RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311277
ทั่วไป:13258406
ทั้งหมด:13569683
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 253, 254, 255 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2018 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รุกประมูลรถไฟช่วง2‘ไทย-จีน’เม.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 6 ก.พ. 61


เร่งไฮสปีดเทรน ตอน 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร เปิดประมูลเม.ย.

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 - 12:56 น.

คมนาคมเดินหน้าก่อสร้างไฮสปีดเทรน กทม.-โคราชตอนที่เหลือ ยัน เม.ย.ประมูลตอนที่ 2 มั่นใจปีนี้ ครบทั้ง 13 สัญญา

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทยจีน หรือรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้การพิจารณารายละเอียดเพื่อดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม.ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ภายหลังได้ลงเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา

“ตอนนี้ทางจีนได้ทยอยส่งรายละเอียดการออกแบบก่อสร้างตอนที่ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)พิจารณาอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าจะเริ่มทยอยเปิดประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างเพิ่มเติมได้ในเดือนเมษายนนี้”

นายพีระพล กล่าวว่า สำหรับการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบการก่อสร้างในตอนที่ 2 จนถึงตอนที่ 4 จะใช้ระยะเวลาไม่นานเหมือนตอนที่ 1 เนื่องจากที่ผ่านมาได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างหมดแล้ว และทางจีนก็มีการส่งรายละเอียดให้ไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ไทยสามารถถอดแบบได้ ซึ่งจะแต่แตกต่างจากเดิมที่ส่งแบบมาเป็นภาษาจีนจนต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอยู่หลายครั้ง


นายพีระพล กล่าวว่า ก่อนจะมีการก่อสร้างตอนที่ 1 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีการอนุมัติโครงการรวมถึงวงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างไปแล้ว ดังนั้นในการประกวดราคาตอนที่เหลือ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 13 สัญญา ก็ไม่ต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติก่อน เพราะสามารถดำเนินการได้เลย
“ตามแผนงานที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ ทุกตอนที่เหลือจะต้องมีประกวดราคาเพื่อก่อสร้างให้ได้ทั้งหมดภายในปีนี้ เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าไปตามแผนงานที่กำหนด”นายพีระพล กล่าว

นายพีระพล กล่าวว่า ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ จะมีการประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 23 ที่สาธารณะรัฐประชาชนจีน หลังจากครั้งที่ 22 ได้จัดขึ้นที่ประเทศไทยไปแล้ว โดยทางผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมก็จะทยอยเดินทางไปตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เพื่อประชุมกลุ่มย่อยก่อน จากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมประชุมด้วยในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งก็คาดว่าจะมีความคืบหน้าของการดำเนินงานมากขึ้นแน่นอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะมี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา เป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ทางระดับพื้น 64.0 กม. เป็นอุโมงค์ 6.4 กม. ตั้งเป้าหมายก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2564 โดยใช้รถไฟรุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน ความเร็วสูงสุดได้ 250 กม./ชั่วโมง(ชม.) ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 1.30 ชม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2018 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ อ้อน ญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ชงครม.ไฟเขียวมี.ค.นี้

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 14:47 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ว่า ญี่ปุ่นได้นำเสนอผลรายงานการศึกษากรณีที่ฝ่ายไทยขอปรับลดต้นทุนโครงการเพื่อลดภาระงบประมาณค่าก่อสร้างตามความเห็นของรัฐบาลไทยว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกัน 3 ประเด็นคือ ต้นทุนโครงการ ความเร็วของรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่สถานี สำหรับเรื่องต้นทุนโครงการ 2 ฝ่าย ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นเพื่อลดค่าก่อสร้าง โดยญี่ปุ่นเสนอว่าต้องการลดต้นทุนโครงการจะต้องตัดระยะทางโครงการให้สั้นลง และต้องยกเลิกการก่อสร้างบางสถานีออกไปเพื่อประหยัดงบ แต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสารทำให้เข้ามาใช้บริการ เพราะรถจอดเพียงไม่กี่สถานีเท่านั้น

ทั้งนี้ หากเราจะลดต้นทุนก่อสร้าง ช่วงเฟสแรก กทม.-พิษณุโลก อาจจะต้องตัดบงสถานีออก เช่น ตัดสถานีพิจิตร ออกหรือตัด 2 สถานี คือ ลพบุรี และมาก่อสร้างเพิ่มในภายหลัง ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้ แต่เราคิดว่าไม่คุ้มกับผู้โดยสารที่จะหายไป ซึ่งต้องหารือ 2 ฝ่ายร่วมกันอีกครั้งว่าจะมีแนวทางอื่นๆ ที่จะปรับลดต้นทุนหรือไม่

นายอาคมกล่าวถึงประเด็นเรื่องของความเร็วนั้น ยืนยันว่าจะใช้ระบบเทคโนโลยีของรถไฟชินคันเซน ซึ่งจะเป็นรถไฟความเร็วสูง 300 ก.ม./ชม. ตามเดิม เพราะจากผลการศึกษาของญี่ปุ่นระบุว่า หากปรับมาใช้ความเร็วต่ำ ประชาชนจะเลือกเดินทางโดยระบบอื่นที่ไม่ใช่รถไฟแทน โดยพบว่าหากประชาชนเดินทางระยะไม่เกิน 500 ก.ม. การเดินทางโดยรถยนต์จะคุ้มค่ากว่าหากเทียบกับเดินทางโดยรถไฟความเร็วปานกลาง

แต่หากการเดินทางระยะไกลตั้งแต่ 500 ก.ม.ขึ้นไปการเดินทางโดยรถไฟจะคุ้มกว่า และที่ระยะทาง 750 ก.ม. ถือเป็นระยะที่คนส่วนใหญ่ 80-90% จะตัดสินใจเปลี่ยนจากทางถนนมาเดินทางโดยรถไฟเพราะเป็นจุดที่คุ้มค่าสูงสุด



“ญี่ปุ่นระบุว่าการเดินทางระยะทางที่น้อยกว่า 500 ก.ม. ขับรถยนต์จะคุ้มกว่า แต่หากเดินทางระยะทาง 500-750 ก.ม.ขึ้นไป เดินทางโดยรถไฟคุ้มค่ากว่า เพราะฉะนั้นความเร็วของรถไฟก็ถือว่าสำคัญ หากลดความเร็วลงมา การเดินทางก็ช้าลง คนก็จะเลือกไปเดินทางโดยเครื่องบินมากกว่า”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นเรื่องแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีซึ่ง ญี่ปุ่นเสนอว่าหากจะให้โครงการเกิดความคุ้มค่าจะต้อง มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย โดยจะทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 14% แต่หากไม่การพัฒนาพื้นที่มีแต่สถานีจะมีผลตอบแทนเพียงแค่ 7% เท่านั้น ซึ่ง 2 ฝ่ายต้องหารือว่าจะร่วมกับพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทางได้อย่างไร

นายอาคมกล่าวต่อว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะลดภาระงบประมาณด้านการลงทุน ดังนั้นจึงเสนอขอให้ ญี่ปุ่นกลับไปศึกษาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมให้กับไทยด้วย เบื้องต้นได้นำเสนอแนวทางขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนในโครงการดังกล่าว ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอว่ามีความพร้อมที่จะให้ฝ่ายไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินโครงการ

“รัฐบาลไทยต้องการลดภาระหนี้ โดยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศึกษารูปแบบการลงทุน ร่วมทุน รวมไปถึงรายละเอียดภาพรวมโครงการ ทั้งการปรับลดต้นทุน และแนวทางการพัฒนาพื้นกลับมาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะนำผลการศึกษาทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาอนุมัติในเดือนมี.ค.นี้”

//--------------------

หั่นต้นทุนไม่ลง! ไฮสปีด “กทม.-พิษณุโลก” ญี่ปุ่นพร้อมปล่อยกู้-เมินลงขันร่วมลงทุน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 16:31:00
ปรับปรุง: วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 16:36:00



“อาคม” ถกญี่ปุ่นหาทางปรับลดต้นทุนไฮสปีด “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” 2.76 แสนล้านไม่ได้ ประเมินแล้วตัดบางสถานีออกแต่พบทำให้ผู้โดยสารหายไปด้วย ได้ไม่คุ้มเสีย ส่วนความเร็วยันไม่น้อยกว่า 300 กม./ชม. ข้อด้อยเส้นทางสิ้นสุดที่เชียงใหม่ไม่เชื่อมต่อต่างประเทศ ขอญี่ปุ่นศึกษาแนวทางคู่เชื่อม ตาก-นครสวรรค์-มุกดาหาร หาทางดึงผู้โดยสารเข้าระบบเพิ่ม ด้านญี่ปุ่นเมินร่วมทุน เสนอไทยลง 100% เหมือน “ไทย-จีน”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ Mr. Noriyoshi YAMAGAMI รองอธิบดีกรมการรถไฟญี่ปุ่น (MLIT) วานนี้ (7 ก.พ.) ว่า ได้หารือในรายละเอียดผลการศึกษาการสำรวจความเหมาะสมโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 276,225 ล้านบาท โดยญี่ปุ่นได้รายงานข้อมูลเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น คือ มูลค่าของโครงการ การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาการขนส่งสินค้า การเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และรูปแบบการลงทุนจะสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน มี.ค.นี้

การปรับลดต้นทุนโครงการลงนั้นจะต้องพิจารณารายละเอียดความจำเป็นของเนื้องานประกอบด้วยว่าอะไรจำเป็นอะไรยังไม่จำเป็น ซึ่งได้หารือว่า จาก 6 สถานี หากตัดบางสถานีออก เช่น สถานีพระนครศรีอยุธยา หรือสถานีพิจิตร จากทั้งหมด 7 สถานีจะเหลือ 5-6 สถานีได้หรือไม่ ซึ่งพบว่าแม้ทำให้ต้นทุนลด แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปไม่คุ้มค่า ดังนั้นจึงไม่สรุปว่าจะตัดสถานีออก

ส่วนประเด็นความเร็วนั้น ยืนยันที่ 300 กม./ชม.ตามมาตรฐานของรถชินคันเซ็น ซึ่งญี่ปุ่นอธิบายถึงการกำหนดความเร็วกับระยะทางว่ามีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบขนส่ง เช่น ระยะทาง 500 กม. พบว่าการขับรถยนต์จะรวดเร็วกว่าใช้ขนส่งระบบอื่น กรณีระยะทางเกินกว่า 500-749 กม. จะเป็นระยะที่เหมาะสมกับใช้ระบบรถไฟเดินทางมากที่สุด ดังนั้นกรณีลดความเร็วระบบรถไฟลงจะทำให้ใช้เวลาเดินทางมากขึ้น มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบขนส่งอื่นแทน ส่วนระยะทางเกิน 700 กม.ขึ้นไปจะใช้เครื่องบินเดินทาง

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ จะเน้นที่พื้นที่สถานีและรอบสถานีเพื่อให้โครงการมีความคุ้มค่า โดยพบว่าช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 14% หากไม่ทำอะไรเลย 7% ซึ่งจะทำข้อมูลเพิ่มในเรื่องวิธีการพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทาง ซึ่งหลักคิดญี่ปุ่นจะมุ่งไปที่การพัฒนาเมือง โดยใช้รถไฟนำไปก่อน ดังนั้นการพัฒนาจะได้ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี

นอกจากนี้ จะต้องให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย ซึ่งรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะต่างกับรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-*นครราชสีมา-หนองคาย ที่ได้เปรียบที่มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ มีปริมาณผู้โดยสารจาก สปป.ลาว และจีนเข้ามาในโครงข่าย ดังนั้น ได้เสนอให้ญี่ปุ่นพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ แนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเชื่อมโครงข่ายภายในประเทศ โดยจะเริ่มที่ด้านตะวันออกก่อน เส้นทาง บ้านไผ่-มุกดาหาร ส่วนจากบ้านไผ่-นครสวรรค์ ทางญี่ปุ่นกำลังศึกษา ส่วนจากนครสวรรค์-แม่สอด-ตาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการศึกษาเอง ทำให้ผู้โดยสารสามารถใช้เส้นทางรถไฟจากด้านตะวันออก จากจีน-สปป.ลาว ใช้ระบบรถไฟทางคู่ที่มุกดาหาร-นครสวรรค์เพื่อใช้ระบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการลงทุน ญี่ปุ่นมีความพร้อมในการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ไทยเห็นว่าควรมีการร่วมลงทุนเพื่อลดภาระหนี้และการลงทุนภาครัฐ จึงยังไม่ชัดเจน

รายงานข่าวแจ้งว่า ทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยลงทุนโครงการ 100% เช่นเดียวกับความร่วมมือรถไฟไทย-จีน โดยพร้อมในเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ไทยต้องการให้ใช้การร่วมลงทุน ดังนั้นจะต้องมีการศึกษารายละเอียดกันอีกหลังจาก ครม.อนุมัติการศึกษาเบื้องต้นแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2018 7:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘อาคม’ อ้อน ญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ชงครม.ไฟเขียวมี.ค.นี้
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 14:47 น.

ลุ้นญี่ปุ่น ‘ร่วมทุน’ ไฮสปีดพิษณุโลก
กรุงเทพธุรกิจ 8 ก.พ. 61

ลุ้นญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีด กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 2.76 แสนล้าน เหตุรัฐบาลไทยต้องการลดหนี้ ลงทุนเมกะโปรเจคไปแล้วหลายโครงการ

เสนอตัดสถานีลพบุรี-พิจิตร ลดต้นทุนโครงการ พร้อมเดินหน้ารถไฟทางคู่ตะวันตก-ตะวันออกด้านเหนือ หวังเชื่อมผู้โดยสารไฮสปีดญี่ปุ่น-ไฮสปีดจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมเรื่องรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น วานนี้ (7 ก.พ.) ว่า

ตอนนี้รัฐบาลไทยมีนโยบายจะลดงบประมาณลงทุน ดังนั้นจึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นกลับไปศึกษาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้กับฝ่ายไทยด้วย ขณะเดียวกันขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมทุนในโครงการดังกล่าวทั้งหมด ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอว่า พร้อมให้ฝ่ายไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินโครงการ

รัฐบาลไทยต้องการลดภาระหนี้ โดยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศึกษารูปแบบการลงทุน รวมไปถึงรายละเอียดภาพรวมโครงการ ทั้งการปรับลดต้นทุน และแนวทางการพัฒนาพื้นกลับมาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะนำผลการศึกษาเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติในเดือนมี.ค.นี้  นายอาคมกล่าว และว่า ที่ประชุมฯ ยังได้หารือร่วมกันใน 3 ประเด็นคือ ต้นทุนโครงการ ความเร็วของรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

สำหรับเรื่องต้นทุนโครงการ ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น จากปัจจุบันกรอบวงเงินลงทุนช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกอยู่ที่ 2.76 แสนล้านบาท โดยฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่า ถ้าต้องการลดต้นทุนจะต้องตัดเส้นทางให้สั้นลง และยกเลิกบางสถานีแต่จะส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง

หากเราจะลดต้นทุนก่อสร้างเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อาจต้องตัดบางสถานีออกไป เช่น ตัดสถานีพิจิตรออก หรือตัด 2 สถานีคือลพบุรีและพิจิตร จากนั้นค่อยมาสร้างเพิ่มในภายหลัง แต่เราคิดว่าไม่คุ้มกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไป จึงต้องหารือร่วมกัน 2 ฝ่ายอีกครั้งว่า จะมีแนวทางอื่น ๆ ที่ปรับลดต้นทุนหรือไม่ นายอาคมล่าว

ส่วนประเด็นเรื่องของความเร็ว นายอาคมยืนยันว่าจะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็งในระดับ 300 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมงตามเดิม เพราะผลการศึกษาของญี่ปุ่นระบุว่า หากปรับมาใช้ความเร็วต่ำ ประชาชนจะเลือกเดินทางโดยระบบอื่นแทน

ในระยะทางไม่เกิน 500 กม. การเดินทางด้วยรถยนต์จะคุ้มค่ากว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วปานกลาง ในระยะไกลตั้งแต่ 500 กม.ขึ้นไป การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มกว่าและการเดินทาง 750 กม. เป็นระยะที่คนส่วนใหญ่ 80-90% จะตัดสินใจเปลี่ยนจากทางถนนมาเดินทางเป็นรถไฟแต่ถ้าไกลกว่านั้นก็จะเลือกการเดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มขึ้น

ฝ่ายญี่ปุ่นยังเสนอว่า หากจะให้โครงการเกิดความคุ้มค่าจะต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย โดยจะทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 14% แต่หากไม่การพัฒนาพื้นที่จะมีผลตอบแทนเพียงแค่ 7% เท่านั้น ซึ่ง 2 ฝ่ายต้องหารือร่วมกันว่าจะพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทางอย่างไร

ขณะเดียวกัน ได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกับโครงข่ายการเดินทาง เพราะหากเปรียบเทียบระหว่างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พบว่าโครงการรถไฟไทย-จีน มีความได้เปรียบมากกว่า เพราะว่ามีการเชื่อมโยงทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เป็นเส้นทางที่ไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

ฝ่ายไทยจึงเสนอให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟทางคู่เส้นตะวันตก- ตะวันออกด้วย เพราะในอนาคตจะมีศักยภาพมากและสามารถเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงเส้น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้ โดยรัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนารถไฟทางคู่ฝั่งตะวันออกก่อนคือ ช่วงบ้านไผ่ –นครพนม

ด้านญี่ปุ่นจะศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่ช่วง บ้านไผ่-นครสวรรค์,การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะศึกษารถไฟทางคู่ ช่วงแม่สอด-ตาก-นครสวรรค์โดยรถไฟทางคู่ ช่วงแม่สอด-ตาก-นครสวรรค์-บ้านไผ่-นครพนม จะรับผู้โดยสารจากรถไฟไทย-จีน มาป้อนให้รถไฟไทย-ญี่ปุ่น ได้ที่สถานีนครสวรรค์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก ช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลกทั้งหมด เหมือนกรณีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แต่รัฐบาลไทยพยายามเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นร่วมทุนด้วยเพื่อประหยัดงบประมาณ เพราะรัฐบาลได้ลงทุนเมกะโปรเจคจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ฝ่ายญี่ปุ่นก็อยู่ระหว่างพิจารณา เพราะฝ่ายญี่ปุ่นเกรงว่าถ้าร่วมทุนกับรัฐบาลไทยแล้ว ก็จะต้องใช้เป็นโมเดลในประเทศอื่น ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 08/02/2018 12:16 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
Wisarut wrote:
‘อาคม’ อ้อน ญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ชงครม.ไฟเขียวมี.ค.นี้
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 14:47 น.

ลุ้นญี่ปุ่น ‘ร่วมทุน’ ไฮสปีดพิษณุโลก
กรุงเทพธุรกิจ 8 ก.พ. 61

คมนาคมคาดเสนอรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเข้า ครม.มี.ค.นี้
เศรษฐกิจ
MCOT
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 16:33:12
กรุงเทพฯ 7 ก.พ. - กระทรวงคมนาคมเร่งเดินหน้าไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น เสนอญี่ปุ่นร่วมทุนกับรัฐบาลไทย ด้านญี่ปุ่นโชว์มีเงินให้กู้พร้อมดอกเบี้ยราคาถูก คาดได้ข้อสรุปชัดเจนเสนอ ครม.มี.ค.นี้

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กม. วงเงิน 276,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 7 สถานี คือ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก ใน 3 ประเด็นหลัก

สำหรับประเด็นที่ 1.ต้นทุนโครงการ ซึ่งคณะทำงานทั้ง 2 ฝ่ายจะไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่ารายการไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น โดยหากต้องการต้นทุนที่ถูกอาจจำเป็นต้องดำเนินการออกแบบและก่อสร้างเป็นระยะ ๆ และอาจจำเป็นต้องตัดบางสถานีออกไปก่อน เช่น สถานีพิจิตรและสถานีลพบุรี เป็นต้น แต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น ซึ่งหากตัดออกจริงจะส่งผลต่อปริมาณของผู้โดยสาร เพราะหากไม่มีสถานีคนก็ไม่มีความต้องการจะขึ้น ดังนั้น ไทยคงต้องพิจารณาให้ดีว่าหากตัดบางสถานีทิ้งไปจะไม่คุ้มค่ากับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปหรือไม่

2.เรื่องความเร็วสูงสุดในการเดินรถที่จะใช้ระบบเดียวกับชินคันเซ็น ซึ่งมาตรฐานญี่ปุ่นอยู่ที่ 300 กม.ต่อ ชม. โดยมีผลสำรวจว่าหากระยะทางไม่เกิน 500 กม. คนจะเลือกเดินทางโดยเครื่องบิน หรือขับรถ เพราะจะเร็วและคุ้มค่า แต่หากระยะทาง 500-749 กม.ขึ้นไปคนจะหันมานั่งรถไฟความเร็วสูงทันที เพราะคุ้มค่ามากกว่า สำหรับประเด็นที่ 3. การพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ซึ่งญี่ปุ่นศึกษาทั้งระบบพบว่าหากจะทำให้โครงการมีความคุ้มค่าถึงร้อยละ 14 ต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีและพัฒนาเมืองทั้งระบบตามผลการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจหรืออีไออาร์ แต่หากไม่มีการพัฒนาความคุ้มค่าจะอยู่แค่ร้อยละ 7

นอกจากนี้ ยังหารือเกี่ยวกับความเชื่อมโยง ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบความเชื่อมโยงแล้วพบว่ารถไฟไทย-จีนได้เปรียบเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ และความต้องการของผู้โดยสารก็จะมาจากจีน สำหรับกรณีของรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่นั้น ยังมีความกังวลเรื่องความเชื่อมโยง แต่ไทยให้ข้อมูลว่าไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น สามารถเชื่อมโยงกับรถไฟทางคู่เส้นตะวันออกบ้านไผ่-นครสวรรค์ และเส้นตะวันตกนครสวรรค์-แม่สอดได้ ซึ่งจะทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางมาจากจีนทางเครื่องบินหรือรถไฟสามารถมาต่อรถไฟทางคู่จากบ้านไผ่-นครสวรรค์ และมาขึ้นรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นได้ อีกทั้งจะทำให้มีจุดหยุดพักหลายแหล่ง ซึ่งจะส่งผลต่อความเจริญของเมืองในอนาคต

นอกจากนี้ ยังหารือด้วยว่าเส้นทางเชียงใหม่นั้นควรต้องพัฒนาเรื่องการขนส่งสินค้า แต่รถไฟความเร็วสูงจะไม่ใช่เรื่องการขนส่งสินค้าและจะใช้เฉพาะขนส่งผู้โดยสาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องความปลอดภัย ส่วนรูปแบบการลงทุนนั้นเป็นอีกโจทย์ที่ญี่ปุ่นต้องไปศึกษา ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเสนอว่ามีเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยถูกที่พร้อมให้ไทยกู้ ซึ่งไทยแจ้งว่าต้องการลดภาระหนี้ ดังนั้น ต้องไปช่วยคิดว่ามีรูปแบบอื่นหรือไม่ในการช่วยลดภาระของรัฐบาล เช่น การร่วมทุน เป็นต้น ทั้งนี้ ญี่ปุ่นจะกลับไปศึกษาเพิ่ม คาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสิ้นเดือนกุมภาพันธ์ เพื่อประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายในเดือนมีนาคมนี้.-สำนักข่าวไทย

//---------------------

อ้อนญี่ปุ่นลงขันไทยสร้าง"ชินคันเซน"
พุธที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 17.51 น.
“อาคม”เร่งเดินหน้าไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่น เสนอญี่ปุ่นร่วมทุนกับรัฐบาลไทย ด้านญี่ปุ่นแจ้งมีเงินให้กู้พร้อมดอกเบี้ยราคาถูก คาดได้ข้อสรุปชัดเจนเสนอครม.มี.ค.นี้


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ระหว่างกระทรวงคมนาคมและกระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐานการขนส่งและการท่องเที่ยวญี่ปุ่น(MLIT) ว่า ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380กม.วงเงิน 2.76 แสนล้านบาท ประกอบด้วย 7สถานี คือ บางซื่อ ดอนเมือง อยุธยา ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร และพิษณุโลก ใน3ประเด็นหลัก คือ 1.ต้นทุนของโครงการซึ่งคณะทำงานทั้งสองผ่ายจะไปพิจารณารายละเอียดอีกครั้งว่ารายการไหนจำเป็นหรือไม่จำเป็น หากต้องการต้นทุนถูกจำเป็นต้องออกแบบและก่อสร้างเป็นระยะๆและอาจต้องตัดบางสถานีออกไปก่อน เช่น สถานีพิจิตร และสถานีลพบุรี เป็นต้นแต่ก็เป็นทางเลือกหนึ่งเท่านั้น หากตัดออกจริงจะส่งผลต่อปริมาณผู้โดยสารเพราะถ้าไม่มีสถานีคนก็ไม่ขึ้น ไทยต้องพิจารณาให้ดีว่าคุ้มค่ากับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปหรือไม่ 2. เรื่องความเร็วสูงสุดในการเดินรถที่จะใช้ระบบเดียวกับชินคันเซ็น มาตรฐานญี่ปุ่นอยู่ที่ 300กม.ต่อชม. มีผลสำรวจว่าหากระยะทางไม่เกิน 500กม.คนจะเลือกเดินทางโดยเครื่องบิน หรือขับรถ เพราะเร็วและคุ้มค่ากว่าแต่ระยะทาง 500-749กม.ขึ้นไปคนจะหันมานั่งรถไฟความเร็วสูงทันที เพราะคุ้มค่ากว่า

รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า สำหรับประเด็นที่ 3. เรื่องการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี ญี่ปุ่นศึกษาทั้งระบบพบว่าการทำให้โครงการมีความคุ้มค่าถึง14%ต้องพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์รอบสถานีและพัฒนาเมืองทั้งระบบตามผลการศึกษาผลกระทบด้านเศรษฐกิจหรืออีไออาร์ ถ้าไม่พัฒนาความคุ้มค่าจะอยู่แค่7% เมื่อเปรียบเทียบความเชื่อมโยงแล้วพบว่ารถไฟไทย-จีนได้เปรียบเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างประเทศและความต้องการของผู้โดยสารที่มาจากจีน จึงกังวลเรื่องความเชื่อมโยงของรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นกรุงเทพ-เชียงใหม่ อย่างไรก็ตามฝ่ายไทยให้ข้อมูลว่าไฮสปีดไทย-ญี่ปุ่นเชื่อมโยงรถไฟทางคู่เส้นตะวันออกบ้านไผ่-นครสวรรค์และเส้นตะวันตกนครสวรรค์-แม่สอด ได้จะทำให้ผู้โดยสารที่เดินทางจากจีนทางเครื่องบินหรือรถไฟถมาต่อรถไฟทางคู่จากบ้านไผ่-นครสวรรค์และขึ้นรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นได้ อีกทั้งจะมีจุดหยุดพักหลายแหล่ง ส่งผลต่อความเจริญของเมืองในอนาคต

นอกจากนี้ยังหารือด้วยว่าเส้นทางเชียงใหม่นั้นควรต้องพัฒนาเรื่องการขนส่งสินค้าแต่รถไฟความเร็วสูงไม่ใช่เรื่องการขนส่งสินค้าจะใช้เฉพาะขนส่งผู้โดยสาร เพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องความปลอดภัยส่วนรูปแบบการลงทุนเป็นอีกโจทย์ที่ญี่ปุ่นต้องไปศึกษาทั้งนี้ญี่ปุ่นเสนอว่ามีเงินกู้และอัตราดอกเบี้ยถูกพร้อมให้ไทยกู้ ซึ่งไทยแจ้งว่าต้องการลดภาระหนี้ดังนั้นต้องไปช่วยคิดว่ามีรูปแบบอื่นหรือไม่ในการช่วยลดภาระของรัฐบาล เช่นการร่วมทุน เป็นต้น ญี่ปุ่นจะกลับไปศึกษาเพิ่มเติมคาดว่าจะได้ข้อสรุปที่ชัดเจนภายในสิ้นก.พ.เพื่อประกอบการนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)ภายในเดือนมี.ค.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2018 5:35 am    Post subject: Reply with quote

สมคิดดึงเจอาร์ลงทุนไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 10 ก.พ. 61

สมคิด ทาบ เจอาร์ ลงทุนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง จับมือ รฟท. พัฒนาทางรถไฟท่องเที่ยวเมืองหลัก-รอง ระบุหลายบริษัทญี่ปุ่นสนใจหลังทีโออาร์ใกล้คลอด ชี้พรบ.อีอีซีผ่านสภาฯสร้างมั่นใจลงทุน ส่ง 3 รมต.โรดโชว์ต่อเนื่อง

รัฐบาลเดินหน้าดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) ล่าสุดนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และคณะเดินทางไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีจำนวนนักลงทุนที่เข้ามาลงทุนในไทยมากที่สุด ในจังหวะเดียวกับที่พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ไปเมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมา

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าระหว่างนำคณะเดินทางมาโรดโชว์ที่เมืองฟุกุโอะกะประเทศญี่ปุ่น โดยได้หารือกับนายโทชิฮิโกะอะโอยากิ (Toshihiko Aoyagi) ประธานบริษัทรถไฟคิวชู (JR Kyushu) ซึ่งเป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญในการพัฒนาระบบราง ถึงโครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-ระยอง ระยะทาง 300 กิโลเมตร (กม.) ที่จะเชื่อมโยง 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ซึ่งเป็นโครงการหลักโครงการหนึ่งของเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และกำลังจะออกประกาศเชิญชวน (ทีโออาร์) ภายใน 2 เดือนนี้

โดยได้ขอให้บริษัทดังกล่าว เข้าร่วมการประมูลรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าวด้วย รวมทั้งขอให้ร่วมมือกับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พัฒนาเส้นทางรถไฟสำหรับการท่องเที่ยว เพื่อสนับสนุนนโยบายการท่องเที่ยวของไทย ที่ต้องการเชื่อมโยงเมืองหลักและเมืองรอง ซึ่งเป็นโอกาสดีที่คนไทยจะได้นั่งรถไฟคุณภาพดี

ได้หารือกับบริษัท JR ถึงแนวทางการพัฒนารถไฟในไทย ซึ่งบริษัทนี้ก็คล้ายๆ ร.ฟ.ท.ที่เดิมมีผลประกอบการขาดทุน แต่นำโมเดลธุรกิจการพัฒนาพื้นที่โดยรอบรองรับการท่องเที่ยว ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้นไปขยายเส้นทางรถไฟสายอื่นๆ ดังนั้นจึงอยากให้เขามาร่วมมือกับ ร.ฟ.ท.อย่างจริงจังในการทำระบบรางที่สนับสนุนการท่องเที่ยว ซึ่งเขาลงนามเอ็มโอยูกันไว้แล้ว ส่วนรถไฟความเร็วสูงเส้น กทม.-ระยอง ที่อยู่ระหว่างทำร่างทีโออาร์ก็มีหลายบริษัทสนใจ อย่างญี่ปุ่นก็มีฮิตาชิ เข้ามาสอบถาม ซึ่งได้กำชับให้การทำทีโออาร์ ต้องคำนึงถึงประโยชน์ของทั้งรัฐและเอกชนที่เข้ามาลงทุน นายสมคิดกล่าว

ผ่านก.ม.อีอีซีดึงเชื่อมั่น

นายสมคิดยังกล่าวถึง พ.ร.บ. เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 8 ก.พ.ที่ผ่านมาว่าถือว่าเป็นข่าวดีเพราะเมื่อมีกฎหมายแล้วก็จะทำให้นักลงทุนมั่นใจมากขึ้น และเมื่อโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักของโครงการอีอีซีสามารถผลักดันออกมาทั้งทีโออาร์และการก่อสร้างได้ตามกำหนดก็จะยิ่งเกิดความเชื่อมั่นในโครงการมากขึ้น ซึ่งได้เร่งรัดให้ดำเนินการในเรื่องของทีโออาร์ การจัดเตรียมการประมูลหาเอกชนเข้ามาลงทุนในโครงการ

เล็งเจรจาแอร์ไลน์โลกลงทุนไทย

ส่วนการดำเนินการในระยะต่อไปจะเร่งรัดในเรื่องของเมืองการบิน ที่จะเน้นในการเจรจาร่วมกับสายการบินชั้นนำของโลกให้เข้ามาจัดตั้งธุรกิจซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) และการฝึกอบรมบุคลากรการบินในอีอีซี เช่น เดียวกับการจัดตั้งสถาบันการศึกษาต่างประเทศในอีอีซีได้หารือกับเจ้าของสถานศึกษารายใหญ่ของญี่ปุ่นให้เข้าไปจัดตั้งสถานศึกษาอาชีวะ และสถาบันศึกษาชั้นสูงในอีอีซีเพิ่มขึ้น โดยรัฐบาลยินดีสนับสนุนด้านภาษีและการอำนวยความสะดวกด้านอื่นๆ

มอบอุตตม-กอบศักดิ์เร่งโรดโชว์

ส่วนการโรดโชว์ในต่างประเทศเพื่อดึงดูดนักลงทุนได้มอบหมายให้นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รับหน้าที่ไปชี้แจงโครงการให้กับนักลงทุน ส่วนบางประเทศที่มีการเชิญให้ตนเองเดินทางไปโรดโชว์ เช่น อังกฤษ และจีน จะต้องดูช่วงระยะเวลาที่เหมาะสม และการเชื่อมโยงการลงทุนกับประเทศไทยเป็นหลัก

สมคิดยาหอมชวนญี่ปุ่นลงทุน

รองนายกรัฐมนตรียังได้กล่าวระหว่างการปาฐกถาในหัวข้อ Thailand as a Key Driver of Regional Economic Growth ในระหว่างการสัมนาของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ซึ่งมีนักลงทุนจากจ.ฟุกุโอะกะ และกลุ่มจังหวัดในเกาะคิวชูเข้าร่วมฟังกว่า 900 คนว่า ไทยได้เร่งปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจเพื่อให้เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจและการลงทุนที่แท้จริงแห่งภูมิภาค โดยมีโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มูลค่านับล้านล้านบาท ใน 5 ปีข้างหน้าได้ถูกผลักดันออก

ในการปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจไทยครั้งสำคัญนี้ เราไม่อาจทำได้โดยลำพัง เราหวังเป็นอย่างยิ่งในความร่วมมือและการสนับสนุนจากนักลงทุนจากญี่ปุ่นมหามิตรของไทย เช่นในอดีต ผมได้เดินทางมาญี่ปุ่นหลายครั้งเพื่อเชิญชวนนักลงทุนจากญี่ปุ่นมาร่วมกับเรา และผมใคร่ขอใช้โอกาสนี้เชิญชวนท่านทั้งหลายหากมีจุดประสงค์จะขยายการลงทุนในต่างประเทศโดยเฉพาะในอาเซียน ก็ขอให้พิจารณาไปลงทุนในประเทศไทย นายสมคิดกล่าว

ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่าประเทศไทยกำลังก้าวสู่การลงทุนครั้งใหญ่ในรอบ 30 ปี โดยรัฐบาลจะผลักดันการลงทุนกว่า 2 ล้านล้านบาทในรอบ 8 ปี เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี เช่น การลงทุนระบบรางที่ใน 2 ปี (2560 - 2561) จะมีการลงทุน 1.3 หมื่นดอลลาร์หรือประมาณ 4 แสนล้านบาท คิดเป็นระยะทาง 2500 กิโลเมตร การลงทุนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเชิงพาณิชย์ และการพัฒนาท่าเรือสำคัญๆ เป็นต้น ซึ่งการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะส่งผลให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางของอินโดจีน ที่ในอนาคตจะเป็นฐานการผลิตเดียว (Single production) ที่มีประชากรรวมกันกว่า 400 คน ซึ่งจะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจของตลาดในแถบนี้ 7-8% ต่อเนื่องไปอีก 15 ปี

ผ่านก.ม.อีอีซีตั้งเลขาฯใน90วัน

นายคณิศ แสงสุพรรณ. เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า หลังจากกฎหมายอีอีซีผ่าน สนช.จะเข้าสู่ขั้นตอนการลงพระปรมาภิไธย จากนั้นก็ประกาศในราชกิจานุเบกษา จากนั้นจะต้องตั้งคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ภายใน 60 วัน และตั้งเลขาธิการคณะกรรมการนโยบายฯ ภายใน 90 วัน

โดยหลังจากขั้นตอนต่างๆแล้วเสร็จ จะเร่งผลักดันโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ ได้แก่
1.โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา
2.โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
3.โครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3
4.โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะ 3 และ
5.โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา
โดยภายในสิ้นปีนี้จะต้องได้ตัวบริษัทที่จะเข้ามาลงทุน และเริ่มก่อสร้างได้ภายในปี 2562 ซึ่งคาดว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภา และศูนย์ซ่อมอากาศยานจะแล้วเสร็จภายในปี 2565 ส่วนโครงการท่าเรือทั้ง 2 โครงการ จะเสร็จช้ากว่าเล็กน้อย

เร่งโรดโชว์จีน ยุโรป สหรัฐ

นอกจากนี้ จะเร่งรัดการลงทุนภาคเอกชนในพื้นที่ อีอีซี ซึ่งได้ตั้งเป้ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ในปีนี้ ไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะต้องอยู่ในกลุ่ม 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย โดยยอดขอรับการส่งเสริมการลงทุนในปีนี้ ที่มีมูลค่า 3 แสนล้านบาท คาดว่าจะลงทุนจริงในปีนี้ 30-40% หรือมีมูลค่า 9 หมื่นบาท ถึง 1.2 แสนล้านบาท และคาดว่าจะลงทุนจริงได้ทั้งหมดภายใน 5 ปี เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนเดิมที่ได้ขอขยายการลงทุน จึงเริ่มดำเนินการได้เร็ว

ในปีที่ผ่านมาผู้ที่ขอรับการส่งเสริมฯส่วนใหญ่เป็นนักลงทุนรายเดิมที่ขอขยายกิจการ ส่วนในปีนี้ จะเป็นนักลงทุนหน้าใหม่ที่ยังไม่เคยลงทุนในไทย ซึ่งหลังจากที่กฎหมาย อีอีซีผ่าน สนช. ก็จะทำให้มีความมั่นใจในการลงทุน คาดว่าจะมียอดคำขอลงทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาทอย่างแน่นอน

นอกจากนี้จะเร่งดึงบริษัทขนาดใหญ่ของโลก 30 ราย เข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนภายในสิ้นเดือนมี.ค.นี้ ซึ่งครบ 1 ปี ของการดำเนินงานของอีอีซี และยังมีแผนที่จะปรับเพิ่มเป้าหมายการลงทุนของทั้งภาครัฐและเอกขนที่ตั้งไว้ที่ 1.5 ล้านล้านบาทภายใน 5 ปี ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเร็วๆนี้ โดยหลังจากนี้ จะนำคณะออกไปโรดโชว์ดึงดูดการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายทั้งในและต่างประเทศ โดยประเทศหลักๆที่จะไปโรดโชว์ ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน ยุโรป และสหรัฐ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/02/2018 3:24 pm    Post subject: Reply with quote

‘คมนาคม’ เจรจา ‘จีน’ บรรลุผล พัฒนารถไฟเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย
มติชนออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:01 น.

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการประชุมร่วมอย่างเป็นทางการระหว่างนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันเจรจาจนบรรลุผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟ ความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย ใน 5 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันโดยยืนยันถึงกำหนดการในการส่งแบบรายละเอียดเพื่อใช้ใน การก่อสร้าง โครงการในช่วงดังกล่าวเพื่อใช้ในการก่อสร้างงานโยธาที่ฝ่ายรัฐบาลจีนจะ ดำเนินการส่งมอบให้เป็นไปตามแผนการที่กำหนด ดังนี้ แบบการก่อสร้างระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

1.1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว
1.2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ฝ่ายจีนจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม ฝ่ายไทยจะตรวจแบบ จัดทำ
ราคากลาง และจัดทำ TOR ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนพฤษภาคม 2561
1.3 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง (อุโมงค์) จีนจะนำส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนมีนาคม ซึ่งคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2561 และจัดทำ TOR ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนมิถุนายน 2561
1.4 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า-โคกกรวด-ลำตะคอง-โคราช ฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนเมษายน หลังจากนั้นจะตรวจสอบแบบต่อไป
โดยคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2561 หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการในการจัดทำราคากลางก่อนจะเริ่มการประกวดราคาใน เดือนกรกฎาคม 2561
1.5 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง- นวนคร-บ้านโพธิ์-พระแก้ว-สระบุรี-แก่งคอย-เชียงรายน้อย ซึ่งฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละอียดในเดือนมิถุนายน 2561 และฝ่ายไทยจะได้ตรวจสอบร่างแบบดังกล่าวซึ่งคาดว่าฝ่ายจีนจะได้ส่งแบบราย ละเอียดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2561 จัดทำราคากลางและเริ่มการประกวดราคาในเดือนกันยายน 2561

2. โครงการระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย
ฝ่ายไทยจะได้ทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2561 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2561
หลังจากนั้นจะได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดในเดือน มิถุนายน และจะออกแบบรายละเอียดประมาณ 10 เดือน ก่อนดำเนินการประกวดราคาในราวไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ต่อไป

3. การประสานงานเพื่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทย -สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการดำเนินโครงการก่อสร้างโครงข่ายเชื่อมโยงในอนุภูมิภาค ฝ่ายจีนได้ตกลงที่จะเป็นผู้ดำเนินการเชิญผู้แทนระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ มาเจรจาหารือกันในการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงในช่วงจากหนองคายถึง กรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องมีการดำเนินการก่อสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกัน ในระยะต่อไป ซึ่งจะทำให้การเดินรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงในระหว่างอนุ ภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมการในเรื่องการลดอุปสรรคในเรื่องการเดินทางของประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ อันเกิดจากการตรวจคนเข้าเมือง และระบบการตรวจพิธีการด้านศุลกากรในลำดับต่อไป

4. การดำเนินงานในสัญญา 2.3 งานระบบรถไฟและการฝึกอบรมทั้งสองฝ่ายจะหารือกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องการ ใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟแบบใช้หินโรยทางและไม่ใช่หินโรยทาง การสำรองข้อมูลและการจ่ายไฟฟ้า ฝ่ายจีนจะทำข้อมูลให้ฝ่ายไทยพิจารณา และพยายาม
ให้ได้ข้อสรุปสัญญา 2.3 ให้ได้ในเดือนมีนาคม 2561

5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงว่าจะถ่ายทอดเทคโนโลยีใน 3 ด้านหลัก คือ

หลักสูตรการฝึกอบรมวิศวกรไทยด้านเทคโนโลยีการออกแบบรถไฟความเร็วสูงโดยฝ่าย จีนจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและรายละเอียดการฝึกอบรมและถ่ายทอด เทคโนโลยีการออกแบบและก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูงให้ฝ่ายไทยภายในวันที่ 15 มีนาคม 2561 ใน 12 หัวข้อหลักก่อนเป็นลำดับแรกภายใต้สัญญา 2.1 โดยการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีการบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นรวมถึง การออกแบบระบบรางและระบบจ่ายไฟเหนือขบวนรถซึ่งจะเป็นการดำเนินการภายใต้ สัญญา 2.3 ต่อไป

ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดตั้งองค์กรและส่วนที่ เกี่ยวข้อง ซึ่งฝ่ายจีนยินที่จะดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว และจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้มาร่วมช่วยไทยในการดำเนินการดังกล่าวต่อไป

ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมขีดความ สามารถการทดสอบการก่อสร้าง การติดตั้ง การตรวจสอบ และการซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทย โดยข้อมูล เอกสาร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจะรวมถึงหลักสูตรการซ่อมบำรุง รายการของสมรรถนะการทดสอบและการบริการ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม (26 รายการอุปกรณ์) ซึ่งฝ่ายจีนได้ยืนยันที่จะส่งหัวหน้า เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบรถไฟมาประเทศไทยเพื่อร่วมกันพิจารณาและส่ง มอบมาตรฐานที่จำเป็นต่อการลดการพึ่งพา และดำเนินการได้ด้วยตนเอง ด้านการซ่อมบำรุงในอนาคตให้แก่ฝ่ายไทยโดยเร็ว และจะหารือให้ได้ข้อสรุปก่อนการประชุมครั้งต่อไป ทั้งนี้ฝ่ายจีนยินดีที่จะสนับสนุนฝ่ายไทยในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม ระบบรางในประเทศไทยในอนาคตให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป

ทั้งนี้ ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาตกลงร่วมกันที่จะให้มีกลไกในการติดตามการดำเนินงานตาม ข้อตกลงและจะประสานงานอย่างใกล้ชิดตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงาน ระหว่างกัน เพื่อให้การก่อสร้างโครงการฯเป็นไปด้วยความราบรื่นตามกำหนดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44465
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/02/2018 7:31 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมเชื่อมรถไฟความเร็วสูงไป "สปป.ลาว"
เรื่องโดย Nation TV | ภาพโดย Nation TV
11 กุมภาพันธ์ 2561 10:32

คมนาคมเดินหน้าเจรจาสร้างรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ - หนองคาย หวังเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว และจีนตอนใต้......

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม อาคม เติมพิทยาไพสิฐ เข้าประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน โดยได้เจรจากับนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา - หนองคาย และหวังเชื่อมต่อไปยัง สปป.ลาว

โดยจีนตกลงจะเป็นผู้ดำเนินการเชิญผู้แทนระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ มาเจรจาหารือกัน ในการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงหนองคายถึงกรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว เพื่อสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันในระยะยาว ด้วยการเดินรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงอนุภูมิภาค และเตรียมการในเรื่องการลดอุปสรรคในเรื่องการเดินทางของประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ เช่น การตรวจคนเข้าเมือง การตรวจด้านศุลกากร
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2018 4:01 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สมคิดดึงเจอาร์ลงทุนไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 10 ก.พ. 61


ดึงญี่ปุ่นประมูลไฮสปีดยกลอต ขาย TOR กรุงเทพ-ระยองมี.ค.นี้
เศรษฐกิจในประเทศวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 20:50 น.

“สมคิด” จีบนักลงทุนญี่ปุ่นร่วมพลิกประเทศไทย เจรจาทุนยักษ์ลงทุนรถไฟความเร็วสูง ร่วมประมูลทุกสายภายในปีนี้ ประเดิมขาย TOR กรุงเทพฯ-ระยองเดือนหน้า ดึงฟูกุโอกะเชื่อมเส้นทางการค้าโลกสายใหม่ silicon sea belt เน้นอุตสาหกรรรมไฮเทค

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวระหว่างการโรดโชว์ประเทศไทย ที่เมืองฟูกุโอกะ ประเทศญี่ปุ่นว่า ได้เจรจากับนาย Toshihiki Aoya ประธานบริษัท JR Kyushu ซึ่งเป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจรถไฟทุกระบบ ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศญี่ปุ่น ให้ไปร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง และรถไฟเพื่อการท่องเที่ยวในหลายเส้นทาง ซึ่งรัฐบาลไทยจะประกาศ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงภายในเดือนมีนาคมนี้ และจะเปิดประมูลในอีก 2-3 เดือนข้างหน้า และจะประมูลให้ได้ทุกสายภายในปีนี้

ปั้น silicon sea belt

รองนายกรัฐมนตรีกล่าวกับนักลงทุนญี่ปุ่นกว่า 900 คนว่า ไทยเห็นโอกาสที่จะร่วมเป็นพันธมิตรการลงทุนกับญี่ปุ่น จึงได้เดินทางมาเปิดสถานกงสุลใหญ่ และเปิดสำนักงานการท่องเที่ยวไปพร้อมกันในปีนี้ เพราะฟูกุโอกะ เป็นแหล่งที่ตั้งอุตสาหกรรมที่ทันสมัย เหมาะที่จะเชื่อมโยงกับเส้นทางการค้าไฮเทคสายใหม่ หรือที่เรียกว่า silicon sea belt เชื่อมโยงจากสิงคโปร์ ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลีใต้ ซึ่งเป็นเส้นทางที่เป็นแหล่งการเกษตร การท่องเที่ยว อุตสาหกรรมเอสเอ็มอี หุ่นยนต์ และสตาร์ตอัพ3-4 ปีที่ผ่านมานี้ ประเทศไทยมีความเปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น เพื่อพร้อมรับโอกาสที่ความเจริญเติบโตของโลกกำลังมุ่งสู่ แต่นักลงทุนญี่ปุ่นที่เป็นมหามิตรยังคง ลงทุนสูงสุดในประเทศไทย มีจำนวนธุรกิจญี่ปุ่นในประเทศไทยอย่างน้อย 8,000 ราย และมีชาวญี่ปุ่นอาศัยในไทยกว่า 6 หมื่นราย

นายสมคิดกล่าวเชิญชวนนัก ลงทุนญี่ปุ่นว่า นี่จะเป็นโอกาสสำคัญของเอเชีย เพราะศูนย์กลางเศรษฐกิจโลกกำลังเคลื่อนจากตะวันตกสู่ตะวันออก อาเซียนกำลังเป็นข้อต่อที่สำคัญทั้งในด้านภูมิรัฐศาสตร์ด้านความมั่นคง ในขณะที่จีนกำลังขยายความสัมพันธ์ล้านช้างและลำนํ้าโขง ในนโยบาย One Belt One Road ผ่านทั้งลาว ไทย สู่มาเลเซีย สิงคโปร์ และอินโดนีเซีย เช่นเดียวกันก็มีการผลักดันนโยบายความร่วมมือ Indo Pacific โดยอินเดีย อาเซียน ญี่ปุ่น อเมริกา และออสเตรเลีย ขึ้นมาอีกเส้นทาง

ลงทุน 2 ล้าน ล.ขนส่งทุกระบบ

นายสมคิดบอกว่า ประเทศไทยกำลังจะเริ่มโครงการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่มูลค่า 2 ล้านบาท ใน 8 ปีข้างหน้า ทั้งถนน รถไฟ รถไฟความเร็วสูง สนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ ขยายท่าเรือ วางระบบ IT และเครือข่ายดิจิทัล

“บางโครงการได้เริ่มแล้ว และทุกโครงการที่สำคัญจะต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณ และเรียกประกวดราคาในกรณีร่วมทุนกับเอกชนในลักษณะ PPP ภายในปีนี้และปีหน้า พร้อมกับเร่งลงทุนอุตสาหกรรมเป้าหมายใหม่ news curveรัฐบาลได้ผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ EEC ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมของไทย เร่งสร้างความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ สนามบินพาณิชย์แห่งใหม่ ขยายท่าเรือและระบบขนส่งสินค้าในลักษณะของ

“เพื่อเป็นการจูงใจนัก ลงทุนญี่ปุ่น บีโอไอได้คิดค้นแพ็กเกจภาษีพิเศษเพื่อการนี้ ทำให้ในปีที่ผ่านมามีผู้เข้ารับการส่งเสริมกว่า 2 แสนล้านบาท หนึ่งในสามของมูลค่าลงทุนทั้งหมด”

รองนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า เมืองฟูกุโอกะจะร่วมมือกับไทย ทั้งเรื่องนวัตกรรม อุตสาหกรรม supply chain ในเชิงของตลาดการค้า การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นอาหารแปรรูป รถยนต์พลังงานไฮโดรเจน พลังงาน เคมีภัณฑ์ semiconductor หุ่นยนต์อุตสาหกรรม เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อมดิจิทัล และยังเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษแห่งชาติของญี่ปุ่นที่เชื่อมโยง silicon sea belt

กอบศักดิ์โชว์ยักษ์ไทยลงทุนตาม

ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ไทยจะลงทุนครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และเชิญชวนญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโอกาสนี้ ด้วยแผนการลงทุนที่เริ่มต้นขึ้นแล้ว ทั้งมอเตอร์เวย์ 5 สายที่เชื่อมจากกรุงเทพฯไปสู่ทุกภาคของประเทศ การลงทุนระบบรางในปีที่ผ่านมา 7 เส้นทาง 1,000 กิโลเมตร และในปีนี้จะลงทุนอีก 1,500 กิโลเมตร ใช้งบฯลงทุนกว่า 4 แสนล้านบาท และจะเห็นการเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้าบนดิน-ใต้ดินอีกหลายสาย

นายกอบศักดิ์นำเสนอต่อนักลงทุนว่า เมื่อรัฐบาลลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทุกเครือข่าย ทำให้ภาคเอกชนรายใหญ่กำลังลงทุน พลิกโฉมกรุงเทพฯและประเทศไทย ทั้งกลุ่มอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ โรงแรม และห้างค้าปลีก เช่น โครงการไอคอนสยาม ซึ่งเป็นการลงทุนศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ, โครงการหอชมเมือง, โครงการ One Bangkok และโครงการร่วมทุนระหว่างดุสิตธานีกับกลุ่มเซ็นทรัล

“ขอเชิญชวนนักลงทุนญี่ปุ่นร่วมพลิกโฉมประเทศไทยไปด้วยกัน โดยเฉพาะพื้นที่ EEC ซึ่งเป็นพื้นที่เศรษฐกิจเหมือนแหวนทองคำที่สวยอยู่แล้ว รัฐบาลจะเอาเพชรไปประดับให้สวยงามยิ่งขึ้น เป็นแหล่งลงทุนที่ดีที่สุดในเอเชีย ซึ่งจะเป็นศูนย์กลางของอินโดไชน่า ที่มีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 7% ต่อเนื่อง 15 ปี” นายกอบศักดิ์กล่าว

เพิ่มนักท่องเที่ยวญี่ปุ่น 10%

นายยุทธศักดิ์ สุภสร ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) เปิดเผยภายหลังร่วมลงนามในบันทึกแสดงเจตนารมณ์ ระหว่าง ททท.และองค์กรส่งเสริมการท่องเที่ยวภูมิภาคคิวชู ที่เมืองฟูกุโอกะ ว่า ททท.เตรียมจะกลับมาเปิดสำนักงาน ททท.ประจำเมืองฟูกุโอกะอีกครั้ง หลังจากได้ปิดสำนักงานไปเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา เพื่อเชื่อมไทยกับเมืองฟูกุโอกะและภูมิภาคคิวชูใน 7 จังหวัดของญี่ปุ่น

นางสาวรัญจวน ทองรุต ผู้อำนวยการภูมิภาคเอเชียตะวันออก ททท. กล่าวว่า การเปิดสำนักงาน ททท.ในฟูกุโอกะอีกครั้งจะทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปท่องเที่ยวในไทยมากขึ้นในปีที่ผ่านมาญี่ปุ่นไปท่องเที่ยวไทยมากที่สุดถึง 1.54 ล้านคน หรือเพิ่มขึ้น 7.28% จากปีก่อน สร้างรายได้กว่า 67,512 ล้านบาท นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นถือเป็นนักท่องเที่ยวคุณภาพ มีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อคนต่อวันที่ 5,353 บาท หรือ 44,000 บาทต่อทริป ในปี 2561 ททท.ตั้งเป้าเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวญี่ปุ่นให้ได้อีก โดยได้หารือกับบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เตรียมเพิ่มเที่ยวบินตรงมายังจังหวัดฟูกุโอกะอีก 3 เที่ยวต่อสัปดาห์ เป็น 10 เที่ยวต่อสัปดาห์ จะเริ่มบินในวันที่ 25 มี.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2018 4:02 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
‘คมนาคม’ เจรจา ‘จีน’ บรรลุผล พัฒนารถไฟเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย
มติชนออนไลน์ วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 11:01 น.


ไทย-จีนบรรลุความคืบหน้าสร้างรถไฟความเร็วสูง “กทม.-หนองคาย” ดีเดย์พ.ค.ประมูลช่วงสีคิ้ว-กุดจิก
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2561 - 09:10 น.

ตามที่รัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ระหว่างวันที่ 7-9 กุมภาพันธ์ 2561 ณ นครปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
โดยในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2561 ได้มีการประชุมร่วมอย่างเป็นทางการระหว่างนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมคณะ และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน พร้อมคณะ ทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันเจรจาจนบรรลุผลความคืบหน้าในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา – หนองคาย ใน 5 ด้าน ดังนี้

1. ด้านการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ – นครราชสีมา

ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกันโดยยืนยันถึงกำหนดการในการส่งแบบรายละเอียดเพื่อใช้ในการก่อสร้าง โครงการในช่วงดังกล่าวเพื่อใช้ในการก่อสร้างงานโยธาที่ฝ่ายรัฐบาลจีนจะดำเนินการส่งมอบให้เป็นไปตามแผนการที่กำหนด ดังนี้

แบบการก่อสร้างระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา

1.1 ช่วงกลางดงปางอโศกระยะทาง 3.5 ได้เริ่มก่อสร้างแล้ว

1.2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิกระยะทาง 11 กิโลเมตร ฝ่ายจีนจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนมีนาคม ฝ่ายไทยจะตรวจแบบ จัดทำราคากลาง และจัดทำ TOR ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนพฤษภาคม 2561

1.3 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง (อุโมงค์) จีนจะนำส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนมีนาคม ซึ่งคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ในเดือนเมษายน 2561 และจัดทำ TOR ต่อไป ซึ่งคาดว่าจะเริ่มกระบวนการประกวดราคาในเดือนมิถุนายน 2561

1.4 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า-โคกกรวด-ลำตะคอง-โคราช ฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดในเดือนเมษายน หลังจากนั้นจะตรวจสอบแบบต่อไป

โดยคาดว่าจะส่งแบบรายละเอียดฉบับสมบูรณ์ได้ในเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน 2561 หลังจากนั้นจะเป็นกระบวนการในการจัดทำราคากลางก่อนจะเริ่มการประกวดราคาในเดือนกรกฎาคม 2561

1.5 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง- นวนคร-บ้านโพธิ์-พระแก้ว-สระบุรี-แก่งคอย-เชียงรายน้อย ซึ่งฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละอียดในเดือนมิถุนายน 2561 และฝ่ายไทยจะได้ตรวจสอบร่างแบบดังกล่าวซึ่งคาดว่าฝ่ายจีนจะได้ส่งแบบรายละเอียดในเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม 2561 จัดทำราคากลางและเริ่มการประกวดราคาในเดือนกันยายน 2561



2. โครงการระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย

ฝ่ายไทยจะได้ทบทวนผลการศึกษาความเหมาะสมในเดือนมีนาคม-พฤษภาคม 2561 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีในเดือนมิถุนายน 2561

หลังจากนั้นจะได้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อออกแบบรายละเอียดในเดือนมิถุนายน และจะออกแบบรายละเอียดประมาณ 10 เดือน ก่อนดำเนินการประกวดราคาในราวไตรมาสที่ 2 ของปี 2562 ต่อไป

3. การประสานงานเพื่อการเจรจาระหว่างรัฐบาลไทย -สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการดำเนินโครงการก่อสร้างโครงข่ายเขื่อมโยงในอนุภูมิภาค

ฝ่ายจีนได้ตกลงที่จะเป็นผู้ดำเนินการเชิญผู้แทนระหว่างรัฐบาลทั้ง 3 ประเทศ มาเจรจาหารือกันในการพัฒนาโครงข่ายระบบรถไฟความเร็วสูงในช่วงจากหนองคายถึงกรุงเวียงจันทน์ สปป. ลาว ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องมีการดำเนินการก่อสร้างให้เกิดความเชื่อมโยงระหว่างกันในระยะต่อไป

ซึ่งจะทำให้การเดินรถไฟความเร็วสูงดังกล่าวสามารถเชื่อมโยงในระหว่างอนุภูมิภาคได้อย่างต่อเนื่อง และเตรียมการในเรื่องการลดอุปสรรคในเรื่องการเดินทางของประชาชนของทั้ง 3 ประเทศ อันเกิดจากการตรวจคนเข้าเมือง และระบบการตรวจพิธีการด้านศุลกากรในลำดับต่อไป

4. การดำเนินงานในสัญญา 2.3 งานระบบรถไฟและการฝึกอบรม

ทั้งสองฝ่ายจะหารือกันอย่างต่อเนื่องในเรื่องการใช้เทคโนโลยีการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟแบบใช้หินโรยทางและไม่ใช่หินโรยทาง การสำรองข้อมูลและการจ่ายไฟฟ้า ฝ่ายจีนจะทำข้อมูลให้ฝ่ายไทยพิจารณา และพยายามให้ได้ข้อสรุปสัญญา 2.3 ให้ได้ในเดือนมีนาคม 2561

5. การถ่ายทอดเทคโนโลยีทั้งสองฝ่ายได้บรรลุข้อตกลงว่าจะถ่ายทอดเทคโนโลยีใน 3 ด้านหลัก คือ

หลักสูตรการฝึกอบรมวิศวกรไทยด้านเทคโนโลยีการออกแบบรถไฟความเร็วสูงโดยฝ่ายจีนจะดำเนินการจัดทำแผนการดำเนินงานและรายละเอียดการฝึกอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีการออกแบบและก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูงให้ฝ่ายไทยภายในวันที่ 15 มีนาคม 2561 ใน 12 หัวข้อหลักก่อนเป็นลำดับแรกภายใต้สัญญา 2.1 โดยการอบรมและถ่ายทอดเทคโนโลยีดังกล่าวได้มีการบรรลุข้อตกลงเบื้องต้นรวมถึงการออกแบบระบบรางและระบบจ่ายไฟเหนือขบวนรถซึ่งจะเป็นการดำเนินการภายใต้สัญญา 2.3 ต่อไป

ฝ่ายไทยได้ขอให้ฝ่ายจีนถ่ายทอดประสบการณ์ในการจัดตั้งองค์กรและส่วนที่เกี่ยวข้อง ซึ่งฝ่ายจีนยินดีที่จะดำเนินการสนับสนุนการดำเนินการดังกล่าว และจะส่งเจ้าหน้าที่ผู้มีความรู้มาร่วมช่วยไทยในการดำเนินการดังกล่าวต่อไป



ฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนสนับสนุนการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการส่งเสริมขีดความสามารถการทดสอบการก่อสร้าง การติดตั้ง การตรวจสอบ และการซ่อมบำรุงของโครงการรถไฟความเร็วสูงในไทย

โดยข้อมูล เอกสาร และการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องจะรวมถึงหลักสูตรการซ่อมบำรุง รายการของสมรรถนะการทดสอบและการบริการ มาตรฐานที่เกี่ยวข้องของผลิตภัณฑ์ 4 กลุ่ม (26 รายการอุปกรณ์) ซึ่งฝ่ายจีนได้ยืนยันที่จะส่งหัวหน้าเจ้าที่ผู้เขียวชาญด้านระบบรถไฟมาประเทศไทยเพื่อร่วมกันพิจารณาและส่งมอบมาตรฐานที่จำเป็นต่อการลดการพึ่งพา และดำเนินการได้ด้วยตนเอง ด้านการซ่อมบำรุงในอนาคตให้แก่ฝ่ายไทยโดยเร็วและจะหารือให้ได้ข้อสรุปก่อนการประชุมครั้งต่อไป

ทั้งนี้ฝ่ายจีนยินดีที่จะสนับสนุนฝ่ายไทยในการส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมระบบรางในประเทศไทยในอนาคตให้เกิดเป็นรูปธรรมต่อไป

ทั้งสองฝ่ายได้พิจารณาตกลงร่วมกันที่จะให้มีกลไกในการติดตามการดำเนินงานตามข้อตกลงและจะประสานงานอย่างใกล้ชิดตลอดจนแก้ไขปัญหาอุปสรรคในการดำเนินงานระหว่างกัน เพื่อให้การก่อสร้างโครงการฯเป็นไปด้วยความราบรื่นตามกำหนดต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42686
Location: NECTEC

PostPosted: 12/02/2018 4:04 am    Post subject: Reply with quote

คมนาคมโต้ข่าวโซเซียล ยันรถไฟไทย-ญี่ปุ่นยังไม่ล้มโต๊ะ

10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 เวลา 18:50 น.

กระทรวงคมนาคมแจงโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่อยู่ระหว่างการหารือ เผยไม่มีการเจรจาการลงทุน ล่าสุดญี่ปุ่นรับไปพิจารณาข้อมูลและรูปแบบการลงทุนที่เหมาะสม

10 ก.พ. 61-ตามที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างประเทศและสื่อโซเชียลว่า ญี่ปุ่นไม่สนใจลงทุนหรือยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลกนั้นกระทรวงคมนาคมขอเรียนว่า การหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เป็นการรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยังไม่ได้มีการเจรจาการลงทุนแต่ประการใด และทางฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ยกเลิกโครงการความร่วมมือ หรือตอบปฏิเสธการร่วมลงทุนแต่อย่างใด ทั้งนี้ทางฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะไปพิจารณาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและเป็นภาระการลงทุนของรัฐบาลไทยให้น้อยที่สุด


สำหรับในประเด็นเรื่องความเร็วของรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็นของญี่ปุ่นนั้น ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นจะพัฒนาความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นที่เข้าใจร่วมกันว่า การลดความเร็วลงจะไม่มีความแตกต่างของมูลค่าการลงทุน รวมทั้งการลดจำนวนสถานี ทั้งนี้ในการจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมได้คำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงต้นทุนตลอดอายุโครงการ (Life Cycle Cost) ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นรับไปศึกษาเพิ่มเติม

กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนารระบบรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่กระจายความเจริญไปสู่เมืองต่างๆ ในภูมิภาค และให้เกิดความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางของพี่น้องประชาชนและเปิดเส้นทางท่องเที่ยวในภูมิภาค



ไม่จริง! คมนาคมโต้ข่าวญี่ปุ่นไม่ร่วมทุนรถไฟความเร็วสูง แจงยังอยู่ในขั้นการศึกษา
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 11 กุมภาพันธ์ 2561 - 10:29:00
ปรับปรุง: 11 กุมภาพันธ์ 2561 - 12:28:00


“คมนาคม” โต้ข่าวญี่ปุ่นปฏิเสธและยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยันสรุปการศึกษาเบื้องต้นแล้ว เตรียมเสนอ ครม. ส่วนการร่วมทุนยังไม่มีการเจรจารายละเอียด อยู่ในขั้นทำข้อมูลเพื่อพิจารณารูปแบบลงทุนที่เหมาะสมและลดภาระของรัฐบาลให้น้อยที่สุด

รายงานข่าวแจ้งว่า กระทรวงคมนาคมได้ออกเอกสารชี้แจงถึงกรณีที่ปรากฏเป็นข่าวในสื่อต่างประเทศและสื่อโซเชียลว่า ญี่ปุ่นไม่สนใจลงทุนหรือยกเลิกโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ว่า การหารือร่วมกันระหว่างกระทรวงคมนาคมของไทย กับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคมและการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น เป็นการรายงานผลการศึกษาความเหมาะสมของโครงการความร่วมมือระหว่างสองกระทรวงในการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ยังไม่ได้มีการเจรจาการลงทุนแต่ประการใด และทางฝ่ายญี่ปุ่นไม่ได้ยกเลิกโครงการความร่วมมือ หรือตอบปฏิเสธการร่วมลงทุนแต่อย่างใด

ทั้งนี้ ทางฝ่ายญี่ปุ่นรับที่จะไปพิจารณาจัดทำข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อหารูปแบบการลงทุนที่เหมาะสมและเป็นภาระการลงทุนของรัฐบาลไทยให้น้อยที่สุด

สำหรับในประเด็นเรื่องความเร็วของรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็นของญี่ปุ่นนั้น ตามมาตรฐานของญี่ปุ่นจะพัฒนาความเร็วที่ 300 กม.ต่อชั่วโมงเป็นอย่างน้อย ซึ่งเป็นที่เข้าใจร่วมกันว่าการลดความเร็วลงจะไม่มีความแตกต่างของมูลค่าการลงทุน รวมทั้งการลดจำนวนสถานี ทั้งนี้ ในการจัดทำรายงานการศึกษาความเหมาะสมได้คำนึงถึงการประหยัดค่าใช้จ่ายให้มากที่สุด โดยคำนึงถึงต้นทุนตลอดอายุโครงการ (Life Cycle Cost) ทั้งนี้ ทางญี่ปุ่นรับไปศึกษาเพิ่มเติม

กระทรวงคมนาคมจึงขอเรียนมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน และมีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนารระบบรถไฟความเร็วสูงให้เกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่กระจายความเจริญไปสู่เมืองต่างๆ ในภูมิภาค และให้เกิดความสะดวกสบาย ความรวดเร็ว และปลอดภัยในการเดินทางของพี่น้องประชาชนและเปิดเส้นทางท่องเที่ยวในภูมิภาค

จากการให้สัมภาษณ์ของ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เมื่อวันที่ 7 ก.พ. ภายหลังประชุมร่วมกับ นายโนริโยชิ ยะมะงะมิ รองผู้อำนวยการสำนักการขนส่งทางราง กระทรวงที่ดินโครงสร้างพื้นฐาน การคมนาคม และการท่องเที่ยวของญี่ปุ่น (MLIT) ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 276,225 ล้านบาท โดยญี่ปุ่นได้รายงานข้อมูลเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น คือ มูลค่าของโครงการ การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาการขนส่งสินค้า การเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และการเชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค โดยมีเป้าหมายจะนำเสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้ต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน มี.ค.นี้

สำหรับประเด็นต้นทุนโครงการนั้น สรุปว่าจะไม่มีการตัดสถานีออก เพราะพบว่าแม้ทำให้ต้นทุนลด แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปไม่คุ้มค่า รวมถึงความเร็วนั้น ยืนยันที่ 300 กม./ชม.ตามมาตรฐานของรถชินคันเซ็น และพบว่าเป็นความเร็วที่เหมาะสมแล้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า ในส่วนการลงทุนนั้น ไทยเสนอให้ญี่ปุ่นร่วมลงทุนในโครงการเพื่อลดการลงทุนภาครัฐลง ขณะที่ญี่ปุ่นต้องการให้ไทยลงทุนโครงการ 100% เช่นเดียวกับที่ดำเนินการในความร่วมมือรถไฟไทย-จีน โดยญี่ปุ่นพร้อมที่จะให้ความช่วยเหลือในเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ และยังไม่ได้มีการยกเลิกความร่วมมือใดๆ


Last edited by Wisarut on 13/02/2018 10:43 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 253, 254, 255 ... 545, 546, 547  Next
Page 254 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©