RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180525
ทั้งหมด:13491759
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 250, 251, 252 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2018 7:40 am    Post subject: Reply with quote

กสทช.ชงใบอนุญาต 1800 MHz 9 ใบๆละ 5MHz/ล้มประมูล 900 MHz
เผยแพร่: 19 ม.ค. 2561 07:25:00 โดย: MGR Online

กสทช.ชงล้มประมูลคลื่น 900 MHz หวั่นคลื่นรบกวนกับบริการรถไฟความเร็วสูง ส่วนคลื่น 1800 MHzจะซอยย่อยการประมูลเป็น 9 ใบอนุญาตๆ ละ 5 MHz

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวว่า หลังจาก กสทช.ได้รับฟังความคิดเห็นสาธารณะ (ประชาพิจารณ์) เมื่อช่วงปลายปีที่ผ่านมา มีหลายฝ่ายแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ ประกอบกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่เป็นผู้ศึกษาแผนการประมูลนั้น ให้ความเห็นว่าการเปิดประมูลคลื่น 900 MHz จำนวน 5 MHz นั้น มีความเป็นไปได้ว่าคลื่นความถี่ที่ประมูลนั้น จะรบกวนกับคลื่นความถี่เดียวกัน ที่ กสทช.ได้มอบให้กระทรวงคมนาคมสำหรับใช้การสื่อสัญญาณของรถไฟความเร็วสูง

ดังนั้น ในการประชุมคณะอนุกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ในวันที่ 25 ม.ค.นี้ จะเสนอให้ยุติการวางแผนการประมูลในย่านดังกล่าวออกไปจนกว่าจะมีการใช้งานรถไฟฟ้าความเร็วสูง และมีเทคโนโลยีมารองรับและการันตีได้ 100% ว่าจะไม่เกิดคลื่นรบกวนต่อกัน จากนั้นก็จะนำเสนอต่อที่ประชุมกสทช.ในวันที่ 31 ม.ค.นี้ หากที่ประชุมเห็นชอบตามที่เสนอ สำนักงานกสทช.จะทำหนังสือไปสอบถามกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ว่าหากไม่มีการประมูลจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศหรือไม่

นายฐากร กล่าวว่า ส่วนการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ซึ่งแต่เดิมร่างหลักเกณฑ์การประมูลจะจัดสรรจำนวน 3 ใบอนุญาตๆละ 15 MHz นั้น หลังจากที่รับฟังความเห็นสาธารณะพบว่า มีโอเปอเรเตอร์บางรายเสนอให้แบ่งคลื่นความถี่ทั้ง 45 MHz ออกเป็น 9 ใบอนุญาตๆละ 5 MHz และให้โอเปอเรเตอร์แต่ละรายเป็นผู้เลือกว่ามีความต้องการใบอนุญาตกี่ MHz ซึ่งการปรับหลักเกณฑ์ครั้งนี้ก็เพื่อให้เป็นผลดีกับทุกฝ่าย เนื่องจากเอกชนแต่รายละมีความต้องการไม่เท่ากัน ดังนั้น หากประมูลแบบเดิมที่กำหนดตายตัวใบละ15 MHzก็อาจจะทำให้ใบอนุญาตไม่ถูกจัดสรรทั้งหมดเนื่องจากไม่มีผู้เข้าประมูลจากกฏ N-1

สำหรับหลักเกณฑ์ใหม่จะกำหนดเพดานของคลื่นความถี่ไว้ตามจำนวนผู้เข้าร่วมประมูลแทน เช่น หากมีผู้เข้าร่วมประมูลเกิน 3 ราย จะเปิดประมูลทั้ง 45 MHz จำนวน 9 ใบอนุญาต หากมีผู้ประมูลเกิน 2 ราย เปิดประมูล 30 MHz หรือ 6 ใบอนุญาต และหากมีผู้เข้าร่วมประมูลไม่เกิน 2 ราย เปิดประมูล 20 MHz จำนวน 4 ใบอนุญาต ส่วนราคาใบอนุญาตนั้น ก็เอาราคาตั้งต้นจากเดิมคือ 37,457 ล้านบาทต่อ 15 MHz หาร 3 จะได้เท่ากับ 12,485 ล้านบาทต่อใบอนุญาตจำนวน 5 MHz
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2018 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

กรมทางหลวงเคลียร์ที่เตรียมปักหมุด ทำฐานราก รถไฟไทย-จีน 3.5 กม.คืบ 50 %
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 19 มกราคม พ.ศ. 2561, 11:28:00


กรมทางหลวงเผย เผยเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างรถไฟช่วงที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก) แล้ว เตรียมการก่อสร้างงานดิน รวมถึงงานปักหมุดทำฐานรากระบุ งานคืบกว่า 50% มั่นใจ 3.5 กม.เสร็จตามกำหนด

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดถึงความคืบหน้าการดำเนินโครงการของการก่อสร้างทางรถไฟช่วงที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสร้าง ว่า กรมทางหลวงได้เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการเคลียร์พื้นที่ก่อสร้าง ถางป่า ขุดตอ รวมถึงก่อสร้างที่พักเจ้าหน้าที่และจัดเตรียมสำนักงานแล้วเสร็จ ขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้างงานดินตัดและงานก่อสร้างแปลงทดสอบ รวมถึงงานปักหมุดเพื่อทำหลักฐานในงานก่อสร้างโครงการดังกล่าว ซึ่งมีความคืบหน้ากว่า 50%

ในส่วนงานที่กรมทางหลวงได้รับผิดชอบนั้นคาดว่า ไม่มีปัญหาเนื่องจากกรมทางหลวงมีความพร้อมทั้งทางด้านบุคคลากรที่มีความเชี่ยวชาญ ตลอดจนความพร้อมของเครื่องจักร ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดเวลาอย่างแน่นอน และสิ่งสำคัญอีกเรื่องคือการเรียนรู้และแลกเปลี่ยนความรู้และเทคโนโลยีร่วมกันระหว่างวิศกรกรมทางหลวงและวิศวกรของประเทศจีน เพื่อเป็นต้นแบบในการก่อสร้างต่อไป ทั้งนี้สิ่งสำคัญที่มอบนโยบายให้กับผู้ปฏิบัติงาน คือนอกจากการเรียนรู้ร่วมกันแล้วคือการใช้วัสดุต่างๆต้องใช้ของภายในประเทศให้มากที่สุด เพื่อเป็นมาตรฐานในการดำเนินงานในโครงการต่างๆต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2018 12:30 pm    Post subject: Reply with quote

แผนการปฎิบัติงาน (Timeline) โครงการรถไฟความเร็วสูง-เชื่อม-3-สนามบิน-แบบไร้รอยต่อ

1. ประกาศเชิญชวนนักลงทุน มกราคม 2561
2. ให้เอกชนเตรียมยื่นข้อเสนอ กุมภาพันธ์ 2561
3. ประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือก พฤษภาคม 2561
4. ลงนามในสัญญา สิงหาคม 2561
5. เปิดให้บริการเต็มรูปแบบ พ.ศ. 2566
REF: โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2018 1:03 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นประหลาดใจเมื่อไทยขอให้ญี่ปุ่น downgrade รถไฟชิงกังเซน เพื่อ ลดค่าโสหุ้ย เนื่องจากค่าโสหุ้ยตั้ง 4 แสน 2 หมื่นลานที่ญี่ปุ่นเสนอมานั้นแพงไป
https://asia.nikkei.com/Japan-Update/Thailand-looks-at-slower-bullet-train-to-cut-costs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 19/01/2018 8:14 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กสทช.ชงใบอนุญาต 1800 MHz 9 ใบๆละ 5MHz/ล้มประมูล 900 MHz
เผยแพร่: 19 ม.ค. 2561 07:25:00 โดย: MGR Online


ยุติประมูลคลื่น900 กระทบรถไฟไทยจีน
19 มกราคม 2561 เวลา 07:50 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 25/01/2018 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นมึน!? รัฐบาลไทยเสนอลดความเร็ว “ชินคันเซ็น เชียงใหม่” หวังลดต้นทุน
เผยแพร่: 25 ม.ค. 2561 07:16:00 ปรับปรุง: 25 ม.ค. 2561 13:20:00 โดย: MGR Online

สื่อมวลชนญี่ปุ่นรายงานว่า รัฐบาลไทยเสนอลดความเร็วของรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” จาก 300 กม.ต่อชั่วโมง เหลือ 180-200 กม.ต่อชั่วโมง เพื่อลดต้นทุนค่าดำเนินการ

หนังสือพิมพ์นิกเคอิของญี่ปุ่นรายงานอ้างอิงจากแหล่งข่าวในรัฐบาลไทยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาเกี่ยวกับการลดความเร็วของรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ หลังจากฝ่ายญี่ปุ่นส่งมอบรายงานต่อรัฐบาลไทยคำนวณค่าใช้จ่ายในโครงการนี้ว่าอยู่ที่ราว 420,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลไทยมองว่าสูงเกินไป

สื่อมวลชนญี่ปุ่นระบุว่า ท่าทีของรัฐบาลไทยสร้างความแปลกใจให้แก่ฝ่ายญี่ปุ่นซึ่งใช้เวลาถึง 3 ปี ในการทำงานกับเจ้าหน้าที่และวิศวกรของไทยเพื่อหวังจะแนะนำเทคโนโลยี “ชินคันเซ็น” (shinkansen) ไปทั่วโลก โดยหากลดความเร็วลงก็จะผิดไปจากความมุ่งหมายของฝ่ายญี่ปุ่น เพราะจะไม่ใช่สุดยอดเทคโนโลยีอีก

การลดความเร็วของรถไฟจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้ เช่น การสร้างแผงกั้นเสียง แต่ต้นทุนที่สำคัญที่สุดคือ การสร้างรางใหม่ 670 กม. จะไม่แตกต่างกันมากไม่ว่าจะเป็นรถไฟความเร็วสูงหรือความเร็วปานกลาง แต่รถไฟที่ช้าลงจะทำให้เสียโอกาสในการแข่งขัน เพราะผู้โดยสารจะหันไปใช้บริการเครื่องบินแทน

ประสบการณ์ของญี่ปุ่นที่ให้บริการรถไฟหัวกระสุนมาตั้งแต่ทศวรรษ 1960 ระบุว่า รถไฟความเร็วสูงจะสูญเสียลูกค้าให้กับเครื่องบินหากต้องใช้เวลาเดินทางมากกว่า 3 ชั่วโมง โดยหากใช้ความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมง เส้นทางจากกรุงเทพถึงเชียงใหม่ก็ยังต้องใช้เวลาเดินทางราว 3 ชั่วโมงครึ่ง ผู้โดยสารจำนวนมากจึงอาจเลือกใช้บริการสายการบินโลว์คอสต์แทนหากต้องใช้เวลาเดินทางนานขึ้น

รัฐบาลไทยประเมินค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงเส้นทางนี้ไว้ที่ 1,200 บาท ซึ่งถูกกว่าค่าโดยสารรถไฟชินคันเซ็นราว 1 ใน 3 ในระยะทางเท่ากัน เนื่องจากค่าครองชีพที่ต่างกันของสองประเทศ

นอกจากข้อเสนอลดความเร็วเพื่อลดต้นทุนแล้ว รัฐบาลไทยยังต้องการให้ฝ่ายญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโครงการนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในระยะยาว และลดความเสี่ยงจากการที่ฝ่ายไทยไม่มีประสบการณ์ในการควบคุมรถไฟความเร็วสูง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมต.คมนาคม ให้สัมภาษณ์กับสื่อญี่ปุ่นว่า โครงการนี้เป็น “win-win solution” หรือสมประโยชน์ทั้งสงฝ่าย โดยบอกว่าเพื่อรับประกันว่าเทคโนโลยีชินคังเซนจะถูกใช้ตลอดไป ทำไมฝ่ายญี่ปุ่นจึงไม่เข้ามาและทำโครงการร่วมกัน?

ฝ่ายญี่ปุ่นมองว่า เกมการเมืองก็อาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ พล.อ.ประยุทธ์ระมัดระวังในการตัดสินใจโครงการใหญ่นี้ หลังจากอดีตนายกฯ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถูกพิพากษาจำคุก 5 ปีจากโครงการรับจำนำข้าว จนต้องลี้ภัยจนถึงทุกวันนี้ และพล.อ.ประยุทธ์คงไม่ต้องการเดินซ้ำรอยอดีตนายกฯ หญิง

รัฐบาลไทยมีกำหนดจะส่งข้อเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีในปลายเดือนมีนาคม จึงยังมีเวลาสำหรับการต่อรองระหว่างสงประเทศ และยังยากจะฟันธงได้ว่า รถไฟหัวกระสุนของญี่ปุ่นจะมีโอกาสแล่นในแผ่นดินไทยหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2018 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

หูกวางขอแจงโครงการรถไฟความเร็วสูง
บ้านเมือง วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561, 11.05 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ตามที่ได้มีรายงานข่าวจากประเทศญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการประหยัดงบประมาณ จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ระบบเดียวกับ ‘ชินคันเซ็น’ มาเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง จริงหรือไม่ เพราะสาเหตุใด และจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการอย่างไร นั้น ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคม (คค.) ขอชี้แจงรายละเอียดข้อเท็จจริง ประกอบด้วย

1. กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือน พฤศจิกายน 2560 ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

2. ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) มีรายละเอียดสรุป ดังนี้


2.1 รายละเอียดข้อมูลโครงการ : (1) แนวเส้นทางจากสถานีบางซื่อ-พิษณุโลก ระยะทางรวม 380 กิโลเมตร (2) เทคโนโลยี : ชินคันเซ็น/ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง/ขนาดราง 1.435 เมตร/สถานี 7 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก/เวลาในการเดินทางจากบางซื่อ-พิษณุโลก 1 ชั่วโมง 58 นาที

2.2 ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร : (1) กรณีไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598 (2) กรณีมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 73,200 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598

2.3 มูลค่าโครงการเบื้องต้น : ตามผลการศึกษาของฝ่ายญี่ปุ่นพบว่ามีมูลค่าการลงทุน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 276,226 ล้านบาท

2.4 การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ : (1) รวมผลประโยชน์จาก
การพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 14.7%

2.ไม่รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 7.2% ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายไทยต้องจัดทำแผนระดับชาติและแผนพัฒนาภูมิภาคตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งจำเป็นต้องจัดทำแผนคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมเพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไม่ควรพิจารณาเพียงการสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ควรพิจารณาว่าจะใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้อย่างไร

3.ประเทศไทยกำลังเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เนื่องจากไม่ได้ลงทุนโครงการใหญ่ๆ สำคัญๆ มานานหลายปี ทำให้ไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ในการแข่งขันได้ รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออนาคตประเทศไทยในระยะยาว จึงตัดสินใจลงทุนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง รวมถึง สายเหนือระบบชินคันเซ็นด้วย แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง กระทรวงคมนาคมจึงต้องพิจารณา การลงทุนรถไฟสายนี้ ว่าหากจะปรับระบบเป็นความเร็วปานกลางจะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเปลี่ยนเป็นความเร็วปานกลางแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2018 1:34 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคม ขอชี้แจงข้อเท็จจริงประเด็นโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นไปตามความร่วมมือระหว่างไทยกับญี่ปุ่น
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 27 ม.ค. 2561

กระทรวงคมนาคม ชี้แจงข้อเท็จจริง กรณีที่มีการรายงานข่าวจากประเทศญี่ปุ่น ระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการประหยัดงบประมาณ จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ที่ใช้ระบบเดียวกับ ‘ชินคันเซ็น’ มาเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง ว่า โครงการดังกล่าวกระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น หรือ MLIT ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อปี 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือนพฤศจิกายน 2560 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

สำหรับผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) มีแนวเส้นทางจากสถานีบางซื่อ-พิษณุโลก ระยะทางรวม 380 กิโลเมตร (2) เทคโนโลยี : ชินคันเซ็น/ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง/ขนาดราง 1.435 เมตร/สถานี 7 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก/เวลาในการเดินทางจากบางซื่อ-พิษณุโลก 1 ชั่วโมง 58 นาที

ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร : กรณีไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598 และกรณีมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 73,200 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598

มูลค่าโครงการเบื้องต้น : ตามผลการศึกษาของฝ่ายญี่ปุ่นพบว่ามีมูลค่าการลงทุน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 276,226 ล้านบาท

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ : (1) รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 14.7% (2) ไม่รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับร้อยละ 7.2 ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายไทยต้องจัดทำแผนระดับชาติและแผนพัฒนาภูมิภาคตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งจำเป็นต้องจัดทำแผนคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมเพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไม่ควรพิจารณาเพียงการสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ควรพิจารณาว่าจะใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้อย่างไร

อย่างไรก็คามประเทศไทยกำลังเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เนื่องจากไม่ได้ลงทุนโครงการใหญ่ๆ สำคัญๆ มานานหลายปี ทำให้ไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในการแข่งขันได้ รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออนาคตประเทศไทยในระยะยาว จึงตัดสินใจลงทุนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง รวมถึงสายเหนือระบบชินคันเซ็นด้วย แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง คค. จึงต้องพิจารณาลงทุนรถไฟสายนี้ ว่าหากจะปรับระบบเป็นความเร็วปานกลางจะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเปลี่ยนเป็นความเร็วปานกลางแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2018 1:37 pm    Post subject: Reply with quote

หนุนวิศวกรไทย สร้างรถไฟเชื่อมจีนเฟส 2
โพสต์ทูเดย์ 27 มกราคม 2561 เวลา 13:06 น.

Click on the image for full size

โดย...โชคชัย สีนิลแท้

โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตามนโยบาย One Belt One Road ช่วงแรกกรุงเทพฯ-นครราชสีมา นั้นเริ่มเป็นรูปธรรมมากขึ้น สะท้อนได้จาก มุมมองของตัวแทนวิศวกรไทยที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมผลักดันโครงการ ดังกล่าวให้เกิดขึ้น

ศ.อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร กล่าวว่า โครงการดังกล่าวขณะนี้มีคืบหน้าใน 2 ประเด็น เริ่มจากเฟส 1 จากกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 250 กม.นั้น การอบรมวิศวกรจีนนั้นดำเนินการไปกว่า 90% ที่เมืองเทียนจิน ประเทศจีน โดยการออกแบบทั้งหมดจะเกิดขึ้นจากวิศวกรจีนทั้งหมด 300 คน ขณะที่วิศวกรไทยนั้นมีส่วนร่วมในเฟส 1 แค่ช่วยควบคุมงานก่อสร้าง ซึ่งจะมีวิศวกรไทยจำนวน 400 คน ประกบการทำงานร่วมกับวิศวกรจีนหรือเรียกว่า On the Job Training โดยการก่อสร้างในเฟสแรกนั้นวิศวกรไทยจะได้งานโยธาเป็นหลัก</p><p>ขณะที่การดำเนินงานในเฟส 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 320 กม.นั้น ทางสภาวิศวกรได้มีการ ผลักดันให้การออกแบบโครงการนั้นเกิดจากแนวคิดของวิศวกรไทย ซึ่งงานก่อสร้างในเฟส 2 นั้นประเมินว่าจะใช้วิศวกรไทยไม่ต่ำกว่า 250-300 คน ส่วนวิศวกรจีนนั้นจะทำหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงแทน

"งานก่อสร้างเฟส 1 นั้นจะได้ เฉพาะงานก่อสร้างเหลือแต่งานออกแบบทางด้านไฟฟ้าและเครื่องกลที่ไทยจะ ไม่ได้งาน ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นงานทางด้านอาณัติสัญญาณ ซึ่งมูลค่างานก่อสร้างในเฟส 1 จะอยู่ที่ประมาณ 1.8 แสนล้านบาท ทางไทยจะได้ประโยชน์จากการก่อสร้าง 75% ส่วนทางจีนนั้น จะได้ 25% ในการออกแบบ การควบคุมและตู้รถ" ศ.อมร กล่าว

สำหรับเฟส 2 นั้นทางสภาวิศวกรจะผลักดันให้วิศวกรไทยได้เข้าไปมีบทบาทมากขึ้นในการออกแบบ หลังจากได้เรียนรู้งานจากทางการจีนทางด้านการก่อสร้างโครงการ โดยจะให้วิศวกรผู้ทรงความรู้ของไทยได้เข้าไปเรียนรู้งาน อาทิ คณาจารย์จากมหาวิทยาลัยทางด้านวิศวกรรมเข้าไปร่วมงาน เพื่อที่จะให้เกิดการถ่ายทอดความรู้ส่งต่อ ซึ่งในเฟส 2 ประโยชน์ที่จะเกิดขึ้นกับไทยจะเพิ่มขึ้นเป็น 80-85% ขณะที่สัดส่วนที่เหลือจะเป็นของจีน

ทั้งนี้ มีการประมาณการว่าใน เฟส 2 จะมีวิศวกรไทยเข้าร่วมประมาณ 700-800 คน ทั้งร่วมออกแบบและ ควบคุมงาน ซึ่งการอบรมวิศวกรไทยและจีนนั้นจะต้องแล้วเสร็จภายในระยะเวลา 8 เดือนตามสัญญาที่นับตั้งแต่เดือน ต.ค. 2560 เพื่อให้เป็นไปตามเงื่อนไขในการตรวจรับงานที่จะต้องใช้งบประมาณในการอบรม 40-50 ล้านบาท โครงการนี้เชื่อว่าจะเห็นเฟส 1 ได้ภายใน 5 ปี อย่างไรก็ตามการก่อสร้างในเฟส 2 ยังต้องรอลุ้นว่ารัฐบาลจะเดินหน้าพร้อม ต่อในคราวเดียวกันหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/01/2018 11:30 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
หูกวางขอแจงโครงการรถไฟความเร็วสูง
บ้านเมือง วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561, 11.05 น.


คมนาคม เตรียมถกญี่ปุ่น ตัดสินปรับระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
คมนาคม-ขนส่ง
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันเสาร์ ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561, 12:46:00 น.

คมนาคม ชี้แจง กำลังเปรียบเทียบข้อมูล ปรับระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เป็นความเร็วปานกลาง มีความเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจ โดยจะประชุมร่วมญี่ปุ่น6 ก.พ.นี้ เพื่อหาแนวทางที่คุ้มค่าสูงสุด

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ชี้แจง กรณีที่ได้มีรายงานข่าวจากประเทศญี่ปุ่นระบุว่า รัฐบาลไทยต้องการประหยัดงบประมาณ จึงมีการปรับเปลี่ยนโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ใช้ระบบเดียวกับ ‘ชินคันเซ็น’ มาเป็นรถไฟความเร็วปานกลาง จริงหรือไม่ เพราะสาเหตุใด และจะส่งผลกระทบต่อการให้บริการอย่างไร นั้น ข้อเท็จจริง คือ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่งและการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น (MLIT) ได้ร่วมลงนาม ในบันทึกความร่วมมือการพัฒนาระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น (MOC) เมื่อวันที่ 27พฤษภาคม 2558 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น เพื่อพัฒนารถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ โดยได้เริ่มทำการศึกษาความเหมาะสมของโครงการระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2558 แล้วเสร็จเดือน พฤศจิกายน 2560 ปัจจุบัน กระทรวงคมนาคม อยู่ระหว่างการหารือเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการร่วมกับฝ่ายญี่ปุ่น เพื่อพิจารณาหารูปแบบการดำเนินโครงการที่มีความเหมาะสมและเกิดความคุ้มค่าสูงสุดในการลงทุน ทั้งนี้ การประชุมหารือดังกล่าวจะจัดขึ้นในวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561

ผลการศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ขององค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (JICA) มีรายละเอียดสรุป ข้อมูลโครงการ : (1) แนวเส้นทางจากสถานีบางซื่อ-พิษณุโลก ระยะทางรวม 380 กิโลเมตร (2) เทคโนโลยี : ชินคันเซ็น/ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ

300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง/ขนาดราง 1.435 เมตร/สถานี 7 สถานี ประกอบด้วย บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก/เวลาในการเดินทางจากบางซื่อ-พิษณุโลก 1 ชั่วโมง 58 นาที
ผลการวิเคราะห์การคาดการณ์ปริมาณผู้โดยสาร : (1) กรณีไม่มีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 50,000 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598 (2) กรณีมีการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทาง

ปี 2568 (ปีเปิดบริการ) มีปริมาณผู้โดยสารจำนวน 29,000 คน-เที่ยว/วัน และเพิ่มขึ้นเป็น 73,200 คน-เที่ยว/วัน ในปี 2598

โดยมีมูลค่าโครงการเบื้องต้น : ตามผลการศึกษาของฝ่ายญี่ปุ่นพบว่ามีมูลค่าการลงทุน ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 276,226 ล้านบาท

การวิเคราะห์ผลตอบแทนทางเศรษฐศาสตร์ : (1) รวมผลประโยชน์จาก
การพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 14.7% (2) ไม่รวมผลประโยชน์จากการพัฒนาพื้นที่ตามแนวเส้นทางเท่ากับ 7.2%

ทั้งนี้ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ให้ข้อเสนอแนะว่า ฝ่ายไทยต้องจัดทำแผนระดับชาติและแผนพัฒนาภูมิภาคตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เพื่อประโยชน์สูงสุดทางด้านเศรษฐกิจและการลงทุน รวมทั้งจำเป็นต้องจัดทำแผนคมนาคมขนส่งที่ครอบคลุมเพื่อให้การเชื่อมต่อการเดินทางมีประสิทธิภาพ

นอกจากนี้ ฝ่ายไทยไม่ควรพิจารณาเพียงการสร้างรถไฟความเร็วสูง แต่ควรพิจารณาว่าจะใช้รถไฟความเร็วสูงเป็นเครื่องมือในการพัฒนาเมืองในภูมิภาค ได้อย่างไร ประเทศไทยกำลังเร่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม เนื่องจากไม่ได้ลงทุนโครงการใหญ่ๆ สำคัญๆ มานานหลายปี ทำให้ไม่สามารถช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ

ในการแข่งขันได้ รัฐบาลนี้เห็นความสำคัญของการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมเพื่ออนาคตประเทศไทยในระยะยาว จึงตัดสินใจลงทุนพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงหลายเส้นทาง รวมถึงสายเหนือระบบชินคันเซ็นด้วย แต่โครงการรถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง จึงต้องพิจารณาการลงทุนรถไฟสายนี้ ว่าหากจะปรับระบบเป็นความเร็วปานกลางจะเหมาะสมหรือไม่ ซึ่งยังอยู่ระหว่างการเปรียบเทียบ ขณะนี้ยังไม่มีการตัดสินใจเปลี่ยนเป็นความเร็วปานกลางแต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 250, 251, 252 ... 542, 543, 544  Next
Page 251 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©