Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181565
ทั้งหมด:13492803
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 331, 332, 333 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2019 12:33 am    Post subject: Reply with quote

เสวนาคู่ขนาน โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ ใครได้ใครเสีย?
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: อาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 เวลา 10:09
ปรับปรุง: อาทิตย์ที่ 1 กันยายน 2562 เวลา 14:15

ในขณะที่รัฐบาลพยายามผลักดันอีอีซีเพื่อหวังสร้างจุดขายให้ประเทศไทย หลังทุนใหญ่จำนวนมากย้ายฐานไปเวียดนาม โดยเฉพาะช่วงสงครามการค้าที่บริษัทขนาดใหญ่ต่างก็ย้ายฐานการผลิต ทำให้ส้มหล่นกลับตกไปอยู่ที่ประเทศ เวียดนาม อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์

แต่ดูเหมือนคนไทยบางกลุ่มจะไม่อยากได้อีอีซี มีการจัดเสวนาใครได้ใครเสีย แต่ที่แน่ๆ ประเทศไทยกำลังจะเสียรังวัด!!

ทำให้มีการจัดเวทีคู่ขนานของกลุ่มนักศึกษา เพื่อตอบคำถาม NGO นอกพื้นที่ ที่มาปลุกกระแสต้านอีอีซี ทั้งที่เป็นโอกาสสุดท้ายของไทยในการกลับมามีเศรษฐกิจที่แข่งขันกับภูมิภาคได้

เริ่มจากประเด็นแรกที่ ”อาจารย์เขียว” หรือ ดร.สมนึก จงมีวศิน ที่เป็นที่รู้จักในหมู่นักขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมของภาคตะวันออก ได้พูดถึง พ.ร.บ. EEC ว่า "บีบคั้นเร่งพิจารณา EIA เอื้อประโยชน์โครงการต่างๆ"

กำลังทำให้คนไทยสับสน ทั้งที่ข้อเท็จจริงคือ EIA ทำกันมา 2 ปีแล้ว จนอนุมัติทุกขั้นตอน ดังนั้นหาก "อ.เขียว" คิดว่าการทำ EIA ไม่ถูกต้อง ควรฟ้องศาลปกครอง ไม่ใช่มาทำให้ประชาชนสับสน นอกจากนี้ควรยกข้อเท็จจริงมาให้ชัดว่า EIA ข้อใดไม่ผ่าน มิใช่พูดลอยๆ โดยไม่มีข้อเท็จจริงสนับสนุน

ประเด็นต่อมา อ.เขียว "ให้เฝ้าระวังเขตพื้นที่ EECH คือเขตพื้นที่รอบสถานีรถไฟความเร็วสูง ซึ่งพื้นที่เหล่านี้รัฐต้องส่งมอบให้ผู้ชนะการประมูลมาสร้างสถานี"

พื้นที่การก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีการระบุพื้นที่ในการก่อสร้างไว้อย่างชัดเจนตั้งแต่แรกแล้ว ประเทศไทยอยากจะดึงดูดนักลงทุน แต่กล้าๆ กลัวๆ ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ เวียดนาม เขาจะถามนักลงทุนอยากได้อะไร เพื่อให้นักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศ แต่ประเทศไทยยังวนเวียนกับวังวนเดิม กลัวแต่เรื่องเสียผลประโยชน์ เช่นพูดเรื่อง

• เอื้อประโยชน์การใช้ที่ดินให้กับกลุ่มทุนเอื้อ EEC - ทั้งที่ที่ดินก็ให้เช่า ไม่ได้ให้ฟรี
• อ้างถึงการเช่าที่ดิน 99 ปี ทั้งที่จริงๆ แล้วให้เช่าช่วงแรกแค่ 50 ปี และเช่าช่วงที่ 2 เพิ่มได้อีก 49 ปี
• พูดถึงต่างชาติเสียภาษีแค่ 17% ก็กลัวคนไทยเสียเปรียบ เป็นต้น

เลยไม่แน่ใจว่าอยากดึงดูดการลงทุนมาประเทศไทยจริงหรือไม่?

ด้าน “สุวิทย์” ประธานกรรมการแรงงานรถไฟ อ้างถึง "รัฐบาลนำพื้นที่มักกะสันร่วมในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ให้กลุ่มทุนสนใจ และมีข้อสังเกตผู้เข้าประมูลแค่ 2 ราย ต้องการตอบโจทย์ให้ใคร"

ซึ่งข้อเท็จจริงคือ TOR ปิดประตูเสียเปรียบของภาครัฐไว้ทุกข้อ โยกความเสี่ยงทั้งหมดให้เอกชน จนนักลงทุนส่วนใหญ่เผ่นกลับบ้าน แทนที่จะสงสัยว่า ทำไมนักลงทุนเห็น TOR แล้วถอยจนเหลือสองกลุ่ม ไม่ใช่ 2 ราย แต่ละกลุ่มเขามีพันธมิตรหลากหลายรายกลับไม่พูดถึง กลับไปมองว่าเอื้อเอกชน ทั้งที่โครงการมีความเสี่ยง แต่มีความจำเป็นต่อประเทศ จึงต้องจูงใจให้คนกล้ามาลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้ประเทศไทย

สุวิทย์ยังอ้างอีกว่า "จะต้องสูญเสียพื้นที่ที่มีพันธกิจรถไฟ (มักกะสัน) 150 ไร่ (โอกาสจะกินรวบ 400 ไร่) มีผลกระทบต่อคนงานรถไฟ"

แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาไม่เคยมีใครแยแส ปล่อยให้กลายเป็นพื้นที่เสื่อมโทรม และมั่วสุม บ้างก็อ้างขัดพระราชปณิธานของในหลวงรัชกาลที่ ๕ แน่นอน

ไม่รู้ว่ากล้าอ้างกันแบบนี้ได้อย่างไร ต่อให้มีปัญหาอะไรก็มิบังควร

ส่วนเรื่องพื้นที่ 20% ที่ดินบุกรุก และทับซ้อนอยู่นั้น "กลัวว่าจะเกิดค่าโง่เหมือนโฮปเวลล์" ควรจะต้องเลิกเรียกว่า "ค่าโง่" ได้แล้ว เพราะจริงๆ แล้วต้องเรียกว่า "ค่าโกง หรือค่าผิดสัญญา" ในกรณีที่ส่งมอบพื้นที่ให้ไม่ทันตามกำหนด

ซึ่งหน่วยงานรัฐที่รับผิดชอบก็ต้องฝึกรักษาสัญญา มิฉะนั้นก็จะไม่มีใครกล้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ

สุมิตรา ประธานชุมชนรถไฟมักกะสัน พูดถึงเรื่องที่ว่า "ข้อสงสัยชุมชนมักกะสันจะไปอยู่ในพื้นที่ใดในช่วงระหว่างการก่อสร้าง"

จนทำให้คนสับสนว่า จะไปย้ายทั้งชุมชนมักกะสัน ทั้งที่แท้จริงแล้ว 150 ไร่ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินนั้นไม่ทับซ้อนกับที่อยู่อาศัยของชุมชนมักกะสันเลย ถ้าทางชุมชนฯ อยากจะให้รัฐดูแลอย่างไร ให้เอารายชื่อคนที่จะไม่มีที่อยู่อาศัยมายื่นให้การรถไฟฯ



พื้นที่มักกะสัน ที่รวมในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ พื้นที่แปลง 2 และ 3 ขนาดประมาณ 140 ไร่ ดังนั้นพื้นที่ดังกล่าวจึงไม่รวมบึงมักกะสัน ไม่รวมพื้นที่โรงงาน ไม่รวมบ้านพักพนักงาน โรงพยาบาล แค่พื้นที่ส่วนหนึ่ง พื้นที่ส่วนนี้เตรียมไว้ทำสถานีรถไฟความเร็วสูง รวมถึงการปรับปรุงการจราจรทางเข้าออกพื้นที่สถานีให้มากขึ้นจากเดิมเข้าออกได้เพียง 1 จุด บน ถ.อโศกมนตรี ให้เข้าออกได้มากขึ้น เพื่อการเชื่อมโยงการเดินทางที่ดี ผู้โดยสารได้ประโยชน์

ที่มา : สกพอ. รายงานชี้แจงประเด็นเกี่ยวกับข่าว จงใจเขียน ล็อกสเปก ฮั้วประมูล รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน

แต่ในกรณีนี้หากใครดูแผนที่ก็จะรู้ว่าไม่มีความเกี่ยวข้องกันเลย แต่เป็นเพียงวลีที่ต้องการจะปลุกระดม หาแนวร่วม เรียกร้องความเห็นใจ ว่ารัฐไม่ดูแล จนอาจจะลืมไปแล้วว่า ไม่ว่าใครอยู่ในยุคนี้ก็ต้องแข่งขัน ก็ช่วยเหลือตัวเองกันทุกคน ไม่ใช่เรียกร้องให้ใครมาอุ้ม ทุกคนต้องยืนด้วยลำแข้งของตนเอง

นันทพร ประธานสภาผู้ชม ThaiPBS กล่าวถึงบทบาทของสื่อสาธารณะ มองว่า

"โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีผลกระทบต่อคนในชุมชนและพี่น้องคนงานรถไฟ พนักงาน Airport Link เช่น สูญเสียที่อยู่ รายได้ และอาชีพจะหายไป คนยากจนจะตายกันหมด"

โดยไม่ได้มองมิติที่การรถไฟแห่งประเทศไทยขาดทุนมหาศาล จนต้องให้รัฐบาลมาช่วยอุ้ม และจะให้อุ้มไปตลอดก็คงไม่ไหว และแอร์พอร์ตลิงก์เองที่วิ่งอยู่ทุกวันก็ปะผุ มีความเสี่ยงมากกับปัญหาการดูแลรักษา รวมถึงจำนวนเที่ยวของการเดินรถไฟฯ ก็ไม่เพียงพอ

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเข้ามาช่วยปลดหนี้ให้การรถไฟฯ อย่างมหาศาล แต่ไม่เคยถูกพูดถึงเลย และวลีเด็ดที่ว่า ไม่ขวางความเจริญ แต่ในความเป็นจริง ประเทศไทยกำลังถอยหลังตกคลอง ในขณะที่ต่างประเทศกำลังเดินหน้าสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุน

ที่มา : เวทีรับฟังความคิดเห็น "โครงการรถไฟความเร็วสูง กฎหมายกับผลประโยชน์ ใครได้ใครเสีย ?"



ที่มากระทู้พันทิป : https://pantip.com/topic/39191276
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/09/2019 5:21 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ หมายเหตุประเทศไทย: รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
ไทยรัฐ ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2562
"ลม เปลี่ยนทิศ"

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูม-อู่ตะเภา ที่กลุ่มซีพีและพันธมิตรไทยจีนญี่ปุ่นชนะการประมูลไปในราคา 149,650 ล้านบาท แม้ ครม.ประยุทธ์ 1 จะมีมติเห็นชอบให้การรถไฟฯ เซ็นสัญญากับ กลุ่มซีพี ตั้งแต่เดือนพฤษภาคม แต่การเจรจารายละเอียดในสัญญากลับยืดเยื้อมาหลายเดือนแล้ว

ล่าสุด คุณวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ เปิดเผยว่า บอร์ดรถไฟ เห็นชอบให้ ร.ฟ.ท. ลงนามกับ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้งและพันธมิตร เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม คาดว่าจะเซ็นสัญญาได้ในเดือนกันยายนนี้ ตามที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกำหนด แม้ว่ากลุ่มซีพีจะไม่ได้ สนามบินอู่ตะเภา ก็ตาม

การเซ็นสัญญาจะมีขึ้นในเดือนนี้หรือไม่ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะเกิดได้หรือไม่ ไปอ่านบทความพิเศษของ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการ EEC เรื่อง "ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จากมุมมองของคนทำงาน" ใน นสพ.ประชาชาติธุรกิจ เดือนมิถุนายนดูครับ ดร.คณิศ ได้เล่าที่มาที่ไปและเงื่อนไขการกำหนดสัญญาในโครงการนี้อย่างละเอียด ผมอ่านแล้วไม่เชื่อว่า กลุ่มซีพีและพันธมิตร จะกล้าลงนามในสัญญาหากไม่มีการตกลง "เงื่อนไขการเงิน" และ "กำหนดการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างที่ชัดเจน" ซึ่งเป็นเงื่อนไขที่กลุ่มซีพีเสนอไปพร้อมกับซองเสนอราคาตั้งแต่ต้น

ดร.คณิศ เล่าว่า EEC ถูกวางให้ทดลองของใหม่ ตามหลักการแล้ว การร่วมทุน (PPP) คือการเอาทุนมารวมกัน กำไรด้วยกัน รับความเสี่ยงด้วยกันอย่างเท่าเทียมกันของรัฐและเอกชน อย่างไรก็ดี ภาครัฐเคยมีประสบการณ์ร่วมทุนกับเอกชนที่ไม่ดีมาพอสมควร โดยเฉพาะกรณี โฮปเวลล์ ที่รัฐร่วมจ่ายไปแต่งานไม่เสร็จ กรณีรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน จึงกำหนดให้เอกชนลงทุนสร้างก่อน รัฐผ่อนทีหลัง (กำหนดใช้เวลาก่อสร้าง 5 ปี) รัฐบาลจะผ่อนชำระตั้งแต่ปีที่ 6 เป็นต้นไป

ดร.คณิศ ยอมรับว่า เมื่อเอกชนต้องกู้เงินมาลงทุนก่อน ดอกเบี้ยเงินกู้ของโครงการที่ใหญ่นี้จึงมีมูลค่าเป็นหมื่นล้านบาท ทำให้ต้นทุนโครงการสูง และภาครัฐต้องร่วมรับภาระดอกเบี้ยส่วนนี้ในทางอ้อมทางกลุ่มเอกชนจึงเสนอว่า หากทยอยจ่ายเงินค่าก่อสร้างตามงานที่สร้างเสร็จ เช่น สร้างเสร็จ 10% ก็จ่ายเงิน 10% ไปเรื่อยๆจนกว่าโครงการจะเสร็จ ทั้งรัฐและเอกชนจะประหยัดดอกเบี้ยเงินกู้ได้หลายหมื่นล้านบาทและเอกชนพร้อมจะปรับลดราคาให้

ก็เป็นข้อเสนอที่ดีมาก โครงการไม่ต้องก่อหนี้สูง และประหยัดดอกเบี้ยเงินกู้ได้หลายหมื่นล้านบาท รัฐเองก็ไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า จ่ายตามเนื้องาน แต่ ดร.คณิศ เล่าในบทความว่า เรื่องนี้แม้ดูมีประโยชน์กับรัฐ แต่ขัดกับหลักการของโครงการ กรรมการคัดเลือกจึงไม่รับพิจารณา คือ ภาครัฐกลัวจะเหมือนกรณีโฮปเวลล์ เรียกว่ากลัว ผีโฮปเวลล์ จนขึ้นสมอง

การกำหนด ให้เอกชนก่อสร้าง 5 ปีแ ล้วรัฐค่อยจ่ายเงินร่วมทุนให้ ในปีที่ 6 เป็นต้นไป (เหมือนการตั้งวุฒิสมาชิกให้มีอายุ 5 ปี เป๊ะเลย) เอกชนก็มีความเสี่ยง เพราะรัฐบาลเลือกตั้งมีอายุแค่ 4 ปี ถ้าเลือกตั้งใหม่นายกฯคนใหม่ไม่ใช่ พล.อ.ประยุทธ์ เกิดไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลเก่า ไม่ยอมจ่ายเงินก็ต้องไปฟ้องศาลเหมือนกรณีโฮปเวลล์ โครงการนี้จึงถูก ผีโฮปเวลล์ หลอกหลอนทั้งภาครัฐและเอกชน

ดร.คณิศ ยอมรับว่า การผลักภาระความเสี่ยงทางการเงินให้เอกชน ข้อนี้ดูดีทางฝั่งภาครัฐ แต่คิดลึกๆแล้ว ไม่เป็นไปตามมาตรฐานสากล เพราะ บริษัทชั้นนำของโลกเขาไม่มาเสียเวลากับโครงการที่เปิดรับความเสี่ยงในอนาคตโดยไม่จำกัด เรียกว่า "ความเสี่ยงปลายเปิด" ทำให้ไม่รู้ว่าในอนาคตโครงการนี้จะขาดทุนหรือกำไรอย่างไร ดังนั้น บริษัทในตลาดหลักทรัพย์หลักๆทั่วโลกเขาจะไม่ค่อยพร้อมมาลงทุนเราได้รับคำร้องเรียนจากบริษัทใหญ่เกือบทุกแห่งที่เข้ามาซื้อซอง แต่เรายังคงหลักการเดิมไว้ (โครงการนี้มีบริษัทซื้อซองประมูล 31 ราย แต่ยื่นประมูลเพียง 2 รายคือ กลุ่มซีพี และกลุ่มบีทีเอส)

อ่านบทความ ดร.คณิศ แสงสุพรรณ แล้วรู้สึกยังไงครับ คงเป็นเพราะเหตุนี้มั้งทำให้ต่างชาติ สนใจแต่ไม่มาลงทุน แม้รัฐบาลจะออกไปโรดโชว์ไม่รู้กี่ครั้งแล้วก็ตาม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 02/09/2019 8:33 pm    Post subject: Reply with quote

‘ศักดิ์สยาม’ เร่ง รฟท. ประมูลงาน’ไฮสปีดไทย-จีน’ 14 สัญญา ครบจบภายในสิ้นปีนี้
ข่าวคมนาคม
ฉบับวันที่ 02 กันยายน พ.ศ. 2562

“ศักดิ์สยาม” สั่ง รฟท. เร่งประมูลงานรถไฟไฮสปีดไทย-จีน 1.79 แสนล้านให้จบภายในสิ้นปีนี้ วางเป้าเปิดให้บริการปี 66 ตามแผน พร้อมขยายเวลา 120 วันพ่วงเพิ่มวงเงินสัญญา 2.3 งานระบบอีก 1.2 หมื่นล้านบาท อัพเกรดเป็นรถรุ่นใหม่ ลุยเร่งเวนคืนพื้นที่ 2,800 ไร่ 1.3 หมื่นล้านบาท ฟากครม.เคาะไฟเขียวลงทุน 751 ล้านบาท ศึกษา 19 เดือนไฮสปีดไทย-จีนเฟส 2 ช่วงโคราช-หนองคาย
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (คบร.) ครั้งที่ 5/2562 ว่า ได้เร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ดำเนินการโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อให้สามารถดำเนินการเปิดให้บริการในปี 2566 ตามแผนที่กำหนดไว้ ทั้งนี้ ที่ประชุมยังมีข้อห่วงใยในส่วนของปัญหาอุปสรรคในการดำเนินการ 7 ข้อ ได้แก่ 1.มอบหมายให้ รฟท.ประสานกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน พ.ศ. …. เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อนที่ รฟท. จะดำเนินการเวนคืนที่ดินและจัดกรรมสิทธิ์ต่อไป โดยมีเป้าหมายจำนวนกว่า 2,800 ไร่ วงเงิน 1.3 หมื่นล้าน และมอบหมายให้ไปพิจารณาพื้นที่ในจำนวนดังกล่าว เพื่อทำประโยชน์ให้กับประชาชน อาทิ พัฒนาเป็นพื้นที่เคหะฯ

2.ขอความอนุเคราะห์กองทัพบกในการจัดตั้งสำนักงานและการใช้พื้นที่สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยกำหนดกรอบเวลาให้ รฟท.สรุปภายใน 1 เดือน

3.เร่งพิจารณาผลการประกวดราคา ให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 โดยได้สั่งการให้ รฟท. ตรวจผลงาน และเอกสาร ก่อนที่จะประกาศผล เพื่อไม่ให้เสียเวลาหากมีข้อท้วงติงต่างๆ ตามมา

4.เร่งประกาศประกวดราคาสัญญา 4-4 (ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย) ภายในต้นเดือน ก.ย. 2562 และดำเนินการเอกสารประกวดราคาสัญญา 4-1 (ช่วงบางชื่อ-ดอนเมือง) ภายใน ก.ย.นี้

ขณะที่ข้อ 5.ตั้งคณะกรรมการเจจากับฝายจีน เพื่อให้ได้ข้อยุติของสัญญา 2.3 (สัญญาระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งขบวนรถและการฝึกอบรมบุคลากร) ก่อนส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างฉบับสุดท้าย หลังจากมีความกังวลใน 12 ข้อ ก่อนที่จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ฝ่ายเลขาฯ ไปพิจารณากรอบการดำเนินงานต่างๆ เพื่อประโยชน์ของทั้ง 2 ประเทศ 6.ดำเนินการขยายระยะเวลาดำเนินงานสัญญา 2.3 (รอบที่3) ให้อยู่ในกรอบเวลา 120 วัน จากเดิมที่หมดระยะเวลาไปแล้วเมื่อวันที่ 3 ส.ค. 2562 ขยายไปถึง 31 ธ.ค. 2562 เนื่องจากยังมีเงื่อนไขอีกหลายข้อที่ ต้องเจรจาร่วมกัน โดยจะต้องเจรจาแล้วเสร็จพร้อมลงนามภายในเดือน พ.ย. นี้ ก่อนที่จะมีการจัดงานประชุมอาเซียนซัมมิทที่ประเทศไทย ซึ่งจะมีผู้นำรัฐบาลจีนเข้าร่วมด้วย

ในส่วนของข้อ 7.ดำเนินการทบทวนและเสนอเรื่องการปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.3 จากเดิม 38,558 ล้านบาท เป็น 50,633 ล้านบาท แบ่งเป็น การโยกงบก่อสร้างมาใช้ในสัญญางานระบบ 7,000 ล้านบาท การเปลี่ยนรุ่นตัวรถไฟไฮสปีดเป็นรุ่นใหม่ 3,400 ล้านบาทและการปรับรูปแบบรางบางส่วนอีกราว 1,600 ล้านบาท

สำหรับการโอนย้ายเนื้องาน อาทิ การก่อสร้างโรงงานเชื่อมรางรถไฟไฮสปีด การจัดซื้อรถไฟซ่อมบำรุงและการจัดซื้อรถตรวจสอบสภาพรางเป็นต้น ส่วนตัวรถไฟไฮสปีดจะปรับเปลี่ยนจากรุ่นเดิมซึ่งใกล้จะตกรุ่นในจีนแล้วมาเป็นตัวรถไฟเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง Fuxing ซึ่งสามารถรองรับผู้โดยสาร 594 คน/ขบวน มีเสียงดังขณะเคลื่อนที่ 1-3 เดซิเบล ใช้ความเร็ว 250 กม./ชม.




*** ประมูลครบ 14 สัญญาภายในสิ้นปีนี้ ***
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า ส่วนด้านการเปิดประมูลงานก่อสร้างนั้น ตนได้สั่งการให้เปิดประมูล ทั้ง 14 สัญญา มูลค่ารวม 179,000 ล้านบาทภายใน ธ.ค. 2562 เพื่อเร่งรัดให้งานก่อสร้างและงานระบบเปิดใช้ตามกำหนดในปี 2566 สอดคล้องกับรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว ที่การก่อสร้างใกล้เสร็จแล้ว โดยจากการรายงานของ รฟท. พบว่า ขณะนี้ ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้ว 2 สัญญา อยู่ระหว่างการเห็นชอบผลประมูล 5 สัญญา และอยู่ระหว่างเปิดประมูล 5 สัญญา ส่วนสัญญาที่ยังไม่ได้เข้าสู่การประมูล เนื่องจากยังติดปัญหา 2 สัญญา แบ่งเป็น 1.สัญญางานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูงที่เชียงรากน้อย วงเงิน 6,100 ล้านบาท โดยได้เร่งรัดให้ประมูลภายในเดือน ก.ย.นี้ 2.งานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 10,000 ล้านบาทนั้น ต้องชะลอการประมูลออกไปเป็นช่วงไตรมาสุดท้ายของปี 2562 เพื่อรอเจรจากับกลุ่มซีพีเพราะต้องใช้โครงสร้างเดียวกันกับรถไฟโครงการรถไฟไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน แบ่งเป็น ระดับรางข้างบนและระดับรางข้างล่าง วิ่งแยกระบบกัน ดังนั้น จึงต้องให้กลุ่มซีพีออกเงินค่าโครงสร้างร่วมระบบให้ก่อนแล้ว รฟท.จ่ายเงินคืนทีหลัง ทั้งนี้ คาดว่าโครงการรถไฟไฮสปีดอีอีซีจะลงนามได้ในวันที่ 9 ก.ย.นี้

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่ ครม.ได้มีมติไปเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2562 อนุมัติงบกลางวงเงิน 751 ล้านบาท ให้ รฟท.ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธาฯ โดยกำหนดระยะเวลาศึกษา 19 เดือน ซึ่งปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการจัดเตรียมเอกสารดำเนินการจ้างที่ปรึกษา นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้กล่าวถึงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อเชื่อมโยงด้านรถไฟไทย-ลาว-จีน ซึ่งได้มีการประชุมเมือวันที่ 25 เม.ย. ที่ผ่านมา โดยจะมีการประชุมฝ่ายเพื่อหารือในรายะเอียดในการดำเนินงานต่อไป ขณะเดียวกัน ที่ประชุมยังได้มีมติเห็นชอบร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการฯ จำนวน 4 คณะ โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการนำเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งต่อตน เพื่อลงนามในคำสั่งแต่งตั้งต่อไป

Cr : ข่าวและภาพกิจกรรมกระทรวงคมนาคม
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/2495649070482023


รมว.คมนาคม เร่งรัดโครงการรถไฟไทย-จีน ทบทวนกรอบวงเงินสัญญาระบบรางพร้อมขยายเวลาไปสิ้นปี 62, มั่นใจเปิดปี 66 ตามแผน
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 2 กันยายน 2562 18:27:52 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย – จีน ครั้งที่ 5/2562 ว่า ได้ติดตามความคืบหน้าและเร่งแก้ปัญหาอุปสรรค ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ใน 7 เรื่องด้วยกัน ได้แก่



1.ร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่จะเวนคืน จำนวน 2,800 ไร่ กรอบค่าเวนคืน 10,369 ล้านบาท ซึ่งได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาที่เวนคืนเผื่อสามารถนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์กับประชาชนได้ เช่น สร้างเป็นที่อยู่ รูปแบบ การเคหะ เป็นต้น

2. เจรจารายละเอียดการขอใช้พื้นที่กองทัพบก ช่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เป็นที่ตั้งสำนักงานและก่อสร้างทางรถไฟ ให้ได้ข้อสรุปใน 1 เดือน
3. พิจารณาผลการประกวดราคาทั้ง 14 สัญญาให้มีความสอดคล้องกับพ.ร.บ.การจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560 ให้รฟท.ตรวจสอบคุณสมบัติ ผลงาน ให้เรียบร้อยก่อนประกาศผลเพราะอาจจะทำให้เกิดข้อท้วงติงภายหลัง ซึ่งทำให้เสียเวลา

4. เร่งประกาศประกวดราคาสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ภายในเดือนกันยายน 2562 ส่วนสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่มีโครงสร้างบางส่วนทับซ้อนกันกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะให้ได้ประมูลในกันยายน 2562 เช่นกัน เนื่องจาก รฟท.กำหนดให้ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (กลุ่ม CPH) ผู้ชนะการประมูลตอบกลับในเรื่องการส่งมอบพื้นที่วันที่ 9 ก.ย. นี้ หากไม่มีปัญหาจะสามารถลงนามได้ในเดือนก.ย.นี้



5. ตั้งคณะกรรมการเจรจากับฝ่ายจีนเพื่อให้ได้ข้อยุติของสัญญา 2.3 (สัญญาระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งขบวนรถและการฝึกอบรมบุคลากร) ก่อนเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างฉบับสุดท้าย และนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาต่อไป ซึ่งทางอัยการมีข้อห่วงใย 12 เรื่อง ซึ่งจะต้องเจรจาเพื่อรักษาประโยชน์ของไทย ทั้งนี้ ให้คณะทำงานไปดูว่า ในสากล มีกรอบอย่างไรเพื่อให้เกิดความความยืดหยุ่นมากขึ้น

6. ขยายระยะเวลาในการดำเนินงาน สัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล)ซึ่ง รฟท.จะทำเรื่องเพื่อนำเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เพื่อขอขยายไปถึงวันที่ 31 ธ.ค. 2562

7. ดำเนินการทบทวนและเสนอเรื่องการปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.3 เสนอกระทรวงคมนาคมโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 2566 ตามแผนงาน

นอกจากนี้ได้ตั้งอนุกรรมการ 4 คณะ เพื่อเร่งรัดโครงการให้เป็นไปตามแผนงาน และเปิดได้ตามแผนปี 2566 ได้แก่ คณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการ รถไฟความเร็วสูง, คณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและ จัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง, คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง, คณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมืองตามแนวเส้นทางโครงการ รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย โดยมีตนเป็นประธาน

สำหรับการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2562 อนุมัติงบกลาง วงเงิน 751 ล้านบาท ให้ รฟท.ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา ขณะนี้รฟท.ได้คัดเลือกที่ปรึกษาแล้ว คาดว่าจะลงนามในสัญญาภายในก.ย.2562 โดยใช้เวลา 19 เดือน



--อินโฟเควสท์ โดย คคฦ/เสาวลักษณ์/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์: rachada@infoquest.co.th--
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/09/2019 6:21 am    Post subject: Reply with quote

จี้รฟท.เคลียร์12ข้อสัญญารถไฟไทย-จีน ไฮสปีด3สนามบินลงนาม"ซีพี"ก.ย.นี้
เผยแพร่: 3 ก.ย. 2562 05:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

ผู้จัดการรายวัน360-"ศักดิ์สยาม"ชงนายกฯ ขยายเวลาสัญญา 2.3 รถไฟไทย-จีน ไปถึงปลายปี พร้อมเร่ง รฟท. เจรจาเคลียร์ร่างสัญญา 12 ข้อ ที่อัยการท้วงติงให้ยุติก่อนพ.ย. เพื่อนำหารือกับนายกฯ จีน ในการประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน ขีดเส้นก.ย. ประมูลงานโยธาครบ 14 สัญญา ส่วนไฮสปีด 3 สนามบิน รอซี.พี.ตอบ 9 ก.ย. คาดเซ็นสัญญาได้ภายในก.ย.นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 5/2562 วานนี้ (2 ก.ย.) ว่า ได้ติดตามความคืบหน้าและการแก้ปัญหาอุปสรรค ในการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 179,421 ล้านบาท ซึ่งในส่วนของ สัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร) ที่มีการปรับกรอบวงเงินจากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติไว้ที่ 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งอัยการได้มีประเด็นข้อห่วงใย 12 เรื่องในร่างสัญญา 2.3 จึงได้ตั้งคณะกรรมการเจรจากับฝ่ายจีน เพื่อให้ได้ข้อยุติก่อนเดือนพ.ย.2562 ที่ไทยจะเป็นเจ้าภาพการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 เพื่อนำหารือกับนาย หลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีจีนต่อไป

ทั้งนี้ ได้มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งทำเรื่องเสนอขอขยายเวลาในการดำเนินงานในสัญญา 2.3 ที่ครบกำหนดในวันที่ 3 ส.ค.2562 ออกไปถึง 31 ธ.ค.2562 เพื่อเสนอพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม พิจารณา

สำหรับกรอบวงเงินสัญญา 2.3 ที่เพิ่มขึ้น เป็นการปรับโยกเนื้องานจากสัญญาโยธา เช่น โรงเชื่อมราง รถซ่อมบำรุง รถตรวจสภาพทาง วงเงินประมาณ 7,000 ล้านบาท และปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง จากรุ่น เหอเสีย (Hexia) เป็นรุ่น ฟู่ซิ่ง (Fuxing) ที่ใหม่ขึ้น มีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น มีวงเงินเพิ่ม 3,400 ล้านบาท และการปรับการก่อสร้างทางรถไฟแบบหินโรยทางเป็นคอนกรีต ช่วง บางซื่อ-ดอนเมือง อีกกว่า 1,000 ล้านบาท ซึ่งในภาพรวมยังคงอยู่ภายใต้กรอบวงเงินที่ 1.79 แสนล้านบาท และยังคาดว่าจะประหยัดค่าก่อสร้างงานโยธาได้ 14,000 ล้านบาท

ส่วนการก่อสร้างงานโยธาวงเงิน 120,162.126 ล้านบาทแบ่งออกเป็น 14 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญา รอลงนาม 5 สัญญา อยู่ระหว่างประมูล 5 สัญญา และรอระหว่างปรับแก้ทีโออาร์ 1 สัญญา ช่วงศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และอยู่ระหว่างรอความชัดเจนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 1 สัญญา คือ สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เนื่องจากมีโครงสร้างบางส่วนทับซ้อนกัน โดยทั้งหมดจะต้องประมูลแล้วเสร็จได้ตัวผู้รับจ้างในปลายปี 2562 เพื่อเร่งก่อสร้างเสร็จและเปิดให้บริการปี 2566

โดยในส่วนของ สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ต้องเปิดประมูลในเดือนก.ย.2562 และสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งทับซ้อนกับโครงการไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน จะประมูลในก.ย.2562 เนื่องจากทาง รฟท.กำหนดให้กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรกลุ่ม CPH ผู้ชนะการประมูลตอบกลับในเรื่องการส่งมอบพื้นที่วันที่ 9 ก.ย.2562 หากไม่มีปัญหาจะสามารถลงนามได้ในเดือนก.ย.นี้ จากนั้น รฟท.จะเจรจากับซี.พี. ในการแบ่งเนื้องานก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ในส่วนโครงสร้างระหว่าง รถไฟไทย-จีน กับรถไฟเชื่อม 3 สนามบินทับซ้อนกัน ส่วนที่ไม่ทับซ้อน รฟท.จะเปิดประมูลต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2019 2:59 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จี้รฟท.เคลียร์12ข้อสัญญารถไฟไทย-จีน ไฮสปีด3สนามบินลงนาม"ซีพี"ก.ย.นี้
เผยแพร่: 3 กันยายน พ.ศ. 2562 05:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

‘ศักดิ์สยาม’ เร่งประมูลรถไฟไทย-จีน แสนล้าน ภายในสิ้นปี
03 กันยายน พ.ศ. 2562

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 5/2562

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารการพัฒนาความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 5/2562 โดยมี นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ปลัดกระทรวงคมนาคม นายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคม นายสราวุธ ทรงศิวิไล อธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง นายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่ง ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมประชุม เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2562 เวลา 14.00 น. ณ ห้องประชุมกระทรวงคมนาคม

โดยที่ประชุม ได้รับทราบความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) และมอบ รฟท. ดำเนินการ ดังนี้

1. ประสานสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เกี่ยวกับร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินในบริเวณที่ที่จะเวนคืน เพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษา ก่อน รฟท. ดำเนินการเวนคืนที่ดินและจัดกรรมสิทธ์ต่อไป และขอความอนุเคราะห์กองทัพบกในการจัดตั้งสำนักงานและการใช้พื้นที่สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงอำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา

2. เร่งพิจารณาผลการประกวดราคา ให้มีความสอดคล้องกับพระราชบัญญัติการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ พ.ศ. 2560

3. เร่งประกาศประกวดราคาสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยภายในเดือนกันยายน 2562 และดำเนินการเอกสารประกวดราคา สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองภายในเดือนกันยายน 2562

4. ตั้งคณะกรรมการเจรจากับฝ่ายจีนเพื่อให้ได้ข้อยุติของสัญญา 2.3 (สัญญาระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งขบวนรถและการฝึกอบรมบุคลากร) ก่อนเสนอสำนักงานอัยการสูงสุดตรวจร่างฉบับสุดท้าย และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป

5. ดำเนินการทบทวนและเสนอเรื่องการปรับกรอบวงเงินสัญญา 2.3 เสนอกระทรวงคมนาคมโดยเร็วเพื่อให้สามารถดำเนินการก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 2566 ตามแผนงานที่กำหนดไว้

ทั้งนี้ในที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบปรับปรุงร่างคำสั่งแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ ภายใต้คณะกรรมการฯ จำนวน 4 คณะ ได้แก่

1.คณะอนุกรรมการจัดตั้งองค์กรพิเศษเพื่อกำกับการดำเนินโครงการ รถไฟความเร็วสูง
2.คณะอนุกรรมการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางและ จัดทำแผนการถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูง
3.คณะอนุกรรมการปรับปรุงระบบขนส่งสาธารณะต่างๆ เพื่อทำหน้าที่ เป็นระบบสนับสนุนผู้โดยสารให้กับระบบรถไฟความเร็วสูง
4.คณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่และเมืองตามแนวเส้นทางโครงการ รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย

โดยมอบหมายให้ฝ่ายเลขานุการนำเสนอร่างคำสั่งแต่งตั้งเพื่อลงนามในคำสั่งแต่งตั้งต่อไป นอกจากนี้ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2562 อนุมัติงบกลาง วงเงิน 751 ล้านบาท ให้ รฟท. ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาออกแบบรายละเอียดงานโยธา ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะเวลาศึกษา 19 เดือน ซึ่งปัจจุบัน รฟท. อยู่ระหว่างดำเนินการจ้างที่ปรึกษาเพื่อศึกษาฯ โดยมีแผนกำหนดลงนามในสัญญาภายในเดือนกันยายน 2562 สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ เพื่อเชื่อมโยงด้านรถไฟระหว่างไทย-ลาว-จีน ที่มีการประชุมและลงนามความร่วมมือระหว่างกัน เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา จะมีกำหนดการประชุมทั้งสามฝ่ายเพื่อหารือในรายะเอียดในการดำเนินงานต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2019 7:54 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จี้รฟท.เคลียร์12ข้อสัญญารถไฟไทย-จีน ไฮสปีด3สนามบินลงนาม"ซีพี"ก.ย.นี้
เผยแพร่: 3 ก.ย. 2562 05:52 โดย: ผู้จัดการออนไลน์
ปรับเปลี่ยนรถไฟความเร็วสูง จากรุ่น เหอเสีย (Hexia) เป็นรุ่น ฟู่ซิ่ง (Fuxing) ที่ใหม่ขึ้น มีเทคโนโลยีทันสมัยขึ้น


สาเหตุที่ต้องเปลี่ยนจากรุ่น เหอเสีย (Hexia 和谐号) เป็นรุ่น ฟู่ซิ่ง (Fuxing 复兴号) ไม่ใช่เพราะเรื่องความเก่าความใหม่แต่เพียงอย่างเดียวครับ แต่มีประเด็นเรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญาอีกด้วย เพราะ รุ่น เหอเสีย ได้จากเมืองนอกไม่เหมือน ฟู่ซิ่ง ที่จีนพัฒนาเอง จากภูมิรู้ที่ได้จาก Hexia แต่กระนั้น ก็ต้องมีการแก้ไขบางเหมือนกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 03/09/2019 8:50 pm    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"ไล่บี้คมนาคม แจงคืบหน้า"รถไฟไทย-จีน"

03 กันยายน พ.ศ. 2562


วันที่ 3 ก.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นางสาวไตรสุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ว่า ในที่ประชุมครม. พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม สอบถามความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง หรือ รถไฟไทย-จีน กับนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม โดยรมว.คมนาคม รายงานว่า สัญญาการก่อสร้างมีทั้งหมด 14 สัญญา ก่อสร้างแล้ว 2 สัญญา รอลงนาม 5 สัญญา โดย การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้ให้ความเห็นชอบแล้ว 2 สัญญา อยู่ระหว่างการประกวดราคา 5 สัญญา รอปรับแก้ TOR ช่วงศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย 1 สัญญา และมีช่วงที่ทับซ้อนกับรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน อีก 1 สัญญา ก็อยู่ในช่วงของการแก้ไขปัญหาตรงนี้อยู่

"โดยนายกรัฐมนตรี สอบถามถึงสัญญาว่าเมื่อไรจะดำเนินการเสร็จในส่วนของระบบราง ระบบรถไฟที่จะใช้ของจีนเป็นหลัก ซึ่งรมว.คมนาคม รายงานว่า เดือนพ.ย.สัญญาจะแล้วเสร็จแน่นอน" นางสาวไตรสุรี กล่าว รองโฆษกฯ กล่าวอีกว่า ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา จะดำเนินการได้ในปี 2566 จากนั้นจะเป็นช่วง กรุงเทพ-หนองคาย หนองคาย-ลาว แล้วก็เชื่อมเข้าจีน ทั้งนี้ในส่วนของสปป.ลาวก็กำลังดำเนินการก่อสร้าง จากนั้นจะมีการเชื่อมต่อกันโดยให้ไทยเป็นศูนย์กลางของการคมนาคมขนส่งของอาเซียนเพื่อเชื่อมต่อไปยังจีน "โครงการรถไฟความเร็วสูง 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะแรก กรุงเทพ-นครราชสีมา จะใช้เวลาในการเดินทาง 1 ชั่วโมง 30 นาที ค่าโดยสารเริ่มต้นอยู่ที่ 107 - 534 บาท"รองโฆษกฯ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2019 10:36 am    Post subject: Reply with quote


วีดิทัศน์รถไฟความเร็วสูง ไทยจีน ระยะที่ 1 กทม นครราชสีมา update 2 กันยายน 62
https://www.youtube.com/watch?v=PG79_piq4Y0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 04/09/2019 12:12 pm    Post subject: Reply with quote

จากบทความนี้ทำให้ เราเข้าใจได้ทันทีว่าเราจำเป็นต้องสร้างสถานีปากช่องสำหรับรถไฟความไวสูง กลางไร่อ้อยแถวท่ามะนาว ที่เป็นที่ดินราชพัสดุ ซึ่งได้รับโอนจากกรมสรรพาวุธทหารบก แทนที่จะสร้างสถานีปากช่อง ณ ตำแหน่งสถานีปากช่องที่ มีอยู่เนื่องจากเป็นสถานี อยู่หลังตลาดสด ในตัวเมืองปากช่อง ทางเข้าออกสถานีคับแคบนัก ไม่สามารถรองรับยานพาหนะที่จะเข้าออกสถานีได้ อีกทั้งค่าเวนคืนที่ดินเพื่อสร้างอาคารสถานีและย่านสถานีนั้นแพงมาก เพราะต้องใช้ที่ดินห้าร้อยไร่ และ เขตเมืองใหม่อีก สามพันไร่ ส่วนบริเวณที่จะสร้างสถานีปากช่องใหม่นั้น อยู่กลางไรอ้อยติดคอกม้าคอกวัว บนทางหลวงแผนดิน 2247 ห่างจาก สถานีปากช่องที่มีอยู่ไปห้ากิโลเมตร
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/videos/483225092228863/

แค่เริ่มต้นชาวไร่ชาวนาท่ามะนาวก็ออกมาโวยวายเสียแล้ว
https://www.facebook.com/photo.php?fbid=2471551442913043&set=p.2471551442913043&type=3&theater

พิกัดสถานีปากช่องใหม่สำหรับรถไฟความไวสูง ที่ ท่ามะนาว
https://goo.gl/maps/oRvh7h6PPSNGXFxu7

สถานีรถไฟความไวสูงปากช่อง ก็จะมีการสร้างสถานีเชื่อมต่อกะทางรถไฟที่มีอยู่เดิม น่าจะเรียกว่าสถานีท่ามะนาว ตามชื่อตำบลที่อยู่ก็ได้ หรือ จะเรียกว่าสถานีปากช่องใหม่ท่ามะนาวก็เหมาะ ห่างกันแค่ห้าสิบเมตรเอง
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/photos/p.733499490421866/733499490421866/?type=3&theater

อาคารสถานีปากช่องมีสี่ชั้น
ชั้นที่ 1 คือ ชั้นทางเข้าสถานี และลานจอดรถ และสถานีรถไฟทางคู่ใหม่ (สถานีท่ามะนาว หรือ สถานีปากช่องท่ามะนาว หรือ สถ่านีปากช่องใหม่ก็ได้)
ชั้นที่ 2 คือ ชั้นทางเข้าหลัก และพื้นที่พาณิชย์ในสถานี
ชั้นที่ 3 คือ ชั้นจำหน่ายตั๋ว และโถงรอคอย
ชั้นที่ 4 คือ ชานชลารถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/634748183630331?hc_location=ufi
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44333
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2019 4:44 pm    Post subject: Reply with quote

'รถไฟไทย-จีน' ...สปีดไม่ทันใจ ประมูลสุดอืด-รื้อ EIA ใหม่
ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2562

กลายเป็นโปรเจ็กต์ที่มีสไตล์การก่อสร้างแบบ "ถึงก็ช่าง ไม่ถึง ก็ช่าง" สำหรับรถไฟไทย-จีนหรือรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท มี "ร.ฟ.ท.-การรถไฟแห่งประเทศไทย" เป็นผู้ขับเคลื่อนโครงการนับจากปี 2557 จาก "รัฐบาลประยุทธ์ 1"มาสู่ "รัฐบาลประยุทธ์ 2" มี "เสี่ยโอ๋-ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" เจ้ากระทรวง คนใหม่ พรรคภูมิใจไทยรับไม้ต่อ

ฉุดเบิกจ่าย 1.8 หมื่นล้าน

ผลจากความล่าช้า ยังกระทบชิ่งการเบิกจ่ายงบฯลงทุนของ ร.ฟ.ท.หลุดเป้าจากในแผนลงทุนทั้งปี 2562 ของ ร.ฟ.ท.อยู่ที่ 76,183.96 ล้านบาท ณ วันที่ 15 ก.ค.ที่ผ่านมาสามารถเบิกจ่ายได้ 26,976.26 ล้านบาท คาดว่าสิ้นปีจะเบิกจ่ายได้ถึงครึ่งทาง อยู่ที่ประมาณ 45%

ในไส้ในมีรถไฟไทย-จีนเป็นโครงการใหญ่แห่งปี มีเงินลงทุนทั้งปี 20,081 ล้านบาท แต่ทำผลงานเบิกจ่ายได้แค่ 1,029 ล้านบาท ยังตกค้างอยู่ 18,168 ล้านบาท สาเหตุมาจาก ร.ฟ.ท.ยังประมูลก่อสร้างไม่แล้วเสร็จ

ความคืบหน้าล่าสุด แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.วันที่ 22 ส.ค.ที่ผ่านมา เห็นชอบผลการประมูลรถไฟไทย-จีน จำนวน 2 สัญญา วงเงินรวม 20,151 ล้านบาท

รับเหมาจีน-ไทยแข่งหั่นราคา

ได้แก่ สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง- นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ซิโนไฮโดร จำกัด บริษัท สหการวิศวกร จำกัด และบริษัท ทิพากร จำกัด เสนอราคาต่ำสุด 8,626 ล้านบาท

และสัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนครบ้านโพ ระยะทาง 23 กม. ราคากลาง 13,293 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัท ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 11,525 ล้านบาท คาดว่าจะเซ็นสัญญาในเดือน ก.ย.นี้"

ขณะเดียวกันกำลังตรวจสอบผลการเสนอราคาอีก 3 สัญญา รวม 99.26 กม. วงเงิน 33,958 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญาช่วงแก่งคอย-กลางดง และ ปางอโศก-บ้านม้า 30.21 กม. เป็นงานระดับดิน 10.18 กม. และยกระดับ 20.03 กม. วงเงิน 11,064 ล้านบาท มี บจ.ไทยเอ็นจิเนียริ่ง เสนอราคาต่ำสุด 9,330 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 15.7% หรือ 1,736 ล้านบาท

สัญญาช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และ กุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. เป็นงานระดับดิน 14.12 กม. และยกระดับ 23.33 กม. วงเงิน 11,656 ล้านบาท มี บจ.บีพีเอ็นพี (BINA จากมาเลเซียนภาก่อสร้าง) เสนอราคาต่ำสุด 9,788 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16% หรือ 1,864 ล้านบาท

และสัญญาช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิ เนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคาต่ำสุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท โดยทั้ง 3 สัญญาผู้รับเหมายื่นต่ำกว่าราคากลาง คิดเป็นวงเงินรวม 9,468 ล้านบาท

เหลือ3 สัญญา 2 หมื่นล้าน

ทั้งนี้เมื่อวันที่ 26 ส.ค.ที่ผ่านมา เปิดยื่นเสนอราคา จำนวน 4 สัญญา วงเงินรวม 38,461 ล้านบาท แยกเป็น สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง) มีผู้ยื่นเอกสาร 3 ราย มี บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 4,279.328 ล้านบาท ต่ำจากราคากลาง 5,359.162 ล้านบาท ประมาณ 25.23% หรือ 1,079.83 ล้านบาท

สัญญาที่ 3-3 งานโยธา ช่วงบันไดม้า- ลำตะคอง มีผู้ยื่นเอกสาร 8 ราย โดยบริษัท กรุงธน เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,838 ล้านบาท ต่ำกว่าจากราคากลาง 12,043.417 ล้านบาท อยู่ที่ 22.42%หรือ 2,205.41 ล้านบาท

สัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา มีผู้ยื่นเอกสาร 5 ราย มีบริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 7,750 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 9,257.373 ล้านบาท อยู่ที่ 19.45% หรือ 1,507.373 ล้านบาท

และสัญญา 4-5 งานโยธาช่วงบ้านโพ- พระแก้ว มีผู้ยื่นเอกสาร 7 ราย บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เสนอราคาต่ำสุดอยู่ที่ 9,913 ล้านบาท ต่ำจากราคากลาง 11,801.216 ล้านบาท อยู่ที่ 19.05% หรือ 1,888.216 ล้านบาท โดยผลประมูลภาพรวมทำให้ ร.ฟ.ท.ประหยัดค่าก่อสร้างไปได้รวม 6,680 ล้านบาท

ยังเหลือสัญญางานศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,093.037 ล้านบาท และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงินกว่า 1 หมื่นล้านบาท ระยะทางกว่า 10 กม.ที่ยังไม่ออกประกาศทีโออาร์ ส่วนอีก 1 สัญญาที่ออกประกาศใหม่จะเคาะราคาภายในกลางเดือน ก.ย.นี้ คือ สัญญาช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 10,421.014 ล้านบาท โดยทั้งหมด ร.ฟ.ท.จะให้ได้ผู้รับเหมา ภายในสิ้นปีนี้

ถกจีนเร่งสัญญางานระบบ

ขณะที่สัญญา 2.3 งานระบบราง ไฟฟ้าและครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟฟ้า วงเงิน 50,633 ล้านบาท รอเจรจาจีนให้ยุติเพื่อระบุลงในสัญญาจะเสนอ ครม.เซ็นสัญญาต่อไป

"ศักดิ์สยาม ชิดชอบ" รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟไทย-จีนยังติดการเจรจากับจีนในสัญญาที่ 2.3 เป็นงานระบบ วงเงิน 50,633 ล้านบาท ที่ยังไม่ได้ข้อยุติ จึงทำให้ไม่สามารถเสนอให้ ครม.พิจารณาเพื่อเซ็นสัญญาร่วมกันได้ ทั้งนี้ตนและนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีที่กำกับดูแลงานกระทรวงคมนาคมจะนำรายละเอียดที่ไม่มีข้อสรุปร่วมกัน ไปหารือกับทูตจีนประจำประเทศไทยอย่างไม่เป็นทางการ ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนต่อไป จะเร่งให้มีการเซ็นสัญญาภายในเดือน พ.ย.นี้

"มั่นใจว่าการเจรจาจะมีข้อยุติร่วมกัน เพราะทั้งฝ่ายไทยและจีน ต้องการให้โครงการเกิดและเดินหน้า เร่งให้รถไฟรวบรวมรายละเอียด รวมถึงร่างสัญญาที่อัยการสูงสุดมีความเห็นเพิ่มเติม ติดแค่ เรื่องถ้อยคำในร่างสัญญาที่จีนอาจรู้สึกว่าเป็นการผูกมัด ส่วนการประมูลให้รถไฟ เร่งงานที่เหลือให้เสร็จ ก.ย.-ธ.ค.นี้"

เวนคืนที่ดินไม่ได้ติด EIA

ระหว่างที่ ร.ฟ.ท.กำลังเร่งการประมูลให้จบ ยังมีเรื่องของ พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินที่จะต้องเวนคืนที่ดิน 2,800 ไร่ วงเงิน 13,000 ล้านบาท จนถึงขณะนี้ยังไม่สามารถคลอดออกมาได้ ติดการทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติมช่วงลำตะคอง หลังมีปรับแบบก่อสร้างจากระดับเป็นอุโมงค์แทน เนื่องจากอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำ 1A จะกระทบต่อแผนการก่อสร้างไม่มากก็น้อย

ถึงขณะนี้ทั้งโครงการสร้างได้ 3.5 กม. ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก กำลังเดินหน้าอีก 11 กม. ส่วนที่เหลือ รอผล EIA ที่ทำเพิ่ม และเวนคืนที่ดิน ยังไม่รู้จะคิกออฟได้ในปี 2563 หรือไม่ ในเมื่ออุปสรรคปัญหามีมากกว่าที่คิด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 331, 332, 333 ... 542, 543, 544  Next
Page 332 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©