Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181409
ทั้งหมด:13492647
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 356, 357, 358 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 11:42 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์โลกใบใหม่: รถไฟความเร็วสูง สร้างต้นทุนและการพัฒนาใหม่ ยกระดับประเทศ....วิ่งทันโลก

ข่าวทั่วไป —
หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562

อภิชาต ทองอยู่ tapichart@hotmail.com วันนี้ประเทศกำลังอยู่ในช่วงปรับตัว-สร้างความแข็งแกร่งทางเศรษฐกิจ สังคม และการพัฒนาสู่ความก้าวหน้ายุคใหม่โดยรวม เพื่อให้มีต้นทุนมากพอที่จะเท่าทันโลกที่เคลื่อนไปข้างหน้าไม่หยุด! ซึ่งเป็นความพยายามท่ามกลางการเมืองที่ไม่เอื้อเท่าไรนัก ด้วยเหตุว่าการเมืองวันนี้เป็นเสมือนการเมืองที่แยกความก้าวหน้าของบ้านเมืองออกจากภาระความรับผิดชอบ! นักการเมืองบางคน-บางกลุ่ม-บางพรรค ดูเหมือนไม่เข้าใจ-ไม่สนใจการปรับสร้างเศรษฐกิจ-สังคม เอาแต่พยายามแสดงตน-แสดงอำนาจไปเรื่อยเปื่อย! ไม่พยายามเข้าใจการเปลี่ยนแปลง-การพัฒนาต้นทุนประเทศ! นับเป็นอีกชะตากรรมหนึ่งของบ้านเมืองที่ต้องเผชิญ!

ถ้าพิจารณาถึงการเพิ่ม ต้นทุน และ ศักยภาพ ของประเทศวันนี้ เราคงรับรู้ถึงความก้าวหน้าใหม่ด้านการคมนาคมขนส่ง และโลจิสติกส์ ที่ได้มีการลงนามร่วมทุนสร้าง รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของรัฐบาล กับกลุ่ม CPH กลุ่มผู้ชนะการประมูลเข้าร่วมทุนสร้างรถไฟความเร็วสูงสายประวัติศาสตร์นี้ ซึ่งได้ลงนามที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อ 24 ตุลาคมที่ผ่านมา รถไฟสายประวัติศาสตร์นี้เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศ เป็นต้นทุนสำคัญที่จะเพิ่มศักยภาพพื้นฐานด้านโลจิสติกส์ และช่วยปรับภูมิทัศน์ตะวันออกยกระดับสู่ความก้าวหน้าครั้งใหม่ ซึ่งต้องทำความเข้าใจกันให้ชัด!

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน นี้ เป็นสายแรกที่จะยกระดับปรับเพิ่มศักยภาพการเดินทางคมนาคม ขนส่ง และโลจิสติกส์ ช่วยให้ประเทศไทยเชื่อมกับโลกยุคใหม่ทางการค้า-การคมนาคมอย่างเต็มศักยภาพ มีเส้นทางเชื่อม 3 สนามบินคือ ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งนอกจากสนามบินดอนเมืองและสุวรรณภูมิที่ทำการอยู่แล้ว อู่ตะเภาจะเป็นสนามบินแห่งใหม่ที่รัฐบาลกำลังเร่งสร้างใหม่ เพื่อสนับสนุนการลงทุนในพื้นที่ EEC รองรับการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าจากปัจจุบันสู่อนาคต โดยมีแผนพัฒนาพื้นที่ 6,500 ไร่ รอบสนามบินอู่ตะเภา ในเขตจังหวัดระยองและชลบุรี ยกระดับขึ้นเป็นมหานครการบินเพื่อเป็นโลจิสติกส์ฮับด้านอากาศยานของอาเซียน

เส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีความยาว 220 กิโลเมตร เป็นโครงการการร่วมทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชนในแบบ PPP ซึ่งการร่วมทุนแบบนี้รัฐจะไม่ต้องควักกระเป๋าลงทุนทั้งหมดเอง ไม่ต้องแบกภาระในกระบวนการจัดสร้าง-จัดหาผู้เชี่ยวชาญ และไม่ต้องบริหารจัดการ รวมทั้งแบกภาระการขาดทุนแบบที่ต้องควักเนื้อจ่ายการรถไฟฯ อยู่ทุกวันนี้! เป็นการร่วมทุนสร้างที่ให้เอกชนร่วมทุนสร้างและเข้ามาบริหาร ที่มีสภาพเหมือนการเช่าระยะยาว 50 ปี ที่เมื่อครบสัญญาอาจต่อหรือไม่ก็เป็นเรื่องที่จะพิจารณากันต่อไปเมื่อถึงกำหนด โดยทรัพย์สินทั้งหมด 100% เป็นของรัฐ ในการดำเนินงานเอกชนจะต้องหาทีมบริหาร-ดำเนินการ ให้ได้มรรคผลตามต้องการ และเอกชนต้องส่งรายได้เข้ารัฐตามข้อตกลง หากบริหารขาดทุนรัฐก็ไม่ต้องควักเนื้อจ่ายเหมือนที่อุ้มกระเตงการรถไฟฯ ในปัจจุบัน!

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายนี้แบ่งออกเป็น 4 ช่วง ก็คือ 1.ช่วงดอนเมือง-บางซื่อ 2.ช่วงบางซื่อ-พญาไท 3.ช่วงพญาไทสนามบินสุวรรณภูมิ 4.ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา โดยจะมีสถานีทั้งหมดรวม 9 สถานี เริ่มจาก สถานีสนามบินดอนเมือง-สถานีบางซื่อ-สถานีมักกะสัน-สถานีสนามบินสุวรรณภูมิ-สถานีฉะเชิงเทรา-สถานีชลบุรี-สถานีศรีราชา-สถานีพัทยา-สถานีอู่ตะเภา ซึ่งในปีต่อไปก็จะเชื่อมต่อไปที่ สถานีระยอง โดยความเร็วของรถไฟในช่วงอู่ตะเภาสุวรรณภูมิจะเดินรถด้วยความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และในช่วงดอนเมืองสุวรรณภูมิจะปรับเดินรถที่ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งการเดินทางจากมักกะสันถึงอู่ตะเภาจะใช้เวลารวมราว 45 นาที

มูลค่าการลงทุนในโครงการนี้ทั้งหมดรวม 224,544 ล้านบาท โดยภาครัฐเป็นผู้ลงทุนร้อยละ 65 เอกชนร้อยละ 35 คิดเป็นมูลค่าการลงทุนจากภาครัฐ 168,718 ล้านบาท ซึ่งจากการร่วมทุนในช่วงแรกทั้งหมดระยะ 50 ปี รัฐจะได้รับผลตอบแทนเศรษฐกิจตลอดอายุโครงการราว 7 แสนล้านบาท ซึ่งรัฐเป็นเจ้าของทรัพย์สินและถือกรรมสิทธิ์ทั้งหมด 100% การประมูลรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ทั่วโลกให้ความสนใจมาก มีบริษัทเอกชนมาซื้อเอกสารการประมูลจากนานาชาติครั้งนี้รวม 31 บริษัท เป็นบริษัทไทย 14 บริษัท จากจีน 7 บริษัท ญี่ปุ่น 4 บริษัท ฝรั่งเศส 2 บริษัท มาเลเซีย 2 บริษัท อิตาลีและเกาหลีใต้ประเทศละ 1 บริษัท ซึ่งแสดงถึงความเชื่อถือของโครงการที่เปิดกว้างโปร่งใส ซึ่งผู้ชนะการประมูลคือกลุ่ม CPH เป็นกลุ่มที่ร่วมทุนระหว่าง CP กับกลุ่มบริษัทก่อสร้างรายใหญ่ของไทย ร่วมกับรัฐบาลจีน ญี่ปุ่น และอิตาลี ซึ่งล้วนมีประสบการณ์และศักยภาพสูง ที่จะสร้างประโยชน์ให้กับประชาชนและรัฐได้อย่างดี ผลที่เกิดจากการลงทุนโครงการนี้เบื้องต้นคือ ในระหว่างก่อสร้างจะมีการจ้างงานราว 20,000 อัตรา และเมื่อดำเนินโครงการ จะมีการจ้างงานในธุรกิจระบบรางและเกี่ยวเนื่องราวเกือบ 2 แสนอัตราใน 5 ปี ซึ่งผลตอบแทนทางเศรษฐกิจกว่า 7 แสนล้านบาทที่เพิ่มขึ้น จะสร้างห่วงโซ่การเติบโต-การสั่งสมทุนในการพัฒนาเศรษฐกิจและเทคโนโลยีให้กับประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยที่บ้านเมืองและประชาชนจะได้รับประโยชน์มหาศาล ที่นอกจากจะเพิ่มศักยภาพเศรษฐกิจแล้ว ยังจะช่วยยกระดับปรับภูมิทัศน์ใหม่ให้กับประเทศ และสามารถลดต้นทุนการเดินทาง ขนส่ง คมนาคมลงกว่าเท่าตัว ซึ่งจะช่วยพัฒนาทั้งเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตไปด้วยกัน ซึ่งเป็นต้นทุนที่สำคัญของประเทศทีเดียว!.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 1:40 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ราคาค่าโดยสาร อย่างเป็นทางการ และรูปแบบการเดินรถไฟฟ้า ของ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
6 พฤศจิกายน 2562

การรถไฟเปิดเผยข้อมูลในสัญญารถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน จึงอยากสรุปให้เพื่อนธรณ์ #นั่งรถไฟไปไหนนานแค่ไหนกี่บาท

เอกชนเพิ่งลงนามสร้างรถไฟไฮสปีด 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา กำหนดเวลาโดยรวมไม่เกิน 5 ปี แต่คงทยอยเปิดบริการกันไปเรื่อยๆ

ข้อมูลที่นำมาเขียน ผมรวบรวมมาจากสัญญาที่เขาเปิดเผย คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงเพราะลงนามกันไปแล้ว

รถไฟแบ่งเป็น 3 แบบ City – Express – High Speed

City Line คือ Airport Link เปิดบริการ 05.00-24.00 น.

อัตราค่าโดยสารเท่าเดิม (สุวรรณภูมิถึงพญาไท) แต่จะมีเพิ่มในส่วนต่อขยาย (พญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง)

ถ้าใช้สายนี้วิ่งดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ใช้เวลา 45 นาที ราคา 97 บาท

ถ้ามากัน 1-2 คน ใช้บริการช่วงเวลาปรกติ ถือว่าประหยัดค่าใช้จ่าย/เวลามากกว่าแท็กซี่ แถมยังคุมเวลาได้ด้วยครับ

คนที่จะต้องใช้สนามบิน 2 แห่ง เช่น นั่งเครื่องมาลงสุวรรณภูมิ ต่อโลว์โคสต์ที่ดอนเมือง เชื่อว่าคงยิ้มได้ รวมถึงนักท่องเที่ยวจะสะดวกมากขึ้น

ยังรวมถึงคนที่อยู่คอนโดในเมือง มาขึ้นที่พญาไท ไปดอนเมือง 59 บาท ไปสุวรรณภูมิ 50 บาท

ถ้าอยู่เยื้องมาแถวอโศกรัชดา ขึ้นที่มักกะสัน ไปดอนเมือง 69 บาท ไปสุวรรณภูมิ 39 บาท คนเรียนลาดกระบังสบายเหมือนกันนะ

แม้บางส่วนจะคล้ายแอร์พอร์ตลิงค์เดิม แต่ที่ปรับปรุงคือช่วงเวลารอรถไฟเร็วขึ้น

จากเดิม 15 นาที กลายเป็นทุก 10 นาที (ชั่วโมงเร่งด่วน) และ 15 นาทีในช่วงอื่น

คราวนี้มาดูไฮสปีด แบ่งง่ายๆ เป็น Express Line และ High Speed Line

Express Line วิ่งในเมือง จอดเฉพาะดอนเมือง-บางซื่อ-มักกะสัน-สุวรรณภูมิ

จากดอนเมือง-สุวรรณภูมิ 35 นาที ค่าโดยสาร 183 บาท

เร็วกว่า City 10 นาที แต่จ่ายเพิ่มเกือบเท่าตัว น่าจะเหมาะสำหรับผู้เดินทางคนเดียว จ่ายน้อยกว่าแท็กซี่แต่ถึงเร็วกว่า

สุดท้ายคือ High Speed Line วิ่งเร็วจี๋ 250 กม/ชม ถือเป็นไฮสปีดสายแรกที่คนไทยจะได้ใช้

รถไฟ 8-car Train (8 ตู้) นั่งได้ 450-600 คนต่อขบวน ไม่มีผู้โดยสารยืน จอดสถานีละ 1 นาที ให้บริการ 06.00-22.00 น.

จากสถานีหลักมักกะสัน-ฉะเชิงเทรา 210 บาท ใช้เวลา 30 นาที

ใครคิดมีบ้านในชนบท แต่ทำงานแถวอโศก-รัชดา มีเงินจ่ายค่าเดินทางวันละ 420 บาท คุณอาจสมหวังครับ

ถ้าจะไปเมืองชล ใช้เวลาจากมักกะสัน 45 นาที เตรียมเงินไว้ 287 บาท

คนเมืองชลอยากไปขึ้นเครื่องที่สุวรรณภูมิ 238 บาท ใช้เวลา 30 นาที อันนี้ได้ใจ เผลอๆ จะถูกกว่าและเร็วกว่าคนกรุงเทพนั่งแท็กซี่ไปสุวรรณภูมิ

จากมักกะสันไปศรีราชา 331 บาท ใช้เวลา 55 นาที

ลองคิดถึงคนญี่ปุ่น/ต่างชาติ เช่าคอนโด/ทำงานออฟฟิศแถวอโศก/รัชดา ไปประชุมคุมงานที่ศรีราชาแบบเช้าไปเย็นกลับ มันสะดวกเรื่องธุรกิจดีนะ

ถ้าลงเครื่องที่สุวรรณภูมิ จะไปศรีราชาทันที จ่ายเงิน 282 บาท ใช้เวลา 40 นาทีก็ถึง

ด้วยความเร็ว/สะดวกเช่นนี้ ศรีราชา/แหลมฉบังจะเปลี่ยนไปอีกเยอะ (ตอนนี้ก็ตึกสูงเพียบ)

หรือแม้แต่คณะประมง เรามีสถานีวิจัยอยู่ติดทะเลศรีราชา (ไม่ใช่ม.เกษตรวิทยาเขตศรีราชานะจ๊ะ)

ตอนนี้ห้างเซนทรัลยักษ์กำลังจะเปิดห่างจากสถานีไปแค่ 400-500 เมตร แถมนิสิตยังนั่งไฮสปีดไปฝึกงานได้อีกแน่ะ (รีบเข้ามาเรียนสิจ๊ะ)

ผมฝันไว้ว่าจะพยายามผลักดันสถานีแห่งนี้เป็นศูนย์ทำงานเรื่องทะเลและสิ่งแวดล้อมใน EEC หวังว่าจะเห็นอะไรบ้างก่อนเกษียณ

คราวนี้มาถึงจุดสำคัญ พัทยา

จากมักกะสันจ่ายเงิน 379 บาท ใช้เวลาไม่ถึง 70 นาที (ปรกติขับรถจากบ้านผม 2 ชั่วโมงครึ่ง ถ้ารถติดไม่ต้องพูดถึงจ้ะ)

เหล่านักดำน้ำที่ไปพัทยาเป็นประจำ น่าจะยิ้มแป้น ไม่ต้องรีบขับรถออกตอนตีห้าครึ่ง/หกโมง แค่ไปขึ้นรถไฟให้ทันเที่ยว 7.30 น. แปดโมงสี่สิบก็ถึงพัทยา ลงเรือ 9 โมงน่าจะทันนะ

มาดูนักท่องเที่ยวบ้าง ลงเครื่องที่สุวรรณภูมิ จ่ายเงิน 330 บาท ใช้เวลา 50 นาที ไปถึงพัทยา โอ้...ไอเลิฟยู

อ่านแล้วเห็นเลยว่า พัทยาน่าจะมีคนมาอีกเยอะ แต่ขึ้นกับการจัดการนำคนจากสถานีเข้าหาด/เมืองว่าจะทำได้เนียนแค่ไหน

(ถ้าลงรถไฟแล้วนั่งรถตู้เข้าไป ติดอยู่บนถนนอีกค่อนชั่วโมง อย่างนั้นก็เหนื่อยครับ)

สถานีอยู่แถวถนนสุขุมวิท แหล่งท่องเที่ยวตั้งแต่จอมเทียน-บางเสร่ จะได้อานิสงส์อีกเยอะ (มอเตอร์เวย์สายใหม่ก็กำลังจะเปิดบริการ มีทางลงแถวนี้ สองเด้งฮะ)

คราวนี้ลองเทียบว่าค่าตั๋วแพงไหม ?

ถ้าเทียบกับรถไฟสายเร็วสุดจากนาริตะ-โตเกียว ใช้สาย Skyliner ใช้เวลา 50 นาที ค่าตั๋ว 2,500 เยนต่อเที่ยว

คิดเรท 100 เยน/ 30 บาท ของเขา 750 บาท ของเรา 330 บาท (เทียบจากสุวรรณภูมิ-พัทยาที่ใช้เวลา 50 นาที)

แน่นอนว่าคนญี่ปุ่นมีรายได้สูงกว่าคนไทย แต่รถไฟความเร็วสูงของเราก็ต้องสั่งเข้ามาทั้งระบบทั้งขบวนรถ มันก็ต้องจ่ายเงินเท่าๆ กัน จะแพงกว่าด้วยซ้ำเพราะของเราต้องนำเข้าเสียค่าขนส่ง

จะถูกกว่าก็คงเป็นค่าแรงก่อสร้าง/ที่ดิน เพราะฉะนั้น สำหรับผมถือว่าค่าตั๋วพอรับได้

รถไฟความเร็วสูงจะตอบโจทย์นักธุรกิจ/นักท่องเที่ยวมากกว่าผู้คนที่สัญจรไปมาทุกวัน ซึ่งก็เป็นปรกติเหมือนประเทศอื่น

เมื่อดูจากโมเดลชินคันเซนตอนแรกเริ่ม โตเกียว-นาโกยา-โอซากา เราก็เห็นความคล้ายคลึงอยู่นะ

จะเป็นสายกรุงเทพ-ศรีราชา-ระยอง (ในอนาคตคงต่อไปถึงที่นั่น) เชื่อมต่อกรุงเทพกับแหล่งอุตสาหกรรม/ขนส่ง/พลังงาน (ศรีราชา-แหลมฉบัง-มาบตาพุด)

แต่ของเรายังมีสนามบินตั้ง 3 แห่ง แถมเมืองท่องเที่ยวใหญ่อย่างพัทยา ดูแล้วน่าจะรุ่ง (หวังไว้ครับหวังไว้ ฝันให้ไกลหน่อย)

หากมองในด้านการพัฒนาของพื้นที่ ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าในปี 65 พื้นที่ EEC จะมีคน 4.38 ล้านคน และจะกลายเป็น 6 ล้านคนในปี 2580 (สวนทางกับประชากรไทยที่จะลดลง)

และถ้าดูด้านการท่องเที่ยว จะเป็นการเชื่อมต่อ เครื่องบิน-รถไฟ-รถ (โมโนเรล) –เรือ

เกาะสีชัง เกาะล้าน จะมีคนเพิ่มมากขึ้น รวมถึงเฟอรี่ข้ามอ่าว พัทยา-หัวหิน

ตอบโจทย์นักท่องเที่ยวจากสุวรรณภูมิ 50 นาทีถึงพัทยา ไปอีก 2 ชั่วโมงถึงหัวหิน (330 บาท 1,250 บาท)

นั่นคือการพัฒนาและความสะดวกสบาย แต่เราก็คงต้องดูด้านความยั่งยืนไปด้วย

เราจะเจอประชากรมากขึ้น นักท่องเที่ยวมากขึ้น ฯลฯ ผลกระทบ ขยะ น้ำเสีย การใช้ประโยชน์จากแนวปะการัง หาดทราย ฯลฯ ย่อมมีมากขึ้น

เมื่อคิดถึงสภาพปัจจุบัน ตอนนี้ก็มีเยอะแล้ว

หากเราวางแผนรองรับไม่รอบคอบ ชกไม่ตรงเป้าเอาแต่ประชุม ไม่เกิดความจริงในพื้นที่ จนดัชนีขีดความสามารถท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนหล่นตุบมาจนติดกลุ่มบ๊วย (อันดับ 130 จาก 140 ประเทศ – World Economic Forum)

แม้รถไฟจะเร็วแค่ไหน แต่คุณภาพชีวิตก็ตกต่ำ ความหวังในการพัฒนาธุรกิจก็มืดหม่น โดยเฉพาะในยุคที่โลกโกกรีนกันเต็มๆ เช่นนี้

ทางฝ่ายยุทธศาสตร์ EEC ก็วางแผนเรื่องนี้ไว้ แต่ขอยกยอดไปพูดถึงคราวหน้าว่าจะเป็นไปได้แค่ไหน ?

หนนี้ขอพูดแค่รถไฟไฮสปีด ความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ที่กำลังมา

นักสิ่งแวดล้อมจำเป็นต้องรู้เขารู้เรา เพื่อการเสนอแนะพูดคุยอย่างทันเหตุการณ์

และคงมีประโยชน์ต่อการวางแผนอนาคตของเพื่อนธรณ์

ทำงานที่ไหน ผ่อนคอนโดแถวไหน ไปทำไร่ยั่งยืนแถวไหน เปิดร้านอาหารร้านกาแฟ ฯลฯ

อย่าลืมว่าประชากรไทยกำลังจะลดลง อัตราเพิ่มของนักท่องเที่ยวจะไม่โตเหมือนเดิม

ความเจริญจะไม่กระจายไปทุกแห่งหน แต่จะกระจุกตัวอยู่บางพื้นที่ ซึ่งมีการลงทุนเป็นจำนวนมาก

ในประเทศอื่นๆ ก็คล้ายคลึงกัน หลายเมืองในญี่ปุ่นเงียบกริบ บ้านร้างมีเพียบ

การทำความเข้าใจกับโลกยุคแห่งความเปลี่ยนแปลง จึงสำคัญมากมาย

เพราะรักเพื่อนธรณ์ จึงอยากให้อ่าน ไม่งั้นเราปรับตัวไม่ทันหรอกครับ

🤗 🚅

หมายเหตุ – ราคาค่ารถไฟจากสัญญาร่วมทุน รายละเอียดเพิ่มเติมอ่านเอกสารยาวหลายร้อยหน้าได้ที่ เอกสารการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
https://www.facebook.com/thon.thamrongnawasawat/posts/3108121982536317
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 5:02 pm    Post subject: Reply with quote

จุดพลุ ‘สถานีรถไฟพัทยา’ มีโอกาสพัฒนาเป็นแหล่งช้อปปิ้งระดับภูมิภาค
โดย NOPPHAWHAN TECHASANEE
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 12:52 pm


ปักหมุดรอไฮสปีด “TOD พัทยา” เปิดพัฒนา4โซนออฟฟิศ-ศูนย์กลางธุรกิจ-ที่อยู่อาศัย-ไมซ์ซิตี้

พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 11:40 น.



วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09.00 น. ณ ห้องพิมาน บอลลูนชั้น 2 โรงแรมแกรนด์ พาลาสโซ่พัทยา อ.บางละมุง จ.ชลบุรี นายเริงศักดิ์ ทองสม ผู้อำนวยการกองพัฒนาระบบการขนส่งและจราจร สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) เป็นประธานเปิดการสัมมนาเพื่อประเมินความสนใจของภาคเอกชน (Market Sounding) ในพื้นที่เมืองต้นแบบพัทยา จังหวัดชลบุรี ครั้งที่ 1 ตามโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง “TOD คมนาคม สร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้” จัดโดยสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่ง และจราจร (สนข.) ซึ่งมีหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนสนใจเข้าร่วมงานกว่า 200 คน

นายเริงศักดิ์กล่าวว่า เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี กลุ่มเมืองต้นแบบการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit Oriented Development : TOD) ด้านตะวันออก มีความพร้อมด้วยศักยภาพการเป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นฐานการผลิตขนาดใหญ่ เป็นทำเลที่ดีที่สุดในการลงทุนในภูมิภาคอาเซียน ที่สำคัญเป็นประตูสู่อาเซียน โดยเฉพาะจีนและอินเดีย และมีเม็ดเงินลงทุนพัฒนาเมืองในพื้นที่ และการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวมูลค่าสูงถึง 4 แสนล้านบาท และ 2 แสนล้านบาท ตามลำดับ

ทั้งนี้รัฐบาลยังมีนโยบายส่งเสริมให้เป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุนด้านอุตสาหกรรมหลักที่สำคัญของประเทศและภูมิภาคอาเซียนมีการพัฒนาระบบสาธารณูปโภคและโครงสร้างพื้นฐานที่แข็งแกร่งพร้อมรับการแข่งขันจากต่างประเทศ ทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โครงการรถไฟฟ้ารางเบาเชื่อมรถไฟฟ้าความเร็วสูง และโครงการขยายสนามบินอู่ตะเภาเพื่อรองรับผู้โดยสารให้ได้ 3 ล้านคนต่อปี

นอกจากนั้นยังมีความพร้อมด้านธุรกิจบริการมาตรฐานสากลและแหล่งท่องเที่ยวระดับโลกซึ่งติดอันดับ 18 เมืองจุดหมายปลายทางของโลกในปี 2561 จากปริมาณนักท่องเที่ยวทั้ง 14 ล้านคน และมีแนวโน้มขยายตัวขึ้นอีกมาก รวมทั้งยังเป็นศูนย์กลางการค้า การลงทุน และธุรกิจบริการ มีความพร้อมทั้งด้านการแพทย์ การศึกษา

และเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ ดังนั้นการเลือกเมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี เป็นเมืองพัฒนา TOD จะช่วยเพิ่มความคุ้มค่าในการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ การกระจายความเจริญ การเพิ่มโอกาสทางเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตที่ดีแก่ประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งจังหวัดในภูมิภาคตะวันออก และเป็นกลไกสำคัญในการสนับสนุนการเติบโตเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

นายเริงศักดิ์กล่าวว่า ผลการศึกษาเบื้องต้นบริเวณรอบสถานีเมืองพัทยาสามารถพัฒนาได้ 4 โซนหลัก คือโซน 1 ย่านอาคารสำนักงานที่พร้อมรองรับทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตอย่างลงตัว เนื่องจากตำแหน่งที่ตั้งติดสถานีรถไฟ พื้นที่นี้จึงเหมาะพัฒนาแบบผสมผสาน ทั้งอาคารสำนักงานระดับภูมิภาค ที่ทำการหน่วยงาน สถานศึกษา ร้านค้าปลีก รองรับทั้งกิจกรรมทางเศรษฐกิจและการดำเนินชีวิตประชาชน

โซนที่ 2 ศูนย์กลางธุรกิจ การค้า การพาณิชย์ ขับเคลื่อนเศรษฐกิจคล่องตัว ด้วยตำแหน่งที่ตั้งติดสถานีทำให้พื้นที่บริเวณนี้เหมาะอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเชิงพาณิชย์ทั้งเป็นศูนย์การค้าขนาดใหญ่ระดับภูมิภาครองรับกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติ รวมถึงโรงแรมธุรกิจ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุน การท่องเที่ยว และบริการแบบครบวงจร

โซนที่ 3 มหานครแห่งอุตสาหกรรมไมซ์ (MICE City) ครบวงจร ด้วยศักยภาพและความพร้อมของเมืองพัทยาในฐานะเมืองท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงระดับโลก มีปริมาณนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นทุกปี และมีโครงสร้าง
พื้นฐานที่แข็งแกร่งรองรับพื้นที่นี้จึงเหมาะอย่างยิ่งที่จะพัฒนาเป็นศูนย์กลางทางด้านการประชุม จัดแสดง และสัมมนา โดยเป็นที่ตั้งของศูนย์การประชุมและแสดงสินค้าระดับนานาชาติ โรงแรมที่สามารถจัดการประชุมขนาดใหญ่ได้ รวมถึงโรงแรมราคาประหยัดที่พร้อมรองรับทุกความต้องการ ดังนั้นเมืองพัทยาจึงมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาเป็นมหานครแห่งอุตสาหกรรมไมซ์ได้

โซนที่ 4 ชุมชนที่อยู่อาศัย อยู่สบาย เอื้อต่อการใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ ด้วยความสะดวกสบาย
ด้านการคมนาคม เพราะอยู่ใกล้จากสถานีทำให้พื้นที่แห่งนี้เหมาะที่จะพัฒนาเป็นย่านที่พักอาศัยที่มีคุณภาพมาตรฐาน ทั้งอาคารแนวราบ และอาคารแนวสูงราคาถูกภายใต้สภาพแวดล้อมที่ดี มีร้านค้าปลีกชุมชน และสวนสาธารณะเพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียวที่ครบถ้วนด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกด้านสันทนาและมีความปลอดภัย เอื้อต่อการอยู่อาศัยและใช้ชีวิตอย่างมีคุณภาพ

นายเริงศักดิ์กล่าวด้วยว่า ปัจจัยสู่ความสำเร็จในการพัฒนาพื้นที่ TOD เมืองพัทยา จังหวัดชลบุรี คือภาครัฐต้องกำหนดกรอบนโยบายการลงทุน รูปแบบการสนับสนุน และข้อกฎหมายที่สนับสนุนให้มีความชัดเจน การมีหน่วยงานกลางทำหน้าที่ดูแลและรับผิดชอบ มีช่องทางในการสร้างรายได้จากการพัฒนาพื้นที่ ตลอดจนทุกภาคส่วนมีเครื่องมือทางการเงินเพื่อสนับสนุนการพัฒนาด้านต่างๆ ของโครงการ และมีรูปแบบการลงทุนที่มีความเป็นธรรม และสอดคล้องกับลักษณะการพัฒนา TOD ในพื้นที่ และที่สำคัญคือต้องอาศัย
https://www.youtube.com/watch?v=SqdKjGB00Nc


Last edited by Wisarut on 08/11/2019 11:22 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีนเดินหน้าไฮสปีดอีสาน เร่งสรุป”แหล่งเงินกู้”ซื้อระบบ5หมื่นล้าน
พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 09:24 น.

“บิ๊กตู่-หลี่ เค่อเฉียง” ประสานเสียง เดินหน้ารถไฟไทย-จีน “ศักดิ์สยาม” เตรียมถกแหล่งเงินงานระบบ 5 หมื่นล้าน พ.ย.นี้ ที่ประชุม JC “เจ้าสัว ซี.พี.” ร่วมวงประชุม 2 นายกรัฐมนตรี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการพบปะและหารือร่วมกันระหว่างพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีไทย กับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีของสาธารณรัฐประชาชนจีน เมื่อวันที่ 5 พ.ย. 2562 นายกรัฐมนตรีฝ่ายไทยได้รายงานความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงเป็นความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่ายังติดปัญหาบางประการ และคิดว่าควรจะมีการเจรจาต่อไป ขณะที่นายกรัฐมนตรีฝ่ายจีนแสดงความพร้อมในการเดินหน้าโครงการ ประเด็นใดที่เร่งดำเนินการได้ก็ให้เร่ง ส่วนประเด็นที่ติดปัญหาให้เร่งเจรจากันต่อไป

“เรื่องนี้จะไม่กระทบกับความสัมพันธ์ เพราะไทยและจีนมีความสัมพันธ์กันมานานและยิ่งใหญ่กว่าเรื่องรถไฟและขอให้หาแนวทางแก้ไขที่เหมาะสม หากจะแก้ประเด็นใดต้องไม่ให้เป็นที่วิพากษ์วิจารณ์แก่คนรุ่นหลังในภายหน้าได้” แหล่งข่าวอ้างคำพูดของนายหลี่ เค่อเฉียง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ยังไม่ได้หารือสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ มูลค่า 50,633.5 ล้านบาท ยังติดปัญหาเงินกูู้จะเป็นสกุลบาทหรือดอลลาร์สหรัฐ

“จีนมองว่าเงื่อนไขยังตกลงกันไม่ได้ควรให้ได้ข้อสรุปในชั้นคณะกรรมการร่วมรถไฟระหว่างไทย-จีนหรือ JC ก่อนนำมาหารือระดับผู้นำ จะประชุมครั้งที่ 28 ในเดือน พ.ย.นี้ ทั้งนี้คมนาคมมีโอกาสนำข้อมูลทั้งหมดเสนอแด่นายกรัฐมนตรีทั้ง 2 ประเทศเรื่องข้อดีข้อเสียกู้เงินในสกุลเงินต่าง ๆ ฝ่ายจีนยังไม่ได้มีท่าทีอะไร”

จากการหารือร่วมไทย-จีนที่ผ่านมา จีนเป็นห่วงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน ไทยได้ตอบกลับหากกู้ในเงินบาทจะมีประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายอย่างไร ขณะที่กระทรวงการคลังก็แนะนำให้ทำในรูปแบบอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้าได้ จีนอาจจะยังไม่ทราบขั้นตอน จึงต้องทำความเข้าใจวิธีปฏิบัติให้เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ประเทศ และต้องอยู่ภายใต้กฎหมายที่อนุญาตให้ทำ กำลังหารืออัยการสูงสุด ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ ยังไม่สรุป เพราะ 2 สัญญาก่อนหน้านี้คือ สัญญาจ้างออกแบบกับควบคุมงาน จะใช้สกุลเงินบาทชำระกับจีน ส่วนสัญญาจ้างเดินรถและวางระบบ ก็เจรจาในรูปสกุลเงินบาท แต่จีนต้องการให้จ่ายเป็นสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ จึงเป็นหัวข้อเจรจาเพิ่ม หากเจรจาลงตัว จะต้องเสนอคณะรัฐมนตรีอนุมัติและเซ็นสัญญาต่อไป

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า การประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนก่อนหน้านี้ จีนเสนอให้กู้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าของรัฐบาลจีน (CEXIM) อัตราดอกเบี้ย 3% แต่กำหนดเงื่อนไขต่าง ๆ มากมาย ทำให้การกู้เงินกับจีนเป็นเรื่องยาก เช่น ให้มีอนุญาโตตุลาการ ทาง CRDC และ CRIC รัฐวิสาหกิจของจีน ขอต่อรองเงื่อนไขการเบิกเงินกับไทยให้เร็วขึ้นจากเดิม 15 วันทำการ นอกจากนี้หากจะกู้จีน ฝ่ายไทยจะต้องนำเอกสารส่งมอบพื้นที่มาให้จีนดูทั้งหมดก่อนว่าพร้อมก่อสร้างเหมือนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นต้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือ ซี.พี. เดินทางมาร่วมงานดังกล่าวด้วย โดยมาพร้อมกับผู้ติดตาม 1 คน และปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์ใด ๆ กับสื่อมวลชน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 07/11/2019 6:02 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสัญญา “ไฮสปีด 3 สนามบิน” อีอีซี หวังสร้างความเชื่อมั่น ต้นแบบ PPP ไทยโปร่งใส เข้าถึงได้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 16:26
ปรับปรุง: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 17:15

ร.ฟ.ท.เปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญสัญญาร่วมลงทุนโครงการไฮสปีดเชื่อมสนามบิน ต้นแบบความร่วมมือ PPP เน้นความโปร่งใส เป็นสากล ยกระดับความเชื่อมั่นการลงทุน

หลังจากลงนามสัญญากับ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้เปิดเผยเอกสารข้อมูลสาระสำคัญของสัญญาร่วมลงทุนและวิธีการคัดเลือกเอกชน ซึ่งรวมถึงเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมทุนที่มีรายละเอียดจำนวนมาก และเป็นข้อมูลที่หลายคนเรียกร้องอยากเห็น

ความร่วมมือในการลงทุนระหว่างภาครัฐกับเอกชน สำหรับโครงการให้บริการสาธารณะที่มุ่งหวังเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการให้บริการและการดำเนินงานที่คุ้มค่ากับต้นทุนมากกว่าให้รัฐดำเนินการเอง เรียกว่า PPP หรือ Public Private Partnership ที่ต้องมีความโปร่งใสและตรวจสอบได้

การเปิดเผยรายละเอียดของสัญญาครั้งนี้จึงเป็นบรรทัดฐานที่ดี และถือเป็นต้นแบบของ PPP ที่โครงการอื่นๆ ของภาครัฐต้องเดินตาม เพราะจะทำให้กระบวนการดำเนินโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐเป็นไปอย่างโปร่งใส ตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน เรียกได้ว่าเป็นความสำเร็จของรัฐบาลในการสื่อสารนโยบาย และให้รายละเอียดของโครงการของรัฐต่อกลุ่มที่ให้ความสนใจหรือกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย (Stakeholders) ซึ่งเป็นการส่งเสริมกระบวนการการมีส่วนร่วมบนฐานข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อประโยชน์สูงสุดต่อประเทศ

นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงการทำงานอย่างเป็นสากลของประเทศไทย ที่สามารถสร้างความเชื่อมั่นและไว้วางใจให้ต่างประเทศที่จะเข้ามาลงทุนในอนาคตได้เป็นอย่างดี ประกอบกับคำชื่นชมจากหลายประเทศในการประชุมอาเซียนซัมมิตที่เพิ่งผ่านพ้นไปหมาดๆ กับบทบาทสำคัญของประเทศไทยในฐานะประธานการประชุมที่ได้ทำหน้าที่เจ้าบ้านได้อย่างสมบูรณ์แบบ ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาความขัดแย้งในระดับภูมิภาคได้อย่างแยบยล ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นภาพลักษณ์ที่ดีที่สะท้อนถึงความเชื่อมั่นของนานาชาติที่มีต่อไทย ส่งผลถึงความร่วมมือในการเชื่อมโยงเส้นทางการค้ากับประเทศต่างๆ ทั้งในและนอกอาเซียนให้มีความสดใสมากยิ่งขึ้น

อีกด้านหนึ่ง หากดูที่จำนวนของเอกสารซึ่งมีมากจนไม่สามารถอัพโหลดบนเว็บไซต์ได้ทั้งหมด ก็ยังสะท้อนถึงรายละเอียดปลีกย่อยมหาศาลที่ภาครัฐและเอกชนต้องร่วมกันพิจารณาชนิดข้ามผ่านไปเฉยๆ ไม่ได้ เพื่อผลประโยชน์ของประเทศชาติเป็นที่ตั้ง ทำให้เข้าใจได้ว่าทำไมในขั้นตอนของการเจรจาจึงต้องใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะตกผลึกร่วมกันทั้งสองฝ่าย จนนำมาซึ่งการลงนามในที่สุด

เมื่อผ่านขั้นตอนยากในภาคทฤษฎีไปแล้ว จากนี้ก็เหลือเพียงขั้นตอนในภาคปฏิบัติที่เอกชนต้องรับบทหนัก ในการเข็นและปลุกปั้นให้รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินสำเร็จออกมาโลดแล่นได้จริงภายใน 5 ปีนับจากนี้ เพื่อเป็นหัวขบวนนำความเจริญรุ่งเรืองมาสู่ประเทศไทย เพื่อก้าวพ้นกับดักตามที่ตั้งเป้าไว้

ที่มา : https://www.eeco.or.th/sites/default/files/ข้อมูลสาระสำคัญของวิธีการคัดเลือกเอกชน.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2019 9:01 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(27)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 29 ตุลาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3518 ระหว่างวันที่ 31 ตุลาคม 2562 -2 พฤศจิกายน 2562




สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(28)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 3 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3519 ระหว่างวันที่ 3-6 พฤศจิกายน 2562



สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(29)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 5 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3520 ระหว่างวันที่ 7-9 พฤศจิกายน 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งนับเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของรัฐบาลไทย ที่มีความล่าช้าในการลงนามเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

คณะกรรมการพิจารณาการประกวดราคาได้พิจารณาข้อเสนอซองที่ 3 (ด้านการเงิน) ของกลุ่มกิจการร่วมค้า บีเอสอาร์ และกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี และพันธมิตร ที่ผ่านด้านเทคนิคมาแล้ว เมื่อเปิดซองด้านการเงินพบว่า กลุ่มซีพี เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่ากลุ่มบีเอสอาร์ อยู่มาก กลุ่มซีพีจึงชนะประมูล

คณะกรรมการฯ เรียกกลุ่มซีพีมาเจรจาต่อรองกันมาตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2561 และเริ่มสรุปผลการประมูลมาตั้งแต่เดือนมกราคม 2562 เพิ่งจะมีการเปิดทำเนียบรัฐบาล เพื่อทำพิธีลงนามเซ็นสัญญากับเอกชนอย่างยิ่งใหญ่เป็นประวัติการณ์ของการประมูลโครงการขนาดใหญ่อย่างอึกทึกครึกโครม เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562

ปัญหาที่ทุกคนสงสัยคือสัญญาสัมปทานแบบพีพีพีในโครงการนี้เป็นอย่างไร ผมจึงนำร่างสัญญาโครงการร่วมทุนที่ผ่านสำนักงานอัยการสูงสุดและสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกามาเผยแพร่ จนกว่าจะมีการเปิดสัญญากับเอกชนให้ประชาชนคนไทยได้เห็นภาพการลงทุนขนาดใหญ่ของรัฐบาล เป็นตอนที่ 29 สัญญาที่ทำกับการรถไฟฯ เป็นเช่นไรบ้าง เชิญทัศนากันได้ ณ บัดนี้...

6) หากเกิดความชำรุดบกพร่อง ใช้การไม่ได้ หรือความเสียหายขึ้นกับทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ รวมถึงที่ดิน (ไม่ว่าเหตุดังกล่าวจะเกิดขึ้นหรือมีอยู่ในระยะเวลาใดก็ตามระหว่างระยะเวลาของโครงการฯ และไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมใหญ่ที่มีความจำเป็นและสมควรเพื่อรักษาทรัพย์สินที่ใช้ในการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ รวมถึงที่ดินให้อยู่ในสภาพใช้งานได้หรือการซ่อมแซมเล็กน้อยก็ตาม)

เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการซ่อมแซมและแก้ไขเหตุดังกล่าว (รวมถึงการจัดหาสิ่งทดแทนทรัพย์สินที่ชำรุด บกพร่อง ใช้การไม่ได้หรือได้รับความเสียหายดังกล่าว) โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะสามารถทำได้ (แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด) เพื่อทำให้ทรัพย์สินดังกล่าวสามารถกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ มีความมั่นคงแข็งแรง และมีความปลอดภัยและเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดไว้โดยเร็วด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเองทั้งสิ้น

โดยเอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้อง ค่าชดเชย ค่าใช้จ่าย ค่าเสียหาย ค่าทดแทนเงินหรือประโยชน์อื่นใด อันเนื่องจากการดำเนินการดังกล่าวจาก รฟท.ทั้งสิ้น

ทั้งนี้ หากเอกชนคู่สัญญาไม่ซ่อมแซม แก้ไข รวมถึงจัดหาสิ่งทดแทน ความชำรุด บกพร่อง ใช้การไม่ได้ หรือความเสียหายดังกล่าวข้างต้น หลังจากที่ รฟท. ได้ส่งคำบอกล่าวถึงการนั้นแก่เอกชนคู่สัญญา รฟท.มีสิทธิว่าจ้างบุคคลอื่นให้เข้าไปในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และดำเนินการเช่นว่านั้นได้ทันทีและเอกชนคู่สัญญาจะต้องชดใช้ซึ่งบรรดาค่าจ้างและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งปวงที่ รฟท.ได้ชำระไปอันเนื่องมาจากการดำเนินการเช่นว่านั้นให้แก่ รฟท. ในทันทีที่ได้รับการทวงถาม

ในกรณีที่มีการซ่อมแซม แก้ไข รวมถึงจัดหาสิ่งทดแทน ความชำรุดบกพร่อง ใช้การไม่ได้หรือความเสียหายดังกล่าวข้างต้นแล้ว หาก รฟท.เห็นว่ามูลค่าของพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และ/หรือ บรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ลดลง เอกชนคู่สัญญาต้องจ่ายเงินทดแทนให้แก่ รฟท. ตามราคาและมูลค่าของทรัพย์สินดังกล่าวที่ลดลงด้วย

7) ในกรณีที่พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (รวมถึงบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญานำมาใช้และ/หรือติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) เกิดการทรุดโทรม สึกหรอ หรือเสื่อมสภาพ (ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากการใช้งานตามปกติหรือด้วยเหตุใดก็ตาม) ซึ่ง รฟท.เห็นว่าอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย พลานามัย ของประชาชน หรือต่อทรัพย์สินของ รฟท.หรือบุคคลอื่นใด หรือต่อสิ่งแวดล้อม เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่และความรับผิดชอบในการจัดหาทรัพย์สินที่มีคุณสมบัติ และคุณภาพที่ไม่ด้อยไปกว่าเดิมมาสับเปลี่ยนหรือทดแทนทรัพย์สินที่ทรุดโทรม สึกหรอ หรือเสื่อมสภาพดังกล่าวโดยเร่งด่วน (แต่ทั้งนี้จะต้องไม่เกินกว่าระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด)

และในระหว่างการดำเนินการของเอกชนคู่สัญญาหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง เอกชนคู่สัญญา จะต้องจัดให้มีและใช้วิธีการหรือมาตรการความปลอดภัย เพื่อป้องกันและเยียวยาความสูญเสียหรือเสียหายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรือทรัพย์สินของ รฟท.หรือบุคคลใดดังกล่าว ทั้งนี้ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเองทั้งสิ้น

8) เอกชนคู่สัญญาจะไม่ใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (รวมถึงบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญานำมาใช้ และ/หรือติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนโครงการรถไฟของโครงการฯ) เพื่อการใดๆ อันเป็นที่น่ารังเกียจแก่สังคม หรือน่าจะเป็นการเสียหายแก่ทรัพย์สินดังกล่าวหรือน่าจะก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ รฟท.หรือผู้อยู่ใกล้เคียง หรือเพื่อการใดๆ อันเป็นการละเมิดต่อกฎหมายไทยหรือความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน

9) เอกชนคู่สัญญาต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทย ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ นอกจากนี้เอกชนคู่สัญญาจะต้องปฏิบัติและควบคุมดูแลบุคคลซึ่งอยู่กับเอกชนคู่สัญญา หรือบุคคลที่เอกชนคู่สัญญาได้ตั้งแต่ มอบหมายจ้างวาน หรือใช้ให้ปฏิบัติงานต่างๆ ในกิจการของเอกชนคู่สัญญาหรือภายในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้ปฏิบัติตามกฎหมายไทย

ตลอดจนต้องระมัดระวังมิให้บุคคลใดใช้พื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (รวมถึงบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญาหรือบุคคลอื่นใดนำมาใช้และ/หรือติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) เป็นสถานที่กระทำผิดกฎหมายไทย หรือใช้เป็นสถานที่เก็บหรือซ่อนเร้นสิ่งผิดกฎหมายไทย

และในกรณีเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นหรือมีความเสียหายเกิดขึ้นจากเหตุการณ์ดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบในผลอันเกิดจากการกระทำของบุคคลเหล่านั้น เสมือนหนึ่งเอกชนคู่สัญญาได้กระทำเองทุกประการ

10) เอกชนคู่สัญญาต้องยินยอมและอำนวยความสะดวกให้ รฟท.หรือผู้แทนของ รฟท.เข้าไปตรวจพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ และบรรดาสิ่งปลูกสร้างต่างๆ บนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (รวมถึงบรรดาส่วนควบและอุปกรณ์ต่างๆ ที่เอกชนคู่สัญญานำมาใช้และ/หรือติดตั้งในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ) ได้เสมอ

อ่านสัญญาแล้วรอบคอบรัดกุมหรือไม่ครับ!

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล(30)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3521 ระหว่างวันที่ 10-13 พฤศจิกายน 2562



ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพี และพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะมีการลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในตอนที่ 30 ซึ่งเป็นเรื่องสัญญาที่แอร์พอร์ตลิงค์ และเกี่ยวพันกับการโอนที่และการย้ายพวงรางรถไฟ อันนี้จะเป็นตัวบอกว่า ส่งมอบไม่ได้รื้อย้ายไม่ทัน “ค่าโง่” ในอนาคตจะอยู่ตรงนี้

11) เอกชนคู่สัญญาต้องดำเนินการให้ผู้เช่าช่วงและผู้ใช้ประโยชน์พื้นที่สนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯทุกราย(ถ้ามี) ปฏิบัติตามหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ใน 1) ถึง10) ข้างต้นนี้เช่นเดียวกับเอกชนคู่สัญญาทุกประการ

12) เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบในค่าใช้จ่ายในการจัดให้มีระบบสาธารณูปโภคและค่าสาธารณูปโภค ในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ทั้งหมด เช่น ค่านํ้าประปา ค่าไฟฟ้าและค่าสิ่งแวดล้อม (อาทิ ค่าบำบัดนํ้าเสีย) จนกว่าเอกชนคู่สัญญาจะส่งคืนพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ให้แก่ รฟท. เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

13) เอกชนคู่สัญญาต้องจัดให้มีมาตรการความปลอดภัยซึ่งมีประสิทธิภาพที่ดีภายในพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ อันได้แก่ ระบบป้องกันอัคคีภัย ระบบเตือนภัย ระบบหนีภัย ระบบบรรเทาภัย แผนงานดำเนินการและระบบต่างๆ อื่นใดไม่น้อยกว่าที่กฎหมายไทยและหน่วยงานของรัฐกำหนดไว้ และต้องเพียงพอเหมาะสม กับสภาพพื้นที่และจำนวนผู้ใช้บริการโดยถือเอาความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้ใช้บริการเป็นสำคัญ

อนึ่ง อุปกรณ์สำหรับระบบต่างๆ ดังกล่าวต้องเป็นอุปกรณ์ที่มีคุณภาพและประสิทธิภาพที่ดี และต้องจัดให้มีเส้นทางสัญจร โดยปราศจากสิ่งกีดขวางสำหรับอพยพคนเมื่อเกิดเหตุอัคคีภัยหรือภัยพิบัติอื่นใดและมีบันไดหนีไฟทั้งภายในและภายนอกสิ่งปลูกสร้างอย่างเพียงพอ

14) กรณีที่เอกชนคู่สัญญามีความประสงค์ขอให้ รฟท. นำสัญญาร่วมลงทุนนี้ไปจดทะเบียนการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ณ สำนักงานที่ดินที่เกี่ยวข้องให้แก่เอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาจะต้องแจ้งให้ รฟท.ทราบล่วงหน้าเป็นหนังสือไม่น้อยกว่าสี่สิบห้า (45) วัน โดยเอกชนคู่สัญญาเป็นผู้รับผิดชอบค่าธรรมเนียม
ค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายอื่นๆ ทั้งหมดในการจดทะเบียนการเช่าแต่ฝ่ายเดียว

ทั้งนี้ในกรณีที่มีการจดทะเบียนการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ หากมีการเลิกสัญญาร่วมลงทุนก่อนสิ้นสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในกรณีดังกล่าว เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะไปจดทะเบียนสิ้นสุดการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในทันทีที่ รฟท.กำหนด โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าธรรมเนียม ค่าภาษีอากรและค่าใช้จ่ายต่างๆ ทั้งหมดในการจดทะเบียนสิ้นสุดการเช่าแต่ฝ่ายเดียว และ

15) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการเชื่อมต่อข้อมูลทั้งในส่วนฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และ Source Code (ถ้ามี) ด้วยค่าใช้จ่ายของเอกชนคู่สัญญาเองในการเชื่อมต่อเทคโนโลยีในการรับส่งข้อมูลในระบบไร้สายหรืออินเตอร์เน็ต หรือระบบอื่นๆ ที่จะมีขึ้นในอนาคตให้แก่ รฟท.เพื่อประโยชน์ในการรับส่งข้อมูลการใช้ประโยชน์

การเช่าหรือเช่าช่วง การดัดแปลงพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ระหว่างเอกชนคู่สัญญากับ รฟท.ให้เสร็จสมบูรณ์ภายในห้า (5)วัน นับแต่วันที่เริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ พร้อมทั้งจะต้องมีการพัฒนา อัพเกรด บำรุงรักษาระบบ หรือเปลี่ยนแปลงระบบให้แก่ รฟท.อย่างต่อเนื่องตลอดไปจนสุดระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯเพื่อประสิทธิภาพที่ดีและเพื่อรองรับการเชื่อมต่อข้อมูล

(5) งานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ (ก) งานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน

1) การดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน

ก) เอกชนคู่สัญญาจะต้องดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันให้แล้วเสร็จและอยู่ในสภาพพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อเนื่อง ไม่หยุดชะงัก ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท.ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของ
โครงการฯ และไม่กระทบต่อสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ ของ รฟท.ในพื้นที่ดังกล่าว

ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่ เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน ไม่เกินสามร้อยล้าน (300,000,000) บาทถ้วน

ข) รฟท. มีกรรมสิทธิ์ในวัสดุ อุปกรณ์ เศษเหล็ก หรือทรัพย์สินใดๆ ที่อยู่ในพื้นที่มักกะสันที่เป็นที่ตั้งของสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)2) โดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องรื้อย้ายทรัพย์สินดังกล่าวออกจากพื้นที่นั้นไปวางไว้ในพื้นที่ที่ รฟท. กำหนดไว้ซึ่งจะอยู่ห่างจากพื้นที่มักกะสันไม่เกินกว่าระยะทางสิบ (10)กิโลเมตร

ค) ในระหว่างระยะเวลาการดำเนินการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนของงานสะพานเลื่อนย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันให้นำข้อ 15.1(3)(ก)และ(ข) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. และเอกชนคู่สัญญาในการดำเนินการและการตรวจสอบการดำเนินการดังกล่าว

ง) ในการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันเอกชนคู่สัญญาจะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้น ส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ

2) การเริ่มต้นการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน

ก) ในวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1) รฟท. จะส่งมอบสิทธิครอบครองในพื้นที่มักกะสันที่เป็นที่ตั้งของสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)2)ให้แก่เอกชนคู่สัญญาเพื่อดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันตามที่กำหนดไว้ในข้อนี้เท่านั้น โดยจะต้องดำเนินงานดังกล่าวให้แล้วเสร็จโดยมีสภาพสมบูรณ์สามารถใช้งานได้ดี มีประสิทธิภาพและมีความมั่นคงปลอดภัย ภายในห้า (5)ปี นับจากวันเริ่มต้นระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนแรกตามที่กำหนดไว้ในข้อ 16.1(1)(ข)1)

ข) เมื่อ รฟท. พิจารณางานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันแล้วเห็นว่างานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสันแล้วเสร็จ ถูกต้องและเป็นไปตามสัญญาร่วมลงทุน รวมถึงข้อกำหนดของ รฟท. ของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ มีสภาพปลอดภัยเพียงพอที่จะเริ่มใช้งานและโครงการอื่นที่เกี่ยวข้อง รฟท. จะออกหนังสือรับรองการก่อสร้างงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน ซึ่งจะกำหนดวันที่เริ่มต้นการเช่าพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนที่เหลือตามข้อ 16.1(1)(ข)2) ภายในสามสิบ (30)วัน นับจากวันที่ รฟท. ออกหนังสือดังกล่าว

ค) คู่สัญญาตกลงให้นำข้อ 15.1(3)(ค) มาใช้บังคับโดยอนุโลมเกี่ยวกับสิทธิและหน้าที่ของ รฟท. และเอกชนคู่สัญญา ในการตรวจสอบความแล้วเสร็จของการดำเนินงานโยธาร่วมของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการฯ ในส่วนงานสะพานเลื่อนเพื่อย้ายพวงรางในพื้นที่มักกะสัน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 8:24 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านบางพระ ร้องขอรัฐจัดหาที่อยู่ หลังถูกเวนคืนที่ดิน สร้างรถไฟฯเชื่อม 3 สนามบิน

วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562

เมื่อเวลา 13.20 น. วันที่ 7 พ.ย. ที่รัฐสภา นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร รับหนังสือจาก นางมณี สว่างอารมณ์ ตัวแทนชาวบ้าน อ.บางพระ และอ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการลงทุนด้านการคมนาคม (อีอีซี) เนื่องจากบริเวณที่พักอาศัยอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะให้ค่ารื้อถอน แต่เนื่องจากชาวบ้านอาศัยอยู่ในบริเวณดังกล่าวมา 30-50 ปี อยู่มาก่อนที่โครงการดังกล่าวจะเกิดขึ้น เป็นไปได้ยากที่จะย้ายไปอยู่ที่อื่น จึงอยากให้รัฐบาลจัดพื้นที่ที่อยู่อาศัยหลังจากโดนเวนคืนที่ดินใกล้กับบริเวณเดิม

นายจิรายุ กล่าวว่า จากนี้จะนำเรื่องดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของกมธ.ฯ เนื่องจากเป็นเรื่องที่ชาวบ้านได้รับความเดือดร้อน และจะหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป

รฟท.แจงปมชาวบางพระ ขอจัดหาที่อยู่ หลังถูกเวนคืนที่ สร้างรถไฟเชื่อม3สนามบิน
วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562 - 13:34 น.

รฟท. ร่อนเอกสารแจงปมชาวบ้านบางพระ บุกขอรัฐจัดหาที่อยู่ หลังถูกเวนคืนที่ดิน สร้างรถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เผยเตรียมสำรวจ-เจรจาจ่ายค่าชดเชย
จากกรณีตัวแทนชาวบ้าน อ.บางพระ จ.ชลบุรี ได้ยื่นหนังสือเข้าร้องเรียนต่อ นายจิรายุ ห่วงทรัพย์ ส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย (พท.) ในฐานะประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) กิจการศาล องค์กรอิสระ องค์กรอัยการ รัฐวิสาหกิจ องค์การมหาชนและกองทุน สภาผู้แทนราษฎร เนื่องจากบริเวณที่พักอาศัยอยู่ในแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ตามที่เสนอข่าวไปแล้วนั้น

ล่าสุดวันที่ 9 พ.ย. การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้เผยแพร่เอกสารข่าวชี้แจงว่า การรถไฟฯ ขอเรียนว่า กลุ่มชาวบ้านดังกล่าวเข้าไปใช้พื้นที่ของการรถไฟฯ โดยไม่ได้รับอนุญาต และไม่ได้มีสัญญาเช่ากับการรถไฟฯ แต่อย่างใด ซึ่งบริเวณดังกล่าว มีพื้นที่ประมาณ 210 ไร่ มีผู้ที่ไม่ได้รับอนุญาตและไม่มีสัญญาเช่าพื้นที่ประมาณ 513 ราย

การรถไฟฯ ระบุต่อว่า ซึ่งการรถไฟฯ จะมีการสำรวจและเจรจาการจ่ายเงินชดเชยค่ารื้อถอนให้ตามสมควร เพื่อนำพื้นที่กลับมาใช้ตามวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

ใช้แน่ปี66 ไฮสปีด ‘อีสาน-อีอีซี’ 457 กม.
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 9 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน หน้า 12
หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับ 3520 ระหว่างวันที่ 7 - 9 พฤศจิกายน 2562

ปี 2566 ประเทศไทยจะเปิดใช้รถไฟความเร็วสูงรวดเดียว 2 เส้นทาง ระยะทาง 457 กิโลเมตร ร่นการเดินทางจากภาคอีสาน อย่าง จังหวัดนครราชสีมา ไปเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก อีอีซี ปลายทางสนามบินอู่ตะเภา ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 15 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะค่าโดยสารไม่แพง หากเทียบกับการเดินทางทางอากาศ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ส่วนตัว


เริ่มจาก รถไฟไทย-จีน เส้นทางสายอีสาน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252 กิโลเมตร ปัจจุบันมีความคืบหน้าไปมาก จากการแบ่งซอยย่อยงานโยธาออกเป็น 14 สัญญาของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เช่นเดียวกับ ไฮสปีด เชื่อม 3 สนามบินไร้รอยต่อ (ดอนเมือง- สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) กระดูกสันหลังเมืองการลงทุนอีอีซีของภาครัฐที่มีการลงนามในสัญญา ไปเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 รฟท. กับบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ที่มี บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ฯ หรือกลุ่มซีพี ถือหุ้นใหญ่ คาดว่าปลายปี 2563 ได้เห็นการก่อสร้างในเส้นทางนี้คาดว่าจะแล้วเสร็จเปิดใช้เส้นทางอย่างเร็วปลายปี 2566 อย่างช้าต้นปี 2567

สำหรับการเชื่อมโยง เมื่อ 2 ไฮสปีด อีสาน-อีอีซี กระชับเข้าหากันเพราะจังหวัดนครราชสีมา กับ 3 จังหวัดภาคตะวันออก เป็นทั้งเมืองท่องเที่ยวหัวเมืองใหญ่ และเมืองอุตสาหกรรม การค้าการลงทุน ที่คล้ายคลึงกัน
ทั้งนี้หากมาจากภาคอีสาน แนวเส้นทางจะวิ่งจากสถานีนครราชสีมา ผ่านปากช่อง เข้าสระบุรี อยุธยา เข้าสู่กรุงเทพ มหานคร ที่สถานีดอนเมือง จากนั้นวิ่งเข้าสู่สถานีกลางบางซื่อ เชื่อมต่อไฮสปีด ซีพี มุ่งหน้าเข้าสถานีมักกะสัน ตรงไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ จากนั้นเข้าสู่ สถานีฉะเชิงเทรา มุ่งหน้าสู่ ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสถานีปลายทาง เมืองการบิน-สนามบินอู่ตะเภา นอกจากความสะดวกรวดเร็ว ประหยัดปลอดภัย ในการเดินทางแล้ว ตลอดแนวไฮสปีดทั้ง 2 เส้นทางวิ่งผ่าน จะเกิดการเปลี่ยนแปลงกลายเป็นขุมทรัพย์ทำเงินที่น่าจับตา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

แอร์พอร์ตลิงก์ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ ค่าโดยสาร 97 บาท
09 พฤศจิกายน 2562

ค่าโดยสาร "แอร์พอร์ตลิงก์" 97 บาทอัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงและรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ตามสัญญาเป็นไปดังนี้• การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ จะต้องมีอัตราไม่เกิน 45 บาทต่อเที่ยวเท่ากับปัจจุบัน แต่เมื่อมีการเปิดให้บริการส่วนต่อขยายอีก 2 สถานี ได้แก่ สถานีดอนบางซื่อและดอนเมือง ก็สามารถเก็บค่าโดยสารได้สูงสุดไม่เกิน 97 บาทต่อเที่ยว

• การจัดเก็บค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูงตลอดเส้นทางต้องอยู่ในอัตราไม่เกิน 490 บาทต่อเที่ยวทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารจะเป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ซึ่งประกาศโดยกองสารสนเทศและดัชนีเศรษฐกิจการค้ากระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบตามระยะเวลาและแนวทางการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา PPP


Last edited by Wisarut on 10/11/2019 8:38 pm; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 8:35 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.เปิดช่องกลุ่มซีพี เช่าช่วงเดินรถไฟไฮสปีด
7 พฤศจิกายน 2562

ร.ฟ.ท.เปิดสัญญาไฮสปีด มอบสัมปทาน “ซีพี” 50 ปี ตั้งเพดานตั๋วดอนเมือง–อู่ตะเภา สูงสุด 490 บาท ขีดเส้นสร้างช้าเกิน 5 ปี ปรับวันละ 9 ล้านบาท

คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กำหนดให้การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานจะต้องมีการเปิดเผยสาระสำคัญของสัญญาให้สาธารณะทราบ ซึ่งที่ผ่านมามีการเปิดเผยสาระสำคัญสัญญาโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3 และขณะนี้มีการเปิดเผยโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา)

นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ ร.ฟ.ท.ได้ลงนามสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด เพื่อพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูงเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งวานนี้ (6 พ.ย.) ร.ฟ.ท.ได้เปิดเผยสาระสำคัญสัญญาร่วมลงทุน และวิธีการคัดเลือกเอกชนในรูปแบบที่เข้าใจง่าย


ทั้งนี้ กพอ.กำหนดให้เปิดเผยต่อสาธารณะภายใน 30 วัน หลังลงนามสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งชี้แจงวิธีการคัดเลือกเอกชนคู่สัญญา เพื่อให้เกิดความโปร่งใสและตรวจสอบได้ โดยรายละเอียดที่มีการเปิดเผยครั้งนี้ ประกอบไปด้วย


สำหรับสาระสำคัญของเอกสารที่เปิดเผยนั้น มีการระบุถึงประเด็นของการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ โดย ร.ฟ.ท.จะมอบสิทธิให้เอกชนพัฒนาโครงการในระยะเวลา 50 ปี นับตั้งแต่วันที่เริ่มต้นนับระยะเวลาการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการ


เปิดช่องให้เช่าช่วงเดินรถ
ทั้งนี้ มีการกำหนดให้สิทธิเช่าช่วงการบริหารเดินรถและซ่อมบำรุง โดยต้องให้นิติบุคคลที่เอกชนคู่สัญญาถือหุ้นไม่น้อยกว่า 51% และรายได้ที่เกิดขึ้นถือเป็นรายได้ที่ต้องแบ่งให้ ร.ฟ.ท.และเอกชนคู่สัญญาจะต้องทำตามเงื่อนไขและหลักเกณฑ์การร่วมทุน

ส่วนประเด็นของอัตราค่าบริการ มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารสำหรับแอร์พอร์ต เรลลิงก์ หรือแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ส่วนต่อขยาย แบ่งออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงระยะเวลาที่เอกชนเริ่มให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน ให้เก็บค่าโดยสารตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทางมีจำนวนไม่เกิน 45 บาท และช่วงภายหลังเอกชนดำเนินการก่อสร้างแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ให้เก็บค่าโดยสารตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทาง ไม่เกิน 97 บาท

ด้านอัตราค่าโดยสารสำหรับรถไฟความเร็วสูง ตั้งแต่สถานีต้นทางถึงสถานีปลายทาง มีการกำหนดอัตราค่าโดยสารจำนวนไม่เกิน 490 บาท ทั้งนี้ การปรับอัตราค่าโดยสารให้เป็นไปตามดัชนีราคาผู้บริโภค กระทรวงพาณิชย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ ตามระยะเวลาและแนวทางการคำนวณที่กำหนดไว้ในสัญญา


ก่อสร้างช้าปรับวันละ 9 ล้าน
นอกจากนี้ ในเอกสารแนบท้ายสัญญา ยังมีการระบุถึงการออกแบบและก่อสร้างโครงการเกี่ยวกับรถไฟความเร็วสูงและแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย เอกชนคู่สัญญาจะต้องเริ่มต้นดำเนินงานออกแบบและก่อสร้างส่วนดังกล่าว นับตั้งแต่วันที่ ร.ฟ.ท.ระบุในสัญญา หากงานส่วนนี้ไม่แล้วเสร็ตภายใน 5 ปี หรือภายในระยะเวลาที่ได้รับการขยายจาก ร.ฟ.ท.เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าปรับให้ ร.ฟ.ท.เป็นเงิน 9 ล้านบาทต่อวัน ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และจะต้องชำระ 2.28 ล้านบาท ต่อวัน ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย

ขณะเดียวกัน ยังมีการกำหนดประเด็นเปลี่ยนตัวคู่สัญญาด้วยว่า เอกชนคู่สัญญาจะไม่สามารถโอนสิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา ภายใต้สัญญาร่วมทุนให้แก่บุคคลอื่น ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เว้นแต่จะได้รับความเห็นชอบจาก ร.ฟ.ท.และการแก้ไขสัญญาร่วมทุนจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนด

รฟท.ชดเชยกรณีเลิกสัญญา
ด้านกรณีของการเลิกสัญญาร่วมลงทุน มีการกำหนดออกเป็นกรณีที่เป็นความผิดของเอกชนคู่สัญญา 1.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานการก่อสร้างในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัพย์สินที่สามารถรับโอนได้ ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการ 2.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุน งานช่วงการให้บริการเดินรถและงานการซ่อมและบำรุงรักษา ในส่วนของรถไฟคว่ามเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงจะชำระค่าชดเชยให้

ส่วนการเลิกสัญญาร่วมลงทุนที่เป็นเหตุจาก ร.ฟ.ท.แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.กรณีเลิกสัญญาร่วมลงทุนในช่วงการออกแบบและงานก่อสร้าง รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชย รวมทั้งชดเชยค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเงินที่ไม่ได้ร่วมอยู่ในมูลค่าทางบัญชี ทั้งนี้ไม่เกินวงเงินที่รัฐร่วมลงทุนโครงการ และ 2.เลิกสัญญาร่วมทุนช่วงการให้บริการเดินรถ และงานการซ่อมและบำรุงรักษา รถไฟความเร็วสูง ร.ฟ.ท.ตกลงชำระค่าชดเชยทรัยพ์สินที่สามารถรับโอนได้

นอกจากนี้ ยังมีกรณีการเลิกสัญญาร่วมทุนเพราะการใช้อำนาจเพื่อสาธารณะประโยชน์ แบ่งออกเป็นกรณีที่เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาเป็นไปตามเหตุเลิกสัญญาจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา จะเป็นไปตามข้อกำหนดการเลิกสัญญาร่วมลงทุนเพราะความผิดของเอกชนคู่สัญญา ส่วนกรณีไม่ได้เกิดจากความผิดของเอกชนคู่สัญญา ผลของการเลิกสัญญาจะเป็นไปตามที่กฎหมายไทยกำหนด

ร่างแบบโครงการ 3 เดือน
รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า หลังจากลงนามสัญญาแล้วเอกชนคู่สัญญาจะต้องไปร่างแบบโครงการ ซึ่งภาครัฐกำหนดกรอบเวลาการทำงานไว้ 3 เดือน และเมื่อครบกำหนดจะมาดูว่าการออกแบบก่อสร้างมีปัญหาในจุดใดหรือไม่ ก่อนที่จะสรุปเป็นแบบก่อสร้างโครงการ ซึ่งการออกแบบดังกล่าวจะทำให้รับทราบว่า


การส่งมอบพื้นที่ให้ซีพีในช่วงแอร์พอร์ลิงค์จะส่งมอบได้ทันที และช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร กำหนดใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี แต่จะเร่งรัดให้เสร็จภายใน 1 ปี 3 เดือน

ส่วนช่วงสถานีพญาไท-สนามบินดอนเมืองเป็นพื้นที่ที่มีโครงสร้างพื้นฐานใต้ดินมากจะใช้เวลาเคลื่อนย้ายโครงสร้างต่างๆและส่งมอบที่ดินได้ไม่เกิน 4 ปี แต่จะเร่งทำให้เสร็จภายใน 2 ปี 3 เดือน โดยจะมีการตั้งคณะทำงานร่วมกันหลายฝ่าย เพื่อร่วมมือกันทำงานให้การส่งมอบพื้นที่เป็นไปตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 356, 357, 358 ... 542, 543, 544  Next
Page 357 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©