RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263068
ทั้งหมด:13574350
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 202, 203, 204 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 22/09/2016 10:00 am    Post subject: Reply with quote

เลื่อนตอกเสาเข็มรถไฟไทยจีนไปเดือนธ.ค.
ข่าวสด
วันที่ 21 กันยายน 2559 - 18:35 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว .คมนาคม เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการความร่วมการพัฒนารถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 14 ว่าที่ประชุมได้หารือเพื่อปรับแผนการก่อสร้างรถไฟไทยจีนใหม่ โดยจะเลื่อนระยะเวลาการเริ่มต้นก่อสร้างออกไปอีก3เดือน คือเลื่อนเป็นเดือนธ.ค. จากเดิมที่ผู้นำทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงร่วมกันว่าจะเริ่มได้ในเดือน ก.ย. นี้ เนื่องจากขณะนี้การออกแบบก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ทั้งนี้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้แจ้งให้นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีนรับทราบถึงเหตุผลของความล่าช้าแล้วในคราวที่เดินทางไปร่วมประชุมผู้นำ‘จี 20’ที่เมืองหางโจวช่วงก่อนหน้านี้

“ขณะนี้แบบก่อสร้างยังไม่เสร็จ เพราะต้องถอดแบบวัสดุ่ก่อสร้างจากมาตรฐานจีนเป็นไทยก่อนคาดว่าจะเสร็จไม่เกิน15ต.ค. จากนั้นจึงจะเสนอให้ครม.อนุมัติโครงการได้ในเดือนต.ค.เช่นกัน คาดว่าจะเปิดประมูลเฟสแรกระยะทาง 3.5 กม ช่วงกลางดง ได้ในเดือนพ.ย. และเริ่มก่อสร้างในเดือน ธ.ค. นี้”นายอาคม กล่าวและว่าสำหรับ มูลค่าโครงการโดยรวม เส้นทางกทม-โคราช ระยะทาง 252.5กม.ว่าขณะนี้ได้ข้อสรุปร่วมกันแล้วที่ 179,412.21 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามฝ่ายไทยได้ขอจ่ายค่าจ้างควบคุมงานและออกแบบก่อสร้างเป็นเงินบาท ขณะที่จีนขอให้จ่ายเป็นเงินหยวน คาดว่าจะหาข้อสรุปร่วมกันได้เร็วๆนี้ ส่วนความคืบหน้าในการกู้เงินจากรัฐบาลจีนเพื่อจ่ายค่าติดตั้งระบบอาณัติสัญญาน และซื้อตัวรถไฟจากจีนนั้น ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยกระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการต่อรองขอลดดอกเบี้ย หากได้อัตราที่ต่ำน่าพอใจอาจจะกู้เงินจากจีน แต่หากสูงก็อาจจะใช้เงินกู้ภายในประเทศแทน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/09/2016 12:44 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เลื่อนตอกเสาเข็มรถไฟไทยจีนไปเดือนธ.ค.
ข่าวสด
วันที่ 21 กันยายน 2559 - 18:35 น.

"ไทย-จีน"เจรจาลงตัว1.8แสนล้านไฮสปีดสายอีสาน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ 22 ก.ย. 2559 เวลา 07:30:36 น.

เคาะกรอบวงเงินไฮสปีดไทย-จีน "กทม.-โคราช" สร้าง 250 กม. ลงทุน 179,329 ล้าน ชงเข้า ครม. ก.ย.นี้ ประชุมครั้งที่ 14 ลงตัว จีนยอมปรับสเป็ก ลุยกู้เงิน 20% ซื้อขบวนรถ "อาคม" เข็นเฟสแรก 3.5 กม. ตอกเข็มสิ้นปี ทุ่ม 200 ล้าน เปิดหน้าดินสถานีกลางดง-ปางอโศก

นายพิชิต อัคราทิตย์ ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า มติที่ประชุมบอร์ด ร.ฟ.ท. วันที่ 13 ก.ย. 2559 ที่ผ่านมา ได้เห็นชอบกรอบวงเงินลงทุนโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กม. วงเงิน 179,000 ล้านบาท ขั้นตอนจากนี้ไปจะเสนอรายละเอียดทั้งหมดต่อนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อบรรจุเข้าวาระพิจารณาในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)

จีนยอมปรับสเป็กวัสดุก่อสร้าง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กรอบวงเงินที่บอร์ดรถไฟอนุมัติทั้งหมด 179,329 ล้านบาท ตามแผนจะเสนอขออนุมัติโครงการจาก ครม.ภายในเดือน ก.ย.นี้ อย่างไรก็ตาม ถึงขณะนี้ยังไม่มั่นใจว่าจะทันกำหนดเวลาหรือไม่ เนื่องจากต้องสอบถามความคิดเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ บอร์ดสภาพัฒน์ คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ฯลฯ เพื่อความรอบคอบในการดำเนินโครงการ

ทั้งนี้ วันที่ 19-21 ก.ย. 2559 มีประชุมคณะกรรมการร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 14 ติดตามความคืบหน้าโครงการ โดยที่ประชุมจะหยิบยกประเด็นสำคัญหลายเรื่องขึ้นพิจารณา อาทิ ข้อสรุปแบบรายละเอียดทั้งโครงการที่ฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบ ล่าสุด จีนยอมเปลี่ยนคุณสมบัติ (สเป็ก) วัสดุก่อสร้าง เช่น ปูนซีเมนต์ เหล็ก จากเดิมเป็นมาตรฐานจีนมาเป็นมาตรฐานสากลและของประเทศไทย เนื่องจากเป็นงานก่อสร้างที่ไทยเป็นผู้ลงทุนทั้งหมด จึงต้องให้ผู้รับเหมาและใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ ส่วนงานระบบและขบวนรถต้องใช้เทคโนโลยีของจีน เพราะเป็นความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)

ส่วนการก่อสร้างโครงการ ยังคงเป้าหมายเดิม เริ่มสร้างภายในปีนี้ แบ่งเป็น 4 ตอนคือ 1.สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. 2.ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. กำหนดส่งแบบรายก่อสร้างเดือน พ.ย.นี้ 3.แก่งคอย-นครราชสีมา 120 กม. ส่งแบบรายละเอียด ธ.ค.นี้ และ 4.กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119 กม. ส่งแบบรายละเอียด ก.พ. 2560

ย้ำเปิดประมูลสิ้นปีนี้

"จะเร่งเปิดประมูลช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศกเป็นลำดับแรกเพื่อเริ่มต้นโครงการขณะนี้จีนอยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด คาดว่าใช้เงินสร้าง 200 ล้านบาท ส่วนการเปิดประมูลยังไม่ระบุกำหนดชัดเจน แต่จะพยายามให้เริ่มได้ภายในสิ้นปี′59 ลักษณะจะเป็นงานสร้างคันดิน จะถมสูงจากระดับดินประมาณ 5-6 เมตร ยังไม่มีติดตั้งงานระบบ เพื่อเป็นสัญลักษณ์เริ่มโครงการ จากนั้นทยอยสร้างเฟสต่อไปซึ่งการดำเนินการจะอยู่ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งของไทย2558-2565"

แหล่งข่าวกล่าวว่าการบริหารโครงการ เบื้องต้นจะตั้งบริษัทลูกของการรถไฟฯขึ้นบริหาร เหมือนกับโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ โดยฝ่ายจีนจะให้คำแนะนำอย่างใกล้ชิดในการเดินรถและการซ่อมบำรุงของโครงการระหว่าง 3 ปีแรก หลังเปิดการเดินรถ

รายละเอียดความร่วมมือฉบับใหม่

ด้านนายอาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 2559 ครม.อนุมัติกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ฉบับใหม่ ที่เปลี่ยนแปลงไปจากฉบับเดิม ทั้งไทย-จีนให้ความสำคัญงานก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา และฝ่ายไทยมีสิทธิในโครงการโดยสมบูรณ์ อีกทั้งพยายามให้โครงการระยะแรกเริ่มก่อสร้างภายในเดือน ก.ย.นี้ แต่ขึ้นอยู่กับการดำเนินการและขั้นตอนทางกฎหมายภายในของ 2 ฝ่าย รวมทั้งความสมบูรณ์ของหลายปัจจัย เช่น การศึกษาความเหมาะสม การสำรวจ ออกแบบ รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) การขอความเห็นชอบจาก ครม. การเวนคืนที่ดินที่จำเป็น การลงนามสัญญา EPC แหล่งเงินลงทุน และการเตรียมการก่อสร้าง ฯลฯ

ขอ ม.44 ประมูลคู่ขนาน EIA

"จะเร่งให้จีนถอดแบบเฟสแรกให้แล้วเสร็จภายในเดือน ก.ย.นี้ จากนั้นประมูลหาผู้รับเหมาซึ่งใช้เวลา 2-3 เดือน การก่อสร้างพยายามให้อยู่ในปีนี้ หลังบอร์ดรถไฟอนุมัติกรอบวงเงิน เสนอ ครม.อนุมัติทันทีภายในเดือน ก.ย.นี้ และจะขอใช้มาตรา 44 คัดเลือกเอกชนระหว่างรอผลอีไอเอ แต่จะเซ็นสัญญาก่อสร้างได้ก็ต่อเมื่ออีไอเอผ่านแล้ว"

นายอาคมกล่าวว่า สำหรับร่างสัญญาการลงนามการจ้างงานเป็นรูปแบบ EPC แยกเป็น 2 สัญญา ประกอบด้วย 1.งานโครงสร้างโยธา (EPC 1) ใช้การจัดซื้อจัดจ้างของไทย 2.งานระบบและรถไฟฟ้าความเร็วสูง (EPC 2) ครอบคลุมงานราง งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (E&M) โดยฝ่ายจีนมอบอำนาจให้รัฐวิสาหกิจของจีนหรือรัฐวิสาหกิจที่มีประสบการณ์ด้านรถไฟความเร็วสูงเป็นคู่สัญญากับรัฐวิสาหกิจซึ่งขึ้นอยู่กับหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่ฝ่ายไทยเห็นชอบ

กู้จีน2-3 หมื่นล้านซื้อระบบ

ส่วนแหล่งเงินทุนของโครงการมาจากหลายแหล่ง ได้แก่ งบประมาณของรัฐบาลไทย เงินกู้ภายในประเทศ และแหล่งเงินกู้อื่นโดยหลักการรัฐบาลไทยจะระดมเงินทุนภายในประเทศสำหรับการดำเนินการโครงการในส่วนเนื้องานที่ไทยรับผิดชอบและพิจารณาเงินกู้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของสาธารณรัฐประชาชนจีน(CEXIM)เป็นเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน ที่ขณะนี้อยู่ระหว่างเจรจาต่อรอง ซึ่งฝ่ายไทยยืนยันขออัตราดอกเบี้ยพิเศษไม่เกิน 2%

"การกู้เงินจากแหล่งเงินกู้เพื่อก่อสร้างเฟสแรก 3.5 กม. คลังพิจารณาเงินงบประมาณหรือเงินกู้ในประเทศ ส่วนการกู้เงินจัดซื้อระบบอาณัติสัญญาณและขบวนรถจากจีน ไทยยืนยันกู้ในสกุลเงินดอลลาร์แทนหยวนที่จีนเสนอมา ซึ่งสัดส่วนกู้เงินคิดเป็น 15-20%ของกรอบวงเงินโครงการ หรือประมาณ 26,850-35,800 ล้านบาท" นายอาคมกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 27/09/2016 6:01 pm    Post subject: Reply with quote

ฟันธงราคาที่ดินพิษณุโลกพุ่งอีก 6 เท่า-รับรถไฟเร็วสูง ลุ้นข่าวดีสิ้นปีนี้
โดย MGR Online
27 กันยายน 2559 09:17 น. (แก้ไขล่าสุด 27 กันยายน 2559 09:35 น.)

พิษณุโลก - เถ้าแก่วงการอสังหาฯเมืองสองแคว จับมือก่อตั้ง “สมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก” บอกราคาที่ดินพุ่งก้าวกระโดดปีละ 20% ฟันธงรถไฟความเร็วสูง ทำเกิดจุดเปลี่ยน ราคาที่พุ่งพรวดอีก 6 เท่าตัวชัวร์ ลุ้นข่าวดีสิ้นปีนี้ ญี่ปุ่นเดินหน้าเช่าที่รอบสถานี 5 พันไร่

นายยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ นายกสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก/กรรมการผู้จัดการบริษัทในกลุ่มแอททรีคอนโดและอุปนายกสมาคม/ผู้ประกอบการบ้านจัดสรร-โรงแรม -วัสดุก่อสร้าง ร่วมกันแถลงข่าวเปิดตัวสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลกที่โรงแรมท็อปแลนด์ จ.พิษณุโลก วานนี้ (26 ก.ย.) เพื่อส่งเสริม สนับสนุนการประกอบการธุรกิจการค้าและการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และขับเคลื่อนเศรษฐกิจในจังหวัด สร้างงาน สร้างรายได้ องค์ความรู้ เทคโนโลยีแก่ผู้ประกอบการและเพิ่มมาตรฐานของที่อยู่อาศัยของคนในจังหวัดพิษณุโลก

นายกยศวัจน์ กล่าวว่า ผลพวงราคาที่ดินพุ่งนับตั้งแต่เกิดมหาวิทยาลัยนเรศวร จนกระทั่งมีห้างสรรพสินค้าใหญ่ทุกค่ายตามมาเปิดสาขา ส่งผลให้ตัวเมืองพิษณุโลกขยายตัวออกไป ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ได้รับการตอบรับที่ดี ณ วันนี้จึงได้ร่วมกันจัดตั้งสมาคมฯเพื่อผลักดันให้ภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเข็มแข็ง รองรับความเจริญที่จะตามมาภายใน 3 ปีต่อจากนี้

เพราะมั่นใจได้ว่า ในรัฐบาล คสช.รถไฟความเร็วสูง และรถไฟรางคู่ ย่อมเกิดขึ้นที่พิษณุโลกแน่ หลังจาก รมว.คมนาคม ได้ลงนามความร่วมมือศึกษารถไฟความเร็วสูง-ชินคันเซ็น ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ 6 สิงหาคมที่ผ่านมา ซึ่งถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนอีกครั้ง ที่จะทำให้ราคาที่ดินขยับ1-6 เท่า และส่งผลให้บ้านพัก-ที่อยู่อาศัยเพิ่มมากขึ้นอีก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2016 10:42 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่" เผยความคืบหน้ารถไฟไทย-มาเลย์ ยังแค่เจรจา ยันทำจริงแน่นอน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
27 กันยายน 2559 เวลา 19:05:35 น.


เมื่อวันที่ 27 ก.ย. 2559 เวลา 15.00 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี โดยชี้แจงถึงความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-มาเลเซียว่า ตอนนี้ยังคุยรายละเอียดกันอยู่ ซึ่งแผนการสร้างรถไฟไทย-มาเลย์เป็นแผนงานของรัฐบาลอยู่แล้ว แต่ต้องวางแผนงานให้ดีและรอบคอบก่อน พร้อมยืนยันว่าจะมีการลงทุนร่วมกันแน่นอน อาจจะติดปัญหาเรื่องเส้นทาง รวมทั้งเวนคืนที่ดินด้วย ซึ่งถ้าเราพร้อมก็จะต้องสร้างเลย แต่ก็ต้องถามเพื่อนบ้านรอบข้างด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2016 8:29 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นสนร่วมศึกษารถไฟความเร็วสูงกทม.-มาเลเซีย
โพสต์ทูเดย์
02 ตุลาคม 2559 เวลา 07:13 น.

ฟุ้งญี่ปุ่นสนใจไฮสปีดกรุงเทพ-ปาดังฯ
3 ตุลาคม 2559 เวลา - 00:00

"คมนาคม" ปลื้มญี่ปุ่น สนใจกลงทุนไฮสปีดเทรน กรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ พร้อมแจง “สมคิด” สั่ง ร.ฟ.ท. เร่งศึกษาเส้นทางให้แล้วเสร็จโดยเร็ว หวังเป็นได้ทางเชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์ ด้าน “ออมสิน” ระบุสภาพัฒน์เตรียมพิจารณาจัดซื้อรถอีวีบัส 5 ต.ค.นี้

นายออมสิน ชีวะพฤกษ์ รมช.คมนาคม เปิดเผยว่า นายอากิฮิโกะ อุชิคาวะ อัครราชทูตญี่ปุ่นฝ่ายเศรษฐกิจได้เข้าพบพร้อมสอบถามความคืบหน้า การดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด) สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ ของไทยอยู่ที่ขั้นตอนไหนแล้ว พร้อมทั้งแสดงความสนใจที่จะมาลงทุนในโครงการดังกล่าว

"ในฐานะที่เป็นผู้รับผิดชอบ จึงได้ชี้แจงไปว่า นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เร่งศึกษาเส้นทางดังกล่าวแล้ว โดยอยากให้เริ่มดำเนินการโดยเร็วที่สุด ดังนั้นหากถามว่ามีความเป็นไปได้หรือไม่ ที่จะให้ญี่ปุ่นมาลงทุนโครงการดังกล่าว ก็ต้องตอบว่าทุกอย่างเป็นไปได้หมด เพราะเวลานี้ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการอะไรเลย" นายออมสินกล่าว

นายออมสินกล่าวว่า ก่อนหน้านี้นายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ได้มีการหารือกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ชักชวนให้เร่งดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ เพื่อจะได้เชื่อมต่อเส้นทางการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯ กัวลาลัมเปอร์ และสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้การเดินทางจากปาดังเบซาร์ สู่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ต่อไปยังรัฐยะโฮร์บาห์รู และเชื่อมรถไฟต่อไปยังสิงคโปร์ได้สะดวกมากขึ้น

นอกจากนี้ ยังได้ถามถึงโครงการการจัดซื้อรถเมล์ไฟฟ้า และระบบไฮบริดว่าจะจัดซื้อเมื่อไหร่ อย่างไร ซึ่งก็ได้ชี้แจงไปว่าในส่วนของรถโดยสารใช้เชื้อเพลิงธรรมชาติ (เอ็นจีวี) ได้มีการลงนามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างไปแล้ว โดยจะจัดซื้อ 489 คัน ส่วนรถเมล์ไฟฟ้าที่ใช้แบตเตอรี่ภายในตัวรถ (อีวีบัส) มีโครงการนำร่องที่จะจัดซื้อ 200 คันก่อน

นายออมสินกล่าวด้วยว่า ขณะนี้ได้เสนอโครงการจัดซื้อรถอีวีบัส และการปรับปรุงรถเมล์เก่า 671 คัน ไปยังสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจแห่งชาติ หรือสภาพัฒน์แล้ว ซึ่งจะมีการพิจารณาในวันที่ 5 ต.ค.นี้ หากผ่านความเห็นชอบก็จะมีการเสนอเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.ต่อไป ทั้งนี้คาดว่าการดำเนินการทั้ง 2 ส่วนน่าจะสามารถดำเนินการได้ในปลายปีนี้ เพราะขณะนี้ได้เตรียมการในขั้นตอนการประกวดราคาไว้หมดแล้ว.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 03/10/2016 8:32 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ฟันธงราคาที่ดินพิษณุโลกพุ่งอีก 6 เท่า-รับรถไฟเร็วสูง ลุ้นข่าวดีสิ้นปีนี้
โดย MGR Online
27 กันยายน 2559 09:17 น. (แก้ไขล่าสุด 27 กันยายน 2559 09:35 น.)



“เจ้าสัวอนันต์” ฟันธง! อีก 3-6 เดือนอสังหาฯ ฟื้น ผู้ว่าฯ ยันญี่ปุ่นสนทำรถไฟเร็วสูงสายเหนือ
โดย MGR Online
30 กันยายน 2559 15:07 น. (แก้ไขล่าสุด 30 กันยายน 2559 20:32 น.)

พิษณุโลก - “อนันต์ อัศวโภคิน” เจ้าสัวแลนด์แอนด์เฮ้าส์ ขึ้นเวทีเสวนาอสังหาฯ เมืองสองแคว แนะหนทางรอดเถ้าแก่บ้านจัดสรร-คอนโดฯ บอกภาพรวมอีก 3-6 เดือนฟื้น เตือนต้องรู้จักบริหาร-ใช้คน อย่าบังคับลูกรับช่วงกิจการ ขณะที่ผู้ว่าฯ พิษณุโลกยืนยันญี่ปุ่นสนใจรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เชื่อมาแน่

วันนี้ (30 ก.ย.) นายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก เป็นประธานเปิดงานเสวนาเรื่อง “การพัฒนาอสังหาฯ ให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ยั่งยืน” ที่สมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลก จัดขึ้น ณ โรงแรมท็อปแลนด์พล่าซา อ.เมือง พิษณุโลก โดยนายยศวัจน์ รุ่งคณาวุฒิ นายกสมาคมฯ กรรมการผู้จัดการบริษัทในกลุ่มแอททรีคอนโดให้การต้อนรับ ท่ามกลางนักธุรกิจ ผู้ประกอบการบ้านจัดสรร โรงแรม ผู้ประกอบการค้าวัสดุก่อสร้าง ร่วมรับฟังจำนวนมาก

นายอนันต์ อัศวโภคิน ประธานกรรมการ และกรรมการผู้จัดการบริษัท แลนด์แอนด์เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ที่เดินทางมาขึ้นเวทีร่วมเสวนา ระบุว่า ปัญหาวงการบ้านจัดสรรก็คือขาดแคลนช่างฝีมือแรงงาน ซึ่งมักมีปัญหาตลอด เนื่องจากช่างฝีมืออยู่กับเจ้าของโครงการไม่นาน เพราะบ้านจัดสรรมีระยะสั้นๆ เพียง 2 ปีก่อนปิดโครงการ งานเป็นลักษณะฤดูกาล คนงานมักกลับบ้านเพื่อทำไร่ทำนา ดังนั้น ผู้รับเหมาคือคนสำคัญ เป็นคนช่วยทำมาหากินให้แก่เจ้าของโครงการ ไม่ควรไปจับผิดหรือตัดเงินเดือน

นายอนันต์ย้ำว่า การทำธุรกิจบ้านจัดสรรนั้น ที่ดิน หรือแลนด์แบงก์ แทบไม่มีความหมายเลย เป็นแค่ 20-30 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าโครงการ ฉะนั้นนักอสังหาริมทรัพย์ที่ดีไม่ควรเข้าหุ้นกับเจ้าของที่ดินเด็ดขาด ถือเป็นความคิดที่ผิด แต่สิ่งสำคัญคือ การบริหารบุคคล เนื่องจากเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ทำงานให้ผู้ประกอบการ และข้อสำคัญคือ อย่าเลย์ออฟคน หรือคีย์แมนระดับเงินเดือน 2 หมื่นขึ้น เนื่องจากเราต้องใช้เวลาฝึกหัดคนนาน ไม่เช่นนั้นงานทุกอย่างจะต้องเริ่มต้นใหม่ บริษัทจึงให้ความสำคัญต่อบุคลากรระดับผู้บริหาร เคยส่งคนไปศึกษาต่อไม่ต่ำกว่า 100 คนมาแล้ว

“ผมไม่ใช่คนเก่ง แต่ผมใช้คนเก่งให้เป็น และอย่าส่งต่องานโครงการ หรือธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ให้แก่ทายาทที่ไม่ชอบ ควรใช้คนนอกที่มีความชำนาญดีกว่า ไม่ควรบังคับหรือให้ลูกรับช่วงต่อ”

นายอนันต์เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวอีกว่า การก่อตั้งสมาคมอสังหาริมทรัพย์พิษณุโลกถือว่าเป็นประโยชน์ต่อสังคม เป็นแหล่งรวมแลกเปลี่ยนความรู้สามารถสร้างอำนาจต่อรองกับภาครัฐ และสร้างความเชื่อถือแก่ประชาชน ภาพรวมของตลาดอสังหาฯจังหวัดพิษณุโลกนั้น ในมุมมองตนเห็นว่า ตัวเมืองมีการขยายตัว ส่วนแนวคิดผู้ประกอบการและโครงการหมู่บ้านต่างๆ ถือว่าแทบไม่ได้ต่างจากกรุงเทพฯ บางโครงการอาจดีกว่ากรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ

“ทุกจังหวัดที่แลนด์แอนเฮ้าส์ไปลงทุนสร้างบ้านมักวางตลาดบน ราคาบ้านค่อนข้างสูง และยังทำให้ราคาตลาดของท้องถิ่นสูงตามไปด้วย ส่วนอสังหาฯ ตลาดบนของจังหวัดพิษณุโลกนั้นถือว่ามีแล้ว ราคาบางโครงการที่พิษณุโลกไม่ถูก อาจแพงกว่าบางทำเลในกรุงเทพฯ ด้วยซ้ำ แต่คุณภาพดีกว่ามาก และแลนด์แอนด์เฮ้าส์คงไม่ลงมาลงทุนที่พิษณุโลกเพราะมีผู้ประกอบการหลายรายอยู่แล้ว”

นายอนันต์ยังกล่าวอีกว่า แนวโน้มภาพรวมตลาดอสังหาริมทรัพย์ทั่วประเทศ อัตราเติบโตช้าลง เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจยังไม่ได้ แต่น่าจะเป็นชั่วคราว คาดว่า 3-6 เดือนนับจากนี้จะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้น โดยคาดว่า เศรษฐกิจปี 2560 จะทรงตัว หรือดีกว่าปีนี้

ด้านนายชูชาติ กีฬาแปง ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า ที่ผ่านมาตัวแทนองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (Japan International Cooperation Agency) หรือไจก้า ได้ทำหนังสือเชิญผู้ว่าฯ บางจังหวัด ให้ไปดูงาน ซึ่งตนได้ประสานงานให้หัวหน้าสำนักงานจังหวัดพิษณุโลก ไปดูเรื่องโครงการรถไฟความเร็วสูงถึง 1 สัปดาห์เต็มๆ

“ยืนยันว่าญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะร่วมลงทุนกับรัฐบาลไทย โดยเฉพาะรถไฟหัวกระสุน สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งเฟสแรกจะเป็นรถไฟสายกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนจะมาเมื่อใดนั้น ไม่แน่คาดว่าเร็วๆ นี้น่าจะมีข่าวดี”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 04/10/2016 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

ไฟเขียว EIA ไฮสปีดมุ่งพิษณุโลก "ไทย-ญี่ปุ่น" ร่วมทุน 2.3 แสนล.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
04 ตุลาคม 2559 เวลา08:00:55 น.


คณะกรรมการผู้ชำนาญการไฟเขียวไฮสปีดเทรน "กทม.-พิษณุโลก" เงินลงทุน 2.3 แสนล้าน รอบอร์ดสิ่งแวดล้อมเคาะ คาดอีก 1 เดือนได้รับอนุมัติ คมนาคมเร่งสรุปพื้นที่ทับซ้อน "บางซื่อ-ภาชี" เคลียร์วางรางจีน-ญี่ปุ่นสรุปมูลค่าโครงการ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ขณะนี้รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและญี่ปุ่น ได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) แล้ว รอเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) สิ่งแวดล้อมอนุมัติเร็ว ๆ นี้ คาดว่าจะได้รับการอนุมัติใน 1 เดือนนี้

"ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก มีพื้นที่ทับซ้อนรถไฟไทย-จีนช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีประมาณ 100 กม. หากอีไอเอผ่านเท่ากับรถไฟไทย-จีนจะได้รับการอนุมัติไปด้วย จะเหลือเฉพาะช่วงบ้านภาชี-โคราช ต้องรออีไอเอเท่านั้น ซึ่งทั้งไทย-จีน-ญี่ปุ่นต้องเร่งหาข้อสรุปโดยเร็วว่าจะใช้รางร่วมกันหรือแยกสร้างต่างหาก เพราะมีผลต่อมูลค่าลงทุนของทั้ง 2 โครงการ"

สำหรับรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีระยะทาง 673 กม. รูปแบบก่อสร้างเป็นโครงสร้างทางยกระดับ 396 กม. ระดับดิน 256 กม. และอุโมงค์ 31 กม. มีสถานีจอด 12 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และเชียงใหม่ จะใช้ระบบรถไฟชินคันเซน วิ่งความเร็วสูงสุด 300 กม./ชม. แบ่งก่อสร้าง 2 ระยะ จะเริ่มกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม.เป็นเฟสแรก จากนั้นจะเป็นช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทาง 293 กม.

ส่วนมูลค่าลงทุนอยู่ระหว่างไทยและญี่ปุ่นทำรายละเอียดร่วมกันจะสรุปภายในปีนี้ เนื่องจากยังมีวงเงินที่ต่างกันอยู่ ในผลการศึกษาเดิมของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ทั้งโครงการใช้เงินลงทุน 450,315 ล้านบาท โดยช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ 233,195 ล้านบาท ขณะที่ญี่ปุ่นคิดมูลค่าลงทุนทั้งโครงการ 546,744 ล้านบาท โดยช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อยู่ที่ 277,406 ล้านบาท โดยมีวงเงินต่างกัน 44,211 ล้านบาท เนื่องจากไทยคิดบนพื้นฐานใช้ทางวิ่งร่วมกับไทย-จีน แต่ญี่ปุ่นคิดแบบสร้างทางวิ่งเฉพาะ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/10/2016 6:27 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมคาดสรุปรถไฟเร็วสูงกท.-หัวหิน ต.ค.
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพุธที่ 12 ตุลาคม พ.ศ.2559 17:11 น.

การรถไฟ เสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน ให้ รมว.คมนาคม พิจารณา คาดสรุป ต.ค.นี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.50 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงิน 152,528 ล้านบาท และสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. กรอบวงเงิน 94,673.16 ล้านบาท ล่าสุด การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอโครงการมายังกระทรวงคมนาคมแล้ว และทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างประมวลข้อมูล พร้อมคาดว่าจะเสนอ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นชอบได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอไปยังสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) พิจารณาในปลายเดือน ต.ค.

ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ในส่วนของรายละเอียดของการพัฒนาที่ดินรอบสถานีที่ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมและการต่อเชื่อมกับสนามบินอู่ตะเภาของสายกรุงเทพฯ-ระยอง โดยโครงการจะเข้า PPP Fast Track มีขั้นตอนพิจารณาใน 60 วัน ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน ม.ค. 2560 จากนั้นจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 เพื่อเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 13/10/2016 9:53 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีด “กรุงเทพฯ-ระยอง” ต้องเฟ้นมืออาชีพพัฒนาที่ดินร่วมลงทุน
โดย MGR Online
12 ตุลาคม 2559 12:54 น. (แก้ไขล่าสุด 12 ตุลาคม 2559 13:04 น.)


“คมนาคม” เร่งสรุปรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน มูลค่ารวมกว่า 2.47 แสนล้าน คาดเสนอ สคร.ได้ใน ต.ค.นี้ เข้า PPP Fast Track ชง ครม.อนุมัติ ม.ค. 60 เดินหน้าเปิดประมูลเอกชนลงทุน 100% ยอมรับแนวกรุงเทพฯ-ระยอง พื้นที่รถไฟมีน้อย เอกชนต้องเป็นนักพัฒนาที่ดินมืออาชีพ สร้างเมืองใหม่เพิ่มมูลค่าพื้นที่รอบสถานี

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 193.50 กิโลเมตร (กม.) กรอบวงเงิน 152,528 ล้านบาท และสายกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 165 กม. กรอบวงเงิน 94,673.16 ล้านบาท ซึ่งจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) ในส่วนของรายละเอียดของการพัฒนาที่ดินรอบสถานีที่ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม และการต่อเชื่อมกับสนามบินอู่ตะเภาของสายกรุงเทพฯ-ระยอง มายังกระทรวงคมนาคมแล้ว และทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) อยู่ระหว่างประมวลข้อมูล คาดว่าจะเสนอนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เห็นชอบได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอไปยังสำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) และเสนอคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) พิจารณาในปลายเดือน ต.ค.

ทั้งนี้ โครงการจะเข้า PPP Fast Track มีขั้นตอนพิจารณาใน 60 วัน ซึ่งจะทำให้สามารถนำเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในเดือน ม.ค. 2560 จากนั้นจะมีการจัดตั้งคณะกรรมการมาตรา 35 แห่ง พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ 2556 เพื่อเข้าสู่กระบวนการประกวดราคาต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า ในการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยองนั้นมีผลตอบแทนทางการเงินไม่มาก แต่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจเนื่องจากพื้นที่ภาคตะวันออกมีศักยภาพสูง และเป็นส่วนหนึ่งของแผนงานโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ที่รัฐบาลผลักดัน โดยจะใช้รูปแบบร่วมทุนกับเอกชน (PPP) โดยให้สิทธิ์เอกชนในการลงทุนก่อสร้างและบริหารเดินรถ ร่วมลงทุนแบบ PPP 100% คล้ายๆ กับรูปแบบการลงทุนรถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีเหลือง และสายสีชมพู ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) โดยได้รับสิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ในสถานี พื้นที่รอบสถานี รายใดที่เสนอขอรับการสนับสนุนจากรัฐน้อยที่สุดจะเป็นผู้ได้รับการคัดเลือก

ทั้งนี้ ตลอดแนวเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-ระยอง การรถไฟฯ มีพื้นที่ในแต่ละสถานีไม่มากนัก และแนวเส้นทางอยู่นอกเขตเมือง เนื่องจากเดิมเส้นทางรถไฟสายตะวันออกถูกเน้นไปในการขนส่งสินค้ามากกว่าโดยสาร ดังนั้น การพัฒนาเพื่อนำรายได้จากเชิงพาณิชย์มาอุดหนุนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานอาจจะไม่คุ้มค่าและไม่จูงใจเอกชนมากนัก ซึ่งเอกชนที่จะเข้ามาร่วมลงทุนจะต้องมีความเชี่ยวชาญในการพัฒนาที่ดิน รวมถึงอาจจะต้องลงทุนจัดหาที่ดินเพิ่มเติมเพื่อให้เป็นแปลงใหญ่สามารถพัฒนาให้เกิดมูลค่าเพิ่มได้

โดยเส้นทางรถไฟช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง ระยะทาง 194 กม. การรถไฟฯ มีพื้นที่สามารถพัฒนาได้ 6 สถานี คือ ลาดกระบัง ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา ระยอง แบ่งเป็นพื้นที่พัฒนาภายในสถานีรวม 5,499 ตารางเมตร พื้นที่ย่านสถานี 162 ไร่ ประมาณการรายได้ 15,857 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 14/10/2016 9:52 am    Post subject: Reply with quote

จีนเล่นแง่สัญญาไฮสปีด “กทม.-โคราช” ไทยลั่นต้องไม่เสียเปรียบ
โดย MGR Online
14 ตุลาคม 2559 07:31 น. (แก้ไขล่าสุด 14 ตุลาคม 2559 08:20 น.)


“อาคม” เผยรถไฟไทย-จีนยังถอดแบบก่อสร้าง 3.5 กม.ไม่เสร็จ ส่วนร่างสัญญายังไม่ลงตัว แฉจีนเล่นแง่ยังไม่ใช้ กม.ไทย โดยเฉพาะเงื่อนไขความรับผิดในกรณีต่างๆ ลั่นไทยต้องไม่เสียเปรียบ เดินหน้าเจรจาตามกรอบตอกเข็มปลายปี 59

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้เตรียมนำเสนอโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กม. กรอบวงเงินโครงการ 179,412.21 ล้านบาท ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว โดยอยู่ในขั้นตอนการให้ความเห็นของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ซึ่งต้องรอว่า สศช.จะสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือไม่ ทั้งนี้ หลังจากโครงการได้รับอนุมัติจาก ครม.แล้ว ในการก่อสร้างตอนที่ 1 (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กม. จะต้องรอสรุปในเรื่องแบบก่อสร้าง ซึ่งขณะนี้ ฝ่ายเทคนิคของไทยอยู่ระหว่างถอดรหัสมาตรฐานวัสดุของจีนเป็นรหัสมาตรฐานวัสดุของไทยเพื่อกำหนดราคากลางในการประกวดราคา

รวมถึงการพิจารณาเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นั้นยังอยู่ในขั้นการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (คชก.) โดยในการประมูลจะทำคู่ขนานไปกับการพิจารณา EIA ตามมาตรา 44 โดยจะลงนามได้ต่อเมื่อได้รับอนุมัติ EIA ในขณะเดียวกันจะต้องเจรจาในรายละเอียดของร่างสัญญา Engineering Procurement and Construction (EPC) ที่จะมีการลงนามร่วมกัน โดยจะต้องเป็นสัญญาสากลที่การบังคับใช้ต้องเป็นไปตามกฎหมายของประเทศไทย ไทยต้องไม่เสียเปรียบ ซึ่งยังเจรจาไม่ได้ข้อยุติ

“ตัวร่างสัญญายังเป็นจีน ซึ่งยอมรับไม่ได้ โดยเฉพาะเงื่อนไขความรับผิด เช่น กรณีงานก่อสร้างล่าช้า ไทยจะต้องชดใช้ค่าเสียหายให้จีน เพราะจีนไม่สามารถเข้ามาติดตั้งรางซึ่งเป็นงานส่วนที่จีนรับผิดชอบได้ รวมถึงเจรจาเรื่องความรับผิดกรณีโครงการไม่สำเร็จจะต้องชดใช้ให้จีนเป็นตัวเงิน ตรงนี้จะต้องไม่มีเช่นกัน ขณะที่จีนอาจจะกังวลว่าจะไม่ได้เงินค่าออกแบบ อย่างไรก็ตาม ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือกับประธานาธิบดีจีน เป้าหมายในการเริ่มต้นโครงการภายในปลายปี 2559 ยังคงเป็นเป้าหมายเหมือนเดิม เพื่อกำหนดกรอบเวลาในการทำงาน แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ สามารถที่จะปรับตารางกันใหม่ได้”

โดยเบื้องต้นได้กำหนดการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 15 ช่วงวันที่ 26 ต.ค.นี้ ที่จังหวัดนครราชสีมา โดยจะพยายามหาข้อสรุปในเรื่องแบบก่อสร้าง ราคากลาง และร่างสัญญา

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า การก่อสร้างงานโยธา ไทยจะลงทุน 100% โดยประเมินค่าก่อสร้าง ตอนแรกระยะทาง 3.5 กม. ในส่วนของการก่อสร้างคันดินฐานรากไว้ที่ประมาณ 200 ล้านบาทเศษ ซึ่งคณะทำงานไทย-จีนยังเจรจาในด้านเทคนิคต่างๆ และการถอดแบบก่อสร้างของจีนมาเป็นเงื่อนไขและระเบียบของไทยไม่เรียบร้อย ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมความพร้อมในการจัดทำเอกสารประกวดราคาในบางส่วนไว้บ้างแล้ว คาดว่าหลัง ครม.อนุมัติโครงการจะสามารถเปิดประกวดราคาได้ภายใน 1 เดือน โดยคาดว่าจะสามารถเริ่มต้นการก่อสร้างระยะทาง 3.5 กม.ได้ภายในเดือน ธ.ค. 2559 ตามเป้าหมาย
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 202, 203, 204 ... 545, 546, 547  Next
Page 203 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©