Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264361
ทั้งหมด:13575644
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 266, 267, 268 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/05/2018 6:40 am    Post subject: Reply with quote

เอกชนพร้อม! ประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
SpringNews 30 เม.ย. 2018 / 15:28 น.

แม้ว่าร่างทีโออาร์ หรือข้อกำหนดคุณสมบัติของบริษัทที่จะเข้าประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ยังไม่ออกมาอย่างเป็นทางการ แต่เอกชนทั้งในและต่างประเทศ ประกาศความพร้อมที่จะเข้าร่วมการประมูลหลายราย ซึ่งล้วนแต่เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการก่อสร้างทั้งในและต่างประเทศ

การแถลงข่าวครั้งล่าสุดของกลุ่ม ช.การช่าง ภายใต้การบริหารของตระกูลตรีวิศเวทย์ ประกาศชัดว่า พร้อมเข้าร่วมการประมูลแบบ เพราะมีศักยภาพเพียงพอ เนื่องจากบริษัทลูกคือ บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ หรือ BEM ทำธุรกิจ บริหารเดินรถไฟฟ้าอยู่แล้ว

แม้จะมีประสบการณ์และความชำนาญมากพอที่จะทำเองได้ แต่ด้วยเม็ดเงินลงทุนสูงระดับแสนล้านบาททำให้ ช.การช่าง ต้องเปิดโอกาสและมองหาพันธมิตร ซึ่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ ช.การช่าง ระบุว่าได้มีการพูดคุยเจรจาบ้างแล้วแต่ยังเปิดเผยไม่ได้

อีกหนึ่งผู้เชี่ยวชาญที่มีประสบการณ์ในการเดินรถไฟฟ้ามายาวนานอย่าง บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ แสดงท่าทีชัดเจนว่า สนใจลงทุนในระบบรางทุกโครงการ รวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยพันธมิตรผู้ร่วมลงทุนที่ระบุได้แล้วก็มี 2 ราย คือ ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ซึ่งร่วมประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลืองและชมพู ในนามของกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ โดยประธานกรรมการบริหาร บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เชื่อมั่นว่าการรวมตัวของทุนจะเข้าร่วมประมูลได้ โดยไม่ต้องหาพันธมิตรต่างชาติ

ส่วน ปตท. ยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของประเทศ ออกมายืนยันว่า คณะกรรมการบริษัท มอบหมายให้ 2 บริษัท คือ บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ และ บริษัท โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ ร่วมซื้อซองประมูลเพื่อนำมาศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนด้านที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของประเทศตามแผนยุทธศาสตร์ชาติและมองโอกาสในการศึกษาห่วงโซ่ธุรกิจไฟฟ้า เช่น การผลิตไฟฟ้า ระบบกักเก็บพลังงาน สถานีอัดประจุไฟฟ้า หรือ อีวี รวมถึงยานยนต์ไฟฟ้า เพื่อรองรับเทคโนโลยีของโลกและความต้องการของประชาชนในประเทศที่เปลี่ยนไป

ด้านนักลงทุนต่างชาติ ทั้งจีน ญี่ปุ่น ต่างก็สนใจสอบถามข้อมูลเชิงเทคนิคเข้ามาหลายรายเช่นกัน โดยการแข่งขันประกวดราคาโครงการมูลค่า 2 แสนล้านบาทครั้งนี้ แม้จะมีเพียงกรอบเวลาคร่าวๆ ว่าทีโออาร์จะคลอดในเดือนพฤษภาคมนี้ แต่เงื่อนไขหนึ่งที่ไม่น่าจะเปลี่ยนแปลงจากกรอบการลงทุนภาครัฐ คือสัดส่วนการถือหุ้นของต่างชาติที่จะเข้ามาลงทุน ตามกฎหมายให้ไม่เกิน 49 : 51 และต้องรอ พ.ร.บ.อีอีซี บังคับใช้ เพื่อจะออกประกาศเชิญชวนให้เอกชนร่วมลงทุนได้อย่างชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2018 10:40 am    Post subject: Reply with quote

แบงก์ลุยปล่อยกู้ 'รถไฟความเร็วสูง'!!

ออนไลน์เมื่อ 29 เมษายน 2561 -
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,361 วันที่ 29 เมษายน 2561 - 2 พฤษภาคม 2561

แบงก์ประกาศพร้อมปล่อยกู้! ออกแบงก์การันตี เอกชนประมูลไฮสปีดเทรน 2.2 แสนล้านบาท มั่นใจไม่กระทบสภาพคล่อง ... ไทยพาณิชย์ เผย ลูกค้าหลายรายแสดงความสนใจ ... ทีเอ็มบีชี้! เมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐ ดันอานิสงส์หนังสือค้ำประกันโต

น.ส.วิศาลศรี นิโลดม รองกรรมการผู้จัดการ ธุรกิจลูกค้ารายใหญ่ ธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ธนาคารอยู่ระหว่างพิจารณาการปล่อยกู้โครงการรถไฟความเร็วสูง วงเงินลงทุนรวม 2.24 แสนล้านบาท เพราะเป็นโครงการโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เชื่อว่าทุกธนาคารก็กำลังจับตาดูอยู่เช่นกัน แต่ขณะนี้ ยังไม่มีรายละเอียดออกมาเป็นรูปเป็นร่างชัดเจน แต่ก็ถือว่า เป็นเรื่องดีที่มีการประกาศความชัดเจนในการเดินหน้าโครงการ เพราะจะเป็นใบเบิกทางต่อการลงทุนของภาคเอกชน

ส่วนความกังวลในเรื่องของสภาพคล่องที่จะรองรับโครงการขนาดใหญ่นั้น ธนาคารมองว่า ปัจจุบัน สภาพคล่องในระบบมีอยู่ค่อนข้างสูง และโครงการลงทุนที่ออกมา ก็ไม่ได้ออกมาพร้อมกันทีเดียวในวงเงินก้อนใหญ่ แต่จะออกมาเป็นเฟส ๆ และทยอยทำเป็นโครงการ ๆ หากเป็นโครงการวงเงินลงทุนสูง ก็จะเป็นโครงการที่หลายธนาคารให้ความร่วมมือปล่อยกู้แบบ Syndicated Loan ไม่ได้รับแค่ 1-2 ธนาคาร จึงไม่น่ามีปัญหาในเรื่องของสภาพคล่อง

"เรากำลังดูอยู่ แต่ยังไม่ได้เคาะ แต่เชื่อว่าแบงก์อื่นก็จับตาเช่นกัน เพราะเป็นโครงการใหญ่และเป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทุกคนให้ความสนใจ แต่จะมีส่วนร่วมยังไง อาจจะต้องรอรายละเอียดให้ออกมาชัดเจนมากกว่านี้ก่อน"

นายวศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด Multi-Corporate Segment และผู้บริหารสูงสุด Corporate Segment ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า บริษัทต่าง ๆ ให้ความสนใจโครงการดังกล่าวจำนวนมาก ส่วนจะมีลูกค้าเข้ามากี่รายและเงื่อนไขการปล่อยกู้ ระยะเวลาโครงการ หรือ อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่เท่าไรนั้น ตอนนี้ยังต้องรอเงื่อนไขของ TOR ก่อน คาดว่าจะออกมาภายในเดือน พ.ค. นี้ ขณะนี้มีลูกค้าหลายรายแสดงความสนใจ และธนาคารไทยพาณิชย์เอง ก็พร้อมปล่อยสินเชื่อหรือสนับสนุนลูกค้าเข้าร่วมโครงการนี้อยู่แล้ว

นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB กล่าวว่า ยังเร็วไปที่จะให้คำตอบเกี่ยวกับการออกแบงก์การันตีในโครงการไฮสปีดเทรน เพราะต้องรอดูรายละเอียดต่าง ๆ เช่น ทีโออาร์ หรือ ลักษณะของการประมูล หรือ จะแบ่งเส้นทางกันอย่างไร แต่กรุงไทยยังให้น้ำหนักเป็นอันดับ 1 เกี่ยวกับการสนับสนุนผู้ประกอบการในการพัฒนาโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศอยู่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการส่วนใหญ่ก็เป็นฐานลูกค้าของกรุงไทย ไม่ว่าจะเป็น ทางด่วน หรือ มอเตอร์เวย์

นายเสนธิป ศรีไพพรรณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารลูกค้าธุรกิจ บมจ.ธนาคารทหารไทย หรือ ทีเอ็มบี กล่าวว่า ธนาคารพร้อมเข้าไปสนับสนุนสินเชื่อให้กับเอกชนที่จะเข้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อย่างเต็มที่ เพราะเป็นโครงการที่น่าสนใจ ซึ่งในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา จะเห็นว่าภาครัฐประกาศลงทุนในโครงการโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ และเริ่มมีโครงการบางโปรเจ็กต์ทยอยออกมา ทำให้ความต้องการหนังสือค้ำประกันก็เติบโตไปตามปริมาณธุรกรรมการลงทุน ส่วนสภาพคล่องของธนาคาร หรือ ของระบบสถาบันการเงิน ขณะนี้ ไม่มีปัญหา ยังคงมีเพียงพอต่อการปล่อยกู้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า กรณีที่จะร่วมกับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยองนั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจารายละเอียด แต่ยังไม่สรุป ส่วนการร่วมกับ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) นั้น ได้ร่วมกันมาตั้งแต่รถไฟสายสีชมพูและสายสีเหลืองแล้ว รถไฟความเร็วสูงโครงการนี้ก็เช่นกัน

การเจรจากับพันธมิตรบีทีเอส ไม่ได้เจาะจงกับ ปตท. เท่านั้น ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับอีกหลายราย เนื่องจากโครงการดังกล่าวนี้มีมูลค่าโครงการสูงมาก จึงต้องระดมหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ส่วนกรณี ปตท. นั้น เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพ เนื่องจาก ปตท. มีโครงการทางธุรกิจรูปแบบต่าง ๆ ในพื้นที่ภาคตะวันออกจำนวนมาก จึงน่าจะมีประชากรจำนวนมากในแต่ละสาขาธุรกิจ

"ประการสำคัญ ปตท. ยังมีเงินลงทุนจำนวนมาก อีกทั้งมีบุคลากรที่มีคุณภาพ คงจะนำเข้ามาช่วยงานได้ดี ยืนยันว่าการเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ เนื่องการการยื่นซองยังมีระยะเวลาอีกราว 4-5 เดือน จึงยังมีระยะเวลาการเจรจาและตัดสินใจร่วมกัน เช่นเดียวกับงานระบบอาณัติสัญญาณที่มีผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศ ก็จะต้องเจรจากับอีกหลายราย จึงจะต้องดูเรื่องข้อเสนอว่า รายไหนให้ข้อเสนอที่ดีกว่า ก่อนที่จะยื่นซองเอกสารประกวดราคาตามที่กำหนดไว้ในรายละเอียดของเอกสารประกวดราคา"

สำหรับกลุ่มทุนที่สนใจเข้าประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง ที่เริ่มมีความชัดเจนในขณะนี้ มี 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ได้แก่ การร่วมมือกันระหว่าง บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), BTS, บริษัท ซิโน-ไทยฯ และบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งฯ กลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มซีพี ร่วมกับ บริษัท ไชน่า เซาเธิร์น เรลเวย์ฯ จากประเทศจีน และกลุ่ม ITOCHU จากประเทศญี่ปุ่น กลุ่มสุดท้าย คือ บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) ร่วมมือกับบริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพฯ หรือ BEM ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ


Last edited by Wisarut on 02/05/2018 10:42 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2018 10:41 am    Post subject: Reply with quote

ความก้าวหน้ารถไฟไทยจีนตามที่ CCTV รายงาน
http://app.cctv.com/special/cbox/detail/index.html?guid=c4b6cd7fc2824e3490a1997b90170f70&mid=c4b6cd7fc2824e3490a1997b90170f70&from=timeline&isappinstalled=0
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/05/2018 10:01 am    Post subject: Reply with quote

ทางออกนอกตำรา : เปิดเค้กรถไฟฟ้า 3 สนามบิน ไฮไลต์ 'มักกะสัน-ศรีราชา'
ฐานเศรษฐกิจ 2 May 2018

Click on the image for full size

คุณคิดว่า ถ้าคิดจะลงทุน 2 แสน ล้านบาท ผลตอบแทนจะอยู่ที่เท่าไหร่ คุณคิดว่า ถ้าลงทุน 2 แสนล้าน บาทต้นทุนจะอยู่ที่เท่าไหร่คิดไม่ออกใช่มั้ยครับ

ผมชวนคิดชวนคุยในเรื่องนี้เพื่อ ที่จะบอกว่า อะไรที่ทําให้ทุนใหญ่อย่าง “กลุ่มปตท.-บีทีเอส-ซิโน-ไทย เอ็นจีเนีย ริ่ง” “กลุ่มช.การช่าง ที่จะจับมือกับญี่ปุ่น และยุโรป” “กลุ่มซีพี ที่จะจับมือกับกลุ่ม ไชน่าดอนสตรัคชั่นและแบงก์ของจีน” จึงสนใจร่วมชิงเค้กในโครงการนี้ที่ต้องใช้ เงินลงทุน 2 แสนล้านบาท

ความจริงเงิน 2 แสนล้านบาท ยากที่ประชาชนคนไทยจะจินตนาการถึง ปริมาณของเม็ดเงิน เพราะมีมูลค่าเกิน กว่าครึ่งหนึ่งของงบลงทุนของประเทศในแต่ละปี

ลองคิดดูว่า ถ้าบริษัททั่วไปกู้ยืม เงินมา 2 แสนล้านบาท แบงก์จะคิด ดอกเบี้ยเท่าใด ผมว่าเบาะๆ ต้องตก 6% เท่ากับว่าจะต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละ 12,000 ล้านบาท

ถ้ารัฐบาลให้สัมปทานการลงทุน ยาว 30-50 ปี เท่ากับว่า ถ้ารายได้ไม่เข้า ในระยะ 20-30 ปีแรก เท่ากับจะต้องมี ภาระดอกเบี้ย 240,000-360,000 ล้านบาท มากกว่าเงินลงทุนเข้าไปแล้ว

แต่ถ้าเป็นนักลงทุนรายใหญ่ บริษัทขนาดใหญ่ระดับนี้เขาจะมีต้นทุนดอกเบี้ย ที่นายแบงก์พร้อมจะให้กู้ยาว ๆ แบบนี้ตก ประมาณ 2.5-3% เท่ากับว่าต้องมีภาระ ดอกเบี้ยปีละ 5,000-6,000 ล้านบาท

ถ้ารัฐบาลให้สัมปทานการลงทุน ยาว 30-50 ปี เท่ากับว่า ถ้ารายได้ไม่เข้า ในระยะ 20-30 ปี เท่ากับว่าจะมีภาระ

การหาเงินมาจ่ายดอกเบี้ยประมาณ 100,000-120,000 ล้านบาท แล้วทําไมกลุ่มทุนเหล่านั้นจึง สนใจเข้าประมูลกันอย่างคึกคักคนอย่าง เรามองไม่เห็น แต่นักลงทุนมองเห็นแสงแห่งโอกาสครับ

เขารู้เหมือนที่เรารู้ว่า การลงทุน สร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่คิดราคาค่า ตัว 1,000-1,500 บาทนั้น ไม่รู้อีกกี่ปีจึง จะคุ้มทุน เพราะถ้าตัว 1,000-1,500 บาท นั้นหมายถึงว่า ถ้ามีผู้โดยสารปีละ 1 ล้าน คน จะมีรายได้ปีละ 1,500 ล้านบาท เอาคนละ 3 เที่ยว ก็ตก 4,500 ล้านบาท

ยังไม่พอจ่าย ดอกเบี้ยในแต่ละปี อะไรละที่ทําให้นายทุนใหญ่เหล่านี้ จึงสนใจลงทุนในโครงการรถไฟฟ้า ความเร็วสูงที่รู้อยู่ว่าขาดทุนในระยะต้น 20-30 ปี ก่อนที่จะคุ้มทุนในระยะหลัง โอกาสในการพัฒนาที่ดินครับ คือสิ่งที่นายทุนมองเห็น “ประตูทอง” ของการลงทุน ผมมีข้อมูลชุดหนึ่งที่ทําให้คุณผู้ อ่านได้เห็นภาพว่าในทีโออาร์รถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-มักกะสัน อู่ตะเภา) ระยะทาง 226 กม. มูลค่า 2 แสนล้านบาทนั้น แยกเป็นงานโยธา และระบบ 1.6 แสนล้านบาท

แบ่งเป็นเงินลงทุนพื้นที่มักกะสันและพื้นที่ ศรีราชาอีก 45,155 ล้านบาท โดยรัฐจะลงทุนด่า เวนคืน 3,787 ล้านบาท และสนับสนุนเงิน ลงทุนที่ไม่เกินค่างานโยธา 1.2 แสนล้าน บาท

ส่วนเอกชนเป็นผู้ลงทุนงานโยธา ติดตั้งระบบเดินรถ และซ่อมบํารุงตลอดอายุสัญญา พร้อมสิทธิพัฒนาพื้นที่รอบ 9 สถานี คือ ดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และอู่ตะเภา ในจํานวนนี้ให้รวมที่ดินมักกะสัน 140 ไร่ พื้นที่ศรีราชา 30 ไร่

เนื่องจากรัฐบาลกําหนดให้สถานี มักกะสันเป็นเกตเวย์เชื่อมพื้นที่ระเบียง เศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ทั้งยังได้ สิทธิการเดินรถและพัฒนาพื้นที่ 8 สถานี ที่จอดรถแอร์พอร์ตเรลลิงค์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) รวมในสัมปทานเดียวกันด้วย เพื่อรองรับผู้ใช้บริการ city line (รับ-ส่งระหว่างสถานี) ด้วย

อันว่าพื้นที่มักกะสัน 140 ไร่ นั้น มีการแบ่งพื้นที่ออกเป็น 4 โซน โซนเอ (A) ซึ่งเป็นส่วนธุรกิจการค้า 139.82 ไร่ประกอบด้วย สถานีเชื่อมสู่ท่าอากาศยาน โรงแรม ศูนย์ประชุม-สัมมนา ห้างสรรพสินค้าและอาคารจอดรถ

โซนบี (B) เป็นส่วนอาคารสํานักงาน 179.2 ไร่ ประกอบด้วย มักกะสัน ทาวเวอร์ ศูนย์ข้อมูลธุรกิจ อาคารสํานักงาน อุตสาหกรรมของรัฐ ธนาคาร

โซนซี(C) เป็นส่วนของพิพิธภัณฑ์ 151.0 ไร่ ประกอบด้วยส่วนที่อยู่อาศัย และสาธารณสุข ประกอบด้วยโรงพยาบาล ระดับนานาชาติ โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์ แสดงสินค้า

โซนดี(D) เป็นส่วนพิพิธภัณฑ์การ รถไฟฯ 38.6 ไร่ ประกอบด้วยพิพิธภัณฑ์ การรถไฟ ที่ทําการส่วนราชการ โดยโซน ดีจะถูกกําหนดให้มีพื้นที่สีเขียวหรือสวน สาธารณะไม่ต่ํากว่า 15 ไร่

ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเอกชน สามารถเปิดหน้าดินให้พื้นที่มักกะสันติด ถนนพระราม 9 ติดถนนอโศก ติดถนน เพชรบุรี ให้เป็นพื้นที่ศูนย์กลางด้านการ พาณิชย์ มูลค่าการค้า ราคาค่าเช่าที่ดิน และมูลค่าการค้าจะเป็นเท่าใด จากปัจจุบัน ที่เป็นที่ดินปิดอับพัฒนาไม่ได้...ผมจินตนาการ ได้ว่า มหาศาลครับ

ส่วนที่ศรีราชานั้น ตอนนี้ว่ากัน ว่าเป็นศูนย์กลางในการกระจายสินค้า เป็นแวร์เฮาส์ขนาดใหญ่มุ่งสู่ท่าเรือ แหลมฉบัง และปัจจุบันถูกแปรสภาพมา เป็น “โอซากา” เมืองไทย มีชาวญี่ปุ่นมา อยู่อาศัยกว่า 5,000 คน เข้าไปแล้ว
ว่ากันว่า แลนด์ลอร์ดรายใหญ่ ของเมืองไทยที่จะเข้าประมูลโครงการนี้ กว้านซื้อที่ดินมีที่ทางในบริเวณเหล่านั้น กว่า 1,000 ไร่ไว้ในมือแล้ว ได้โครงการไปกําไรทางธุรกิจและ โอกาสมา

................................
คอลัมน์ |ทางออกนอกตำรา หน้า 6 หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3362 หน้า 17 ระหว่างวันที่ 3-5 พ.ค.2561
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2018 3:20 pm    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” เผย “เจบิค” พร้อมหนุนเงินดอกเบี้ยต่ำสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 14:49 น.

“สมคิด” คุยเจบิคเร่งดันลงทุนในอีอีซี พร้อมหนุนเงินดอกเบี้ยต่ำสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หวังดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน


เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยผลการหารือกับ นายทะดะชิ มะเอะดะ กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) ว่า ได้หารือเกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่างๆ ในโครงการระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเจบิคพร้อมสนับสนุนทางการเงินดอกเบี้ยต่ำให้กับเอกชนไทย โดยกฎหมายผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ขณะนี้รอประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นจะประกาศกำหนดคุณสมบัติ (ทีโออาร์) เพื่อให้เอกชนรับทราบเพื่อตัดสินใจเสนอโครงการลงทุน ทั้งนี้โครงการดังกล่าวต้องประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจให้ครอบคลุมทั้งในระยะยาวและผลกำไรในระยะสั้น

นายสมคิดกล่าวว่า รัฐบาลไทยต้องการให้ญี่ปุ่นผลักดันโครงการอินโด-แปซิฟิก เชื่อมเส้นทางคมนาคมจากอินเดีย-เมียนมา ไทย-เวียดนาม-ญี่ปุ่น-ออสเตรเลีย ให้เห็นเป็นรูปธรรม เนื่องจากไทยตั้งอยู่จุดศูนย์กลางของโครงการดังกล่าว จึงต้องการให้ญี่ปุ่นออกแรงผลักดันมากขึ้น ทั้งนี้ กรรมการผู้อำนวยการเจบิค แจ้งว่าญี่ปุ่นพร้อมส่งผู้แทนระดับสูงมาเข้าร่วมในการประชุมสุดยอดผู้นำยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจอิรวดี-เจ้าพระยา-แม่โขง (ACMECS ) โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 15-16 มิถุนายน เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศในกลุ่ม CLMVT ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพราะการประชุมดังกล่าวจะมีการประกาศแผนแม่บทหารือเกี่ยวกับ 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.การเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในอนุภูมิภาค 2.การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และ 3.การพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม นอกจากนั้นในการประชุม High Level Joint Commission (HLJC) ครั้งที่ 4 ในเดือนกรกฎาคมนี้ ซึ่งไทยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ CPTPP จึงขอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษาผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมยา ตลอดจนช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และการลงทุนในระบบขนส่งทางรางเส้นทางอื่นๆ ในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลยังต้องการเร่งรัดการสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) จึงต้องเร่งรัดการแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการการบินไทย และประธานบอร์ดเพื่อเร่งเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉลังเฟส 3 เพื่อให้การลงทุนโครงการขนาดใหญ่คืบหน้า จะดึงความเชื่อมั่นการลงทุนจากนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่าในปัจจุบัน

ผอ.เจบิคพบนายกฯย้ำจับมือจีนหนุนลงทุนรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน-อีอีซี
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 11:11:

ผอ.เจบิค เข้าพบนายกฯยืนยันความร่วมมือและสนับสนุนลงทุนโครงการในอีอีซี ทั้งรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งโครงการอื่นโดยร่วมมือกับจีนเป็นครั้งแรกเพื่อประโยชน์ 3 ฝ่าย โดยไทยยังยืนยันท่าทีสนใจร่วม CPTPP อีกด้วย

วันนี้ (3 พ.ค.) นายทะดะชิ มะเอะดะ กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล

ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโท วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้ กรรมการผู้อำนวยการ JBIC รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ภายใต้ EEC เช่น โครงการระบบรางต่าง ๆ โดยเน้น triple win คือ ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งไทย ญี่ปุ่น และจีน โดยจะเป็นโครงการแรกที่ญี่ปุ่นและจีนจะทำงานร่วมกัน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่ทราบว่าญี่ปุ่นและจีนมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการแรก ซึ่งจะส่งผลดีต่อความร่วมมือในภูมิภาค

โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่ JBIC จะช่วยทำการศึกษา Smart City ใน EEC ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา EEC ในภาพรวม และขอให้ JBIC หารือกับกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการ EEC อย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อให้ทั้ง 2 โครงการมีความคืบหน้า และย้ำว่าไทยยินดีสนับสนุนภาคเอกชนญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ของ EEC เพิ่มเติม

กรรมการผู้อำนวยการ JBIC กล่าวว่า ญี่ปุ่นจะส่งผู้แทนระดับสูงมาเข้าร่วมในการประชุมสุดยอด ACMECS ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2561 ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังว่า ญี่ปุ่นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ CLMVT ในสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการประกาศแผนแม่บท ACMECS ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. การเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในอนุภูมิภาค 2. การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ACMECS และ 3. การพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม

นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้ JBIC แบ่งปันประสบการณ์และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับในโครงการต่าง ๆ ที่ JBIC มาร่วมลงทุน เนื่องจากปัจจุบันการประชาสัมพันธ์และการรับรู้ของภาคประชาชนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในทุกโครงการและการพัฒนาพื้นที่

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณที่ JBIC ที่ช่วยประสานงานการประชุม High Level Joint Commission (HLJC) ครั้งที่ 4 ในเดือนกรกฎาคม อีกทางหนึ่ง ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วม โดยไทยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ CPTPP โดยขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยศึกษาผลกระทบที่อาจมีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมยา ตลอดจนช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และการลงทุนในระบบขนส่งทางรางเส้นทางอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร



เจบิคพร้อมหนุนเอกชนสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน


เศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 12:00:52
ทำเนียบฯ 3 พ.ค. – เจบิคหารือรองนายกรัฐมนตรี พร้อมหนุนเอกชนสร้างรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน หวังดึงความเชื่อมั่นนักลงทุน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า การหารือกับนายทะดะชิ มะเอะดะ กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิค) เพื่อติดตามความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ในระเบียงเศรษฐกิจภาตะวันออก (อีอีซี) โดยเฉพาะการสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ทางเจบิคพร้อมสนับสนุนทางการเงินดอกเบี้ยต่ำให้กับเอกชนไทย ญี่ปุ่น และจีน ยุโรป หลังจากกฎมหมายอีอีซีผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แล้ว ขณะนี้รอประกาศบังคับใช้ในราชกิจจานุเบกษา จากนั้นร่างทีโออาร์จะประกาศออกมาให้เอกชนได้รับทราบ เพื่อตัดสินใจเสนอโครงการลงทุน ยอมรับว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงต้องประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจระยะยาว หากจะหวังผลกำไรระยะสั้นต้องประเมินให้ครอบคลุม

นอกจากนี้ รัฐบาลยังต้องการให้ญี่ปุ่นผลักดันโครงการอินโด-แปซิฟิก เพื่อเชื่อมเส้นทางคมนาคมจากอินเดีย-เมียนมาร์ ไทย-เวียดนาม-ญี่ปุ่น-ออสเตรเลีย จึงต้องผลักดันโครงการให้เห็นเป็นรูปธรรม ขณะที่ไทยอยู่จุดศูนย์กลางโครงการดังกล่าว จึงต้องการให้ญี่ปุ่นออกแรงผลักดันมากขึ้น กรรมการผู้อำนวยการ เจบิคได้แจ้งว่าญี่ปุ่นพร้อมส่งผู้แทนระดับสูงเข้าร่วมประชุมสุดยอด ACMECS โดยไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2561 เพื่อมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ CLMVT และเป็นประโยชน์ต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง เพราะการประชุมดังกล่าวจะมีการประกาศแผนแม่บท ACMECS หารือเกี่ยวกับ 3 เสาหลัก ได้แก่ 1.การเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในอนุภูมิภาค 2.การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ACMECS และ 3.การพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม

และยังเตรียมจัดการประชุม High Level Joint Commission (HLJC) ครั้งที่ 4 ในเดือนกรกฎาคม เพราะไทยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ CPTPP เพื่อขอให้ญี่ปุ่นช่วยศึกษาผลกระทบต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมยา ตลอดจนช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และการลงทุนในระบบขนส่งทางรางเส้นทางอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร รัฐบาลยังต้องการเร่งรัดการสร้างศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) จึงต้องเร่งรัดการแต่งตั้งกรรมการผู้อำนวยการการบินไทยและประธานบอร์ด เพื่อเร่งเดินหน้าโครงการขนาดใหญ่ และการพัฒนาท่าเรือแหลมฉลังเฟส 3 เพื่อการลงทุนโครงการขนาดใหญ่คืบหน้าจะดึงความเชื่อมั่นการลงทุนกับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศได้มากกว่าในปัจจุบัน.-สำนัข่าวไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2018 12:00 pm    Post subject: Reply with quote

“บิ๊กตู่” ยิ้มแก้มปริ ญี่ปุ่น-จีน สนใจลงทุนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน-Smart city ใน EEC

วันพฤหัสบดีที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 - 11:36 น.

วันนี้ (3 พ.ค. 2561) เวลา 09.30 น. นายทะดะชิ มะเอะดะ กรรมการผู้อำนวยการและหัวหน้าเจ้าหน้าที่บริหารธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ณ ห้องสีม่วง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล ภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ พลโทวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญการหารือ ดังนี้

กรรมการผู้อำนวยการ JBIC รายงานเกี่ยวกับความคืบหน้าในการผลักดันโครงการต่าง ๆ ภายใต้ EEC เช่น โครงการระบบรางต่าง ๆ โดยเน้น triple win คือ ได้รับประโยชน์ร่วมกัน ทั้งไทย ญี่ปุ่น และจีน โดยจะเป็นโครงการแรกที่ญี่ปุ่นและจีนจะทำงานร่วมกัน และการพัฒนาอุตสาหกรรมเป้าหมายของไทย ซึ่งนายกรัฐมนตรียินดีที่ทราบว่าญี่ปุ่นและจีนมีความมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานในประเทศที่ 3 โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการแรก ซึ่งจะส่งผลดีต่อความร่วมมือในภูมิภาค




โอกาสนี้นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณที่ JBIC จะช่วยทำการศึกษา Smart City ใน EEC ด้วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนา EEC ในภาพรวม และขอให้ JBIC หารือกับกระทรวงคมนาคม และเลขาธิการ EEC อย่างใกล้ชิดต่อไปเพื่อให้ทั้ง 2 โครงการมีความคืบหน้า และย้ำว่าไทยยินดีสนับสนุนภาคเอกชนญี่ปุ่นให้เข้ามามีส่วนร่วมในโครงการต่าง ๆ ของ EEC เพิ่มเติม

กรรมการผู้อำนวยการ JBIC กล่าวว่า ญี่ปุ่นจะส่งผู้แทนระดับสูงมาเข้าร่วมในการประชุมสุดยอด ACMECS ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพในวันที่ 15-16 มิถุนายน 2561 ซึ่งนายกรัฐมนตรีหวังว่า ญี่ปุ่นจะเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ CLMVT ในสาขาต่าง ๆ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่ออนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง โดยในการประชุมดังกล่าวจะมีการประกาศแผนแม่บท ACMECS ซึ่งประกอบด้วย 3 เสาหลัก ได้แก่ 1. การเสริมสร้างความเชื่อมโยงแบบไร้รอยต่อในอนุภูมิภาค 2. การสอดประสานด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการระดมทุนเพื่อจัดตั้งกองทุนเพื่อการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ACMECS และ 3. การพัฒนาภูมิภาคในลักษณะยั่งยืนและมีนวัตกรรม
นายกรัฐมนตรีได้ย้ำให้ JBIC แบ่งปันประสบการณ์และสร้างความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับประโยชน์ที่จะได้รับในโครงการต่าง ๆ ที่ JBIC มาร่วมลงทุน เนื่องจากปัจจุบันการประชาสัมพันธ์และการรับรู้ของภาคประชาชนมีความสำคัญต่อความสำเร็จในทุกโครงการและการพัฒนาพื้นที่

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีได้แสดงความขอบคุณที่ JBIC ที่ช่วยประสานงานการประชุม High Level Joint Commission (HLJC) ครั้งที่ 4 ในเดือนกรกฎาคม อีกทางหนึ่ง ซึ่งนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วม โดยไทยมีความสนใจที่จะศึกษาเกี่ยวกับ CPTPP โดยขอให้ทางญี่ปุ่นช่วยศึกษาผลกระทบที่อาจมีต่อประเทศไทย โดยเฉพาะภาคการเกษตรและอุตสาหกรรมยา ตลอดจนช่วยติดตามความคืบหน้าของโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง และการลงทุนในระบบขนส่งทางรางเส้นทางอื่น ๆ ในกรุงเทพมหานคร


__________________
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/05/2018 12:23 pm    Post subject: Reply with quote


ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ 1/5/61 : เช็กรถไฟฟ้า 3 สนามบินไฮไลท์ “มักกะสัน-ศรีราชา” (1/2)
https://www.youtube.com/watch?v=HpstuaFCKa4

Mongwin wrote:
ทางออกนอกตำรา : เปิดเค้กรถไฟฟ้า 3 สนามบิน ไฮไลต์ 'มักกะสัน-ศรีราชา'
ฐานเศรษฐกิจ 2 May 2018
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/05/2018 4:45 am    Post subject: Reply with quote

รมว.คค.ตรวจรถไฟไทย-จีนช่วงกรุงเทพ-หนองคาย
INN News 5 พฤษภาคม 2018

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สถานีกลางดง-ปางอโศก เชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการตรวจเยี่ยมโครงการก่อสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศก สำหรับโครงการก่อสร้างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 กลางดง – ปางอโศก เริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 2 มีนาคม 2561 ปัจจุบันมีความคืบหน้าร้อยละ 7.320 ซึ่งกรมทางหลวง ได้ดำเนินการปรับพื้นที่ ขุดดินทำทางระบายน้ำและกำแพงกันดิน และทดสอบการรับน้ำหนักของพื้นดิน (k30) ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุสำหรับการก่อสร้าง

อย่างไรก็ตาม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ ได้มอบให้กรมทางหลวงพิจารณาการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมไปถึงสถานีรถไฟเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางของประชาชน และตรวจเยี่ยมการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สถานีรถไฟกลางดง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44532
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/05/2018 5:12 pm    Post subject: Reply with quote

ต.ค.นี้คันทางรถไฟไทย-จีนเสร็จแน่
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 15.16 น.

กรมทางหลวงยัน ต.ค.นี้คันทางรถไฟไทย-จีนเสร็จแน่ พร้อมเร่งแบบอุโมงค์แก้วครอบมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราช ผ่านคุกคลองไผ่ ลุ้นงบประมาณเพิ่ม

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง(ทล.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่5 พ.ค. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคมได้ลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน)ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนหรือรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ -หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) ช่วงที่ 1 จากสถานีกลางดง – สถานีปางอโศก จ. นครราชสีมา ระหว่าง กม.ที่ 150+500 - กม.ที่ 154+000 ระยะทาง 3.5 กม. ขณะนี้คืบหน้าไปแล้ว 8% โดยนายอาคมได้สอบถามปัญหาการก่อสร้างและการทำงานร่วมกับวิศวกรจีนและบริษัทที่ปรึกษา ซึ่งไม่มีปัญหาแต่อย่างใด

นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า ทล.ดำเนินการก่อสร้างตามแผนอย่างเต็มที่หลังจากได้รับงบประมาณก่อสร้างมา30% หรือประมาณ 112 ล้านบาท จากที่ตั้งไปทั้งหมด425ล้านบาท ส่วนที่เหลือการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จะทยอยจ่ายภายหลัง สำหรับการก่อสร้างคาดว่าอีก4เดือนหรือประมาณเดือนส.ค.จะก่อสร้างคันดินแล้วเสร็จ และอีก2เดือนต่อไปจะเป็นการก่อสร้างท่อระบายน้ำ ส่วนที่ทล.รับผิดชอบก่อสร้างคันทางของรางรถไฟจะแล้วเสร็จทั้งหมดในเดือนต.ค.นี้ตามแผนที่วางไว้แน่นอนเพื่อส่งมอบให้รฟท.ไปก่อสร้างในส่วนของงานวางรางต่อไป

นายธานินทร์ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้นายอาคมยังตรวจโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชระยะทาง 196 กม. คืบหน้าแล้ว38%จากแผนที่กำหนดไว้31% เร็วกว่าแผนอยู่7% กรมทางหลวงได้รายงานปัญหาการดำเนินการต่างๆ โดยเฉพาะบริเวณ ตอน 35 ช่วงผ่านเรือนจำคลองไผ่ ต.คลองไผ่ อ. สีคิ้ว จ. นครราชสีมาซึ่งมีเขตทางติดกับเรือนจำ และเป็นการก่อสร้างทางยกระดับ ทล.อยู่ระหว่างเร่งออกแบบเป็นอุโมงค์แก้วยกระดับระยะทางประมาณ1กม. ป้องกันไม่ให้มีการโยนวัสดุหรือสิ่งแปลกปลอมจากผู้ใช้ทางเข้าเรือนจำ คาดว่าจะต้องใช้งบประมาณก่อสร้าง 200ล้านบาท อยู่ในกรอบงบประมาณเดิมไม่ต้อของบเพิ่ม

ยกเว้นเรื่องเงินเยียวยาชาวบ้านที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนในโครงการที่ต้องขอเพิ่ม ซึ่งรมว.คมนาคมได้สั่งให้กรมทางหลวงรวบรวมปัญหาเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.)เห็นชอบต่อไป สำหรับกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จยังเป็นไปตามในปี62 และเปิดให้บริการปี 63.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/05/2018 12:13 pm    Post subject: Reply with quote

บิ๊กดีลชิงเมกะเวิลด์ EEC BTS จูงไทย-ดูไบลุยไฮสปีด 2 แสนล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
จันทร์ที่ 7 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:09 น.


โครงการเมกะเวิลด์ “รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” มูลค่ากว่า 2 แสนล้านบาท กำลังเป็นที่จับจ้องของนักลงทุนทั่วโลก พลันที่รัฐบาล คสช.ประกาศจะเปิดประมูลแบบนานาชาติ

ถึงขณะนี้โฉมหน้าผู้ท้าชิงยังไม่เปิดเผย แต่ในทางลับบิ๊กธุรกิจกำลังเจรจาผนึกพันธมิตรกันฝุ่นตลบ ทั้งนักลงทุนไทยและเทศ โดยเฉพาะ 2 มหาอำนาจแห่งเอเชียอย่าง “จีน-ญี่ปุ่น” ก็รุกไทยหนักไม่แพ้กัน

ว่ากันว่าฉากสุดท้ายน่าจะเห็นดีลใหญ่ระดับบรรลือโลก เพราะเป็นงานใหญ่ระดับชาติ อาจจะเห็นการรวมตัวเฉพาะกิจของบิ๊กธุรกิจไทยทั้งรถไฟฟ้า รับเหมา อสังหาฯ และค้าปลีก ลงขันผลักดันโครงการเพื่อชาติ

เมื่อเนมชื่อบริษัทใหญ่ในประเทศไทยมีศักยภาพจะลงทุนไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินได้ มีไม่กี่ราย


กำลังรุกหนัก มี “ปตท.” ยักษ์ธุรกิจด้านพลังงาน “ซี.พี.” ของเจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” และ “บีทีเอส” ธุรกิจรถไฟฟ้าใต้ปีก “คีรี กาญจพาสน์”

ปัจจุบันยังไม่เป็นที่สะเด็ดน้ำ ใครจะผนึกกำลังกับใคร แต่ที่แน่ ๆ “บีทีเอส” ผนึกเหนียวแน่นกับ “บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น” ธุรกิจรับเหมาของตระกูลชาญวีรกูลและ “บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง” จะเข้าร่วมประมูลงานในนามกิจการร่วมค้า BSR ส่วนจะมีรายที่ 3-4 เป็น “ปตท.หรือ ซี.พี.” อยู่ในบัญชีด้วยหรือไม่ การเจรจายังไม่เป็นที่ยุติ

“คีรี กาญจนพาสน์” ประธานบริหาร บมจ.บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ กล่าวว่า หลังกลุ่ม BSR ร่วมกันลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท ก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) มีความพร้อมจะเข้าประมูลทุกโครงการด้านระบบรางทั้งรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

“จริง ๆ ผมก็ไม่รู้ว่าใครจะลงทุนบ้าง แต่เป็นธุรกิจหลักของเรา ยังไงต้องเข้าร่วมทุกโครงการ พันธมิตรเดิมเราหลังร่วมงานกันก็มีความสุข จะร่วมกันต่อ ส่วนจะมีใครมาเพิ่มอีก เรากำลังคุยกัน ไม่ว่า ปตท.หรือรายอื่น ๆ ยังไม่จบ เพราะเงินลงทุนเป็นแสน ๆ ล้าน กำหนดยากและรอดูทีโออาร์ด้วย”

และไม่ใช่แค่ “ปตท.-ซิโน-ไทยฯ-ราชบุรีโฮลดิ้ง” ล่าสุดเจ้าพ่อบีทีเอสกำลังจะดึง “ดีเวลอปเปอร์อสังหาฯ” จากดูไบมาร่วมลงทุนด้วย หลังมองเห็นช่องทางจาก “บมจ.ยูซิตี้” ผู้พัฒนาอสังหาฯในเครือ จับมือ “นาคีล” ไปลงทุนโรงแรมที่ดูไบ

“เราพร้อมทั้งเงินลงทุนและพันธมิตร ไม่จำเป็นต้องร่วมกับต่างชาติก็ได้ อาจจะเป็นบริษัทไทยด้วยกันรวมตัวกันลงทุนและนำเทคโนโลยีจากต่างชาติเข้ามาก็ได้ ถามว่าจำเป็นไหมต้องมีต่างชาติด้วย ก็จำเป็นไม่มาก เราก็มีพันธมิตรจากดูไบที่จะชวนมาลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ในไฮสปีดเทรนด้วย”

ด้าน “ปตท.” หลังซุ่มเจรจากับ “บีทีเอส”มานานกว่า 3 เดือน ล่าสุดคณะกรรมการบริษัททุบโต๊ะอนุมัติให้ 2 บริษัทลูก คือ บจ.เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ ดำเนินธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และ บมจ.โกลบอล เพาเวอร์ ซินเนอร์ยี่ ดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้า ซื้อซองประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนหลายด้าน เช่น อสังหาฯ ไฟฟ้า รถไฟฟ้า

ขณะที่ “ซี.พี.” ถึงจะมีเงินทุนเต็มหน้าตัก มีบริษัทในเครือทำธุรกิจอสังหาฯ และพันธมิตรจากจีนมาหนุน แต่ไม่มีความถนัดด้านรถไฟฟ้า จึงต้องเฟ้นหาพันธมิตรมาเติมเต็มให้ “ซี.พี.” คว้าโครงการใหญ๋มาครองให้สำเร็จ หลังเจรจากับ “ปตท.” ไม่ลงตัว ล่าสุด “ซี.พี.” เปิดเกมรุกบุกเจรจากับกลุ่ม BSR เป็นพันธมิตร แต่ยังไม่สรุป

“ซี.พี.มีความสัมพันธ์อันดีกับซิโน-ไทยฯ หนึ่งในพันธมิตรของบีทีเอส เพราะก่อสร้างงานอาคารให้หลายแห่ง แต่ยังไม่สรุปจะร่วมกันหรือไม่ ต้องดูหลาย ๆ ปัจจัย เช่น ใครจะเป็นแกนนำตรงนี้สำคัญ เพราะทั้ง ซี.พี.และบีทีเอสก็ใหญ่ด้วยกันทั้งคู่ รวมถึงต้องดูทีโออาร์ที่จะออกมาด้วย” รายงานข่าวกล่าว

ฝั่ง “ช.การช่าง” ทาง “สุภามาส ตรีวิศวเวทย์” ย้ำชัดพร้อมเข้าประมูล โดยจะร่วมกับบริษัทในเครือ เช่น บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้า (BEM) ส่วนจะมีพันธมิตรใหม่เพิ่มหรือไม่ ขอดูทีโออาร์ก่อน

ด้านพี่ใหญ่ของวงการรับเหมา “อิตาเลียนไทยฯ” ยังไม่รู้จะฝ่าวิกฤตคดีเสือดำ จนสามารถเข้าสนามประมูลได้หรือไม่ เพราะถึงบิ๊กบอส “เปรมชัย กรรณสูต” จะย้ำชัดไม่ส่งผลกระทบต่องานโครงการต่าง ๆ แต่ว่ากันว่าขณะนี้มีภาคเอกชนหลายรายตั้งท่าจะบอยคอตยักษ์รับเหมารายนี้บ้างแล้ว

ใครจะผนึกกับใคร ภาพคงจะชัดมากขึ้นหลังทีโออาร์คลอดปลายเดือน พ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 266, 267, 268 ... 545, 546, 547  Next
Page 267 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©