RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271353
ทั้งหมด:13582642
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 188, 189, 190 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 09/04/2015 2:32 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการไฮ-สปีดเทรน สาย กรุงเทพ - เชียงใหม่ เป็นบทเรียนที่ว่าอย่าพึ่งพาประเทศเดียวหากดำเนินโครงการใหญ่ระดับชาติเช่นนี้

มิเช่นนั้นอาจมีข้อแม้ว่าต้องทำตามเงื่อนไขของเขาที่แล้วแต่สรรหามาอ้าง ทำให้เราเสียผลประโยชน์ได้ เหมือนเราคิดจะซื้อ ฮ.ขนาดใหญ่มาดับไฟป่าจากรัสเซีย แทนที่จะเป็นสหรัฐฯ นั่นแหละ

พอสหรัฐฯ ทราบว่าเรามีความต้องการซื้อ ดันมีเงื่อนไขหยุมหยิมด้านสิทธิมนุษยชนขึ้นมาทันที
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2015 12:32 am    Post subject: Reply with quote

คืบหน้าไฮสปีด "กทม.-เชียงใหม่" ลงทุน 4แสนล. เวนคืน 7.7พัน ไร่ คิกออฟปลายปีนี้
คอลัมน์ เวนคืนอัพเดต
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
14 เมษายน 2558, เวลา 12:59:49 น.





ถูกพูดถึงอีกครั้งสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" โปรเจ็กต์ไฮไลต์ของรัฐบาลเพื่อไทย ล่าสุด "รัฐบาลประยุทธ์" หยิบขึ้นมาปัดฝุ่นอีกรอบ หลัง "รัฐบาลญี่ปุ่น" สนใจอย่างจริงจัง จะช่วยจุดประกายรถไฟสายนี้ให้เป็นจริงภายใต้รูปแบบรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรน

พ.ค.ไทย-ญี่ปุ่นลงนาม MOU

ในเดือนพฤษภาคมนี้ ทาง "รัฐบาลไทยและญี่ปุ่น" มีกำหนดจะลงนามบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อร่วมกันศึกษาและออกแบบรายละเอียดโครงการ คาดว่าจะเริ่มคิกออฟได้ปลายปี 2558 ในการสำรวจเส้นทาง เริ่มก่อสร้างปลายปี 2559 หรืออย่างช้าต้นปี 2560 ใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปี จะแล้วเสร็จปี 2563

สถานะล่าสุดของโครงการ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" ได้ศึกษาเสร็จแล้ว ขณะนี้อยู่ระหว่างขออนุมัติ "รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) มีระยะทางรวม 672 กิโลเมตร ใช้เงินลงทุนรวม 426,898 ล้านบาท มี 12 สถานี แต่ละสถานีจะมีการออกแบบเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดนั้น ๆ



เวนคืนหมื่นล้าน 7 พันไร่

ด้านการเวนคืนที่ดิน เบื้องต้นได้ประมาณการพื้นที่เวนคืน 7,724 ไร่ และจำนวนแปลงที่ดิน 2,700 แปลง คิดเป็นค่าเวนคืน 10,814 ล้านบาท ขณะที่แนวเส้นทางที่จะใช้ก่อสร้าง ส่วนใหญ่อยู่ในแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือเดิม แยกการดำเนินการเป็น 2 ระยะ ในระยะแรกช่วง "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ระยะทาง 384 กิโลเมตร เงินลงทุน 212,893 ล้านบาท พาดผ่านพื้นที่ 8 จังหวัด

มี 7 สถานี ได้แก่ สถานีบางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี (ป่าหวาย) นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก มี 2 สถานีที่สร้างอยู่บนที่ใหม่ ได้แก่ สถานีลพบุรีจะสร้างอยู่ป่าหวาย ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร และสถานีพิจิตร ห่างจากตัวเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร อีก 5 สถานีที่เหลือจะสร้างอยู่ที่เดิมเป็นสถานีรถไฟในเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงราก

ซึ่งรูปแบบการก่อสร้างในช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา เนื่องจากมีจุดตัดถนนเป็นจำนวนมาก จะออกแบบโครงสร้างเป็นทางยกระดับยาว 67 กิโลเมตร ส่วนช่วงผ่านเมืองลพบุรีจะขุดอุโมงค์ยาว 4 กิโลเมตร ลึกลงไปในชั้นใต้ดินผิวทางรถไฟเดิมประมาณ 20-30 เมตร และช่วงผ่านบึงบอระเพ็ดเป็นทางยกระดับยาว 8.5 กิโลเมตร ที่เหลือเป็นคานดิน

เบี่ยงแนวช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่

ส่วนระยะที่ 2 ช่วง "พิษณุโลก-เชียงใหม่" เงินลงทุน 214,005 ล้านบาท ระยะทาง 285 กิโลเมตร เป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงจังหวัดสุโขทัย-ลำปาง จะเริ่มต้นจากจังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวเส้นทางระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก)

แนวเส้นทางแบ่งออกเป็น 2 ช่วง ในช่วง "พิษณุโลก-ลำปาง" เมื่อออกจากพิษณุโลก แนวเส้นทางยังคงใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 เลี้ยวซ้ายไปทางทิศตะวันตกผ่านพื้นที่อำเภอพรหมพิราม อำเภอกงไกรลาศ ก่อนถึงสุโขทัยเลี้ยวขวาไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ผ่านอำเภอศรีสำโรง อำเภอสวรรคโลก และอำเภอศรีสัชนาลัย

จากนั้นแนวเส้นทางจะเบี่ยงขวาไปทางทิศเหนือ ผ่านอำเภอวังชิ้นเข้าสู่อำเภอลอง ยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ขนานไปตามทางหลวงหมายเลข 11 ผ่านอำเภอแม่ทะ เข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง

เชียงใหม่ศูนย์ซ่อมบำรุง

และช่วง "ลำปาง-เชียงใหม่" จะมีแนวเส้นทางตัดใหม่และใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิม โดยผ่านช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร เส้นทางรถไฟอยู่ในเขตทางรถไฟเดิม จากสถานีห้างฉัตร-ลำพูน เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ เริ่มต้นจากสถานีห้างฉัตร จะเบี่ยงแนวไปทางซ้ายของทางรถไฟเดิมไปอำเภอแม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา ไปบรรจบกับทางรถไฟเดิมก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนประมาณ 10 กิโลเมตร วิ่งไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูนและปลายทางที่สถานีเชียงใหม่

มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ เป็นสถานีใหม่ 2 แห่ง คือสุโขทัย ห่างจากตัวเมือง 6 กิโลเมตร และศรีสัชนาลัย ห่างจากตัวเมือง 3 กิโลเมตร ส่วนอีก 3 สถานี จะใช้พื้นที่ของสถานีรถไฟเดิมอยู่ในตัวเมืองและมีศูนย์ซ่อมบำรุงที่จังหวัดเชียงใหม่

ขนได้ทั้งคน-สินค้า

ด้านการใช้ประโยชน์จะขนส่งได้ทั้งคนและสินค้า จะมีผู้โดยสารใช้บริการปีแรก 24,800 เที่ยวคนต่อวัน และขนส่งสินค้าที่มีศักยภาพในการขนส่งด้วยระบบรถไฟความเร็วสูง ได้แก่ สินค้าไปรษณียภัณฑ์เร่งด่วน และสินค้าที่ขนส่งทางอากาศ เนื่องจากเป็นสินค้าที่ต้องการความรวดเร็วในการขนส่ง ราคาสูงและเน่าเสียง่าย

สำหรับอัตราค่าโดยสารจะคิดตามระยะทาง แยกเป็น 3 ชั้น มี "ชั้นวีไอพี" มี 3 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 200 บาท ค่าโดยสาร 4 บาทต่อกิโลเมตร "ชั้นธุรกิจ" มี 4 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 100 บาท ค่าโดยสาร 2.50 บาทต่อกิโลเมตรและ "ชั้นมาตรฐาน" มี 5 ที่นั่งต่อแถว ค่าแรกเข้า 70 บาท ค่าโดยสาร 1.50 บาทต่อกิโลเมตร เบ็ดเสร็จ นั่งจากกรุงเทพยาวถึงเชียงใหม่ ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 16 นาที เสียค่าโดยสารประมาณ 1,100-2,900 บาทต่อเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 16/04/2015 5:20 pm    Post subject: Reply with quote

คำเตือนเรื่องรถไฟความไวสูง:
Pat Hemasuk
เรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้นสำหรับผมเองถือว่าเป็นเรื่องดราม่าเอาไว้เรียกแขกเท่านั้น ไม่มีทางทำจริงในระยะเวลายี่สิบปีนี้หรอกครับ

จะนั่งเครื่องบินภายในประเทศ สำหรับผมเองแล้ว เดินทางจากบ้านใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงโดยแท็กซี่ + BTS + Airport Link เพราะเช้าเย็นรถติดนั่งแท็กซี่สองชั่วโมงไม่ถึง

ต้องไปก่อนเกตปิดสองชั่วโมงเพื่อประกันความแน่นอนว่าได้บินแน่ ในแถวเข้าเช็กอินที่อาจจะต้องตบตีกับทัวร์จีนที่แทรกคิว หรือโลว์คอสบินสามล้านกว่าเส้นทางแต่เปิดสี่ช่อง

บินอีกชั่วโมง เคลมกระเป๋าบวกกับรอคิวรถ และเวลานั่งรถเข้าเมืองเข้าตัวเมือง รวมแล้วอีกชัวโมงถึงจะไปถึงที่หมาย รวมแล้วผมต้องใช้เวลาหกชั่วโมงในการเดินทางไป เชียงใหม่ หรือที่อื่นๆ สำหรับคนอื่นที่บ้านใกล้กว่าผมอาจจะลดเวลาไปได้อีกชั่วโมง แต่ก็ต้องมีห้าชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

ถ้าจะเทียบกับรถไฟแล้ว รถความเร็วปกติของยุโรปหรือญี่ปุ่นที่วิ่งบนรางขนาด Standard Gauge เกือบทุกขบวนวิ่งได้ 140 กม/ชม ทั้งนั้น กรุงเทพ-เชียงใหม่ มันวิ่งอย่างไรก็ออกเช้าเที่ยงถึง ออกเที่ยงเย็นถึง ไม่จำเป็นต้องความเร็วสูง แถมยังวิ่งมาจอดในกลางเมืองได้ด้วย ไม่ต้องต่อรถกันวุ่นวายเหมือนนั่งเครื่องบิน

ในสภาวะแข่งขันกับเครื่องบินโลวคอส ผมยังไม่เห็นความสำคัญที่ต้องทำรถไฟความเร็วสูงเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ทำรถไฟของไทยให้มีความเร็วปกติเท่ากับรถไฟของชาวบ้านประเทศอื่นๆเขาก็พอแล้ว เพราะคนไทยไม่มีเงินซื้อตั๋วแพงๆระดับชิงกังเซ็นนั่งหรอก เพราะผมเคยคำนวนราคาค่าตั๋วของความเร็วสูงมันจะอยู่ระหว่าง 3.50-4.50บาท/กม เอาแค่ราคาตั๋วรถไฟเท่ารถทัวร์แต่ถูกกว่าเครื่องบินเล็กน้อย คนก็แห่กันมานั่งแล้ว

เรื่องนี้ผมเคยเขียนรายงานเป็นกรณีศึกษามาสิบกว่าปีตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ1 ที่จะทำเส้น วงเวียนใหญ่-แม่กลอง เป็นความเร็วสูง ซึ่งผมบอกว่าน้ำท่วมหลังเป็ดยังง่ายกว่า
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1018348364875441&set=a.112655038778116.6787.100001008622491&type=1
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44623
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 21/04/2015 6:48 pm    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนสร้างรถไฟไปพัทยา
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 21 เม.ย. 2558 15:48

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า การเจรจากับเอกชนไทย ทั้งกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ไทยเบฟเวอเรจ ที่สนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา

โดยในส่วนของเส้นทางกรุงเทพ พัทยา ซึ่งมีระยะทางไม่ถึง 200 กิโลเมตร เอกชนได้เสนอให้ขยายเส้นทางไปจนถึงระยอง เนื่องจากการลงทุนรถไฟที่มีความเร็วที่มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 400 ถึง 500 กิโลเมตร จึงคุ้มค่ากับการลงทุน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 22/04/2015 12:15 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คำเตือนเรื่องรถไฟความไวสูง:
Pat Hemasuk
เรื่องรถไฟความเร็วสูงนั้นสำหรับผมเองถือว่าเป็นเรื่องดราม่าเอาไว้เรียกแขกเท่านั้น ไม่มีทางทำจริงในระยะเวลายี่สิบปีนี้หรอกครับ

จะนั่งเครื่องบินภายในประเทศ สำหรับผมเองแล้ว เดินทางจากบ้านใช้เวลาประมาณสองชั่วโมงโดยแท็กซี่ + BTS + Airport Link เพราะเช้าเย็นรถติดนั่งแท็กซี่สองชั่วโมงไม่ถึง

ต้องไปก่อนเกตปิดสองชั่วโมงเพื่อประกันความแน่นอนว่าได้บินแน่ ในแถวเข้าเช็กอินที่อาจจะต้องตบตีกับทัวร์จีนที่แทรกคิว หรือโลว์คอสบินสามล้านกว่าเส้นทางแต่เปิดสี่ช่อง

บินอีกชั่วโมง เคลมกระเป๋าบวกกับรอคิวรถ และเวลานั่งรถเข้าเมืองเข้าตัวเมือง รวมแล้วอีกชัวโมงถึงจะไปถึงที่หมาย รวมแล้วผมต้องใช้เวลาหกชั่วโมงในการเดินทางไป เชียงใหม่ หรือที่อื่นๆ สำหรับคนอื่นที่บ้านใกล้กว่าผมอาจจะลดเวลาไปได้อีกชั่วโมง แต่ก็ต้องมีห้าชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ

ถ้าจะเทียบกับรถไฟแล้ว รถความเร็วปกติของยุโรปหรือญี่ปุ่นที่วิ่งบนรางขนาด Standard Gauge เกือบทุกขบวนวิ่งได้ 140 กม/ชม ทั้งนั้น กรุงเทพ-เชียงใหม่ มันวิ่งอย่างไรก็ออกเช้าเที่ยงถึง ออกเที่ยงเย็นถึง ไม่จำเป็นต้องความเร็วสูง แถมยังวิ่งมาจอดในกลางเมืองได้ด้วย ไม่ต้องต่อรถกันวุ่นวายเหมือนนั่งเครื่องบิน

ในสภาวะแข่งขันกับเครื่องบินโลวคอส ผมยังไม่เห็นความสำคัญที่ต้องทำรถไฟความเร็วสูงเลยแม้แต่น้อย เพียงแต่ทำรถไฟของไทยให้มีความเร็วปกติเท่ากับรถไฟของชาวบ้านประเทศอื่นๆเขาก็พอแล้ว เพราะคนไทยไม่มีเงินซื้อตั๋วแพงๆระดับชิงกังเซ็นนั่งหรอก เพราะผมเคยคำนวนราคาค่าตั๋วของความเร็วสูงมันจะอยู่ระหว่าง 3.50-4.50บาท/กม เอาแค่ราคาตั๋วรถไฟเท่ารถทัวร์แต่ถูกกว่าเครื่องบินเล็กน้อย คนก็แห่กันมานั่งแล้ว

เรื่องนี้ผมเคยเขียนรายงานเป็นกรณีศึกษามาสิบกว่าปีตั้งแต่สมัยรัฐบาลทักษิณ1 ที่จะทำเส้น วงเวียนใหญ่-แม่กลอง เป็นความเร็วสูง ซึ่งผมบอกว่าน้ำท่วมหลังเป็ดยังง่ายกว่า
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1018348364875441&set=a.112655038778116.6787.100001008622491&type=1


เห็นด้วยแบบไม่มีเงื่อนไขเลยครับ ประเทศไทยไม่เหมือนญี่ปุ่น หรือ จีน บริบทมันไม่เหมือนกันครับ อย่างญี่ปุ่นมาตรฐานค่าครองชีพสูงกำลังซื้อที่จะนั่งรถไฟความเร็วสูงมี เทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ทำออกมาเงินหมุนในระบบเศรษฐกิจ อีกทั้งส่งออกเทคโนโลยีไปจีนและอังกฤษ อย่างจีน มีเงินUSDทุนสำรองมีอย่างล้นหลามทำไงให้งอกเงย ประเทศก็กว้างใหญ่ไพศาล ก็ลงทุนกับรถไฟความเร็วสูงถ้าใครเคยตามวงการรถไฟจีนเมื่อสัก 10-12 ปีก่อน ตอนแรกก็ทดลองจะสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยภูมิปัญญาของตัวเองอย่าง China Star แต่มันสู้เรียนลัดไม่ได้ สุดท้ายก็นำเข้าเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงจากทั้งเยอรมัน ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น รวมถึงรถจักรดีเซล รถจักรไฟฟ้า ซึ่งได้มาจากทั้งGE EMD Siemens Alstom Toshiba(โดนกันทั่วหน้าเพราะกำขี้ดีกว่ากำตด) ใช้สูตรCo-productionกับทั้งCNRและCSRซึ่งทั้งสองบริษัทเจ้าของมาเฟียตัวจริงก็คือรัฐบาลจีน แล้วค่อยไปเป็นCopy and development ด้วยความที่ผลิตออกมาเป็นจำนวนมาก เทคโนโลยีที่ได้มาจากภายนอกคิดเป็นต้นทุนต่อคันถูกจนเหมือนจะได้มาฟรีด้วยซ้ำ ทุกวันนี้ถ้าตามข่าวจึงแทบไม่เห็นการCo-productionระหว่างผู้ผลิตภายนอกกับCNRและCSRก็เพราะว่าเค้าดูดเทคโนโลยีต่อยอดมาเป็นของตัวเองหมดแล้วแถมทำส่งออกได้อีก เงินที่ใช้สร้างก็หมุนสร้างความเจริญในระบบเศรษฐกิจ ทุกวันนี้ China Starก็ถูกจัดเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์เป็นอนุสรณ์ของความพยายาม ไม่ต้องรอถึงช่วงอายุคนแค่ 10 ปีที่ผ่านมาการรถไฟจีนก้าวกระโดดขึ้นมาในแบบที่ประวัติศาสตร์รถไฟของมวลมนุษยชาติไม่สามารถหาใครเสมอได้ แล้วของไทยเรานิทานเรื่องรถไฟความเร็วสูงเพื่ออะไร? จำเป็นแค่ไหน? ต้องกู้มาสร้างใช่มั้ย? แน่ใจว่าคุ้มเหรอ? %ผลประโยชน์ลงตัวยัง? เป็นสิ่งที่บ้านนี้เมืองนี้ต้องการอย่างแท้จริงเหรอ? มีทางอื่นที่ดีกว่านี้มั้ย?
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 22/04/2015 10:47 am    Post subject: Reply with quote

ปรับแผนสร้างรถไฟไปพัทยา
โดย ไทยรัฐออนไลน์
21 เมษายน 2558, เวลา2558 15:48



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้า การเจรจากับเอกชนไทย ทั้งกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ และ ไทยเบฟเวอเรจ ที่สนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-พัทยา

โดยในส่วนของเส้นทางกรุงเทพ พัทยา ซึ่งมีระยะทางไม่ถึง 200 กิโลเมตร เอกชนได้เสนอให้ขยายเส้นทางไปจนถึงระยอง เนื่องจากการลงทุนรถไฟที่มีความเร็วที่มากกว่า 100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะต้องมีระยะทางอย่างน้อย 400 ถึง 500 กิโลเมตร จึงคุ้มค่ากับการลงทุน
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=R0M0odtYZcY
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44623
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/04/2015 8:34 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูง "เชียงใหม่" ทำแน่ "3เจ้าสัว" แบ่งลงทุน3เส้นทาง
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 23 เม.ย 2558 เวลา 07:00:2 น.

"บิ๊กตู่" สั่งคมนาคมสานฝันไฮสปีดเทรน"กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ให้เป็นจริง "ประจิน" ลุยเปิดประมูลมินิไฮสปีดสายใต้ "กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์" วงในเผย 3 เจ้าสัว "ไทยเบฟ-ซีพี-บีทีเอส" แบ่งเค้กลงทุนครบ 3 เส้นทาง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้กำชับให้คมนาคมเร่งผลักดันรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ให้สำเร็จและเกิดขึ้นได้จริง ส่วนรถไฟไทย-จีน เนื่องจากมีความก้าวหน้าไปมากจึงไม่มีข้อกังวลอะไร เพียงแต่บอกว่าการทำงานต้องเตรียมแผนประกันความเสี่ยงไว้ ถ้ามีความเสี่ยงด้านใดด้านหนึ่ง ต้องหาวิธีการแก้ไข

ทั้งนี้ โครงการรถไฟไทย-จีนที่ลงนาม MOU (บันทึกความเข้าใจ) กับรัฐบาลจีน เรียกว่ารถไฟทางคู่มาตรฐาน ความเร็ว 180 กม./ชม. หรือมินิไฮสปีดเทรน ขณะที่โครงการรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ชื่อโครงการจะแตกต่างออกไป โดยรัฐบาลญี่ปุ่นเรียกว่าการพัฒนาระบบรางของประเทศไทย เสนอร่วมพัฒนา 2 เส้นทางคือ

1.สายพุน้ำร้อน-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ในอนาคตถ้าเชื่อมทวายจะเป็นประโยชน์ต่อภูมิภาคนี้ เพราะเชื่อมไทย เมียนมาร์ กัมพูชา และเวียดนามได้ คาดว่าเป็นมินิไฮสปีดเทรนราง 1.435 เมตรเหมือนกับจีน

2.สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่ง 200-300 กม./ชม. คาดว่าเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเซ็น MOU เดือนพฤษภาคมนี้ จากนั้นเดือนมิถุนายนจะตั้งไซต์งานสำรวจและออกแบบใช้เวลาประมาณ 1 ปี เป็นเส้นทางเน้นขนส่งผู้โดยสารเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นไฮไลต์อีกเส้นหนึ่งของรัฐบาล

นอกจากนี้รัฐบาลยังมีแผนเร่งผลักดันรถไฟกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ หลังญี่ปุ่นได้เลือกเส้นทางใดเรียบร้อยแล้ว โดยจะเริ่มเดินหน้าเส้นทางตอนใต้ทันทีเพื่อเชื่อมรถไฟไทย-จีนที่สร้างจากหนองคาย-กรุงเทพฯ

"คาดว่าจะเปิดประมูลทั่วไปเนื่องจากยังไม่มีประเทศที่ 3 มาเสนอตัว มีแต่บริษัทเอกชนแสดงความสนใจ มีแนวโน้มเป็นรถไฟทางมาตรฐาน 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง 180 กม./ชม." พล.อ.อ.ประจินกล่าวและว่า

อีก 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-พัทยาและกรุงเทพฯ-หัวหิน เหมาะสมจะสร้างเป็นรถไฟความเร็วปานกลางถึงความเร็วสูงได้ คาดว่าภายในเดือนพฤษภาคมนี้จะเสนอแผนงานให้ ครม.พิจารณา

ที่ผ่านมามีบริษัทเอกชนไทย 3 กลุ่มแสดงความสนใจลงทุน คือ กลุ่มซีพี ไทยเบฟเวอเรจ และกลุ่มบีทีเอส ล่าสุดได้ตั้งคณะทำงานพิจารณารูปแบบการลงทุน คาดว่าเป็นการลงทุนร่วมระหว่างรัฐและเอกชนรูปแบบ PPP เตรียมเสนอ ครม.เห็นชอบเดือนพฤษภาคมนี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงหลังจากนายกรัฐมนตรีมีนโยบายลงมา มีกระแสข่าวออกมาว่ากลุ่มไทยเบฟฯ สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน, กลุ่มซีพีสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา ส่วนบีทีเอสสนใจรถไฟไทย-จีนในเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 23/04/2015 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ซีพี”สนลงทุนไฮสปีดเทรนเส้น “กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง”
มติชน
วันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 18:52:39 น.



เมื่อวันที่ 23 เมษายน พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือซีพีได้นำพันธมิตร 2 บริษัท คือ บริษัท ซิทิก คอนสทรัคชั่น (CITIC CONSTRUCTION) จากฮ่องกง และบริษัท ไห่หนาน( HNA) จากประเทศจีน เข้าพบ เพื่อแสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) ในเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงินลงทุนประมาณ 1.5 แสนล้านบาท โดยหลังจากนี้ บริษัทจะศึกษาข้อมูลการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในเดือนพฤษภาคมนี้

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า สำหรับการศึกษารายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)จะดำเนินการได้แล้วเสร็จภายหลังนำเสนอโครงการเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) แล้ว ซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาไม่นาน เนื่องจากเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการผลักดันโครงการให้เกิดขึ้นโดยเร็ว เพราะในกรณีของรถไฟไทย-จีน ก็ใช้ระยะเวลาในเรื่องของอีไอเอประมาณ 5-7 เดือนเท่านั้น จากปกติที่ใช้เวลาประมาณ 1 ปีกว่า ดังนั้นเมื่ออีไอเอผ่านแล้วก็จะต้องนำเสนอ ครม.อีกครั้ง โดยในส่วนของซีพีนั้นได้แสดงความสนใจทั้งในเรื่องของการก่อสร้างและการเดินรถ

“นโยบายก่อสร้างไฮสปีดเทรน 2 เส้นทาง โดยอีกเส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน รัฐบาลต้องการให้เอกชนไทยเป็นผู้ดำเนินโครงการ แต่เปิดโอกาสให้หาผู้ร่วมทุนจากต่างชาติได้ ขณะนี้มีเอกชนไทยจำนวน 3 ราย ได้แสดงความสนใจ คือ เครือซีพี บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือไทยเบฟ ที่สนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด(มหาชน)หรือบีทีเอส สนใจเดินรถไฟทางคู่ เส้นทางขอนแก่น-มาบตาพุด คาดว่าจะมีเพียง 3 ราย โดยทั้งหมดได้จับกลุ่มกับผู้ร่วมทุนต่างชาติ และแต่ละบริษัทเตรียมเหล่งเงินทุน กลุ่มผู้บริหาร และผู้รับเหมาไว้พร้อมหมดแล้ว”

//----------------

“ซีพี”ตีตราจองไฮสปีดกรุงเทพ-ระยอง หอบผู้ร่วมทุนพบ”ประจิน”การันตีพร้อมลงทุน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
23 เมษายน 2558 19:33 น.



“กลุ่มซีพี”พาผู้ร่วมทุนรายใหญ่จากฮ่องกงและจีน พบ”ประจิน”ยันพร้อมลงทุนรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 1.52 แสนล. รูปแบบ PPP นัดส่งแผนรายละเอียดลงทุนเพิ่มเติม 9 พ.ค. “ประจิน”สั่งเร่งแผนชงครม.ขออนุมัติปลายพ.ค.พร้อมสายกรุงเทพ-หัวหิน ซึ่งกลุ่ม”ไทยเบฟ”สนใจ

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลัง ผู้บริหารบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพีเข้าพบว่า จากที่ทางกลุ่มซีพีได้เคยมายื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กม. วงเงินลงทุน 152,712 ล้านบาทนั้น ทางคณะทำงานของกลุ่มซีพี ซึ่งมีนายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ, นายคณิต แสงสุพรรณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหาร, นายนิพนธ์ โชคภิรมย์วงศา ที่ปรึกษาและนายสัณฑศักย์ รัศมีรัตน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ได้นำผู้แทน 2 บริษัทผู้ร่วมทุนคอนซอร์เตียมเข้าพบ คือ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟเพื่อยืนยันในส่วนของความพร้อม ซึ่งตนได้ยืนยันว่านโยบายรัฐบาลต้องการให้นักลงทุนไทยเป็นแกนนำและใช้เงินลงทุนภายในประเทศ ซึ่งทางกลุ่มซีพีและผู้ร่วมทุนรับทราบและยอมรับ

ทั้งนี้ ทางกลุ่มซีพีจะต้องกลับไปศึกษารายละเอียดการลงทุนเพิ่มเติม ทั้งการก่อสร้างและการลงทุน PPP รูปแบบใด ซึ่งเบื้องต้นซีพีแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารก่อนโอนกิจการเป็นของรัฐ นอกจากนี้ จะต้องลงพื้นที่เพื่อสำรวจรายละเอียด จุดก่อสร้างสถานี ตั้งแต่ ลาดกระบัง-บางปะกง-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง โดยให้เสนอข้อมูลมาอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค. จากนั้น จะให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นำข้อมูลไปศึกษาและสรุปเพื่อให้ชัดเจนภายในวันที่ 16 พ.ค. โดยคาดว่าปลายเดือนพ.ค.นี้ จะสรุปรายละเอียดเพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติโครงการโดยมีเงื่อนไขว่าจะดำเนินการเมื่อโครงการผ่านการพิจารณาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสิ่งแวดล้อม 4 จุด

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า รัฐบาลต้องการเปิดโอกาสให้ทุกคนที่สนใจเสนอแผนลงทุนเข้ามา ซึ่งนอกจากนี้ ทางบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้เสนอลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 211 กม. วงเงินประมาณ 81,136.20 ล้านบาท โดยจะมีการนัดหารือเพิ่มเติมในเดือนพ.ค.นี้ เช่นกัน ซึ่งหากสามารถสรุปรายละเอียดได้ จะนำเสนอครม.เพื่อขออนุมัติไปพร้อมกัน

“ต้องเร่งรัดโครงการเพราะรัฐบาลต้องการเพิ่มทางเลือกในการเดินทาง เพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้า และให้เกิดการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ซึ่ง เส้นทางสายตะวันออก จะมีทั้งรถไฟทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) สำหรับผู้โดยสารและสินค้า รถไฟไทย-จีน ขนาดราง 1.435 เมตร ความเร็วปานกลาง ช่วง แก่งคอย-มาบตาพุด สำหรับผู้โดยสารเป็นหลักและสินค้าเป็นรอง รถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะเป็นทางยกระดับ และยังมีบางช่วงที่เป็นโครงการร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และ กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 139 กม. เพื่อจัดสรรในการใช้พื้นที่เขตทาง”พล.อ.อ.ประจินกล่าว

อย่างไรก็ตาม จะเปิดประกวดราคาตามขั้นตอนการร่วมทุน PPP ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2556 ซึ่งหากมีผู้สนใจเพียงรายเดียว จะต้องเสนอครม. พิจารณาเพื่อดำเนินการโดยคณะกรรมการมาตรา 16 แห่งพ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 เจรจา หากมีผู้เสนอหลายราย จะเข้ากระบวนการประกวดราคาคัดเลือก โดยพิจารณาข้อเสนอด้านคุณสมบัติ เทคนิค และราคา ซึ่งขณะนี้เส้นทางกรุงเทพ-พัทยา-ระยองมี กลุ่มซีพีรายเดียว ส่วนกรุงเทพ-หัวหินมีไทยเบฟฯ สนใจ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2015 11:58 am    Post subject: Reply with quote

ซีพีดอดพบ"ประจิน" ขอลงทุนไฮสปีดเทรน
By admin
Thai Post
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา

“ประจิน” ประชุมรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 4 ก่อนเดินทางไปคุณหมิงวันที่ 6-8 พ.ค.นี้ ขอใช้กล้องทางอากาศ 3 มิติจากจีน สำรวจพื้นที่ก่อสร้าง

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ภายในปลายเดือน พ.ค.นี้จะนำเสนอรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดให้กับคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา ทั้งนี้เมื่อวันที่ 23 เม.ย.ที่ผ่านมา บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือซีพี นำผู้บริหารระดับสูงจาก บริษัท ซิติก คอนสตั๊กชั่น จำกัด และบริษัท เอ็ช เอ็น เอ กรุ๊ป ร่วมเป็นคอนซอร์เทียม เข้าพบ เพื่อแจ้งว่าสนใจหลังซีพี สนใจโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กม. วงเงินรวมทั้งโครงการ 1.5 แสนล้าน ซึ่งทางกระทรวงคมนาคมขอให้ทางซีพีไปจัดทำรายละเอียดรูปแบบการลงทุนแล้วนำมาเสนอในวันที่ 9 พ.ค.58 ส่วน บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ ได้แสดงความสนใจเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน
ด้านความคืบหน้าโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีนนั้น ขณะนี้คณะทำงานฝ่ายจีน 80 คน ร่วมกับเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และฝ่ายบริหารของกระทรวงคมนาคม ลงพื้นที่สำรวจเส้นทางก่อสร้างรถไฟทางคู่หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และกรุงเทพฯ-แก่งคอย ไปแล้ว และหลังจากนี้ในเดือน พ.ค. ทางจีนจะนำกล้องสำรวจภาพถ่ายทางอากาศ 3 มิติ มาให้กองทัพอากาศติดตั้งและเก็บข้อมูลพื้นที่การก่อสร้างให้ได้งานแม่นยำ และรวดเร็วขึ้นตามแผนงานที่กำหนด.

//-------------------

"ซีพี" สนใจสร้างไฮสปีดเทรน ควงจีน-ฮ่องกงโชว์ความพร้อม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 06:15


พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังนายธนากร เสรีบุรี รองประธานกรรมการ เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด หรือซีพี เข้าพบว่า ผู้บริหารซีพีได้นำพันธมิตรจากบริษัท ซิทิก คอนสทรัคชั่น จากฮ่องกง และบริษัทไห่หนาน จากประเทศจีน มาแสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ในเส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร (กม.) วงเงินราว 150,000 ล้านบาท ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ทางบริษัทจะเดินหน้าศึกษาข้อมูลการดำเนินโครงการ และนำมาเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในวันที่ 9 พ.ค.58

“ตอนนี้ยังไม่ได้ให้ซีพีและพันธมิตรก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางนี้ แต่ให้ไปศึกษาเท่านั้น และยังเปิดโอกาสให้บริษัทเอกชนที่สนใจทุกรายสามารถนำเสนอผลการศึกษาได้เช่นเดียวกัน โดยคาดว่าจะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติปลายเดือน พ.ค.58 หลังจากนั้นจึงจะทราบความชัดเจนทั้งเงินลงทุนและผู้ลงทุน”

พล.อ.อ.ประจินกล่าวว่า ในวันเดียวกันนี้บริษัท สตาร์ แบก ซึ่งเป็นบริษัทรับเหมาก่อสร้างจากประเทศเยอรมนี ได้เข้าพบเพื่อแสดงความสนใจจะลงทุนโครงการรถไฟในไทย โดยเฉพาะเส้นทางรถไฟจากสตูล-สงขลา ซึ่งตนได้แจ้งว่าโครงการดังกล่าวจะดำเนินการหลังปี 2559 จึงได้เสนอว่ายังมีรถไฟทางคู่เชื่อมฝั่งตะวันออกไปยังตะวันตก เส้นทางแม่สอด จ.ตาก–จ.มุกดาหาร ซึ่งทางผู้แทนของบริษัทรับปากว่าจะนำไปแจ้งรัฐบาลของเยอรมนี หากสนใจจะติดต่อกลับมาอีกครั้ง.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 24/04/2015 8:37 pm    Post subject: เบื้องหน้าเบื้องหลังรถไฟความไวสูง Reply with quote

เบื้องหน้าเบื้องหลังรถไฟความไวสูง ที่กรณี เพื่อไทย โดนขวางแต่พอ เจ้าสัวไทยเบฟและเจ้าสัวซีพี จะเล่นก็อนุมัติทันที

Vanchai Tantivitayapitak wrote:
ทำไมจึงมีรถไฟความเร็วสูง
1 บริษัทซีพีและเบียร์ช้าง ถือได้ว่าเป็นกลุ่มบริษัทที่มีความสัมพันธ์กับข้าราชการและนักการเมืองทุกกลุ่มอย่างใกล้ชิดมาช้านาน จนสามารถได้ประโยชน์ทางธุรกิจจากสายสัมพันธ์ จนสร้างความมั่งคั่งมหาศาล
2 แต่ทั้งสองฉลาดพอที่จะไม่กระโจนเข้าเล่นการเมืองด้วยตนเอง นอกจากส่งคนของตัวเองไปเล่นการเมือง
3 แตกต่างจากทักษิณ นักธุรกิจที่ได้ดีจากสัมปทานสื่อสาร ที่กระโจนเล่นการเมืองด้วยตนเอง ผลคือถูกกลุ่มธุรกิจอื่นไล่กระทืบจนถึงทุกวันนี้
4 รถไฟความเร็วสูงที่ถูกคัดค้านในสมัยยิ่งลักษณ์ เป็นตัวอย่างที่กลุ่มธุรกิจจับมือกับนักการเมืองและข้าราชการไล่กระทืบกลุ่มทักษิณ ให้จมดิน
5 เมื่อเปลี่ยนขั้วอำนาจ รัฐบาลทหารที่แตะมือลับ ๆ กับฝ่ายต่อต้านทักษิณ จึงอนุมัติรถไฟความเร็วสูงที่เคยได้รับการต่อต้านอย่างรุนแรง แต่ตอนนี้ฝ่ายที่เคยด่าไม่ต่อต้านแล้ว 555
6 ไม่แปลกใจหากประกาศว่า กลุ่มซีพีและเบียร์ช้าง จะได้สัมปทานทำรถไฟความเร็วสูง ในราคาที่แพงกว่าสมัยยิ่งลักษณ์เสียอีก เพราะผลประโยชน์ได้ถูกเกลี่ยให้กับอีกฝ่ายเรียบร้อยโรงเรียนจีนแล้ว
7 รัฐบาลไทยยุคนี้ถึงรักจีนมาก เพราะซีพีมีธุรกิจในจีนเยอะมาก ซีพีก็ประกาศแล้วว่าจะจับมือกับบริษัทจีน ทำรถไฟความเร็วสูง ทั้งๆที่ ผู้นำด้านนี้ตัวจริงคือญี่ปุ่น ที่ไม่เคยมีอุบัติเหตุเลย
...


https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152814489947361&set=a.159623777360.113828.706872360&type=1

ส่วนกระบอกเสียงก็โอดครวญดั่งนี้



เพจดัง ถามแรง! นักต้านคอรัปชั่น หายไปไหนหมด? กรณี เอกชนดัง ชิงลงทุนไฮสปีดเทรน
วันที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2558 เวลา 11:31:05 น.





กรณีที่ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จากการหารือกับภาคเอกชนรายใหญ่ของไทย ซึ่งได้นำพันธมิตร 2 บริษัท จากฮ่องกง และ จากประเทศจีน เข้าแสดงเจตนาที่จะเข้าร่วมดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงินเบื้องต้น 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งขั้นตอนหลังจากนี้ทางบริษัทจะเดินหน้าศึกษาข้อมูลการดำเนินโครงการเพื่อนำเสนอกระทรวงคมนาคมอีกครั้งในวันที่9พฤษภาคม2558นั้น (คลิ๊กอ่านข่าวที่นี่)

ล่าสุดเพจเฟสบุ๊กชื่อดังอย่างเพจ"ศาสดา"ที่มีผู้ติดตามกว่า2แสนคน ได้โพสต์วิจารณ์กรณีดังกล่าว โดยได้ ตั้งคำถาม ถึงผู้ที่เคยเคลื่อนไหวรณรงค์ให้ประเทศปลอดการทุจริต หรือต้องการให้มีการดำเนินการโครงการของรัฐอย่างโปร่งใส ว่าจากกรณีดังกล่าว กลุ่มคนเหล่านี้ หายไปไหน ทำไมไม่ตั้งคำถามหรือตรวจสอบ เรื่องกระบวนการการดำเนินงานของภาครัฐ โดยเพจชื่อดังตั้งคำถามอีกว่า กรณีดังกล่าวมีการประมูลกันแล้วหรือยัง และจากข่าวดังกล่าวสามารถทำได้หรือไม่ โดยได้เเสดงความกังวลว่าอาจจะมีเรื่องของผลประโยชน์ทับซ้อนเกิดขึ้นหรือไม่อีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 188, 189, 190 ... 547, 548, 549  Next
Page 189 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©