RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264014
ทั้งหมด:13575297
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 293, 294, 295 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44524
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/11/2018 10:10 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
คลังยังไม่กู้เงินจีน
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 07:18 น.
คลังยืนยันไม่มีการสัญญาว่าจะกู้เงินจากจีนลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย

คลังยืนยันไม่มีการสัญญาว่าจะกู้เงินจากจีนลงทุนรถไฟความเร็วสูงเส้นกรุงเทพฯ-หนองคาย

นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการ สำนักนโยบายและแผน ในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า รัฐบาลไทยยังไม่มีการตกลงและมีข้อผูกพันใดๆ ที่จะกู้เงินจากจีนเพื่อลงทุนในโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) การกู้จากจีนเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของแหล่งเงิน

"กระบวนการทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการเจรจาร่างสัญญาเงินกู้และเงื่อนไขเงินกู้ของรัฐบาลจีน ซึ่งมีการบันทึกผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า รัฐบาลไทยจะกู้เงินจากรัฐบาลจีนหากมีเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีกว่าหรือมีต้นทุนที่ถูกกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับแหล่งเงินกู้อื่น" นางจินดารัตน์ กล่าว

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงนี้มีวงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท โดยโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน (จีทูจี) เพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟและการคมนาคมขนส่งของประเทศ โดยปัจจุบันได้ดำเนินการกู้เงินไปแล้ว จำนวน 2,000 ล้านบาท ซึ่งการกู้เงินเพื่อลงทุนจากแหล่งเงินในประเทศไม่เป็นปัญหาอย่างแน่นอน แม้ว่าจะมีวงเงินกู้ที่อยู่ในระดับสูง เนื่องจากจะมีการทยอยเบิกจ่ายเงินตามความคืบหน้าในการก่อสร้าง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2018 10:25 am    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน 'ซีพี' เฉือน 'บีทีเอส' ตรงไหน!
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 07:57

จุดอ่อน จุดแข็ง ซีพีและบีทีเอส ใครจะเป็นผู้ชนะคว้างานโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ระบุ ซีพี มีโอกาสสูงสุดจากพันธมิตรจีน ญี่ปุ่น เกาหลี และ 'FS' จากอิตาลีที่บริหารการเดินรถแล้วมีกำไร ขณะที่ญี่ปุ่นได้งานTOD ที่จะสร้างรายได้มหาศาลในการพัฒนาพื้นที่ แถมได้เทคโนโลยีลูกผสมจากจีน ทำให้ต้นทุนโครงการต่ำได้ ส่วน 'บีทีเอส' แข็งแกร่งด้านการเดินรถ เชื่อโปรเจกต์หน้าชิงงานพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา 3 แสนล้านบาท ประธานวิศวกรรมระบบราง มั่นใจ แพ้ชนะ คะแนนไม่ทิ้งห่าง เพราะทั้งคู่มีจุดแข็งที่ต่างกัน !

หากเป็นไปตามที่นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย และในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้สัมภาษณ์ไว้หลังจากมีการยื่นซองข้อเสนอโครงการดังกล่าวเมื่อวันที่ 12 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นเพียง 2 ราย ว่าจะมีขั้นตอนการประเมินซองทั้งในด้านคุณสมบัติ เทคนิคและการเงิน เสร็จสิ้นภายในวันที่ 17 ธันวาคม ที่จะถึงนี้ และจะเสนอชื่อเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกให้กับคณะรัฐมนตรี ภายในวันที่ 31 มกราคม 2562 เพื่อลงนามในสัญญาในวันที่ 31 มกราคม 2562 เช่นกัน

โดยทั้ง 2 ราย ถือเป็นคู่แข่งขันที่น่าสนใจมาก ซึ่งผู้ที่เกี่ยวข้องในวงการธุรกิจและวงการขนส่งทางรางเชื่อว่าไม่ว่าใครจะชนะ ก็จะมีคะแนนไม่ทิ้งห่างกันมาก เพราะจุดชี้ขาดที่จะคว้าชัยชนะอยู่ที่ว่าใครจะใช้เงินในกระเป๋ารัฐน้อยที่สุด และเมื่อครบสัญญา 50 ปีรัฐจะได้ผลประโยชน์กลับมามีมูลค่ามากที่สุด!


รายแรก กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : BTS, บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : STEC, บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : RATCH

รายที่ 2 กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) : ITD, China Railway Construction Corporation Limited :CRCC (สาธารณรัฐประชาชนจีน), บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) : CK, บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) : BEM และยังมีพันธมิตรรายอื่นอีก เช่น Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development (ประเทศญี่ปุ่น) CITIC Group Corporation (สาธารณรัฐประชาชนจีน) China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) Siemen (ประเทศเยอรมนี) Hyundai (ประเทศเกาหลี) Ferrovie dello Stato Italiane (ประเทศอิตาลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นต้น

ในการเปิดตัวยื่นซองของ 2 ค่ายนั้น มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในมุมมองของ ผศ. ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) บอกว่า การที่บีทีเอสเปิดตัวกลุ่มทุนเพียง 3 ราย ก็ชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจได้แล้ว และอาจเป็นเพราะบีทีเอสมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟระบบรางมานาน ทำให้สามารถคำนวณทุกอย่างได้แม่นยำว่ารายได้ต่างๆ จะมีจากไหนอย่างไร จึงจะทำให้บีทีเอสมีโอกาสได้งานนี้

“บีทีเอส ต้องคุยกับบรรดาsupplier หรือผู้ผลิตรถไฟความเร็วสูงค่ายต่างๆ ไว้แล้วเพราะเขามีประสบการณ์ทั้งค่ายยุโรปและจีนมาก่อน แต่การจะชนะได้อยู่ที่ Business Plan ซึ่งมีปัจจัยต่างๆ ที่จะนำมาคำนวณต้องเป๊ะ”

ส่วนซีพี ถือเป็นรายใหม่ที่ไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเดินรถ แต่ด้วยความแข็งแกร่งทางธุรกิจที่มีอยู่จึงสามารถคุยกับพันธมิตร และสามารถใช้ศักยภาพของพันธมิตรมาเป็นแต้มต่อได้ดีที่สุด!

“ซีพีเปิดทุกพันธมิตรเป็นการล็อกให้แน่ใจ หามิตรแท้ไว้ก่อน ใครจะเป็นsupplier ถ้าซีพีได้งาน ขณะที่ บีทีเอส ไม่เคยพูดซักครั้งเดียว ว่าใช้เทคโนโลยีอะไร ซึ่งก็ต้องลุ้นคะแนน ว่าใครจะชนะ แต่เชื่อว่าไม่น็อกแน่ แต่ต้องดูว่าชนะขาดกันกี่คะแนน ชนะด้วยอะไร กรรมการแต่ละคนให้คะแนนอย่างไร ต้องชัด”

ผศ.ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ย้ำว่าเรื่องเทคโนโลยีความเร็วสูง จะถูกล็อกด้วยระบบและเงื่อนไขในการประมูลอยู่แล้ว และต้องเป็นไปตามมาตรฐานยุโรป จึงไม่ใช่ประเด็นหลักที่จะทำให้ผู้ยื่นเสนอได้งานเพราะต้องไม่ลืมว่ารายได้จากค่าโดยสารไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายหรือค่าดำเนินการทั้งหมดได้ ซึ่งรายได้หลักจะต้องอยู่ที่การพัฒนาธุรกิจ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ในสัญญาไม่ว่าจะเป็นที่ดินมักกะสัน ที่ดินที่ศรีราชา และเส้นทางผ่าน ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้ ทั้งที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ การค้าต่างๆ รวมไปถึง ธุรกิจบริการ ที่จะเชื่อมต่อโครงการ EEC และมองไปถึงเส้นทางการค้าที่จะทะลุไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

“นักธุรกิจที่มีความช่ำชองจะได้เปรียบ เพราะรายได้จากค่าโดยสารมันไม่ cover ค่าใช้จ่าย ก็ต้องไปวัดกันที่ business plan ว่าของใครจะเข้มข้นกว่ากัน"

ตรงนี้แหละคือแต้มต่อที่ซีพีมีสูงมาก ที่จะทำให้ซีพีมีโอกาสคว้าชัยชนะได้!


ด้านแหล่งข่าวในวงการธุรกิจการค้าและการลงทุน ประเมินว่าบริษัทที่เข้ามาเป็นพันธมิตรกับซีพี ทั้งในรูปคอนซอร์เตียม เช่นบริษัท CRCC จากประเทศจีน ก็เป็นรัฐวิสาหกิจด้านวิศวกรรมการก่อสร้างขนาดใหญ่เชี่ยวชาญการก่อสร้างด้านระบบสาธารณูปโภคทุกประเภทถนน ทางด่วน อาคารขนาดใหญ่ และผลิตสายรถไฟกว่า 100,000 กิโลเมตรทั้งรถไฟใต้ดิน Maglev และโมโนเรลซึ่งCRCC ถูกจัดอันดับเป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่และมีอิทธิพลมากที่สุดระดับโลก อันดับที่ 58 ของ Fortune Global 500 ประจำปี 2561

สำหรับบริษัท ITD และ CK ก็เป็นบริษัทก่อสร้างขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศไทย ซึ่งสามารถก่อสร้างสาธารณูปโภคได้ทุกระบบ

บริษัท BEM ก็เป็นบริษัทที่เชี่ยวชาญด้านขนส่งและคมนาคม ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจบริหารจัดการโครงการระบบขนส่งมวลชนด้วยรถไฟฟ้า เช่นMRT สายสีน้ำเงิน หัวลำโพง-บางซื่อ สายสีม่วง สถานีคลองบางไผ่-เตาปูน เป็นต้น และการพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจทางด่านและรถไฟฟ้าเช่นกัน ซึ่งถือว่าบริษัท BEM เป็นธุรกิจคู่แข่งของ BTS โดยตรง


ขณะที่กลุ่มทุนการเงินที่จะเสริมทัพให้โครงการนี้แข็งแกร่งทั้งจากประเทศญี่ปุ่นและจีน ประกอบด้วย Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development : JOIN (ประเทศญี่ปุ่น) เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชนขนาดใหญ่เพื่อสนับสนุนทางการเงินในแต่ละโครงการที่ JOINจะร่วมทุนกับเอกชน ธนาคารและสถาบันการเงินเพื่อสนับสนุนการเงิน และยังมีธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC (ประเทศญี่ปุ่น) ธนาคารปล่อยกู้ด้านการลงทุนของรัฐ

รวมถึง CITIC Group Corporation(สาธารณรัฐประชาชนจีน) เป็นสถาบันการเงินขนาดใหญ่เทียบเท่าธนาคารกรุงไทย และมีการลงทุนในธุรกิจหลายประเภท ซึ่งหากเดินทางไปประเทศจีนจะเห็นป้ายโฆษณาของ CITIC ขึ้นอยู่ทุกเมือง

ส่วนกลุ่ม SUPPLIER ที่เข้าร่วมกับซีพีครั้งนี้ ล้วนเป็นผู้ผลิตตู้รถไฟที่เป็นค่ายใหญ่ในปัจจุบัน ประกอบด้วย Siemen (ประเทศเยอรมนี) ที่บริษัท บีทีเอส MRT และแอร์พอร์ตลิงก์ใช้บริการอยู่ในขณะนี้ รวมไปถึง Hyundai (ประเทศเกาหลี) CRRC-Sifang (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ที่ผลิตตู้รถไฟส่งขายทั่วโลก และยังผลิตให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทยโดยเฉพาะรถไฟรุ่นใหม่ 4 สายที่มีการให้บริการตู้นอนด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีบริษัท Ferrovie dello Stato Italiane : FS (ประเทศอิตาลี) เป็นบริษัทที่รัฐบาลถือหุ้น100% เชี่ยวชาญการบริหาร และบำรุงรักษาระบบรางและรถไฟความเร็วสูง ที่สามารถทำกำไรได้ดีเมื่อเทียบกับที่อื่นๆ โดยมีผลประกอบการในปี 2560 ซึ่งมีรายได้รวม 1.12 หมื่นล้านยูโร และเป็นรายได้จากการเดินรถประมาณ 80-85% แต่เป็นส่วนรายได้เฉพาะบริการรถไฟความเร็วสูงจะอยู่ที่ 1,700 ล้านยูโร

“FS วางนโยบายจะขยายการลงทุนมาประเทศไทยในปีนี้ และที่ซีพีเลือกก็เพราะ FS เก่งในการหารายได้จากการเดินรถก็จะทำให้กลุ่มซีพีมีความเสี่ยงน้อยลงได้”

นอกจากนี้ยังมี China Resources (Holdings) Company Limited (สาธารณรัฐประชาชนจีน) ซึ่งเป็นรัฐวิสาหกิจที่เน้นด้านการส่งออกของจีน ดำเนินธุรกิจหลากหลายทั้งพลังงาน อสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก ซึ่งบริษัทนี้จะช่วยให้แผนการพัฒนาพื้นที่ทั้งในและนอกโครงการเชื่อม 3 สนามบินเติบโตได้ด้วย

ดังนั้นความแข็งแกร่งของซีพี ที่จะทำให้มีโอกาสในการเสนอเงื่อนไขได้ตรงตามTOR กำหนดไว้ คือให้รัฐจ่ายน้อยที่สุดและได้ประโยชน์สูงสุดจึงอยู่ที่การได้พันธมิตรที่แข็งแกร่ง ตั้งแต่แผนการก่อสร้างที่มีทั้ง CRCC, ITD และ CK lส่วนแผนการเดินรถ ก็มี FS และมี BEM ด้านเทคโนโลยีต่างๆ ระบบราง และขบวนรถที่ได้จากจีนก็จะทำให้ต้นทุนต่ำลง และจีนเป็นประเทศเดียวที่มีเทคโนโลยีจาก 4 ประเทศซึ่งเป็นผลจากบริษัทต่างประเทศเข้ามาลงทุนในจีนและมีการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีประกอบด้วย บริษัท Kawasaki Heavy Industries ที่เรารู้จักกันว่ารถไฟชิงกันเซ็งของญี่ปุ่น บริษัท Bombardier แคนาดา บริษัท Siemens เยอรมนี และบริษัท Alsyom แห่งฝรั่งเศส ล้วนอยู่ที่ประเทศจีน

นอกจากนี้ ซีพี เลือกที่จะให้บริษัทญี่ปุ่นที่นอกจากจะให้การสนับสนุนด้านการเงินแล้ว เข้ามาบริหารและพัฒนาพื้นที่รอบสถานี (Transit-Oriented Development :TOD) เพื่อให้เกิดความต้องการเดินทางมาทำกิจกรรมต่างๆ ในพื้นที่รอบๆ สถานี ก่อให้เกิดรายได้ที่จะมาหล่อเลี้ยงธุรกิจของรถไฟที่ไม่อาจจะอยู่รอดได้จากการขายตั๋วรถไฟเพียงอย่างเดียว

ทั้งนี้เพราะญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟครอบคลุมไปเกือบทั่วประเทศ ประชาชนมีความสะดวกในการเดินทาง สามารถควบคุมเวลาในการเดินทางได้อย่างแม่นยำ และสถานีรถไฟฟ้าสำคัญๆ ในญี่ปุ่นมีขนาดใหญ่ สะดวกสบาย มีร้านค้ามากมาย และสถานีรถไฟของญี่ปุ่นก็จะอยู่ใกล้สถานที่สำคัญ เช่น อาคารสำนักงาน สนามกีฬา ศูนย์การค้า เป็นต้น

ที่สำคัญการพัฒนาเชิงพาณิชย์ตามเส้นทางรถไฟฟ้านั้นจะมองแค่ผลตอบแทนทางการเงินไม่ได้ แต่จะต้องมองถึงผลประโยชน์ของส่วนรวม สังคมและชุมชน ที่พึงจะได้รับด้วย ซึ่งประเด็นนี้ญี่ปุ่นเข้าใจในสิ่งที่ ซีพี ต้องการนำเสนอเช่นกัน

แหล่งข่าวระบุว่า โครงการนี้ซีพีตั้งความหวังไว้มาก เพราะหากสามารถได้ชัยชนะครั้งนี้เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโต มีการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมา และจะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อประมูลโครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา (ระยอง-พัทยา) ที่มีมูลค่า 3 แสนล้านบาท ต่อไป !
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/11/2018 2:45 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกชิงไฮสปีด CP-BTS เดิมพันธุรกิจ เดิมพันประเทศ
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 16:35 น.

ไม่เหนือความคาดหมาย เมื่อ 2 ทุนยักษ์ “ซี.พี.-บีทีเอส” ตบเท้าเข้าร่วมกระดานประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อภิมหาโปรเจ็กต์ของประเทศ เม็ดเงินลงทุน 224,544 ล้านบาท

โปรเจ็กต์นี้ “รัฐบาลทหาร” คาดหวังจะเป็นแม่เหล็กดูดต่างชาติเข้ามาปักหมุดลงทุนในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรืออีอีซี ที่กำลังจุดพลุ เพื่อยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ และทรานส์ฟอร์มเศรษฐกิจไทยเชื่อมกับหัวเมืองใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน

เพราะเป็นโครงการลงทุนใหญ่ที่สุดในรอบ 2 ทศวรรษ ใช้เงินลงทุนมหาศาล หากสำเร็จจะเป็นโครงการ 1 ในหน้าประวัติศาสตร์เศรษฐกิจไทย 2 ยักษ์ใหญ่ที่มีศักยภาพทั้งทุน-คอนเน็กชั่นพิเศษ ย่อมไม่พ้นเงาของ 2 มหาเศรษฐีเมืองไทย “ธนินท์ เจียรวนนท์และคีรี กาญจนพาสน์” ที่อาสาสวมหัวใจสิงห์แจ้งเกิดตั้งแต่โครงการยังอยู่ในพิมพ์เขียว

แม้ “ซี.พี.-บีทีเอส” จะไม่มีประสบการณ์รถไฟความเร็วสูงมาก่อน แต่ด้วย “ศักดิ์ศรีและชื่อชั้น” หวังสร้างอนุสาวรีย์ทางเศรษฐกิจ 2 ยักษ์จึงไม่มีใครยอมถอย

หลังใช้เวลาร่วม 4 เดือน เจียระไนไส้ในทีโออาร์ที่มีเป็นหมื่น ๆหน้า เฟ้นหาพันธมิตรจากนานาชาติ “ซี.พี.-บีทีเอส” ได้เผยโฉมหน้าผู้ร่วมทุนตีตั๋วขบวนวันยื่นซองประมูล 12 พ.ย.ที่ผ่านมา

กลุ่มบีทีเอสยื่นในนามกิจการร่วมค้า BSR ประกอบด้วย บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชันและ บมจ.ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง พันธมิตรเดิมที่ร่วมลงทุนโมโนเรลสายสีชมพู (แคราย-มีนบุรี) และสายสีเหลือง (ลาดพร้าว-สำโรง)

ส่วนกลุ่ม ซี.พี.มาฟอร์มใหญ่ ยื่นในนามกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บจ. เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์, บจ.ไชน่าเรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) จากจีน, บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM)

ไม่เพียงเป็นเวทีประจันหน้า 2 ผู้ท้าชิงเค้ก ยังเป็นการประจันหน้าของ 2 ทายาทเจ้าสัว ระหว่าง “กวิน กาญจนพาสน์” บิ๊กบอสบีทีเอสกรุ๊ป และ “ศุภชัย เจียรวนนท์” บิ๊กบอส ซี.พี.ที่เป็นผู้นำทีมยื่นซองประมูลด้วยตัวเอง

วันนั้นทั้ง 2 กลุ่มใช้ฤกษ์ดียื่นซอง “บีทีเอส” ถือฤกษ์ 11.11 ส่วนซี.พี.ก่อนยื่นซอง ตอนเช้า “ศุภชัย” นำทีมคณะผู้บริหาร กราบสักการะพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ที่ลานพระบรมรูปทรงม้า น้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้ก่อตั้งกรมรถไฟ เพื่อสานต่อพระราชปณิธาน ในการพัฒนาการรถไฟให้เกิดประโยชน์ต่อราษฎรและเศรษฐกิจให้กับคนไทยทั้งชาติ

“ศุภชัย” กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการที่สร้างความมั่นใจและการสนับสนุนโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานของประเทศและเชื่อมโยงนโยบายอีอีซีที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาของประเทศ ที่จะเปิดให้ต่างประเทศมาลงทุนในประเทศไทย

“โครงการนี้ ซี.พี.เป็นแกนนำหลักในการลงทุน ถือหุ้น 70% ช.การช่างและ BEM 15% CRCC 10% และอิตาเลียนไทย 5% ยังมีพันธมิตรที่แสดงความจำนงที่จะร่วมลงทุนอีก แต่อาจจะต้องรอให้เราชนะประมูลก่อน”

โดยพันธมิตรใหม่จะมาเติมเต็มให้โครงการสำเร็จ ที่ “ศุภชัย” ไล่เรียง มีทั้งพันธมิตรร่วมค้าและเชิงกลยุทธ์จากทั่วโลก มีธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (JBIC) และกองทุน JOIN จากประเทศญี่ปุ่น สนับสนุนทางการเงิน, ซิติกกรุ๊ป, ไชน่า รีสอร์ซ และ CRRC-Sifang จากจีนบริษัท Ferrovie dello Stato Italiane จากอิตาลี สนใจลงทุนการเดินรถและงานบำรุงรักษา, กลุ่มฮุนไดจากเกาหลี และซีเมนส์ จากเยอรมนี จะร่วมจัดหาขบวนรถ รวมถึง ปตท. ต้องการชวนมาร่วมลงทุนด้วย เนื่องจากโครงการมีการลงทุนหลายส่วน ยังมีงานพัฒนาเชิงพาณิชย์ที่สถานีมักกะสันและศรีราชา

“การลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานได้ผลตอบแทนไม่สูง แต่ระยะยาวจะมีความมั่นคง อีกทั้งเป็นการลงทุนแบบ PPP คิดว่าการสนับสนุนและนโยบายจากภาครัฐในภาพรวม โดยมีอีอีซีเป็นฐาน จะทำให้เกิดการเชื่อมโยงกับโครงการต่าง ๆ เช่น สนามบินอู่ตะเภา รถไฟความเร็วสูงสายเหนือและอีสาน ทำให้โครงการต่าง ๆ มีความมั่นคงไปด้วย” นายศุภชัยกล่าวและว่า

“การพัฒนาเชิงพาณิชย์จะพัฒนาสถานีมักกะสัน 150 ไร่ ให้เต็มประสิทธิภาพ ให้เป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจโดยรวม รวมถึงจะทำงานกับท้องถิ่น ชุมชน ในแนวเส้นทาง จะใส่ในซองที่ 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) แล้ว เราต้องการทำงานกับชุมชนและพัฒนาให้เกิดความยั่งยืนและเสนอให้ผู้พิการเดินทางฟรีตลอดชีวิต”

ฟากบีทีเอสถึงจะมีพันธมิตรน้อยราย แต่พกความมั่นใจมาเต็มร้อย โดย “สุรพงษ์ เลาหะอัญญา” กรรมการ บมจ.บีทีเอสกรุ๊ปโฮลดิ้งส์ กล่าวว่า โครงการนี้บีทีเอสถือหุ้น 60% ซิโนไทยฯและราชบุรีโฮลดิ้งถือคนละ 20% สำหรับระบบรถอาจจะใช้ของพันธมิตรทวีปยุโรป

“เราใช้เวลา 4-5 เดือนศึกษาโครงการ พบว่ามีความเป็นไปได้จะลงทุน แต่ต้องพัฒนาเชิงพาณิชย์ด้วย ซึ่งเราได้ยื่นเป็นข้อเสนอซองที่ 4 ด้วย เพราะมีพาร์ตเนอร์เป็นผู้รับเหมาระดับประเทศ มีประสบการณ์เดินรถไฟฟ้ามา 19 ปี แม้ครั้งนี้จะเป็นรถไฟความเร็วสูง แต่ในหลักการไม่ต่างกันมาก ส่วนที่ ซี.พี.มีพันธมิตรทั้งไทยและต่างประเทศไม่ได้สร้างความหนักใจกับบีทีเอส หากเราได้งานจะกระจายงานให้ผู้รับเหมารายอื่นด้วย เพราะเป็นโครงการใหญ่”

วงการผู้รับเหมายักษ์จับตาไม่กะพริบ กระซิบผ่าน “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า กลุ่มที่มีความเป็นไปได้สูงคือ กลุ่ม ซี.พี. ถึงจะไม่มีประสบการณ์รถไฟฟ้า แต่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นทางการเมือง มีเงินทุนหนา และมีพันธมิตรใหญ่ทั้งอิตาเลียนไทยและ ช.การช่าง มีประสบกาณ์สร้างรถไฟฟ้าหลายสาย

“ยังได้ CRCC ผู้ผลิตระบบและยักษ์ก่อสร้างจากจีน คาดว่า ซี.พี.จะใช้ระบบรถไฟของจีน และมีบริษัทยุโรปอย่างอิตาลีและฝรั่งเศสเป็นพี่เลี้ยงโครงการ ส่วน BEM จะรับช่วงบริหารโครงการต่อในระยะยาว อีกทั้ง ซี.พี.ยังมีที่ดินหลายแปลงที่รอพัฒนา เช่น สถานีฉะเชิงเทรา ที่มีแผนจะพัฒนาเมืองใหม่ 10,000 ไร่”

“ส่วนบีทีเอสก็มีความตั้งใจจริง เคยบริหารรถไฟฟ้ามาก่อน จะรู้ว่าจะลดต้นทุนโครงการได้จากไหน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับราคาที่แต่ละรายเสนอ ใครที่ให้รัฐอุดหนุนค่าก่อสร้างไม่เกิน 119,425 ล้านบาท จะได้เป็นผู้ชนะ”

จนกว่าจะถึงสิ้นเดือน ม.ค. 62 จึงจะเห็นโฉมหน้าผู้ชนะ

เสร็จศึกประมูลไฮสปีดอีอีซี ยังมีคิวประมูลของท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ท่าเรือมาบตาพุด เมืองการบินอู่ตะเภา ที่กำลังจะลั่นกลองรบให้จบก่อนเสียงเลือกตั้งจะดังขึ้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 7:34 pm    Post subject: Reply with quote

“ซีพี-บีทีเอส”ผ่านคุณสมบัติรถไฟ 3 สนามบิน เปิดซองเทคนิคลุ้นคะแนนอีก 3 สัปดาห์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:47

ร.ฟ.ท.เผย “ซีพี-บีทีเอส” ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติ ประมูลรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เปิดซอง 2 (เทคนิค) ให้คะแนน คาดใช้เวลา 3 สัปดาห์ เผยเกณฑ์ซอง 2 ยื่นรายละเอียด 6 หมวด คะแนนแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 75% และรวมทุกหมวดต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะผ่านการประเมิน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า จากที่ ร.ฟ.ท.เปิดให้เอกชนยื่นเอกสารประกวดราคา โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาทเมื่อวันที่ 12 พ.ย. โดยมี 2 กลุ่ม คือ 1. กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) 2. กิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย) , บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)หรือ ITD , China Railway Construction Corporation Limited , บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)หรือ BEM โดยคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่1 (คุณสมบัติ) ปรากฏว่า ผ่านคุณสมบัติทั้ง 2 รายซึ่ง คณะกรรมการคัดเลือกฯได้แจ้งผลเบื้องต้นไปยังเอกชนทั้ง 2 กลุ่ม แล้ว

และขณะนี้เป็นขั้นตอนการเปิดข้อเสนอซองที่ 2 (เทคนิค) พิจารณาช่วงวันที่ 20 พ.ย.-11ธ.ค.61 หรือประมาณ 3 สัปดาห์ และพิจารณาข้อเสนอซองที่3 (การเงิน) วันที่ 12-17 ธ.ค.61 ซึ่งทุกอย่างยังอยู่ในแผนงาน โดยคาดว่าจะ เสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) อนุมัติในช่วงวันที่ 18-28 ม.ค.62 เป้าหมายลงนามสัญญาภายในวันที่ 31 ม.ค.62

สำหรับหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือก ในซองที่ 1 (คุณสมบัติ) จะตรวจสอบความครบถ้วนและความถูกต้อง โดยประเมินแบบผ่าน/ไม่ผ่าน โดยหากผ่านซองที่ 1 จะได้รับการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 2 (เทคนิค) ซึ่งจะเป็นการประเมินแบบให้คะแนน แบ่งเป็น 6 หมวด ผู้ยื่นข้อเสนอต้องยื่นครบทุกหมวด หากไม่ยื่นหมวดใดหมวดหนึ่ง รฟท.จะถือว่าไม่ผ่านคุณสมบัติ โดยจะต้องได้คะแนนแต่ละหมวดไม่น้อยกว่า 75% และคะแนนรวมทุกหมวดต้องไม่น้อยกว่า 80% จึงจะผ่านการประเมินซองที่ 2 และได้รับการพิจารณาในซองที่ 3 (ด้านการลงทุนและผลตอบแทน ) ต่อไป

โดยการพิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 ข้อเสนอต้องมีความครบถ้วนและถูกต้องของเอกสารที่กำหนด ซึ่งคณะรัฐมนตรี อนุมัติกรอบวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ มูลค่าปัจจุบันไม่เกิน 119,425,750,000 บาท โดยเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการนี้ จะเท่ากับผลต่างระหว่าง จำนวนเงินที่เอกชนขอรับการสนับสนุนจากรัฐ กับ จำนวนเงินที่รัฐได้รับจากเอกชน

ซึ่งให้เอกชนระบุจำนวนเงินที่ขอรับการสนับสนุนจากรัฐ ในจำนวนที่เท่ากับทุกปี เป็นเวลา 10 ปี หลังจากเริ่มการให้บริการโครงการรถไฟ ส่วนจำนวนเงินที่รัฐได้รับจากเอกชน ให้ระบุเป็นจำนวนเงินที่เท่ากับทุกปี เป็นเวลา 10 ปี หลังจากเริ่มการให้บริการโครงการรถไฟ เช่นกัน โดยผู้ที่ได้รับการคัดเลือก จะจ้องเสนอวงเงินที่ให้รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ต่ำที่สุด

ทั้งนี้หากข้อเสนอซองที่ 3 สูงกว่าที่มติครม.อนุมัติ จะต้องมีการเจรจา กรณีที่ข้อเสนอซองที่ 3 เท่ากัน คณะกรรมการคัดเลือกจะนำผลคะแนนซองที่ 2 มาเปรียบเทียบ และพิจารณาผู้ที่ได้รับคะแนนซองที่ 2 สูงกว่า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2018 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ซีพี-บีทีเอส”ผ่านคุณสมบัติรถไฟ 3 สนามบิน เปิดซองเทคนิคลุ้นคะแนนอีก 3 สัปดาห์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 18:47

ซีพี-บีทีเอส’ ผ่านฉลุยเกณฑ์คุณสมบัติ ประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2561 - 16:13 น.

‘ซีพี-บีทีเอส’ ผ่านเกณฑ์คุณสมบัติ ประมูลรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน โดยหลังจากนี้จะทำการตรวจสอบเอกสารซองที่ 2 ด้านเทคนิค คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 3 สัปดาห์

‘ซีพี-บีทีเอส’ ผ่านฉลุย – นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเปิดประมูลให้เอกชนร่วมทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ว่า เมื่อวันที่ 19 พ.ย. รฟท. ได้ตรวจสอบความถูกต้องเอกสารซองที่ 1 ด้านคุณสมบัติทั่วไปของเอกชนที่ยื่นประมูลเสร็จเรียบร้อยแล้ว

พบว่าผู้ยื่นทั้ง 2 รายคือ กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้งส์ และพันธมิตร และ 2. กลุ่มบีเอสอาร์ ซึ่งมีบริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอส เป็นผู้ถือหุ้นหลัก ผ่านเกณฑ์พร้อมแจ้งไปยังเอกชนทั้ง 2 กลุ่มแล้ว

โดยหลังจากนี้จะทำการตรวจสอบเอกสารซองที่ 2 ด้านเทคนิค คาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกิน 3 สัปดาห์ โดยจะมีคะแนนเป็นเกณฑ์ตัดสิน เอกชนจะต้องมีคะแนนของแต่ละหมวดไม่ต่ำกว่า 75 คะแนน และคะแนนรวมของทุกหมวดไม่น้อยกว่า 80% จึงจะผ่านการประเมิน และเริ่มเปิดซองที่ 3 ได้

สำหรับเกณฑ์การตัดสินของซองที่ 2 ด้านเทคนิค แบ่งออกเป็น 6 หมวด เช่น โครงสร้างองค์การและความสามารถของบุคลากรในการบริการงานร่วมถึงแผนงานรวม, การดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านเทคนิคงานโยธา, การดำเนินงาน และความสอดคล้องของเอกสารด้านการถ่ายทอดเทคโนโลยีและกิจกรรมการฝึกอบรม และการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 20/11/2018 5:00 pm    Post subject: Reply with quote

ลึกทันใจ : ใครจะได้ครองโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน !?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 17:32


รายงานพิเศษ ลึกทันใจ ตอน ใครจะได้ครองโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน !? ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม NEWS1 วันจันทร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2561


ความคืบหน้าของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินคือดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา หลังจากมีการยื่นซองข้อเสนอโครงการไปเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมีผู้ยื่นเพียง 2 ราย จากนี้จะมีการประเมินซองในด้านคุณสมบัติ เทคนิคและการเงิน เสร็จสิ้นภายในวันที่ 17 ธันวาคมนี้ และจะเสนอชื่อเอกชนที่ได้รับการคัดเลือกให้กับคณะรัฐมนตรี ภายในวันที่ 31 มกราคม 2562 เพื่อลงนามสัญญาในวันนั้นด้วย

สำหรับเอกชน 2 รายที่เข้าท้าชิงเค้กชิ้นใหญ่ในอภิมหาโครงการนี้ ไม่ว่าใครจะชนะ ก็เชื่อว่าคะแนนจะไม่ทิ้งห่างกันมาก มีจุดชี้ขาดว่าใครจะใช้เงินของรัฐน้อยที่สุด และเมื่อครบสัญญา 50 ปีใครจะให้ผลประโยชน์ตอบแทนกับรัฐได้มากที่สุด ก็จะเป็นผู้ชนะ ทีนี้ต้องมาเทียบกันว่า ใครจะเจ๋งกว่ากัน!

รายแรก กิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ (BSR Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย)

และรายที่ 2 คือกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ประเทศไทย), บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) , China Railway Construction Corporation Limited ของจีน, บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) (ประเทศไทย) , บริษัท ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และยังมีพันธมิตรรายอื่นอีก เช่น Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development ของญี่ปุ่น CITIC Group Corporation ของSiemen ประเทศเยอรมนี Hyundai ประเทศเกาหลี และ Ferrovie dello Stato Italiane ของอิตาลี เป็นต้น

ในการเปิดตัวยื่นซองของ 2 ค่ายนั้น มีความแตกต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งในมุมมองของ ดร.รัฐภูมิ ปริชาตปรีชา ประธานวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย บอกว่า การที่บีทีเอสเปิดตัวกลุ่มทุนเพียง 3 รายชี้ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งและความเชี่ยวชาญในการทำธุรกิจ และอาจเป็นเพราะบีทีเอสมีประสบการณ์ด้านการเดินรถไฟระบบรางมานาน ทำให้สามารถคำนวณทุกอย่างได้แม่นยำว่ารายได้ต่างๆ จะมีจากไหนอย่างไร ซึ่งจะทำให้บีทีเอสมีโอกาสได้งานนี้

ส่วนซีพีเปิดทุกพันธมิตรเป็นการล็อกให้แน่ใจว่าใครจะเป็นsupplier ถ้าซีพีได้งาน ขณะที่ บีทีเอส ไม่เคยพูดเลยว่าใช้เทคโนโลยีอะไร ซึ่งก็ต้องลุ้นคะแนน ว่าใครจะชนะ แต่เชื่อว่าไม่น็อกแน่ แต่ต้องดูว่าชนะขาดกันกี่คะแนน ชนะด้วยอะไร กรรมการแต่ละคนให้คะแนนอย่างไร ซึ่งต้องไม่ลืมว่ารายได้จากค่าโดยสารไม่สามารถครอบคลุมค่าใช้จ่ายหรือค่าดำเนินการทั้งหมดได้ แต่รายได้หลักจะต้องอยู่ที่การพัฒนาธุรกิจ ที่เกิดขึ้นบนพื้นที่ในสัญญาไม่ว่าจะเป็นที่ดินมักกะสัน ที่ดินที่ศรีราชา และเส้นทางผ่าน ที่เกี่ยวเนื่องกับโครงการนี้ ทั้งที่เป็นอสังหาริมทรัพย์ การค้าต่างๆ รวมไปถึง ธุรกิจบริการ ที่จะเชื่อมต่อโครงการ EEC และมองไปถึงเส้นทางการค้าที่จะทะลุไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ตรงนี้แหละคือแต้มต่อที่ซีพีมีสูงมาก ทำให้มีโอกาสคว้าชัยชนะได้

โครงการนี้ซีพีตั้งความหวังไว้มาก เพราะหากสามารถได้ชัยชนะได้ เชื่อว่าจะทำให้เศรษฐกิจเติบโต มีการจ้างงานในภาคการก่อสร้าง และภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ตามมาอีกมาก และจะร่วมมือกับพันธมิตรต่างๆ เพื่อประมูลโครงการพัฒนาท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภา ช่วงระยอง-พัทยา ที่มีมูลค่า 3 แสนล้านบาท ต่อไปด้วย

อีกไม่นานเกินรอ ก็จะได้เห็นแล้วว่าใครจะได้หยิบชิ้นปลามันอภิมหาโครงการนี้ไปครอง!
https://www.youtube.com/watch?v=ANYcqdGQXO4
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 10:59 am    Post subject: Reply with quote

เจาะลึกขุมกำลัง รถไฟความเร็วสูง CP
เผยแพร่: 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา08:55


https://www.youtube.com/watch?v=EZBf_3VQvp8
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 2:52 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคมแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 26
Cr: ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 26 เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรม แชง กรี-ลา กรุงเทพฯ โดยมี นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนไทย และ Mr. Ning Jizhe รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนจีน พร้อมด้วย นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ ผู้ช่วยปลัดกระทรวงคมนาคม และผู้บริหารการรถไฟแห่งประเทศไทย ร่วมประชุม โดยมีผลการประชุมที่สำคัญ ดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการประกวดราคาช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ของโครงการรถไฟไทย - จีน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคาของฝ่ายไทย โดยคาดว่าเริ่มการก่อสร้างภายในปี 2562
2. เห็นชอบร่วมกันในหลักการของสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) เพื่อแก้ไขประเด็นที่คงค้างให้สามารถลงนามสัญญา 2.3 ได้ภายในปลายเดือนมกราคม 2562
3. การดำเนินโครงการระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย เริ่มภายในปี 2562 โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธา
4. จากผลการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงเทพฯ ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวเห็นชอบให้มีการหารือสามฝ่ายระหว่างประเทศไทย - สาธารณรัฐประชาชนจีน - สปป.ลาว ในรายละเอียดร่วมกันต่อไป
5. เห็นชอบในหลักการร่วมกันเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรฝ่ายไทย ประมาณ 900 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกอบรมในประเทศไทย โดยฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนเตรียมคู่มือสำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้มีความเหมาะสมกับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการเดินรถในประเทศไทย
6. ฝ่ายไทย - จีน เห็นชอบร่วมกันโดยร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการของถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง

https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2037951149585153
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

ไทยต่อรองจีนลดดอกเบี้ย 2.6% ดันเซ็นสัญญา 2.3 ไฮสปีด “กรุงเทพ-โคราช” 3.8 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2561 เวลา 17:43

เจรจารถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 26 “อาคม” เผยเคลียร์สัญญา 2.3 (วางรางและระบบรถ) วงเงินกว่า 3.8 หมื่นล้าน คลังต่อรองจีนลดดอกเบี้ยจาก 3% เหลือ 2.6% ตั้งเป้าเซ็นสัญญา ม.ค. 62 ขณะที่งานโยธา ช่วงกรุงเทพฯ-โคราชอีก 12 ตอน ประมูลครบใน ก.พ. 62 ก่อสร้างเสร็จในปี 64 เร่งออกแบบเฟส 2 ช่วงโคราช-หนองคาย เชื่อมลาว

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 26 วันนี้ (23 พ.ย.) ซึ่งฝ่ายจีนมีนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนจีน ได้ติดตามความก้าวหน้าการดำเนินโครงการ ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท โดยได้เห็นชอบในหลักการร่วมกันของสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) มูลค่า 38,558.35 ล้านบาท เพื่อให้สามารถลงนามสัญญา 2.3 ได้ในการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ ครั้งที่ 27 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีน วันที่ 25 ม.ค. 2562

ทั้งนี้ ในหลักการร่างสัญญา 2.3 เห็นตรงกันแล้ว เหลือเพียงประเด็นความร่วมมือทางการเงิน ซึ่งจีนเสนอเงินกู้อัตราดอกเบี้ย 3% ขณะที่ฝ่ายไทย โดยกระทรวงการคลังได้เสนอเจรจาอัตราดอกเบี้ยที่ 2.6% ซึ่งจะรอคำตอบยืนยันจากจีนภาย ในเดือน ธ.ค. 2561 เพื่อให้สามารถลงนามสัญญา 2.3 ได้ในปลายเดือน ม.ค. 2562 ตามแผน กรณีจีนไม่ยอมปรับลดดอกเบี้ยลงตามที่ไทยเสนอนั้น ทางกระทรวงการคลังจะเป็นผู้พิจารณาว่าจะใช้เงินกู้จากแหล่งใดต่อไป

สำหรับการดำเนินโครงการระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. กำหนดเป้าหมายในการเริ่มดำเนินการภายในปี 2562 โดยที่ประชุมตกลงให้ฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ที่ประชุมเห็นชอบให้ฝ่ายไทยทบทวนผลการศึกษาและออกแบบรายละเอียด งบประมาณจำนวน 1,200 ล้านบาท

ส่วนจุดเชื่อมต่อระหว่างไทย (หนองคาย)-สปป.ลาว (เวียงจันทน์) นั้น จากผลการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงเทพฯ ฝ่ายไทยและฝ่ายลาวเห็นชอบให้มีการหารือสามฝ่ายระหว่างประเทศไทย-สาธารณรัฐประชาชนจีน-สปป.ลาว ในรายละเอียดร่วมกัน ในเดือน ม.ค. 2562 และเห็นชอบในหลักการร่วมกันเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรฝ่ายไทยประมาณ 900 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกอบรมในประเทศไทย โดยฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนเตรียมคู่มือสำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้มีความเหมาะสมกับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการเดินรถในประเทศไทย

อย่างไรก็ตาม ฝ่ายไทย-จีนเห็นชอบร่วมกัน โดยร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง

***ช่างกรุงเทพฯ-โคราช ดันเปิดประมูลก่อสร้างครบ ก.พ. 62
สำหรับความก้าวหน้าในการก่อสร้างงานโยธา ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา วงเงิน 119,163 ล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างก่อสร้าง ตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ส่วนตอนที่ 2 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ราคากลาง 3,350,475,000 บาท อยู่ระหว่างการประกวดราคา โดยกำหนดยื่นข้อเสนอราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยวิธีอิเล็กทรอนิกส์ ในวันที่ 18 ธ.ค. 2561 คาดว่าเริ่มการก่อสร้างภายในปี 2562

ส่วนที่เหลือ จำนวน 12 ตอน ระยะทาง 238.5 กม. ร.ฟ.ท.จะทยอยประกาศทีโออาร์ประกวดราคาก่อสร้างงานโยธา โดยในเดือน ม.ค. 2562 จะประกาศทีโออาร์ประมูลจำนวน 5 สัญญา ซึ่งเป็นงานก่อสร้างทางวิ่งทั้งหมด ได้แก่
1. งานสัญญาที่ 3-1 ช่วง แก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 31.9 กิโลเมตร (ช่วงที่ 3)
2. งานสัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.5 กิโลเมตร (ช่วงที่ 6)
3. งานสัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 22.7 กิโลเมตร (ช่วงที่ 9)
4. งานสัญญาที่ 4-3 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 30.0 กิโลเมตร (ช่วงที่ 13)

ในเดือน ก.พ. 2562 ประกาศทีโออาร์ประมูล 7 สัญญา ได้แก่
1. งานสัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์ ช่วงมวกเหล็ก-ลำตะคอง ระยะทาง 11.9 กิโลเมตร (ช่วงที่ 4)
2. งานสัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง รวมสถานีปากช่อง ระยะทาง 24.8 กิโลเมตร (ช่วงที่ 5)
3. งานสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 13.7 กิโลเมตร รวมถึงสถานีนครราชสีมา (ช่วงที่ 7)
4. งานสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 11.0 กิโลเมตร ขณะนี้ สถานีกลางบางซื่อ มีส่วนที่เป็นทางรถไฟความไวสูง 2.8 กิโลเมตร ที่ STECON และ Unique Engineering กำลังก่อสร้าง ส่วนสถานีดอนเมืองที่ต้องสร้างใกล้ๆกะ สถานีรถไฟดอนเมืองสายแดงที่ตลาดดอนเมือง จะให้ผู้ได้สัมปทานรถไฟเชื่อมสามสนามบินสร้างให้ ยาว 1.09 กิโลเมตร (ช่วงที่ 8)

5. งานสัญญาที่ 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย กม. 56 (ช่วงที่ 11)
6. งานสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว รวมถึงสถานีอยุธยา (ช่วงที่ 12)
7. งานสัญญาที่ 4-6 นวนคร - บ้านโพ (ช่วงที่ 10)
8. งานสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 13.0 กิโลเมตร รวมถึงสถานีสระบุรี (ช่วงที่ 14)

ทั้งนี้ งานโยธาในเฟสแรก กรุงเทพ-นครราชสีมาจะใช้เวลาก่อสร้าง 36 เดือน คาดว่าจะแล้วเสร็จในปลายปี 2564 ขณะที่ในส่วนของงานระบบ สัญญา 2.3 นั้นจะทยอยเข้าติดตั้ง โดยตั้งเป้าเปิดเดินรถตั้งแต่กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายในปี 2565

//---------------------------------------------------


‘อาคม’ลั่น มค.62 ลุยประมูลรถไฟไฮสปีด กทม-โคราช 2 ตอน สุดท้ายแสนล้าน
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2561 - 14:13 น.

‘อาคม’ลั่น มค.62 ลุยประมูลรถไฟไฮสปีด ไทย-จีน เฟส 1 กทม-โคราช 2 ตอนสุดท้าย วงเงินแสนล้านบาท คาดเปิดเดินรถปี 65

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยภายหลังว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท) จะเร่งเปิดประมูลงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เส้นทาง กทม.-โคราช ระยะทางที่เหลือ 238 กม. วงเงินลงทุนราว 1 แสนล้านบาท คือตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กิโลเมตร และตอนที่ 4 กรุงเทพ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.
ทั้งนี้ จะแบ่งออกเป็น 12 สัญญา โดย 5 สัญญาแรกจะเปิดประมูล ม.ค.2562 ส่วน 7 สัญญาหลังเปิดประมูลเดือน ก.พ.2562 และจะรู้ผลการประมูล มี.ค.2562 เริ่มงานก่อสร้างเดือน เม.ย.2562

ส่วนการดำเนินการเฟส 2 ช่วง โคราช-หนองคาย ระยะทาง 355 กม. ไทยจะออกแบบเอง โดยเตรียมเสนอของบออกแบบ ส่วนการเชื่อมต่อรถไฟบริเวณหนองคายกับประเทศลาวนั้น ได้มีการหารือกับ รมว.คมนาคมของลาวแล้ว เห็นพ้องต้องกันว่า จะกำหนดให้หนองคาย เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายการเดินทาง โดยไทย จีน และลาว จะประชุม เพื่อวางระบบการเชื่อมต่อร่วมกัน ม.ค.2562

นายอาคม กล่าวถึงการกู้เงิน เพื่อจัดซื้อขบวนรถและระบบอาณัตสัญญาณจากจีน วงเงิน 40,000 ล้านบาทว่า อยู่ระหว่างการต่อรองอัตราดอกเบี้ยเงินกู้โดยฝ่ายไทยเสนอไปที่ 2.6% ขณะที่จีนยืนยันที่ 3% โดยจีนจะกลับไปพิจารณาและให้คำตอบไทยในเดือน ธ.ค.นี้ และกระทรวงการคลังของไทยจะต้องตัดสินใจว่า จะกู้หรือไม่กู้ หากตกลงกันได้ จะลงนามในสัญญาร่วมกันในวันที่ 25 ม.ค.2562
“จะเร่งเปิดประมูลและก่อสร้าง เฟส 1 กทม-โคราช ระยะทาง ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ให้เสร็จทั้งหมดก่อนจึงจะเปิดเดินรถได้ ซึ่งคาดว่า งานโยธาจะเสร็จทั้งหมดปลายปี 2564 และเปิดเดินรถได้ในปี 2565” นายอาคมกล่าว
รายงานข่าวจาก รฟท. กล่าวต่อว่า รฟท. เตรียมเสนอของบประมาณจากรัฐบาลประมาณ 1,200 ล้านบาท เพื่อใช้ในการออกแบบ เฟส 2 ช่วง โคราช-หนองคาย ระยะทาง 355 ก.ม.


Last edited by Wisarut on 25/11/2018 10:24 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2018 8:23 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
กระทรวงคมนาคมแถลงข่าวผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 26
Cr: ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2037951149585153

สนข. ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 26

สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ร่วมประชุมคณะกรรมการร่วม เพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 26 เมื่อวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายน 2561 ณ โรงแรมแชงกรี-ลา กรุงเทพฯ โดยมีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายไทย และ Mr. Ning Jizhe รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของจีน ทำหน้าที่หัวหน้าคณะผู้แทนฝ่ายจีน พร้อมด้วยนายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร ผู้บริหารกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมประชุมดังกล่าว โดยมีผลการประชุมดังนี้
1. ทั้งสองฝ่ายรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินการประกวดราคาช่วงสีคิ้ว - กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ของโครงการรถไฟไทย - จีน ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการประกวดราคาของฝ่ายไทย โดยคาดว่าเริ่มการก่อสร้างภายในปี 2562
2. เห็นชอบร่วมกันในหลักการของสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) เพื่อแก้ไขประเด็นที่คงค้างให้สามารถลงนามสัญญา 2.3 ได้ภายในปลายเดือนมกราคม 2562
3. การดำเนินโครงการระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย เริ่มภายในปี 2562 โดยฝ่ายไทยจะเป็นผู้ดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธา
4. จากผลการหารือทวิภาคีระหว่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของประเทศไทยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงโยธาธิการและการขนส่ง สปป.ลาว เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2561 ณ กรุงเทพฯ ฝ่ายไทย และฝ่ายลาวเห็นชอบให้มีการหารือสามฝ่ายระหว่างประเทศไทย - สาธารณรัฐประชาชนจีน - สปป.ลาวในรายละเอียดร่วมกันต่อไป
5. เห็นชอบในหลักการร่วมกันเกี่ยวกับการฝึกอบรมเพื่อถ่ายทอดความรู้ให้บุคลากรฝ่ายไทย ประมาณ 900 คน ซึ่งส่วนใหญ่จะได้รับการฝึกอบรมในประเทศไทย โดยฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายจีนเตรียมคู่มือสำหรับการเดินรถและการซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูงเพื่อให้มีความเหมาะสมกับเงื่อนไขและสภาพแวดล้อมการเดินรถในประเทศไทย
6. ฝ่ายไทย - จีน เห็นชอบร่วมกันโดยร่วมมือเพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการทดสอบชิ้นส่วนรถไฟความเร็วสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=1916700655112211&id=372491272866498&__tn__=C-R
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 293, 294, 295 ... 545, 546, 547  Next
Page 294 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©