริ่มต้นโครงการ เช่น เวนคืนที่ดิน อีกทั้งหารือร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เร่งรัดการทำอีไอเอให้เสร็จ 6 เดือน จากเดิม 1 ปีครึ่ง เนื่องจากใช้แบบเดิมของโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางเฟสแรกมาทบทวนใหม่ ทำให้ขั้นตอนเร็วขึ้น รวมถึงการสำรวจพื้นที่จะขอให้กรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหมเข้ามาช่วยด้วย

"คงไม่รวบรัดหาเงินมาลงทุนทั้งโครงการให้ได้ใน 6 เดือนนี้ จะวางแผนกู้เป็นเฟส ๆ ตามความพร้อม เรื่องเงินก็ไม่ได้ประมาท มีแผนสำรองไว้แล้ว เช่น งบประมาณ กองทุน อินฟราสตรักเจอร์ฟันด์ เงินกู้"

ทั้งนี้ เส้นทางระยะแรกจากกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด ตามแผนจะศึกษาและสำรวจให้แล้วเสร็จเดือนกันยายน เริ่มก่อสร้างตุลาคมนี้ กำหนดแล้วเสร็จใน 30 เดือน ระยะทางที่ 2 เส้นทางแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย ศึกษารายละเอียดเสร็จธันวาคมนี้ เริ่มก่อสร้างไตรมาส 1/2559 กำหนดแล้วเสร็จ 36 เดือน หรือ 3 ปี

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยเพิ่มเติมว่า บริษัทจีนที่จะมาสำรวจและออกแบบ 2 บริษัท แยกสำรวจ 2 ช่วงพร้อมกัน คือ บริษัทซีอาร์ซีซี สำรวจช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย-มาบตาพุด และบริษัทซีอาร์อีซี สำรวจช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 186, 187, 188 ... 547, 548, 549  Next
Page 187 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©