Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311282
ทั่วไป:13263081
ทั้งหมด:13574363
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 247, 248, 249 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 9:00 am    Post subject: Reply with quote

ใกล้เป็นจริง!รถไฟไฮสปีด สายแรกจากไทยไปคุนหมิง
เดลินิวส์ อังคารที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 08.00 น.

สัปดาห์นี้เล่าถึงการพลิกประวัติศาสตร์จากรถไฟธรรมดาสู่รถไฟความเร็วสูงไทย-จีนสายแรก จากกรุงเทพฯ-โคราชไปคุนหมิงจะได้ใช้เมื่อไหร่ไปติดตามกัน!!

หลังใช้เวลายาวนานเกือบ 3 ปี ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนกันถึง 22 ครั้ง ในที่สุด กระทรวงคมนาคม ก็เริ่มก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดเทรนไทย-จีนแล้วเมื่อวันที่ 21 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานที่มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา

รัฐบาลมีแผนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะทาง 354 กม. โดยเริ่มโครงการระยะแรกจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 252.5 กม. เป็นทางยกระดับประมาณ 189 กม. ระดับดินประมาณ 64 กม. และอุโมงค์ 6.4 กม. เม็ดเงินลงทุนก้อนโต 179,000 ล้านบาท ไทยลงทุนทั้งหมดและรับผิดชอบงานก่อสร้างโยธา ส่วนจีนเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง ออกแบบและผลิตรถไฟความเร็วสูงรวมทั้งระบบอาณัติสัญญาณ

จุดแรกที่เริ่มก่อสร้าง คือช่วงกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ระยะทาง 3.5 กม. งบประมาณ 430 ล้านบาท กระทรวงคมนาคมมอบหมายกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ก่อสร้างเพื่อความรวดเร็วได้ระดมบุคลากรกว่า 100 คน และเครื่องจักรเต็มกำลังเร่งงานก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายใน 4-6 เดือน มีทีมวิศวกรฝ่ายจีนมาร่วมถ่ายทอดเทคโนโลยี 15 คน และวิศวกรฝ่ายไทยรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีด้วย 6 คน

จากนั้นจะออกแบบก่อสร้างโครงการอีก 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช 119.5 กม. และ ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ 110 กม. แบ่งสัญญาเพื่อร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) รวม 14 สัญญา จะทยอยเปิดประกวดราคากลางปี 61 ก่อสร้างและเปิดบริการเป็นช่วงๆ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกกรุงเทพฯ- พระนครศรีอยุธยาก่อนใช้เวลา 3-4 ปี ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา จะแล้วเสร็จในปี 64 วางเป้าหมายเปิดบริการปี 65 เนื่องจากรอทดสอบระบบ

สำหรับสถานีขึ้นรถไฟความเร็วสูงมี 6 แห่ง คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ด้วยความเร็ว 250 กม. ต่อชม. ใช้เวลาเดินทางจากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 1.30 ชม. สูงกว่าความเร็วของรถไฟฉึกกะฉักปู๊นๆ ขณะนี้ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 80 กม. ต่อชม.ไม่ต้องเปรียบเทียบเวลาเดินทางของรถไฟปัจจุบันหรือทางรถยนต์ เพราะนักขับแต่ละคนรู้กันดีอยู่แล้วว่า...หลายชม. โดยเฉพาะช่วงเทศกาลติดหนึบ!!

คาดการณ์ปริมาณผู้โดยสารช่วงแรก 5,300 คนต่อวัน และในปี 2594 จะมีผู้ใช้บริการขั้นต่ำ 26,800 คนต่อวัน เดินรถ 6 ขบวนๆ ละ 600-800 คน ค่าโดยสารเริ่มต้นที่ 80 บาท บวกเพิ่ม 1.8 บาทต่อกม. จากกรุงเทพ-นครราชสีมาราคา 535 บาท กรุงเทพ-ปากช่อง 393 บาท กรุงเทพ-สระบุรี 278 บาท กรุงเทพ-อยุธยา 195 บาท และกรุงเทพ-บางซื่อ-ดอนเมือง 105 บาท...ถือว่าราคา “เอื้อมถึง” หากจะซื้อความรวดเร็วและความสะดวกสบายกว่ารูปแบบการเดินทางที่เจออยู่ในวันนี้

นอกจากความเร็วที่เหนือกว่าแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เจ้าของโครงการแอบกระซิบมาว่า...ตัวรถไฟความเร็วสูงที่จีนจะผลิตเป็นรุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของบริษัทซีอาร์อาร์ซี ที่นั่งมีทั้งชั้นประหยัดและชั้นธุรกิจ ราคาแตกต่างกัน ภายในขบวนรถออกแบบให้มีความกว้างสิ่งอำนวยความสะดวกสบายครบครัน มีระบบนวดเท้าด้วย

คาดว่าจะลงนามสัญญาซื้อรถวงเงิน 54,000 ล้านบาท ในเดือน เม.ย.61 อีก 3 ปี จะเริ่มส่งขบวนรถมาทดสอบ 6 เดือน มีข่าวดีแล้วด้วย...ช่วงแรกจะเปิดให้ประชาชนทดลองนั่งฟรีก่อนเก็บค่าตั๋ว

อัตราค่าโดยสารที่กำหนดไว้ คือเบื้องต้นและเป็นราคามาตรฐาน เมื่อเปิดให้บริการจริงจะคิดแบบเดียวกับสายการบินต้นทุนต่ำ หรือโลว์คอสท์ คือจะลดราคาลงจากที่กำหนดหากจองตั๋วล่วงหน้า แต่ถ้าจองกระชั้นชิดก็แพงขึ้น พร้อมให้บริการตั๋วเดือนราคาประหยัดจูงใจประชาชนด้วย

ส่วนระยะที่ 2 จากกรุงเทพฯ-หนองคาย วางแผนเปิดบริการปี 66 เชื่อมรถไฟความเร็วสูงเส้นทางไทย-สปป.ลาว-จีน โดยขณะนี้การก่อสร้างช่วงเวียงจันทน์-หลวงน้ำทา-คุนหมิง ระยะทาง 427 กม. จะแล้วเสร็จพร้อมเปิดบริการปี 65 เสร็จทันไล่เลี่ยกับช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ดังนั้นฝันของคนไทยที่จะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพ-คุนหมิง ระยะทางประมาณ 1,500 กม. ใช้เวลา 13-14 ชม.ใกล้เป็นจริงแล้ว...

การกำหนดวันเริ่มก่อสร้าง 21 ธ.ค. มีความหมายทางประวัติศาสตร์ของไทย เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 เสด็จฯ ตรวจเยี่ยมการก่อสร้างทางรถไฟสายแรกของไทย จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมาที่สถานีปางอโศก วันที่ 21 ธ.ค. 2441 และยังเสด็จฯ เปิดการเดินรถไฟสายนี้เมื่อวันที่ 21 ธ.ค.2443

มีเรื่องเล่าด้วยว่า...ช่วงก่อสร้างถึงบริเวณสถานีรถไฟกลางดง หลักกม.ที่ 160.03 บริเวณนั้นเป็นป่าดงดิบ มีไข้ป่า ประกอบกับความเชื่อต่างๆ เมื่อผ่านดงพญาไฟ คนงานและวิศกรต้องสังเวยชีวิตมากมาย เพราะไปตัดต้นไม้ใหญ่ๆ ทำให้เกิดปัญหาอุปสรรค จึงต้องทำพิธีอัญเชิญตราแผ่นดินไปประทับตามต้นไม้ที่จะโค่น พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระเมตตาเปี่ยมล้นเสด็จฯ ไปทอดพระเนตรและลงเดินเท้าที่ปลายรางรถไฟที่สร้างไปถึงที่นั่น ในวันที่ 21 ธ.ค.2441 นั่นเอง เป็นที่มาของ “มอหลักหิน” สถานที่บันทึกประวัติศาสตร์ไทย

21 ธ.ค.2560 นี้จะเป็น “การพลิกประวัติศาสตร์” รถไฟสู่รถไฟความเร็วสูงสายแรกของไทย!!
…....................................
คอลัมน์ : มุมคนเมือง
โดย “เทียนหยด”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 9:28 am    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” ลังเลรถไฟเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 ธ.ค. 2560 08:04

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยถึงผลการหารือระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือที่มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม พิษณุโลก ว่า ผลของการประชุมจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จังหวัดสุโขทัย วันที่ 26 ธ.ค.นี้ โดยนายกรัฐมนตรีสั่งการให้กระทรวงคมนาคมศึกษาความคุ้มค่า และวงเงินลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด เทรน) กรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังจากที่ญี่ปุ่นเพิ่งส่งผลการศึกษากลับมาว่าต้องลงทุนสูงถึง 400,000 ล้านบาท โดยให้กลับมาอธิบายเพิ่มเติมถึงผลตอบแทนของยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง และภูมิภาคจะสอดรับกับโครงการนี้อย่างไร

ขณะเดียวกัน ได้สั่งการให้นำเรื่องการพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา (แอลอาร์ที) ของเชียงใหม่ เข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ว่าจะใช้ระบบพีพีพีหรือไม่ รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมเร่งพิจารณารายละเอียด และจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายขนส่งทางอากาศ ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนภาคเหนือเร่งรัดให้จัดทำโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 เพราะท่าอากาศยานที่มีอยู่มีปัญหาจราจรติดขัดทางเข้าออก และจะเต็มขีดความสามารถในการรองรับผู้โดยสาร 35 ล้านคน ในปี 73 รวมถึงพิจารณาข้อเสนอการปรับปรุงท่าอากาศยาน ลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลกพร้อมกันนั้น ยังเห็นชอบในหลักการและมอบให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงคมนาคมจัดลำดับความจำเป็นเร่งด่วนพัฒนาแหล่งน้ำในลุ่มน้ำหลักของภาคเหนือ โดยให้คำนึงถึงการอนุรักษ์ ฟื้นฟู เพิ่มพื้นที่ป่าต้นน้ำ การแก้ปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และภัยแล้งด้วย.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 12:55 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” โปรยงบภาคเหนือตอนล่าง ดึงคันเร่ง 3 โครงการน้ำ-ราง-สนามบิน
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 25 ธันวาคม 2560 - 18:25 น.

“บิ๊กตู่” โปรยงบภาคเหนือตอนล่าง ดึงคันเร่ง 3 โครงการน้ำ-ราง-สนามบิน ดันท่าอากาศยานเชียงใหม่ แห่งที่ 2 รองรับนักท่องเที่ยว 35 ล้านคน แก้น้ำท่วม-แล้งลุ่มแม่น้ำยม 1.4 พันล้าน ชงรถไฟเส้นทาง เด่นชัย-เชียงของ ลพบุรี-เชียงใหม่ เข้า ครม.มี.ค.62 “ไฮสปีดเทรน” กรุงเทพ ฯ-เชียงใหม่ ส่ออืด ทบทวนความคุ้มค่า 4 แสนล้าน

เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2560 ที่ห้องประชุมศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม จังหวัดพิษณุโลก นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศส.) แถลงผลการประชุมระหว่าง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่นและผู้แทนเกษตรกรภาคเหนือ ระหว่างเดินทางไปประชุมคณะรัฐมนตรีนอกสถานที่ (ครม.สัญจร) อย่างเป็นทางการ จังหวัดพิษณุโลก-สุโขทัย ระหว่างวันที่ 25-26 ธันวาคม 2560 ว่าที่ประชุมได้รับทราบข้อเสนอเพื่อนำไปพิจารณา 6 ด้าน ประกอบด้วย

1.ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ได้แก่ 1.1 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางอากาศ (1) เร่งรัดโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวเต็มศักยภาพในปี 2573 จำนวน 35 ล้านคน ในพื้นที่ศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) เชื่อมต่อจังหวัดเชียงใหม่-ลำพูน อำเภอบ้านทิ (2) ปรับปรุงพัฒนาท่าอากาศยาน ประกอบด้วย การขยายทางวิ่งท่าอากาศยานลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลก ทั้งหมดอยู่ในแผนการขอกรอบวงเงินงบประมาณในปี 2562

1.2 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางบก (1) โครงการมอเตอร์เวย์เชียงใหม่-เชียงราย ซึ่งต้องเจาะภูเขาและอุโมงค์ ถึงแม้จะร่นระยะเวลาในการเดินทางได้เร็วขึ้น แต่ก็ต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น มากกว่าการขยายช่องจราจร 4 เลน ตามแผนของกระทรวงคมนาคม ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมจะต้องไปศึกษาความคุ้มค่าอีกครั้ง (2) สร้างศูนย์การขนส่งสินค้าไปสู่การขนส่งหลายรูปแบบ (Multi Modals Transportation Logistics Center) ซึ่งอยู่ในแผนในปีงบประมาณ 2562 และการเวนคืนที่ดิน


(3) พัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา จังหวัดเชียงใหม่ หรือ Light Rail Transit System (LRL) โดยรัฐบาลลงทุนเอง หรือ ร่วมทุนกับเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ยังไม่ได้ข้อสรุป อย่างไรก็ตามรัฐบาลเห็นว่า รูปแบบการลงทุนควรเป็น PPP โดยจะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ PPP ต่อไป ทั้งนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งทางบกและจราจจร (สนข.) ได้ศึกษาเส้นทางทั้งใต้ดินและบนดิน 34 กิโลเมตรและบนดินทั้งหมด 41 กิโลเมตร

(4) ก่อสร้างทางหลวงแนวใหม่ (เชียงใหม่-เลี่ยงเมืองลำพูน) (5) พัฒนาโครงการข่ายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 101 จังหวัดกำแพงเพชร-สุโขทัย-อุตรดิษถ์-แพร่-น่าน-พะเยา-เชียงราย เพื่อเชื่อมโยงแหล่งท่องเที่ยวมรดกโลก และ (6) ขยายช่องทางจราจร 3-4 ถนน ได้แก่ 1) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 106 เป็น 4 ช่องทางจราจร และสำรวจออกแบบช่วง อำเภอเถิน จังหวัดลำปาง-อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน เชื่อมต่อไปยังอำเภอแม่สะเรียง-อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1091 อำเภอจุน-อำเภอปง-อำเภอเชียงม่วน-จังหวัดน่าน 3) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 115 กำแพงเพชร-พิจิตร-พิษณุโลก และ 4) ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 21 หล่มสัก-เพชรบูรณ์-ทาลี่-เลย ทั้งนี้บางช่วงยังมีการต่อต้านจากประชาชนในพื้นที่

1.3 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางบก (1) การก่อสร้างสะพานเชื่อมโยงเศรษฐกิจภูมิภาค ทางหลวงหมายเลข 1026 ตอนผาเวียง-ปากนาย เพื่อบรรจบทางหลวงหมายเลข 1339 ตอนน้ำปาด-ปากนาย และ (2) เส้นทางสายแม่สอด-ตาก เชื่อมทางหลวงหมายเลข 12 เพื่อเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจตะวันตก

1.4 การพัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางราง เห็นชอบผลักดันระบบรางเส้นใหม่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงของ ลพบุรี-เชียงใหม่ และ คาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือนมีนาคม 2561 นอกจากนี้ภาคเอกชนเสนอรถไฟทางคู่ เส้นทางลพบุรี-เพชรบูรณ์ ด้วย

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กรุงเทพ ฯ – พิษณุโลก – เชียงใหม่ ผลการศึกษาของญี่ปุ่น ลงทุนสูง ประมาณ 4 แสนล้าน จึงต้องพิจารณาเรื่องคุ้มค่าการลงทุน ผลตอบแทน เนื่องจากหากเปรียบเทียบกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาสง กรุงเทพ ฯ – หนองคาย ซึ่งผลประโยชน์ตอบแทนทางเศรษฐกิจชัดเจน


2.ด้านการบริหารจัดการน้ำภาคเหนือ โดยเฉพาะลุ่มแม้น้ำยม เสนอโครงการขนาดเล็ก เช่น ฝาย และ โครงการปรับปรุงประตูระบายน้ำตอนล่างเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการระบายน้ำ โดยกรมชลประทานจะขออนุมัติงบประมาณเพิ่มเติม วงเงิน 1,400 ล้านบาท ผ่านคณะกรรมการบริหารจัดการน้ำ

3.ด้านการเกษตรและแปรรูป โดยขอรับการสนับสนุน “โครงการเกษตรอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกภาคเหนือ” โดยใช้ผักผลไม้ที่สร้างรายได้สูงเพื่อนำร่อง ได้แก่ กล้วยหอม สัปปะรด กระเจี๊ยบ มะม่วง ข้าว ไผ่ และพืชสมุนไพร คาดว่าจะมีเกษตรกรร่วม 5,000 ราย สร้างรายได้ 9,000 ล้านบาท ยกระดับเป็นพืชส่งออกและแปรรูป

4.ด้านการค้าและการลงทุน (1) การอำนวยความสะดวกการผ่านแดนโดยการทำ Visa on Arrival (VOA) ณ ด่านชายแดนและเมียนมา กระทรวงต่างประเทศรับไปพิจารณา (2) การทำความตกลงทวิภาคีการเปิดเดินรถส่วนบุคคลเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวระหว่างไทย-เมียนมาได้ (3) การอนุญาตให้รถขนส่งของเมียนมาเข้ามาขนส่งสินค้าในฝั่งไทยด้านด่านแม่สอด จังหวัดตาก (4) ศึกษาเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันตก (West Economic Corridor : WEC) ในพื้นที่ จังหวัดตาก พิษณุโลกและสุโขทัย ทั้งนี้อยู่ในเส้นทางยุทธศาสตร์ East-West Economic Corridor อยู่แล้ว

และ (5) เร่งรัดดำเนินการเพิกถอนเส้นทางในการก่อสร้างถนนเพื่อการคมนาคมและการค้าระหว่างประเทศไปยังจุดผ่อนปรณบ้านห้วยต้นนุ่น จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งอยู่ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงเหล้าและป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่เงา-แม่สำเพ็ง ระยะทาง 9.7 กม. 365 ไร่ เพื่อยกระดับเป็นจุดผ่านแดนถาวรในอนาคต ดังนั้นจึงให้กระทรวงกลาโหมและสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ไปพิจารณาศึกษาร่วมกันอีกครั้ง เนื่องจากมีข้อติดขัดเรื่องความไม่ชัดเจนของเขตแดน

นอกจากนี้เอกชนยังขอให้พิจารณาสนับสนุนการจัดงานแสดงสินค้าศักยภาพการเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรแปรรูปมูลค่าเพิ่มสูงภาคเหนือ (Northern Thailand Food Valley & Fruit Expo) และ (2) การจัดงานแสดงสินค้าและจับคู่ธุรกิจภาคเหนือในระดับนานาชาติ (Northern Thailand GMS Trade Fair and Business Forum) โดยกระทรวงพาณิชย์รับไปพิจารณาดำเนินการ

5.ด้านการแพทย์ การบริการผู้สูงอายุและสังคม เนื่องจากภาคเหนือมีอัตราผู้สูงอายุสูง หรือร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ จึงต้องมีโครงการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจร การผลักดันนโยบายเมืองสมุนไพร (Herb City)

6.ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยว เนื่องจากการท่องเที่ยวในภาคเหนือไปได้ดี ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยบูรณาการระหว่างกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬากับกระทรวงคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายคมนาคมระหว่างภูมิภาคกับการท่องเที่ยวตามจุดต่าง ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2017 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
“บิ๊กตู่” ลังเลรถไฟเร็วสูง
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 26 ธ.ค. 2560 08:04

‘บิ๊กตู่’ สั่งศึกษาความคุ้มค่าไฮสปีดกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังญี่ปุ่นชงต้องใช้เงิน 4 แสนล้าน
วันที่ 25 ธันวาคม 2560 - 18:47 น.

นายปรเมธี วิมลศิริ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เปิดเผยหลังการพบปะหารือระหว่างพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี กับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้แทนภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และผู้แทนเกษตรกรในภาคเหนือ ที่ จังหวัดพิษณุโลก ว่า ผลการประชุมในครั้งนี้จะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อย่างเป็นทางการนอกสถานที่ จังหวัดสุโขทัย ในวันที่ 26 ธ.ค. 2560 ที่ประชุมได้พิจารณาด้านโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่ง นายกรัฐมนตรี สั่งการให้กระทรวงคมนาคม ไปศึกษาความคุ้มค่าและวงเงินลงทุนของโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังจากญี่ปุ่นส่งผลการศึกษากลับมาระบุวงเงินสูงถึง 4 แสนล้านบาท

โดยนายกฯ ให้ไปพิจารณามูลค่า และกลับมาอธิบายเพิ่มเติมถึงผลตอบแทนในเรื่องของยุทธศาสตร์การพัฒนาเมือง และภูมิภาค จะสอดรับกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นนี้อย่างไร

ขณะเดียวกันสั่งการให้นำเรื่อง การพัฒนาระบบรถไฟฟ้ารางเบา (LRT) ของจังหวัดเชียงใหม่ เข้าสู่ที่ประชุม คณะกรรมการนโยบายให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) ว่าโครงการนี้ จะใช้ระบบพีพีพีหรือไม่ โดยขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดวงเงินซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ทำการศึกษามา 2 เส้นทางโดยระบบใต้ดินมีระยะทาง 34 กิโลเมตร และระบบบนดินมีระยะทาง 41 กิโลเมตร รวมทั้งให้กระทรวงคมนาคมไปเร่งพิจารณารายละเอียดและจัดลำดับความสำคัญของการพัฒนาโครงข่ายขนส่งทางอากาศ ซึ่งผู้แทนภาคเอกชนภาคเหนือเร่งรัดให้จัดทำโครงการก่อสร้างท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แห่งที่ 2 ซึ่งปัจจุบันมีท่าอากาศยานที่มีอยู่มีจำนวนผู้โดยสาร 9 ล้านคนต่อปี เริ่มมีปัญหาการจราจรติดขัดทางเข้าออก และจะเต็มขีดความสามารถในการรองรับในปี 2573 ที่ 35 ล้านคน รวมถึงพิจารณาถึงข้อเสนอการปรับปรุงท่าอากาศยาน ลำปาง แพร่ น่าน และพิษณุโลก

นอกจากนี้ ให้กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับกระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงคมนาคม สนับสนุนการอำนวยความสะดวกด้านการค้า การค้าชายแดน การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่างไทยกับเมียนมา ซึ่งในเรื่องส่งเสริมการท่องเที่ยว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะระบุให้กระทรวงคมนาคม มาร่วม สร้างการเชื่อมโยงทางถนน ของจังหวัดต่างๆ กับจุดท่องเที่ยวให้มากขึ้น ซึ่งเป็นโครงการที่ไม่ใหญ่มากนัก นอกจากนี้ เอกชนภาคเหนือเสนอโครงการดูแลผู้สูงอายุแบบครบวงจรภาคเหนือ โดยใช้ศักยภาพของสถาบันการศึกษาในพื้นที่ในการขับเคลื่อน และผลักดันนโยบายเมืองสมุนไพรและการแพทย์แผนไทย ซึ่งนายกฯ สั่งการให้กระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุขรับไปพิจารณาจัดทำแผนแม่บทด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2017 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร็วสูงจีน-ไทยจะ "อัพเกรด" ระบบขนส่งทางรางของไทย
สำนักข่าวซินหัว
25 ธันวาคม 2017

รถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะยกระดับระบบคมนาคมขนส่งของประเทศไทย และปลดปล่อยศักยภาพทางเศรษฐกิจของภูมิภาคตลอดเส้นทางรถไฟ

หวงปิน ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยจีนประจำศูนย์วิจัยกสิกรไทย ให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวซินหัวว่า ประเทศไทยจะได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจมากขึ้นจากเส้นทางรถไฟความเร็วสูงที่เชื่อมต่อกรุงเทพมหานครเข้ากับประเทศจีนและประเทศอื่นๆ ซึ่งจะดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้เข้ามามากขึ้นและลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

การก่อสร้างเส้นทางรถไฟช่วงที่ 1 ได้เริ่มขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา (21 ธ.ค.) โดยมีพิธีเปิดการก่อสร้างจัดขึ้นที่จังหวัดนครราชสีมา

เส้นทางรถไฟช่วงที่ 1 มีความยาม 253 กิโลเมตรจะเชื่อมต่อกรุงเทพมหานครกับจังหวัดนครราชสีมา ฝ่ายประเทศจีนรับผิดชอบการออกแบบเส้นทาง ควบคุมการก่อสร้างและการผลิตรถไฟรวมทั้งระบบสัญญาณ

เมื่อการก่อสร้างเสร็จสิ้น เส้นทางรถไฟสายนี้จะเป็นเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย โดยจะวิ่งด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

เส้นทางรถไฟช่วงที่ 2 จะเชื่อมต่อจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดหนองคาย ซึ่งอยู่ติดกับชายแดนประเทศลาว และจะเชื่อมต่อไปยังเส้นทางรถไฟจีน-ลาว กลายเป็นเส้นทางสายหลักที่เชื่อมต่อประเทศไทย-ลาว-จีนเข้าด้วยกัน

หวงปิน ผู้เชี่ยวชาญซึ่งศึกษาเกี่ยวกับโครงการนี้อย่างใกล้ชิด เฝ้ารอให้เส้นทางรถไฟสายนี้เริ่มดำเนินการ เนื่องจากเขาเล็งเห็นว่าเศรษฐกิจในภาคอีสานจะเติบโตครั้งใหญ่ภายใต้โครงการนี้

ภาคอีสานของไทยมีพื้นที่ 1 ใน 3 ของพื้นที่ประเทศไทย และมีประชากร 1 ใน 3 ของประเทศ ทว่าเป็นสร้างรายได้เพียง 1 ใน 10 ของจีดีพีประเทศไทย หวงปินกล่าวพร้อมเสริมว่า การพัฒนาอย่างล่าช้านี้เป็นผลมาจากปัญหาการขนส่งที่ย่ำแย่

หวงปินระบุว่า ประเทศไทยมีการขนส่งระบบรางทั้งหมดประมาณ 4,507 กิโลเมตร ซึ่ง 90 เปอร์เซ็นต์ยังคงเป็นรางเดี่ยว นอกจากนี้ยังมีปัญหาเรื่องความเก่าของเครื่องไม้เครื่องมือ การจัดการและการบำรุงรักษาที่ไม่ค่อยดี รวมทั้งความเร็วต่ำ

ผลที่ตามมาคือจำนวนครั้งของการขนส่งทางระบบรางนั้นน้อยกว่า 1 ใน 10 ของจำนวนการขนส่งทั้งหมด ทั้งๆ ที่มีการประเมินว่าค่าใช้จ่ายของการขนส่งทางบกนั้นแพงกว่าการขนส่งทางรางถึง 6 เท่า และเนื่องจากการขนส่งทางรางไม่ได้เป็นทางเลือกที่ดี ค่าใช้จ่ายในการขนส่งภายในประเทศไทยจึงสูงกว่าในประเทศอื่นๆ

โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ไทยจะช่วยยกระดับระบบรางของไทย และสามารถเล็งเห็นอนาคตได้ว่าเส้นทางรถไฟสายนี้จะสร้างความเชื่อมต่อเป็นวงกว้างในประเทศ ในขณะเดียวกันก็ลดค่าใช้จ่ายด้านการขนส่ง ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางทางการค้าและการลงทุนของกลุ่มประชาคมอาเซียน รวมทั้งเป็นศูนย์กลางการคมนาคมและการขนส่งอีกด้วย

หวงปินระบุว่า ในที่สุดแล้วเส้นทางรถไฟจีน-ไทยจะไปเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟจีน-ลาว ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีจากจีนซึ่งได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก ก็จะทำให้รองรับแผนการเชื่อมโยงได้ดีกว่า

โครงการนี้จะเป็นผลงานร่วมกันระหว่างสองประเทศ รวมทั้งเป็นความสำเร็จในความร่วมมือทวิภาคภายใต้แนวคิดริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอีกด้วย

ทั้งนี้ โครงการเส้นทางรถไฟนี้เป็นส่วนหนึ่งของแนวคิดริเริ่มหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางของจีน ซึ่งต้องการยกระดับโครงสร้างพื้นฐาน และสร้าง “เส้นทางสายไหม” ยุคปัจจุบันที่เชื่อมต่อประเทศจีนเข้ากับกลุ่มประเทศเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เอเชียกลาง ตะวันออกกลาง และยุโรป ทั้งทางบกและทางทะเล


Last edited by Wisarut on 26/12/2017 5:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/12/2017 3:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

‘บิ๊กตู่’ สั่งศึกษาความคุ้มค่าไฮสปีดกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ หลังญี่ปุ่นชงต้องใช้เงิน 4 แสนล้าน
วันที่ 25 ธันวาคม 2560 - 18:47 น.

'สมคิด'ชี้รถไฟเร็วสูงกทม.-ชม.ศึกษาเพิ่มเพื่อความคุ้มทุน
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 26 ธันวาคม พ.ศ.2560 15:10 น.

รองนายกฯ "สมคิด" ย้ำรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-เชียงใหม่ ศึกษาเพิ่มเติม เพื่อความคุ้มค่าลงทุน หวังเชื่อมต่อเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในประเทศ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ได้เห็นควรให้มีการศึกษาการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ เพิ่มเติม โดยให้มีการปรับเพื่อความเหมาะสมในเรื่องของความเร็วในการวิ่ง ซึ่งอาจปรับลดความเร็วลงเหลือ 150-200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง จากเดิม 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้เพื่อสามารถที่จะเชื่อมต่อกับเส้นทางแหล่งท่องเที่ยวในประเทศได้เพิ่มขึ้น หลังจากประเทศจีนได้มีการปรับเปลี่ยนเส้นทางการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูงไปยังจังหวัดหนองคายแล้วหากจังหวัดเชียงใหม่ลดความเร็วลง จากรถไฟความเร็วสูงเหลือความเร็วปานกลาง อาจจะมีความคุ้มค่าต่อการลงทุนมากขึ้น รวมถึงประหยัดวงเงินในการลงทุนลง เชื่อว่าผลการศึกษาทั้งหมดจะใช้เวลาไม่นาน

แต่อย่างไรก็ตาม เส้นทางการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดจะต้องมีการ เดินหน้าลงนามสัญญาให้แล้วเสร็จภายในปี 2561

----

จ่อชงครม.สร้างรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่ต้นปี61
เดลินิวส์ อังคารที่ 26 ธันวาคม 2560 เวลา 15.07 น.

จ่อชงครม.เห็นชอบสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกทม.-เชียงใหม่ คาดต้นปี 61ขณะที่รถไฟอีกหลายสายเริ่มแผนปีหน้า

เมื่อวันที่ 26 ธ.ค. ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยเขตสุโขทัย พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในที่ประชุมครม.มีการรายงานเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)สอบถามการก่อสร้างถนนใน 4 ช่องจราจร คือ ถนนหลวงหมายเลข 12จาก แม่สอด-มุกดาหารว่ามีความ คืบหน้าไปถึงไหน ซึ่งรมว.คมนาคมรายงานว่า มีการแบ่งออกเป็น 4 ตอน เสนอไปแล้ว 3 ตอน เหลือแม่สอด-ตาก ดำเนินการไปแล้ว 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีข้อติดขัดเพราะมีต้นไม้ขนาดใหญ่ และนายกฯไม่อยากให้ตัดต้นไม้ ฉะนั้นจึงต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่ เส้นทางสายสันป่าตอง-หางดง คาดว่าจะเริ่มในปี 2561  

ขณะเดียวกันยังมีระบบพัฒนาการขนส่งในจ.เชียงใหม่-พิษณุโลก อยากมีระบบขนส่งสาธารณะ รถราง และรถไฟภายในเขตตัวเมือง ขณะที่ทางรางมีการเสนอให้ก่อสร้างรถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ และปากน้ำโพ-เด่นชัย  โดยในช่วงลพบุรี-เด่นชัย รมว.คมนาคม บอกว่าจะสามารถลงนามได้ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ ส่วนปากน้ำโพ-เด่นชัย จะสามารถนำเสนอให้ครม.พิจารณาในช่วงไตรมาสแรกของปี2561

พล.ท.สรรเสริญ กล่าวต่อว่า ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณารายละเอียดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะนำเสนอเพื่อให้ครม.พิจารณาอนุมัติในปี 2561 อาจไม่ใช่ไตรมาสแรก  อย่างไรก็ตาม ขณะที่ รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกทม.เชียงใหม่ แบ่งเป็นระยะที่ 1 กทม.พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตร คาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.เพื่ออนุมัติภายในต้นปี 2561

“นายกฯสั่งให้พิจารณาเรื่องการลงทุนรถไฟดังกล่าว ว่าจะเป็นรัฐลงทุนหรือเอกชนร่วมลงทุน และมีความคุ้มค่าที่จะทำรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟความเร็วปานกลาง” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว.


----

"สรรเสริญ" คาดต้นปี 61 จ่อชงครม.เห็นชอบสร้างรถไฟความเร็วสูงกทม.-เชียงใหม่
เผยแพร่: 26 ธ.ค. 2560 15:45:00 โดย: MGR Online

โฆษกรัฐ เผย คมนาคม แจง ความคืบหน้านายกฯ เรื่องการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน จ่อชงครม.เห็นชอบสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกทม.-เชียงใหม่ คาดต้นปี 61 นายกฯกำชับดูความคุ้มค่า

วันนี้ (26ธ.ค.) เวลา 13.10 น. ที่สถาบันการพลศึกษา วิทยาลัยเขตสุโขทัย พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ว่า ในที่ประชุมครม.มีการรายงานเรื่องการพัฒนาระบบขนส่งทางถนน โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯและหัวหน้าคสช.สอบถามการก่อสร้างถนนใน 4 ช่องจราจร คือ ถนนหลวงหมายเลข 12จาก แม่สอด-มุกดาหารว่ามีความ คืบหน้าไปถึงไหน ซึ่งรมว.คมนาคมรายงานว่า มีการแบ่งออกเป็น 4 ตอน เสนอไปแล้ว 3 ตอน เหลือแม่สอด-ตาก ดำเนินการไปแล้ว 5 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งมีข้อติดขัดเพราะมีต้นไม้ขนาดใหญ่ และนายกฯไม่อยากให้ตัดต้นไม้ ฉะนั้นจึงต้องประสานกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ จะมีการก่อสร้างทางเลี่ยงเมืองเชียงใหม่ เส้นทางสายสันป่าตอง-หางดง คาดว่าจะเริ่มในปี 2561 ขณะเดียวกันยังมีระบบพัฒนาการขนส่งในจ.เชียงใหม่-พิษณุโลก อยากมีระบบขนส่งสาธารณะ รถราง และรถไฟภายในเขตตัวเมือง ขณะที่ทางรางมีการเสนอให้ก่อสร้างรถไฟทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ และปากน้ำโพ-เด่นชัย โดยในช่วงลพบุรี-เด่นชัย รมว.คมนาคม บอกว่าจะสามารถลงนามได้ในวันที่ 28 ธ.ค.นี้ ส่วนปากน้ำโพ-เด่นชัย จะสามารถนำเสนอให้ครม.พิจารณาในช่วงไตรมาศแรกของปี 61

พล.ท.สรรเสริญ กล่างต่อว่า ยังมีโครงการก่อสร้างทางรถไฟทางคู่สายใหม่ สายเด่นชัย-เชียงราย-เชียงขอม ขณะนี้อยู่ในระหว่างพิจารณารายละเอียดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) คาดว่าจะนำเสนอเพื่อให้ครม.พิจารณาอนุมัติในปี 61 อาจไม่ใช่ไตรมาศแรก อย่างไรก็ตาม ขณะที่ รถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น สายกทม.เชียงใหม่ แบ่งเป็นระยะที่ 1 กทม.พิษณุโลก ระยะทางประมาณ 380 กิโลเมตร คาดว่าจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของครม.เพื่ออนุมัติภายในต้นปี 61

“นายกฯสั่งให้พิจารณาเรื่องการลงทุนรถไฟดังกล่าว ว่าจะเป็นรัฐลงทุนหรือเอกชนร่วมลงทุน และมีความคุ้มค่าที่จะทำรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟความเร็วปานกลาง” พล.ท.สรรเสริญ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 26/12/2017 6:08 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่”สั่งทบทวนไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ลดสเป็กเป็น”รถไฟความเร็วปานกลาง”-รัฐเอกชนร่วมทุน
วันที่ 26 ธันวาคม 2560 - 16:39 น.
ขณะที่ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้สั่งการในที่ประชุมครม.สัญจร ให้กระทรวงคมนาคมไปปรับรูปแบบโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ความเร็ว 250-300 ก.ม.ต่อชั่วโมงใหม่ให้เหมาะสม เนื่องจากโครงการนี้ ไม่สามารถเชื่อมต่อเส้นทางไปยังจังหวัดอื่นหรือประเทศเพื่อนบ้านได้ จึงอาจไม่คุ้มทุนและไม่คุ้มค่า โดยอาจปรับความเร็วลดลงเป็นความเร็วปานกลางที่ 180-200 ก.ม.ต่อชั่วโมงแทน

ทั้งนี้เชื่อว่าหากดำเนินการได้จะสามารถรองรับทั้งการท่องเที่ยวและการขนส่งสินค้าโดย รวมทั้งให้ดูรูปแบบของการลงทุนใหม่ว่าอาจปรับเป็นแบบการร่วมทุนกับเอกชนหรือ PPP ได้มากน้อยเพียงใด จากเดิมที่เป็นโครงการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือ G to G ซึ่งโครงการดังกล่าว ถือเป็นโครงการหนึ่งตามแผนทิศทางการพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือ ที่รัฐบาลได้เดินทางมาลงพื้นที่ และจัดประชุมครม.สัญจร

“ก่อนหน้านี้องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้า ได้เสนอความเป็นไปได้ในการลงทุนของโครงการนี้มูลค่า 4-5 แสนล้านบาท แต่ถ้ามีการปรับลดขนาดความเร็วลง ก็น่าจะทำให้ขนาดการลงทุนลดลงตามไปด้วย เชื่อว่าใช้เวลาไม่นานเพราะมีผลการศึกษาอยู่แล้วและน่าจะดำเนินการได้ภายในปี 61 ก่อนหน้านี้มองว่าเป็นโครงการที่คุ้มค่าหากเป็นสปีดเทรนเพราะสามารถเชื่อมต่อไปยังประเทศจีนทางยูนานได้ แต่เวลานี้จีนได้สร้างรถไฟเชื่อมต่อทางหนองคายแล้ว จึงควรปรับรูปแบบใหม่”

นายสมคิดกล่าวว่า นอกจากนี้นายก ฯ ยังสั่งการเพิ่มเติมให้กระทรวงคมนาคมไปดูระบบโครงข่ายการเชื่อมโยงระบบขนส่งทางถนนใหม่ โดยต้องการให้คิดใหม่ทำใหม่ โดยเน้นไปที่การท่องเที่ยวให้มากขึ้น จากเดิมที่เน้นเรื่องการขนส่งเท่านั้น แต่จากนี้ไปจะทำเหมือนเดิมไม่ได้ แต่ต้องมุ่งเน้นเรื่องของท่องเที่ยวให้สามารถเดินทางเชื่อมต่อกันให้ได้โดยเฉพาะจังหวัดท่องเที่ยวและเมืองรอง ซึ่งจากนี้ไปรัฐบาลจะให้ความสำคัญกับการท่องเที่ยวในประเทศให้หนักขึ้น

ด้าน นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ตอนนี้กระทรวงคมนาคมไม่ได้ชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ โดยล่าสุดญี่ปุ่นได้ส่งผลการศึกษาเบื้องต้นมาแล้ว มีวงเงินโครงการกว่า 4 แสน 2 หมื่น ล้านบาท ดังนั้นจึงได้รายงานให้ที่ประชุมครม.สัญจร รับทราบ และนายกฯ ได้สั่งให้ไปดูว่า มีความคุ้มค่าหรือไม่ หรือจะมีเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างประเทศได้อย่างไร ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะกลับไปสรุปรายละเอียดและนำมาเสนอที่ประชุมครม.พิจารณาอีกครั้งภายในเดือน มี.ค.61 หากครม.เห็นชอบก็เริ่มขั้นตอนการสำรวจออกแบบ โดยในระยะแรกจะเริ่มทำช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงินประมาณ 2.76 แสนล้านบาทก่อน

นายอาคมกล่าวเพิ่มเติม ว่าขณะเดียวกันที่ประชุมครม.สัญจร ยังรับทราบภาพรวมการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งภาคเหนือ ทั้งทางถนน ทางราง ทางอากาศ และทางน้ำ เน้นการเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้าน และเชื่อมโยงระหว่างภาค รวมไปถึงเชื่อมโยงสถานที่ท่องเที่ยวในเมืองรอง โดยที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคมไปคุยกับกระทรวงการท่องเที่ยวละกีฬา เพื่อหาทางดูแลอำนายความสะดวกนักท่องเที่ยวด้วยการจัดรถประจำทางไว้คอยบริการในพื้นที่ท่องเที่ยวด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2017 11:31 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าประเทศไทย มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน
MGR Online VDO Published on Dec 26, 2017
26/12/2017 เดินหน้าประเทศไทย มติคณะรัฐมนตรีฉบับประชาชน

นาทีที่ 6:10 พูดถึงรถไฟทางคู่ ลพบุรี-ปากน้ำโพ ปากน้ำโพ-เด่นชัย เด่นชัย-เชียงราย และรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ครับ
Arrow https://www.youtube.com/watch?v=4G-Z_IJABLc#t=6m10s


https://www.youtube.com/watch?v=4G-Z_IJABLc#t=6m10s
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2017 11:58 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. เตรียมลงนามสัญญาจ้างสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางพรุ่งนี้ เร่งสร้างไตรมาสแรกของปี 2561
ครอบครัวข่าว 3 วันที่ 27 ธันวาคม 2560

การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้าลงนามสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการรถไฟทางคู่ ระยะเร่งด่วน จำนวน 5 เส้นทาง วันพรุ่งนี้ พร้อมเร่งรัดเริ่มตอกเข็มสร้างภายในไตรมาสแรกของปี 61

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ การรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การลงนามในสัญญาจ้างก่อสร้างโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ระยะเร่งด่วน (เฟสแรก) จำนวน 5 เส้นทางในวันพรุ่งนี้ จะเป็นการลงนามในเส้นทาง 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ , 2. มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ , 3. นครปฐม-หัวหิน , 4. หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ และ 5.ประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร รวมระยะทาง 668 กิโลเมตร

โดยรฟท. ได้มีการปรับจำนวนสัญญาจาก เดิม 5 สัญญาเป็น 13 สัญญา เพื่อให้ผู้ประกอบการสามารถเข้าร่วมประมูลได้มากขึ้นตามมติของ คณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง และมีการปรับลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางดังกล่าวลงจากเดิม 101,748 ล้านบาท เป็น 98,984 ล้านบาท หรือปรับลดลง 2,764 ล้านบาท เนื่องจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) มีการปรับลดราคากลางโครงการลง, ตัดค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ส่วนที่ไม่จำเป็นออก รวมทั้งมีการแบ่งสัญญาใหม่ให้เล็กลง

โดยหลังจากการลงนามในครั้งนี้แล้วคาดว่า ผู้รับเหมาจะเริ่มก่อสร้างได้ในช่วงไตรมาส 1 ปี 2561 จากนั้น จะเดินหน้าประมูลรถไฟทางคู่เฟส 2 ต่ออีก 9 เส้นทาง ตั้งเป้าว่าในเดือน ก.พ.-มี.ค. 2561 กระทรวงคมนาคมจะสามารถทยอยเสนอทางคู่เฟส 2 ให้ครม.พิจารณาได้

อย่างไรก็ตาม ในปี 2561 กระทรวงคมนาคม มีแผนลงทุนขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ไว้ทั้งสิ้น 309,607 ล้านบาท แบ่งเป็นทางบก 152,162 ล้านบาท, ทางราง 96,203 ล้านบาท, ทางน้ำ 7,323 ล้านบาทและทางอากาศ 53,537 ล้านบาท โดยเป็นงบลงทุนสำหรับโครงการใหม่จำนวน 1 แสนล้านบาท ยังไม่รวมโครงการที่ยกมาจากปีงบประมาณ 2560 เช่น โครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 จำนวน 9 เส้นทาง เป็นต้น

สำหรับประเด็นที่นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า จะปรับลดสเปคโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-เชียงใหม่ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยกับญี่ปุ่น ให้เหลือเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง นั้น นายอาคม กล่าวว่า จะดูความเหมาะสมและรายละเอียดผลการศึกษาของทางญี่ปุ่นว่า รถไฟในเส้นทางดังกล่าวควรจะใช้ความเร็วเท่าไหร่จึงจะเหมาะสม ซึ่งอาจไม่จำเป็นต้องใช้ความเร็วถึง 300 กม./ ชม.ก็ได้ รวมถึงเมื่อเป็นรถไฟที่มีความเร็วสูงมาก ก็จะมีต้นทุนสูงมากด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้ยืนยันว่าโครงสร้างพื้นฐานรางที่เป็นขนาดมาตรฐาน ความกว้าง 1.435 เมตร สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้อยู่แล้วซึ่งเรื่องนี้ต้องหารือกับทาง ญี่ปุ่น ก่อน โดยยืนยันว่า ขบวนรถไฟจะยังเป็นชินคังเซนเหมือนเดิม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/12/2017 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ขอแค่ “เร็วปานกลาง” ลดสปีดรถไฟกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 180 กม./ชม
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 27 ธ.ค. 2560 09:30

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) นอกสถานที่อย่างเป็นทางการ หรือ ครม.สัญจร จ.สุโขทัย ได้หารือเรื่องการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมในพื้นที่ภาคเหนือโดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ และสั่งการให้กระทรวงคมนาคมไปศึกษาถึงความเป็นไปได้ในการปรับลดความเร็วของรถไฟจาก 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรถไฟความเร็วปานกลาง (medium speed train) ที่มีความเร็ว 180-200 กม.ต่อชั่วโมง โดยให้ศึกษาถึงความคุ้มค่าการลงทุน และการเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมลงทุนในรูปแบบให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) และให้ดำเนินการก่อสร้างให้ได้ภายในปี 2561

"มีการเปรียบเทียบความคุ้มทุนกับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-โคราช-หนองคาย ที่ในอนาคตจะเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงของจีนที่มีการผ่านทางลาว แต่เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ไม่ได้ไปเชื่อมต่อกับเส้นทางรถไฟที่เดิมมีการออกแบบว่าจะมาเชื่อมต่อทางยูนนาน จึงต้องดูเรื่องแผนการใช้ประโยชน์ให้มีความคุ้มค่า และต้องช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวได้ด้วย ส่วนการก่อสร้างก็อยากให้เริ่มในปีหน้า"

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ครม.ไม่ได้ชะลอโครงการนี้ แต่นายกรัฐมนตรีให้ไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมถึงความคุ้มค่าโครงการ และพิจารณาให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ โดยกระทรวงคมนาคมจะเสนอรายละเอียดโครงการนี้ให้ ครม.พิจารณาเห็นชอบในหลักการเดือน มี.ค.ปีหน้า โดยทางโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-เชียงใหม่ ที่ญี่ปุ่นเสนอวงเงินมาสูงกว่า 400,000 ล้านบาท โดยระยะแรก เส้นทาง กทม.-พิษณุโลก วงเงินก่อสร้าง 276,000 ล้านบาท.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 247, 248, 249 ... 545, 546, 547  Next
Page 248 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©