Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13265035
ทั้งหมด:13576318
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 219, 220, 221 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2017 12:47 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนมอบทล.สร้างช่วง3.5 กม.425 ล้านไม่ต้องประมูล
ฐานเศรษฐกิจ 11 July 2017

ครม. มีมติอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท โดยรัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายลงทุน 100% เร่งเสนอสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เพื่อทราบต่อไป ชี้มอบหมายให้กรมทางหลวง(ทล.) เป็นผู้ก่อสร้างงานโยธาเอง โดยไม่ต้องใช้วิธีการประมูล เพื่อให้เกิดการก่อสร้างโดยเร็วคาดลงมือต.ค.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)ว่า ที่ประชุมมีมติอนุมัติโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอนที่ 1 (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) ที่จะเริ่มก่อนในช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงินการก่อสร้าง 425 ล้านบาท โดยมอบหมายให้กรมทางหลวง(ทล.) เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเอง โดยไม่ต้องใช้วิธีการประมูล เพื่อให้เกิดการก่อสร้างโดยเร็ว ซึ่งยืนยันว่าการก่อสร้างช่วงดังกล่าว ทล.สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเทคโนโลยีไม่มีความซับซ้อน

ทั้งนี้ การก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม.นั้น คาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนตุลาคมนี้ โดยจะต้องรอการพิจารณาสัญญา 2.1 (สัญญาการออกแบบ) ที่จะลงนามสัญญาในการประชุมครั้งที่ 20 วันที่ 15-17 สิงหาคม 2560 และสัญญา 2.2 (สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงาน) ที่จะลงนามช่วงกันยายน 2560 ขณะที่ตอนที่ 2 – 4 นั้นจะทยอยดำเนินการตามลำดับ โดยกระทรวงคมนาคมได้เร่งรัดให้จีนรีบส่งแบบรายละเอียดมาให้ไทยภายใน 4 เดือนจากเดิมกำหนดไว้ที่ 8 เดือน ก่อนเดินหน้าเปิดประมูลประกวดราคาต่อไป

ขณะเดียวกัน กระทรวงการคลังจะดำเนินการพิจารณาหาแหล่งเงินทุน โดยคาดว่าจะใช้เงินกู้จากทั้งในและต่างประเทศ ในส่วนของค่าจัดการกรรมสิทธิ์ที่ดินนั้น จะใช้จากงบประมาณประจำปี ทั้งนี้ แผนการใช้จ่ายเงินในโครงการทั้งหมดในแต่ละปี แบ่งเป็นงบประมาณปี 2560 วงเงิน 2,648 ล้านบาท, ปี 2561 วงเงิน 43,097 ล้านบาท, ปี 2562 วงเงิน 62,216 ล้านบาท, ปี 2563 วงเงิน 59,702 ล้านบาท และปี 2564 วงเงิน 12,017 ล้านบาท วงเงินรวมทั้งโครงการ 179,683 ล้านบาท ซึ่งล่าสุดจากการประชุมร่วมครั้งที่ 19 ณ กรุงปักกิ่งนั้น สามารถปรับลดวงเงินเหลือ 179,413 ล้านบาท จากวงเงินออกแบบที่เดิมกำหนดกรอบไว้ที่ 1,824 ล้านบาท ลดลง 118 ล้านบาท เหลือ 1,706 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุม ครม. ยังแนะนำให้กระทรวงคมนาคมร่วมกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ของไทย เพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้สอดรับกับโครงการฯ ในการผลิตบุคลากรด้านระบบราง ป้อนให้กับอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูง รวมถึงให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาตั้งคณะกรรมการกลางของโครงการ

สำหรับ โครงการดังกล่าวมีความสำคัญเชิงยุทธศาสตร์ในการเชื่อมโยงภูมิภาคอาเซียนและสาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ One Belt One Road ที่จะสนับสนุนยุทธศาสตร์การสร้างประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค เป็นการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของภาคอีสานให้เชื่อมโยงกับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกด้วย นอกจากนี้ยังเป็น 1 ในโครงการ “สิงคโปร์-คุนหมิง เรล ลิงค์” อีกด้วย

“ถ้าเราไม่ทำโครงการนี้ จะทำให้เสียโอกาสทางด้านเศรษฐกิจ เพราะเป็นโครงการที่จะเชื่อมเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การขนส่ง รวมถึงการท่องเที่ยวของไทย ลาว จีน และในอนาคตจะเชื่อมโยงทั้งภูมิภาคด้วย ทั้งนี้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงทั่วโลกมีระยะทาง 53,779 กิโลเมตร แบ่งเป็นที่เปิดให้บริการแล้ว 27,962 กิโลเมตร เป็นเส้นทางในจีนไปแล้ว 22,000 กิโลเมตร นอกจากนี้ เส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง มีระยะทาง 12,030 กิโลเมตร และเส้นทางที่อยู่ระหว่างการวางแผน 13,687 กิโลเมตร ขณะที่ตามแผนแม่บทรถไฟความเร็วสูงของไทยในอนาคตจะมีระยะทางทั้งสิ้น 1,723 กิโลเมตร”

นายอาคม กล่าวอีกว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2564 โดยในส่วนของอัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมานั้น จะคิดอัตราค่าบริการ 80-535 บาท และเพิ่มอัตรา 1.8 บาทต่อกิโลเมตร โดยกรุงเทพฯ-สระบุรี คิดค่าโดยสาร 278 บาท กรุงเทพฯ-ปากช่อง คิดค่าโดยสาร 393 บาท และกรุงเทพฯ-โคราช คิดค่าโดยสาร 535 บาท ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 17 นาที รถออกทุกๆ 90 นาที สามารถบรรทุกผู้โดยสารได้ 600 ที่นั่ง/ขบวน และคาดว่าในปีแรกของการเปิดให้บริการ จะมีปริมาณผู้โดยสารประมาณ 5,310 คน/เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 26,830 คน/เที่ยว/วัน ในปี 2594

นอกจากนี้ จะมีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development : TOD) ช่วงที่ 1 จำนวน 3 สถานี ประกอบด้วย สระบุรี ปากช่อง และโคราช ที่จะสามารถสร้างผลตอบแทนของโครงการในช่วงที่ 1 หรือการเจริญเติบโตของเมืองในผลประโยชน์เชิงกว้างทางเศรษฐกิจได้ 11.68% และหากเปิดให้บริการกรุงเทพฯ-หนองคาย ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจจะอยู่ที่ 13.52%

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตรนั้น แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร แบ่งดำเนินการ 4 ตอน มี 6 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง แก่งคอย สระบุรี ปากช่อง และโคราช และช่วงที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 394 กิโลเมตร มี 4 สถานี ประกอบด้วย บ้านไผ่ ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย

ประการสำคัญรถไฟเส้นทางนี้ยังจะเป็นแนวเชื่อมระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ จากใต้สุดของอาเซียนคือสิงคโปร์โดยสิงคโปร์อาจเชื่อมกับมาเลเซีย ดังนั้นจึงสามารถเชื่อมกับยุทธศาสตร์การพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกของไทย(อีอีซี)ได้อีกด้วย โดยตามบันทึกความตกลงกับจีนระบุว่าเส้นทางที่ 1 ช่วงหนองคาย-กรุงเทพ เส้นทางที่ 2 แยกจากแก่งคอย-มาบตาพุด โดยช่วงนี้ได้เจรจากับจีนมาโดยตลอด ว่าไทยมีการพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่รองรับไว้แล้วจึงตัดช่วงการก่อสร้างแนวนี้ออกไปแต่ยังจะใช้ประโยชน์ของโครงการรถไฟทางคู่ตามปกติ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2017 2:40 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ มั่นใจงบฯรถไฟความเร็วสูง ไม่ติดขัด เชื่อคลังจัดการได้
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 ก.ค. 2560 14:07

กระทรวงคมนาคม ยันรถไฟความเร็วสูงไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณติดขัด เชื่อคลังบริหารจัดการเงินได้ โดยเริ่มให้กรมทางหลวงก่อสร้างช่วงแรก ต.ค.นี้ คาดเปิดให้บริการปลายปี 64

วันที่ 12 ก.ค. 60 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูง กทม. - โคราช 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่า หลังจากที่คณะรัฐมนตรีอนุมัติโครงการดังกล่าว กระทรวงคมนาคมพร้อมเดินหน้าโครงการทันที ซึ่งเชื่อว่าทุกอย่างจะเป็นไปตามแผน และดำเนินโครงการได้ตามระยะเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน

สำหรับงบประมาณนั้น เชื่อว่ากระทรวงการคลังจะบริหารจัดการได้ ทั้งการกู้ในประเทศและนอกประเทศ ยืนยันไม่มีปัญหาเรื่องงบประมาณติดขัด ทำให้โครงการล่าช้าแน่นอน ส่วนการดำเนินงานในสัญญาที่ 2 ที่ให้จีนเข้ามามีส่วนร่วม โดยใช้วิศวกรจากจีนเป็นหลักนั้น ซึ่งสัญญาที่ 2 ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร มูลค่า 425 ล้านบาท

เบื้องต้น กระทรวงคมนาคม มอบหมายให้กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้างในช่วงแรก ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างเดือนตุลาคมนี้ ส่วนอีก 3 ตอนที่เหลือ จะให้การรถไฟแห่งประเทศไทยเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ส่วนที่เหลือในสัญญาไทยได้ขอให้จีนเร่งส่งแบบภายใน 4 เดือน นับตั้งแต่เริ่มลงนาม เพื่อทำให้การก่อสร้างแล้วเสร็จ คาดเปิดให้บริการได้ภายในปลายปี 2564.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2017 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

เจาะประเด็น "รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-โคราช ไทยได้หรือเสีย" / 12 ก.ค. 60
Money Channel Thailand Published on Jul 11, 2017

ครม.วานนี้อนุมัติให้ รฟท.พัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร มูลค่าราว 179,000 ล้านบาท รัฐบาลรับภาระค่าใช้จ่ายลงทุน 100% รัฐบาลมองว่าหากไม่ดำเนินการโครงการนี้จะทำให้ประเทศไทยเสียโอกาสสำคัญที่จะเชื่อมโยงเข้าสู่โครงข่ายการคมนาคมสายไหมของจีนที่เชื่อมโยงจากยุโรป-เอเชีย-เอเชียตะวันออกเฉียงใต้


https://www.youtube.com/watch?v=mO14qb9xh-U
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/07/2017 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูง2เส้นทางในปีนี้
โพสต์ทูเดย์ 11 กรกฎาคม 2560 เวลา 17:51 น.

คมนาคมเปิดประมูลรถไฟความเร็วสูง2เส้นทางวงเงิน 3 .1แสนล้านภายในปีนี้ ขณะที่เส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ไม่ทันปีนี้หลังญี่ปุ่นยังศึกษาไม่เสร็จ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับความคืบหน้าโรงการรถไฟความเร็วสูงนั้นอยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียดคาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ 2 เส้นภายในปีนี้วงเงินรวม 3.1 แสนล้านบาท ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 211 กิโลเมตร วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะทาง 673 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 546,744 ล้านบาท นั้นไม่น่าจะเปิดประมูลทันปีนี้ตามเป้าหมายของรัฐบาลเนื่องจากอยู่ระหว่างรอญี่ปุ่นส่งผลศึกษาความเหมาะสมและรูปแบบการก่อสร้างฉบับสมบูรณ์คาดว่าจะส่งกลับมายังกระทรวงคมนาคมภายในไตรมาส 3 ของปีนี้จากกรอบเวลาเดิมที่กำหนดไว้ว่าต้องส่งภายใน เดือน มี.ค. ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามขณะนี้ไฮสปีดเส้นทางกรุงเทพ-ระยองและกรุงเทพ-หัวหินนั้นส่งไปยังคณะกรรมการพีพีพีแล้วจึงคาดว่าโครงการช่วงกรุงเทพ-ระยองจะสามารถดำเนินการประมูลได้ก่อนเนื่องจากคณะทำงานอีอีซีได้ศึกษาแนวทางเชื่อมรถไฟไปยังสามสนามบินเสร็จเรียบร้อยหมดแล้ว ส่วนไฮสปีดช่วงกรุงเทพ-หัวหินนั้นบอร์ดพีพีพีได้ตีกลับไปยังรฟท.เพื่อจัดทำการเปิดรับฟังเสียงภาคเอกชนเป็นครั้งที่สอง (Market sounding) ก่อนเสนอกลับมาเพื่อให้บอร์ดอนุมัติเพื่อเดินหน้าประมูลต่อไป

----

ใช้เงินกู้ทั้งโครงการรถไฟไทย-จีน ดึงกรมทางหลวงถมดินเฟสแรกคิกออฟต.ค.
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 12 กรกฎาคม 2560 - 18:37 น.

ครม.อนุมัติรถไฟไทย-จีนระยะทาง 253 กม.มูลค่า 1.79 แสนล้าน ใช้เงินกู้ทั้งโครงการ เท 425 ล้าน ดึงกรมทางหลวงถมคันดินเฟสแรกกดปุ่มคิกออฟ ต.ค.นี้ เปิดปี”64 คาดมีผู้โดยสาร 5,310 คน/วัน ค่าโดยสาร 535 บาท กรุงเทพฯ-โคราชแค่ 1 ชั่วโมง

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อยากให้เรียกว่า โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งรถไฟความเร็วสูงต้องสอดคล้องทั้งในประเทศและต่างประเทศ ตามแผนการเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านไปสู่ประเทศอื่น ๆ

เส้นทาง กทม.-นครราชสีมา ถือเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรก ไทยเลือกวิธีจีทูจีกับจีน และไทยขอลงทุนเอง กลัวการผูกขาดสองข้างทาง โดยจะก่อสร้างทางรถไฟ แผนบริหารสินทรัพย์สองข้างทาง ใช้คนงานและบริษัทไทยในการก่อสร้าง บริษัทไทยจะได้ประโยชน์

“ประยุทธ์” ย้ำลงทุนเอง

“เส้นทางนี้ไม่ใช่ว่าไม่มีสมองสร้างเฉพาะโคราช แต่เริ่มสร้างจุดที่สร้างได้ทันทีคือ สถานีกลางดง ไม่มีคนบุกรุก ไม่มีปัญหาเรื่องป่าเขา เป็นสัญลักษณ์ว่าสร้างแล้ว ปี 2564 เปิดได้ ระยะที่สอง โคราช-หนองคาย ใครที่มาวิพากษ์วิจารณ์ ผมไม่เคยคิดสั้นขนาดนั้น”


นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.อนุมัติให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พัฒนารถไฟความเร็วสูง กทม.-นครราชสีมา วงเงิน 179,413 ล้านบาท โดยรัฐรับภาระค่าดำเนินการ ให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบรายปี หรือคลังจัดหาแหล่งเงินกู้และค้ำประกันเงินกู้ในประเทศ

ไม่ทำจะตกขบวน

“เหตุผลเพื่อปฏิรูปรถไฟไทยครั้งสำคัญ สำคัญต่อไทยในเชิงภูมิเศรษฐศาสตร์ หากไม่ลงทุนจะเสียโอกาสเชื่อมโยงในภูมิภาค โดยเฉพาะเส้นทางสายไหมทางบกและทางทะเลของจีนเชื่อมโยงยุโรป เอเชีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้เข้าด้วยกัน ด้วยเส้นทางรถไฟ 53,700 กม.”

และเชื่อมโยงพื้นที่เศรษฐกิจไทยเข้าด้วยกัน ตั้งแต่อยุธยา สระบุรี นครราชสีมา ขอนแก่น หนองคาย และเชื่อมพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) กับภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมของภูมิภาค จะเป็นเส้นทางเชื่อมโยงจากไทยถึงจีน 1,800 กม. ในไทยเส้นทาง 647 กม. ลาว 440 กม. และจีน 777 กม.

จีนยอมลดค่าที่ปรึกษา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า เงินลงทุนรถไฟไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 179,412.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าเวนคืน 13,069 ล้านบาท งานโยธา 122,593.92 ล้านบาท

ระบบไฟฟ้า 34,078.38 ล้านบาท จัดหาตู้รถไฟ 4,480 ล้านบาท และค่าที่ปรึกษา 5,190 ล้านบาท มี 6 สถานี ได้แก่ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ซึ่งจะมีการพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานี 3 สถานี ได้แก่ สระบุรี 90 ไร่ ปากช่อง 541 ไร่ นครราชสีมา 272 ไร่ ศูนย์ซ่อมบำรุงที่สถานีเชียงรากน้อย

ต.ค.นี้เริ่มลงเข็ม 3.5 กม.

ส่วนการก่อสร้างแบ่ง 4 ตอน ได้แก่ 1.สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ซึ่งการรถไฟฯมอบให้กรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ก่อสร้าง เนื่องจากเป็นงานถมคันดินในเดือน ต.ค.นี้ หลังเซ็นสัญญาควบคุมงานแล้ว เพื่อให้เริ่มโครงการได้รวดเร็ว 2.ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. 3.ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และ 4.ช่วงกรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม. จีนจะใช้เวลาออกแบบ 8 เดือน และทยอยเปิดประมูลต่อไป คาดว่าภายในปี 2560 จะเปิดประมูลตอน 2 ได้

สำหรับงบประมาณก่อสร้างจะใช้เงินกู้ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้จัดหาให้ ยกเว้นค่าเวนคืนที่ดินจะใช้เงินจากงบประมาณ แผนการใช้จ่ายเงินจะสอดคล้องกับระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี โดยปี 2560 จำนวน 2,648 ล้านบาท ปี 2561 จำนวน 43,097 ล้านบาท ปี 2562 จำนวน 62,216 ล้านบาท ปี 2563 จำนวน 59,702 ล้านบาท และปี 2564 จำนวน 12,017 ล้านบาท

เปิดปี”64 ค่าโดยสาร 535 บาท

“โครงการจะเริ่มต้นปีนี้ เปิดบริการปี”64 มีผู้โดยสาร 5,310 คน/เที่ยว/วัน เพิ่มขึ้นเป็น 26,830 คน/เที่ยว/วัน ในปี”94 ใช้ระบบรถไฟฟ้า มี 6 ขบวน ขบวนละ 600 ที่นั่ง กำลังเคลื่อนตัว 5,200 วัตต์ ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 17 นาที ออกทุก 90 นาที อัตราค่าโดยสารเริ่มที่ 80 บาท กิโลเมตรต่อไป 1.80 บาท จากกรุงเทพฯ-อยุธยา 195 บาท กรุงเทพฯ-สระบุรี 278 บาท กรุงเทพฯ-ปากช่อง 393 บาท และกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 535 บาท”

มีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา อยู่ที่ 8.56% ส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจทางกว้าง จากการขยายตัวเมือง พัฒนาเชิงพาณิชย์ ระบบฟีดเดอร์ ธุรกิจ SMEs อยู่ที่ 11.68% หากกรุงเทพฯ-หนองคาย อยู่ที่ 11.45% และผลตอบแทนทางการเงิน 2.53%
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2017 12:11 pm    Post subject: Reply with quote

สำนักข่าวซินหัว รายงานเรื่องครม. อนุมัติโครงการรถไฟไทย - จีน มูลค่า 179,400 ล้านบาท (35,800 ล้านเหรียญสหรัฐ) สำนักข่าวซินหัว วันที่ 12 กรกฎาคม 2017
http://news.xinhuanet.com/world/2017-07/12/c_1121302680.htm


Last edited by Wisarut on 15/07/2017 1:40 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/07/2017 12:13 pm    Post subject: Reply with quote


รถไฟความไวสูง คมนาคมแห่งอนาคต
https://www.youtube.com/watch?v=ZHhS-5g8sJo
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2017 1:41 pm    Post subject: Reply with quote

‘พิชิต’ เตรียมเสนอตั้ง ‘ม.วิศวกรรมระบบราง’ ชี้รถไฟไทย-จีนทำให้ไทยเชื่อมยุโรปได้ง่าย!
โดย MGR Online
14 กรกฎาคม 2560 02:09 น.


พิชิต อัคราทิตย์ แจงประเทศไทยได้ประโยชน์จากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เตรียมบุคลากรรองรับการเติบโตด้านขนส่งทางราง ถึงขั้นหารือสถาบันการศึกษา จัดตั้ง ‘มหาวิทยาลัยวิศวกรรมระบบราง’ เพื่อผลิตบัณฑิตเข้าสู่ระบบ มั่นใจ Technology transfer ที่จะได้จากจีนครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้เกิดการพัฒนาต่อไปได้ และถือเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทยที่สามารถเชื่อมต่อไปยังยุโรปได้

หลังจากที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะแรก (กรุงเทพฯ-โคราช) ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท ผ่านการอนุมัติจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม ที่ผ่านมา สังคมก็เริ่มจับตาดูว่าประเทศไทยจะได้ประโยชน์อะไรจากโครงการนี้ โดยเฉพาะประเด็นในการถ่ายทอดเทคโนโลยี (Technology transfer) ให้แก่ทีมวิศวกรของไทยจะถึงขั้นผลิตรถไฟได้หรือไม่ และเมื่อโครงการระยะแรกก่อสร้างไประยะหนึ่งก็จะมีโครงการระยะที่ 2 (โคราช-หนองคาย) ระยะทาง 394 กิโลเมตร ตามมาทันที โดยโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะแรกจะเปิดดำเนินการได้ในปี 2564


นายพิชิต อัคราทิตย์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม กำกับดูแลการรถไฟแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นคู่สัญญาโดยตรงกับรัฐวิสาหกิจจีนที่จะเข้ามาดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน อธิบายไว้ชัดเจน ว่าหลังจากที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะต้องมีการตกลงกันในรายละเอียดของสัญญา จำนวน 2 ฉบับ คือสัญญาก่อสร้างและโยธา และสัญญาที่เกี่ยวกับการออกแบบ ควบคุมการก่อสร้าง และการวางระบบอาณัติสัญญาณ ซึ่งสัญญาทั้ง 2 ฉบับจะแล้วเสร็จภายใน 2 เดือนนี้ และเชื่อว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ภายในสิ้นเดือน ก.ย. 2560 นี้

โดยสัญญาแรกการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะลงนามร่วมกับผู้รับเหมาซึ่งเป็นคนไทย ส่วนสัญญาฉบับที่ 2 รฟท.จะลงนามร่วมกับจีน ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโครงการในส่วนนี้ โดยสัญญาดังกล่าวจะแบ่งเป็น 3 สัญญาย่อย คือ สัญญาการออกแบบ สัญญาการก่อสร้าง และสัญญาอาณัติสัญญาณของรถไฟ ซึ่งประกอบด้วย ตัวรถไฟ ตัวราง ตัวสถานี และระบบอาณัติสัญญาณ

‘พิชิต’ เตรียมเสนอตั้ง ‘ม.วิศวกรรมระบบราง’ ชี้รถไฟไทย-จีนทำให้ไทยเชื่อมยุโรปได้ง่าย!

ทั้งนี้การก่อสร้างจะแบ่งออกเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก (จ.นครราชสีมา) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จะให้กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร (จ.นครราชสีมา) ระยะทาง 11 กิโลเมตร จะมีการเปิดประมูลให้บริษัทก่อสร้างของไทยเสนอตัวเข้ามา อย่างไรก็ดีทั้ง 2 ช่วงดังกล่าวจะเร่งดำเนินการก่อสร้างก่อน จากนั้นจึงก่อสร้างช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร และ 4. กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร โดยทั้ง 4 ช่วงจะแล้วเสร็จภายในปี 2564

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเป็นโครงการที่จะทำให้เศรษฐกิจของไทยขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก โครงการระยะที่ 2 โคราช-หนองคาย จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าของสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ที่จะวิ่งไปคุนหมิง สาธารณรัฐประชาชนจีน นอกจากนั้นจีนก็กำลังก่อสร้างเส้นทางรถไฟจากจีนไปยังสหภาพยุโรป ซึ่งเท่ากับหากโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนแล้วเสร็จ ในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟจากไทยไปถึงยุโรป

แน่นอนว่าธุรกิจต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับโลจิสติกส์ ไม่ว่าจะเป็นการค้า การขนส่ง หรือการท่องเที่ยวของไทยและประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคแถบนี้ก็จะเติบโตตามไปด้วย

ส่วนประเด็นในเรื่องของการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากจีนซึ่งหลายฝ่ายแสดงความเป็นห่วงนั้น ที่ผ่านมาจีนได้เริ่มถ่ายทอดเทคโนโลยีให้ไทยมาระยะหนึ่งแล้ว โดยทีมวิศวกรไทยได้เดินทางไปดูงานและฝึกอบรมความรู้เกี่ยวกับระบบการเดินรถของรถไฟความเร็วสูง จากนั้นในช่วงของการก่อสร้างซึ่งดำเนินการโดยวิศวกรจีนก็จะมีทีมวิศวกรของไทยเข้าไปศึกษาดูงานภาคปฏิบัติ

‘พิชิต’ เตรียมเสนอตั้ง ‘ม.วิศวกรรมระบบราง’ ชี้รถไฟไทย-จีนทำให้ไทยเชื่อมยุโรปได้ง่าย!

อย่างไรก็ดี รัฐบาลให้ความสำคัญกับเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยีเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะองค์ความรู้ที่จะทำให้ไทยสามารถพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงได้ในอนาคต ซึ่งรัฐบาลไทยได้พูดคุยกับรัฐบาลจีนว่าเรื่องนี้ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ทางจีนจะต้องถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เราตั้งแต่ต้นน้ำไปยังปลายน้ำ ขณะที่ประเทศไทยไม่ได้โฟกัสแค่ผู้ถ่ายทอดองค์ความรู้เท่านั้น แต่ต้องให้ความสำคัญกับวิศวกรไทยซึ่งเป็นผู้ที่จะมารับองค์ความรู้ด้วย ซึ่งทีมของไทยต้องมีความรู้พื้นฐานที่ดีด้วย จึงต้องคัดเลือกวิศวกรที่จะรับองค์ความรู้ในแต่ละด้าน วิศวกรของไทยอาจจะรู้ในเชิงทฤษฎี ขณะที่ทางจีนเชี่ยวชาญในการปฏิบัติเนื่องจากจีนมีประสบการณ์ในการเดินรถไฟความเร็วสูงมาไม่ต่ำกว่า 10 ปี มีรถไฟความเร็วสูงตั้ง 20,000 กว่ากิโลเมตร ซึ่งถือว่ามากที่สุดในโลก

ดังนั้นการเลือกให้จีนดำเนินโครงการและไทยศึกษาเทคโนโลยีจากจีนจึงช่วยให้ไทยไม่ต้องไปเสี่ยงลองผิดลองถูก ปลอดภัยทั้งชีวิตและทรัพย์สิน อีกทั้งช่วยประหยัดต้นทุนด้วย

ขณะเดียวกันปัญหาหนึ่งที่ไม่อาจมองข้ามก็คือวิศวกรของไทยส่วนใหญ่จะมีองค์ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับระบบราง และมีจำนวนไม่น้อยที่มีความรู้เกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง บุคลากรเหล่านี้อาจจะทำงานด้านการออกแบบและตรวจสอบ แต่ไม่มีประสบการณ์ในภาคปฏิบัติ ขณะนี้ไทยยังขาดแคลนเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติที่จะมาทำงานในโครงการรถไฟความเร็วสูง

ในอนาคตการเดินทางด้วยระบบรางของไทยจะขยายตัวขึ้นอีกมาก ทั้งรถไฟรางคู่ รถไฟความเร็วสูง และรถไฟฟ้า ดังนั้นกระทรวงคมนาคมจึงมีแผนที่จะสร้างและพัฒนาบุคลากรในส่วนนี้ โดยดำเนินการศึกษาและเตรียมจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยวิศวกรรมระบบราง” เพื่อผลิตบุคลากรด้านนี้โดยเฉพาะ

ปัจจุบันมีการหารือกับการรถไฟแห่งประเทศไทยว่าจะทำอย่างไรที่จะสร้างบุคลากรด้านวิศวกรรมที่มีความรู้ทั้งในส่วนของการวางระบบราง ตัวสถานี ตัวรถไฟ ระบบไฟฟ้าที่ป้อนสู่ตัวระบบ สถานีกลางที่ควบคุมการเดินรถทั้งหมด และระบบอาณัติสัญญาณต่าง ๆ รวมถึงองค์ความรู้เกี่ยวกับการบริหารกิจการรถไฟ บริษัทรถไฟ

ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทยก็มีโรงเรียนวิศวกรรมรถไฟ ซึ่งผลิตช่างเทคนิคที่ซ่อมบำรุงระบบรางรถไฟ นอกจากนั้นมหาวิทยาลัยหลายแห่งที่เปิดการเรียนการสอนเกี่ยวกับวิศวกรรมด้านระบบราง กระทรวงคมนาคมจะหารือกับสถาบันการศึกษาเหล่านี้ จากนั้นก็วางโครงสร้างว่ามหาวิทยาลัยรถไฟควรมีหน้าตาอย่างไร หลักสูตรการเรียนการสอนจะเป็นอย่างไร อาจารย์ผู้สอนจะมาจากไหน คือเราจะเดินหน้าเรื่องการจัดตั้งมหาวิทยาลัยรถไฟให้ได้ในรัฐบาลชุดนี้เพื่อการพัฒนาประเทศต่อไปในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/07/2017 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

เชื่อมั่นประเทศไทย ทำงานใหญ่ต่อไป
โดย เอนก เหล่าธรรมทัศน์
14 กรกฎาคม 2560 11:41 น.


อ่านด้วยความพิศวง ข่าวใหญ่ ! ไทยจะเริ่ม และ เร่ง ทำรางรถไฟความเร็วสูง กท-โคราช ได้แล้ว ในที่สุด ลงทุนเองถึง 1.8 แสนล้าน และ คสช ออก ม 44 ด้วย เพื่อจะเร่งทำกันอย่างรวดเร็ว ขื่อว่า รถไฟความเร็วสูง แล้วจะทำกันช้าๆ ยืดยาด เหยาะแหยะ ได้อย่างไร ? คิดย้อนมาถึงสนามบินสุวรรณภูมิ นั่นเราเริ่มคิดตั้งแต่ตอนผมยังไม่เข้าเรียนจุฬาฯ นรม ประยุทธ์ อยู่โรงเรียนเตรียมทหาร กว่าจะเสร็จได้ก็ปี 2549 โน่น ผมอายุ 52 ปี แก่เลย ยังดีไม่ช้าจนคนรุ่นผมอายุ 60 และระหว่างที่ทำและช่วงทำเสร็จใหม่ๆ ก็มีแต่เสียงตักเตือน เย้ยเยาะ ถากถางว่าทำไปทำไมใหญ่โตมโหฬารอย่างนั้น เพ้อเจ้ออยู่ พร่ำเพ้ออยู่หรือเปล่า ตอนที่อธิบายว่าทำไมต้องใหญ่ชนาดนั้น ใครที่ไหนจะแห่มาใช้มากมายอย่างนั้น ความจริง: ตรงข้ามกับที่คิด ไม่ถึงสิบปี กลายเป็นว่าสุวรรณภูมินั้น"ใหญ่"ไม่พอเสียแล้ว กรุงเทพฯ เรา โดยไม่คาดฝัน กลายเป็นเมืองที่ผู้คนทั่วโลกบินมาลงมากที่สุด และยังคิดย้อนถึงอีกเรื่องคล้ายกันอีกเรื่อง รถไฟลอยฟ้าในกรุงเทพฯ ที่เรียก บีทีเอส ไงครับ บ่นกันจัง ว่ากันจริง "ทำลายทัศนียภาพ" สถานีบีทีเอสจะนำความ"พลุกพล่าน" และ คน "แปลกหน้า" มาให้วัด โรงเรียน และ มหาวิทยาลัย จำได้แม่น ศิษย์เก่าผู้ปกครอง ครู รร มาแตร์ออกมาต้านรถไฟกันเกรียวกราว แต่ ผมเชื่อ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ ต่อมา ความจริงคือ : ทุกวันนี้กรุงเทพฯ เรามีทั้งบีทีเอส มีทั้งรถไฟใต้ดิน ใช้กันได้ดีทีเดียว ไม่แพง สะอาด สะดวก ปลอดภัย ไปไหนง่ายขึ้น เร็วขึ้น เยอะ ยังจะต้อง"ขยาย"อีกซึ่งใครๆ ก็ไม่ค้านอีกแล้ว และคนทั้งโลกก็มาใช้และชื่นชมกัน

ประเทศไทยนั้นแปลก อธิบายยาก แต่ก็มาได้ดี ครับ มองเผินๆแล้ว ไม่น่าจะมารอด ไม่น่าจะมาได้ไกลขนาดนี้ คนไทยเอง"งง" ว่า เราพากันมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร วิจารณ์กัน วิพากษ์กัน ถกเถียงกัน มาตลอด

ย้อนกลับไปแต่ยุคที่ฝรั่งล่าอาณานิคม ในสุวรรณภูมินั้นมีสามชาติใหญ่ พม่านั้นแข็งแกร่งกว่าเราชัดเจน ตีกรุงศรีฯแตกได้ถึง สองครั้ง ส่วนเวียดนามนั้นคงแข็งแกร่งทัดเทียมกัน เพราะรบกันในเขมรถึง 15ปี ไม่แพ้ไม่ชนะ ในที่สุดพม่าและเวียดนามต้อง"สูญชาติ" ลาวเขมรมลายูนั้นไม่ต้องพูดถึง อ่อนกว่ามาก ถูกฝรั่งยึดครองยิ่งง่ายดาย ส่วนไทยกลับยัง"อยู่ยั้งยืนยง" จีนซึ่งใหญ่กว่าเรามากมายก็หวิด"สูญชาติ"โดยเฉพาะจากการรุกรานเหี้ยมหาญของญี่ปุ่น ประเทศเกาหลีที่วัยรุ่นไทยวันนี้ยกย่องนับถือ ยังต้องตกเป็นของญี่ปุ่นในตอนนั้น และ ภารตประเทศ หรือ อืนเดีย มารดาแห่งพุทธและพราหมณ์ ของเราแท้ๆ ยังตกเป็นของอังกฤษ แต่สยาม ทายาท นั้นยังคงอยู่รอดต่อมา

เกาหลี พม่า เวียดนาม และอินเดียที่กล่าวมา วันนี้กลับมามีเอกราชได้อีก แต่ ไม่แน่ดอกถ้าไม่มีสงครามโลกที่เจ้าอาณานิคมรบกันเองสองครั้ง ยับเยินไปทั้งสองฝ่าย ทุกวันนี้อาจจะไม่มีสามสี่ประเทศนี้ในแผนที่โลก จีนและอินเดีย ทุกวันนี้กลับรุ่งเรืองยิ่งใหญ่ได้แต่กล่าวได้ว่าประวัติศาสตร์ของทั้งสองชาตินี้ผ่านช่วง"ขาลง" ใหญ่ๆมาแล้ว

ชาติต่างๆในโลก ย่อมมีทั้งประวัติ"ขาขึ้น"และ"ขาลง" แต่ประวัติศาสตร์ไทยนั้น ยังไม่มี"ขาลง" หนักๆ น่าดีใจ แต่ไม่ประมาท กรุงแตกสองครั้ง นั่น จัดเป็นขาลง แต่ก็เพียงช่วงสั้น ๆ ในยุคฝรั่งอาณานิคม เขาสูญชาติกันเกือบทั้งทวีปเอเชีย อัฟริกา และทวีปละตินอเมริกา เราก็"รอด"ได้ อย่างไม่น่าเชื่อ สงครามโลกครั้งที่สองที่สุดจะนองเลือดเหี้ยมโหด เราก็อยู่รอดปลอดภัยจากการคุกคามของกองทัพญี่ปุ่นและแสนยานุภาพทางอากาศของเครื่องบินฝรั่ง เหลือเชื่อ แทบจะไม่มีคนไทยเจ็บตาย ต่อมาอีก ในช่วงสงครามเย็น 2489-2532 เขารบกันป่นปี้สามสี่สิบปีในแถบเอเชียอาคเนย์นี้ เราก็แทบไม่เสียหาย กลับเอาช่วงเวลานั้นมาพัฒนาเศรษฐกิจจนล้ำหน้าเพื่อนบ้านที่สำคัญไม่น้อยอีก คือในสงครามใน ช่วงปี 2508-2525 ที่สู้รบอย่างหนักกับกองกำลังพรรคคอมมิวนิสต์ เราก็สามารถสงบศึกนั้นได้อย่างน่าทึ่ง

"วิกฤตต้มยำกุ้ง" ซึ่งอุบัติที่ประเทศเราและส่งผลลบออกไปทั่วเอเชีย ยี่สิบปีที่แล้ว หนักหน่วงที่สุด แต่เราก็เอาตัวรอดมาได้ "วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์" เมื่อสิบปีที่แล้ว เกิดที่อเมริกา ความเสียหายลุกลามไปทั่วโลก เราก็เสียหายน้อยมาก ครับ

ประเทศไทยทุกวันนี้ไม่"ธรรมดา"แล้วครับ แน่นอน ปัญหายังมีไม่น้อย เสียงบ่น ตักเตือน วิจารณ์หลายเรื่องมีมูล ต้องรีบแก้ไข บางเรื่องน่าเป็นห่วง แต่ภาพใหญ่: เรามาถึงจุดที่ไกลกว่าเดิมมากมายแล้ว เราเป็นประเทศรายได้ปานกลางระดับบน ครับ คนส่วนใหญ่ไม่ใช่คนจนแล้ว เป็นคนชั้นกลางแล้ว แบบมั่นคงหรือไม่ ถกเถียงกันได้ แต่ขนาดเศรษฐกิจของประเทศใหญ่เป็นอันดับที่ 22 ของโลก นับด้วยกำลังซื้อที่เป็นจริงนะครับ กรุงเทพฯ ของเราก็เป็นเมืองสำคัญของโลกไปด้วย อย่างแน่นอน ทำไม ? ก็เพราะมีคนทั่วโลกมาเยือน มาทำงาน มาพักผ่อน มารักษาตัว รวมกันแล้ว มากที่สุดในโลก ถ้าเราไม่มีอะไรดี อะไรปลอดภัย อะไรน่าอยู่ น่าเที่ยว น่าพักผ่อน น่ารักษาตัว ใครในโลกจะแห่กันมามากมายอย่างนี้ ผมว่าอย่าเชื่อแต่เสียงวิจารณ์ หรือ เสียงบ่น ของเรากันเองแต่เพียงอย่างเดียว จำนวนคนต่างชาติสามสิบกว่าล้านคนต่อปีที่มาเยือนไทย อาจถือเป็น "ประชามติ" อ้อมๆจากโลกว่าไทยแลนด์นี้ ดี คำแนะนำ : จงมั่นใจประเทศเรา และทำงานใหญ่ ต่อไป

รถไฟที่จะเชื่อมโยงกับจีนในไม่ช้า ก็จะเชื่อมไทยเข้ากับประเทศเพื่อนบ้านได้หมด ลงใต้ไปจนถึงสิงคโปร์ ในห้าปีสิบปีนี้ เราจะเป็นศูนย์กลางของเออีซี ของเออีซีบวกจีน ภายในสิบถึงสิบห้าปี เราอาจจะ "ยืด" ตัวเองด้วยทางรถไฟและด้วยทางหลวงลงใต้ต่อไปอีก ไปจนถึงเกาะสุมาตราและเกาะชวาของอินโดนีเซีย ภายในสิบปีเราอาจเชื่อมผ่านพม่าไปต่อกับอินเดียผ่านทางบกได้ และเราอาจทำแลนด์บริดจ์ตะวันตก-ตะวันออกยาวเหยียด จากทะวายมา กาญจน์ ราชบุรี ลงอ่าวไทยที่สมุทรสงคราม หรือมากรุงเทพฯ แล้วต่อไปถึงพนมเปญ ไปสุดทางที่โฮจิมินห์ หากทำเช่นนั้นได้ เราก็จะเชื่อมต่อมหาสมุทรอินเดียเข้ากับมหาสมุทรแปซิฟิก ได้

ยังมีงานใหญ่กว่านี้รออยู่มากครับ แต่รถไฟกรุงเทพฯ-โคราช ย่อมเป็นเพียงก้าวแรกในการสร้างพื้นฐานการขนส่งคมนาคมและลอจิสติกส์ในยุคบูรพาภิวัตน์ ในห้วงเวลาอันเป็นศิริมงคลยิ่ง คือการเริ่มรัชสมัยของรัชกาลที่ 10 ที่จะเต็มไปด้วยความหวังใหม่ และด้วยอนาคตใหม่ของคนไทย ของพสกนิกร ทั้งมวล ไทยเราควรจะก้าวต่อไปครับ ไม่ควรหยุดยั้ง อย่างเร่งรีบจริงจัง แต่ก็ไม่ผลีผลาม ต้องรอบคอบที่สุด ต้องยอมปรับปรุงแก้ไขได้ มากหรือน้อย ทั้งต้องน้อมใจรับฟังกันได้ เชื่อใจกันได้ ทนได้ ชื่นชมได้ ต่อทุกเสียงและทุกความคิดเห็น
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44542
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/07/2017 2:20 pm    Post subject: Reply with quote

โคราชเริ่มตื่นตัวรับรถไฟไทย-จีน | 14-07-60 | ชัดข่าวเที่ยง
thairath Published on Jul 13, 2017

โครงการรถไฟไทยจีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่เริ่มมีความเป็นรูปธรรมมากขึ้นและสร้างความตื่นตัวให้กับธุรกิจในพื้นที่ แต่ในมุมของภาคประชาชนกลับยังรับรู้ค่อนข้างน้อย และ หลายคนยังมองไม่ออกถึงประโยชน์ของโครงการนี้ คุณเขมิกา พรมพันใจ ผู้สื่อข่าวไทยรัฐทีวี ลงพื้นที่บริเวณสถานีขนส่งจังหวัดนครราชสีมา


https://www.youtube.com/watch?v=cGRbkkTi9rE
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 15/07/2017 1:31 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ม.44 ทะลวงอุปสรรครถไฟไทย-จีน"สมคิด"ดันลากยาวถึงหนองคายเชื่อมลาว เพื่อประโยชน์สูงสุด
โดย MGR Online

16 มิถุนายน 2560 17:30 น.


กว่าสำนักข่าวซินหัว จะเข้าใจเรื่องการใช้มาตรา 44 ในการปลดล็อกรถไฟไทยจีนก็ ใช้เวลา 1 อาทิตย์
http://news.xinhuanet.com/world/2017-06/23/c_1121198783.htm
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 219, 220, 221 ... 545, 546, 547  Next
Page 220 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©