RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13263007
ทั้งหมด:13574287
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 301, 302, 303 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2019 10:48 am    Post subject: Reply with quote

ประชาพิจารณ์ไฮสปีดกรุงเทพ-หนองคาย ชาวบ้านหวั่นไร้ทางลอดเหมือนรถไฟทางคู่
วันที่ 16 มกราคม 2562 - 15:50 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 17/01/2019 11:05 am    Post subject: Reply with quote

'ซีวิลเอ็นจิเนียริง'มาวิน! ลดต่ำกว่าราคากลาง 7% จ่อคว้าประมูลไฮสปีดไทย-จีน ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม.

https://www.thebangkokinsight.com/89888/


เอกชน 5 รายผ่านฉลุย ชิงไฮสปีดไทย-จีน ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 ก.ม.
วันที่ 16 มกราคม 2562 - 19:26 น.

5 รายผ่านฉลุย ชิงไฮสปีดไทย-จีน
รฟท. เผยเอกชน 5 รายผ่านฉลุย ชิงไฮสปีดไทย-จีน ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 ก.ม. ทุกรายเสนอต่ำกว่าราคากลาง ซีวิลเอ็นจิเนียริง เสนอราคาต่ำสุด เตรียมเสนอบอร์ดไฟเขียวผู้ชนะ 8 ก.พ.นี้

5 รายผ่านฉลุย ชิงไฮสปีดไทย-จีน – รายงานข่าวการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 16 ม.ค. 2562 คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้พิจารณาข้อเสนอด้านเทคนิค ของเอกชนจำนวน 5 ราย ที่ยื่นประกวดราคาก่อสร้าง โครงการไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 ก.ม. โดยพบว่า เอกชนทั้ง 5 ราย มีคะแนนผ่านเกณฑ์ซองเทคนิคทั้งหมด คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีการเปิดดูข้อเสนอด้านราคาทางระบบจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐด้วยอิเล็กทรอนิกส์ (e-bidding) ซึ่งพบว่าเอกชนทั้ง 5 ราย มีการเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางที่ 3,300 ล้านบาท ทั้งหมด โดยบริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดที่วงเงินประมาณ 3,115 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลาง 235 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนราว 7%

หลังจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะต้องตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเสนอราคาว่ามีการกรอกข้อมูลครบถ้วนแกละตามที่ทีโออาร์หรือไม่ คาดว่าจะใช้เวลาในการพิจารณาประมาณ 1 สัปดาห์ หากมีข้อสงสัยข้อเสนอราคารายใด จะเรียกเอกชนรายดังกล่าวมาชี้แจงข้อมูลเพิ่มเติม หากชี้แจงข้อมูลจนชัดเจนแล้ว คณะกรรมการคัดเลือกฯ จะนำเสนอราคาชื่อเอกชนที่เสนอราคาต่ำสุดให้บอร์ดการพิจารณาอนุมัติในวันที่ 8 ก.พ. นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในการประมูลครั้ง มีผู้ซื้อเอกสารประกวดราคา (TOR) ทั้งหมด 34 ราย แต่มีผู้ยื่นข้อเสนอเพียง 5 ราย ได้แก่ บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด, บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD, บริษัท บุรีรัมย์ธงชัยก่อสร้าง จำกัด, กิจการร่วมค้า KTE-C และกิจการร่วมค้า D.T.N.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 18/01/2019 8:14 am    Post subject: Reply with quote

เปิด‘5โจทย์ยาก’ชี้ชะตาไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 18 ม.ค. 62

Click on the image for full size

กรรมการคัดเลือกประมูลไฮสปีดเทรนเจรจาต่อรอง “ซีพี” วันนี้ เปิดเอกสาร 200 หน้า พบ 5 ข้อโจทย์ยากขอการันตีรายได้ 6% ขอสิทธิ์ลดสัดส่วนหุ้นในอนาคตจาก 70% เหลือ 5% ขอรับเงินอุดหนุนตั้งแต่ปีแรก “วรวุฒิ”เผยเครียดสุดข้อเสนอการเงิน ปัดตอบประเด็นขอรัฐการันตีรายได้

การประมูลรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) อยู่ในขั้นตอนสุดท้ายของการพิจารณาซอง 4 ข้อเสนอพิเศษ ของกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัดและพันธมิตร ซึ่งเป็นผู้เสนอวงเงินให้รัฐอุดหนุนโครงการน้อยที่สุด

รายงานข่าวระบุว่า วันนี้ (18 ม.ค.) คณะกรรมการคัดเลือกการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงจะมีการประชุมนัดสำคัญเพื่อพิจารณารายละเอียดซอง 4 ที่กลุ่มซีพีส่งข้อมูลมาเพิ่ม 200 หน้า ซึ่งถือเป็นการส่งข้อมูลเพิ่มเติมของซอง 4 ค่อนข้างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการประมูลโครงการอื่น โดยเป็นข้อมูลที่ครอบคลุม 4 ด้าน เช่น การเงิน การปรับเปลี่ยนสถานี การขยายเส้นทางถึงระยอง

สำหรับข้อเสนอเพิ่มเติมของกลุ่มซีพีที่สำคัญและเป็นโจทย์ยากของคณะกรรมการมี 5 ประเด็น คือ 1.การขอหลักประกันกำไร 6% 2.การขอสิทธิ์ลดสัดส่วนหุ้นของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด จาก 70% เหลือ 5% ในอนาคต

3.ขอให้ภาครัฐจ่ายเงินอุดหนุนโครงการตั้งแต่ปีที่ 1 ของการดำเนินโครงการ จากเดิมที่กำหนดให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนเมื่อเริ่มเดินรถ ซึ่งปกติจะใช้เวลาก่อสร้างและเตรียมการเดินรถประมาณ 5 ปี

4.ต้องการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ โดยต้องการให้ภาครัฐมีมาตรการอุดหนุนเพื่อให้อัตราดอกเบี้ยเงินกู้โครงการนี้อยู่ในระดับต่ำ หวังลดภาระต้นทุนทางการเงิน และ 5.ต้องการให้สถาบันการเงินที่เป็นแหล่งเงินกู้เจรจากับธนาคารแห่งประเทศ ไทย (ธปท.)เพื่อปรับเพดานการปล่อยกู้ให้กับบริษัทเอกชนรายเดียวสูงขึ้น

รายงานข่าวระบุว่า ข้อเสนอดังกล่าวส่งผลให้คณะกรรมการคัดเลือกการประมูลของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ที่มีตัวแทนจากหน่วยงานต่างๆ ลำบากใจ และอาจจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาอนุมัติ

รฟท.หนักใจข้อเสนอทางการเงิน

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯ วันนี้ (18 ม.ค.) จะมีการเจรจาต่อรองร่วมกับผู้ประมูลทันที

สำหรับข้อเสนอของกลุ่มซีพี ในเบื้องต้นมีทั้งข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงิน ข้อเสนอปรับแนวสถานี และข้อเสนอส่วนต่อขยายไปยังจังหวัดระยอง ซึ่งยอมรับว่าเรื่องที่ต้องใช้เวลาในการพิจารณามากที่สุด คือเรื่องที่เกี่ยวข้องกับด้านการเงินและรายได้ เนื่องจากข้อมูลที่ได้รับจากเอกชนเป็นข้อมูลที่ประเมินในลักษณะของสัดส่วน และอัตราที่เป็นเปอร์เซ็นต์ ทำให้คณะกรรมการคัดเลือก และทีมที่ปรึกษาต้องตีความให้ละเอียด

"ประเด็นใดที่เกี่ยวกับรายได้ก็เป็นเรื่องที่เครียดสุด ต้องใช้เวลาในการพิจารณาข้อมูลหน่อย ส่วนเรื่องของการการันตีรายได้โครงการ มีข้อเสนอนี้จากภาคเอกชนมาไหมนั้น ขอไม่ตอบ ขอพิจารณาข้อมูลทั้งหมดในวันนี้ก่อน เพราะเรื่องนี้ก็เกี่ยวกับเรื่องอื่นไปหมด ก่อนหน้านี้ที่บอกว่าไม่มีข้อเสนอเรื่องนี้ ก็เพราะว่าตอนนั้นข้อมูลในซอง 3 ไม่มีข้อเสนอนี้"

มั่นใจได้ข้อสรุปเจรจากับซีพี

นายวรวุฒิ กล่าวว่า การพิจารณาข้อเสนอซอง 4 จะมีผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) และสำนักงานอัยการสูงสุดเข้าร่วมด้วย ดังนั้นการพิจารณาและต่อรองข้อเสนอพิเศษร่วมกับภาคเอกชนครั้งนี้ ก็จะมีผู้แทนสกพอ.และสำนักงานอัยการสูงสุดอยู่ด้วย เพื่อให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว และจะไม่มีการเจรจาต่อรองในที่ประชุมอื่นเพิ่มเติมแล้ว เหลือเพียงขั้นตอนสรุปร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดพิจารณา ก่อนรายงานไปยังคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติลงนามสัญญา

ทั้งนี้ หากการพิจารณารายละเอียดและเริ่มต้นขั้นตอนเจรจาต่อรองกับกลุ่มซีพีไม่เสร็จในวันนี้ รฟท.มีกำหนดประชุมคณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯ อีกครั้งในวันที่ 25 ม.ค.2562 เพื่อหาข้อสรุป โดยยืนยันว่าการพิจารณาทุกข้อเสนอของภาคเอกชนจะยึดหลักผลประโยชน์สูงสุดของรัฐเป็นหลัก แต่ก็ต้องดูเอกชนด้วยว่าต้องการอะไร แต่ท้ายที่สุดรัฐก็จะต้องไม่เสียผลประโยชน์

สงวนสิทธิ์เพิ่มความเห็น กพอ.-ครม.

รายงานข่าวระบุว่า ผลการพิจารณาของคณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯ จะต้องเสนอกพอ. โดยในประกาศเชิญชวนการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการกำหนดให้กพอ.สงวนสิทธิ์ในการยกเลิกการคัดเลือกเอกชนได้ โดยการยกเลิกดังกล่าวผู้ยื่นซองประมูลไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าใช้จ่ายหรือค่าเสียหายใดๆจากรัฐบาล รวมทั้งคณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯ สงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง แก้ไขเพิ่มเติมรายละเอียดของการคัดเลือก รวมถึงการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้สอดคล้องกับมติครม.หรือ กพอ.

นอกจากนี้คณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯ สงวนสิทธิในการเปลี่ยนแปลง แก้ไข เพิ่มเติมร่างสัญญาร่วมทุน เพื่อให้สอดคล้องกับผลการพิจารณาค้ดเลือกข้อเสนอ ผลการเจรจาต่อรองระหว่างคณะกรรมการคัดเลือกการประมูลฯกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก รวมถึงการแจ้งข้อสังเกตของสำนักงานอัยการสูงสุด ความเห็นของ กพอ.และ ครม.

บีเอสอาร์ยังมีสิทธิ

สำหรับกลุ่มซีพี ถือเป็นผู้ผ่านการพิจารณาซอง 3 ด้านการเงิน และเข้าสู่ขั้นตอนพิจารณาซอง 4 เป็นรายแรก เนื่องจากกลุ่มซีพี เสนอราคา Net Present Value (มูลค่าปัจจุบันสุทธิ) อยู่ที่ 117,227 ล้านบาท ต่ำกว่าข้อเสนอของทางกลุ่มบีเอสอาร์ ที่เสนอมาในมูลค่า 169,934 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราว 52,707 ล้านบาท อีกทั้งยังต่ำกว่ากรอบวงเงินครม. มีมติอนุมัติให้รัฐร่วมลงทุนในโครงการ ในวงเงินมูลค่าปัจจุบันไม่เกิน 119,425 ล้านบาท ส่วนข้อเสนอของทางกลุ่มบีเอสอาร์ ขณะนี้ก็ถือเป็นผู้สอบผ่านซอง 3 แต่ต้องรอการเจรจาร่วมกับกลุ่มซีพีไม่เป็นผลก่อน คณะกรรมการคัดเลือกจึงจะเชิญกลุ่มบีเอสอาร์เข้ามาเปิดซอง 4 เพื่อเจรจาร่วมกันต่อ

กลุ่มกิจการร่วมค้าซีพีได้แก่ เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง (ประเทศไทย) จากประเทศจีนได้แก่ China Railway Construction Corporation Limited ,CITIC Group Corporation

CRRC-SifangและChina Resources (Holdings) Company จากญี่ปุ่น 2 รายได้แก่Japan Overseas Infrastructure Investment Corporation for Transport & Urban Development และธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น

นอกจากนี้ยังมีซีเมนส์ จากประเทศเยอรมัน ฮุนได จากเกาหลี Ferrovie dello Stato Italiane ผู้เชี่ยวชาญระบเดินรถจากอิตาลี และจากไทยคือบริษัททางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด และบริษัทช.การช่าง

ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เอกชนที่ชนะประมูลจะได้รับสิทธิ์พัฒนาบริหาร เดินรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งพัฒนาและบริหารที่ดินมักกะสัน 50 ปี โดยมีมูลค่าโครงการลงทุนอยู่ที่ 2.24 แสนล้านบาท แบ่งออกเป็นการลงทุนเริ่มต้นในระบบขนส่งทางรถไฟ 1.68 แสนล้านบาท การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟ 4.51 หมื่นล้านบาท และสิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์ 1.06 หมื่นล้านบาท ขณะที่ผลการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางด้านเศรษฐกิจตลอดทั้งโครงการประมาณ 7 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2019 7:53 pm    Post subject: Reply with quote

คลังกู้เอ็กซิมแบงก์จีนยาว 20 ปี ต้นทุนถูกลงทุนรถไฟไทย-จีน
หุ้น-การเงิน

วันที่ 18 มกราคม 2562 - 15:37 น.


คลังสบช่องกู้เอ็กซิมแบงก์จีนลงทุนรถไฟไทย-จีน หลังสถานการณ์ดอกเบี้ยในตลาดโลกเปลี่ยน-ครม. เปิดทาง ชี้ส่งผลปัจจุบันกู้สกุลดอลลาร์สหรัฐสวอปมาเป็นเงินบาทดอกเบี้ยถูกกว่ากู้ในประเทศ แจงระยะเวลากู้ 20 ปี ปลอดชำระเงินต้น 5 ปีแรก

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ตามที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้เห็นชอบเกี่ยวกับแนวทางการกู้เงินสำหรับโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ไปเมื่อเร็ว ๆ นี้ โดยทบทวนแนวทางการกู้เงิน เปิดทางให้กู้ต่างประเทศมาลงทุนได้ จากที่มติ ครม. เดิมเมื่อวันที่ 11 ก.ค. 2560 ให้กู้จากในประเทศ เนื่องจากขณะนั้นอัตราดอกเบี้ยในประเทศถูกกว่า

“การกู้ต่างประเทศ จะเป็นการกู้จากธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของประเทศจีน หรือเอ็กซิมแบงก์จีน ซึ่งเจรจากันมาตั้งแต่ปี 2558 โดยจริง ๆ แล้ว ดอกเบี้ยไม่ได้ลดลงกว่าเดิม แต่เนื่องจากปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกปรับเพิ่มขึ้น แต่ทางจีนไม่ได้ปรับเงื่อนไขเพิ่ม ทำให้เทอมการกู้ที่เจรจากันไว้ออกมาดี” แหล่งข่าวกล่าว

ทั้งนี้ อัตราดอกเบี้ยที่ทางเอ็กซิมแบงก์จีนคิดอยู่ที่ราว 3% ต่อปี ในเทอมการกู้เป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ โดยเมื่อมีการทำสวอปมาเป็นเงินบาทแล้ว ถือว่าต้นทุนออกมาต่ำกว่าการกู้เงินในประเทศ ซึ่งระยะเวลาการกู้จะเป็น 20 ปี และมีระยะปลอดชำระเงินต้น 5 ปีแรก

“เงินกู้ก็คงเจรจาเอาไว้ แต่การลงนามสัญญากู้เงิน ยังต้องรอความพร้อมโครงการก่อน ซึ่งเดิมมีกำหนดจะลงนามในสัญญา 2.3 ที่เป็นงานวางราง และตัวรถไฟฟ้า วงเงินประมาณ 38,000 ล้านบาท ช่วงปลายเดือน ม.ค. 2562 นี้ แต่ถึงตอนนี้น่าจะเลื่อนออกไปอีก เพราะทางจีนยังไม่ส่งแบบมาให้ดู” แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า โครงการดังกล่าวเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาล (G to G) ดังนั้น การดำเนินงานก่อสร้างจึงเป็นของจีนทั้งหมด ตั้งแต่การออกแบบก่อสร้างที่เป็นดีเทลดีไซน์ การจ้างคุมงาน การจ้างที่ปรึกษา และงานโยธา

ขณะที่นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน ในฐานะรองโฆษกสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวชี้แจงถึงกรณีมีข่าวว่า ประเทศไทยอาจจะประสบปัญหาต้นทุนการกู้เงินจากจีนที่อัตราดอกเบี้ยสูง เหมือนเช่นหลายประเทศ อาทิ อินโดนีเซีย มาเลเซีย เป็นต้น

“โครงการนี้เป็นจีทูจี โดยรัฐบาลจีนจะสนับสนุนด้านการศึกษาโครงการ การถ่ายทอดเทคโนโลยีและเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง ส่วนรัฐบาลไทยจะเป็นผู้ลงทุนโครงการเองทั้งหมด โดยแหล่งเงินทุนจะมาจากงบประมาณและเงินกู้ภายในประเทศเป็นหลัก การกู้เงินจากรัฐบาลจีนจึงเป็นเพียงทางเลือกหนึ่งของแหล่งเงินเท่านั้น และปัจจุบันการกู้จากจีนก็ยังไม่มีการตกลงและผูกพันสัญญาใด ๆ ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องสัญญาเงินกู้ และเงื่อนไขเงินกู้” นางจินดารัตน์กล่าว

นางจินดารัตน์กล่าวด้วยว่า ในการเจรจาได้มีการระบุถึงการกู้เงินจากรัฐบาลจีนว่า หากรัฐบาลไทยมีเงื่อนไขเงินกู้ที่ดีกว่า หรือต้นทุนถูกกว่า ทางกระทรวงการคลังก็จะพิจารณาเงื่อนไขเงินกู้เปรียบเทียบกับแหล่งเงินกู้ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงแหล่งเงินกู้ทางการอื่น ๆ ด้วย

ก่อนหน้านี้ นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ครม.มีมติทบทวนให้กระทรวงการคลังสามารถจัดหาแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมจากทั้งในประเทศและต่างประเทศได้ เพื่อนำมาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กู้ต่อเพื่อดำเนินโครงการดังกล่าว ในวงเงินราว 160,000 ล้านบาท

ขณะที่นายพุทธิพงษ์ ปุณณกันต์ รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ฝ่ายการเมือง ปฏิบัติหน้าที่โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า กระทรวงการคลังรายงานว่า ขณะนี้อัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกมีการเปลี่ยนแปลง และมีหลายสถาบันการเงินที่มีข้อเสนอที่น่าสนใจ จึงเห็นควรให้พิจารณากู้เงินจากต่างประเทศได้อีกช่องทางหนึ่ง เพื่อช่วยให้ประเทศประหยัดงบประมาณได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 18/01/2019 7:55 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
เปิด‘5โจทย์ยาก’ชี้ชะตาไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 18 ม.ค. 62



เปิดเงื่อนไข ‘ซีพี’ ยื่น11ข้อ รฟท.รับได้แค่ 3 ส่งผลไฮสปีดยืดเยื้อ
18 มกราคม 2562

เปิดเงื่อนไข "ซีพี" ยื่น11ข้อ รฟท.รับได้แค่ 3 ไม่รับ 8 ข้อเสนอ ส่งผล "ไฮสปีด" ยืดเยื้อ

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยภายหลังประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า วันนี้ (18 ก.พ.) คณะกรรมการคัดเลือกได้พิจารณาเอกสารซอง 4 ข้อเสนอพิเศษ ของกลุ่มซีพี หรือ กิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร พร้อมเริ่มขั้นตอนเจรจาส่วนแรกกับเอกชนแล้วแต่ยังไม่ได้ข้อสรุป หลังจากนี้ รฟท.จะสรุปข้อเสนอซอง 4 เป็นลายลักษณ์ให้เอกชนภายในวันนี้ และจะส่งกรอบการเจรจาให้ภายในวันจันทร์หน้า จึงคาดว่าจะเจรจาร่างสัญญาอีกครั้งอย่างเร็ววันศุกร์ ที่ 25 ม.ค.2562

ADVERTISEMENT

สำหรับข้อเสนอซอง 4 ซีพีเสนอมา 11 ข้อ โดยคณะกรรมการคัดเลือกพิจารณาและรับไว้ 3 ข้อ ซึ่งเป็นข้อเสนอที่เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ โดยในข้อเสนอที่คณะกรมการคัดเลือกรับไว้ มี 1 ข้อเป็นข้อเสนอแบบมีเงื่อนไข คือ การตั้งศูนย์ความเป็นเลิศระบบราง เนื่องจากเอกชนคงดำเนินการเรื่องนี้ฝ่ายเดียวไม่ได้ จึงต้องอาศัยความร่วมมือจาก รฟท. ด้วย ส่วนข้อเสนออีก 8 ข้อที่คณะกรรมการคัดเลือกไม่รับไว้ ก็อาจจะนำมาบรรจุไว้ในเงื่อนไขสัญญาเพื่อทำการเจรจาเพิ่มเติม และหากคณะกรรมการอีอีซี หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) เล็งเห็นว่ามีประโยชน์ต่อโครงการ ก็สามารถนำกลับมาพิจารณาใหม่ได้

ส่วนการเจรจาเงื่อนไขสัญญา จะพิจารณาจากข้อมูลที่ทางซีพีส่งกลับมา 200 หน้า โดยจัดแบ่งออกเป็น 4 หมวด ในส่วนนี้ก็มีทั้งข้อเสนอขยับแนวสถานี เพิ่มสถานี และข้อเสนอการก่อสร้างส่วนต่อขยาย ทั้งนี้ ยืนยันว่าไม่มีข้อเสนอการันตีรายได้ให้เอกชน และถึงกลุ่มซีพีเสนอมา ก็ไม่สามารถรับไว้ได้ เพราะเกินกว่าเงื่อนไขทีโออาร์กำหนด โดยสิ่งที่ทำได้ตอนนี้คือ คณะกรรมการคัดเลือก และเอกชนจะต้องเจรจาและปรับตัวเข้าหากันเพื่อให้โครงการอยู่รอด แต่สุดท้ายเอกชนก็ต้องรับความเสี่ยงทั้งหมดไป


ความเสี่ยงสูง! ซี.พี.ยื่นสารพัดข้อเสนอพิเศษปิดจุดเสี่ยงไฮสปีดเชื่อม3สนามบิน จ่อเลื่อนเซ็น
พร็อพเพอร์ตี้
สัญญา31ม.ค.นี้
วันที่ 18 มกราคม 2562 - 16:57 น.


นายวร​วุฒิ​ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 ข้อเสนออื่นๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่ม ซี.พี เสร็จเรียบร้อยแล้ว

โดยกลุ่ม ซี.พี.มีข้อเสนอเพิ่มเติมสรุปได้ทั้งสิ้น 11 ประเด็น ทางคณะกรรมการคัดเลือกรับข้อเสนอไว้ 3 ประเด็น โดยรับแบบมีเงื่อนไข 1 ประเด็น ซึ่งเป็นประเด็นเกี่ยวกับการมีศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทาง ส่วนอีก 8 ประเด็นไม่สามารถรับได้ เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ

แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการคัดเลือกจะเก็บข้อเสนอที่มีทุกข้อไว้ โดยกลุ่ม ซี.พี.จะนำข้อเสนอที่คณะกรรมการไม่รับไว้ ไปปรับเปลี่ยนเพื่อเสนอใหม่ในขั้นตอนเจรจาก็ได้ และที่สำคัญ เพื่อให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้พิจารณาอีกรอบหนึ่ง เพราะคณะกรรมการคัดเลือกมีกรอบที่ต้องปฏิบัติตามร่างสัญญาทีโออาร์ บางข้อเสนอจึงไม่สามารถรับได้ แต่หาก กพอ.มีความเห็นว่าควรรับข้อเสนอไว้ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ตามที่กฎหมายระบุ

ขณะที่การเจรจาคณะกรรมการคัดเลือกได้นำเอกสารข้อเสนอเพิ่มเติมที่กลุ่ม ซี.พี.ส่งมาเมื่อวันที่ 9 ม.ค.จำนวน 200 หน้า 108 ประเด็น มาจัดให้อยู่ในกรอบเจรจา 4 กรอบ แต่ไม่สามารถเปิดเผยกรอบทั้ง 4 กรอบได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพราะมีผลกับการเจรจา โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะส่งหนังสือสรุปผลการพิจารณาซองที่ 4 ให้กลุ่ม ซี.พี.ภายในวันนี้ (18 ม.ค.) ส่วนในวันจันทร์ (21 ม.ค.) จะส่งกรอบเจรจาพร้อมจดหมายตอบกลับนัดหมายวันเวลาที่จะดำเนินการเจรจาร่วมกัน เบื้องต้น คณะกรรมการาคัดเลือกขอให้เริ่มเจรจาภายในสัปดาห์หน้า แต่กลุ่ม ซี.พี.ขอหารือกับพันธมิตรที่ร่วมมือกันก่อน เพื่อหาเวลาที่เหมาะสมต่อไป

สำหรับรายละเอียดของข้อเสนอซอง 4 และกรอบการเจรจา ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมากและติดกรอบสัญญาทีโออาร์ ส่วนข้อเสนอที่มีการนำเสนอตามหน้าสื่อ เช่น การต่อขยายไป จ.ระยองและการทำสเปอไลน์ ยอมรับว่ามีการพูดคุยกัน แต่คณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่าควรนำส่วนนี้ไปใส่ไว้ในเงื่อนไขสัญญา เพราะในสัญญาทีโออาร์ไม่ได้ระบุให้ดำเนินการในส่วนนี้ แล้วไปเปิดการเจรจาในอนาคตดีกว่า หรือแม้แต่การเคลื่อนย้ายสถานีก็ให้นำไปใส่ในเงื่อนไขสัญญาไปก่อนเช่นกัน

ส่วนการการันตีผลตอบแทน 6.75% ไม่มีการพูดถึง เพราะรัฐไม่สามารถการันตีผลตอบแทนให้เอกชนได้ เอกชนต้องรับรู้ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน กลุ่ม ซี.พี.ได้ชี้แจงว่า ข้อเสนอต่ำสุดที่เสนอมา 117,227 ล้านบาท เป็นข้อเสนอที่ ซี.พี.สามารถทำได้ แต่ต้องรับความเสี่ยงสูงมาก แต่ไม่ได้ขอให้รัฐมีมาตรการเพิ่มเติมทางการเงินแต่อย่างใด

ส่วนการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกขอให้ยึดตามสัญญาทีโออาร์ไปก่อน หากจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงต้องกลับไปดูทีโออาร์ก่อนว่ามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และจะต้องแจ้งมาที่การรถไฟฯก่อน เพื่อให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้นหรือสัดส่วนการถือหุ้นต่อไป

นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า จากขั้นตอนทั้งหมดที่กล่าวมา จะทำให้การลงนามในสัญญาที่กำหนดไว้ในวันที่ 31 ม.ค.ต้องเลื่อนออกไปแน่นอน จะเลื่อนแค่ไหนต้องขึ้นอยู่กับผลการเจรจาว่าจะตกลงกันได้รวดเร็วแค่ไหน โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อขอเลื่อนกรอบการลงนามออกไปก่อน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44519
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/01/2019 9:39 am    Post subject: Reply with quote

'ซีพี' ส้มหล่น อาจได้บริหารไฮสปีดสามสนามบินเฟส 2 โดยไม่ต้องประมูล
ไทยโพสต์ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:06 น.

19 ม.ค. 2562 แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ระบุในข้อเสนอการว่าจ้างให้บริษัทเอกชนที่ชนะประมูลโครงการเดินรถในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน อีอีซี เฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา (กลุ่มซีพี) เข้ามาเดินรถในเฟส 2 ช่วงอู่ตะเภา-ตราด ระยะทาง 300-400 กิโลเมตร วงเงินลงทุนมากกว่า 3 แสนล้านบาทด้วย โดยไม่ต้องเปิดประมูล เพื่อความสะดวกสบายของประชาชน หรืออาจมีการจ้างเอกชนรายเดิมเดินรถเหมือนกรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)

“ขณะนี้อยู่ระหว่างการเปิดประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน เฟส 2 ซึ่งปัจจุบันถือว่าการว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูภาพรวมของโครงการเฟส 2 ล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากขั้นตอนจัดซื้อที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่และเจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ ดังนั้น รฟท.จึงตั้งเป้าหมายลงนามสัญญาว่าจ้างดังกล่าวให้ได้ภายในเดือนนี้หรือ ก.พ. 2562” แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าว ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาท ว่า ขณะนี้ รฟท.ได้สั่งชะลอโครงการดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากพบว่าระยะทางไม่คุ้มค่าในการลงทุนจึงเกรงว่าเอกชนจะไม่สนใจโครงการ ดังนั้นจึงต้องการพัฒนาเป็นเส้นทางสายยาวแทน ช่วงกรุงเทพ-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 635 กม. วงเงินลงทุนมากกว่า 6 แสนล้านบาท โดยอยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณจ้างเอกชนเข้ามาศึกษาคาดว่าจะได้ตัวภายในปีนี้ และจะดำเนินการศึกษาในปี 2563 ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน

อย่างไรก็ตามเส้นทางดังกล่าวถือว่าเป็นรถไฟไฮสปีดสายยาวใช้วงเงินลงทุนเยอะจึงไม่แน่ใจว่าฝ่ายนโยบายในอนาคตจะยังเดินหน้ารถไฟไฮสปีดสายใต้ต่อไปหรือไม่ และหากจะลดเส้นทางเหลือช่วง กรุงเทพ-ประจวบคีรีขันธ์ หรือ กรุงเทพ-ชุมพร ก็ยังคงไม่สะท้อนความคุ้มค่าเท่ากับการจบสถานีสุดท้ายที่จ.สุราษฎร์ธานีเพราะถือเป็นประตูการท่องเที่ยวภาคใต้

แหล่งข่าวจาก รฟท. กล่าวว่าได้มีการเลื่อนงานประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ณ กรุงปักกิ่ง จากเดิมวันที่ 25 ม.ค.นี้ไปเป็นช่วงปลายเดือนหน้า สำหรับความคืบหน้าสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 4 หมื่นล้านบาทนั้นคืบหน้าไปได้เยอะแล้ว ซึ่งทางฝ่ายจีนได้ทยอยส่งรายละเอียด การถอดแบบและมูลค่าของสัญญา(BOQ) และตัวเลขค่าใช้จ่ายมาแล้ว
อย่างไรก็ตามเบื้องต้นที่ตรวจสอบก็เป็นไปตามมาตรฐานที่ฝ่ายไทยศึกษาเกณฑ์ราคากลางมา ดังนั้นจึงคาดว่าไม่น่ามีปัญหาแล้วพร้อมลงนามสัญญาภายในการประชุมครั้งหน้าแน่นอน อย่างไรก็ตามต้องรีบลงนามสัญญาให้จบเพราะรถใช้เวลาผลิตนานถึง 6 ปีและทยอยนำเข้ามาประกอบทีละสิ้นเพื่อให้ทันกับการเปิดเดินรถในปี 2565-2566
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 11:29 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
'ซีพี' ส้มหล่น อาจได้บริหารไฮสปีดสามสนามบินเฟส 2 โดยไม่ต้องประมูล
ไทยโพสต์ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 09:06 น.



ร.ฟ.ท.ยอมรับ 3 ข้อเสนอเพิ่มเติม ซี.พี. ยันรัฐไม่รับประกันความเสี่ยง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 18 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 18:01
ปรับปรุง: 20 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 08:58


ร.ฟ.ท.รับ 3 ข้อเสนอเพิ่มเติมรถไฟเชื่อม 3 สนามบินของ ซี.พี. เตรียมแจ้งผลเป็นทางการ 21 ม.ค. และให้เวลาหารือพันธมิตรก่อนเรียกเจรจาเงื่อนไขในปลายสัปดาห์หน้า ยอมรับเซ็นสัญญาไม่ทัน 31 ม.ค.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ (18 ม.ค.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544.36 ล้านบาท คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เชิญกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด (ซี.พี.) และพันธมิตรมาชี้แจงข้อสงสัย ซอง 4 (ข้อเสนอเพิ่มเติม) ซึ่งมี 11 ประเด็น โดยได้พิจารณารับข้อเสนอ 3 ประเด็น ทั้งนี้ 1 ใน 3 ประเด็นที่รับนั้นเป็นการรับแบบมีเงื่อนไข ซึ่งจะต้องมีการเจรจากันต่อไปเพื่อเขียนไว้ในสัญญาเนื่องจากเป็นส่วนที่ไม่มีในทีโออาร์ เช่น เสนอตั้งศูนย์ความเป็นเลิศทางราง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ต้องร่วมมือด้วยเพราะเอกชนดำเนินการฝ่ายเดียวไม่ได้ เป็นต้น

สำหรับอีก 8 ประเด็นที่ไม่รับเนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์การเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินโครงการ และอยู่นอกเหนืออำนาจการพิจารณาของคณะกรรมการ แต่ทั้งนี้หากผู้มีอำนาจ เช่น คณะกรรมการ EEC หรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นว่ามีประโยชน์ต่อโครงการอาจจะสามารถทำการเจรจากันได้

นายวรวุฒิกล่าวว่า วันนี้ถือว่าการพิจารณาซอง 4 จบแล้ว หลังจากนี้จะเป็นการเจรจาเพื่อทำสัญญา โดยจะทำหนังสือแจ้ง ซี.พี.เป็นทางการในวันที่ 21 ม.ค.เพื่อหารือกับพันธมิตร จากนั้นจะนัดเจรจาอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ม.ค. 62 ต่อไป ซึ่งประเมินว่าจะสรุปผลการเจรจาล่าช้าจากแผนซึ่งจะทำให้เลื่อนกำหนดการลงนามสัญญาจากวันที่ 31 ม.ค. 62 ออกไปก่อน โดยจะรายงานความคืบหน้าต่อรัฐบาลให้รับทราบเหตุผลต่อไป

“ข้อเสนอซอง 4 ที่ได้รับไว้ 3 ข้อนั้น การเจรจาเพื่อได้ความชัดเจน และเขียนไว้เป็นเงื่อนไขในสัญญาต่อไป ซึ่งอาจจะเป็นสิ่งที่จะดำเนินการในอนาคต เพราะสัญญาอายุ 50 ปีต้องเขียนเปิดไว้ เช่น เสนอทำสเปอร์ไลน์ ซึ่งเมื่อถึงเวลาจะทำก็จะมีการเจรจาในรายละเอียดกันอีก แต่ทุกอย่างต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง”

สำหรับข้อเสนอ 200 หน้าของกลุ่ม ซี.พี.นั้น คณะกรรมการฯ ได้แบ่งเป็น 4 กลุ่มในการพิจารณา ทั้งนี้ ซี.พี.อาจจะกังวลเรื่องความเสี่ยงของโครงการในบางกรณีที่อาจไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ เช่น ปริมาณผู้โดยสาร อัตราดอกเบี้ยตลาดโลก ราคาวัสดุเปลี่ยนแปลง หรือภาวะเหล็กขาดตลาด ทำให้มีการเสนอลดความเสี่ยง แต่รัฐบาลไม่สามารถการันตีการลงทุนให้เอกชนได้ จึงไม่รับข้อเสนอที่นอกเหนือจากทีโออาร์
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 12:36 pm    Post subject: Reply with quote

"ซีพี"คว้ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินเฟส2 "รฟท."ยกให้ไม่ต้องประมูล
วันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 11:04 น.
รฟท.ส่อยกไฮสปีด 3 สนามบินเฟส 2 ให้ซีพีเดินรถ สั่งตั้งทีมศึกษา เล็งพับแผนกรุงเทพฯ-หัวหิน ไม่คุ้มค่า

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างประกวดราคาสัญญาจ้างเอกชนเข้ามาศึกษาแผนพัฒนาโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี เฟส 2 ช่วงอู่ตะเภา-ตราด ระยะทาง 300-400 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท โดย รฟท.ได้ระบุในข้อเสนอการว่าจ้างให้บริษัทที่ชนะประมูลไปศึกษาแนวทางให้เอกชนที่เดินรถเฟส 1 ช่วงกรุงเทพฯ-อู่ตะเภา นั้นเข้ามาเดินรถในเฟส 2 ด้วยโดยไม่ต้องเปิดประมูลเพื่อความสะดวกสบายของประชาชน.

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาทนั้น รฟท.ได้สั่งชะลอโครงการดังกล่าวออกไปก่อน เนื่องจากพบว่าระยะทางดังกล่าวไม่คุ้มค่าในการลงทุน จึงเกรงว่าเอกชนจะไม่สนใจเข้าประมูลโครงการ โดยจะพัฒนาเป็นเส้นทางสายยาวแทน ช่วงกรุงเทพฯ-สุราษฎร์ธานี ระยะทาง 635 กม. วงเงินลงทุนมากกว่า 6 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณจ้างเอกชนเข้ามาศึกษา คาดว่าจะสรุปภายในปีนี้ ก่อนเริ่มศึกษาในปี 2563 ใช้เวลาไม่น้อยกว่า 6 เดือน



แขวนออปชั่นการเงินไฮสปีด โยน “บิ๊กตู่” ชี้ขาดข้อเสนอซีพี
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 19 มกราคม พ.ศ. 2562 เวลา 21:35 น.

ซี.พี.ผ่านซอง 4 ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน สรุปมี 11 ข้อเสนอ รับได้ 3 ข้อ แขวนเงื่อนไขทางการเงินให้บอร์ดใหญ่อีอีซีที่มี “บิ๊กตู่” นั่งหัวโต๊ะชี้ขาด การันตีผลตามข้อเสนอเอกชนหรือไม่ ลุ้นต่อประเด็นลดสัดส่วนการถือหุ้น-ต่อขยายไประยอง คาดเซ็นสัญญาไม่ทันกรอบเวลา 31 มี.ค.

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า วันที่ 18 ม.ค. 2562 ที่ผ่านมา คณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท ได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 4 ข้อเสนออื่น ๆ ในการเพิ่มประสิทธิภาพของโครงการ ของกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่ม ซี.พี เสร็จเรียบร้อยแล้ว ต่อจากนี้จะเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจา

ซี.พี.ยื่น 11 ข้อเสนอพิเศษ

โดยกลุ่ม ซี.พี.มีข้อเสนอเพิ่มเติมสรุปได้ทั้งสิ้น 11 ประเด็น คณะกรรมการคัดเลือกรับข้อเสนอไว้ 3 ประเด็น ที่ประเมินแล้วเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพให้โครงการ โดย 1 ใน 3 มีรับแบบมีเงื่อนไข 1 ประเด็น เป็นการสร้างศูนย์ฝึกอบรมเฉพาะทางด้านระบบรางอย่างยั่งยืน อีก 8 ประเด็นไม่สามารถรับได้ เนื่องจากคณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ และไม่อยู่ในเงื่อนไขทีโออาร์

อย่างไรก็ตาม คณะกรรมการคัดเลือกจะเก็บข้อเสนอที่มีทุกข้อไว้ โดยกลุ่ม ซี.พี.จะนำข้อเสนอที่คณะกรรมการไม่รับไว้ ไปปรับเปลี่ยนเพื่อเสนอใหม่ในขั้นตอนเจรจาก็ได้ ที่สำคัญจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน พิจารณาอีกรอบหนึ่ง เพราะคณะกรรมการคัดเลือกมีกรอบที่ต้องปฏิบัติตามร่างสัญญาทีโออาร์ บางข้อเสนอจึงไม่สามารถรับได้ แต่หาก กพอ.มีความเห็นว่าควรรับข้อเสนอไว้ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้ตามที่กฎหมายระบุ

ขณะที่การเจรจา คณะกรรมการคัดเลือกได้นำเอกสารข้อเสนอเพิ่มเติมที่กลุ่ม ซี.พี.ส่งมาเมื่อวันที่ 9 ม.ค. จำนวน 200 หน้า 108 ประเด็น มาจัดให้อยู่ในกรอบเจรจา 4 กรอบ แต่ไม่สามารถเปิดเผยกรอบทั้ง 4 กรอบได้ว่าเกี่ยวกับเรื่องอะไร เพราะมีผลกับการเจรจา

นัดเจรจา 25 ม.ค.นี้

“คณะกรรมการคัดเลือกจะส่งหนังสือสรุปผลการพิจารณาซองที่ 4 ให้กลุ่ม ซี.พี. และตอบกลับกรอบเจรจาพร้อมจดหมายตอบกลับนัดหมายวันเวลาที่จะดำเนินการเจรจาร่วมกัน เบื้องต้น คณะกรรมการคัดเลือกขอให้เริ่มเจรจาภายใน 25 ม.ค.นี้ แต่กลุ่ม ซี.พี.ขอหารือกับพันธมิตรก่อน และจะหาเวลาที่เหมาะสมต่อไป”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า สำหรับรายละเอียดของข้อเสนอซอง 4 และกรอบการเจรจา ไม่สามารถเปิดเผยได้ เพราะมีรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเป็นจำนวนมาก และติดกรอบสัญญาทีโออาร์

ส่วนข้อเสนอที่มีการนำเสนอตามหน้าสื่อ เช่น การต่อขยายไป จ.ระยอง และการทำสเปอร์ไลน์ การย้ายตำแหน่งสถานี ยอมรับว่าพูดคุยกัน แต่คณะกรรมการคัดเลือกเห็นว่าควรนำส่วนนี้ไปใส่แนบท้ายในเงื่อนไขสัญญา เพราะในสัญญาทีโออาร์ไม่ได้ระบุให้ดำเนินการในส่วนนี้ แล้วไปเปิดการเจรจาในอนาคตดีกว่า

ไม่มีการันตีผลตอบแทน

“การการันตีผลตอบแทน 6.75% ไม่มีการพูดถึง เพราะรัฐไม่สามารถการันตีผลตอบแทนให้เอกชนได้ เอกชนต้องรับรู้ความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอยู่แล้ว ขณะเดียวกัน กลุ่ม ซี.พี.ได้ชี้แจงว่า ข้อเสนอต่ำสุดที่เสนอมา 117,227 ล้านบาท เป็นข้อเสนอที่ ซี.พี.สามารถทำได้ แต่ต้องรับความเสี่ยงสูงมาก แต่ไม่ได้ขอให้รัฐมีมาตรการเพิ่มเติมทางการเงินแต่อย่างใด”

ส่วนการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้น เบื้องต้นคณะกรรมการคัดเลือกขอให้ยึดตามสัญญาทีโออาร์ไปก่อน หากจะดำเนินการเปลี่ยนแปลงต้องกลับไปดูทีโออาร์ก่อนว่ามีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง และจะต้องแจ้งมาที่การรถไฟฯก่อน เพื่อให้ความเห็นชอบในการเปลี่ยนแปลงผู้ถือหุ้น หรือสัดส่วนการถือหุ้นต่อไป

เลื่อนเซ็นสัญญา

“การพิจารณาข้อเสนอต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะทุกอย่างเกี่ยวพันกันหมด และต้องดูเป็นภาพรวมทั้งโครงการ ซึ่งจากขั้นตอนทั้งหมดจะทำให้การลงนามสัญญาที่กำหนดไว้ วันที่ 31 ม.ค.นี้ ต้องเลื่อนออกไปแน่นอน จะเลื่อนนานแค่ไหนขึ้นอยู่กับผลการเจรจาว่าจะตกลงกันได้รวดเร็วแค่ไหน โดยคณะกรรมการคัดเลือกจะทำเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี ขอเลื่อนกรอบการลงนามออกไปก่อน”

รายงานข่าวแจ้งว่า ข้อเสนอซอง 4 ทางกลุ่ม ซี.พี.มีสิทธิเสนอ แต่การพิจารณาขึ้นอยู่กับคณะกรรมการคัดเลือกจะรับหรือไม่รับ ซึ่งข้อเสนอไหนที่ผิดไปจากมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ทีโออาร์ และขัดกับความเป็นธรรมกับรายอื่น ยังไงคณะกรรมการคงไม่รับพิจารณา เช่น การให้รัฐการันตีกำไร 6.75% การขอให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนในปีแรก เป็นต้น

รัฐรับ 3 ข้อเสนอยั่งยืน

“กลุ่ม ซี.พี.มีข้อเสนอทุกเรื่องในซองที่ 4 เพื่อยื่นเสนอเผื่อไว้เจรจากับรัฐ และปิดจุดเสี่ยงของโครงการ ที่สุดแล้วรัฐคงให้ได้ตามที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ และมติ ครม. อย่างการจ่ายเงินอุดหนุน 10 ปี ก็ต้องเริ่มปีที่ 6-15 ส่วนข้อเสนออื่น ๆ อะไรที่เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพโครงการ รัฐจะรับไว้พิจารณามี 3 เรื่องเกี่ยวกับความยั่งยืน คือ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านระบบราง การจ้างงาน และศูนย์ซ่อมบำรุงและโรงงานประกอบรถไฟฟ้า”

นอกจากนี้ กลุ่ม ซี.พี.ยังเสนอรายได้เพิ่มเติมให้รัฐอีกปีละ 30 ล้านบาท รวม 10 ปี เป็นวงเงิน 300 ล้านบาท อีกทั้งยังเสนอผลตอบแทนรายได้การพัฒนาเชิงพาณิชย์สถานีมักกะสัน 159 ไร่ และสถานีศรีราชา 25 ไร่ ให้รัฐเพิ่มเติมจากค่าเช่าที่ดิน ในกรณีที่มีรายได้เกินจากที่ประมาณการไว้เป็นระยะเวลา 10 ปี เกือบ 10,000 ล้านบาท นอกเหนือจากค่าเช่าที่จ่ายให้ตลอดอายุสัญญา 50 ปี 56,138 ล้านบาทแล้ว

รายงานข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับอัตราค่าโดยสารและปริมาณผู้โดยสาร ทางกลุ่ม ซี.พี.เสนอมาใกล้เคียงกับผลการศึกษาที่ ร.ฟ.ท.ศึกษาไว้ โดยในปี 2566 ซึ่งเป็นปีแรกเปิดบริการ จะมีผู้โดยสารช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิเฉลี่ยอยู่ที่ 103,920 เที่ยวคนต่อวัน และช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง อยู่ที่ 65,630 เที่ยวคนต่อวัน ด้านอัตราค่าโดยสารจากมักกะสัน-พัทยาอยู่ที่ 270 บาท/เที่ยว และจากมักกะสัน-อู่ตะเภาอยู่ที่ 330 บาท/เที่ยว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับพันธมิตรของกลุ่ม ซี.พี. ประกอบด้วย บมจ.อิตาเลียนไทย ถือหุ้น 5% บริษัท CRCC ถือหุ้น 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) ถือหุ้น 15% ส่วน ซี.พี.ถืออยู่ 70% เมื่อการเจรจาได้ข้อยุติ ทางกลุ่ม ซี.พี.ต้องจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจ หรือ SPV ขึ้นมาดำเนินการโครงการตลอดอายุสัญญา 50 ปี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 4:56 pm    Post subject: Reply with quote

เมืองสระบุรีต้องเปลี่ยน รองรับรถไฟความเร็วสูง
จันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 15.21 น.

นายกสมาคมการผังเมืองไทย เผยเมืองสระบุรีต้องเปลี่ยน เพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่จะมีประชาชนและนักท่องเที่ยวเดินทางพักที่สระบุรีไม่น้อยกว่า 1 หมื่นคนต่ิอวัน

นายฐาปนา บุณยประวิตร นายกสมาคมการผังเมืองไทย และหัวหน้าโครงการวิจัยการพัฒนากลไกการพัฒนาเมืองอย่างชาญฉลาด เพื่อยกระดับเศรษฐกิจและสังคมหรือ SG-ABC ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) กล่าวว่า หลังจากกรมทางหลวง (ทล.) เปิดให้บริการมอเตอร์เวย์ สายบางปะอิน-นครราชสีมา และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่สถานี จ.สระบุรี แล้วจะมีประชากรชั่วคราวจากกลุ่มผู้เดินทางเข้ามาพักมากกว่าวันละ 3,000 คน รวมถึงนักท่องเที่ยวและผู้เข้าประชุมอีกไม่น้อยกว่าวันละ 7,000 คนหรือรวมไม่น้อยกว่า 10,000 คนต่อวัน ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการใช้จ่ายเฉลี่ยที่ 500 ล้านบาทต่อเดือน เมื่อรวมกับการเติบโตของธุรกิจบริการที่รองรับการเดินทางท่องเที่ยว ประชุม การค้าปลีกการนันทนาการ และการบริการที่เกี่ยวเนื่องจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จังหวัด (GPP) สูงขึ้นไม่น้อยกว่า1เท่าตัวในปี 70

นายฐาปนา กล่าวต่อว่า จากผลการศึกษาดังกล่าวทาง จ.สระบุรีเทศบาลเมืองสระบุรีหอการค้า จ.สระบุรีและภาคส่วนต่างๆ ได้ร่วมกันจัดงานทดสอบสถานการณ์จำลอง เพื่อการปรับปรุงฟื้นฟูศูนย์เศรษฐกิจไมซ์ถนนสุดบรรทัด (มอมอSaraburimore/Saraburi Tactical Urbanism#1) เมื่อวันที่ 21 ม.ค. 62 บริเวณหน้าสถานีขนส่งสระบุรีโดยเทศบาลเมืองสระบุรีรับผิดชอบการปรับปรุงกายภาพถนน และทางเดินด้านหน้าสถานีขนส่งให้เป็นจุดหมายตา และจุดรวมกิจกรรมสร้างสรรค์เศรษฐกิจในฐานะศูนย์กลางของพื้นที่ร่วมกับสมาคมการผังเมืองไทยและบริษัทสระบุรีพัฒนาเมือง จำกัด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42708
Location: NECTEC

PostPosted: 21/01/2019 4:57 pm    Post subject: Reply with quote

ระงับไฮสปีดกรุงเทพ-หัวหิน หวั่นเอกชนเมินลงทุนไม่คุ้ม
จันทร์ที่ 21 มกราคม 2562 เวลา 13.45 น.

เอกชนเดินรถต่อไฮสปีดสามสนามบินเฟส 2 รถไฟหัวหินไม่ได้ไปต่อ ชี้ไม่คุ้มทุน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมแจ้งว่า กรณีที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างประกวดราคาสัญญาจ้างเอกชนเข้ามาศึกษาแผนโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา(อีอีซี)เฟส2ช่วงอู่ตะเภา-ตราดระยะทาง 300-400กม.งบประมาณมากกว่า3แสนล้านบาทนั้น รฟท.ได้ระบุในข้อเสนอการว่าจ้างให้บริษัทที่ชนะประมูลไปศึกษาแนวทางให้เอกชนที่เดินรถเฟส1ช่วงกรุงเทพ-อู่ตะเภา เข้ามาเดินรถในเฟส 2 ด้วย โดยไม่ต้องเปิดประมูล เพื่อความสะดวกสบายของประชาชนหรืออาจมีการจ้างเอกชนรายเดิมเดินรถเหมือนกับ กรณีรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินส่วนต่อขยายของการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ปัจจุบันถือว่าการว่าจ้างที่ปรึกษาเข้ามาดูภาพรวมของโครงการเฟส 2 ถือว่าล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากขั้นตอนจัดซื้อที่เพิ่มขึ้นตามกฎหมายใหม่และเจ้าหน้าที่ขาดประสบการณ์ ดังนั้น รฟท.จึงตั้งเป้าลงนามสัญญาว่าจ้างให้ได้ภายในสิ้นเดือน ม.ค.หรืออย่างช้าต้นเดือน ก.พ.62

รายงานข่าวแจ้งต่อว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-หัวหิน ระยะทาง 209 กม. วงเงินลงทุน 1 แสนล้านบาทนั้น รฟท. ได้สั่งชะลอโครงการออกไปก่อน เนื่องจากพบว่าระยะทางดังกล่าวไม่คุ้มค่าในการลงทุนเกรงว่า เอกชนจะไม่สนใจโครงการจึงต้องการพัฒนาเป็นเส้นทางสายยาวแทนช่วงกรุงเทพ-สุราษฎร์ธานีระยะทาง 635 กม. วงเงินลงทุนมากกว่า 6 แสนล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการของบประมาณจ้างเอกชนเข้ามาศึกษาคาดว่าจะเริ่มศึกษาได้ในปี 63 ทั้งนี้เส้นทางดังกล่าวถือว่าเป็นรถไฟไฮสปีดสายยาวใช้วงเงินลงทุนเยอะ จึงไม่แน่ใจว่าฝ่ายนโยบายในอนาคตจะยังเดินหน้ารถไฟไฮสปีดสายใต้ต่อหรือไม่และหากจะลดเส้นทางเหลือแค่ช่วงกรุงเทพ-ประจวบคีรีขันธ์ หรือ กรุงเทพ-ชุมพร ก็ยังคงไม่สะท้อนความคุ้มค่าเท่ากับสิ้นสุดสถานีสุดท้ายที่ จ.สุราษฎร์ธานี เพราะถือเป็นประตูการท่องเที่ยวภาคใต้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 301, 302, 303 ... 545, 546, 547  Next
Page 302 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©