RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270790
ทั้งหมด:13582079
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 357, 358, 359 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 10/11/2019 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดความเห็น "กฤษฎีกา" คณะพิเศษ แนะระวัง! ไฮสปีดเทรน เชื่อม 3 สนามบิน ขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ หาประโยชน์เชิงพาณิชย์
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 เวลา 19:49




เปิดความเห็น "คณะกรรมการกฤษฎีกาคณะพิเศษ" ให้ข้อสังเกตเพิ่มเติม ร่าง พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน 850 ไร่ เพื่อกิจการรถไฟความเร็วสูง "ไฮสปีดเทรน" เชื่อม 3 สนามบิน ย้ำต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ไห้เกิดการขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนเชิงพาณิชย์ด้วย

วันนี้( 7 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า ภายหลังเมื่อเร็ว ๆ นี้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ในพื้นที่บางส่วนในท้องที่เขตลาดกระบัง กรุงเทพมหานคร อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา จังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมืองชลบุรี อำเภอศรีราชา อำเภอบางละมุง อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี และอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง เพื่อดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) พ.ศ..ซึ่งรวมไปถึงเครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นๆ ตามโครงการดังกล่าว

โดยพบว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้ส่งผลการตรวจพิจารณาร่างพระราชกฤษฎีกา แก้ไขชื่อร่างฯ บันทึกหลักการและเหตุผลประกอบ บทอาศัยอำนาจ และการจัดเรียงสำดับบทบัญญัติในร่างพระราชกฤษฎีกาฯ รวมทั้งเพิ่มบทบัญญัติเกี่ยวกับระยะเวลาเริ่มต้นเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งได้กำหนด ระยะเวลาเข้าสำรวจที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ที่อยู่ภายในแนวเขตที่ดินที่จะเวนคืนตาม พระราชกฤษฎีกานี้ภายในหกสิบวัน นับแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ ตามความประสงค์ ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ทั้งนี้ เพื่อให้สอดคล้อง กับพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 ที่มีผลเป็นการยกเลิก พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2562

นอกจากนี้ มีการแก้ไขวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนที่ดินตามร่างพระราชกฤษฎีกานี้ ในร่างมาตรา 3 เป็น ‘‘เพื่อสร้างทางรถไฟ เครื่องประกอบทางรถไฟ ทาง และสิ่งจำเป็นอื่นตามโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน” ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) เพื่อให้เกิด ความยืดหยุ่นและรองรับกรณีที่หน่วยงานผู้ดำเนินการเวนคืนมีความจำเป็นต้องปรับปรุงแบบ การก่อสร้างให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ และมีการแก้ไขเล็กน้อย (ตามแบบการร่างกฎหมาย) สำหรับหนังสือยืนยันให้ความเห็นชอบร่างพระราขกฤษฎีกาฯ และแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาๆ ที่กระทรวงคมนาคม (การรถไฟแห่งประเทศไทย) จะต้องตรวจสอบ แก้ไข และรับรองความถูกต้องของพื้นที่ ชื่อและเขตการปกครองท้องที่

อนึ่ง สำหรับข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ที่เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา พิจารณาความเหมาะสมในการกำหนดวัตถุประสงค์ ของการเวนคืนที่ดินเพื่อดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟตามโครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมสามสนามบิน ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2561 และเจตนารมณ์ของกฎหมาย นั้น

คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ได้พิจารณาแล้วเห็นว่า การกำหนดวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืน จะต้องเป็นไปภายใต้กรอบแห่งความจำเป็นที่จะต้องได้มาซึ่งที่ดินตามที่มาตรา 37 ของรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทยและมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่ง อสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 บัญญัติไว้ไม่อาจเวนคืนที่ดินเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนกิจการทางพาณิชย์ ที่เกินไปกว่ากิจการปกติเพื่อประโยชน์สาธารณะหรือกิจการอันเป็นสาธารณูปโภคได้ ซึ่ง สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ได้แก้ไขการกำหนดวัตถุประสงค์แห่งการเวนคืนที่ดิน ตามข้อสังเกตของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติแล้ว

"นอกจากนี้ คณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะพิเศษ) ยังมีข้อสังเกตเพิ่มเติมว่า การเวนคืนเพื่อกิจการรถไฟ ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวัง เพื่อไม่ไห้เกิดการขยายแนวเขตสองข้างทางรถไฟ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ไนเชิงพาณิชย์ด้วย"

สำหรับ ที่ดินที่จะเวนคืนนั้น เพื่อก่อสร้างย่านสถานี ทางเข้าออกสถานี ทางรถไฟ และดำเนินกิจการที่เป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ โดย รฟท. จะเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการเวนคืนที่ดิน และจะเริ่มการสำรวจภายใน 60 วันนับแต่วันที่ พ.ร.ฎ. ประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยที่ดินที่จะต้องใช้เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ทั้งสิ้น 4,421 ไร่ แยกเป็นที่ดินของ รฟท. 3,571 ไร่ พื้นที่ต้องเวนคืน 850 ไร่ ซึ่งในพื้นที่ของ รฟท. นั้นพร้อมส่งมอบ 3,151 ไร่ หรือคิดเป็น 88% ของพื้นที่ทั้งหมด ส่วนที่เหลือมีการบุกรุก ซึ่งจะต้องดำเนินการเคลื่อนย้ายผู้บุกรุกต่อไป

สำหรับระยะเวลาการส่งมอบที่ดินนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เมื่อวันที่ 16 ต.ค. 2562 เห็นชอบระยะเวลาการส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนเพื่อดำเนินโครงการ ซึ่งระยะเวลานี้จะเข้าไปอยู่ในสัญญาแนบท้ายที่ รฟท. ลงกับเอกชน แบ่งออกเป็น 3 ช่วง ช่วงแรกสถานีพญาไท-สุวรรณภูมิ 28 ก.ม. เป็นที่ดินของ รฟท. ส่งมอบได้ทันที ช่วงที่ 2 สถานีสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 ก.ม. เร่งรัดให้ส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 2 ปี หลังลงนาม และช่วงที่ 3 สถานีพญาไท-ดอนเมือง 22 ก.ม. เร่งรัดพร้อมส่งมอบพื้นที่ภายใน 2 ปี 3 เดือน หรือไม่เกิน 4 ปีหลังลงนาม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 10:35 am    Post subject: Reply with quote

คืนสิทธิ “ซีพี” ชิง “เมืองการบินอู่ตะเภา ฝันเชื่อม “ไฮสปรีดเทรน” ใกล้เป็นจริง
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 9 พฤศจิกายน 2562 เวลา 06:01

ผู้จัดการสุดสัปดาห์ - หลังจากเมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2562 ศาลปกครองสูงสุดมีคำสั่งทุเลาการบังคับตามมติของคณะกรรมการคัดเลือกของ “โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก” ในส่วนที่ปฏิเสธไม่รับข้อเสนอ ซองที่ 2 ข้อเสนอด้านเทคนิคและแผนธุรกิจ และซองข้อเสนอด้านราคา ของ กลุ่มกิจการค้าร่วมบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด หรือ “กลุ่มซีพี” เป็นการ “ชั่วคราว”ก่อนการพิพากษา โดยให้คณะกรรมการคัดเลือกของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาฯ รับพิจารณาเอกสารดังกล่าวให้เป็นไปตามขั้นตอนการดำเนินการคัดเลือกต่อไป เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2562 “รอยยิ้ม” ก็มาเยือน “กลุ่มซีพี” อย่างเป็นทางการ

เมื่อศาลปกครองสูงสุดออกนั่งบัลลังก์พิจารณาคดีเป็นครั้งแรก และเตรียมเสนอองค์คณะกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้นเป็นคืนสิทธิให้ซีพี

ทั้งนี้ คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือซีพี กับพวกรวม 5 ราย ยื่นฟ้อง “คณะกรรมการคัดเลือก” ของโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินภาคตะวันออก กรณีมีมติไม่รับซองข้อเสนอด้านแผนธุรกิจและด้านราคา ในการยื่นข้อเสนอประมูลก่อสร้างโครงการดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก มายื่นเกินเวลาที่กำหนด หลังจากที่ก่อนหน้านี้ ศาลปกครองชั้นต้น ได้มีพิพากษาให้ยกฟ้อง และบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวกได้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลปกครองสูงสุด และศาลปกครองสูงสุดได้มีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

การออกนั่งพิจารณาครั้งนี้ องค์คณะระบุว่า เป็นการพิจารณาคดีแบบเร่งด่วนตามนโยบายของศาลปกครองสูงสุด เนื่องจากเห็นว่าเป็นคดีสำคัญ ซึ่งศาลฯ อ่านข้อเท็จจริงของคดีให้คู่กรณีทราบ และเปิดโอกาสให้คู่กรณีได้แถลงสรุปปิดคดีเพิ่มเติมจากที่ได้แถลงเป็นเอกสารมาก่อนแล้ว

น.ส.ปะราลี เตชะจงจินตนา ผู้ได้รับมอบอำนาจ จากบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด แถลงย้ำว่า สถานที่ยื่นข้อเสนอที่มีการกำหนดในเอกสารการคัดเลือกเอกชนของโครงการนี้ หรือ (RFP) ระบุชัดเจนว่า เป็นห้องรับรอง กองบัญชาการกองทัพเรือ ไม่ใช่จุดลงทะเบียน ตามที่มีการนำมาอ้าง และตัดสิทธิ์การยื่นข้อเสนอ ซึ่งโครงการนี้ มีผู้ร่วมยื่นซองจำนวนมาก จึงมีการทยอยนำเอกสารมาทุกราย ซึ่ง ณ เวลา 16.45 น. ที่บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ได้เข้ายื่นเอกสารต่อคณะกรรมการคัดเลือกนั้น มีเอกสารครบถ้วนทุกรายการ และคณะกรรมการ ได้ตรวจรับไว้ทั้งหมด คณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงมีหน้าที่ต้องพิจารณาข้อเสนอทั้งหมด และหากศาลฯ มีคำสั่งเพิกถอนมติของคณะกรรมการคัดเลือก ที่ตัดสิทธิบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด กับพวก ก็ไม่ได้ทำให้เกิดการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ตรงกันข้ามจะทำให้รัฐได้รับประโยชน์สูงสุด ทำให้คณะกรรมการคัดเลือกฯ สามารถพิจารณาข้อเสนอของเอกชนทุกรายได้อย่าครบถ้วน สมกับเจตนารมณ์ในการเปิดประมูลครั้งนี้

ขณะที่ พล.ร.ต.เกริกไชย วจนานนท์ เลขานุการคณะกรรมการคัดเลือก แถลงแย้งว่า จุดลงทะเบียนบริเวณห้องรับรองกองบัญชาการกองทัพเรือ ถือเป็นส่วนหนึ่งของสถานที่ยื่นข้อเสนอ และได้ยึดถือในเรื่องเวลาเป็นสำคัญ หากยื่นหลัง 15.00 น. จะไม่รับพิจารณา เพื่อปิดช่องไม่ให้มีการใช้ดุลยพินิจเรื่องขยายเวลา

ทั้งนี้ พล.ร.ต.เกริกไชย ยังยกตัวอย่างว่า บริษัทธนโฮลดิ้ง เป็นบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับบริษัทที่ได้สัมปทานโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ก็ใช้หลักการและวิธีการเดียวกัน ซึ่งต้องปฏิบัติได้ และมีข้อน่าสงสัยว่า การยื่นเอกสาร ทำไมถึงมีการทยอยนำมายื่น โดยแผนธุรกิจและข้อเสนอด้านราคามาทีหลัง เพราะรอบแรกและรอบ 2 เพื่อมาประเมินคู่ต่อสู้ว่ายื่นราคาเท่าไร เพื่อที่ตัวเองจะได้แก้ไขเอกสาร แต่เกิดปัญหาจราจร เลยทำให้เอกสารมาไม่ทัน

“ถ้าศาลปกครองสูงสุดเห็นว่าเรื่องเวลาไม่ใช่สาระสำคัญ โดยกลับคำพิพากษาศาลปกครองชั้นต้น คืนสิทธิให้ซีพี แล้วที่ก่อนหน้านี้ศาลปกครองสูงสุดเคยวินิจฉัยเป็นบรรทัดฐานให้หน่วยงานภาครัฐไว้ในคดีการประมูลก่อสร้างทางหลวงชนบท โดยตัดสิทธิผู้เข้าประมูลที่มายื่นซองช้าหลังกำหนดปิดรับซองไป 39 วินาที จะทำอย่างไร มิเท่ากับเป็นการทำลายระบบการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ และอาจทำให้เกิดค่านิยมใหม่ว่าต่อไปใครจะมายื่นซองเวลาไหนก็ได้ หากให้ผลตอบแทนกับรัฐสูง รวมทั้งแม้ทำผิดกฎ แต่มีเงินจ้างทนายเก่ง และให้ประโยชน์รัฐมาก ก็ไม่ต้องกลัวว่าจะไม่ได้งาน เพราะเงินชดเชยความผิดได้”

พล.ร.ต.เกริกไชย ยังกล่าวด้วยว่า คดีนี้มีมูลค่าโครงการ 2.7 แสนล้านบาท รัฐบาลมีความตั้งใจจะให้เป็นสนามบินนานาชาติ แห่งที่ 3 ของกรุงเทพฯ ซึ่งผู้ที่เข้าร่วมประมูลอย่างถูกต้อง 2 ราย ก็ได้มีหนังสือถึงคณะกรรมการคัดเลือก ยืนยันว่าการดำเนินการที่ผ่านมาถูกต้องเป็นธรรมแล้ว และคัดค้านไม่ให้คณะกรรมการคัดเลือกให้สิทธิบริษัท ธนโฮลดิ้ง กับพวกอีก ดังนั้น เพื่อให้เกิดความถูกต้อง โปร่งใส และยุติธรรม ทางคณะกรรมการคัดเลือกฯ จึงยื่นเรื่องต่อประธานศาลปกครองสูงสุด ขอให้นำคดีนี้เข้าพิจารณาในที่ประชุมใหญ่ตุลาการศาลปกครองสูงสุด เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด แต่ก็ขึ้นกับดุลยพินิจของประธานศาลปกครองสูงสุด ว่าจะเห็นอย่างไร

จากนั้นองค์คณะได้ให้ นายเชี่ยวชาญ สุขช่วย ตุลาการหัวหน้าคณะศาลปกครองชั้นประจำตุลาการศาลปกครองสูงสุด ในฐานะตุลาการผู้แถลงคดี ได้แถลงความเห็นส่วนตนต่อคดี ซึ่งไม่มีผลต่อการพิจารณาขององค์คณะ โดยเห็นว่าจากที่ได้ศึกษากฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ ประกาศของคณะกรรมการคัดเลือกฯ ข้อเท็จจริงในคดีแล้ว เห็นว่าโครงการนี้เป็นโครงการขนาดใหญ่ การจะดำเนินการใดๆ ไม่ว่าจะเป็นการกำหนดรับเอกสาร ต้องมีกระบวนการที่ชัดเจน มีการแจ้งให้กับผู้เข้าประมูลทราบล่วงหน้า เพื่อความโปร่งใส แต่ตามข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่ามีกระบวนการรับ และตรวจเอกสารโดยวิธีการใดอย่างชัดเจน วันที่ 21 มี.ค.2562 ซึ่งเป็นวันยื่นข้อเสนอ มีเพียงให้ผู้ประสงค์เข้าร่วมประมูลลงทะเบียนก่อน และให้ไปพักรอในห้องพักคอย ทำให้บริษัท ธนโฮลดิ้ง สามารถทำการจัดและเพิ่มเอกสารบางรายการได้ จนเมื่อใกล้เวลา จึงให้บริษัทที่ประสงค์จะยื่นข้อเสนอไปยื่นเอกสาร ซึ่งเป็นกระบวนการรับ และมีการตรวจเอกสารทีละราย โดยรายแรกยื่นในเวลา 15.00 น. แสดงให้เห็นว่า กระบวนยื่นข้อเสนอดังกล่าวไมได้ยึดถือการขน ลำเลียงเอกสาร ให้ต้องผ่านจุดลงทะเบียน ในเวลา 15.00 น.

นอกจากนี้ เมื่อบริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ยื่นเอกสารแล้ว ก็มีการตรวจรับโดยไม่มีการทักท้วง หรือออกใบรับอย่างมีเงื่อนไขให้แต่อย่างใด จึงถือได้ว่า คณะกรรมการคัดเลือก ได้มีการตรวจสอบเอกสารจนครบถ้วนแล้ว ส่วนที่มีการอ้างถึงรายงานคณะทำงานรับ และจัดเก็บเอกสารข้อเสนอ รวมถึงภาพถ่ายการลำเลียงเอกสารผ่านจุดลงทะเบียนในเวลา 15.09 น. ก็เป็นการอ้างเอกสารที่เกิดขึ้นภายหลัง และเมื่อพิจารณาเอกสาร กล่องที่ 6 และกล่องที่ 9 ซึ่งเป็นข้อเสนอด้านราคา และแผนธุรกิจแล้ว ก็ไม่ใช่เอกสารที่กำหนดให้ต้องมีการเปิดซอง ณ ขณะนั้น ซึ่งผู้ยื่นข้อเสนอไม่สามารถที่จะนำไปแก้ไขเปลี่ยนแปลงใดๆ หรือล่วงรู้ข้อเสนอของผู้ยื่นข้อเสนอรายอื่นได้ ดังนั้น รายงานของคณะทำงานรับและจัดเก็บเอกสาร รวมถึงภาพถ่ายการลำเลียงเอกสาร จึงไม่อาจนำมาใช้เป็นข้ออ้างเพื่อมีมติไม่รับพิจารณาข้อเสนอด้านราคา และแผนธุรกิจ ของบริษัท ธนโฮลดิ้งกับพวก จึงเสนอให้องค์คณะศาลปกครองสูงสุดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลปกครองกลาง

ด้าน พล.ร.อ.ลือชัย รุดดิษฐ์ ผู้บัญชาการทหารเรือ กล่าวว่า ผู้แทนของคณะกรรมการคัดเลือก ได้แถลงต่อศาลปกครองสูงสุดด้วยวาจา แก้คำอุทธรณ์ที่ได้จัดส่งให้ศาลปกครองสูงสุดไปก่อนหน้านี้แล้ว หากศาลปกครองสูงสุดมีคำพิพากษาอย่างไร ก็พร้อมปฏิบัติตาม ส่วนการดำเนินการคัดเลือกเอกชนร่วมโครงการนี้ ขณะนี้อยู่ระหว่างประเมินข้อเสนอด้านเทคนิค ของกลุ่มบริษัท ธนโฮลดิ้ง กับพวก ตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุด


ทั้งนี้ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก มูลค่า 2.9 แสนล้านบาท กองทัพเรือจัดให้ยื่นเอกสารในวันที่ 21 มี.ค.62 โดยมี 3 กลุ่มยื่นข้อเสนอ ประกอบด้วย
กลุ่มกิจการร่วมค้าบีบีเอส (BBS Joint Venture) ประกอบด้วย บริษัท การบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BA ,บริษัท บีทีเอสกรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTS และบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ STEC ซึ่งมีพันธมิตรสนามบินนาริตะเข้าร่วม

กลุ่ม Grand Consortium ประกอบด้วย บริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค จำกัด (มหาชน) หรือ PF , บริษัท คริสเตียนีและนีลเส็น (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ CNT และบริษัท ไทยแอร์เอเชีย จำกัด ในกลุ่มบริษัท เอเชีย เอวิเอชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ AAV และ GMR Airport Limited จากอินเดีย

และกลุ่มกิจการค้าร่วม บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร ประกอบด้วย
1. บริษัท ธนโฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเจริญโภคภัณฑ์
2. บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD
3. บริษัท ช. การช่าง จำกัด (มหาชน) หรือ CK
4. บี.กริม จอยน์ เวนเจอร์ โฮลดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัท บี.กริม เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ BGRIM และ
5. Orient Success International Limited

เพราะฉะนั้น นอกจากโครงการรถไฟไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน จะจบลงแบบแฮปปี้เอนดิ้งแล้ว ณ เวลานี้ กลุ่มซีพีและพันธมิตร ยังกลับมามีลุ้นในการชิงโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 10:38 am    Post subject: Reply with quote

#พื้นที่มักกะสัน หนึ่งในพื้นที่ส่งมอบพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศจำนวนประมาณ 150 ไร่ แบ่งเป็น
• พื้นที่จำนวน 131.49 ไร่ (สีแดง) สามารถส่งมอบได้ทันที
• พื้นที่พวงรางประมาณ 9.31 ไร่ (สีเขียว) [ตรงหัวประแจ] สามารถส่งมอบพื้นที่ได้ภายใน 2 ปี หลังจากรื้อย้าย
• พื้นที่ก่อสร้างสะพานข้ามแยก (สีส้ม)
• พื้นที่สถานีรถไฟแอร์พอร์ต เรลลิงก์ (สีฟ้า) ส่งมอบได้หลังจากที่ซีพีชำระเงินจำนวน 10,671 ล้านบาท
#รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน
https://www.facebook.com/HST.DSU/photos/a.848683061990856/1189869051205587/?type=3&theater

รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา เปิดเพจแล้วครับ ดูได้ที่นี่
https://www.facebook.com/HST.DSU/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 11/11/2019 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

บ้านใครจะโดนเวนคืนเพื่อทำรถไฟความไวสูง เชื่อมสามสนามบิน โปรดดูที่นี่: ประกาศเขตส่งเสริมรถไฟความเร็วสูง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 12/11/2019 10:11 am    Post subject: Reply with quote

นคร จันทศร:ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน ทุกอย่างหินหมด แต่จะไม่เป็นโฮปเวลล์ 2

เขียนวันที่วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562

"ผมไม่เห็นด้วยรถไฟความเร็วจะต้องวิ่งเข้าสุวรรณภูมิ เพราะการวิ่งเข้าสุวรรณภูมิ แป๊บเดียวแล้วออก ผมว่าแทบจะไม่ได้อะไร สนองการเมืองที่ให้นโยบาย เชื่อมต่อไร้รอยต่อ ถามว่า จริงหรือไม่ เอาหัวเสียบเข้าไปแล้วกลับข้าง วิ่งออกมา"


โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) จากที่ติดๆ ขัดๆ มานาน ในที่สุด เมื่อเดือนตุลาคม 2562 ก็มีการลงนามสัญญาร่วมลงทุน ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) และล่าสุด มีการเผยแพร่ เอกสารการเปิดเผยข้อมูลสาระสำคัญของโครงการดังกล่าว (คลิกอ่าน:เปิดละเอียด ค่าโดยสาร ไฮสปีดเทรน 3 สนามบิน-ขึ้นครั้งแรกได้ต้องครบ 8 ปี)

สำนักข่าวอิศรา (www.isranews.org) ได้มีโอกาสพูดคุยกับ “นคร จันทศร” อดีตรักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย ปัจจุบันเป็นที่ปรีกษาผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ถึงมุมมองรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่คาดกันว่า จะเปิดให้บริการได้ในปี 2566 หรืออีก 4-5 ปีข้างหน้า…

เริ่มต้น อดีตรักษาการผู้ว่าการรถไฟฯ มองว่า ทัศนคติของผู้บริหารประเทศที่มีต่อรถไฟความเร็วสูง ดูเหมือนว่า เป็นของวิเศษที่จะแก้ปัญหาได้สารพัด "ผมว่า ไม่ใช่ หากถามว่า ผมเห็นด้วยหรือไม่ ไม่เห็นด้วย แต่หากจะทำกันก็ทำ ผมยังคิดว่า ตัวโครงการจริงๆ ระบบการเงิน (รายได้) คงมีปัญหา เนื่องจากระยะทางสั้น ผลประโยชน์ที่จะได้จากการวิ่งเร็วไม่มาก ผังเมืองที่จะบังคับให้คนมาอยู่บนนี้ก็น้อย ขณะที่รัฐบาลก็สร้างสารพัดเรื่อง ทั้งถนนมอเตอร์เวย์ จึงทำให้ความต่างเรื่องของความรวดเร็วแทบไม่มีเลย”

อดีตรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ชี้ว่า การที่รัฐบาลมองรถไฟความเร็วสูงเป็นของวิเศษ คนซีกรัฐบาลไม่เข้าใจว่า นี่เป็นของราคาแพง “คุณเอาของราคาแพง หากคนขึ้นน้อย เก็บค่าโดยสารถูกๆ ก็อยู่ไม่ได้ นี่คือข้อไม่ดี หากให้พอกล้อมแกล้มไปได้ ก็คือต้องนำมูลค่าอย่างอื่นมาหนุนตรงนี้ เรื่องที่ดิน ซึ่งผมยังค่อนข้างตั้งคำถาม ใช่หรือ อาจใช่บางส่วน แต่ไม่ใช่ทั้งหมด”

ก่อนยกตัวอย่าง รถไฟที่ญี่ปุ่น หลังมีการแปรรูปแล้ว เขายกที่ดินให้ผู้ประกอบการ โครงสร้างรายได้จากการเดินรถอยู่ที่ 65-70% ที่เหลือคือรายได้อื่น ซึ่งประกอบไปด้วย การพัฒนาทรัพย์สิน รายได้จากร้านค้าปลีก (retailer)nakorn2

“หลังการรถไฟญี่ปุ่นแปรรูปแล้ว ได้มีการยกเลิกกฎหมายที่บังคับ รถไฟให้ทำแต่รถไฟเท่านั้น จึงทำธุรกรรมอื่นได้ ฉะนั้น โครงสร้างรายได้ 65-70% จึงมาจากค่าตั๋ว”

เมื่อถามถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับสิทธิการพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟของโครงการนี้

เขามองว่า หากจะมีการยกทรัพย์สินให้เอกชนพัฒนา ถามว่า จะเป็นสัดส่วนเท่าไหร่ โดยเชื่อว่า รายได้จากการเดินรถจะได้ไม่มากเท่าไหร่

“ข้อดี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ผมมอง คือ อยู่ในมือเอกชน เรื่องนี้เข้าคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) นานมาก

ผมมีคำถามอยู่หลายเรื่อง จนเมื่อได้ผู้ประกอบการเป็นซีพี ผมบอกบรรดาที่ผมตั้งคำถามไป คุณเป็นผู้เดินรถต้องรับผลบุญและกรรม เช่น การนำสถานีฉะเชิงเทรา ไปไว้ห่างจากสถานีเดิม 2 กิโลเมตร และไม่มีวิธีการแก้เรื่องการเชื่อมต่อ (connectivity) อันนี้ผมไม่เห็นด้วย ผมบอกว่า รถไฟเดิมและรถไฟความเร็วสูงต้องไปด้วยกัน ถ้าคุณย้ายสถานีออกไป คุณต้องมีเรื่อง connectivity

และผมไม่เห็นด้วย เอาที่แปดริ้ว 500 ไร่ สร้างศูนย์ซ่อมบำรุง (เดโป้) ผมว่าใช้เดโป้เก่าที่คลองตันพอได้ ขาดเหลือเท่าไหร่สร้างที่อื่นที่ราคาถูกกว่านี้ เช่น ที่บ้านพลูตาหลวง อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ที่ดินปนกรวดปนทราย”

อดีตรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ได้เน้นย้ำ ถึงการนำที่ที่อุดมสมบูรณ์ของประเทศมาสร้างอย่างนี้ มาสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง มุมของสิ่งแวดล้อม ไม่เห็นด้วย ซึ่งบรรดาโจทย์เหล่านี้ เมื่อได้ผู้รับเหมาแล้ว ซีพี ก็ไปคิดเอาเองแล้วกันต่อไปจะบุญและบาป “คุณรับนะ”

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เขายังมองอีกว่า ทุกอย่างหินหมด ทั้งเรื่องที่จะนำผู้โดยสารซิตี้ไลน์ (City Line) ลงมา รวมระบบแอร์พอร์ต ลิงก์เข้าไปกับรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดไม่ใช่เรื่องเล็กๆ ถามว่าผู้โดยสารซิตี้ไลน์ จะไปไว้ที่ไหน ขณะที่โครงการรถไฟสายสีแดงอ่อน (Missing Link) ยังไม่ถึงไหน (อ่านประกอบ:ผ่าแผนพัฒนาพื้นที่รอบสถานีศาลายา และมธ.รังสิต รองรับรถไฟฟ้าสายสีแดงเข้ม-อ่อน)

“อีกประเด็น คือ ผมไม่เห็นด้วยรถไฟความเร็วจะต้องวิ่งเข้าสุวรรณภูมิ เพราะการวิ่งเข้าสุวรรณภูมิ แป๊บเดียวแล้วออก ผมว่าแทบจะไม่ได้อะไร สนองการเมืองที่ให้นโยบาย เชื่อมต่อไร้รอยต่อ ถามว่า จริงหรือไม่ เอาหัวเสียบเข้าไปแล้วกลับข้าง วิ่งออกมา จริงๆคุณต้องไปดูความคล่องตัว อัตราการใช้บริการ (flow) ระหว่าง 3 สถานีมีอยู่ ทั้งดอนเมืองไปสุวรรณภูมิ ดอนเมืองไปอู่ตะเภา สุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา ดู flow 3 สถานี หาก flow สุวรรณภูมิไปอู่ตะเภา มีนิดเดียว คุณไม่จำเป็นต้องเอารถเข้าไป คุณใช้ผู้โดยสารเปลี่ยนระบบเอา”

ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านระบบราง เชื่อว่า โครงการนี้ จะเสร็จภายใน 5 ปี เพราะเงินมีอยู่ แต่ก็จะเจออุปสรรคเยอะ แต่อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า จะไม่เป็นโฮปเวลล์ แน่นอน

สุดท้ายเมื่อถามถึงกรณีพื้นที่ มักกะสัน ซีพีและกลุ่มพันธมิตรจะมีการสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาเรื่องรถไฟให้กับการรถไฟฯ ด้วยนั้น อดีตรักษาการผู้ว่าการการรถไฟฯ ตั้งคำถามว่า เรื่องนี้เป็นสิ่งที่ชาติควรจะดู หรือสิ่งที่ผู้รับสัมปทานควรดู ถ้าคำตอบ ชาติควรดูก็ต้องดูในขนาดที่ใหญ่ การเรียนรู้ของประเทศ การพัฒนาบุคลากร การพัฒนาอุตสาหกรรมในประเทศ

“การถ่ายทอดเทคโนโลยี เรื่องนี้พูดง่าย แต่ทำยาก การรถไฟฯ ทำมานานแล้ว ต้องถามกลับ คุณเข้าใจการถ่ายทอดเทคโนโลยีอย่างไร คำว่าถ่ายทอดเทคโนโลยีของการรถไฟฯ คือการนำคนมานั่งเรียนอบรม แต่ถ่ายทอดเทคโนโลยีจริงๆ ไม่ใช่อย่างนั้น ต้องแบบจีน หรือเกาหลีทำ มองการสร้างงานให้คนไทย การพัฒนาอุตสาหกรรมไทย พัฒนาศักยภาพของคนไทยก่อน”

คำว่า Technology Transfer หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า การถ่ายทอดเทคโนโลยี เขาทิ้งท้ายว่า ไม่ใช่แค่นำคนมานั่งเรียน...
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 13/11/2019 10:55 am    Post subject: Reply with quote

ส่องอนาคตไฮสปีดเชื่อมทั่วไทยมีที่ไหนบ้าง
วันจันทร์ ที่ 11 พฤศจิกายน 2562

Click on the image for full size
ปี 2566 ประเทศไทยจะเปิดใช้รถไฟความ เร็วสูงรวดเดียว 2 เส้นทาง ระยะทาง 457 กิโลเมตร ร่นการเดินทางจากภาคอีสาน อย่าง จังหวัดนครราชสีมา ไปเขตพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออก อีอีซี ปลายทางสนามบินอู่ตะเภา ใช้เวลาเพียง 2 ชั่วโมง 15 นาที ที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขณะค่าโดยสารไม่แพง หากเทียบกับการเดินทางทางอากาศ หรือแม้กระทั่งรถยนต์ส่วนตัว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 14/11/2019 11:17 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้บอร์ดรถไฟเคาะ “ยูนิค” สร้างไฮสปีดไทย-จีนช่วง “พระแก้ว-สระบุรี” วงเงิน 9,429 ล้าน

ข่าวอสังหาฯ - พร็อพเพอร์ตี้
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 - 09:32 น.

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (14 พ.ย.2562) คณะกรรมการ (บอร์ด) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะมีการประชุม โดยในวาระจะมีพิจารณาอนุมัติผลประมูลรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน สัญญาก่อสร้างช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. วงเงิน 11,240 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคาต่ำสุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท

บอร์ดรถไฟ’ เห็นชอบ ‘ยูนิค’ คว้าไฮสปีดไทย-จีน มูลค่า 9.4 พันล้าน คาดลงนามได้ต้นปีหน้า สัญญาที่ 4-6 งานโยธา สำหรับช่วง พระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กิโลเมตร
https://www.thebangkokinsight.com/239300/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 15/11/2019 10:08 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ดรถไฟอนุมัติ “ยูนิค” สร้างไฮสปีดไทย-จีนตีกลับแผนซื้อตู้สินค้า 900 คัน 2 พันล้าน
วันที่ 14 พฤศจิกายน 2562 - 19:44 น.


นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ ร.ฟ.ท. (บอร์ดรถไฟ) มีมติอนุมัติผลประมูลรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. เป็นงานระดับดิน 7.02 กม. และยกระดับ 24.58 กม. ราคากลาง 11,240 ล้านบาท มีบมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เสนอราคาต่ำที่สุด 9,429 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 16.1% หรือ 1,809 ล้านบาท ขั้นตอนหลังจากนี้จะต้องรอการปรับรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ให้แล้วเสร็จก่อน จึงจะมีการลงนามในสัญญาต่อไป


นอกจากนี้ ที่ประชุมยังตีกลับแผนจัดซื้อตู้รถขนส่งสินค้า 900 คัน มูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท เนื่องจากข้อมูลที่นำเสนอยังไม่เพียงพอที่จะเสนอให้สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) เห็นชอบได้ โดยให้กลับไปจัดทำข้อมูลมาใหม่ เพื่อเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดรถไฟครั้งต่อไปพิจารณาอีกครั้ง

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า เดิมทีเดียวแล้ว รายงาน EIA รวมของโครงการได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) ไปแล้ว แต่เนื่องจากในช่วงดังกล่าวมีการปรับแบบจากยกระดับมาเป็นทางระดับดินบางส่วน และฝ่ายสิ่งแวดล้อมของโครงการก็แนะนำว่า ควรจะเสนอให้คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เห็นชอบก่อนที่จะลงนามในสัญญา

ดังนั้น คาดว่าภายในเดือนพ.ย.นี้ จะเสนอการปรับรายงาน EIA ให้ คชก.เห็นชอบได้ จากนั้น คชก.จะต้องแจ้งให้ กก.วล.รับทราบถึงการปรับแบบดังกล่าว เพื่อให้มีการลงนามในสัญญาต่อไป โดยคาดว่าไม่เกินเดือนธ.ค.นี้ กก.วล.จะรับทราบได้ และการลงนามน่าจะไปเกิดขึ้นช่วงต้นปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 22/11/2019 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

เคาะกู้เป็นดอลลาร์ ลุยรถไฟไทย-จีน
วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 -


วันที่ 22 พ.ย.62 ที่ทำเนียบรัฐบาล เวลา 11.30 น. ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะเลขานุการที่ประชุมคณะกรรมการรัฐนตรีเศรษฐกิจ หรือ ครม. เศรษฐกิจ เปิดเผยว่า ที่ประชุมยังมีมติในส่วนของโครงการรถไฟไทย-จีน ที่ลงทุนล่าช้ากว่า โดยมีการหารือระหว่างกระทรวงคมนาคมกับธนาคารแห่งประเทศ( ธปท.) แล้ว ได้ข้อสรุปว่าจะกู้ยืมเป็นเงินดอลลาร์ ไม่กู้เป็นเงินบาท เพื่อเป็นทางออกและลดความเสี่ยง แต่จะะนำหารือกับจีนเพื่อขับเคลื่อนโครงการต่อไป


ครม.ศก.เคาะเงินกู้”รถไฟไทย-จีน”ใช้สกุลดอลล่าร์ “ศักดิ์สยาม”เข็นเซ็นสัญญา 2.3 ในธ.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 22 พฤศจิกายน 2562 - 17:39

ครม.ศก.เห็นชอบเงินกู้”รถไฟไทย-จีน” ส่วนงานระบบ ชำระเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ กู้ประเทศ 85% ดอกเบี้ยไม่ถึง 2% “ศักดิ์สยาม”นัดคณะกก.ร่วมฯ ไทย-จีน ถกวันกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า ตั้งเป้าเซ็นสัญญา 2.3 ในปลายเดือนธ.ค.นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการรัฐมนตรีเศรษฐกิจ (ครม.เศรษฐกิจ) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธาน วันนี้ (22 พ.ย.) ได้รับทราบ ความคืบหน้าการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ในส่วนของสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) มูลค่า 38,558.35 ล้านบาท ที่สรุปว่าจะดำเนินการโดยกู้เงินภายในประเทศ และชำระเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) สัดส่วน 85%

ทั้งนี้ ให้กระทรวงคมนาคมดำเนินการในขั้นตอนการประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เพื่อหาข้อสรุปในการกำหนดวันที่จะใช้เป็นวันกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้ รวมถึงกำหนดวันลงนามสัญญา 2.3 ต่อไป โดยในวันที่ 26 พ.ย.นี้ จะมีการเสนอมติครม.ศก.ต่อที่ประชุมครม.รับทราบตามขั้นตอน

ซึ่งในส่วนของการกู้เงินนั้น ก่อนหน้านี้ ครม.ศก. ได้มอบหมายให้กระทรวงคมนาคม หารือในประเด็นการกู้เงินสกุลใด ที่เหมาะสมและเป็นประโยชน์กับไทย ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เชิญ 9 หน่วยงานร่วมประชุม เช่น ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) ธนาคารกรุงไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เป็นต้น

โดยธนาคารแห่งประเทศไทย เห็นว่า สามารถดำเนินการกู้เงินเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐได้ โดยเรื่องความเสี่ยง สามารถทำการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนล่วงหน้า หรือ forward rate ได้ ขณะที่ธนาคารกรุงไทยยืนยันว่า ได้เคยดำเนินการในรูปแบบดังกล่าวมาแล้ว

อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือประสานไปยังนายนิ่ง จี๋เจ๋อ รองประธานคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน เพื่อนัดประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 เพื่อสรุปผลการหารือ และเร่งดำเนินการ ลงนามสัญญา 2.3 ภายในปี 2562 นี้ ซึ่งจะประชุมที่ไทย หรือจีนก็ได้ ฝ่ายไทยยินดี

“ฝ่ายจีนเสนอ การชำระเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ส่วนอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ภายในประเทศเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1.5-1.6% โครงการนี้เป็นการดำเนินการภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี) การเจรจาหน้าที่ของเราคือรักษาผลประโยชน์ของประเทศมากที่สุด ดังนั้นก็ต้องประชุมร่วมไทย-จีน เพื่อให้ชัดเจนและเห็นตรงกันทุกประเด็น”

รายงานข่าวแจ้งว่า ไทยทำหนังสือถึงจีน เพื่อขอจัดประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 28 ช่วงปลายเดือนพ.ย. หรือต้นเดือนธ.ค. 2562 เนื่องจากหลังประชุมได้ข้อสรุปในส่วนของเงินกู้แล้ว รฟท.จะต้องนำข้อสรุปเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท.อนุมัติร่างสัญญา 2.3 ในขณะเดียวกันจะต้องส่งให้อัยการสูงสุดตรวจสอบในประเด็นการกู้เงินและชำระเป็นสกุลดอลลาร์ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่นาน เนื่องจากอัยการได้ตรวจร่างสัญญาในประเด็นอื่นๆ ไปก่อนหน้านี้แล้ว และนำเสนอครม.อนุมัติก่อนลงนามสัญญาซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายเดือนธ.ค. 2562
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2019 12:11 am    Post subject: Reply with quote

รอคอนเฟิร์ม ‘เสาเข็ม’ รถไฟไทย-จีน 3 แสนต้น ผลิตได้ในไทย
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2562

ปัจจุบันการรถไฟฯ เหลืองานโยธาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ยังไม่ได้เปิดประมูลอีก 2 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา ได้แก่
• สัญญางานโยธา 4-4 งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ซึ่งอยู่ระหว่างทบทวนเงื่อนไขการประมูล (TOR) คาดว่าจะสรุปได้ในเดือนธันวาคม 2562 หรืออย่างช้าไม่เกินเดือนมกราคม 2563

สำหรับสัญญานี้มีประเด็นเรื่องเสาเข็ม ซึ่งต้องใช้ในการก่อสร้างอย่างต่ำ 3 แสนต้น เนื่องจากฝ่ายจีนออกแบบเสาเข็มด้วยมาตรฐานจีน ส่งผลให้การรถไฟฯ ต้องนำสเปคไปหารือกับโรงงานต่างๆ ในประเทศไทยว่า จะสามารถผลิตเสาเข็มตามสเปค ข้อกำหนด และต้นทุนของฝ่ายจีนได้หรือไม่

ล่าสุดโรงงานส่วนใหญ่ก็ยืนยันมาแล้วว่าผลิตได้ เหลือโรงงานอีกเพียง 1 เท่านั้นที่ต้องรอคำยืนยัน โดยเมื่อการรถไฟฯ ได้ข้อสรุปทั้งหมดแล้ว ก็จะกำหนดราคากลางและเปิดประมูลหาผู้รับเหมาต่อไป

.
ด้านสัญญางานโยธา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 11.83 กิโลเมตร ก็ยังไม่สามารถเปิดประมูลได้ เพราะต้องใช้โครงสร้างร่วมกับโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา

จึงต้องรอหารือกับกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร (CPH) ผู้รับสัมปทานรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินก่อน ซึ่งขณะนี้ยังไมได้หารือกัน

สำหรับสัญญางานโยธารถไฟไทย-จีน อีก 7 ฉบับ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการประกวดราคานั้น การรถไฟฯ ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาข้อเสนอของเอกชนและยังไม่มีกำหนดการจะเสนอรายชื่อผู้ชนะการประมูลให้คณะกรรมการ (บอร์ด) เห็นชอบเพิ่มเติมในเร็วๆ นี้
https://www.facebook.com/Thfutu/photos/a.105928067440208/155503972482617/?type=3&theater

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันนี้ (22 พ.ย.) ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เศรษฐกิจ ได้รับทราบการเปลี่ยนแปลงสกุลเงินที่ใช้ชำระค่าจ้างในร่างสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ฉบับที่ 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากร วงเงินประมาณ 5 หมื่นล้านบาทตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ

เนื่องจากฝ่ายจีนต้องการให้ฝ่ายไทยชำระค่าจ้างในสัญญา 2.3 เป็นเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ แทนที่จะเป็นเงินบาทเหมือน 2 สัญญาแรก เพราะมองว่าปัจจุบันเงินดอลลาร์สหรัฐมีความเสถียรมากกว่า ซึ่งกระทรวงคมนาคมและหน่วยงานอื่นๆ จำนวน 9 หน่วยงาน ก็ได้ประชุมสรุปว่า ประเทศไทยสามารถชำระค่าจ้างเป็นเงินดอลลาร์ได้ แต่ต้องมีการป้องกันความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนและยึดผลประโยชน์ของประเทศให้มากที่สุด

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า หลังจากนี้ฝ่ายไทยและฝ่ายจีนจะกำหนดวันประชุมร่วมกันของ 2 ฝ่าย ซึ่งคาดว่าจะเป็นช่วงปลายเดือนนี้หรือต้นเดือนธันวาคม เพื่อสรุปรายละเอียดทั้งหมด โดยเฉพาะวันที่จะใช้กำหนดอัตราแลกเปลี่ยน ขณะเดียวกันการถไฟฯ จะต้องส่งร่างสัญญาไปให้สำนักงานอัยการสูงสุดพิจารณาและรายงานให้ ครม. รับทราบการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอีกครั้ง จากนั้นก็คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในเดือนธันวาคม 2562

ส่วนการแหล่งเงินกู้ที่จะใช้ในร่างสัญญาฉบับที่ 2.3 นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า เบื้องต้นน่าจะใช้แหล่งเงินกู้ในประเทศ เพราะคิดอัตราดอกเบี้ยต่ำประมาณ 1.5-16% ด้านแหล่งเงินกู้จากจีนมีอัตราดอกเบี้ยต่ำกว่า 3% เล็กน้อย อย่างไรก็ตามกระทรวงคมนาคมไม่สามารถเลือกแหล่งเงินกู้เองได้ เพราะเป็นอำนาจของสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)
https://www.thebangkokinsight.com/243256/
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 357, 358, 359 ... 547, 548, 549  Next
Page 358 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©