RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271277
ทั้งหมด:13582566
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 269, 270, 271 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 30/05/2018 2:56 pm    Post subject: Reply with quote

ประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุนรถไฟความไวสูงเชื่อมสามสนามบินออกมาแล้ว

เปิดทีโออาร์ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
วันที่ 30 พฤษภาคม 2561- 19:20 น.




30 พ.ค.2561 ผู้สื่อข่าว”ประชาชาติธุรกิจ”รายงานว่า วันนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มกิจการการบริหารสินทรัพย์ รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อสมสนามบิน ได้ออกประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชน การร่วมลงทุนกับเอกชนในกิจการของรัฐ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

ประกาศฉบับดังกล่าวสรุปสาระสำคัญ รวมทั้งหมด 15 ข้อ อาทิ

วัตถุประสงค์ของโครงการ

1.เป็นโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

2.เชื่อมต่อ 3 ท่าอากาศยานในเขตกรุงเทพมหานครและเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก คือ ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภาแบบไร้รอยต่อ

3.พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ให้เป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับเขตพัฒนาพิเศษภาคตเวันออก (EEC Gateway) และพื้นที่สถานีรถไฟความเร็วสูงศรีราชา และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ



สำหรับขอบเขตของโครงการ มีขอบเขตดังนี้

(1) โครงการเกี่ยวกับรถไฟ

ประกอบด้วย 3 (สาม) ส่วนคือ (1) รถไฟความเร็วสูง (2) แอร์พอร์ต เรลลิงก์ และ (3) แอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย โดยสถานีรถไฟของโครงการ มีทั้งหมด 15สถานี ซึ่งประกอบด้วยสถานีรถไฟภายในเมือง ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีพญาไท สถานีราชปรารภ สถานีมักกะสัน สถานีรามคำแหง สถานีหัวหมาก สถานีบ้านทับช้าง สถานีลาดกระบัง สถานีสุวรรณภูมิ และประกอบด้วยสถานีรถไฟที่อยู่ระหว่างเมืองได้แก่ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา รวมทั้งอาคารและสถานที่จอดรถและจรของสถานี (และศูนย์ซ่อมบำรุง ซึ่งมีระยะทางรวมประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง ด้วยบริการรถไฟแบบด่วนพิเศษ จอดบางสถานี และใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง 40 นาที ด้วยบริการเดินรถไฟแบบปกติจอดทุกสถานี โดยใช้ความเร็วในเมือง (ช่วงสถานีดอนเมืองถึงสถานีสุวรรณภูมิ) สูงสุด 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และใช้ความเร็วระหว่างเมือง (ช่วงสถานีสุวรรณภูมิถึงสถานีอู่ตะเภา) สูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

ทั้งนี้ ในขอบเขตการดำเนินงานโครงการเกี่ยวกับรถไฟ เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ในการดำเนินงาน การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ งานการจัดหาแหล่งเงินทุน และงานการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ (Design-Build-Finance-Operation-Maintenance : DBFOM) โดยมีขอบเขตงานหลักดังนี้

(2.) การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯประกอบด้วยการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ ในพื้นที่ดังต่อไปนี้

(ก) พื้นที่มักกะสันซึ่งเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย) (รฟท.) ตั้งอยู่บริเวณสถานีแอร์พอร์ต เรลลิงก์มักกะสัน ขนาดประมาณ 150ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 850,000 (แปดแสนห้าหมื่น) ตารางเมตร และมีมูลค่าการลงทุนอาคารสิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 42,000,000,000 บาท (สี่หมื่นสองพันล้านบาท) (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวเป็นศูนย์กลางการเชื่อมโยงกรุงเทพมหานครกับจังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก และเป็นสถานีเชื่อมโยงระบบขนส่งมวลชนอื่นเพื่อรองรับผู้โดยสารจำนวนมากที่จะเดินทางเข้าและออกเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก


(ข) พื้นที่ศรีราชาซึ่งเป็นพื้นที่ของ รฟท. ตั้งอยู่บริเวณสถานีศรีราชา ขนาดประมาณ 25 ไร่ โดยมีพื้นที่อาคารรวมกันไม่น้อยกว่า 20,000ตารางเมตร และมีมูลค่าการลงทุนอาคาร สิ่งปลูกสร้าง รวมถึงส่วนควบต่าง ๆ ไม่น้อยกว่า 300,000,000 บาท (สามร้อยล้านบาท) (ไม่รวมค่าที่ดิน) เพื่อให้พื้นที่ดังกล่าวสามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เข้ามาในสถานีศรีราชา

(3) การดำเนินกิจการทางพาณิชย์
การดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ในทางพาณิชย์ รวมถึงการจัดเก็บรายได้บริเวณสถานีรถไฟ ภายในและภายนอกขบวนรถไฟ ทั้งหมดที่ใช้ในโครงการ ทางเชื่อมต่อระหว่างอาคารอื่น ๆ กับสถานีรถไฟของโครงการ และการดำเนินการอื่นใดภายใต้วัตถุประสงค์ของโครงการ ตามที่กำหนดไว้ในข้อ (1.1) ทั้งนี้ ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

ระยะเวลาของโครงการ
ระยะเวลาของโครงการ หมายถึงระยะเวลาการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟ การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ โดยระยะเวลาของโครงการ จะเท่ากันกับระยะเวลาการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

(1) ระยะเวลาของการดำเนินงานออกแบบและงานก่อสร้างของโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนรถไฟความเร็วสูง (Design-Build) เท่ากับระยะเวลา 5 ปีที่ระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก รฟท. โดยจะนับจากวันที่ รฟท.ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟจนถึงวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (Centificate of Final Acceptance) ให้แก่เอกชนคู่สัญญา

(2) ระยะเวลาของการดำเนินงานให้บริการเดินรถและงานบำรุงรักษาโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนรถไฟความเร็วสูง (Operation-Maintenance) เท่ากับระยะเวลา 45 ปี โดยจะนับจากวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (Certificate of Final Acceptance)

ในส่วนของระยะเวลาของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ เท่ากับระยะเวลา 50 ปี นับจากวันที่ รฟท. ระบุไว้ในหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ แต่ทั้งนี้ ระยะเวลาการพัฒนาพืนที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ จะไม่เกินกว่าระยะเวลาของโครงการ

ส่วนรายละเอียดเกี่ยวกับคุณสมบัติของผู้ยื่นข้อเสนอ
1 ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีนิติบุคคล
2. ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีสถานีะตามที่กล่าวมาข้างต้น และต้องมีคุณสมบัติดังนี้

(1) นิติบุคคลไทยรายเดียวหรือนิติบุคคลรายเดียวซึ่งต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และนิติบุคคลไทยหรือนิติบุคคลรายเดียวนั้นต้องจดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีนับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(2) นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยสมาชิกที่รวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ต้องมีนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย เข้าร่วมกลุ่มโดยมีสัดส่วนการลงทุนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และสมาชิกอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทั้งหมด โดยสมาชิกแต่ละรายต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ ทั้งนี้ สมาชิกแต่ละรายของกิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ต้องร่วมกันรับผิดชอบอย่างลูกหนี้ร่วม

(3) นิติบุคคลหลายรายรวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ โดยนิติบุคคลที่รวมกันเป็นกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 ราย ถือหุ้นในส่วนเกินกว่าร้อยละ 25ของทั้งหมด และผู้ถือหุ้นอื่นแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการครองหุ้นไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 ของทั้งหมด โดยผู้ถือหุ้นแต่ละรายต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(4) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ โดยต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 รายถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่าร้อยละ 25 ของทั้งหมด และนิติบุคคลแต่ละรายที่ควบรวมกิจการต้องเป็นนิติบุคคลที่จดทะเบียนมาแล้วเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

3) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการต้องยื่นหลักฐาน เงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ เป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

หรือ

(ค) ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นหยักฐานหนังสือแสดงเจตจำนงซึ่งเป็นหนังสือจากสถาบันการเงินของไทยหรือสถานันการเงินของต่างประเทศที่จะสนับสนุนสินเชื่อ และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ ที่แสดงในงบแสดงฐานะการเงิน (Balance Sheet) ย้อนหลังไม่เกิน 6 เดือน รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

1) นิติบุคคลรายเดียวต้องยื่นหลักฐาน หนังสือแสดงเจตจำนง และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

2) กิจการร่วมค้าที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ หรือกิจการร่วมค้าที่จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลใหม่ ให้สมาชิกหรือผู้ถือหุ้นรายใดรายหนึ่งหรือรวมกัน ต้องยืนหยักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ รวมกับหลักฐานหนังสือแสดงเจตจำนงที่ออกในนามกิจการร่วมค้านั้น รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หนึ่งแสนสองหมื่นล้านบาท)

3) นิติบุคคลที่ควบรวมกิจการต้องยื่นหลักฐาน หนังสือแสดงเจตจำนง และหลักฐานเงินสดและรายการเทียบเท่าเงินสดซึ่งไม่มีภาระผูกพันใด ๆ จากงบเสมือนของนิติบุคคลที่ควบรวมกิจการ รวมกันเป็นจำนวนเงินไม่น้อยกว่า 120,000,000,000 บาท (หมื่นแสนสองหมื่นล้านบาท)

ส่วนประสบการณ์ของผู้ยื่นข้อเสนอ ผู้รับจ้าง (ถ้ามี)

(1) การพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ

(ก) ประสบการณ์ด้านงานออกแบบ

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านงานออกแบบ โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ หรือ โครงสร้างทางรถไฟใต้ดิน หรือโครงสร้างทางยกระดับ ที่มีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียวหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 2,000,0000,000 บาท (สองพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว และผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(ข) ประสบการณ์ด้านงานก่อสร้าง

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านงานก่อสร้าง โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ หรือโครงสร้างทางรถไฟใต้ดิน หรือโครงสร้างทางยกระดับ ที่มีมูลค่างานก่อสร้างในสัญญาเดียหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 7,000,000,000 บาท (เจ็ดพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มขึ้น และผลงานดังกล่าวต้องแล้วเสร็จเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปีนับถึงวันยื่นข้อเสนอ

(ค) ประสบการณ์ด้านงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า

ผู้ยื่นข้อเสนอต้องมีประสบการณ์ด้านการบูรณาการงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า (System Integration) ของรถไฟความเร็วสูง ประกอบด้วยงานอาณัติสัญญาณ งานโทรคมนาคม งานไฟฟ้า งานวางราง และงานศูนย์ซ่อมบำรุง ดังกล่าวทุกระบบรวมกัน ที่มีมูลค่างานระบบเครื่องกลและไฟฟ้าสัญญาณเดียวหรือหลายสัญญารวมกันไม่น้อยกว่า 7,000,000,000 บาท(เจ็ดพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว โดยแต่ละสัญญาที่นำมารวมกันต้องมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 1,000,000,000 บาท (หนึ่งพันล้านบาท) ซึ่งได้รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว ซึ่งผลงานดังกล่าวต้องเป็นเวลาไม่เกิน 20 ปี นับถึงวันยื่นข้อเสนอ

ทั้งนี้รฟท.จะเปิดให้มีการตรวจสอบข้อมูลหรือรายละเอียดที่เกี่ยวข้องกับโครงการในวันพุธที่ 1 สิงหาคม 2561 ถึงวันศุกร์ที่ 31 สิงหาคม 2561 และกำหนดเปิดรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ.2561 เวลา 09.00 น. และปิดการรับซองข้อเสนอในวันจันทร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2561 เวลา 15.00 น.


http://www.railway.co.th/download/2561/Invitation-to-Tender-HSR3Airports.pdf

สาระสำคำคัญว่าด้วยรถไฟความไวสูงเชื่อมสามสนามบิน โดย MagnamonKunGz
MagnamonKunGz wrote:
งานโยธา
- ให้ก่อสร้างและปรับปรุงทางวิ่งระยะทางรวม 220 กิโลเมตร (คือสร้างใหม่ 198 กิโล และปรับปรุงของเดิมอีก 22 กิโล น่าจะรวมการปลดล็อกช่วงก่อนเข้ามักกะสันที่ express เป็น deadend)
- ให้ก่อสร้างทางวิ่งสายสีแดง (ทั้งอ่อนและเข้ม) ออกจากบางซื่อ ถึงบริเวณแยกเสาวนี (ศรีอยุธยา - สวรรคโลก) กำหนดให้เป็นโครงสร้างแบบใต้ดิน (ไม่เป็นคลองแห้งแล้ว ส่วนสถานีค่อยว่ากัน)
- โครงสร้างช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ต้องออกแบบให้ รองรับสายเหนือและสายอีสานด้วย (แก้ปัญหาเขตทางไม่พอ ลดความซ้ำซ้อน และลดค่าใช้จ่าย)
- สถานี สร้างใหม่ 6 ปรับปรุง 8 และปรับพื้นที่บางซื่อ ทั้งหมดเป็นแบบ Design and Build รวมทั้งงานสถาปัตย์และ landscape (ตามใจคนได้) ถ้าพื้นที่สามารถสร้างอาคารจอดแล้วจรได้ ให้สร้างรวมไปด้วย (เท่ากับว่า ดอนเมืองจะโคตรใหญ่มาก เพราะนอกจากต้องรองรับ city line แล้ว ต้องรองรับ HST และเป็นทางผ่านให้ HST เหนือ-อีสาน วิ่งผ่านไปด้วย)
- ทุกสถานีทั้งสร้างใหม่และปรับปรุง ให้ติดตั้งประตูกั้นชานชาลาด้วย
- ศูนย์ซ่อมบำรุง ปรับของเดิมที่คลองตัน และสร้างใหม่ที่ฉะเชิงเทรา

รถไฟฟ้า (ไฮไลต์...)
- ระบบอาณัติสัญญาณอะไรก็ได้...... (ไม่ล็อก ETCS แต่.... จากที่บอกว่าให้ช่วงบางซื่อ - ดอนเมืองต้องรองรับการเดินรถช่วงอีสาน/เหนือได้ ก็เหมือนล็อกให้เป็น ETCS กลายๆ แหละ...)
- รถให้ซื้อสองแบบ คือแบบ ARL เดิม (max 160) และของ HSR (min 250) และให้ซื้อให้พอสำหรับดำเนินการ

สัมปทานเลขกลมๆ 50 ช่วงก่อสร้าง 5 แต่ขยายได้ และดำเนินการ 45 ปี (ไม่มีขยาย)
- ARL ให้เข้าได้เลยเมื่อจ่ายค่า signalling และ rolling stock หมื่นกว่าล้าน แต่ให้รอรฟท. บอกเลิกสัญญากับ TSF ก่อน
- ARLex สร้างเสร็จ รอรฟท. อนุมัติดำเนินการ
- HST สร้างเสร็จ รอ รฟท. อนุมัติดำเนินการ สัมปทาน 45 ปี จะนับจากตรงนี้ (เท่ากับ ARL+ARLex จะได้กินค่าโดยสารฟรีจนกว่า HST เสร็จ)

----------

ภาระ ARLที่เอกชนต้องดูแลแทน SRTET

- ปัญหารถไม่พอ > เอกชนซื้อรถเพิ่ม
- ARL จะเปลี่ยนอาณัติสัญญาณแต่โดนล้ม > เปลี่ยนให้ด้วยจ่ะ
- ปัญหาความปลอดภัยบนชานชาลา (ที่ญาติคนท้องที่โดนรถทับเมื่อมิถุนาปีที่แล้วฟ้องร้องเรียกค่าเสียหาย) > เอกชนติดประตูให้ด้วย
- ปัญหา express พญาไท ไปวิ่งทับชานชาลา city line และเรื่องประแจขาดช่วงที่มักกะสัน > แก้รางให้ด้วย
- ปัญหาอะไหล่ไม่พอ > ซื้ออะไหล่เตรียมไว้ให้พร้อม

---
- กำหนดสเปครถไฟความเร็วสูงสุดที่ 250 km/h แต่ปัจจุบันความเร็วทะลุไป 300-350 km/h เพราะฉะนั้นสเปคนี้จะเป็นความเร็วต่ำสุดที่ทำได้ (จะขยับไป 300-350 ต้องกลับศึกษาว่าโครงสร้างช่วง ARL เดิมสามารถรองรับความเร็วระดับนี้ได้หรือไม่ แต่ช่วงนี้กำหนดให้เป็น City Area ความเร็วขณะวิ่งสูงสุดไม่เกิน 160km/h ดังนั้นการปรับไปใช้ 300-350 km/h ไม่น่าจะมีปัญหา)
- เส้นทางนี้จะใช้เวลาเดินทาง 45 นาทีจากกรุงเทพถึงอู่ตะเภา เร็วกว่าการเดินทางด้วยรถที่ใช้เวลา 2-3 ชม.
- มีการศึกษาเส้นทางเพิ่มเติมไปยังระยอง (60 นาที) จันทบุรี (100 นาที) และตราด (2 ชั่วโมง base ที่ความเร็ว 250km/h) เรียบร้อยแล้ว แต่ปัญหาคือช่วงอู่ตะเภา - ระยอง - จันทบุรี มีเส้นทางส่วนหนึ่งต้องวิ่งผ่านมาบตาพุดที่เป็นเขตควบคุมสิ่งแวดล้อมทำให้ต้องศึกษา EIA กันใหม่
- เหตุความจำเป็นที่ต้องมีการสร้างรถไฟความเร็วสูง คือทดแทนการเดินทางด้วยเครื่องบิน เพราะกรุงเทพ-อู่ตะเภา สั้นเกินไปที่จะใช้เครื่องบินบินขึ้น (320 km) ปัจจุบันรูทนี้เป็นเที่ยวบินฝึกพนักงานของการบินไทย ไม่เปิดรับผู้โดยสาร
- การเดินรถเชื่อมสนามบินจะออกจากกรุงเทพ / อู่ตะเภา ทุกๆ 30 นาที ช่วงเร่งด่วนเช้า/เย็น เร่งความถี่เป็นทุก 20 นาที แต่เดินรถเฉพาะกรุงเทพ-ศรีราชา
- ค่ารถ มักกะสัน-พัทยา ไม่เกิน 270 บาท มักกะสัน - อู่ตะเภา ไม่เกิน 330 บาท


อ้างอิง: สรุปสาระสําคัญ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ และ อู่ตะเภา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2018 10:33 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.แจงไม่มีล็อคสเปครถไฟไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน
วันที่ 30 พ.ค. 2561 เวลา 21:58 น.
ยันไม่ล็อคสเปครถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แจงตั้งคุณสมบัติสูงเพราะหวั่นรายเล็กทำโครงการสะดุด-ล่าช้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2018 8:39 pm    Post subject: Reply with quote

ประชุมรถไฟไทย-จีน จ่อเคาะประมูลตอน 2 และเร่งสรุปกรอบลงทุนต่อถึงหนองคาย
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 30 พฤษภาคม 2561 22:15:
ปรับปรุง: 31 พฤษภาคม 2561 10:02:


ประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 24 เตรียมสรุปแบบก่อสร้างตอนที่ 2 ร.ฟ.ท.เร่งประมูลในเดือน ส.ค. ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และตัวรถ) เคลียร์เทคนิค และเงินกู้ ขีดเส้นจบใน ต.ค.นี้ พร้อมเร่งจีนส่งการศึกษา ประเมินกรอบวงเงินเฟส 2 โคราช-หนองคาย เพื่อเร่งชง ครม.อนุมัติ

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยถึงความก้าวหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน ว่า คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนจะประชุมครั้งที่ 24 ระหว่างวันที่ 30 พ.ค.-1 มิ.ย. ที่ประเทศไทย เพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท โดยขณะนี้จีนอยู่ระหว่างปรับปรุงแบบตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ซึ่งกำหนดให้ส่งภายในต้นเดือน มิ.ย. หากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ตรวจสอบแล้วหากไม่มีข้อท้วงติงเพิ่มเติมจะเป็นขั้นตอนการประมูล คือ ถอดราคาเพื่อกำหนดราคากลางและกำหนดทีโออาร์ โดยจะใช้เวลาประมาณ 2 เดือน คาดว่าจะเปิดประมูลได้ในเดือน ส.ค.

ในช่วงต้นเดือน มิ.ย.นี้จีนจะต้องส่งแบบรายละเอียดที่สมบูรณ์ (Detail & Design) ของ ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. ซึ่งมีอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคองด้วย และส่งแบบฉบับร่างของตอนที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม.เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ตรวจสอบ และกำหนดให้ส่งแบบสมบูรณ์ของตอนที่ 4 ในเดือน ส.ค.นี้

นอกจากนี้ จะติดตามสัญญาที่ 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) ในรายละเอียดของตัวรถ ระบบไฟฟ้า และสิ่งที่อยู่เหนือรางทั้งหมด พร้อมรายละเอียดในส่วนของเงินกู้ อัตราดอกเบี้ยของจีน ซึ่งที่ผ่านมายังมีอัตราที่ค่อนข้างสูง นอกจากนี้ ในส่วนของเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 355 กม. ซึ่งให้จีนประมาณการกรอบวงเงินโครงการเพื่อเป็นข้อมูลเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ขออนุมัติโครงการต่อไป

แหล่งข่าวกล่าวว่า ในเฟส 2 มีประเด็นช่วงสะพานข้ามแม่น้ำโขง ซึ่งจากการหารือเบื้องต้นจะให้จีนช่วยออกแบบ โดยจะพิจารณาในส่วนของจุดก่อสร้างที่เหมาะสม และฝ่ายไทยเสนอให้มีระบบรถไฟความเร็วสูงและรถไฟรางขนาด 1.435 เมตร บนสะพานใหม่ เพื่อให้มีจุดเปลี่ยนถ่ายที่เดียวบริเวณสถานีนาทา ขณะที่จีนให้ความเห็นว่า บนสะพานใหม่ควรมีรางขนาด 1.435 เมตรเพียงอย่างเดียว ซึ่งประเด็นนี้จะต้องมีการหารือ 3 ฝ่าย คือ ไทย-ลาว-จีน ต่อไป

ด้านนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า การตรวจสอบแบบของตอนที่ 2, 3, 4 นั้น ฝ่ายก่อสร้าง ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการมีความก้าวหน้ามากแล้ว ขณะที่จะต้องเร่งเจรจาเงื่อนไขรายละเอียดของสัญญา 2.3 ซึ่งตามไทม์ไลน์จะหารือให้ได้ข้อสรุปภายในเดือน ต.ค. 61 นี้

สำหรับรถไฟความเร็ว เฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มีวงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท แบ่งเป็น ค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน 13,069.60 ล้านบาท ค่าก่อสร้างงานโยธา 122,593.92 ล้านบาท ซึ่งตลอดระยะทาง 252.35 กิโลเมตรจะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา นอกจากนี้ ยังมีค่างานระบบไฟฟ้า (M&E) 34,078.38 ล้านบาท จัดหาตู้รถไฟ 4,480 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 5,190.31 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2018 10:41 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
หวั่นเสียโอกาส.. ภาคเอกชนระยอง เตรียมร้องรัฐบาลผุดสถานีรถไฟความเร็วสูงในพื้นที่
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 18 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 22:05:


4 องค์กร-ชาวระยอง เตรียมร้องรัฐ ทวงคืนสถานีรถไฟระยองคืน
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 เวลา 12:03

ภาคเอกชนจังหวัดระยอง เตรียมออกล่ารายชื่อชาวบ้าน ร่วมทวงคืนสถานีระยอง หลังรัฐบาลกลับลำตัดสถานีออก ซึ่งเป็นสถานีที่ 10 ออกจากโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ระบุทำให้เศรษฐกิจระยองภาพรวมเสียหายยับ จึงต้องเรียกร้องขอให้รัฐบาลทบทวนใหม่...



เมื่อวันที่ 31 พ.ค.61 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า 4 องค์กรภาคเอกชนในจังหวัดระยอง ประกอบด้วยหอการค้าจังหวัดระยอง-ชมรมธนาคารจังหวัดระยอง-สภาอุตสาหกรรมจังหวัดระยอง และสมาคมส่งเสริมธุรกิจการท่องเที่ยว จังหวัดระยอง ได้ประชุมหารือร่วมกันถึงปัญหาและผลกระทบที่เกิดขึ้น หลังจากโครงการสร้างรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ไม่ชื่อสถานีระยอง หรือสถานีที่ 10 อยู่ในโครงการหรือเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ทั้งที่ก่อนหน้านี้รัฐบาลได้มีการลงพื้นที่เปิดรับฟังความคิดเห็นและชี้แจงทำความเข้าใจกับชาวระยองมาอย่างต่อเนื่อง ว่าโครงการเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 มาถึงตัวเมืองระยอง แต่ท้ายสุดนี้ ปรากฏว่า ได้มีการตัดเส้นทางมาจังหวัดระยอง หรือสถานีระยอง ซึ่งเป็นสถานีที่ 10 ออกจากโครงการเรียบร้อยแล้ว โดยโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 จะสิ้นสุดแค่เพียงสนามบินอู่ตะเภา เท่านั้น



ซึ่งกรณีดังกล่าวภาคเอกชนในจังหวัดระยอง ต่างมองว่า เป็นการสร้างความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ต่อเศรษฐกิจภาพรวมระยอง จึงอยากเรียกร้องขอให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ใหม่ และขอให้ผนวกเส้นทางสถานีระยอง หรือสถานีที่ 10 เข้าไว้ในโครงการเฟส 1 ที่กำลังจะเปิดทำ ทีโออาร์ เพราะหากเอาสถานีระยอง ไปรวมไว้ในเฟส 2 ที่จะเชื่อมต่อไปจังหวัดจันทบุรีและตราด นั้น ไม่รู้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไร



นายนพดล ตั้งทรงเจริญ ประธานหอการค้าจังหวัดระยอง กล่าวว่า การตัดสินใจตัดสถานีระยอง หรือสถานีที่ 10 ออกจากโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 ของรัฐบาลครั้งนี้ได้เกิดความเสียหายหลายประการต่อภาพรวมของจังหวัดระยอง โดยเฉพาะการเสียความรู้สึก ซึ่งชาวระยอง เคยวาดฝันมาตลอดหลังจากรัฐบาลประกาศจะมีโครงการนี้เกิดขึ้น ทุกคนต่างดีอกดีใจว่า จะเกิดความเปลี่ยนแปลงหลายอย่างเกิดขึ้นในจังหวัดระยอง นอกจากด้านการคมนาคมที่จะเดินทางเข้ากรุงเทพฯ มีความสะดวกสบายยิ่งขึ้น รวมทั้งเศรษฐกิจและสภาพสังคมจะดีขึ้น จนมีการลงทุนและวางแผนเพื่อรองรับโครงการนี้ไปล่วงหน้าแล้ว แต่เมื่อรัฐกลับลำทุกอย่างสลายทันที โดยเฉพาะอย่างยิ่งอสังหาริมทรัพย์ ซบเซาลงทันตา



ด้านนายอดิศร พัฒนศรี ที่ปรึกษาชมรมธนาคารจังหวัดระยอง ระบุว่า อยากเรียกร้องขอให้รัฐบาลทบทวนใหม่ เพราะจังหวัดระยอง เป็นหนึ่งในเขตระเบียงพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ อีอีซี ที่รัฐบาลกำหนดไว้ที่ส่งเสริมพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจชั้นนำของประเทศและของอาเซียน แต่ไม่มีรถไฟความเร็วสูงมาถึง เกิดอะไรขึ้น และที่สำคัญยังไม่รู้ว่า โครงการ เฟส 2 จะเกิดขึ้นเมื่อไร จึงอยากเรียกร้องขอให้รัฐบาลได้พิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้ง



อย่างไรก็ตาม ล่าสุดนี้ภาคเอกชนจังหวัดระยอง เตรียมเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องขอให้คืนสถานีระยอง เข้าไว้ในโครงการรถไฟความเร็วสูง เฟส 1 โดยจะตั้งโต๊ะล่ารายชื่อชาวระยอง ขึ้น 4 มุมเมืองระยอง รวบรวมชื่อของคนระยอง เรียกร้องไปยังรัฐบาล เพื่อทวงคืนสถานีระยอง เข้าอยู่ในโครงการเฟส 1 ต่อไป.

//---------------
นี่ก็อีกราย - พวกเองอยากได้อยากมี แต่ เคยมาอำนวยความสะดวกในการเคลียร์กะบรรดา กลุ่มผลประโยชน์ เคลียร์เรื่่องการเวนคืนที่ดินให้ไปจากมาบตาพุดถึงระยอง บ้างหรือเปล่า
พวกเองอยากได้อยากมี แต่ไม่เคยมาช่วย เคลียร์เรื่อง EIA เพราะ เห็นว่าธุระมิใช่ เพราะ มีแต่ตัณหาอยากได้อยากมีแต่ไม่คิดแม้แต่จะลงทุนลงแรงให้มันเป็นจริงขึ้นมานี่ มันเหลวไหลเลอะเทอะใช้ไม่ได้เด็ดขาดเชียวนะครับท่าน


Last edited by Wisarut on 04/06/2018 11:29 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2018 9:50 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งออกแบบรถไฟไทย-จีน เฟส2 ดันประมูลในปี62 เจรจาผุดสะพานใหม่เชื่อมเวียงจันทน์
โดย: MGR Online

เผยแพร่: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561 19:41:


“อาคม”เร่งจีนส่งแบบรถไฟไทย-จีน เฟสแรกกรุงเทพ-โคราช 14 ตอนรวด ตั้งเป้า ลุยประมูลจบในมี.ค.62 พร้อมเคลียร์จีน สรุปกรอบวงเงิน เฟส2 ถึงหนองคาย เชื่อมเวียงจันทน์ ผุดสะพานใหม่ วางราง2 ระบบ ทั้งไฮสปีดและราง 1เมตร ยกเลิกรถไฟสะพานเก่า แก้จราจร แจงแบล็กลิสต์ ITD เป็นอำนาจกรมบัญชีกลาง ส่วนงานก่อสร้างกับคมนาคม ยังไม่พบทำผิดสัญญา

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 24 วันที่ 1 มิ.ย. ซึ่งฝ่ายจีน มีนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฎิรูปแห่งชาติจีน เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมได้ ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งตอนที่1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง3.5 กม. การก่อสร้างน่าพอใจโดยฝ่ายจีนจัดวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมและตรวจสอบงานในพื้นที่ก่อสร้างตามมาตรฐานและกำหนดแล้วเสร็จในเดือนส.ค.2561 นี้

ทั้งนี้ ตามแผนงานซึ่งแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 ตอน/สัญญา นั้น ไทยได้ย้ำให้ฝ่ายจีนเร่งแบบทั้งหมดในวันที่ 8 มิ.ย.โดยในส่วนของตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.นั้น จะเป็นแบบรายละเอียดที่ให้จีนปรับแก้แล้ว ซึ่งหลังจากนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะถอดราคากลางและเปิดประมูลภายในเดือนส.ค. 2561 และเริ่มการก่อสร้างได้ในเดือนพ.ย. 2561

“รถไฟฯจะประมูล ตามพ.ร.บ.จัดซื้อ ปี 2560 ขั้นตอนปกติ เปิดประมูลแบบทั่วไป ซึ่งจะมีการกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติในทีโออาร์ต่อไป“นายอาคมกล่าว

ส่วนอีก12 ตอน ที่เหลือ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม โดยตอนที่ 3-7 จะเปิดประมูลในเดือนก.ย.2561 และเริ่มก่อสร้างในเดือนมี.ค. 2562 ส่วนตอนที่ 8-14 จะเปิดประมูลเดือนพ.ย.2561 เริ่มก่อสร้างเดือนเม.ย. 2562

สำหรับแผนการก่อสร้างเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางประมาณ 350กม. นั้น หลักการฝ่ายไทยจะออกแบบรายละเอียดเอง โดยจีนเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากใช้เทคโนโลยีจีนและมีส่วนเชื่อมต่อกับสปป.ลาวไปยังจีน และให้จีนประเมินกรอบวงเงินเบื้องต้น โดยตั้งเป้าจะศึกษาออกแบบให้เสร็จอย่างเร็วภายในปี 2561 และจะเริ่มก่อสร้างในปี2562 โดยจีนต้องการเร่งเฟส 2 ให้ทันกับเฟสแรกเพื่อเปิดเดินรถพร้อมกันตลอดสาย

นอกจากนี้ ได้หารือถึงเส้นทางช่วงเชื่อมต่อหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยตกลงให้ฝ่ายจีนเป็นเจ้าภาพในการศึกษาออกแบบ. และประชุม3ฝ่าย เพื่อกำหนดตำแหน่งสะพาน จุดตั้งสถานีฝั่งลาว ซึ่งสะพานแห่งใหม่จะตั้งอยู่ด้านทิศใต้ของสะพานมิตรภาพไทย-ลาว(หนองคาย-เวียงจันทน์) ในปัจจุบันประมาณ30 เมตร ขณะที่ได้ข้อสรุปว่า สะพานใหม่จะมีทั้งรางขนาดมาตรฐาน 1.435 เมตร สำหรับระบบรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่รางขนาด1 เมตร ส่วนสะพานมิตรภาพเดิม จะยกเลิกการเดินรถไฟ1 เมตร เป็นสะพานรถยนต์อย่างเดียว เพื่อลดปัญหาจราจร

นายอาคมกล่าวถึงสัญญาที่ 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) ว่า การเจรจารายละเอียดยังไม่เรียบร้อย ซึ่งกระทรวงการคลังของให้จีนส่งสัญญา อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการชำระ และเงื่อนไขแนบท้ายสัญญา ซึ่งยังมีประเด็นที่ต้องหาข้อยุติ เช่น กรณีผิดสัญญา จะฟ้องร้องกันได้หรือไม่ ซึ่งจีนยังไม่ตกลง ทั้งนี้ กรณีสัญญากับภาครัฐ หากจะฟ้องร้องและยึดทรัพย์ในโครงการอื่นแทนทำไม่ได้ ตามกฎหมายไทย แล้วหากผิดสัญญากับรัฐ กรณีงานล่าช้าจากเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่น เกิดภัยพิบัติ เหตุสุดวิสัย เป็นต้น จะใช้วิธีต่อขยายอายุสัญญา อย่างไรก็ตามเงื่อนไขในสัญญา 2.3 จะต้องสรุปภายในเดือนส.ค. หากเจรจากับจีนไม่ได้ กระทรวงคลังจะพิจารณาแหล่งเงินอื่นต่อไป โดยจะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ขออนุมัติในเดือนก.ย. 2561

***แจงแบล็กลิสต์ ITD เป็นอำนาจกรมบัญชีกลาง

ส่วนกรณีที่มีการยื่นร้องเรียนนายกรัฐมนตรี ณ จุดบริการประชาชน 1111 ศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ของรัฐบาล สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาทบทวนการจัดซื้อจัดจ้างกับ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD โดยอ้างถึงกรณีผู้บริหารของบริษัทฯ มีพฤติกรรมที่ขัดต่อหลักธรรมาภิบาล และไร้ความรับผิดชอบต่อสังคม ซึ่งอาจส่งผลให้การทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ และสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ประสานส่งเรื่องให้กระทรวงคมนาคม เพื่อรับทราบเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณายกเลิกสัญญา-ขึ้นแบล็กลิสต์นั้น

นายอาคมกล่าวว่า ในประเด็น แบล็กลิสต์บริษัทผู้รับจ้างนั้น ตามระเบียบกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้พิจารณา และประกาศ แบล็กลิสต์ นอกจากนี้ การจะแบล็กลิสต์ผู้รับเหมา จะต้องมีการทำผิดสัญญาจ้าง ซึ่งขณะนี้ งานที่บริษัทฯทำสัญญากับหน่วยงานของกระทรวงคมนาคม ยังไม่มีประเด็นเรื่องผิดสัญญา ตามหลักการกระทรวงคมนาคมไม่มีอำนาจในการแบล็กลิสต์ ทั้งนี้ หากกรมบัญชีกลางประกาศ แบล็กลิสต์ ไม่เฉพาะกระทรวงคมนาคม ทุกหน่วย ทุกกระทรวง ที่มีงานก่อสร้างรับเหมา จะต้องปฎิบัติตามทั้งหมด เรื่องนี้มีระเบียบกำหนดไว้ชัดเจน

***แบ่ง14 สัญญา ลุยประมูลและก่อสร้างครบภายในเม.ย.62

สำหรับแผนก่อสร้าง 14 ตอน/สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. กรมทางหลวงอยู่ระหว่างก่อสร้างกำหนดแล้วเสร็จ เดือนส.ค.2561

สัญญาที่2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก. ระยะทาง 11 กม.ประมูลเดือนส.ค.2561 เริ่มก่อสร้างเดือนพ.ย.2561

สัญญาที่3 ช่วงแก่งคอย-บันไดม้า ระยะทาง 32 กม. สัญญา4 ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.7 กม. สัญญา5 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 24.8 กม. สัญญา 6 ช่วงลำตะคอง-โคกกรวด ระยะทาง 37.6 กม. สัญญา7 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กม. กำหนดเปิดประมูลช่วงเดือนก.ย.2561-ม.ค.2562

สัญญา 8 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง11 กม. สัญญา9 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 22.6 กม. สัญญา 10 ช่วงนวนคร-บ้านโพธิ์ ระยะทาง 23 กม. สัญญา 11 เชียงรากน้อย (เดปโป้) สัญญา 12 ช่วงบ้านโพธิ์-พระแก้ว ระยะทาง 14.4 กม. สัญญา 13 ช่วงพระแก้ว- สระบุรี ระยะทาง 30.5 กม. สัญญา 14 ช่วง สระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13 กม.

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนจะประชุมครั้งที่ 25 วันที่ 8-10 ส.ค. 61 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน

รถไฟไทย-จีนช่วงที่2สร้างพ.ย.61
เผยแพร่: 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561

กระทรวงคมนาคม ตั้งเป้าประกวดราคารถไฟไทย-จีนช่วงที่ 2 ระยะทาง 11 กม.สิงหาคม เริ่มก่อสร้างพ.ย.61

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 24 ว่า เป็นการประชุมเพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินโครงการระยะที่ 1 (ช่วงกลางดง – ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ซึ่งการก่อสร้างมีความก้าวหน้าตามลำดับจะมีบางส่วนที่ล่าช้าเนื่องจากช่วงที่ผ่านมามีฝนตกลงทำให้ไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ ทั้งนี้ ได้ย้ำให้ฝ่ายจีนส่งแบบการก่อสร้างช่วงแรก ที่เหลืออีก 12 สัญญาให้แล้วเสร็จภายในเดือนมิถุนายนนี้ ตั้งเป้าเปิดประกวดราคาในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน2561 ส่วนระยะที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิกระยะทาง 11 กิโลเมตร แบบการก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างการทำราคากลางโดยทางจีน จะส่งแบบกลับมาภายใน11มิถุนายนนี้ คาด ว่าจะประกวดราคาได้เดือนสิงหาคม2561 เริ่มก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน2561

ขณะเดียวกัน ที่ประชุมได้หารือเรื่องการก่อสร้างช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ซึ่งส่วนนี้ไทยจะเป็นผู้ดำเนินการการออกแบบก่อสร้างและจีนจะเป็นที่ปรึกษา โดยจะเร่งศึกษาออกแบบให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ เพื่อที่จะเริ่มก่อสร้างให้ได้ในปี2562 และเปิดบริการพร้อมกันกับช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ส่วนช่วงหนอง-คายเวียงจันทร์ ได้มอบหมายให้จีน หารือกับลาวเรื่องที่ตั้งของสถานีและการสร้างสะพานแยกออกจากสะพานมิตรภาพไทย-ลาวที่หนองคายเพื่อให้รถไฟวิ่งผ่านอย่างเดียวเท่านั้นรองรับรถไฟความเร็วสูงรถไฟปกติ และระบบรถไฟทางคู่ อีกประเด็นที่ได้หารือคืองานสัญญา 2.3 เป็นระบบงาน ระบบราง อยู่ระหว่างเจรจายังไม่ได้ข้อสรุปแต่ตั้งเป้าจะต้องได้ข้อสรุปภายในสิงหาคม-กันยายน2561
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2018 3:35 am    Post subject: Reply with quote

ถกรถไฟไทย-จีนคืบเร่งประมูล13 สัญญาส.ค.นี้
เผยแพร่: 2 มิถุนายน พ.ศ. 2561

“อาคม” เผยผลหารือร่วมรถไฟไทย – จีน ครั้งที่ 24 สั่งร.ฟ.ท.เดินหน้าปรับผลศึกษาออกแบบช่วงนครราชสีมา-หนองคายหลังสนข.ศึกษาไว้ตั้งแต่ปี 53 คาดรีวิวแบบแล้วเสร็จภายในปีนี้ ล่าสุดช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาเตรียมเปิดประมูล 13 สัญญาส.ค.นี้ รวมค่ากว่า 1.7 แสนล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย เปิดเผยภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 22 ร่วมกับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ (Ning Jizhe) รองประธานกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2561 ว่าในการประชุมได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. การก่อสร้างของกรมทางหลวงผลเป็นที่น่าพอใจ โดยฝ่ายจีนจัดวิศวกรที่ปรึกษาควบคุมและตรวจสอบงานในพื้นที่ก่อสร้างตามมาตรฐาน


ทั้งนี้ ตามแผนงานซึ่งแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 ตอนนั้น ได้ย้ำให้ฝ่ายจีนเร่งแบบทั้งหมดในวันที่ 8 มิถุนายนนี้ ซึ่งหลังจากนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะถอดราคากลางและเปิดประมูลภายในเดือนสิงหาคมนี้และก่อสร้างได้ในเดือนพฤศจิกายน 2561 โดยในส่วนของตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม.นั้น จะเป็นแบบรายละเอียดที่ให้จีนปรับแก้แล้ว

“ส่วนอีก 12 ตอน ที่เหลือ จะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม ๆละ 6 ตอน โดยตอนที่ 3-8 จะเปิดประมูลในเดือนกันยายนนี้และก่อสร้างในเดือนมีนาคม 2562 ส่วนตอนที่ 9-14 จะเปิดประมูลเดือนพฤศจิกายน 2561 และก่อสร้างเดือนเมษายน 2562”




นายอาคมกล่าวอีกว่า สำหรับแผนการก่อสร้างเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทางกว่า 300 กม. นั้น ในหลักการฝ่ายไทยจะออกแบบรายละเอียดเอง โดยฝ่ายจีนเป็นที่ปรึกษา เนื่องจากใช้เทคโนโลยีจีนและมีส่วนเชื่อมต่อกับสปป.ลาวไปยังจีน โดยตั้งเป้าจะศึกษาออกแบบให้เสร็จอย่างเร็วในปีนี้และจะเริ่มก่อสร้างในปี 2562 โดยจีนต้องการเร่งเฟส 2 ให้ทันกับเฟสแรกเพื่อเปิดเดินรถพร้อมกันตลอดสาย

นอกจากนี้ ได้หารือถึงเส้นทางช่วงเชื่อมต่อหนองคาย-เวียงจันทน์ โดยตกลงให้ฝ่ายจีนเป็นเจ้าภาพศึกษาออกแบบและประชุม 3ฝ่าย เพื่อกำหนดตำแหน่งสะพาน จุดตั้งสถานีฝั่งลาว ขณะที่ได้ข้อสรุปว่าสะพานแห่งใหม่จะมีทั้งระบบรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่รางขนาด1 เมตร ส่วนสะพานมิตรภาพเดิมจะยกเลิกการเดินรถไฟ1 เมตรให้เป็นสะพานให้บริการสำหรับรถยนต์เพียงอย่างเดียว เพื่อลดปัญหาจราจร




ทั้งนี้นายอาคม ยังกล่าวถึงสัญญาที่ 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) มูลค่าประมาณ 5.4 หมื่นล้านบาทว่า การเจรจารายละเอียดยังไม่เรียบร้อย ซึ่งกระทรวงการคลังขอให้จีนส่งสัญญา อัตราดอกเบี้ย ระยะเวลาการชำระ และเงื่อนไขแนบท้ายสัญญา ซึ่งยังมีประเด็นที่ต้องหาข้อยุติ เช่น กรณีผิดสัญญา จะฟ้องร้องกันได้หรือไม่ ซึ่งจีนยังไม่ตกลง ทั้งนี้กรณีสัญญากับรัฐ จะฟ้องร้องและยึดทรัพย์ในโครงการอื่นแทนไม่ได้ ตามกฎหมายไทย หากผิดสัญญากับรัฐ กรณีล่าช้าจากเหตุใดเหตุหนึ่ง เช่นภัยพิบัติ เหตุสุดวิสัย เป็นต้น จะใช้วิธีต่อขยายอายุสัญญา อย่างไรก็ตามเงื่อนไขในสัญญา 2.3 จะต้องสรุปภายในเดือนมิถุนายนนี้หากเจรจากับจีนไม่ได้ กระทรวงคลังจะพิจารณาแหล่งเงินอื่นต่อไป

“ดังนั้นโดยภาพรวมแล้วการก่อสร้างช่วง 3.5 กิโลเมตรที่กรมทางหลวงรับไปดำเนินการมีความคืบหน้าไปแล้วประมาณ 10% จึงขอให้ร.ฟ.ท.เร่งว่าจ้างศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ต่อไปได้ทันที เนื่องจากจะต้องมีกระบวนการอีกหลายขั้นตอนกว่าจะแล้วเสร็จคาดว่าจะใช้ระยะเวลาในปี 2562 เพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างต่อเนื่องกันไปพร้อมกับการเปิดให้บริการเดินรถถึงหนองคายตามแผนที่กำหนดไว้

“ระยะทางช่วง 11 กิโลเมตร คาดว่าจะประกาศประกวดราคาได้ภายในเดือนสิงหาคมนี้ เริ่มต้นก่อสร้างเดือนพฤศจิกายน 2561 ส่วนกลุ่มที่เหลือคาดว่าจะประกาศประกวดราคาได้ในเดือนกันยายน 2561 และเริ่มก่อสร้างเดือนมีนาคม 2562 และเมษายนต่อเนื่องกันไป”

ด้านนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) กล่าวว่าการหารือความร่วมมือรถไฟไทย-จีนครั้งที่ 24 นี้นอกจากจะหารือที่เกี่ยวข้องกับเฟสแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้ว ยังจะมีการหารือในเฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายที่ควรจะเริ่มดำเนินการเพื่อให้สอดคล้องกับเฟสแรกที่มีความคืบหน้ามาอย่างต่อเนื่อง

“ฝ่ายไทยออกแบบเองโดยร.ฟ.ท.ว่าจ้างที่ปรึกษาไปดำเนินการ และมีฝ่ายจีนร่วมเป็นคณะกรรมการตรวจสอบผลการศึกษาดังกล่าวนี้ซึ่งขณะนี้สภาวิศวกรมีความเคลื่อนไหวเรื่องนี้แล้ว โดยโครงการช่วงนี้สนข.ได้ออกแบบเบื้องต้นไว้แล้วตั้งแต่ปี 2553 จึงสามารถปรับปรุงแบบนั้นใหม่ต่อไปได้ทันที ส่วนบทบาทสนข.ต่อไปจะดูในเรื่องความเป็นไปได้ของโครงการ โดยฝ่ายจีนจะรับไปทบทวนโครงการทั้งนี้จะมีการรายงานผลการประชุมครั้ง 24 ต่อคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อทราบความคืบหน้าซึ่งการลงทุนระยะที่ 2 และการออกแบบจะต้องปรับราคาลดลงกว่าระยะแรกเนื่องจากฝ่ายไทยดำเนินการเองทั้งหมด”

ด้านแหล่งข่าวระดับสูงของกระทรวงคมนาคมรายหนึ่งกล่าวว่า สำหรับสัญญา 2.3 งานระบบวางรางและอาณัติสัญญาณ มูลค่า 5.4 หมื่นล้านบาท ล่าสุดฝ่ายจีนส่งแบบให้ฝ่ายไทยแล้วโดยสรุปว่าโครงการระยะแรกช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแบ่งออกเป็นจำนวน 13 สัญญาที่พร้อมจะเปิดประมูลให้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาได้ในช่วงปลายปีนี้เป็นต้นไป รวมมูลค่าประมาณ 1.7 แสนล้านบาท

สำหรับระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายมีระยะทางประมาณ 355 กิโลเมตรคาดว่าจะใช้กรอบวงเงินลงทุนไม่น้อยกว่า 2 แสนล้านบาทนั้นส่วนใหญ่จะเป็นพื้นราบ แตกต่างจากระยะแรกที่เป็นภูเขาดังนั้นราคาต่อกิโลเมตรจึงสูงกว่า เบื้องต้นนั้นยังมีลุ้นโมเดลองค์กรที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมจะนำเข้าไปบริหารจัดการโครงการแทนร.ฟ.ท. หรือแอร์พอร์ตลิ้งค์ และคงต้องจับตาว่าฝ่ายจีนจะยังให้การสนับสนุนการศึกษาออกแบบระยะที่ 2 ต่อไปหรือไม่ซึ่งร.ฟ.ท.ยังไม่ได้ดำเนินการ แต่น่าจะง่ายกว่าระยะแรกเนื่องจากมีประสบการณ์ร่วมกับฝ่ายจีนมามากแล้ว

“ผลการศึกษาระยะที่ 2 สนข.เริ่มศึกษาไว้นานแล้วร.ฟ.ท.คงใช้งบประมาณอีกราว 10 ล้านบาทไปรีวิวผลการศึกษา จึงประหยัดได้อย่างมากเพราะฝ่ายไทยดำเนินการเอง แต่ใช้มาตรฐานจีนโดยต้องขอให้ฝ่ายจีนประมาณราคากลาง คาดว่า 1-2 เดือนนี้จะชัดเจน ดังนั้นเสียงเรียกร้องจากหลายฝ่ายเมื่อครั้งที่มีการประกาศใช้ม.44 ให้ฝ่ายจีนดำเนินการก็คงจะหมดไป รับเหมาก็มีลุ้นได้รับงาน บริษัทที่ปรึกษาต่างๆก็มีโอกาสรับงานมากขึ้น เนื่องจากได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากฝ่ายจีนมาแล้วนั่นเอง”

ด้านนายพิเชฐ นิ่มพานิช ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น(ไทย)จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หวังว่าเป็นโอกาสของผู้รับเหมาไทยที่จะได้เข้าไปรับงานโครงสร้างงานทางในช่วงปลายปีนี้อีกหนึ่งเมกะโปรเจ็กต์ที่หลายบริษัทเฝ้ารอมานาน แต่ก็ยังเป็นห่วงว่าจะรัฐบาลเอาเงินทุนจากไหนได้ดำเนินการ การเวนคืนสำเร็จจริงหรือไม่ เพราะไม่อยากเห็นความล่าช้าเช่นโครงการมอเตอร์เวย์ช่วงบางใหญ่-กาญจนบุรี ที่ยังเข้าพื้นที่ไม่ได้จนถึงปัจจุบันนี้[/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2018 3:46 am    Post subject: Reply with quote

'คีรี' ท้ารบ 'ซีพี' ชิงไฮสปีด! เปิดอาณาจักรแสนล้าน - 'บีทีเอส' ประกาศยึดทุกโปรเจ็กต์
ออนไลน์เมื่อ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ใน เซกชัน : อสังหาฯ โดย ฐานเศรษฐกิจ
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,369 วันที่ 27-30 พ.ค. 2561 หน้า 29-30

เปิดอาณาจักรแสนล้าน! 'คีรี' เจ้าพ่อระบบรางเมืองไทย ประกาศยึดทุกโปรเจ็กต์รัฐ รถไฟฟ้า ยันศูนย์คมนาคมบางซื่อ ล่าสุด ชิง 'เจ้าสัวซีพี' ประมูลไฮสปีดเทรน มั่นใจ! "โนว์ฮาว-เงินทุน-พันธมิตร" แกร่ง ขณะที่ 'ธนินท์' ไร้ประสบการณ์

รถไฟฟ้าสายสีเขียว 'บีทีเอส' สร้างรายได้และผลกำไรอย่างมหาศาลให้กับ คีรี กาญจนพาสน์ ด้วยจุดแข็งทั้งพันธมิตรและประสบการณ์ ส่งผลให้แวดวงที่เกี่ยวข้องต่างมองว่า เค้กโครงสร้างพื้นฐานในมือรัฐ ย่อมหนีไม่พ้นมังกรผู้นี้ โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูงอีอีซี แม้จะมีคู่แข่งระดับเบอร์หนึ่งของประเทศ แต่เขามั่นใจว่า จะได้เค้กก้อนนั้นมาครองไม่ยาก ขณะเดียวกัน การปักหมุดลงทุนอสังหาริมทรัพย์ร่วมกับพันธมิตรยักษ์ใหญ่ ค่ายแสนสิริ ยังคงเดินหน้าอย่างมั่นคง กับ 28 โครงการเกาะแนวรถไฟฟ้า





นายคีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ฯ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า หลังจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประกาศทีโออาร์ประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บริษัทใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ศึกษาเงื่อนไขการลงทุน ซึ่งมีพันธมิตรเดิม อย่าง บริษัท ซีโน-ไทย เอนจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด และราชบุรี โฮลดิ้ง แต่หากมีต่างชาติเข้ามาร่วมทุนและให้ระบบเทคโนโลยีกับบริษัทไม่น้อยกว่า 50% ก็จะยินดี ซึ่งขณะที่ ปตท. เอง ยอมรับว่า ได้มีการพูดคุย เบื้องต้น ทุกค่ายจะเข้าไปซื้อซองเพื่อมาศึกษา

เมื่อถามถึง 'เจ้าสัวซีพี' นายธนินท์ เจียรวนนท์ ซึ่งมีกระแสแรงมาตลอดต่อการเข้าชิงชัยประมูลรถไฟความเร็วสูง กับนักลงทุนจีนที่มีองค์ความรู้ด้านรถไฟความเร็วสูง บีทีเอสกรุ๊ปจะสู้ไหวหรือไม่ นายคีรี ตอกย้ำว่า เจ้าสัวซีพีถือเป็นเบอร์หนึ่งของเมืองไทย แต่ไม่มีประสบการณ์ทางด้านระบบราง หากเทียบกับบีทีเอส กลับมีประสบการณ์ด้านโครงสร้างพื้นฐานมาตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีความชำนาญ มีองค์ความรู้ มีเงินทุน ซึ่งสถาบันการเงินเข้ามาติดต่อต่อเนื่อง เพื่อสนับสนุนเงินลงทุน อีกทั้งยังดึงแหล่งผลิตวัสดุอุปกรณ์จากต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพได้ดีกว่า ทำให้มั่นใจว่า จะเข้าไปลงทุนรถไฟความเร็วสูงอีอีซีได้

"ยืนยันว่า วันนี้บีทีเอสมีคู่แข่งสำคัญ ยิ่งซีพีมีพันธมิตรที่มีประสบการณ์ ยิ่งต้องแข่งขันแน่นอน และถือว่า เรามีคู่แข่ง ส่วนพาร์ตเนอร์ เรามี 2 ราย คือ ซิโน-ไทย มีความชำนาญด้านการก่อสร้าง และราชบุรีโฮลดิ้ง ที่เป็นบริษัทใหญ่ ที่มองบีทีเอสเป็นมืออาชีพด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้เกิดความแข็งแกร่งทางธุรกิจมากขึ้น"

นอกจากนี้ ยังศึกษารูปแบบการพัฒนามักกะสัน ว่า ที่ดินก้อนนี้ เดิมที่เคยมองว่า อาจเป็นภาระ กลับกันจะทำให้ไม่เป็นภาระได้อย่างไร ส่วนศูนย์คมนาคมบางซื่อ เชื่อว่า ต.ค. นี้ สู้กันดุเดือดแน่ และบริษัทก็สนใจเข้าร่วมประมูล

ขณะที่ แลนด์แบงก์ในจังหวัดอีอีซี ยอมรับว่า ซื้อไม่ทันนักลงทุนค่ายอื่น แต่มีบ้าง ไม่มากถึง 10,000 ไร่ เหมือนซีพี และหากได้ลงทุนรถไฟความเร็วสูง แน่นอนว่าจะต้องพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และเมืองรอบสถานีรถไฟควบคู่กันไป นอกจากรถไฟความเร็วสูงกว่า 2 แสนล้านแล้ว บริษัทยังเตรียมแข่งขันประมูลโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ตะวันตก กว่าแสนล้านบาท และรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้กว่าแสนล้านบาท หลังชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสายสีเหลืองกว่าแสนล้านบาท ส่วนแผนขยายเส้นทางรถไฟฟ้าเข้าในเมืองทองธานี จ.นนทบุรี จำนวน 2 สถานี ซึ่งบีทีเอสลงทุนร่วมกับ บี-แลนด์ ขณะนี้ รอการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) อนุมัติ คาดว่าเร็ว ๆ นี้ ขณะนี้ การประเมินรายได้ผลกำไร มั่นใจว่า บีทีเอสที่เปิดให้บริการและที่กำลังจะเดินรถสายสีเขียวใต้จะโตปีละ 25%

ส่วนแผนลงทุนอสังหาริมทรัพย์กับ บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) บริษัทได้ถ่ายโอนที่ดินแนวรถไฟฟ้าและที่ดินสะสมจังหวัดอีอีซี มูลค่ากว่า 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีที่ดินสะสมหลายแปลง ให้กับ บริษัท ยูซิตี้ฯ ซึ่งเป็นบริษัทลูกที่จะขยายออกไป


นายกวิน กาญจนพาสน์ กรรมการบริหาร บริษัท บีทีเอสกรุ๊ปฯ เสริมว่า โครงการคอนโดมิเนียม ซึ่งจอยต์เวนเจอร์กับแสนสิริ ขณะนี้ เปิดขาย 11 โครงการ จากแผน 25 โครงการ และเพิ่มอีก 3 โครงการ รวม 28 โครงการ ล่าสุด ปิดการขายไปแล้ว 3 โครงการ มองว่า ค่อนข้างประสบความสำเร็จ และจะจับมือเป็นพันธมิตรไปด้วยกันตลอดไป

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า เตรียมประกาศเชิญชวนนักลงทุนที่สนใจร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และที่ดินมักกะสัน มูลค่ารวม 2.2 แสนล้านบาท ในวันที่ 30 พ.ค. 2561 หลังจากนั้นอีก 3 สัปดาห์ ขายซองโดยให้เวลาเอกชนเตรียมเอกสาร 4 เดือน วันที่ 12 พ.ย. กำหนดให้ยื่นซองประกวดราคา

อย่างไรก็ดี เข้าใจว่า มีเอกชนไทยและต่างชาติให้ความสนใจจำนวนมาก อาทิ ตัวหลัก "บีทีเอส , ซีพี, ราชบุรีโฮลดิ้ง และ ปตท." ส่วนนักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาจอยต์เวนเจอร์กับนักลงทุนไทยได้ ส่วนเงื่อนไข ต้องผ่านงานระบบรางด้านรถไฟความเร็วสูง มีสภาพคล่องทางการเงิน เป็นต้น ส่วนศูนย์คมนาคมบางซื่อ จะให้สิทธิ์เอกชน เพียงช่องขายตั๋ว และพื้นที่ชานชาลา ซึ่งเอกชนให้ความสนใจพอสมควร
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44620
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2018 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

ล็อกรายใหญ่สร้างรถไฟไทย-จีน "อาคม" กลัวรายเล็กทำเสียชื่อ
เดลินิวส์ อาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561 เวลา 12.02 น.

"อาคม" ขีดเส้นเปิดปประมูลรถไฟไทย-จีน 1.25 แสนล้านบาทภายในปีนี้ ยันคัดเลือกเฉพาะรายใหญ่หวั่นงานล่าช้า ชง ครม. เคาะดีลงานระบบ 5.3 หมื่นล้านบาทภายในไตรมาส 3

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง(รถไฟไทย-จีน) ระยะ(เฟส) แรกช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมาวงเงิน 1.79 แสนล้านบาท เป็นค่าก่อสร้าง 1.25 แสนล้านบาทและค่างานระบบ 5.4 หมื่นล้านบาท ว่า แบ่งงาน 14 สัญญา ขณะนี้สัญญาก่อสร้างตอนแรก ช่วงกลางดง-ปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา 3.5 กม. กรมทางหลวง (ทล.) ปรับคันดินเพื่อรองรับงานวางรางได้ตามแผนคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินปลายปีนี้ ขณะที่การออกแบบสัญญาก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง – ขนานจิตร 11 กม. วงเงิน 5 พันล้านบาท หาก ครม. เห็นชอบจะจัดทำร่างเอกสารเงื่อนไขการประกวดราคา(ทีโออาร์)เพื่อเปิดประมูลเดือนส.ค.นี้ให้ตอกเสาเข็มเดือน พ.ย. สำหรับแบบก่อสร้างตอน 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม.จะเปิดประมูล 6 สัญญาภายในเดือนก.ย.เริ่มก่อสร้างเดือน มี.ค. 62 เช่นเดียวกันกับตอน 4 ช่วงบางซื่อ-แก่งคอย 119 กม.เปิดประมูล 6 สัญญาภายในเดือน พ.ย. เริ่มก่อสร้างเดือน เม.ย.62

นายอาคม กล่าวต่อว่า การเปิดประมูลก่อสร้างเฟส 1 รัฐบาลไทยจำเป็นต้องกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เข้าร่วมประมูลไว้ในมาตรฐานที่สูงระดับหนึ่งเพื่อเป็นหลักประกันให้รัฐบาลจีนมั่นใจว่างานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดเป็นไปตามมาตรฐานไม่มีข้อผิดพลาดเนื่องจากโครงการใหญ่ๆที่ผ่านมามีบางสัญญาได้บริษัทรายเล็กก่อให้เกิดปัญหาคุณภาพงานไม่เป็นไปตามมาตรฐานและเกิดความล่าช้าแต่ยืนยันว่าจะเน้นส่งเสริมผู้ประกอบการชาวไทยให้ได้รับงานก่อสร้างหากบริษัทจีนสนใจจะร่วมจับคู่เข้าประมูลได้
 
นายอาคม กล่าวอีกว่า  ส่วนเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 300 กม. อยู่ระหว่างออกแบบงานก่อสร้างโยธางานวางรางและระบบอาณัติสัญญาณฝ่ายจีนขอร่วมออกแบบรายละเอียดและความเหมาะสมด้วยเนื่องจากเฟส 2 ต้องไปเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงของสปป.ลาวมีความซับซ้อนด้านงานเทคนิค  คาดว่าจะเร่งเสนอเฟส 2 ให้ที่ประชุมครม.อนุมัติภายในปลายปีนี้ ตั้งเป้าก่อสร้างภายใน ธ.ค.62 โดยฝ่ายจีนเสนอว่าต้องเร่งงานก่อสร้างเฟส 1 และเฟส 2 ให้แล้วเสร็จใกล้เคียงกันเพื่อเปิดเดินรถได้ตลอดเส้นทาง ส่วนเฟส 5 ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ได้หารือเบื้องต้นต้องเร่งกำหนดจุดก่อสร้างสะพานรถไฟข้ามแม่น้ำโขงและจุดที่ตั้งสถานีร่วมกับสปป.ลาวต่อไปแต่รัฐบาลไทยต้องการก่อสร้างสะพานรถไฟที่รองรับทั้งรางขนาด 1.435 เมตรของรถไฟความเร็วสูงและรางขนาด 1 เมตรของรถไฟทางคู่อยู่บนสะพานเดียวกันเพื่อส่งเสริมการเชื่อมต่อโครงข่ายรถไฟทางคู่จากไทยวิ่งเข้าสู่สปป.ลาวด้วย
 
นายอาคม กล่าวด้วยว่า สำหรับความคืบหน้าสัญญาที่ 2.3 งานระบบรางระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 5.4 หมื่นล้านบาทนั้น จะเร่งเจรจาให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนส.ค.เพราะติดปัญหาหลายด้านทั้งเรื่องสเปคงานก่อสร้างต่างๆรวมถึงเรื่องข้อกฎหมายของไทยเพื่อเสนอครม.เดือนก.ย. เบื้องต้นฝ่ายจีนจะใช้วิศวกรคุมงานก่อสร้าง 50คนขณะที่วิศวกรคุมงานชาวไทยจะอยู่ที่ 410 คน ส่วนเรื่องการฝึกอบรมบุคลากรได้ร่วมมือกับสมาคมวิศวกรรมที่ปรึกษาหาแนวทางร่วมกันต่อไป  ส่วนเรื่องแหล่งเงินกู้เพื่อลงทุนสัญญา 2.3 นั้นยังต้องเจรจากับกระทรวงการคลังทั้งเรื่องดอกเบี้ยระยะเวลาชำระหนี้และเงื่อนไขหากผิดสัญญาโดยฝ่ายจีนได้ขอให้มีบทลงโทษเรื่องการยึดสัญญาก่อสร้างหากเอกชนทำงานล่าช้าซึ่งฝ่ายไทยไม่มีกฎหมายรองรับให้ดำเนินการดังกล่าวได้จึงต้องหารืออย่างใกล้ชิดกันอีกครั้งในเรื่องข้อกฎหมาย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2018 1:40 am    Post subject: Reply with quote

TOR ไฮสปีดเอื้อต่างชาติ เข้าทาง”ซีพี-จีน-ญี่ปุ่น”
พร็อพเพอร์ตี้
อาทิตย์ที่ 3 มิถุนายน 2561 เวลา 23:21 น.

ชำแหละทีโออาร์ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ขาใหญ่ทุนไทยหวั่นเข้าทางทุนต่างชาติฮุบเค้ก 2.2 แสนล้าน เปิดทางถือหุ้น 75% ไฟเขียวรัฐวิสาหกิจต่างประเทศชาติเดียวกันยื่นแข่งได้เกิน 2 ราย ด้านบีทีเอสโวยล็อกสเป็กงานระบบ ต้นทุนพุ่ง 10-25% อ้างผลงาน 18 ปีไร้ประโยชน์ จับตาเข้าทางกลุ่ม ซี.พี.-จีน-ญี่ปุ่น แห่ร้องสมาคมรับเหมา อีอีซีดันโมเดลใหม่ลงทุน 3 ชาติปลุกเศรษฐกิจภาคตะวันออก

รายงานข่าวจากวงการรับเหมาก่อสร้างเปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้กำลังเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ทีโออาร์ประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงินกว่า 2.2 แสนล้านบาท ในรูปแบบ PPP Net Cost สัมปทาน 50 ปี หลังการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ประกาศทีโออาร์เชิญชวนวันที่ 30 พ.ค.ที่ผ่านมา

ชี้ทีโออาร์เอื้อต่างชาติ

“ดูแล้วทีโออาร์เอื้อให้ต่างชาติมากกว่าบริษัทไทย เข้าใจว่าเป็นโครงการแรกและขนาดใหญ่ที่ไทยใช้เงินลงทุนสูง กว่าจะมีกำไรใช้เวลากว่า 10 ปี รัฐจึงอยากให้เกิดการแข่งขัน โดยเปิดกว้างให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนมาก ๆ แต่อยากให้มองศักยภาพผู้ประกอบไทยด้วย”

โดยเฉพาะคุณสมบัติผู้ยื่นข้อเสนอ มีหลายจุดที่กังขา เช่น กรณีนิติบุคคลรวมกันเป็นกิจการร่วมค้า ต้องมีผู้ถือหุ้นที่เป็นนิติบุคคลไทยอย่างน้อย 1 รายถือหุ้นในสัดส่วนเกินกว่า 25% ของทั้งหมด ขณะที่สมาชิกแต่ละรายต้องมีสัดส่วนการลงทุนไม่น้อยกว่า 5% และต้องจดทะเบียนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี เท่ากับว่าหากมีผู้ประกอบการไทยร่วมกับต่างชาติแค่ 2 ราย ไทยถือหุ้น 25% แสดงว่าอีก 75% เป็นต่างชาติได้

เปิดทางรัฐวิสาหกิจจีน

อีกประเด็นเรื่องยกเว้นให้รัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ที่เป็นของรัฐบาลประเทศเดียวกันเข้าร่วมได้เกิน 1 ราย ขณะที่ในทีโออาร์ไม่ได้ระบุถึงรัฐวิสาหกิจของประเทศไทยเลย เช่น บมจ.ปตท. และราชบุรีโฮลดิ้ง ถ้า 2 รายนี้แยกประมูลถูกปัดตกได้ เนื่องจากเป็นผู้มีผลประโยชน์ร่วมกันกับผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นหรือฮั้วกันได้ ทำให้ผู้ประกอบการรายอื่นที่เป็นพันธมิตรไม่สามารถเข้าร่วมได้

และในประกาศเงื่อนไขการร่วมลงทุนของอีอีซีระบุไว้ชัดเจนว่า กรณีที่การคัดเลือกมีหน่วยงานของรัฐ ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศเดียวกันเป็นเจ้าของ ตั้งแต่สองรายขึ้นไป เป็นผู้ยื่นข้อเสนอโดยไม่มีเอกชนรายอื่นยื่นแข่ง หากคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อประเทศก็อาจรับข้อเสนอของหน่วยงานรัฐ ซึ่งรัฐบาลต่างประเทศเดียวกันเป็นเจ้าของได้


“เท่ากับเปิดทางให้จีนเข้ามา เพราะบริษัทเดินรถไฟความเร็วสูง มีแต่จีนที่รัฐบาลถึอหุ้น 100% ส่วนญี่ปุ่น เกาหลี และยุโรป จะดำเนินการโดยบริษัทเอกชน”

โดยกำหนดมูลค่าของกิจการ หากเป็นนิติบุคคลรายเดียวเฉลี่ย 3 ปี ไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท หากเป็นกิจการร่วมค้าไม่ต่ำกว่า 5,000 ล้านบาท รวมกันไม่ต่ำกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งในทีโออาร์ไม่ได้ระบุว่าเป็นกิจการประเภทไหน

ส่วนประสบการณ์เป็นประเด็นที่อาจทำให้ผู้ประกอบการเดินรถไฟฟ้าบีทีเอสและรถไฟฟ้าใต้ดิน ไม่สามารถเข้าร่วมได้ ซึ่งทีโออาร์ในส่วนงานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า ระบุต้องมีประสบการณ์ด้านการบูรณาการงานระบบของรถไฟความเร็วสูง ประกอบด้วยงานอาณัติสัญญาณ โทรคมนาคม ไฟฟ้า วางราง และศูนย์ซ่อมบำรุง ทุกระบบรวมกันมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 7,000 ล้านบาท และแล้วเสร็จไม่เกิน 20 ปี และระยะเวลาการก่อสร้าง 5 ปี เมื่อเทียบกับระยะทาง 220 กม. ถือว่าน้อยเกินไป

บีบผู้เดินรถไทยผนึกต่างชาติ

แหล่งข่าวจาก บมจ.ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ (BTSC) กล่าวว่า หลังมีประกาศทีโออาร์ กลุ่มกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์, บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น และ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง ได้ประชุมหารือมีข้อกังวล เช่น ให้บริษัทไทยถือหุ้น 25% แต่ให้รัฐวิสาหกิจต่างประเทศ ชาติเดียวกันเข้าประมูลได้เกิน 2 ราย เป็นต้น

และประเด็นที่เกี่ยวข้องกับบีทีเอสโดยตรงคือประสบการณ์งานระบบเครื่องกลและไฟฟ้า ระบุต้องมีประสบการณ์ด้านการบูรณาการงานระบบของรถไฟความเร็วสูง ระบุชัดแบบนี้เท่ากับบีทีเอสก็ไม่สามารถเข้าร่วมได้เอง ต้องจับมือกับต่างชาติหรือจ้างต่างชาติมาดำเนินการซึ่งจะทำให้ต้นทุนสูงขึ้น 10-25% หรือ 4,000-5,000 ล้านบาทจากมูลค่าระบบ 50,000 ล้านบาท

“เท่ากับประสบการณ์บูรณาการรถไฟฟ้ากว่า 18 ปีของบีทีเอสไม่มีประโยชน์ตรงนี้เลย จริง ๆ ทีโออาร์ไม่ต้องกำหนดว่าเป็นรถไฟความเร็วสูง เพราะเมื่อบริษัทที่ประมูลได้จะจัดหาภายหลังได้ กำหนดแบบนี้เท่ากับต้องพึ่งต่างชาติ จะทำให้ไม่มีอำนาจต่อรองในเรื่องอื่น ๆ เช่น ระบบ ขบวนรถ”

จับตาเข้าทาง ซี.พี.-จีน-ญี่ปุ่น

แหล่งข่าวระบุว่า เป็นที่จับตาว่าทีโออาร์อาจเข้าทางบางกลุ่มที่สนใจรถไฟความเร็วสูงสายนี้ตั้งแต่แรก คือ กลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ซึ่งมีทั้งพันธมิตรจากจีนและญี่ปุ่นอยู่ในมือที่จะร่วมลงทุน และบริษัทในเครือที่มีประสบการณ์พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทั้ง ซี.พี.แลนด์ถนัดด้านโรงแรม ที่อยู่อาศัย มีที่ดินรอพัฒนาในพื้นที่อีอีซีจำนวนมาก และมี MQDC ทำโครงการมิกซ์ยูสไอคอนสยาม ซึ่งทีโออาร์รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินให้สิทธิเอกชนพัฒนาพื้นที่สถานีมักกะสัน 150 ไร่ มีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 850,000 ตร.ม. ลงทุนไม่น้อยกว่า 42,000 ล้านบาท และสถานีศรีราชา 25 ไร่ มีพื้นที่อาคารไม่น้อยกว่า 20,000 ตร.ม. มูลค่าลงทุนไม่น้อยกว่า 300 ล้านบาท เพื่อต่อยอดโครงการ ทำให้เป็นที่สนใจของผู้ประกอบการไทยและต่างชาติ ถ้าลงทุนรถไฟความเร็วสูงอย่างเดียวกว่าจะคืนทุนใช้เวลานับ 10 ปี

“ซี.พี.เคยร่วมกับซิติก คอนสตรัคชั่น บริษัทก่อสร้าง ออกแบบ ที่ปรึกษา มีสถาบันการเงินสนับสนุน และ บจ.ไหหนานกรุ๊ป ที่เชี่ยวชาญงานก่อสร้างท่าเรือ สนามบิน และรถไฟ ศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง และเมื่อปี 2558ร่วมกับอิโตชู จากญี่ปุ่น ซื้อหุ้น 20% ในซิติก ของจีน”

ขณะที่บีทีเอสจะร่วมกับซิโน-ไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้ง รวมถึงกำลังเจรจาร่วมกับ ปตท. ซึ่งบีทีเอสมีประสบการณ์ด้านรถไฟฟ้ามากว่า 18 ปี และมีธุรกิจอสังหาฯในเครือ บมจ.ยูซิตี้ รวมถึงพันธมิตรจาก บมจ.แสนสิริ ที่พัฒนาคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าร่วมกัน ซึ่งแสนสิริมีโปรเจ็กต์ร่วมทุนกับบริษัท โตคิว คอร์ปอเรชั่น รับเหมาก่อสร้าง ผู้ประกอบการรถไฟฟ้าและพัฒนาอสังหาริมทรัพย์จากญี่ปุ่น ก็มีความเป็นไปได้อาจร่วมกันก็ได้ ล่าสุดโตคิวสนใจลงทุนมิกซ์ยูสสถานีมักกะสันและศรีราชา และสมาร์ทซิตี้ด้วย

“ตอนนี้ยังไม่นิ่ง เพราะทีโออาร์ที่ประกาศออกมาเป็นขอบเขตงานโครงการเพื่อเชิญชวนคนมาซื้อเอกสาร ซึ่งผู้สนใจต้องไปซื้อแบบเอกสารวันที่ 18 มิ.ย. ถึงจะทราบรายละเอียดมากขึ้น”

แห่ร้องสมาคมรับเหมา

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล นายกสมาคมอุตสาหกรรมก่อสร้างไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีบริษัทรับเหมารายใหญ่ที่เป็นสมาชิกสมาคมสอบถามมาเรื่องเงื่อนไขในทีโออาร์ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

กรณีที่ให้บริษัทไทยถือหุ้นได้ไม่น้อยกว่า 25% ส่วนอีก 75% กระจายให้ผู้ร่วมลงทุน โดยถามว่ารัฐกำหนดเงื่อนไขแบบนี้เท่ากับมีเจตนารมณ์ให้ต่างประเทศเข้ามาลงทุนได้ 75% ใช่หรือไม่ ซึ่งสมาคมจะทำเรื่องสอบถามไปยัง สำนักงานงานคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ถึงข้อเท็จจริงในประเด็นดังกล่าว และจะเปิดให้ต่างชาติเข้ามาลงทุนในสัดสวนเท่านี้ทั้งอีอีซีเลยหรือไม่

18 มิ.ย.ซื้อซอง-ยื่น 12 พ.ย.นี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินและรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ กล่าวว่า โครงการนี้เป็นการประมูลแบบนานาชาติ เพื่อเปิดให้บริษัทเอกชนไทยและต่างชาติเข้าร่วมลงทุนโครงการ ตามกำหนดจะเปิดให้ซื้อเอกสารวันที่ 18 มิ.ย.-9 ก.ค.นี้ จะจัดประชุมชี้แจงรายละเอียดและข้อเสนอแนะวันที่ 23 ก.ค. และ24 ก.ย. จัดให้ดูพื้นที่ก่อสร้างโครงการวันที่ 24 ก.ค. และยื่นซองประมูลวันที่ 12 พ.ย. 2561 โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือกคือรายที่ให้รัฐสนับสนุนค่างานโยธาน้อยที่สุด ไม่เกินจากมติคณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินไว้ 119,425 ล้านบาท

ดึงจีน-ญี่ปุ่นแท็กทีมลงทุนไทย

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ล่าสุดจีนและญี่ปุ่นได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอกชนระหว่างจีน-ญี่ปุ่น เพื่อลงทุนในประเทศที่ 3 นับเป็นรูปแบบการลงทุนที่ 2 ประเทศใหญ่ที่มีจุดแข็งคนละด้านจับมือกันแท็กทีมมาลงทุนในอาเซียน พุ่งเป้ามาไทยเป็นประเทศแรกใน EEC ทั้งการวิจัยพัฒนา อย่างการพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ผลักดันอุตสาหกรรม 4.0 ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ฯลฯ

ขณะที่นายหนิง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมาธิการเพื่อการปฏิรูปและพัฒนาสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้เสนอทำแผนงานความร่วมมือการลงทุน 3 ประเทศร่วมกันภายใต้กฎหมายสากล และแนวทางการช่วยเหลือนักลงทุน ส่วนนายชิโระ ซะโดะชิมะ เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย ระบุว่านักลงทุนญี่ปุ่นกว่า 600 บริษัท ที่เดินทางลงพื้นที่ EEC ช่วงปลายปีที่ผ่านมายังสนใจขยายลงทุนในไทย

กนอ.กระตุ้นลงทุน

ด้านนางสุวัฒนา กมลวัทนนิศา รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) กล่าวว่า มีนิคมในพื้นที่ EEC ที่พัฒนาพร้อมขายขณะนี้ 12,000 ไร่ เป้าหมายปี 2560-2564 จะทำยอดขายให้ได้ 15,000 ไร่ มียอดจองแล้วกว่า 50% น่าจะเพิ่มยอดขายได้ถึง 20,000 ไร่ และเปิดพื้นที่ใหม่อีก 3 แห่ง คือ นิคมสมาร์ทพาร์ค (มาบตาพุด) จ.ระยอง 1,200 ไร่ และร่วมกับเอกชน นิคมอุตสาหกรรมซีพี จ.ชลบุรี 3,000 ไร่ นิคมอุตสาหกรรมโรจนะ (หนองใหญ่ และแหลมฉบัง) จ.ชลบุรี 2,000 ไร่ และ 843.41 ไร่ตามลำดับ

นายชัยพล พรพิบูล ผู้ช่วยผู้อำนวยการ บมจ.สวนอุตสาหกรรมโรจนะ กล่าวว่า ปัจจุบันบริษัทมีนิคมอุตฯทั้งหมด 6 แห่ง คือ พระนครศรีอยุธยา ปราจีนบุรี ชลบุรี (แหลมฉบังและบ่อวิน) ระยอง (ปลวกแดงและบ้านค่าย) ล่าสุดได้ร่วมดำเนินงานกับ กนอ. 843.41 ไร่ จะขอเป็นเขตส่งเสริมพิเศษใน EEC และเตรียมลงทุนอีก 3,000 ล้านบาท[url][/url]
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2018 12:46 pm    Post subject: Reply with quote

BTS เดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเป้ารายได้ 3 หมื่นล้าน โต 29% ใน 5 ปี
วันที่ 4 มิถุนายน 2561 เวลา 19:20 น.

บีทีเอส พร้อมเดินหน้าประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งเป้าผลประกอบการบริษัทโต 29% ในอีก 5 ปี

นายสุรยุทธ ทวีกุลวัฒน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารด้านการเงิน บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS เปิดเผยว่า บีทีเอสจะเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเชื่อมระหว่าง 3 สนามบินหลัก ได้แก่ สนามบินดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. โดยราคาโครงการอยู่ที่ประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ทั้งนี้จะเปิดให้เอกชนเข้าร่วมซื้อซองประมูลในวันที่ 18 มิ.ย. นี้

โดยทางบริษัทได้มีการเจรจาพูดคุยกับบริษัทชั้นนำทั้งในประเทศและต่างประเทศเพื่อหาพันธมิตรในการร่วมทุนในโครงการดังกล่าว แต่ยังไม่มีข้อสรุปอย่างชัดเจน โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปก่อนวันยื่นซองประมูล (12 พ.ย. 61)

นอกจากนี้ ทางบีทีเอสได้มีแผนในการลงทุนอีกหลายโครงการ ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าขนาดเบา หรือ Light Rail Transit สายบางนา-สุวรรณภูมิ โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพูและสีเหลืองที่เชื่อมต่อกันบริเวณเมืองทองธานี โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ซึ่งราคาโครงการอยู่ที่ประมาณ 2,000 ล้านบาท

โดยงบประมาณที่ใช้ประมูลโครงการดังกล่าวนั้น ทางบริษัทยืนยันว่ามีกระแสเงินทุนเพียงพอ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมี Ebitda อยู่ที่ 4,000-5,000 ล้านบาทต่อปี และกระแสเงินสดอยู่ที่ 30,000 ล้านบาท ทั้งยังสามารถกู้เงินเพิ่มได้ เนื่องจากมีระดับ D/E แค่ 0.37 เท่า เท่านั้น

ในส่วนของผลประกอบการ บริษัทตั้งเป้าว่าจะมีรายได้และกำไรสุทธิในอีก 5 ปีข้างหน้า เฉลี่ย 29% ต่อปี โดยในงวดปี 64/65 จะมีรายได้ 30,327 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 5,125 ล้านบาท

//------------------------

คีรี กาญจนพาสน์ “BTS มั่นใจทำได้ ไม่ต้องรอต่างชาติ”
Cover Story
Goto Manager 360 degrees
Suporn Sae-tang

วันที่ 4 มิถุนายน 2561
“ผมไม่รู้ว่ามีบริษัทต่างประเทศมาแข่งหรือไม่อย่างไร อย่างน้อยที่สุดงานนี้เราทำได้สบายๆ แต่ถ้าต่างประเทศมาลงทุนด้วย ถือว่าดี ทำให้ภาพลักษณ์ของประเทศชาติดูดี ต่างประเทศสนใจจะเอาก้อนเงินมหาศาลมาลงทุนที่เมืองไทยบ้านเรา เพราะอินฟราสตรักเจอร์พวกนี้ 50 ปี 100 ปีเอาไปไหนไม่ได้ อยู่ที่บ้านเรา เรามั่นใจบริษัทในไทยว่าเราทำได้ ไม่จำเป็นต้องรอต่างชาติเข้ามาลงเงิน 2 แสนกว่าล้านนี้ ไม่มั่นใจว่าต่างชาติจะรักบ้านเราเหมือนคนไทยรักกันเองหรือเปล่า”

คีรี กาญจนพาสน์ ประธานกรรมการ บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ BTS ยืนยันกับสื่อทันทีถึงความพร้อมในการชิงโครงการรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) หรือไฮสปีดเทรน ระยะทาง 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการรวมมากกว่า 220,000 ล้านบาท ซึ่งบิ๊กโปรเจ็กต์ตัวนี้มีคู่แข่งระดับยักษ์ใหญ่ทั้งสิ้น

ไม่ว่าจะเป็นเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กลุ่ม ปตท. กลุ่ม ช.การช่าง และกลุ่มทุนต่างชาติที่จ้องเข้ามาฮุบโครงการอีกหลายราย

ล่าสุด รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้ประกาศเชิญชวนบริษัทเอกชนร่วมลงทุนโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินอย่างเป็นทางการตามนโยบายเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ตั้งแต่วันที่ 30 พฤษภาคม-17 มิถุนายน โดยจะเปิดขายเอกสารประกวดราคา วันที่ 18 มิถุนายน-9 กรกฎาคม จากนั้นจะประชุมชี้แจงครั้งที่ 1 ในวันที่ 23-24 กรกฎาคม และประชุมชี้แจงครั้งที่ 2 วันที่ 24 กันยายน

ส่วนวันกำหนดยื่นซองประกวดราคา คือ 12 พฤศจิกายน ทั้งหมด 4 ซอง คือ ซองคุณสมบัติทั่วไป ซองเทคนิค ซองเสนอราคา และซองข้อเสนอพิเศษที่เป็นประโยชน์ต่อโครงการ ซึ่งคาดว่าการคัดเลือกใช้ระยะเวลา 1 เดือน โดยจะประกาศรายชื่อผู้เสนอผลตอบแทนที่ดีที่สุด หรือมีข้อเสนอให้รัฐร่วมลงทุนน้อยที่สุดเป็นผู้ชนะการประมูล ซึ่งรัฐบาลประเมินแล้วจะเห็นโฉมหน้าตาผู้คว้าบิ๊กโปรเจ็กต์ภายในเดือนธันวาคมปีนี้ ก่อนเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาอนุมัติ และลงนามสัญญากับเอกชนราวต้นปี 2562

ด้านระยะเวลาก่อสร้างโครงการจะใช้เวลา 4-5 ปี กำหนดอายุสัมปทานโครงการ 50 ปี ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท และให้สิทธิพัฒนาพื้นที่สถานีและสนับสนุนการให้บริการให้ผู้โดยสารสถานีมักกะสัน ขนาดพื้นที่ประมาณ 50 ไร่ พร้อมการพัฒนาพื้นที่สถานีศรีราชาอีก 100 ไร่ แบ่งเป็นการใช้ประโยชน์พื้นที่ 75 ไร่ เพื่อเป็นสถานีสนับสนุนบริการรถไฟ ที่จอดและโรงซ่อมหัวรถจักรของ รฟท. ส่วนที่เหลือ 25 ไร่ ให้เอกชนพัฒนาแลกค่าเช่าให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ตามราคาตลาด

แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบศักยภาพทุกกลุ่ม บีทีเอสกรุ๊ปถือเป็นบริษัทเอกชนไทยที่เชี่ยวชาญและมีประสบการณ์มากสุดในฐานะผู้บริหารธุรกิจระบบรางยาวนานถึงเกือบ 20 ปี

ยิ่งกลุ่มต่างชาติที่มีกระแสข่าวจะเข้ามาร่วมชิงโครงการ คีรีบอกสั้นๆ ว่า “ยังเป็นวุ้นอยู่เลย” ขณะที่บีทีเอส ธุรกิจหลัก คือระบบขนส่งมวลชน มีความรู้ทุกอย่าง รู้ทุกปัญหาการต่อรอง มีความแข็งแกร่ง ทั้งฐานะการเงินและเครือข่ายพันธมิตร ภายใต้กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ซึ่งเริ่มต้นจับมือกันเมื่อปี 2560 เป็นความร่วมมือระหว่าง 3 ผู้นำยักษ์ใหญ่

คือ บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ ผู้นำด้านการให้บริการระบบขนส่งมวลชน บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ของตระกูลชาญวีรกูล ผู้นำด้านธุรกิจรับเหมาก่อสร้าง และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ผู้นำด้านธุรกิจผลิตพลังงานครบวงจร

ทั้ง 3 บริษัทประเดิมชัยชนะคว้าโครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี และสายสีเหลืองช่วงลาดพร้าว-สำโรง โดยวางแผนใช้เงินลงทุนทั้งสองสายรวม 1 แสนล้านบาท และตกลงชัดเจนว่า กลุ่มบีเอสอาร์จะไปด้วยกันทุกโครงการ โดยเฉพาะ 3 โครงการเป้าหมาย คือ ไฮสปีดเทรน รถไฟฟ้าสายสีส้ม และสายสีม่วง รวมถึงทุกโครงการระบบขนส่งมวลชนของรัฐ

“ผมวางแผนจัดธุรกิจบีทีเอสกรุ๊ป ธุรกิจหลักยังเป็นระบบขนส่งมวลชนและมีวีจีไอเป็นตัวเสริม ส่วนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์แยกออกไปเพื่อความชัดเจน คือ บริษัท ยูซิตี้ จำกัด (มหาชน) ซึ่งบีทีเอสจะโอนสินทรัพย์เข้าไปที่ยูซิตี้ทั้งหมด และยังจับมือกับกลุ่มแสนสิริวางแผนทำโครงการคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้า จำนวน 25 โครงการ มูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท ส่วนนี้ให้แสนสิริเป็นแกนหลักในฐานะผู้เชี่ยวชาญโครงการแนวนี้ ผมเห็นศักยภาพมานาน ธุรกิจต้องเติบโตแน่แต่เงินน้อยจึงทำเองไม่ได้ทั้งหมด” คีรีกล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่พิสูจน์คำพูดอันสวยหรูของคีรีได้ดีที่สุดน่าจะดูได้จากผลการดำเนินงานงวดปี 60/61 (1 เม.ย.60-31 มี.ค.61) ที่ประกาศล่าสุด โดยบีทีเอสกรุ๊ปสามารถทำกำไรสุทธิ 4,416 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 120% จากปีก่อน จากการขยายตัวดีขึ้นในธุรกิจระบบขนส่งมวลชนและธุรกิจสื่อโฆษณา รวมถึงมีการรับรู้กำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 1,880 ล้านบาท

ขณะที่รายได้รวมจากการดำเนินงานของกลุ่มบีทีเอส กรุ๊ป เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ มีรายได้ 14,102 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5,496 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 64% จากปีก่อน

หากแยกเป็นกลุ่มธุรกิจพบว่า ธุรกิจระบบขนส่งมวลชนมีรายได้รวม 9,112 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 115% หรือเพิ่มขึ้น 4,875 ล้านบาทเทียบปีก่อน มาจากรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการให้บริการเดินรถและซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า การรับเหมาติดตั้งงานระบบและจัดหารถไฟฟ้าสำหรับรถไฟฟ้าส่วนต่อขยายสายสีเขียวเหนือและใต้

รายได้จากธุรกิจสื่อโฆษณาอยู่ที่ 3,902 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 893 ล้านบาท หรือ 30% จากปีก่อน และแม้ไม่รวมกำไรจากการปรับโครงสร้างธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ บริษัทยังคงมีกำไรจากการดำเนินงานปกติที่เพิ่มขึ้นถึง 78% เป็น 2,515 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ในรอบบัญชี 2562 จะเริ่มรับรู้รายได้จากธุรกิจระบบขนส่งมวลชน มูลค่าไม่ต่ำกว่า 20,000-25,000 ล้านบาท จากงานก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีชมพู (มีนบุรี- แคราย) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง) โดยตั้งเป้ารายได้ปีนี้จะโตก้าวกระโดดถึง 200%

สำหรับคีรีกับอาณาจักรธุรกิจบีทีเอสกรุ๊ป ซึ่งใช้เวลาปลุกปั้นในยุคที่รถไฟฟ้ายังเป็นโครงการใหม่มาก ไม่มีใครกล้าลงทุน ธุรกิจโฆษณาบนรถไฟฟ้ายังอยู่ห่างไกลจากพฤติกรรมของผู้คน ไม่มีใครคิดว่าสมรภูมิคอนโดมิเนียมแนวรถไฟฟ้าจะกอบโกยรายได้จำนวนมหาศาล แต่คีรีเห็นทั้งหมด

ส่วนเป้าหมายต่อไป การประกาศกร้าวจะยึดบิ๊กโปรเจ็กต์ระบบขนส่งมวลชน เพื่อเป็นผู้นำระบบขนส่งมวลชนที่ดีที่สุดในประเทศไทย

ศึกชิง “ไฮสปีดเทรน 2 แสนล้าน” น่าจะเป็นตัวพิสูจน์ฝีมือและความสำเร็จของบิ๊กเนมคนนี้ได้ดีที่สุด
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 269, 270, 271 ... 547, 548, 549  Next
Page 270 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©