Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180270
ทั้งหมด:13491504
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 199, 200, 201 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/07/2016 11:10 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ลุ้นตอกเข็มรถไฟไทย-จีน ส่อแววหลุดเป้า ก.ย. ถอดแบบถกค่าก่อสร้างไม่ยุติ
โดย MGR Online
28 กรกฎาคม 2559 17:06 น. (แก้ไขล่าสุด 28 กรกฎาคม 2559 18:55 น.)

เคาะไฮสปีดโคราช 1.79 แสนล.
โพสต์ทูเดย์ 29 กรกฎาคม 2559 เวลา 09:04 น.

ไทย-จีนตกลงแล้ว ตัวเลขโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯโคราช มูลค่าแตะ 1.79 แสนล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 12 ที่โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ ซึ่งมีนายหวังเสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เป็นประธานคณะกรรมการฝ่ายจีน ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปตัวเลขมูลค่าโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีมูลค่าโครงการอยู่ที่ 1.79 แสนล้านบาท

"แม้ว่าจะยังติดรายละเอียดอยู่ 2 รายการ คือ ค่าใช้จ่ายศึกษาความ เหมาะสม ซึ่งไทยขอให้รัฐบาลจีนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ และค่าฝึกอบรม ที่ฝ่ายไทยได้ขอให้จีนแยกรายละเอียดระหว่างการอบรมที่มาพร้อมตัวรถไฟฟ้า และการอบรมขั้นพื้นฐาน ส่วนตัวเลขสุดท้ายแม้จะยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน แต่ตัวเลขกลมๆ จะอยู่ที่ 1.79 แสนล้านบาท" นายอาคม กล่าว

นายอาคม กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะเริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นดังกล่าวให้ได้ในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ โดยจะเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่ฝ่ายจีนส่งแบบก่อสร้างมาให้ฝ่าย ไทยถอดราคาก่อสร้างแล้ว จากนั้นจึง จะเริ่มก่อสร้างตอนที่ 2 ประมาณ 11 กิโลเมตร ตอนที่ 3 ประมาณ 119 กิโลเมตร และตอนที่ 4 ระยะทาง 119 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายจีนจะทยอยส่งแบบก่อสร้างมาให้ฝ่ายไทย

"การก่อสร้างช่วงแรกจะพยายาม ให้เร็วที่สุด คือ น่าจะเดือน ส.ค. ส่วน จะประมูลทันหรือไม่ ก็ต้องรอความ พร้อมทั้งตัวโครงการ มูลค่าลงทุน แบบ และการประมูล ส่วนการก่อสร้างตอนที่ 2 ฝ่ายจีนพบจุดที่มีปัญหาทางด้านกายภาพ 2 จุด อาจจะต้องแก้แบบเล็กน้อย จึงได้ขอขยับการส่งมอบแบบก่อสร้างจากเดิมเดือน ต.ค. เป็นเดือน พ.ย.นี้" นายอาคม ระบุ</p>

นายอาคม กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายยังหารือเกี่ยวกับร่างสัญญาส่วนงานระบบรางและรถไฟความเร็วสูง (EPC2) แต่ยังมีบางส่วนเห็นไม่ตรงกันอยู่ แต่เพื่อให้งานเร็วขึ้นจะแยกงานส่วนนี้เป็น 3 สัญญา คือ 1.การออกแบบ 2.ควบคุมงาน และ 3.การจัดหาระบบตัวรถ ระบบอาณัติสัญญาณ การซ่อมบำรุง รวมถึงการฝึกอบรม

นอกจากนี้ ฝ่ายจีนขอให้ไทยกู้เงินก่อสร้างเป็นเงินหยวน ซึ่งไทยยืนยันหลักการเดิม คือ ใช้เงินกู้ที่มีต้นทุนถูกที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/07/2016 8:38 pm    Post subject: Reply with quote

"อาคม" คาดรถไฟไทย-จีน ใช้งบ 1.79 แสนล้าน ลั่นบิ๊กตู่ให้เริ่มสร้างก.ย.นี้ 3.5 กม.แรก
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 30 กรกฎาคม 2559 เวลา 15:04:00 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า เมื่อวันที่ 28 กรกฎาคมที่ผ่านมา ได้มีการประชุมความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 12 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 252.5 กิโลเมตร ตัวเลขวงเงินรวมทั้งโครงการประเมินไว้ 1.79 แสนล้านบาท เป็นกรอบเท่านั้น ยังไม่ใช่ตัวเลขชัดเจน เพราะต้องพิจารณาในรายละเอียดให้ชัดเจนอีกครั้ง

ในส่วนของการกู้เงิน ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้สกุลเงินหยวนตามที่จีนเสนออัตราดอกเบี้ย 3.2% หรือจะใช้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐอัตราดอกเบี้ย 2% เพราะทางกระทรวงการคลังของไทยจะต้องไปพิจารณาให้ชัดเจนก่อนว่าใช้สกุลเงินไหนจะได้อัตราดอกเบี้ยถูกที่สุด จะต้องพิจารณาเปรียบเทียบเรื่องสวอปอัตราแลกเปลี่ยนด้วย โครงการดังกล่าวทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ต้องการให้เริ่มก่อสร้างให้ได้ในเดือนสิงหาคม-กันยายนนี้ ดังนั้น จะต้องยึดกรอบระยะไว้ตามนี้เป็นหลัก และจะสามารถก่อสร้าง ตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม. ได้ในเดือนกันยายนนี้ตามกำหนด

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า กรอบวงเงินทั้งโครงการจะไม่เพิ่มสูงขึ้นจากวงเงินประเมินไว้ครั้งนี้มากนัก แม้จะรวมค่าใช้จ่ายเรื่องการศึกษาความเหมาะสม ไทยขอให้รัฐบาลจีนออกค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ให้ รวมถึงค่าฝึกอบรมเกี่ยวกับรถไฟฟ้าและการอบรมขั้นพื้นฐาน ไทยได้ขอให้จีนออกค่าใช้จ่ายให้แล้วก็ตาม เพราะหากจะคิดเป็นมูลค่าก็จะอยู่หลักร้อยล้านบาทเท่านั้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/08/2016 10:14 am    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เร่งปั้นโปรเจกต์พัฒนาที่รอบสถานี นำร่องไฮสปีด “กทม.-ระยอง”
โดย MGR Online
1 สิงหาคม 2559 17:08 น. (แก้ไขล่าสุด 1 สิงหาคม 2559 19:25 น.)

“สมคิด” เร่ง “คมนาคม” ทำแผนพัฒนาพื้นที่รองสถานีรถไฟความเร็วสูง 4 สาย รูปแบบTOD ให้เวลาอีก 2 สัปดาห์ สรุปเสนอ “นายกฯ” เริ่มนำร่องพัฒนา 4 สถานี สายกรุงเทพ-ระยอง “อาคม” เผยแยกพัฒนารอบสถานีออกจากโครงการก่อสร้างและเดินรถที่จะได้พัฒนาเฉพาะในสถานีเท่านั้น พร้อมนำการจัดรูปที่ดินมาใช้แทนการเวนคืนเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมและไม่เดือดร้อน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมแนวทางการใช้ประโยชน์ที่ดินจากการเวนคืนเพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานของหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคม ว่าแนวคิดและรายละเอียดมีความคืบหน้าพอสมควร โดยมีการกำหนดจุดและสถานีที่จะพัฒนาพื้นที่ของโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ ความร่วมมือพัฒนาระบบขนส่งทางรางระหว่างไทยกับจีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา, รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง และกรุงเทพ-หัวหิน และโครงการภายใต้ความร่วมมือรถไฟไทย-ญี่ปุ่นแล้ว แต่ให้ทำรายละเอียดเพิ่มเติมในเรื่องผลตอบแทนทางการเงินในแต่ละจุดที่ชัดเจนเพื่อนำไปกำหนดเงื่อนไขการเชิญชวน (TOR) เอกชนร่วมลงทุน (PPP) ที่มีความเป็นไปได้ และมูลค่าโครงการ โดยให้เวลาอีก 2 สัปดาห์จะสรุปเรื่องนำเสนอต่อ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ทั้งนี้ การพัฒนาเส้นทางรถไฟไม่ใช่แค่ก่อสร้างทางรถไฟ แต่ต้องนำพื้นที่ซึ่งเป็นของภาครัฐบาลรายได้เพิ่ม ซึ่งจะเปิดให้เอกชนมาช่วยลงทุนหรือรัฐจะทำเอง แต่ที่สุดคือจะสร้างประโยชน์แก่ประเทศโดยรวม โดยเน้นเรื่องความโปร่งใส โดยขณะนี้รถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-รอยองนั้นมีความพร้อมที่จะนำเสนอเพื่อนำเข้าสู่ คณะกรรมการ PPP อนุมัติโครงการแล้วสามารถทำแผนพัฒนาพื้นที่ต่อเนื่องได้เลย ส่วนรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช ความร่วมมือกับจีนนั้นไทยจะลงทุนก่อสร้างเอง ดังนั้นต้องกำหนดแนวการพัฒนาการใช้ประโยชน์พื้นที่ซึ่งส่วนใหญ่เป็นที่ดินของรัฐ เช่น กรมธนารักษ์ หรือพื้นที่ทหารเป็นหลัก แต่หากจะต้องใช้พื้นที่เอกชนหรือประชาชนจะต้องหาวิธีทำอย่างไรที่จะไม่ให้เดือดร้อน

นอกจากนี้ กรมทางหลวง (ทล.) ได้เสนอแผนพัฒนา Rest Area บนทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) สายกรุงเทพ-ระยอง ซึ่งได้ให้แนวคิดว่า จะต้องเป็น Rest Area รูปแบบใหม่ที่เป็นทั้งเส้นทางเศรษฐกิจและท่องเที่ยว มีจุดดึงดูดให้ผู้ใช้เส้นทางแวะพักใช้บริการเหมือนที่ญี่ปุ่น ซึ่งไทยต้องทำให้ดีกว่า โดยร้านค้า ร้านอาหาร ต้องมีความโดดเด่น พัฒนาผลิตภัณฑ์ในพื้นที่มาจำหน่ายไม่ใช่เป็นอาหารฟาสต์ฟูดเหมือนปั๊มน้ำมันในปัจจุบัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กม. วงเงิน 152,528 ล้านบาท คาดว่าจะเสนอคณะกรรมการ PPP ได้ในส.ค.-ก.ย.นี้ ขณะที่รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) จะเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) วันที่ 5 ส.ค. ดังนั้นเส้นทางนี้จะเปิดประมูลได้ก่อนเนื่องจากโครงการมีความพร้อม โดยผู้ลงทุนจะได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายในสถานีเพื่อให้มีความเป็นไปได้ในการลงทุน ส่วนการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี หลักคิดจะเป็นแบบพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ซึ่งจะแยกออกจากการก่อสร้าง และแยกการพัฒนาเป็นรายสถานี เนื่องจากนำมารวมกันทั้งโครงการจะมีมูลค่าสูงมากเกินไป

โดยที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องทำรายละเอียดและประเมินมูลค่าการใช้ประโยชน์,มูลค่าผลตอบแทน โดยจากการประสานกับกรมโยธาธิการและผังเมืองและการออกแบบพบว่าเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง มีสถานีที่มีศักยภาพในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ คือ ลาดกระบัง, ศรีราชา, พัทยา, ระยอง, ฉะเชิงเทรา จะศึกษารายละเอียด TOR ต่อไปว่าควรมีองค์ประกอบในการพัฒนาอย่างไรบ้าง เช่น มีโรงแรม, ศูนย์การค้า เป็นต้น เส้นทางกรุงเทพ-หัวหิน มี 3 จุด คือสถานีราชบุรี,เพชรบุรี,หัวหิน ส่วน เส้นทางกรุงเทพ-โคราช มี 3 จุด คือ สระบุรี, นครราชสีมา, ปากช่อง

อย่างไรก็ตาม ที่ดินส่วนใหญ่เป็นที่ของการรถไฟฯ ที่ราชพัสดุ แต่หากมีความจำเป็นต้องใช้ที่ดินของเอกชนหรือประชาชน จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน แทนการเวนคืน โดยให้สมัครใจนำที่ดินมารวมกันพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยยังสามารถอยู่ในพื้นที่ได้ หลักการเช่น ชาวบ้านมีที่ดิน 1 0ไร่ นำมาร่วมจัดรูปที่ดินซึ่งอาจจะต้องตัดที่ดินบางส่วนทำเป็นถนนแต่จะทำให้มูลค่าที่ดินเพิ่มขึ้นจากเดิม และยังอยู่ในพื้นที่ได้ต่อไป เป็นต้น ส่วนปัญหาเรื่องกฎหมายเวนคืนขณะนี้ทางกฤษฎีกากำลังพิจารณาแก้ไข
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/08/2016 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“สมคิด” เร่งปั้นโปรเจกต์พัฒนาที่รอบสถานี นำร่องไฮสปีด “กทม.-ระยอง”
โดย MGR Online
1 สิงหาคม 2559 17:08 น. (แก้ไขล่าสุด 1 สิงหาคม 2559 19:25 น.)


เร่งแผนมิกซ์ยูสรอบรถไฟไฮสปีด ปักหมุดสายกทม.-ระยองจุดพลุเขตเศรษฐกิจEEC
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
3 สิงหาคม 2559 เวลา 22:00:39 น.


"สมคิด" บี้คมนาคมเร่งแผนมิกซ์ยูสไฮสปีด 4 ภาค 14 สถานี ดึงเอกชนลงทุนพัฒนาทั้งแพ็กเกจ ประเดิมไฮสปีดกรุงเทพฯ-ระยอง และมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด ชงบิ๊กตู่ไฟเขียว ส.ค.นี้ หวังจุดพลุเขตเศรษฐกิจ EEC "เซ็นทรัล-ซี.พี." ส้มหล่นสถานีจ่อหน้าบ้าน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า สั่งให้กระทรวงคมนาคมทำรายละเอียดพื้นที่เชิงพาณิชย์แนวรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง คือ
กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 250 กม. วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท,
กรุงเทพฯ-ระยอง 193.5 กม. วงเงิน 1.52 แสนล้านบาท,
กรุงเทพฯ-หัวหิน 211 กม. วงเงิน 9.46 หมื่นล้านบาท และ
กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. วงเงิน 2.12 แสนล้านบาท

โดยนำสถานีที่มีศักยภาพพัฒนากำหนดไว้ในทีโออาร์เพื่อเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน เป็นแพ็กเกจทั้งงานโยธาและพื้นที่สถานีไปพร้อมกัน

"ให้เวลา 2 สัปดาห์ทำรายละเอียดเรื่องคอนเซ็ปต์ เงินลงทุน ผลตอบแทนการเงินของพื้นที่สถานี และจุดพักรถแนวมอเตอร์เวย์ ก่อนเสนอนายกรัฐมนตรี จะเริ่มได้ก่อนไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-ระยอง และมอเตอร์เวย์พัทยา-มาบตาพุด เพราะรองรับเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ปีนี้จะเริ่มประมูลกรุงเทพฯ-ระยองเป็นโครงการแรก เพราะพร้อมที่สุด ในเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้จะเสนอผลศึกษาให้คณะกรรมการ PPP อนุมัติ มี 4 สถานีที่จะพัฒนาคือ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ศรีราชา และระยอง

"สถานีที่มีศักยภาพพัฒนาจะกำหนดใน TOR จะพัฒนาเป็นโรงแรม ธุรกิจ ศูนย์การค้า และเลือกเอกชนรายเดียวพัฒนา ที่ดินจะมีทั้งของการรถไฟฯ กรมธนารักษ์ และเอกชน อาจจะเวนคืนหรือใช้วิธีจัดรูปที่ดินตามที่กรมโยธาธิการและผังเมืองแนะ และให้เอกชนมีส่วนร่วมพัฒนา"

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า สถานีไฮสปีดเทรน 4 สาย มีศักยภาพพัฒนาเชิงพาณิชย์ สายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มี
สถานีอยุธยา 5,000 ไร่ สร้างอยู่สถานีเดิม,
ลพบุรี 5,000 ไร่ อยู่สถานีรถไฟบ้านป่าหวาย,
นครสวรรค์ 5,000 ไร่ อยู่ที่เดิมเป็นที่ราชพัสดุ,
พิจิตร 5,000 ไร่ อยู่ที่ใหม่ห่างสถานีเดิม 2 กม.

สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มี
สระบุรี 3,000 ไร่ เป็นที่เอกชนติดถนนเลี่ยงเมือง และ
สถานีปากช่อง 541 ไร่ เป็นที่กรมธนารักษ์

ส่วนกรุงเทพฯ-หัวหิน ทางการรถไฟฯเตรียมที่ดิน 4 สถานี รวม 710 ไร่ คือ
นครปฐม 39 ไร่
ราชบุรี 141 ไร่
เพชรบุรี 385 ไร่ และ
หัวหิน 153 ไร่ บริเวณบ่อฝ้าย และ

กรุงเทพฯ-ระยอง รวม 133.5 ไร่ มี
ฉะเชิงเทรา 60.6 ไร่
ศรีราชา 37.5 ไร่
พัทยา 15.6 ไร่ และ
ระยอง 20 ไร่

มีสถานีสร้างบนที่ใหม่ คือ ฉะเชิงเทรา อยู่บนถนนสาย 304 ติดกับสยามแม็คโคร และระยอง อยู่บนถนนสาย 36 บริเวณแยกเกาะกลอย ห่างศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซา 400 เมตร ที่ปัจจุบันลงทุนพัฒนาศูนย์การค้าและคอนโดมิเนียม อีกทั้งยังอยู่ไม่ไกลจากนิคมอุตสาหกรรม ซี.พี.อินดัสเทรียล พาร์ค ของ บมจ.ซี.พี.แลนด์ ที่ปลายปีนี้จะนำที่ดิน 3,140 ไร่ รับเขตเศรษฐกิจ EEC

"กรุงเทพฯ-หัวหิน และกรุงเทพฯ-ระยอง ให้การรถไฟฯไปพิจารณาพื้นที่ใหม่ เพราะที่ดินแต่ละสถานีเล็กเกินไป อาจต้องใช้การจัดรูปที่ดินและให้เอกชนร่วมพัฒนา"

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) กล่าวว่า เตรียมที่ดินแนวมอเตอร์เวย์ 3 สายใหม่ ให้เอกชนลงทุนพัฒนา 30 ปี เป็นที่พักริมทาง สถานที่บริการทางหลวง และศูนย์บริการทางหลวง สายพัทยา-มาบตาพุด มี 3 แห่ง, บางปะอิน-โคราช 8 แห่ง และบางใหญ่-กาญจนบุรี 3 แห่ง รูปแบบพัฒนาจะปรับใหม่เพื่อดึงคนมาใช้บริการ เช่น มีห้างเอาต์เลต สินค้าโอท็อป จุดใหญ่สุดอยู่ที่ปากช่อง 50 ไร่ คาดว่าปีหน้าจะเริ่มเปิดประมูลได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/08/2016 1:30 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” เอ็มโอยู “ญี่ปุ่น” เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ คาดสรุปผลพ.ย.นี้
มติชน
วันที่: 6 สิงหาคม 2559 เวลา: 17:08 น.
ไทยเร่งญี่ปุ่นศึกษารถไฟไฮสปีดให้เสร็จในพ.ย.59
TNN24
วันที่: 6 สิงหาคม 2559 เวลา: 15.30 น.



นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 6 สิงหาคมมีพิธีลงนามบันทึกความร่วมมือ(เอ็มโอยู) ด้านระบบราง และบันทึกความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ร่วมกับนายเคอิชิ อิชิอิ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น สาระสำคัญของเอ็มโอยูด้านระบบรางจะเป็นเรื่องของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงไทย – ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพ – เชียงใหม่ ซึ่งเบื้องต้นจะนำเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น หรือ ชินคันเซ็น ที่มาตรฐานความปลอดภัยสูงมาใช้ในโครงการนี้ โดยเป็นรูปแบบรางเฉพาะ และจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 2 ระยะ คือ 1.กรุงเทพ – พิษณุโลก และ 2.พิษณุโลก – เชียงใหม่

ทั้งนี้ทางญี่ปุ่นต้องไปศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการนำเสนอฝ่ายไทยพิจารณารูปแบบการลงทุนว่าจะเป็นแบบได้ โดยญี่ปุ่นจะรายงานความเป็นของโครงการในเดือนพฤศจิกายนหากโครงการมีความเป็นไปได้จะใช้เวลาในการออกแบบอีก 1 ปี หรือประมาณปี 2560 คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 อย่างไรก็ตามโครงการดังกล่าวมีผลตอบแทนทางการเงินค่อนข้างต่ำ จะใช้เวลาประมาณ 50 ปีจึงคืนทุน ไทยจึงให้ญี่ปุ่นเข้ามาช่วยพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี และการพัฒนาเมืองตามนโยบายของพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรี เพื่อเพิ่มผลตอบแทน ล่าสุดญี่ปุ่นยินดีให้ความช่วยหลือและจะดำเนินการคู่ขนานไปกับการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ

นายอาคม กล่าวต่อว่า ส่วนความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนนทางนั้นญี่ปุ่นจะให้ความช่วยเหลือไทย ในการส่งผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมทำงานกับกระทรวงคมนาคม เพื่อออกมาตรการดูแลความปลอดภัยบนท้องถนน ให้ทันก่อนช่วงปีใหม่ ซึ่งก่อนหน้านี้ญี่ปุ่นเคยมีปัญหาอุบัติเหตุทางถนนสูงเหมือนไทย โดยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 4 หมื่นคนต่อปี แต่จากการพัฒนาความปลอดภัยทางถนนช่วยลดอุบัติเหตุและผู้เสียชีวิตลงเหลือ 1.6 หมื่นคนต่อปี หรือลดลงประมาณ 2 เท่าตัว
https://www.youtube.com/watch?v=cicusEZBKBY
https://www.youtube.com/watch?v=13DDBCKDd3M
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 08/08/2016 3:29 am    Post subject: Reply with quote

ลงทุนยาว! ไฮสปีดฯ คืนทุน 50 ปี ไทยแบ่งสร้าง “กรุงเทพ-พิษณุโลก” ตอกเข็มปี 61
โดย MGR Online
7 สิงหาคม 2559 16:48 น. (แก้ไขล่าสุด 7 สิงหาคม 2559 19:26 น.)

ลงทุนยาว! ไฮสปีดฯ คืนทุน 50 ปี ไทยแบ่งสร้าง “กรุงเทพ-พิษณุโลก” ตอกเข็มปี 61

“อาคม” หารือ รมต.ญี่ปุ่นเร่งศึกษารถไฟความเร็วสูงจบ ต.ค.-พ.ย. 59 ออกแบบปี 60 ตั้งเป้าตอกเข็มในปี 61 สรุปแบ่งเฟสก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลกก่อน เผยระยะคืนทุน 50 ปี เหตุผลตอบแทนการเงินดีกว่าสร้างรวดเดียวถึงเชียงใหม่ ชี้พิษณุโลกมีจุดแข็งมีจังหวัดรอบข้างและแหล่งท่องเที่ยวช่วยส่งต่อผู้โดยสารได้ พร้อมแยกพัฒนาพื้นที่รอบสถานีหนุนอีกทาง และ MOU ญี่ปุ่นด้านความปลอดภัยทางถนนหวังลดสถิติอุบัติเหตุของไทย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมระดับรัฐมนตรีด้านคมนาคม ร่วมกับ นายเคอิจิ อิชิอิ (H.E. Keiichi Ishii) รัฐมนตรีกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น หัวหน้าคณะฝ่ายญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 5 ส.ค.ว่า กรอบความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 672 กม.นั้น ทางญี่ปุ่นได้รายงานผลการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเบื้องต้น โดยจะแบ่งการก่อสร้างเป็น 2 ตอน คือ กรุงเทพฯ-พิษณุโลก และพิษณุโลก-เชียงใหม่ โดยพบว่า แนวทางที่มีความเหมาะสมแบ่งการก่อสร้างในระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กม.ก่อน เนื่องจากมีความเป็นไป และมีผลตอบแทนของโครงการดีกว่าการก่อสร้างพร้อมกันทั้งโครงการไปถึงเชียงใหม่ โดยเห็นว่าสามารถพัฒนาที่รอบสถานีและสองข้างทางได้ อีกทั้งพิษณุโลกยังมีจังหวัดรอบๆ ที่สามารถส่งต่อผู้โดยสารเข้ามาเสริมต่อรถไฟความเร็วสูงได้ มีโอกาสในการสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและการเงินได้

ทั้งนี้ การลงทุนรถไฟความเร็วสูงนั้นมีผลตอบแทนทางการเงินค่อนข้างต่ำ และใช้เวลาในการคืนทุนประมาณ 50 ปี เพราะขนส่งเฉพาะผู้โดยสาร แตกต่างจากรถไฟทั่วไปที่ขนส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้า ดังนั้นการลงทุนนอกจากมองในเรื่องเส้นทาง และการท่องเที่ยวเพื่อเพิ่มจำนวนผู้โดยสารแล้ว จำเป็นต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานี และพื้นที่สองข้างทางเพื่อนำรายได้มาสนับสนุนการลงทุนอีกทางหนึ่ง ซึ่งแนวทางจะแยกออกมาพัฒนาพื้นที่ออกจากการลงทุนโครงสร้าง และเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน โดยรัฐนำส่วนแบ่งรายได้มาสนับสนุนรถไฟความเร็วสูง

“ทางญี่ปุ่นจะสรุปผลการศึกษาความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของโครงการในเดือน ต.ค.-พ.ย. 2559 จากนั้นจะเป็นขั้นตอนการออกแบบอีก 1 ปี (2560) จากนั้นจึงจะพิจารณารูปแบบการลงทุน ซึ่งถือว่าเร็วมากที่ศ฿กษาความเหมาะสมแค่ 1 ปีออกแบบ 1 ปี และไทยตั้งเป้าจะเริ่มก่อสร้างในปี 2561 เพราะระบบรถไฟชินคันเซ็นของญี่ปุ่นศึกษาความเป็นไปได้ถึง 3 ปี ออกแบบอีก 2 ปี รวม 5 ปีถึงจะได้เริ่มก่อสร้าง วันนี้เราเร่งญี่ปุ่นมากแล้ว” นายอาคมกล่าว

ส่วนการพัฒนาเส้นทางรถไฟตามแนวเศรษฐกิจด้านใต้ กาญจนบุรี-แหลมฉบัง-อรัญประเทศ ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาแผนการพัฒนาเส้นทางเพื่อส่งเสริมการพัฒนาเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากฝั่งกัมพูชาได้มีการก่อสร้างทางรถไฟไปถึงศรีโสภณ จะแล้วเสร็จในสิ้นปี 2559 ซึ่งจะสามารถเริ่มเดินรถเชื่อมต่อจากไทย-กัมพูชาได้ปลายปีนี้เช่นกัน

ขณะที่การขนส่งสินค้าทางรถไฟ ซึ่งได้เปิดให้บริการขนส่งคอนเทนเนอร์ขนาดเล็กสำหรับการขนส่งภายในประเทศ เส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ ในเส้นทางรถไฟสายเหนือ และสายตะวันออกเฉียงเหนือ ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2559 และตั้งสำนักงานส่งเสริมเพื่อเตรียมการสำรวจและพัฒนาการขนส่งสินค้าทางรถไฟ ณ กรุงเทพฯ เมื่อเดือนมิถุนายน 2559 ทั้งสองฝ่ายจะเร่งรัดสำรวจรายละเอียดการดำเนินการให้บริการขนส่งสินค้ารูปแบบใหม่ เพื่อให้ได้ข้อสรุปสำหรับการให้บริการขนส่งสินค้า

ส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจตามแนวเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาความเป็นไปได้โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ด้านตะวันออก ช่วงบ้านไผ่-มุกดาหาร-นครพนม และด้านตะวันตกจาก แม่สอด-ตาก-นครสวรรค์ ซี่งยังขาดการศึกษาในบางช่วงที่ญี่ปุ่นจะมาช่วยเหลือ

นอกจากนี้ยังเพิ่มเติมความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน ซึ่งไทยมีสถิติการเกิดอุบัติเหตุอยู่ในอันดับ 2 ของโลก ขณะที่ญี่ปุ่นเคยมีประสบการณ์การเกิดอุบัติเหตุบนถนนมาก แต่สถิติลดลงถึง 50% ภายใน 10 ปี หรือจากผู้เสียชีวิตจาก 4 หมื่นคนเหลือ 1.6 หมื่นคน ดังนั้น ประสบการณ์ของญี่ปุ่นจะเป็นประโยชน์ต่อการแก้ปัญหาของไทย ซึ่งฝ่ายไทยได้ขอให้ญี่ปุ่นจัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำปรึกษากับไทยเพื่อดำเนินการให้ทันในช่วงเทศกาลปีใหม่ 2560

นอกจากนี้ ได้ขอให้ญี่ปุ่นศึกษาการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์โดยรอบสถานีกลางบางซื่อ นอกเหนือจากผลการศึกษาของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร เพื่อนำผลการศึกษาฯ เสนอนายกรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/08/2016 3:48 am    Post subject: Reply with quote

Click on the image for full size
แผนการทำ รถไฟ ความไวสูง ลาดกระบัง - ระยอง ปี 2558 ที่ดูแล้วมีข้อคับข้่องใจว่า ทำไม ให้หมดระยะ ที่ลาดพระบัง แบบนี้ เจ้าสัวซีพีได้ แหกอก หรือ เชือด รฟท. + ที่ปรึกษา แบบ เชือดฅอไก่ ฐานให้คำแนะนำอันเลวเช่นนี้เป็นแน่แท้
http://www.skyscrapercity.com/showthread.php?t=1090759&page=28
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 18/08/2016 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

‘สมคิด’เทียบเชิญกลุ่มเจ้าสัวระดมกึ๋นลงทุนนำร่องรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,184 วันที่ 18 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

“สมคิด” ส่งเทียบเชิญกลุ่มเจ้าสัวชั้นนำของไทยหารือนอกรอบเรื่องความชัดเจนการลงทุนไฮสปีดเทรน นำร่องเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง เน้นเปิดโอกาสให้เอกชนแต่ละพื้นที่ร่วมลงทุนกับรายใหญ่ หวังลดภาระงบประมาณภาครัฐให้ได้มากที่สุด

แหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการที่รัฐบาลมีแผนดำเนินการพัฒนาในเขตพื้นที่โซนตะวันออก อาทิ สนามบินอู่ตะเภา โครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-ระยอง และท่าเรือมาบตาพุดนั้นซึ่งโครงการดังกล่าวพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเร่งขับเคลื่อนโครงการให้เห็นผลเป็นรูปธรรมโดยเร็ว

ล่าสุดนั้นนายสมคิดได้มอบหมายให้ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ ผู้อำนวยการมูลนิธิสถาบันวิจัยเศรษฐกิจการคลัง(สวค.) นัดหมายกลุ่มเจ้าสัวนักลงทุนชั้นนำทั้งด้านระบบรางและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษหารือนอกรอบเพื่อขอทราบแนวทางการลงทุนที่ชัดเจนก่อนนำเข้าหารือในรูปแบบการเปิดรับฟังความเห็นนักลงทุนหรือมาร์เก็ตซาวดิ้งอย่างเป็นทางการต่อไป

โดยในเบื้องต้นนั้นอยากรับฟังความเห็นถึงรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชนเนื่องจากภาครัฐไม่มีงบประมาณเพื่อการลงทุนขนาดใหญ่จำนวนมาก จึงต้องการกระจายให้กับภาคเอกชนมากขึ้น เบื้องต้นโครงการดังกล่าวนี้นายกรัฐมนตรีสั่งการผ่านรองนายกรัฐมนตรีให้ขับเคลื่อนโครงการเพื่อให้เกิดผลเป็นรูปธรรมชัดเจน

“ขณะนี้นายสมคิดได้ส่งคนใกล้ชิดมาหารือกับบริษัทที่ปรึกษารายใหญ่แห่งหนึ่งเพื่อจัดการเปิดรับฟังความเห็นนักลงทุนอย่างเป็นทางการเพื่อรวบรวมความคิดเห็นตลอดจนข้อเสนอแนะต่างๆของภาคเอกชนไปเสนอรองนายกรัฐมนตรีว่าภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐดำเนินการรูปแบบใดบ้าง ทั้งการพัฒนาระบบรางและการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษต่างๆ เนื่องจากรัฐบาลไม่ต้องการลงทุนเองทั้งหมด อยากให้เอกชนมาช่วยรัฐลงทุนมากขึ้น”

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองนั้นระยะทาง193 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุนกว่า1.52 แสนล้านบาท จะผ่านพื้นที่ 5จังหวัดในโซนภาคตะวันออกซึ่งแต่ละจังหวัดคาดว่าจะลงทุนไม่น้อยกว่า 2 หมื่นล้านบาท ซึ่งรัฐสามารถกำหนดให้เอกชนรายใหญ่สามารถร่วมกับรายย่อยของแต่ละจังหวัดได้ทันที ให้แต่ละจังหวัดเข้ามามีบทบาทด้านการร่วมลงทุนมากขึ้นโดยเฉพาะการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษส่วนเส้นทางสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร จำนวน 4 สถานี กรอบวงเงินลงทุนประมาณ 1 แสนล้านบาท

ด้านนายออมสิน ชีวะพฤกษ์รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ความคืบหน้าผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหินนั้น ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ปรับปรุงข้อมูลผลการศึกษาให้สอดคล้องกับปัจจุบันให้มากที่สุด ส่วนโครงการรถไฟไทย-จีนจะมีการหารือร่วมครั้งที่13 ในเร็วๆ นี้ที่จีน และไทย-ญี่ปุ่นมีแผนเร่งเส้นทางแนวระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้เชื่อมกาญจนบุรี-อรัญประเทศ(สระแก้ว)และแหลมฉบัง และช่วงเส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลกซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนของฝ่ายญี่ปุ่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/08/2016 9:56 am    Post subject: Reply with quote

"ญี่ปุ่น" ชงแนวไฮสปีด "เชียงใหม่" รัฐเปิดหน้าดิน 7 จังหวัดรอพัฒนา
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 18 สิงหาคม พ.ศ. 2559 เวลา 19:00:55 น.


ปลายปีนี้ผลศึกษาความเหมาะสมไฮสปีดเทรน "กรุงเทพฯ-เชียงใหม่" ระยะทาง 673 กม. ภายใต้ MOC ระหว่างรัฐบาลไทย-ญี่ปุ่นจะแล้วเสร็จ เพื่อเริ่มต้นออกแบบรายละเอียดปี 2560 จะใช้เวลา 1 ปี หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงจะตอกเข็มปี 2561 แล้วเสร็จปี 2565

เร่งผลศึกษาเสร็จปลายปีนี้

"ไทม์ไลน์นี้ปรับใหม่ หลังไทยขอให้ญี่ปุ่นเร่งศึกษาโครงการโดยเร็ว ซึ่งขั้นตอนการทำงานของญี่ปุ่นสำหรับรถไฟความเร็วสูง จะใช้เวลาศึกษา 3 ปี ออกแบบรายละเอียด 5 ปี ใช้เวลาก่อสร้าง 10 ปี แต่เราขอให้เร่งขั้นตอนต่าง ๆ ให้เสร็จใน 1 ปี เพื่อนำผลการศึกษาไปสู่การพิจารณารูปแบบการลงทุน จะเป็นรูปแบบไหน รัฐลงทุน 100% รัฐลงทุนงานโยธา และเอกชนลงทุนระบบเดินรถ หรือเอกชนลงทุนทั้งโครงการ" นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวและว่า

โดยจะใช้เทคโนโลยีระบบชินคันเซน เป็นระบบรถไฟความเร็วสูงของญี่ปุ่น จะสร้างรางแยกออกมาต่างหากจากระบบรถไฟอื่น ไม่ว่าจะเป็นรถไฟไทย-จีน สายสีแดงและแอร์พอร์ตลิงก์ที่ยังมีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ช่วงกรุงเทพฯ-ภาชี

ขณะที่การก่อสร้างทั้งไทย-ญี่ปุ่นมีความเห็นร่วมกันจะแบ่งเป็น2 เฟส ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 384 กม. ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ 285 กม. ซึ่งเฟส 2 ทางญี่ปุ่นเห็นชอบตามที่สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทำการศึกษาไว้ จะใช้เส้นทางตัดผ่านพื้นที่ใหม่ จากสถานีพิษณุโลกตัดเข้า จ.สุโขทัย เพราะแนวจะตัดตรงและย่นเวลาเดินทางได้มากกว่า และจะพาดผ่าน อ.ศรีสัชนาลัย เนื่องจากจะมีแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ จากนั้นผ่าน จ.แพร่ ลำปางแล้วเลาะไปตามแนวรถไฟสายเหนือสิ้นสุดที่ จ.เชียงใหม่

พัฒนาสถานีอุดขาดทุน 50 ปี

"จากประสบการณ์ของญี่ปุ่นลงทุนรถไฟชินคันเซน รับเฉพาะผู้โดยสารอย่างเดียวจะใช้เวลา 50 ปีคืนทุนถือว่านาน แต่ก็เป็นปกติ ที่ผลตอบแทนด้านการเงินของโครงการค่อนข้างต่ำ ต้องหารายได้พัฒนาเชิงพาณิชย์และพัฒนาเมืองรอบสถานีด้วย เพื่อให้ผลตอบแทนโครงการสูงขึ้น เพราะรถไฟความเร็วสูงจะช่วยเรื่องการพัฒนาเมืองภูมิภาค ซึ่งญี่ปุ่นจะช่วยเหลือไทยศึกษาจะมีสถานีไหนบ้าง จะสอดรับกับแนวคิดของนายกรัฐมนตรีที่ต้องการให้เกิดการพัฒนา 2 ข้างทางมีการก่อสร้างรถไฟ"

สำหรับเส้นทางเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะใช้เวลาคืนทุน 50 ปี แต่จะมีโอกาสได้ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ เนื่องจาก จ.พิษณุโลก เป็นศูนย์กลางเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตะวันตกและตะวันออก ช่วยเสริมคนเข้าในระบบรถไฟได้ อีกทั้งการพัฒนาสถานี รอบสถานีและเมือง 2 ข้างทางจึงเป็นรายได้ที่เข้ามาสนับสนุนตรงนี้ ซึ่งรายงานการศึกษาความเหมาะสมของโครงการที่สมบูรณ์จะแล้วเสร็จเดือน ต.ค.-พ.ย.นี้

ด้าน "พีระพล ถาวรสุภเจริญ" รองปลัดด้านโครงสร้างพื้นฐาน กระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ผลการทำรายละเอียดพื้นที่รอบสถานีตามแนวรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ทีมศึกษาจากญี่ปุ่นโดยองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า) มี 4 สถานีที่มีศักยภาพจะพัฒนาเมืองและเชิงพาณิชย์ได้

ปักหมุด 4 สถานีลุยมิกซ์ยูส

ประกอบด้วย 1.สถานีลพบุรี สร้างบนพื้นที่ใหม่เป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ห่างจากกรุงเทพฯ 120 กม. ใช้เวลาเดินทาง 45 นาที จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน 2.สถานีนครสวรรค์ ตั้งบนสถานีรถไฟเดิม เป็นที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ห่างจากกรุงเทพฯ 237 กม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 15 นาที จะใช้วิธีการจัดรูปที่ดิน

3.สถานีพิษณุโลก ตั้งอยู่ที่เดิม ห่างจากกรุงเทพฯ 380 กม. ใช้เวลาเดินทาง 2 ชั่วโมง จะใช้พื้นที่ของการรถไฟฯเป็นหลัก และ 4.สถานีเชียงใหม่ ตั้งบนที่เดิมเป็นที่ดินของการรถไฟฯ ห่างจากกรุงเทพฯ 673 กม. ใช้เวลาเดินทาง 3 ชั่วโมง 20 นาที

หลังจากนี้ไจก้าจะออกแบบผังแม่บทการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีทั้ง 4 แห่ง มีทั้งการพัฒนาเชิงพาณิชย์ ศูนย์การค้า ที่จอดรถ นิคมอุตสาหกรรม ที่อยู่อาศัยจะต้องร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) ด้วย ส่วนรูปแบบการลงทุนอาจจะตั้งบริษัทร่วมทุนรูปแบบนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ระยะเวลาการพัฒนาประมาณ 30+30 ปี ขึ้นอยู่กับขนาดการลงทุนของแต่ละสถานี

ธนารักษ์-เคหะเปิดหน้าดินรับ

แหล่งข่าวจากกรมธนารักษ์กล่าวว่าจากการสำรวจที่ราชพัสดุแนวรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ใน 7 จังหวัด มีที่ดินจะสามารถพัฒนาได้ 13 แปลง เนื้อที่ 23,205 ไร่ ได้แก่ จ.ลพบุรี 2,588 ไร่ นครสวรรค์ 9,505 ไร่ พิษณุโลก 9,320 ไร่ พิจิตร 156 ไร่ ลำพูน 160 ไร่ ลำปาง 1,008 ไร่ และเชียงใหม่ 468 ไร่

ขณะที่ กคช.มีที่ดินมีพื้นที่มากกว่า 5 ไร่ รัศมี 5 กม. จากสถานี 10 แปลง เนื้อที่ 136 ไร่ ได้แก่ ทุ่งสองห้อง 3 แปลง 45 ไร่ ห่างจากสถานีดอนเมือง 2.5-3.1 กม. สรงประภา 1 แปลง 25 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟดอนเมือง 2.8 กม. ลำปาง 3 แปลง 24 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟลำปาง 3-3.2 กม. เชียงใหม่บริเวณหนองหอย 3 แปลง 42 ไร่ ห่างจากสถานีรถไฟเชียงใหม่ 2.7-2.9 กม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/08/2016 3:48 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงค์โชว์ศักยภาพ เสนอตัวรับบริหารจัดการ ‘ไฮสปีดเทรน’ ทั้ง 4 เส้นทาง
โดย ฐานเศรษฐกิจ -
ออนไลน์เมื่อ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2559
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 36 ฉบับที่ 3,184 วันที่ 18 – 20 สิงหาคม พ.ศ. 2559

แอร์พอร์ตลิงค์ โชว์ศักยภาพบริหารจัดการและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้าเล็งเสนอร.ฟ.ท.ชงรัฐรับบริหารจัดการเดินรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทาง“สุเทพ” เผยวิศวกรและช่างเทคนิคกว่า 200 คนพร้อมต่อยอดโครงการได้ทันที “ประเสริฐ” เผยล่าสุดซ่อมบำรุงครั้งใหญ่และจัดซื้อ 7 ขบวนบอร์ดแอร์พอร์ตลิงค์ไฟเขียวแล้ว

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง รักษาการรองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ กลุ่มสายงานปฏิบัติการและซ่อมบำรุง บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงค์ เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่าจากการที่กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลเร่งผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทางนั้น ในฐานะผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ที่ความเร็วสูงสุด 160 กิโลเมตร/ชั่วโมง มานานกว่า 5 ปีแล้วนั้นมีวิศวกรและช่างเทคนิคที่มีประสบการณ์ด้านการซ่อมบำรุง ด้านจัดการเดินรถและด้านบริหารจัดการมากกว่า 200 คนจึงพร้อมเสนอตัวขอเข้าไปทำหน้าที่เดินรถ ซ่อมบำรุง และรับบริหารจัดการโครงการรถไฟความเร็วสูงทั้ง 4 เส้นทางตามที่รัฐบาลเร่งผลักดัน แม้ว่าใน 2 เส้นทางจะเป็นความร่วมมือระหว่างไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ก็ตาม แต่หากมองถึงโอกาสและความก้าวหน้าของการพัฒนาระบบรางของไทยในอนาคต เห็นว่าควรจะเปิดโอกาสให้วิศวกรและช่างเทคนิคไทยได้เข้าไปทำหน้าที่ตั้งแต่บัดนี้

ปัจจุบันแอร์พอร์ตลิงค์ ส่งวิศวกรและช่างเทคนิคเข้าร่วมฝึกอบรมกับจีนมาแล้วหลายรุ่น จำนวนกว่า 30 คน อีกทั้งยังเจรจากับเกาหลีใต้เพื่อจัดส่งวิศวกรและช่างเทคนิคเข้าร่วมฝึกอบรมอีกจำนวน 25 คน เป็นการอบรมในหลักสูตรการโอเปอเรชันโดยเฉพาะ ประกอบไปด้วยหลักสูตรการบริหารจัดการสถานีรถไฟความเร็วสูง หลักสูตรพนักงานขับรถไฟฟ้า และหลักสูตรพนักงานควบคุมรถไฟฟ้าความเร็วสูง พร้อมกับหลักสูตรการซ่อมบำรุงด้านล้อเลื่อนและระบบอาณัติสัญญาณ

“อยู่ระหว่างการเร่งจัดทำหลักสูตรนำเสนอผู้บริหารระดับสูงและรัฐบาลพิจารณา สำหรับพนักงานที่จัดส่งเข้ารับการอบรมทั้งหมดล้วนผ่านการทดสอบฝีมือในระดับขั้นต้นมาหลายหลักสูตรแล้ว พร้อมยกระดับฝีมือเข้าสู่ขั้นกลางและขั้นสูงได้ทันที ล่าสุดนั้นแอร์พอร์ตลิงค์ได้รับการรับรองมาตรฐานที่สามารถออกใบอนุญาตให้กับวิศวกรได้เลยทันที”

ทั้งนี้พนักงานที่ผ่านการอบรมในหลักสูตรความร่วมมือการพัฒนารถไฟไทย-จีนจำนวนกว่า 40 คน ล่าสุดอยู่ระหว่างการเจรจาความร่วมมือกับประเทศเกาหลีใต้อีกจำนวน 25 คน ซึ่งพนักงานที่จะจัดส่งไปฝึกอบรมที่ประเทศเกาหลีใต้นั้นล้วนอยู่ในระดับหัวหน้างานแทบทั้งสิ้น สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ให้กับพนักงานระดับล่างลงมาได้ทันที สามารถทำหน้าที่ให้กับแต่ละหลักสูตรในการจัดเทรนนิ่งได้อย่างมีประสิทธิภาพ

นายสุเทพยังกล่าวถึงความคืบหน้าการศึกษาข้อมูลด้านการศึกษาระบบอาณัติสัญญาณโดยได้รับความร่วมมือจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ว่าได้ส่งผลการศึกษาให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยเรียบร้อยแล้วเพื่อนำไปบรรจุไว้ในเงื่อนไขเอกสารประกวดราคาเพื่อดำเนินการจัดซื้อรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ทั้ง 7 ขบวนต่อไป

ด้านนายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รักษาการกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด กล่าวถึงความคืบหน้าแผนการซ่อมบำรุงครั้งใหญ่ของรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ว่าล่าสุดตามที่ได้มีการประกาศยกเลิกการประกวดราคาไปแล้วนั้นทางบริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด ได้นำเรื่องเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด)แอร์พอร์ตลิงค์อีกครั้งและผ่านการพิจารณาไปแล้ว

“หลังจากนี้จะเร่งคัดเลือกตัวผู้รับการซ่อมบำรุงให้ได้ตัวภายในเดือนกันยายนนี้ก่อนที่จะเร่งจัดซื้ออะไหล่มาดำเนินการซ่อมให้แล้วเสร็จตามแผนโดยจะต้องใช้ระยะเวลาดำเนินการประมาณ 6 เดือนคาดว่าประมาณเดือนมีนาคม-เมษายน 2560 จึงจะสามารถเริ่มการซ่อมครั้งใหญ่ได้ตามแผนให้แล้วเสร็จทั้ง 9 ขบวนต่อไปโดยใช้งบประมาณทั้งสิ้นจำนวน 290 ล้านบาท”
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 199, 200, 201 ... 542, 543, 544  Next
Page 200 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©