Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180509
ทั้งหมด:13491743
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 268, 269, 270 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 22/05/2018 10:39 am    Post subject: Reply with quote

Wall Street Journal พูดถึงรถไฟความไวสูงไปโคราช ว่า เป็นรถไฟที่ ชาติอื่นไม่ต้องการนอกจากจีน และ ยังพูดว่าไทยทำทุกอย่างที่จะชะลอโครงการเพราะรู้ว่าสายนี้จีนอยากได้นักหนาจะยกเลิกก็จะน่าเกลียดไป
https://www.wsj.com/articles/railroaded-the-chinese-high-speed-train-network-no-one-else-really-wants-1526644804
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2018 10:40 am    Post subject: Reply with quote

มิ.ย.ประมูลไฮสปีดไทย-จีนช่วง”สีคิ้ว-กุดจิก” 5 พันล้าน

วันที่ 22 Mพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 23:40 น.



คืบหน้า 7% - พื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแรกจากสถานีกลางดง-ปางอโศกที่กรมทางหลวงเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง ด้วยวงเงิน 425 ล้านบาท กำลังเร่งเดินหน้าโครงการให้เสร็จในเดือน ส.ค.นี้

ปัญหาเวนคืนที่ดินกระทบชิ่งกดปุ่มไฮสปีดเทรนไทย-จีน “กรุงเทพฯ-โคราช” เปิดประมูล 14 สัญญาไม่เสร็จปีนี้ ส่อยกขบวนไปปีหน้า ดีเดย์ มิ.ย.ยื่นซองช่วงที่ 2 จากสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 5 พันล้าน เผยงานอุโมงค์ช่วงลำตะคองต้นทุนก่อสร้างพุ่งแตะ 1 หมื่นล้าน กรมทางหลวงเร่งถมคันดินช่วงกลางดง-ปางอโศก ให้เสร็จ ส.ค.นี้

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามแผนของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. หรือรถไฟไทย-จีน วงเงินลงทุน 179,412 ล้านบาท ให้แล็วเสร็จภายในปี 2561 อาจจะไม่สามารถดำเนินการได้ทั้งหมด เนื่องจากบางพื้นที่ติดปัญหาเวนคืนที่ดิน รวมถึงต้องรอแบบรายละเอียดที่ไทยร่วมกับทางจีนช่วยกันออกแบบด้วย ทำให้ไทม์ไลน์การเปิดประมูลจะขยับไปจากแผนเดิมบ้างเล็กน้อย

“ดูภาพรวมโครงการแล้ว งบประมาณก่อสร้างอาจจะปรับเพิ่มขึ้นเล็กน้อย เพราะมีการปรับแบบรายละเอียดให้สอดรับกับสภาพพื้นที่ แต่ก็จะพยายามไม่ให้เกินจากกรอบวงเงิน 179,412 ล้านบาท ซึ่งงานโยธามีค่าก่อสร้าง 122,593 ล้านบาท แบ่งประมูล 14 สัญญา เริ่มดำเนินการแล้ว 1 สัญญา จะเหลือ 13 สัญญา”


แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า งานช่วงที่ 2 สร้างจากสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. จากเดิมจะเปิดประมูลภายในเดือน พ.ค.นี้ จะขยับเป็นปลายเดือน มิ.ย. เนื่องจากยังตรวจแบบรายละเอียดที่ทางจีนส่งให้ไม่แล้วเสร็จ จากนั้นต้องใช้เวลา 1 เดือนในการจัดทำราคากลาง คาดว่าจะใช้เงินก่อสร้างช่วงนี้ประมาณ 5,000 ล้านบาท มีเนื้องาน 3 ส่วน คือ สร้างคันทางรถไฟ โครงสร้างทางยกระดับและอาคารซ่อมบำรุง

“งานช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. จากกลางดง-ปางอโศก วงเงิน 425 ล้านบาท ทางกรมทางหลวงกำลังเร่งมือก่อสร้างคันดิน หลังเริ่มดำเนินโครงการเมื่อวันที่ 2 มี.ค. 2561 ปัจจุบันมีความคืบหน้า 7.32% ซึ่งกรมทางหลวงได้ปรับพื้นที่ขุดดินทำทางระบายน้ำและกำแพงกันดิน และทดสอบการรับน้ำหนักของพื้นดิน และอยู่ระหว่างการจัดซื้อจัดจ้างวัสดุสำหรับการก่อสร้าง คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือน ส.ค.-ก.ย.นี้ จะพอดีกับที่งานช่วงที่ 2 ได้ผู้รับเหมาก่อสร้าง ทำให้งานก่อสร้างต่อเนื่องกัน”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ส่วนช่วงที่ 3 จากแก่งคอย-บันไดม้า-โคกกรวด-ลำตะคอง-โคราช ระยะทาง 119.5 กม. คาดว่าจะใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 57,905.02 ล้านบาท กำลังตรวจแบบก่อสร้างที่ทางจีนส่งให้ แบ่งประมูล 5 สัญญา จะเปิดประมูลภายในเดือน ก.ค.-ส.ค.นี้ ในนี้จะมีงานอุโมงค์ 1 สัญญา สร้าง 2 ช่วง ค่าก่อสร้าง 10,000 ล้านบาท สร้างจากมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทางประมาณ 15 กม.

“งานช่วงที่ 3 จะแยกงานอุโมงค์ออกมาเป็นอีก 1 สัญญา เนื่องจากเป็นงานก่อสร้างใช้เทคนิคเฉพาะ มีการปรับแบบเล็กน้อยหลังจากจีนเข้าไปสำรวจพื้นที่ช่วงลำตะคอง พบว่าอาจจะเกิดดินสไลด์ได้ ทำให้ต้องขุดอุโมงค์ให้ลึกลงไปกว่าเดิมอีกประมาณ 10-20 เมตร ทำให้มีค่าก่อสร้างเพิ่มขึ้นจากเดิม 9,000 กว่าล้านบาทเป็น 10,000 กว่าล้านบาท อาจจะส่งผลให้เงินลงทุนโครงการเพิ่มขึ้นด้วย”

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับช่วงที่ 4 จากบางซื่อ-ดอนเมือง-นวนคร-บ้านโพธิ์-พระแก้ว-สระบุรี-แก่งคอย-เชียงรากน้อย ระยะทาง 119 กม. คาดว่าจะใช้ค่าก่อสร้างประมาณ 58,932.79 ล้านบาท แบ่งประมูล 6 สัญญา มีงานก่อสร้างอุโมงค์ 1 แห่งช่วงผาเสด็จ-หินลับ ระยะทางไม่ถึง 1 กม. ซึ่งช่วงนี้ยังต้องรอดูการสำรวจพื้นที่จริงว่ามีติดเรื่องการเวนคืนที่ดินหรือไม่ หากติดก็อาจจะทำให้การประมูลล่าช้าออกไป ตามแผนเดิมฝ่ายจีนจะส่งร่างแบบรายละเอียดเดือน มิ.ย.นี้ เพื่อให้ไทยตรวจสอบ และเริ่มประกวดราคาเดือน ก.ย. 2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 23/05/2018 6:22 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐบาลเตรียมขายซองโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน24พ.ค.นี้

วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 - 17:18 น.


วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวในงานสัมมนา “GAME CHANGER เกมใหม่ เปลี่ยนอนาคต” จัดโดย “หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ในวันพรุ่งนี้ (24 พ.ค.2561) รัฐบาลเตรียมขายซองเพื่อให้นักลงทุนที่สนใจในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ซึ่งจะทำให้รู้กรอบของ TOR ชัดเจนขึ้น โดยสัดส่วนการถือหุ้นจะยึดตามกฎหมายไทย และพิจารณาตามรายโครงการ

ก่อนหน้านี้นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภายในเดือน พ.ค.นี้จะออกประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั่วโลกเข้าร่วมประมูล PPP net cost 50 ปี รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท จากนั้นภายในเดือน มิ.ย.จะขายเอกสารประกวดราคาและเปิดยื่นซองประมูลภายในเดือน พ.ย.นี้ คาดว่าจะได้ผู้ชนะอย่างเร็วปลายปีนี้ หรืออย่างช้าต้นปี 2562 เพราะการเจรจาอาจจะใช้เวลานาน เนื่องจากเป็นโครงการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนที่เป็นโครงการขนาดใหญ่และใช้เงินลงทุนสูง


ขณะที่นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวย้ำว่า จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนร่วมประมูลให้ได้ภายในเดือน พ.ค.นี้อย่างแน่นอน และบอร์ดได้เตรียมการชี้แจงรายละเอียด พระราชบัญญัติเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก พ.ศ. ๒๕๖๑ (โครงการการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษ ภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor) หรือพ.ร.บ.อีอีซี ให้กับทูตทั่วโลกได้รับทราบด้วย

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับความเคลื่อนไหวของกลุ่มทุนทั้งในและต่างประเทศที่สนใจจะร่วมประมูลในครั้งนี้ มีการจับมือเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกันไว้อย่างไม่เป็นทางการ โดยกลุ่มที่เคยแสดงความจำนงจะร่วมเป็นกิจการร่วมค้า คือ กลุ่มบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กับบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) และมีการทาบทามกลุ่มพันธมิตรจากจีน รวมถึงกลุ่มอิโตชูจากญี่ปุ่นมาร่วมลงทุนด้วย

//--------------------------

“อุตตม” เผยรัฐเตรียมชี้แจง TOR รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินพรุ่งนี้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 23 พฤษภาคม 2561 - 15:15:
ปรับปรุง: 23 พฤษภาคม 2561 - 15:21:




“อุตตม” เผยรัฐบาลเตรียมเปิดชี้แจง TOR โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินพรุ่งนี้ (24 พ.ค.) พร้อมเปิดรับฟังความคิดเห็นเอกชน คาดประกาศรายชื่อผู้ชนะประมูล พ.ย.นี้ มั่นใจทุกอย่างจะเป็นไปตามกรอบที่วางไว้ ยันเอกชนสนใจลงทุนเพียบ สัดส่วนการลงทุนต้องยึดตามกฎหมายไทย ปตท.-กลุ่มราชบุรีฯ พร้อมลงแข่ง

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า วันพรุ่งนี้ (24 พ.ค.) กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงคมนาคม สำนักงานเพื่อการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกรศ.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เตรียมเปิดชี้แจงรายละเอียดกรอบทีโออาร์ (TOR) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งได้จัดทำร่างแล้วเสร็จหลังจากที่คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) รับทราบสาระสำคัญไปก่อนหน้านี้เพื่อเชิญชวนให้เอกชนเข้ามาลงทุน

“เราเตรียมเปิดชี้แจงร่างทีโออาร์เกี่ยวกับเงื่อนไขการให้เอกชนร่วมลงทุน เพื่อเปิดเผยหลักเกณฑ์ กรอบเวลาการเปิดขายซองประกวดราคา ยืนยันว่าสัดส่วนของการลงทุนยังเป็นไปตามกฎหมายไทย ด้วยการกำหนดให้บริษัทเอกชนสัญชาติไทยถือหุ้นใหญ่สัดส่วน 51% หากลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ คาดว่าเอกชนจะเข้าใจแผนการลงทุน เพราะมีทั้งการลงทุนด้านระบบรางเชื่อมจีน ญี่ปุ่น เข้ารวมกลุ่มเป็นบริษัทร่วมลงทุนเข้าประกวดราคา เนื่องจากเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ จากนั้นก็จะเปิดรับฟังความเห็นจากเอกชน (Market Sounding)” นายอุตตมกล่าว

ปัจจุบันมีนักลงทุนหลายรายสนใจเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการ หลังจากเปิดทีโออาร์จะให้เวลา 4 เดือนแก่ผู้ที่สนใจ เพื่อไปทำข้อเสนอโครงการแล้วยื่นข้อเสนอกลับมาคณะกรรมการคัดเลือกจะพิจารณาข้อเสนอและเลือกผู้ชนะ โดยจะใช้เวลาเจรจาอีกประมาณ 1 เดือน จากนั้นจะรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีรับทราบ จึงคาดว่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 5 เดือน เพื่อประกาศรายชื่อผู้ชนะการประมูลประมาณเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งทุกอย่างจะเป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้

นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท. กล่าวว่า ในอดีตโครงการรถไฟความเร็วสูงคงจะมีแต่นักลงทุนต่างชาติไม่กี่รายที่จะเข้ามาดำเนินการ แต่รัฐมีนโยบายที่จะให้บริษัทไทยซึ่งรวมถึง ปตท.เข้าไปมีส่วนในการร่วมลงทุนในโครงการนี้และสอดรับกับนโยบายของ ปตท.ที่วางไว้

นายกิจจา ศรีพัฑฒางกุระ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากร่วมกับกลุ่มบีทีเอสประมูลสร้างรถไฟฟ้าสีเหลืองและสีชมพู ขณะนี้ได้เตรียมเสนอประกวดราคาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินด้วยเช่นกัน แต่ต้องการรับทราบรายละเอียดทีโออาร์ให้ชัดเจน เพราะหากลงทุนทั้งระบบโยธา ระบบราง บริหารโครงการลงทุนอสังหาริมทรัพย์สถานีมักกะสัน นับเป็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ต้องศึกษาอย่างรอบคอบ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2018 1:23 pm    Post subject: Reply with quote

“สมคิด” มั่นใจเอกชนสนใจทีโออาร์ไฮสปีดเทรนอีอีซี ชี้ “อยู่ที่ใครจะอยู่กับใคร” แค่นั้น
23 พฤษภาคม 2561


- 23 พ.ค. 61 - นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงกรณีที่พรุ่งนี้ (24 พ.ค.) จะมีการเปิดทีโออาร์โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ว่า ไม่ทราบว่าจะมีเอกชนสนใจมายื่นซองกี่ราย แต่คิดว่าน่าจะมีพอสมควร

“ข่าวมันออกไปนานแล้ว เขาคงคิดกันแล้ว มันก็อยู่ที่ว่าใครจะอยู่กับใคร ใครจะแข่งกับใครเท่านั้นเอง” นายสมคิด กล่าว

“แสนสิริ-โตคิว”ตอกย้ำความสำเร็จโปรเจ็กต์ร่วมทุนลุยเพิ่ม5พันล้าน เอกมัย-สุขุมวิท50สนไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
วันที่ 23 พฤษภาคม 2561- 12:48 น.

นายอุทัย อุทัยแสงสุข ประธานผู้บริหารสายงานปฏิบัติการ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากความร่วมมือระหว่างแสนสิริและบริษัท โตคิว คอร์ปอเรชั่น จำกัด ประเทศญี่ปุ่น ได้จับมือดำเนินธุรกิจร่วมกันในปีที่ผ่านมา พัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย Big Project โครงการแรก ในชื่อ “taka HAUS” (ทากะ เฮาส์) ทำเลสุขุมวิท 77 มูลค่าโครงการประมาณ 2,000 ล้านบาท ซึ่งประสบความสำเร็จ ได้รับการตอบรับที่ดีมากจากกลุ่มลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติ รวมถึงญี่ปุ่นตั้งแต่เปิดพรีเซลล์โครงการ ส่งผลให้มียอดขายแล้วถึง 95% จ่อคิวปิดการขายโครงการเร็วๆ นี้

สำหรับแผนธุรกิจในปีนี้ แสนสิริ และโตคิว ได้ร่วมกัน เปิดตัว 2 โครงการคอนโดมิเนียมภายใต้แนวคิดเติมเต็มการอยู่อาศัยสมบูรณ์แบบ Complete your Living Experience และเน้นการสร้าง Beautiful Community จากเทรนด์การใช้ชีวิตยุคใหม่ของญี่ปุ่น ผสานความเชี่ยวชาญในการพัฒนาโครงการและเข้าใจลึกซึ้งถึงความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด

โดยได้ร่วมกันจัดตั้งบริษัทใหม่ ภายใต้ชื่อ บริษัท สิริ ทีเค ทรู (Siri TK Two Company Limited) และ บริษัท สิริ ทีเค ทรี (Siri TK Three Company Limited) ในสัดส่วน กลุ่มแสนสิริถือหุ้น 70% และกลุ่มโตคิว คอร์ปอเรชัน ถือหุ้นสัดส่วน 30% เพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทคอนโดมิเนียม 2 โครงการใหม่ ในทำเลใจกลางกรุงเทพฯ ทำเลเอกมัย – สุขุมวิท 50 มูลค่ารวมกว่า 5,000 ล้านบาท จะเปิดขายในเดือน มิ.ย.-ส.ค.นี้ โดยเปิดให้ลูกค้าคนไทยก่อนเป็นลำดับแรก



โดยโครงการแรกจะเป็นคอนโดมิเนียมแบบ Hi Rise ความสูง 38 ชั้น ตั้งอยู่บนทำเลเอกมัย ซอย 10 เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ มูลค่าโครงการ 3,500 ล้านบาท ซึ่งเป็นทำเลที่เต็มไปด้วยแหล่งรวมไลฟ์สไตล์ที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพฯ และได้รับความนิยมจากชาวต่างชาติเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะชาวญี่ปุ่นและชาวต่างชาติในแถบตะวันตก

เนื่องจากแวดล้อมไปด้วย คอมมูนิตี้ มอลล์ ร้านอาหาร ซุปเปอร์มาร์เก็ต โรงเรียนนานาชาติ โรงพยาบาล รวมถึงแหล่งกิจกรรมสันทนาการที่คนญี่ปุ่นชื่นชอบ อาทิ ไดรฟ์กอล์ฟ แช่ออนเซน เป็นต้น นอกจากนี้ยัง เป็นทำเลที่สะดวกต่อการเดินทางทั้งรถไฟฟ้า และรถยนต์ นับเป็นจุดศูนย์กลางที่เชื่อมต่อเส้นทางการคมนาคม


โครงการที่ 2 ตั้งอยู่บนทำเลสุขุมวิท 50 เนื้อที่ประมาณ 4 ไร่มูลค่าประมาณ 1,700 ล้านบาท ใกล้รถไฟฟ้าและจุดขึ้นลงทางด่วน ตลอดจนซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่ถึง 2 แห่ง จึงสะดวกสบายในการใช้ชีวิต รวมทั้งยังเดินทางไปยังย่านไลฟ์สไตล์ได้อย่างง่ายดายเพียง 4 สถานีรถไฟฟ้าไปยัง The Em District ห้างสรรพสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดของชาวญี่ปุ่นและตะวันตกในประเทศไทยและเพียง 3 สถานีถึงสถานีทองหล่อ ซึ่งนับเป็นศูนย์กลาง Lifestyle Community ของกรุงเทพฯ

จะเป็นคอนโดมิเนียมแบบ Low Rise ความสูง 8 ชั้น จำนวน 2 อาคาร ที่พัฒนาภายใต้แนวคิดมอบความสงบและเป็นส่วนตัวให้กับชีวิตเมือง เป็นเทรนด์ที่คนที่อาศัยในกรุงเทพฯ กำลังต้องการ

“แบรนด์และราคาขายกำลังพิจารณาอยู่ในเบื้องต้นราคาขายเฉลี่ยอยู่ประมาณ 1 แสนบาทต้นๆ ต่อตารางเมตร ซึ่งคอนโดมิเนียมใหม่ 2 โครงการนี้ ทางโตคิวมีส่วนร่วมอย่างมากในการแชร์ know-how ของการพัฒนาที่อยู่อาศัย เชื่อว่าจะได้รับความนิยมจากทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ โดยเฉพาะลูกค้าญี่ปุ่นในย่านดังกล่าว ปัจจุบันแสนสิริมีลูกค้าญี่ปุ่นมาซื้อโครงการคิดเป็นสัดส่วน 5% จากมูลค่าตลาดลูกค้าต่างชาติทั้งหมดของบริษัท 24,000 ล้านบาท”

นอกจากนี้ แสนสิริยังมองถึงความร่วมมือระยะยาวในอนาคต ที่ไม่เพียงแค่พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ แต่ยังมองถึงความร่วมมือกันในการผนวกพลังระหว่างพันธมิตรทางธุรกิจระหว่างประเทศที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กันและกันอย่างยั่งยืน อาทิ การที่โตคิว คอร์ปอเรชั่น มีฐานลูกค้าที่จะช่วยสร้างโอกาสทางธุรกิจในการผลักดันแบรนด์ “แสนสิริ” ให้เป็นที่รู้จักในกลุ่มลูกค้าชาวญี่ปุ่นเพิ่มมากขึ้น รวมถึงความร่วมมือจากการนำโครงการที่อยู่อาศัยของแสนสิริไปโรดโชว์ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นต้น

นายโทชิยูคิ โฮชิโนะ Director & Senior Managing Executive Officer Tokyu corporation เปิดเผยว่า หลังโตคิว คอร์ปอเรชั่น ได้ประกาศความร่วมมือกับแสนสิริ ในแผนร่วมกันพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมโครงการแรก ภายใต้ชื่อ “taka HAUS” เป็นโครงการแรก ซึ่งประสบความสำเร็จได้รับความสนใจจากกลุ่มลูกค้าจำนวนมาก จึงขยายการลงทุนเพิ่มอีก 2 โครงการ



นอกเหนือจากความเชื่อมั่นในแสนสิริแล้วโตคิวยังมีความเชื่อมั่นในศักยภาพของประเทศไทยที่ยังมีความเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งกรุงเทพมหานคร ที่อยู่ในช่วงระหว่างการขยายโครงข่ายคมนาคมที่ยังเป็นจุดดึงดูดผู้คนมาสู่จุดศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจนี้ และทำให้เชื่อว่ายังมีความต้องการที่อยู่อาศัยที่อยู่ทั้งตามแนวรถไฟฟ้าและอยู่ในเขตชุมชนต่างๆ อีกมาก โดยเฉพาะทำเลเอกมัยและสุขุมวิท 50 นับเป็นทำเลที่น่าสนใจและเป็นย่านที่อยู่อาศัยที่ชาวญี่ปุ่นให้ความนิยมเป็นอย่างมาก

“แสนสิริและโตคิวมองเห็นโอกาสและความเป็นไปได้สำหรับแผนความร่วมมือในอนาคตเพื่อพัฒนาโครงการ ที่อยู่อาศัยในรูปแบบใหม่ๆ อย่างไม่หยุดยั้งเพื่อตอบรับไลฟ์สไตล์ที่อยู่อาศัยของกลุ่มลูกค้าทั้งคนไทยและต่างชาติ” นายโฮชิโนะกล่าวและว่า

นอกจากนี้โตคิวยังมีความสนใจในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ในส่วนของการพัฒนาที่อยู่อาศัยและมิกส์ยูสที่มักกะสันและศรีราชา ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด แต่ด้วยโครงการมีขนาดใหญ่มาก คงลงทุนคนเดียวไม่ได้ต้องร่วมกันหลายๆ บริษัท

ซึ่งจากประสบการณ์ของโตคิวพัฒนาโครงการทึ่อยู่อาศัยให้เช่าที่ศรีราชา คิดว่าการพัฒนาโครงการรองรับกับรถไฟความเร็สูงสูง เช่น สถานีมักกะสัน ถ้ามีโอกาสก็อยากเข้าไปพัฒนา ขณะนี้รอดูรายละเอียดข้อมูลจากแสนสิริการพัฒนาจะเป็นรูปแบบใด

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ปัจจุบันบริษัทแสนสิริได้พัฒนาที่อยู่อาศัยประเภท บ้านเดี่ยว บ้านแฝด ทาวน์เฮาส์ โฮมออฟฟิศ และคอนโดมิเนียมทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด มีจำนวนโครงการกว่า 318 โครงการ จำนวนที่อยู่อาศัยกว่า 86,070 ยูนิต ที่ครอบคลุมทุกภูมิภาคทั่วประเทศกว่า 17 จังหวัด รวมทั้งการพัฒนาโครงการในตลาดต่างประเทศ 9 Elvaston Place ใจกลางกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

ด้านโตคิว คอร์ปอเรชั่น เริ่มต้นทำธุรกิจโดยการก่อสร้างทางรถไฟสาย เมกุโระ-คามาตะ ในปี 2465 จวบจนมาถึงปี 2560 กลุ่มบริษัทโตคิวมีบริษัทในเครือทั้งสิ้น 220 บริษัท และ 8 บริษัทจดทะเบียนภายใต้การดูแลของ โตคิว คอร์ปอเรชั่น

ธุรกิจต่างๆ เหล่านี้ถูกจัดรวมเข้าเป็น 4 กลุ่มด้วยกัน ได้แก่ กลุ่มธุรกิจขนส่งคมนาคม กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ กลุ่มธุรกิจบริการเพื่อการใช้ชีวิตที่สุขสบาย และกลุ่มธุรกิจโรงแรมและรีสอร์ต ซึ่งกลุ่มธุรกิจโตคิว สามารถที่จะสรรค์สร้างสภาพแวดล้อมเพื่อการดำเนินชีวิตที่สวยงามสำหรับทุกกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไปโดยการรวมฟังก์ชันของธุรกิจต่างๆ เข้าไว้ด้วยกัน

ที่ผ่านมาได้พัฒนาความเป็นอยู่ของคนในเมือง ด้วยการนำบริการด้านการคมนาคม ซึ่งเป็นหัวใจหลักของธุรกิจ มาพัฒนาในระยะยาว พร้อมคิดค้นและพัฒนาการให้บริการที่รองรับกิจกรรมที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวันของผู้บริโภค

ในประเทศไทย โดยในกรุงเทพฯ บริษัท โตคิว ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์ จำกัด ปัจจุบันได้ให้บริการ ห้างโตคิว ดีพาร์ทเม้นท์ สโตร์ จำนวน 2 แห่งในกรุงเทพมหานคร เพื่อจำหน่ายสินค้าคุณภาพจากญี่ปุ่น

ขณะที่ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด ยังร่วมมือกับ บมจ.ช.การช่างก่อตั้งบริษัท ช. การช่าง-โตคิว จำกัด ดำเนินธุรกิจด้านการก่อสร้างทางหลวง และโรงงานของบริษัทสัญชาติญี่ปุ่น โดยมีการคาดการณ์ว่ายังสามารถเติบโตต่อไปได้เรื่อยๆ ในประเทศไทย

ในปี 2559 โตคิว คอร์ปอเรชันและสหกรุ๊ป ได้ร่วมกันก่อตั้ง บริษัทร่วมทุน สห โตคิว คอร์ปอเรชัน ขึ้น และได้เข้าบริหารอาคารอพาร์ตเมนต์พร้อมบริการ ในชื่อ “HarmoniQ Residence Sriracha” สำหรับชาวญี่ปุ่นและครอบครัว รวมทั้งโตคิวยังมีการสร้างการรับรู้ในตัวแบรนด์โตคิวอย่างต่อเนื่องพร้อมสร้างกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวสู่ชิบูย่าในอนาคต


Last edited by Wisarut on 25/05/2018 10:02 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2018 9:31 pm    Post subject: Reply with quote

5กลุ่มไทย–เทศรุมชิงรถไฟเร็วสูง เชื่อม3สนามบิน(คลิป)
พฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 16.52 น.
เคาะยื่นไฮสปีด18มิ.ย.
วันที่ 25 พฤษภาคม 2561 เวลา 08:32 น.
เปิดเอกชนศึกษาข้อมูลรถไฟความเร็วสูง ก่อนเปิดขายทีโออาร์ 18 มิ.ย. เผย 5 กลุ่มทุนสนใจ


อุตฯ-คมนาคมเตรียมประกาศเชิญชวนนักลงทุนทั้งไทย-เทศซื้อซองประกวดราคารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดีเดย์ 30 พ.ค. - 17 มิ.ย. นี้   มูลค่ากว่า   2.2 แสนล้าน กลุ่มทุนไทย – เทศรุมชิงดำ  


นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการคัดเลือกผู้ลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา มูลค่าโครงการกว่า 2.2 แสนล้านบาท ร่วมกับ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)ว่า วันที่ 30 พ.ค. - 17 มิ.ย. 61 จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนภาคเอกชนที่มีศักยภาพทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประกวดราคาแบบนานาชาติ กำหนดการขายซองวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค. คาดว่า จะสามารถคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ภายในเดือนพ.ย. –ธ.ค. 61 เปิดใช้โครงการปี 67 ซึ่งขณะนี้มีกลุ่มนักลงทุนสนใจโครงการแล้วไม่ต่ำกว่า 5 กลุ่ม แต่ยังไม่สามารถเปิดเผยได้ และวันที่ 7 มิ.ย. เตรียมเชิญทูตที่อยู่ในประเทศไทยทุกแห่งมาชี้แจงข้อมูลภาพรวมโครงการอีอีซี รวมทั้งโครงการนี้ด้วย 

 “ โครงการนี้มีระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี กำหนดอายุสัมปทานโครงการ 50 ปี ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 700,000 ล้านบาท เมื่อครบสัญญารัฐจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด มูลค่ามากกว่า 300,000 ล้านบาท”



 สำหรับโครงการดังกล่าวครอบคลุมเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จากสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220กม. 15 สถานี ความเร็ว 250 กม.ต่อชม.  รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ พญาไท – สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กม. รถไฟความเร็วสูงจากสนามบินสุวรรณภูมิ – สนามบินอู่ตะเภา ระนยะทาง 170 กม. และพัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการให้ผู้โดยสารสถานีมักกะสัน ขนาดพื้นที่ประมาณ 150 ไร่ เป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงแก้ปัญหาสถานีรถไฟไม่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า และยังพัฒนาพื้นที่สถานีศรีราชาที่มีประมาณ 100 ไร่ แต่ใช้ประโยชน์พื้นที่เพียง 75 ไร่ สำหรับเป็นสถานีเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ที่จอดและโรงซ่อมหัวรถจักรของรฟท. ส่วนที่เหลืออีก 25 ไร่ ให้เอกชนนำไปพัฒนาและจ่ายค่าเช่าให้รฟท.ตามราคาตลาด

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า มูลค่านี้เป็นโครงการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน มีมูลค่าโครงการประมาณ 2.2 แสนล้านบาท จะเป็นการลงทุนจากเอกชนทั้งหมดในระยะแรก จนกว่าโครงการก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 67 จากนั้นรัฐจะทยอยลงทุนไม่เกิน 120,000 ล้านบาท ซึ่งถ้ารัฐต้องลงทุนเกินกว่า 120,000 ล้านบาท จะต้องเปิดให้ยื่นประมูลใหม่ 

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นการเปิดพื้นที่พัฒนาจากกรุงเทพฯ เชื่อมฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มี 5 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท ระยะทาง 21 กม. ซึ่งจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอการใช้ความเร็วที่เหมาะสมจากแผนเดิมที่จะมีการก่อสร้างความเร็ว 160 กม.ต่อชม.

ทั้งนี้ช่วงที่สองรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 กม. ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันความเร็ว 160 กม.ต่อชม. และช่วงที่สาม รถไฟความเร็วสูงจากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม./ชม. ลาดกระบัง-ระยอง รองรับความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อชม. ปรับจากแผนเดิมของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก ซึ่งปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมประมาณ 1,785 ล้านบาท ในปี 60 เมื่อต้องทำรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงนำโครงการแอร์พอร์ตลิงก์มารวมและแก้ปัญหาการขาดทุนด้วย โดยผู้ลงทุนต้องซื้อกิจการในมูลค่าที่เหมาะสม และการเปิดเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่คาดว่ามีปริมาณผู้โดยสาร 100,000 วันต่อวัน.
https://www.youtube.com/watch?v=hpjnO7BWuEU
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 25/05/2018 10:04 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐจัดทัพ”ซีอีโอ”รัฐวิสาหกิจ-ขรก.ใหม่ ซี10-11 ยกแผง ปตท.ชี้ขาดเกมประมูลไฮสปีดEEC !!
พฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 19:45 น.


รัฐบาลจัดทัพซีอีโอรัฐวิสาหกิจ ข้าราชการ ซี10-11 ใหม่ยกแผง ก่อนฤดูโยกย้าย “สมคิด” เซตอัพทีมประเทศไทย ส่ง “ไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย” นั่งประธานบอร์ด ปตท. หนุนยักษ์พลังงาน ชี้ขาดชัยชนะเกมประมูล “ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” ชิงลงมือโยกข้าราชการระดับสูง เก้าอี้ 4 ปลัดกระทรวงเศรษฐกิจว่าง เขย่าใหม่ “คมนาคม-พาณิชย์-เกษตรฯ-พลังงาน”

รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา จะมีคำสั่งโยกย้ายสับเปลี่ยนผู้บริหารระดับสูงในหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจที่สำคัญใหม่ เพื่อขับเคลื่อนการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์วงเงินรวมนับล้านล้านบาท อาทิ โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินไร้รอยต่อ รถไฟทางคู่ มอเตอร์เวย์ ฯลฯ

ส่ง ปตท.หัวหอก “ไฮสปีดอีอีซี”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการประชุมคณะกรรมการ บมจ.ปตท. เมื่อ 18 พ.ค.ที่ผ่านมา มีการเสนอชื่อนายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย เป็นประธานบอร์ด รวมทั้งการอนุมัติแต่งตั้ง นายพงศธร ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ สำรวจและผลิตปิโตรเลียม บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ขึ้นดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (ซีอีโอ) ของบริษัท แทนนายสมพร ว่องวุฒิพรชัย ที่จะเกษียนอายุในวันที่ 30 ก.ย.นี้

สำหรับกรณีของนายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ปัจจุบันเป็นกรรมการอิสระและประธานกรรมการตรวจสอบ บมจ.แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส ถือเป็นบุคคลที่ได้รับการยอมรับของรัฐบาล คสช. ซึ่งได้รับเลือกให้ไปนั่งเป็น รองประธานกรรมการธนาคาร ประธานกรรมการบริหาร และประธานกรรมการบริหารความเสี่ยง ธนาคารกรุงไทย ตั้งแต่ปี 2558 และเมื่อ พ.ย. 2560 ก็ได้มอบหมายมานั่ง ประธานคณะกรรมการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

แหล่งข่าวกล่าวว่า รองนายกฯสมคิด (จาตุศรีพิทักษ์) ส่งนายไกรฤทธิ์ มานั่งประธานบอร์ด บมจ.ปตท. เพื่อให้มาทำงานร่วมกับ นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ซีอีโอและกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ ที่เพิ่งผ่านการคัดเลือกโดยจะเริ่มปฏิบัติหน้าที่ตำแหน่งซีอีโอ 1 ก.ย. 2561 เพื่อเป้าหมายสำคัญของรัฐบาลในการลงทุนเมกะโปรเจ็กต์ โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เพื่อการพลิกโฉมเศรษฐกิจประเทศไทย ต้องอาศัยแรงหนุนจากรัฐวิสาหกิจใหญ่ที่มีศักยภาพและมีฐานะการเงินแข็งแกร่งร่วมสนับสนุน

ปตท.ชี้ขาดจับมือใครคนนั้นชนะ

แหล่งข่าวจากบริษัทยักษ์ใหญ่ที่แสดงความจำนงในการเข้าร่วมและต้องการชิงชัยชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไปสู่ศูนย์กลางอีอีซี เปิดเผยว่า “รัฐบาลต้องการให้กลุ่ม ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นในสัดส่วนที่รองจากผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยให้ ปตท.เป็นแกนกลางเชื่อมระหว่างทุนใหญ่ในไทย กับทุนที่จะมาจากต่างประเทศ เช่น จีน หรือญี่ปุ่น ซึ่งหาก ปตท.จับมือเป็นพันธมิตรร่วมทุนกับขั้วใด ขั้วนั้นจะมีสิทธิ์ได้รับชัยชนะในการประมูล จึงต้องวางบุคคลที่เป็นซีอีโอ ปตท.ไว้ให้เหมาะสมกับบทบาทสำคัญ”

ทั้งนี้ที่ผ่านมา บอร์ด ปตท.ได้ออกมาเปิดเผยว่า ปตท.สนใจที่จะเข้าร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของอีอีซี เนื่องจากเป็นความประสงค์ของทางรัฐบาลที่ต้องการให้ ปตท. ซึ่งมีศักยภาพเข้าร่วมเป็นหนึ่งในการลงทุนโครงการดังกล่าว ขณะเดียวกันก็สอดคล้องกับนโยบายของ ปตท. ที่ต้องการหาโอกาสการลงทุนใหม่ ๆ เพื่อสร้าง New S-curve ให้กับบริษัท

จากการสอบถาม นายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บมจ.ปตท. ถึงความสนใจเข้าร่วมประมูลไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน นายอรรถพลกล่าวเพียงว่า เรื่องนี้เป็นโปรเจ็กต์เพื่อชาติจริง ๆ เพราะส่วนใหญ่ที่เข้ามาจะเป็นนักลงทุนต่างชาติ ดังนั้นหากนักลงทุนไทยรายไหนที่มีศักยภาพก็ควรจะส่งเสริม และถือเป็นอีก game changer ของ ปตท. เพราะเป็นการไดเวอร์ซิฟายธุรกิจที่เปลี่ยนไปจากเดิม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2018 10:31 am    Post subject: Reply with quote

ปตท.ลงขันบีทีเอส ชิงไฮสปีด ทีโออาร์เปิดช่องจีนถือหุ้น 75%

วันที่ 27 พฤษภาคม 2561 เวลา 23:42 น.

ทุนไทย-เทศขานรับ TOR ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน ประกาศ 30 พ.ค.นี้ เปิดทางรัฐวิสาหกิจจีนถือหุ้นใหญ่ 75% เผย 5 กลุ่มจ้องประมูล BTS เฮ ! ได้ ปตท.ร่วมลงขัน ด้าน ซี.พี.ผนึกจีน กลุ่มญี่ปุ่น-ยุโรปเคลื่อนไหวคึก “โตคิว” พันธมิตร “แสนสิริ-สหพัฒน์-ช.การช่าง” แย้มสนใจโปรเจ็กต์มิกซ์ยูส “มักกะสัน-ศรีราชา”

นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.-17 มิ.ย. 2561 จะออกประกาศเชิญชวนเอกชนทั่วโลกเข้าร่วมประมูลลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ภายใต้ประกาศคณะกรรมการนโยบายเรื่องการร่วมลงทุนกับเอกชน หรือ PPP EEC Track ตั้งเป้าได้เอกชนร่วมลงทุนภายในสิ้นปี 2561 จากนั้นเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ เซ็นสัญญา และเริ่มงานก่อสร้างต้นปี 2562 ใช้เวลา 5 ปี แล้วเสร็จปี 2566-2567

“โครงการนี้ใช้รูปแบบลงทุน PPP Net Cost เอกชนที่ชนะได้รับสัมปทานโครงการ 50 ปี คือ สร้าง 5 ปี เดินรถ 45 ปี เมื่อครบ 50 ปี รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมดรวมรถไฟความเร็วสูง สถานี และอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด รวมมูลค่าราว 300,000 ล้านบาท”

เอกชนไทย-เทศ 5 รายสนใจ

ทั้งนี้ รถไฟความเร็วสูงเปิดกว้างทั้งนักลงทุนจากในและต่างประเทศเข้าร่วมประมูลแบบนานาชาติ (international bidding) ซึ่งวันที่ 30 พ.ค. เป็นการนับหนึ่งโครงการอย่างเป็นทางการ

“ตอนนี้มีเอกชนไทยและต่างชาติที่สนใจจะเข้าร่วมประมูล 5-6 กลุ่ม มีทั้งเดี่ยวและร่วมกันหลายราย ซึ่ง 7 มิ.ย.นี้ จะชี้แจงกับทูตต่างประเทศ”

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า โครงการนี้มีระยะทางรวม 220 กม. แบ่งการเดินรถเป็น 3 ช่วง 1.รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ 29 กม. 2.ส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท 21 กม. 3.รถไฟความเร็วสูงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา 170 กม. นอกจากนี้จะรวมการเช่าพื้นที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่ ที่เอกชนจะได้สิทธิ์พัฒนาเชิงพาณิชย์ด้วยมูลค่าโครงการรวม 224,544.36 ล้านบาท


“เอกชนรายไหนเสนอผลประโยชน์ตอบแทนให้รัฐสูงสุด ให้รัฐสนับสนุนค่างานโยธาน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ”

ไฟเขียวรัฐวิสาหกิจต่างชาติแจม

กรอบเวลาดำเนินโครงการ หลังประกาศเชิญชวน 30 พ.ค.-17 มิ.ย.แล้ว วันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค. จะขายซองประกวดราคา 1 ล้านบาท และให้ยื่นซองประมูล 12 พ.ย.นี้ คาดว่าจะได้ผู้ร่วมลงทุนสิ้นปีนี้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) กล่าวว่า โครงการนี้เป็นโครงการใหญ่ จึงอนุญาตให้บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจต่างชาติร่วมได้เกิน 1 ราย โดยจะต้องทำข้อตกลงว่าไม่ได้ฮั้วกัน และสถานทูตประเทศนั้น ๆ ต้องรับรอง

ยื่นประมูล 4 ซอง

ขณะที่นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการ กล่าวว่า การให้ยื่นซองประกวดราคาจะให้ยื่น 4 ซอง คือ 1.ซองคุณสมบัติทั่วไป 2.ซองเทคนิค เช่น ผลงานก่อสร้าง การออกแบบ ประสบการณ์เดินรถไฟความเร็วสูง 5 ปี 3.ซองด้านการเงิน เช่น ผลตอบแทนให้รัฐ หรือการที่ให้รัฐสนับสนุนไม่เกินค่างานโยธา โดยจะเริ่มชำระในปีแรกที่เปิดเดินรถ เป็นระยะเวลา 10 ปี

4.ซองข้อเสนอพิเศษ เช่น การพัฒนาต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อรถไฟและปริมาณผู้โดยสาร จะไม่นำมาพิจารณาเป็นคะแนนตัดสิน แต่หากคิดว่าเป็นประโยชน์ถึงจะเปิดซองพิจารณา แต่การลงทุนเป็นของเอกชนทั้งหมด

ให้ต่างชาติถือหุ้นได้ 75%

รายงานข่าวแจ้งว่า เพื่อให้เกิดการแข่งขันมากขึ้น จะเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของต่างชาติได้มากกว่า 49% จากที่กฎหมายกำหนด แต่ไม่เกิน 75% แต่ต้องมีบริษัทไทย 1 รายร่วมถือหุ้น 25% และจดทะเบียนมาแล้ว 3 ปี เนื่องจากไม่มีกฎหมายระบุห้ามต่างชาติถือหุ้นเกิน 49% ยกเว้นเป็นธุรกิจที่ต้องได้รับอนุญาตจากกระทรวงพาณิชย์ เช่น การพัฒนาที่ดินรูปแบบมิกซ์ยูส เป็นต้น สาเหตุที่ทีโออาร์เปิดให้รัฐวิสาหกิจต่างประเทศเข้าร่วมประมูลได้ เป็นเพราะบริษัทรถไฟจีน เช่น บริษัท CRRC มีรัฐถือหุ้นทั้งหมด

นอกจากนี้ ทีโออาร์กำหนดผู้ที่จะเข้ามาร่วมลงทุน จะต้องเป็นนิติบุคคลรายเดียวหรือมากกว่า 1รายร่วมกัน ในรูปกิจการร่วมค้าหรือจอยต์เวนเจอร์ มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ ไม่น้อยกว่า 4.5 หมื่นล้านบาท โดยแต่ละรายต้องมีสินทรัพย์ไม่น้อยกว่า 1 หมื่นล้านบาท มีหนังสือแสดงเจตจำนง (LOI) หรือการันตีไม่น้อยกว่า 1.2 แสนล้านบาท ใช้แหล่งเงินกู้จากต่างประเทศได้ แต่ต้องมาเปิดสาขาอยู่ในประเทศไทย

ชี้ กม.เปิดช่องต่างด้าว

ด้านนายสนธิรัตน์ สนธิจิรวงศ์ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยถึงแนวทางดำเนินการกรณีบริษัทต่างด้าวเข้าร่วมประมูลไฮสปีดว่า กรณีคนต่างด้าวประกอบธุรกิจใน EEC แบ่งเป็น 3 กรณี คือ หากเป็นคู่สัญญากับส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจ สามารถประกอบธุรกิจได้เลยโดยไม่ต้องขออนุญาต เป็นไปตามกฎกระทรวงที่กำหนดธุรกิจบริการที่ไม่ต้องขออนุญาตในการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 กรณีที่ต่างด้าวได้รับการส่งเสริมจาก BOI จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 12 และขอหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า หรือหากคนต่างด้าวประกอบธุรกิจโดยได้รับอนุญาตจากรัฐบาลไทยเป็นการเฉพาะ จะได้รับยกเว้นตามมาตรา 10 และ 11 สามารถขอหนังสือรับรองจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าได้เช่นกัน

“พ.ร.บ.อีอีซีไม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธิตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจคนต่างด้าวฯ ทำให้การใช้สิทธิคนต่างด้าวไม่ครอบคลุมถึงกรณีที่คนต่างด้าวได้รับการส่งเสริมให้ประกอบธุรกิจในเขตดังกล่าวว่า อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการสามารถขอยกเว้นตามมาตรา 10”

KBANK-SCB ร่วมชิงเค้ก

ด้านนายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า แบงก์ก็พร้อมสนับสนุนสินเชื่อให้ผู้ประกอบการที่เข้าประมูลโครงการนี้ เพราะส่วนใหญ่เป็นลูกค้าธนาคารอยู่แล้ว เชื่อว่าการปล่อยกู้โครงการใหญ่ขนาดนี้อาจปล่อยกู้คนเดียวไม่ได้ ต้องปล่อยกู้ร่วมกับธนาคารอื่น ๆ (syndicated loan) เช่นเดียวกับที่นายวศิน ไสยวรรณ รองผู้จัดการใหญ่อาวุโส ผู้บริหารสูงสุด multicorporate segment ธนาคารไทยพาณิชย์ ระบุว่ามีกลุ่มทุนมาหารือเรื่องนี้ แต่ต้องรอดูเงื่อนไขรายละเอียด TOR ก่อน

บีทีเอส-ปตท. VS ซี.พี.-จีน

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า เอกชนไทยที่สนใจเข้าประมูลโครงการ อาทิ บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) จะร่วมกับ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรี นอกจากนี้ บมจ.ปตท.ก็จะร่วมกับบีทีเอสด้วย, กลุ่ม ซี.พี.จะร่วมกับจีนและบริษัท อิโตชู คอร์ปอเรชั่น จากญี่ปุ่น ซึ่งเมื่อปี 2558 อิโตชูร่วมกับ ซี.พี. ได้เข้าไปลงทุนใน บจ.ซิติก ลิมิเต็ด จากจีน โดยซิติก ลิมิเต็ด เป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ของจีน มีธุรกิจหลากหลาย อาทิ การให้บริการทางการเงิน ทรัพยากร และพลังงาน การผลิต อสังหาฯ และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การก่อสร้าง ก่อนหน้านี้ร่วมกับ ซี.พี. เข้าไปเสนอการลงทุนรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยองให้คมนาคมพิจารณา

โตคิวร่วมจอยต์เวนเจอร์

ส่วนบริษัทต่างชาติที่สนใจ จะมีกลุ่มบริษัทรถไฟจากจีน บริษัทยุโรป ล่าสุดมีกลุ่มโตคิว จากญี่ปุ่น พันธมิตรพัฒนาโครงการคอนโดฯของ บมจ.แสนสิริ โดยนายโทชิยูคิ โฮชิโนะ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตคิว คอร์ปอเรชั่น กล่าวว่า สนใจโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และการพัฒนาที่อยู่อาศัยและมิกซ์ยูสที่สถานีมักกะสัน และศรีราชา อยู่ระหว่างศึกษารายละเอียด

ทั้งนี้ จากประสบการณ์ของโตคิวพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้เช่าที่ศรีราชา คิดว่าการพัฒนาโครงการรองรับกับรถไฟความเร็วสูง เช่น สถานีมักกะสัน ถ้ามีโอกาสก็อยากเข้าไปพัฒนา และสนใจการพัฒนาสมาร์ทซิตี้ในไทยด้วย

สำหรับโตคิว คอร์ปอเรชั่น เริ่มต้นทำธุรกิจก่อสร้างทางรถไฟสาย เมกุโระ-คามาตะ ตั้งแต่ปี 2465 มีบริษัทในเครือ 220 บริษัท ส่วนการลงทุนในไทย มี บจ.โตคิว ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์ เจ้าของห้างโตคิว ดีพาร์ทเม้นท์สโตร์, บจ.โตคิว คอนสตรัคชั่น ร่วมกับ บมจ.ช.การช่าง ก่อตั้ง บจ.ช.การช่าง-โตคิว รับงานก่อสร้างทางหลวง สร้างโรงงานบริษัทญี่ปุ่น, บจ.โตคิว คอร์ปอเรชั่น และสหกรุ๊ป ตั้งบริษัทร่วมทุน สหโตคิว คอร์ปอเรชั่น บริหารอาคารอพาร์ตเมนต์ฮาโมนิค ในศรีราชา จ.ชลบุรี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2018 10:34 am    Post subject: Reply with quote

อุตฯ-คมนาคม ควงคู่ประกาศเชิญชวนนักลงทุนชิงเค้กไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน 30 พ.ค.นี้
วันที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 18:10 น.

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือกผู้ลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน ร่วมกับนายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ว่า ในวันที่ 30 พ.ค.-17 มิ.ย. 2561 จะประกาศเชิญชวนนักลงทุนภาคเอกชนที่มีศักยภาพทั้งไทยและต่างประเทศเข้าร่วมประกวดราคาแบบนานาชาติ คาดจะสามารถคัดเลือกผู้ชนะประมูลได้ภายในปี 2561 ซึ่งเบื้องต้นมีนักลงทุนทั้งจากไทยและต่างประเทศ 5 กลุ่มธุรกิจให้ความสนใจลงทุน

ทั้งนี้ กำหนดการขายซองวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค. 2561, หลังจากนั้นจะเรียกประชุมชี้แจงเอกชนผู้ซื้อเอกสาร ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ก.ค. 2561, ลงพื้นที่ดูโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ และพื้นที่ตามแนวเส้นทางวันที่ 24 ก.ค. 2561, ประชุมชี้แจงเอกชนผู้ซื้อเอกสารครั้งที่ 2 วันที่ 24 ก.ย. 2561, ระหว่างนี้จะเปิดรับคำถามจากเอกชนผู้ซื้อเอกสารวันที่ 10 ก.ค.-9 ต.ค. 2561, พร้อมตอบคำถามวันที่ 10 ก.ค.-30 ต.ค. 2561, กำหนดให้เอกชนยื่นเอกสารข้อเสนอวันที่ 12 พ.ย. 2561 และจะเจรจาต่อรองประกาศผลปลายปี 2561 ก่อนลงนามสัญญาต่อไป

โครงการดังกล่าวครอบคลุมเส้นทางรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร (ก.ม.) 15 สถานี ความเร็ว 250 ก.ม./ชม. มูลค่าโครงการประมาณ 2.2 แสนล้านบาท คาดระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี กำหนดอายุสัมปทานโครงการ 50 ปี ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท เมื่อครบสัญญารัฐจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด มูลค่ามากกว่า 3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ จะมีการพัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการให้ผู้โดยสารสถานีมักกะสัน ขนาดพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ เป็นสถานีหลักรถไฟความเร็วสูงแก้ปัญหาสถานีรถไฟไม่เชื่อมต่อรถไฟฟ้า โดยต้องจัดที่จอดรถ รวมทั้งปรับการจราจรใหม่ทั้งหมด ผู้รับไปพัฒนาต้องจ่ายค่าเช่าที่ดินให้ รฟท. ตามราคาตลาด ให้รัฐมีส่วนร่วมรับกำไรเมื่อโครงการมีกำไร





นอกจากนี้ จะยังพัฒนาพื้นที่สถานีศรีราชาที่มีประมาณ 100 ไร่ แต่ใช้ประโยชน์พื้นที่เพียง 75 ไร่ สำหรับเป็นสถานีเพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ ที่จอดและโรงซ่อมหัวรถจักรของรฟท. ส่วนที่เหลืออีก 25 ไร่ ให้เอกชนนำไปพัฒนาและจ่ายค่าเช่าให้รฟท.ตามราคาตลาด

ด้านนายไพรินทร์ กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเป็นการเปิดพื้นที่พัฒนาจากกรุงเทพฯ เชื่อมฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง มี 5 สถานี ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 220 ก.ม. ใช้เวลา 120 นาที แบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ รถไฟความเร็วสูงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตลิงก์ ดอนเมือง-พญาไท (Normal Line) ระยะทาง 21 ก.ม. ซึ่งจะเปิดให้เอกชนยื่นข้อเสนอการใช้ความเร็วที่เหมาะสมจากแผนเดิมที่จะมีการก่อสร้างความเร็ว 160 ก.ม./ชม.

ช่วงที่สอง รถไฟแอร์พอร์ตลิงก์พญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ ระยะทาง 29 ก.ม. ดำเนินการอยู่แล้วในปัจจุบันความเร็ว 160 ก.ม./ชม. และช่วงที่สาม รถไฟความเร็วสูงจากสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม./ชม. ลาดกระบัง-ระยอง รองรับความเร็วสูงสุด 250 ก.ม./ชม. ปรับจากแผนเดิมของรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออก

“อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงจากมักกะสัน-พัทยา ประมาณ 270 บาท จากมักกะสัน-สนามบินอู่ตะเภาประมาณ 330 บาท”

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ มีผลการดำเนินงานขาดทุนสะสมประมาณ 1,785 ล้านบาท ในปี 2560 ที่ผ่านมา ขาดทุนประมาณ 280 ล้านบาท และเป็นหนี้จากการก่อสร้างประมาณ 33,000 ล้านบาท เมื่อต้องทำรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จึงนำโครงการแอร์พอร์ตลิงก์มารวมและแก้ปัญหาการขาดทุนด้วย โดยผู้ลงทุนต้องซื้อกิจการในมูลค่าที่เหมาะสม และการเปิดเชื่อมกับโครงการรถไฟฟ้าสายสีเหลือง ที่คาดว่ามีปริมาณผู้โดยสาร 1 แสนคนต่อวัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 28/05/2018 5:49 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดหวูดประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน 30 พ.ค.เปิดทางต่างชาติเกิน49%-ถือหุ้นไขว้
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 25 พฤษภาคม 2561 เวลา 11:14:



ประกาศประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน 2.2 แสนล้าน 30 พ.ค. ขายซอง 18 มิ.ย. - 9 ก.ค. ยื่นชิงดำ 12 พ.ย. คาดได้ตัวใน ธ.ค. 61 เบื้องต้นมีเอกชนสนใจ 5 กลุ่ม เซ็นสัญญาต้นปี 62 จับตาเงื่อนไขให้ต่างชาติถือหุ้นไขว้และเกิน 49% ได้ เหตุต้องการผู้ร่วมประมูลมากๆ ขณะที่ให้เวลา 2 ปีจ่าย 1.06 หมื่นล้านฟื้นบริหารแอร์พอร์ตลิงก์



วันนี้ (24 พ.ค.) นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม, นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานคณะกรรมการร่างทีโออาร์ ได้แถลงถึงการดำเนินโครงการและกรอบเวลาในการเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรมกล่าวว่า ในวันที่ 30 พ.ค. 2561 จะเป็นการเริ่มต้นนับหนึ่งโครงการอย่างเป็นทางการ โดยจะประกาศเชิญชวนผู้สนใจลงทุนและให้ข้อมูลเงื่อนไขการประมูลในเบื้องต้นซึ่งได้กำหนดกรอบระยะเวลาในการคัดเลือกเป้าหมายว่าจะได้ตัวผู้ลงทุนภายในปี 2561 แน่นอน และหลังจากนั้นจะมีกระบวนการเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ประมาณต้นปี 2562 ระยะเวลา 5 ปี รูปแบบร่วมลงทุน PPP Net Cost อายุสัมปทาน 50 ปี ครบสัญญาทรัพย์สินจะตกเป็นของรัฐบาล ซึ่งประเมินมูลค่าไว้ที่ 3 แสนล้านบาท

รถไฟเชื่อม 3 สนามบินเป็น 1 ใน 5 โครงการพื้นฐานสำคัญที่คณะกรรมการอีอีซีกำหนดให้ดำเนินการก่อน เป็นโครงการใหญ่ของเอเชีย ได้รับความสนใจจากสถานทูตทุกแห่ง ดังนั้น กระบวนการต้องเปิดเผย ซึ่งในวันที่ 4 มิ.ย.คณะกรรมการอีอีซีที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานจะประชุมนัดแรกภายใต้ พ.ร.บ.อีอีซีฉบับใหม่ และวันที่ 7 มิ.ย.จะพบทูตประเทศต่างๆ ที่กระทรวงการต่างประเทศ เพื่อชี้แจงโครงการ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประมูลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยทุกฉบับที่เกี่ยวข้องกับโครงการ ขณะที่กฎหมายมีข้อยกเว้นกรณีสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติเกิน 49% หรือไม่นั้น ขอให้รอดูทีโออาร์ในวันที่ 30 พ.ค. เบื้องต้นเอกชนประมาณ 5 กลุ่มที่แสดความสนใจทั้งในประเทศและต่างประเทศ

“โครงการนี้ได้ใช้เวลาร่าง พ.ร.บ.อีอีซี และร่างทีโออาร์ ประมาณ 7 เดือน และจะเริ่มประมูลแล้วซึ่งจะใช้เวลาอีกประมาณ 7 เดือน รวมทั้งหมด 14 เดือน ใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี ตั้งเป้าเปิดให้บริการทั้งระบบ ได้ในต้นปี 2567” นายอุตตมกล่าว

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า แผนการประกวดราคา ประกอบด้วย 1. ประกาศเชิญชวน ระหว่างวันที่ 30 พ.ค. - 17 มิ.ย. 2561 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ 2. ขายเอกสารประกวดราคาวันที่ 18 มิ.ย. - 9 ก.ค. 2561 เป็นเวลา 3 สัปดาห์ 3. ประชุมชี้แจงเอกชนที่สนใจ ครั้งที่ 1 วันที่ 23 ก.ค. 4. เอกชนผู้สนใจลงพื้นที่ รถไฟฟ้าแอร์พอร์เรลลิงก์ และแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง วันที่ 24 ก.ค. 2561

5. ประชุมชี้แจงเอกชนที่สนใจ ครั้งที่ 2 วันที่ 24 ก.ย. 6. เปิดรับคำถามจากเอกชน วันที่ 10 ก.ค. - 9 ต.ค.2561 โดยจะตอบคำถามให้เสร็จในวันที่ 30 ต.ค. 2561 และ 7. ยื่นเอกสารประมูลเสนอราคาวันที่ 12 พ.ย. 2561ซึ่งเอกชนมีเวลาในการเตรียมเอกสาร 5 เดือนก่อนยื่นซองประมูล โดยมติ ครม.วันที่ 27 มี.ค. 61 อนุมัติเห็นชอบโครงการ และได้กำหนดวงเงินที่อนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน ในวงเงินไม่เกิน 119,425.75 ล้านบาท ที่เป็นมูลค่าปัจจุบันตามที่ตกลงในสัญญาร่วมลงทุน โดยทยอยจ่ายให้เอกชนหลักจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงฯ ทั้งระบบแล้ว และแบ่งจ่ายเป็นรายปี โดยกำหนดระยะเวลาแบ่งจ่ายไม่ต่ำกว่า 10 ปี

ส่วนการเดินรถมี 3 ส่วน ระยะทางรวม 220 กม.จำนวน 15 สถานี ได้แก่ 1. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ความเร็ว 160 กม./ชม. มี 8 สถานี 2. รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง จำนวน 2 สถานี 3. รถไฟความเร็วสูง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จำนวน 5 สถานี ความเร็วสูงสุดไม่ต่ำกว่า 250 กม./ชม. ทั้งนี้ เอกชนจะต้องหาแหล่งเงินและพัฒนาการเดินทั้ง 3 ส่วน บริหารงานและซ่อมบำรุงตลอดระยะเวลา 50 ปี และกำหนดใช้อาณัติสัญญาณสากล ซึ่งระบบของจีน, ยุโรป, ญี่ปุ่น เป็นสากล

ควัก 1.06 หมื่นล้าน จ่ายค่าระบบแอร์พอร์ตลิงก์ ปี 64 รับสิทธิ์บริหาร

ด้านนายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ในวันที่ 30 พ.ค.นี้จะประกาศเชิญชวนผ่าน เวปไซด์การรถไฟฯ, อีอีซี, กรมบัญชีกลาง, กระทรวงคมนาคม สื่อโทรทัศน์และหนังสือพิมพ์ รวมถึงทำหนังสือแจ้งไปยังสถานทูต โดยประมูลจะให้ยื่น 4 ซอง คือ ด้านคุณสมบัติ, ด้านเทคนิค, ด้านการเงิน ซึ่งจะกำหนดเกณฑ์คะแนน ซองที่ 4 เป็นข้อเสนอพิเศษ จะเป็นการแนะนำที่จะก่อประโยชน์ให้โครงการรัฐและประชาชน เป็นการพิจารณาแต่ไม่มีการให้คะแนน

โดยตัวแปรหลักในการคัดเลือก คือ ข้อเสนอที่จะให้รัฐร่วมลงทุน ซึ่งกรอบไม่เกิน 1.2 แสนล้านบาทนั้นหากรายใดเสนอต่ำสุดจะเป็นผู้ได้รับคัดเลือก สำหรับมูลค่าโครงการที่ 224,544.36 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยจะเป็นค่าลงทุนรถไฟฟ้าเชื่อม 3 สนามบิน 168,718 ล้านบาท ค่าลงทุนแอร์พอร์ตลิงก์ ในส่วนค่าระบบอาณัติสัญญาและล้อเลื่อน 10,671.09 ล้านบาท โดยรัฐจะรับภาระโครงสร้างพื้นฐานแอร์พอร์ต เรลลิงก์ 22,558.06 ล้านบาทเอง นอกจากนี้จะมีค่าพัฒนาที่ดิน (TOD) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ บริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่อีกประมาณ 45,155.27 ล้านบาท

โดยหลังยื่นซองประมูล คณะกรรมการคัดเลือกจะประชุมวันที่ 13 พ.ย. เพื่อตรวจสอบเอกสารข้อเสนอของเอกชน มีเวลาในการประเมิน เนื่องจากมีรายละเอียดด้านเทคนิค และการเงินประมาณ 1 เดือน แต่จะเร่งสรุปภายในสิ้นปี 2561

ในส่วนของแอร์พอร์ตลิงก์นั้น หลังลงนามสัญญาแล้ว ผู้บริหารรถไฟเชื่อม 3 สนามบินจะมีเวลาในการเตรียมพร้อม เช่น ซื้อขบวนรถใหม่ ปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณ 2 ปี จึงจะส่งมอบการบริหารแอร์พอร์ตลิงก์ให้เอกชน หรือในปีที่ 3 หลังลงนามสัญญา

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการอีอีซี กล่าวว่า โครงการมีมูลค่าลงทุน 2.2 แสนล้านบาทโดยรัฐร่วมลงทุนไม่เกิน 1.2 แสนล้านบาทและจะสร้างมูลค่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจได้ 7 แสนล้านบาท ซึ่งประมูลนานาชาติ เพื่อต้องการผู้ร่วมประมูลมากที่สุด และให้บริษัทที่เป็นรัฐวิสาหกิจ สามารถเข้าร่วมได้เกินกว่า 1 ราย โดยต้องมีข้อตกลงยืนยันว่าจะไม่ฮั้วกันและสถานทูตของประเทศนั้นๆ จะต้องมีหนังสือรับรองเข้ามาด้วย ไม่ให้เข้าข่ายการฮั้ว

รายงานข่าวแจ้งว่า เงื่อนไขเรื่องสัดส่วนของต่างชาติ คาดว่าจะเปิดกว้างให้ต่างชาติร่วมลงทุนได้มากกว่า 49% เนื่องจาก พ.ร.บ.การรถไฟฯ ไม่ได้ห้ามไว้ ส่วนการกรณีถือหุ้นไขว้ เช่น กรณีรัฐวิสาหกิจจีน 2 รายแยกประมูลกันคนละกลุ่ม เข้าข่ายเป็นการถือหุ้นไขว้และมีประโยชน์ทับซ้อนกันจะต้องมีหนังสือรับรองจากรัฐบาลจีนว่าจะไม่มีการครอบงำกัน
https://www.youtube.com/watch?v=aEUHz7s0YBY
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2018 1:32 pm    Post subject: Reply with quote

ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ : เปิดทีโออาร์ “รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน” ไทย-มังกร-ซามูไร โดด ชิงเค้ก
28 พฤษภาคม 2561




รายการ ชั่วโมงฐานเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม 2561 เวลา 13.00-14.00 น. ดำเนินรายการโดย คุณบากบั่น บุญเลิศ และคุณกรรณิการ์ รุ่งกิจเจริญกุล สร้างโอกาสทางธุรกิจกับฐานเศรษฐกิจ เจาะลึกประเด็น เปิดทีโออาร์ “รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน” ไทย-มังกร-ซามูไร โดด ชิงเค้ก รายละเอียดจะเป็นอย่างไรติดตามได้จากรายการ (ชมคลิป)
https://www.youtube.com/watch?v=oUNwD3cMchU
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 268, 269, 270 ... 542, 543, 544  Next
Page 269 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©