Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180447
ทั้งหมด:13491681
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 265, 266, 267 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2018 1:05 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท.สนลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน
พุธที่ 25 เมษายน 2561 เวลา 18.06 น.
บอร์ดปตท.ไฟเขียวซื้อซองทีโออาลร์ลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน ชี้โครงการน่าสนใจ พิจารณาความเป็นไปได้ในการลงทุน


นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานคณะกรรมการบมจ.ปตท. เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัท (บอร์ด) ได้อนุมัติให้กลุ่มปตท.เข้าซื้อเอกสารเชิญชวนประมูล (ทีโออาร์) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3สนามบิน (สุวรรณภูมิ – ดอนเมือง – อู่ตะเภา) เพื่อนำมาศึกษาความเป็นได้ในการลงทุน เนื่องจากเห็นว่า โครงการดังกล่าวน่าสนใจ แต่ยังไม่มีเรื่องการพิจารณาที่จะร่วมลงทุนกับพันธมิตรรายใด  

“ตอนนี้ให้ไปซื้อทีโออาร์ เพื่อมาศึกษาความเป็นไปได้ เพราะเป็นอะไรที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีเรื่องการร่วมทุนกับใคร เรื่องนี้ยังห่างไกล ตอนรอดูก่อน” 
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าโครงการประมาณ 200,000 ล้านบาท ซึ่งคาดว่า การจัดทำทีโออาร์จะแล้วเสร็จเร็ว ๆ นี้ ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นความจำนง และคาดว่า จะสามารถคัดเลือกบริษัทผู้ได้รับการประมูลได้ในเดือนพ.ย. 61  ซึ่งโครงการนี้จะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 66.

ปตท.สนใจประมูลรถไฟ เชื่อม3สนามบิน2แสนล้าน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 04:38:
ผู้จัดการรายวัน360-บอร์ด ปตท. ไฟเขียวให้เข้าซื้อซองประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่าโครงการ 2 แสนล้านบาท เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ เหตุน่าสนใจ ด้านรฟท.คาดเปิดขายซอง กลางพ.ค.นี้ วงการเผยยักษ์ใหญ่สนใจทั้ง ซีพี ปตท. บีทีเอส และช.การช่าง



นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทอนุมัติให้กลุ่ม ปตท. เข้าซื้อเอกสารเชิญชวนประมูล (TOR) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) เพื่อนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะลงทุน และยังไม่มีการพิจารณาที่จะร่วมกับพันธมิตรรายใดในการเข้ายื่นประมูล

"ให้ไปซื้อ TOR เพื่อมาศึกษาความเป็นไปได้ เพราะเป็นอะไรที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีเรื่องการร่วมทุนกับใคร เรื่องนี้ยังห่างไกล"นายปิยสวัสดิ์กล่าว

ทั้งนี้ ปตท.อยู่ระหว่างมองหาธุรกิจใหม่ๆ ในห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า รองรับพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค ทั้งในเรื่องการผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV) หรือ EV Charge ตลอดจนยานยนต์ไฟฟ้า เป็นต้น

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กม. มูลค่าราว 2 แสนล้านบาท คาดว่าการจัดทำ TOR จะแล้วเสร็จเร็วๆ นี้ ก่อนเปิดให้เอกชนยื่นความจำนง และคาดว่าจะสามารถคัดเลือกบริษัทผู้ได้รับการประมูลได้ในราวเดือน พ.ย.2561 ขณะที่กำหนดโครงการแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่เทคโนโลยีและวิศวกรรม และว่าที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT กล่าวว่า คณะกรรมการ ปตท.อนุมัติให้ซื้อ TOR ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจลงทุน หรือร่วมทุนกับพันธมิตรรายใดในโครงการดังกล่าว ซึ่งหลังจากศึกษาแล้ว หากมีการตัดสินใจอย่างไร ก็จะเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทและแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ต่อไป

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า จะเปิดขายเอกสารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ในสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน พ.ค.2561 โดยระหว่างนี้ รอการแก้ไขรายละเอียดของร่าง TOR เพื่อต้องการให้เปิดกว้างให้มีผู้เข้ามมาร่วมประมูลมากราย และจะเป็นการเชิญชวนระดับนานาชาติ

แหล่งข่าวจากวงการผู้รับเหมาก่อสร้าง กล่าวว่า ขณะนี้มีผู้ประกอบการไทยรายใหญ่ให้ความสนใจเข้าร่วมประมูลโครงการหลายราย ได้แก่ เครือซีพี บมจ.ปตท (PTT) บมจ.บีทีเอสโฮลดิ้งส์ กรุ๊ป (BTS) กลุ่ม บมจ.ช.การช่าง (CK) ที่มี บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) อยู่ในเครือ

ขณะที่นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมต์ (ITD) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นลักษณะ PPP ซึ่งต้องใช้วงเงินลงทุนสูง ขณะที่บริษัทมีความพร้อมด้านงานก่อสร้าง ออกแบบ และสามารถจัดหาผู้เดินรถให้พร้อมที่สามารถเดินรถได้ในต้นทุนต่ำ โดยได้เข้านำเสนอไปยังเครือซีพี และ ปตท.แล้ว

//------------------------------------
ปตท.โดดร่วมแข่ง “รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน”
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561 18:39:
ปรับปรุง: วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561 10:07:




บอร์ด ปตท.ไฟเขียวซื้อ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมูลค่า 2 แสนล้านบาท ระบุยังไม่ได้ตัดสินใจลงทุนและหาพันธมิตรร่วมทุน รอผลการศึกษาชัดเจนก่อน

นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ วันนี้ (25 เม.ย.) มีมติให้กลุ่ม ปตท.ซื้อเอกสารเชิญชวนประมูล (TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา วงเงินลงทุน 2 แสนล้านบาท เพื่อมาศึกษาความเป็นไปได้การลงทุน เนื่องจากเห็นว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจที่จะลงทุน และหาพันธมิตรร่วมลงทุนรายใด

“ให้ไปซื้อ TOR เพื่อมาศึกษาความเป็นไปได้เพราะเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ยังไม่มีเรื่องการร่วมทุนกับใคร เรื่องนี้ยังห่างไกล” นายปิยสวัสดิ์กล่าว

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตร (กม.) มูลค่าราว 2.24 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างการทบทวน TOR คาดว่าจะประกาศ TOR ได้ต้นเดือน พ.ค.นี้ ก่อนจะเปิดขายซอง และคาดว่าจะสามารถคัดเลือกบริษัทผู้ได้รับการประมูลได้ในราวเดือน พ.ย. 61 โดยโครงการจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี 2566
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/04/2018 6:05 pm    Post subject: Reply with quote

ก.คมนาคมเล็งตั้งองค์กรอิสระบริหารรถไฟเร็วสูง
INN News 26 เมษายน 2018

กระทรวงคมนาคม ระดมแนวคิด 8 บริษัท ตั้งองค์กรอิสระบริหารรถไฟความเร็วสูง คาดสรุปผลภายใน 1 เดือน

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุม ระดมสมองจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงที่เป็นอิสระจากการกำกับดูของการรถไฟแห่งประเทศไทย รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนตามมติคณะรัฐมนตรี ว่า ที่ประชุมได้เชิญบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่มีรายชื่ออยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 8 บริษัท อาทิ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย บล.อาร์เอสบี ประเทศไทย เป็นต้น เข้ามาช่วยคิดรูปแบบโครงสร้างขององค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงที่ สามารถรองรับเทคโนโลยี ใช้ประสิทธิภาพของภาคเอกชนในการบริหารจัดการ ซึ่งได้ขอให้แต่ละบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจะต้องเสนอแนวคิดมาให้กระทรวงพิจารณาภายใน 1 เดือน

สาเหตุที่เลือกบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เนื่องจากในอนาคตจะมีการบริหารพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และเพื่อลดภาระทางงบประมาณของภาครัฐที่ในอนาคตอาจจะมีการระดมทุนในการลงทุน พร้อมทั่งพิจารณาว่าควรจะเป็นหน่วยงานไหนในการถือหุ้นระหว่างรัฐหรือรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้หากสามารถดำเนินการเข้าไปอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้จะทำให้การลงทุนในอนาคตเกิดความคล่องตัว

อย่างไรก็ตาม เมื่อได้ข้อสรุปแล้วจะต้องเสนอคณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางเห็นชอบและเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 10:13 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ปตท.สั่ง 2 บ.ย่อยซื้อ TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชือม 3 สนามบิน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 26 เมษายน 2561 เวลา 17:25:
ปรับปรุง: 26 เมษายน 2561 เวลา 18:28:




บอร์ด ปตท.มอบหมาย 2 บริษัทลูก คือ เอ็นเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ และ GPSC ซื้อซองประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินทั้ง 3 แห่ง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน พร้อมเปิดทางให้บริษัทในเครือร่วมซื้อซองทีโออาร์ได้เช่นกัน

นายประเสริฐ สลิลอำไพ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารชื่อเสียงองค์กรและกิจการเพื่อสังคม บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) มีมติอนุมัติให้ ปตท.เข้าซื้อเอกสารเชิญชวนประมูล (ทีโออาร์) ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินทั้ง 3 แห่ง ได้แก่ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง และอู่ตะเภานั้น เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน เนื่องจากโครงการดังกล่าวมีความน่าสนใจ แต่ขณะนี้ยังไม่มีการพิจารณาร่วมลงทุนกับพันธมิตรอื่นๆ แต่อย่างใด

โดยที่ประชุมคณะกรรมการ ปตท.มอบหมายให้บริษัทในกลุ่มที่มีคุณสมบัติเหมาะสมกับโครงการนี้ จำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ และบริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ จำกัด (มหาชน) ที่ดำเนินธุรกิจด้านผลิตไฟฟ้า ร่วมซื้อซองประมูลเพื่อนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านที่เกี่ยวข้อง โดยคณะกรรมการฯ ยังมีความเห็นว่าบริษัทอื่นๆ ในกลุ่ม ปตท.ที่มีศักยภาพสามารถเข้าซื้อซองเพื่อศึกษาได้เช่นกัน โดยให้นำผลการศึกษามานำเสนอต่อคณะกรรมการฯ พิจารณาก่อนตัดสินใจดำเนินการอื่นใด หากมีการตัดสินใจลงทุนจริงจะต้องดำเนินการแจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ต่อไป

“ปตท.พร้อมเป็นส่วนหนึ่งในการเสริมสร้างศักยภาพของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ Thailand 4.0 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ พร้อมทั้งเป็นโอกาสในการศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรืออีวี รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเทคโนโลยีของโลกและความต้องการของประชาชนในประเทศที่เปลี่ยนไป” นายประเสริฐกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 27/04/2018 10:23 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ก.คมนาคมเล็งตั้งองค์กรอิสระบริหารรถไฟเร็วสูง
INN News 26 เมษายน 2018


“ไพรินทร์” ถกบริษัทที่ปรึกษาการเงินชั้นนำ วางโมเดลตั้งองค์กรพิเศษคุมรถไฟไทย-จีน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 17:29:
ปรับปรุง: พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 18:33:




“คมนาคม” ระดมสมองจากบริษัทที่ปรึกษาการเงิน วางรูปแบบจัดตั้ง “องค์กรพิเศษ” บริหารรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน “ไพรินทร์” นัดส่งการบ้าน 1 เดือน เล็งองค์กรที่คล่องตัวสูงอิสระจากรถไฟ และพร้อมระดมทุนในตลาดหากจำเป็น เพื่อลดภาระงบประมาณ

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่ากากระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ว่าได้เชิญบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินจำนวน 8 ราย ร่วมประชุมเพื่อขอให้ช่วยระดมสมองในการจัดทำกรอบแนวคิดการจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง ในโครงการความร่วมมือ ร่วมมือระหว่างไทย-จีน โดยให้เป็นองค์กรที่มีความคล่องตัว มีอิสระ จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

โดยองค์กรดังกล่าวนอกจากบริหารรถไฟความเร็วสูงแล้วยังจะต้องมีการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ด้วย ขณะที่รถไฟความเร็วสูงใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น องค์กรบริหารจะต้องมีประสิทธิภาพและคล่องตัว ซึ่งคาดว่าจะมีหลายรูปแบบ หลายไอเดีย โดยให้เวลา 1 เดือนในการศึกษาและและนำเสนอไอเดียต่อคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียของแต่ละรูปแบบ และเลือกรูปแบบที่ดีที่สุดต่อไป

“เบื้องต้นความเป็นเอกชนจะได้ในแง่ของความอ่อนตัว สามารถรองรับเทคโนโลยีได้ และหากต้องการลดภาระด้านงบประมาณในอนาคต องค์กรควรจะเป็นบริษัทที่จดทะเบียนและระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์ด้วยหรือไม่ และกรณีมีหน่วยงานรัฐถือหุ้นควรเป็นหน่วยงานใด สัดส่วนเท่าไหร่ และมีเป้าหมายทางเงินเป็นอย่างไรบ้าง เป็นต้น”

สำหรับบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินที่เข้าร่วมประชุม ได้แก่ บมจ.ธนาคารไทยพาณิชย์, บมจ.ธนาคารกสิกรไทย, บมจ.ธนาคารยูโอบี, บจก.เพลินจิต แคปปิตอล, บมจ.บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย), บจก.บล.ฟินันซ่า, บจก.อวานการ์ด แคปปิตอล และ บจก.ไพร้ซวอเตอร์เฮ้าส์คูเปอร์ เอฟเอเอส

ทั้งนี้ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 อนุมัติให้ ร.ฟ.ท.ดำเนินโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา) และให้กระทรวงคมนาคม ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับการของ ร.ฟ.ท.เพื่อดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพ โครงสร้างองค์กรมีความคล่องตัวในการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง

คมนาคมหารือ 8 บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ระดมสมองตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 15:16:

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เปิดเผยภายหลังหารือกับ 8 บริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ที่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เพื่อระดมสมองในการจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่า ได้ขอความร่วมมือบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน ช่วยคิดรูปแบบโครงสร้างในการรองรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน สามารถรองรับเทคโนโลยี ด้วยการใช้ประสิทธิภาพจากภาคเอกชน



ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมมีแนวคิดในการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เป็นองค์กรพิเศษและเป็นอิสระจากการกำกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย เพื่อให้มีความคล่องตัว และเหมาะสมกับการดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง โดยมอบหมายให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินไปออกแบบรูปแบบเป้าหมายทางการเงิน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน เช่น รูปแบบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ความเป็นไปได้ในการระดมทุนเพื่อลดภาระงบประมาณจากภาครัฐ หรือมีหน่วยงานภาครัฐใดบ้างที่จะเข้ามาร่วมเป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่เหมาะสม จากนั้นจะพิจารณารูปแบบที่เหมาะสม ก่อนเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป

รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยด้วยว่า การดำเนินโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เป็นโครงการใหญ่ที่ต้องใช้เงินลงทุนเป็นจำนวนมาก หากมีรูปแบบการระดมทุนเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าวจะเป็นเรื่องที่ดี

ไม่เกินปีนี้ได้เห็นแน่! องค์กรพิเศษกำกับ"ไฮสปีด"
พฤหัสบดีที่ 26 เมษายน 2561 เวลา 13.49 น.
"ไพรินทร์"ลั่นไม่เกินปีนี้เห็นแน่องค์กรพิเศษกำกับไฮสปีด เร่งระดมสมองที่ปรึกษาการเงิน เป็นไปได้ที่จะเข้าระดมทุนในตลาดหุ้น


นายไพรินทร์ ชูโชติ ถาวร รมช.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมระดมสมองจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูงว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติให้กระทรวงคมนาคม สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมพิจารณาแนวทางการจัดตั้งองค์กรพิเศษที่เป็นอิสระจากการกำกับกิจการของการรถไฟแห่งประเทศไทย( รฟท.) โดยให้มีโครงสร้างองค์กรที่มีความคล่องตัวและเหมาะสมสำหรับดำเนินกิจการระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อกำกับการดำเนินงานให้มีประสิทธิภาพโดยการจัดตั้งองค์กรพิเศษต้องดำเนินการให้ถูกต้องเป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย ระเบียบ และมติครม.ที่เกี่ยวข้องนั้น กระทรวงคมนาคม ได้เชิญบริษัทที่ปรึกษาการเงินที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(กลต.) 8 ราย ได้แก่ บมจ.ธนาคารกสิกรไทย บมจ.ไทยพาณิชย์ บมจ.ยูโอบี บจก.บล.ฟินันซ่า บมจ.บล.อาร์เอชบี (ประเทศไทย) บจก.เพลินจิตแคปปิตอล บจก.อวานการ์ด แคปปิตอล บจก.ไพรัชวอเตอร์เฮาส์คูเปอร์สเอฟเอเอส มาระดมสมองจัดตั้งองค์กรบริหารรถไฟความเร็วสูง โดยให้แต่ละบริษัทนำเสนอรูปแบบโครงสร้างที่จะรองรับการบริหารงาน ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือนและนำกลับมาเสนอคณะอนุกรรมการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีตนเป็นประธาน เพื่อพิจารณาข้อดีข้อเสียและเลือกรูปแบบที่เหมาะสมและดีที่สุดก่อนนำเสนอ ครม.ต่อไป


รมช.คมนาคม กล่าวต่อว่า การที่ให้บริษัทที่ปรึกษาทางการเงินดังกล่าวเป็นผู้นำเสนอรูปแบบองค์กรพิเศษฯนั้น เนื่องจากเห็นว่าองค์กรพิเศษนี้ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ และลดภาระงบประมาณภาครัฐ ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาทางการเงินเหล่านี้มีความเชี่ยวชาญด้านนี้โดยเฉพาะอยู่แล้ว จึงน่าจะเสนอรูปแบบที่เหมาะสมที่สุดได้ ซึ่งในการเสนอรูปแบบนั้นไม่ได้มีการกำหนดลักษณะเฉพาะ แต่เปิดกว้างให้นำเสนอได้ เช่น รูปแบบรัฐวิสาหกิจหรือบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ ผู้ถือหุ้นควรเป็นหน่วยงานของรัฐ องค์กรหรือบุคคลใด จำนวนเงินลงทุน รวมถึงเป้าหมายทางเงินควร เป็นต้น ทั้งนี้ เป็นไปได้ว่าบริษัทที่ได้รับเลือกการนำเสนอรูปแบบอาจจะเป็นที่ปรึกษาทางการเงินของโครงการรถไฟความเร็วสูงในอนาคตได้

อย่างไรก็ตามตนมองว่าโครงการถไฟความเร็วสูงต้องใช้เงินลงทุนจำนวนมาก ดังนั้นถ้าสามารถเข้าตลาดหลักทรัพย์ระดมทุนได้ก็เป็นเรื่องที่ดี โดยใช้ประสิทธิภาพของภาคเอกชนมาช่วยสนับสนุน ขณะที่รัฐยังเป็นเจ้าของสินทรัพย์และเป็นผู้กำกับควบคุมอยู่ ทั้งนี้ การจัดตั้งองค์กรพิเศษต้องให้เสร็จโดยเร็วที่สุดและอย่างช้าภายในสิ้นปีนี้ เพราะเวลานี้ก็ถือว่าช้าไปแล้ว เนื่องจากโครงการรถไฟไทยจีนคืบหน้าไปมาก...
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/04/2018 6:17 am    Post subject: Reply with quote

‘ซีเมนส์-ลาวาลิน’สู้ศึกไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 28 เม.ย. 61

ทุนยุโรป-อเมริกา ตบเท้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทั้ง “ทรานส์เดฟ-ซีเมนส์-ลาวาลิน” อีอีซีเผยเดือนหน้าออกประกาศเชิญชวนนักลงทุน คาดได้ผู้ชนะประมูลเดือน พ.ย.กลุ่ม ช.การช่าง ประกาศความพร้อมร่วมวงประมูล

ทวีความเข้มข้นขึ้นตามลำดับ สำหรับการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร กำหนดได้ผู้ชนะประมูลเดือน พ.ย.2561 กำหนดเปิดให้บริการปี 2566 ขณะนี้มีการเคลื่อนไหวคึกคักในกลุ่มทุนไทยที่กำลังจับคู่ธุรกิจเข้าประมูล จากการรวบรวมของ กรุงเทพธุรกิจ พบว่ากลุ่มทุนที่สนใจ ได้แก่ กลุ่มแรก เครือ ปตท.ร่วมกับบีทีเอสและซิโน-ไทย กลุ่มที่2 ค่ายซีพีจับมือกับบริษัทรถไฟความเร็วสูงจากจีน กลุ่มที่ 3 ช.การช่างที่กำลังอยู่ระหว่างการหาพันธมิตร ล่าสุดทุนต่างชาติทั้งยุโรปและอเมริกาได้ยื่นความจำนงขอเข้าประมูลโครงการใหญ่ครั้งนี้ด้วย

นายกุลิศ สมบัติศิริ ประธานคณะกรรมการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า การประชุมครั้งแรกของคณะกรรมการ ร.ฟ.ท.วานนี้ (27 เม.ย.) ได้ติดตามและเร่งรัดการออกเอกสารสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง (ทีโออาร์) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งจะมอบหมายให้กรรมการ ร.ฟ.ท.ที่มีความเชี่ยวชาญแต่ละด้านมากำกับดูแลงานอย่างใกล้ชิดเพื่อให้เห็นความก้าวหน้าทุกเดือน โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินที่จะเริ่มเห็นความก้าวหน้าในเดือน พ.ค.นี้

ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ร.ฟ.ท.จะประกาศเชิญชวนเอกชนเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ในกลางเดือน พ.ค.นี้ หลังจากนั้นอีก 2 สัปดาห์ จะขายซองประมูลโครงการ และจะมีเวลาให้เอกชนได้ศึกษารายละเอียดและเตรียมแผนงานก่อนยื่นซองประมูล 4-5 เดือน ซึ่งการคัดเลือกผู้ประมูลจะมีผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.เป็นประธาน

ทั้งนี้ ร่างทีโออาร์ขณะนี้มีความคืบหน้า 95% และการร่างทีโออาร์กำลังรอประกาศการจัดซื้อจัดจ้างของคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กศน.) ที่มีการแก้ไขเพื่อให้มีการแข่งขันมากขึ้นโดยเฉพาะการร่วมแข่งขันของต่างชาติ โดยขณะนี้มีบริษัทจากทวีปยุโรปและทวีปอเมริกาสนใจเข้าร่วมประมูล 3 ราย คือ Transdev จากฝรั่งเศส , Siemens เยอรมัน และ Lavalin จากประเทศแคนาดา

***ได้ผู้ชนะประมูลเดือน พ.ย.ตามแผน

แหล่งข่าวจากสำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (สกรศ.) เปิดผเยว่า มีความเป็นไปได้สูงที่สัปดาห์ที่ 2 ของเดือน พ.ค.นี้ ร.ฟ.ท.จะประกาศเชิญชวนการลงทุนรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินได้ และเมื่อเปิดทีโออาร์แล้วจะมีการเปิดรับฟังความเห็นจากภาคเอกชน (Market Sounding) และคาดว่าจะได้รายชื่อผู้ชนะการประมูลในเดือน พ.ย.นี้ โดยโครงการนี้อยู่ในกลุ่มเร่งด่วนที่ให้เอกชนร่วมลงทุน หรือพีพีพีอีอีซีฟาสต์แทรค

ที่ผ่านมามีบริษัทรถไฟของจีนหลายรายสอบถามข้อมูลทางเทคนิคของโครงการนี้เข้ามาเพราะสนใจที่จะเข้าร่วมลงทุน แต่บริษัทรถไฟของจีนทั้งหมดมีรัฐบาลจีนถือหุ้นและมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจจึงทำให้มีข้อกังวลว่าอาจเข้าข่ายข้อห้ามตาม พ.ร.บ.การจดซื้อจัดจ้างและการบริการพัสดุภาครัฐ พ.ศ.2560 และ พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ ซึ่งจะมีการออกประกาศเกี่ยวกับการประมูลของ กศน.ฉบับใหม่ก็จะเดินหน้าเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างรอประกาศในราชกิจจานุเบกษา

***ช.การช่างลั่นพร้อมร่วมวงประมูล

นางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK กล่าวว่า บริษัทพร้อมที่จะเข้าแข่งประมูลในทุกโครงการทั้งงานก่อสร้างและโครงการร่วมลงทุน (PPP) โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบินที่บริษัทมีศักยภาพพร้อม โดยมีบริษัทลูกคือ บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BEM ทำธุรกิจบริหารเดินรถไฟฟ้าอยู่แล้วเป็นแกนหลักในการหาพันธมิตรเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งก่อนหน้านี้ก็เคยมีกลุ่มเยอรมันนี และญี่ปุ่น ซึ่งมีเทคโนโลยี เข้ามาร่วมลงทุน แต่ปัจจุบันบริษัทมีความชำนาญด้านนี้มากพอที่จะทำได้เอง เพียงแต่ด้วยเงินทุนที่มูลค่าโครงการที่สูงระดับแสนล้านบาททำให้บริษัทเปิดโอกาสและมองหาพันธมิตรในหลายด้าน ซึ่งได้มีการพูดคุยเจรจาบ้างแล้วแต่ยังเปิดเผยไม่ได้ เพราะรอทีโออาร์ออกมาก่อน

สำหรับฐานะทางการเงินของ เฉพาะบริษัท มีศักยภาพในการรับงานของภาครัฐ ด้วยส่วนของผู้ถือหุ้นเพิ่มมาที่ 23,700 หมื่นล้านบาท และสามารถเพิ่มวงเงินกู้ได้อีกราว 40,000 ล้านบาท จากปัจจุบันมีหนี้อยู่ราว 5,000 ล้านบาท ต้นทุนการเงินเฉลี่ย 3.2% อัตราหนี้สินต่อทุน (DE) 1.27 เท่า ขณะที่มูลค่าตลาดรวมของ (Market Cap) 44,888 ล้านบาท และทั้งกลุ่มมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 2 แสนล้านบาท

**คีรีลั่นผนึกซิโน-ไทย ราชบุรีฯ
นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหารบมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า สนใจในการลงทุนในระบบรางทุกโครงการในไทยที่เปิดประมูล เช่นเดียวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เชื่อม3สนามบิน ที่รอประกาศเชิญชวน (ทีโออาร์) ว่าจะออกมาอย่างไร โดยพันธมิตรผู้ร่วมลงทุนที่ระบุได้แล้วก็มี 2 รายดั้งเดิม ได้แก่ บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นพันธมิตรเดิมที่ร่วมดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู ในนามของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยพึงพอใจในการทำงานร่วมต่อไป

ประธานฯ บีทีเอส กรุ๊ป เชื่อมั่นว่า ทุนไทยสามารถรวมตัวกันประมูลโครงการดังกล่าวได้เอง โดยนำเทคโนโลยีจากต่างชาติเข้ามาใช้ ไม่จำเป็นต้องหาพันธมิตรจากต่างชาติเช่นเดียวกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและเหลืองที่มีมูลค่าในหลักแสนล้านบาทก็เป็นการลงทุนด้วยตัวเอง แต่ไม่ได้หมายถึงการกีดกันหรือรังเกียจทุนต่างชาติ

โดยในอนาคตก็เตรียมปูทางนำพันธมิตรต่างชาติที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุนเกี่ยวเนื่องกับรถไฟฟ้าไฮสปีด เช่น หากประมูลชนะแล้วได้สิทธิในการจัดการพื้นที่เชิงพาณิชย์ อย่างน้อยขณะนี้ก็มีบริษัทในเครือ ได้แก่ ยูซิตี้ที่ไปเป็นพันธมิตรธุรกิจร่วมกับทุนต่างชาติแล้ว ล่าสุดได้ให้บริษัทในเครือยูซิตี้ ได้แก่ เวียนนาอินเตอร์เนชั่นแนลโฮเทลแมเนจเม้นท์เอจี ร่วมลงนามในหนังสือแสดงเจตจำนง (Letter of IntentหรือLOI) กับนาคีล (Nakheel PJSC) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ระดับโลกจากยูเออี ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อพัฒนาโครงการรีสอร์ทแห่งใหม่บนเกาะเดียรานครดูไบก่อนชักชวนให้เข้ามาลงทุนในไทย

***ส่อง 3 บริษัทรถไฟต่างชาติ
เริ่มกันที ซีเมนส์ เอจี ที่คนไทยคุ้นเคย เป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ยืนหยัดเพื่อสรรสร้างความเป็นเลิศในงานวิศวกรรม นวัตกรรม ด้วยความน่าเชื่อถือในระดับสากลมากว่า 165 ปี. บริษัทฯ มีสาขาครอบคลุมกว่า 200 ประเทศทั่วโลก มุ่งเน้นพัฒนาให้บริการทั้งงานด้านวิศวกรรมไฟฟ้า ระบบขับเคลื่อน และดิจิทอลไลเซชั่น มีพนักงานประมาณ 357,000 คนทั่วโลก ในประเทศไทย ซีเมนส์ มีส่วนร่วมในการเชื่อมโยงเศรษฐกิจและงานด้านเทคนิควิศวกรรมในประเทศไทยเป็นเวลากว่าหนึ่งศตวรรษ

บริษัทต่อมา บริษัทลาวาลิน เรล เป็นบริษัทในเครือเอสเอ็นซี-ลาวาลิน ซึ่งเป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัทด้านวิศวกรรมและก่อสร้างชั้นนำระดับโลก และมีบทบาทสำคัญในการเป็นเจ้าของสาธารณูปโภค การเตรียมดำเนินการ และบริการซ่อมบำรุง เอสเอ็นซี-ลาวาลิน มีสำนักงานทั่วทั้งแคนาดาและในอีกกว่า 40 ประเทศทั่วโลก

สุดท้ายที่ึคนไทยยังไม่คุ้น ทรานส์เดฟกรุ๊ป สัญชาติฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในบริษัทขนส่งชั้นนำของโลก ภายใต้การนำของนายเทียร์รี มอลเลต์ ประธานและซีอีโอ ให้บริการขนส่งทุกรูปแบบ 13 ชนิด ใน 19 ประเทศ 6 ทวีป  พนักงานบริการผู้โดยสารทั่วโลก 82,000 คน ยานพาหนะ 43,300 คัน ระบบรถไฟรางเบา 22 เครือข่าย อย่างที่ให้บริการในนครมุมไบและกรุงโซล รถไฟทรานส์เดฟมีบทบาทสำคัญในตลาดขนส่งฝรั่งเศสและยุโรป ที่แต่ละปีมีผู้โดยสารมากกว่า 7,500 ล้านคน เดินทางทั้งในประเทศ ข้ามภูมิภาค และขบวนรถไฟชานเมือง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/04/2018 7:45 am    Post subject: Reply with quote

ประธานบอร์ดรฟท.เร่งประมูลไฮสปีดประกาศทีโออาร์พ.ค.นี้
โพสต์ทูเดย์ วันที่ 28 เม.ย. 2561 เวลา 07:15 น.

"กุลิศ" อธิบดีกรมศุลกากร ประธานบอร์ด รฟท.คนใหม่ สั่งเร่งเปิดประมูลไฮสปีดอีอีซี จัดซื้อแอร์พอร์ตลิงค์

นายกุลิศ สมบัติศิริ อธิบดีกรม ศุลกากร ในฐานะประธานคณะกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.นัดแรก ว่า ได้มอบหมายให้คณะกรรมการที่มีความถนัดในแต่ละด้าน เข้าไปเร่งรัดการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี วงเงิน 2.15 แสนล้านบาท ซึ่งภายใน เดือน พ.ค.ต้องร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ให้แล้วเสร็จ เพื่อเปิดประมูลโครงการให้ได้ตามแผนที่วางไว้

ขณะที่แผนลงทุนอื่นอย่างโครงการรถไฟทางคู่เฟส 2 และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนนั้น จะต้องเร่งดำเนินการเช่นกัน เพื่อที่จะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) ได้แผนที่วางไว้

นายกุลิศ กล่าวว่า ประเด็นการจัดซื้อรถไฟขบวนใหม่ของแอร์พอร์ตลิงค์ เพื่อแก้ปัญหาความแออัดช่วงชั่วโมง เร่งด่วนนั้นจะมีการเร่งดำเนินการโดยเร็ว และในอนาคตจะต้องเชื่อมต่อกับเส้นทางอีอีซีและจะทบทวนบทบาทการทำงานของบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. ด้วย อย่างไรก็ตาม ในส่วนของการเดินรถของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงมองว่าเป็นโครงการ ที่จะสร้างรายได้ให้แก่ รฟท. โดยหลังจากนี้จะพิจารณาเพิ่มต่อสถานีทางด้านรังสิตให้สามารถเชื่อมต่อกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ และมหาวิทยาลัยรังสิต เพื่อเพิ่มจำนวน ผู้โดยสาร

นอกจากนี้ ได้สั่งการให้เร่งจัดทำแนวทางการหารายได้เพิ่มตามแผนฟื้นฟูกิจการขององค์กร โดยเฉพาะการบริหารจัดการบัญชีทรัพย์สินและบริหารจัดการที่ดินแปลงใหญ่ของ รฟท.ที่สามารถ พัฒนาได้ เช่น พื้นที่มักกะสันและพื้นที่ สถานีกลางบางซื่อ โดยมีแผนจะพัฒนา เป็นสมาร์ทซิตี้เชื่อมต่อกับรถไฟทุกระบบ ได้สั่งการให้ทำบัญชีรายละเอียดทรัพย์สิน ก่อนนำเสนอให้คณะกรรมการกำกับนโยบายตามแผนฟื้นฟูเป็นผู้พิจารณา ต่อไป

ทั้งนี้ จะมีการพิจารณาการปรับค่าตอบแทนของพนักงานและยืนยันว่าจะไม่มีการปรับหรือลดอัตราตำแหน่ง รวมถึงอาจจะพิจารณาโบนัส เพื่อให้พนักงานมีกำลังใจในการทำงาน โดยจะต้องหารือร่วมกับทางกระทรวงการคลังอีกครั้ง ส่วนด้านการสรรหาตัวรักษาการผู้ว่าการ รฟท.คนใหม่ จะมีขึ้นหรือไม่นั้น บอร์ดไม่ได้มีการหารือในเรื่องนี้ เพราะเป็นอำนาจของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และตามคำสั่งของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ยังระบุให้ นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ทำหน้าที่รักษาการผู้ว่าการ รฟท.ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2018 5:56 am    Post subject: Reply with quote

"คีรี" ลุยลงทุนรถไฟเร็วสูง 2 แสนล้าน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 28 เมษายน 2561 05:30


นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานคณะกรรมการบริหารบริษัทบีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า กลุ่มบีทีเอสมีความพร้อมและมีความตั้งใจที่จะเข้าไปร่วมประมูลโครงการขนส่งมวลชน ทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงที่จะเกิดขึ้นทุกโครงการ เพราะถือเป็นธุรกิจหลักของบริษัทที่มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญมากที่สุด เพื่อพัฒนาระบบขนส่งมวลชนของประเทศ โดยเฉพาะล่าสุดที่เพิ่งเปิดขายซองคือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่มีมูลค่าลงทุนกว่า 200,000 ล้านบาท โดยกลุ่มบีทีเอสมีความพร้อมในทุกด้าน รวมทั้งเงินทุน ส่วนจะร่วมกับ พันธมิตรรายใดนั้นยังบอกไม่ได้ ซึ่งยอมรับว่าได้มีการพูดคุยกับกลุ่ม ปตท. และคุยด้วยกับหลายราย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 27 เม.ย.ที่ผ่านมา นายคีรี ในฐานะประธานคณะกรรมการ บริษัท ยู ซิตี้ จำกัด (มหาชน) (U) ได้เป็นประธานในการลงนามบันทึกข้อตกลง (LOI) เพื่อแสดง เจตจำนงร่วมกันในการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโรงแรมสไตล์บีชรีสอร์ตในโครงการเดียรา ไอส์แลนด์ (Deira Island) ขนาด 620 ห้อง บนเนื้อที่ 15.3 ตารางกิโลเมตร ตั้งอยู่ที่นครดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างบริษัทนาคีล (Nakheel) ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ที่สุดของสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และบริษัท เวียนนา อินเตอร์เนชั่นแนล โฮเทลแมเนจเม้นท์ เอจี ผู้ให้บริการด้านการบริหารธุรกิจโรงแรม ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ U มูลค่าลงทุนกว่า 5,000 ล้านบาท

นายคีรีกล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้สอดคล้องกับแผนธุรกิจของ U ในการขยายอสังหาริมทรัพย์สู่ระดับโลก โดยมีนาคีลเป็นพันธมิตรระดับโลก ที่ช่วยเสริมมูลค่าธุรกิจด้านการจัดการโรงแรม

นอกจากนี้ ทางบีทีเอสจะชวนพันธมิตรกลุ่มนาคีลเข้าร่วมลงทุนในโครงการอื่นๆ ทั้งในไทยและ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ซึ่งอาจรวมถึงการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในพื้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงด้วยก็ได้ ขณะที่ปีนี้มั่นใจว่าจะพลิกผลงานของ U ให้กลับมามีกำไรได้จากที่ขาดทุนในปีที่ผ่านมา

ด้าน มร.อาลี ราชิด อาเหม็ด ลูทาห์ ประธานบริษัทนาคีล กล่าวว่า สาเหตุที่เลือกลงทุนกับ U เพราะต้องการขยายการท่องเที่ยวที่ดูไบบนเกาะเดียรา เข้าไปในกลุ่มนักท่องเที่ยวรายได้ ระดับกลางขึ้นไปที่กำลังขยายตัวสูง และรัฐบาลให้การสนับสนุน จากเดิมมีแต่กลุ่มที่มีรายได้สูง จึงต้องการร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญโรงแรมระดับ 3-4 ดาว โดยคาดว่าจำนวนนักท่องเที่ยวปี 61 ที่เดินทางไปดูไบจะเพิ่มเป็น 7 ล้านคน จากปีที่แล้ว 4 ล้านคน.


Last edited by Wisarut on 30/04/2018 2:48 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2018 10:33 am    Post subject: Reply with quote

'สมคิด' เร่งไฮสปีดเฟส 2! ร.ฟ.ท. ขอ 200 ล้าน ศึกษาอู่ตะเภาต่อขยายถึงตราด ก่อสร้างปี 63
ออนไลน์เมื่อ 29 เมษายน 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,361 วันที่ 29 เมษายน - 2 พฤษภาคม 2561 หน้า 11


ร.ฟ.ท. จ่อชง ครม. ไฟเขียวงบกลางปีนี้ 200 ล้านบาท ใช้ศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 อู่ตะเภา-ตราด หลัง 'สมคิด' จี้ให้ปรับแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีให้เร็วขึ้น วางกรอบก่อสร้างเสร็จปี 2567

เป็นความพยายามของรัฐบาลที่จะผลักดันการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ที่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) อีก 1 โครงการ หลังจากที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กิโลเมตร จะออกประกาศเชิญชวนผู้สนใจ (ทีโออาร์) มาร่วมลงทุนในรูปแบบรัฐร่วมลงทุนกับเอกชน (พีพีพี) ในเดือน พ.ค. 2561 นี้ เพื่อจะได้เริ่มก่อสร้างได้ในปีหน้าและแล้วเสร็จในปี 2566

จากความคืบหน้าดังกล่าว นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จึงได้มอบหมายให้สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) ไปดำเนินการปรับแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานภายในพื้นที่อีอีซี ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีไปแล้ว ให้มีการดำเนินงานเร็วมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนขยายของโครงการรถไฟความเร็วสูงอู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ระยะทางกว่า 200 กิโลเมตร จากที่กำหนดเป็นแผนระยะกลาง (ปี 2562-2564) ให้ปรับแผนการดำเนินงานเร็วยิ่งขึ้น เพื่อให้การก่อสร้างดำเนินงานได้ภายในปี 2563 และแล้วเสร็จในปี 2567

นายจุลเทพ จิตะสมบัติ วิศวกรอำนวยการศูนย์โครงการปรับปรุงทาง การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า

ขณะนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 ดังกล่าว อยู่ระหว่างนำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติงบกลางปี 2561 วงเงิน 200 ล้านบาท นำมาศึกษาความเหมาะสมของโครงการ และสำรวจออกแบบรายละเอียดโครงการ ซึ่งถือเป็นการปรับแผนปฏิบัติการการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในอีอีซีเร็วขึ้น จากเดิมที่กำหนดแผนไว้เป็นระยะกลาง หรือ ต้องเริ่มดำเนินการในปีหน้า เนื่องจากรัฐบาลต้องการให้โครงการเกิดความต่อเนื่องและครอบคลุมนอกพื้นที่อีอีซี ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาการเดินทาง และลดการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน และช่วยเหนี่ยวนำให้เกิดการลงทุนของภาคเอกชน และทำให้โครงการเกิดประโยชน์สูงสุด


ทั้งนี้ คาดว่างบดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาจัดสรรได้ในเร็ว ๆ นี้ และหลังจากนั้นจะจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาต่อไป คาดว่าจะใช้ระยะเวลากว่า 1 ปี ส่วนเงินลงทุนในส่วนของค่าก่อสร้างงานโยธาและงานวางราง น่าจะใกล้เคียงกับระยะแรกที่ประมาณ 1.13 แสนล้านบาท เพราะมีระยะทางที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งตั้งเป้าหมายจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2563 และแล้วเสร็จในปี 2567 ช้ากว่าระยะแรก 1 ปี ที่เสร็จในปี 2566

"แต่เดิมทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ต้องการให้ระยะแรกก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไปถึง จ.ระยอง ซึ่งต้องผ่านนิคมอุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาบตาพุด เป็นพื้นที่ที่อ่อนไหวด้านสิ่งแวดล้อม จะทำให้เกิดความล่าช้า จึงตัดบางส่วนของโครงการ สิ้นสุดที่อู่ตะเภา เพื่อให้เกิดการลงทุนโดยเร็ว และเพื่อให้มีเวลาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในส่วนที่จะขายต่อไปได้"

ดังนั้น เมื่อโครงการระยะแรกเดินหน้าก่อสร้าง ก็จะควบคู่กับการศึกษาในระยะที่ 2 และหลังจากนั้น จะควบคู่การก่อสร้างกันไปทั้ง 2 โครงการ ซึ่งไม่จำเป็นต้องเป็นเอกชนรายเดิมที่ประมูลได้ในระยะที่ 1 เนื่องจาก กนศ. ได้เห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องไปพิจารณาให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ในระยะแรก สามารถต่อขยายเชื่อมโยงกับโครงการรถไฟความเร็วสูงอื่นได้ รวมถึง ร.ฟ.ม. ไปหาข้อตกลงกับเอกชนให้ระบบอาณัติสัญญาณของโครงการ สามารถเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงอื่นได้ด้วย

สำหรับระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการระยะแรกนั้น เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับภาครัฐและประหยัดงบประมาณ จะเป็นการร่วมลงทุนระหว่าง ร.ฟ.ท. และเอกชนในระยะเวลา 50 ปี หรือมีระยะเวลาดำเนินการโครงการและงานบำรุงรักษา 45 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2018 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

แก้ล็อกกม.ประมูลไฮสปีด BTSเนื้อหอม ซีพี-ปตท.รุมจีบ
วันที่ 28 เมษายน 2561 - 19:01 น.

รัฐเร่งเครื่องไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปลดล็อกสัดส่วนลงทุนต่างชาติเกิน 50% ปลาย พ.ค.ออกทีโออาร์ เปิดยื่นซอง ต.ค. “ซี.พี.” ควงจีนจีบ “บีทีเอส-ซิโน-ไทย-ราชบุรีโฮลดิ้ง” แข่ง ปตท. อิตาเลียนไทย ผนึกทุนจีน ช.การช่าง เอาด้วย


อุตตม สาวนายน
นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และประธานคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้โครงการโครงสร้างพื้นฐาน 5 โครงการ รองรับกับการพัฒนาพื้นที่อีอีซี คืบหน้าตามลำดับ และคณะกรรมการอีอีซีกำลังเร่งรัดการลงทุนให้เกิดขึ้นเป็นรูปธรรม 2 โครงการ ให้สามารถเปิดบริการพร้อมกันภายใน 5 ปีนี้ คือ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. กับการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาเป็นสนามบินนานาชาติ แห่งที่ 3 เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับนักลงทุนต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุนในอีอีซี

ปลดล็อกสัดส่วนถือหุ้นต่างชาติ

“ภายในปีนี้ต้องได้เอกชนลงทุนรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาร่างทีโออาร์ให้ละเอียดรอบคอบ เช่น สัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน ตามกฎหมายให้ไม่เกิน 49 : 51 รวมถึงรอ พ.ร.บ.อีอีซีบังคับใช้ จะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนได้ภายในเดือน มิ.ย.นี้”

จากการทดสอบความสนใจของนักลงทุนต่างชาติพบว่า ต้องการมีสัดส่วนการถือหุ้นให้มากที่สุด ขณะที่อีอีซีก็ต้องการให้โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นมาตรฐานนานาชาติมากที่สุด เพราะเป็นการเชิญต่างชาติเข้ามาร่วมลงทุน ซึ่งไม่ใช่มีแค่รถไฟความเร็วสูง ยังมีโครงการศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) จึงอาจต้องปรับระเบียบกฎหมายให้สะดวกคล่องตัว

ปลาย พ.ค.ประกาศเชิญชวน

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม และในฐานะรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ร่างทีโออาร์ประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คืบหน้ากว่า 95% แล้ว ตั้งเป้าจะประกาศเชิญชวนเอกชนที่สนใจเข้ามาร่วมลงทุนรูปแบบ PPP Net Cost 50 ปี ปลายเดือน พ.ค. แต่จะพยายามเร่งให้เร็วขึ้นเป็นภายในกลางเดือน พ.ค.นี้


จากนั้นปลายเดือน ต.ค.จะให้เอกชนที่ซื้อเอกสารยื่นซองประมูล และใช้เวลาพิจารณาข้อเสนอประมาณ 1 เดือนเศษ แต่การเจรจาอาจต้องใช้เวลานานพอสมควร พยายามให้มีข้อสรุปภายในสิ้นปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปี 2562 ให้เริ่มงานก่อสร้างได้ ตามแผนจะแล้วเสร็จปี 2566

“ตอนนี้อีอีซีกำลังดูเรื่องสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติที่จะมาลงทุนรถไฟความเร็วสูง ว่ามีกฎหมายอะไรที่มีข้อห้ามบ้าง เพราะไม่มีกฎหมายมารองรับ หากจะให้ต่างชาติถือหุ้นเกินสัดส่วนเกิน 50% ต้องรอว่าอีอีซีจะมีประกาศอะไรออกมารองรับ”

เปิดทางเอกชนยื่นซองที่ 3

สำหรับทีโออาร์ที่กำหนดจะคล้ายกับการประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) กับสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) เช่น ผลงาน รายได้รวม และเปิดให้เอกชนจับมือกันได้หลายราย รวมถึงให้สามารถเสนอซองที่ 3 เพิ่มเติมได้ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพการเดินรถ การเพิ่มทางเข้า-ออกสถานี หรือการพัฒนาที่ดินรอบสถานีเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อโครงการ เป็นต้น

สำหรับมูลค่าการลงทุนทั้งโครงการอยู่ที่ 224,544 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 3,570 ล้านบาท งานโยธาและงานวางราง 113,303 ล้านบาท ค่างานอุโมงค์ใช้ร่วมกับสายสีแดง 7,210 ล้านบาท งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกลรถไฟ 24,712 ล้านบาท ขบวนรถ 15,491 ล้านบาท ที่ปรึกษาคุมงาน 4,429 ล้านบาท เงินลงทุนพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสันและศรีราชา 45,155 ล้านบาท ค่าสิทธิบริหารโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้านบาท

“สัมปทาน 50 ปี เป็นงานก่อสร้าง 5 ปี เดินรถ 45 ปี เอกชนจะหาทุนมาสร้างก่อน แล้วรัฐคืนภายหลัง ไม่เกินเพดานค่างานโยธา 113,303 ล้านบาท เริ่มชำระคืนปีแรกหลังสร้างเสร็จปี 2566 เพื่อลดความเสี่ยง แบ่งชำระรายปีเบื้องต้น 10 ปี แต่ขึ้นอยู่กับข้อเสนอของเอกชน”

ส่วนผลตอบแทนที่ ร.ฟ.ท.จะได้คือ ส่วนแบ่งรายได้ค่าโดยสารและค่าพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานี นอกจากนี้ มีรายได้พัฒนาที่ดินมักกะสันและศรีราชาอีก 5 หมื่นล้านบาท และค่าโครงการแอร์พอร์ตลิงก์กว่า 1 หมื่นล้านบาท

ไทย-เทศจับคู่/ซี.พี.คุย BTS

รายงานข่าวกล่าวว่า โครงการนี้ได้รับความสนใจจากนักลงทุนไทยและต่างชาติอย่างมาก เช่น จีน ญี่ปุ่น มีทั้งกลุ่มทุนด้านการเงิน บริษัทก่อสร้าง ส่วนฝรั่งเศส เยอรมนี สนใจเรื่องงานระบบและรถไฟฟ้า เท่าที่ทราบเอกชนที่สนใจเริ่มเคลื่อนไหวเจรจาหาผู้ร่วมลงทุนแล้ว แต่โมเดลการร่วมลงทุนยังไม่นิ่ง ต้องการรอดูรายละเอียดทีโออาร์ประกาศออกมาก่อน

ล่าสุดเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ของนายธนินท์ เจียรวนนท์ ได้เจรจากับกลุ่ม BSR ประกอบด้วย บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) ของนายคีรี กาญจนพาสน์ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ของนายอนุทิน ชาญวีรกูล และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง แต่ยังไม่เป็นที่ยุติ หลังจากเคยเจรจากับ บมจ.ปตท. แต่ยังไม่ลงตัว ขณะที่บีทีเอสได้หารือกับ ปตท.มานานแล้ว แต่ยังไม่ยุติเช่นกัน

“ตอนนี้มี ซี.พี.กับ ปตท.ที่มาคุยกับบีทีเอส โดย ซี.พี.เข้าหารือกับพันธมิตรของบีทีเอส สาเหตุ ซี.พี.ต้องการเข้าลงทุนเพราะพร้อมทั้งเงินทุน และมีบริษัททำอสังหาฯทั้ง ซี.พี.แลนด์ และ MQDC แต่ต้องหาพันธมิตรไทยและต่างชาติด้านก่อสร้างและเดินรถมาร่วมด้วย ขณะที่นักลงทุนจีนทั้งสถาบันการเงิน รับเหมา ผู้ผลิตรถไฟฟ้า ให้ความสนใจโครงการนี้มาก”

ด้านแหล่งข่าวจากกลุ่ม ซี.พี.เปิดเผยว่า กำลังศึกษารายละเอียดด้านการเงินการลงทุน เพราะเป็นโครงการใหญ่ ใช้เงินลงทุนกว่า 2 แสนล้านบาท จึงต้องมีพันธมิตรทั้งไทย จีน ญี่ปุ่น และยุโรป

บีทีเอสยังไม่ทิ้ง ปตท.หรือ ซี.พี.

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.BTSC กล่าวว่า ได้เจรจากับ ปตท.เพื่อจะร่วมกันเข้าประมูลจริง แต่ยังไม่ยุติ และเจรจากับรายอื่น ๆ ด้วย ทั้งเอกชนไทยและต่างชาติ ยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะร่วมกับใครบ้าง

“ที่แน่ ๆ มีบีทีเอส ซิโน-ไทย และราชบุรีโฮลดิ้ง ขณะนี้บริษัทกำลังศึกษาวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการ และรอทีโออาร์ประกาศออกมาอย่างชัดเจน”

ด้านนายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ กล่าวว่า การไปคุยกับ ปตท. ในฐานะกลุ่มกิจการบีเอสอาร์ โดยมีบีทีเอสเป็นแกนนำ ยังไม่อยากเปิดเผยรายละเอียด ขอรอดูทีโออาร์ก่อน แต่จะเข้าประมูลโครงการนี้ร่วมกับ ปตท.แน่นอน นอกจากนี้มีเจรจากับเอกชนรายอื่น ๆ ด้วย

ช.การช่างรอดูทีโออาร์

ด้านนางสาวสุภามาส ตรีวิศวเวทย์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ช.การช่าง กล่าวว่า บริษัทขอดูทีโออาร์ก่อนเช่นเดียวกัน และพร้อมเข้าประมูลด้วย โดยมีบริษัทในเครือเข้าร่วม คือ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) และหาพันธมิตรพัฒนาที่ดิน

มีรายงานข่าวจาก บมจ.ช.การช่างว่า ที่ผ่านมาบริษัทเคยร่วมกับบริษัท โตคิว คอร์ปอเรชั่น ผู้เชี่ยวชาญด้านอสังหาฯและการพัฒนาคอมเพล็กซ์จากญี่ปุ่น เคยประมูลที่ดินเตรียมทหาร อาจเป็นไปได้ที่จะร่วมเป็นพันธมิตรกันอีกครั้ง ส่วนอิตาเลียนไทยนั้นก่อนหน้านี้นายเปรมชัย กรรณสูต ประธานบริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เคยให้สัมภาษณ์ว่า จะเข้าร่วมประมูลเช่นกัน โดยร่วมลงทุนกับประเทศจีน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2018 3:05 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมค่าเวนคืนที่ 4,992 ล้านบาท เพื่อเวนคืนที่แถวฉะเชิงเทรา เพื่อทำรถไฟความไวสูง เชื่อม 3 สนามบิน นับว่าไม่แพงเมื่อเปรียบเทียงกับการลงทุนรถไฟความไวสูงเชื่อม 3 สนามบิน ครบวงจรที่คิด 296,421 ล้านบาท ที่เป็นค่าก่อสร้างรถไฟความไวสูงเชื่อม 3 สนามบิน 214,308 ล้านบาท ค่าระบบไฟฟ้าและ เครื่องกล 32,577 ล้านบาท
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2317753861571999&set=a.213819491965457.68088.100000122231436&type=3&theater
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 265, 266, 267 ... 542, 543, 544  Next
Page 266 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©