Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181627
ทั้งหมด:13492865
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 197, 198, 199 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2016 11:15 am    Post subject: Reply with quote

เปิดให้ผู้รับเหมาไทยประมูลงานก่อสร้างรถไฟไทย-จีน
ข่าวธุรกิจ-ตลาด
โพสต์ทูเดย์
27 มิถุนายน 2559 เวลา 07:23 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จะเสนอโครงการรถไฟไทย-จีน เส้นกรุงเทพฯ-นครราชสีมา และวงเงินลงทุนทั้งโครงการ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติในเร็วๆ นี้ หาก ครม.อนุมัติ กระทรวงคมนาคมจะดำเนินการเปิดประมูลก่อสร้างโครงการในตอนแรก 3.5 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายจีนจะส่งแบบก่อสร้างงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานใต้ราง (Below Rail) มาให้ฝ่ายไทยเพื่อถอดเป็นราคากลาง จากนั้นจะเปิดให้เอกชนและบริษัทรับเหมาไทยเข้ามาแข่งขันราคาในช่วงเดือน ส.ค.นี้ และจะเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ในเดือน ก.ย.เป็นต้นไป

ผู้รับเหมาไทยจะเป็นคนสร้างโครงสร้างใต้รางทั้งหมด 250 กม. แต่ก่อนจะสร้างจะต้องเสนอโครงการให้ ครม.อนุมัติก่อน เช่น โครงการมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจอย่างไร ผลประโยชน์ทางการเงินอย่างไร เส้นทางอยู่ตรงไหน แบ่งออกเป็นกี่ตอน มูลค่าโครงการเท่าไหร่ แผนก่อสร้าง และแผนการทำงานทั้งหมด เมื่อ ครม.อนุมัติแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะดำเนินการเปิดประมูลแต่ละช่วงและให้ผู้รับเหมาก่อสร้าง

ซึ่งการก่อสร้างในช่วงแรกจีนอาจจะเสนอให้สร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. รวมกับตอนที่ 2 ระยะทาง 10 กม. ก็ได้ ถ้าเห็นว่าตอน 3.5 กม.มันสั้นไป

จากนั้นเราก็จะเอามาถอดราคาแล้วเปิดประมูล ส่วนที่เหลือฝ่ายจีนจะส่งแบบก่อสร้างแบบละเอียดในตอนที่ 3 ระยะทาง 100 กม. มาให้ในเดือน ธ.ค. และตอนที่ 4 ระยะทาง 120 กม. มาในเดือน ก.พ. 2560 โดยเราจะเริ่มต้นทยอยก่อสร้างแบบนี้ต่อเนื่องกันไป" นายอาคม กล่าว

นายอาคม ย้ำว่า จะเจรจาลดวงเงินโครงการให้ใกล้เคียงตัวเลขที่ 1.7 แสนล้านบาท ซึ่งในส่วนการลงทุนงานโครงสร้างพื้นฐานใต้รางจะมีมูลค่า 70-80% ของมูลค่าโครงการทั้งหมด หรือเป็นมูลค่าเกินกว่า 1.3 แสนล้านบาท จะให้ผู้รับเหมาไทยก่อสร้าง โดยจะสร้างให้เสร็จใน 3 ปี ควบคู่ไปกับการออกแบบและวางราง อาณัติสัญญาณ และจัดหาตัวรถมาวิ่ง ซึ่งจะมีบริษัทลูกของ รฟท.เข้ามาดำเนินการจ้างจีนสร้างตามแบบที่ฝ่ายไทยเห็นชอบแล้ว

นายอาคม กล่าวว่า รถไฟไทย-จีน และรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะมีบรรจบกันที่สถานีกลางบางซื่อ

สำหรับการก่อสร้างงานใต้รางรถไฟไทย-จีนดังกล่าว มีระยะทาง 252.2 กม. เป็นทางระดับพื้น 64 กม. เป็นสะพานยกระดับ 182 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 27/06/2016 5:03 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นเล็งสร้างไฮสปีดเทรนนำร่อง 384กิโลเมตร
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,169 วันที่ 26 – 29 มิถุนายน พ.ศ. 2559

ญี่ปุ่นเล็งสร้างไฮสปีดเทรนนำร่อง 384กิโลเมตร
ญี่ปุ่นลุ้นก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นช่วงแรกกทม.-พิษณุโลกกว่า 380 กม. เร่งเสนอผลศึกษาก่อนออกแบบรายละเอียดให้แล้วเสร็จในปี 60 “อาคม” ขยาดกรณีเผยตัวเลขกรอบวงเงินลงทุน แย้มเล็งส่งรฟท.ร่วมตั้งบริษัทลูกเข้าไปดำเนินการ ชี้ต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รูปแบบต่างๆควบคู่กันไปด้วย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ Mr. Tsutomo Shimura รองอธิบดีกรมการรถไฟ กระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวประเทศญี่ปุ่นว่าเป็นการประชุมต่อเนื่องโครงการพัฒนารถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น โดยมีอยู่ 3 เส้นทางหลัก คือ 1.รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่ปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ เบื้องต้นในการหารือครั้งนี้ได้ร่วมพิจารณาเกี่ยวกับการดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กิโลเมตร ซึ่งญี่ปุ่นได้ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการแล้วในเบื้องต้นพบว่ามีการแบ่งช่วงการดำเนินโครงการก่อสร้างออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ – พิษณุโลก ระยะทาง 384 กิโลเมตร และช่วงที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ ระยะทาง 289 กิโลเมตร โดยในช่วงที่ 1 (กรุงเทพฯ – พิษณุโลก ) จะมีผลตอบแทนด้านความคุ้มค่าด้านการลงทุนโครงการดีกว่า แต่ทั้งนี้ต้องมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ควบคู่ไปด้วย ส่วนช่วงที่ 2 เมื่อมีการเจริญเติบโตของเมืองตามการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในช่วงที่ 1 แล้วผลตอบแทนโครงการจะดีขึ้น

“ไม่ว่าจะเป็นการเกิดนิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานี การพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีศักยภาพก็จะทำให้ผลตอบแทนโครงการมีความคุ้มค่าด้านการลงทุน ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ที่ต้องการให้เปลี่ยนแนวคิดว่าการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานนั้นไม่ใช่เฉพาะเวนคืนมาทำเฉพาะเส้นทางรถไฟอย่างเดียว จะต้องพิจารณาว่าช่วงไหนที่สามารถนำไปพัฒนาให้เกิดมูลค่าและเกิดผลตอบแทนได้อีก ครั้งนี้เป็นการนำเสนอรายงานความเป็นไปได้ขั้นกลางเท่านั้น โดยคาดว่าจะนำรายงานคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้ในเดือนกรกฎาคมนี้”

นอกจากนั้นฝ่ายไทยยังได้ขอรับการสนับสนุนฝ่ายญี่ปุ่นที่มีความเชี่ยวชาญด้านการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีรถไฟฟ้า ซึ่งฝ่ายไทยก็ยังได้มีการหารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)ที่มองในแนวภาพรวมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมได้ดีกว่า จึงเป็นการเรียนรู้ทางด้านการพัฒนายุทธศาสตร์ร่วมกันซึ่งอยู่ระหว่างการหารือและจัดหางบประมาณไปดำเนินการ ประการสำคัญการพัฒนาของญี่ปุ่นในจุดหนึ่งจะใช้ระยะเวลาไม่น้อยกว่า 10 ปีจึงจะเห็นภาพชัดเจนซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะให้เอกชนพัฒนาหรือรัฐต้องการจะพัฒนาเองมากกว่า

“หากให้เอกชนพัฒนาจำเป็นจะต้องมีการวางผังพื้นที่ วางผังการใช้ประโยชน์ แล้วจึงนำไปสู่การจัดรูปที่ดินต่อเนื่องกันไป หรือจำเป็นจะต้องลงทุนซื้อที่ดินก็จะดำเนินการในทันทีซึ่งฝ่ายไทยนั้นมีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พร้อมร่วมลงทุนได้ทันทีโดยอาจจะให้ร.ฟ.ท.ตั้งบริษัทลูกเข้าไปดำเนินการทำหนาที่บริหารเฉพาะเส้นทางนั้นๆ”

//----------------
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/06/2016 9:57 pm    Post subject: Reply with quote

ตะลึง! ค่าที่ปรึกษา"ไฮสปีดไทย-จีน" 6พันล้าน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 30 มิถุนายน พ.ศ. 2559 เวลา 21:30:02 น.


บีบค่าก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน ปรับลดค่าจ้างที่ปรึกษาจาก 6 พันล้าน เหลือ 1 พันล้าน ค่าเวนคืนพุ่งแตะ 1.3 หมื่นล้าน รื้อท่อก๊าซ ปตท. 80 กม. คาดใช้เงินลงทุน กม.ละ 500 ล้าน ดีเดย์ ก.ค.ชง ครม.อนุมัติโปรเจ็กต์ ปักหมุดช่วงแรก 3.5 กม. สถานีกลางดง-ปางอโศก จุดคิกออฟโครงการ เปิดประมูล ส.ค. ลงเข็ม ก.ย. ลั่นปีหน้าสร้างครบ 253 กม.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 21 มิ.ย.ที่ผ่านมาได้รายงานผลการประชุมครั้งที่ 11 โครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน หรือไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ โดยจะแบ่งการก่อสร้าง 4 ตอน ได้แก่ ช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ช่วงที่ 2

ระยะทาง 10 กม. ช่วงที่ 3 ระยะทาง 120.5 กม. และช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. ซึ่งทั้งสองฝ่ายตกลงจะเริ่มสร้างช่วงที่ 1 เป็นลำดับแรก เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไม่มีทางยกระดับ ทางฝ่ายจีนจะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างส่งมอบให้ฝ่ายไทยภายใน 1 เดือนนี้ จากนั้นจะถอดแบบและประมาณการค่าก่อสร้าง ตั้งเป้าจะประกวดราคาและเริ่มสร้างเดือน ก.ย.นี้ ส่วนช่วงที่ 2-4 ฝ่ายจีนจะทยอยออกแบบรายละเอียดและส่งมอบให้ฝ่ายไทยได้ภายใน 8 เดือน คาดว่าเดือน ก.พ. 2560 จะก่อสร้างได้ครบทั้งโครงการ

"ขอให้จีนจัดคณะทำงานออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างทั้ง 4 ตอนไปพร้อม ๆ กัน ไม่ต้องรอให้ตอนใดตอนหนึ่งเสร็จก่อน สาเหตุที่เลือกสร้าง 3.5 กม.ก่อน เพราะเป็นพื้นที่พร้อมที่สุด เป็นเขตทางรถไฟ ไม่ผ่านภูเขาหรือสะพาน หากมีการก่อสร้างระยะทางที่ยาวกว่านี้จะทำให้การออกแบบรายละเอียดนาน และไม่สามารถเริ่มสร้างได้ทันกำหนดเวลาปีนี้" นายอาคมกล่าวและว่า

อีกทั้งเร่งให้คณะทำงานยกร่างกรอบความร่วมมือรูปแบบการก่อสร้างโครงการ จะดำเนินการรูปแบบ EPC ใน 2 ส่วน เพื่อเสนอ ครม.อนุมัติภายในเดือน ก.ค.นี้ คือ งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง โดยคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างของไทยเข้าร่วมก่อสร้างโครงการ และเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างได้เร็วที่สุด

และงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง รวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ ฝ่ายจีนจะคัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนมีผลงานด้านรถไฟความเร็วสูงที่มีคุณภาพ ต้องได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทยเป็นผู้ดำเนินการ อีกทั้งเร่งสรุปกรอบวงเงินลงทุนทั้งก่อสร้างและงานระบบที่กำลังต่อรองกับฝ่ายจีนเสนอราคาอยู่ที่ 189,981 ล้านบาท จะให้ไม่เกิน 1.8 แสนล้านบาท

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า ฝ่ายไทยจะขอจีนให้ปรับลดเงินลงทุนโครงการอยู่ที่กว่า 179,300 ล้านบาท โดยจะปรับลดค่าจ้างที่ปรึกษาออกแบบโครงการ จากเดิมคิดอยู่ที่ 3.5-4.5% ของมูลค่าโครงการ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท จะขอให้คิดที่ 1.25% หรืออยู่ที่กว่า 1,000 ล้านบาท

ส่วนค่าก่อสร้างและค่าเวนคืนที่ดินยังเท่าเดิม ซึ่งค่าก่อสร้างประเมินไว้อยู่ที่ประมาณ 160,000 ล้านบาท ส่วนค่าเวนคืนที่ดินและค่ารื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคอยู่ที่กว่า 13,000 ล้านบาท สูงขึ้นจากเดิมเนื่องจากต้องรื้อย้ายท่อก๊าซของ ปตท.ที่กีดขวางแนวเส้นทางอยู่ประมาณ 80 กม. ช่วงจากกรุงเทพฯ-ภาชี และมีเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างสถานีสระบุรีจะไม่สร้างในตำแหน่งเดิม ขณะที่สถานีตลอดเส้นทางมี 5 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปากช่อง และโคราช

ด้านการก่อสร้างแบ่งเป็น 4 ตอน ช่วงแรก 3.5 กม. จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ช่วงที่ 2 ระยะทาง 10 กม. จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ช่วงที่ 3 ระยะทาง 100 กม. จากแก่งคอย-โคราช (เว้นพื้นที่ช่วงแรก) ช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. จากกรุงเทพฯ-แก่งคอย โดยค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ล้านบาท/กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 01/07/2016 5:46 pm    Post subject: Reply with quote

เจ้าสัวซีพีปูดบิ๊กตู่ขอให้ช่วย ลงทุนไฮสปีด'กทม.-ระยอง'

เดลินิวส์
ศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 05.57 น.


“เจ้าสัวธนินท์” เปิดใจพร้อมหาพันธมิตรลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง หลัง “บิ๊กตู่” ขอให้ช่วยเจียดโครงการไปลงทุน ลดภาระงบรัฐ รับแม้ขาดทุนก็ยอมทำ เพราะจะเกิดประโยชน์มหาศาลรับไม่มีคนไหนวิ่งเต้นทำโครงการที่ขาดทุน

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการ และประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า ซีพีกำลังมองหาพันธมิตรเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการลงทุนโครงการก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทางประมาณ 190 กิโลเมตร หลังจากได้คุยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) แล้ว โดยนายกฯ ต้องการให้ซีพีเข้ามาลงทุนในเส้นทางดังกล่าว เพราะถ้ารัฐบาลทำเองจะต้องใช้เงินงบประมาณจำนวนมาก และอาจมีเงินไม่เพียงพอ ซึ่งในรายละเอียดของการดำเนินการนั้น ตอนนี้ต้องรอให้โครงการมีความชัดเจนก่อน จากนั้นซีพีจะเปิดเผยรายละเอียดได้ทั้งหมด  


“เรื่องนี้สนใจมาก แต่ตอนนี้โครงการไม่สุกงอม ไว้ให้พร้อมจะบอก โดยในการลงทุนนี้คงต้องผนึกกำลัง ซึ่งซีพีมองว่า จะกำไรมากน้อยไม่สำคัญ ที่สำคัญคือต้องทำเรื่องนี้ให้สำเร็จ เพราะนายกฯให้ทำ ทำแล้วเป็นประโยชน์อย่างมหาศาลกับประเทศไทย แต่การลงทุนใครทำก็ต้องขาดทุนแน่ ดังนั้นนายกฯ และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ จึงขอให้เอกชนมาช่วย ซีพีก็พร้อมช่วย และอยากให้คนอย่าเข้าใจผิดว่า เรื่องนี้ ผมไม่เคยวิ่งเต้น เพราะทำแล้วขาดทุนใครจะวิ่งเต้นมาทำทำไม แต่เมื่อนายกฯ พูดมาอย่างนี้ ถ้าไม่ทำโครงการก็น่าเสียดาย เพราะจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศอย่างมาก”นายธนินท์กล่าว

ทั้งนี้หากสามารถเริ่มทำโครงการดังกล่าวได้ เชื่อว่า จะช่วยสร้างความเจริญในพื้นที่ได้อีกมาก โดยเฉพาะการยกระดับคุณภาพชีวิตของคน นั่นเพราะคนที่ทำงานในกรุงเทพฯ
ก็สามารถนั่งรถไฟความเร็วสูงไปทำงานจากระยองใช้เวลาเพียงแค่ 40 นาทีเท่านั้น หรือถ้าอยู่พัทยาก็ใช้เวลาเดินทางเพียง 30 นาที ความแออัดในเมืองหลวงก็ลดลง ประกอบกับราคาที่ดินใน
ต่างจังหวัดก็ยังมีราคาต่ำ ทำให้คนมีเงินที่จะซื้อบ้านและที่ดินได้

กลุ่มซีพีจ่อลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง
Thai PBS
ศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:46

ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ยอมรับสนใจลงทุนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นกรุงเทพ-ระยอง คาด 3 เดือนได้ข้อสรุป เสนอรัฐบาลพัฒนาเมืองใหม่กระจายความเจริญสู่ภูมิภาค

วันนี้ ( 1 มิ.ย.2559 ) นายธนินทร์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) เปิดเผยว่า กลุ่มซีพี สนใจร่วมลงทุนในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงจริงแต่อยู่ระหว่างการพิจารณารูปแบบการลงทุน โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 2-3 เดือนนี้ นอกจากกลุ่มซีพีแล้วยังมีกลุ่มไทยเบฟเวอเรจ ของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่สนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ หัวหินด้วย

นายธนินทร์ กล่าวอีกว่า การเปิดให้เอกชนลงทุนจะช่วยประหยัดงบประมาณให้รัฐบาล แต่เสนอว่าควรมีการก่อสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานอย่างอื่น และเมืองใหม่ควบคู่กันไปด้วย และควรมีกฎหมายรองรับเพื่อให้โครงการต่างๆ เกิดความต่อเนื่อง
https://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=8JjIcvvNou0


เครือซีพีสนใจลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-ระยอง
by วชิราภรณ์ นาสวน
Voice TV
1 กรกฎาคม 2559 เวลา 15:30 น.

เครือซีพี พร้อมลงทุนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - ระยอง แม้มีโอกาสขาดทุน แต่ช่วยกระจายความเจริญสู่ชนบท คาดศึกษารายละเอียด แล้วเสร็จ 2 -3 เดือนจากนี้

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ยอมรับ กลุ่มซีพี สนใจร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ - ระยอง ขณะนี้ กำลังศึกษาข้อมูลและจัดทำรายละเอียดโครงการ คาดว่า จะแล้วเสร็จใน 2-3 เดือนนี้ แม้โครงการมีโอกาสขาดทุนสูง ส่วนการเลือกตั้งในปีหน้า(60) ไม่น่ากังวล แต่หวังให้รัฐบาลวางแผนระยะยาว พร้อมออกกฎหมายที่ทุกรัฐบาลดำเนินการนโยบายได้ต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/07/2016 11:28 am    Post subject: Reply with quote

รองปลัดฯคมนาคมชี้ แบบรถไฟ 3.5 เสร็จภายเดือนนี้ อดีตส.ส.ปชป.-นักวิชาการรุมต้าน!
มติชน
วันที่: ศุกร์ที่ 1 กรกฎาคม 2559 เวลา: 20:55 น.

รองปลัดฯคมนาคมชี้ แบบรถไฟ 3.5 เสร็จภายในเดือนนี้ ผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการต้าน ลงทุนไม่คุ้มค่า

เมื่อเวลา 9.30 น. วันที่ 1 กรกฎาคม ที่สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้ากลุ่มภารกิจการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านทางหลวง เปิดเผยว่า ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือไทย-จีน ในขณะนี้เส้นทางแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา อยู่ระหว่างการทำผลการศึกษา ซึ่งจะส่งให้สำนักนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณา หากมีความเห็นชอบก็นำไปสู่การพิจารณาในลำดับต่อไป และสำหรับเส้นทางที่ 2 กรุงเทพ-เชียงใหม่ ขณะนี้อยู่ระหว่างการทำผลการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะมีการนำเสนอผลการศึกษาได้ภายในสัปดาห์หน้า อน่างไรก้ตาม ในส่วนเส้นทางที่3 กรุงเทพ-ระยอง และเส้นทางที่4 กรุงเทพ-หัวหิน อยู่ระหว่างการศึกษาผลการศึกษา และรอให้เอกชนเข้ามาลงทุน

“สำหรับความคืบหน้าเฟสแรก เส้นทางกลางดง-ปางอโศก ที่มีระยะทาง 3.5 กิโลเมตร คาดว่าจะเร่งการดำเนินการการออกแบบรายละเอียดทั้งหมด และนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ภายในสิ้นเดือนนี้ และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ภายในเดือนกันยายนตามแผน” นายพีระพลกล่าว

นายสามารถ ราชพลลสิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญการขนส่งและจราจร และอดีตผู้ว่าราชการ กทม. เปิดเผยว่า การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะสั้นนี้ไม่คุ้มค่าทั้งในระยะสั้นและระยะยาว จึงมีข้อเสนอต่อรัฐบาลว่า 1. ควรจะชะลอการก่อสร้าง 3.5 กิโลเมตรนี้ไว้ก่อน ควรจะรอความพร้อมในระยะทาง 250 กิโลเมตรก่อนก็ได้ ทั้งๆที่ในความคุ้มค่าแล้วจะต้องสร้างในระยะทางมากกว่านี้ก็ตาม รวมถึงปัจจัยจากการสร้างรถไฟทางคู่และมอเตอร์เวย์ที่อาจจะทำให้ประชาชนตัดสินใจเลือกเดินทางอื่นมากกว่า 2. เทคนิคการก่อสร้างควรจะใช้กล่องคานคอนกรีต 30 เมตร มากกว่าคานคอนกรีต 3-4 เมตรในปัจจุบัน เพื่อให้ดำเนินการก่อสร้างได้รวดเร็วขึ้น 3.ควรจะพัฒนาเมืองและการใช้ที่ดินไปควบคู่กับการสร้างระบบขนส่งสาธารณะ เพราะโครงกที่ผ่านมา อาทิ แอร์พอร์ตลิ้งค์ เป็นโครงการแบบสแตนด์อะโลน ไม่ได้เชื่อมการระบบการเดินทางอื่นๆ และ 4.ต้องมีมาตรการทางกฎหมายในการจัดเก็บภาษี ในลักษณะ Value Capture เพื่อป้องกันการเก็งกำไรในพื้นที่ รวมถึงกฎหมายเกี่ยวกับการเวนคืน การจัดรูปที่ดิน เพื่อพัฒนาที่ดินให้เกิดประโยชน์ทั้งทางคมนาคม และผู้อาศัยใกล้เคียง

นายสุเมธ องกิตติกุล ผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูง จะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนรถไฟความเร็วสูง แต่ในขณะนี้ยังมีปัญหาว่า โครงการดังกล่าวขาดความชัดเจนและรายละเอียดของโครงการ ปัญหาประการต่อมาคือ เทคโนโลยีของโครงการรถไฟความเร็วสูงควรเป็นระบบเดียวกัน เพื่อการบำรุงรักษาระบบในระยะยาว การวางแผนเส้นทางรถไฟ ทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูงไม่ควรจะทับซ้อนกัน และประการสุดท้าย ควรจะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบโครงการนี้โดยเฉพาะ เพื่อกำหนดรูปแบบการลงทุน เทคโนโลยีใช้งาน และแหล่งเงินทุน ฯลฯ ซึ่งอาจเป็นหว่ยงานในลักษณะรัฐวิสาหกิจหรือองค์การมหาชน

นายสุเมธกล่าวว่า นอกจากนี้แล้ว ควรจะคำนึงจำนวนผู้โดยสารว่ามีปริมาณเหมาะสมหรือไม่ รวมถึงการบริหารจัดการราคาที่จะทำให้รถไฟความเร็วสูงระยะสั้นนี้แข่งกับการเดินทางรูปแบบอื่น และการการสร้างงานในเชิงพาณิชย์และเศรษฐกิจได้

counter
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/07/2016 1:36 pm    Post subject: Reply with quote

Nation TV - เว็บไซต์สถานีข่าวอันดับ 1 ของเมืองไทย
"ทีดีอาร์ไอชี้ ลงทุนรถไฟไฮสปีดไม่คุ้ม
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
2 กรกฎาคม 2559 18:04 น.

ทีดีอาร์ไอชี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงของภาครัฐ ไม่คุ้มค่าการลงทุน แนะรัฐตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบโครงการโดยเฉพาะผู้อำนวยการวิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ สุเมธ องกิตติกุล ระบุว่า โครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงของภาครัฐ ยังไม่ชัดเจนและไม่แน่นอนในการเลือกใช้เทคโนโลยี แนะรัฐควรเลือกเทคโนโลยีเดียว เพื่อให้เกิดความคุ้มค่าในการบำรุงรักษาในระยะยาวและเปิดเผยรายละเอียดความเป็นไปได้ของโครงการ รวมถึงผลประโยชน์ที่จะได้รับจากโครงการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง พร้อมเสนอให้ตั้งองค์กรขึ้นมารับผิดชอบโครงการโดยเฉพาะ อาจอยู่ในรูปแบบรัฐวิสาหกิจหรือองค์กรมหาชน ที่สามารถใช้งบประมาณของรัฐ ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานได้"
อ่านต่อที่: http://www.nationtv.tv/main/content/economy-business/378507587/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 05/07/2016 12:48 pm    Post subject: Reply with quote

ลมเปลี่ยนทิศ ค้านรถไฟความไวสูง กรุงเทพ - โคราช หัวชนฝา

รถไฟความเร็วสูงโคราช เสี่ยงขาดทุนอย่างหนัก
โดย ลม เปลี่ยนทิศ
ไทยรัฐ
4 กรกฎาคม 2559 05:01
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 07/07/2016 10:02 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง ความคุ้มค่าระยะยาวบนการก่อสร้างระยะสั้น?
เขียนโดยIsranews
เขียนวันที่ วันจันทร์ ที่ 04 กรกฎาคม 2559 เวลา 11:08 น.

“จำนวนของผู้โดยสาร หากมีน้อยความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจย่อมไม่มีอยู่เเล้ว ดังนั้น เส้นไหนที่เราเคลมว่า มีผลกระทบทางเศรษฐกิจสูงแต่สร้างมาเเล้ว ไม่มีผู้โดยสาร คำถามคือโครงการนั้นจะคุ้มค่าได้หรือ”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 08/07/2016 7:02 pm    Post subject: Reply with quote

สามารถ ชำแหละ รถไฟเร็วสูงกทม.-โคราช ขาดทุนยับแน่ วอนชงบิ๊กตู่เลิกด่วน!
มติชน
8 กรกฎาคม 2559 เวลา: 11:49 น.
"สามารถ" ชำแหละ รถไฟเร็วสูง กทม.-โคราช ขาดทุนยับแน่ วอนชงบิ๊กตู่เลิกด่วน

ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
8 กรกฎาคม 2559 เวลา 13:45:52 น.



วันนี้ (8 กรกฎาคม) นายสามารถ ราชพลสิทธิ์ อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) และอดีตรองผู้ว่าราชการกรุงเทพฯ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ หัวข้อ ผงะ! ผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงโคราช ระบุว่า จากกรณีที่รัฐบาลจะสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร โดยจะเริ่มสร้างในระยะ 3.5 กิโลเมตรก่อน ซึ่งแสดงถึงความไม่พร้อม โดยเฉพาะเมื่อวิเคราะห์จากตัวเลขผู้ใช้ ที่จะมีคู่แข่งทั้งจากรถไฟทางคู่ และมอเตอร์เวย์ เชื่อว่ารถไฟความเร็วสูงจะขาดทุนอย่างมากแน่นอน จึงอยากให้นายกรัฐมนตรีทราบข้อมูลดังกล่าวและยกเลิกโครงการ

เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างหนักถึงแนวคิดแปลกประหลาดของกระทรวงคมนาคมที่มีแผนจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะแรกเพียงแค่ 3.5 กิโลเมตรเท่านั้น จากระยะทางทั้งหมด 252 กิโลเมตร ซึ่งเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่พร้อมของกระทรวงคมนาคม เพราะถ้ามีความพร้อมจริงก็คงไม่ก่อสร้างเป็นระยะทางสั้นๆ แค่นี้ ที่น่าห่วงก็คือ ก่อสร้างเสร็จแล้วก็ไม่สามารถนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ได้ แถมยังจะต้องเสียค่าบำรุงรักษาอีก ที่สำคัญ หากไม่สามารถก่อสร้างต่อได้ก็จะเสียของ ดีไม่ดีจะกลายเป็นโฮปเวลล์ 2

หลายคนประสานเป็นเสียงเดียวกันว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีโอกาสขาดทุนสูง เพราะไม่เชื่อว่าจะมีผู้โดยสารมากพอ เนื่องจากมีคู่แข่งที่น่ากลัวอันประกอบด้วยรถไฟทางคู่ ขนาดรางกว้าง 1 เมตร และมอเตอร์เวย์ ซึ่งอยู่ในระหว่างการก่อสร้างในแนวเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูง เพื่อคลายข้อสงสัยดังกล่าวผมจึงขอนำผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มาเล่าให้ฟังดังนี้

กระทรวงคมนาคม โดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ว่าจ้างให้บริษัทที่ปรึกษาทำการศึกษาความเป็นได้ภายใต้ชื่อ “โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา” ซึ่งมีผลการศึกษาออกมาเมื่อเดือนสิงหาคม 2557 หรือเกือบ 2 ปีที่ผ่านมา โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1. ค่าก่อสร้าง (รวมงานทุกระบบ และค่าเวนคืน) 192,002 ล้านบาท ปัจจุบันได้ปรับลดลงเหลือประมาณ 180,000 ล้านบาท

2. อัตราค่าโดยสารเริ่มต้น 80 บาทต่อคนต่อเที่ยว บวกกิโลเมตรละ 1.80 บาท ดังนั้น ค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร จะเท่ากับ 533 บาทต่อคนต่อเที่ยว (80+1.8×252) หากเดินทางไม่ถึงนครราชสีมาก็เสียค่าโดยสารลดน้อยลงตามระยะทาง การคิดอัตราค่าโดยสารเช่นนี้ สนข. ยืนยันว่าจะทำให้มีรายได้มากที่สุด กล่าวคือ หากเพิ่มค่าโดยสารขึ้นก็จะทำให้มีผู้โดยสารลดลง ส่งผลให้มีรายได้ลดตามลงด้วย ในทางกลับกัน หากลดค่าโดยสารลงก็จะทำให้ผู้โดยสารเพิ่มขึ้น แต่รายได้จะลดลง

3. จำนวนผู้โดยสารในปีแรกที่เปิดให้บริการคือปี พ.ศ.2567 สนข.คาดว่าจะมีผู้โดยสาร 14,700 คนต่อวัน หรือ 5.3 ล้านคนต่อปี และคำนวณรายได้จากค่าโดยสารได้ 2,243 ล้านบาท โดยมีสมมติฐานว่าผู้โดยสารบางส่วนลงที่สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี หรือสถานีปากช่อง ไม่ได้เดินทางถึงสถานีนครราชสีมาทุกคน

4. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน (ค่าใช้จ่ายบำรุงรักษา ค่าใช้จ่ายพลังงาน ค่าจ้างพนักงาน และค่าใช้จ่ายอื่นๆ) รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมในปีแรกที่เปิดให้บริการคิดเป็น 3,778 ล้านบาท

5. หากต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย 2% ต่อปี จากจำนวนเงินกู้หรือค่าก่อสร้าง 180,000 ล้านบาท จะต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย 3,600 ล้านบาทต่อปี

6. ดังนั้น การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะทำให้รัฐบาลต้องแบกภาระการขาดทุนปีละ 5,135 ล้านบาท (รายได้ 2,243 ล้านบาท – ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน 3,778 ล้านบาท – ค่าดอกเบี้ย 3,600 ล้านบาท) ซึ่งเงินจำนวนนี้ก็เป็นเงินจากภาษีของเราทุกคน

ผมไม่ทราบว่านายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้รายงานผลการศึกษาที่สำคัญนี้ให้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้รับทราบหรือไม่ หากท่านนายกฯ ประยุทธ์ ได้ประจักษ์ถึงตัวเลขการขาดทุนเช่นนี้ ท่านอาจจะยกเลิกโครงการนี้ก็ได้ จริงมั้ยครับ

counter


Last edited by Wisarut on 11/07/2016 7:05 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 10/07/2016 1:04 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สามารถ ชำแหละ รถไฟเร็วสูงกทม.-โคราช ขาดทุนยับแน่ วอนชงบิ๊กตู่เลิกด่วน!
มติชน

วันที่: 8 ก.ค. 59 เวลา: 11:49 น.


นี่ครับ บทความของอาจารย์สามารถ -
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10206653880810839&set=a.3728713981569.2140239.1387533272&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 197, 198, 199 ... 542, 543, 544  Next
Page 198 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©