RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13180582
ทั้งหมด:13491817
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 317, 318, 319 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 11:12 am    Post subject: Reply with quote

บีบจีนลดราคาไฮสปีดรุ่นใหม่ “อาคม”เผยร่างสัญญาระบบ 2.3 เหลือเจรจาอีก15 ข้อ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 26 เมษายน 2562 08:01


ยังคุยไม่ลงตัว หลังวิดีโอคอนเฟอเรนซ์”รถไฟไทย-จีน “ เจรจาราคาสัญญาระบบ 2.3 ยังเกินกรอบ 4.5 หมื่นล. กรณีเปลี่ยนตัวรถเป็นรุ่นใหม่ “ฟู่ซิงเฮ่า” ด้านอาคม เผยเงื่อนไขสัญญา เคลียร์ได้แล้ว 6 ข้อ เหลืออีก 15 ข้อ ยันยึดกม.ไทยเป็นหลัก

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. วงเงินลงทุนรวม 179,412.21 ล้านบาท ภายใต้ความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ว่า ขณะนี้ การเจรจาข้อตกลงร่างสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน อยู่ที่ 4.5

หมื่นล้านบาท ซึ่งเพิ่มจากกรอบที่ครม. อนุมัติไว้ที่ 38,558.35 ล้านบาท เนื่องจาก จะมีการโยกย้ายเนื้องาน บางส่วนเช่น งานที่ปรึกษา งานควบคุมงาน ประมาณ 7 พันล้านบาท แต่ไม่ทำให้กรอบโครงการรวม ที่ 1.79 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด

โดย ที่ผ่านมา ฝ่ายไทย ได้ประชุมผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ กับนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีนและคณะ 2 ครั้ง เพื่อหารือถึงข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคคลากร แต่ยังมีไม่ได้ข้อยุติ

ทั้งนี้ การเจรจายังเหลือ2 ประเด็นที่ตกลงไม่ได้ คือกรอบวงเงินสัญญา 2.3 ที่ยังเกิน 4.5 หมื่นล้านบาทและเงื่อนไขในร่างสัญญาซึ่งต้องยึดตามกฎหมายไทย ซึ่งมีประมาณ 21 ข้อ โดยได้ข้อสรุปไปแล้ว 6 ข้อ อย่างไรก็ตาม

รายงานข่าว แจ้งว่า กรอบวงเงินที่เกิน 4.5 หมื่นล้านบาท มาจากการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูงจากรุ่น “เหอเสีย”เป็นรถรุ่นใหม่ล่าสุด “ฟู่ซิงเฮ่า”ซึ่งมีเทคโนโลยี ทันสมัยขึ้น และประหยัดพลังงานมากกว่า ทำให้ราคาตัวรถสูงกว่าเดิม

ส่วนกรณี เงื่อนไขสัญญา จีนเสนอเงื่อนไขที่ไทยไม่สามารถรับไม่ได้ เช่นค่าปรับกรณีการทำงาน และค่าปรับกรณีงานก่อสร้างงานโยธา ที่ฝ่ายไทย ทำล่าช้า จีนจะขอเคลมเป็นเงิน เป็นต้น

อย่างไรก็ตามการเจรจาเงื่อนไข สัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน นั้น จะต้องรอบคอบและที่สำคัญไทยต้องไม่เสียเปรียบ ซึ่งยังมีเวลา เนื่องจาก ต้องรอการก่อสร้างงานโยธาอีก โดยขณะนี้ ยังประมูลและเริ่มก่อสร้างไปเพียง 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ขณะที่การเปิดเดินรถช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา กำหนดไว้ในปี 2565
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 11:21 am    Post subject: Reply with quote

ถกอึดกว่า 12 ชม.เจรจาเงื่อนไข"ซีพี" สัญญา รถไฟ3สนามบิน ยังไม่ลงตัว
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: 25 เมษายน 2562 21:40


ถก มาราธอน กก.คัดเลือก รถไฟ3 สนามบิน ประชุมตั้งแต่ 9 โมง ครึ่ง กว่า 12 ชม .ยังไม่ยุติเจรจา "วรวุฒิ" เผย ตั้งเป้า ปิดจ๊อบเจรจาเงื่อนไขสัญญส"ซีพี" เสนอบอร์ด รฟท. วันที่ 26 เม.ย.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (25 เม.ย.) ตั้งแต่ 09.30 น. คณะกรรมการคัดเลือก รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน" ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา" ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ซึ่งมีนางพฤฒิพร เนติโพธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด ทำหน้าที่เป็นประธาน เนื่องจาก นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ติดภารกิจเดินทางไปต่างจังหวัด

โดยคณะกรรมการคัดเลือก ฯได้พิจารณา เงื่อนไขร่างสัญญา โดยหารือกันจนถึงช่วงเที่ยง จากนั้น ได้มีการพักประชุม และเริ่ม การประชุมอีกครั้งราว 16.00 น.

โดยในระหว่างนั้น ยังไม่มีการเจรจากับทางผู้แทนกลุ่มซีพี. ซึ่งรออยู่อีกห้อง

และเนื่องจาก คณะกรรมการคัดเลือก ฯ ต้องการสรุปการเจรจาให้ได้ข้อยุติ ในวันที่ 25เม.ย. เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท. ที่มีนายกุลิศ สมบัติศิริ เป็นประธาน ซึ่งบอร์ดจะประชุมในวันนี้ (26 เม.ย.) ขณะที่ ทางกลุ่มซีพี.ต้องการให้นายวรวุฒิ ร่วมประชุมก่อนที่จะสรุปผลทั้งหมดด้วย

ซึ่ง นายวรวุฒิ มีกำหนดเดินทางกลับจากต่างจังหวัด ในช่วงเย็น และได้เข้าประชุมในเวลา 20.00 น.

จากนั้น เวลา20.47 น. คณะกรรมกมาคัดเลือก จึงเชิญผู้แทนกลุ่ม ซีพี เข้าห้องประชุม


ไฮสปีด3สนามบินจบแน่ 26 เมษา... 28 พฤษภาเข้าครม.
เผยแพร่: 23 เมษายน 2562


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่าโครงการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ได้ประกาศเชิญชวนการร่วมลงทุนระหว่างเดือน มี.ค. – เม.ย. 2561 โดยเบื้องต้นมีเอกชนซื้อเอกสารประมูลจํานวน 31 ราย ต่อมามีเอกชนยื่นข้อเสนอโครงการฯ 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มกิจการร่วมค้าบีเอสอาร์ (กลุ่ม BSR) และ (2) กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จํากัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH)
สำหรับการประเมินข้อเสนอแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 21 ม.ค.2562 กลุ่ม CPH เป็น “ผู้ยื่นข้อเสนอด้านการลงทุนและผลตอบแทนที่ผ่านการพิจารณา” และคณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้เข้าสู่ขั้นตอนการเจรจากับกลุ่ม CPH โดยประชุมเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนไปแล้วทั้งสิ้น 6 ครั้ง และประชุมคณะทํางานย่อยเพื่อเจรจาสัญญาไปแล้วทั้งสิ้น 5 ครั้ง ซึ่งจะบรรลุข้อตกลงในการเจรจาภายใน 26 เมษายน 2562 นี้ทั้งนี้ ขั้นตอนการดําเนินการต่อไป

1.การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะจัดส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนที่เจรจากับผู้ผ่านการประเมินให้สํานักงานอัยการสูงสุด(อสส.)ตรวจพิจารณา โดย อสส.จะแจ้งผลการตรวจพิจารณาต่อ รฟท.
2. สํานักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(กพอ.) จะเสนอผลการคัดเลือกเอกชนผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนให้ กพอ พิจารณา
3.เสนอให้ ครม.
4.รฟท.ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนที่ได้รับการคัดเลือก โดยคาดว่าขั้นตอนทั้งหมดจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤษภาคม 2562

คณะกรรมการคัดเลือกฯจะประชุมช่วง 16.00 น.วันนี้เพื่อสรุปรายละเอียดว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรคาดว่าประเด็นหลักประเด็นย่อยไม่มีแล้ว ก็น่าจะนัดสรุปผลกับกลุ่มซีพีในวันที่ 25 เมษายนนี้ พร้อมกันนี้ยังสามารถส่งร่างสัญญาให้อสส.ควบคู่กันไปด้วย คาดว่าจะเป็นวันที่ 10 พฤษภาคมนี้ พร้อมเสนอ กพอ.15 พฤษภาคม หลังจากนั้นจะเสนอครม.ในวันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ต่อไปคาดว่าจะเลยกำหนดลงนามจากเดิมที่กำหนดไว้ในเดือนมีนาคม-เมษายนไปเป็นเดือนพฤษภาคมนี้”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 26/04/2019 11:27 am    Post subject: Reply with quote

เจรจาซีพีลงตัว! มั่นใจเซ็นสัญญาไฮสปีด 3 สนามบิน 15 มิ.ย.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 26 เมษายน 2562 10:50
ปรับปรุง: 26 เมษายน 2562 16:16




ร.ฟ.ท.เจรจาซีพีลงตัว มั่นใจเซ็นสัญญาไฮสปีด 3 สนามบินใน 15 มิ.ย. 2562 หลังปิดเงื่อนไขปลีกย่อยได้หมดทุกประเด็น หลังคณะกรรมการคัดเลือกประชุมยาวกว่า 14 ชม. “วรวุฒิ” ยืนยันไม่มีข้อเสนอนอก TOR และเงื่อนไข RFP นัดซีพีตรวจสัญญารายละเอียดอีกครั้งวันนี้ (26 เม.ย.) เพื่อเสนออัยการตรวจร่างสัญญา

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 เม.ย. คณะกรรมการคัดเลือกรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน “ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ระยะทาง 220 กม. มูลค่า 224,544 ล้านบาท ได้หารือในประเด็นร่างสัญญาที่เกี่ยวกับความเสี่ยงที่เป็นข้อปลีกย่อย 60-70 ข้อ เหลือที่ยังเข้าใจไม่ตรงกันประมาณ 10 กว่าข้อ ในที่สุดการการเจรจาได้ข้อยุติร่วมกันหมดแล้ว สามารถปิดประเด็นได้ครบหมด เช่น ค่าปรับ กรณี ร.ฟ.ท.เป็นฝ่ายผิดสัญญา เช่น กรณี ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่ให้ล่าช้า ตามหลักจะให้เป็นการขยายเวลาเท่านั้น ซึ่งเป็นปกติกรณีที่ ร.ฟ.ท.เป็นฝ่ายผิด ทางซีพีขอเป็นเงินค่าปรับด้วยซึ่งใช้เวลาเจรจากันนานจนได้ข้อยุติว่าจะยึดตามระเบียบ กรณี ร.ฟ.ท.เป็นฝ่ายผิดจะชดเชยเรื่องขยายเวลาเท่านั้น ไม่มีการชดเชยเป็นตัวเงินกรณีที่เอกชนกู้เงินจากธนาคาร แล้วจะกำหนดสัดส่วนที่ธนาคารจะสามารถเข้ามาเทกโอเวอร์โครงการได้นั้น ในหลักปฏิบัติทำไม่ได้ เป็นต้น

ทั้งนี้ ในวันนี้ (26 เม.ย.) คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้นัดกลุ่มซีพีมาเจรจาอีกครั้งในเวลา 09.00 น. เพื่อสรุปรายละเอียดปลีกย่อยทั้งหมดรอบสุดท้าย โดยจะดูทีละข้อทั้ง 60-70 ข้อ เพื่อให้ตรงกันทั้งหลักการและข้อความที่ได้ตกลงกันไว้ เพื่อเขียนไว้ในสัญญา โดยเป็นไปตาม TOR และอยู่ในรอบข้อเสนอโครงการ (RFP) และรายงานบอร์ด ร.ฟ.ท.รับทราบคู่ขนาน

จากนั้นจะจัดส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณา โดยสำนักงานอัยการสูงสุดจะแจ้งผลการตรวจพิจารณาโดยเร็วภายในวันที่ 10 พ.ค. เพื่อสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) จะเสนอผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุนให้ กพอ.พิจารณาภายในวันที่ 15 พ.ค. 62 และคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ในวันที่ 28 พ.ค. ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพีและพันธมิตร (CPH) ได้ภายใน 15 มิ.ย. 2562

นอกจากนี้ คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้หารือถึงกรณีที่จะต้องตั้งองค์กรขึ้นมาบริหารโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นไปตาม พ.ร.บ.อีอีซี ที่ได้กำหนดโครงสร้างองค์กรการบริหารโครงการ ซึ่งตาม พ.ร.บ.อีอีซี กำหนดให้มีคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการซึ่งจะมีผู้แทนของซีพีเข้าร่วมด้วย และภายใต้คณะกรรมการกำกับโครงการจะมีคณะกรรมการบริหารโครงการ โดยมีหน้าที่ในการทำงานดูแลโครงการอย่างใกล้ชิด และมีองค์ประกอบการ 5 ฝ่าย โดยกำหนดอัตราประมาณ 30 คน โดยเป็นการคัดสรร จาก ร.ฟ.ท.และจากอีอีซีเข้าไป



ขณะที่ ร.ฟ.ท.กังวลว่าหากโอนย้ายคน ร.ฟ.ท.ไปแล้วจะกระทบต่ออัตรากำลังของ ร.ฟ.ท.ซึ่งปัจจุบันมีปัญหาขาดแคลนอยู่แล้ว จึงหารือกันว่าต้องการให้อีอีซีพิจารณากรณีต้องการคนของ ร.ฟ.ท.ไปไปยังคณะกรรมการบริหารโครงการฯ ควรเป็นการย้ายออกจาก ร.ฟ.ท.เด็ดขาด และให้ ร.ฟ.ท.จัดหาอัตรากำลังมาทดแทนได้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/04/2019 6:56 pm    Post subject: Reply with quote

ลด 400 ล้าน! จีนใจป้ำลดค่าระบบรถไฟไทย-จีน “กทม.-โคราช” เหลือ 50,600 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 April 2019 - 17:57 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงได้สรุปผลการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2562 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนให้ ครม.รับทราบ


โดยได้มีการเจรจาหารือข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร

ล่าสุด กรอบวงเงินเพิ่มขึ้นจาก ครม.อนุมัติ 38,588 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำวงเงินในส่วนของเครื่องจักรกลบำรุงทางวงเงิน 7,000 ล้านบาท จากเดิมรวมอยู่ในงานโยธามารวมไวัในสัญญา 2.3 ด้วย รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง เป็นรถรุ่นใหม่มีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น และการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟแบบไม่ใช่หินโรยทาง

จึงทำให้กรอบวงเงินเพิ่มเป็น 51,000 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายไทยตั้งเป้าจะเจรจาจีนให้ลดราคาลงมาอยู่ที่ประมาณ 50,000 ล้านบาท แต่สามารถเจรจาลดกรอบวงเงินเหลือ 50,600 ล้านบาท รวมทั้งการพิจารณาเงื่อนไขในข้อสัญญาทั้ง 21 ข้อ โดยมี 3 ข้อที่ขอให้คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) พิจารณาเงื่อนไขสัญญา

นอกจากนี้ยังมีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ (MOC) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์ เพื่อผลักดันไปสู่การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ทั้ง 3 ประเทศ โดยมีขนาดทางรถไฟ 1 เมตร และขนาด 1.435 เมตรอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 30/04/2019 7:49 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ลด 400 ล้าน! จีนใจป้ำลดค่าระบบรถไฟไทย-จีน “กทม.-โคราช” เหลือ 50,600 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 April 2019 - 17:57 น.


ไทยต่อรองสัญญา 2.3 ค่าระบบไฮสปีดจีนได้ที่ 5.06 หมื่นล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 30 เมษายน 2562 18:28
ปรับปรุง: 30 เมษายน 2562 18:30




คมนาคมรายงานครม. เจรจา รถไฟไทย-จีน ต่อรองค่างานระบบรถไฟฟ้า สัญญา 2.3 ได้ที่ 5.06 หมื่นล. หลังเปลี่ยนรถเป็นรุ่นใหม่ และก่อสร้างทางแบบไม่ใช่หินโรยทาง

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้รายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) วันที่ 30 เม.ย. ถึงผลการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 - 27 เมษายน 2562 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีนซึ่ง ได้มีการเจรจาหารือข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีนเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร

ซึ่งมีการปรับ กรอบวงเงินเพิ่มขึ้นจากครม.อนุมัติ 38,588 ล้านบาท เนื่องจากมีการนำวงเงินในส่วนของเครื่องจักรกลบำรุงทางวงเงิน 7,000 ล้านบาท จากเดิมรวมอยู่ในงานโยธา มารวมไวัในสัญญาระบบ 2.3 ด้วย รวมถึงมีการปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง เป็นรถรุ่นใหม่มีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น และการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟแบบไม่ใช่หินโรยทาง

จึงทำให้กรอบวงเงินเพิ่มกว่า 51,000 ล้านบาท ซึ่งฝ่ายไทยสามารถเจรจาลดกรอบวงเงินเหลือ 50,600 ล้านบาท รวมทั้งการพิจารณาเงื่อนไขในข้อสัญญาทั้ง 21 ข้อ โดยมี 3 ข้อที่ขอให้คณะกรรมการ(บอร์ด)การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) พิจารณาเงื่อนไขสัญญา

นอกจากนี้ ยังได้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ(MOC) ระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ระหว่างหนองคาย - เวียงจันทน์ เพื่อผลักดันไปสู่การเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟ ทั้ง 3 ประเทศ โดยมีขนาดทางรถไฟ 1 เมตร และขนาด 1.435 เมตรอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2019 3:15 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
ลด 400 ล้าน! จีนใจป้ำลดค่าระบบรถไฟไทย-จีน “กทม.-โคราช” เหลือ 50,600 ล้าน
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 30 April 2019 - 17:57 น.


ไทยต่อรองสัญญา 2.3 ค่าระบบไฮสปีดจีนได้ที่ 5.06 หมื่นล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 30 เมษายน 2562 18:28
ปรับปรุง: 30 เมษายน 2562 18:30


เซฟไปอีก 549 ล้านบาท"รถไฟไทย-จีน"
ข่าว เศรษฐกิจ-โลจิสติกส์
เดลินิวส์
อังคารที่ 30 เมษายน 2562 เวลา 18.03 น.

เซฟไปอีก 549 ล้านบาท จีนยอมลดวงเงินสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน รวม 3,225 ล้าน ไฟนอลทั้งสัญญาวงเงินอยู่ที่ 5.06 หมื่นล้านคาดเสนอ ครม. ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้


          
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเจรจารถไฟไทย-จีน สัญญาที่ 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) ว่า ในการประชุมความร่วมมือระหว่างประเทศ “หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง” (Belt and Road Forum of International Cooperation ) (BRF) ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 25-27 เม.ย.ที่ผ่านมา ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้มีการเจรจาต่อรองราคาสัญญาที่ 2.3 จากเดิมที่เกินจากกรอบวงเงินที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติ 38,558 ล้านบาทนั้น ในการเจรจาต่อรองครั้งล่าสุด ทั้ง 2 ฝ่ายได้ตกลงราคาอยู่ที่ 50,600 ล้านบาท โดยสามารถปรับลดวงเงินได้อีก 549 ล้านบาท หลังจากที่ก่อนหน้านี้สามารถปรับลดวงเงินได้ที่ 2,676 ล้านบาท รวมสามารถปรับวงเงินได้ทั้งหมด 3,225 ล้านบาท ขณะที่ ในส่วนของเงื่อนไขข้อสัญญานั้น มอบหมายให้คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และคณะกรรมการบริหารโครงการฯ จะต้องพิจารณาเพิ่มเติม 4 ข้อ จากจำนวนทั้งหมด 21 ข้อ เช่น วงเงินค้ำประกัน ข้อกำหนดของการประกันภัย เป็นต้น อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ จะนำเสนอไปยังคณะกรรมการบริหารโครงการ, บอร์ด รฟท. และคาดว่าจะเสนอให้ ครม.พิจารณาได้ภายใน 1-2 สัปดาห์นี้

นายอาคม กล่าวต่อว่า วงเงินที่เกินจากงบที่ขออนุมัติไว้ มีส่วนเปลี่ยนแปลง 2 เรื่อง คือ

1.การเปลี่ยนรถรุ่นใหม่ โดยตอนเริ่มทำลงนามบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับฝ่ายจีน รถรุ่นนั้น เลิกผลิตและเปลี่ยนแบบรุ่นไปแล้ว และ
2.มีการเพิ่มค่าใช้จ่ายหินโรยทาง โดยจะไม่มีหินโรยทาง เปลี่ยนเป็นคอนกรีต ที่จะใช้กับสถานีใหญ่ รวมถึงการย้ายการดำเนินการบางส่วนจากสัญญา 2.1 สัญญา 2.2 มาที่สัญญา 2.3 และจากการเจรจาล่าสุด ก็สามารถลดวงเงินได้ทั้งหมด 3,225 ล้านบาท และ
ในเรื่องของขบวนรถนั้น ชิ้นส่วนไหน ผลิตในประเทศไทยได้ ขอให้ใช้ในไทย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/05/2019 5:56 pm    Post subject: Reply with quote

ชงร่างสัญญากว่า 41 ข้อให้อสส. รฟท.เร่งปิดดีลรถไฟเชื่อม3สนามบิน
29 เมษายน 2562

รฟท.ส่งร่างสัญญาร่วมทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3 สนามบินกว่า41 ข้อ เกือบ200 หน้าให้อัยการสูงสุดพิจารณาก่อนนำรายงานบอร์ด10 พ.ค.นี้พร้อมเร่งลงนามสัญญาภายใน15 มิ.ย.62



นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) กล่าวว่าได้ส่งร่างสัญญาร่วมลงทุนพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้สำนักงานอัยการสูงสุด(อสส.) ตรวจสอบรายละเอียดแล้วหลังจากนี้จะต้องรอให้อสส. ตรวจร่างสัญญาที่มีกว่า41 ข้อความหนาเกือบ200 หน้านั้นซึ่งคาดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณ10 วันโดยจะเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการรฟท.ในวันที่10 พฤษภาคมนี้ต่อจากนั้นจะเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกเห็นชอบต่อไปอย่างไรก็ตามคาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในวันที่15 มิถุนายนนี้ด้านแหล่งข่าวคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนรายหนึ่งกล่าวว่าหากนับจำนวนร่างสัญญาน่าจะเกือบ200 แผ่นโดยแบ่งเป็นกว่า41 หัวข้อหลักครอบคลุมทั้งด้านกฏหมายด้านคุณสมบัติเกี่ยวกับสเปคด้านระบบรถไฟฟ้าปมปัญหาที่เกี่ยวข้องกับข้อพิพาทต่างๆตลอดจนด้านเทคนิคเป็นต้น “รายละเอียดต่างๆนั้นร่างเอกสารร่วมลงทุนได้มีการระบุเอาไว้เบื้องต้นแล้วอาทินิยามและการตีความลำดับความสำคัญความเป็นมาวัตถุประสงค์ขอบเขตสิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาระยะเวลาโครงการเงื่อนไขต่างๆกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการผลประโยชน์ตอบแทนให้รฟท.และคู่สัญญาค่าโดยสารการประกันสัญญาหนังสือรับประกันผู้ถือหุ้นภาษีอากรและค่าธรรมเนียมการก่อภาระผูกพันต่างๆเป็นต้น” โดยโครงการนี้มีระยะเวลา50 ปีบวกงานก่อสร้างอีก4 ปีงานด้านโอเปอเรชั่นจึงมีความสำคัญการบริหารสัญญาตั้งแต่การก่อสร้างจึงต้องรอบคอบรัดกุมประการสำคัญในสัญญาจะต้องไม่ให้รัฐเสียประโยชน์ประชาชนผู้ใช้บริการจะต้องไม่เสียประโยชน์ด้วยเช่นกัน “ด้านที่เกี่ยวข้องแต่ละด้านจึงต้องรัดกุมยกตัวอย่างด้านเกี่ยวกับคมนาคมจะมีการระบุรายละเอียดสเปคการบริการ เมื่อเกิดอาการเสียจะต้องบริหารจัดการอย่างไรไม่ให้กระทบต่อการให้บริการสภาพรถต้องเป็นไปตามที่ระบุไว้ในสัญญาประการสำคัญจะต่อเนื่องมาจากRFP ที่จะเกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายทั้งหมดเพียงแต่อาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามที่ต่อรองกันเท่านั้น”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 02/05/2019 5:17 pm    Post subject: Reply with quote

กระทรวงคมนาคมชี้แจงกรณีสื่อมวลชนนำเสนอข่าวการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ - นครราชสีมา)
https://www.facebook.com/sod.mot/posts/2701677209848354
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2019 1:03 am    Post subject: Reply with quote

ปิดดีลไฮสปีด ซี.พี. บี้รัฐส่งมอบพื้นที่ แลกแบกดอกเบี้ย 15 ปี
พร็อพเพอร์ตี้
วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม 2562 เวลา 18:02 น.

ถกมาราธอนตั้งแต่ส่งท้ายปี 2561 จนล่วงเลยสงกรานต์กว่าสะเด็ดน้ำ สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา มูลค่า 224,544 ล้านบาท

เมกะโปรเจ็กต์แรกที่จะปลุกคลื่นลงทุนเข้าพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีกลุ่ม ซี.พี. และพันธมิตร คว้าชัยการประมูล เสนอวงเงินให้รัฐอุดหนุนต่ำสุด 117,227 ล้านบาท

กลุ่ม ซี.พี.ลงทุนแสนล้าน

โปรเจ็กต์นี้ “กลุ่ม ซี.พี.” ลงทุนจริง ๆ ประมาณ 1 แสนล้านบาท ในส่วนของงานระบบ 5 หมื่นล้าน และพัฒนาที่ดินสถานีมักกะสันกับศรีราชาอีก 5 หมื่นล้าน เพราะรัฐจ่ายค่างานโยธาให้แล้วไม่เกิน 1.2 แสนล้าน

แต่เนื่องจากเป็นโปรเจ็กต์ร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน ความเสี่ยงทั้งหมดจะตกอยู่ที่ “กลุ่ม ซี.พี.” ตลอดอายุสัญญา 50 ปี

แม้ว่ารัฐจะจ่ายค่าอุดหนุนให้ไม่เกินค่างานโยธา แต่กว่าจะได้เงินคืนเข้าสู่ปีที่ 6-15 หลังเปิดบริการไปแล้วและใช้เวลา 10 ปีกว่าจะได้ครบ เท่ากับว่างานนี้ “กลุ่มซี.พี.” ต้องรับภาระดอกเบี้ย 15 ปี

เนื่องจากจะต้องหาเงินกู้ 5 หมื่นล้านบาทลงทุนงานระบบ และงานพัฒนาเชิงพาณิชย์ 2 สถานีที่มักกะสันและศรีราชา

แบกรับความเสี่ยงทั้งหมด

ขณะที่โครงการก็มีรายได้จากผู้โดยสารเป็นตัวผันแปรยังไม่รู้ว่าปีแรกเปิดบริการจะเป็นไปตามเป้าหรือไม่

ทำให้ที่ผ่านมา “กลุ่ม ซี.พี.” พยายามจะให้รัฐคงข้อเสนอการเงินที่อยู่นอกเหนือกฎกติการะหว่างการเจราจาตลอดหลายเดือนที่ผ่านมา เพื่อปิดจุดเสี่ยงโครงการให้เหลือน้อยที่สุด

โดยเฉพาะ 3 ข้อเสนอที่พันธมิตรของ ซี.พี. ขอให้คงไว้ 1.ให้รัฐจ่ายเงินร่วมลงทุน 117,227 ล้านบาทปีที่ 1-6 2.ซี.พี.ผ่อนจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ 10 ปี เริ่มปีที่ 2-12 พร้อมให้ดอกเบี้ยเพิ่ม 3% และ 3.จัดตั้งอีเมอร์เจนซี่ฟันด์ (กองทุนฉุกเฉิน) มาซัพพอร์ตโครงการ โดยธนาคารไทยกับธนาคารไชน่าดีเวลอปเมนต์ของจีน (CDB) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก)

“กลุ่ม ซี.พี.พยายามอธิบายสิ่งที่ต้องการให้คณะกรรมการคัดเลือกแนบ 3 ข้อเสนอไปให้บอร์ดอีอีซี ไม่อยากให้มองว่าเป็นเงื่อนไข เพราะเขายอมถอน 12 ข้อเสนอด้านการเงินหมดแล้ว แต่อยากให้จดบันทึกให้รับทราบว่าเขามีข้อเสนอที่ดีกับรัฐเพราะจะทำให้รัฐลดภาระเรื่องดอกเบี้ย” รายงานข่าวกล่าวและว่า

โดยกลุ่ม ซี.พี.ระบุว่า ให้รัฐจ่ายเงินอุดหนุนให้ก่อน เช่น ขอให้ทยอยจ่ายหลังก่อสร้างไปได้ 10% เพราะหากรอสร้างเสร็จ ใน 5 ปี ต้องใช้เงินลงทุนกว่า 1 แสนล้านบาท และแบกภาระดอกเบี้ยไว้สูง หากมองกลับกันหากรัฐจ่ายเร็วจะประหยัดดอกเบี้ย 2% เพราะรัฐจะต้องจ่ายเงินอุดหนุนให้ ซี.พี.ใน 10 ปีจากวงเงินปัจจุบัน 117,227 ล้านบาท เมื่อรวมดอกเบี้ยอยู่ที่ 150,000 ล้านบาท

กรณีขอผ่อนชำระแอร์พอร์ตลิงก์ เนื่องจากโครงการเสี่ยงสูงซึ่ง ซี.พี.จะต้องรับภาระ 15 ปี กว่าจะได้เงินที่ลงทุนไปกว่า 1 แสนล้านคืนจากรัฐ จึงขอทยอยจ่าย 10 ปี แต่ให้ดอกเบี้ยเพิ่ม 3%

ขณะที่กองทุนอีเมอร์เจนซี่ฟันด์เป็นการจัดตั้งของ 3 รัฐบาล คือ ไทย จีน และญี่ปุ่น จะมาซัพพอร์ตโครงการในอีอีซีที่มีจีนและญี่ปุ่นเป็นผู้ร่วมลงทุน ไม่ได้เฉพาะรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการไหนที่ดำเนินการไปแล้ว ประสบปัญหาสามารถระดมทุนผ่านกองทุนนี้ได้ ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.ได้ยินว่าจะมีกองทุนนี้จึงอยากให้รัฐพิจารณาให้

ท้ายที่สุดคณะกรรมการคัดเลือกไม่รับไว้ ทุกข้อเสนอ

ร่างสัญญา 200 หน้า

หลังปิดจ็อบ “กลุ่ม ซี.พี.” ที่ยอมถอนข้อเสนอพิเศษได้แล้ว ทางคณะกรรมการคัดเลือกมี “วรวุฒิ มาลา” รักษาการผู้ว่าการการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นประธาน ได้ร่างสัญญาพร้อมรายละเอียดแนบท้ายร่วม 200 หน้าส่งให้อัยการสูงสุดเมื่อวันที่ 29 เม.ย.ที่ผ่านมา

หลังใช้เวลา 3 วันเต็ม ๆ ในการประชุมกับกลุ่ม ซี.พี. ยกร่างจูนคำในสัญญาให้เข้าใจตรงกัน ก่อนส่งให้บอร์ดอีอีซีวันที่ 13 พ.ค. เสนอ ครม. วันที่ 28 พ.ค. และเซ็นสัญญาวันที่ 15 มิ.ย.นี้

นางพฤฒิพร เนติโพธิ์ อธิบดีอัยการ สำนักงานที่ปรึกษากฎหมาย สำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ด้วยเป็นโครงการขนาดใหญ่ใช้เงินลงทุนสูง จึงต้องพิจารณาสัญญาอย่างรอบคอบ ไม่ให้ซ้ำรอยโฮปเวลล์ ซึ่งคณะกรรมการก็พยายามหาทางป้องกันไว้ทุกอย่างในร่างสัญญา

เช่น ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างและพัฒนาเชิงพาณิชย์ เอกชนจะให้ ร.ฟ.ท.ส่งมอบ 100% แต่รัฐจะไม่กำหนดแบบนั้น จะกำหนดว่าส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาทำงานได้และมีแผนส่งมอบชัดเจน หรือการขยายเวลาก่อสร้างเดิมเอกชนจะขอชดเชยเป็นตัวเงิน หาก ร.ฟ.ท.ส่งมอบล่าช้าแต่รัฐไม่ให้ จะให้แค่ขยายเวลาก่อสร้างเท่านั้น

“ข้อเสนอพิเศษในซองที่ 4 คณะกรรมการคัดเลือกไม่สามารถพิจารณาได้เพราะผิดเงื่อนไขทีโออาร์ ส่วน ซี.พี.จะให้อีอีซีหรือรถไฟส่งให้ใครพิจารณาไม่เกี่ยวกับคณะกรรมการคัดเลือกแล้ว”

ซี.พี.กังวลส่งมอบพื้นที่ล่าช้า

รายงานข่าวกล่าวว่า เอกชนกังวลเรื่องการส่งมอบพื้นที่ ทั้งการเวนคืน รื้อย้ายผู้บุกรุก สาธารณูปโภค เนื่องจากหากส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจะทำให้การก่อสร้างไม่แล้วเสร็จตามเวลา 5 ปี ทำให้มีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น

“หลังเซ็นสัญญา ภาระความรับผิดชอบทั้งหมดจะตกอยู่ที่ ซี.พี.จึงต้องรีบสร้างให้เสร็จตามสัญญา เพราะจะมีภาระทางการเงินที่ขอกู้แบงก์ตั้งแต่เริ่มเซ็นสัญญา จึงทำให้เจรจานาน”

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท. และ ซี.พี.ตกลงร่วมกันจะสร้างในส่วนที่เป็นพื้นที่พร้อมส่งมอบ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 90% หลังเซ็นสัญญาแล้วทาง ร.ฟ.ท. จะต้องทำแผนส่งมอบ แต่เนื่องจากมีผู้บุกรุกอยู่ จะต้องใช้เวลา 2 ปีถึงจะส่งมอบพื้นที่ได้หมด

ส่วนพื้นที่สถานีมักกะสันและศรีราชาจะส่งมอบได้เร็วเพราะเป็นพื้นที่โล่ง หลังเซ็นสัญญาจะเริ่มสร้างได้ภายใน 6 เดือน

ต่อรองค่าปรับวันละ 12 ล้าน

ทั้งนี้ หากสร้างไม่เสร็จตามกำหนด ทางรัฐกำหนดค่าปรับไว้ 12 ล้านบาทต่อวัน เป็นค่าปรับแอร์พอร์ตลิงก์วันละ 3 ล้านบาทและรถไฟความเร็วสูงวันละ 9 ล้านบาท หากเอกชนแสดงหลักคิดที่ต่ำกว่านี้ก็เจรจาได้ แต่ต้องให้จบก่อนเซ็นสัญญา ยังไงจะต้องมีค่าปรับเพื่อให้โครงการสร้างเสร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/05/2019 8:14 am    Post subject: Reply with quote

รับทราบร่างสัญญา2.3รถไฟไทย-จีน
INN News 3 พฤษภาคม 2019 - 18:20

คณะกรรมการบริหารโครงการรถไฟไทย-จีน รับทราบผลการเจรจาร่างสัญญา 2.3 ล่าสุดช่วงกลางดง-ปางอโศกคืบหน้า48%

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน

ทั้งนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าที่ประชุมได้รับทราบผลการประชุม Belt and Road Forum for International Cooperation (BRIC) ครั้งที่ 2 ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2562 ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่ได้มีการเจรจาหารือข้อตกลงโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย – จีน ร่างสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร ซึ่งฝ่ายไทยสามารถเจรจาลดกรอบวงเงินในสัญญา 2.3 ลงได้ และขอเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูงเป็นรถรุ่นใหม่มีเทคโนโลยีที่ทันสมัยมากยิ่งขึ้น และเปลี่ยนการก่อสร้างโครงสร้างทางรถไฟบางช่วงจากแบบใช้หินโรยทางเป็นแบบไม่ใช้หินโรยทาง

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้รับทราบการลงนามในบันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการเชื่อมต่อเส้นทางรถไฟระหว่างหนองคาย – เวียงจันทน์ และรับทราบความก้าวหน้าของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ซึ่งการก่อสร้างช่วงกลางดง – ปางอโศก มีความคืบหน้าอยู่ที่ร้อยละ 48
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 317, 318, 319 ... 542, 543, 544  Next
Page 318 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©