Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263935
ทั้งหมด:13575218
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 284, 285, 286 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/09/2018 7:56 pm    Post subject: Reply with quote

บอร์ด ปตท. เคาะถือหุ้น 25% เร่งเลือกคู่ BTSC-CP!!
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,400 วันที่ 13-15 กันยายน พ.ศ. 2561 - หน้า 01-02


บอร์ด ปตท. จี้เจรจาเอกชน 2 ราย บีทีเอสซีและซีพีร่วมทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เร่งให้ได้ข้อยุติ นำสู่การตัดสินใจ 28 ก.ย. นี้ ... 'ชาญศิลป์' ชี้มีความพร้อม เชี่ยวชาญคนละด้าน แต่ต้องตัดสินใจเลือกผลตอบแทนดีที่สุด เผย บอร์ดเคาะให้ถือหุ้นได้แค่ 25% กันความเสี่ยง

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า การยื่นประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งล่าสุด ในการประชุมบอร์ด ปตท. เมื่อวันที่ 6 ก.ย. ที่ผ่านมา ได้มีการคัดเลือกบริษัทเอกชนเหลือ 2 ราย ที่จะต้องไปเจรจาต่อ เพื่อให้ได้ข้อยุติ ได้แก่ กลุ่มบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) (BTSC) ที่มีพันธมิตร บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด (มหาชน) และกลุ่มเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการเป็นกลุ่มคนไทยเข้ายื่นประมูล


ส่วน ปตท. จะเลือกกลุ่มไหนนั้น ก็มีความเป็นไปได้ทั้ง 2 บริษัท เนื่องจากแต่ละบริษัทมีความพร้อมและความโดดเด่นกันในแต่ละด้าน จึงได้ให้บริษัทที่ปรึกษาไปศึกษาในรายละเอียดของข้อเสนอต่าง ๆ ของแต่ละบริษัทเป็นอย่างไร เพื่อนำมาเปรียบเทียบข้อดีข้อเสีย รวมถึงความคุ้มค่า ผลตอบแทนที่ ปตท. จะได้รับ รวมถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากโครงการดังกล่าวจะเห็นผลได้ต้องอาศัยระยะเวลา 5-7 ปี และผลตอบแทนที่ได้กลับมาไม่มาก 1-2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น

แต่การที่ ปตท. ต้องเข้าร่วมประมูล เพราะเห็นว่าเป็นการสนับสนุนนโยบายของรัฐบาล อีกทั้งกลุ่ม ปตท. มีฐานการผลิตของอุตสาหกรรมต่าง ๆ อยู่เป็นจำนวนมากในอีอีซี

อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวก็มีความเสี่ยง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องเลือกบริษัทที่ให้ผลตอบแทน ปตท. ดีที่สุด ทั้งความคุ้มค่าด้านการลงทุน เทคโนโลยี ความชำนาญในธุรกิจ เพราะอย่าลืมว่า นอกจากรถไฟความเร็วสูงแล้ว จะต้องพ่วงกับการพัฒนาพื้นที่มักกะสันและพื้นที่ศรีราชาด้วย ซึ่งจะต้องมีการศึกษาพันธมิตรที่จะเข้าร่วมประมูลให้ดี เพราะเป็นโครงการใหญ่ ซึ่งหากศึกษาแล้วเสร็จทัน ก็จะนำเสนอบอร์ด ปตท. ในวันที่ 28 ก.ย. นี้ เพื่อพิจารณาตัดสินใจจะเลือกเอกชนกลุ่มใด แต่หากไม่ทัน คงต้องเลื่อนเสนอไปในการประชุมบอร์ด ปตท. ในวันที่ 28 ต.ค. 2561 แทน เพื่อให้ทันกับการยื่นประมูลในวันที่ 12 พ.ย.

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหาร ปตท. เปิดเผยว่า ในการประชุมที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาว่า หากกลุ่ม ปตท. ร่วมกับพันธมิตร ชนะการประมูลในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และมีการจัดตั้งบริษัทขึ้นมาบริหารงาน จะให้บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด ถือหุ้นในสัดส่วนไม่เกิน 25% ด้วยเหตุผลของการลดความเสี่ยงด้านการลงทุน แต่สามารถเข้าไปมีส่วนในการบริหารงานได้

ขณะที่ การใช้เงินทุนจดทะเบียนตั้งบริษัทไม่สูงมากนัก จากที่กำหนดเงื่อนไขต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 4,000 ล้านบาท ในวันลงนามสัญญาร่วมลงทุน และก่อนเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษา ต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท ตลอดระยะเวลาโครงการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/09/2018 7:24 am    Post subject: Reply with quote

เปิดชิงรถไฟไทยจีน4พันล้านพ.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 18 ก.ย. 61
นโยบายเศรษฐกิจ

รฟท.จ่อเปิดประมูลก่อสร้างรถไฟไทยจีน ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก 4 พันล้านบาท พ.ย.นี้ ขณะที่รายได้จากการเดินรถปีนี้ทะลุเป้า คาดแตะ 4 พันล้าน หลังรับมอบรถโดยสารใหม่เสริมทัพ

พร้อมลุยเส้นทางท่องเที่ยวเจาะกลุ่มต่างชาติ ดันโหลดแฟกเตอร์สูงกว่า 90% ประเมินหากพัฒนาทางคู่ครบตามแผน เปิดให้บริการในปี 2570 จะเพิ่มปริมาณผู้โดยสารเป็นเท่าตัว

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.เมื่อวันที่ 14 ก.ย.ที่ผ่านมา ได้รับทราบความคืบหน้าของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ภายใต้กรอบความร่วมมือไทย - จีน เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทางรวม 252.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงินรวม 1.79 แสนล้านบาท โดยมีการพิจารณางานก่อสร้าง ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ประเมินใช้วงเงินก่อสร้างราว 4 พันล้านบาท คาดว่าจะประกาศร่างเงื่อนไขการประมูล (ทีโออาร์) ได้ในต้นเดือน ต.ค.นี้ เปิดประมูลใน พ.ย.2561 และลงนามสัญญาได้ในปลายเดือน ม.ค. 2562

สำหรับงานโยธา ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ประกอบด้วย งานก่อสร้างทางยกระดับ 4.19 กม. ก่อสร้างคันทาง 6.81 กม. รวมไปถึงงานก่อสร้างเสริมคันทาง ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทางย่านสถานีโคกสะอาด และก่อสร้างชานชาลาชั่วคราวที่สถานีโคกสะอาด โดยผู้เข้าประมูลจะต้องมีผลงานในช่วงที่ผ่านมาขั้นต่ำรวม 15% ของมูลค่าโครงการ โดยผลงานที่นำเสนอจะต้องเป็นงานในการก่อสร้างทางรถไฟหรืองานโยธาที่กำหนด

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เผยว่ารายได้ของกลุ่มธุรกิจการเดินรถในปี 2561 ขณะนี้มีมากกว่า 3.2 พันล้านบาท ซึ่งเกินกว่าเป้าหมายที่ประมาณการณ์ไว้ เกิดจากปัจจัยบวกของการนำรถโดยสารคันใหม่ 115 คันเข้ามาเสริมบริการ ประกอบกับการเปิดเส้นทางโดยสารเพื่อการท่องเที่ยว สามารถเจาะกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติได้เพิ่มมากขึ้น อาทิ เส้นทาง กรุงเทพ - พัทยา – สัตหีบ ซึ่งปัจจุบันมรอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (โหลดแฟกเตอร์) มากกว่า 90%

ด้านนายวรวุฒิ มาลา ผู้ว่าการ รฟท. เผยว่า มั่นใจว่าปีนี้ภาพรวมรายได้ของ รฟท.จะมีใกล้เคียงปีก่อนอยู่ที่ 9 พันล้านบาท มาจากรายได้การเดินรถโดยสารราว 4 พันล้านบาท ขนส่งสินค้า 2 พันล้านบาท และรายได้จากการบริหารทรัพย์สินอีก 3 พันล้านบาท และคาดว่า หลังการเปิดให้บริการเส้นทางรถไฟทางคู่ครบตามเป้าหมาย จะมีจำนวนผู้โดยสารเพิ่มขึ้นเท่าตัวเป็นประมาณ 22 ล้านคนในปี 2570 จากปัจจุบันมีผู้โดยสารประมาณ 11 ล้านคน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 18/09/2018 9:59 am    Post subject: Reply with quote

เร่งรถไฟไทย-จีน
17 กันยายน 2561 เวลา 12:15 น.

โพสต์ทูเดย์ - เอกชนหนุนเดินหน้าสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมจีน-สปป.ลาว และหนองคาย ชี้โอกาสพัฒนาการค้า การลงทุน

นางวิลาวัณย์ กนกศิลป์ ประธานหอการค้าจังหวัดหนองคาย เปิดเผยว่า นายหลู่ย์เจี้ยน เอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย และนายเหลี้ยวจุ้นหยุ่น กงสุลใหญ่สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ จ.ขอนแก่น เดินทางมายัง จ.หนองคาย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แน่นแฟ้นมากขึ้น โดยทางจีนมีความต้องการให้สร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากจีนมายัง สปป.ลาว แล้วเชื่อมข้ามแม่น้ำโขงมายัง จ.หนองคาย ซึ่งภาคเอกชนในพื้นที่ก็เห็นด้วย เนื่องจากมองว่าหากผลักดันโครงการดังกล่าวให้สำเร็จ จะส่งผลให้เกิดการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกันมากขึ้น ทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวก เป็นผลดีต่อการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวของทุกฝ่ายทั้งไทย สปป.ลาว และจีน

“จ.หนองคาย มีพื้นที่ใกล้กับนครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งปัจจุบันมีชาวจีนที่อยู่ใน สปป.ลาว นิยมเดินทางมาทำธุรกิจ ซื้อสินค้าและท่องเที่ยวที่หนองคายมากขึ้น และทางรัฐบาลจีนและ สปป.ลาว ได้เห็นชอบร่วมกันในการสร้างทางรถไฟความเร็วสูงจากจีนมายัง สปป.ลาว หากสามารถสร้างต่อมาเชื่อมถึง จ.หนองคาย ได้จะเป็นโอกาสที่ดีในการร่วมกันพัฒนาเศรษฐกิจ การท่องเที่ยวระหว่างประเทศ ทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่หนองคายและเวียงจันทน์ขยายตัวเพิ่มมากขึ้น” นางวิลาวัณย์ กล่าว

นางวิลาวัณย์ กล่าวว่า คนจีนกับคนไทยเป็นมิตรที่ดีต่อกันมายาวนาน ปัจจุบันคนจีนมาเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่เดินทางเข้ามาเที่ยวในภาคอีสานยังไม่มากเท่าใด อาจเพราะการคมนาคมถึงกันยังไม่สะดวก ดังนั้นหากมีการพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงจากจีนลงมาถึงไทยได้ ก็น่าจะช่วยเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวชาวจีนให้กระจายตัวเข้ามาท่องเที่ยวในภาคอีสานมากขึ้น

ขณะเดียวกัน คนจีนยังนิยมรับประทานผลไม้ของไทยอย่างทุเรียน มีการสั่งซื้อผลไม้เหล่านี้กลับประเทศจำนวนมาก แต่การขนส่งยังต้องใช้เวลา ซึ่งความต้องการให้สร้างรถไฟความเร็วสูงจากจีนมายัง สปป.ลาว แล้วเชื่อมข้ามแม่น้ำโขงมายัง จ.หนองคาย เป็นแนวทางที่ดี
ในการใช้เป็นอีกช่องทางในการขนส่งสินค้าเกษตรของไทยออกไปขายทั้งในตลาด สปป.ลาว และจีน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างไทยกับจีน

อย่างไรก็ตาม ทางสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย จะช่วยพูดคุยถึงแนวทางความเป็นไปได้ และผลักดันให้เกิดการเชื่อมต่อเส้นทางระหว่างกันให้มากขึ้น หากสำเร็จจะทำให้การคมนาคมขนส่งสะดวกและรวดเร็ว นักท่องเที่ยวชาวจีนก็จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวใน สปป.ลาว และไทยมากขึ้นไปด้วย ขณะเดียวกันคนไทยก็สามารถเดินทางเข้าไปท่องเที่ยวยังมณฑลต่างๆ ของจีนได้สะดวกเช่นกัน

ทั้งนี้ จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2560 ด่านศุลกากรหนองคายมีสถิติรถยนต์เข้า-ออกด่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 1 ทั้งที่เป็นรถบรรทุกสินค้า รถยนต์โดยสาร รถยนต์ส่วนบุคคล และรถเปล่า รวมทั้งสิ้น 1,336,188 คัน ซึ่งมีความแตกต่างอย่างมากจากปี 2537 ที่เปิดใช้สะพานครั้งแรก โดยมีรถยนต์ผ่านเข้า-ออกเพียง 19,053 คัน

ขณะที่มูลค่าสินค้านำเข้าส่งออกผ่านศุลกากรหนองคาย ปีงบประมาณ 2560 มีมูลค่ารวมถึง 63,164 ล้านบาท ส่วนสถิติบุคคลที่เดินทางผ่านเข้า-ออกราชอาณาจักร ในปี 2560 พบว่ามีบุคคลสัญชาติไทยและลาวผ่านเข้า-ออกจุดตรวจสะพานมิตรภาพไทย-ลาว จำนวน 3,700,245 คน รวมถึงบุคคลสัญชาติอื่น 313,723 คน รวมมีบุคคลผ่านเข้า-ออกจุดตรวจในปี 2560 ทั้งสิ้น 4,013,968 คนและในอนาคตจะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จึงเป็นโอกาสที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 11:26 am    Post subject: Reply with quote

“อิตาลี-ฝรั่งเศส” ต้นแบบไฮสปีดเทรน หนุนโครงการเชื่อม 3 สนามบินได้สำเร็จ!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 7 กันยายน 2561 เวลา 09:06
ปรับปรุง: 10 กันยายน 2561 เวลา 20:54


FS และSNCF ผู้เชี่ยวชาญด้านโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูง จากอิตาลี และฝรั่งเศส ถือเป็นโมเดลศึกษา High-Speed Rail ที่จะนำไปประยุกต์ใช้กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินได้เช่นกัน เพราะการออกแบบทุกเส้นทางคำนึงถึง ‘ผู้ใช้บริการ-ความปลอดภัย-สะดวกสบาย’ รวมไปถึงวิธีการลงทุนรูปแบบ PPP เพื่อป้องกันไม่ให้โครงการนี้เป็นกอร์ดอน วู-โฮปเวลล์ รายต่อไป ขณะที่ FS และ SNCF มีแผนรุกเข้ามาลงทุน High-Speed Rail ในประเทศไทย!

อีกไม่นานคนไทยจะได้นั่งรถไฟความเร็วสูงสายแรก กรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย ที่รัฐบาลไทยร่วมทุนกับประเทศจีน ปัจจุบันอยู่ระหว่างก่อสร้างในระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-โคราช และกำลังจะเกิดรถไฟความเร็วสูงสายที่ 2 ความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมง เชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยะทางจากกรุงเทพฯ-สนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 220 กิโลเมตร มูลค่าโครงการกว่า 220,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเร่งด่วนเพื่อขับเคลื่อนโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC)

โดยรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ตั้งเป้าหมายในการปั้นโครงการ EEC เพื่อยกระดับพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออกให้กลายเป็น “World-Class Economic Zone” รองรับการลงทุนอุตสาหกรรม Super Cluster รองรับธุรกิจที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงหรือเมืองอัจฉริยะ เช่นอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์ ดิจิทัล และอากาศยาน

ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องเร่งดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นที่ภายใต้กรอบการลงทุน PPP EEC TRACK ประกอบด้วย 5 โครงการหลัก 1. โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก 2. โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 3. โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภา 4. โครงการท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 และ 5. โครงการท่าเรืออุตสาหกรรมมาบตาพุดขั้นที่ 3

อย่างไรก็ดี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีนักธุรกิจทั้งไทยและต่างชาติให้ความสนใจซื้อซองถึง 31 ราย กำหนดยื่นซองประมูลได้ในราวเดือนพฤศจิกายน และเปิดซองในราวเดือนกุมภาพันธ์ ปัจจุบันกำลังเป็นที่จับตาว่านักธุรกิจรายใดจะชนะการประมูล ภายใต้รูปแบบ NET COST คือใครเสนอผลตอบแทนสูงสุดให้รัฐจะเป็นผู้ชนะการประมูล ครั้งนี้

ว่าไปแล้วโครงการรถไฟความเร็วสูง : High-Speed Rail หรือ HSR อาจจะดูเป็นเรื่องใหม่สำหรับประเทศไทย แต่ก็ใช่ว่ารถไฟความเร็วสูงจะเกิดขึ้นไม่ได้ เพราะเทคโนโลยีต่างๆ ในยุคนี้สามารถเชื่อมต่อและเคลื่อนย้ายกันได้ทั่วโลก ซึ่งหลายๆ ประเทศไม่ว่าจะเป็นฝรั่งเศส อิตาลี ญี่ปุ่น จีน ล้วนแต่เป็นประเทศที่มีการพัฒนาเทคโนโลยีสำหรับ HSR มาเป็นเวลานานจากระดับความเร็วสูงสุด 160/กม./ชม. มีการพัฒนาไปจนถึงความเร็วสูงสุด 600 กม./ชม.

แต่การจะทำให้โครงการ HSR ประสบความสำเร็จได้ย่อมมีปัจจัยต่างๆ และมีธุรกิจที่เกี่ยวข้องจำนวนมาก หากจะอาศัยเพียงค่าโดยสารมาเลี้ยงตัวเอง ย่อมเป็นไปได้ยากและมีโอกาสเดียวคือเจ๊งกับเจ๊งเท่านั้น

รัฐบาลบิ๊กตู่จึงกำหนดไว้ใน TOR ให้มีการพัฒนาพื้นที่สถานี โดยเฉพาะที่ดินมักกะสัน ที่ถือเป็นทำเลทองใจกลางเมืองที่มีมูลค่ามหาศาล สามารถพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ และสถานีศรีราชา เป็นต้น ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขการร่วมทุน PPP ให้กับผู้ลงทุน

ที่ดินมักกะสันจึงเป็นแรงดึงดูดกลุ่มธุรกิจที่จะเข้ามาลงทุน HSR เชื่อม 3 สถานี

แต่ในความเป็นจริง ประเทศที่ประสบความสำเร็จในการบริหารจัดการระบบขนส่งขนาดใหญ่โดยเฉพาะโครงการรถไฟความเร็วสูงที่มีมูลค่าการลงทุนมหาศาล อย่างเช่น อิตาลี และฝรั่งเศส น่าจะเป็นโมเดลที่น่าสนใจว่าเขาจัดการอย่างไรจึงประสบความสำเร็จ

ขณะที่รถไฟความเร็วสูงแต่ละประเทศจะแข่งขันกันที่ความเร็วสูงสุด ว่าใครจะเป็นที่ 1 ของโลกได้สำเร็จ เป็นผลให้แต่ละประเทศที่ใช้ HSR มีการตั้งองค์กรขึ้นมาดูแลและพัฒนาเทคโนโลยี High Speed อย่างต่อเนื่อง

สำหรับรถไฟความเร็วสูง ทั้งอิตาลี และฝรั่งเศส ล้วนมีจุดเด่นที่น่าสนใจ!

ประเด็นแรก เรื่องของเทคโนโลยี Signalling System หรืออาณัติสัญญาณ ซึ่งมีความสำคัญมาก เพราะจะใช้ในการควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ ระยะเวลาในการเดินรถ การสับหลีกบริเวณสถานี โดยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ จะออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กัน เพื่อให้คนขับรถไฟสามารถตัดสินใจเดินรถได้อย่างมั่นใจ และไม่ทำให้เกิดปัญหาขึ้นในระหว่างการปฏิบัติงาน

ที่สำคัญศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟความเร็วสูง (Control Room) ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญในการบริหารจัดการจะมีอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบอาณัติสัญญาณ เพื่อเชื่อมต่อทั้งหมดและมีเจ้าหน้าที่คอยดูแลตลอด 24 ชั่วโมง รวมทั้งมีกล้อง CCTV จำนวนมากติดตั้งอยู่ทั่วห้องควบคุม ดังนั้น คนขับรถ HSR จะทำสิ่งใดที่นอกเหนือจากระบบสั่งการไม่ได้ และหากมีสถานการณ์ฉุกเฉินเกิดขึ้นในระหว่างการเดินรถก็จะสามารถสั่งการแก้ไขได้ทันทีเช่นกัน

ทั้งหมดนี้ก็เพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสารทุกคน!



ดังนั้นหากจะพูดถึงระบบควบคุมการเดินรถ ทั้ง 2 ประเทศไม่ได้แตกต่างกันและอยู่ในมาตรฐาน ETCS (European Train Control System) และหน่วยงานมาตรฐานการเดินรถยังได้ประกาศมาตรฐานกลางเพื่อให้ระบบควบคุมสามารถทำงานร่วมกันได้ในกลุ่มประเทศยุโรปด้วยกันที่เรียกว่า European Railway Traffic Management System : ERTMS 2 รวมไปถึงขนาดความกว้างของราง (standard gauge) มีขนาด 1,435 มม. และตู้รถไฟความเร็วสูง (Rolling Stock) เป็นต้น

ประเด็นต่อมาทั้งสองประเทศมีธุรกิจที่เชื่อมโยงกัน

ประเทศอิตาลี ดำเนินการโดยกลุ่ม Ferrovie dello Stato ITALIANE : FS ซึ่งถือหุ้นโดยกระทรวงเศรษฐกิจและการเงิน กับ กระทรวงสาธารณสุขและโครงสร้างพื้นฐาน 100% ส่งผลให้ FSมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจแต่บริหารกิจการแบบภาคเอกชน มีบริษัทในเครือ 90 บริษัท ใน 5 ทวีป 60 ประเทศ ทำธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ/บริหารจัดการขนส่งสาธารณะทั้งขนคนและขนสินค้า ในระบบขนส่งโดยรถบัส รถไฟปกติและความเร็วสูง มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟและความเร็วสูง (Depot High Speed Train) ศูนย์ควบคุมการเดินรถ 14 แห่ง ธุรกิจลอจิสติกส์ ธุรกิจคลังสินค้า การออกแบบ การก่อสร้างด้านวิศวกรรม การพัฒนานวัตกรรมด้านเทคโนโลยี และไอซีที ที่จะใช้เชื่อมโยงกับการขนส่งผู้โดยสาร รวมไปถึงการพัฒนาสถานีในเชิงพาณิชย์ ที่นำไปสู่การสร้างรายได้มหาศาล

การพัฒนาในเชิงพาณิชย์บริเวณสถานีต่างๆ ยกตัวอย่างเช่นที่ สถานีรถไฟ โรมาแทรมินี (Roma Tiburtina) ซึ่งเป็นสถานีขนาดใหญ่มีผู้มาใช้บริการรถไฟธรรมดา และรถไฟความเร็วสูงจำนวนมาก มีรถบัส รถแท็กซี่ และรถTRAM เชื่อมต่อมายังสถานีได้สะดวกสบาย มีร้านค้าแบรนด์ดังๆ ที่อยู่บริเวณชั้น 1 และชั้น 2 และระบบขายตั๋วจะมีความทันสมัยเข้าถึงง่ายทั้งขายผ่าน APP หรือซื้อจากตู้ขายตั๋วอยู่ทั่วบริเวณสถานี พร้อมกับมีโปรโมชันเพื่อผู้โดยสารทุกกลุ่ม

ส่วนในประเทศฝรั่งเศส ดำเนินการโดยบริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF) ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง TGV ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของยุโรปที่เปิดให้บริการในปี 2510 ด้วยความเร็ว 200 กม./ชม. หลังจากนั้น Alstom ได้พัฒนาไปสู่ความเร็วที่ 270 และ 300 จนถึง 320 ในปัจจุบัน และ SNCF รับผิดชอบระบบขนส่งมวลชน ทั้งรถบัส รถไฟธรรมดา รถไฟความเร็วสูง และมีการร่วมลงทุนกับนักธุรกิจในเมืองใหญ่ๆ ทำรถ TRAM วิ่งในเขตเมือง มีศูนย์ซ่อมบำรุงขนาดใหญ่ มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย สามารถยกตู้รถไฟความเร็วสูงเพื่อการซ่อมบำรุงได้อย่างสบายๆ รวมถึงการบริหารสถานีเชิงพาณิชย์

โดยจะมีผู้โดยสารที่เข้ามาใช้บริการรถขนส่งมวลชนทุกระบบ 10 ล้านคน/วัน และมีบริการเชิงพาณิชย์ภายในสถานี 1,500 ร้าน และดำเนินธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ในรูปของออฟฟิศด้วย และมีแผนจะทำธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลากหลายรูปแบบให้ครอบคลุมประมาณ 5 หมื่นตารางกิโลเมตร และ SNCF ยังตั้งเป้าสร้างผลงานพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ให้ได้มากกว่าแสนตารางเมตร ซึ่งในปี 2017 ประมาณการรายได้ถึง 14,274 ล้านบาท

ในเรื่องของผู้ใช้บริการ

ทั้งอิตาลี และฝรั่งเศส จะมีความเหมือนกันในการเกิดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง จะเป็นเส้นทางจากสถานีในเมืองโรมและปารีส เพื่อเชื่อมไปเมืองใหญ่ที่เกิดขึ้นจากการวางผังเมืองไว้อย่างดีเยี่ยม ทำให้มีจำนวนผู้โดยสารที่แน่นอน เช่นรถไฟความเร็วสูงของ FS จากโรมไปเมืองฟลอเรนซ์ ซึ่งมีจุดขายเป็นเมืองท่องเที่ยว ด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงความงามด้านศิลปะ และยังเป็นบ้านของศิลปินหลายๆ ท่าน ทั้ง ไมเคิล แองเจลโล, ลีโอนาร์โด ดาวินชี ทำให้บรรดาคนที่หลงใหลด้านศิลปะและนักท่องเที่ยวทั่วโลกต้องการจะไปชมเมืองนี้

โดยเฉพาะความงดงามของมหาวิหารฟลอเรนซ์ หรืออาสนวิหารซานตา มาเรีย เดล ฟิออเร (อาสนะวิหารแม่พระแห่งดอกไม้) ที่ตั้งอยู่ในเขตจัตุรัสเปียซซา เดล ดูโอโม

รถไฟความเร็วสูงของ FS สายนี้จึงเต็มไปด้วยผู้โดยสาร ทั้งประชาชนทั่วไปที่พักอาศัยในเมืองนี้ นักธุรกิจ นักท่องเที่ยวประเทศต่างๆ จำนวนมาก ส่งผลให้ขบวนรถไฟความเร็วสูงจึงเต็มไปด้วยความสะดวกสบาย มีการแบ่งเป็นชั้น Executive จะมีห้องประชุม และอุปกรณ์ เชื่อมการสื่อสารไว้พร้อม เก้าอี้ขนาดใหญ่ไว้รองรับนักธุรกิจ และยังมีชั้น Business ชั้น Premium ชั้นEconomy ไว้ให้ผู้โดยสารได้เลือกใช้บริการ

ส่วนที่ฝรั่งเศสก็ไม่ได้ต่างจากกันเช่น HSR สายปารีสเชื่อมเมืองแรงส์ เมืองแหล่งกำเนิดของแชมเปญเครื่องดื่มเพื่อการเฉลิมฉลองทุกชัยชนะ และเมื่อลงสถานีแรงส์แล้ว จะสามารถนั่งรถ Tram ที่ออกแบบเป็นรูปแชมเปญชมความงามของเมืองได้เช่นกัน

ที่สำคัญทั้ง 2 ประเทศ จะมีผู้โดยสารใช้บริการ HSR แน่นอน ทั้งนี้เพราะจะมีการวางผังเมืองและมีการพัฒนาเมืองใหญ่ไว้แล้ว พร้อมๆ กับการสร้าง HSR วิ่งเชื่อมเมืองดังกล่าวเข้าสู่ใจกลางเมืองของแต่ละประเทศ โดยแต่ละเส้นทางซ้าย-ขวาจะไม่พบชุมชนที่เป็นจุดตัดซึ่งจะทำให้เกิดอุปสรรคต่อการเดินรถได้ รวมทั้งมีเขตกันเส้นทางวิ่งของรถไฟไว้พร้อม

การลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง

จะพบว่าทั้ง 2 ประเทศ รัฐบาลจะเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) และให้รัฐวิสาหกิจ หรือบริษัทเอกชนต่างๆ เข้ามาดำเนินการ ในเรื่องการบริหารจัดการทั้งเรื่องอาณัติสัญญาณ (Signalling System) ศูนย์ควบคุมการเดินรถ (Control System) ตู้รถไฟความเร็วสูง (Rolling Stock) การบริหารจัดการการเดินรถและการพัฒนาสถานีเชิงพาณิชย์

การที่รัฐบาลทั้ง 2 ประเทศเป็นผู้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งหมายถึงงานโยธาที่อยู่ในระดับต่ำกว่ารางลงมา ถือเป็นการให้บริการประชาชนเพื่อให้เกิดการพัฒนาประเทศ ปัจจุบันจะเห็นได้ว่า FS และSNCF ซึ่งเป็นบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญเรื่องรถไฟความเร็วสูงยังมีพันธมิตรด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก ซึ่งทั้ง 2 บริษัทเข้าไปร่วมทุนและบางบริษัทก็ลงทุนเอง 100% และได้ประกาศชัดว่าอยากจะเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย โดยเฉพาะเส้นทางเชื่อม 3 สนามบิน

ซึ่งบริษัท FS กำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ ต้องการที่จะรุกเข้าในประเทศไทยเพื่อให้บริการขนส่งสาธารณะในระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อสร้างรายได้ให้กับ FS ต่อไป


ดังนั้น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินในรัฐบาลบิ๊กตู่จึงเป็นที่ต้องการของนักลงทุนไทยและต่างชาติ ว่ากันว่าโครงการนี้จะสำเร็จได้ต่อเมื่อแผนพัฒนา EECซึ่งเป็นแผนหลักเกิดขึ้นจริง รวมไปถึงโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุด-แหลมฉบัง และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา เพราะประมาณการผู้โดยสารที่จะมาใช้บริการโครงการนี้ เป็นตัวเลขที่มาจากการเกิดขึ้นของแผนพัฒนาดังกล่าว บวกกับตัวเลขผู้ใช้บริการรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ในปัจจุบันที่มีผู้ใช้บริการประมาณ 7หมื่นคนต่อวัน จะทำให้ HSRประสบความสำเร็จได้

อีกทั้งการลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผู้ชนะการประมูลจะต้องเป็นผู้ลงทุนทั้งหมดตั้งแต่ Infrastructure, Signalling System, Control System, Rolling Stock การบริหารจัดการการเดินรถทั้งตัวบุคลากร อุปกรณ์ต่างๆ และการพัฒนาสถานีเชิงพาณิชย์ทั้งที่มักกะสัน ศรีราชา และบริเวณอื่นๆ ซึ่งจะต้องแล้วเสร็จภายใน 6 ปี มูลค่าการลงทุนประมาณ 3 แสนกว่าล้านบาท

และรัฐก็ยังเปิดโอกาสให้ผู้ลงทุนสามารถเลือกที่ตั้งสถานีได้ด้วยตนเอง ซึ่งจุดนี้ผู้ลงทุนอาจมีการเชื่อมที่ดินที่ตัวเองเตรียมไว้นำเข้ามาพัฒนาและใช้ระบบเชื่อมต่อกับตัวสถานีพร้อมพัฒนาที่ดินตัวเองเป็นเมืองSMART CITY สมบูรณ์แบบก็ย่อมทำได้

นอกจากนี้ ใน TOR ยังระบุไว้ว่าหลัง 10 ปี รัฐบาลจะมีการทยอยคืนเงินบางส่วนเพราะเป็นการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน แต่เอกชนก็อาจจะรู้สึกว่ายังมีความเสี่ยงเกิดขึ้นได้ถ้านโยบายรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาหลังเลือกตั้งปฏิเสธโครงการนี้

หากเป็นเช่นนั้นคนไทยอาจจะได้เห็นตอม่อร้างของรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ผุดขึ้นตลอดแนวก็ได้เพราะรูปแบบการลงทุนของเส้นทางสายนี้ไม่ได้ต่างจากที่นายการ์ดอน วู นักธุรกิจเชื้อสายฮ่องกง เข้ามาทำโครงการโฮปเวลล์หรือโครงการระบบการขนส่งทางรถไฟยกระดับในกรุงเทพฯ ซึ่งจะต้องเป็นผู้ลงทุนเองทั้งหมดโดยรัฐบาลมอบที่ดิน 2 ข้างทางให้พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ แต่โครงการนี้จะแตกต่างตรงที่โครงการเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนลงไปก่อนและ รัฐจะมีการทยอยคืนให้บางส่วนตามเงื่อนไข PPP หลัง 10 ปีไปแล้ว

ขณะที่กอร์ดอน วู ต้องจ่ายเองทั้งหมด!

ดังนั้น หลังเลือกตั้งหาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กลับมาเป็นรัฐบาลอีกครั้ง จะทำให้โครงการ EEC และแผนพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา รวมทั้งโครงการอื่นๆ เกิดได้จริง ส่งผลต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศขยายตัว 5-7% มีการจ้างงานเกิดขึ้นในภาคอุตสาหกรรม และบริการ นับแสนอัตราต่อปี ซึ่งจะนำไปสู่การสร้างฐานภาษีใหม่ไม่ต่ำกว่า 1 แสนล้านบาทต่อปี รวมทั้งกระตุ้นการท่องเที่ยวให้เข้ามายังประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 10 ล้านคนต่อปีเช่นกัน

ทั้งหมดนี้คือความหวังที่จะทำให้การลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินประสบความสำเร็จไปด้วย เพียงแต่ว่าเอกชนต้องยอมเป็นผู้เสียสละควักกระเป๋าจ่ายค่าก่อสร้างไปก่อน 10 ปี ไม่ว่าจะขาดทุนเพียงใด และจะมีผู้โดยสารหรือไม่ก็ตาม แต่หลัง 10 ปีไปแล้ว ผลประโยชน์ต่างๆ ที่เอกชนจะได้ก็จะเกิดขึ้นตามมา!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/09/2018 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ครม.สัญจร เห็นชอบ 6 ข้อเสนอแผนลงทุนพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง-อีสานตอนบน

ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 18 กันยายน 2561 17:59:16 น.

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมระหว่างนายกรัฐมนตรีกับผู้ว่าราชการจังหวัด ภาคเอกชน ผู้บริหารท้องถิ่น และเกษตรกร ในการขับเคลื่อนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1 (ตาก พิษณุโลก เพชรบูรณ์ สุโขทัย อุตรดิตถ์) และกลุ่มจังหวัดภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน 1 (บึงกาฬ เลย หนองคาย หนองบัวลำภู และอุดรธานี) ได้มีการหารือถึงข้อเสนอและการขอรับการสนับสนุนของคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนระดับจังหวัด (กรอ.จังหวัด) ในหลายด้าน ประกอบด้วย

1.การเชื่อมโยงระเบียงเศรษฐกิจ
2.การพัฒนาระบบโลจิสติกส์
3.การพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร
4.การยกระดับผลผลิตทางการเกษตรและการสร้างมูลค่าเพิ่มสินค้าเกษตร
5.การส่งเสริมและพัฒนาด้านการท่องเที่ยว
6.การพัฒนาคุณภาพชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ที่ประชุมเห็นชอบตามข้อเสนอ

..

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม. ซึ่งอยู่ภายใต้ความร่วมมือกับประเทศจีนนั้น คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 70 พร้อมกันนี้รัฐบาลไทยและลาวกำลังอยู่ในระหว่างเตรียมเจรจาร่วมกันเพื่อเชื่อมโยงการขนส่งทางรางระหว่าง 2 ประเทศ ในการก่อสร้างสะพานรถไฟข้าแม่น้ำโขงแห่งใหม่ หนองคาย-ลาว
.



ชงแสนล้าน ครม.เลย-เพชรบูรณ์ ดึงไฮสปีดลาวมาหนองคาย-ผุดสนามบินบึงกาฬ
เศรษฐกิจภูมิภาค
วัน อังคารที่ 18 กันยายน 2561 - 18:37 น.
ดึงไฮสปีดจีน-ลาวมาหนองคาย

ในด้านโครงข่ายทางราง ได้ปรับแผนเพื่อเชื่อมโยงเศรษฐกิจการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยวกับ สปป.ลาวและจีน รวมถึงส่งเสริมการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ จ.หนองคายและนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี คณะกรรมการ กรอ.จังหวัดหนองคายได้เสนอผ่านทางกระทรวงมหาดไทยประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อประสานไปยังจีนและ สปป.ลาว ได้พิจารณาขยายการก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายคุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งถือเป็นหนึ่งในโครงการ One Belt One Road มีเป้าหมายนำนักท่องเที่ยวชาวจีนมาเที่ยว สปป.ลาว และเพื่อให้ จ.หนองคายได้รับประโยชน์ดังกล่าว จึงเสนอให้ย้ายสถานีสุดท้ายจากที่สิ้นสุดที่เวียงจันทน์มาสิ้นสุดที่จังหวัดหนองคาย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเชื่อมต่อไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ของไทย มาเลเซีย และสิงคโปร์

พร้อมเสนอให้ปรับวิธีการก่อสร้างระบบรถไฟความเร็วสูงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ให้เริ่มก่อสร้างจากหนองคาย-นครราชสีมาแทน เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่รวดเร็วมากขึ้น เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟความเร็วสูงจากคุนหมิง-เวียงจันทน์ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 2 ปีนี้

นอกจากนี้ ได้ขอให้ศึกษาความเหมาะสมโครงการท่าเรือบก (Inland Container Depot) จังหวัดอุดรธานี เพื่อรองรับระบบโลจิสติกส์ที่รัฐบาลวางไว้ รวมถึงการเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงของจีน และสนามบินนานาชาติวัดไตของ สปป.ลาว อย่างไรก็ตาม ได้เสนอให้มีการศึกษาเส้นทางรถไฟเชื่อมต่อจังหวัดเลย หนองบัวลำภู และบึงกาฬ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 20/09/2018 7:31 am    Post subject: Reply with quote

รฟท.คาดออก TOR รถไฟไทย-จีนช่วง 2 ระยะทาง 11 กม.มูลค่ากว่า 3 พันลบ.ราว ก.ย.-ต.ค.คาดได้ผู้ชนะประมูล ม.ค.62
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 19 กันยายน 2561 12:18:23 น.

นายทนงศักดิ์ พงษ์ประเสริฐ รองผู้ว่าการเดินรถ การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เปิดเผยว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ช่วงที่ 2 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร (กม.) คาดว่าจะออกเอกสารเชิญชวนประมูล (TOR) ได้ภายในสิ้นเดือน ก.ย.ถึงต้นเดือน ต.ค.นี้ ก่อนเปิดให้ยื่นเอกสารในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. และคาดว่าจะได้ผู้ชนะในราวเดือน ม.ค.62

ขณะเดียวกัน รฟท.เตรียมจะทยอยออก TOR งานก่อสร้างอีก 6 สัญญา ระยะทางรวมกว่า 100 กม.ในช่วงต้นปี 62 จากทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กม. มูลค่า 1.79 แสนล้านบาท ซึ่งมีทั้งหมด 14 สัญญา ซึ่งได้ประมูลและอยู่ระหว่างก่อสร้าง 1 สัญญาในช่วงแรก กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ขณะนี้มีความคืบหน้าแล้วประมาณ 30% โดยทั้งโครงการจะแล้วเสร็จปี 66

ส่วนการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 350 กม.นั้น ปัจจุบันอยู่ระหว่างออกแบบ ซึ่งหากแล้วเสร็จจะนำเสนอต่อคณะรัฐมนตรี คาดว่าจะนำเสนอได้ก่อนการเลือกตั้ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 9:41 am    Post subject: Reply with quote

“แปดริ้ว” ฮึ่มขึ้นป้ายต้าน เขตปลอดEEC
เศรษฐกิจภูมิภาค
วันที่ 20 กันยายน 2561 - 11:50 น.
“แปดริ้ว”ฮึ่มขึ้นป้ายต้าน เขตปลอดEEC
วันที่ 20 กันยายน 2561 - 11:01 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เพจLand Watch THAI จับตาปัญหาที่ดิน ได้เปิดเผยเรื่องราวการแสดงออกเพื่อต่อสู้และคัดค้าน ของชาวนาตำบลโยธะกา ในนามกลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา กว่าร้อยคนที่ ได้รวมตัวกันอ่านคำประกาศยืนยันว่าพวกเขามีสิทธิอันชอบธรรมในฐานะผู้บุกเบิก แผ้วถาง หว่านไถ พลิกฟื้นผืนดินจากป่าปรืออันรกทึบให้กลายเป็นผืนนาอันอุดมสมบูรณ์ และประกาศปกป้องแผ่นดินบรรพบุรุษ ไม่อพยพ และไม่ย้ายออกไปไหน ทั้งนี้ยังประกาศให้โยธะกาเป็นเขตปลอดอีอีซี

ทั้งนี้รายละเอียดสำคัฐของถ้อยแถลงดังกล่าวมีใจความสำคัญอาทิ

“พวกเราคือชาวนาโยธะกา ลูกหลานของบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย ผู้บุกเบิก แผ้วถางไถหว่านบนที่ดินผืนนี้ 100 กว่าปีมาแล้วที่บรรพบุรุษของเราได้ตั้งหลักปักฐาน ลงแรงทำนา ตรากตรำงานหนัก พลิกฟื้นผืนดินจากป่ารกทึบจนกลายเป็นท้องนา และส่งต่อผืนดินให้แก่ลูกหลานสืบทอดการปลูกข้าว อันเป็นอาหารหลักของคนไทยทั้งประเทศ ที่ดินผืนนี้จึงเป็นแผ่นดินเกิดของพวกเรา เป็นที่ฝังรกตกรากของคนรุ่นพ่อรุ่นแม่ ปู่ย่าตายาย เป็นที่ตั้งไข่หัดเดิน เติบโตเรียนรู้การทำนาของลูกหลาน ที่ยังคงสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน



แต่แล้วอยู่ดีๆ บรรพบุรุษของพวกเราก็กลายเป็นชาวนาผู้เช่าที่ดินซึ่งต้องจ่ายค่าเช่าที่นา เมื่อมีนายกองเข้ามาแจ้งว่า ที่ดินผืนนี้มีคนอื่นเป็นเจ้าของ ก่อนที่จะขายให้กับทหารเรือในภายหลัง จนปัจจุบันเป็นที่ราชพัสดุในราชการของกองทัพเรือ เราซึ่งเป็นลูกหลานของผู้บุกเบิกจึงกลายเป็นเป็นบุกรุกที่ดินของรัฐตามกฎหมาย

ในขณะนี้ พวกเรากำลังถูกลุกไล่จากการยกเลิกสัญญาเช่า และ ให้ส่งมอบที่ดินคืน ทั้งยังสั่งให้รื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง ขนย้ายทรัพย์สิน และบริวารออกไปจากที่ดิน ภายใน 7 วัน หากยังเพิกเฉย ทางราชการมีความจำเป็นที่ต้องดำเนินคดีตามกฎหมาย

ก่อนหน้านี้ พวกเราได้ทำหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานรัฐหลายหน่วยงาน แต่ยังไม่ได้รับการตอบกลับ และความช่วยเหลืออย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งอธิบดีกรมธนารักษ์ ยังได้เคยให้สัมภาษณ์ว่าที่ดินของเราได้ส่งมอบให้โครงการอีอีซีแล้ว ด้วยเหตุนี้ พวกเราชาวบ้านหมู่ 2 หมู่ 10 หมู่ 11 และหมู่ 12 ต. โยธะกา อำเภอบางน้ำเปรี้ยว จังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 166 ครัวเรือน 635 คน ในนามกลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น พวกเราขอประกาศการต่อสาธารณะชนว่า

พวกเรามีสิทธิอันชอบธรรมในฐานะผู้บุกเบิก แผ้วถาง หว่านไถ พลิกฟื้นผืนดินจากป่าปรืออันรกทึบให้กลายเป็นผืนนาอันอุดมสมบูรณ์ แต่กลับมิได้เป็นเจ้าของที่ดิน
พวกเราจึงขอประกาศปกป้องแผ่นดินบรรพบุรุษ พวกเราจะไม่อพยพ และไม่ย้ายออกไปไหน และจะขอใช้ที่นี่เป็นแผ่นดินตาย
พวกเราขอเรียกร้องให้รัฐบาลจัดสรรที่ดินให้กับพวกเรา เพื่อให้ที่ดินผืนนี้กลับเป็นของลูกหลานผู้บุกเบิกอย่างชอบธรรมตามกฎหมาย
เราขอปฏิเสธโครงการอีอีซี ซึ่งกำลังพรากสิทธิที่ดินไปจากพวกเรา และขอประกาศให้พื้นที่นี้เป็นเขตปลอดอีอีซี
ที่ดินต้องเป็นของผู้ไถหว่าน

กลุ่มโยธะการักษ์ถิ่น

ประกาศ ณ แผ่นดินบรรพบุรุษ ชาวนาโยธะกา วันที่ 19 กันยายน 2561
//-------------------------------

“ธนารักษ์ – ซีพี” แจงปมที่ราชพัสดุโยธะกา ด้านทร.ขอตรวจสอบข้อมูล
20 กันยายน 2561

“กรมธนารักษ์ – ซีพี” ชี้แจงกรณีที่ราชพัสดุตำบลโยธะกา ด้านกองทัพเรือขอตรวจสอบข้อมูล

วันนี้ (20ก.ย.61) กรมธนารักษ์ ได้ทำเอกสารชี้แจงประเด็นกรมธนารักษ์ให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เช่าที่ราชพัสดุบริเวณ อ.บางน้ําเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 4,000 ไร่ เพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก โดยเอกสารระบุว่า

“หัวข้อข่าว” ตามที่สํานักข่าวฐานเศรษฐกิจออนไลน์ ได้เสนอข่าวกรณี กรมธนารักษ์ให้เครือเจริญโภคภัณฑ์เช่าที่ราชพัสดุแปลงหมายเลข ทะเบียนที่ ฉช.611 - 614 อ.บางน้ําเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 4,000 ไร่ เพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก

ความเป็นมา 1. ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ฉช 611-614 ต.โยธะกา อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา มีเนื้อที่รวมทั้งสิ้น 4,277-0-15 ไร่ อยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ โดยใช้ประโยชน์เป็นที่ตั้งศูนย์ เกษตรกรรมทหารเรือโยธะกา เนื้อที่ประมาณ 1,000 ไร่ สําหรับพื้นที่ ส่วนที่เหลือกองทัพเรือได้นําไปจัดให้ราษฎรเช่าเพื่ออยู่อาศัยและ ประกอบการเกษตร โดยกรมธนารักษ์ได้มอบอํานาจให้กองทัพเรือเป็น ผู้ดําเนินการจัดให้เช่าและเรียกเก็บค่าเช่าให้เป็นไปตามระเบียบ กระทรวงการคลังกําหนด

2. ต่อมาได้มีการประกาศบังคับใช้กฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการปกครอง ดูแล บํารุงรักษา ใช้ และจัดหา ประโยชน์เกี่ยวกับที่ราชพัสดุ พ.ศ. 2545 โดยกําหนดให้การจัดให้เช่า ที่ราชพัสดุในจังหวัดอื่น ให้เป็นอํานาจหน้าที่ของผู้ว่าราชการจังหวัด กองทัพเรือจึงได้ส่งมอบรายชื่อผู้เช่าให้จังหวัดฉะเชิงเทราดําเนินการจัด ให้เช่าตั้งแต่ปี 2546 โดยมีเงื่อนไขให้ต่ออายุสัญญาเช่าครั้งละ 1 ปี และต้องได้รับความยินยอมจากกองทัพเรือก่อน

3. ปี พ.ศ. 2557 กองทัพเรือแจ้งว่ามีแผนการใช้ประโยชน์ ที่ราชพัสดุบริเวณที่จัดให้ราษฎรเช่า เพื่อใช้เป็นที่ตั้งกองบังคับการ หมวดเรือที่ 2 กองเรือลําน้ำ กองเรือยุทธการ และที่ตั้งสถานีวิทยุหาทิศ (DF) จึงขอให้ยกเลิกสัญญาเช่า ซึ่งจังหวัดฉะเชิงเทราได้ยกเลิกสัญญา เช่ากับผู้เช่าจํานวน 145 ราย รวม 267 สัญญา เนื้อที่ประมาณ 3,201-1-17.34 ไร่ ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค. 2558 เป็นต้นมา

ประเด็นชี้แจงข่าว 1. กรมธนารักษ์ได้อนุญาตให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) เช่า ที่ราชพัสดุบริเวณ อ.บางน้ําเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา เนื้อที่ 4,000 ไร่ เพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือไม่
1.1 ที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวเป็น 1 ใน 7 แปลง ที่กรมธนารักษ์ ได้สํารวจและส่งข้อมูลให้สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เพื่อรองรับการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ซึ่ง สกพอ. ได้พิจารณาและแจ้งความประสงค์ขอใช้ที่ราชพัสดุที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกได้มีมติเห็นชอบให้กําหนดเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษแล้ว จํานวน 2แปลง เท่านั้น ประกอบด้วย

1.1.1 ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ รย.333 อ.บ้านฉาง จ.ระยอง เนื้อที่ประมาณ 6,500 ไร่ ซึ่งกําหนดเป็นเขตส่งเสริม เมืองการบินภาคตะวันออก บริเวณสนามบินนานาชาติอู่ตะเภา จ.ระยอง 1.1.2 ที่ราชพัสดุแปลงหมายเลขทะเบียนที่ ชบ.347 อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี เนื้อที่ทั้งแปลงประมาณ 759-2-17 ไร่ ซึ่งกําหนดเป็นเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (เขต EECd) และเขต ส่งเสริมนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi) ณ อุทยานรังสรรค์นวัตกรรมอวกาศ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี

ทั้งนี้ กรมธนารักษ์ได้ส่งมอบพื้นที่ตามข้อ 1.1.1 และ ข้อ 1.1.2 ให้ สกพอ. ดําเนินการแล้ว ส่วนที่ราชพัสดุบริเวณ อ.บางน้ำเปรี้ยว จ.ฉะเชิงเทรา นั้น ยังไม่ได้กําหนดเป็นเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ และยังอยู่ในความครอบครองของกองทัพเรือ

2. การพัฒนาที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ ตามนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออกสามารถ ดําเนินการได้หรือไม่

หาก สกพอ. พิจารณาแล้วเห็นว่ามีความจําเป็นจะต้องใช้ ที่ราชพัสดุแปลงดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเมืองใหม่ตามนโยบายการพัฒนา ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก สกพอ. ต้องได้รับความยินยอมจาก กองทัพเรือผู้ครอบครองใช้ประโยชน์เดิม และจึงเสนอคณะกรรมการ นโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกกําหนดเป็นเขต ส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษก่อน กรมธนารักษ์จึงจะสามารถส่งมอบพื้นที่ ดังกล่าวให้ สกพอ. พิจารณาดําเนินการตามอํานาจหน้าที่ต่อไป

ด้านเครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้ออกแถลงการณ์ซึ่งลงนามโดย นายนพปฎล เดชอุดม ประธานคณะผู้บริหาร ด้านความยั่งยืนองค์กรเครือเจริญโภคภัณฑ์ ระบุว่า เครือเจริญโภคภัณฑ์ เป็นองค์กรเอกชนที่ดําเนินธุรกิจโดยสุจริต และคํานึงถึง ประโยชน์ต่อประเทศชาติเป็นสําคัญ ทั้งยังให้ความเคารพต่อสิทธิเสรีภาพในการนําเสนอ ข่าวสารของสื่อมวลชนที่มีจรรยาบรรณ และตั้งอยู่บนพื้นฐานข้อมูลที่เป็นจริงเสมอมา แต่ในช่วงที่ผ่านมา มีสื่อบางสํานักได้นําเสนอข่าวเกี่ยวกับเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วย ข้อมูลที่เป็นเท็จหลายครั้ง ตัวอย่างเช่น “ซีพียึดที่รัฐ 4,000 ไร่” ซึ่งส่งผลเสียหาย ต่อองค์กร เป็นเหตุให้เครือเจริญโภคภัณฑ์ เสื่อมเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่น หรือถูกเกลียดชัง จากสังคมและประชาชนทั่วไป

ด้วยเหตุนี้ เครือเจริญโภคภัณฑ์ ได้มอบอํานาจให้ นายบัญชา ปรมีศณาภรณ์ ทนายความ เพื่อดําเนินคดีอาญาและคดีแพ่งตามกฎหมาย เพื่อปกป้องศักดิ์ศรีขององค์กร และรักษาไว้ซึ่งความถูกต้องและเป็นธรรมให้เกิดขึ้นในสังคมไทย


ขณะเดียวกัน “ฐานเศรษฐกิจ” ติดต่อขอสัมภาษณ์ พล.ร.ต.เชษฐา ใจเปี่ยม รองเจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารเรือ ในฐานะโฆษกกองทัพเรือ ต่อกรณีดังกล่าว ปรากฏว่าพล.ร.ต.เชษฐา ให้ทีมงานประสานกลับมาแจ้งว่า ยังไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดในเรื่องนี้ ขอตรวจสอบข้อมูลก่อน หากให้ข้อมูลไปกลัวจะเกิดความผิดพลาด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 9:56 am    Post subject: Reply with quote

แรงแซงทุกโค้ง!'ธนาธร'กล้าฝันลงทุนสร้าง'ไฮเปอร์ลูป'ในไทย

20 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 19:43 น.

20 ก.ย.61- นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ อยู่ระหว่างเดินสายในอเมริกา โพสต์ข้อความผ่านเพจ Thanathorn Juangroongruangkit - ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ ถึงระบบขนส่งมวลชนว่า

Hyperloop อนาคตใหม่ของระบบขนส่งมวลชนไทย ที่ไปไกลกว่ารถไฟความเร็วสูง

ไปอเมริการอบนี้ ผมกับคุณช่อได้ไปคุยกับบริษัทผู้พัฒนานวัตกรรมไฮเปอร์ลูประดับโลกถึง 3 แห่ง หนึ่งในนั้นคือ Virgin Hyperloop One ซึ่งดูจะเป็นบริษัทที่พัฒนาระบบมาได้ไกลและเป็นรูปธรรมที่สุดตอนนี้ เราได้ไปเยือนฐานทดสอบไฮเปอร์ลูปกลางทะเลทรายในเนวาดา ที่ซึ่งระบบรางไฮเปอร์ลูปแห่งแรกของโลกตั้งอยู่ และได้คุยกับร็อบ เฟอร์เบอร์ ผอ.ฝ่ายวิศวกรรมของ Virgin Hyperloop One เกี่ยวกับความเป็นไปได้ในการสร้างรถไฟไฮเปอร์ลูปในไทย

ร็อบยืนยันว่าไฮเปอร์ลูปเป็นระบบขนส่งมวลชนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในโลก รวดเร็วระดับ 1,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ใช้พลังงานเพียง 15% ของรถไฟแมกเลฟที่ทันสมัยที่สุดของญี่ปุ่น ทำให้เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แถมยังมีราคาถูกกว่า ทั้งในด้านการลงทุนราง และระบบปฏิบัติการ (ทั้ง capex และ opex) โดยใช้เงินเพียงครึ่งเดียวของรางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งการใช้งบประมาณน้อยกว่า เท่ากับระยะเวลาคืนทุนที่สั้นกว่าด้วย

การที่ยานพาหนะเคลื่อนที่ในอุโมงค์สูญญากาศด้วยแรงขับแม่เหล็กไฟฟ้า ทำให้ไม่มีแรงเสียดทานจากล้อกับรางและจากลม การใช้พลังงานจึงประหยัดที่สุด ลดการนำเข้าพลังงาน และสามารถทำให้ประเทศไทยใช้พลังงานน้อยลงในการขนส่งผู้โดยสารอีกด้วย

ที่สำคัญที่สุด ไฮเปอร์ลูปเป็นนวัตกรรมล้ำยุคก็จริง แต่ระบบทั้งหมดกลับเรียบง่ายจนสามารถผลิตที่ไหนก็ได้ในโลก นอกจากระบบขับเคลื่อนที่เป็นเทคโนโลยีของ Virgin Hyperloop One ระบบอื่นเช่น ราง ตัวรถ รวมถึงอุโมงค์สูญญากาศที่ใช้สำหรับควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบรางรถไฟ สามารถผลิตได้ในไทย เท่ากับว่าหากเราสร้างไฮเปอร์ลูปในไทยได้จริง นอกจากคนไทยจะได้ใช้ระบบขนส่งมวลชนที่เร็ว เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม สะดวกสบาย และราคาไม่แพง ยังสามารถก่อเกิดการจ้างงานและการพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศขนานใหญ่ด้วย

อนาคตใหม่ คืออนาคตที่เรากล้าฝันให้ใหญ่ ลงทุนอย่างมีวิสัยทัศน์ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าของคนไทย.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 11:56 am    Post subject: Reply with quote



ความก้า่วหน้ารถไฟไทย - จีน สิงหาคม 2561
https://www.youtube.com/watch?v=ImGRvovRh4w
https://www.youtube.com/watch?v=XKLy7-0R7lE
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/09/2018 1:27 pm    Post subject: Reply with quote

ใครจะชนะ! ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ต้องกำจัดจุดอ่อน TOR สำเร็จ!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 08:31
ปรับปรุง: 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 08:39


จับตาผู้ชนะประมูลไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ต้องเร่งแก้โจทย์และกำจัดจุดอ่อนใน TOR พร้อมแสวงหาพันธมิตรร่วมทุน ที่ต้อง 'ถูก-ดี-มีคุณภาพ' สำเร็จ ถึงจะเสนอผลตอบแทนให้รัฐดีที่สุด ชี้โครงการนี้เอกชนต้องคิด Safety Factor เผื่อไว้สูงมาก โดยเฉพาะช่วงการก่อสร้างเข้าสนามบินอู่ตะเภา ที่ยังไม่รู้ตำแหน่งที่ดินจริง ส่วนที่ดินศรีราชา เอกชนต้องหาทางออกทำอย่างไรให้ได้ประโยชน์สูงสุด คาดเอกชนที่ชนะประมูลทั้งกลุ่มไฮสปีดเทรน และโครงการสนามบินอู่ตะเภามูลค่า 5 แสนกว่าล้านบาท อาจจับมือเป็นพันธมิตรร่วมทุนทั้ง ซีพี ปตท.บีทีเอส ซิโนทัย เพื่อแบ่งเค้กใน 2 โครงการนี้ลงตัว!

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานดอนเมือง และท่าอากาศยานอู่ตะเภา ระยะทางจากกรุงเทพฯ-สนามบินอู่ตะเภา ประมาณ 220 กิโลเมตร ความเร็ว 250กิโลเมตร/ชั่วโมง กำลังเป็นที่จับตาดูว่า 31รายที่สนใจ แต่ในที่สุดบริษัทใดจะคว้าชัยชนะตามเงื่อนไขที่ TOR ระบุไว้ในการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชนตามรูปแบบ PPP Net Cost คือใครเสนอผลประโยชน์สูงสุดจะเป็นผู้ชนะ ซึ่งมีอายุสัมปทาน 50 ปี และเมื่อครบสัญญาทรัพย์สินดังกล่าวจะต้องตกเป็นของรัฐ

พูดง่ายๆ ว่าบริษัทใดให้รัฐควักเงินลงทุนหรือเงินสนับสนุนน้อยที่สุดจะเป็นผู้ชนะ!

โดยใน TOR ระบุไว้ชัดเจนว่างบประมาณในการดำเนินโครงการประมาณ 224,000 ล้านบาท ซึ่งรัฐบาลมีงบประมาณสนับสนุนให้ไม่เกิน 120,000 ล้านบาท เป็นงบประมาณสูงสุดที่คำนวณจากค่าโครงสร้างพื้นฐานของโครงการ

'ค่าก่อสร้างงานโยธาและงานวางราง จะประมาณ 70% ของโครงการ รัฐไม่ได้ชดเชยให้ถึง 70% แต่มีงบให้ไม่เกิน 120,000ล้านบาท เอกชนที่ชนะประมูลต้องลงทุนไปก่อน แต่รัฐจะชดเชยให้หลังก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดการเดินรถในระยะเวลา 10 ปี ปีละเท่าๆ กัน'



หากพิจารณาตัวเลขที่ปรากฏอยู่นั้นก็เท่ากับว่า รัฐและเอกชน ลงทุนฝ่ายละ 50% เพียงแต่ว่าเอกชนต้องควักกระเป๋าจ่ายไปก่อนและร่วมแบกความเสี่ยงกับอัตราค่าโดยสารที่ไม่มีโอกาสที่จะคุ้มทุนได้เลย ยกเว้นว่าผู้ชนะการประมูลจะสามารถสร้างรายได้ในพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์ได้ประสบความสำเร็จ มีกำลังซื้อเพียงพอที่จะนำเงินส่วนนี้มาสนับสนุนหรือชดเชยรายได้และดอกเบี้ยที่เกิดจากการทำโครงการ

ดังนั้นโจทย์ใหญ่ที่สุดของผู้จะชนะการประมูลจึงอยู่ที่ว่าจะทำให้โครงการนี้เกิดได้อย่างไรภายใต้รัฐจ่ายเงินน้อยที่สุด!

เรื่องนี้จึงเป็นประเด็นสำคัญที่ภาคเอกชนทุกรายต่างจะต้องวิ่งหาพันธมิตรร่วมทุนที่พร้อมจะแบกรับความเสี่ยงจาการลงทุน หรือเรื่องของอัตราดอกเบี้ย และสร้างผลประโยชน์ไปด้วยกัน ซึ่งจะมีองค์ประกอบด้วยกันหลายๆ ส่วนในการทำรถไฟความเร็วสูง ทั้งในเรื่องของเทคโนโลยีที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยเป็นที่ยอมรับ ไม่ว่าจะเป็น Signalling System หรือ อาณัติสัญญาณ ศูนย์ควบคุมการเดินรถไฟความเร็วสูง (Control Room) ตู้รถไฟความเร็วสูง (Rolling Stock) ต้องได้ราคาต่ำสุด บริษัทก่อสร้างที่มีประสบการณ์และเชี่ยวชาญในระบบราง พันธมิตรที่เชี่ยวชาญด้านการจัดการและบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูง และผู้ที่เชี่ยวชาญด้านการออกแบบและลงทุนบริหารพื้นที่เชิงพาณิชย์ เป็นต้น

“ทุกรายได้โจทย์เหมือนกัน ใครจะทำโครงการมีมูลค่าสูงเท่าไรเป็นเรื่องของเอกชน แต่จะต้องทำตามเงื่อนไข TOR คือให้รัฐจ่ายน้อยที่สุด”

ตัวอย่างกลุ่มเทคโนโลยี หากประเทศใดหรือบริษัทใดเข้าร่วมโครงการนี้ก็ถือเป็นการผูกขาดเทคโนโลยีของประเทศเขาอยู่แล้ว ทั้งในเรื่องอุปกรณ์ และการซ่อมบำรุง ก็ต้องเป็นของบริษัทนี้ ที่จะต้องมีรอบระยะเวลาการเปลี่ยน อีกทั้งหากมีการอัปเกรดในเรื่องของเทคโนโลยีบริษัทนี้ก็จะมีรายได้มหาศาล

อย่างไรก็ดีการที่กำหนดเงื่อนไขว่าผู้ชนะจะต้องให้รัฐจ่ายเงินชดเชยน้อยที่สุดหรือให้ผลประโยชน์รัฐมากที่สุด ถือเป็นจุดแข็งของภาครัฐเพราะทำให้รัฐประหยัดงบประมาณและสามารถดึงเอกชนมาลงทุนได้ แต่จุดแข็งของรัฐกลับกลายเป็นจุดอ่อนของภาคเอกชนที่จะบริหารและจัดการโครงการและพื้นที่อย่างไรให้มีประสิทธิภาพ ภายใต้ผลตอบแทนหรือกำไรตามเป้าหมายในการดำเนินธุรกิจ

ดังนั้นเอกชนจึงต้องลงพื้นที่ศึกษาสำรวจเส้นทางการก่อสร้างและพัฒนาทั้งหมดเบื้องต้น ว่ากันว่าจุดแรกที่จำเป็นต้องใช้ประมาณการในการคำนวณเวลาและงบประมาณเผื่อไว้ที่สุดก็คือการก่อสร้างตั้งแต่สถานีพญาไท (จุดสิ้นสุดของแอร์พอร์ตลิงก์เชื่อม BTS) ที่จะเชื่อมโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดงช่วง Missing Link เพื่อสร้างอุโมงค์ช่วงจิตรลดา และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและสายตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จะมีจุดจอดและเป็นสถานีใหญ่อยู่ที่สถานีบางซื่อ

'ที่สถานีบางซื่อจะยุ่งยากมากมีจุดเข้า-ออกที่ค่อนข้างแคบ รถไฟเชื่อม 3สนามบินจะอยู่ชั้น 2 รถไฟความเร็วสูงสายเหนือ (ยังไม่มีผู้ประมูล) และอีสาน (ไทย-จีน) จะอยู่ชั้น3 แต่รถไฟสายเชื่อม 3 สนามบินเกิดก่อน จึงต้องออกแบบและลงทุนก่อสร้างเผื่อไว้ให้กับสายอีสานและสายเหนือ แต่จะมีการจ่ายค่าก่อสร้างคืนภายหลัง แต่ด้วยสภาพพื้นที่ก็อาจทำให้การก่อสร้างล่าช้าได้เช่นกันซึ่งจะมีผลต่อต้นทุน”

จากจุดนี้ไปที่สถานีมักกะสัน เอกชนที่ประมูลได้จะต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาเพื่อให้ทุกอย่างมีความทันสมัยเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูงให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งที่นี่มีการก่อสร้างจุดเช็กอินและโหลดสัมภาระให้กับผู้โดยสารที่จะเดินทางไปสนามบินสุวรรณภูมิไว้พร้อมแล้ว เพียงแค่มาปรับปรุงเพราะไม่มีการใช้งานมาร่วม 2 ปีหลังยกเลิกแอร์พอร์ตลิงก์สาย EXPRESS ไปแล้ว

“ผู้ชนะประมูลจะต้องสร้างระบบรางต่อของสาย EXPRESS จากสถานีมักกะสันต่อขึ้นไปจนถึงสนามบินดอนเมือง เพราะรางเดิมของแอร์พอร์ตลิงก์สาย EXPRESS จะมีรางรองรับจากสถานีสุวรรณภูมิสิ้นสุดถึงสถานีมักกะสันเท่านั้น”

ส่วนพื้นที่จอดรถ จะต้องมีการปรับปรุงค่อนข้างมาก ทั้งจำนวนที่จอดรถไม่เพียงพอและที่มีอยู่การบอกทางไม่ชัดเจนทำให้ผู้ที่มาใช้บริการต้องเสียเวลานานในการหาทางเข้า รวมไปถึงการพัฒนาที่ดินบริเวณสถานีมักกะสัน 150 ไร่เป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ ที่จะสามารถตอบสนองความต้องการของตลาดแท้จริงและสร้างรายได้ให้มากที่สุด



สำหรับสถานีสุวรรณภูมิที่อยู่ชั้นใต้ดินของสนามบินสุวรรณภูมินั้น ระบบรางที่มีอยู่สามารถรองรับได้ เพียงแต่ว่าในช่วงอุโมงค์ที่จะมุดเข้าสถานีนั้น ผู้ลงทุนจะต้องเลือกใช้ตู้รถไฟความเร็วสูงที่สามารถเข้าได้เท่านั้น รวมไปถึงอาจมีจุดเชื่อมต่อใหม่ที่จะทำให้เข้าสนามบินสุวรรณภูมิได้อีก 1 เส้นทางเมื่อขบวนรถไฟความเร็วสูงวิ่งมาจากอู่ตะเภา

ขณะที่สถานีฉะเชิงเทรานั้น ทางEEC ได้กำหนดให้มีการเวนคืนที่ดินที่ส่วนใหญ่ยังเป็นทุ่งนาเพื่อสร้างสถานีแห่งใหม่ ที่อยู่เหนือสถานีเก่าไปทางซ้ายประมาณ 2 กิโลเมตร เนื่องจากบริเวณสถานีเก่า เป็นชุมชน และยากต่อการเวนคืน อีกทั้งรถไฟความเร็วสูงจะต้องใช้พื้นที่ในช่วงเข้าโค้งที่จะเข้าสถานีจึงจำเป็นต้องมีสถานีใหม่เกิดขึ้น

ดูเหมือนว่าที่ดินบริเวณสถานีศรีราชา จำนวน 25 ไร่ ที่รัฐมอบให้เพื่อใช้พัฒนาเชิงพาณิชย์จะเป็นจุดด้อยในสายตานักธุรกิจด้านอสังหาริมทรัพย์ เพราะที่ดินมีลักษณะเป็นเส้นก๋วยเตี๋ยว หน้าติดถนนคั่นกลางระหว่างสถานีรถไฟศรีราชา กับที่ดินที่จะพัฒนา ที่ดินลึกประมาณ40เมตร กว้างติดถนนประมาณ 1 กิโลเมตร

“ถ้าเป็นการบ้านให้ออกแบบที่ดินแปลงนี้ จะยากตรงที่ว่าจะทำอย่างไรให้มีการใช้ประโยชน์สูงสุด เพราะจะต้องตัดเป็นพื้นที่ส่วนกลาง ที่เป็นถนน เป็นช่วงๆ และยังต้องสร้างบ้านพักให้กับเจ้าหน้าที่การรถไฟที่เคยอยู่เดิม จึงเป็นเรื่องที่ต้องคิดหาทางออกให้ได้”



จุดสุดท้ายคือสนามบินอู่ตะเภา ตรงนี้ในแบบที่ EEC กำหนดไว้นั้นยังไม่ได้มีการกำหนดบริเวณพื้นที่ที่จะก่อสร้างชัดเจน แต่ในแบบจะเห็นว่ามีความคล้ายสนามบินสุวรรณภูมิ คือจะมีอุโมงค์มุดเข้ามาอยู่ชั้นใต้ดินใจกลางระหว่างเทอร์มินอล 1และ2 ของสนามบินอู่ตะเภาเดิม และสนามบินอู่ตะเภาใหม่ที่อยู่ระหว่างร่างTOR และประกาศเชิญชวนผู้ร่วมทุน

“เรื่องที่ดินที่จะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเข้าสนามบินอู่ตะเภาไม่น่าจะมีปัญหาเพราะรัฐจะเป็นผู้จัดหาและเวนคืนส่งมอบให้ แต่เอกชนก็ต้องคิดประมาณการค่าลงทุนตามที่มีการขีดไว้ในแบบก่อนซึ่งทุกรายก็ต้องคิด Safety Factorคือคิดเผื่อไว้แล้ว”

ทั้งหมดนี้เป็นเพียงจุดอ่อนบางส่วนของโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ภาคเอกชนรู้และเข้าใจ เพียงแต่ว่าใครจะสามารถกำจัดจุดอ่อนได้ดีที่สุดซึ่งมีผลต่อต้นทุนดำเนินการและผลประโยชน์หรือกำไรที่ภาคเอกชนจะได้รับมากที่สุด



ที่สำคัญรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ต้องการผลักดันให้โครงการนี้ซึ่งมีมูลค่าการลงทุนเฉพาะส่วนของการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้งระบบ 224,000ล้านบาท และยังมีส่วนของการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่จะเกิดขึ้นตามมาอีก 1-2 แสนล้านบาทให้ประสบผลสำเร็จและเชื่อมต่อกับโครงการท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) ที่มีมูลค่า 3 แสนล้านบาท เพื่อรองรับการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ

“2 โครงการนี้มีมูลค่าเกือบ 7 แสนล้านบาท เอกชนรายเดียวยากที่จะ handle (จัดการ) ได้ ซึ่งทั้ง 2 โครงการเป็นที่ต้องการของเอกชน ยิ่งบริษัทใดสามารถพัฒนาที่ดินเชื่อมต่อได้จะยิ่งอยากได้ ปตท.มีทั้งเงินมีทั้งที่ดิน และยังบริษัทในเครือก็อยากได้ ซีพี ก็มีพร้อมก็อยากได้ บีทีเอส ก็อยากได้ ส่วนซิโนทัย เป็นผู้ชนะประมูลแอร์พอร์ตลิงก์มาก่อนจึงเป็นที่หมายปองอยากดึงเป็นพันธมิตร”

ดังนั้นไม่ว่าเอกชนรายใดจะเป็นผู้ชนะ ก็อาจจะเห็นพันธมิตรร่วมทุนอยู่ในกลุ่มก้อนเดียวกันตั้งแต่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ไปจนถึงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา ไม่ว่าจะเป็นบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด : ซีพี, บริษัท เอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์ จำกัด : ปตท., บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน), บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน), บริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BEM ซึ่งบริหารรถไฟใต้ดิน รวมไปถึงบริษัทจากจีน และฝรั่งเศส เข้าร่วม

ทั้งหมดนี้อยู่ที่ว่าการเจรจาผลประโยชน์ของภาคเอกชนแต่ละรายจะบรรลุเป้าหมายหรือไม่!
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 284, 285, 286 ... 545, 546, 547  Next
Page 285 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©