RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180297
ทั้งหมด:13491531
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 191, 192, 193 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
nutsiwat
2nd Class Pass
2nd Class Pass


Joined: 03/03/2011
Posts: 684
Location: สถานีเรณูนคร

PostPosted: 20/06/2015 1:11 pm    Post subject: Reply with quote

ทำรถไฟความเร็วปานกลาง คือ 160 - 180 กม. เหมือนที่ประเทศมาเลเซียจะเปิดใช้ในเดือนกันยายน ปี 2015 นี้ ก็ได้นะครับ สำหรับเส้นทางสายกรุงเทพ - หัวหิน และ กรุงเทพฯ - พัทยา
_________________
Laughing Laughing Laughing Laughing
--------------------------

สถานีต่อไป สถานีเรณูนคร
next station Renunakorn
Back to top
View user's profile Send private message Yahoo Messenger MSN Messenger
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 24/06/2015 1:56 am    Post subject: ไม่เอาเด่นชัย - เชียงรายแต่จะเอาเชียงใหม่ เวียงป่าเป้า เชียง Reply with quote

ผู้ว่าฯ เชียงใหม่ เตรียมชง ครม.สัญจร โครงการศึกษารถไฟความเร็วสูง


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
22 มิถุนายน 2558 10:20 น.

นายสุริยะ ประสาทบัณฑิตย์ ผู้ว่าราชการ จ.เชียงใหม่ เตรียมเสนอโครงการพัฒนา จ.เชียงใหม่ และการค้าชายแดนกว่า 10 โครงการต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) สัญจรที่ จ.เชียงใหม่ วันที่ 29-30 มิถุนายนี้ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการก่อสร้างถนนเชื่อมพื้นที่ชายแดนเพื่อพัฒนาการค้า การลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน โครงการพัฒนาระบบขนส่งมวลชน จ.เชียงใหม่ เช่น โครงการศึกษาและออกแบบระบบขนส่งมวลชน เพื่อรองรับระบบรถไฟความเร็วสูง และเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งภูมิภาค 8 จังหวัดภาคเหนือโครงการก่อสร้างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 118 เส้นทางเชียงใหม่-อ.เวียงป่าเป้า-จ.เชียงราย ระยะทาง 170 กิโลเมตร
นอกจากนี้ ยังมีโครงการก่อสร้างทางหลวงหมายเลข 11 ส่วนต่อขยายจากแยกรินคำไปท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะทาง 4 กิโลเมตรก่อสร้างถนนหมายเลข 121 แนวใหม่ส่วนต่อขยายสนามกีฬาเชียงใหม่ 700 ปี ไป อ.แม่ริม หรือปรับปรุงทางหลวงหมายเลข 108 เชียงใหม่-แม่สะเรียง จ.แม่ฮ่องสอน โครงการพัฒนาแก้ปัญหาคลองแม่ข่า อายุกว่า 700 ปี คู่เมืองเชียงใหม่ เพื่อแก้ปัญหาน้ำเน่าเสีย และการบุกรุกและโครงการบริหารจัดการขยะแบบครบวงจร เป็นต้น
ส่วนจะมีพลังมวลชนเคลื่อนไหวยื่นหนังสือหน้าศูนย์ประชุมและจัดแสดงสินค้านานาชาติเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา สถานที่จัดประชุม ครม.สัญจร ขณะนี้เจ้าหน้าที่ด้านความมั่นคงอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อให้การประชุมเป็นไปด้วยความเรียบร้อยเชื่อว่าไม่น่ามีปัญหา
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 24/06/2015 9:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เทียบฟอร์มญี่ปุ่น-จีน ใครมีลุ้นโครงการรถไฟความเร็วสูงของไทย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 7 มิถุนายน 2558 06:33 น.

Click on the image for full size
โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงในประเทศไทย เป็นที่หมายตาของเจ้าของเทคโนโลยีหลายประเทศ โดยเฉพาะญี่ปุ่นและจีน ซึ่งมีแนวโน้มจะได้รับสัมปทานในโครงการนี้มากที่สุด ทั้งสองประเทศต่างมีความโดดเด่นที่แตกต่างกัน และรัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนต่างพยายามทุกวิถีทางเพื่อให้ได้สิทธิ์ในโครงการนี้

พลอากาศเอกประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมของไทย ได้พบกับนายอะกิฮิโระ โอตะ รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม และมีพิธีลงนามแลกเปลี่ยนบันทึกความเข้าใจระหว่างกัน ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศมีการลงนามเป็นลายลักษณ์อักษรเพื่อแลกเปลี่ยนความร่วมมือด้านเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง

Click on the image for full size
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นเปรียบเทียบศักยภาพรถไฟญี่ปุ่นกับจีน
รายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นได้วิเคราะห์ศักยภาพของรถไฟแดนอาทิตย์อุทัย พร้อมระบุว่า การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นโครงการที่ญี่ปุ่นมีความหวังมากที่สุด ซึ่งหากรถไฟเส้นทางนี้ใช้เทคโนโลยีชินคันเซน ประเทศไทยจะถือเป็นประเทศที่ 2 ในโลก ต่อจากไต้หวันที่ใช้เทคโนโลยีของญี่ปุ่น

Click on the image for full size

ชินคันเซน ปลอดภัยสูงสุด

ข้อได้เปรียบที่สำคัญที่สุดของชินคันเซน คือ เรื่องความปลอดภัย โดยนับตั้งแต่เปิดให้บริการมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1964 ถึงปัจจุบันนานกว่า 50ปี ไม่เคยมีอุบัติเหตุที่มีผู้เสียชีวิตแม้แต่ครั้งเดียว

ในรายการโทรทัศน์ได้เปรียบเทียบให้เห็นว่า รถไฟชินคันเซนที่แล่นด้วยความเร็วถึง 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมงนั้นมีความนิ่ง ถึงขนาดที่สามารถวางเหรียญตั้งไว้บนขอบหน้าต่างของรถได้

ความปลอดภัยไม่ใช่เรื่องของอุบัติเหตุเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการออกแบบที่เป็นเหมาะสมกับผู้โดยสารด้วย โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ถูกเชิญให้ไปออกแบบภายในรถไฟใต้ดินของนครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐฯ ที่ได้ชื่อว่ามีการเกิดอาชญากรรมบนรถไฟสูงที่สุด โดยนักออกแบบของญี่ปุ่นได้ตกแต่งบรรยากาศภายในรถไฟใต้ดินใหม่ และช่วยลดการเกิดอาชญากรรมอย่างได้ผล

Click on the image for full size


Click on the image for full size
มูลค่าการส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของจีน นำหน้าทุกประเทศอย่างไม่เห็นฝุ่น

ชินคันเซนแพงกว่าจีน 3เท่าตัว
อุปสรรคที่สำคัญของรถไฟความเร็วสูงจากญี่ปุ่นคือราคาที่สูงมาก โดยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศที่มีเทคโนโลยีนี้ คือ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส และจีนนั้น ต้นทุนการก่อสร้างของรถไฟชินคันเซนสูงที่สุด โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับรถไฟความเร็วสูงของจีนแล้ว ชินคันเซนแพงกว่าถึง 3 เท่าตัว

จีนคือเจ้าตลาดตัวจริง
วิทยากรในรายการโทรทัศน์ของญี่ปุ่นยังได้แสดงถึงมูลค่าที่ประเทศสำคัญๆ ส่งออกเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง โดยจีนคือเจ้าตลาดที่ทำเงินจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงได้ถึง 3.7 ล้านล้านเยน ขณะที่ แคนาดา เยอรมนี ฝรั่งเศส ทำรายได้ได้ไม่ถึง 1 ล้านล้านเยน ส่วนรถไฟชินคันเซนของญี่ปุ่น ทำรายได้จากการส่งออกเทคโนโลยีได้ไม่ถึง 0.5 ล้านล้านเยนด้วยซ้ำ

Click on the image for full size
ผู้เชี่ยวชาญวิเคราะห์จุดแข็ง-จุดอ่อนของรถไฟชินคันเซน
บริษัทเอกชนญี่ปุ่นแข่งกับรัฐวิสาหกิจจีน
ผู้เชี่ยวชาญชาวญี่ปุ่นยอมรับว่า อุปสรรคที่รถไฟญี่ปุ่นที่ไม่สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้ ไม่ใช่เรื่องของเงินทุนหรือความทันสมัย แต่เป็นรูปแบบการบริหารจัดการ โดยบริษัทที่ผลิตรถไฟชินคันเซนมี 2 ราย คือ ฮิตาชิ และคาวาซากิ

หากแต่ ทางฝั่งจีน ผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงคือรัฐวิสาหกิจภายใต้การกำกับของคณะรัฐมนตรีจีนโดยตรง โดยแต่เดิมมี 2 บริษัท คือ “หนานเชอ” 中國南車 และ “เป่ยเชอ” 中國北車 แต่ในปี 2015รัฐวิสาหกิจทั้งสองแห่งได้ควบรวมกิจการกันเป็นบริษัท CRRC Corporation Limited หรือ จงกั๋วจงเชอ 中国中车 ซึ่งเป็นกิจการรถไฟที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

การแข่งขันเรื่องรถไฟความเร็วสูงระหว่างญี่ปุ่นจีนนั้น จึงไม่ใช่การแข่งขันระหว่างบริษัทเอกชน แต่เป็นการแข่งขันระหว่างรัฐบาลของ 2 มหาอำนาจแห่งเอเชีย

Click on the image for full size
แผนที่โครงการ "รถไฟเชื่อมเอเชีย" ของรัฐบาลจีน
ศึกการค้า ศึกการเมือง
รัฐบาลทั้งญี่ปุ่นและจีนได้ใช้ความพยายามทางการทูตและการเมืองในหลายมิติ เพื่อให้ได้สิทธิ์ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะรัฐบาลจีนที่นายกรัฐมนตรีหลี่เค่อเฉียง เคยประกาศอย่างชัดเจนในระหว่างการเยือนประเทศไทยว่า “ปรารถนาจะสร้างรถไฟเชื่อมภูมิภาคเอเชียให้ได้” แน่นอนว่ารัฐบาลแดนมังกรจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ยุทธศาสตร์นี้เป็นจริง

ผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นยังยกตัวอย่างการจัดตั้ง ธนาคารเพื่อการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานแห่งเอเชีย หรือ AIIB ที่จีนเป็นผู้ริเริ่มและมี 57 ประเทศเข้าร่วมเป็นสมาชิกนั้น เป็นจิ๊กซอว์ตัวสำคัญของโครงการทางรถไฟเชื่อมเอเชีย ซึ่งการออกแรงผลักดันโดยตรงจากรัฐบาลเช่นนี้ รัฐบาลญี่ปุ่นไม่อาจจะทำได้เพราะติดขัดเรื่องข้อกฎหมาย แตกต่างจากฝ่ายจีนที่รัฐบาลสามารถสั่งการได้ทุกอย่าง

ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่มีการเดินรถไฟตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 แต่จนถึงวันนี้รถไฟของไทยยังคงล้าหลังเหมือนเช่นเมื่อ 130 ปีก่อน จึงไม่มีใครปฏิเสธว่าการพัฒนาการขนส่งทางรางเป็นความจำเป็นอย่างยิ่ง

อภิมหาโครงการที่มีมูลค่ามหาศาลนี้ไม่เพียงเป็น “ชิ้นปลามัน” ที่ใครๆต่างก็ปรารถนา หากแต่ยังเกี่ยวพันถึงดุลอำนาจของประเทศต่างๆในภูมิภาค รัฐบาลไทยจึงจำเป็นต้องพิจารณาทั้งมิติของการลงทุน, สิ่งแวดล้อม รวมทั้งการเมืองระหว่างประเทศให้รอบคอบ.


ผมได้ยินมาว่า ฟิลิปปินส์ ได้บลูเทรนรุ่น24มือ2จากญี่ปุ่น

มองย้อนกลับมาที่บ้านเรา อันที่จริง ทำไมเราไม่ชิงจังหวะ ขอบลูเทรนที่ญี่ปุ่นกำลังจะเลิกใช้มาเลยละครับ
ไหนก็คุยเรื่องรถไฟความเร็วสูงกับญี่ปุ่นแล้ว และเป็นอะไรที่Win-Winทั้งสองฝ่ายด้วย ญี่ปุ่นได้โละของแถมซื้อใจพี่ไทย พี่ไทยเราก็ได้รถฟรีมือสองสภาพเยี่ยมมาใช้ อย่าว่าแต่บลูเทรนเลยครับ EMU หรือDMUบางรุ่นที่เค้าต้องการจะโละยกแผง ผมเชื่อว่าเราสามารถเพื่อขอ นำRe-gaugeมาใช้ในโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ดีกว่ารอซื้อของใหม่ ประหยัดงบไปได้เยอะ

และสักพักจะมีคนบอก"พี่ครับ ถ้ารถที่จะขอมาตัวรถกว้างหรือแคบกว่าชานชาลาจะทำไงละครับ?"
คือถ้าคิดว่า เหลาหรือแต่งชานชาลา แล้วไม่คุ้มบ้าง ไม่มีปัญญาทำบ้าง ทำแบบนี้ผมนี้ไม่ได้ค่าคอมบ้าง ถือว่า ขอมาทำปะการังเทียมก็ยังดีนะครับ ฮิตาชิ666จะได้ไม่เหงาครับ อย่างน้อยจะได้มีเด็กบ้านเกิดเดียวกันมาอยู่เป็นเพื่อน 5555555.....555(ถือว่าฮากัน666ครั้งแล้วกันครับ)


ถ้าเป็นไปได้ ผมอยากเห็นผู้ใหญ่บ้านเราเก๋าในเรื่องที่จะทำให้ประเทศได้ผลประโยชน์แบบกินเปล่าแบบนี้ครับ Laughing
Back to top
View user's profile Send private message
black_express
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/03/2006
Posts: 10060
Location: อุตรดิตถ์ - กรุงเทพฯ

PostPosted: 25/06/2015 9:57 am    Post subject: Reply with quote

เส้นทางไหนที่ไม่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน ทำเป็นทางคู่ขนาด 1 เมตรได้เลย สำหรับทางสายประธาน ส่วนทางสายย่อยก็เป็นทางเดี่ยวเหมือนเดิม

สำหรับรถไฟมือสองจากญี่ปุ่น ผมคิดว่าไม่เป็นการเสียเกียรติแต่อย่างใด หากมา re-use พร้อม re-guage ใช้งานใหม่ ฝีมือช่างเราดีๆ เยอะแยะไป ไม่เป็นรองใครในอาเซียน
Back to top
View user's profile Send private message
unique
3rd Class Pass (Air)
3rd Class Pass (Air)


Joined: 12/09/2006
Posts: 258
Location: กทม.

PostPosted: 25/06/2015 11:42 am    Post subject: Reply with quote

black_express wrote:
เส้นทางไหนที่ไม่มีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่าน ทำเป็นทางคู่ขนาด 1 เมตรได้เลย สำหรับทางสายประธาน ส่วนทางสายย่อยก็เป็นทางเดี่ยวเหมือนเดิม

สำหรับรถไฟมือสองจากญี่ปุ่น ผมคิดว่าไม่เป็นการเสียเกียรติแต่อย่างใด หากมา re-use พร้อม re-guage ใช้งานใหม่ ฝีมือช่างเราดีๆ เยอะแยะไป ไม่เป็นรองใครในอาเซียน


ใช่ครับพี่ด่วนดำ ผมยังมองทะลุไปถึง พิพิธภัณฑ์ รถไฟ ที่บ้านแรามีดำริจะทำ อันที่จริง ไม่จำเป็น ต้องมีแค่รถไฟ ของไทยอย่างเดียวนะครับ ถ้าญี่ปุ่นยังมีชินกังเซน Series 0 หรือSeriesที่ใหม่กว่านั้น ในstock เป็นไปได้ที่เราจะขอนำมาจัดแสดง หรือ ไม่ก็อย่าง TGV รุ่น 1 ที่ทำสีคล้ายๆกับAD24C ของฝรั่งเศษที่จอดรอScrapก็มี ถ้าไปเจรจามา ผมเองเชื่อว่า สามารถขอมาได้เช่นกัน ซึ่งเท่ากับว่ามีของเจ๋งๆในพิพิธภัณฑ์ สร้างคุณค่ามากกว่าเดิมแน่นอน

หมายเหตุ แต่อย่างไรก็ตาม ผมขอความกรุณา แฟนรถไฟไทยทุกท่านนะครับ ช่วยกั๊ก ผมเข้าใจว่า บางท่านอินเตอร์มีตัวตนในบอร์ดต่างประเทศ ขอร้องกรุณาเก็บ ไอเดียที่ผมกับพี่ด่วนดำแชร์กันไว้ในใจพอนะครับ อยากให้เป็นไอเดียคนไทยเพื่อคนไทย อย่าเที่ยวไปพูดแชร์ในเวปต่างประเทศต่างภาษา เดี๋ยวจะพาพวกเราเสียโอกาสเหล่านี้ที่คิดกันก็อาจเป็นได้ครับ เพราะคนนอกเค้าอาจจะไว คาบไปทำซะก่อน ขอความกรุณาด้วยนะครับ

เพราะอะไรเหรอครับ ผมจำได้ว่าเคยได้ยิน อ.นคร จันทศร ท่านเคยเล่าประสบการณ์ ว่าท่านมีแนวคิด ในการพัฒนารถไฟ ตอนนั้นท่านคุยกับเกาหลี เกาหลีก็เอาแนวคิดของท่านไปใช้ซะงั้น ผลเป็นไงก็เห็นกันในปัจจุบันนะครับ ขอความกรุณาช่วยกั๊กมา ณ ที่นี้นะครับ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/06/2015 5:50 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพี เคาะร่วมลงทุนรถไฟความเร็วสูง
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ที่ 26 มิถุนายน 2015 เวลา 17:18 น.

นายสุนทร อรุณานนท์ชัย ประธานคณะผู้บริหาร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ซี.พี.แลนด์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือซีพี ได้รับการเชิญชวนจากภาครัฐให้ร่วมลงทุนในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูง ซึ่งทางบริษัทก็มีความสนใจ แต่ละร่วมลงทุนในสายช่วยเกื้อหนุนธุรกิจในเครืออย่างสายกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง (มาบตาพุด) โดยจะทำในนามของบริษัทแม่ ในส่วนของซี.พี.แลนด์จะพัฒนานิคมอุตสาหกรรมที่ระยอง มูลค่า 7 พันล้านบาท และโรงไฟฟ้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/06/2015 10:24 am    Post subject: Reply with quote

คิกออฟรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ตั้งเป้าตอกเข็มไฮสปีดกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ปี 61
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 29 มิถุนายน 2558 09:21 น.

คมนาคมคิกออฟความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เผยญี่ปุ่นยังกังวลจำนวนผู้โดยสารไฮสปีด เตรียม 3 ทีมลงสำรวจส้นทางไฮสปีด กทม.-เชียงใหม่, กาญจนบุรี-สระแก้ว-แหลมฉบัง และการขนส่งสินค้า “อาคม” เผยทบทวนผลศึกษาไฮสปีด 3 เดือน คาดออกแบบรายละเอียดเสร็จปี 60 เริ่มก่อสร้างต้นปี 61

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 26 มิ.ย. ได้ประชุมคณะทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่นในการพัฒนาระบบราง ครั้งที่ 1 ระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย กับ นายชิมูระ รองอธิบดีกรมรถไฟ ผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน สาธารณูปโภค คมนาคม และท่องเที่ยว ของญี่ปุ่น (MLIT) และคณะ โดยได้ตกลงในการจัดทำแผนการทำงานร่วมกัน 3 ทีม ประกอบด้วย 1. ทีมสำรวจออกแบบเส้นทางโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม. 2. ทีมสำรวจเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ, กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม. และ 3. ทีมด้านระบบขนส่งสินค้าทางรถไฟ โดยจะส่งทีมเข้ามาในเดือน ก.ค.นี้ ส่วนคณะทำงานระดับกระทรวงจะนัดประชุมกันทุก 3 เดือน

ทั้งนี้ แผนการทำงานในส่วนของรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้น จะนำผลการศึกษาความเป็นไปได้และข้อมูลเบื้องต้นที่มีเดิมมาทบทวน โดยทางญี่ปุ่นระบุว่าจะเริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมฉบับเต็ม คาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน จากนั้นจะทำการสำรวจออกแบบประมาณ 1 ปี คาดว่าจะสรุปผลเบื้องต้นได้ประมาณกลางปี 2559 เพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขออนุมัติในหลักการ และการศึกษาออกแบบรายละเอียดจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในต้นปี 2560 ซึ่งจะขออนุมัติดำเนินโครงการต่อไปเพื่อเริ่มก่อสร้างในต้นปี 2561

“รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่มีการศึกษาเบื้องต้นไว้แล้ว ซึ่งทางญี่ปุ่นย้ำว่าระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นปลอดภัยสูงสุดในโลก ดังนั้นต้องมีความละเอียดรอบคอบในการสำรวจออกแบบ โดยเฉพาะด้านกายภาพและภูมิศาสตร์ โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ตอน คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. และพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 288 กม. ใช้ระยะเวลาประมาณ 4-5 ปี”

สำหรับรูปแบบการลงทุนและการเงินนั้น ญี่ปุ่นจะส่งบริษัทที่ปรึกษาเข้ามาร่วมหารือ ซึ่งไทยเห็นว่าควรเป็นการร่วมทุนเพื่อแบ่งความรับผิดชอบกัน ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเห็นว่ารถไฟความเร็วสูงจะต้องให้ความสำคัญต่อปริมาณผู้โดยสาร ซึ่งตลอดเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะผ่านเมืองท่องเที่ยวและเมืองธุรกิจ นอกจากนี้ ไทยจะมีแผนเชื่อมรถไฟ จากแม่สอด-มุกดาหาร (ตะวันตก-ตะวันออก) โดยเบื้องต้นมีการศึกษาช่วงแม่สอด-นครสวรรค์ ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม แล้ว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2015 4:48 pm    Post subject: Reply with quote

′สามารถ ราชพลสิทธิ์′ฟันธง ญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุน′ไฮสปีดเชียงใหม่′เตือนไอ้เสือถอย
มติชน
วันที่ 07 กรกฎาคม พ.ศ. 2558 เวลา 15:00:29 น.






นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯและอดีตส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์(ปชป.) โพสต์ข้อความและภาพผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ วันที่ 7 กรกฎาคมว่า

ฟันธง! ไฮสปีดเชียงใหม่ ญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุน

ผมขอบอกเสียก่อนว่า ผมไม่ได้คัดค้านการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (Memorandum of Cooperation หรือ MOC) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่นไปแล้ว เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ที่กรุงโตเกียว

ใน MOC ฉบับนี้ระบุว่าทั้งสองฝ่ายตกลงที่จะใช้เทคโนโลยีและประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่นหรือชินคันเซ็น และทั้งสองฝ่ายจะร่วมกันพิจารณารูปแบบการลงทุนและความช่วยเหลือด้านการเงินจากญี่ปุ่นที่เหมาะสม

ขณะนี้ทั้งสองฝ่ายกำลังศึกษาความเป็นไปได้การออกแบบรายละเอียดและการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการนี้หากย้อนดูผลการศึกษาความเป็นไปได้โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ในปี พ.ศ. 2553 และ พ.ศ. 2556

รวมทั้งผลการศึกษาโดยรัฐบาลญี่ปุ่นในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2555 และผลการศึกษาโดยรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2555 พบว่าทุกการศึกษาให้ผลเหมือนกัน

นั่นคือรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ให้ผลตอบแทนทางการเงิน (Financial Internal Rate of Return หรือ FIRR) แก่ผู้ลงทุนไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ด้วยเหตุนี้

ผมจึงคาดการณ์ว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่ร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทยเพื่อก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่แต่รัฐบาลญี่ปุ่นจะให้รัฐบาลไทยกู้เงินบางส่วนรวมทั้งจะรับเหมาก่อสร้าง และขายขบวนรถไฟ วัสดุอุปกรณ์

ทั้งนี้ ผมมีเหตุผลสนับสนุนดังนี้

1.ผลการศึกษาทุกการศึกษาในอดีตยืนยันตรงกันว่ารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ให้ผลตอบแทนทางการเงิน(FIRR) ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน แม้ว่าการทบทวนการศึกษาความเป็นไปได้โดยทั้งสองฝ่ายที่อยู่ในระหว่างการดำเนินการยังไม่แล้วเสร็จ แต่ผมคาดว่าคงได้ผลลัพธ์ไม่แตกต่างจากเดิม นั่นคือรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ให้ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ไม่คุ้มค่ากับการลงทุน

ซึ่งจะส่งผลให้รัฐบาลญี่ปุ่นไม่ต้องการแบกรับความเสี่ยงร่วมกับรัฐบาลไทย แต่รัฐบาลญี่ปุ่นเลือกที่จะให้เงินกู้ รับเหมาก่อสร้าง และขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ ซึ่งไม่มีความเสี่ยงแต่จะได้รับผลประโยชน์จากการให้กู้เงิน รับเหมาก่อสร้าง และขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์

2.รัฐบาลญี่ปุ่นเห็นตัวอย่างรูปแบบการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วปานกลางเส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-มาบตาพุดและเส้นทางแก่งคอย-กรุงเทพฯโดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีแนวโน้มว่ารัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีนจะไม่ร่วมลงทุนด้วย แต่จะให้ไทยกู้เงินบางส่วนเพื่อใช้ในการก่อสร้าง พร้อมทั้งจีนจะรับจ้างก่อสร้างงานบางส่วนที่ผู้รับเหมาไทยไม่ถนัด

อีกทั้ง จีนจะขายขบวนรถไฟ รวมทั้งวัสดุอุปกรณ์ที่ไม่มีในไทย ซึ่งจะทำให้ จีนไม่ต้องแบกรับความเสี่ยงในกรณีที่โครงการขาดทุน แต่จีนจะได้รับประโยชน์จากดอกเบี้ยเงินกู้ การได้งานก่อสร้าง การขายขบวนรถไฟและวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งการมีเส้นทางออกทะเลอีกเส้นทางหนึ่ง

ด้วยเหตุนี้ หากรัฐบาลไทยมั่นใจว่ารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะมีผู้โดยสารใช้บริการมาก ซึ่งจะส่งผลให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชนหรือประเทศชาติโดยส่วนรวมในการประหยัดเวลาการเดินทาง ลดการเผาผลาญน้ำมันเชื้อเพลิง และลดอุบัติเหตุจราจร รวมทั้งช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการเพิ่มการจ้างงาน ส่งเสริมการท่องเที่ยว ฯลฯ หรือพูดได้ว่าโครงการนี้ให้ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจ (Economic Internal Rate of Return หรือ EIRR) ต่อประเทศไทยคุ้มค่ากับการลงทุน

รัฐบาลก็อาจเดินหน้ากู้เงินมาก่อสร้างได้ แต่ถ้าไม่มั่นใจแล้วล่ะก็ถอยดีกว่า เก็บเงินไว้สร้างโครงการที่มีความจำเป็นและก่อให้เกิดประโยชน์อย่างแน่นอนดีกว่า เช่น โครงการรถไฟทางคู่ ขนาดความกว้างของราง 1 เมตร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2015 9:30 am    Post subject: Reply with quote

"ประจิน"ตั้งเป้าประมูลไฮสปีด มิ.ย.59 กลุ่ม ซีพี.-ไทยเบฟฯ ยืนยันพร้อมลงทุน


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์
3 สิงหาคม 2558 06:42 น. (แก้ไขล่าสุด 3 สิงหาคม 2558 08:08 น.)



"ประจิน"เร่งเสนอ ครม.ขออนุมัติรถไฟความเร็วสูง 2 เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน และ กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง สั่งปลัดคมนาคม ประสาน สผ. เร่งอนุมัติ EIA ตั้งเป้าเปิดประมูล มิ.ย.59 ขณะที่ล่าสุด กลุ่มซีพี และไทยเบฟฯ ยืนยันพร้อมร่วมลงทุน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) 2 เส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 81,136 ล้านบาท และ กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร วงเงิน 152,448 ล้านบาท ว่า ตามแผนงาน กระทรวงเตรียมนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พร้อมกันทั้ง 2 เส้นทาง โดยในส่วนของขั้นตอนการพิจารณารายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาตินั้น ได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ประสานกับปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานนโยบายและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อขอเร่งรัดการจัดทำ EIA ให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จากปกติต้องใช้เวลาศึกษาพิจารณาประมาณ 1-2 ปี

พร้อมกันนี่ ให้ปลัดกระทรวงคมนาคมประสานกับสำนักเลขาธิการ ครม. เพื่อหารือว่าจะนำเสนอโครงการเข้า ครม.แบบมีเงื่อนไข คือ ขออนุมัติโครงการรอไว้ก่อนโดยจะดำเนินการก่อสร้างต่อเมื่อได้รับอนุมัติ EIA ได้หรือไม่

ทั้งนี้ เมื่อกลางเดือนก.ค.ที่ผ่านมา ผู้แทน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (มหาชน) หรือ กลุ่ม ซีพี และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ได้เข้าพบอีก เพื่อรายงานความคืบหน้าว่า บริษัท ได้จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดโครงการไว้พร้อมแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเคยระบุไปก่อนหน้านี้ ดังนั้นหากรัฐบาลเปิดประกวดราคาเอกชน จะพร้อมเข้ายื่นข้อเสนอทันที

“เป้าหมาของกระทรวงคมนาคม ต้องการดำเนินโครงการไฮสปีดเทน 2 เส้นทางไปพร้อมๆ กัน จึงจะพยายามเสนอครม.พร้อมกัน โดยจะเสนอครม.แบบมีเงื่อนไข จากเดิมที่ต้องให้ผ่านการพิจารณา EIA ก่อนจึงจะเสนอครม.เพื่อขออนุมัติ และประกวดราคาได้ ซี่งอาจจะล่าช้ามาก ดังนั้นจะเสนอครม.ขออนุมัติ ประกวดราคาไปพรางก่อน แต่จะก่อสร้างได้ก็ต่อเมื่อ ผ่านEIA แล้ว ซึ่งยังไม่รู้ว่าทาง ครม.จะยอมหรือไม่” พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า ตามกรอบเวลาเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดประกวดราคาทั้ง 2 เส้นทางได้ในเดือนมิ.ย.2559 เนื่องจากหากครม.เห็นชอบแล้ว ยังมีขั้นตอนการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) และการดำเนินการตามรูปแบบรัฐกับเอกชนลงทุนร่วมกัน ( PPP) ด้วย

ทั้งนี้ กลุ่ม ซีพีได้ยื่นข้อเสนอแสดงความสนในการลงทุนก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง โดยร่วมกับ บริษัท CITIC Construction Co.,Ltd. จากประเทศฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทด้านก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุนครบวงจร และบริษัท ไหหนาน กรุ๊ป (HNA Group) ซึ่งเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ สนามบินและรถไฟ โดยแจ้งว่ามีความเชี่ยวชาญในการการดำเนินงานในรูปแบบ BOT (Build-Operate-Transfer) คือ ก่อสร้างเสร็จแล้ว บริหารตามสัญญาสัมปทาน แล้วจึงโอนกิจการเป็นของรัฐ

//-----------------

ตีตั๋วจองรถไฟไฮสปีด "ซีพี" เสนอแผนเดือนนี้ โพสต์เมื่อ : 03 ส.ค. 2558, 07:08 น. หมวดหมู่ : ธุรกิจ-ตลาด ชง ครม.อนุมัติสร้างรถไฟไฮสปีดเดือนนี้ คาด มิ.ย. 2559 ประกวดราคา ซีพีพร้อมเสนอแผน พล.อ.อ.ประจิน
http://m.posttoday.com/article/379799/18000
//-----------
รถไฟไฮสปีดเทรนเนื้อหอม
บ้านเมือง
วันจันทร์ ที่ 03 สิงหาคม พ.ศ. 2558, 10.57 น.

A A A ขยายตัวอักษร

รถไฟไฮสปีดเทรนเนื้อหอม
เอกชนรุมตอมยื่นข้อเสนอสนใจลงทุน


กระทรวงคมนาคม ในฐานะผู้กำกับดูแลโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทย ซึ่งถือว่ามีบทบาทสำคัญกับการเดินทางของประชาชนเป็นอย่างมาก ขณะนี้ที่กระทรวงคมนาคมก็ได้มีการเร่งรัดโครงการรถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน และโครงการรถไฟทางคู่ วันนี้จะขอนำเสนอความคืบหน้าบางส่วนของโครงการรถไฟไฮสปีดเทรน เพื่อเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะชน

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 194 กิโลเมตร วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท และกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 81,136.20 ล้านบาท ว่าขณะนี้ บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (CP) และบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) หรือ THBEV ได้เดินทางเข้าพบเพื่อรายงานให้ทราบว่าขณะนี้เอกชนได้จัดเตรียมข้อมูลและรายละเอียดโครงการไว้พร้อมแล้ว ตามที่กระทรวงคมนาคมเคยระบุไปก่อนหน้านี้ อย่างไรก็ตาม หากรัฐบาลเปิดประกวดราคาเอกชนก็พร้อมเข้ายื่นข้อเสนอทันที ซึ่งยอมรับว่าล่าสุดมีเส้นทางที่พร้อมประกวดราคาเพียงเส้นทางเดียว คือ กรุงเทพฯ-พัทยา-มาบตาพุด ที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เป็นผู้ดำเนินการศึกษา ส่วนเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ศึกษานั้น ยังอยู่ระหว่างการจัดทำผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ขณะที่กระทรวงคมนาคมต้องการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ได้พร้อมกันทั้ง 2 เส้นทาง

สำหรับล่าสุดได้มอบหมายให้นางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ ปลัดกระทรวงคมนาคม ประสานกับสำนักงานนโยบายและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อขอเร่งรัดการจัดทำ EIA เส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน เป็นกรณีพิเศษ โดยให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน จากปกติต้องใช้เวลาศึกษาประมาณ 1-2 ปี ขณะเดียวกันได้ให้ปลัดกระทรวงคมนาคมประสานกับสำนักเลขาธิการ ครม. เพื่อหารือว่าจะนำเสนอโครงการนี้เข้า ครม. เพื่อขออนุมัติรอไว้ก่อนได้หรือไม่ และค่อยดำเนินการก่อสร้างหลังจากได้รับอนุมัติ EIA แล้ว อย่างไรก็ตาม จากการประเมินกรอบเวลาเบื้องต้นคาดว่าจะเปิดประกวดราคาทั้ง 2 เส้นทางได้ในเดือนมิถุนายน 2559 เพราะหลังจาก ครม.เห็นชอบแล้ว ยังมีขั้นตอนการจัดทำร่างเงื่อนไขการประกวดราคา (TOR) และการดำเนินการตามรูปแบบรัฐกับเอกชนลงทุนร่วมกัน (Public-Private Partnership หรือ PPP)

ทั้งนี้ CP ได้หาผู้ร่วมทุนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างมาร่วมลงทุนด้วย คือ 1.บริษัท CITIC Construction Co., Ltd. จากฮ่องกง ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจแบบครบวงจร ทั้งเรื่องการออกแบบ เป็นที่ปรึกษา รับเหมาก่อสร้าง และมีสถาบันการเงินของตัวเอง 2.บริษัท HNA Group จากประเทศจีน ซึ่งมีความเชี่ยวชาญด้านการก่อสร้างท่าเรือ และรถไฟ

ด้าน THBEV ได้มาเข้าพบ พล.อ.อ.ประจิน เพื่อเสนอตัวลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่ง พล.อ.อ.ประจิน ได้ระบุให้ THBEV ตั้งคณะทำงานขึ้นมาประสานงานกับคณะทำงานของกระทรวงคมนาคม ที่มี รฟท.กับ สนข.รับผิดชอบ เพื่อจัดทำรายละเอียดการลงทุนให้ชัดเจน ซึ่งหลังจาก THBEV จัดทำข้อมูลเสร็จแล้วจึงได้มารายงานให้ พล.อ.อ.ประจิน รับทราบดังกล่าว เพื่อยืนยันความพร้อมการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ล่าสุด รฟท. มีแผนจัดทำโครงการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์บริเวณสถานีกลางบางซื่อ จำนวน 218 ไร่ เพื่อบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด และเพิ่มมูลค่าทรัพย์สินของ รฟท. โดยแบ่งพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 3 แปลง ประกอบด้วย แปลงที่ 1 จำนวน 35 ไร่ แปลงที่ 2 จำนวน 78 ไร่ แปลงที่ 3 จำนวน 105 ไร่ พร้อมนำแนวคิดการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development :TOD) มาใช้เป็นแนวทางศึกษาโครงการ โดย รฟท. ได้จัดจ้างบริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด ดำเนินการศึกษาความเหมาะสมด้านธุรกิจและการลงทุนโครงการดังกล่าว ระยะเวลาศึกษา 240 วัน และจะมีการจัดสัมมนาเพื่อทดสอบความสนใจภาคเอกชนในการลงทุน (Market Sounding) ในวันที่ 5 สิงหาคมนี้ โดยคาดว่าจะจัดทำแผนแม่บทการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จประมาณเดือนกันยายน 2558

สำหรับพื้นที่บริเวณสถานีกลางบางซื่อจำนวน 218 ไร่ มีศักยภาพสูงสามารถพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ เนื่องจากเมื่อการก่อสร้างสถานีกลางบางซื่อแล้วเสร็จ จะเป็นศูนย์กลางการเดินทางและคมนาคมขนส่งของพื้นที่กรุงเทพมหานครและเชื่อมโยงระบบการคมนาคมขนส่งในภูมิภาคต่างๆ ของประเทศด้วยระบบรางทุกประเภท ทั้งรถไฟฟ้าใต้ดินสายสีน้ำเงิน รถไฟฟ้าบีทีเอสสายสีเขียว รวมทั้งรถไฟทางไกลและรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายตะวันออก และใต้ นอกจากนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อการคมนาคมทางอากาศด้วย Airport Rail Link เชื่อมท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ และยังสามารถเชื่อมโยงกับโครงข่ายถนนหลัก ประกอบด้วย ถนนพหลโยธิน วิภาวดีรังสิต จุดขึ้น-ลงทางด่วนขั้นที่ 2 อีกด้วย ซึ่งที่นี่จะเป็นการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ครั้งแรกของ รฟท.ที่จะเพิ่มมูลค่าของที่ดินให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งขนาดใหญ่ที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

นอกจากนี้ เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคมที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมได้จัดประชุมระดับรัฐมนตรีคมนาคมไทย-ลาว อย่างเป็นทางการ ครั้งที่ 2 โดยมีการหารือประเด็นสำคัญคือความร่วมมือด้านการขนส่งผู้โดยสาร และการขนส่งสินค้าระหว่างไทย-สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)

ทั้งนี้ เป็นการหารือร่วมกันระหว่างฝ่ายไทย โดย พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ซึ่ง จากการหารือพบว่าโครงการความร่วมมือลาว-จีน เพื่อก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร (Standard Gauge) คุนหมิง-ชายแดนลาว ระยะทาง 500 กิโลเมตร และชายแดนลาว-เวียงจันทน์ ระยะทาง 417 กิโลเมตร จะแล้วเสร็จภายใน 5 ปีจากนี้ โดยสอดคล้องกับโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เส้นทางหนองคาย-โคราช-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด จ.ระยอง ที่จะเริ่มการก่อสร้างปลายปี 2558 ดังนั้นในปี 2563 จะสามารถเชื่อมการเดินทางจากคุนหมิงมายังมาบตาพุดได้แน่นอน

สำหรับแผนการก่อสร้างทางรถไฟจากสถานีท่านาแร้ง (สปป.ลาว) ไปยังเวียงจันทร์ ขนาดราง 1 เมตร (Meter Gauge) ซึ่งสำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (เนด้า) ให้ความช่วยเหลือนั้น ล่าสุด สปป.ลาวได้ยุติโครงการดังกล่าวแล้ว พร้อมโอนเงินที่เหลือจากโครงการนี้ประมาณ 990 ล้านบาท จากทั้งหมด 1,660 ล้านบาท มาไว้ในโครงการก่อสร้างรถไฟลาว-จีน รางมาตรฐานแทน เนื่องจากเห็นว่าสภาพสังคมและเศรษฐกิจเปลี่ยนแปลงไป จึงควรดำเนินการก่อสร้างรถไฟรางมาตรฐานจะเกิดประสิทธิผลสูงสุด ขณะปัจจุบันยังมีการให้บริการเดินรถไฟจาก จ.หนองคาย ไปยังสถานีท่านาแร้ง (สปป.ลาว) ที่ 4 เที่ยวต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2015 9:59 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟความไวสูง - โคราช - หนองคาย
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=vs8_wVQCiYA
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 191, 192, 193 ... 542, 543, 544  Next
Page 192 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©