RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271243
ทั้งหมด:13582532
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 231, 232, 233 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2017 4:24 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเร่งเครื่องไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นชงครม.ปีนี้
นสพ.บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2560, 15.40 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) โดยในการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นและจะเสร็จสมบูรณ์ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จากนั้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเพื่อขออนุมัติโครงการภายในปี2560 สำหรับกรอบระยะเวลาตามแผนที่กำหนดคาดว่าจะเริ่มออกแบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ในปี 2561 เริ่มก่อสร้างในปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2565 โดยเส้นทางจะประกอบด้วย 6 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ–เชียงใหม่นั้น จะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง (ชินคันเซ็น) ของประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งใช้รางเฉพาะตลอดเส้นทาง แบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่ 1.ช่วงกรุงเทพฯ–พิษณุโลก และ2.ช่วงพิษณุโลก–เชียงใหม่ โดยจะเริ่มดำเนินการในช่วงกรุงเทพฯ–พิษณุโลกก่อน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2017 7:38 pm    Post subject: Reply with quote

ชงรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเข้าครม.ปลายปี ผุดเฟสแรก ไฮสปีด"กรุงเทพ-พิษณุโลก"
MGR Online เผยแพร่: 8 ก.ย. 2560 18:21:00

"อาคม"คาดชงครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะแรก ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ปลายปีนี้ ลงทุน2.7 แสนล. ก่อสร้าง 4ปี และหารือญี่ปุ่น ศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองรอบสถานี เพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้อุดหนุนค่าโดยสาร

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure Transport and Tourism, MLIT) ว่า ทาง MLIT ได้รายงายความคืบหน้าการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ ระยะแรก ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก ระยะทาง380 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาได้ในสิ้นปี 2560 และหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานจะเริ่มทำการออกแบบรายละเอียด แล้วเสร็จ ปี 2561 เริ่มก่อสร้าง ในปี 2562 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จปี 2565 และเปิดให้บริการ
ซึ่งเบื้องต้น พบว่า การลงทุนช่วง กรุงเทพ-พิษณุโลก ประมาณการณ์ค่าก่อสร้างเบื้องต้น ที่ 270,000 ล้านบาท มีผลตอบแทนด้าน(EIRR) ประมาณ 14.7% ภายใต้เงื่อนไขต้องมีการพัฒนาเมืองรอบสถานีด้วย ซึ่งได้ให้ทางญี่ปุ่นศึกษาเพิ่มเติมแนวทางการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางโครงการ ว่าแต่ละพื้นที่มีโอกาสพัฒนาอย่างไร เปรียบเทียบกับการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางรถไฟของญี่ปุ่น

สำหรับ รูปแบบการลงทุนในโครงการนั้น การศึกษาของญี่ปุ่นเสนอหลายรูปแบบที่ ทั้งแบบรัฐบาลลงทุนเอง /รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนลงทุนระบบรางและเดินรถ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและนักลงทุนภาคเอกชนญี่ปุ่น มีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุน โดยจะพิจารณาผลตอบแทนและภาระการลงทุนของโครงการก่อน รวมถึงเงื่อนไขการรับความเสี่ยงในอนาคต เช่น จำนวนผู้โดยสาร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/09/2017 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. หรือแค่สัญลักษณ์?
รายงานโดย ทัศน์ศรันย์ ชีพวรรณ
กองบรรณาธิการ ข่าวเศรษฐกิจ
Voice TV
8 กันยายน 2560 เวลา 10:48 น.

หลังทางการไทยและจีน ลงนามสัญญา 2.1 และ 2.2 โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เมื่อ 4 กันยายน 2560 ที่ผ่านมา จากนี้ฝ่ายไทยจะต้องเตรียมพร้อมลงเสาเข็มก่อสร้างงานโยธา ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยดำเนินการเฟสแรก 3.5 กิโลเมตร 'สถานีกลางดง-ปางอโศก' ในเดือนตุลาคมนี้ กรมทางหลวงซึ่งรับผิดชอบการก่อสร้างงานโยธา ต้องเร่งเจรจากับจีนเรื่องสเปกวัสดุก่อสร้าง ที่กำหนดในสัญญาให้ใช้จากจีนเท่านั้น ทั้งที่ไทยก็สามารถจัดหาได้






นาย ธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ความร่วมมือไทย-จีน ตอนที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เฟสแรก 3.5 กม. ระหว่างสถานีกลางดง-ปางอโศก ซึ่งกรมทางหลวง ได้รับมอบหมายจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ให้เป็นผู้ดำเนินการในส่วนสัญญาที่ 1 งานก่อสร้างด้านโยธา เท่านั้น เพื่อให้โครงการเกิดขึ้นได้เร็ว ส่วนเฟสที่ 2 - 4 รฟท. จะเป็นผู้ดำเนินการเปิดซองประกวดราคา เพื่อหาผู้ดำเนินการก่อสร้างโครงการต่อไป







สำหรับ งานที่กรมทางหลวงรับผิดชอบนั้น จะเป็นงานถมคันดินให้มีความสูง 4 เมตร ความกว้าง 12 เมตร รวมถึงงานระบายน้ำ 2 ข้างทางรถไฟ ซึ่งกรมทางหลวง ได้ศึกษารายละเอียดและแกะแบบงานที่ฝ่ายจีนส่งมาให้ เพื่อเตรียมก่อสร้างจริงภายในเดือนตุลาคมนี้ และคาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 4 เดือน โดยมี 3 หน่วยงานร่วมดำเนินการด้วย คือ เจ้าหน้าที่จากฝ่ายจีนกว่า 20 คน เป็นผู้คุมงาน , เจ้าหน้าที่จากกรมทางหลวง กว่า 200 คน เป็นผู้ดำเนินการ 17 ชั่วโมง 2 กะ และ รฟท. เป็นผู้สังเกตการณ์
ส่วนวงเงินก่อสร้างโครงการในเฟสแรก 3.5 กม.นั้น ขณะนี้กรมทางหลวง ยังรอสรุปวงเงินการก่อสร้างจาก รฟท. อีกครั้ง



ทล.ถกจีน ล็อกสเปกวัสดุก่อสร้าง

อธิบดีกรมทางหลวง กล่าวว่า โจทย์ใหญ่สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. คือ จีนกำหนดสเปกวัสดุก่อสร้างบางอย่างให้ใช้จากจีนเท่านั้น อาทิ เหล็กข้ออ้อย , ตัวระบายน้ำใต้คันทางรถไฟ รวมถึงบล็อกระบายน้ำทางลอด กรมทางหลวงจึงได้ตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาข้อสรุปเรื่องวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้างว่าควรเป็นของไทยหรือจีน และเชิญตัวแทนจากจีนเข้าร่วมประชุมด้วยในลักษณะคู่ขนานก่อนลงนามในบันทึกข้อตกลง (MOU) เพื่อไม่ให้โครงการเกิดความล่าช้า และให้ได้ข้อสรุปว่ามีวัสดุไหนบ้างที่ใช้ในประเทศไทย

นอกจากนี้ ยังได้รายงานนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ว่าจะใช้วัสดุสำหรับการก่อสร้างในไทยทั้งหมด หากทำได้ในเฟสแรก ก็จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง เฟสที่ 2 - 4 ลงได้



นักวิชาการ ชี้อย่าหวังกำไรจากรถไฟไทย-จีน







ขณะที่นายประมวล สุธีจารุวัฒน อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมอุตสาหการ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน จะให้เกิดกำไรนั้นทำได้ยาก แต่ผลพลอยได้ที่จะตามมาคือเรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบแนวเส้นทางรถไฟมากกว่า และอย่าลืมว่าไทยยังมีอีก 1 โครงการ คือรถไฟทางคู่ กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งโครงการนี้ก็มีศักยภาพที่จะพัฒนาเมืองและตอบโจทย์ในสิ่งที่รัฐบาลสนใจได้เช่นกัน

นอกจากนี้ เมื่อ 2 เดือนก่อน ได้มีโอกาสเข้าร่วมกับโครงการถ่ายทอดความรู้ด้วยการส่งไปอยู่ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน และได้สัมผัสบรรยากาศการใช้รถไฟฟ้าความเร็วสูงของจีน ซึ่งปัจจุบัน จีนมีรถไฟฟ้าความเร็วสูงทั่วประเทศประมาณ 20,000 กม. แต่ได้ใช้แค่ 2,000 กม.เท่านั้น หรือแค่ 10%

เส้นที่น่า สนใจ คือ ปักกิ่งเชื่อมต่อกับเทียนจิน ระยะทาง 120 กม. ซึ่งมีจำนวนผู้โดยสารเฉลี่ยวันละประมาณ 100,000 เที่ยวในช่วงไฮซีซั่น หรือมีผู้โดยสารเยอะๆ อาจถึง 200,000 เที่ยวต่อวัน และเมื่อสอบถามเจ้าหน้าที่จีน ทราบว่าแม้จะมีผู้โดยสาร 100,000-200,000 เที่ยวต่อวัน แต่ปัจจุบันเส้นนี้ก็ยังขาดทุน หากเทียบกับจำนวนผู้โดยสารรถไฟความเร็วสูงของไทย ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ตัวเลขที่คาดการณ์ไว้ว่าจะมีผู้โดยสาร 5,300 เที่ยวต่อวัน จึงไม่ต้องพูดถึงเรื่อง 'กำไร' จากโครงการ




'ประมวล' ย้ำต้องเน้นเชื่อมโยงเมืองด้วยโครงข่าย

อาจารย์ประมวล กล่าวด้วยว่า การพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อมเมือง ในแง่หลักการนั้น รถไฟฟ้าความเร็วสูงน่าจะถูกออกแบบมาเพื่อใช้เชื่อมเมืองสองเมืองที่มีโครง สร้างพื้นฐานด้านคมนาคมดี ใกล้เคียงพอๆ กัน

“การพัฒนาโครงข่ายรถไฟ ขนส่งระบบรางในตัวกรุงเทพฯ และนครราชสีมา (โคราช) ดีพอสมควร เมื่อเชื่อมระบบรางสองระบบเข้าด้วยกัน จะกลายเป็นโครงข่ายที่ใช้ประโยชน์ของความเจริญเศรษฐกิจสองเมืองที่มีขนาด เศรษฐกิจใกล้เคียงกันได้ดีขึ้น ทำให้เศรษฐกิจเจริญเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ นักธุรกิจหรือประชาชนที่ดำรงชีพ ใช้ชีวิตและทำงานในทั้งสองเมือง จะเดินทางไปมาหาสู่กันง่าย เกิดกิจกรรมต่างๆ เพิ่มขึ้น หากสมมติว่ากรุงเทพฯ กับโคราช สามารถพัฒนาโครงข่ายของตัวเองจนกระทั่งเจริญใกล้เคียงกัน เชื่อมโครงข่ายสองระบบเข้าด้วยกัน จะทำให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มที่”



20-22 ก.ย.นี้ ถกถ่ายโอนเทคโนโลยีจากจีนอีกรอบ







ความคืบหน้าการเจรจากับจีนเรื่องการถ่ายโอนเทคโนโลยี โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ -นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. นายอมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า สภาวิศวกรได้จัดประชุมหารือร่วมกับนักวิชาการในเรื่องนี้ เพื่อกำหนดแนวทางเตรียมเสนอต่อจีนในการประชุมครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 20-22 กันยายน 2560 ณ ประเทศจีน และพยายามทำให้ข้อเสนอมีความชัดเจนมากขึ้น เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าไทยมีศักยภาพปฏิบัติงานได้จริงในการรับการถ่ายโอนเทคโนโลยี
นอกจากนี้ ยังได้แบ่งหมวดหมู่ออกเป็น 6 ด้านได้แก่

1.ด้านการออกแบบ

2.ด้านการควบคุมงานก่อสร้าง

3.ด้านการเดินรถและซ่อมบำรุงรักษา

4.ด้านการประกอบ

5.ด้านการผลิต

6.ด้านการวิจัย ห้องปฏิบัติการ

ทั้งหมดนี้ได้เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้ามาพัฒนาข้อเสนอ เช่น สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เข้ามาดูแลเรื่องกระบวนการผลิต การประกอบตู้โดยสาร ขณะที่สภาคณบดีวิศวกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทยและที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศ ไทย ดูแลเรื่องงานวิจัย
นายอมร มองว่า ไทยไม่ได้คาดหวังว่า จะต้องรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีครบทั้ง 6 ด้าน ในตอนที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพราะยังมีเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย แต่ในเฟสที่ 1 จะเน้นเรื่องการเรียนรู้และฝึกปฏิบัติมากกว่า

ทั้งนี้ เรื่องการออกแบบนั้นไทยมีความพร้อมมาก ยกเว้นส่วนของความเร็วสูง ซึ่งต้องออกแบบระบบดินให้ดี เพื่อไม่ให้รางสั่นสะเทือนเวลามีขบวนรถไฟวิ่งผ่าน ไทยจึงต้องการความรู้จากจีนในเรื่องนี้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2017 12:49 am    Post subject: Reply with quote

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม คาดว่าในปีนี้ จะผลัดดันโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่เข้าสู่การพิจารณาจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติ
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 8 ก.ย. 2560

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังหารือร่วมกับผู้แทนจากกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน คมนาคมและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น หรือ MLIT ว่า ที่ประชุมได้มีการหารือถึงผลการศึกษาความเหมาะสมความร่วมมือการพัฒนาระบบขนส่งทางรางไทย- ญี่ปุ่น โครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร ว่า ขณะนี่อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ ซึ่งญี่ปุ่นใช้แนวคิดช่วงแรกจะลงทุนสูง แต่ค่าบำรุงรักษาในระยะยาวอยู่ในระดับต่ำ ทั้งนี้คาดว่าภายใน 2-3 เดือนนี้ขั้นตอนการรับฟังความคิดเห็นจะเสร็จสมบูรณ์ จากนั้นกระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาเพื่อขออนุมัติโครงการภายในปีนี้ เบื้องต้นจะมีความชัดเจนเรื่องขั้นตอนการเสนอโครงการช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ส่วนมูลค่าโครงการคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 270,000 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม หากเป็นไปตามแผนคาดว่า ในปี 2561 จะเริ่มออกแบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และเริ่มก่อสร้างในปี 2562 พร้อมเปิดให้บริการในปี 2565 ประกอบด้วย 6 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย มีอัตราค่าโดยสารใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/09/2017 8:12 am    Post subject: Reply with quote

ดันรถไฟ2.7แสนล. ‘กรุงเทพฯ-พิษณุโลก’เสร็จปี’65
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560, 06.00 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังการประชุมหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2560 ว่า ได้มีการหารือเกี่ยวกับศึกษาความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ซึ่งขณะนี้ญี่ปุ่นได้มีการส่งผลการศึกษาช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เสร็จเรียบร้อยแล้วโดยทางญี่ปุ่นได้มีการเสนอรูปแบบการลงทุนหลายรูปแบบ เช่น รัฐบาลลงทุนเองทั้งหมด, รัฐ และเอกชนร่วมลงทุน เป็นต้น ส่วนการตัดสินใจเลือกการลงทุนในรูปแบบใดนั้นจะต้องพิจารณาเรื่องผลตอบแทนและภาระของโครงการเป็นหลัก รวมถึงต้องดูเงื่อนไขและการรับภาระความเสี่ยงในอนาคตเนื่องจากเป็นโครงการขนาดใหญ่ด้วย

ทั้งนี้คาดว่าโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกจะมีความชัดเจน และเสนอให้ คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาเห็นชอบได้ภายในสิ้นปี 2560 และในเบื้องต้นโครงการมีมูลค่า 270,000 ล้านบาท โดยวิธีการคำนวณใช้วิธีการลงทุนสูงในช่วงแรก การบำรุงรักษาต่ำ ซึ่งดีกว่าหากเปรียบเทียบกับการลงทุนถูกแต่ค่าบำรุงรักษาแพง อย่างไรก็ตามหากโครงการก่อสร้างหากโครงการเป็นไปตามแผนจะเริ่มการและจะแล้วเสร็จในปี 2565

สำหรับรูปแบบโครงการเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ -พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร โดยมีจุดที่เป็นสถานีหลักๆ เช่น สถานีดอนเมือง ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร สุโขทัย และพิษณุโลก โดยขณะนี้ได้มีการสำรวจตัวเลขเรื่องของผลตอบแทนของโครงการในกรณีที่รวมผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจในภาพรวมคาดการณ์อยู่ที่ 14.7% ซึ่งเป็นผลตอบแทนที่ค่อนข้างสูงแต่ต้องมีการพิจารณาเกี่ยวกับเงื่อนไขในการพัฒนาเมืองและการพัฒนารอบสถานี นอกจากนี้ ทางฝ่ายไทยยังได้มีขอให้ญี่ปุ่นไปขยายความเกี่ยวกับโอกาสในการพัฒนาเมืองตามเส้นทางมีมากน้อยแค่ไหน โดยให้เทียบเมืองตามเส้นทางกับเมืองในญี่ปุ่นที่มีการนำมาเปรียบเทียบว่า จะมีผลประโยชน์เพิ่มขึ้นจากที่เคยคำนวณไว้อย่างไร ซึ่งคาดว่าจะทราบรูปแบบในอีก 2-3 เดือน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคมและโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า ตามที่ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) เปิดให้บริการเดินรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายช่วงสถานีบางซื่อ เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีม่วงสถานีเตาปูน ตั้งแต่วันที่ 11สิงหาคม 2560 เป็นต้นมา พบว่าปัจจุบันมีปริมาณผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วงเพิ่มขึ้นกว่า 48,000 คนต่อวัน

สำหรับโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-บางซื่อ 1 สถานี ระยะทาง 1.2 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) และสถานีบางซื่อของรถไฟฟ้า สายเฉลิมรัชมงคล (สายสีน้ำเงิน) ซึ่งผู้โดยสารสามารถเดินทางได้อย่างต่อเนื่องระหว่างรถไฟฟ้าสายสีม่วงและสายสีน้ำเงิน โดยเปลี่ยนขบวนรถที่สถานีเตาปูน ภายหลังเปิดเดินรถไฟฟ้าช่วงเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนและสถานีบางซื่อ ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 11-31 สิงหาคม 2560 ปรากฏว่า จำนวนผู้โดยสารวันธรรมดาหลังการเชื่อมต่อเพิ่มขึ้นสูงถึงร้อยละ 47.18 จากเฉลี่ย 33,130 คนต่อวัน เป็น 48,760 คนต่อวัน และจากข้อมูลล่าสุดวันที่ 6 กันยายน 2560 ปรากฏว่ามีจำนวนผู้โดยสารถึง 59,431 คนต่อวัน สูงสุดนับตั้งแต่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 สิงหาคม 2559
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/09/2017 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ดันรถไฟ2.7แสนล. ‘กรุงเทพฯ-พิษณุโลก’เสร็จปี’65
แนวหน้า วันเสาร์ ที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2560, 06.00 น.


ชงรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเข้า ครม.ปลายปี ผุดเฟสแรกไฮสปีด “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก”
เผยแพร่: 8 กันยายน พ.ศ. 2560,18:21:00 ปรับปรุง: 9 กันยายน พ.ศ. 2560,:15:00 โดย: MGR Online


“อาคม” คาดชง ครม.อนุมัติรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ปลายปีนี้ ลงทุน 2.7 แสนล้าน ก่อสร้าง 4 ปี และหารือญี่ปุ่นศึกษารูปแบบการพัฒนาเมืองรอบสถานีเพื่อเพิ่มโอกาสสร้างรายได้อุดหนุนค่าโดยสาร

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับผู้แทนกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (Ministry of Land, Infrastructure Transport and Tourism, MLIT) ว่า ทาง MLIT ได้รายงายความคืบหน้าการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร คาดว่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 เดือน ขณะนี้อยู่ระหว่างรับฟังความคิดเห็น โดยคาดว่าจะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาได้ในสิ้นปี 2560 และหากสามารถดำเนินการได้ตามแผนงานจะเริ่มทำการออกแบบรายละเอียด แล้วเสร็จปี 2561 เริ่มก่อสร้างในปี 2562 ใช้ระยะเวลาก่อสร้าง 4 ปี แล้วเสร็จปี 2565 และเปิดให้บริการ

ซึ่งเบื้องต้นพบว่าการลงทุนช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ประมาณการค่าก่อสร้างเบื้องต้นที่ 270,000 ล้านบาท มีผลตอบแทนด้าน (EIRR) ประมาณ 14.7% ภายใต้เงื่อนไขต้องมีการพัฒนาเมืองรอบสถานีด้วย ซึ่งได้ให้ทางญี่ปุ่นศึกษาเพิ่มเติมแนวทางการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางโครงการว่าแต่ละพื้นที่มีโอกาสพัฒนาอย่างไร เปรียบเทียบกับการพัฒนาเมืองตามแนวเส้นทางรถไฟของญี่ปุ่น

สำหรับรูปแบบการลงทุนในโครงการนั้น การศึกษาของญี่ปุ่นเสนอหลายรูปแบบที่ ทั้งแบบรัฐบาลลงทุนเอง รัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เอกชนลงทุนระบบรางและเดินรถ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลและนักลงทุนภาคเอกชนญี่ปุ่นมีความสนใจที่จะเข้ามาร่วมลงทุน โดยจะพิจารณาผลตอบแทนและภาระการลงทุนของโครงการก่อน รวมถึงเงื่อนไขการรับความเสี่ยงในอนาคต เช่น จำนวนผู้โดยสาร เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 10/09/2017 11:38 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
คมนาคมเร่งเครื่องไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นชงครม.ปีนี้
นสพ.บ้านเมือง วันศุกร์ ที่ 08 กันยายน พ.ศ. 2560, 15.40 น.


ไฮสปีดเทรนญี่ปุ่นชงครม.ปีนี้ เฟส1กรุงเทพฯ-พิษณุโลก คาดเงินลงทุน2.7แสนล.
ไทยโพสต์
9 กันยายน พ.ศ. 2560, - 00:08

"อาคม" เผยไฮสปีดเทรนไทย-ญี่ปุ่นเฟสแรก กรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงิน 2.7 แสนล้านบาท จ่อคิวเข้า ครม.ภายในปีนี้ หลังสรุปการรับฟังความเห็น ตั้งเป้าเริ่มก่อสร้างปี 2562 เปิดใช้ปี 2565 ด้าน รฟม.รายงานตัวเลขผู้โดยสารสายสีม่วงกระฉูดวันละ 6 หมื่นคน หลังเชื่อมต่อสถานีเตาปูน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ว่า การศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร อยู่ในขั้นตอนรับฟังความคิดเห็น และจะเสร็จสมบูรณ์ในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า จากนั้นจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพื่อขออนุมัติโครงการภายในปีนี้

"ความชัดเจนในปีนี้ น่าจะเป็นขั้นตอนการเสนอโครงการช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกให้ ครม.เห็นชอบ แต่ต้องรอให้เขาทำรายงานฉบับสุดท้ายก่อน ส่วนมูลค่าโครงการยังไม่นิ่ง แต่ประมาณ 2.7 แสนล้านบาท ซึ่งวิธีการคิดของญี่ปุ่น คือ ลงทุนสูงช่วงแรก แต่ค่าบำรุงรักษาต่ำในระยะยาว" นายอาคมกล่าว

ตามแผน คาดว่าจะเริ่มออกแบบรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ในปี 2561 เริ่มก่อสร้างในปี 2562 และเปิดให้บริการในปี 2565 โดยเส้นทางจะประกอบด้วย 6 สถานี ได้แก่ ดอนเมือง ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก สุโขทัย ส่วนค่าโดยสารจะมีอัตราใกล้เคียงกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

นายจิรุตม์ วิศาลจิตร ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และโฆษกกระทรวงฯ กล่าวว่า การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รายงานการดำเนินโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน ส่วนต่อขยายช่วงเตาปูน-บางซื่อ จำนวน 1 สถานี เชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนของรถไฟฟ้ามหานคร สายฉลองรัชธรรม (สายสีม่วง) ภายหลังการเปิดเดินรถไฟฟ้าช่วงเชื่อมต่อระหว่างสถานีเตาปูนและสถานีบางซื่อ

ส่งผลให้จำนวนผู้โดยสารของรถไฟฟ้าสายสีม่วง มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยตั้งแต่วันที่ 11-31 ส.ค.60 จำนวนผู้โดยสารวันธรรมดาหลังการเชื่อมต่อ เพิ่มขึ้นถึง 47.18% จากเฉลี่ย 33,130 คนต่อวัน เป็น 48,760 คนต่อวัน และจากข้อมูลล่าสุด วันที่ 6 ก.ย. มีจำนวนผู้โดยสารถึง 59,431 คนต่อวัน สูงสุดนับตั้งแต่รถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง เริ่มเปิดให้บริการเมื่อวันที่ 6 ส.ค.2559 เป็นต้นมา

นอกจากนี้ รฟม.ได้ขยายระยะเวลาโปรโมชั่นค่าโดยสารของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง ในราคา 14-29 บาท สำหรับวันธรรมดา เฉพาะผู้ถือบัตร MRT และ MRT Plus และ 15 บาทตลอดสาย ในวันหยุดออกไปจนถึงสิ้นปี 2560 และมีโปรโมชั่นลดอัตราค่าจอดรถ 50% จากอัตราค่าจอดรถปกติ โดยคิดค่าบริการ 2 ชั่วโมง 5 บาท สำหรับผู้ใช้บริการรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง และชั่วโมงละ 10 บาท สำหรับผู้ไม่ใช้บริการรถไฟฟ้า และเดือนละ 500 บาท สำหรับผู้ใช้บริการจอดรถรายเดือน เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนพฤติกรรมมาเดินทางด้วยรถไฟฟ้ามากขึ้น

ทั้งนี้ อาคารจอดรถของรถไฟฟ้า MRT สายสีม่วง มีให้บริการ 4 แห่ง ได้แก่ สถานีคลองบางไผ่ สถานีสามแยกบางใหญ่ สถานีบางรักน้อย ท่าอิฐ และสถานีแยกนนทบุรี 1 ตั้งแต่เวลา 05.00-01.00 น..
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2017 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

วิสัยทัศน์ผู้นำไทยมองการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนที่ 1
MGR Online เผยแพร่: 9 ก.ย. 2560 09:04:00

MRG ONLINE--จีนจัดการประชุมสุดยอดกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 3-5 ก.ย. ณ นครซย่าเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน พร้อมกับขยายวงความร่วมมือ “บริกส์ พลัส” (BRICS PLUS) โดยดึงกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาเข้ามาเป็นคู่หุ้นส่วนเพิ่ม เพื่อขยายความร่วมมือสู่โลกใต้ (South-South Cooperation)

สำหรับกลุ่มเศรษฐกิจ BRICS ประกอบด้วยสมาชิก 5 ประเทศ คือ บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้ นับเป็นตลาดใหญ่มหึมา และมีอิทธิพลทางเศรษฐกิจ กลุ่มสมาชิก BRICS มีประชากรรวมกัน คิดเป็นสัดส่วนถึง 44 เปอร์เซ็นต์ของโลก และขนาดการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) คิดเป็น 23 เปอร์เซ็นต์ สูงจากระดับ 12 เปอร์เซ็นต์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว

ปีนี้จีนเป็นประธานบลิกส์ซึ่งเป็นวาระหมุนเวียนทุกปี และเป็นเจ้าภาพจัดซัมมิต ที่นครซย่าเหมินได้เชิญประเทศกำลังพัฒนาจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก 5 ประเทศ ได้แก่ ไทย อียิปต์ กินี เม็กซิโก และทาจิกิสถาน ผนึกกำลังเป็น บริกส์ พลัส เพื่อเป็นเวทีขยายวงความร่วมมือสู่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในซีกโลกใต้เส้นศูนย์สูตร โดยมีเป้าหมายขยายบทบาทอิทธิพลการพัฒนาและธรรมาภิบาลเศรษฐกิจโลก

ไทยเป็นประเทศเดียวในเอเชียที่ได้รับเชิญมาปรึกษาหารือการขยายความร่วมมือบริกส์ พลัส ในรอบ “การเจรจากลุ่มประเทศตลาดเกิดใหม่และกำลังพัฒนา” ที่จัดในวันที่ 5 ก.ย. นายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้เดินทางมาเข้าร่วมประชุม พร้อมกับบรรลุภารกิจลงนามสัญญาความร่วมมือและความสัมพันธ์ทวิภาคีที่ถือเป็นแบบอย่างความร่วมมือการเชื่อมโยงระหว่างกัน (connectivity) ที่จีนกำลังผลักดันภายใต้ความริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt, One Road)

ประธานาธิบดี สี จิ้นผิง ได้พบปะกับนายกรัฐมนตรี ประยุทธ์ในวันจันทร์ (4 ก.ย.) สีกล่าวชื่นชมการเข้าร่วมความริเริ่ม หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง และเรียกร้องขยายความร่วมมือระหว่างสองฝ่ายในภาคต่างๆ การลงทุน เส้นทางรถไฟ การเงินอินเทอร์เน็ต เศรษฐกิจดิจิตัล และอี-คอมเมิร์ช เป็นต้น

ฝ่ายจีนยังแสดงความหวังอีกว่า ไทยจะช่วยผลักดันความร่วมมือแม่โขง-หลันชาง (หลันชาง คือ แม่น้ำโขงตอนบนที่ไหลผ่านจีน) และพัฒนาความความสัมพันธ์จีน-อาเซียน ไปสู่ระดับที่สูงขึ้น ฝ่ายไทยรับรองสนับสนุนและเข้าร่วมผลักดัน ความริเริ่มหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง และความร่วมมือแม่โขง-หลันชาง อย่างขันแข็ง

สัญญาพัฒนาความสัมพันธ์ไทย-จีนยุคหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง

เอกอัครราชทูตไทยประเทศกรุงปักกิ่ง นาย พิริยะ เข็มพล ได้ให้สัมภาษณ์เกี่ยวกับวิสัยทัศน์ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนของรัฐบาลไทย ว่าระหว่างการประชุมสุดยอด บริกส์ ไทยและจีนได้ร่วมลงนามสัญญาความร่วมมือฉบับต่างๆ ได้แก่ แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทยจีน ระยะเวลา 5 ปี (2560-64) ซึ่งจะเป็นแผนปฏิบัติการ (Action Plan )สำหรับดำเนินความสัมพันธ์ไทย-จีน วางกรอบความร่วมมือกัน

สัญญาฉบับที่สอง คือ การลงนามสัญญาโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย โดยสัญญาที่ลงนามนี้เป็นสัญญาการออกแบบและควบคุมงานก่อสร้างฯเฟสแรกคือช่วงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร อัตราความเร็ว 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง โดยจะเริ่มก่อสร้างภายในปีนี้ และมีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2021
การก่อสร้างเส้นทางรถไฟฯเฟสสองจากนคราราชสีมาถึงหนองคาย จะเริ่มทันทีหลังเฟสแรกแล้วเสร็จ ในอนาคตเส้นทางรถไฟกรุงเทพฯ-หนองคาย จะไปเชื่อมกับเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ที่เชื่อมระหว่างนครคุนหมิง มณฑลอวิ๋นหนัน (ยูนนาน) ทางตะวันตกเฉียงใต้ของจีน และกรุงเวียงจันทน์ในลาว

เส้นรถไฟความเร็วสูงสายนี้เป็นสัญลักษณ์ความคืบหน้าของนโยบายหนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง ร่วมกับไทยในการสร้างความเชื่อมโยง จีนต้องการเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาคทั่วโลก แต่ไม่มีเส้นทางไหนที่สร้างเป็นรูปธรรมเท่ากับเส้นทางนี้ โดยเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงขนส่งผู้โดยสารเส้นทางแรก ส่วนเส้นทางรถไฟสายๆอื่นล้วนเป็นเส้นทางรถไฟขนส่งสินค้า ผู้นำจีนจึงให้ความสำคัญมาก และยกเป็นตัวอย่างความร่วมมือในการประชุม บริกส์ พลัส

ผู้นำไทย-จีน ยังได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมทางบก และเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21

"ฝ่ายจีนต้องการบันทึกความเข้าใจระหว่างสองประเทศ เพื่อสร้างความชัดเจนว่าความร่วมมือในนโยบาย หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง จะมีอะไรบ้าง และสร้างความชัดเจนในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม การพัฒนาที่ยั่งยืน การเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐาน เอ็มโอยูฉบับนี้จะเป็นประโยชน์กับไทย ไทยมีโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก และการเชื่อมโยงกับจีน ทำให้เกิดความชัดเจน ความเชื่อมั่นในการร่วมมือพัฒนา ถ้าไม่มีเอ็มโอยู ก็จะเป็นแค่คำพูด” นาย พิริยะ กล่าว

เส้นทางรถไฟความเร็วสูง “สร้างก่อน ได้เปรียบกว่า”
นายพิริยะกล่าวถึงการสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงในตอนนี้ “ขณะที่ประเทศอื่นๆมีแผนสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเช่นกัน หากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย มาเลเซีย หรือสิงคโปร์ เกิดขึ้นก่อน สถานการณ์ก็จะบีบให้ไทยต้องสร้างเส้นทางรถไฟขึ้น การพัฒนาไปก่อนทำให้ไทยได้เปรียบมากกว่าที่จะเป็นผู้ตาม ถือเป็นจังหวะเวลาที่ถูกต้องในการพัฒนา”

“ถ้าเส้นทางฯนี้ ประสบความสำเร็จ จะช่วยให้ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี เกิดขึ้นจริง กลุ่มนักลงทุนจากจีน ฮ่องกง สิงคโปร์ จะรีบเข้ามาลงทุนค้าขาย มาตั้งสำนักงานใหญ่ ถ้าเรารอให้ประเทศอื่นพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตรงนี้ไปก่อน กลุ่มนักลงทุนก็จะไปที่อื่นก่อน”

“นอกจากนี้ เรายังสามารถกระจายความร่วมมือไปยัง CLMV (กัมพูชา ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม) ขณะนี้กลุ่ม CLMV ก็มีแผนสร้างรถไฟคามเร็วสูงเช่นกัน เส้นทางไทยเป็นจุดเริ่มต้นและเส้นทางหลักที่จะเชื่อมไปยังกัมพูชา โดยเฉพาะด้านตะวันออก ด้านตะวันตกก็อาจเชื่อมไปเมียนมาร์ อินเดีย”

“ไทยเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่เส้นทางอื่นๆจะต้องตัดผ่าน ถ้าเวียดนามจะค้าขายกับอินเดีย ก็ต้องหาทางเจรจาความร่วมมือ ถ้าเส้นทางนี้เกิด ชาติอื่นจะวิ่งมาเชื่อมกับเรา มิใช่รอให้คนอื่นทำสำเร็จแล้ว ไทยวิ่งแจ้นไปเชื่อมกับคนอื่นซึ่งจะสูญเสียความได้เปรียบ”

“ไทยมีจุดยุทธศาสตร์ที่โดดเด่น แต่ไม่มีเส้นทางรถไฟ ก็ไม่เสริมประโยชน์ให้จุดยุทธศาสตร์ เหมือนกับเรามีจุดยุทธศาสตร์ที่จะมีคนเดินทางผ่านมากมาย แต่ไม่มีสนามบินสุวรรณภูมิ ก็ไม่สามารถรองรับคน 40 ล้านคนได้ เศรษฐกิจก็ขยายตัวไม่ออก”

“ขณะนี้นักท่องเที่ยวจีนเที่ยวไทย 8-9 ล้านคน ถ้ามีเส้นทางรถไฟจากคุนหมิง นักท่องเที่ยวจีนก็จะเดินทางมาไทยง่ายขึ้น คุนหมิง ยูนนานมีประชากรเกือบ 50 ล้านคน เกือบเท่ากับไทย นอกจากนี้ เส้นทางรถไฟคุนหมิงยังเชื่อมไปถึงนครเซี่ยงไฮ้ และกว่างโจว

“ดังนั้น การพัฒนาความเชื่อมโยงนี้ เป็นผลประโยชน์แก่ไทย ไทยเป็นผู้ริเริ่มแนวคิดการเชื่อมโยง หรือ connectivity สมัยนั้นเรายังพูดถึงเรื่องการสร้างถนน อาเซียนก็เห็นพ้องแผนการเชื่อมโยงนี้ แต่ไม่เกิดเสียที จนเข้าสู่ยุคเส้นทางรถไฟความเร็วสูงแล้ว หากไทยพัฒนาไปก่อน มีกระแสลงทุนเข้ามายังไทย อีอีซี ก็จะเกิดขึ้น”

“ความคุ้มทุนในการสร้างเส้นทางรถไฟ หากคิดแค่จำนวนประชากร 30-40 ล้านคนที่อยู่รอบๆทางรถไฟ ก็ไม่คุ้ม แต่ยังมีประชาชนจากคุนหมิง สิงคโปร์ มาเลเซีย กระแสคนเดินทางจำนวนมากที่จะใช้เส้นทางนี้ สถานีรถไฟขอนแก่นจะเปลี่ยนโฉมไป รวมทั้งสถานีที่เป็นจุดจอดพักรถแห่งหลักอย่างโคราช ก็จะกลายเป็นศูนย์กลางค้าขาย การติดต่อระหว่างกัน ซึ่งจะนำกำลังซื้อไหลเข้ามา สร้างตลาดที่ใหญ่ขึ้น เศรษฐกิจหนองคายจะเปลี่ยนไป ในเชิงธุรกิจมีพัฒนาการสูงขึ้น”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/09/2017 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ ต้อนรับคณะนักลงทุนญี่ปุ่นหวังร่วมป็นหุ้นส่วนศก.พัฒนา ECCi เป็นแลนด์มาร์คแหล่งอุตสาหกรรมเอเชีย
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 11 กันยายน 2560 17:47:56 น.

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กล่าวต้อนรับ Mr.Hiroshige Seko รมว.เศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมญี่ปุ่น (METI) พร้อมด้วยหน่วยงานด้านเศรษฐกิจและคณะนักลงทุนรายใหญ่กว่า 570 รายจากประเทศญี่ปุ่น เนื่องในโอกาที่ความสัมพันธ์ของทั้ง 2 ประเทศดำเนินมาสู่ปีที่ 130 พร้อมเผยญี่ปุ่นยังเชื่อมั่นในเสภียรภาพทางเศรษฐกิจ ย้ำปีนี้การเมืองไทยมั่นคงที่สุดในรอบ 10 ปี

นอกจากนี้ ในการพบกันครั้งนี้ยังได้ผลักดันให้เกิดการเชื่อมโยงยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 และ Connected Industries ไปสู่นโยบาย Thailand 4.0 Towrrds Connected Industries เพื่อจับมือร่วมกันในการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจต่อเนื่องถึงการส่งเสริมการเปิดเสรีการค้าและการลงทุน

"เร็วๆ นี้มีข่าวน่ายินดีที่เศรษฐกิจของประเทศญี่ปุ่นเติบโตมากที่สุดในรอบ 2 ปีและเป็นผลต่อเนื่องให้เกิดการกระตุ้นการใช้จ่าย การลงทุน ตลอดจนการผลักดันนโยบายอาเบะโนมิกส์ และ Connected Industries ที่ทั้ง 2 นโยบายดังกล่าจะเชื่อมโยงมาสู่ยุทธศาสตร์การส่งเสริมกลุ่มประเทศ CLMVT การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) รวมทั้งนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ซึ่งจะทำให้เกิดการร่วมมือและขับเคลื่อทั้ง 2 ประเทศ ไปสู่อนาคตอย่างมีนัยสำคัญ"

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในการเชื่อมโยงการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รัฐบาลและหน่วยงานต่างๆ ยังคงยึดแม่เหล็กใหญ่คือนโยบายไทยแลนด์ 4.0 เป็นสำคัญ โดยหลักการดังกล่าวนั้นสามารถเชื่อมโยงและร้อยเรียงกับนโยบาย Connected Industries ของประเทศญี่ปุ่นให้เกิดความสอดคล้องและเติมเต็มระหว่างกันและนำไปสู่ยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 Towards Connected Industries ได้อย่างดีเยี่ยม

ทั้งนี้ การเชื่อมต่อของทั้งสองนโยบายจะเริ่มต้นที่การเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์และเศรษฐกิจ ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านเสรีการค้า การส่งเสริมการลงทุน การพัฒนา 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย และผู้ประกอบการ SMEs ของทั้งสองประเทศ โดยปัจจัยทั้งหมดนี้ยังจะช่วยยกระดับระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกของไทย ให้เป็นแลนด์มาร์คของแหล่งอุตสาหกรรมที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของเอเชีย

นอกจากนี้ รัฐบาลยังมีแผนงานการลงทุนเพื่อยกระดับและพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกให้เป็นพื้นที่เศรษฐกิจใหม่ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม (EECi) ที่มีจุดเด่นด้านความเป็นเมืองนวัตกรรมที่เป็นต้นแบบของการพัฒนางานวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมในลักษณะองค์รวม มีการใช้ทรัพยากรร่วมกันเพื่อก่อประโยชน์สูงสุดด้วยการรวมศูนย์ห้องปฏิบัติการและสนามทดสอบนวัตกรรม ศูนย์รับรองมาตรฐานนวัตกรรมทางด้านระบบและอุปกรณ์อัจฉริยะ โดยจัดตั้งเป็นเขตทดสอบนวัตกรรมอัจฉริยะของประเทศที่ผ่อนปรนกฎระเบียบที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการคิดค้นนวัตกรรม

ทั้งนี้ รัฐบาลยังได้กำหนดแผนการลงทุนพัฒนาโครงข่ายคมนาคมขนส่งภายใต้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ในระยะ 5 ปี (60 – 64) เพื่อเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมขนส่งสินค้าระหว่างกรุงเทพฯ กับภาคตะวันออกรวมทั้งเชื่อมสู่ทุกภูมิภาคทั่วประเทศ และเป็นประตูสู่เมียนมา เวียดนาม สปป.ลาว กัมพูชา และจีนตอนใต้ ซึ่งประกอบด้วยโครงการสำคัญๆ ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ในระยะ 5 ปีแรก จะเพิ่มขีดความสามารถให้รองรับผู้โดยสารจาก 3 ล้านคน เป็น 5 ล้านคนต่อปี และ 60 ล้านคนภายในปี 2575, โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมต่อการเดินทางและการขนส่ง,

โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เพื่อรองรับความต้องการขนส่งสินค้าทางทะเลระหว่างประเทศในอนาคต, โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 เพื่อให้เป็นส่วนหนึ่งของสาธารณูปโภคหลักในการรองรับการขนส่งสินค้าเหลว ก๊าซธรรมชาติ และอุตสาหกรรมต่อเนื่อง, โครงการพัฒนาท่าเรือพาณิชย์สัตหีบ, โครงการก่อสร้างถนนมอเตอร์เวย์ 3 เส้นทาง, ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จด้านการลงทุน (OSS: One Stop Service) เพื่ออำนวยความสะดวกแก่นักลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมาย

นอกจากนั้น เพื่อสร้างแรงจูงใจให้เกิดการลงทุนในประเทศ รัฐบาลยังได้แก้ไขกฎหมายการส่งเสริมการลงทุน และออกมาตรการเพื่อเร่งรัดการลงทุนเพิ่มเติม ตลอดจนเพิ่มสิทธิประโยชน์และการอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่สอดคล้องกับความต้องการของนักลงทุนอีกเป็นจำนวนมาก เพื่อหวังให้เกิดการลงทุนรูปแบบใหม่ๆ ตลอดจนการส่งเสริมให้ไทยเป็นฐานการลงทุนต่อไปยังประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้น โดยยังตั้งเป้าให้มีการถ่ายทอดหรือแลกเปลี่ยนในอุตสาหกรรมเดิมและอุตสาหกรรมใหม่ อาทิ ยานยนต์ อากาศยาน เครื่องมือแพทย์ Green Technology ฯลฯ ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลนี้จะอัพเกรดให้ทุกอย่างอยู่ภายใต้คอนเซปต์ “สมาร์ท" เพื่อให้ความก้าวล้ำเกิดขึ้นอย่างทั่วถึง

นายกรัฐมนตรี ได้ตอบคำถามนักธุรกิจญี่ปุ่นถึงความคาดหวังในความร่วมมือครั้งนี้ว่า ไทย-ญี่ปุ่นมีความสัมพันธ์ทุกระดับมาแต่ในอดีต โดยขอให้อย่าหวาดระแวงเรื่องใดๆ ทั้งสิ้น ทั้งนี้รัฐบาลหวังว่าจะมีการขยายความมือใหม่ๆ การถ่ายทอดเทคโนโลยี เพื่อให้ประเทศไทยหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ปานกลาง และขอให้มั่นใจว่าโครงการ EEC จะมีการลงทุนต่อเนื่องและยั่งยืน ซึ่งะในอนาคตจะขยายเชื่อมโยงไปยังภาคต่างๆ ในลักษณะเดียวกัน

นอกจากนี้ รัฐบาลให้ความสำคัญกับ SME จึงอยากให้นักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาช่วยเรื่องแนวทางการพัฒนาเพื่อสร้างอาชีพ สร้างงาน และเชื่อมโยงเศรษฐกิจ เพื่อสร้างการเติบโตในประเทศ ซึ่งญี่ปุ่นเป็นต้นแบบของการพัฒนา SME โดยหวังว่านักลงทุนญี่ปุ่นจะได้รับประโยชน์ในการทำตลาดอาเซียน ขณะที่ไทยจะพาเพื่อนบ้านก้าวไปข้างหน้าด้วย

ทั้งนี้ คณะผู้เดินทางจากญี่ปุ่น ประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูงทั้งภาครัฐและภาคเอกชน อาทิ อธิบดีกรมนโยบายการค้า ประธานองค์การส่งเสริมการค้าต่างประเทศของญี่ปุ่น-กรุงเทพฯ (JETRO) ประธานองค์การสนับสนุน SME แห่งประเทศญี่ปุ่น (SMRJ) ผู้บริหารบริษัท อายิโน๊ะโมโต๊ะ คูโบต้าคอร์ปอเรชั่น มิตซุยซูมิโตโม่อินชัวรันส์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/09/2017 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ
Daoreuk Studio 12 ก.ย. 60


https://www.youtube.com/watch?v=HUzk3gyQDAM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 231, 232, 233 ... 547, 548, 549  Next
Page 232 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©