RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264075
ทั้งหมด:13575358
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 206, 207, 208 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2017 7:22 pm    Post subject: Reply with quote

สั่งคลอดรถไฟความเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 ม.ค. 2560 07:15

นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (คณะกรรมการพีพีพี) ที่มีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาโครงการที่จะนำมาเข้าตามมาตรการพีพีพีฟาสต์แทร็คในปี 2560 หลังจากที่ในปี 2559 ที่ผ่านมาสามารถลดระยะเวลาดำเนินโครงการลงจาก 2 ปีเหลือ 9 เดือน ทั้งนี้มีโครงการที่อยู่ในแผนยุทธศาสตร์พีพีพี 5 ปี วงเงิน 1.6 ล้านล้านบาทนั้น มีโครงการที่จะดำเนินการในปี 2560 จำนวน 7 โครงการ วงเงิน 712,000 ล้านบาท ซึ่งที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปคัดเลือกโครงการที่จะนำมาเข้าพีพีพีฟาสต์แทร็ค รวมทั้งเสนอระยะเวลาการดำเนินโครงการที่คัดเลือกมาให้เป็นไปตามกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการภายใต้มาตรการพีพีพีฟาสต์แทร็ค และให้นำมาเสนอให้ที่ประชุมพิจารณาภายในวันที่ 31 ม.ค.นี้

สำหรับ 7 โครงการตามแผนยุทธศาสตร์พีพีพีที่จะดำเนินการในปี 2560 ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันออกช่วงศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย-มีนบุรี, โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มส่วนตะวันตก ช่วงตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม แห่งประเทศไทย, โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงช่วงเตาปูน-วงแหวนกาญจนาภิเษก, โครงการเพิ่มบทบาทภาคเอกชนในการเดินรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ, โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-ระยอง, โครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-หัวหิน และโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองสายนครปฐม-ชะอำ

ขณะเดียวกัน คณะกรรมการพีพีพียังได้รับทราบความคืบหน้าโครงการพีพีพีฟาสต์แทร็ค 3 โครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 200,000 ล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง ที่อยู่ระหว่างการคัดเลือกบริษัทเอกชน โดยจะคัดเลือกบริษัทเอกชนแล้วเสร็จภายในเดือน ก.พ.นี้ สำหรับอีก 1 โครงการคือ รถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินช่วงหัวลำโพง-บางแค และช่วงบางซื่อ-ท่าพระ จะคัดเลือกเอกชนและร่างสัญญาให้ สคร.และอัยการสูงสุดพิจารณาให้เสร็จภายในสิ้นเดือน ม.ค.นี้

สำหรับโครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง 2 โครงการคือ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และสายบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ก่อนหน้านี้มีข้อติดขัดเรื่องการเวนคืนที่ดินนั้น ล่าสุดกฤษฎีกาได้ตอบแล้วว่าสามารถให้เอกชนร่วมทุนได้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 2:19 am    Post subject: Reply with quote

จีนมีปัญหาถอดแบบก่อสร้างรถไฟไทยจีน ช่วง 3.5 กม. “อาคม” อ้ำอึ้ง เลื่อนตอกเสาเข็มเดือนมี.ค.
ข่าวสด
วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2560 - 21:23 น.


นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงผลการประชุมร่างสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ว่า ได้ติดตามความคืบหน้า แบบก่อสร้างระยะแรก 3.5 กิโลเมตร เส้นทางกลางดง-ปางอโศกซึ่งเป็นการก่อสร้างช่วงแรก และการจัดร่างสัญญา 3 ฉบับ กับทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเร่งรัดเสนอโครงการให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ

ทั้งนี้ พบว่าแบบก่อสร้าง 3.5 ก.ม. ยังติดปัญหาเรื่องการถอดแบบมาตรฐานจากจีนมาเป็นมาตรฐานไทยหรือมาตรฐานสากล เพราะจีนไม่สามารถคำนวณถอดแบบเองได้ ทำให้จีนต้องจ้างผู้เชี่ยวชาญชาวไทยทำการถอดแบบแทน ขณะที่ร่างสัญญายังจัดทำไม่แล้วเสร็จขาดรายละเอียดอีกมาก โดยไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้ข้อสรุปเมื่อใด แต่จะต้องให้เสร็จก่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน รอบต่อไปครั้งที่ 17 เพราะต้องเร่งรัดให้มีการเริ่มการก่อสร้างให้ทันตามเป้าหมายเดินในเดือน มี.ค.

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า อุปสรรคส่วนใหญ่ของโครงการรถไฟไทย-จีน ได้รับการแก้ไขไปหมดแล้ว ยกเว้น 2 ประเด็นคือ 1. จีนไม่สามารถจัดทำเอกสารต่างๆ ให้สอดคล้องกับกฎหมายไทย เช่น เรื่องบุคลากร ประเด็นจะส่งผลให้กระทรวงการคลังไม่สามารถอนุมัติวงเงินมาใช้ในโครงการได้ และ 2. ฝ่ายจีนไม่สามารถแปลงมาตรฐานก่อสร้างจีนเป็นมาตรฐานไทยหรือสากล ทำให้ผู้รับเหมาชาวไทยไม่สามารถใช้รหัสดังกล่าวในก่อสร้างได้

รายงานข่าวระบุว่า จีนได้ส่งแบบก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 3.5 กิโลเมตร เส้นทางกลางดง-ปางอโศก ให้ฝ่ายไทยตั้งแต่เดือน ส.ค. ปีที่แล้ว จากนั้นมีการปรับแบบเล็กน้อยและแล้วเสร็จ 2-3 เดือนหลังจากนั้น ขณะเดียวกันฝ่ายจีนได้ส่งแบบตอนที่ 2 ระยะทาง 11 กิโลเมตร เส้นทางปากช่อง-คลองขนานจิตร์ ตั้งแต่เดือน พ.ย. ที่ผ่านมา

โดยขณะนี้ถือว่าการออกแบก่อสร้างคืบหน้ามากกว่า 90% และ รฟท. ได้จ้างที่ปรึกษาเพื่อตรวจสอบแบบก่อสร้างของจีนแล้ว ส่วนที่เหลืออีก 10% คือปัญหาในการแปลงรหัสก่อสร้างเป็นมาตรฐานไทยเท่านั้น

นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ผู้ว่าฯรฟท. กล่าวว่า ฝ่ายจีนต้องรับผิดชอบจัดหาผู้เชี่ยวชาญไทยมาถอดแบบก่อสร้างเอง คาดว่าจะใช้เวลาไม่มาก โดย รฟท.จะยังคงเป้าหมายเวลาเริ่มตอกเสาเข็มตามเป้าหมายเดิมของรัฐบาล คือในเดือนมี.ค.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ยังไม่ทราบเรื่องที่ฝ่ายจีนมีปัญหาถอดแบบก่อสร้าง โดยจะต้องรอให้ฝ่ายเลขาที่ประชุมรายงานมาก่อน และขอดูรายละเอียดก่อน ขณะนี้ยังตอบไม่ได้ว่าปัญหานี้จะส่งผลกระทบกับแผนตอกเสาเข็มในเดือน มี.ค. นี้หรือไม่ ส่วนการกำหนดการประชุมคณะกรรมการร่วมไทยจีน ครั้งที่ 17 ณ กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน นั้นขณะนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปเรื่องวันที่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 10:34 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงไทยจีนส่อสะดุด ติดปมข้อกฎหมาย-แบบก่อสร้างไม่สากล
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
2 กุมภาพันธ์ 2560 07:15

หวั่นโครงการรถไฟไทย-จีน มูลค่า 1.7 แสนล้านบาทสะดุด! ติดปัญหาด้านกฎหมาย-แบบก่อสร้างที่เสนอมาไม่ได้มาตรฐานสากล ด้านคมนาคมเสียงแข็งจ้างเอกชนไทยแกะแบบก่อสร้าง ยืนยันเดือน มี.ค.นี้ตอกเสาเข็มตามเป้าหมายเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 12:41 pm    Post subject: Reply with quote

"เกาหลีใต้สนประมูล "ไฮสปีด" ระยอง
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
1 กุมภาพันธ์ 2560 17:49 น.

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ ระบุ บริษัทจากเกาหลีใต้สนใจร่วมทุนกับบริษัทไทยเพื่อเข้าประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งรูปแบบการลงทุนจะเป็นลักษณะรัฐร่วมทุนกับเอกชน หรือพีพีพี โดยกระทรวงฯจะเสนอให้คณะกรรมการพีพีพีพิจารณาภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ และจะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนในช่วงเดือนมีนาคม หรือเดือนเมษายน 2560"
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/02/2017 11:15 pm    Post subject: Reply with quote

‘ไกร ตั้งสง่า’ ส่งจ.ม.เปิดผนึกถึง’นายกฯ’ ค้านค่าออกแบบรถไฟไทย-จีนแพงเว่อร์หมื่นล้าน
มติชน
2 กุมภาพันธ์ 2560

เมื่อวันที่ 2 ก.พ. นายไกร ตั้งสง่า กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกมีข้อความถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระบุว่า ขอคัดค้านค่าออกแบบโครงการถไฟไทยจีนแพงเว่อร์ 10,000 ล้าน มีรายละเอียดดังนี้

กราบเรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี เรื่อง โครงการรถไฟฟ้าไทยจีน เนื่องจากโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ที่รัฐบาลจะมอบหมายให้จีนเป็นผู้ดำเนินการออกแบบและโดยการใช้ ม.44 ในการยกเว้นใบอนุญาตนิติบุคคลซึ่งบริษัทวิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาจีน จะไม่ถูกบังคับใช้ตาม พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ร.บ.วิศวกร ทำให้บริษัทจีนสามารถออกแบบได้เลย โดยมีเอกสิทธิ์คุ้มครองจาก ม.44 ในเรื่องดังกล่าวผมไม่เห็นด้วยกับวิธีการปฏิบัติการดำเนินงานโครงการดังกล่าวเพราะ

1. การใช้มาตรา 44 เป็นการก้าวล่วงการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุม ตาม พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543 พ.ร.บ. วิศวกร พ.ศ.2542 ที่นิติบุคคลและบุคคลที่มาประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุมต้องมีใบอนุญาตการประกอบวิชาชีพ สถาปัตยกรรมควบคุมวิศวกรรมควบคุม

2. การประกอบวิชาชีพวิศวกรรมโยธา ถือเป็นอาชีพสงวนไว้สำหรับคนไทย ตาม พ.ร.บ. ที่กำหนดไว้เกี่ยวข้องกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบวิจัย วางโครงการ ทดสอบ ควบคุมการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ เป็นที่ปรึกษา

เช่นเดียวกันงาน สถาปัตยกรรม การประกอบวิชาชีพสถาปนิก เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทย ที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำเป็นที่ปรึกษา

3.กระทรวงคมนาคมโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะเจ้าของงาน จำเป็นต้องออก ข้อกำหนด Outlined Design and Outlined Specifications เพื่อให้เจ้าของงานสามารถกำหนดมาตรฐานในการออกแบบ รวมทั้งวัสดุในการก่อสร้าง ให้มีคุณภาพตามมาตรฐานสากล มิใช่ให้วิศวกรที่ปรึกษาจีนเป็นคนออก specifications เสียเอง

4. งานออกแบบอาคารสถาปัตยกรรมเช่นสถานีรถไฟซึ่งเกี่ยวข้องกับ ศิลปวัฒนธรรมของคนในท้องถิ่น ต้องให้สถาปนิกไทยเป็นผู้ออกแบบเท่านั้น

5. ค่าบริการวิชาชีพ งานออกแบบ 10,000 ล้านบาท ที่บริษัทที่ปรึกษาจีนรับไปดำเนินการออกแบบ ซึ่งเป็นราคาที่สูงมาก และงานออกแบบมากกว่า 90% เป็นงานที่วิศวกรสถาปนิกไทยทำได้ แต่ทำไมให้จีนเป็นผู้ปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิศวกรรมฝ่ายเดียว

6. การประกันผลงานและการรับรองคุณภาพในการออกแบบเป็นสิ่งที่ยากสำหรับวิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาจีนจะพึงกระทำได้ และรัฐบาลไทยกำลังรับความเสี่ยงความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนคนไทย แทนที่จะเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายจีน

7. เงินในการลงทุนเป็นเงินจากรัฐบาลไทย ผู้เป็นเจ้าของโครงการนี้ เป็นเงินจากภาษีอากรของคนไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศ การใช้จ่ายเงินต้องคำนึงถึงความคุ้มค่าต่อเศรษฐกิจไทย คำนึงถึงการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจที่คืนมาให้กับคนไทยให้มากที่สุด การที่ให้วิศวกรสถาปนิกที่ปรึกษาจีนเป็นผู้ออกแบบ ย่อมไม่เป็นสิ่งที่เป็นผลดีกับการพัฒนาวิชาชีพสถาปนิกวิศวกรไทย และเป็นการทำลายวิชาชีพสถาปัตยกรรมและวิชาชีพวิศวกรรมเป็นการทำให้สถาปนิกไทยวิศวกรไทยอ่อนแอ

การให้วิศวกรที่ปรึกษาจีน ได้จัดทำข้อกำหนด Specifications หมายถึงจีนได้กำหนดมาตรฐานวัสดุต่างๆ อันนำเข้ามาจากจีนเป็นการไม่สนับสนุนอุตสาหกรรมภายในประเทศไทยที่มีวัสดุก่อสร้างที่มีคุณภาพสูง

ผมเห็นด้วยกับโครงการนี้ แต่ไม่เห็นด้วยกับกระบวนการและวิธีการปฏิบัติอันไม่ถูกต้อง โครงการนี้ต้องสนับสนุนให้คนไทยได้มีโอกาส สร้างงานให้คนไทยพร้อมกับให้การพัฒนาวิชาชีพสถาปนิกวิศวกรและสร้างอุตสาหกรรมก่อสร้างไทยในประเทศให้เข้มแข็งอย่างยังยืน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา

ด้วยความเคารพอย่างสูง
__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/02/2017 5:15 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงจีนสะดุด ติงคนไทยได้ประโยชน์แค่นั่ง
โพสต์ทูเดย์ 4 กุมภาพันธ์ 2560
สถาปนิกคัดค้านเพราะค่าออกแบบโครงการรถไฟสายกรุงเทพฯ-โคราชสูงถึง 10,000 ล้านบาท

//------------

ถ้าเรื่องที่ลงโพสต์ทูเดย์ รู้ถึงโปลิตบูโร ผ่าน สำนักข่าวซินหัว ก็คงได้รับคำสั่งจากปูลิตบูโรให้เร่ง โฆษณาชวนเชื่อ เพื่อ อัด สมาคมสถาปนิกสยาม แน่นอน -

ถ้าอยากจะพัฒนาจริงก็ โปรดเข้านิคมอุตสาหกรรมใกล้ทางรถไฟที่ การนิคมอุตสาหกรรมเสนอให้ ก็ได้ หรือไม่ก็ร่วมกะ นักลงทุนไทยพัฒนาที่ดินริมทางรถไฟ จะไปได้สวยกว่า

ถ้าอยากจะอพยพคนงานมาตั้งรกรากในไทยจริงๆ ก็ต้องทำตามเงื่อนไขที่รัฐบาลไทยกำหนดเท่านั้น อย่าริอ่าน ใช้กฏหมายจีนมาย่ำยีกฏหมายไทยเป็นอันขาด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2017 3:53 am    Post subject: Reply with quote

ปัดม.44ทำรถไฟไทย-จีน ยันทุกขั้นตอนใช้กม.ปกติ
โดย ผู้จัดการรายวัน
5 กุมภาพันธ์ 2560 22:07 น. (แก้ไขล่าสุด 6 กุมภาพันธ์ 2560 00:38 น.)
โฆษกปัดข่าวรัฐบาลใช้ ม.44 เดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
โดย MGR Online
5 กุมภาพันธ์ 2560 13:27 น.

รบ.ยันใช้ กม.ปกติโครงการรถไฟไทย-จีน เร่งทำตามแผนที่กำหนด โวยมีบิดเบือน
โดย MGR Online
5 กุมภาพันธ์ 2560 13:01 น. (แก้ไขล่าสุด 5 กุมภาพันธ์ 2560 14:06 น.)


โฆษกรัฐบาลแจง โครงการรถไฟไทย-จีนใช้กฎหมายปกติดำเนินงาน ไม่ใช่ใช้ ม.44 ตามที่มีกลุ่มบุคคลพยายามบิดเบือน ย้ำเดินหน้าทุกขั้นตอนอย่างรอบคอบ คุ้มค่า ยันเร่งรัดทำงานตามแผนที่กำหนดไว้

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่มีกลุ่มบุคคล แสดงความเห็นอ้างว่านายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตาม มาตรา 44 ยกเว้นใบอนุญาตนิติบุคคลให้กับบริษัทของจีน ที่ออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ส่งผลให้ฝ่ายจีนสามารถออกแบบได้เลย ว่า เรื่องดังกล่าวไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีการใช้ ม.44 มาดำเนินการในเรื่องนี้

"โครงการรถไฟไทย-จีน ใช้กฎหมายปกติดำเนินการ โดยฝ่ายจีนยังคงต้องขอรับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ.2542 และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ.2543 และเนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีขั้นสูงที่ยังไม่เคยมีในประเทศไทย ดังนั้นในขั้นตอนการออกแบบจึงต้องใช้วิศวกรจีน โดยมีคณะทำงานจากการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมกำหนดรายละเอียดให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล นอกจากนี้ ฝ่ายไทยยังได้ส่งแบบสถาปัตยกรรมสถานี ที่ สนง.นโยบายและแผนการขนส่งและจราจรได้เคยศึกษาในโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม-นครราชสีมา ซึ่งออกแบบโดยสถาปนิกไทย ให้แก่ทางจีนเป็นต้นแบบด้วย"

ทั้งนี้ วงเงินค่าออกแบบโครงการรถไฟไทย-จีน เบื้องต้นเป็นจำนวน 1,779.97 ล้านบาท ไม่ใช่ 10,000 ล้าน ตามที่มีการ กล่าวอ้าง ส่วนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการออกแบบเพื่อก่อสร้างนั้น ผู้ที่รับรองการออกแบบของฝ่ายจีน จะต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกร และสภาสถาปนิกไทย ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพทั้งสองกำหนดไว้ ดังนั้น ความเห็นของกลุ่มบุคคลดังกล่าว เรื่องการใช้ ม.44 ทำลายโอกาสการสร้างงานให้กับคนไทย และความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยหากออกแบบโดยบริษัทจีน จึงเป็นการกล่าวอ้างที่บิดเบือนเกินความจริง"

"ท่านนายกฯ ติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้มาโดยตลอด และกำชับให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดดำเนินการในขั้นตอนต่างๆ โดยให้ความสำคัญกับประโยชน์ของฝ่ายไทยมากที่สุด และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล รวมถึงเน้นย้ำไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด"

ส่วนการใช้อำนาจตาม ม.44 นั้น นายกฯจะใช้เฉพาะกับเรื่องที่จำเป็น เช่น เร่งรัดคดีทุจริตให้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม หรือเรื่องที่มีความซับซ้อนในด้านกฎหมาย หากล่าช้าจะเกิดความเสียหาย เป็นต้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจากโครงการรถไฟไทย-จีน เป็นโครงการที่ใช้งบประมาณสูง และมีรายละเอียดด้านเทคนิคค่อนข้างมาก จึงต้องทำงานอย่างรอบคอบ และคำนึงถึงความคุ้มค่าให้มากที่สุด ซึ่งอาจใช้เวลาอยู่บ้าง

ส่วนเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยในการออกแบบเพื่อก่อสร้างนั้น ผู้ที่รับรองการออกแบบของฝ่ายจีนจะต้องได้รับใบอนุญาตจากสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทย ซึ่งจะต้องมีคุณสมบัติครบถ้วนตามที่สภาวิชาชีพทั้งสองกำหนดไว้ ดังนั้น ความเห็นของกลุ่มบุคคล เรื่องการใช้มาตรา 44 ทำลายโอกาสการสร้างงานให้กับคนไทย และความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยหากออกแบบโดยบริษัทจีน จึงเป็นการกล่าวอ้างที่บิดเบือนเกินความจริง ซึ่งนายกรัฐมนตรี ติดตามความคืบหน้าเรื่องนี้มาโดยตลอด และกำชับให้กระทรวงคมนาคม เร่งรัดดำเนินการในขั้นตอนต่าง ๆ โดยให้ความสำคัญกับประโยชน์ของฝ่ายไทยมากที่สุด และสอดคล้องกับมาตรฐานระดับสากล รวมถึงเน้นย้ำไม่ให้มีการทุจริตเกิดขึ้นอย่างเด็ดขาด

สำหรับเรื่องร่างสัญญาความร่วมมือไทย-จีนนั้น อยู่ระหว่างการหารือ เพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน เช่น บุคลากรจีนที่จะเข้ามาทำงานในไทยต้องยึดกฎหมายไทย เป็นต้น ทั้งนี้ ทางการรถไฟฯ ยืนยันว่า จะเร่งรัดดำเนินการให้ได้ตามแผนที่วางไว้ เช่น การตอกเสาเข็มเริ่มโครงการภายใน 2-3 เดือน ข้างหน้านี้[/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2017 3:55 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง

นพ นรนารถ, ตะวันออกที่ท่าพระอาทิตย์
5 กุมภาพันธ์ 2560 20:40 น.



โครงการรถไฟไทย-จีน เป็นข่าวขึ้นมาอีกครั้ง เมื่อนายไกร ตั้งสง่า กรรมการวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ส่งจดหมายเปิดผนึกถึงพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คัดค้านการที่นายกรัฐมนตรีจะใช้มาตรา 44 ยกเว้นการบังคับใช้ พ.ร.บ.สถาปนิก 2543 และ พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2542 กับบริษัทจีน ซึ่งเป็นผู้ออกแบบ

เรื่องนี้ถูกปฏิเสธในเวลาต่อมา โดย พลโทสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกรัฐบาล ว่า ไม่เป็นความจริง ไม่มีการใช้มาตรา 44 เพื่อให้บริษัทจีนซึ่งไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรเป็นผู้ออกแบบได้เลย ฝ่ายจีนยังคงต้องขอรับใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.วิศวกร พ.ศ. 2543 และ พ.ร.บ.สถาปนิก พ.ศ. 2542

ส่วนการที่ต้องใช้วิศวกรจีนเป็นผู้ออกแบบ เนื่องจากเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง เป็นเทคโนโลยีที่ไทยไม่มี และวงเงินค่าออกแบบเบื้องต้นมีจำนวน 1,779 ล้านบาท ไม่ใช่ 10,000 ล้านบาท อย่างที่เป็นข่าว

โครงการรถไฟไทย-จีนนี้ นับว่ามีความไม่ชัดเจน มีความไม่แน่นอนมาโดยตลอดนับตั้งแต่รัฐบาล คสช.ประกาศว่า จะทำโครงการนี้หลังการยึดอำนาจไม่นาน โดยมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนเมื่อปลายปี 2557

ไม่ชัดเจนตั้งแต่เรื่องของรถไฟว่า จะเป็นรถไฟความเร็วสูง วิ่งเร็วกว่า 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หรือเป็นรถไฟเร็วปานกลาง 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จะเป็นรถไฟขนผู้โดยสารหรือบรรทุกสินค้า หรือว่าทั้งสองอย่าง รวมทั้งสิทธิประโยชน์ที่จีนต้องการ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การขอกรรมสิทธิ์ในพื้นที่สองข้างทางรถไฟ ซึ่งไม่เป็นความจริง แต่ก็ถูกหยิบยกมาอ้างถึงอยู่บ่อยครั้ง

ส่วนความไม่แน่นอนก็คือ เรื่องของเส้นทางที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา จากเดิมตอนประกาศว่าจะทำโครงการก่อสร้างทางรถไฟจากกรุงเทพฯ ไปถึงหนองคาย เชื่อมต่อกับรถไฟลาว-จีน และจากกรุงเทพฯ ไปมาบตาพุด ต่อมาก็ลดลงเหลือเพียงเส้นทางเดียว และสั้นลงกว่าเดิมคือ จากกรุงเทพฯ ไปถึงแค่จังหวัดนครราชสีมาระยะทางเพียง 250 กิโลเมตรเท่านั้น และจากเดิมที่จะมีการตั้งบริษัทร่วมไทย-จีนเป็นผู้ลงทุน และบริหารโครงการ ก็กลายเป็นโครงการที่ฝ่ายไทยลงทุนเอง 100% แต่ใช้เทคโนโลยีจีน และจ้างบริษัทจีนเป็นผู้ก่อสร้าง

สองปีกว่านับจากการลงนามเอ็มโอยูไทย-จีน สถานะปัจจุบันของโครงการรถไฟไทย-จีน ยังเป็นลูกผีลูกคน กำหนดการเริ่มก่อสร้างที่เลื่อนแล้วเลื่อนอีก ยังคงเลื่อนออกไปเรื่อยๆ

ล่าสุด หลังจากประชุมคณะกรรมการร่วมทั้งสองฝ่ายมา 16 ครั้ง มีปัญหาใหม่เกิดขึ้นคือ แบบก่อสร้างโครงการระยะแรกเส้นทางกลางดง-ปางอโศก ความยาว 3.5 กิโลเมตร ฝ่ายจีนออกแบบโดยส่งมาให้ฝ่ายไทยดู ฝ่ายไทยดูไม่รู้เรื่อง เพราะอ่านภาษาจีนไม่ออก และถอดแบบไม่ได้ เพราะใช้มาตรฐานจีนไม่ใช้มาตรฐานไทย หรือมาตรฐานสากล ต้องส่งแบบกลับไปใหม่

กำหนดการก่อสร้างที่วางไว้ว่า จะลงมือกันในเดือนมีนาคมนี้ ก็คงจะต้องเลื่อนออกไปอีก หลังจากเลื่อนมาแล้วหลายๆ ครั้ง

ระหว่างไทยกับจีน โครงการนี้มีความสำคัญและเป็นความต้องการของจีนมากกว่าไทย เพราะเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road หรือหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทางของจีน ที่จะสร้างเครือข่ายคมนาคม เปิดประตูด้านทิศใต้เชื่อมต่อกับประเทศกลุ่มอาเซียน

เป็นทั้งยุทธศาสตร์ความมั่นคง และยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจ

ประเทศไทยเป็นจุดเชื่อมต่อสำคัญเพราะอยู่ตรงกลาง จะลงไปถึงมาเลเซีย สิงคโปร์ได้ต้องผ่านไทย ถ้าโครงการรถไฟไทย-จีนไม่เกิด หรือมีเส้นทางจากกรุงเทพฯ ไปถึงโคราช รถไฟจีน-ลาวที่เริ่มก่อสร้างเมื่อเร็วๆ นี้ ก็จะไม่คุ้มค่าการลงทุน เพราะเชื่อมต่อกับไทยไม่ได้

สำหรับประเทศไทยเอง ปัจจุบันมีโครงการรถไฟรางคู่หลายเส้นทางที่กำลังทยอยเปิดประมูลก่อสร้าง โครงการรถไฟไทย-จีน จึงแทบจะไม่มีความจำเป็นเลย อาจเป็นความซ้ำซ้อนกับรถไฟรางคู่ด้วยซ้ำ

ความยืดเยื้อ ความไม่แน่นอนของโครงการ ว่าไปแล้ว ก็อาจจะเป็นยุทธวิธีของไทย ที่ต้องการชะลอโครงการนี้ออกไปให้นานที่สุดเท่าที่จะทำได้ จะบอกเลิกเลยก็ทำไม่ได้ เพราะไปเซ็นเอ็มโอยูตกลงกับเขาแล้วตั้งแต่รัฐบาลชุดก่อนหน้า มาถึงรัฐบาล คสช.ก็ยังไปเจรจาตกลงกับเขาอีก จึงเป็นเรื่องของการรักษาพันธสัญญาคำมั่นที่มีต่อจีน วิธีที่ดีที่สุดเท่าที่จะทำได้คือ ซื้อเวลาเจรจาไปเรื่อยๆ ถึงก็ช่าง ไม่ถึงก็ช่าง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2017 12:38 pm    Post subject: Reply with quote

ตอนนี้แม้แต่สื่ออินโดนิเซียก็พูดถึงโครงการรถไฟความไวสูงที่ จีนและญี่ปุ่นจะแย่งกัน ในทางสายใต้จากกรุงเทพ (บางซื่อ) ไปปาดังเบซาร์ - แต่ประเด็นนี้ Nikkei น่าจะเป็นคนยกขึ้นมา
http://s.nikkei.com/2kfTGWz
http://properti.kompas.com/read/2017/02/07/152157721/bangun.kereta.cepat.thailand-malaysia.bimbang.pilih.china.atau.jepang
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/02/2017 12:29 am    Post subject: Reply with quote

4 คำถาม- ตอบ ทำความเข้าใจโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือระหว่าง ไทย – จีน
ข่าวสด
วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2560 - 12:25 น.

จากกรณีที่มีการเผยแพร่ข่าวทางโซเชียลและสื่อออนไลน์เกี่ยวกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน จนอาจทำให้ประชาชนมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนต่อแนวทาง วิธีการ ดำเนินโครงการดังกล่าว กระทรวงคมนาคม ได้มีการชี้แจงข้อเท็จจริง ตลอดจนแนวทางวิธีการดำเนินโครงการระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ โดยจำแนกเป็นเรื่องที่ประชาชนตั้งคำถาม ออกมาเป็น 4 ข้อ ดังนี้

ทำไมถึงต้องพึ่งพาการออกแบบ บุคลากรการออกแบบ และประสบการณ์การทำงานจากบุคลากรต่างประเทศ ?

จากที่รัฐบาลทั้งสองประเทศได้มีความร่วมมือในการที่จะพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงในเส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย โดยดำเนินงานในช่วงแรกได้แก่ เส้นทางจากกรุงเทพฯ – นครราชสีมา ซึ่งจะเป็นการเชื่อมโยงโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงกับ สปป.ลาว และเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจีนต่อไปยังยุโรป เนื่องจากบุคลากรที่มีอยู่ของไทย ยังไม่เคยมีประสบการณ์ในการออกแบบรายละเอียด และดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นระดับการก่อสร้างที่ต้องใช้เทคโนโลยีชั้นสูง จึงมีความจำเป็นที่จะต้องพึ่งพาประสบการณ์ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากมิตรประเทศที่มีการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงที่มีระยะทางมากที่สุดในโลกภายใต้ระยะเวลาที่รวดเร็ว และมีราคาค่าก่อสร้างตลอดจนระบบการเดินรถที่ยอมรับในสากลและมีราคาที่ไม่แพงเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงในตลาดโลก อันจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้

ทั้งนี้ แนวทางการพึ่งพาบุคลากรผู้มีประสบการณ์จากต่างประเทศในระยะเริ่มต้นของการพัฒนา เป็นแนวลักษณะเดียวกันกับการเริ่มต้นดำเนินโครงการก่อสร้างทางรถไฟนับตั้งแต่เริ่มต้นกิจการรถไฟในประเทศไทย ที่ในระยะแรกจำเป็นจะต้องมีวิศวกรจากประเทศเยอรมันและสหราชอาณาจักรเข้ามาดำเนินการออกแบบ และก่อสร้าง หรือในกิจการอื่น ๆ ที่ประเทศไทยได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านแนวทางการปฏิบัติจากวิศวกรชาวต่างประเทศในกิจการสำคัญ ๆ ที่ผ่านมา

รัฐบาลไทยและกระทรวงคมนาคมจะได้กำหนดให้มีการถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้ให้แก่บุคลากรชาวไทย คนไทย เพื่อใช้ในการต่อยอดและพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟความเร็วสูงของประเทศไทยในลำดับต่อไปให้มากที่สุด เพื่อลดการพึ่งพาผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ รวมถึงจะได้กำหนดให้มีการใช้วัสดุภายในประเทศไทยให้มากที่สุด เพื่อประโยชน์ของการพัฒนาอุตสาหกรรมภายในประเทศ และระบบเศรษฐกิจของประเทศในภาพรวมต่อไป

จริงหรือไม่ที่ประเทศไทยต้องสูญเสียค่าออกแบบนับเป็นจำนวนถึง 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นราคาที่สูง และจะทำให้สูญเสียสถาปัตยกรรม ศิลปวัฒนธรรม ของไทยอันเป็นเอกลักษณ์ ?

คำถามนี้ทางกระทรวงคมนาคม ได้ยืนยันว่ามูลค่าการออกแบบโครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวไม่เป็นความจริง และคลาดเคลื่อนต่อข้อเท็จจริงเป็นอย่างมาก โดยค่าออกแบบในโครงการความร่วมมือดังกล่าวจะมีมูลค่าการว่าจ้างออกแบบรายละเอียดประมาณร้อยละ 1 ของโครงการ ซึ่งเป็นอัตราตามมาตรฐานราคากลางที่กฎหมายกำหนด กล่าวคือมีมูลค่าประมาณ 1.7 พันล้านบาท จากมูลค่าโครงการรวมประมาณ 1.79 แสนล้านบาท อีกทั้งวงเงินรวมมูลค่าโครงการก็ได้มีการพิจารณาอย่างรอบคอบส่งผลให้มีกรอบวงเงินลดลงถึงประมาณ ร้อยละ 20 จากกรอบมูลค่าวงเงินลงทุนที่ได้รับการเสนอมาในเบื้องต้น สำหรับการรักษาอัตลักษณ์ เอกลักษณ์ ศิลปวัฒนธรรมไทย ในงานสถาปัตยกรรมนั้น กระทรวงคมนาคมได้เปิดโอกาสให้นักเรียน นักศึกษา และประชาชนผู้ที่สนใจ มีส่วนร่วมในการออกแบบกรอบแนวคิดการออกแบบงานสถาปัตยกรรมอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงของไทยตลอดแนวสายทางโครงการดังกล่าว จนในขณะนี้ ได้ข้อสรุปของกรอบแนวคิดในการนำมามอบให้ที่ปรึกษาโครงการออกแบบรายละเอียดรับไปดำเนินการจัดทำรายละเอียดเพื่อดำเนินการก่อสร้างต่อไป

จริงหรือไม่ที่ไทยได้รับอัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงกว่าในตลาดเงินอื่น ๆ เพื่อใช้ในการลงทุนโครงการ ?

สำหรับเรื่องอัตราดอกเบี้ย กระทรวงคมนาคมและกระทรวงการคลังได้ร่วมมือกันในการพิจารณาถึงแหล่งทุนในการดำเนินโครงการมาโดยตลอด และได้พิจารณาถึงแหล่งทุนทั่วไปอื่นๆ ที่สมเหตุผล และมีอัตราที่ยอมรับว่าได้รับการสนับสนุนจากมิตรประเทศ เพื่อรักษาไว้ซึ่งความเหมาะสมและต้นทุนในการดำเนินโครงการที่ต่ำที่สุด จากข่าวที่เผยแพร่ออกมา ซึ่งพยายามชี้ให้เห็นว่ารัฐบาล กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการคลัง ได้ตกลงที่จะใช้อัตราดอกเบี้ยที่สูง จึงไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด ทั้งนี้ การพิจารณาในเรื่องแหล่งเงินทุนยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลังให้ได้ข้อยุติในเร็วๆ นี้ โดยมีนโยบายที่ชัดเจนในการคงไว้ซึ่งต้นทุนทางการเงินที่ต่ำที่สุดในการดำเนินงาน

ใครบริหารการเดินรถเมื่อโครงการแล้วเสร็จ ?

หากดูจากประสบการณ์ในต่างประเทศ เช่น ประเทศสเปน อันเป็นประเทศล่าสุดที่ได้มีการพัฒนาโครงการความเร็วสูงในยุโรป เมื่อเริ่มต้นในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงจะมีข้อกำหนดในขอบเขตของงานให้ผู้ผลิตงานระบบและตัวรถไฟความเร็วสูงจะต้องเข้ามาถือหุ้นในการเดินรถในระยะแรก ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับประเทศอื่นๆ อันเป็นสากลในโลก ที่เพิ่งเริ่มต้นในการดำเนินกิจการ อันเนื่องมาจากประโยชน์ที่จะได้รับจากการถ่ายทอดประสบการณ์การเดินรถที่มีประสิทธิภาพสูงสุดในการเดินขบวนรถ การรักษาสภาพทาง และการซ่อมบำรุงระบบการเดินรถ ทำให้เกิดความปลอดภัย

เช่นเดียวกันกับแนวทางของประเทศไทยที่จะได้รับประโยชน์หากได้รับการถ่ายทอดประสบการณ์การบริหารจัดการโครงการจากมิตรประเทศ ตลอดจนการร่วมหาพันธมิตรในการทำการตลาดจากต่างประเทศที่มีแนวสายทางเชื่อมโยงระหว่างกันต่อไป ในลักษณะของการร่วมทุนในการบริหารจัดการเดินรถ ภายใต้กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ของไทย ซึ่งจะเป็นการเข้าร่วมรับความเสี่ยงในการบริหารกิจการ อันเป็นผลดีอย่างยิ่งต่อฝ่ายไทย ซึ่งในเรื่องนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจาทั้งสองฝ่ายให้ได้ข้อยุติต่อไป

ทั้งนี้การดำเนินงานโครงการรถไฟความเร็วสูงจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนเป็นสำคัญ รวมถึงดำเนินการด้วยความรอบคอบ รัดกุม เพื่อให้เกิดความโปร่งใส และได้รับความเชื่อถือ สนับสนุนจากประชาชนอย่างถึงที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 206, 207, 208 ... 545, 546, 547  Next
Page 207 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©