Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264867
ทั้งหมด:13576150
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2016 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

รีวิวแผนลงทุนไฮสปีด คสช. "จีน-ญี่ปุ่น" รื้อแนวใหม่เหลือ "ลพบุรี-โคราช"
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
17 พฤษภาคม 2559 เวลา 17:01:28 น.


ยังคงเป็นที่จับตาเมื่อวาระสุดท้าย "รัฐบาล คสช." มาถึงในปี 2560 รถไฟสายการทูต "ไทย-จีน-ญี่ปุ่น" จะไปได้สุดทางจนเห็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกลงเข็มภายในปีนี้ ตามที่ "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีได้ลั่นวาจาได้หรือไม่

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงที่รัฐบาลไทยจะดึงเอกชนระดับมหาเศรษฐีของไทยลงทุนแบบ PPP อีก 2 เส้นทาง "กรุงเทพฯ-ระยอง กับกรุงเทพฯ-หัวหิน" มูลค่า 247,201 ล้านบาท ก็เป็นที่จับตาเช่นกัน

ปัจจุบันสถานะรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง กำลังเดินหน้าหาข้อสรุปสุดท้าย ก่อนชง "ครม.-คณะรัฐมนตรี" อนุมัติโครงการ ซึ่ง "รถไฟไทย-จีน" ได้ประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 10 วันที่ 11-12 พ.ค. ที่ประเทศจีน มี "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เจ้ากระทรวงคมนาคม นำทีมเจรจากับจีน หาข้อสรุปลดค่าก่อสร้างจาก 2.3 แสนล้านบาท อยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท รวมถึงรูปแบบการลงทุนฝ่ายจีนจะร่วมลงทุนส่วนไหน หลังรัฐบาลไทยประกาศจะลงทุนเอง พร้อมปรับรูปแบบโครงการจากรถไฟความเร็วปานกลางเป็นรถไฟความเร็วสูง นำร่องก่อสร้างกรุงเทพฯ-แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 250 กม. เป็นลำดับแรก

ว่ากันว่าถึงไทยจะเร่งรัดทุกสิ่งอย่างจบโดยเร็ว แต่มีแนวโน้มสูงที่จะยังไม่สะเด็ดน้ำเสียทีเดียว โดยเฉพาะค่าก่อสร้างที่เป็นไปได้ยากจะกดลงมาเหลือ 1.7 แสนล้านบาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า รถไฟไทย-จีนหลังตรวจสอบรายละเอียดทั้งฝ่ายไทยและจีนล่าสุด ค่าก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-โคราชอยู่ที่ 1.9-2 แสนล้านบาท เพราะที่เคยระบุไว้ก่อนหน้านี้ ทางบริษัทที่ปรึกษาศึกษาให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ยังไม่ได้รวมค่าก่อสร้างช่วงภาชี

"จีนยอมลดค่าก่อสร้างลง 2 หมื่นล้านบาท หลังไทยปรับเป็นไฮสปีดเทรน โดยยกเลิกก่อสร้าง 3 สถานี คือ ภาชี แก่งคอย และโคกสะอาด เหลือ 5 สถานี มีกรุงเทพฯ อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และโคราช อีกทั้งปรับขนาดศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงรากน้อย และขยับแนวใหม่ช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี ประมาณ 80 กม. เลี่ยงท่อก๊าซของ ปตท.และช่วงลำตะคอง ส่วนการก่อสร้างขยับเป็น ก.ย.-ต.ค.นี้ แต่อาจจะเป็นไปได้ยาก อาจจะขยับถึงปี′60"

ส่วนรถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" โครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น "อาคม" ระบุว่า มิ.ย.นี้ที่ปรึกษาญี่ปุ่นจะส่งรายงานการศึกษาเบื้องต้น ยังไม่มีการหารือรูปแบบการลงทุน อย่างไรก็ตาม โครงการนี้ญี่ปุ่นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนสูง อาจจะเริ่มสร้างจากกรุงเทพฯถึงอยุธยา หรือลพบุรีก่อน เพื่อดูประมาณการผู้โดยสารและผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ก่อนจะตัดสินใจลงทุนสร้างไปพิษณุโลกและเชียงใหม่ ส่วนแนวเส้นทางจากพิษณุโลกถึงเชียงใหม่จะผ่านสุโขทัยตามผลศึกษาเดิมหรือไม่ ญี่ปุ่นกำลังพิจารณาเพราะอยู่ใกล้สนามบินสุโขทัย

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ที่ สนข.ศึกษาไว้ ลงทุน 426,898 ล้านบาท กำลังรออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แบ่งสร้าง 2 เฟส จากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. และพิษณุโลก-เชียงใหม่ 285 กม. จะเป็นเส้นทางตัดใหม่ช่วงสุโขทัย-ลำปาง

นายสราวุธ เบญจกุล ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 10 พ.ค. บอร์ด ร.ฟ.ท.อนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 94,673 ล้านบาท และกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 152,528 ล้านบาท โดยลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost รัฐจะลงทุนค่าเวนคืนและค่าก่อสร้างงานโยธา ส่วนเอกชนจะลงทุนงานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกล ขบวนรถ ดำเนินการเดินรถและบำรุงรักษา โดยรับสัมปทานจัดเก็บค่าโดยสารมีทั้ง 25 ปี 30 ปี 35 ปี และ 40 ปี

"กรุงเทพฯ-ระยอง เอกชนลงทุน 45,379 ล้านบาท รัฐลงทุนกว่า 8.7 หมื่นล้านบาท ส่วนกรุงเทพฯ-หัวหินเอกชนลงทุน 21,841 ล้านบาท รัฐลงทุน 66,920 ล้านบาท"

หลังจากนี้ ร.ฟ.ท.จะเสนอโครงการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา 60 วัน จากนั้นส่งให้คณะกรรมการ PPP อนุมัติเดือน มิ.ย.นี้ เพราะโครงการอยู่ใน PPP Fast Track ก่อนจะเสนอ ครม.อนุมัติ คาดว่าปีนี้จะเปิดประมูลและเริ่มสร้างปี 2560
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/05/2016 6:40 pm    Post subject: Reply with quote

อนุมัติแล้ว! รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – ระยอง เริ่มก่อสร้างปี 2560
บอร์ด ร.ฟ.ท. อนุมัติไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินประมาณ 1.52 แสนล้านบาท โดยจะมีการนำเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมพิจารณาก่อนส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เพื่อตั้งคณะกรรมการพีพีพี ขึ้นมาดำเนินงานตามขั้นตอนก่อนนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบ และคาดว่าจะสามารถเปิดประกวดราคาเพื่อหาเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินโครงการได้ในปีนี้ จากนั้นจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2560 โดยบอร์ดมีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินรวมประมาณ 2.466 แสนล้านบาท กรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงินประมาณ 9.46 หมื่นล้านบาท และกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงินประมาณ 1.52 แสนล้านบาท สำหรับงบประมาณในการลงทุนของเส้นทาง กรุงเทพฯ-หัวหิน ถูกกว่าเส้นทาง กรุงเทพฯ-ระยอง เพราะเป็นเส้นทางเลียบและเป็นพื้นที่ลุ่มแม่น้ำ ไม่ต้องผ่านแนวทิวเขาแต่อย่างใด ทำให้การก่อสร้างง่ายกว่า เส้นทาง กรุงเทพฯ-ระยอง ซึ่งจากการศึกษาสำรวจออกแบบและการก่อสร้างอาจจะลำบากเนื่องจากต้องผ่านแนวเขาและที่ลุ่มแม่น้ำ จึงต้องใช้งบประมาณในการก่อสร้างมากกว่า โดยก่อนหน้านี้ นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เคยกล่าวไว้ว่า สำหรับไฮสปีดเทรนเส้นทางกทม.-ระยอง,กทม.-หัวหิน และกทม.นครราชสีมา แม้จะเป็นโครงการที่มีระยะทางสั้นๆ ประมาณ 300 กิโลเมตร แต่หากสามารถเปิดให้บริการรูปแบบเชื่อมโยงกันอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว เชื่อว่าจะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจเชื่อมโยงพื้นที่ กทม.กับจังหวัดสำคัญที่เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจโดยรอบ กทม.ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพมากขึ้น

สถานีระยอง(อาจมีการเปลี่ยนแปลง) สถานีจะตั้งอยู่บนถนนสาย 36 ต.เชิงเนิน บริเวนทางแยกยกระดับบ้านแลง(ถนนสาย 36 ตัด 3139) ซึ่งสถานีจะสร้างคร่อมอยู่บนทางหลวงหมายเลข 36 ใกล้กับทางข้ามแยก(การประชุมร่วมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ของรัฐบาลมีความเห็นว่าจะสร้างบริเวณ ต.เชิงเนิน อ.เมืองระยอง จ.ระยอง)
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1086909008040433&id=907909142607088
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/05/2016 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนญี่ปุ่นซ้ำรอยจีน เชียงใหม่รอเก้อ…สุดทางแค่นครสวรรค์
ที่มา มติชนสุดสัปดาห์
เผยแพร่ 13 พฤษภาคม 2559
ออนไลน์เมื่อ : 18 พฤษภาคม 2559 เวลา 16:45 น.


ผ่านมากว่า 1 ปี แต่ดูเหมือนโครงการความร่วมมือพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จะยังไม่มีความคืบหน้าที่เห็นผลเป็นรูปธรรมอะไรออกมา

มิหนำซ้ำยังดูเหมือนจะตามรอยความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน อีกต่างหาก

จนทำเอาหลายคนอดกังวลไม่ได้ว่าที่สุดแล้วจะได้ใช้บริการรถไฟที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือกับทั้ง 2 ประเทศนี้จริงหรือไม่

เมื่อย้อนไปดูที่มาที่ไปความร่วมมือระหว่างไทยและญี่ปุ่นจะพบว่า ได้มีการลงนามในบันทึกแสดงเจตจำนง (เอ็มโอไอ) ว่าด้วยความร่วมมือระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งรวมถึงระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) และระบบรางในเขตเมือง ตั้งแต่วันที่ 9 ตุลาคม 2555

นอกจากนั้น ยังมีการลงนามเอ็มโอไอว่าด้วยความร่วมมือด้านการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่นอีกครั้ง วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2558 และลงนามบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอซี) ด้านระบบรางระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น ในวันที่ 27 พฤษภาคม 2558

สําหรับเนื้อหารายละเอียดความร่วมมือดังกล่าว ได้กำหนดให้ทั้งสองฝ่ายศึกษาความเป็นไปได้ในความร่วมมือในอนาคตเกี่ยวกับการพัฒนาระบบรางในประเทศไทย รวมถึงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ทั้งที่เป็นการปรับปรุงเส้นทางเดิมที่มีอยู่ (ขนาดกว้าง 1 เมตร) หรือการพัฒนาเส้นทางใหม่ขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร และการร่วมมือกันในการวิจัยและศึกษาการพัฒนารถไฟ เส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง (เชื่อมต่อไปยังมาบตาพุด)

ขณะเดียวกัน ยังกำหนดให้ทั้งสองฝ่ายร่วมกันพัฒนาไฮสปีดเทรน เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ การพัฒนาและปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ (กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลงฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ) รวมทั้งจะหารือร่วมกันเกี่ยวกับการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาระบบเส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ตามแนวเศรษฐกิจด้านตะวันออก-ตะวันตก ตลอดจนศึกษาการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรางของไทย และศึกษาความเหมาะสมเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง

นอกจากนี้ ยังกำหนดให้เส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 ก.ม. เป็นขนาด 1.435 เมตร (สแตนดาร์ด เกจ) ความเร็วมากกว่า 200 ก.ม./ชั่วโมง (ช.ม.) ใช้เทคโนโลยีชินคันเซ็นของญี่ปุ่น เพื่อให้บริการขนส่งผู้โดยสารและขนส่งสินค้า

ส่วนเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 ก.ม. เป็นขนาด 1.435 เมตร หรือขนาด 1 เมตรก็ได้ กำหนดความเร็วไว้ 100-120 ก.ม./ช.ม.

แต่เมื่อพิจารณาความคืบหน้าการดำเนินงานจากวันนั้นจนถึงวันนี้ก็ไม่เห็นมีความคืบหน้าอะไรที่จะทำให้หลายคนคาดหวังได้ว่าจะเห็นโครงการนี้เกิดขึ้นภายในปีนี้หรือปีหน้า ที่เห็นชัดมากสุด คงจะเป็นเพียงการจัดงานเชิงสัญลักษณ์ โดยการปล่อยขบวนรถสินค้า ทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กขนาด 12 ฟุตซึ่งนำเข้าจากญี่ปุ่น ที่สถานีรถไฟชุมทางหนองปลาดุกไปยังสถานีบางซื่อ เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเท่านั้น

หลายคนจึงเกรงว่าจะเป็นอีกโครงการหนึ่งที่มีปัญหาเกิดขึ้นในลักษณะเดียวกันกับโครงการรถไฟไทย-จีน ในเส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 ก.ม. วงเงินประมาณ 5 แสนล้านบาท

เพราะแรกเริ่มได้กำหนดจะดำเนินการพร้อมกันหมดทั้งโครงการ ด้วยความเร็ว 180 ก.ม./ช.ม. ต่อมาก็ปรับลดลงเหลือเฉพาะช่วงหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-กรุงเทพฯ

กระทั่งล่าสุดเปลี่ยนเป็นไฮสปีดเทรน ที่สามารถวิ่งได้ 250 ก.ม./ช.ม. แต่ปรับลดความยาวเส้นทางลงเหลือกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 250 ก.ม. วงเงินประมาณ 1.7 แสนล้านบาท พร้อมตั้งเป้าหมายใหม่ว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม จากเดิมกำหนดไว้ในเดือนพฤษภาคมนี้ ซึ่งก็ยังไม่แน่นอนว่าจริงๆ แล้วจะเดินหน้าได้ตามแผนงานที่กำหนดหรือไม่

เนื่องจากปัจจุบันตัวเลขวงเงินลงทุนรวมที่ชัดเจนก็ยังสรุปไม่ได้ เพราะทางจีนได้ศึกษาเงินโครงการไว้ที่ 1.9 แสนล้านบาท ต่างจากไทยอยู่ประมาณ 2 หมื่นล้านบาท รวมถึงอัตราดอกเบี้ยที่ต้องถามยืนยันจากจีนอีกครั้งว่ายังอยู่ที่ 2% หรือไม่

ซึ่งเรื่องทั้งหมด กระทรวงคมนาคมจะนำไปหารือกับจีนในการประชุมอย่างเป็นทางการครั้งที่ 10 ที่กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก็ออกมายอมรับว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีต้นทุนสูง ผลตอบแทนจะเกิดขึ้นระยะยาว ดังนั้น จะพัฒนาทีละจุด ทีละขั้น และจะขยายเชื่อมต่อออกไป ซึ่งญี่ปุ่นจะศึกษาดูว่าทำระยะแรกจะต้องทำไปถึงจุดใดจึงจะมีความเหมาะสม ขณะนี้ยังไม่สามารถแบ่งระยะที่จะก่อสร้างได้ชัดเจน ต้องรอผลการศึกษาของทางญี่ปุ่นก่อน

แต่เท่าที่หารือร่วมกันก็อาจจะแบ่งเป็นกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ แต่ผลการศึกษาเบื้องต้นอาจจะกำหนดไว้ไม่ถึงพิษณุโลก คือ อาจจะกำหนดไปถึงช่วงระยะทางที่พอดีไม่ไกล หรือใกล้เกินไปก็ได้

โดยในเดือนมิถุนายนนี้ทางญี่ปุ่นจะส่งรายงานผลการศึกษาขั้นกลางมาให้ทราบ โดยจะเป็นการพิจารณาโครงการว่าคุ้มค่าหรือไม่ อย่างไร มีการประมาณราคาขั้นต้นเท่าไหร่ วิธีการอย่างไร

คาดว่าภายในปลายปีนี้จะสรุปรายงานเป็นครั้งสุดท้ายให้ทราบได้ ดังนั้น ในช่วงนี้จึงยังไม่ถึงขั้นการลงทุนแน่นอน แต่เป็นเรื่องของการศึกษาเท่านั้น

พร้อมกันนี้ยังยืนยันให้เข้าใจชัดๆ อีกว่า แนวเส้นทางก่อสร้างระยะแรกอาจจะอยู่ระหว่างกรุงเทพฯ และพิษณุโลก หากดูแล้วเห็นว่าโครงการเกิดประโยชน์จึงจะค่อยต่อออกไปเรื่อยๆ ซึ่งหากทำไปถึงอยุธยาก็ประมาณ 100 กิโลเมตร (ก.ม.) ก็อาจจะสั้นเกินไป ถ้าไปถึงลพบุรีหรือนครสวรรค์ก็เป็นไปได้

แต่ต้องดูผลการศึกษาก่อน

ดังนั้น เมื่อพิจารณาจากคำพูดของนายอาคม แล้ว ก็ค่อนข้างชัดเจนว่า หากสามารถก่อสร้างได้จริง ในระยะแรกไฮสปีดเทรนสายนี้อาจจะไม่ถึงพิษณุโลก ส่วนเชียงใหม่ก็คงไม่ถึงแน่นอน

ทั้งนี้ จากการสืบค้นข้อมูลผลการศึกษาเดิมที่กระทรวงคมนาคมเคยทำไว้ในรัฐบาลชุดที่แล้ว พบว่า รถไฟไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ได้มีการศึกษาข้อมูลไว้ละเอียดพอสมควร โดยแบ่งก่อสร้างเป็น 2 ช่วง คือ

1. ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 386 ก.ม. วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 300 ก.ม./ช.ม. ความเร็วเฉลี่ย 210 ก.ม./ช.ม. ผ่าน 8 จังหวัด มี 7 สถานี การศึกษาด้านเศรษฐกิจพบว่ามีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (อีไออาร์อาร์) ร้อยละ 13.2 ของมูลค่าการลงทุน 212,893.31 ล้านบาท กำหนดค่าโดยสารเฉลี่ย 2 บาท/ก.ม. จากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ค่าโดยสาร 639 บาทต่อเที่ยว ใช้เวลาเดิน 1 ชั่วโมง 45 นาที

2. ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางประมาณ 299 ก.ม. ใช้ระยะเวลาการเดินทาง (พิษณุโลก-เชียงใหม่) ประมาณ 1.30 ช.ม. หากใช้บริการจากสถานีกลางบางซื่อ-เชียงใหม่ จะต้องจ่าย 1,074 บาท มูลค่าการลงทุน 214,005.25 ล้านบาท มีอีไออาร์อาร์ ร้อยละ 12.56 เมื่อรวมทั้ง 2 ช่วงมูลค่าลงทุนอยู่ที่ 426,898.56 ล้านบาท
ส่วนผลศึกษาที่ญี่ปุ่นส่งให้ไทย จะแตกต่างจากที่เคยศึกษามากน้อยขนาดไหน ยังต้องรอติดตามอย่างใกล้ชิด จะได้นั่งจริงเมื่อไหร่ต้องใช้จินตนาการต่อไป แต่ที่ได้ใช้บริการได้แน่ๆ ในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าคือ รถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ที่จะเปิดอย่างเป็นทางการ 6 สิงหาคมนี้

…หวังว่าจะช่วยแก้เซ็งระหว่างรอไฮสปีดเทรนได้บ้าง!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2016 10:02 am    Post subject: Reply with quote

เล็งตั้ง 3 บ.ลูกไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราช คุม “ก่อสร้าง-เดินรถ-พัฒนาพาณิชย์”
โดย MGR Online
23 พฤษภาคม 2559 05:27 น. (แก้ไขล่าสุด 23 พฤษภาคม 2559 08:51 น.)

“อาคม” เล็งตั้งบริษัทลูก ร.ฟ.ท. 3 ส่วน (ก่อสร้าง, เดินรถ, พัฒนาเชิงพาณิชย์) คุมรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช ยอมรับเป็นไปได้บริษัทเดินรถกับพัฒนาฯ อาจต้องรวมกันเพื่อเลี้ยงตัวเองได้ ขณะที่ไฮสปีดกรุงเทพฯ-เชียงใหม่, กรุงเทพฯ-ระยอง, กรุงเทพฯ-หัวหิน จะแยกบริษัทบริหารเดินรถเพื่อวัดประสิทธิภาพแต่ละเส้นทางได้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนนั้น หลักการและแนวคิดในเบื้องต้นจะให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดูแลใน 3 ส่วน คือ บริษัทด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน, บริษัทด้านการพัฒนาเชิงพาณิชย์ และบริษัทบริหารการเดินรถ ซึ่งขณะนี้ยังไม่สรุปชัดเจน โดยบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินของ ร.ฟ.ท.อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้ เป็นไปได้ที่อาจจะรวมการพัฒนาเชิงพาณิชย์และการเดินรถเป็นบริษัทเดียวกันเพื่อนำรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์มาช่วย ส่วนบริษัทก่อสร้างทางนั้นจะมีรายได้จากบริษัทเดินรถที่จะต้องจ่ายค่าเช่าใช้ราง

ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่น จะใช้แนวคิดเดียวกัน โดยการแยกการบริหารเดินรถออกจากกัน จะแยกบัญชี แยกหนี้สิน สามารถวัดประสิทธิภาพในการบริหารการเดินรถของแต่ละเส้นทางได้ชัดเจน ขณะที่หากตั้งเป็นบริษัทเดียวกันรับผิดชอบการเดินรถทั้งสองเส้นทาง คือ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา และกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะทำให้บริษัทนั้นรับภาระหนักเกินไป ซึ่งในหลายประเทศแยกการบริหารงานเดินรถแต่ละเส้นทางออกจากกัน เช่น ญี่ปุ่น เดิมเคยมีบริษัทเดียวควบคุมดูแลรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าหลายสาย แต่เกิดปัญหา ในที่สุดต้องแยกเพื่อให้แต่ละเส้นทางบริหารให้เกิดประสิทธิภาพที่สุดเพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

“การรถไฟฯ จะต้องทำแผนการจัดตั้งบริษัทว่าจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา โดย ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% หรือถือหุ้นใหญ่เกิน 51% ซึ่งยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ หรือจะถือหุ้นน้อยกว่า 49% จะเข้ากระบวนการร่วมทุนเอกชน (PPP) ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 56 ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าวจะเรียกเป็นบริษัทลูก 100% หรือบริษัทร่วมทุนเอกชน หรือเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ก็ได้ ซึ่งยังมีเวลาพิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ส่วนตอนนี้ต้องการให้มุ่งเรื่องการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องเจรจากับจีนเพื่อเริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ก่อน” นายอาคมกล่าว

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท. กล่าวว่า อยู่ระหว่างเร่งรัดให้ที่ปรึกษาสรุปรูปแบบในการจัดตั้งบริษัทลูก คาดว่าจะมี 2-3 ทางเลือก ซึ่งในช่วงแรกการจัดตั้งบริษัทลูกด้านการก่อสร้างอาจจะไม่ทันกับการเริ่มต้นก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรงเทพฯ-โคราช ร.ฟ.ท.จะรับหน้าที่ดูแลการก่อสร้างไปก่อน และถ่ายโอนภายหลัง ส่วนรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน วงเงิน 94,673 ล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงสาย กรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 155,774 ล้านบาท รูปแบบการบริหารจะคล้ายกัน โดยรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทางจะมีบริษัทเดินรถแยกจากกันเพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ โดยคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.ได้เห็นชอบโครงการแล้ว และจะเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมภายในสัปดาห์นี้เพื่อเสนอตาม PPP ต่อไป


//-----------

ตั้งบริษัทลูกคุมรถไฟฟ้าเร็วสูงกทม.-โคราช
TNN 24
23 พฤษภาคม 2559 11.44 น.

คมนาคมเตรียมจัดตั้งบริษัทลูกร.ฟ.ท. 3 บริษัท ดูแลด้านก่อสร้าง ,เดินรถ ,พัฒนาเชิงพาณิชย์คุมรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-โคราช

วันนี้ (23พ.ค.59) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม (คค.) ระบุว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เตรียมจัดตั้งบริษัทลูกเพื่อดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน เพื่อดูแลใน 3 ส่วน ประกอบด้วย บริษัทด้านการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทด้านการพัฒนา เชิงพาณิชย์ และบริษัทบริหารการเดินรถ โดยขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินของร.ฟ.ท. อยู่ระหว่างศึกษารูปแบบที่เหมาะสมที่สุด

ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่า อาจจะรวมการพัฒนาเชิงพาณิชย์และการเดินรถ เป็นบริษัทเดียวกัน เพื่อนำรายได้จากการพัฒนาเชิงพาณิชย์มาช่วยเลี้ยงดูตัวเอง ส่วนบริษัทก่อสร้างทางนั้น จะมีรายได้จากบริษัทเดินรถที่จะต้องจ่ายค่าเช่าจากการใช้ราง ซึ่งรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่นจะใช้แนวคิดเดียวกัน โดยการแยกการบริหารเดินรถออกจากกัน จะแยกบัญชี แยกหนี้สิน สามารถวัดประสิทธิภาพในการบริหารการเดินรถของแต่ละเส้นทางได้ชัดเจน ซึ่งในหลายประเทศแยกการบริหารงานเดินรถแต่ละเส้นทางออกจากกัน เช่น ญี่ปุ่น เดิมเคยมีบริษัทเดียวควบคุมดูแลรถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้าหลายสาย แต่เกิดปัญหา ในที่สุดต้องแยก เพื่อให้แต่ละเส้นทางบริหารให้เกิดประสิทธิภาพที่สุด เพื่อหารายได้เลี้ยงตัวเอง

สำหรับรูปแบบ มีความเป็นไปได้ว่า การรถไฟฯจะต้องทำแผนการจัดตั้งบริษัท ว่าจะจัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา โดยร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% หรือถือหุ้นใหญ่เกิน 51% ซึ่งยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจอยู่ หรือจะถือหุ้นน้อยกว่า 49% จะเข้ากระบวนการร่วมทุนเอกชน (PPP) ตามพระราชบัญญัตการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ซึ่งการจัดตั้งบริษัทดังกล่าว จะเรียกเป็นบริษัทลูก100% หรือบริษัทร่วมทุนเอกชน หรือเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจก็ได้ ซึ่งยังมีเวลาพิจารณาเลือกรูปแบบที่เหมาะสมที่สุด ส่วนตอนนี้ต้องการให้มุ่งเรื่องการก่อสร้าง ซึ่งจะต้องเจรจากับจีน เพื่อเริ่มต้นก่อสร้างให้ได้ภายในเดือนส.ค.-ก.ย.นี้ก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2016 6:43 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนไทย–ญี่ปุ่น งบบาน 5.3 แสนล้านบาท ผลศึกษาไม่คุ้มค่าทางการเงิน
วันที่: 2 มิถุนายน 2559 เวลา: 21:00 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับรองอธิบดีกรมการรถไฟของญี่ปุ่นว่า ทางญี่ปุ่นรายงานผลการศึกษาขั้นกลางในส่วนของมูลค่าลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น โดยพบว่ามีความคุ้มค่าด้านสังคมและเศรษฐกิจ แต่อาจจะยังไม่คุ้มค่าด้านการเงิน ดังนั้นทางญี่ปุ่นจึงเสนอให้ไทยเร่งศึกษาการพัฒนาพื้นที่ข้างทาง เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าทางการเงิน
นายอาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เร่งศึกษาและจัดทำแผนแม่บท(มาสเตอร์แพลน) เพื่อพิจารณาศักยภาพของเมืองริมทางรถไฟ รวมไปถึงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางให้ชัดเจนภายใน 1 ปี ส่วนประเด็นมูลค่าโครงการตอนนี้เป็นเพียงการศึกษาขั้นต้น โดยยังมีบางประเด็นที่ญี่ปุ่นศึกษามาไม่ตรงกับผลการศึกษาของไทย ทำให้มูลค่าลงทุนยังสูง ยังต่ำกว่ากัน ไทยจึงขอให้ญี่ปุ่นกลับไปศึกษาและนำมาเสนอใหม่
ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า รูปแบบการลงทุนเบื้องต้นญี่ปุ่นเสนอให้รัฐลงทุนในส่วนงานก่อสร้าง และตัวระบบ ส่วนตัวรถ และการบริหารจัดการ มี 2 ทางเลือกคือ 1. ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ตั้งบริษัทลูกเข้ามาบริหาร และ 2.เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนในรูปแบบพีพีพี โดยไทยเสนอญี่ปุ่นแบ่งช่วงพัฒนาเป็น 2 ช่วง คือ 1.กรุงเทพฯ – พิษณุโลก และ 2.พิษณุโลก – เชียงใหม่

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ญี่ปุ่นเสนอมูลค่าโครงการมาที่ 5.3 แสนล้านบาท สูงจากวงเงินที่ไทยเคยศึกษาไว้ว่าจะลงทุน 4.4 แสนล้านบาท หรือสูงกว่า 9 หมื่นล้านบาท ดังนั้นจึงขอให้ญี่ปุ่นกลับไปพิจารณาใหม่ โดยเฉพาะวงเงินก่อสร้าง ญี่ปุ่นให้แยกราง(แทร็ค)ตั้งแต่แนวเส้นทางบางซื่อ–บ้านภาชี ทำให้มูลค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น ขณะผลการศึกษาของไทยใช้แทร็คในช่วงดังกล่าวร่วมกับรถไฟไทย–จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยจะมีการประชุมความคืบหน้าโครงการอีกครั้งในวันที่ 20 มิถุนายนนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2016 9:34 am    Post subject: Reply with quote

คืบหน้า "รถไฟไทย-ญี่ปุ่น" ต.ค.นี้ ตั้งบริษัทร่วมทุนเดินรถ หั่นไฮสปีดเหลือ กทม.-ลพบุรี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์

3 มิถุนายน 2559 เวลา: 08:47:28 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้มีการเปิดสำนักงานเพื่อเตรียมการสำรวจ และพัฒนาขนส่งสินค้าทางรถไฟไทย-ญี่ปุ่นภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ที่สำนักงานโตโยต้า ทูโช ประเทศไทย

"ปัจจุบันการขนส่งทางรถไฟยังมีจำนวนน้อย เพื่อเป็นการลดต้นทุนโลจิสติกส์ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมจึงเร่งพัฒนาระบบรางมากขึ้น" นายอาคม กล่าวและว่า

เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2559 ได้มีการเปิดพิธีขนส่งตู้สินค้าขนาด 12 ฟุตที่จะนำมาใช้วิ่งเส้นทางกรุงเทพฯ-กาญจนบุรี, กรุงเทพฯ-สระแก้ว และกรุงเทพฯ-แหลมฉบัง โดยทดลองเดินรถจากสถานีหนองปลาดุก จ.ราชบุรี และทำการทดลองอีก 2 เส้นทาง คือ บางซื่อ-กุดจิก (นครศรีธรรมราช)-ท่าพระ (ขอนแก่น)-กุดจิก-บางซื่อ ระยะทาง 433 กิโลเมตร และบางซื่อ-ลำพูน-บางซื่อ ระยะทาง 722 กิโลเมตร

ผลการดำเนินงาน เส้นทางจากบางซื่อ-ลำพูน มีความตรงต่อเวลา เพราะมีการปรับปรุงเส้นทางเป็นทางคู่ เทียบกับภาคอีสานที่ทางรถไฟยังไม่เป็นทางคู่ และมีจุดลักผ่าน หรือจุดตัดประมาณ 472 จุดที่ต้องแก้ไข

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เริ่มก่อสร้างทางคู่ จิระ-ขอนแก่นแล้ว หลังจากนี้ต้องทำแผนธุรกิจในการทำการตลาดเพื่อให้เอกชนมาใช้การขนส่งทางรางมากขึ้น โดยตั้งบริษัทร่วมกันทั้งไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งไทยจะจัดตั้งบริษัทลูกของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เข้าร่วมบริษัทดังกล่าว คาดว่า ต.ค.นี้จะได้ผลสรุปในเรื่องแผนธุรกิจ และจะสามารถจัดตั้งบริษัทได้ปีนี้

สำหรับไฮสปีดเทรนเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ทางคณะทำงานของประเทศญี่ปุ่นส่งรายงานการศึกษาขั้นกลางมาให้กระทรวงเรียบร้อยแล้ว โดยประมาณการผู้โดยสาร 45,000 คน/วัน แต่มีข้อคิดเห็นของญี่ปุ่นในเรื่องการประมาณการผู้โดยสารที่มองว่า ประมาณการผู้โดยสารสูงไป แต่ไทยมองว่า ผู้โดยสารรุ่นใหม่ หากมีการเดินทางที่สะดวกสบาย ก็จะนิยมอยู่นอกเมือง เพราะค่าครองชีพถูกกว่า และ บริษัทขนาดกลางก็อาจจะไปจัดตั้งบริษัท เกิดการจ้างงานคนในท้องถิ่นได้

"การก่อสร้างจากเดิมแบ่งเป็นการก่อสร้าง 2 ช่วง คือ กทม.-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่ อาจจะมีการปรับแบบเนื่องจากใช้เงินลงทุนสูง เอกชนรับภาระในการลงทุนทั้งหมดไม่ไหว รัฐต้องเข้าไปลงทุน ให้เอกชนเข้าร่วมลงทุน และมีการพัฒนาสองข้างทาง อาจจะทำแบ่งช่วงการก่อสร้างอีก ใจอยากได้นครสรรค์ เพราะมีรถไฟเส้นทางตาก-มุกดาหารมาตัดเชื่อม ถ้าสร้างแค่ลพบุรีจะสั้น หากจะเดินทางไปพิษณุโลกก็มีทางรถไฟเดิมเชื่อมต่อไปได้ จะพยายามเร่งให้สามารถสรุปการก่อสร้างรวมทั้งวงเงินทุนภายในเดือนนี้" นายอาคมกล่าวและว่า

ทั้งนี้ทางประเทศญี่ปุ่นเสนอแนะให้ประเทศไทยทำแผนแม่บทในการพัฒนาเมือง และโครงข่ายคมนาคมรองรับการพัฒนารถไฟควบคู่ไปด้วย

//-------------

ปรับแก้เส้นทางรถไฟความเร็วสูง กทม.-พิษณุโลก
by Chitnapa sommano
Voice TV
2 มิถุนายน 2559 เวลา 18:20 น.

คณะทำงานร่วมไทย-ญี่ปุ่น เสนอให้รัฐบาลไทยปรับแก้ไขเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ - พิษณุโลก ให้สั้นลง เพื่อลดงบประมาณการก่อสร้างที่ยังสูง และรองรับการเปลี่ยนแปลงของประชากร

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น โดยหารือกับคณะทำงานไทยและญี่ปุ่นใน 4 ประเด็น ได้แก่ โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ , กาญจนบุรี - กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ - แหลมฉบัง , โครงการอีสเวสต์ คอริดอร์ และการขนส่งสินค้าทางรถไฟ

คณะผู้ศึกษาของญี่ปุ่น ได้นำรายงานของ สนข.ไปประกอบการลงพื้นที่สำรวจเส้นทางการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ซึ่งมี 2 ระยะ คือ กรุงเทพฯ - พิษณุโลก และพิษณุโลก - เชียงใหม่ และนำมาสรุปเป็นรายงานผลการศึกษาขั้นกลาง

พบว่า มีความคุ้มค่าเชิงเศรษฐกิจ แต่ยังไม่คุ้มค่าด้านการเงินทางญี่ปุ่น จึงเสนอให้ไทยเร่งศึกษาประเด็นการพัฒนาประโยชน์ข้างทาง และแบ่งช่วงพัฒนาเส้นทาง กรุงเทพฯ - พิษณุโลก สั้นลง เพื่อลดงบประมาณการก่อสร้าง เนื่องจากเส้นทางนี้ใช้งบประมาณสูงถึง 3 แสน 4 หมื่นล้านบาท พร้อมปรับสมมุติฐานในหลายด้าน เช่น ปริมาณผู้โดยสาร เพราะโครงสร้างประชากรในอนาคตจะเปลี่ยนไป โดยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ส่งผลต่อการโยกย้ายถิ่นฐาน

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - เชียงใหม่ จะดำเนินการโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย หรือ ร.ฟ.ท. จัดตั้งบริษัทลูกขึ้นมา ร.ฟ.ท.ถือหุ้น 100% หรือถือหุ้นใหญ่เกิน 51% สำหรับผลการศึกษา ทางการญี่ปุ่นจะสรุปผลการศึกษาฉบับเต็มภายในสิ้นเดือนนี้ (มิ.ย.59)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2016 9:39 am    Post subject: Reply with quote

“อาคม” สั่ง ร.ฟ.ท.ตั้ง บ.ลูกขนสินค้าในปลายปี บริการตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตเจาะตลาด SME
โดย MGR Online
2 มิถุนายน 2559 16:10 น. (แก้ไขล่าสุด 2 มิถุนายน 2559 18:09 น.)

“อาคม” สั่ง ร.ฟ.ท.ตั้ง บ.ลูกขนสินค้าในปลายปี บริการตู้คอนเทนเนอร์ 12 ฟุตเจาะตลาด SME

“อาคม” ปลุกกระแสขนส่งสินค้าทางรถไฟ เร่งตั้งบริษัทลูก ร.ฟ.ท.ในปีนี้ ทำตลาดดึง SME ใช้บริการตู้คอนเทนเนอร์ขนาด 12 ฟุต โดยมีญี่ปุ่นเป็นพี่เลี้ยง ส่วนไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่น หั่นเฟสแรกเหลือแค่กรุงเทพ-นครสวรรค์ ตามรอยไฮสปีดฯไทย-จีน สิ้นปีสรุปผลศึกษาขั้นสุดท้าย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังร่วมพิธีเปิดสำนักงานส่งเสริมเพื่อเตรียมการสำรวจและพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ว่าการพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรถเป็น 1 ใน 4 ข้อตกลงในบันทึกความร่วมมือ (MOC) ระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทยและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น มีเป้าหมายเพื่อเพิ่มการขนส่งสินค้าทางรางลดการขนส่งด้วยรถบรรทุกที่มีต้นทุนสูงและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้มีการทดลองขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็ก 12 ฟุต เมื่อวันที่ 5 ก.พ. 2559 จากสถานีหนองปลาดุก-บางซื่อ ต่อมาวันที่ 8-12 ก.พ. ได้ทดลองในเส้นทาง บางซื่อ-กุดจิก (จ.นครราชสีมา) -ท่าพระ (จ.ขอนแก่น) -กุดจิก-บางซื่อ ระยะทาง 433 กม. และวันที่ 15-19 ก.พ. ทดลองในเส้นทางบางซื่อ-ลำพูน-บางซื่อ ระยะทาง 722 กม.พบว่าการเดินรถในเส้นทางภาคเหนือตรงต่อเวลาและมีสินค้าเสียหายน้อย ซึ่งเป็นผลมาจากการปรับปรุงทางและเป็นทางคู่มากกว่าเส้นทางภาคอีสาน และพบว่าตู้ขนาด 12 ฟุตเป็นที่ต้องการของบริษัท SME เพราะมีความสะดวกมากกว่าและตู้ขนาดเล็กเหมาะกับการขนส่งในเขตเมืองที่มีความแออัด

โดยทางญี่ปุ่นได้ตั้งสำนักงานขึ้น ณ อาคารบริษัท โตโยต้า ทูโช (ไทยแลนด์) จำกัด แสดงให้เห็นความตั้งใจที่จะพัฒนาระบบขนส่งสินค้าทางรางร่วมกับไทย หลังจากนี้จะทดลองและปรับปรุงประสิทธิภาพ ศึกษาถึงจำนวนเที่ยวและปริมาณความต้องการของลูกค้า จากนั้นจะทำแผนธุรกิจ (Business Model) ที่เป็นรูปธรรม ซึ่งจะสรุปผลศึกษาในเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะพิจารณาจัดตั้งบริษัทขนส่งสินค้าซึ่งอาจจะตั้งเป็นบริษัทร่วมทุนหรือตั้งเป็นบริษัทลูกหรือ Business Unit : BU ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ภายในปีนี้ เพื่อทำหน้าที่ด้านการตลาดและหาลูกค้า

ไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นแบ่งเฟสทยอยลงทุนเฟสแรกแค่กรุงเทพ-นครสวรรค์

ส่วนความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเรื่องการพัฒนารถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทาง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.นั้น นายอาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 2 มิ.ย.คณะทำงานญี่ปุ่นได้นำเสนอผลการศึกษาขั้นกลาง เช่น ประมาณการณ์ผู้โดยสาร ซึ่งมีตัวเลขที่ 4.5 หมื่นคนต่อวัน โดยญี่ปุ่นเห็นว่าเป็นตัวเลขคาดการณ์สูงไปหรือไม่ เนื่องจากประเทศไทยมีอัตราประชาชนลดลง และจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่า อนาคตหากการเดินทางสะดวกรวดเร็วขึ้น จะมีการโยกย้ายไปอยู่ต่างจังหวัดมากขึ้น ขณะที่บริษัทหรืออุตสาหกรรมต่างๆ จะไปตั้งที่หัวเมืองจังหวัดที่เจริญมากขึ้น ดังนั้นไม่น่าจะมีผลต่อการปรับลดประมาณการณ์จำนวนผู้โดยสาร และประมาณการณ์ค่าก่อสร้างและการแบ่งเฟสการก่อสร้างที่เหมาะสมจะได้ข้อสรุปเบื้องต้นในเดือน มิ.ย.นี้เช่นกัน

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงนั้นใช้เงินลงทุนสูง ซึ่งตามแผนเดิมแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 เฟส คือ กรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. และพิษณุโลก-เชียงใหม่ ได้หารือแล้วว่า อาจจะพิจารณาทยอยลงทุนช่วงแรกสั้นลงอีกเช่น กรุงเทพ-นครสวรรค์ เป็นต้น เนื่องจากนครสวรรค์เป็นหัวเมืองสำคัญและเป็นจุดตัดของเส้นทางตะวันออก-ตะวันตก ขณะที่หากจะเดินทางต่อไปถึงพิษณุโลกยังสามารถใช้เส้นทางท้องถิ่นที่มีอยู่แล้วเชื่อมไปได้ สามารถเพิ่มการเดินทางระหว่างภูมิภาคได้ ซึ่งทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยทำแผนแม่บทการพัฒนาเมืองที่รถไฟวิ่งผ่านและโครงข่ายคมนาคม

ทั้งนี้ ในเชิงเศรษฐกิจถือว่าคุ้มค่า แต่อาจ FIRR จะไม่ถึง 12% ส่วนผลตอบแทนการเงินนั้นเนื่องจากมูลค่าลงทุนสูง รัฐอาจจะต้องลงทุนบางส่วนและเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนบางส่วน พร้อมทั้งพิจารณาเรื่องการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางร่วมด้วยเพื่อประโยชน์สูงสุด โดยสรุปผลศึกษาขั้นสุดท้ายปลายปี 2559

สำหรับความร่วมมือพัฒนาเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตกด้านใต้ กาญจนบุรี-กรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-อรัญประเทศ และกรุงเทพ-ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบัง ระยะทาง 574 กม.นั้น มีการปรับปรุงเสริมความแข็งแรงของเส้นทางเดิมที่เป็นทางเดี่ยว โดยอยู่ระหว่างทำแผนแก้ปัญหา 472 จุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2016 10:36 am    Post subject: Reply with quote

มึน!งบไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นบาน5แสนล.
ไทยโพสต์
3 มิถุนายน 2559 - 00:00
คมนาคม มึน!!-งบไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นบานจ่อพุ่งแตะ 5.3 แสนล้าน ด้าน "อาคม” รับโครงการลงทุนใหญ่ ไม่คุ้มผลตอบแทนทางการเงิน เร่งจัดตั้งคณะทำงานวางมาสเตอร์แพลนพัฒนาพื้นที่ริมทาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น ในการพัฒนารถไฟฟ้าความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ว่า ญี่ปุ่นได้รายงานผลการศึกษาขั้นกลางในส่วนของมูลค่าการลงทุน เนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ จึงมีความคุ้มค่าด้านสังคมและเศรษฐกิจ แต่ไม่คุ้มค่าด้านการเงิน ดังนั้นญี่ปุ่นจึงเสนอให้ฝ่ายไทยเร่งศึกษาในประเด็นการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ข้างทาง เพื่อเพิ่มความคุ้มค่าให้กับการลงทุน

ดังนั้น ได้สั่งการให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เร่งศึกษาและจัดทำแผนแม่บท (มาสเตอร์แพลน) เพื่อพิจารณาศักยภาพของเมืองริมทางรถไฟ รวมไปถึงการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมเพื่อเชื่อมต่อการเดินทางให้ชัดเจนภายใน 1 ปี

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. กล่าวว่า ญี่ปุ่นเสนอให้ไทยต้องมีความชัดเจนในเรื่องการพัฒนาพื้นที่ข้างทาง ส่วนรูปแบบการลงทุนญี่ปุ่นเสนอให้รัฐบาลต้องเป็นผู้ลงทุนหลักในส่วนของงานก่อสร้างและตัวระบบ ส่วนการบริหารจัดการมีแนวทางเลือก 2 ด้าน คือ 1.ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตั้งบริษัทลูกเข้ามาบริหาร และ 2.เปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมทุนในรูปแบบพีพีพี และให้แบ่งการลงทุนออกเป็น 2 ช่วง คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ผลการศึกษาของญี่ปุ่นนั้น ยังพบประเด็นเรื่องมูลค่าการลงทุนโครงการต้องนำกลับไปพิจารณาใหม่ เนื่องจากยังมีมูลค่าสูงกว่าที่ไทยเคยทำการศึกษาไว้ โดยเฉพาะเรื่องวงเงินการก่อสร้างที่ทางญี่ปุ่นศึกษา และทำการแยกราง (แทร็ก) ตั้งแต่แนวเส้นทางบางซื่อ-บ้านภาชี ทำให้มูลค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในการลงทุนก่อสร้างแทร็ก สร้างศูนย์ซ่อม และวางระบบ

"มูลค่าโครงการที่ญี่ปุ่นเสนอมาพบว่าสูงกว่ามูลค่าของไทยถึง 9 หมื่นล้านบาท ส่งผลให้ตัวโครงการมีมูลค่าเพิ่มสูงถึง 5.3 แสนล้านบาท จากเดิมที่ไทยเคยประมาณการไว้ที่ 4.4 แสนล้านบาท ดังนั้นจึงต้องมีการหารือเพื่อดูเทคโนโลยีระบบกลางในการใช้แทร็กรถไฟเพื่อลดต้นทุน ซึ่งจะมีการจัดขึ้นอีกครั้งในวันที่ 20 มิ.ย.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2016 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

หอการค้าเชียงใหม่หนุนไฮสปีดเทรน ระบุยิ่งล่าช้า ต้นทุนยิ่งสูง แต่ทำแล้วคุ้มค่า
มติชน
วันที่: 3 มิถุนายน 2559 เวลา: 16:00 น.

วันที่ 3 มิถุนายน 2559 นายเฉลิมชาติ นครังกุล ประธานกิตติมศักดิ์หอการค้าจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวกรณีกระทรวงคมนาคม เผยผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ ภายใต้ความร่วมมือระบบรางไทย-ญี่ปุ่น ที่มีมูลค่าโครงการ 5.3 แสนล้านบาท จากเดิมที่ไทยเคยศึกษาไว้ 4.4 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 9 หมื่นล้านบาท โดยระบุว่า ไม่คุ้มค่าการลงทุน หรือด้านการเงิน ว่า เห็นด้วยและสนับสนุนโครงการดังกล่าว แม้ว่าการลงทุนจะเพิ่มขึ้นเกือบแสนล้านบาท แต่คุ้มค่าลงทุน ถ้าปล่อยเวลาผ่านไป มูลค่าลงทุนสูงขึ้น ยิ่งทำให้โครงการดังกล่าวล่าช้าไปอีก
“ไม่อยากให้รัฐบาล ล้มเลิกโครงการ เพราะต้นทุนสูง อยากให้ปรับโครงการเป็นรถไฟความเร็วสูงปานกลาง 200 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทาง 3-4 ชั่วโมงไม่จำเป็นต้องเป็นรถไฟความเร็วสูง 300-400 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพื่อลดต้นทุนและเหมาะสมกับสภาพเศรษฐกิจ หรือฐานะการเงินประเทศ อาจลงทุน 200,000ถึง 300,000 ล้านบาท ก็น่าเพียงพอแล้ว หากโครงการดังกล่าวเกิดขึ้น เชื่อว่าภาคเหนือตอนบน มีการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว ขยายตัว 2-3 เท่าตัว โดยเฉพาะเชียงใหม่ ที่มีนักท่องเที่ยวปีละ 8 ล้านคน รายได้ 90,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอีก1 เท่าตัว” นายเฉลิมชาติ กล่าว
นายเฉลิมชาติ กล่าวอีกว่า ขณะนี้มีนักลงทุนทั่วโลก อาทิ อเมริกา ยุโรป จีน แห่มาลงทุนในภาคเหนือตอนบน เพราะเปิดประชาคมอาเซียน หรือเออีซีแล้ว โดยเฉพาะญี่ปุ่น วางแผนเปิดโรงเรียนระดับประถม มัธยม และมหาวิทยาลัย ที่เชียงใหม่ เพื่อรองรับชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัยอยู่ในภาคเหนือตอนบนมากขึ้น ล่าสุดมีชาวญี่ปุ่นที่มาอาศัย กว่า 10,000 คนแล้ว ดังนั้นโครงการรถไฟความเร็วสูง จึงเป็นส่วนหนึ่งของแผนการลงทุนญี่ปุ่น เพื่อเปิดตลาดสู่เออีซี และแข่งขันกับจึน ที่ไม่ประสบผลสำเร็จโครงการรถไฟความเร็วสูง จากจีน ผ่านลาว สู่ไทย ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน)
“การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสุง จึงเป็นทางเลือกหนึ่ง เพื่อลดการเดินทางโดยเครื่องบิน หรือโลว์คอร์ต ซึ่งมีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นทุกปี ปัจจุบันท่าอากาศยานเชียงใหม่ มีผู้โดยสาร ปีละ 7-8 ล้านคน แต่รองรับได้ถึง 15 ล้านคน ภายใน 10 ปีเท่านั้น หากไม่ลงทุนรถไฟความเร็วสูง จำเป็นต้องสร้างสนามบินแห่งที่ 2 รองรับแทนซึ่งมูลค่าลงทุนใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วปานกลาง จึงเป็นโจทย์ให้รัฐบาลคิดวางแผนและตัดสินใจ เพื่อรองรับการเติบโตเชียงใหม่ และภาคเหนือตอนบน อีก 20 ปีข้างหน้า” นายเฉลิมชาติ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2016 10:07 am    Post subject: Reply with quote


ความเห็นประชาชนเรื่องรถไฟความไวสูงสายตะวันออก ไปพัทยา และ ระยอง
https://www.youtube.com/watch?v=MhE5y-K2yZ8
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 195, 196, 197 ... 545, 546, 547  Next
Page 196 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©