RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264969
ทั้งหมด:13576252
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2018 11:13 am    Post subject: Reply with quote

ปตท. เปิดดีลเจรจา 'ซีพี' ชิงไฮสปีด!!

ออนไลน์เมื่อ 2 กันยายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,397 หน้า 15
วันที่ 2-5 กันยายน พ.ศ. 2561,



บอร์ด ปตท. ยังไร้ข้อสรุปหาผู้ร่วมทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไล่เจรจาทุกรายหาผู้ให้ผลตอบแทนสูงที่สุด พร้อมเปิดดีลกับกลุ่มซีพีใหม่อีกรอบ ขณะที่ BTSC ยันส่งคนมาทาบทามแล้ว

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า เมื่อวันที่ 31 ส.ค. ที่ผ่านมา ได้มีการจัดประชุมบอร์ด ปตท. ขึ้นเป็นวาระพิเศษ โดย นายชาญศักดิ์ ชื่นชม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ วิศวกรรมและบริหารโครงการ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เสนอกลุ่มบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) - BTSC ที่มีพันธมิตร บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) จะผนึกกันเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (กรุงเทพฯ-อู่ตะเภา) หลังจากที่บอร์ดได้ให้ไปเจรจากับผู้สนใจเข้าร่วมประมูลหลายรายให้ได้ข้อยุติและนำมาเสนอบอร์ดพิจารณาอีกครั้ง

ทั้งนี้ จากการหารือที่ประชุมบอร์ด ปตท. ยังไม่เห็นชอบในการเลือกกลุ่ม BTSC เนื่องจากต้องการให้เกิดความรอบคอบและได้มอบหมายให้ไปเจรจากับกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติม โดยเฉพาะกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ที่ก่อนหน้านี้ ได้มีการเจรจากันไปแล้ว แต่ไม่ได้ข้อยุติให้มีการเปิดเจรจาใหม่ พร้อมกับให้แต่ละกลุ่มที่ไปเจรจาจัดทำข้อเสนอต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ความเป็นไปได้ของการลงทุน ความคุ้มค่าต่อการลงทุน รวมถึงผลตอบแทนด้านการลงทุน ที่ ปตท. จะได้รับจากการลงทุนและร่วมลงทุน เพื่อนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของแต่ละกลุ่ม ว่า รายใดให้ผลประโยชน์แทน ปตท. สูงที่สุด และนำมาเสนอบอร์ด ปตท. ในการประชุมในเดือน ก.ย. นี้

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บอร์ด ปตท. ยังไม่ตัดสินใจเลือกบริษัท BTSC เป็นพันธมิตรเข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แต่อย่างใด และยังอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตร 2-3 ราย

ซึ่งเป็นผู้ประกอบการในไทยเป็นหลัก หลังจากในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา ปตท. เปิดหารือมากกว่า 10 ราย โดยผู้ประกอบการต่าง ๆ ก็เห็นว่า ปตท. มีศักยภาพเรื่องของความสามารถด้านวิศวกรรมการทำโครงการขนาดใหญ่และอสังหาริมทรัพย์ อีกทั้งโครงการดังกล่าวยังเป็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในประเทศ ซึ่งคาดว่าการเจรจากับพันธมิตรร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน น่าจะมีความชัดเจนภายในเดือน ต.ค. นี้

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BTSC กล่าวว่า กรณีบอร์ดบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างการพิจารณาเข้าร่วมกับกลุ่มบีทีเอสในการร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินดอนเมือง สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภานั้น ยังยืนยันว่า จะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขที่อีก 2 พันธมิตร คือ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ดำเนินการมา เบื้องต้นนั้น ปตท. ได้ส่งคนเข้ามาคุยรายละเอียดบ้างแล้ว คิดว่าจะไปคุยกับรายอื่น ๆ เพื่อเปรียบเทียบด้วย ก่อนที่จะนำเสนอสู่ที่ประชุมบอร์ด ปตท. พิจารณาในสัปดาห์หน้านี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2018 11:14 am    Post subject: Reply with quote

ธนินท์”เทหมดหน้าตัก ยุทธศาสตร์ซีพีลงทุนเมือง-อาหาร


วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561, - 11:00 น.

“ธนินท์ เจียรวนนท์” เปิดยุทธศาสตร์ก้าวใหม่เครือเจริญโภคภัณฑ์ ลงทุนโปรเจ็กต์ยักษ์หลายแสนล้านเมืองใหม่ “แปดริ้ว” เชื่อมต่อเขตเศรษฐกิจอีอีซี จับมือพันธมิตรทั่วโลกทั้ง “จีน-ญี่ปุ่น-ฝรั่งเศส-อิตาลี” สู้ศึกไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน แก้ปมเซเว่นฯขย่มร้านโชห่วย วางแผนจับมือโชห่วย 2 แสนราย ยกระดับร้านค้าจัดระบบ-ขนส่ง-ป้อนสินค้าพร้อม ปูพรมแฟรนไชส์ร้านอาหาร 5 หมื่นแห่งทั่วประเทศ หวังต่อยอดขายวัตถุดิบอาหาร

การปรับเปลี่ยนของกระแสโลกแบบพลิกองศา ผลพวงจากดิจิทัลดิสรัปชั่น ทำให้องค์กรธุรกิจไม่ว่าจะเล็กหรือใหญ่ต้องปรับตัวรับการเปลี่ยนแปลง ล่าสุด เจ้าสัว “ธนินท์ เจียรวนนท์” แห่งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) ฉายภาพทิศทางและวิสัยทัศน์ในการนำพาอาณาจักรธุรกิจ ซึ่งครอบคลุมหลากหลายสาขาครบวงจรทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งขยายฐาน ต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจหลักเดิมอย่างการเกษตร อุตสาหกรรมการเกษตร อาหาร ธุรกิจค้าปลีก ฯลฯ และการขยับรุกธุรกิจใหม่สอดรับกับนโยบายขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายใต้โมเดล “ไทยแลนด์ 4.0” ของรัฐบาล อย่างการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน การพัฒนาเมืองอัจฉริยะ ฯลฯ ด้วยการแปรวิกฤตให้เป็นโอกาส แม้จะท้าทายและวางเดิมพันค่อนข้างสูง

ซี.พี.ลุยเมืองใหม่ “ฉะเชิงเทรา”

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโส เครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซี.พี.) เปิดเผยว่า กลุ่ม ซี.พี.มีแผนลงทุนหลายแสนล้านบาท เพื่อสร้างโครงการเมืองใหม่ที่อำเภอแปดริ้ว จังหวัดฉะเชิงเทรา บนพื้นที่ 10,000 ไร่ ในคอนเซ็ปต์เมืองอัจฉริยะ (smart city) ที่มีการวางผังเมืองและระบบสาธารณูปโภคครบถ้วน รวมทั้งบริการด้านอื่น ๆ ของเมืองให้มารวมกันอยู่ในจุดเดียว เช่น โรงพยาบาล, มหาวิทยาลัย, ศูนย์การค้า เป็นต้น เนื่องจากอยู่ไม่ห่างจากกรุงเทพมหานคร

“ฉะเชิงเทราจะเป็นโครงการทดลองในการเชื่อมต่อกับอีอีซี ซึ่งจะมีการก่อสร้างรถไฟฟ้าระบบรางเชื่อมต่อเข้ามายังสถานีมักกะสัน เพื่อให้การเดินทางเข้ามาถึงกรุงเทพฯทำได้ภายใน 20 นาที โดยมีรถไฟจะออกทุก 1 หรือ 2 นาที”

ขณะเดียวกันภายในเมืองจะใช้ระบบ zero waste หรือการรีไซเคิลขยะให้เป็นศูนย์ เช่น การรีไซเคิล การผลิตไฟฟ้า การแปรรูป ส่วนถนนจะทำเป็น 3 ชั้น ชั้นบนที่อยู่บนพื้นเป็นสวนสาธารณะ ชั้นกลางเป็นถนนและทางรถไฟ ชั้นล่างสุดเป็นส่วนของระบบสาธารณูปโภค เช่น ขยะ ท่อน้ำเสีย ท่อบริการของระบบไฟฟ้า-ประปา และมีศูนย์การค้าใหญ่อยู่กลางเมืองรวมเอาไว้ที่เดียว

จ้างสหรัฐ-อังกฤษออกแบบ

“แนวคิดเมืองใหม่ คือ รถต้องไม่ติด หรือคนสามารถเดินไปทำงานได้ ถึงทำข้างบนเป็นสวนสาธารณะ ต้องรองรับประชากรได้ไม่ต่ำกว่า 300,000 คน เพื่อให้ธุรกิจและบริการคุ้มทุน เมืองยิ่งใหญ่จะยิ่งดี เพราะจะคุ้มค่าในการลงทุนสาธารณูปโภค ขณะนี้อยู่ระหว่างให้สถาปนิก และที่ปรึกษาจากสหรัฐและอังกฤษ ออกแบบและวางแผนอยู่”


นายธนินท์เห็นว่า เมืองใหม่ในอีอีซีควรมี 3 แห่ง คือ แปดริ้ว พัทยา และระยอง (ตามลำดับ) และน่าจะมีประมาณ 20 แห่งทั่วประเทศ รองรับประชากรให้ได้ 6 ล้านคน อย่างไรก็ตาม กลุ่ม ซี.พี.จะไม่ลงทุนคนเดียว แต่จะชวนนักธุรกิจทั้งไทยและต่างประเทศมาร่วมลงทุนด้วย

ผนึกพันธมิตรทั่วโลกชิงไฮสปีด

สำหรับโครงสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน นายธนินท์กล่าวว่า ขณะนี้มีพันธมิตรทั้งจากจีน และญี่ปุ่นร่วมลงทุน โดยกำลังดูพาร์ตเนอร์ในประเทศไทยว่าจะเป็นเจ้าไหน รวมทั้งมีการคุยกับฝรั่งเศส และอิตาลีไว้ด้วย แต่ที่อยากได้เพิ่มเติม คือ สหรัฐ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พันธมิตรที่จะร่วมดำเนินการโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงกับกลุ่ม ซี.พี. จะมีพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนจากต่างประเทศ ตั้งแต่การรถไฟฝรั่งเศส, การรถไฟจีน, ฮิตาชิ จากญี่ปุ่น, กลุ่ม Ansaldo ของอิตาลี (ที่ฮิตาชิเทกโอเวอร์และเปลี่ยนชื่อเป็น Hitachi Rail Italy) ส่วนกลุ่มนักลงทุนไทย อยู่ระหว่างการเจรจากับกลุ่ม ช.การช่าง

ทั้งนี้ คาดว่ามูลค่าการลงทุนเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะมีมูลค่าไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท หากรวมกับการลงทุนพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ในบริเวณสถานีมักกะสัน ซึ่งต้องใช้เงินลงทุนอีกไม่ต่ำกว่า 200,000 ล้านบาท รวมค่าสัมปทานที่ต้องจ่ายให้รัฐ 50,800 ล้านบาท (ระยะเวลา 50 ปี) เบ็ดเสร็จจะต้องใช้เงินเกือบ 5 แสนล้านบาท

ชูเกษตรโมเดลใหม่

ขณะเดียวกัน นายธนินท์ได้กล่าวถึงคอนเซ็ปต์การเกษตรรูปแบบใหม่ มี 2 เรื่อง 1.นาที่ไม่ใช้ยาฆ่าแมลง และต้องอยู่ในเขตชลประทาน กั้นคันดินให้สูง 1.50 เมตร ปรับพื้นข้างล่างที่เป็นดินเหนียวให้แน่น น้ำซึมไม่ได้ แล้วลงดินซุยสำหรับปลูกข้าวหนาประมาณ 50-60 ซม. เพราะรากข้าวยาวแค่นั้น ซึ่งปกติแมลงจะมากินข้าว 2 ช่วง คือ ตอนเป็นต้นอ่อนกับตอนออกดอก ช่วงนั้นให้ไขน้ำเข้าให้ท่วมมิดข้าว เพราะปกติข้าวทนจมน้ำได้ 8 ชม. ขณะที่แมลงจมน้ำ 1 ชม.ก็ตาย เมื่อเกิน 1 ชั่วโมงแล้ว ให้ระบายน้ำออก จึงแทบไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง หรือไม่ใช้เลยก็ได้

สาเหตุที่ต้องปรับดินเพราะน้ำจะไม่ซึมลงไป และแทร็กเตอร์ลงลุยได้ แต่ต้องทำแปลงใหญ่ถึงจะคุ้ม โดยตอนนี้กำลังทดลองอยู่ที่จังหวัดกำแพงเพชร และ 2.ควรลดพื้นที่ปลูกข้าว จากตอนนี้มี 105 ล้านไร่ เพราะเมื่อไรที่จีน และอินเดีย กินข้าวน้อยลง หรือส่งออกมากขึ้นก็จะแย่ และวันนี้พม่ากำลังกลับมา เริ่มพัฒนาที่นาเป็นการใหญ่ เพราะก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 พม่า คือ ผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่สุดของโลก อีกทั้งเงื่อนไขการปลูกไม่เป็นรองไทย

ดังนั้นจึงต้องดูพื้นที่เพาะปลูกให้เหมาะสม เช่น ภาคกลาง น้ำมาก สวนผลไม้ดีที่สุด แต่ต้องรอ 3 ปี ตรงนี้ต้องคิดว่าจะเสริมรายได้เกษตรกรในช่วงต้นอย่างไร หรือในพื้นที่อื่น ถ้าปลูกข้าวไม่คุ้ม ผลผลิตมีตั้งแต่ 300-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ จึงควรไปปลูกอย่างอื่นที่คุ้มกว่า เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ผลผลิต 1,700 กิโลกรัมต่อไร่ เป็นต้น

“เรื่องปลูกข้าว ถ้าเจ้าของไม่พร้อมทำเอง ซี.พี.พร้อมสวม โดยจ่ายค่าเช่านาเท่ากับรายได้เดิม +10% แต่ก็จะไม่ทำเอง ใช้วิธีไปหาคนรุ่นใหม่มาทำเกษตรและใช้เทคโนโลยี เพื่อให้เกิดเถ้าแก่ในแต่ละพื้นที่”

ทะลวงจุดอ่อนค้าปลีก

นายธนินท์กล่าวต่อว่า ปัจจุบันเมืองไทยมีโชห่วยมากถึง 600,000 ร้าน เป็นเซเว่นอีเลฟเว่น 11,000 สาขา แม้จะเปิดเต็มที่ก็คงไม่เกิน 20,000 สาขา แม้จะมีพื้นที่อีกมากที่ยกระดับได้ แต่ปัญหาคือร้านเยอะไป จะแย่งกันจนไม่มีใครกำไร จากการสำรวจแล้วคิดว่า ควรมีประมาณ 200,000 ร้านค้า และสิ่งที่ต้องขายเพิ่มคือ ของสด

“สิ่งที่ ซี.พี.จะทำให้ คือ 1.อบรมเจ้าของร้านเดิม 2.ลงตู้แช่ให้ฟรี 3.จัดการเรื่องขนส่งให้ 4.จัดหน้าร้านให้ใหม่ ให้สะอาด และสว่าง เจ้าของทำหน้าที่เช็กสต๊อกให้ดี แต่จะต้องเข้าไปคุยกับในท้องถิ่นด้วย เช่น ถ้าในหมู่บ้านและตำบลมี 3 ร้านแล้ว แต่ร้านเดียวอยู่ได้ ก็ต้องให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นช่วย 2 ร้านที่เหลือให้ปรับเปลี่ยนไปทำอะไรเพิ่มเติม”

แฟรนไชส์ร้านอาหาร-วัตถุดิบซีพี

“ในส่วน ซี.พี. นอกจากปรับโชห่วยยังจะเปิดภัตตาคารและร้านอาหารเพิ่ม 50,000 จุด แต่ไม่ทำเอง จะเป็นรูปแบบแฟรนไชส์ กำลังอบรมคนที่จะเป็นเถ้าแก่และเจ้าของร้าน โดยให้ภัตตาคารรับของจากร้านโชห่วย ช่วยระบายสินค้า อาหารที่ผลิตหลากหลายขึ้น ร้านไม่ต้องทำเอง เอาของสำเร็จไปต้ม ผัด ทอด นึ่ง แต่ให้แตกต่างจากร้านอาหารทั่วไปใน 2 เรื่อง คือ 1. มีบริการดีลิเวอรี่ด้วยมอเตอร์ไซค์, จักรยาน หรือเดินในรัศมี 1 กิโลเมตร และ 2. มีโคเวิร์กกิ้งสเปซในร้าน ให้มานั่งทำงาน สั่งอาหาร สั่งกาแฟได้ด้วย ซึ่งเซเว่นฯต้องปรับ เพิ่มบริการดีลิเวอรี่ด้วย

นายธนินท์กล่าวว่า ในส่วนของ ซี.พี.ก็จะต้องปรับตัวด้วย โดยเฉพาะเรื่องโลจิสติกส์ เพื่อให้รองรับธุรกิจข้างนอกที่เปลี่ยน จากปัจจุบันมีรถขนปุ๋ย, อาหารสัตว์, เมล็ดพันธุ์ และขนสินค้าส่งร้านเซเว่นฯ ฯลฯ มีทั้งหมดประมาณ 18,000 คัน ต่อไปจะเอามารวมเป็นที่เดียว สร้างองค์ความรู้เรื่องการขนส่งและโลจิสติกส์

“ถ้าขยายเพิ่มและรวมกับรถของเถ้าแก่ใหม่ และแฟรนไชส์ด้วย จะมีรถทั้งหมดประมาณ 200,000 คัน ตัวอย่าง เช่น ถ้าถนนเส้นหนึ่งมีฟาร์ม มีโรงแปรรูปอยู่แล้วก็จะมองหาร้านโชห่วย หาทำเลเปิดภัตตาคาร เพื่อให้การขนส่งมีประสิทธิภาพสูงสุด”

ธนินท์ขอเวลา 10 ปีเกษียณ

นอกจากนี้ นายธนินท์กล่าวเพิ่มเติมว่า อีก 10 ปีจะเกษียณ ซึ่งตอนนี้อายุ 79 ปี จะวางมือทั้งหมดตอนอายุ 89 ปี โดยให้สุภกิต (เจียรวนนท์) ที่ตอนนี้เป็นประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ ขึ้นเป็นประธานอาวุโสแทนตัวเอง และให้ ศุภชัย (เจียรวนนท์) ขึ้นจากซีอีโอเป็นประธานกรรมการ ฉะนั้นหน้าที่อีกอย่างหนึ่งใน 10 ปีนี้ก็คือ การเฟ้นหาคนใหม่ที่จะขึ้นมาเป็นซีอีโอของทั้งเครือ จะเป็นมืออาชีพก็ได้ หรือเจียรวนนท์ก็ได้ ที่สำคัญ ต้องทำงานได้ เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย

สอดรับนโยบายรัฐบาล

แหล่งข่าวจากกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่า แนวคิดการทำเกษตรโมเดลใหม่ของนายธนินท์ อาทิ การปลูกพืชโดยไม่ใช้ยาฆ่าแมลง การสนับสนุนทำเกษตรในพื้นที่ชลประทาน การทำเกษตร ปศุสัตว์ในพื้นที่ที่เหมาะสมกับสภาพดินฟ้าอากาศ สอดคล้องกับนโยบายการเกษตรของรัฐบาลปัจจุบัน ที่กำลังส่งเสริมการทำเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรแบบแปลงใหญ่ รวมทั้งการจัดโซนนิ่งพื้นที่ปลูกข้าว หรือพืชอื่น ๆ นอกจากนี้แนวคิดในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร ซึ่งเป็นเรื่องที่ ซี.พี.ศึกษาและมีแผนพัฒนาเป็นโมเดลธุรกิจใหม่เป็นเมืองเกษตรโดยเฉพาะ ก็เป็นไปในทิศทางเดียวกันกับนโยบายด้านการเกษตรของรัฐบาล และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกฯ ที่ต้องการปฏิรูปภาคการเกษตรตามนโยบายการตลาดนำการผลิต

ล่าสุด ช่วงเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา รองนายกฯสมคิดได้มอบนโยบายให้กระทรวงเกษตรฯขับเคลื่อนนโยบายดังกล่าวให้เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรมภายในระยะเวลา 7 เดือนก่อนมีการเลือกตั้ง อาทิ การกำหนดเป้าหมายชนิดพื้นที่เหมาะสมในการเพาะปลูกให้กับเกษตรกร การเชื่อมโยงแหล่งรับซื้อผลผลิต การสนับสนุนปัจจัยการผลิตอย่างเมล็ดพันธุ์พืช ปุ๋ย เป็นต้น และให้กระทรวงเกษตรฯร่วมมือกับกระทรวงพาณิชย์ กับภาคเอกชนรายใหญ่ อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน), บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล, บริษัท เทสโก้ โลตัส รวมทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2018 11:16 am    Post subject: Reply with quote

ปักหมุด”สถานีพัทยา”ไข่แดงอีอีซี เร่งประมูลอู่ตะเภาเมืองสนามบิน

วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2561, - 09:12 น.

ปักหมุดสถานี “พัทยา” ศูนย์กลาง “เมืองอีอีซี” ตีคู่พัฒนาเชิงพาณิชย์เชื่อมเมืองรอบนอกและนิคมฯ เจ้าของที่ส้มหล่นต่อยอดอสังหาฯได้ในรัศมี 7 กม. รัฐเตรียมเปิดทีโออาร์ประมูลสนามบินอู่ตะเภา รองรับผู้โดยสาร 60 ล้านคน เผยทุนจีนเฮโลบูมประเทศไทย

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า สนามบินอู่ตะเภาจะถูกพัฒนาให้เป็นมหานครการบิน หรือ aerotropolis ด้วยวงเงินลงทุน 2 แสนล้านบาท บนพื้นที่ 6,500 ไร่ ซึ่งจะเป็นเมืองที่เชื่อมโยงการคมนาคมแบบไร้รอยต่อ ด้วยรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

“สถานีพัทยา น่าจะเป็นจุดศูนย์กลางการพัฒนาเมือง ควบคู่กับพื้นที่รอบนอกและนิคมอุตสาหกรรม 2 แห่งที่ใกล้เคียง เช่น นิคมอุตสาหกรรมเหมราช, อมตะ และนิคมอื่น ๆ ซึ่งต้องรอความชัดเจนอีกครั้ง หลังประมูลไฮสปีด”

ทั้งนี้ ทำเลสถานีพัทยา เป็นจุดเหมาะสม ด้วยระยะทางเพียง 30 กม. ใช้เวลาเดินทาง 17 นาที ตามหลักการพัฒนาเมืองใหญ่ ซึ่งต้องเลือก 1 สถานีก่อนถึงปลายทาง อนาคตจะมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์ แบ่งเป็นคลัสเตอร์เชื่อมเมืองรอบนอกสนามบิน โดยเอกชนเจ้าของที่จะต่อยอดเรื่องการพัฒนาในรัศมี 7 กม.จากสถานี ตามแผนแม่บทและกรอบผังเมืองซึ่งมี 6 โครงการคือ อาคารผู้โดยสาร 3, ศูนย์การค้า, อาคารสินค้า, ธุรกิจขนส่งและเขตประกอบการค้าเสรี, ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน และศูนย์ฝึกอบรมการบิน

คลอด TOR อู่ตะเภา

นายคณิศคาดว่า เดือนกันยายนนี้จะประกาศรายละเอียดทีโออาร์สนามบินอู่ตะเภา เบื้องต้นจะใช้วิธีแบบ PPP เช่นเดียวกับไฮสปีด และจะเปิดประมูลได้ใน 4-5 เดือนข้างหน้า จากนั้นเดือนตุลาคมจะประกาศทีโออาร์ท่าเรือมาบตาพุดและแหลมฉบัง


“การประมูลอู่ตะเภา คาดว่าจะมีนักลงทุนต่างประเทศสนใจเข้าร่วมจำนวนมาก โดยเฉพาะนักลงทุนจีน ซึ่งมีบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่และเชี่ยวชาญด้านการบินเข้าร่วมคณะของนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐสาธารณรัฐประชาชนจีน มาลงพื้นที่อีอีซีประมาณ 10 ราย”

แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล กล่าวว่า ร่างเงื่อนไขการประมูลหรือทีโออาร์ การพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาต้องมีองค์ประกอบ เช่น ประเภทธุรกิจที่เกี่ยวกับสนามบิน, ศูนย์ซ่อมและอะไหล่เครื่องบิน, ระบบศุลกากร, ระบบโลจิสติกส์, ศูนย์อีคอมเมิร์ซ และคลังสินค้า ที่บริษัทยักษ์ใหญ่ระดับโลกสามารถใช้บริการเป็นศูนย์กระจายสินค้าได้ โดยวางผังสนามบินให้มีจุดเชื่อมโยงทั้งการขนสินค้า ผู้โดยสาร และคลังสินค้าที่รวดเร็ว

ทุนจีนบุกอู่ตะเภา

กลุ่มทุนจีนที่ลงพื้นที่อู่ตะเภา ได้แก่ China State Construction Engineering Corporation, CRRC Corporation Ltd., China Railway Group Limited, Sinosteel Group Corporation Limited, China Southern Airlines, China Aerospace Science and Technology Corporation, China National Aviation Holding Corporation Limited และ China Eastern Air Holding Company Limited เป็นต้น

นายคณิศกล่าวว่า ไทยและจีนจะเร่งเชื่อมเส้นทางขนส่งผ่านเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวไทยจีน 6 เขต จะเริ่มที่เทียนสงเป็นพื้นที่ทดลองพิเศษ, เขตเศรษฐกิจพิเศษโมหาน-บ่อเต็น เพื่อเชื่อมมา EEC และขยายไปเขตเศรษฐกิจเซเซด (เวียงจันทน์-หนองคาย), เขตเศรษฐกิจพิเศษขอนแก่น (เชื่อมโยงระเบียงตะวันตก-ตะวันออกตอนบน) จากเมาะไย-แม่ฮ่องสอน-พิษณุโลก-ขอนแก่น-มุกดาหาร-เว้ และเขตเศรษฐกิจพิเศษฉะเชิงเทรา (ระเบียงตะวันตก-ตะวันออกตอนล่าง) จากทวาย-กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-สระแก้ว-พนมเปญ-วุงเตา

พร้อมร่วมมือใน 6 กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายคือ อุตสาหกรรมดิจิทัล เชื่อมกับกลุ่มหัวเว่ย, อาลีบาบา, Tencent เป็นต้น อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ เชื่อมกับบริษัท Siasun อุตสาหกรรมการบิน เชื่อมกับ Wuhan Optic Valley และ Wuhan University, NWIEE, CNSO, CNSA และ DJI เป็นต้น กลุ่มยานยนต์สมัยใหม่ เชื่อมกับเซี่ยงไฮ้มอเตอร์ (MG) และ Jiangsu Joylong Automobile กลุ่มอุตสาหกรรมการแพทย์ เชื่อมกับ BGI กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ เชื่อมกับ Yellow Sea Fisheries Reseach Institute, Light Industry Reseach Institute of Guangxi และ Nanning Wanyu Foods และ Beijing Ge-nomic Institute ทั้งยังขยายความร่วมมือด้านเทคโนโลยี การพัฒนาเมืองอัจฉริยะต้นแบบ ศูนย์ข้อมูล บริหารจัดการน้ำ การพัฒนาท่องเที่ยวและสร้างชุมชน

อมตะ-WHA รับอานิสงส์

นางสาวจรีพร จารุกรสกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มบริษัท บมจ.ดับบลิวเอชเอ คอร์ปอเรชั่น (WHA) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การให้พัทยาเป็นศูนย์กลางการบินจะทำให้ WHA ได้ประโยชน์ เพราะมีนิคม 2-3 แห่งอยู่ใกล้เคียง และยังมีที่เหลืออีก 10,000 ไร่รอจำหน่าย ขณะที่นิคมอื่นขายพื้นที่ไปหมดแล้ว ช่วงต้นปีที่ผ่านมาราคาที่ในและนอกนิคมปรับสูงขึ้นต่อปีโดยเฉลี่ย 10%

“มีหลายโรงงานเข้ามาลงทุนก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ผู้ผลิตรถยนต์เอ็มจี ผู้ประกอบการอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ ล่าสุดทุนจีนมาหารือถึงแนวทางการพัฒนา robotic city คาดว่าจะได้ข้อสรุปเร็ว ๆ นี้”

นายวิบูลย์ กรมดิษฐ์ กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่การตลาด บมจ.อมตะ คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า จีนให้ความสนใจจะลงทุนในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ ที่พัฒนาให้เป็นนิคมจีนโดยเฉพาะ รวมแล้ว 102 ราย คิดเป็นมูลค่าการลงทุน 2,900 ล้านบาท ในโอกาสที่นักลงทุนเดินทางร่วมคณะรองนายกรัฐมนตรีหวัง หย่ง มีหลายรายสนใจ

สอท.มั่นใจ GDP พุ่ง

นายสุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ส.อ.ท.ได้ลงนาม MOU ร่วมกับสมาคมการค้าจีน หลังจากนี้จะตั้งทีมงานพิเศษเพื่อประสานข้อมูลเรื่องการลงทุนของเอกชนไทย-จีน เชื่อว่าจะช่วยกระตุ้นการลงทุนใน EEC คึกคักขึ้น และผลักดันการขยายตัวทางเศรษฐกิจให้เป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาล

“ภาคเอกชนเตรียมพัฒนา digital trade platform จะเสนอที่ประชุมคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบันในเดือนหน้า”

อู่ตะเภารับ 60 ล้านคน

นายลือชัย ศรีเอี่ยมกูล ผู้อำนวยการการท่าอากาศยานอู่ตะเภา เปิดเผยว่า จากคณะนายหวัง หย่ง มนตรีแห่งรัฐสาธารณรัฐประชาชนจีน ลงพื้นที่ท่าอากาศยานอู่ตะเภาได้แสดงถึงความสนใจ ท่านมองว่าจะผู้โดยสารมากกว่า 60 ล้านคน แล้วถ้าเพิ่มเป็น 200 ล้านคนจะทำอย่างไร

ส่วนการประมูลเทอร์มินอล 3 ของอู่ตะเภา จะเริ่มออก TOR และจำหน่ายซองในเดือนตุลาคม 2561 และยื่นซองในเดือนมกราคม 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2018 2:14 pm    Post subject: Reply with quote

ยักษ์ใหญ่ฝรั่งเศส สนใจจับมือซีพี ลงทุน รฟฟ.ความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในไทย

วันที่ 4 กันยายน 2561

เอสเอ็นซีเอฟ ยักษ์ใหญ่ผู้สร้างรถไฟฝรั่งเศส ประกาศให้ความสนใจร่วมทุนกับไทย พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้แก่ สุวรรณภูมิ, ดอนเมือง,อู่ตะเภา มูลค่า 2.2 แสนล้านบาท

โดยทางเอสเอ็นซีเอฟชูจุดแข็ง เป็นผู้นำของยุโรปและขยายการลงทุน กว่า 20 ประเทศทั่วโลก ลั่นพร้อมลงทุนระยะยาว พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีชั้นสูงให้ไทย คนในวงการคาดเอกชนยักษ์ใหญ่ที่จะร่วมลงทุนน่าจะเป็นซีพี ด้านซีพีเผยนอกจากบริษัทฝรั่งเศสให้ความสนใจร่วมลงทุนแล้ว ยังมีอิตาลี จีน ญี่ปุ่น จับมือเป็นพันธมิตรกับซีพีอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2018 6:13 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์โครงการรถไฟความเร็วสูง กทม.-นครราชสีมา (ไทย-จีน) l English Subtitle l รฟท.
Daoreuk Studio Published on Sep 4, 2018

วีดิทัศน์ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา)
เสียงบรรยายไทย /English Subtitle
โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย


https://www.youtube.com/watch?v=WO2LMWV-VkI
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/09/2018 11:02 pm    Post subject: Reply with quote

ภาพโดยทั่งไปดูดี เว้นแต่ที่โคราชที่น่าตำหนิ เพราะ ดูแล้วมันอย่างไรก็ไม่รู้ขัดตาจริงๆ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2018 2:11 am    Post subject: Reply with quote

“ซีพี” แต้มต่อเฟ้นระบบเอเชีย-ยุโรป ดึงพันธมิตรเวิลด์คลาสชิงไฮสปีด EEC
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 6 กันยายน 2561 - 11:35 น.

นับถอยหลังถึงวันที่ 12 พ.ย.นี้ เหลือเวลาเพียง 2 เดือน จะเปิดยื่นซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ท่ามกลางห้วงเวลาที่กระชั้นชิด บริษัทเอกชนทั้ง 31 รายที่ซื้อซองประมูล กำลังเฟ้นพันธมิตร เร่งทำการบ้านที่ “ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย” ให้โจทย์ในทีโออาร์อย่างขะมักเขม้น

ขณะที่ “ซี.พี.-บจ.เครือเจริญโภคภัณฑ์” ซึ่งซื้อซองในนาม “บจ.เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง” หนึ่งในตัวเต็ง ล่าสุดกำลังเจียระไนพันธมิตรระดับโลกอย่างละเมียดละไม ทำข้อเสนอชิงดำเค้กเมกะโปรเจ็กต์แห่งชาติกว่า 2.24 แสนล้านบาท

ดึงผู้เชี่ยวชาญระดับโลกลงทุน

ในบัญชีรายชื่อที่ “เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์” เนมชื่อมีทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส จีน และญี่ปุ่น ที่กำลังร่วมกันศึกษาโครงการนี้ ส่วนจะเป็นใครบ้างที่จะร่วมทุนจริงจัง ก่อนวันยื่นซองประมูล 12 พ.ย.นี้ น่าจะเผยโฉมหน้าพันธมิตรที่แท้จริง

กว่าวันนั้นจะมาถึง “กลุ่ม ซี.พี.” เดินสายดูโมเดลรถไฟความเร็วสูงของแต่ละประเทศไม่ว่า อิตาลี ฝรั่งเศส ญี่ปุ่น จีน เพื่อหาสูตรลงทุนที่ลงตัวมาประยุกต์ใช้และถูกจริตกับประเทศไทย ที่ยังไม่เคยมีรถไฟความเร็วสูงมาก่อน

ทริปแรกตะลุย “อิตาลี-ฝรั่งเศส” ประเทศบุกเบิกรถไฟความเร็วสูงในยุโรป จุดหมายแรกปักหมุดที่ “บริษัททางรถไฟแห่งชาติอิตาลี” หรือ Ferrovie dello Stato Itailane S.p.A. (FS) ยักษ์ใหญ่ในอิตาลี ถึงไม่มีชื่อเข้าซื้อซองประมูล แต่นับเป็นบริษัทที่น่าจับตาไม่น้อย จากผลการดำเนินธุรกิจที่ถูกบันทึกไว้เป็นบริษัทมีกำไรจากธุรกิจรถไฟที่เดียวในโลกจึงทำให้ได้รับความสนใจ สำหรับ “FS” มีกระทรวงเศรษฐกิจและการคลังของอิตาลี ถือหุ้น 100% ดำเนินธุรกิจ 4 ด้าน มีการขนส่ง โครงสร้างพื้นฐาน พัฒนาอสังหาริมทรัพย์และบริการอื่น ๆ

อิตาลีที่เดียวสร้างกำไรจากรถไฟ

นายนีโน่ ชิงโกลานี่ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ด้านการสร้างระบบรถไฟระหว่างประเทศ เครือการรถไฟแห่งชาติ เอฟเอส อินเตอร์เนชั่นแนล-อิตาเลี่ยน กล่าวว่า บริษัทได้ร่วมกับ ซี.พี.ศึกษาว่าจะสามารถดำเนินการอะไรได้บ้าง



สำหรับการเข้าร่วมประมูลรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ซึ่งบริษัทมีประสบการณ์ด้านระบบรางมายาวนาน 180 ปี มี บจ.เตรนิตาเลีย บริษัทในเครือเป็นผู้บริการเดินรถ

มีการบริหารจัดการแบบครบวงจรทั้งระบบวิศวกรรม ระบบควบคุม การบำรุงรักษา และบริหารพื้นที่สถานีและโดยรอบ รวมถึงยังมีเครือข่ายถนนและรถบัสที่มาเชื่อมการเดินทาง โดยรถไฟที่ดำเนินการจะสามารถขนทั้งผู้โดยสารและสินค้า มีศูนย์ควบคุมบริหารจัดการ 14 แห่งทั่วประเทศดูแลเส้นทางรถไฟ 16,788 กม. เป็นรถไฟความเร็วสูง 7,000 กม. มี 2,195 สถานีสำหรับผู้โดยสาร และ 208 สถานีสำหรับขนส่งสินค้า โดยพัฒนารถไฟความเร็วสูงเส้นแรกโรม-ฟลอเรนซ์ เมื่อปี 1977

“รูปแบบลงทุน รัฐบาลจะลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ ส่วนบริษัทลงทุนระบบ ขบวนรถและบริหารจัดการโครงการ จึงทำให้มีกำไร โดยมีรายได้จากการเดินรถ 1,700 ล้านยูโรต่อปี ซึ่ง 1 ใน 3 เป็นรายได้ของรถไฟความเร็วสูง และมีรายได้ไม่มาจากการเดินรถ เช่น เชิงพาณิชย์ 15-20%” นายนีโน่กล่าวย้ำ



ฝรั่งเศสขอร่วมออกแบบ

ฝั่งของ “ฝรั่งเศส” ที่ตีตั๋วซื้อซองร่วมขบวนไฮสปีดเทรนสายอีอีซีถึง 2 บริษัท คือ SNCF INTERNATIONAL และ TRANSDEV GROUP ก็ออกตัวเสียงดังฟังชัด จะร่วมกับ ซี.พี. ยักษ์ใหญ่ธุรกิจในเมืองไทย เนรมิตโครงการ

นางแอคแนส โรมาเธ-เอสปาญ รองประธานกรรมการบริหาร ด้านการพัฒนาธุรกิจระหว่างประเทศบริษัท ทางรถไฟแห่งชาติ ฝรั่งเศส (SNCF) กล่าวว่า บริษัทพร้อมจะร่วมกับ ซี.พี. ที่จะสร้างโครงการที่เป็นแลนด์มาร์กของประเทศ ซึ่งรูปแบบการลงทุนขณะนี้ยังไม่ได้คิดที่จะลงทุนด้วยการเข้าไปถือหุ้นร่วมทุน กำลังพิจารณาว่าจะเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับ ซี.พี. มีส่วนร่วมตั้งแต่ออกแบบ วางแนวคิดการพัฒนาระบบโครงการ จนถึงการบริหารจัดการในระยะยาว ไม่ใช่เป็นการนำคนฝรั่งเศสเข้าไปดำเนินการเองเป็น 100,000 คน ต้องให้คนท้องถิ่นดำเนินการเอง โดยบริษัทจะฝึกอบรมสร้างบุคลากรดูแลโครงการระยะยาว เช่น ที่โมร็อกโก เป็นคนท้องถิ่น 60% คนฝรั่งเศส 40%

“เราศึกษาร่วมกับ ซี.พี.รายเดียว เพราะมีจุดเด่นเหนือกว่ารายอื่น ๆ ที่จะสามารถสร้างรายได้เพิ่มจากโครงการจากการพัฒนาอสังหาฯรอบสถานี เช่น ศูนย์การค้า และบริการ ซึ่งการลงทุนระบบขนส่งไม่ง่าย แต่ ซี.พี.สามารถเข้าใจได้เร็ว เรามีจุดเด่นคือ ความปลอดภัย ความปลอดภัย และความปลอดภัยที่มีให้ผู้โดยสาร”

บริษัทดำเนินการกิจการแบบรัฐวิสาหกิจ ให้บริการรถไฟและคำปรึกษาธุรกิจครบวงจร มาร่วม 80 ปี มี 6 สายงานธุรกิจ เช่น ธุรกิจรถไฟ การขนส่งระยะไกล การบริหารจัดการสถานีรถไฟกว่า 3,000 สถานี การซ่อมบำรุงรักษา มีรายได้ 1,300 ล้านยูโรต่อปีจากการเดินรถและพัฒนาเชิงพาณิชย์บนสถานีและโดยรอบ มีธุรกิจอยู่ทั่วโลกกว่า 20 ประเทศ ส่วนฝรั่งเศสปัจจุบันให้บริการ 120 เมือง เป็นรถไฟธรรมดา 30,000 กม. รถไฟความเร็วสูง 2,824 กม. มี 230 สถานี วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 320 กม.ต่อ ชม. มีผู้โดยสารใช้บริการ 14 ล้านคนต่อวัน จำนวนเที่ยวโดยสาร 15,500 เที่ยวต่อวัน หรือ 420 ขบวน

โดยบริษัทเป็นผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูง หรือเตเฉเว (TGV) วิ่งให้บริการระหว่างประเทศกว่า 500 แห่ง ปัจจุบันครองส่วนแบ่งตลาดในยุโรปกว่า 50% และเป็น 1 ใน 3 ของโลก และเป็นอันดับ 7 ของโลก ด้านระบบการขนส่งสินค้า ขณะเดียวกันกำลังวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการขนส่งเป็นพลังงานสะอาดและรถไฟไร้คนขัรับเทรนด์โลก

“SNCF พัฒนารถไฟความเร็วสูงที่รัสเซีย ในโมร็อกโกเป็นสายแรกของแอฟริกา วิ่งด้วยความเร็ว 574 กม.ต่อ ชม. ยังมีเกาหลีใต้ และยังเข้าไปช่วยแก้ปัญหาให้รถไฟไต้หวัน แม้แต่จีนก็ได้ช่วยออกแบบเส้นทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ รวมถึงฝึกอบรมพนักงานด้วย แล้วทำไมไม่เปิดโอกาสให้ SNCF พัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในประเทศไทย”

ซี.พี.ยังไม่เคาะพันธมิตร



ด้าน “อติรุฒม์ โตทวีแสนสุข” หัวหน้าทีมประสานงานโครงการรถไฟความเร็วสูงเครือเซี.พี. กล่าวว่า การลงทุนรถไฟความเร็วสูงในอีอีซีไม่ใช่แค่หาพันธมิตรมีศักยภาพมาลงทุน ต้องมีการนำระบบเทคโนโลยีที่ดีมาประยุกต์ใช้กับประเทศไทย ในยุโรปการเดินรถไฟความเร็วสูงมีประวัติศาสตร์ยาวนานไม่แพ้ญี่ปุ่น ซึ่งอิตาลีและฝรั่งเศสที่เป็นผู้ริเริ่มรถไฟความเร็วสูงความเร็วกว่า 250 กม./ชม. เป็นมาตรฐานใช้กันทุกประเทศในยุโรป ส่วนจีนเพิ่งมีรถไฟความเร็วสูงเมื่อ 10 ปีที่แล้ว โดยเรียนรู้จากยุโรป ญี่ปุ่น ไปประยุกต์ใช้กับประเทศตัวเองและสร้างปรากฏการณ์มีระยะทางมากที่สุด 25,000 กม. หรือ 60-70% ของโลก

“เราไปดูงานหลายประเทศ ถ้าพูดถึงรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้มีอยู่แค่ยุโรป ยังมีเอเชีย ตะวันออกกลาง เราทำการบ้าน เรียนรู้อย่างหนักว่าใครเป็นใคร มีศักยภาพ จุดเด่นอะไร เพื่อตกผลึกในระยะเวลา 4 เดือนก่อนยื่นซองประมูล ซึ่งเป็นเวลาสั้นมากจากปกติ 8-9 เดือน”

ดึงร่วมลงทุนทุกด้าน

“อติรุฒน์” อธิบายว่า การหาพันธมิตรถ้าดูองค์ประกอบที่เป็นแกนหลักสำคัญมีหลายด้าน ทั้งผู้ลงทุน การก่อสร้าง งานระบบ การบริหารจัดการ ผู้สนับสนุนแหล่งเงิน และอสังหาริมทรัพย์ เพราะโครงการนี้คงไม่ใช่แค่สร้างรถไฟ ต้องมีพัฒนาเชิงพาณิชย์สร้างรายได้ด้วย

โมเดลของต่างประเทศจะเหมือนกันหมดว่าจะมีรายได้มาจากไหน เช่น ค่าโดยสาร พัฒนาเชิงพาณิชย์ การสร้างกิจกรรมต่าง ๆ การบริหารจัดการต้นทุน ทุกอย่างต้องเริ่มจากการออกแบบก่อสร้าง เพราะถ้าออกแบบผิดแต่ต้น จะทำให้ต้นทุนโครงการสูง เราก็ต้องรอให้กระบวนการทุกอย่างสุกงอมแล้วประเมินก่อนจะตัดสินใจยื่นประมูล

“เป็นโครงการใหญ่ เพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศในภาพใหญ่ ไม่ควรจะเป็นการดำเนินการของประเทศไทยอย่างเดียว ต้องมีต่างชาติเข้ามาร่วม เพื่อเราจะได้เทคโนโลยีทรานส์เฟอร์ โนว์ฮาว เป็นความรู้ที่ไม่เคยมี ที่สำคัญจะมีการสร้างบุคลากรคนไทยรุ่นใหม่ตามมา จะเกิดประโยชน์ต่อการบริหารโครงการที่มีประสิทธิภาพและทุกฝ่าย”

ขณะที่ผลตอบแทนการลงทุนก็ต้องอยู่ในระดับพึงพอใจเพื่อสร้างความมั่นใจให้ผู้ร่วมลงทุน ถ้าไม่เพียงพอเขาก็ไม่สนใจจะมาร่วม แต่คนอยู่ในอุตสาหกรรมนี้เข้าใจเป็นอย่างดีว่า โครงการไม่ได้มีผลตอบแทนการลงทุน 2-3 ปี เราพูดถึง 5 ปี 10 ปี 20 ปี ซึ่งโครงการนี้มีอายุ 50 ปี ถ้าเลือกพาร์ตเนอร์มาลงทุนต้องเป็นระยะยาว เป็นผู้มีความรับผิดชอบ จะมาขายของอย่างเดียวคงไม่ใช่ ไม่เกิดประโยชน์กับใคร เพราะโครงการนี้เป็นการสานประโยชน์ร่วมกัน

“โครงการอินฟราสตรักเจอร์ ผลตอบแทนไม่สูงมาก และมีความเสี่ยงเยอะ คนจะมาร่วมกับเราต้องมั่นใจ ซึ่งโครงการอีอีซีและใหญ่ขนาดนี้ไม่ได้เกิดขึ้นทุกปีในประเทศไทย ที่จะขับเคลื่อนทั้งภูมิภาค สร้างคน สร้างเศรษฐกิจเติบโตแบบก้าวกระโดด ต้องมีโครงการขนาดใหญ่ไม่ใช่เฉพาะรถไฟความเร็วสูง ต้องใช้องค์ประกอบหลากหลาย ต้องมีสนามบิน มีการลงทุนของต่างชาติ ฮับของโลจิสติกส์ ศูนย์กระจายสินค้า ท่าเรือ เมืองรองรับชุมชนที่จะเกิดใหม่”

เดินสายจีน-ญี่ปุนต่อ

เสร็จจากทริปอิตาลี-ฝรั่งเศส “ซี.พี.” เดินสายไปต่อที่ “ญี่ปุ่น” ดูโมเดลการพัฒนารถไฟความเร็วสูงของ JR East และสถานีโตเกียว จากนั้นไปประเทศจีนดูงานของ CRRC บริษัทการก่อสร้างทางรถไฟของประเทศจีน หนึ่งใน 7 บริษัทจากจีนที่ร่วมซื้อซองประมูล ตามโปรแกรมดูโรงงานการผลิตขบวนรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดที่เมืองชิงเต่า การพัฒนาสถานีรถไฟความเร็วสูงหงเฉียว และศูนย์กลางควบคุมการเดินรถที่นครเซี่ยงไฮ้ ปิดท้ายที่ประเทศไทย “ซี.พี.”

พาสำรวจเส้นทางรถไฟจากมักกะสัน-พลูตาหลวง เลาะดูจุดที่ตั้งสถานีรายทางและสนามบินอู่ตะเภา ท่าอากาศยานนานาชาติแห่งที่ 3 ในวันที่ 14 ก.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/09/2018 10:21 am    Post subject: Reply with quote

'ซีพี' กว้านที่นา 2 อำเภอ ขึ้นเมืองใหม่ 'แปดริ้ว'
ออนไลน์เมื่อ 6 กันยายน 2561 -
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,398 วันที่ 6-8 กันยายน 2561 หน้า 01+15



เปิดพิกัดที่ดินหมื่นไร่ 'เจ้าสัวซีพี' ผุดสมาร์ทซิตี ระหว่างบ้านโพธิ์ไปแปลงยาว ดอดส่งนายหน้ากว้านซื้อที่นา เฉลี่ยไร่ละ 1 ล้าน อีกจุดสถานีจอมเทียน เตรียมขึ้นเมืองมิกซ์ยูส ด้าน 'สุรพงษ์' มือขวา 'คีรี' ระบุ ไร้ปัญหามาก ปตท. วิ่งซบซีพี มั่นใจชนะประมูล

แหล่งข่าวจากวงการอสังหาริมทรัพย์ จ.ฉะเชิงเทรา เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า กลุ่มซีพีส่งนายหน้าเข้าพื้นที่ จ.ฉะเชิงเทรา กว้านซื้อที่ดินราคาถูก เป้าหมายประมาณ 10,000 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นเมืองใหม่และนิคมอุตสาหกรรม ทำเลตั้งอยู่ระหว่าง อ.บ้านโพธิ์ ไปทาง อ.แปลงยาว ห่างจากสถานีรถไฟความเร็วสูงประมาณ 20 กิโลเมตร ล่าสุด ได้ซื้อที่ดินซึ่งเป็นที่นาจากชาวบ้านแล้วบางส่วน ราคาเฉลี่ย 1 ล้านบาทต้น ๆ ต่อไร่ และแปลงด้านในต่ำกว่า 1 ล้านบาทต่อไร่ ซึ่งที่ตั้งของแปลงที่ดินสามารถเชื่อมระหว่างเมืองอีอีซี ทั้งไปทาง จ.ชลบุรี ระยอง และเข้า อ.แปลงยาว เขตที่ตั้งนิคมอุตสาหกรรมได้สะดวก

"เจ้าสัวซีพีต้องการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและทำให้ที่ดินแปดริ้วมีชีวิตขึ้น โดยเฉพาะรอบสถานี"

ขณะผังเมืองกำหนดให้เป็นพื้นที่สีเขียวประเภทเกษตรกรรม แต่หากอยู่ในพื้นที่เขตส่งเสริม สามารถยื่นขอกระทรวงอุตสาหกรรมปรับสีผังได้ อีกทั้งผู้ประกอบการในพื้นที่เสนอให้กรมโยธาธิการและผังเมืองปรับผังการใช้ประโยชน์ที่ดิน โดยรอบเขตนิคมอุตสาหกรรมทั้งหมดจากพื้นที่สีเขียวเกษตรกรรมสามารถพัฒนาที่อยู่อาศัยรองรับนิคมฯ ได้

แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ที่ดินอีกแปลงใกล้โอเชียนมารีน่า ใกล้สถานีจอมเทียน จ.ชลบุรี เจ้าสัวซีพีมีเป้าหมายรวมแปลง 500-600 ไร่ พัฒนาเป็นเมืองมิกซ์ยูส คาดจะเปิดตัวโครงการปลายปีนี้ นอกจากนี้ยังซื้อที่ดิน 2 ฝั่ง ของถนนสุขุมวิท ยาวไปถึง จ.ระยอง ระยะทางยาวกว่า 40 กิโลเมตร ซึ่งที่ จ.ระยอง มีนิคมอุตสาหกรรม 5,000 ไร่ พัฒนาร่วมกับทุนจีน คาดว่าเมืองอีอีซีทั้ง 3 จังหวัด กลุ่มซีพีน่าจะมีที่ดินในมือมากที่สุด


ทั้งนี้ กลุ่มซีพีมั่นใจจะชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูง จึงซื้อที่ดินจำนวนมากรัศมีใกล้สถานีสำคัญ รอพัฒนาควบคู่กันไป กรณีที่มีที่ดินไว้ก่อนแล้ว ก็สามารถลากเส้นทางเชื่อมพื้นที่ตนเองได้

ซีกคู่แข่งคนสำคัญ นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ บีทีเอสซี ระบุว่า กลุ่มบีทีเอสยังมีความหมายมั่นจะชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เช่นเดียวกัน และล่าสุด อยู่ระหว่างเจรจาทุนต่างชาติร่วมทุน ขณะเดียวกันยังรอดูท่าที ปตท. ว่าไปข้างไหน แต่ในที่สุดแล้ว บีทีเอสก็มีพันธมิตรอยู่แล้ว ทั้งบีทีเอสเอง ซิโนไทย และราชบุรีโฮลดิ้ง

ต่อข้อถามที่ว่า บีทีเอสจะมีโอกาสผนึกกับกลุ่มซีพีหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า หากยังไม่เปิดการประมูลทุกอย่าง ก็มีโอกาสทั้งนั้น แต่มองว่าน่าจะแยกประมูลมากกว่า อย่างไรก็ดี การประกาศสร้างสมาร์ทซิตี 10,000 ไร่ ของเจ้าสัวซีพี มองว่า ต้องการสร้างความเชื่อมั่นต่อคนในพื้นที่อีอีซี ว่า กลุ่มซีพีชนะการประมูลแน่

สำหรับที่ดินรอการพัฒนากลุ่มบีทีเอส ยังไม่สะสม เพียงรอแปลงที่ดิน 2 แปลง คือ มักกะสันและศรีราชาเท่านั้น หากชนะประมูล และเชื่อว่าเมื่อถึงวันนั้นน่าจะมีที่ดินเข้ามาเสนอขายจำนวนมาก ซึ่งวันที่ 12 พ.ย. นี้ ถึงกำหนดยื่นซองประมูล


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า กรณีการเวนคืนโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินนั้น ได้แบ่งออกเป็น 2 ช่วง โดยช่วงแรกจากสุวรรณภูมิ-ดอนเมือง ได้ผ่านการอนุมัติพระราชกฤษฎีกาเรียบร้อยแล้ว เหลือเพียงส่วนต่อขยายช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภาเท่านั้น ซึ่งได้นำเสนอเข้าสู่การพิจารณาไปแล้ว

"เส้นทางส่วนใหญ่ในช่วงแรกนั้น น่าจะส่งมอบให้ดำเนินการเร็วกว่า ประกอบกับส่วนใหญ่ใช้เขตทางรถไฟไปดำเนินการ ยกเว้น ช่วงส่วนต่อขยายไปถึงสนามบินอู่ตะเภาเท่านั้น ที่จะมีการเวนคืนราว 500 ไร่ เพื่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงในเขต จ.ฉะเชิงเทรา ส่วนอื่นนั้นมีเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คงไม่เป็นปมปัญหาให้ล่าช้า เชื่อว่าจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ทันในช่วงปลายปีนี้"
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2018 2:08 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงกับการพัฒนาท้องถิ่นไทย
opt- tvnews Published on Sep 7, 2018

โดยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผอ. สนข. 30 ส.ค. 61


https://www.youtube.com/watch?v=ydi8GTrIcyU
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/09/2018 2:19 pm    Post subject: Reply with quote

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับสถานบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเวทีเสวนาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย เพื่อรับฟังคิดเห็นเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 8 ก.ย. 2561

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับสถานบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจัดเวทีเสวนาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย เพื่อรับฟังคิดเห็นเสนอต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายวิเชียร ฝอยพิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวว่า มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา ร่วมกับ จังหวัดนครราชสีมา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน วิทยาเขตขอนแก่น และ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) จัดเวทีเสวนาโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ขึ้น ซึ่งเวทีเสวนาดังกล่าวเป็นการรับฟังข้อเสนอแนะของการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ซึ่งหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องถือเป็นพื้นที่จังหวัดเชื่อมต่อของรถไฟความเร็วสูง ดังนั้น จึงต้องการ การศึกษาผลกระทบทางสังคมจากการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคาย ตามนโยบายรัฐบาลที่ทำความร่วมมือพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐานทางรถไฟระหว่างประเทศไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน เส้นทางกรุงเทพหนองคาย ระยะทาง 837 กิโลเมตร ที่เป็นการเชื่อมต่อเส้นทางคมนาคมขนส่งระหว่างประเทศไทย สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งโครงการดังกล่าวอาจะส่งผลกระทบเชิงบวกและลบ ทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ตามเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่าน บริเวณสถานีรถไฟ จังหวัด และอ าเภอที่สถานีรถไฟตั้งอยู่

อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา กล่าวอีกว่า สำหรับการศึกษาวิจัยผลกระทบจากการดำเนินโครงการพัฒนารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ-หนองคายได้มีการกำหนดออกมา5 ประเด็นหลัก คือ สถานภาพปัจจุบัน (Existing Condition) ของพื้นที่ที่รถไฟวิ่งผ่านและบริเวณโดยรอบสถานี ผลกระทบด้านการก่อสร้างและบริบทของสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ผลกระทบด้านการค้าการลงทุน ผลกระทบด้านการท่องเที่ยวและบริการ และ ผลกระทบด้านการเคลื่อนย้ายประชากรโดยจะมีการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในจังหวัดและอำเภอตลอดเส้นทางที่รถไฟวิ่งผ่านและบริเวณที่สถานีรถไฟตั้งอยู่ ทั้งการสอบถาม สัมภาษณ์ จัดกิจกรรมสนทนากลุ่ม รวมทั้งจัดเวทีเสวนารับฟังความคิดเห็น เพื่อประมวลผลข้อมูลในภาพรวม พร้อมจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายสำหรับรัฐบาล หรือ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน และจัดเตรียมมาตรการรับรองผลกระทบที่เกิดขึ้นในอนาคตต่อไป
ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นพรุจ กล่ำทอง
ผู้เรียบเรียง : พนิตนาฏ ขวัญแสนสุข / สวท.
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 282, 283, 284 ... 545, 546, 547  Next
Page 283 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©