Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311280
ทั่วไป:13261867
ทั้งหมด:13573147
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 323, 324, 325 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2019 4:38 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดฯเชื่อม 3 สนามบินส่อเค้าวุ่น สหภาพรฟท.จี้ให้เปิดเผยสัญญา
พุธที่ 12 มิถุนายน 2562

ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินส่อเค้าวุ่นสหภาพฯรฟท.บุกพบ “วรวุฒิ” ขอให้เปิดเผยสัญญาพร้อมข้อมูลวิเคราะห์อีไอเอหวั่นสร้างความเสียหายในภายหลังซ้ำรอยโฮปเวลล์จับตาปมส่งมอบพื้นที่ล่าช้าจะก่อให้เกิด “ค่าโง่หมื่นล้าน” ก้อนใหม่เหตุไฟเขียวให้มีการปรับแก้ไขสัญญาได้ในภายหลัง



นายกมล ศิริจันทร์ รักษาการประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจรถไฟแห่งประเทศไทย(สร.รฟท.) กล่าวว่าได้เข้ายื่นหนังสือต่อนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สินในฐานะรักษาการผู้ว่าการรฟท.เพื่อให้เปิดเผยข้อมูลสัญญาเงื่อนไขในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และข้อมูลรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ) ของโครงการและรวมถึงข้อมูลอื่นๆที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สร.รฟท.และประชาชนผู้ได้รับผลกระทบให้เห็นถึงสาระสำคัญข้อเท็จจริงและรายละเอียดของโครงการนี้

สำหรับการดำเนินการในครั้งนี้สร.รฟท.ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานในการให้ความร่วมมือและดำเนินการเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและรักษาผลประโยชน์ของรัฐวิสาหกิจตามพระราชบัญญัติแรงงานรัฐวิสาหกิจสัมพันธ์พ.ศ.2543 มาตรา 40(4) และป้องกันไม่ให้เกิดความเสียหายกับรฟท. ดังเช่นค่าเสียหายจากกรณียกเลิกสัญญากับบริษัทโฮปเวลล์

“เนื่องจากกรณีรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบินระยะทาง 220 กม. มีมูลค่าโครงการสูงถึง 2.24 แสนล้านบาทและจะมีการลงนามสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งจำกัดและพันธมิตร(กลุ่มCPH) หลังจากได้รับการอนุมัติอีไอเอวันที่ 24 มิถุนายนนี้ไปแล้วทางสหภาพฯให้ความสำคัญและติดตามเรื่องนี้มาโดยตลอด”

นายกมลกล่าวอีกว่ายังเป็นห่วงเรื่องการส่งมอบพื้นที่เนื่องจากเรื่องการส่งมอบพื้นที่ยังต้องเจรจากันอีกจากกรณีปัญหาข้างต้นจะดำเนินการเจรจาตั้งแต่ดอนเมือง-อู่ตะเภาซึ่งมีหลายประเด็นต้องหารือร่วมกัน อาทิ มีผู้บุกรุกกี่จุด ช่วงกม.ใดบ้าง ติดปัญหาสัญญาเช่ากี่จุด ส่วนช่วงดอนเมือง-บางซื่อซึ่งทับซ้อนกับรถไฟไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่นตลอดจนช่วงสถานีจิตรลดาที่ทับซ้อนกับรถไฟสายสีแดงนั้นซีพีจะต้องก่อสร้างไปก่อนโดยเผื่อสายสีแดงแล้วค่อยใช้คืนทีหลัง

ในส่วนกรณีเสาตอม่อโฮปเวลล์จะต้องดำเนินการรื้อย้ายอย่างไรเช่นเดียวกับพื้นที่เวนคืนส่วนใหญ่ที่ฉะเชิงเทราขณะนี้รอออกประกาศพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) การกำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืนพื้นที่กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา(มากสุด 550 ไร่) ชลบุรีและระยองมีเวนคืนที่ดิน 850 ไร่และสิ่งปลูกสร้าง 245 หลังวงเงิน 3,570 ล้านบาท

“จุดที่มีปัญหาจะต้องใช้ระยะเวลาในการจัดการก่อนส่งมอบโดยมีระยะเวลาภายใน 5 ปีอย่างไรก็ตามการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่างๆอยู่ในความรับผิดชอบของซีพีส่วนรฟท.จะรับผิดชอบเรื่องการย้ายผู้บุกรุกรวมถึงเสาตอม่อโฮปเวลล์ด้วย”

สำหรับพื้นที่ที่จะมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์(TOD) ทั้งหมด 150 ไร่ของแปลงมักกะสันนั้นจะส่งมอบส่วนแรก 100 ไร่ก่อนส่วนอีก 50 ไร่ที่เหลือจะทยอยส่งมอบภายใน 5 ปีซึ่งโครงการนี้รัฐลงทุน 1.4 แสนล้านบาทหากส่งมอบพื้นที่ไม่ได้จะเกิดความเสียหายต่อรฟท. ดังนั้นจึงต้องเปิดเผยข้อมูลสัญญาต่อสาธารณะให้เห็นถึงสาระสำคัญและรายละเอียดของโครงการเนื่องจากไม่ต้องการให้ซ้ำรอยคดีโฮปเวลล์นั่นเอง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2019 4:50 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.หารือกลุ่มซีพีเพื่อรับมอบพื้นที่เวนคืนไฮสปีดฯเชื่อม 3 สนามบิน
14 มิถุนายน 2562

วันนี้ (14 มิถุนายน 62) เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมปฏิบัติการชั้น 3 คณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง -สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา) ได้ร่วมหารือกับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มซีพี)

โดยการร่วมหารือเรื่องการรับมอบพื้นที่เวนคืนกับกลุ่มซีพีและพันธมิตรในวันนี้มีนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการด้านการบริหารโครงการรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เข้าร่วมด้วย

ส่วนฝั่งกลุ่มซีพี พบว่ามีนายสุเมธ สุรบถโสภณ รองประธานบริหารอาวุโส บริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) และคณะที่ร่วมจอยเวนเจอร์กับกลุ่มซีพีเข้าร่วมในครั้งนี้ด้วย

ทั้งนี้ภายในสัปดาห์หน้าคาดว่านายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการด้านการบริหารทรัพย์สิน รฟท. ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกฯ จะประชุมร่วมชุดใหญ่คณะกรรมการกับกลุ่มซีพีอีกครั้งถึงความชัดเจนเรื่องการส่งมอบพื้นที่และเรื่องการรับมอบสัญญากันต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 14/06/2019 5:08 pm    Post subject: Reply with quote

ซีพีจุก รถไฟความเร็วสูง ส่อสะดุดใช้เวลากว่า 3 ปี เวนคืนที่ คนบุกรุกเพียบ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 19:52 น.

รถไฟไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบิน ปัญหาไม่จบ คนบุกรุกที่ดินเพียบ ด้านรถไฟอ้อมแอ้ม ต้องใช้เวลาเวนคืน อาจหืดจับกว่า 3 ปี ทำกลุ่มซีพี กุมขมับ

เมื่อวันที่ 14 มิ.ย. นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการ กลุ่มบริหารรถไฟฟ้า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับตัวแทนกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร หรือกลุ่มซีพี เพื่อสรุปแผนส่งมอบพื้นที่ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า ข้อมูลเบื้องต้นพบพื้นที่ที่มีความพร้อมสามารถส่งมอบได้หลังลงนามสัญญาในขณะนี้มีประมาณ 70-80% ของพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด 1 หมื่นไร่ เหลือพื้นที่ที่ติดปัญหาอีกราว 20% ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพื้นที่บุกรุก พื้นที่ติดสัญญา และพื้นที่ที่ต้องเวนคืน ซึ่ง ร.ฟ.ท.จะเร่งสำรวจพื้นที่ประเมินปัญหาให้ชัดเจนอีกครั้ง ก่อนนัดซีพีมา สรุปรายละเอียดกรอบเวลาส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดในช่วงสัปดาห์หน้า


ทั้งนี้ พื้นที่ติดปัญหาราว 20% หรือประมาณ 2,000 ไร่ ของพื้นที่ก่อสร้างทั้งหมด แบ่งออกเป็น 1. พื้นที่ที่ต้องเวนคืน ประมาณ 850 ไร่ 2. พื้นที่บุกรุก กว่า 1,000 ไร่ และ 3. พื้นที่ที่ยังติดสัญญา ประมาณ 450 ไร่ จากการประเมินประสบการณ์คืนพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ในช่วงที่ผ่านมา คาดว่ากรณีพื้นที่บุกรุก อาจจะต้องใช้เวลาเจรจาไม่เท่ากัน โดยกรณีการเจรจายากที่สุด อาจต้องใช้เวลาราว 3 ปี ส่วนกรณีเวนคืน ตามขั้นตอนจะสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ ภายใน 2 ปี หลังออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดิน ซึ่งกรณีนี้ทางกลุ่มซีพีก็มีข้อกังวล และขอให้เร่งขั้นตอนการออกพระราชกฤษฎีกา.


สารพันปัญหารถไฟเชื่อม 3 สนามบินรอวัดฝีมือ 'ซีพี '!?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 08:28
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 13:37


ชัยชนะของ 'กลุ่มซีพี' ในโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน ถึงวันนี้มีสิทธิ์ล้มเหลวได้! เมื่อเจอสารพันปัญหาที่ ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถจัดการได้ โดยเฉพาะการส่งมอบที่ดิน ทั้งที่มีอยู่แล้วและต้องเวนคืนใหม่ 'พญาไท-ฉะเชิงเทรา-อู่ตะเภา' ส่วนบริเวณท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่-ตอม่อโฮปเวลล์ ต้องรอไปก่อน หากรถไฟพร้อมส่งมอบ จะเข้าสู่การก่อสร้างสุดโหดในพื้นที่จำกัดและรถไฟวิ่งตลอดวัน

ดูเหมือนว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่มCPH) ซึ่งเป็นผู้ชนะการประมูลจะสามารถเดินหน้าได้แล้วหลังจากที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้อนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ร่วมลงทุนในวงเงิน 149,650 ล้านบาท โดย ร.ฟ.ท.จะชำระที่รัฐร่วมลงทุนให้กลุ่มซีพี ด้วยการแบ่งจ่ายเป็นรายปีไม่เกิน 14,965ล้านบาท เป็นเวลา 10 ปี หลังจากเริ่มการให้บริการโครงการเกี่ยวกับรถไฟตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์ที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งโครงการนี้มีมูลค่าการลงทุน 224,500 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.ก็เตรียมลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกับกลุ่มซีพีไว้เช่นกัน เพียงแต่ว่าก่อนที่จะมีการลงนามในสัญญาทั้ง ร.ฟ.ท.และกลุ่มซีพี ต้องเห็นชอบและยอมรับในแผนงานที่จะมีการส่งมอบตามเงื่อนไขของสัญญาด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย การเซ็นสัญญาร่วมลงทุนจึงจะเกิดขึ้นได้

ในความเป็นจริงอุปสรรคสำคัญที่จะทำให้โครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3สนามบินต้องสะดุด หรือล่าช้าออกไปนั้น แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่าปัญหาสำคัญที่สุดอยู่ที่ ร.ฟ.ท.จะสามารถส่งมอบที่ดินที่จะใช้ในการก่อสร้างเส้นทางไฮสปีดเทรนตลอดสายให้กับกลุ่มซีพีได้หรือไม่? และเมื่อใด? เพราะหากไม่สามารถได้มาซึ่งที่ดินก็ไม่สามารถเข้าไปสำรวจ ออกแบบและลงมือก่อสร้างได้

โดยเฉพาะเส้นทางในเขตพื้นที่กรุงเทพฯ รวมไปถึงพื้นที่ที่จะใช้ในการพัฒนาเชิงพาณิชย์ เช่นที่บริเวณมักกะสัน 150 ไร่ ที่บรรดานักพัฒนาที่ดินต่างมองว่าเป็นพื้นที่ทำเลทองใจกลางเมือง ที่มีราคาซื้อขายสูงถึงตารางวาละ 1.5 ล้านบาท และหากพัฒนาเป็นคอมเพล็กซ์ขนาดใหญ่ จะมีราคาต่อตารางเมตรละ120,000-150,000 บาท ซึ่งตามเงื่อนไขต้องมีพื้นที่อาคารรวม 850,000 ตร.ม.ในพื้นที่มักกะสัน และหากพัฒนาได้มากกว่า 850,000 ตร.ม.ก็ยิ่งสร้างมูลค่าให้ผู้ลงทุนได้มากขึ้น

“เรื่องแผนการส่งมอบที่ดิน รถไฟกับซีพีมีการคุยกันมากว่า 2-3 เดือน ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป ยังไม่มีแผนส่งมอบที่ดินชัดเจน ว่าแต่ละจุดแต่ละพื้นที่จะส่งมอบกันอย่างไร เมื่อใด แต่ต้องเข้าใจสภาพของที่ดินรถไฟ จะเป็นแนวยาวขนานไปกับราง ที่มีการกั้นเขตไว้ ส่วนที่ดินแปลงใหญ่จะมีเฉพาะช่วงที่เป็นสถานี บางทีเขตรางที่มีความกว้างมากๆ ชาวบ้านก็มักจะบุกรุก เวลาขับไล่ก็ยากเหมือนกัน”

แต่ที่ดินที่กำลังเป็นปัญหาในการออกแบบและลงมือก่อสร้างของกลุ่มซีพี ที่จะต้องมีความชัดเจนตั้งแต่สถานีพญาไท ที่จะมีการก่อสร้างไปยังสถานีจิตรลดา และต่อไปถึงดอนเมืองนั้นมีความสำคัญและเป็นความยากลำบากในการที่ผู้รับเหมาจะเข้าไปทำการก่อสร้างโดยแนวเส้นทางจากสถานีพญาไท จะต้องมีการเวนคืนที่ดินแต่จะไม่ทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน โดยจะไปใช้ที่ดินของกรมทางหลวง ซึ่งที่ดินตรงนี้อยู่ติดกับพิพิทธภัณฑ์กรมทางหลวงและบางส่วนที่หน่วยงานกรมทางหลวงใช้อยู่

“ตรงนี้น่าจะต้องเวนคืนพอสมควร เพราะเป็นช่วงของวงเลี้ยวของรถไฟไฮสปีดเทรนต้องใช้วงกว้าง ซึ่งจะหักเข้าเขตทางรถไฟไปยังสถานีจิตรลดา เพื่อไปเชื่อมต่อสายสีแดง Missing Link แต่ทาง ร.ฟ.ท.ก็ยังไม่ได้เจรจาขอใช้พื้นที่จากกรมทางหลวง”

แหล่งข่าวบอกว่า ช่วงตรงนี้มีระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถือเป็นจุดที่แวดวงก่อสร้างถือว่าโหดที่สุด เพราะบริเวณตรงนี้ตามแผนจะมีการก่อสร้าง จะเป็นการใช้พื้นที่ด้วยกันของรถไฟ 3 ระบบ คือรถไฟสายสีแดง Missing Link, ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟของ ร.ฟ.ท.(Middle Gate) ซึ่งระบบรางและที่ดินที่มีอยู่ปัจจุบันของ ร.ฟ.ท.จะมีเส้นสายเหนือ อีสาน และสายตะวันออกที่วิ่งเข้าหัวลำโพง แต่จะไม่มีจากสายตะวันออกวิ่งไปยังดอนเมือง จึงจำเป็นต้องเวนคืนที่ดินเพื่อใช้ในการก่อสร้าง

“กลุ่มซีพีต้องสร้างเป็นอุโมงค์ตรงสถานีจิตรลดา ผนังด้านบนจะมีการก่อสร้างเป็นถนน สายสีแดงจะวิ่งแบบคลองแห้ง (Open Trench and Cut & Cover Tunnel) วงเงินประมาณ 3 พันกว่าล้านบาท”


ส่วนในการก่อสร้างนั้นเชื่อว่าเป็นจุดที่ทำงานยากและต้องมีการบริหารจัดการที่ดี เนื่องเพราะเดิมร.ฟ.ท.จะย้ายไปอยู่ที่สถานีกลางบางซื่อ และที่หัวลำโพงจะทำเป็นพิพิธภัณฑ์ ส่งผลให้การเข้าออกของขบวนรถไฟที่จะเข้า-ออกหัวลำโพงจะมีน้อยหรือไม่มีเลย แต่เมื่อ ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถย้ายไปที่สถานีกลางบางซื่อได้ ทำให้ขบวนรถไฟที่จะเข้า-ออกหัวลำโพงยังคงมีจำนวนมากเหมือนเดิม อีกทั้งการก่อสร้างตรงนี้มีพื้นที่ในการทำงานน้อยมาก และต้องขุดเจาะเป็นอุโมงค์ ท่ามกลางรถไฟวิ่งตลอด จึงเป็นเรื่องของการบริหารจัดการงานก่อสร้างล้วนๆ

“ทีมวิศวกรที่ปรึกษา มีการประเมินการทำงานออกมาแล้วว่าจากพญาไทถึงดอนเมืองเพียง 20 กม.จะใช้เวลาในการทำงานก่อสร้าง เท่ากับจากสถานีพญาไทถึงอู่ตะเภา ระยะทาง 200 กม.”

แหล่งข่าวบอกอีกว่า ในพื้นที่ 20 กม.ช่วงในเมืองที่ ร.ฟ.ท.ก็เร่งดำเนินการเพื่อจะทำแผนส่งมอบให้ซีพี ตั้งแต่สถานีบางซื่อไปจนถึงดอนเมืองนั้น จากข้อมูลในการส่งมอบพื้นที่ให้รถไฟสายสีแดง ก็พอจะมีข้อมูลชัดว่า บริเวณนั้นมีเสาตอม่อที่เป็นของโครงการโฮปเวลล์เดิมเท่าไหร่ ที่ยังไม่ได้มีการรื้อทิ้งหรือตัดเสาที่โผล่ส่วนบนออกไป

“เบื้องต้นมีการประมาณการว่ามีอยู่ 60 คู่ และต้นหนึ่งจะมีค่าใช้จ่ายประมาณ 4-5 แสน ซึ่งรถไฟเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการรื้อย้ายหรือทุบทิ้ง เรื่องนี้รถไฟต้องไปตั้งงบในการเตรียมพื้นที่ Clearing and Grubbing เพราะเอกชนเขาก็ต้องการให้รถไฟเคลียร์โล่งๆ ให้ จากนั้นจึงส่งมอบที่ดินให้เอกชนเข้าไปดำเนินการ”


อย่างไรก็ดี เส้นทางจากบริเวณบางซื่อถึงดอนเมืองนั้น แม้ว่าในชั้นใต้ดินจะมีฐานรากแผ่ขยายเต็มพื้นที่ ซึ่งเป็นผลจากการก่อสร้างโครงการโฮปเวลล์ และ ร.ฟ.ท.จะดำเนินการทุบทิ้งเฉพาะส่วนบนก็ตาม แต่จะไม่เป็นอุปสรรคในการออกแบบและก่อสร้างโครงสร้างไฮสปีดเทรนเชื่อม 3สนามบินแน่นอน

“ในทางวิศวกรรมสามารถออกแบบหลบตอม่อ และทำการก่อสร้างได้ เพราะส่วนฐานรากที่อยู่ใต้ดิน ไม่สามารถจะไปขุดออกมาได้ เพราะเป็นเรื่องใหญ่ ก็ใช้วิธีการหลบและขยับช่วงเสา (Span) แทน”


ว่ากันว่ายังมีอีกจุดที่กลุ่มซีพีได้หารือไปยัง ร.ฟ.ท. ซึ่งเป็นประเด็นสำคัญที่ ร.ฟ.ท.จะต้องไปสำรวจบริเวณที่จะส่งมอบที่ดินเพื่อทำการก่อสร้างช่วงประมาณสะพานพระราม ๖ ได้มีท่อส่งน้ำประปาขนาดใหญ่อยู่ในพื้นที่ว่าจะดำเนินการอย่างไร

ขณะเดียวกัน ร.ฟ.ท.จะต้องรีบดำเนินการเวนคืนที่ดินใหม่อีก 2 บริเวณคือที่ฉะเชิงเทรา ที่จะใช้ในการก่อสร้างทั้งส่วนที่เป็นโครงสร้างระบบรางและสถานี รวมไปถึงบริเวณทางเข้าเชื่อมต่อสนามบินอู่ตะเภา ซึ่งวันนี้ยังไม่มีความชัดเจนใดๆ

“ที่ดินมักกะสัน รถไฟจะส่งมอบได้ช่วงแรก ประมาณ120 ไร่ และอีก 20 กว่าไร่ บริเวณพวงราง ยังไม่มีแผนชัดเจนว่าจะย้ายอย่างไร และย้ายไปไหน หากต้องย้ายโรงซ่อมรถไฟตรงมักกะสันจะมีปัญหาหรือไม่ ซึ่งรถไฟก็พยายามจะย้ายให้เสร็จใน3ปีหลังเซ็นสัญญา”


แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของการปรับปรุงและพัฒนาเส้นทางแอร์พอร์ตลิงก์เดิมจากสุวรรณภูมิ ถึงพญาไท ทั้งในส่วนการพัฒนาเชิงกายภาพตรงบริเวณทุกสถานี ระบบอุปกรณ์ต่างๆ รวมไปถึงการปรับปรุงอาณัติสัญญาณการเดินรถว่าจะต้องทำอย่างไรบ้างนั้น ก็ยังไม่มีแผนชัดเจน ซึ่งประเด็นนี้ทางกลุ่มซีพี จะต้องไปดำเนินการติดต่อบริษัทรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.จำกัด หรือผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรล ลิงก์ เพื่อขอเข้าไปสำรวจสิ่งที่มีอยู่แล้วเพื่อกำหนดเป็นแผนว่าจะต้องเข้าปรับปรุงอย่างไรบ้าง

“เชื่อว่าเอกชนต้องให้รถไฟเคลียร์เรื่องที่ดินให้พร้อม ว่าที่ดินส่วนไหนจะส่งมอบได้เมื่อไหร่ หลังจากรื้อย้ายอุปสรรคต่างๆ หรือเวนคืนที่ดินมาแล้ว กลุ่มซีพีก็ต้องพิจารณาว่าจะรับแผนนี้ของรถไฟได้หรือไม่ เพราะทุกช่วงของการส่งมอบที่ดินจะมีผลต่อต้นทุนและเวลาในการสร้างแล้วเสร็จ เพราะหากไม่เป็นไปตามแผนการส่งมอบที่ดิน กลุ่มซีพีมีโอกาสเจ็บตัวหรือล้มเหลวในโครงการนี้ได้” แหล่งข่าวจากระทรวงคมนาคม ย้ำ

ดังนั้น โครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จึงเป็นโครงการที่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ เฝ้าติดตามดูว่า “ซีพี' ผู้เชี่ยวชาญด้านค้าปลีก จะสามารถฟันฝ่าอุปสรรคที่มองเห็นอยู่ได้หรือไม่ ทั้งในเรื่องการส่งมอบที่ดินเพื่อการก่อสร้างและพัฒนา ยังรวมถึงผู้ที่จะมาใช้บริการรถไฟไฮสปีดเทรนและกำลังซื้ออสังหาริมทรัพย์จะมีจริงหรือไม่?...ต้องติดตาม !


Last edited by Wisarut on 16/06/2019 6:27 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44505
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/06/2019 9:50 am    Post subject: Reply with quote

ถกเครียด! ปมบุกรุกที่รถไฟ 3 สนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์15 มิ.ย. 2562 06:30 น.

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย รฟท.เปิดเผยภายหลังร่วมหารือกับตัวแทนกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) เกี่ยวกับแนวทางดำเนินการเตรียมการส่งมอบพื้นที่เพื่อใช้ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า พื้นที่ที่ใช้ก่อสร้างในโครงการทั้งหมดจะมีพื้นที่ทั้งสิ้นรวมว่า 10,000 ไร่ ซึ่งจะมีพื้นที่ประมาณ 80% ที่สามารถส่งมอบพื้นที่ให้ CPH เข้าดำเนินการก่อสร้างได้เลย หลังมีการเซ็นสัญญาร่วมกันทั้งสองฝ่าย

แต่อย่างไรก็ตาม มีพื้นที่ประมาณ 20% หรือประมาณกว่า 2,000 ไร่ ที่ต้องเร่งเคลียร์ปัญหา เพื่อให้ส่งมอบพื้นที่ได้เร็วที่สุด ประกอบด้วย พื้นที่ที่ต้องออกพระราชกฤษฎีกาเวนคืน 12 ฉบับ เนื้อที่ประมาณ 850 ไร่ ซึ่งส่วนนี้ยอมรับว่า CPH มีความกังวลและต้องการให้ภาครัฐเร่งรัดดำเนินการทันที นอกจากนั้น ในส่วนที่เหลือจะเป็นพื้นที่ที่โดนบุกรุกอีกประมาณ 1,000 ไร่ ซึ่งในส่วนนี้รฟท.ยอมรับว่ามีประสบการณ์ในการเจรจากับผู้บุกรุก แต่หากไม่สามารถดำเนินการได้ คงต้องมีการขอความช่วยเหลือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ

นอกจากนี้ ยังมีพื้นที่ที่ติดสัญญาเช่าอยู่ประมาณ 400 ไร่ ที่การรถไฟให้เอกชนเช่ามีสัญญาไว้ในอดีต ซึ่งการเจรจากับผู้เช่าไม่น่ามีปัญหา จะมีเพียงส่วนหนึ่งที่เป็นสัญญาเช่าเพื่อใช้ที่ดินทำประโยชน์ที่เกี่ยวข้องกับสาธารณูปโภค ในส่วนนี้หากจะให้ผู้เช่าหรือย้ายต้องมีการแจ้งล่วงหน้าตามข้อสัญญาซึ่งจะต้องไปดูในรายละเอียดอีกครั้ง ทั้งนี้ การรถไฟตั้งเป้าหมายว่าในส่วนของ 20% ที่ต้องเร่งเคลียร์พื้นที่ เพื่อการส่งมอบนั้น จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี โดยในส่วนของการเวนคืนกับสัญญาเช่าไม่น่ามีปัญหา อาจจะต้องไปดูในส่วนของพื้นที่บุกรุกว่าการดำเนินการจะแล้วเสร็จยากหรือง่ายเพียงใด

“การรถไฟได้มีการตั้งคณะทำงานเพื่อดูแลปัญหาดังกล่าวขึ้น และเตรียมที่จะนำทีมสำรวจลงพื้นที่จริงเพื่อจะดูปัญหา โดยเฉพาะในส่วนของพื้นที่บุกรุก โดยได้มีการชวนสื่อมวลชนลงพื้นที่สำรวจด้วย”

สำหรับการลงนามร่วมกันระหว่างการรถไฟและ CPH ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้น คาดการณ์ว่าจะมีการดำเนินการในเดือน ก.ค. หลังจากที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (ชุดใหญ่) จะมีการประชุมและอนุมัติผ่านผลการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในโครงการดังกล่าว ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2019 6:31 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ซีพีจุก รถไฟความเร็วสูง ส่อสะดุดใช้เวลากว่า 3 ปี เวนคืนที่ คนบุกรุกเพียบ
โดย ไทยรัฐออนไลน์
ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 19:52 น.


สารพันปัญหารถไฟเชื่อม 3 สนามบินรอวัดฝีมือ 'ซีพี '!?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 08:28
ปรับปรุง: ศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 13:37



“ซี.พี.” ควง “ITD” ถกพื้นที่สร้างไฮสปีดผงะบุกรุกอื้อ-จุดทับซ้อนเพียบรถไฟยันส่งมอบได้ 80%
วันศุกร์ที่ 14 มิถุนายน 2562 เวลา 17:37 น.

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3​ สนามบิน​ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ​-อู่​ตะเภา)​ ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน​ 224,544​ ล้าน​บาท​ กล่าวว่า ผลการประชุมส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัดและพันธมิตร หรือกลุ่ม ซี.พี.วันที่ 14 มิ.ย.2562 ยังมีปัญหาอีกมาก

@ติดพื้นที่ทับซ้อน

โดยเฉพาะช่วงบางซื่อ – ดอนเมืองที่คาบเกี่ยวกับโครงการชานเมืองสายสีแดง Missing Link และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน คิดเป็น 20% ของพื้นที่รวมทั้งหมด ซึ่งจะต้องก่อสร้างอุโมงค์เปิดเป็นโครงสร้างร่วมกับโครงการข้างต้น และยังมีโครงสร้างของโฮปเวลล์ที่ต้องรื้อออก 80-90 ต้น

“ก็คุยกันว่าถ้าพื้นที่นี้ยังส่งมอบไม่ได้ เอาพื้นที่อื่นก่อนได้ไหม ส่วน ซี.พี.จะยังยืนเงื่อนไขว่า พื้นที่ตรงนั้นจะต้องส่งมอบใน 2 ปี เราก็จะไปเคลียร์ให้ ยอมรับว่าอาจจะจบไม่เร็ว แต่ขีดเส้นไว้ว่าจะให้จบในกรอบ EIA คือวันที่ 24 มิ.ย.นี้”

นายวรวุฒิกล่าวอีกว่า ในสัปดาห์หน้าจะเชิญกลุ่ม ซี.พี.หารืออีกครั้งแต่ยังไม่ระบุวันเวลา โดยให้การบ้านไปกลุ่ม ซี.พี.ว่า ให้ทำร่างข้อเสนอเรื่องพื้นที่ที่ต้องการสำหรับรับมอบเพื่อดำเนินการก่อสร้างมาร่วมพิจารณาด้วย

@เลื่อนลงนามต้นเดือน ก.ค.

ด้านนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)​ เปิดเผยว่า การประชุมเพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง ยังอยู่ในขั้นตอนของการทำแผนผังพื้นที่ที่เป็นอุปสรรคต่อการส่งมอบตลอดแนวเส้นทาง 220 กม. คิดเป็นที่ดินประมาณ 10,000 ไร่ พร้อมทั้งทำแผนการส่งมอบที่จะกำหนดระยะเวลาชัดเจน คาดว่าการลงนามในสัญญาจะเลื่อนไปเร็วที่สุด ต้นเดือน ก.ค.นี้ แต่ก็ต้องรอผลการพิจารณารายงาน EIA ของคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม​แห่งชาติ ​(กก.วล.) ​ในวันที่ 24 มิ.ย.นี้ก่อน

“ตอนนี้มีพื้นที่ที่พร้อมส่งมอบแล้ว 80% แต่ยังขาดรายละเอียดสัญญาเช่าบางส่วนอีก 10 สัญญาเช่าจากทั้งหมด 314 สัญญาเช่าที่อยู่บนแนวเส้นทาง คาดว่าในสัปดาห์หน้าจะได้ข้อมูลส่วนนี้ครบ ซึ่งการบอกยกเลิกสัญญาก็ไม่เป็นปัญหา เพราะตามระเบียบแล้วต้องแจ้งล่วงหน้ากับผู้เช่าเดิมเท่านั้น ก็ดำเนินการได้ทันที”

@เร่งเคลียร์อุปสรรค 2 ปี

ยังมีพื้นที่อีก 20% เป็นพื้นที่ที่ยังมีอุปสรรคในการส่งมอบ แบ่งได้ 3 ประเภทคือ 1.พื้นที่เวนคืนตาม พ.ร.ฎ.เวนคืน 850 ไร่ ที่ยังอยู่ระหว่างรอ พ.ร.ฎ.เวนคืนประกาศใช้ 2.พื้นที่บุกรุก ประมาณ 10% หรือประมาณ 1,000 ไร่ กระจายไปทั่วเส้นทาง 3.พื้นที่ที่มีสาธารณูปโภค​กีดขวาง เช่น ท่อน้ำมัน ท่อประปาขนาดใหญ่ สายไฟฟ้า ซึ่งรวมไปถึงโครงสร้างของโครงการโฮปเวลล์​เดิมอีกประมาณ 80-90 ต้นที่ต้องรื้ออออกด้วย

“การทำแผนผังจะมีการระบุระยะเวลาเคลียร์อุปสรรคด้านต่างๆ โดยอ้างอิงจากประสบการณ์ที่ ร.ฟ.ท.เคยทำมา เช่น การแก้ปัญหาผู้บุกรุกเคยใช้เวลาจัดการประมาณ 2-3 ปี ร.ฟ.ท.ก็จะเขียนลงไป จากนั้นกลุ่ม ซี.พี.จะพิจารณาเรื่องความเหมาะสมในการส่งมอบพื้นที่ อาจจะมีข้อเรียกร้องอยากทำตรงนั้นตรงนี้ก่อน เราก็มาคุยกันเพื่อให้รถไฟเน้นแก้ปัญหาเฉพาะจุดก่อน อาจจะมีการประสานหน่วยงานความมั่นคงมาช่วยในส่วนที่ดำเนินการขับไล่ผู้บุกรุกยาก”

ส่วนพื้นที่เวนคืน นายสุจิตต์ขยายความว่า ตามระเบียบแล้ว การเวนคืนจะมีกรอบเวลาที่ต้องทำให้เสร็จภายใน 2 ปีนับแต่วันที่มีการประกาศใช้ พ.ร.ฎ.เวนคืนอย่างเป็นทางการ จะทำเรื่องไปยังคณะกรรมการกฤษฎีกา​ เพื่อเร่งให้ออก พ.ร.ฎ.เวนคืน เพราะกลุ่ม ซี.พี.ก็กังวลในประเด็นนี้ เบื้องต้น จะแบ่งพื้นที่เวนคืน 850 ไร่ ออกเป็น 12 พ.ร.ฎ. แต่ยังไม่สามารถระบุได้ว่าจะมีกี่แปลง ต้องสำรวจพื้นที่ก่อน

ทั้งนี้ จะเร่งดำเนินการเรื่องการเวนคืนและแก้ปัญหาผู้บุกรุกให้เสร็จภายใน 2 ปีตามที่กำหนดไว้ในทีโออาร์ ซึ่งจะไม่กระทบกับกรอบเวลาก่อสร้าง 5 ปีแน่นอน เพราะมีพื้นที่ที่พร้อมส่งมอบเพื่อก่อสร้างแล้ว 80%

ดังนั้น ในสัปดาห์หน้า คาดว่าร.ฟ.ท.น่าจะได้ข้อมูลในส่วนต่างๆ ครบรอบ​ถ้วนแล้ว ส่วนกลุ่ม ซี.พี.จะต้องไปสำรวจว่า มีอะไรยังติดขัดหรือไม่และต้องการให้ ร.ฟ.ท.ไปดำเนินการในพื้นที่อุปสรรคส่วนไหนก่อน แล้วส่งมาในที่ประชุมครั้งต่อไป

@ส่งอิตาเลียนไทยร่วมวง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บรรยากาศการประชุมคณะกรรมการคัดเลือกเพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในวันนี้ นายวรวุฒิมอบหมายให้นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล ในฐานะรองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ทำหน้าที่ประธานในที่ประชุมแทน เนื่องจากนายวรวุฒิติดภารกิจประชุมร่วมกับที่ปรึกษาจากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (ไจก้า)

ส่วนกลุ่ม ซี.พี.ได้ส่งตัวแทนฝ่ายกฎหมายและผู้บริหาร บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นท์ นำโดยนายสุเมธ สุรบถโสภณ รองประธานบริหารอาวุโสมาร่วมประชุม โดยนายสุเมธ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า มาดูการส่งมอบพื้นที่ เพื่อกลับไปวางแผนการก่อสร้าง

“ส่วนตัวมองว่าระยะเวลาก่อสร้าง 5 ปีที่ให้มาค่อนข้างจำกัด และข้อมูลที่ให้มาก็ยังไม่ครบ ขณะที่การแบ่งงานกับ บมจ.ช.การช่างในฐานะผู้ร่วมทุน ยังคุยกันอยู่”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2019 6:35 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ถกเครียด! ปมบุกรุกที่รถไฟ 3 สนามบิน
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา 06:30 น.


ทัพนักลงทุนกวางตุ้งขานรับEEC “ซีพี”ปิดดีลเงินกู้ตอกเข็มไฮสปีด
พร็อพเพอร์ตี้
วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2562 เวลา 11:49 น.

เมกะโปรเจ็กต์รับรัฐบาลใหม่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2.24 แสนล้าน ร.ฟ.ท.เผยหลัง 24 มิ.ย.นี้เซ็นแน่สัญญา รอบอร์ดอีไอเอเคาะครั้งสุดท้าย เร่งถกกลุ่ม ซี.พี.ทำแผนส่งมอบพื้นที่ให้จบ 14 มิ.ย.นี้ บิ๊ก ซี.พี.ลั่นเคลียร์เงินกู้จบ 6 เดือน เปิดไซต์ตอกเข็มทันที เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์กวางตุ้งขนทัพนักลงทุนจีนกว่า 200 ราย พบ “สมคิด” ยื่น 5 ข้อเสนอ หนุนการค้า ลงทุน ท่องเที่ยวอีอีซี
นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปลายเดือน มิ.ย.ถึงต้นเดือน ก.ค.นี้ จะเซ็นสัญญากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์ จำกัดและพันธมิตรหรือกลุ่ม ซี.พี. ผู้ชนะประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเลื่อนจากเดิมวันที่ 15 มิ.ย. 2562

เซ็นแน่หลังวันที่ 24 มิ.ย.นี้

“ยังระบุวันไม่ได้ คาดว่าหลัง 24 มิ.ย.นี้ ต้องรอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอที่ผ่านคณะกรรมการผู้ชำนาญการแล้ว”

อีกทั้งรอผลเจรจากลุ่ม ซี.พี.ทำแผนส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการวันที่ 14 มิ.ย.นี้ หากทั้ง 2 ฝ่ายเห็นตรงกัน 90% ถึงจะไปสู่ขั้นตอนลงนามในสัญญาได้ เป็นการดำเนินการตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดมีข้อสังเกตให้ ร.ฟ.ท.ประสานหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้องวางแผนส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนอย่างมีประสิทธิภาพและรอบคอบให้เอกชนสามารถเข้าดำเนินโครงการได้โดยไม่ทำให้ ร.ฟ.ท.ผิดสัญญา ถูกเรียกค่าเสียหาย ถูกบอกเลิกสัญญาเหมือนโฮปเวลล์

“เซ็นสัญญาได้ไม่ได้อยู่ที่อีไอเอ กับแผนส่งมอบพื้นที่ หากทั้ง 2 ส่วนไม่มีปัญหาก็เซ็นสัญญาได้เร็ว ตอนนี้อีไอเอไม่มีปัญหาแล้ว เหลือส่งมอบพื้นที่จะเป็นประเด็นใหญ่ จะพยายามให้จบวันที่14 มิ.ย.นี้กำลังรวบรวมข้อมูลให้ครบถ้วนเพื่อทำแผนร่วมกับ ซี.พี. ซึ่ง ซี.พี.ต้องบอกให้ชัดอยากได้พื้นที่จุดไหนเป็นพิเศษ ถ้าบอกว่า 2 ปีแรกยังไม่ต้องการขอไปทำอย่างอื่นก่อน เราจะมีเวลาแก้ปัญหา โดยเฉพาะผู้บุกรุกที่ต้องใช้”

รอเคลียร์ส่งมอบพื้นที่


ตลอดแนวมีพื้นที่เป็นอุปสรรค ได้แก่ 1.พื้นที่บุกรุกแยกอุรุพงษ์ถึงพญาไท 88 ราย 2.พื้นที่ติดสัญญาเช่า 314 สัญญา 3.สาธารณูปโภคที่กีดขวาง เช่น สายไฟฟ้า ท่อประปา ท่อส่งน้ำมันของ ปตท.และตอม่อโฮปเวลล์ 80-90 ต้นที่ต้องทุบทิ้ง และ 4.พื้นที่ทับซ้อนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับรถไฟไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น และบางซื่อ-พญาไทกับสายสีแดงอ่อน Missing Link จะสร้างเป็นอุโมงค์เปิด ซึ่ง ซี.พี.ต้องออกค่าก่อสร้างไปก่อนทั้ง 2 ช่วง 7,100 ล้านบาท

“ร.ฟ.ท.จะส่งมอบพื้นที่ให้เสร็จ 2 ปี ส่งมอบได้ทันที 100 ไร่ที่สถานีมักกะสัน พัฒนาเชิงพาณิชย์ อีก 40 ไร่ส่งมอบใน 5 ปีติดรื้อย้ายพวงราง ส่วนบริเวณสถานีอู่ตะเภา ขอใช้พื้นที่กับกองทัพเรือแล้ว”

ขณะที่การเวนคืนใน 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง 850 ไร่ 3,570 ล้านบาท จุดใหญ่อยู่จ.ฉะเชิงเทรา 550 ไร่ มีค่าเวนคืน 3,000 ล้านบาทและสิ่งปลูกสร้าง 245 หลัง รอออก พ.ร.ฎ.เวนคืน

การเซ็นสัญญาทางกลุ่ม ซี.พี.ต้องตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) ทุนจดทะเบียนเริ่มต้น 4,000 ล้านบาทมาเป็นคู่สัญญา จากนั้นจะให้เวลากลุ่ม ซี.พี.ทำแผนก่อสร้าง ออกแบบรายละเอียด แผนการเงิน ภาระค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้เสร็จ 270 วัน หรือ 9 เดือนนับจากเซ็นสัญญา ถึงจะเริ่มก่อสร้างได้

รายงานข่าวแจ้งว่า อีอีซีได้กำหนดวันเซ็นสัญญาไว้แล้วหลังคณะกรรมการผู้ชำนาญการอนุมัติอีไอเอ เป็นหลังวันที่ 24 มิ.ย. แต่ไม่สามารถบอกวันได้ เกรงจะไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ คาดว่าจะเป็นช่วงเดียวกับที่จัดตั้งรัฐบาลใหม่แล้วเสร็จปลาย มิ.ย.นี้ หากเป็นตามกำหนดการนี้ เท่ากับว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการใหญ่โครงการแรกที่รัฐบาลชุดใหม่ได้เซ็นสัญญา

“เซ็นสัญญาแล้วยังเริ่มสร้างไม่ได้ ซี.พี.ต้องออกแบบรายละเอียด ทำแผนการกู้เงิน แผนธุรกิจ อย่างเร็วปลายปีนี้น่าจะเริ่มสร้างได้”

ซี.พี.ขอเวลา 6 เดือนตอกเข็ม

ก่อนหน้านี้นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (เครือ ซี.พี.) กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า พร้อมจะเซ็นสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งเป็นการลงทุนโครงการใหญ่ที่ท้าทาย เนื่องจากมีความเสี่ยงและผลตอบแทนไม่สูง เอกชนจะต้องหาเงินลงทุนทั้งหมดตั้งแต่เริ่มโครงการ ได้เจรจาในหลักการกับพันธมิตรเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ได้ราบรื่นเสียทีเดียว ต้องลงรายละเอียดเรื่องการระดมทุน หาเงินกู้มาลงทุนโครงการ ตั้งเป้าจะให้จบใน 6 เดือนหรืออาจจะเร็วกว่านั้น จากนั้นถึงจะเริ่มงานก่อสร้างได้

แหล่งเงินทุนมีทั้งธนาคารไทยที่เป็นธนาคารรัฐและพาณิชย์ มีองค์การเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น (เจบิก) ของญี่ปุ่นและธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งประเทศจีน (CDB) เพราะทั้ง 2 ประเทศนี้ส่งเสริมเรื่องโครงสร้างพื้นฐานอยู่แล้ว จะเข้าใจว่าผลตอบแทนโครงการไม่สูง ทำให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างดี ส่วนเรื่อง single lending limit หรือหลักเกณฑ์การกำกับลูกหนี้รายใหญ่สามารถขอธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นรายโครงการได้ เพราะเป็นโครงการของประเทศและเป็นโครงการที่รัฐร่วมกับเอกชน สามารถจะพิจารณานอกกรอบปกติได้

จีนกวางตุ้ง 200 รายบุก EEC

งานสัมมนาความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าจีน-ไทย เมื่อวันที่ 11 มิ.ย.ที่ผ่านมา นายหลี่ ซี เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ประจำมณฑลกวางตุ้ง กล่าวว่า เพื่อขยายความร่วมมือในเชิงยุทธศาสตร์หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง (One Belt One Road) เชื่อมโยงเขตเศรษฐกิจของจีน เข้ากับเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) และไทยแลนด์ 4.0 สร้างโอกาสทางธุรกิจและการลงทุน ขยายมูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีน ให้บรรลุเป้าหมาย 1.4 ล้านล้านเหรียญสหรัฐในปี 2564 จะเสนอความร่วมมือ 5 ข้อ ให้กับรัฐบาลไทยพิจารณา ได้แก่ 1.นำพื้นที่กวางตุ้ง ฮ่องกง มาเก๊า สร้างเป็นคลัสเตอร์เชื่อม EEC

2.ขยายการลงทุนมาไทยมากขึ้น ที่ผ่านมาไทยลงทุนที่จีน 755 โครงการ ส่วนจีนลงทุนที่ไทย 123 โครงการ

3.ยกระดับการค้ากวางตุ้งมณฑลใหญ่ มี GDP เป็นอันดับ 1 อยู่ที่ 9.73 ล้านล้านหยวนในปี 2561 และปี 2562 จะถึง 10 ล้านล้านหยวน จีนนิยมสินค้าเกษตร ประมง เครื่องใช้ไฟฟ้าจากไทย และจีนก็มีสินค้าสิ่งทอ เซรามิก ทั้ง 2 ประเทศสามารถใช้ช่องทางอีคอมเมิร์ซซื้อขายกันได้

4.ร่วมมือแปรรูปสินค้าเกษตร ประมง เพราะไทยมีจุดแข็งด้านสินค้า ส่วนจีนมีพื้นที่ทางทะเลและพื้นที่ชนบทพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวสวยงามได้ และ 5.ขยายความร่วมมือด้านการท่องเที่ยวไทยกับจีน

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ กล่าวว่า การนำคณะนักลงทุนจากมณฑลกวางตุ้งมาไทยถึง 200 คน ครั้งนี้สะท้อนว่า ไทยและจีนมีความสัมพันธ์อันดีร่วมกันมาโดยตลอด ตอกย้ำว่าไทยเป็นปึกแผ่น เป็นเอกภาพ ผ่านการเลือกตั้งและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนใหม่ สะท้อนความมีเสถียรภาพ ความต่อเนื่องของนโยบายที่จะสานต่อ โดยเฉพาะการเป็นภาคี One Belt One Road ซึ่งไทยเตรียมเป็นเจ้าภาพประชุมอาเซียน ในเดือน มิ.ย.นี้ จะเสนอบทบาทการค้าการลงทุนกับจีนให้อาเซียนทราบ โดยการเชื่อมจีนทางตอนใต้กับอาเซียนให้ได้ประโยชน์ร่วมกัน

“การเสนอ 5 ข้อของนายหลี่ เพื่อเชื่อมโยงการลงทุนมายัง EEC จับมือร่วมกันทางด้านการค้า ลงทุน ท่องเที่ยว นับเป็นข้อเสนอที่เป็นรูปธรรม ได้ประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่าย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 16/06/2019 6:52 pm    Post subject: Reply with quote

ยกเลิก400สัญญา เคลียร์ที่‘ไฮสปีด’
ออนไลน์เมื่อ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2562
ตีพิมพ์ใน ข่าว หน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,479 วันที่ 16 - 19 มิถุนายน พ.ศ. 2562

รฟท. เคลียร์ 5 ปมร้อนรถไฟไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ก่อนส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีไล่รื้อ 3,000 หลังคาเรือนบอกเลิกกว่า 400 สัญญา “วรวุฒิ” เรียกซีพี ทำข้อตกลง ยันไม่รีบร้อนเซ็นสัญญา หวั่นซํ้ารอยค่าโง่โฮปเวลล์แม้วันที่ 28 พฤษภาคม 2562 ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติอนุมัติร่างสัญญาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ลงนามในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ -อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กิโลเมตรร่วมกับกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัดหรือซีพีและพันธมิตรผู้ชนะการประมูล โดยมีเป้าหมายไม่เกินวันที่ 15 มิถุนายน 2562 อย่างไรก็ตาม ยังมีปมร้อนหลายรายการโดยเฉพาะเส้นทางทับซ้อน, การบุกรุกพื้นที่ ส่งผลให้รฟท.ต้องแก้ปัญหาให้สะเด็ดนํ้า ก่อนส่งมอบพื้นที่ จึงเลื่อนการเซ็นสัญญาออกไปเป็นต้นเดือนกรกฎาคม เพื่อไม่ให้เกิดเหตุซํ้ารอยโครงการโฮปเวลล์ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากเรื่องไม่เรียบร้อย รฟท. ยืนยันว่าจะไม่รีบร้อนลงนาม เลิกสัญญาเช่าที่..ไล่รื้อบุกรุกนายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่า การกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการแทนผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ถึงการลงนามในสัญญาล่าช้าว่า เนื่องจาก รฟท.ต้องการดำเนินการให้เกิดความรอบคอบ เพราะปัญหาใหญ่คือการส่งมอบพื้นที่ ยังติดปัญหาหลายเรื่อง โดยยอมรับว่าการบุกรุกถือเป็นปัญหาที่เรื้อรัง แก้ไขยาก โดยเฉพาะบนเขตทางรถไฟตั้งแต่ ดอนเมือง ถึง พญาไท ขณะนี้ มีประชาชนบุกรุกสร้างบ้านเรือนอยู่อาศัย เป็นหลัก 1,000-2,000 ราย หากเทียบระยะทาง รถไฟสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน มีผู้บุกรุกประมาณกว่า 3,000 ราย ซึ่งเป็นช่วงใกล้เคียงกันกับรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ในเขตเมือง“ที่ผ่านมา รฟท. มักถูกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตักเตือน โดยเฉพาะสำนักงานอัยการสูงสุดระบุว่าการไล่รื้อเป็นปัญหาใหญ่ของการส่งมอบพื้นที่ และอาจส่งผลตามมาเหมือนค่าโง่โฮปเวลล์ ทำ ให้เราไม่รีบร้อน ที่จะเซ็นสัญญา”ขณะเดียวกัน ยังต้องเจรจา บอกเลิกสัญญาเช่าแนวเขตทางกว่า 400 สัญญา ตั้งแต่ดอนเมือง-อู่ตะเภา ส่วนใหญ่เป็นกลุ่ม ปักเสาพาดสาย ทางข้ามทางเชื่อม ธุรกิจป้ายโฆษณา รองลงมาเป็นกลุ่มอาคารพาณิชย์ ฯลฯ ซึ่งต้องใช้เวลาแต่มองว่าเจรจาง่ายกว่ากลุ่มบุกรุก อีกปัญหา นายวรวุฒิ อธิบายว่า ต้องเคลียร์จุดทับซ้อน เส้นทาง ระหว่างรถไฟไทย-จีน รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน บริเวณบางซื่อ ต้องมีการทุบตอม่อส่วนการเวนคืน ขณะนี้ รอพระราชกฤษฎีกาเวนคืนที่ดินคาดว่าจะออกเร็วๆ นี้ พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากที่สุด อยู่บริเวณจังหวัดฉะเชิงเทรา เพื่อทำโรงซ่อมและ สถานีใหม่กว่า 300 ไร่ ซึ่งที่ผ่านมามีการลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับชาวบ้าน แต่ทั้งนี้ การเวนคืนต้องใช้เวลามีทั้งเห็นด้วยและไม่เห็นด้วย ซึ่งช่วงนี้จะใช้เวลา 2 ปีในการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน สำหรับการก่อสร้าง มองว่า จะต้องเริ่มจาก บริเวณอู่ตะเภา ไล่ขึ้นมาถึงกรุงเทพฯ หรือ ไล่ จากปัญหาน้อยไปหาปัญหาที่มาก
ทำแผนมัดมือซีพีสำหรับทางออก นายวรวุฒิ ระบุว่า ไม่ว่าพื้นที่จะติดปัญหาอะไรก็ตาม รฟท. ได้เปลี่ยนวิธีทำงานใหม่ เพื่อไม่ให้ซํ้ารอยกับโฮปเวลล์คือ ทำแผนบันทึกข้อตกลง ก่อนส่งมอบพื้นที่ ด้วยการนำข้อมูลทั้งหมดมาวางบนโต๊ะเรียกซีพีเข้ามารับทราบปัญหา ว่าเส้นทางที่จะมอบพื้นที่มีอะไรบ้าง เส้นทางไหนถึงกิโลเมตรไหนเป็นอย่างไร พร้อมทั้งใส่รายละเอียดทั้งหมดลงไปในแผนที่ว่าปัจจุบันมีผู้บุกรุกจำนวนเท่าใด ติดปัญหาสัญญาเช่าพื้นที่มากแค่ไหน เวนคืนกี่แปลง ฯลฯ พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาเข้าพื้นที่ก่อสร้างของซีพี หากพื้นที่ไหนสะดวกก็สามารถเข้าพื้นที่ได้ก่อน หากพื้นที่ไหน ติดปัญหา ก็ทะยอยส่งมอบ“กำหนดแนบท้ายสัญญาว่า รฟท. ขอเวลา 2 ปีสำหรับ การเวนคืน และบอกเลิกสัญญา ขณะบุกรุกใช้ขอเวลา 3 ปี และห้ามซีพีเข้าพื้นที่ก่อนระยะเวลาที่กำหนด หากซีพียอมรับได้ ก็เซ็นสัญญาร่วมกันเบื้องต้นกำหนดไว้ต้นเดือนกรกฎาคมนี้” เร่งทำหลักฐานบุกรุกนายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า รฟท.ระบุว่าได้ทำบันทึก แนบท้าย สัญญากับซีพี พร้อมทั้งให้ซีพี เข้ามารับทราบรายละเอียดของปัญหา ก่อนเซ็นสัญญา จะต้องดูคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สวล) จะผ่านรายงานการกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ คาดว่า อย่างเร็ว สิ้นเดือนมิถุนายนนี้ อย่างช้า ต้นเดือนกรกฎาคมนี้โดยมีเงื่อนไขว่า

1. ไล่รื้อผู้บุกรุกโดยรฟท. ใช้เวลา 3 ปีโดยพิจารณาจากประสบการณ์ที่ผ่านมา
2. บอกเลิกสัญญา ขอเวลา 2 ปี รฟท.เป็น ผู้ดำเนินงาน และ
3. การเวนคืน ใช้ เวลา 2 ปี
4. การรื้อย้านสาธารณูปโภค ใช้เวลา 2 ปี
5. ทุบทิ้ง ตอม่อ บริเวณ บางซื่อ-พญาไท 90 ต้น ซีพี เป็นผู้ออกค่าใช้จ่าย ต้นละ 2-3 แสนบาท ส่วนดอนเมือง ถูกทุบโดยรถไฟสายสีแดง ขณะผู้บุกรุก บริเวณดอนเมือง ยืนยันว่าไม่มีเนื่องจาก ถูกไล่รื้อในช่วงรถสายสีแดงแล้ว

ทั้งนี้ พื้นที่ก่อสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน ทั้งหมด 11,000 ไร่ พบผู้บุกรุก 1,100 ไร่ คิดเป็น 10% ล่าสุด มีรายงานเบื้องต้น 630 หลังคาเรือน ขณะส่วนพื้นที่อื่น ยังไม่ได้รับการรายงาน อาจจะมีเพิ่มเข้ามามากกว่านี้ นอกจากนี้พื้นที่สัญญาเช่า 450 ไร่ ที่สำคัญ รฟท.จะพาซีพีลงพื้นที่ ถ่ายภาพ ตลอดแนวสายทาง ถึงลักษณะจำนวนการบุกรุก เพื่อป้องกันการบุกรุกภายหลังและเกิดการฟ้องร้อง เหมือนกรณีโฮปเวลล์ที่ต้องขยายเวลาให้กับผู้รับเหมา 900 วัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 17/06/2019 5:41 pm    Post subject: Reply with quote

ลงทุนทำรถไฟความไวสูงลงใต้หลังพบว่า ไปแค่หัวหินที่ยบ่อฝ้ายไม่จูงใจพอ ไปชุมพรน่าจะคุ้มแต่ไปสุราษฏร์ธานัี ต้องเสี่ยงกับการแข่งขันกับสายการบินราคาต่ำ แต่ก็หวังว่าจะไปถึงปาดังเบซาร์ปี 2580
https://www.thebangkokinsight.com/162449/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2019 8:36 am    Post subject: Reply with quote

คาดทุบเสา 'โฮปเวลล์' 288 ต้น ค่าทุบ 175 ล้าน ก่อนลงมือก่อสร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
กองบรรณาธิการ TCIJ
18 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน พบมีเสาโฮปเวลล์ 288 ต้น ที่กีดขวางและต้องทุบทิ้ง คาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 175 ล้านบาท

สำนักข่าวไทย รายงานเมื่อวันที่ 10 มิ.ย. 2562 ว่าหลังจากศาลปกครองสูงสุดได้มีคำพิพากษาให้การรถไฟฯ ต้องจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัท โฮปเวลล์ เป็นเงินกว่า 12,000 ล้านบาท แต่ว่าตัวเลขการชดเชยยังไม่นิ่ง หลังจากที่คณะกรรมการรถไฟได้ตั้งคณะทำงานขึ้น มีตัวแทนจากหลายหน่วยงานเข้าร่วม ซึ่งนายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ระบุว่าภายในเดือน มิ.ย. 2562 นี้ การเจรจาจะมีความชัดเจนว่ายอดเงินที่ต้องจ่ายชดเชยตามคำสั่งศาลภายใน 180 วัน จะเป็นเท่าใด และดีลการจ่ายจะเป็นอย่างไร

ทั้งนี้เสาของโครงการโฮปเวลล์ ที่เริ่มต้นเมื่อโครงการล้มไปพบว่ามีเสาอยู่กว่า 1,000 ต้น แต่ในช่วงที่มีการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมือง สายสีแดง ช่วงรังสิต-บางซื่อ มีการทุบเสาที่ไม่สามารถนำมาใช้งานได้ จำนวน 790 ต้น แล้วในขณะนี้ก็พบว่าการดำเนินการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ก็มีเสาโฮปเวลล์ จำนวน 288 ต้น ที่กีดขวางและต้องทุบทิ้งคาดว่าจะใช้งบประมาณกว่า 175 ล้านบาท

โดยรายละเอียดเรื่องนี้นายวรวุฒิ ระบุว่าการรถไฟจะมีการเจรจากับกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเรื่องของแนวเส้นทางของโครงการ เพื่อเตรียมแผนการส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม CPH ใช้ดำเนินการก่อสร้าง และจะครอบคลุมถึงประเด็นปัญหาของเสาโฮปเวลล์ที่กีดขวางงานก่อสร้างของโครงการ และจำเป็นต้องทุบทิ้งโดยจะต้องให้เกิดความชัดเจนว่าจะต้องมีการทุบทิ้งจำนวนกี่ต้นและใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการดำเนินการด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42702
Location: NECTEC

PostPosted: 18/06/2019 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

ปตท ส่อแววไม่ร่วมโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:36
ปรับปรุง: 17 มิถุนายน พ.ศ. 2562 เวลา 09:58

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. เงินลงทุน 224,544 ล้านบาท

นายชาญศิลป์ ตรีนุชกร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ก็เริ่มส่งสัญญาณว่า ปตท.อาจจะไม่เข้าร่วมลงทุนในโครงการดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความเชี่ยวชาญรถไฟฟ้า แต่เชี่ยวชาญเรื่องพลังงานและบริหารจัดการพื้นที่

รวมทั้งต้องกันเงินไปใช้ในโครงการอื่นๆ ที่น่าลงทุนมากกว่า หากจะให้ ปตท.ร่วมทุน ทางกลุ่มกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะประมูลคงต้องส่งเทียบเชิญเข้ามา

ซึ่งก่อนหน้านี้ ปตท.เคยให้เหตุผลการไม่เข้าร่วมประมูลโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินว่าจะพิจารณาเข้าไปร่วมลงทุนกับกลุ่มผู้ชนะประมูลโครงการในภายหลัง
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 323, 324, 325 ... 545, 546, 547  Next
Page 324 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©