RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264506
ทั้งหมด:13575789
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 286, 287, 288 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/09/2018 2:57 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดแล้ว TOR รถไฟไทย-จีนตอน 2 ช่วง 11 กม. หั่นราคากลางเหลือ 3.35 พันล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 28 กันยายน พ.ศ. 2561 13:54
ปรับปรุง: 28 กันยายน พ.ศ. 2561 14:19


ร.ฟ.ท.ประกาศทีโออาร์ประมูลรถไฟไทย-จีน ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. แล้ว บีบราคากลางเหลือ 3.35 พันล้าน ปรับลดลงเกือบ 30%

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) แจ้วว่า เมื่อวันที่ 28 ก.ย. 2561 ร.ฟ.ท.ได้ประกาศร่าง TOR ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 3,350.475 ล้านบาท โดยจะรับฟังคำวิจารณ์ระหว่างวันที่ 28 ก.ย. 2561-วันที่ 4 ต.ค. 2561

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งกรอบวงเงินของตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. เดิมวงเงินประมาณ 5,000 ล้านบาท ขณะที่ราคากลางที่ประกาศอยู่ที่ 3,350 ล้านบาท เป็นการปรับลดลงเกือบ 30%

โดยกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคา กรณีเป็นผู้ร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานประกวดราคา โดยมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด คือ ผลงานก่อสร้างทางรถไฟที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึง การก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟ หรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้า หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง (Track Strengthening) หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถ หรือผลงานในลักษณะเดียวกัน เป็นได้ทั้งรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ(Elevated) หรือใต้ดิน (Underground) ทั้งนี้ไม่รวมผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟ หรือรถไฟฟ้า และผลงานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก)

ผลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500 ล้านบาท (หมายถึงผลงานก่อสร้างถนน หรือผลงานก่อสร้างสะพาน หรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับ หรือผลงานก่อสร้างอุโมงค์)

สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย
1. ทางรถไฟระยะทาง 11 กม. แบ่งเป็นการก่อสร้างคันทางรถไฟระดับดิน ระยะทาง 6.81 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 4.19 กม.
2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Station yard) 1 แห่ง ที่โคกสะอาด ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ เป็นต้น
3. งานย้ายทางรถไฟช่วง กม. 215+520 - กม. 219+894
4. งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

โดยหลักเกณฑ์ในการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
1. รายละเอียดการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการจำเพาะ 10 คะแนน
2. การบริหารจัดการและแผนงานโครงการ 20 คะแนน
3. บุคลากร 20 คะแนน
4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 10 คะแนน
5. วิธีการก่อสร้าง 40 คะแนน

โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 60% และเมื่อรวมคะแนนทุกหัวข้อต้องได้ไม่น้อยกว่า 75% จึงจะผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค

โดยต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 18 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงานจาก ร.ฟ.ท. ซึ่งได้แก่มกราคม 2562

รายละเอียดเพิ่มเติมรถไฟไทย-จีน ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. จากกม. 214+000 ถึงกม. 225+000 ดูที่นี่ได้ครับ
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/1961641653882770

ชื่อเรื่อง :
ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับ ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)
งบประมาณ/ราคากลาง : 3,350,475,000.00 บาท
http://www.railway.co.th/auction/tor/detailtor.asp?codetor=613763886
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44533
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/09/2018 5:26 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มแล้วเปิดฟังความเห็นทีโออาร์ประมูลรถไฟไทย-จีนช่วงสีคิ้ว-กุดจิกค่า5.3พันล้าน
ฐานเศรษฐกิจ 28 September 2018

เริ่มแล้ว!!!ประกาศรับฟังความเห็นร่างทีโออาร์ รถไฟไทย-จีนสัญญาที่ 2.1 งานโยธาช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 5,330 ล้านบาท เริ่มวันนี้(28 กย.) สิ้นสุด 4 ตค.61 ย้ำ!!!หากไม่มีแก้ไขพร้อมเสนอเปิดประมูลได้ภายในต.ค.-พ.ย.นี้

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่าได้เริ่มประกาศความประสงค์จะเปิดรับฟังความเห็นร่างเอกสารประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับ ช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร กรอบวงเงินลงทุน 5,330 ล้านบาท ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding)

โดยได้เปิดรับฟังความเห็นร่างเอกสารประกวดราคานับตั้งแต่วันที่ 28 กันยายน 2561 -4 ตุลาคม 2561 ทั้งนี้ภายหลังจากผ่านวันที่ 4 ตุลาคมนี้ไปแล้วหากไม่มีแก้ไขในสาระสำคัญก็พร้อมจะเปิดประกาศประกวดราคาได้ภายในเดือนตุลาคม-พฤศจิกายน 2561 นี้ได้ทันที

ทั้งนี้ร.ฟ.ท.ได้แต่งตั้งให้นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้างเป็นประธานคณะกรรมการกำหนดราคากลาง ซึ่งได้กำหนดราคากลางมาตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2561 เป็นราคากลาง 3,350 ล้านบาท ส่วนขอบเขตงานก่อสร้างที่สำคัญ ประกอบด้วยการก่อสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 11 กิโลเมตร แบ่งเป็น คันทางรถไฟระดับดิน ระยะทาง 7 กิโลเมตร และโครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทางประมาณ 4 กิโลเมตร ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 1 แห่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ เป็นต้น อีกทั้งยังมีงานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆและงานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับโครงการ

สำหรับโครงการดังกล่าวรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย ในกรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2557

โดยมีข้อกำหนดให้รัฐบาลจีนเข้ามามีส่วนร่วมในการศึกษาความเหมาะสม ก่อสร้าง และพัฒนาระบบรถไฟ โครงการรถไฟทางคู่ขนาดมาตรฐาน เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา-หนองคาย และเส้นทางแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทางรวมประมาณ 867 กิโลเมตร เพื่อร่วมพัฒนาพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคอื่นๆของไทย อีกทั้งเพื่อประโยชน์ในระยะยาวของประชาชน รวมถึงใช้ตำแหน่งที่ตั้งอันเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมของไทยในภูมิภาค ในการเสริมสร้างการเชื่อมโยงโครงสร้างพื้นฐานเส้นทางคมนาคมทางบกระหว่างจีนกับประเทศสมาชิกอาเซียน

“ผู้สนใจสามารถแสดงความเห็นหรือสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง ตึกพัสดุ ชั้น 3 การรถไฟแห่งประเทศไทย หรืออีเมล์ hsrthaichina@gmail.com ได้ทันที”
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2018 4:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เริ่มแล้วเปิดฟังความเห็นทีโออาร์ประมูลรถไฟไทย-จีนช่วงสีคิ้ว-กุดจิกค่า5.3พันล้าน
ฐานเศรษฐกิจ วันศุกร์ 28 กันยายน 2561


เปิดฟังความเห็นร่างทีโออาร์ ไฮสปีดจีน “สีคิ้ว-กุดจิก” 3.3 พันล้าน
วันศุกร์ 28 กันยายน 2561 / 14:45 น.
รฟท.เปิดรับฟังความเห็น ร่างทีโออาร์ประมูลงานโยธา รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก วงเงิน 3.35 พันล้านบาท ระหว่างวันที่ 28 ก.ย.-4 ต.ค.นี้

วันนี้ (28 ก.ย.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ประกาศร่างทีโออาร์ประกวดราคาจ้างก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับ ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ด้วยวิธีประกวดราคาอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ราคากลาง 3,350 ล้านบาท

ทั้งนี้ รฟท.จะเปิดรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียระหว่างวันที่ 28 ก.ย.-4 ต.ค. 2561

สำหรับรูปแบบการก่อสร้างงานโยธาสำหรับ ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ประกอบด้วย 1.ทางรถไฟระยะทาง 11 กม. แบ่งเป็นการก่อสร้าง คันทางรถไฟระดับดิน ระยะทาง 7 กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ ระยะทาง 4 กม. 2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Station yard) 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพัก ที่ล้างรถ เป็นต้น และ3.งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายราง ระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

โดยผู้ชนะประมูลจะต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน 15 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงานจากรฟท.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2018 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าไฮสปีดไทย-จีน สัญญา2
เศรษฐกิจ
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 15:13:00

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่า ภายในเดือนต.ค. นี้ จะนำร่างขอบเขตงานประมูล(ทีโออาร์) โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง 323 กม.งบประมาณ 8.53หมื่นล้านบาท เสนอคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง(ซูเปอร์บอร์ด) เพื่อเปิดประมูลตามแผนเดือนธ.ค.นี้ ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม 355 กม. งบประมาณ 6หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒน์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกเส้นทางทยอยเปิดประมูลเช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่เฟส2 อีก 7 เส้นทาง

ส่วนความคืบหน้า โครงการจัดซื้อหัวรถจักร 50คัน งบประมาณ 6.5พันล้านบาท ได้รับความเห็นชอบจากที่บอร์ดรฟท.แล้ว เตรียมนำร่างทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ภายใน 15วันก่อนเปิดประมูลภายในเดือนต.ค.นี้ ขณะที่โครงการเช่าหัวรถจักร 50หัวรวมค่าซ่อมบำรุง งบประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทขณะนี้ทีโออาร์ใกล้เสร็จแล้วคาดว่าจะเสนอเข้าบอร์ดได้ภายในเดือนเดียวกันและจะเปิดประมูล ช่วงพ.ย.-ธ.ค.

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดรถไฟไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมารฟท.ได้นำร่างทีโออาร์ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. งบประมาณ 3.3 พันล้านบาท ที่ปรับลดลงจากวงเงินเดิม 5พันล้านบาท ขึ้นเปิดประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์แล้ว ส่วนอีก 12 สัญญาที่เหลือ งบประมาณ1.2แสนล้านบาทนั้นตามแผนจะทยอยประกวดราคา ภายในปีนี้ ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เฟส 1ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก งบประมาณ 2.76แสนล้านบาท รฟท.ได้เสนอผลศึกษาไปกระทรวงคมนาคมแล้วเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป

ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน 9.5หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่เปิดให้เอกชนร่วมทุนPPPนั้นได้ส่งผลการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบกรอบรายละเอียด ร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้กระทรวงคมนาคมแล้วอยู่ระหว่างรอเสนอครม.ภายในปีนนี้ นอกจากนี้ การรถไฟฯได้ตั้งงบมากกว่า 100ล้านบาทจัดจ้างที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดรถไฟความเร็วสูงเฟสที่ 2 ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังมี เฟส 3ช่วงสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ที่เตรียมศึกษาความเหมาะสมด้วย

รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับทีโออาร์รถไฟความเร็วสูงสัญญาที่2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิกมีข้อกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคากรณีเป็นผู้ร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานประกวดราคาโดยมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด คือผลงานก่อสร้างทางรถไฟที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500ล้านบาท (หมายถึง การก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟหรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้าหรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง(Track Strengthening) หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถหรือผลงานในลักษณะเดียวกัน เป็นได้ทั้งรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ(Elevated)หรือใต้ดิน (Underground) ทั้งนี้ไม่รวมผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟหรือรถไฟฟ้า และผลงานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก) ผลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า500 ล้านบาท (หมายถึงผลงานก่อสร้างถนนหรือผลงานก่อสร้างสะพาน หรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับหรือผลงานก่อสร้างอุโมงค์)

สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย
1. ทางรถไฟ11 กม.แบ่งเป็นการก่อสร้างคันทางรถไฟระดับดิน 7กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ 4กม.
2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Stationyard) 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพักที่ล้างรถ เป็นต้น
3. งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค
1.รายละเอียดการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการจำเพาะ 10คะแนน
2. การบริหารจัดการและแผนงานโครงการ 20คะแนน
3. บุคลากร 20คะแนน
4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 10คะแนน 5. วิธีการก่อสร้าง 40คะแนน
โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 60%และเมื่อรวมคะแนนทุกหัวข้อต้องได้ไม่น้อยกว่า 75%จึงจะผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคทั้งนี้บริษัทผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน15 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2018 7:00 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:


ส่องโมเดล “อิตาลี-ฝรั่งเศส” พัฒนาสถานีหนุนรถไฟความเร็วสูง

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 12:53 น.


รถไฟความเร็วสูง..ใครได้ประโยชน์ (ตอนที่ 1) จากอิตาลี – ฝรั่งเศส – จีนถึงไทยกับบทบาท Connectivity and Mobility
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561


ในช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา มีข่าวว่าเครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือซีพี) ได้ลงทุนในโครงการความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน รวมทั้งข่าวการซื้อที่ดินกว่าหนึ่งหมื่นไร่แถวจังหวัดฉะเชิงเทรา และการยึดที่ดินรัฐกว่า 4,000 ไร่ ตามมาด้วยการออกเอกสารข่าวของเครือซีพีว่าข้อมูลดังกล่าวเป็นเท็จ และเตรียมจะดำเนินคดีอาญาและคดีแพ่งตามกฎหมาย

อย่างไรก็ตาม หลังจากมีการเปิดให้ซื้อซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จากสนามบินอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง เมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 วงเงินลงทุน 2.2 แสนล้าน ระยะทาง 220 กิโลเมตร มีผู้ซื้อซอง 31 ราย จึงเป็นการบ้านสำคัญของผู้ที่ซื้อประมูลจะต้องตีโจทย์ตามเงื่อนไขทีโออาร์ของคณะกรรรมการโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ส่งผ่านมายังการรถไฟแห่งประเทศไทย ว่าคำตอบสุดท้ายที่มีความเป็นไปได้มากที่สุดคืออะไร

ดังนั้น ระยะเวลาจากนี้ไปถึงวันยื่นซองประมูล 12 พฤศจิกายน 2561 เป็นห้วงเวลาของการทำข้อสอบว่าใครจะตอบโจทย์ได้ใกล้เคียงมากที่สุด

เงื่อนไขการประมูล

การประมูลเป็นรูปแบบ net cost: ใครเสนอผลประโยชน์สูงสุดเป็นผู้ชนะการประมูล (การประมูลแบบ net cost เช่นเดียวกับรถไฟสายสีเหลือง และรถไฟสายสีชมพู มูลค่าโครงการ 50,000 ล้านบาท อายุโครงการ 30 ปี)

เอกชนแต่ละรายจะคำนวณผลตอบแทนสูงสุดที่จะหาได้ตามความสามารถของแต่ละรายในการควบคุมต้นทุนการก่อสร้าง การบริหารระบบการก่อสร้าง การจัดหาขบวนรถไฟ การหารายได้จากการวิ่งรถไฟ การหารายได้จากการบริหารอสังหาริมทรัพย์ (หลังจากจ่ายค่าเช่าที่ดินตามกำหนด) และนำเสนอผลประโยชน์สูงสุดเข้ามาประมูล

รัฐบาลจะได้ประโยชน์สูงสุดและจ่ายงบประมาณสนับสนุนต่ำสุด ประเทศไทยได้ผู้ที่เหมาะสมที่สุด ได้ประโยชน์จากการพัฒนาเต็มที่ อายุโครงการ 50 ปี มูลค่าโครงการประมาณ 200,000 ล้านบาท หากให้เวลาน้อยจะขาดทุนมาก เพราะกำไรของโครงการจะอยู่ในช่วงหลังๆ ของโครงการ ถ้าลดเวลาเหลือ 30 ปี รัฐบาลอาจจะต้องจ่ายเงินสนับสนุนเพิ่มและไม่คุ้ม เมื่อครอบ 50 ปี รัฐบาลจะเป็นเจ้าของทรัพย์สินทั้งหมด รวมรถไฟความเร็งสูง สถานี และอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด ซึ่งคาดว่าจะมีมูลค่าประมาณ 300,000 ล้านบาท

ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่เคยรถไฟความเร็วสูง ได้แต่ไปใช้บริการของประเทศอื่นที่เขาพัฒนาระบบรางมานานแล้ว หลายประเทศพัฒนามากว่า 80-100 ปี จนนำมาสู่การให้บริการรถไฟความเร็วสูงที่ได้มาตรฐานโลก

ด้วยเครือเจริญโภคภัณฑ์เป็นหนึ่งในผู้ซื้อซองประมูล จึงต้องทำการบ้านเก็บข้อมูลเพื่อทำข้อสอบ ในช่วงต้นเดือนกันยายน 2561 ที่ผ่านมา ได้พาคณะทีมสื่อมวลชนไปดูรถไฟความเร็วสูงที่ประเทศอิตาลี ฝรั่งเศส จีน และไทย (ของไทยตามรอยเส้นทางเชื่อม 3 สนามบินจากแอร์พอร์ตเรลลิงก์ สถานีลาดกระบัง-สถานีพลูตาหลวง สนามบินอู่ตะเภา) พร้อมระบุว่าเป้าหมายการดูงานในครั้งนี้เพื่อให้เห็นการดำเนินกิจการการรถไฟของต่างประเทศและของประเทศไทย ทั้งในด้านโครงสร้างการบริหารจัดการในการเคลื่อนย้ายคน-สินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง การเชื่อมต่อระบบขนส่งคนจากเมืองสู่เมือง จากเมืองสู่ชุมชน และภายในชุมชนเอง การใช้ big data ในการออกแบบและพัฒนาการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของผู้โดยสาร การวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อยกระดับมาตรฐานการกำกับดูแลความปลอดภัยและการให้บริการ รวมทั้งระบบการควบคุมความเสี่ยงด้านต่างๆ นอกจากนี้ยังมีด้านการหารายได้ การมีส่วนร่วมกับชุมชนในกิจกรรมต่างๆ เป็นต้น

การดูงานกิจการรถไฟความเร็วสูงที่ไปดูมา ทั้งหมดเป็นรัฐวิสาหกิจ โดยที่รัฐเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคือระบบรางให้ ซึ่งระบบรางก็มี 2 แบบ แล้วจ้างรัฐวิสาหกิจเหล่านี้บริหารจัดการ


....

ทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส จีน ต่างมองเรื่องเดียวกันคือว่างานของเขาไม่ใช่แค่ tranportation แต่เป็น connectivity and mobility ที่ย้ายคนจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งอย่างปลอดภัยและสะดวกสบาย

อย่างประเทศจีน การไปดูงานที่สถานีรถไฟหงเฉียว เซี่ยงไฮ้ ซึ่งบริหารจัดการโดยรัฐวิสาหกิจ คือ Chaina Railway Construction Corporation หรือ CRCC เป็นหนึ่งในบริษัทที่ซื้อซองประมูลรถไฟความเร็วสูงเส้นทางเชื่อม 3 สนามบินของไทยด้วย เจ้าหน้าที่เล่าว่าทุกๆ 3-5 นาทีต้องย้ายผู้โดยสารจำนวน 10,000 คน ออกจากสถานี แล้วผู้โดยสาร 10,000 คนใหม่ก็เข้ามาแทนที่แล้วก็ย้ายออกไป

เช่นเดียวกับฝรั่งเศส บริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส (SNCF) ซึ่งเป็นบริษัทที่ให้บริการรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในฝรั่งเศส และเป็นผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงหรือเตเฌเว (TGV) มีผู้โดยสารใช้บริการ 4 ล้านคนต่อวัน จำนวน 15,000 เที่ยวต่อวัน เช่น ทุกๆ 4 นาที มีรถไฟวิ่งปารีสไปลียง หรือทุกเย็นวันศุกร์ จะมีรถไฟความเร็วสูง 180 ขบวนขนย้ายผู้โดยสารกว่า 80,000 คนไปยังเมืองต่างๆ

ขณะที่อิตาลี บริหารจัดการโดยการรถไฟแห่งชาติอิตาลี คือบริษัท Ferrovie dello Staato Itailane S.p.A. (FS) ถือหุ้นโดยรัฐ 100% มีผู้โดยสารใช้บริการ 750 ล้านคนต่อปี ซึ่ง FS เป็นผู้ให้บริการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางโรม-ฟลอเรนซ์ เป็นเส้นทางแรกในยุโรป ด้วยความเร็ว 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

กลุ่ม FS ของอิตาลีเป็นบริษัทบริหารรถไฟให้บริการครบวงจรเกี่ยวกับการให้ความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการเดินทางจากจุดเริ่มต้นถึงปลายทาง เป็นบริษัทที่ให้ทางเลือกในการเดินทางทั้งระบบรางและถนน แต่ไม่ได้สร้างทางรถไฟและผลิตรถไฟเอง

นอกจากเป็นการย้ายคนและสินค้าระหว่างเมืองได้อย่างรวดเร็วแล้ว ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี ฝรั่งเศส จีน ต่างมีบริการครบวงจรที่ให้ผู้โดยสารสามารถเลือกบริการการเชื่อมต่อเมืองกับชุมชนได้อย่างสะดวกและปลอดภัย ไม่ว่าจะเป็นระบบรถราง รถบัส รถแท็กซี่ หรืออื่นๆ ทั้งอิตาลี ฝรั่งเศส จีนต่างมีแอปพลิเคชัน ผ่านมือถือ ผู้โดยสารสามารถจองตั๋วออนไลน์และเชื่อมต่อการเดินทางในรูปแบบที่ต้องการได้ เพราะมีการทำสัญญาพันธมิตรกับบริษัทต่างๆ เป็น 1,000 บริษัท เพื่อให้ผู้โดยสารได้เลือกได้ เช่น รถแท็กซี่ รถบัส

ตัวอย่างการเชื่อมบริการจากเมืองสู่ชุมชน จากการดูงานในครั้งนี้เริ่มจากการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง Gare de l’Est จากปารีสสู่เมืองแรงส์ (Reims) เป็นเมืองในจังหวัดมาร์น ในแคว้นช็องปาญาร์ อยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ประมาณ 129 กิโลเมตร เป็นแหล่งกำเนิดแชมเปญ เมื่อรถไฟความเร็วสูงมาถึงเมืองแรงส์ ผู้โดยสารเดินทางต่อไปเมืองแรงส์โดยรถรางไฟฟ้า เนื่องจากพื้นที่บางส่วนที่ต้องการอนุรักษ์รักษาทัศนียภาพของเมืองจึงไม่มีเสาไฟฟ้า รถรางซึ่งใช้ไฟฟ้าในการเดินรถก็มีแผงวงจรไฟฟ้าอยู่บริเวณราง พอพ้นเขตดังกล่าวก็มีเสาไฟ โดยมีแพนโทกราฟของรถรางเชื่อมระบบไฟฟ้าจากสายไฟมายังตัวรถรางแทน

เมืองแรงส์มีประชากรประมาณ 300,000 คน โดย 120,000 คนอยู่ในเมือง อีก 180,000 คนอยู่ตามสวนองุ่น แต่ที่นี่มีรถราง 18 ขบวน ขบวนละ 5 ตู้โดยสาร หากสังเกตหน้าตารถรางจะเหมือนแชมเปญตามเมืองที่มีแชมเปญที่มีชื่อเสียงด้านนี้ โดยคนมาใช้บริการปีละ 45 ล้านครั้ง จากการให้บริการ 15 ขบวนต่อวัน (อีก 3 ขบวนใช้สำรอง) และมี 23 สถานีทั่วเมือง แบ่งเป็น 2 สาย จะมีรถออกทุก 5 นาที ผู้โดยสารสามารถตรวจสอบเวลาการเดินทางแต่ละสถานีได้โดยจะมาตรงเวลา บนรถรางไม่มีเจ้าหน้าที่เก็บเงิน ทุกคนเมื่อขึ้นมาแล้วจะเอาบัตรโดยมาแตะที่เครื่องเพื่อจ่ายค่าโดยสาร


รถรางที่เมืองแรงส์
นี่คือการออกแบบเมืองเพื่อเชื่อมระบบการเดินทางที่เอื้ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชน ยกระดับคุณภาพชีวิต การตรงต่อเวลา การจราจรไม่ติดขัด สามารถจัดสรรเวลาทำกิจกรรมต่างๆ ได้ รวมทั้งการดูแลสิ่งแวดล้อม การรักษาเมือง สถาปัตยกรรมต่างๆ ที่ตอกย้ำคุณภาพชีวิตที่ดี

เช่นเดียวกับจีน นายโจ๋ว เหล่ย ประธานกรรมการ CRCC ตอบคำถามว่าการมีรถไฟความเร็วสูงช่วยขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจจีนโตเร็วขึ้นมากน้อยแค่ไหน เขาบอกว่ารถไฟความเร็วสูงเปลี่ยนชีวิตคนจีน ตอนที่สร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรก “เทียนจิน- ปักกิ่ง” ซึ่งตอนนั้นมีบริการรถไฟธรรมดาอยู่แล้ว ราคาถูก ก็มีคำถามมากมายว่าแล้วมาสร้างรถไฟความเร็วสูงทำไม จะขายตั๋วราคาแพงและสร้างมาเพื่อคนรวยใช่ไหม แต่วันนี้ไม่มีคำถามว่าสร้างให้คนรวย เพราะรถไฟความเร็วสูงกลายมาเป็นความสำคัญของชีวิตคนจีนไปแล้ว

ประธานกรรมการ CRCC ยกตัวอย่างจากประสบการณ์ตัวเองว่า “CRCC มีบริษัทลูกอยู่ที่จีหนาน สมัยก่อนมาประชุมปักกิ่งต้องนั่งรถไฟมาล่วงหน้า 1 วัน ประชุมเสร็จต้องค้างอีก 1 คืน จึงเดินทางกลับได้ แต่เดี๋ยวมาเช้ากลับเย็นได้เลย”

ปัจจุบันการเดินทางในระยะไม่เกิน 1,000 กิโลเมตร คนจีนจะเลือกใช้รถไฟความเร็วสูงมากกว่าเครื่องบิน เช่น ระยะทางปักกิ่ง-เซี่ยงไฮ้ ระยะทาง 1,300 กิโลเมตร ใช้เวลา 4 ชั่วโมงในการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูง กลายเป็นว่าตอนนี้ตั๋วเต็ม และต้องสร้างเส้นทางเพิ่ม เพราะคนเดินทางเยอะมาก

หากใครที่เคยเดินทางไปประเทศจีน พบว่าจีนเป็นแบบอย่างของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมเมือง และสร้างเมืองให้เป็นมหานคร การเติบโตของแต่ละมณฑล/มหานคร จึงเป็นการยกระดับเศรษฐกิจและชีวิตความเป็นอยู่อย่างเห็นได้ชัดเจนที่สุด

เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูงของฝรั่งเศส อิตาลี ที่เชื่อมเมืองต่างๆในยุโรป การเดินทางไปทำงาน ไปทำธุรกิจ อยู่ที่ไหนก็สามารถเชื่อมถึงกันได้ในแต่ละวัน

ดังนั้น รถไฟความเร็วสูงทำให้เกิดการเชื่อมเมืองและสร้างเมืองแต่ละเมืองให้มีความเป็นเมืองที่เติบโตไปด้วยกัน ไม่ได้กระจุกตัวที่เมืองใดเมืองหนึ่ง คนจะอยู่ที่เมืองไหนก็สามารถเดินทางไปทำงานได้ ลดการกระจุกตัวของคน ลดความแออัดของเมือง อย่างเซี่ยงไฮ้ การซื้อคอนโดมิเนียมหรือบ้านราคาแพงมาก คนต้องออกไปอยู่นอกเมือง หรือเมืองรองอื่นๆ แล้วเดินทางเข้ามาทำงานด้วยความสะดวกสบายในราคาที่เหมาะสม

นี่คือโจทย์ที่ว่า ทำไมต้องมีรถไฟความเร็วสูง มีแล้วใครได้ประโยชน์…

อย่างไรก็ตาม ที่น่าสนใจอีกประเด็นคือจากการดูงานทั้งในอิตาลี ฝรั่งเศส จีน รัฐบาลเป็นผู้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานคือการวางระบบรางทั้งหมด ซึ่งระบบรางมี 2 แบบ คือ 1. รางที่อยู่บนพื้นแบบมีหินโรย ยุโรปใช้แบบนี้ ซึ่งรางแบบนี้ใช้เงินลงทุนไม่สูงแต่การดูแลรักษาระยะยาวจะค่อนข้างสูง และความนิ่มนวลในการลงนั่งดูจะสู้ระบบรางแบบที่ 2 ไม่ได้ ขณะที่ 2. ระบบรางแบบยกพื้นขึ้นไม่มีหินโรย ค่าการก่อสร้างจะแพงกว่าแบบมีหินโรย แต่ระบบการดูแลรักษาในระยะยาวจะถูกว่า เป็นระบบที่จีนใช้ ซึ่งให้ความนิ่มนวลและเงียบมากขณะที่วิ่ง

ส่วนการบริหารการเดินรถไฟความเร็วสูง การพัฒนาพื้นที่เชิงพาณิชย์ ศูนย์การซ่อมบำรุง การควบคุมการเดินรถ และเครือข่ายการเชื่อมต่อการเดินทางอื่นๆ ดำเนินการโดยรัฐวิสาหกิจที่เข้ามารับจ้างบริหาร ซึ่งรัฐบาลถือหุ้นในกิจการเหล่านี้อยู่แต่มีการบริหารแบบมืออาชีพ


สำหรับประเทศไทย รัฐบาลไม่ได้ลงทุนสร้างระบบรางให้เหมือนกับอิตาลี ฝรั่งเศสและจีน ดังนั้นหากจะสร้างรถไฟความเร็วสูงเส้นแรกที่จะเชื่อม 3 สนามบินให้เกิดขึ้นและอยู่รอดได้ ไม่ได้อยู่ที่การมีรถไฟความเร็วสูง แต่อยู่ที่เมืองใหม่ที่รัฐอยากจะให้มีเกิดขึ้นได้จริงหรือไม่ อาทิ 1. โครงการลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ต้องเกิดขึ้นตามแผนที่รัฐบาลวางไว้ทั้งหมด 2. เมืองใหม่ที่จะเกิดขึ้นนี้จะต้องเป็น smart city มีการออกแบบผังเมืองที่ดี เรียกได้ว่าจะต้องเป็น New Bangkok 3. การเวนคืนที่ดินและการส่งมอบพื้นที่จะต้องเป็นไปตามกรอบระยะเวลาที่กำหนด 4. การรับประกันจำนวนผู้โดยสารต้องได้ตามที่ระบุไว้ หากไม่ได้ตามที่กำหนดไว้จะมีทางออกย่างไร 5.การสร้างระบบนิเวศอื่นๆ ที่จะสนับสนุนเกิดความเป็นเมืองที่ใครๆ ก็อยากมาอยู่ เพราะมีเศรษฐกิจที่ดี ชีวิตความเป็นอยู่ที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และ 6. การสร้างคนเพื่อรองรับธุรกิจที่จะเกิดขึ้นในอีอีซี เป็นต้น

ดังนั้น “โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก” จำเป็นต้องมีการลงทุนเต็มรูปแบบตามที่รัฐบาลระบุไว้ เพื่อสร้างเมืองใหม่ที่จะเชื่อมเมือง เชื่อมชุมชน เชื่อมคน เชื่อมโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล โรงแรม แหล่งท่องเที่ยว

EEC หากสามารถทำได้สำเร็จ ถือเป็นการยกระดับเมืองแม่แบบหรือเมืองตัวอย่าง เพื่อที่ว่าประเทศไทยจะไม่ใช่มีแค่กรุงเทพฯ อีกต่อไป แต่ยังมีเมืองใหม่ๆ ที่สามารถยกระดับคุณภาพชีวิต เป็นเมืองที่น่าอยู่ สะดวกสบาย โดยเชื่อมระหว่างเมืองถึงกันได้ด้วยรถไฟความเร็วสูงได้ เพราะด้วยทรัพยากรของประเทศไทยที่มี สามารถที่จะยกระดับความเป็นเมืองในพื้นที่อื่นๆ เพื่อพัฒนาศักยภาพในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม คุณภาพชีวิตของประชาชน และประเทศชาติได้อีกมากมาย รวมทั้งการเชื่อมต่อไปยังกลุ่มประเทศอาเซี่ยนในอนาคต

ดังนั้นถ้าการมีรถไฟความเร็วสูงเพื่อ connectivity and mobility

ก็จะได้คำตอบ ใครที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง!

ติดตามตอนที่สอง: การใช้เทคโนโลยีและbig data กับการพัฒนาบริการที่ปลอดภัยและอ่านใจผู้บริโภค
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 01/10/2018 7:38 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:


ส่องโมเดล “อิตาลี-ฝรั่งเศส” พัฒนาสถานีหนุนรถไฟความเร็วสูง

วันที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 12:53 น.


รถไฟความเร็วสูง..ใครได้ประโยชน์ (ตอนที่ 1) จากอิตาลี – ฝรั่งเศส – จีนถึงไทยกับบทบาท Connectivity and Mobility
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561


จาก “แรงส์” สู่ “แปดริ้ว” ต้นแบบเมืองใหม่ไฮสปีด EEC
วันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2561 เวลา 19:51 น.

ท่ามกลางการประกาศข่าวใหญ่ของเจ้าสัว ซี.พี. “ธนินท์ เจียรวนนท์” จะทุ่มเม็ดเงินหลายแสนล้านสร้างเมืองใหม่แปดริ้ว 10,000 ไร่ รับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ที่จะเชื่อมพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี)

โดยจะดีไซน์ให้เป็นเมืองอัจฉริยะ หรือ smart city มีการวางผังเมือง ระบบสาธารณูปโภคและบริการครบเครื่องในจุดเดียว ไม่ว่าโรงพยาบาล มหาวิทยาลัย ศูนย์การค้า ที่อยู่อาศัย รองรับคน 3 แสนคน มีรถไฟฟ้ารางเบาเชื่อมต่อไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง

ได้มีโอกาสนั่งรถไฟ TGV หรือรถไฟความเร็วสูงของประเทศฝรั่งเศส จาก “ปารีส” ไปยัง “แรงส์” เมืองทางตะวันออกเฉียงเหนือของฝรั่งเศส ที่อยู่ห่างออกไป 129 กม. โดยรถไฟขบวนที่ใช้บริการวิ่งด้วยความเร็ว 320 กม./ชม. ทำให้ใช้เวลาเดินทางเพียง 45 นาที





เมื่อฟังแนวคิด “เจ้าสัวธนินท์” ดูจะละม้ายคล้ายการพัฒนาเมืองแรงส์เพราะระยะห่างของเมืองก็อยู่ไม่ไกลจากปารีส และมีรถไฟฟ้ารางเบา และรถเมล์ขนคนไปยังสถานีรถไฟความเร็วสูง โดยพื้นที่โดยรอบสถานีจะมีจุดจอดรถขนส่งสาธารณะไว้บริการ และยังมี”รถแทรม” ที่เปิดหวูดมา 7 ปีวิ่งรับส่งผู้โดยสารตลอดเส้นทาง

วันนั้นใช้บริการ “รถแทรม” จากสถานีรถไฟ TGV มุ่งหน้าไปยังศูนย์ควบคุมและซ่อมบำรุง (เดโป้) รถแทรมที่บริหารโดยบริษัท ทรานส์เดฟ กรุ๊ป บริษัทลูกของ “SNCF-บริษัททางรถไฟแห่งชาติฝรั่งเศส” ที่ดำเนินธุรกิจขนส่งสาธารณะทั้งรถรางและรถไฟใต้ดิน

สำหรับ “รถแทรม” ผลิตโดย “อัลสตอมฯ” ซัพพลายเออร์รายใหญ่ของฝรั่งเศส มีการดีไซน์รูปแบบตัวรถด้านหน้าเป็นรูปแก้วแชมเปญ และมีหลากสีสันให้สอดคล้องกับลักษณะเมืองแรงส์ที่เป็นพื้นที่ปลูกแชมเปญ รถมีทั้งหมด 18 ขบวน ใน 1 ขบวนมี 3 ตู้ มี 2 เส้นทางวิ่งบริการทั่วเมือง รวม 22 กม. มี 23 สถานี มีรถออกทุก ๆ 5 นาที



รูปแบบโครงสร้างจะเป็นระดับดิน ตัวรถจะขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้า เมื่อวิ่งผ่านเมืองจะรับกระแสไฟฟ้าจากด้านล่าง เพื่อรักษาทัศนียภาพของเมือง แต่เมื่อออกนอกเมืองจะรับส่งไฟฟ้าอยู่ด้านบน

“เมืองแรงส์” มีประชากร 3 แสนคน โดยอาศัยอยู่ในเมือง 1.8 แสนคน เป็นเมืองเก่าแก่และมีการสร้างเมืองใหม่ขยายออกไปตามความเจริญ ซึ่งในระหว่างทางที่นั่งรถแทรม จะมีอาคารร้านค้า มหาวิทยาลัย ที่อยู่อาศัย แหล่งงาน โดยคนที่อาศัยอยู่เมืองนี้ จะนั่งรถไฟไปทำงาน แบบไปเช้าเย็นกลับ ซึ่งจากสถิติมีผู้โดยสารใช้บริการรถแทรมและรถเมล์ที่วิ่งมาเชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูง 45 ล้านเที่ยวคนต่อปี เพราะเมื่อการเข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะสะดวก จึงทำให้คนหันมาใช้บริการมากขึ้น

ส่วนเมืองใหม่ไฮสปีดในประเทศไทยจะสำเร็จอย่างโมเดลต้นแบบนานาประเทศหรือไม่ ยังต้องรอดูกันต่อไปยาว ๆ เพราะโปรเจ็กต์ใหญ่และใช้เงินลงทุนมหาศาล
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 1:40 am    Post subject: Reply with quote

ญี่ปุ่นผนึกจีน! ชิง 2 แสนล้าน ไฮสปีดเทรน
ออนไลน์เมื่อ 30 กันยายน พ.ศ. 2561
ตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่ 38 ฉบับที่ 3,404 วันที่ 27-29 กันยายน พ.ศ. 2561 หน้า 01+15

อีอีซีได้อานิสงส์! ญี่ปุ่นจับมือจีนร่วมลงทุนในต่างประเทศ ประกาศดันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโปรเจ็กต์แรก คาด 'อิโตชู' ผนึก 'ซิติก' และ 'ซีพี' รวมกลุ่มคอนซอร์เตียมร่วมประมูล

นายบรรสาน บุนนาค เอกอัครราชทูต ณ กรุงโตเกียว เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า จากที่รัฐบาลประเทศญี่ปุ่นมีนโยบายดำเนินกลยุทธ์ Free and Open Indo-Pacific ที่ต้องการเชื่อมโยงภูมิภาคเอเชียตะวันออกเข้ากับอินเดียและแอฟริกามากขึ้นในด้านเศรษฐกิจ ซึ่งต้องผ่านไทยไปประเทศในภูมิภาคอาเซียน ทำให้นักลงทุนจากญี่ปุ่นจึงมองหาการลงทุนในโครงการต่าง ๆ ภายใต้พื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) จากในอดีตที่เป็นเรื่องของอีสเทิร์น ซีบอร์ด อีกทั้งการที่ญี่ปุ่นและจีนจับมือร่วมกันในการขยายการลงทุนนอกประเทศ ซึ่งจากการหารือในระดับนายกรัฐมนตรี ได้ตกลงที่จะร่วมลงทุนในประเทศไทยเป็นโปรเจ็กต์แรก ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)





โดยทางบริษัท CITIC Group Corporation (ซิติก กรุ๊ป คอร์ปอเรชั่น) รัฐวิสาหกิจรายใหญ่ของจีน และ Itochu (อีโตชู) ซึ่งเป็น Trading Company รายใหญ่ของญี่ปุ่น ได้เข้ามาซื้อซองประกวดราคาในโครงการดังกล่าวไปแล้ว และคาดว่าในการยื่นเสนอตัวเพื่อแข่งขันในการดำเนินโครงการดังกล่าว จะมีการรวมกลุ่มในลักษณะคอนซอร์เตียมระหว่างอิโตชู กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์ จำกัด (ซีพี) ของไทย และซิติก กรุ๊ป ของจีน เนื่องจากอิโตชูทำธุรกิจกับซีพีมานาน และซิติก กรุ๊ป ของจีน ทางอิโตชูและซีพีก็ถือหุ้นอยู่บางส่วน

"จากการที่รัฐบาลไทยออก พ.ร.บ.เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มาตั้งแต่วันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมา ทำให้ผู้ลงทุนญี่ปุ่นมีความมั่นใจว่า โครงการนี้จะเดินหน้าไปได้อย่างต่อเนื่อง หลังการออก ก.ม.ดังกล่าว และจากความสัมพันธ์ทางการทูต 130 ปี ระหว่างไทยและญี่ปุ่น ก่อนหน้านี้ทางรัฐมนตรีการเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น ได้นำนักลงทุนกว่า 600 คน มาเยือนไทย เข้าพบนายกรัฐมนตรีของไทย และลงไปดูพื้นที่อีอีซี ก็ทำให้เขามองเห็นศักยภาพของพื้นที่นี้"

นายบรรสาน ยังกล่าวต่อว่า ปัจจุบัน การค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นจัดว่าอยู่ในอันดับ 2 ของทั้งโลก ที่ไทยทำการค้าด้วย และมีนักลงทุนญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนในไทยอยู่แล้ว มากถึง 5,000 บริษัท การผลักดันอีอีซีของรัฐบาลไทยก็จะกระตุ้นให้เกิดการเข้ามาลงทุนเพิ่มขึ้นของนักลงทุนญี่ปุ่น




ภาพโปรโมตโครงการลงทุนในอีอีซีในสนามบินนาริตะ



ด้าน นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า ได้เปิดรับฟังความเห็นและตอบข้อซักถามของนักลงทุนที่ซื้อซองประมูล ไทยและต่างประเทศรวม 31 บริษัท โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ครั้งที่ 2 ไปแล้ว เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ที่ผ่านมา และจะเปิดให้ผู้ซื้อเอกสารส่งข้อเสนอแนะ คำถาม ข้อมูลรายละเอียดที่เกี่ยวข้อง ได้ถึงวันที่ 9 ต.ค. หลังการเปิดประชุมชี้แจงครั้งนี้ มีผู้สนใจสอบถามข้อมูลมากถึง 668 คำถาม

อย่างไรก็ดี ผู้ซื้อเอกสารประมูลจะต้องยื่นซองประกวดราคาในวันที่ 12 พ.ย. นี้ จากนั้นจะใช้เวลาในการพิจารณารายละเอียดข้อเสนอต่าง ๆ คาดว่าภายในเดือน ม.ค. นี้ จะได้ตัวผู้ชนะประมูล และเซ็นสัญญาดำเนินการโครงการต่อไป โดยจะใช้เวลาในการก่อสร้าง 5 ปี ตามแผนเปิดบริการในปี 2566

"จะมีกลุ่มไหน กี่ราย มายื่นประมูลบ้าง ต้องรอดูวันที่ 12 พ.ย. แต่ถ้าหากยื่นมาหลายกลุ่ม คงต้องใช้เวลาในการพิจารณามาก เพราะเอกสารแต่ละกลุ่มค่อนข้างเยอะมาก ถ้าเสนอมาสัก 10 กลุ่ม ก็หนักใจเหมือนกันในการตรวจสอบเอกสาร ส่วนเรื่องที่ดินมักกะสันจะส่งมอบให้ได้ 100 ไร่ก่อน ส่วนที่เหลืออีก 50 ไร่ ซึ่งเป็นบริเวณพวงรางโรงซ่อมบำรุงมักกะสันจะมอบให้ทันภายใน 5 ปี"

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีระยะทาง 220.5 กิโลเมตร ผ่าน 5 จังหวัด มี 9 สถานี มูลค่าโครงการ 2.2 แสนล้านบาท โดยจะเริ่มสร้างจากพญาไทไปดอนเมืองเป็นเฟสแรก
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 2:00 am    Post subject: Reply with quote

เดินหน้าไฮสปีดไทย-จีน สัญญา2
รฟท. ประกาศทีโออาร์ไฮสปีดไทย-จีน สัญญา2 ให้เวลาก่อสร้าง 15 เดือน พร้อมดันรถไฟสายใหม่ เด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ เข้าซูเปอร์บอร์ด เปิดประมูลส่งท้ายปี 61
จันทร์ที่ 1 ตุลาคม 2561 เวลา 15.13 น.


นายวรวุฒิ  มาลา   รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)เปิดเผยว่า    ภายในเดือนต.ค. นี้   จะนำร่างขอบเขตงานประมูล(ทีโออาร์)  โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของระยะทาง 323 กม.งบประมาณ 8.53หมื่นล้านบาท   เสนอคณะกรรมการกำกับการจัดซื้อจัดจ้าง(ซูเปอร์บอร์ด)   เพื่อเปิดประมูลตามแผนเดือนธ.ค.นี้  ส่วนโครงการรถไฟทางคู่ช่วงบ้านไผ่-นครพนม  355 กม. งบประมาณ 6หมื่นล้านบาท   อยู่ระหว่างการพิจารณาของสภาพัฒน์ฯและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อคัดเลือกเส้นทางทยอยเปิดประมูลเช่นเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่เฟส2 อีก 7 เส้นทาง 

ส่วนความคืบหน้า โครงการจัดซื้อหัวรถจักร 50คัน งบประมาณ  6.5พันล้านบาท  ได้รับความเห็นชอบจากที่บอร์ดรฟท.แล้ว เตรียมนำร่างทีโออาร์ขึ้นเว็บไซต์เพื่อเปิดประชาพิจารณ์ภายใน 15วันก่อนเปิดประมูลภายในเดือนต.ค.นี้ ขณะที่โครงการเช่าหัวรถจักร 50หัวรวมค่าซ่อมบำรุง งบประมาณ 1.3 หมื่นล้านบาทขณะนี้ทีโออาร์ใกล้เสร็จแล้วคาดว่าจะเสนอเข้าบอร์ดได้ภายในเดือนเดียวกันและจะเปิดประมูล ช่วงพ.ย.-ธ.ค.   

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า  สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดรถไฟไทย-จีน เฟส 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมารฟท.ได้นำร่างทีโออาร์ตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก  11 กม. งบประมาณ  3.3 พันล้านบาท  ที่ปรับลดลงจากวงเงินเดิม 5พันล้านบาท ขึ้นเปิดประชาพิจารณ์บนเว็บไซต์แล้ว   ส่วนอีก 12 สัญญาที่เหลือ งบประมาณ1.2แสนล้านบาทนั้นตามแผนจะทยอยประกวดราคา ภายในปีนี้ ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น เฟส 1ช่วงกรุงเทพ-พิษณุโลก งบประมาณ  2.76แสนล้านบาท  รฟท.ได้เสนอผลศึกษาไปกระทรวงคมนาคมแล้วเพื่อขอความคิดเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ต่อไป  

ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ-หัวหิน  9.5หมื่นล้านบาทซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่เปิดให้เอกชนร่วมทุนPPPนั้นได้ส่งผลการศึกษาความเหมาะสมการออกแบบกรอบรายละเอียด ร่างรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมให้กระทรวงคมนาคมแล้วอยู่ระหว่างรอเสนอครม.ภายในปีนนี้  นอกจากนี้ การรถไฟฯได้ตั้งงบมากกว่า 100ล้านบาทจัดจ้างที่ปรึกษาเข้ามาศึกษาความเหมาะสมและการออกแบบรายละเอียดรถไฟความเร็วสูงเฟสที่ 2 ช่วงหัวหิน-สุราษฎร์ธานีเพื่อเสริมสร้างศักยภาพการขนส่งสินค้า อีกทั้งยังมี เฟส 3ช่วงสุราษฎร์ธานี-ปาดังเบซาร์ ที่เตรียมศึกษาความเหมาะสมด้วย

 รายงานข่าวแจ้งว่า  สำหรับทีโออาร์รถไฟความเร็วสูงสัญญาที่2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิกมีข้อกำหนดเงื่อนไขคุณสมบัติผู้เสนอราคากรณีเป็นผู้ร่วมค้าทุกรายต้องมีอาชีพรับจ้างงานประกวดราคาโดยมีผลงานอย่างหนึ่งอย่างใด คือผลงานก่อสร้างทางรถไฟที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า 500ล้านบาท (หมายถึง การก่อสร้างทางรถไฟและติดตั้งระบบรางรถไฟหรือผลงานก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟ และติดตั้งระบบรถไฟฟ้าหรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟ (Track Rehabilitation) หรือผลงานเสริมความมั่นคงโครงสร้างทาง(Track Strengthening) หรือผลงานปรับปรุงทางรถไฟที่ไม่ปลอดภัยต่อการเดินรถหรือผลงานในลักษณะเดียวกัน เป็นได้ทั้งรูปแบบเสมอระดับ (At Grade) หรือยกระดับ(Elevated)หรือใต้ดิน (Underground) ทั้งนี้ไม่รวมผลงานก่อสร้างโรงซ่อมบำรุงรถไฟหรือรถไฟฟ้า และผลงานปรับปรุงโครงสร้างทางหลีก) ผลงานก่อสร้างงานโยธาที่มีมูลค่าก่อสร้างในสัญญาเดียวไม่น้อยกว่า500 ล้านบาท (หมายถึงผลงานก่อสร้างถนนหรือผลงานก่อสร้างสะพาน หรือผลงานก่อสร้างทางลอด หรือผลงานก่อสร้างทางยกระดับหรือผลงานก่อสร้างอุโมงค์)

สำหรับรูปแบบการก่อสร้าง ประกอบด้วย
1. ทางรถไฟ11 กม.แบ่งเป็นการก่อสร้างคันทางรถไฟระดับดิน  7กม. โครงสร้างทางรถไฟยกระดับ  4กม.
2. ก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Station yard) 1 แห่ง ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ หอพักที่ล้างรถ เป็นต้น
3. งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆ ที่จำเป็นสำหรับโครงการ

หลักเกณฑ์การพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค 1.รายละเอียดการปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการจำเพาะ 10คะแนน 2. การบริหารจัดการและแผนงานโครงการ 20คะแนน 3. บุคลากร 20คะแนน 4. เครื่องจักรและอุปกรณ์ 10คะแนน 5. วิธีการก่อสร้าง 40คะแนน โดยผู้ยื่นข้อเสนอจะต้องได้คะแนนแต่ละหัวข้อไม่น้อยกว่า 60%และเมื่อรวมคะแนนทุกหัวข้อต้องได้ไม่น้อยกว่า 75%จึงจะผ่านการพิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิคทั้งนี้บริษัทผู้ชนะการประมูลต้องดำเนินการก่อสร้างให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาไม่เกิน15 เดือน นับจากวันที่ได้รับแจ้งให้เริ่มทำงาน


Last edited by Wisarut on 02/10/2018 2:03 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 2:00 am    Post subject: Reply with quote


ช็อปปิ้ง ที่สถานีรถไฟความไวสูงฝรั่งเศส
https://www.youtube.com/watch?v=nbbuE4erSuc


ช็อปปิ้ง ที่สถานีรถไฟความไวสูงฝรั่งเศส มีเดินรถสองชั้นเพื่อรองรับผู้โดยสารมากขึ้น
https://www.youtube.com/watch?v=VepEG1f9TTw





คราวนี้ มาดูของอิตาเลียนบ้าง - ทำให้ นครฟลอเรนซ์เติบโตได้ และ บริการคนทุกกลุ่ม และ เชื่อมถึงกันไปทั่ว
https://www.youtube.com/watch?v=KvyuhTcXl34
https://www.youtube.com/watch?v=ZlLPvf1T-k8
https://www.youtube.com/watch?v=9oo3dSyM-Xk
https://www.youtube.com/watch?v=9d8I0f7Cc6s
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2018 9:59 am    Post subject: Reply with quote

เร่งบิ๊กโปรเจกต์อีอีซี 6.5 แสนล้านบาท
ชง“ประยุทธ์”เคาะหวังปิดจ็อบก่อนเลือกตั้ง
2 ตุลาคม 2561 เวลา 08.42 น.
“อุตตม” เร่งขับเคลื่อนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในอีอีซี 4 โครงการ เตรียมชง “บิ๊กตู่” ประธานบอร์ดอีอีซี 4 ต.ค.นี้ หลังรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนำร่องไปแล้ว หวังขับเคลื่อน 5 บิ๊กโปรเจกต์ในอีอีซี มูลค่า 6.5 แสนล้านบาทให้ได้ก่อนเลือกตั้ง พร้อมดันแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานดิจิทัล 5 ปี 1.7 หมื่นล้านบาท

นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกว่า ที่ประชุมรับทราบรายละเอียดการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานสำคัญในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) 4 โครงการ ที่จะนำเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานอนุมัติในวันที่ 4 ต.ค.นี้ จากนั้นจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรี (ครม.) ต่อไป

“โครงสร้างพื้นฐานหลักในอีอีซีสำคัญมี 5 โครงการ แต่โครงการแรกคือรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้คัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนกับรัฐแล้วเมื่อวันที่ 18 มิ.ย. และกำหนดรับข้อเสนอเอกชน 12 พ.ย.นี้ โดยจะออกหนังสือชี้ชวนให้ได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ เพื่อชวนเอกชนเข้าลงทุนภายใต้สัญญาการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน (พีพีพี) ที่รัฐบาลจะลงทุน 5 โครงการหลักสัดส่วน 30% คิดเป็นเงินลงทุน 210,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 650,000 ล้านบาท โดยจะเน้นที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นหลัก”

สำหรับการลงทุนในอีอีซี ทั้งของภาครัฐและภาคเอกชนรวม 5 ปี (ปี 60-64) ตั้งเป้าหมายลงทุนไว้ที่ 1.7 ล้านล้านบาท เพื่อทำให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย และเป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี ที่มีกฎหมายรองรับแล้ว ไม่ว่ารัฐบาลใดบริหารประเทศ จะต้องสานต่อให้เป็นไปตามกฎหมายที่กำหนดไว้

ด้านนายกอบศักดิ์ ภูตระกูล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ทั้ง 4 โครงการ จะเร่งดำเนินการให้ได้เอกชนร่วมลงทุนในรัฐบาลชุดนี้ ก่อนการเลือกตั้ง นอกจากนี้ จะรายงาน กพอ.รับทราบความคืบหน้าแผนปฏิบัติการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลระยะ 5 ปีของกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม (ดีอี) ซึ่งจะออกประกาศเชิญชวนเอกชนลงทุน

เดือน พ.ย.นี้ “การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัล จะทำให้อีอีซีเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจของภูมิภาค ซึ่งจะมี 8 แผนงาน อาทิ การพัฒนาเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (ดิจิทัลพาร์ค ไทยแลนด์) สมาร์ทซิตี้ การสร้างศูนย์ทดสอบ 5 จี เป็นต้น ซึ่งจะลงทุน 17,000 ล้านบาท จะทำให้คนในพื้นที่อีอีซีถึง 3 ล้านคน ได้ประโยชน์จากการได้รับการบริการด้านเทคโนโลยีที่ดีขึ้น อาทิ ความเร็วการสื่อสารเพิ่มเป็น 100 เท่าของ 4 จี”

ส่วนนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กล่าวว่า วันที่ 4 ต.ค.นี้ จะเสนอ กพอ. พิจารณากรอบลงทุน 4 โครงสร้างพื้นฐานหลัก เงินลงทุน 426,000 ล้านบาท อาทิ โครงการเมืองการบินภาคตะวันออก สนามบินอู่ตะเภา โดยจะออกหนังสือชี้ชวนเดือน ต.ค.นี้ เพื่อให้เอกชนร่วมลงทุนเดือน ก.พ.62 และเปิดดำเนินการปี 66, โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานสนามบินอู่ตะเภา ออกหนังสือชี้ชวนเดือน ต.ค. นี้ กำหนดได้เอกชนร่วมลงทุนเดือน ธ.ค.นี้ และเปิดดำเนินการกลางปี 65, โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 กำหนดออกหนังสือชี้ชวนเดือน ต.ค.นี้ กำหนดได้เอกชนร่วมทุนเดือน ก.พ.62 เปิดบริการปลายปี 66, โครงการท่าเรือมาบตาพุดระยะที่ 3 กำหนดออกหนังสือชี้ชวนเดือน ต.ค.นี้ เพื่อให้ได้เอกชนร่วมทุนเดือน ม.ค.62 เปิดดำเนินการต้นปี 68
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 286, 287, 288 ... 545, 546, 547  Next
Page 287 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©