Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269508
ทั้งหมด:13580795
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 198, 199, 200 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2016 9:19 am    Post subject: Reply with quote

เร่งชงครม.อนุมัติรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ลุยเฟสแรก"กทม.-พิษณุโลก"ลงทุนมิกซ์ยูส5สถานี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 11 ก.ค. 2559 เวลา 22:01:14 น.

คมนาคมชง ครม.เคาะแผนก่อสร้างไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นเฟสแรก "กทม.-พิษณุโลก" ก.ค.นี้ ไจก้าโดดร่วมศึกษาพื้นที่เชิงพาณิชย์ 5 สถานี อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก ส่วนรถไฟสายเชื่อมเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก จากกาญจนบุรี-กทม.-แหลมฉบัง-สระแก้ว ศึกษารายละเอียดเพิ่ม ก่อนเคาะตั้งบริษัทร่วมทุน เร่งศึกษาแม่สอด-มุกดาหารเชื่อมโครงข่าย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 23 มิ.ย.ที่ผ่านมา ได้หารือโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 669 กม. เป็นความร่วมมือกับรัฐบาลญี่ปุ่น ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกันจะเริ่มสร้างจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม.เป็นระยะแรก อยู่ระหว่างประเมินมูลค่าโครงการใหม่ จากเดิมประเมินไว้ 224,416 ล้านบาทคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก.ค.นี้ ออกแบบรายละเอียดปี 2560 และสร้างปี 2561

"ญี่ปุ่นเสนอแนะว่า รายได้ค่าโดยสารจากรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียวไม่พอ ต้องพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปด้วย ไม่ว่าเป็นนิคมอุตสาหกรรม สถานี หรือพื้นที่ 2 ข้างทาง อาจจะไม่ได้พัฒนาตลอดเส้นทาง แต่พัฒนาช่วงมีศักยภาพ จะทำให้ผลตอบแทนโครงการในเชิงการเงินดีขึ้น สอดคล้องกับนโยบายของนายกรัฐมนตรีให้นโยบายการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ประกอบการลงทุนด้วย"

นายอาคมกล่าวว่าทางองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น(ไจก้า)จะทำการศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ให้กับประเทศไทยเพราะมีประสบการณ์มาก่อน ส่วนฝ่ายไทยจะให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) มาร่วมศึกษาด้วย เนื่องจากมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาเศรษฐกิจและวิธีการจะพัฒนาอย่างไรถึงจะเป็นประโยชน์ สิ่งสำคัญคือการวางผังพื้นที่ การใช้ประโยชน์และจัดรูปที่ดิน

ส่วนเส้นทางกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง และกรุงเทพฯ-อรัญประเทศ จะมีปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานเดิมให้มีความปลอดภัย การจัดโซนในการเดินรถ การปรับปรุงจุดเชื่อมต่อและการเข้าถึงระบบรถไฟ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ และรถไฟชานเมืองสายสีแดง อีกทั้งหลังจากทดลองการเดินรถตู้ขนส่งสินค้าขนาด 12 ฟุต จากหนองปลาดุก-แหลมฉบัง จะต้องมีการศึกษาตลาดเพิ่มเติมเพื่อจะจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เบื้องต้นได้เปิดสำนักงานเพื่อสำรวจและพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟที่บริษัท โตโยต้า ทูโช (ประเทศไทย) แล้ว

"เส้นทางแม่สอด-มุกดาหาร ทางญี่ปุ่นตกลงจะทำการศึกษาให้ไทยแล้ว ขณะนี้เริ่มไปพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ จะเริ่มศึกษาช่วงตั้งแต่แม่สอด-นครสวรรค์ก่อน แต่ไทยได้ให้ดำเนินการศึกษาช่วงนครสวรรค์-มุกดาหารไปด้วย"

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กล่าวว่า ร่วมกับญี่ปุ่นศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์แนวเส้นทางไฮสปีดเทรนรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 384 กม. หลังผลการศึกษาออกมาแล้ว โดยตัวโปรเจ็กต์ผลตอบแทนการเงินไม่คุ้ม ต้องพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปกับสถานีรถไฟด้วย มี 5 สถานี ได้แก่ อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก กำลังพิจารณาจะพัฒนาพื้นที่สถานีไหนเป็นเมืองใหม่ได้บ้าง

"มี 2 วิธีคือ สร้างสถานีบนที่ใหม่และพัฒนาเมืองใหม่ไปด้วย หรือสร้างบนตำแหน่งเดิม ก็จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดินเหมือนกับกรมโยธาธิการและผังเมือง โดยรอบสถานีรัศมี 2 ตร.กม. ซึ่งเป็นวิธีการที่ดีจะทำให้ที่ดินเป็นระเบียบมากขึ้น ถ้าสร้างที่ใหม่จะใช้เวลา 10 ปี กำลังดู 5 สถานี จะนำร่องที่ไหนได้บ้าง จะมีสภาพัฒน์มาช่วยด้วย เพราะรู้เรื่องแผนการพัฒนาภูมิภาคและพัฒนาเมือง ส่วนญี่ปุ่นให้ความช่วยเหลือทางวิชาการ"
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 12/07/2016 11:07 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เร่งชงครม.อนุมัติรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ลุยเฟสแรก"กทม.-พิษณุโลก"ลงทุนมิกซ์ยูส5สถานี
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 กรกฎาคม 2559 เวลา: 22:01:14 น.


ย้อนรอยเมืองใหม่ไฮสปีด จาก "เพื่อไทย" ถึง "รัฐบาล คสช."
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
11 กรกฎาคม 2559 เวลา: 21:00:16 น.


หลังโครงการ 2 ล้านล้านล่มไป ทำให้ "เมืองใหม่ไฮสปีดเทรน" ถูกลืมเลือน แต่ดูเหมือนกำลังจะถูกหยิบมาปัดฝุ่นอีกครั้ง พลันที่ "ญี่ปุ่น" เสนอแนะ "รัฐบาล คสช." ลงทุนสร้างรถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" ต้องพัฒนาพื้นที่ควบคู่ไปด้วยโครงการถึงจะคุ้มค่า เหมือนที่ญี่ปุ่นทำสำเร็จมาแล้ว

ซึ่งโมเดลนี้อยู่ในใจ "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรีมาตลอด นับจากเยือนญี่ปุ่นครั้งแรกต้นปีที่แล้ว ล่าสุดสั่ง "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เจ้ากระทรวงคมนาคม เปิดประมูลโครงการระบบรางไปพร้อมกับพัฒนาพื้นที่ หวังจูงใจเอกชนร่วมลงทุน

สำหรับโมเดลเมืองใหม่ไฮสปีดเทรน เกิดขึ้นปี 2556 โดย "กรมโยธาธิการและผังเมือง" เป็นเจ้าภาพร่วมกับคมนาคม วางกรอบพัฒนาโดยรอบสถานีทั้ง 4 เส้นทาง 17 สถานี ครอบคลุม 4 ภูมิภาค มี 4 สถานีปลายทาง "พิษณุโลก-หัวหิน -โคราช-ระยอง" นำร่อง

มีทั้ง "เมืองขนาดเล็กและขนาดใหญ่" ขึ้นอยู่กับไซซ์แต่ละสถานี มีทั้งพัฒนาสถานีเดิมและเปิดพื้นที่ใหม่ ในรัศมีห่างจากเมือง 5-10 กม.ขนาดพื้นที่ 2,000-5,000 ไร่ โดยใช้หลักคิดการพัฒนาของญี่ปุ่นมาเป็นต้นแบบ เพื่อเพิ่มมูลค่าพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์

ขณะที่การพัฒนา มี 2 ทาง คือ วางผังพัฒนาพื้นที่เฉพาะจัดเป็นโซนนิ่ง "ที่อยู่อาศัย-สาธารณูปโภค-พาณิชยกรรม" และใช้การจัดรูปที่ดิน

ส่วนพื้นที่เป้าหมายของสาย "กรุงเทพฯ-พิษณุโลก" มี 1)พระนครศรีอยุธยา 5,000 ไร่ อยู่สถานีรถไฟอยุธยาเดิม ใกล้เมืองอยุธยาและใกล้แหล่งท่องเที่ยว 2)ลพบุรี 5,000 ไร่ อยู่สถานีรถไฟบ้านป่าหวาย ต.ป่าตาล อ.เมืองลพบุรี ห่างสถานีรถไฟลพบุรี 5 กม. 3)นครสวรรค์ 5,000 ไร่ อยู่สถานีรถไฟนครสวรรค์เดิม ต.หนองปลิง อ.เมือง ห่างศูนย์กลางเมือง 6 กม. และ 4)พิจิตร 5,000 ไร่ จะเปิดพื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิม 2 กม.

สาย "กรุงเทพฯ-นครราชสีมา" ประกอบด้วย 1)สระบุรี มี 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟสระบุรีเดิม 1,200 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมไป 4 กม. บนถนนวงแหวนรอบนอก 3,000 ไร่ 2)สถานีปากช่อง 3,000 ไร่เศษ ห่างสถานีรถไฟเดิม 5 กม. เป็นที่ดินของกรมธนารักษ์ ปัจจุบันใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งของกรมพลาธิการทหารบก 3)นครราชสีมา มี 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟนครราชสีมาเดิม 7,000 ไร่ หรือที่สถานีภูเขาลาด 3,000 ไร่ และสถานีชุมทางบ้านจิระ 3,000 ไร่

สาย "กรุงเทพฯ-หัวหิน" ประกอบด้วย 1)นครปฐม 3,000-4,000 ไร่ อยู่สถานีรถไฟนครปฐมเดิม 2)ราชบุรี 3,000 ไร่ เป็นพื้นที่ใหม่ห่างจากสถานีเดิม 3 กม. และ 3)เพชรบุรี 3,000-4,000 ไร่ ห่างจากในเมือง 2 กม. และ 4)สถานีหัวหิน 5,000 ไร่ ตรงข้ามสนามบินหัวหิน บริเวณบ่อฝ้าย-ห้วยจิก ห่างจากหัวหิน 6 กม. และชะอำ 17 กม.

สุดท้ายสาย "กรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง" ประกอบด้วย 1) ฉะเชิงเทรา อยู่สถานีรถไฟเดิม 2,500 ไร่ 2) ชลบุรี อยู่สถานีรถไฟเดิม 3,000-4,000 ไร่ 3) ศรีราชา มี 2 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟศรีราชาเดิม 400 ไร่ กับห่างจากสถานีเดิมมาด้านใต้ 3-4 กม. ขนาด 7,000 ไร่ 4)เมืองพัทยา 5,000-6,000 ไร่ มี 3 ทางเลือก คือ สถานีรถไฟพัทยาเดิม 5,000 ไร่ หรือห่างจากสถานีเดิมขึ้นไปทางเหนือ 5 กม. และห่างจากสถานีเดิมมาด้านใต้ 8 กม. และ 5)ระยอง 4,000-5,000 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟมาบตาพุดขึ้นไปทางตัวเมืองระยอง 8 กม.

จะเป็นการลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน โดยรัฐอาจจะลงทุนระบบสาธารณูปโภคและเอกชนลงทุนที่อยู่อาศัยและพาณิชยกรรม คาดว่าจะใช้เงินลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2016 7:45 am    Post subject: Reply with quote

ความเร็วและความคุ้มค่าของรถไฟความเร็วสูง
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 13 July 2559

รถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือ High Speed Train เป็นระบบขนส่งมวลชนที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในนานาประเทศสำหรับการเดินทางระหว่างเมือง สำหรับประเทศไทยได้มีความพยายามในการผลักดันแผนการสร้างระบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงมาหลายรัฐบาลโดยมีรูปแบบการดำเนินการต่างๆ กันไป รถไฟฟ้าความเร็วสูงถือเป็นนโยบายในการพัฒนาประเทศที่สำคัญแต่ก็มีต้นทุนในการก่อสร้างและดำเนินการที่สูงมาก โดยจากสถิติล่าสุดต้นทุนค่าก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมีมูลค่าตั้งแต่ประมาณ 500 ล้านบาทต่อกิโลเมตร (กรณีของประเทศจีน) 800 ล้านบาทต่อกิโลเมตร (กรณีของประเทศในยุโรป) หรือสูงจนถึงกว่าพันล้านบาทต่อกิโลเมตร (กรณีของประเทศสหรัฐอเมริกา)

ในการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ขนาดนี้ก็จำเป็นที่จะต้องพิจารณาถึงความคุ้มค่าในการลงทุนให้รอบคอบโดยที่คำนึงถึงประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจ และสังคม ในนานาประเทศที่ได้มีการพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงอย่างต่อเนื่องได้มีการพิจารณาถึงประโยชน์ของรถไฟความเร็วสูงในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจเป็นหลัก ไม่ได้เพียงแต่พิจารณาความคุ้มค่าจากค่าโดยสารเท่านั้น นอกจากนั้นแล้วยังเป็นโครงสร้างพื้นฐานที่สามารถกระจายการพัฒนาจากเมืองหลวงสู่เมืองภูมิภาคได้รวดเร็วที่สุดจากการเชื่อมโยงที่สะดวกรวดเร็วและปลอดภัย

“รถไฟความเร็วสูง” ถูกให้นิยามว่าเป็นรถไฟที่สามารถทำความเร็วได้ตั้งแต่ 200 กม./ชม.ขึ้นไป ความเร็วสูงสุดที่มีการใช้กันอยู่สูงกว่า 300 กม./ชม. ก็มีเช่นในประเทศญี่ปุ่น หรือฝรั่งเศส ด้วยความเร็วในช่วง 200-300 กม./ชม. ทำให้รถไฟความเร็วสูงมีความเหมาะสมในการเดินทางในระยะเวลาการเดินทางระหว่าง 1-4 ชม. เมื่อเทียบกับการเดินทางอากาศ

ทั้งนี้เหตุผลหลักคือเมื่อระยะเวลาเดินทางสั้นเวลาที่เสียไปในการผ่านกระบวนการด้านความปลอดภัยที่ท่าอากาศยานทำให้รถไฟความเร็วสูงได้เปรียบ แต่เมื่อระยะเวลาในการเดินทางนานขึ้นทำให้ระยะเวลาดังกล่าวมีความสำคัญน้อยลงเมื่อเทียบกับระยะเวลาเดินทางที่เร็วกว่าของเครื่องบิน ดังนั้นประเทศต่างๆ ทั่วโลกจะมีการกำหนดสถานีรถไฟความเร็วสูงในตำแหน่งที่อยู่ใกล้บริเวณศูนย์กลางของเมืองเพื่อลดระยะเวลาในการเดินทางไปยังสถานีและสร้างโครงข่ายเชื่อมต่อในการเดินทางในเมืองกับสถานีรถไฟความเร็วสูงด้วย ต้นทุนในการก่อสร้างของรถไฟความเร็วสูงก็แปรผันกับความเร็วเช่นกัน

โดยจากข้อมูลของการศึกษาของ World Bank เกี่ยวกับต้นทุนการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในจีนแสดงว่าต้นทุนก่อสร้างต่อกม. ของรถไฟความเร็วสูงที่ระดับความเร็ว 350 กม./ชม. จะสูงกว่ารถไฟความเร็วสูงที่ระดับความเร็ว 250 กม./ชม. อยู่ที่ประมาณ 50% โดยต้นทุนที่สูงกว่าส่วนใหญ่เกี่ยวกับโครงสร้างที่ต้องมีการแยกออกอย่างชัดเจนจากระบบรางรถไฟปกติ

ในมุมหนึ่งหากเราตัดสินใจก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงด้วยความเร็วที่ต่ำลงจะทำให้ค่าก่อสร้าง และ Operating Cost ต่ำลงด้วย แต่ในอีกมิติหนึ่งจะทำให้ความดึงดูดในการใช้งานลดต่ำลงไปด้วยอาจจะส่งผลในการแข่งขันกับรูปแบบการเดินทางอื่น ยกตัวอย่างกรณีรถไฟความเร็วสูงระหว่างกรุงเทพฯ-โคราช ระยะทางประมาณ 250 กม. ถ้าหากรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุดที่ 250 กม./ชม. อาจจะทำให้ระยะเวลาการเดินทางมีเวลาประมาณ 90 นาที (ด้วยความเร็วเฉลี่ยที่ต่ำลง) รวมถึงระยะเวลาเดินทางระหว่างสถานีและจุดต้นทางปลายทางอีกประมาณ 60 นาที ในขณะเดียวกันถ้ารถไฟความเร็วสูงมีความเร็วสูงสุดที่ 350 กม./ชม. ระยะเวลาเดินทางอาจลดลงมาที่ประมาณ 60 นาที เมื่อเปรียบเทียบกับรถยนต์ส่วนบุคคลแล้วซึ่งใช้เวลารวมประมาณ 210 นาที จะประเมินได้ว่าระยะเวลาที่ลดได้จะเป็นประมาณ 60 นาที และ 90 นาทีตามลำดับ ดังนั้นคงต้องพิจารณาถึงความได้เปรียบเสียเปรียบของมูลค่าเวลาที่เกิดขึ้นกับค่าใช้จ่ายการเดินทาง

อย่างไรก็ดีจากข้อมูลของหลายประเทศสามารถชี้ให้เห็นว่าการลงทุนในโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงคงไม่ได้หวังผลแต่เพียงการลดระยะเวลาการเดินทาง แต่จะส่งผลถึงการกระจายตัวของการพัฒนาเศรษฐกิจไปยังพื้นที่ต่างๆที่เส้นทางหรือสถานีตั้งอยู่ กรณีศึกษาของฝรั่งเศส และอังกฤษ แสดงให้เห็นถึงการเกิดขึ้นของ Satellite Town ในรัศมีการเดินทาง 30-45 นาที

ในกรณีของประเทศไทยในยุคที่ผ่านมาจะเห็นถึงการเกิดขึ้นของ Satellite Town ตามแนวทางด่วนหรือถนนสายหลักในเขตปริมณฑลต่างๆรอบกรุงเทพฯ ในกรณีของรถไฟความเร็วสูงเราอาจจะมี Satellite Town ของ กรุงเทพฯ เกิดขึ้นในพื้นที่ เช่น อยุธยา สระบุรี หรือแม้แต่พื้นที่อำเภอต่างๆระหว่างสระบุรี และนครราชสีมา ขณะเดียวกันจะเกิดการพัฒนาเมืองเศรษฐกิจในขั้นที่ 2 (Secondary City) ในพื้นที่อย่างนครราชสีมาได้ เช่นเดียวกับการเดินทางระหว่างเมืองนาโกยา และโตเกียว ในประเทศญี่ปุ่น หรือหากเส้นทางลากยาวไปถึงขอนแก่นก็จะเหมือนกับการเชื่อมเมืองระหว่างโตเกียว และโอซากา เช่นกัน

ดังนั้นการวางกลยุทธ์ในการสร้างธุรกิจ และพัฒนาเมืองบนเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจึงเป็นเรื่องสำคัญ และส่งผลต่อคำถามในด้านความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจมากกว่าการพิจารณาด้านความเร็ว หรือจำนวนผู้โดยสารเพียงอย่างเดียว ภาครัฐคงจำเป็นต้องตั้งหน่วยงานที่รับผิดชอบในด้านการพัฒนาเมือง หรือพื้นที่ขนาดใหญ่ในบริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงเข้ามาประกอบด้วยเพื่อเก็บมูลค่าที่เพิ่มขึ้นในส่วนการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์กลับเข้าสู่การลงทุนในส่วนรถไฟความเร็วสูงเอง แต่จำเป็นต้องกำหนดบทบาทเป็นผู้ประสานระหว่างภาคเอกชนในการลงทุนควบคู่กันไป

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,173 วันที่ 10 – 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 16/07/2016 3:30 am    Post subject: Reply with quote

"สมคิด" ฟื้นโมเดลเมืองใหม่ไฮสปีด บี้คมนาคมทำโมเดลพัฒนาเสร็จ 1 เดือน ดึงเอกชนร่วมลงทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 21:16:00 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมานายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเพื่อเร่งรัดการดำเนินการพัฒนาพื้นที่ตลอดโครงข่ายทางรถไฟ มี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายชาติชายทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม หัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่เกี่ยวข้อง ผู้แทนการเคหะแห่งชาติ และกรมโยธาธิการและผังเมือง เข้าร่วมที่กระทรวงคมนาคม

ภายหลังการประชุมนายสมคิดกล่าวว่า ได้หารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ตลอดโครงข่ายทางรถไฟ เพื่อให้ภาคเอกชนใช้เป็นหลักเกณฑ์ในการพิจารณาเข้าร่วมลงทุนพัฒนาพื้นที่ โดยมีภาครัฐกำกับดูแล เพื่อให้ประเทศชาติให้ประโยชน์สูงสุด และใช้งบประมาณสำหรับการก่อสร้างโครงการน้อยที่สุด

โดยมอบแนวทางการดำเนินงานให้กระทรวงคมนาคมเร่งดำเนินการ เช่น โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ต้องระบุได้ว่า มีจำนวนสถานีเท่าไร แต่ละสถานีตั้งอยู่บริเวณใดของแนวเส้นทาง และบริเวณโดยรอบสถานีสามารถพัฒนาพื้นที่ได้อย่างไรบ้าง และให้กระทรวงคมนาคมเร่งจัดทำแผนการพัฒนาพื้นที่ตลอดโครงข่ายทางรถไฟให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลา 1 เดือน เพื่อเสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณา จำนวน 4 โครงการเร่งด่วน

ได้แก่ 1. เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา 2. เส้นทางกรุงเทพฯ - ระยอง 3. เส้นทางกรุงเทพฯ - หัวหิน และ4.เส้นทางรถไฟตามแนว Southern Economic Corridor ทั้งนี้ ได้ให้กระทรวงคมนาคมรีบนำแผนการพัฒนาพื้นที่รอบบริเวณสถานีกลางบางซื่อ หรือศูนย์คมนาคมพหลโยธิน เสนอคณะรัฐมนตรีโดยเร็วเช่นกัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ กล่าวว่า การดำเนินโครงการสำคัญ ๆ ของกระทรวงฯ ที่ผ่านมา ได้พิจารณาผลตอบแทนทางเศรษฐกิจของประเทศเป็นหลัก จากนี้ต่อไปกระทรวงฯ จะต้องพิจารณาแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบโครงการสำคัญ ๆ และการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเขตโครงการก่อสร้างด้วย โครงการที่กระทรวงฯได้พิจารณาและดำเนินการเสร็จแล้ว คือ แนวทางการพัฒนาพื้นที่รอบบริเวณสถานีกลางบางซื่อ หรือศูนย์คมนาคมพหลโยธิน ซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2016 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

วัดใจไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น จอดป้าย "ศรีสัชนาลัย"
โดย ประเสริฐ จารึก
คอลัมน์ชั้น 5 ประชาชาติ
25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 11:50:35 น.


หยุดยาวเทศกาลวันอาสาฬหบูชาและเข้าพรรษา ได้กลับบ้านเกิด อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย หลังไม่ได้กลับไปบ่อยครั้งนัก

ครั้งนี้นอกจาก "สุขใจ" ได้ทำบุญร่วมกับครอบครัว ยังได้ "สุขตา" เวลาเห็นถิ่นที่เคยอยู่อาศัย ยังคงกลิ่นอายวัฒนธรรมเก่าแก่ที่สืบสานกันมานานไว้ให้ลูกหลานดู ท่ามกลางการพัฒนาใหม่ ๆ ที่เริ่มเข้ามา

ไม่ว่าประเพณีแห่ช้างบวชนาค การทอผ้าซิ่นตีนจก ของกินโบราณที่เล่าขานในหมู่นักท่องเที่ยว ทั้งก๋วยเตี๋ยวสุโขทัย ขนมเบื้องไข่ ข้าวโค้ง ข้าวโถเถ ข้าวเปิ๊บ ล้วนเป็นของดีที่อยู่คู่คนศรีสัชมานานนม

ขณะที่ความเปลี่ยนแปลงที่เห็น มีการพัฒนาที่ดินถึงจะไม่หวือหวาอย่างในเมืองใหญ่ แต่ก็เรียกว่าคึกคักไม่น้อย เริ่มมีการก่อสร้างตึกขึ้นพรึ่บพรั่บรับความเจริญที่มาเยือน

โดยเฉพาะบริเวณ "สามแยกวัดโบสถ์" ที่พัฒนาไปมากเมื่อเทียบกับเมื่อก่อน อาจเพราะอยู่ใกล้แหล่งชุมชน โรงเรียนประจำอำเภอ และยังเป็นชุมทางของ 2 ถนนสายหลัก

"ถนนสาย 101" หรือถนนแพร่สายเก่า จะรับรถมาจากสุโขทัย ศรีสำโรง สวรรคโลก ศรีสัชนาลัย ผ่านหาดเสี้ยวจะวิ่งตรงไป จ.แพร่ น่าน ลำปาง และเชียงใหม่

ปัจจุบันถนนสายนี้ยังคงธรรมชาติเดิม ๆ ไว้ ยังไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก เมื่อเทียบกับถนนสาย 102 คงเพราะเป็นถนนสายเก่าและค่อนข้างคดเคี้ยว คนจึงไม่ค่อยนิยมใช้

แต่ปัจจุบัน "แม่สิน" ตำบลหนึ่งในแนวถนนสายนี้กำลังเป็นที่รู้จัก เมื่อสวนส้ม ต.แม่สิน ได้รับเลือกจาก "Malee" นำผลส้มมาผลิตเป็นน้ำส้มกล่องวางขายที่เซเว่นอีเลฟเว่น หลังติดใจในรสชาติ

ส่วน "ถนนสาย 102" หรือถนนสายศรีสัชนาลัย-อุตรดิตถ์ เป็นอีกเส้นทางหนึ่งจะรองรับรถขึ้นเหนือ ผ่าน จ.อุตรดิตถ์ แพร่ ลำปาง ลำพูน และปลายทางที่เชียงใหม่

ปัจจุบันบนถนนสายนี้จากสามแยกวัดโบสถ์ไปถึงหน้าโรงเรียนเมืองเชลียง มีตึกแถวใหม่ ๆ เกิดขึ้นมากมาย เมื่อวิ่งไปเรื่อย ๆ ด้านซ้ายมือจะมี "โรงงานน้ำตาลทิพย์" ของเจ้าสัวเจริญ สิริวัฒนภักดี ที่กว้านซื้อที่ "ต.บ้านตึก และดงคู่" เมื่อปี 2553 สร้างโรงงานน้ำตาลและโรงไฟฟ้าชีวมวล ด้วยเม็ดเงินกว่า 9 พันล้านบาท ซึ่งเกิดการสร้างงานให้คนในพื้นที่

อีกหนึ่งเสน่ห์ของศรีสัชนาลัย คือ อุทยานประวัติศาสตร์ที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลก อยู่ห่างจากตัว อ.ศรีสัชนาลัย ลงมาทางสวรรคโลก 11 กม. มีชาวไทยและต่างชาติมาท่องเที่ยวไม่ขาดสาย เป็นเพราะอยู่ไม่ไกลจากตัวเมืองสุโขทัย ประมาณ 60 กม. ที่สามารถเดินทางมาด้วยเครื่องบินก็ได้

จาก "มรดกโลก" ทำให้ "ศรีสัชนาลัย" ถูกปักหมุดเป็น 1 ในสถานีรถไฟความเร็วสูง "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ที่ปัจจุบันกลายเป็นรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือของรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่น วิ่งด้วยระบบชินคันเซน ความเร็ว 250 กม./ชม.

ตามผลศึกษาของ "สนข.-สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร" มีระยะทาง 669 กม. ลงทุนกว่า 4.2 แสนล้านบาท แบ่งสร้าง 2 เฟส เริ่มจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่

ความน่าสนใจอยู่ที่เฟส 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ ซึ่งญี่ปุ่นกำลังศึกษาความเหมาะสมโครงการ โดยนำผลศึกษาเดิมมารีวิว โดยญี่ปุ่นกำลังชั่งใจจะตัดผ่าน จ.สุโขทัยหรือไม่ เมื่อสถานีอยู่ใกล้สนามบินสุโขทัย ของ หมอปราเสริฐ ปราสาททองโอสถอาจจะเป็นคู่แข่งกันได้ในอนาคต

แต่แนวที่บริษัทที่ปรึกษาเสนอจะเลือกเปิดพื้นที่ก่อสร้างใหม่ แทนการสร้างเลาะไปตามแนวรถไฟสายเหนือเดิมซึ่งต้องเจาะอุโมงค์ทะลุภูเขาหลายแห่ง

ตามแนวเส้นทางเมื่อเลยจากสถานีพิษณุโลกจะตัดเข้า จ.สุโขทัย สร้างคู่ขนานไปกับถนนสายพิษณุโลก-สุโขทัย เข้าสู่ถนนสาย 101 ผ่าน อ.ศรีสำโรง อ.สวรรคโลก ตรงเข้า อ.ศรีสัชนาลัย ขึ้นไปทาง อ.วังชิ้น อ.แม่ทะ ไปบรรจบกับแนวรถไฟสายเดิมที่ จ.ลำปาง อ.ห้างฉัตร เจาะอุโมงค์ทะลุภูเขา ช่วงเขาขุนตาลและเขาผาเมือง จากนั้นตัดเข้า จ.ลำพูน มาสิ้นสุดที่เชียงใหม่

มี 5 สถานี คือ สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และ เชียงใหม่ ส่วนใหญ่จะใช้สถานีรถไฟเดิม นอกจากสถานีสุโขทัยและศรีสัชนาลัยจะสร้างบนที่ใหม่

ซึ่งสถานีสุโขทัยอยู่บริเวณถนนสาย 12(พิษณุโลก-สุโขทัย) ห่างจากตัวเมืองสุโขทัย 2.7 กม.

ส่วนสถานีศรีสัชนาลัยอยู่ใกล้กับอุทยานประวัติศาสตร์ศรีสัชนาลัย

ถึง "ญี่ปุ่น" จะแนะให้ลงทุนเฟสแรกก่อน แต่เฟสต่อไปก็คงอยู่ในความสนใจไม่น้อย แม้จะยังไม่ได้ฤกษ์สร้างเร็ว ๆ นี้ก็ตาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 25/07/2016 5:20 pm    Post subject: Reply with quote

สถานทูตจีนแถลงยันไม่เคยขอใช้สิทธิประโยชน์พัฒนาที่ดินสองข้างทางโครงการรถไฟ ไทย-จีน
โดย MGR Online
25 กรกฎาคม 2559 16:49 น.

MGR Online - โฆษกสถานทูตจีนประจำประเทศไทยแถลงปฏิเสธ ยันเจรจามา 11 ครั้ง จีนไม่เคยขอใช้สิทธิประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินบริเวณสองข้างทางตามเส้นทางโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนเลย ชี้ยิ่งไทยจะลงทุนเอง 100% ยิ่งไม่มีเหตุผลที่จีนจะเสนอเรื่องนี้

จากกรณีที่ช่วงปลายเดือนมีนาคม 2559 กระทรวงคมนาคมของไทย โดยนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า จากการประชุมหารือระดับทวิภาคีเรื่องรถไฟไทย-จีน ระหว่างรัฐบาลจีนและไทย เมื่อ 22-24 มีนาคม 2559 ได้ข้อสรุปว่า โครงการดังกล่าวจะก่อสร้างเพียง เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา เท่านั้น พร้อมกับยกระดับให้เป็นรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อขนส่งคนเป็นหลัก จากเดิมที่จะก่อสร้างที่ระดับความเร็ว 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เพื่อขนส่งทั้งคนและสินค้า ขณะที่เส้นทางอื่น ได้แก่ เส้นทางกรุงเทพฯ-มาบตาพุด, นครราชสีมา-หนองคาย จะเลื่อนออกไปจนกว่าจะมีความพร้อม ทั้งนี้ ในการลงทุนดังกล่าวฝ่ายไทยยังจะเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด โดยฝ่ายไทยซื้อเทคโนโลยีและซื้อรถไฟจากจีน สำหรับในเฟสแรกจะแบ่งช่วงการก่อสร้าง ช่วงแรกกลางดง-ปากอโศกระยะทางราว 3.5 กิโลเมตร

อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมายังข่าวลือเกี่ยวกับการลงทุนดังกล่าวทำให้ในวันนี้ (25 ก.ค.) สถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยได้ออกแถลงการณ์ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าว โดยปฏิเสธว่า ฝ่ายจีนไม่เคยมีข้อเสนอเรื่อง ขอใช้สิทธิประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินบริเวณสองข้างทางตามโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีนแต่อย่างใด

"เมื่อเร็วๆ นี้ สื่อไทยบางสื่อได้รายงานว่าฝ่ายจีนขอใช้สิทธิประโยชน์ในการพัฒนาที่ดินบริเวณสองข้างทางตามเส้นทางโครงการความร่วมมือรถไฟจีน-ไทย ในการนี้โฆษกสถานเอกอัครราชทูตจีนประจําประเทศไทยขอชี้แจงดังต่อไปนี้ คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วม มือด้านรถไฟจีน–ไทยได้มีการประชุมมาแล้วทั้งหมด 11 ครั้ง ฝ่ายจีนไม่เคยเสนอหรือปรึกษาหารือกับฝ่ายไทยในเรื่องพัฒนาที่ดินบริเวณสองข้างทางตามเส้นทางรถไฟ ปัจจุบันนี้รูปแบบความร่วมมือสำหรับโครงการนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง ฝ่ายไทยจะลงทุนเองทั้งหมด ซึ่งในสถานการณ์แบบนี้ ฝ่ายจีนยิ่งไม่มีเหตุที่จะเสนอเรื่องนี้" แถลงการณ์ของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทยระบุ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 26/07/2016 10:47 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
"สมคิด" ฟื้นโมเดลเมืองใหม่ไฮสปีด บี้คมนาคมทำโมเดลพัฒนาเสร็จ 1 เดือน ดึงเอกชนร่วมลงทุน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
15 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 21:16:00 น.

"สมคิด" เร่งสร้างเมืองใหม่ เกาะรถไฟฟ้า-ไฮสปีด 4 ภาค
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลาา 21:30:00 น.


โมเดลการพัฒนาเชิงพาณิชย์แนวรถไฟฟ้า มีการพูดถึงกันมานาน ตั้งแต่ "รัฐบาลเพื่อไทย" ถึง "ยุค คสช." แต่ยังไม่สามารถผลักดันไปถึงดวงดาวได้ เมื่อ พ.ร.บ.เวนคืนที่ดินไม่เปิดช่องให้ "รฟม.-การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย" นำที่ดินจากเวนคืนมาพัฒนาได้

จาก "เดดล็อก" กำลังนำไปสู่การ "ปลดล็อก" หลัง "บิ๊กตู่-พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา" นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงคมนาคมแก้กฎหมายเวนคืนและเร่งเสนอโมเดลการใช้ประโยชน์ที่ดินในแนวรถไฟฟ้าให้เป็นรูปธรรมใน1เดือนมี"สมคิด จาตุศรีพิทักษ์" ขุนพลฝ่ายเศรษฐกิจของรัฐบาล คสช.ควบคุมการผลิต



เพื่อให้เห็นผลทันใจ เมื่อวันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมา "รองนายกฯสมคิด" ควงขุนคลัง "อภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์" บุกกระทรวงคมนาคมเป็นครั้งที่ 4 ร่วมประชุมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึงกรมโยธาธิการและผังเมือง การเคหะแห่งชาติ (กคช.)

"รองนายกฯฝ่ายเศรษฐกิจ" กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้เร่งหารือเการปฏิรูปการหารายได้จากรถไฟเร่งด่วน จะเริ่มจากโครงการรถไฟความเร็วสูงใน 4 เส้นทาง ได้แก่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา (รถไฟไทย-จีน) 253 กม., กรุงเทพฯ-ระยอง 193.5 กม., กรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. และกาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-อรัญประเทศ-แหลมฉบัง 574 กม.

โดยให้กระทรวงคมนาคมจัดทำรายละเอียดเกี่ยวกับจำนวนสถานี การใช้ประโยชน์พื้นที่สถานี และพื้นที่ระหว่างสถานี เสร็จใน 1 เดือน เพื่อนำเสนอนายกรัฐมนตรี และใช้เป็นหลักเกณฑ์ให้เอกชนเข้ามาแข่งขันประมูลงาน

"ยกตัวอย่าง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีกี่สถานี สถานีควรอยู่ตรงไหน การใช้ประโยชน์จากสถานี พื้นที่ระหว่างสถานีจะใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ให้มีการพัฒนาต้นแบบคร่าว ๆ จะทำให้นักลงทุนสามารถทราบผลตอบแทนได้ เป็นการจูงใจให้เอกชนตัดสินใจได้เร็ว รวมถึงพื้นที่สถานีกลางบางซื่อให้เร่งเสนอคณะรัฐมนตรีด้วย" นายสมคิดกล่าว

พร้อมย้ำว่า ที่ดินในแนวรถไฟฟ้าของ รฟม.ที่ติด พ.ร.ฎ.การเวนคืนที่ดิน ที่ไม่สามารถนำที่ดินมาพัฒนาเชิงพาณิชย์ได้นั้น ให้ไปพิจารณาว่าตรงไหนที่มีปัญหากฎหมายก็ต้องแก้ไข ซึ่งยังไม่จำเป็นต้องใช้มาตรา 44

ขณะที่ "อาคม เติมพิทยาไพสิฐ" เจ้ากระทรวงคมนาคม กล่าวเสริมว่า หากการแก้กฎหมายกับการพัฒนาโครงการไม่สอดคล้องกันก็อาจจะใช้มาตรา 44 หรืออีกวิธีคือการใช้กฎหมาย 2 ฉบับควบคู่กันไป เพราะ พ.ร.ฎ.เวนคืนมีหลายฉบับ เช่น การวางแผนพัฒนาพื้นที่บางส่วนใช้กฎหมายผังเมืองเป็นพื้นที่ควบคุม ห้ามก่อสร้าง จัดปฏิรูปที่ดิน เพื่อให้เป็นเมืองที่สวยงามและเกิดพาณิชยกรรม

"รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะเริ่มพัฒนาพื้นที่สถานีกลางดง ปากช่อง และสระบุรี เป็นโครงการนำร่อง จากนั้นค่อยขยายออกไป"

ฟาก รฟม. "พีระยุทธ สิงห์พัฒนากุล" ผู้ว่าการ รฟม. กล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ก.ค.ที่ผ่านมา คณะกรรมการ (บอร์ด) รฟม.เห็นชอบให้ปรับแก้ พ.ร.บ.การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย ปี 2543 ให้นำที่ดินจากการเวนคืนที่ดินสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) สถานีและอาคารจอดรถ

ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ รฟม.มีอยู่ 174 สถานี พัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องได้ เพื่อให้ รฟม.มีรายได้และลดภาระค่าใช้จ่ายจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน

"รฟม.อยากหารายได้ด้วยตนเอง จึงอยากจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นอาคารให้เช่า ที่พักอาศัย หรือร้านค้า เหมือนกับต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง จึงเสนอขอแก้กฎหมาย หลังบอร์ดอนุมัติแล้วจะส่งเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคม เสนอให้ คณะรัฐมนตรีพิจารณา" นายพีระยุทธกล่าวและว่า

หากได้รับการอนุมัติจะเริ่มดำเนินการได้ทันทีกับรถไฟฟ้าสายสีส้มที่จะเปิดให้เอกชนรายเดียวเดินรถตลอดทั้งเส้นทาง35.4กม.จำนวน29 สถานี เพื่อให้การเดินรถต่อเนื่องไม่เกิดปัญหาเหมือนสายสีม่วงและสีน้ำเงิน โดยจะนำสถานีของสายสีส้มมานำร่องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ คือ สถานี รฟม.ตั้งอยู่บริเวณ ถ.พระราม 9 ติดกับโรงแรมแม็กซ์ สามารถพัฒนาเป็นอาคารเหนือสถานีขึ้นมาได้ และสถานีมีนบุรีที่เป็นจุดเชื่อมต่อกับสายสีชมพู มีพื้นที่อยู่กว่า 200 ไร่

ส่วนรถไฟฟ้าที่สร้างและเปิดเดินรถไปแล้วจะประเมินตามความเหมาะสม เช่น อาคารจอดและจรสถานีคลองบางไผ่ของสายสีม่วง ด้านหน้าศูนย์ซ่อมบำรุง อาคารชั้น 2-3 วางแผนพัฒนาเป็นเชิงพาณิชย์และอาคารจอดรถเพิ่มเติม และที่ดินใกล้ศูนย์ซ่อมบำรุงคลองบางไผ่ เนื้อที่เกือบ 10 ไร่ เดิมเคยมีโครงการร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ในการก่อสร้างที่พักอาศัยสำหรับผู้มีรายได้น้อยก็อาจจะต้องนำโมเดลนี้กลับมาดูอีกครั้งหลังแก้กฎหมายแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44611
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/07/2016 9:48 am    Post subject: Reply with quote

28 ก.ค.ชี้ชะตา"รถไฟไทย-จีน" บีบลดค่าก่อสร้าง-จ้างที่ปรึกษา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ก.ค. 2559 เวลา 21:00:53 น.

28 ก.ค.จับตาผลประชุมไฮสปีดไทย-จีนครั้งที่ 12 ต่อรองเม็ดเงินลงทุน หลังคิดต่างกันอยู่ 400-500 ล้านบาท บีบลดค่าจ้างที่ปรึกษา เดินหน้าเซ็นกรอบความร่วมมือ ตั้งเป้าตอกเข็มช่วงแรก 3.5 กม. สถานีกลางดง-ปางอโศก ต.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า วันที่ 28 ก.ค. 2559 จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 จะเร่งสรุปวงเงินลงทุนก่อสร้างทั้งโครงการในเฟสแรกจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. เนื่องจากราคาทั้ง 2 ฝ่ายยังต่างกันอยู่ประมาณ 400-500 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยคำนวณออกมาอยู่ที่ประมาณ 179,320 ล้านบาท ขณะที่ฝ่ายจีนอยู่ที่ประมาณ 179,800 ล้านบาท

"การประชุมครั้งที่ 12 อาจจะมีข้อยุติเรื่องราคา โดยเฉพาะเรื่องค่าจ้างที่ปรึกษาที่ฝ่ายไทยยังไม่เห็นด้วยกับวงเงินที่ฝ่ายจีนเสนอวงเงินค่าจ้างมา 3.5-4.5% ของมูลค่าโครงการ หรือประมาณ 6,000 ล้านบาท จะขอให้คิดที่ 1.25% หรืออยู่ที่กว่า 1,000 ล้านบาท จะต้องตรวจสอบรายละเอียดทั้งหมด"

อีกทั้งยังจะหารือถึงการลงนามในกรอบความร่วมมือหรือ Framework of Cooperation (FOC) เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลง พร้อมทั้งลงนามสัญญาโครงการใหม่ โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1.งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC-1) ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเอง

และ 2.งานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC-2) ฝ่ายจีนจะเป็นผู้คัดเลือกรัฐวิสาหกิจของจีนโดยได้รับความเห็นชอบจากฝ่ายไทยให้เป็นผู้ดำเนินการ รวมทั้งงานออกแบบรายละเอียดของงานโครงสร้างพื้นฐาน ฝ่ายไทยจะใช้แบบรายละเอียดคัดเลือกบริษัทก่อสร้างของไทยเป็นผู้ก่อสร้าง และฝ่ายไทยและจีนจะร่วมกันกำกับและตรวจสอบคุณภาพการก่อสร้างงานโครงสร้างพื้นฐานให้เป็นไปตามมาตรฐานของระบบรถไฟความเร็วสูงของจีน

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับการก่อสร้าง ทั้ง 2 ฝ่ายตกลงร่วมกัน แบ่งเป็น 4 ช่วง จะเริ่มสร้างช่วงสถานีกลางดง-สถานีปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กม. เป็นลำดับแรก ซึ่งจะหารือถึงรายละเอียดการก่อสร้างและเงินลงทุนในที่ประชุมครั้งที่ 12 นี้ด้วยเพื่อให้โครงการเปิดประมูลในเดือน ส.ค.และเริ่มสร้างเดือน ต.ค.นี้ โดยใช้เงินกู้ในประเทศมาก่อสร้าง

ส่วนการก่อสร้างช่วงที่ 2 ระยะทาง 10 กม. จากปากช่อง-คลองขนานจิตรกำหนดส่งแบบรายละเอียดเดือน ต.ค. ช่วงที่ 3 ระยะทาง 100 กม. จากแก่งคอย-โคราช (เว้นพื้นที่ช่วงแรก) กำหนดส่งแบบรายละเอียดเดือน ธ.ค.และช่วงที่ 4 ระยะทาง 119 กม. จากกรุงเทพฯ-แก่งคอย กำหนดส่งแบบรายละเอียดเดือน ก.พ. 2560 ค่าก่อสร้างเฉลี่ยอยู่ที่ 500 ล้านบาท/กม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 28/07/2016 9:13 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
28 ก.ค.ชี้ชะตา"รถไฟไทย-จีน" บีบลดค่าก่อสร้าง-จ้างที่ปรึกษา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 27 ก.ค. 2559 เวลา 21:00:53 น.

ไฮสปีดกทม.-โคราชวนในอ่าง บีบเงินลงทุนไม่ลง จีนเสนอเงินกู้ดอกเบี้ย 3.2%
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
28 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 เวลา 18:44:00 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมความร่วมมือโครงการรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 12 เมื่อวันที่ 28 ก.ค. ที่ผ่านมา หารือ 5 ประเด็น คือ

1. มูลค่าโครงการยังสรุปไม่ได้ แต่ยังคงอยู่ในกรอบมูลค่า 179,000 ล้านบาทรอค่าใช้จ่ายการศึกษาความเหมาะสมที่ไทยขอให้จีนเป็นผู้รับผิดชอบ และให้จีนแจกแจงรายละเอียดค่าฝึกอบรมในส่วนที่มาพร้อมกับรถไฟหรือเป็นค่าอบรมพื้นฐานให้ชัดเจน

2. ความคืบหน้าในการออกแบบรายละเอียดการก่อสร้างช่วงแรกสถานีกลางดง-สถานีปางอโศกอ. ปากช่องจ. นครราชสีมาระยะทาง 3.5 กม. จีนส่งแบบรายละเอียดให้แล้ว ต่อไปจะนำแบบไปถอดราคาตามระเบียบของไทย คาดว่าจะก่อสร้างได้ในเดือนส.ค.- ก.ย.นี้

ส่วนการก่อสร้างช่วงที่ 2 ระยะทาง11 กม. ปากช่อง-คลองขนานจิตร จากการลงพื้นที่ของจีนพบว่ามีปัญหาเรื่องดินอ่อนอยู่2 จุดจะต้องหารือว่าจะสร้างตามแนวเดิมหรือเปลี่ยนแนวใหม่ จึงขอเลื่อนการส่งแบบรายละเอียดจากเดือนต.ค.เป็นพ.ย. นี้ โดยไทยทำหนังสือยินยอมให้จีนเข้าพื้นที่เพื่อศึกษาออกแบบรายละเอียดก่อน เนื่องจากว่ายังไม่สามารถลงนามสัญญางานระบบและรถไฟความเร็วสูงได้

3. การลงนามสัญญาโครงการใหม่ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ

1.งานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC-1) ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการเองและ
2.งานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC-2) จะแยกสัญญา EPC-2 ออกเป็น 3 สัญญาได้แก่ งานออกแบบการก่อสร้าง จ้างที่ปรึกษาที่ควบคุมงาน และหาตัวรถ, ระบบอาณัติสัญญาณ, ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจะเร่งทำสัญญาการออกแบบก่อนเพื่อสามารถเริ่มก่อสร้างได้

4. การแก้ไขกรอบความร่วมมือหรือ Framework of Cooperation (FOC) คาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ในเดือนส.ค.นี้ 5. แหล่งเงินทุน การก่อสร้างระยะทาง 3.5 กม.ใช้เงินงบประมาณและเงินกู้ภายในประเทศ ในการประชุมครั้งนี้ธนาคารเพื่อการนำเข้าส่งออกประเทศจีน(EXIM Bank) เสนอให้ไทยกู้เงินซื้อตัวรถและระบบรถไฟเป็นสกุลหยวน ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.2% แต่ไทยมอบให้กระทรวงการคลังเปรียบเทียบแหล่งเงินทุนอื่นด้วย ซึ่งก่อนหน้านี้ไทยเคยเสนอกู้เงินในสกุลดอลลาร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42741
Location: NECTEC

PostPosted: 29/07/2016 10:53 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นตอกเข็มรถไฟไทย-จีน ส่อแววหลุดเป้า ก.ย. ถอดแบบถกค่าก่อสร้างไม่ยุติ
โดย MGR Online
28 กรกฎาคม 2559 17:06 น. (แก้ไขล่าสุด 28 กรกฎาคม 2559 18:55 น.)


รถไฟไทย-จีน ส่อแววหลุดเป้าตอกเข็ม หลังประชุมครั้งที่ 12 ยังต่อรองค่าก่อสร้างไม่จบ “อาคม” ยังมั่นใจเริ่มก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม.ไม่เกิน ก.ย. 59 ขีดเส้นมูลค่าโครงการที่ 1.79 แสนล้าน โดยจะสรุปกรอบความร่วมมือ (FOC) ที่ปรับใหม่เป็นรถไฟความเร็วสูง โดยไทยลงทุนเอง100% ชง ครม.ใน ส.ค. ด้านจีน เสนอเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ ดอกเบี้ยแพงหูฉี่ 3.2%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 วานนี้ (28 ก.ค.) ว่าประเด็นมูลค่าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-โคราช ระยะทาง 252.5 กม. ซึ่งตัวเลขรวมอยู่ที่ประมาณ 1.79 แสนล้านบาท โดยยังมีรายละเอียด 2 รายการที่ยังหารือฝ่ายจีนไม่ได้ข้อยุติ คือ เรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเหมาะสมที่ให้จีนเป็นฝ่ายรับผิดชอบ และค่าฝึกอบรมที่ให้ฝ่ายจีนแยกรายละเอียดระหว่างค่าอบรมที่เกี่ยวกับตัวรถ และค่าอบรมที่เกี่ยวกับงานด้านพื้นฐาน

ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเริ่มการก่อสร้างตอนที่ 1 ข่วงสถานีกลางดง (นครราชสีมา) ระยะทาง 3.5 กม.ก่อน ภายในเดือน ส.ค-ก.ย. 2559 ตามแผน ล่าสุดจีนได้ส่งแบบรายละเอียด (Detail&Design) มาแล้ว โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการถอดแบบเพื่อคำนวณค่าก่อสร้างโดยละเอียดตามระเบียบกฎหมายของไทย ส่วนตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ 11 กม. หลังจากคณะทำงานได้ลงพื้นที่เพื่อออกแบบ พบว่าพื้นที่มีปัญหาในด้านกายภาพเป็นดินอ่อน ช่วงจากสถานีกลางดงระยะทางประมาณ 10 กม. ฝ่ายจีนจึงเสนอปรับแนวช่วงที่มีปัญหา หรือหากไม่ต้องการปรับแนวจะต้องหาทางแก้ไขปัญหาดินสไลด์ เพื่อให้รองรับโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ได้ โดยขอขยับเวลาในการส่งแบบออกไปจากเดือน ต.ค.เป็นเดือน พ.ย. 2559 แทน

สำหรับการแก้ไขกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC) ใหม่ ตามที่ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงกันว่า จะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง และไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จะเร่งสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือน ส.ค.นี้ โดยจะแก้ไขรูปแบบ EPC-2 แยกออกเป็น 3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ โดยจะเร่งทำส่วนนี้ก่อนเพื่อให้สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และ EPC-2.2 สัญญาควบคุมงาน และ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจ้างจีนนั้นร่างสัญญายังหารือในประเด็นการใช้ข้อกฎหมายไทยบนพื้นฐานหลักการร่างสัญญาสากล โดยมีบางข้อที่เห็นไม่ตรงกัน

ส่วนด้านการเงินนั้น กระทรวงการคลังกำลังหารือกับทางธนาคารเอ็กซิมแบงก์ของจีน โดยจีนเสนอเงื่อนไขกู้เงินสกุลหยวน อันตราดอกเบี้ย 3.2% ขณะที่เงินกู้สกุลดอลลาร์ ขณะที่เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีกเพื่อเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน โดยไทยต้องการดอกเบี้ยที่ถูกที่สุดจึงยังไม่ได้สรุปเรื่องเงินกู้ โดยจะใช้เงินกู้เฉพาะของนำเข้าเท่านั้น

โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างนั้นยังยืนยันว่าจะใช้ตามขั้นตอนปกติ ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. ตอนที่ 2 จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.ตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กม.ตอนที่4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ขณะที่การพัฒนาพื้นที่สองข้างทางนั้นทางการรถไฟฯ จะดำเนินการเอง

//--------------------

คมนาคมดัน "ไฮสปีดเทรน" กรุงเทพฯ-โคราช เข้า ครม.สิงหาคมนี้
โดย MGR Online
28 กรกฎาคม 2559 17:09 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระหว่างไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ครั้งที่ 12 ที่โรงแรมแชง-กรีล่า ว่า การก่อสร้างโครงการเบื้องต้นใช้วงเงิน 179,000 ล้านบาท มีแผนก่อสร้าง 4 ระยะ ระยะแรกอยู่ที่ 3.5 กิโลเมตร วงเงินก่อสร้างทางจีนต้องเข้าพื้นที่เพื่อประเมินราคาและออกแบบก่อน จากนั้นจะถอดแบบการก่อสร้างจะรู้วงเงินชัดเจน โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติภายในเดือนสิงหาคม

จากนั้น จะประกวดราคาหาผู้รับเหมาเข้าก่อสร้างภายในเดือนกันยายน ตามกรอบข้อตกลงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีไว้กับนายกรัฐมนตรีประเทศจีน

นายอาคม กล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ต้องแก้ไขกรอบความร่วมมือจากเดิมที่ลงนามกันไว้ว่าไทยและจีนจะร่วมลงทุน แต่หลังผู้นำทั้งสองฝ่ายหารือและตกลงกันว่าโครงการนี้ไทยจะเป็นผู้ลงทุนเอง แต่การใช้เทคโนโลยีและการจัดหาตัวรถจะใช้ของประเทศจีน จึงต้องปรับเนื้อหาสาระรายละเอียดก่อนสรุปกรอบเสนอคณะรัฐมนตรี

ส่วนระยะที่ 2 ระยะทาง 11 กิโลเมตร ปัจจุบันพบปัญหาด้านกายภาพ 2 จุดที่สถานีกลางดง จ. นครราชสีมา เพราะดินสไลด์ หรือเกิดปัญหาดินอ่อน ทำให้ต้องปรับแนวเส้นทางใหม่ ทำให้จีนขอเลื่อนแผนการส่งมอบแบบก่อสร้างจากเดือนตุลาคม เป็นเดือนพฤศจิกายน เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงแนวก่อสร้างต้องได้มาตรฐาน ขณะที่ระยะที่ 3 ระยะทาง 119 กิโลเมตร และระยะที่ 4 อีก 119 กิโลเมตร รวมทั้งหมด 253 กิโลเมตร
//------------------------------

ไฮสปีดเทรน ส่อหลุดเป้าก.ย. ตอกเข็มล่าช้า ร่างแบบไม่จบ
โดย ผู้จัดการรายวัน
28 กรกฎาคม 2559 20:57 น. (แก้ไขล่าสุด 29 กรกฎาคม 2559 00:19 น.)

ผู้จัดการรายวัน360- รถไฟไทย-จีน ส่อแววหลุดเป้าตอกเข็ม หลัง ประชุมครั้งที่ 12 ต่อรองค่าก่อสร้างไม่จบ "อาคม" ยังมั่นใจเริ่มก่อสร้างตอนแรก 3.5 กม.ไม่เกิน ก.ย. 59 ขีดเส้นมูลค่าโครงการที่ 1.79 แสนล. โดยจะสรุปกรอบความร่วมมือ (FOC) ที่ปรับใหม่เป็นรถไฟความเร็วสูง โดยไทยลงทุนเอง 100% ชงครม.อนุมัติภายใน ส.ค. นี้ ด้านจีน เสนอเงินกู้เอ็กซิมแบงก์ ดอกเบี้ย แพงหูฉี่ 3.2%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 วานนี้ (28 ก.ค.) ว่า ประเด็นมูลค่าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-โคราช ระยะทาง 252.5กม. ซึ่งตัวเลขรวมอยู่ที่ประมาณ 1.79 แสนล้านบาทโดยยังมีรายละเอียด2
รายการที่ยังหารือฝ่ายจีนไม่ได้ข้อยุติ คือเรื่องค่าใช้จ่ายในการศึกษาความเหมาะสมที่ให้จีนเป็นฝ่ายรับผิดชอบและค่าฝึกอบรมที่ให้ฝ่ายจีนแยกรายละเอียดระหว่างค่าอบรมที่เกี่ยวกับตัวรถ และค่าอบรม ที่เกี่ยวกับงานด้านพื้นฐาน

ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายเริ่มการก่อสร้างตอนที่ 1 ข่วงสถานีกลางดง (นครราชสีมา) ระยะทาง 3.5 กม.ก่อน ภายในเดือนส.ค-ก.ย.2559 ตามแผน ซึ่งล่าสุดจีนได้ส่งแบบรายละเอียด (Detail&Design) มาแล้ว โดยฝ่ายไทยอยู่ระหว่างการถอดแบบเพื่อคำนวนค่าก่อสร้างโดยละเอียด ตามระเบียบกฎหมายของไทย ส่วนตอนที่ 2 ระยะทางประมาณ11 กม.หลังจากคณะทำงานได้ลงพื้นที่เพื่อออกแบบ พบว่า พื้นที่มีปัญหาในด้านกายภาพ เป็นดินอ่อน ช่วงจากสถานีกลางดง ระยะทางประมาณ10 กม. ฝ่ายจีนจึงเสนอปรับแนวช่วงที่มีปัญหา หรือหากไม่ต้องการปรับแนวจะต้องหาทางแก้ไบปัญหาดินสไลด์ เพื่อให้รองรับโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงให้ได้โดยขอขยับเวลาในการส่งแบบออกไปจากเดือนต.ค.เป็นเดือน พ.ย. 2559 แทน

สำหรับการแก้ไขกรอบความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC) ใหม่ ตามที่ผู้นำไทยและจีนได้ตกลงกันว่า จะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง และไทยเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมด จะเร่งสรุปเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนส.ค.นี้ โดยจะแก้ไขรูปแบบ EPC-2 แยกออกเป็น3 สัญญา คือ EPC-2.1 สัญญางานออกแบบ โดยจะเร่งทำส่วนนี้ก่อนเพื่อให้สามารถเริ่มการก่อสร้างได้ และEPC-2.2 สัญญาควบคุมงาน และ EPC-2.3 สัญญาจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ ซ่อมบำรุงและฝึกอบรม โดยจ้างจีนนั้น ร่างสัญญายังหารือในประเด็นการใช้ข้อกฎหมายไทย บนพื้นฐานหลักการร่างสัญญาสากล โดยมีบางข้อที่เห็นไม่ตรงกัน

ส่วนด้านการเงินนั้น กระทรวงการคลังกำลังหารือกับทางธนาคารเอ็กซิมแบงก์ของจีน โดยจีนเสนอเงื่อนไขกู้เงินสกุลหยวน อันตราดอกเบี้ย 3.2% ขณะที่เงินกู้สกุลดอลล่าร์ ขณะที่เงินกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 2% ซึ่งจะต้องมีการหารือกันอีก เพือเปรียบเทียบอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงิน โดยไทยต้องการดอกเบี้ยที่ถูกที่สุด
จึงยังไม่ได้สรุปเรื่องเงินกู้ โดยจะใช้เงินกู้เฉพาะของนำเข้าเท่านั้น

โดยในส่วนของการประมูลก่อสร้างนั้นยังยืนยันว่าจะใช้ตามขั้นตอนปกติ ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. ตอนที่ 2 จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.ตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กม.ตอนที่4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม. ขณะที่การพัฒนาพื้นที่2ข้างทางนั้นทางการรถไฟฯ จะดำเนินการเอง
//------------

คค.มั่นใจรถไฟ ไทย - จีน ช่วง 3.5 กม. แรก เสร็จไม่เกิน ก.ย.นี้
โดย MGR Online
29 กรกฎาคม 2559 09:01 น. (แก้ไขล่าสุด 29 กรกฎาคม 2559 09:06 น.)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม 2559 ได้ติดตามงานและหารือต่อเนื่องจากการประชุมครั้งที่แล้ว เช่น การสรุปมูลค่าของโครงการที่ตั้งใจจะสรุป ให้ได้ครั้งที่ผ่านมา แต่ขณะนี้ยังติดในเรื่องรายละเอียดของรายการของค่าใช้จ่ายการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ที่ได้มีการเสนอขอให้ทางรัฐบาลจีนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และค่าฝึกอบรม ที่ได้เสนอขอให้ทางรัฐบาลจีนแยกรายละเอียดการฝึกอบรมที่มากับตัวรถไฟฟ้ากับการอบรมขั้นพื้นฐานจึงยังไม่สามารถสรุปตัวเลขได้แต่ได้ประมาณ ในเบื้องต้นมูลค่าทั้งโครงการน่าจะอยู่ที่ประมาณ 179,000 ล้านบาท
อย่างไรก็ดีกรอบกำหนดการก่อสร้าง จะยังดำเนินการตามกรอบคือ เริ่มได้ภายใน เดือนสิงหาคม หรือ กันยายน 2559 ส่วนกระบวนการประมูลโดยได้มีการแบ่งออกเป็น 4 ตอน ระยะทางรวม 253 กิโลเมตร โดยขณะนี้ ได้มีการส่งแบบของ ตอนที่ 1 บริเวณสถานี กลางดง จังหวัด นครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร มาเรียบร้อยแล้ว และหลังจากการพิจารณาแบบการก่อสร้าง ดังกล่าวแล้วเสร็จหากมีประเด็นเพิ่มเติม จะมีการแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นเพื่อความมั่นใจ เรื่องแบบการก่อสร้างก่อนนำรายละเอียดไป ถอดราคาและขั้นตอนการประมูลต่อไป ส่วนตอนที่ 2 สถานีปากช่อง ถึงสถานีคลองขนานจิตร จังหวัดนครราชสีมา ระยะทาง 11 กิโลเมตร ได้มีการลงพื้นที่แล้วพบว่าจุดที่ปัญหาทางกายภาพ 2 จุด และ อาจจะมีการแก้แนวเส้นทางเล็กน้อยเนื่องจากสภาพดินอ่อนจึงจะต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับแนวเส้นทางและจะยืดเวลาในการส่งแบบช่วงเดือน พ.ย.2559 จากเดิมที่กำหนดต้องส่งแผนในเดือน ต.ค.2559
ในส่วนของการร่างสัญญาการจ้างระบบตัวรถ ขณะนี้ยังหารือกันอยู่ซึ่งหลักการ จะต้องใช้กฎหมายไทยและอยู่บนพื้นฐานของสากลในเรื่องของการร่างสัญญา ซึ่งสัญญางานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC-2) มีการแยกสัญญาออกเป็น 3 ส่วน คือ 1)สัญญาออกแบบ 2)สัญญาควบคุมงาน และ 3)สัญญาการจัดหารถ ระบบอาณัติสัญญาณ และฝึกอบรมและการซ่อมบำรุง เพื่อการดำเนินการได้เร็วขึ้น โดยจะมีการเร่งในส่วน ของสัญญางานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (EPC-1) ให้ได้ก่อน และเริ่มการก่อสร้างได้ ส่วนการแก้ไขกรอบความร่วมมือที่มีการ เปลี่ยนแปลงจากที่ได้เคยมีการลงนามร่วมกัน ก่อนหน้านี้ที่สืบเนื่องมาจากการหารือร่วมกัน ของผู้นำทั้ง 2 ประเทศ รายละเอียดก็จะมีการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป สำหรับทางด้านการเงินทางธนาคารเอ็กซิมแบงก์ ของจีนได้เสนอให้กระทรวงการคลังให้กู้เงิน เป็นสกุลเงินหยวนในอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ 3.2 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งถูกกว่าอัตราดอกเบี้ยของพันธบัตรจีน อย่างไรก็ตาม จะต้องหาข้อสรุปเพื่อเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 198, 199, 200 ... 547, 548, 549  Next
Page 199 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©