Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180563
ทั้งหมด:13491797
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 359, 360, 361 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 01/12/2019 9:08 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงฟื้น”เขาใหญ่” ดีมานด์คอนโดพุ่ง
หน้าอสังหาริมทรัพย์
1 ธันวาคม 2562

บลูฮิลล์ เขาใหญ่ ลุยตลาดบ้านหลังที่สอง”เขาใหญ่” เต็มสูบ ฉีกแนวเปิดตัวคอนโดกึ่งวิลล่า ทำเลผ่านศึก-กุดคล้า จับลูกค้าคนกรุงเทพฯ รับอานิสงค์รถไฟความเร็วสูง ทางด่วน และมอเตอร์เวย์ นางสาวสุพิณดา แท่นเพ็ชร์รัตน์ กรรมการบริหาร บริษัท บลูฮิลล์ เขาใหญ่ จำกัด เปิดเผยว่า ตลาดคอนโดมิเนียม ในภาคตะวันออกฉียงเหนือ โดยเฉพาะโซนเขาใหญ่ ช่วงปี 2562 ถึงปี 2563 ยังคงชะลอตัวอัตราดูดซับลดลง ส่งผลให้ซัพพลายคงค้างยังมีอยู่พอสมควร โดยเฉพาะอาคารชุดขนาด 1 นอน แต่คาดว่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น และจะมีความต้องการเพิ่มขึ้นเมื่อมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ ทางด่วนพิเศษ หรือมอเตอร์เวย์ ที่จะส่งผลทำให้เกิดความต้องการเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาที่ดินพุ่งสูงขึ้น และส่งผลถึงดีมานต์ของคอนโดมิเนียมโดยเฉพาะขนาด 2 ห้องนอนยังคงมีอยู่ค่อนข้างมาก

วัดจากความต้องการของลูกค้าที่เข้ามาชมโครงการอากาศ เขาใหญ่ ซึ่งเป็นคอนโดมิเนียมแบบโลว์ไรส์โครงการแรกของบริษัท สูง 7 ชั้น 2 อาคาร จำนวน 83 ยูนิต มูลค่าโครงการกว่า 800 ล้านบาทนั้น พบว่าห้องขนาด 2 ห้องนอน ได้รับการตอบรับที่ดีมาก จึงตัดสินใจพัฒนาโครงการเฟสใหม่คือ อากาศ วิลล่า คอนโดมิเนียมโลว์ไรส์ สไตล์วิลล่า 1 และ 2 ชั้น 3 อาคาร มีเพียง 23 ยูนิต เน้นความเป็นส่วนตัว บนพื้นที่กว่า 4 ไร่ มูลค่าโครงการ 380 ล้านบาท ทุกห้องหันหน้ารับวิวทิวเขา ในราคาเริ่มต้น 13.2 ล้านบาท คาดว่าสามารถปิดการขายได้ภายในปลายปี 2563นอกจาก 2 โครงการดังกล่าวแล้ว บริษัทฯ มีแผนเดินหน้าพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์อีกในอนาคต ซึ่งกำลังอยู่ในช่วงพิจารณาทำเลที่เหมาะสมอยู่


สำหรับโครงการ อากาศ วิลล่า เขาใหญ่ อยู่ริมถนน ผ่านศึก-กุดคล้า ถือเป็นทำเลศักยภาพ ทิวทัศน์สวยงาม ใกล้แหล่งท่องเที่ยวของเขาใหญ่ เดินทางไป-กลับกรุงเทพฯ สะดวกสบาย โดยเฉพาะมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-โคราชซึ่งจะเปิดให้บริการในปี 2563 ออกแบบสไตล์ Thai Modern Loft ทุกยูนิตตกแต่งพร้อมอยู่ แบ่งเป็น 2 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ ขนาด 130 - 145 ตารางเมตร จำนวน 12 ยูนิต และ 3 ห้องนอน 3 ห้องน้ำ ขนาด 145 - 195 ตารางเมตร จำนวน 11 ยูนิต พร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกทั้งภายในและภายนอกอาคารอย่างครบครัน อาทิ ล็อบบี้เล้าจ์, ห้องออกกำลังกาย, สระว่ายน้ำ ยาว 25 เมตร พร้อมสระเด็ก พื้นที่พักผ่อนรอบสระว่ายน้ำ และระเบียงริมสระว่ายน้ำ รวมทั้งยังแวดล้อมด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกครบครัน อาทิ โรงเรียน, โรงพยาบาล, ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยว และร้านอาหาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2019 3:35 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (35)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 28 พฤศจิกายน 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3526 ระหว่างวันที่ 28-30 พฤศจิกายน 2562


สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (36)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 01 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3527 ระหว่างวันที่ 1-4 ธันวาคม 2562


นำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด

กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องสัญญา ข้อ 16.2 การดำเนินกิจการทางพาณิชย์

(1) ขอบเขตการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ คู่สัญญาตกลงให้ขอบเขตการดำเนินกิจการทางพาณิชย์เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในข้อ 4.1(5)

(2) สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแต่ละฝ่ายในการดำเนินกิจการพาณิชย์ (ก) สิทธิและหน้าที่ของ รฟท.

1) รฟท.หรือผู้แทนของ รฟท.มีสิทธิเข้าไปตรวจพื้นที่ของโครงการฯ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ได้ในเวลาทำการปกติของเอกชนคู่สัญญาโดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้าสำหรับนอกเวลาทำการปกติ (รวมเวลากลางคืน) นั้น ให้ รฟท.หรือผู้แทนของ รฟท.เข้าไปตรวจได้ทันทีในกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นเร่งด่วน โดยต้องแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาทราบก่อน และเอกชนคู่สัญญาต้องอำนวยความสะดวกแก่ รฟท.หรือผู้แทนของ รฟท.ในการเข้าตรวจพื้นที่ของโครงการฯ ที่ใช้ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์

2) ในกรณี รฟท.เห็นว่าเอกชนคู่สัญญาจะดำเนินการลักษณะใดๆ ที่ผิดกฎหมายไทยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือน่ารังเกียจ น่ากลัว หรืออาจกระทบกระเทือนความปลอดภัยและความสงบหรือเป็นอันตรายต่อสาธารณะ รฟท.มีสิทธิแจ้งให้เอกชนคู่สัญญาดำเนินการรื้อถอน หยุด หรือละเว้นการกระทำดังกล่าวได้โดยหากเอกชนคู่สัญญาไม่ดำเนินการตามที่ รฟท.แจ้งภายในระยะเวลาที่ รฟท.กำหนด รฟท.มีสิทธิและเอกชนคู่สัญญาตกลงยินยอมให้ รฟท.กำหนดให้บุคคลอื่นเข้ามาดำเนินการรื้อถอนหรือหยุดการกระทำนั้น โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจากการใช้สิทธิของ รฟท.



(ข) สิทธิและหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญา

1) เอกชนคู่สัญญาจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้องกับการบริหารงานและการดำเนินการของเอกชนคู่สัญญา ซึ่งใช้บังคับอยู่ในปัจจุบันและจะใช้บังคับในอนาคตโดยเคร่งครัด โดยเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากปรากฏว่า รฟท.ต้องรับผิดหรือได้รับความเสียหายเพราะเหตุที่เอกชนคู่สัญญาไม่ปฏิบัติตามกฎหมายไทย เอกชนคู่สัญญาจะชดเชยค่าเสียหายที่เกิดขึ้นแก่ รฟท.ทั้งสิ้นโดยไม่ชักช้า

2) การกระทำใดๆ อันเกี่ยวเนื่องกับการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ ที่ได้ก่อให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลใดๆ ซึ่งมีสาเหตุมาจากผู้เช่าช่วง ผู้ใช้ประโยชน์ ผู้ค้า หรือบริวาร เอกชนคู่สัญญายังคงต้องรับผิดทั้งสิ้น

3) เอกชนคู่สัญญาจะไม่ใช้หรือยินยอมให้บุคคลอื่นใช้ประโยชน์ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในลักษณะใดๆ ที่ผิดกฎหมายไทยหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดี หรือน่ารังเกียจ น่ากลัว หรืออาจกระทบกระเทือนความปลอดภัยและความสงบหรือเป็นอันตรายต่อสาธารณะ และจะไม่นำหรือไม่ยินยอมให้บุคคลใดๆ นำวัตถุที่เป็นเชื้อเพลิงหรือเป็นอันตรายนอกเหนือจากความจำเป็นและประกอบการโดยปกติมาเก็บไว้ในการดำเนินกิจการพาณิชย์ รวมทั้งจะไม่กระทำหรือไม่ยอมให้ผู้อื่นกระทำการใดๆ เหลื่อมลํ้าออกมาบนทางเท้า หรือถนน อันเป็นการกีดขวางการจราจร

4) ในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ เอกชนคู่สัญญาจะระมัดระวังมิให้การดำเนินงานข้างต้นส่งผลกระทบต่อโครงการอื่นหรือการให้บริการสาธารณะของหน่วยงานของรัฐ

5) เอกชนคู่สัญญา มีหน้าที่ส่งแผนแสดงการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ให้ รฟท.เป็นรายปี เพื่อให้ รฟท.พิจารณาอนุมัติ ซึ่งแผนดังกล่าวจะต้องระบุประเภทของกิจกรรมในการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ โดยเอกชนคู่สัญญาจะต้องส่งมอบแผนแสดงการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ในปีแรกให้ รฟท.ก่อนการเริ่มต้นการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ และหากมีการเปลี่ยนแปลงแผนแสดงการดำเนินกิจการทางพาณิชย์ให้เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่แจ้งการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อให้ รฟท.พิจารณาอนุมัติ

6) กรณีที่มีการก่อสร้างทางเชื่อมต่อระหว่างอาคารอื่นๆ กับสถานีรถไฟของโครงการฯ เอกชนคู่สัญญาจะต้องนำส่งแผนงานรายละเอียดรวมทั้งแบบการก่อสร้าง (ถ้ามี) ให้แก่ รฟท.และหน่วยงานของรัฐ เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนเริ่มดำเนินการ



17. การเปลี่ยนแปลงงาน 17.1 การเปลี่ยนแปลงงาน โดย รฟท. (1) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานโดยทั่วไป

(ก) การออกคำสั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงงาน ตลอดระยะเวลาของโครงการฯ รฟท.อาจแจ้งความประสงค์ที่จะให้มีการเปลี่ยนแปลงงานโดยแจ้งไปยังเอกชนคู่สัญญาโดยเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องให้ความร่วมมือในการดำเนินการเปลี่ยนแปลงงานตามข้อ 17.1(1)(ข) เว้นแต่เอกชนคู่สัญญาจะได้พิจารณาโดยสุจริตแล้วและแจ้งไปยัง รฟท.พร้อมรายละเอียดและหลักฐานว่า

1) เอกชนคู่สัญญาไม่สามารถหาวัสดุ อุปกรณ์ เพื่อดำเนินการตามการเปลี่ยนแปลงนั้น

2) การเปลี่ยนแปลงงานจะทำให้ความปลอดภัยลดลงหรือลดประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่ของเอกชนคู่สัญญาตามที่กำหนดไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

3) การเปลี่ยนแปลงงานจะส่งผลเสียต่อข้อกำหนดเกี่ยวกับการดำเนินโครงการฯ

4) การเปลี่ยนแปลงงานเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายไทย เมื่อได้รับการบอกกล่าวข้างต้นจากเอกชนคู่สัญญา รฟท.อาจพิจารณายกเลิก ยืนยัน หรือเปลี่ยนแปลงการแจ้งให้มีการเปลี่ยนแปลงงานเป็นอย่างใดก็ได้ ตามที่พิจารณาเห็นว่าเป็นการถูกต้องสมควร ซึ่ง รฟท.จะแจ้งผลการพิจารณาดังกล่าวโดยไม่ชักช้า

(ข) การดำเนินการตามคำสั่งให้มีการเปลี่ยนแปลงงาน ภายใต้ข้อ 17.1(ก)(1) เอกชนคู่สัญญาจะให้การยืนยันโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยการยื่นรายละเอียดดังต่อไปนี้

1) รายละเอียดของแบบที่เสนอ และ/หรือ งานที่จะต้องทำ และแผนการทำงาน

2) ข้อเสนอของเอกชนคู่สัญญา เพื่อการแก้ไขแผนการดำเนินงานและระยะเวลาทำงานแล้วเสร็จตามแผน และ

3) ข้อเสนอของเอกชนคู่สัญญา เพื่อขอให้มีการปรับค่าใช้จ่าย ค่าอุปกรณ์งานระบบและซ่อมบำรุงรักษาตามสัญญาร่วมลงทุนเมื่อได้รับข้อเสนอแล้ว รฟท.จะแจ้งเป็นหนังสือโดยการอนุมัติ ไม่อนุมัติ หรือเสนอความเห็นแก่เอกชนคู่สัญญาโดยไม่ชักช้า ทั้งนี้เอกชนคู่สัญญาจะไม่หยุดการทำงานใดๆ ตามสัญญาร่วมลงทุนระหว่างการรอคำตอบจาก รฟท.

(2) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานเพื่อปรับปรุงระบบรถไฟ กรณีที่ รฟท.ต้องการให้มีการเพิ่มจำนวนอุปกรณ์ หรือปรับปรุงระบบรถไฟในระยะเวลางานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง เพื่อให้มีประสิทธิภาพต่อการให้บริการเดินรถ รฟท.จะทำเป็นคำสั่งแจ้งการเปลี่ยนแปลงงานไปยังเอกชนคู่สัญญาก็ได้ ทั้งนี้ การเปลี่ยนแปลงงาน ตามข้อนี้ไม่รวมถึงการเปลี่ยนแปลงงานที่ทำให้ค่าใช้จ่าย ค่าอุปกรณ์งานระบบและซ่อมแซมบำรุงตามสัญญาร่วมลงทุนเพิ่มขึ้น หรือเป็นการเพิ่มจำนวนรถไฟเพื่อรองรับปริมาณผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นตลอดระยะเวลาของสัญญานี้

(3) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานเพื่อประโยชน์สาธารณะ กรณีที่ รฟท.ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะตามข้อ 29 ซึ่งส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงงาน รฟท.มีสิทธิใช้อำนาจสั่งให้มีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงงานในสัญญาร่วมลงทุน เพื่อให้การให้บริการเดินรถสามารถดำเนินการได้ตามปกติ และเอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะปฏิบัติหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ตามที่มีการแก้ไขงานนั้น รวมถึงกรณีที่จะต้องแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนเอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงสัญญาร่วมลงทุนตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 39.2

อย่าเพิ่งเบื่อนะครับ ขอบอกว่าเราต้องอ่านสัญญาดี
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2019 2:07 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (37)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 04 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3528 ระหว่างวันที่ 5-7 ธันวาคม 2562

ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุดกลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึงชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี

สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญากันในเรื่องสัญญาเรื่องการเปลี่ยนแปลงคู่สัญญา และการชำระเงิน17.2 การเปลี่ยนแปลงงาน โดยเอกชนคู่สัญญา กรณีการเปลี่ยนแปลงงาน โดยเอกชนคู่สัญญา เอกชนคู่สัญญาอาจขอให้มีการเปลี่ยนแปลงงานได้โดยดำเนินการตามข้อ 17.1(1) โดยอนุโลม ทั้งนี้ รฟท. มีสิทธิที่จะอนุมัติหรือไม่ก็ได้17.3 การชดเชยการเปลี่ยนแปลงงาน (1) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานเพื่อประโยชน์สาธารณะตามข้อ 17.1(3) คู่สัญญาทั้งสองฝ่ายตกลงกัน ดังต่อไปนี้(ก) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานนั้นเกิดขึ้นเพราะความผิดของเอกชนคู่สัญญา รฟท. จะพิจารณาขยายระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ตามข้อ 15.1(1)(ฉ) งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยาย ตามข้อ 15.1(1)(ฉ)และ/หรืองานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามข้อ 15.1(1)(ข)3)เท่านั้น ทั้งนี้ เอกชนคู่สัญญาไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายใดๆ จาก รฟท. โดย รฟท. จะแจ้งเป็นหนังสือให้เอกชนคู่สัญญาทราบโดยไม่ชักช้า และ(ข) กรณีการเปลี่ยนแปลงงานนั้นเกิดขึ้นเพราะไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา ถ้าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ตามข้อ 5.1(1)งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยายตามข้อ 5.2(2)(ก)และ/หรืองานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงก์ ตามข้อ 5.2(1)(ก) รฟท. จะพิจารณาชดเชยค่าเสียหาย ค่าใช้จ่าย และขยายระยะเวลาของงานดังกล่าว แต่หากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามข้อ 5.1(2) งานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามข้อ 5.2(2)(ข)และ/หรืองานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามข้อ 5.2(1)(ข)รฟท. จะชดเชยค่าเสียหายและค่าใช้จ่ายเท่านั้น(2) ในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงงานโดยทั่วไปตามข้อ 17.1(1) หรือกรณีการเปลี่ยนแปลงงานเพื่อปรับปรุงระบบรถไฟ ตามข้อ 17.1(2)(กรณีการเปลี่ยนแปลงงานเพื่อปรับปรุงระบบรถไฟ) หรือกรณีการเปลี่ยนแปลงงาน โดยเอกชนคู่สัญญาตามข้อ 17.2 ในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 1 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ตามข้อ 5.1(1)งานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามข้อ 5.2(2)(ก)และ/หรืองานในระยะที่ 1 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามข้อ 5.2(1)(ก)รฟท. จะพิจารณาชดเชยค่าเสียหายและขยายระยะเวลาของงานดังกล่าวแต่หากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเกิดในช่วงระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามข้อ 5.1(2) งานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ตเรลลิงค์ส่วนต่อขยายตามข้อ 5.2(2)(ข)และ/หรืองานในระยะที่ 2 ในส่วนของแอร์พอร์ต เรลลิงค์ตามข้อ 5.2(1)(ข)รฟท. อาจพิจารณาชดเชยค่าเสียหายเท่านั้น

18. วิธีการชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ เว้นแต่กรณีที่กำหนดไว้ในข้อ 15.1(2)(ข)3)ข) ข้อ 15.2(2)(ข)3) และเอกสารแนบท้ายสัญญาร่วมลงทุนหมายเลข 12 (ข้อกำหนดเรื่องดัชนีชี้วัด) รฟท.จะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ โดยแบ่งชำระเป็นรายปีภายหลังจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูงตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ โดยกำหนดการแบ่งจ่ายเป็นระยะเวลาสิบ (10)ปี ปีละเท่าๆ กันโดยจะชำระงวดแรกในวันที่ครบกำหนดหก (6)เดือน นับจากวันที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ (“วันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯปีที่หนึ่ง”) และจะชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ สำหรับปีต่อๆ มาในวันที่ครบกำหนดสิบสอง (12) เดือนนับจากวันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ปีที่หนึ่งทั้งนี้กรณีมีเหตุจำเป็น อาจให้ทยอยจ่ายเงินดังกล่าวให้เอกชนคู่สัญญาหลังจากเริ่มเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง โดยแบ่งจ่ายเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ตามระยะทางของการเดินรถไฟความเร็วสูง และจะไม่มีการเริ่มนับระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของโครงการรถไฟความเร็วสูงตามข้อ 5.1(2) โดยจะเริ่มนับระยะเวลาดังกล่าวจากวันตามที่ระบุไว้ในหนังสือรับรองการเริ่มให้บริการเดินรถทั้งระบบ โดยในกรณีดังกล่าวคณะกรรมการนโยบายจะเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติต่อไปในกรณีที่การคำนวณเงินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟไม่เสร็จสิ้นก่อนวันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯปีที่หนึ่ง ให้เงินที่รัฐลงทุนในโครงการฯ ที่จะชำระในวันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการปีที่หนึ่ง เป็นจำนวนหนึ่งหมื่นสี่พันเก้าร้อยหกสิบห้าล้าน(14,965,000,000)บาทและเมื่อคำนวณเงินค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจริงสำหรับงานโยธาของโครงการเกี่ยวกับรถไฟแล้วเสร็จในปีที่สองหลังจากวันเริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง แล้วพบว่ามูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ เป็นไปตามข้อ 8.3(2)(ข) ให้นำจำนวนดังกล่าวมาเฉลี่ยเป็นจำนวนเท่าๆ กัน 10 งวด เพื่อเป็นเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ตั้งแต่ปีที่ 2 จนถึงปีที่ 10 หลังจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และในส่วนของเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่ได้ชำระไปแล้วในวันชำระที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯปีที่หนึ่ง เป็นจำนวนหนึ่งหมื่นสี่พันเก้าร้อยหกสิบห้าล้าน(14,965,000,000)บาท ให้นำจำนวนที่เป็นผลลัพธ์ของผลต่างของจำนวนมูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่มีการคำนวณเฉลี่ยเท่าๆ กัน 10 งวดในข้อ 18 วรรค 3 ข้างต้นกับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่ได้ชำระไปแล้วในวันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯปีที่หนึ่ง มาคูณหนึ่งจุดศูนย์สองสามเจ็ดห้า(1.02375) แล้วนำไปหักจากจำนวนเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่จะชำระในปีที่ 2 หลังจากวันที่เริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง และหากผลต่างของจำนวนมูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่มีการคำนวณเฉลี่ยเท่าๆ กัน 10 งวดในข้อ 18 วรรค 3 ข้างต้นกับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่ได้ชำระไปแล้วในวันชำระเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯปีที่หนึ่งมีจำนวนสูงกว่า จำนวนมูลค่าเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่มีการชำระในปีที่ 2 หลังจากวันเริ่มระยะเวลาของงานในระยะที่ 2 ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง ให้หักลบจากเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ที่กำหนดชำระในปีถัดไปจนกว่าจะหักลบได้ทั้งหมดตามหลักการที่กำหนดไว้ในข้อ 18 วรรค 4ทั้งนี้ ในกรณีที่ รฟท.ใช้อำนาจเพื่อประโยชน์สาธารณะตามข้อ 29 โดยไม่ใช่ความผิดของเอกชนคู่สัญญา และ รฟท.ไม่ได้ใช้สิทธิเลิกสัญญาร่วมลงทุน เอกชนคู่สัญญายังคงมีสิทธิได้รับเงินที่รัฐร่วมลงทุนในโครงการฯ ตามข้อ 18 นี้เป็นอย่างไรครับ สัญญารัดกุมหรือไม่ ท่านคิดเห็นประการใดครับ!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2019 12:11 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ นั่งหัวโต๊ะถก กพอ.วันนี้ ตั้งบอร์ดคุมไฮสปีดเทรน

6 ธันวาคม 2562

บอร์ด EEC เห็นชอบแผนกำจัดขยะ ขอเวลา 1-2 เดือนทำแผนรับซื้อไฟ เปิดพื้นที่ให้เอกชนประมูล
เศรษฐกิจในประเทศ
วันที่ 6 ธันวาคม 2562 - 13:50 น.


“คณิศ” ชง กพอ.ตั้งบอร์ดคุมไฮสปีดวันนี้ “คมนาคม” นั่งประธานดูแลโครงการ “สกพอ.” ประธานบริหารสัญญา รฟท.นัด “ซีพี” หารือมั่นใจสรุปแบบ-เคลียร์ย้ายสาธารณูปโภคปลาย ม.ค.63

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) วันนี้ (6 ธ.ค.) เพื่อติดตามความคืบหน้าการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่แบ่งเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย 1.กลุ่มที่ลงนามสัญญาร่วมลทุนแล้ว คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) และโครงการพัฒนาท่าเรือมาบตาพุดเฟส 3

2.กลุ่มที่อยู่ระหว่างการประมูลและมีข้อพิพาทในชั้นศาลปกครอง คือ โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง 3 ของการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) และโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก ของกองทัพเรือ

3.กลุ่มที่ต้องเริ่มขั้นตอนการประมูลหรือจัดหาเอกชนร่วมลงทุนใหม่ คือ โครงการศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) และโครงการเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัล (อีอีซีดี) ของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน)

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า การประชุม กพอ.วันนี้ จะเสนอให้มีการพิจารณากลไกการกำกับดูแลโครงการรถไฟความเร็วสูง 2 ส่วน คือ 1.คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ ซึ่งกระทรวงคมนาคมจะเข้ามาดูแลส่วนนี้ 2.คณะกรรมการบริหารสัญญา โดยที่ผ่านมา กพอ.เห็นชอบหลักการไว้แล้วและการประชุมครั้งนี้จะพิจารณารายละเอียด เช่น รายชื่อกรรมการกำกับสัญญา

นายคณิศ กล่าวว่า ส่วนโครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบิน ซึ่งขณะนี้อยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด โดยกองทัพเรือได้ดำเนินการเปิดซองเอกสารข้อเสนอตามคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว และอยู่ระหว่างรอคำพิพากษาศาลปกครองสูงสุด

“คมนาคม”นั่งประธานกำกับ

รายงานข่าวจาก สกพอ.ระบุว่า คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ จะมีผู้แทนกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน ซึ่งอาจมีการเสนอชื่อนายพิศักดิ์ จิตวิริยะวศิน รองปลัดกระทรวงคมนาคมที่นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมายให้ดูแลการแก้ปัญหาค่าโง่โฮปเวลล์และค่าโง่ทางด่วน หรือนายจิรุตม์ วิศาลจิตร อธิบดีกรมการขนส่งทางบกและประธานกรรมการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

ส่วนคณะกรรมการบริหารสัญญามี 5 คน คือ ผู้แทน สกพอ.เป็นประธาน ส่วนกรรมการมาจากผู้แทนกระทรวงคมนาคม 1 คน ผู้แทน ร.ฟ.ท.ระดับรองผู้ว่าการ 1 คน และผู้แทน สกพอ. 2 คน

คณะกรรมการบริหารสัญญามีหน้าที่ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามสัญญา พิจารณาให้ความเห็นการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน รวมทั้งรายงานความคืบหน้า ปัญหาหรือข้อพิพาทให้คณะกรรมการกำกับดูแลโครงการและ สกพอ.


“ซีพี”เร่งออกแบบไฮสปีด

นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ ร.ฟ.ท.กล่าวว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.อยู่ในขั้นตอนรอดูรายละเอียดของแบบก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง ซึ่งบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จํากัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นหลัก อยู่ระหว่างจัดทำรายละเอียด และจะมีการนัดหารือร่วมกันในวันที่ 11 ธ.ค.นี้

“ตอนนี้อยู่ในขั้นตอนรอดูภาพรวมการออกแบบโครงการ เพื่อที่จะดำเนินการเรื่องอื่นๆ วางแผนเรื่องอื่นต่อไป ซึ่งตอนนี้ทางซีพีแจ้งว่าได้จะนัดทีมงานออกแบบมาหารือในรายละเอียดร่วมกัน การรถไฟฯ ก็จะขอเข้าไปฟังข้อมูลด้วย เพราะต้องฟังสรุปภาพรวมว่าเขาต้องการก่อสร้างอะไร ส่วนใดก่อน และมีปัญหาอะไรติดขัดอย่างไรบ้าง จะได้นำมาดำเนินการในทิศทางเดียวกัน”


สำหรับการดำเนินงานภายหลังลงนามสัญญาร่วมทุนไปเมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา ยังไม่ได้มีการลงพื้นที่เพื่อสำรวจอย่างเป็นทางการ เนื่องจากทั้งสองฝ่ายต้องการเห็นภาพของแผนก่อสร้างทั้งหมดก่อน แต่ที่ผ่านมาได้มีการประชุมหารือเพื่อแก้ปัญหาการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคร่วมกันมาอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับการแก้ไขปัญหาผู้บุกรุก ปัจจุบันยังไม่ได้ดำเนินการ เนื่องจากต้องรอดูความชัดเจนของการเข้าพื้นที่ที่ทางเอกชนต้องการก่อสร้างโครงการก่อน

เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงแรก

นายวรวุฒิ กล่าวว่า ตอนนี้ยังคงส่งมอบพื้นที่ไว้ตามเดิม คือ พื้นที่ที่มีความพร้อมส่งมอบได้ทันที ได้แก่ ช่วงสุวรรณภูมิ –อู่ตะเภา คาดว่าจะส่งมอบแล้วเสร็จภายใน 1 ปี จึงประเมินว่าพื้นที่นี้ จะเป็นส่วนแรกที่กลุ่มซีพีสามารถเข้าพื้นที่เพื่อเริ่มงานก่อสร้างได้ แต่ปัจจุบันยังต้องคุยในรายละเอียดของการรื้อย้ายสาธารณูปโภคให้ชัดเจนก่อน เพื่อไม่เป็นปัญหาติดขัดขั้นตอนก่อสร้างในอนาคต

นอกจากนี้ กพอ.เตรียมจัดตั้งคณะกรรมการกำกับดูแลโครงการ โดยจะมีการแต่งตั้งผู้แทนจากกระทรวงคมนาคมเป็นกรรมการด้วย ถือเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายร่วมทุนที่ระบุไว้ ว่าจะต้องมีการจัดตั้งคณะกรรมการฯ ชุดดังกล่าวเพื่อติดตาม ดูแลความคืบหน้าของโครงการ

“ตอนนี้โครงการก็อยู่ในช่วงของการเดินหน้างานต่างๆ เราไม่ได้อยู่นิ่งตั้งแต่ลงนามมา มีการทำงานร่วมกันมาตลอดแต่หลายๆ อย่างในตอนนี้จำเป็นต้องเห็นภาพรวมทั้งหมดของแผนก่อสร้างก่อน จึงจะวางแผนทำงานส่วนอื่นได้ อย่างส่วนสำคัญเรื่องปัญหาบุกรุก หากเราลงพื้นที่ขอคืนพื้นที่แต่ยังไม่ได้เริ่มงานก่อสร้าง ก็จะเป็นปัญหาตามมา แต่ปีหน้าที่แน่ๆ จะเห็นแผนออกแบบก่อสร้างโครงการแล้วเสร็จ เริ่มเห็นขั้นตอนเคลื่อนย้ายผู้บุกรุก และเริ่มมีการกั้นรั้วโครงการ”

สรุปรื้อย้ายสาธารณูปโภค ม.ค.

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.ระบุว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ทำงานร่วมกับกลุ่มซีพีมาตลอด อยู่ระหว่างหารือรายละเอียดของการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค ร่วมกับทุกหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภค คาดว่าภายใน ม.ค.นี้ จะรู้ผลว่าแต่ส่วนจะมีการรื้อย้ายอย่างไร หลังจากนั้นก็จะเริ่มทำสัญญามอบพื้นที่

รวมทั้งการออกแบบก่อสร้างโครงการที่ปัจจุบันทางกลุ่มซีพีอยู่ระหว่างดำเนินการ คาดว่าจะแล้วเสร็จประมาณปลายเดือน ม.ค.นี้ ส่งผลให้การทำงานหลังจากนี้จะเห็นภาพชัดเจนขึ้น โดยยอมรับว่าการก่อสร้างโครงการหากสามารถรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค หรือมีแผนรื้อย้ายที่ชัดเจน จะทำให้การทำงานง่ายมากขึ้น

นอกจากนี้ กลุ่มซีพีต้องการให้ ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่เป็นแปลงใหญ่ ไม่ต้องการให้ส่งมอบเฉพาะส่วนที่มีความพร้อมได้ก่อน เพราะไม่ต้องการก่อสร้างเป็นช่วงๆ แต่ไม่เชื่อมต่อ

“ตอนนี้ก็มีพื้นที่ที่การรถไฟฯ มีความพร้อมส่งมอบอยู่แล้ว อย่างช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา แต่ก็ควรคุยในรายละเอียดของสาธารณูปโภคต่างๆ รอบพื้นที่ไปเลย เพื่อที่จะได้วางแผนงานก่อสร้างได้ชัดเจน ประกอบการทางซีพีเองก็ไม่ต้องการสร้างแบบฟันหลอ แต่ต้องการสร้างแล้วเป็นแนวเส้นทางระยะยาวที่เชื่อมต่อกัน ซึ่งก็ไม่ใช่ปัญหาใหญ่แล้ว เพราะที่ผ่านมาเราก็คุยในรายละเอียดกับหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคมาตลอด”

มั่นใจเริ่มส่งมอบพื้นที่ภาย1ปี

สำหรับแผนส่งมอบพื้นที่ของ ร.ฟ.ท.ก่อนหน้านี้มีการกำหนดออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.พื้นที่ที่มีความพร้อมส่งมอบได้ทันที ช่วงสุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา คาดว่าจะใช้เวลาส่งมอบแล้วเสร็จภายในประมาณ 1 ปีกว่า หลังลงนามสัญญา

2.ช่วงโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ มีความพร้อมส่งมอบแล้ว แต่มีเงื่อนไขเอกชนจะต้องจ่ายค่าโอนสิทธิ์บริหารประมาณ 1 หมื่นล้านบาทให้แล้วเสร็จ ซึ่งมีกรอบกำหนดว่ากลุ่มซีพีจะต้องจ่ายค่าโอนสิทธิ์ดังกล่าวให้ครบทั้งหมดภายใน 2 ปีนับจากวันลงนามสัญญา

3.พื้นที่ที่ยังไม่พร้อมส่งมอบ เนื่องจากยังมีระบบสาธารณูปโภคที่สำคัญที่ต้องใช้เวลาเคลื่อนย้าย เช่น ท่อน้ำมัน อีกทั้งยังมีปัญหาผู้บุกรุก คือ ช่วงพญาไท-ดอนเมือง คาดว่าจะใช้เวลาทยอยส่งมอบให้แล้วเสร็จภายใน 2 ปี นับจากวันลงนามสัญญา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2019 1:22 am    Post subject: Reply with quote

‘ฉะเชิงเทรา’ ก่อนจะมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
โดย: กิตตินันท์ นาคทอง
เผยแพร่: 20 พฤศจิกายน 2562 03:07

จังหวัดฉะเชิงเทรา ประตูสู่ภาคตะวันออก ในอนาคตจะเป็นทางผ่านของ “โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน” (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หากไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2566

ถึงกระนั้น หลังรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ผลักดันให้ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็น เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ดูเหมือนว่าความเจริญค่อยๆ คืบคลานเข้ามาที่จังหวัดแห่งนี้มากขึ้น

หากพูดถึงจังหวัดฉะเชิงเทรา หลายคนคงนึกถึง “หลวงพ่อโสธร” วัดโสธรวรารามวรวิหาร ที่มีชื่อเสียง นอกนั้นจะมี วัดสมานรัตนาราม ตลาดเก่าแก่อย่างตลาดบ้านใหม่ 100 ปี ตลาดคลองสวน 100 ปี ตลาดน้ำบางคล้า ฯลฯ

เป็นแหล่งท่องเที่ยวใกล้กรุงเทพฯ นิยมเดินทางแบบเช้าไป-เย็นกลับ โดยเฉพาะการท่องเที่ยวทางรถไฟ จากสถานีกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีขบวนรถไปสถานีชุมทางฉะเชิงเทราวันละ 11 ขบวน ถึงสถานีก็มีรถสองแถวพาไปยังวัดโสธรโดยตรง

ผู้เขียนมีโอกาสมาเยือนฉะเชิงเทรา ถึงจะไม่บ่อยก็ตามเมื่อเทียบกับจังหวัดท่องเที่ยวอื่นๆ แม้ความเจริญของตัวเมืองยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไปมาก แต่พบว่าสองข้างทางถนนสิริโสธร (ถนนฉะเชิงเทรา-บางปะกง) เริ่มมีโครงการบ้านจัดสรรเกิดใหม่ตามมา

นับตั้งแต่ถนนมอเตอร์เวย์ กรุงเทพฯ-ชลบุรี (สายใหม่) เปิดให้สัญจรเมื่อปี 2541 การเดินทางไปยังจังหวัดฉะเชิงเทราสะดวกรวดเร็วขึ้น สองข้างทางมอเตอร์เวย์และถนนสิริโสธร ก็มีโรงงานอุตสาหกรรมเกิดขึ้นจำนวนมาก

เมื่อออกจากมอเตอร์เวย์ที่ด่านบางปะกง ก่อนถึงตัวเมืองฉะเชิงเทรา จะผ่านโรงงานประกอบรถยนต์โตโยต้า บ้านโพธิ์ บนเนื้อที่ 1,500 ไร่ ซึ่งเปิดการผลิตเมื่อปี 2550 ต่อจากโรงงานสำโรง จ.สมุทรปราการ และโรงงานเกตเวย์ซิตี้ อ.แปลงยาว

โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ฉะเชิงเทรา
โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ฉะเชิงเทรา

เลยแยกบางพระ ถนนเลี่ยงเมือง จะพบกับศูนย์การค้า “โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ฉะเชิงเทรา” เปิดให้บริการเมื่อปี 2557 เป็นการนำไลฟ์สไตล์จากกรุงเทพฯ ทั้งห้างสรรพสินค้า ซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านอาหาร และโรงภาพยนตร์มาไว้ที่นี่

ย้อนกลับไปในอดีต วิถีชีวิตดั้งเดิมของชาวฉะเชิงเทรา มักจะออกมาจับจ่ายซื้อของที่ย่าน ตลาดศูนย์การค้าตะวันออก (ตลาดศูนย์เก่า) หรือตลาดทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในปัจจุบัน ตั้งอยู่ถนนชุมพล ตรงข้ามโรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์

จากนั้นถึงมีศูนย์การค้าขนาดใหญ่ที่ชื่อว่า “ตะวันออกคอมเพล็กซ์” บริเวณถนนศุขประยูร (สี่แยกคอมเพล็กซ์) เปิดให้บริการเมื่อปี 2536 ที่นั่นยังเคยเป็นที่ตั้งร้านฮอท พอท สุกี้ ชาบู สาขาแรกในประเทศไทย

ต่อมา “บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์” เปิดสาขาฉะเชิงเทราเมื่อปี 2547 บริเวณถนนสิริโสธร ตรงข้ามสถานีขนส่งผู้โดยสารฉะเชิงเทรา อีกหนึ่งปีเศษถัดมา “คาร์ฟูร์ ไฮเปอร์มาร์เก็ต” เปิดสาขาฉะเชิงเทราบริเวณถนนศรีโสธรตัดใหม่

กระทั่งบิ๊กซีซื้อกิจการคาร์ฟูร์จากบริษัทแม่เมื่อปี 2553 ทำให้ในปัจจุบัน จังหวัดฉะเชิงเทรามีห้างบิ๊กซีถึง 2 สาขา ห้างท้องถิ่นอย่างตะวันออกคอมเพล็กซ์ จึงปรับตัวด้วยการเน้นจำหน่ายสินค้าอุปโภค บริโภคในราคาส่งแทน

ส่วนห้างค้าปลีกชื่อดังอย่าง “เทสโก้ โลตัส” เจอกฎหมายผังเมือง จึงทำได้แค่โมเดลขนาดย่อมอย่าง “ตลาดโลตัส” 2 สาขา ได้แก่ สาขาเมืองฉะเชิงเทรา บริเวณถนนฉะเชิงเทรา-บางน้ำเปรี้ยว และสาขาดอนทอง ถนนศุขประยูร

นอกจากนี้ ยังมีโรงภาพยนตร์เมเจอร์ซีนีเพล็กซ์ อยู่ด้านข้างบิ๊กซี ตรงข้ามสถานีขนส่งฯ ไม่นับรวมตลาดนัดกลางคืน ที่ได้รับความนิยม คือ “ตลาดสนามมวย” ถนนเทพคุณากร ทางไปวัดโสธรฯ เปิดทุกวันพฤหัสบดี

(ภาพจากแฟ้ม) วัดโสธรวรารามวรวิหาร
(ภาพจากแฟ้ม) วัดโสธรวรารามวรวิหาร

ข้อมูลจากแผนพัฒนาจังหวัดฉะเชิงเทรา ปี 2561-2565 (ฉบับทบทวน) ระบุว่า เมื่อก่อนสภาพสังคมของจังหวัดฉะเชิงเทรา เป็นสังคมเกษตรกรรม ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำนา ทำไร่ ทำสวน เลี้ยงกุ้ง เลี้ยงปลา

ต่อมาราวปี 2540 เริ่มมีโรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในพื้นที่อำเภอบางปะกง บ้านโพธิ์ และแปลงยาว ทำให้วิถีชีวิตของผู้คนเปลี่ยนแปลงไป ส่วนอำเภออื่นๆ ก็มีรถของโรงงานไปรับ-ส่งถึงบ้าน แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงของสังคมในจังหวัด

จากที่ได้สัมผัสตัวเมืองฉะเชิงเทรา พบว่าเป็นเมืองที่กว้างแต่ไม่มากนัก เพราะมีแม่น้ำบางปะกง ทางรถไฟสายตะวันออก และถนนสิริโสธรล้อมกรอบอยู่ แฝงไปด้วยวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรม

ศูนย์กลางความเจริญของเมืองฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางปะกงฝั่งตะวันตก โดยมีศูนย์ราชการ โรงพยาบาลพุทธโสธร ค่ายศรีโสธร มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ และวัดโสธรวรารามวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดที่มีชื่อเสียงของจังหวัด

ลงมายังถนนสิริโสธร ไปทาง อ.บ้านโพธิ์ และ อ.บางปะกง ด้านที่ติดถนนใหญ่จะเต็มไปด้วยบ้านจัดสรร โรงงานอุตสาหกรรม แต่ถ้าขึ้นไปทางถนนสุวินทวงศ์ อ.บางน้ำเปรี้ยว จะเป็นทุ่งนาและบ้านเรือน มีโรงงานและชุมชนขนาดย่อมบ้างเพียงประปราย

ส่วนบรรยากาศโดยทั่วไป ช่วงกลางวันจะคึกคัก แต่หลัง 6 โมงเย็น ย่านตลาดทรัพย์สินฯ จะเริ่มเงียบเหงา เพราะร้านค้าเริ่มทยอยเก็บของ ปิดบ้านนอนกันหมดแล้ว จะกลับมาคึกคักอีกครั้งตั้งแต่เช้าเป็นต้นไป

ยิ่งถ้าเป็น สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทรา รถไฟเข้ากรุงเทพฯ มีถึง 6 โมงเย็นเท่านั้น นอกนั้นจะเป็นรถไฟไปปราจีนบุรี มาถึงสถานีประมาณ 1 ทุ่มเศษๆ ส่วนรถไฟขบวนสุดท้ายจากกรุงเทพฯ จะมาถึงฉะเชิงเทราประมาณ 2 ทุ่มตรง

สถานีขนส่งผู้โดยสารฉะเชิงเทรา
สถานีขนส่งผู้โดยสารฉะเชิงเทรา

แต่สำหรับ สถานีขนส่งผู้โดยสารจังหวัดฉะเชิงเทรา ถือเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่ง เพราะมีรถโดยสารประจำทาง ทั้งรถตู้เข้ากรุงเทพฯ รถประจำทางหมวด 3 จากนครราชสีมา สระแก้ว ไปยัง ชลบุรี พัทยา ระยอง และจันทบุรี

นอกจากนี้ ยังเป็นจุดรวมรถสองแถว ไปยังอำเภอต่างๆ เช่น อ.บางคล้า อ.บางน้ำเปรี้ยว อ.บางปะกง และหากเป็นอำเภอในพื้นที่ห่างไกล เช่น อ.สนามชัยเขต ก็ยังมีรถตู้โดยสารสายฉะเชิงเทรา-พนมสารคาม-สนามชัยเขต ให้บริการอีกด้วย

หลายฝ่ายคาดหวังว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะพลิกเมืองฉะเชิงเทราให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยรองรับความแออัดจากกรุงเทพฯ และการขยายตัวเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี แต่ยังมีหลายปัจจัยที่ต้องพิจารณา

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะทาง 220 กิโลเมตร งบลงทุน 2.24 แสนล้านบาท เป็นการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน คือ กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง อายุสัญญา 50 ปี

แนวเส้นทางส่วนใหญ่จะยกระดับขนานไปกับทางรถไฟสายตะวันออก มีจังหวัดฉะเชิงเทราเป็นทางผ่าน แต่ไม่ผ่านสถานีชุมทางฉะเชิงเทรา จะเบี่ยงออกนอกเมืองไปทางทิศเหนือ บริเวณถนนสุวินทวงศ์ เนื่องจากต้องใช้ทางโค้งที่กว้างขึ้น

เดิมพื้นที่ริมถนนสุวินทวงศ์กำหนดให้เป็นพื้นที่ชุมชน และห่างออกไปเป็นพื้นที่ทางการเกษตร ขณะนี้กำลังพัฒนาผังเมืองให้สอดคล้องกับเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) หวังปลดล็อกการใช้ประโยชน์ที่ดินให้มากขึ้น

ภาพจำลอง สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา
ภาพจำลอง สถานีรถไฟความเร็วสูงฉะเชิงเทรา

สถานีฉะเชิงเทรา ของรถไฟความเร็วสูง ไม่ได้อยู่ที่สถานีรถไฟชุมทางฉะเชิงเทราเดิม

รายงานข่าวระบุว่า จะเวนคืนที่ดินบริเวณถนนสุวินทวงศ์ แบ่งออกเป็นอาคารสถานี อยู่ฝั่งตะวันออก พื้นที่ 76 ไร่ กับศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) อยู่ฝั่งตะวันตก พื้นที่ 358 ไร่ ห่างจากทางแยกต่างระดับฉะเชิงเทรา 1 กิโลเมตร และห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 4 กิโลเมตร

รูปแบบสถานีจะสูง 2 ชั้น รองรับทางรถไฟยกระดับจากกรุงเทพฯ ด้านหน้าเป็นลานจอดรถ อาคารสถานีชั้นล่างจะเป็นชั้นจำหน่ายบัตรโดยสาร ส่วนชั้นบนจะเป็นชานชาลารถไฟความเร็วสูง 4 ชานชาลา ยาว 210 เมตร

ด้วยรถไฟความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง หากก่อสร้างแล้วเสร็จ การเดินทางจากฉะเชิงเทราถึงกรุงเทพฯ สะดวกรวดเร็ว ไม่เกิน 1 ชั่วโมง แต่ค่าโดยสารเหยียบร้อย ถ้าจะใช้บริการประจำอาจต้องคิดหนัก

เอาแค่ลงที่สถานีสุวรรณภูมิ ไปขึ้นเครื่องบิน เสีย 161 บาท, ลงสถานีมักกะสัน (ต่อ MRT) เสีย 210 บาท, ลงสถานีกลางบางซื่อ เสีย 229 บาท ปลายทางสถานีดอนเมือง ต่อเครื่องบินโลว์คอสต์ เสีย 254 บาท!

ถ้าวันไหนนึกครึ้มอกครึ้มใจ อยากไปเที่ยวจังหวัดติดกัน อย่างสถานีชลบุรี (ซึ่งอยู่ไกลจากตัวเมืองมาก) เสีย 167 บาท, สถานีศรีราชา เสีย 211 บาท, สถานีพัทยา เสีย 259 บาท และปลายทาง สถานีอู่ตะเภา เสีย 326 บาท




มองโลกในแง่ดี ถ้ากลับบ้านสัปดาห์ละครั้งยังพอไหว ถูกกว่าแท็กซี่ราคาเหมาไปกรุงเทพฯ ครึ่งหนึ่ง แต่ถ้าต้องเดินทางไป-กลับทุกวัน ตกวันละ 400-500 บาท สำหรับมนุษย์เงินเดือนรายได้หลักหมื่นคงไม่ไหวแน่!

ค่าโดยสารรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
ค่าโดยสารรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

แต่ถ้าไม่ต้องการเสียเงินรถไฟความเร็วสูงเข้ากรุงเทพฯ ยังมีอีก 2 ตัวเลือกใหญ่ๆ คือ นั่งรถตู้เข้ากรุงเทพฯ โดยตรง เจ้าใหญ่ที่สุดเป็นของ ฉะเชิงเทราขนส่ง ไปยังบางนา เอกมัย จตุจักร และหมอชิตใหม่ อีกเจ้าหนึ่ง คือ รถตู้ค่ายศรีโสธร ไปยังรังสิต

รถตู้จากฉะเชิงเทราเข้ากรุงเทพฯ รถออกเที่ยวแรกประมาณตีห้า-ตีห้าครึ่ง เที่ยวสุดท้ายประมาณ 1-2 ทุ่มทุกวัน ส่วนใหญ่ใช้เส้นทางมอเตอร์เวย์ และทางด่วนบูรพาวิถี ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง ขึ้นอยู่กับสภาพการจราจร

อีกตัวเลือกหนึ่ง คือ รถตู้สายฉะเชิงเทรา-มีนบุรี ค่าโดยสาร 45 บาท (ข้อมูล ณ เดือนพฤศจิกายน 2562) ใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมงครึ่ง จากจุดนี้สามารถนั่งรถตู้ต่อไปยังรามอินทรา ปากเกร็ด รังสิต และอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ

จากที่นั่งรถตู้กลับกรุงเทพฯ พบว่าเมื่อมาถึงมีนบุรี เลยแยกราษฎร์อุทิศแล้ว จะตรงไปทางถนนรามคำแหง เพื่อแวะจอดเติมก๊าซ ก่อนเลี้ยวขวาเข้าถนนร่มเกล้า ข้ามคลองแสนแสบ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนสีหบุรานุกิจ เพื่อเข้าตลาดมีนบุรี

ถ้ารถไฟฟ้าทั้งสองสายที่มีนบุรีแล้วเสร็จอีก 4-5 ปีข้างหน้า เวลานั่งรถตู้จากฉะเชิงเทรา รถจะผ่าน “สถานีสุวินทวงศ์” รถไฟฟ้าสายสีส้มก่อน สามารถต่อรถไฟฟ้าไปแยกลำสาลี มหาวิทยาลัยรามคำแหง และสถานีศูนย์วัฒนธรรม

จากนั้นจะสุดสายที่ “สถานีตลาดมีนบุรี” รถไฟฟ้าโมโนเรล สายสีชมพู ตรงข้ามตลาดนัดจตุจักร 2 มีนบุรี สามารถต่อรถไฟฟ้าโมโนเรลไปรามอินทรา แจ้งวัฒนะ ปากเกร็ด และสถานีแคราย เชื่อมต่อรถไฟฟ้าสายสีเขียว สายสีแดง และสีม่วง

ถึงกระนั้น ปัญหาหนึ่งของตัวเมืองฉะเชิงเทราที่ยังต้องรอการพัฒนา คือ รถประจำทางที่จะเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูง เนื่องจากส่วนใหญ่มีเพียงรถสองแถว แถมกลางคืนต้องนั่งรถจักรยานยนต์รับจ้างราคาแพงและเสี่ยงอันตราย

ภาพจำลอง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง
ภาพจำลอง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน บริเวณสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง

ส่วนปัญหาที่ยังเกิดขึ้นในปัจจุบัน คือ ปัญหาการจราจรติดขัดบนถนนสายหลักในชั่วโมงเร่งด่วน อาทิ ถนนสุวินทวงศ์ ถนนสิริโสธร และถนนฉะเชิงเทรา-บางน้ำเปรี้ยว การจราจรติดขัด และถนนสุวินทวงศ์กำลังขยายถนนถึงชายขอบกรุงเทพฯ

ทราบมาว่า กรมทางหลวงมีโครงการตัดถนนเลี่ยงเมืองจากแยกสตาร์ไลท์ ถนนสุวินทวงศ์ ลงมาทางทิศใต้ ผ่าน อ.บ้านโพธิ์ ถนนสิริโสธร ข้ามแม่น้ำบางปะกง สิ้นสุดที่ถนนสาย 304 ฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี ระยะทาง 30 กิโลเมตรในอนาคต

ไม่นับรวมเรื่องคุณภาพอากาศ ที่ฉะเชิงเทรายังคงมีสารมลพิษที่เกินเกณฑ์มาตรฐาน โดยเฉพาะฝุ่น PM 2.5 คุณภาพน้ำผิวดินเสื่อมโทรม กระทรวงสาธารณสุขกำลังขับเคลื่อน “ฉะเชิงเทราโมเดล” เพื่อแก้ปัญหาและเฝ้าระวังในพื้นที่

การพัฒนาฉะเชิงเทราให้กลายเป็นแหล่งที่อยู่อาศัย รองรับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และเขตเศรษฐกิจพิเศษอีอีซี จึงมี “ราคาที่ต้องจ่าย” เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนอีกมาก

นอกจากอาจจะเกี่ยวพันไปถึงค่าครองชีพที่จะสูงขึ้นเป็นเงาตามตัวแล้ว วิถีชีวิตของคนฉะเชิงเทราแต่ดั้งเดิม โดยเฉพาะ “สังคมเกษตรกรรม” ที่มีมาแต่ในอดีต อาจเปลี่ยนแปลงไปโดยไม่มีทางกลับมาเป็นดังเดิม.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 09/12/2019 9:49 am    Post subject: Reply with quote

“ไฮสปีด” กู้5หมื่นล้าน “ศักดิ์สยาม”นัดเจรจาจีน ม.ค.63
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 8 ธันวาคม 2562 23:22
ปรับปรุง: 9 ธันวาคม 2562 03:32

"รถไฟไทย-จีน" เตรียมสรุปเงินกู้สัญญาซื้อระบบ 5.06 หมื่นล้าน คุยนอกรอบ ตกลงชำระเป็นสกุลดอลลาร์สหรัฐ ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ย เม.ย.62 ถึงวันลงนาม "ศักดิ์สยาม"พร้อมนำคณะเร่งเจรจา กก.ร่วมไทย-จีน เดือนม.ค.63 เคาะวันเซ็นสัญญา 2.3

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคมเปิดเผยถึงความความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้น ทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาทว่า จากที่คณะทำงานฝ่ายไทยและจีนได้หารืออย่างไม่เป็นทางการ ในส่วนของสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ)วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งทางจีนได้เสนอใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD)ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้นั้น จีนขอใช้ค่าเฉลี่ยโดยคิดตั้งแต่วันที่ยื่นเมื่อเดือนเม.ย.62 จนถึงวันลงนามสัญญา ซึ่งประเมินแล้ว เป็นอัตราที่มีความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

ในเบื้องต้นได้รายงานความก้าวหน้าต่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว แต่เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปที่จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ยื่นซองเป็นหลัก ดังนั้นจะต้องนำเสนอที่ประชุมครม.รับทราบก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)

ทั้งนี้ หลังจากครม.เห็นชอบแนวทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแล้วจะประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน(Joint Committeeหรือ JC)ครั้งที่ 28 เพื่อสรุปร่วมกันในเรื่องสกุลเงิน,อัตราแลกเปลี่ยน,วันลงนามสัญญา 2.3 ในขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด)รฟท. และนำร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และก่อนลงนามสัญญาจะต้องเสนอครม.ขออนุมัติอีกครั้ง

รมว.คมนาคม กล่าวว่าขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับจีนเพื่อนัดประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 28 ซึ่งตามแผนงาน จะต้องประชุมที่ประเทศไทย แต่หากจีนไม่สะดวก ไทยพร้อมที่จะไปประชุมที่ประเทศจีนซึ่งคาดว่าจะประชุมคณะกรรมการร่วมฯไทย-จีนได้เร็วสุดช่วงต้นเดือน ม.ค.63

พร้อมกันนี้ได้ทำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีขอขยายเวลาตามคำสั่งและอำนาจหัวหน้าคสช. ขอขยายเวลาในการดำเนินงานในสัญญา 2.3 ที่ครบกำหนดในวันที่ 30ธ.ค.62 ออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลพยายามผลักดันการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย-จีน ให้เป็นไปตามแผนโดยจะเร่งรัดงานโยธาซึ่งมีทั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และขั้นตอนการประมูลรวมถึงที่ประมูลเสร็จแล้ว แต่ยังลงนามสัญญาไม่ได้ เนื่องจากยังติดประเด็น EIA เพิ่มเติม

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการประเมินค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนนับตั้งแต่วันที่ยื่นซองจนถึงวันลงนามสัญญาซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ประมาณเดือนม.ค.-ก.พ.63 นั้น ค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ประมาณ 30.82 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการก่อสร้างงานโยธา มีวงเงิน 120,162.126 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 14 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญาได้แก่ ช่วงกลางดง–ปางอโศก มีความก้าวหน้า 47% และช่วงสีคิ้ว–กุดจิก มีความก้าวหน้า 2.15 % รอลงนาม 5 สัญญา อยู่ระหว่างประมูล 5 สัญญา และรอระหว่างปรับแก้ TOR อีก 1 สัญญา คือช่วงศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่อยู่ระหว่างรอความชัดเจน เนื่องจากโครงสร้างบางส่วนทับซ้อนกันโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

เงินกู้ “ไฮสปีด” ไทย-จีนลงตัว “ศักดิ์สยาม” คาดประชุม ม.ค. 63 เร่งเซ็นสัญญา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 9 ธันวาคม 2562 07:52
ปรับปรุง: 9 ธันวาคม 2562 08:10

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่า จากที่คณะทำงานฝ่ายไทยและจีนได้หารืออย่างไม่เป็นทางการในส่วนของสัญญา 2.3 (การวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท ซึ่งทางจีนได้เสนอใช้เงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ (USD) ส่วนอัตราแลกเปลี่ยนเงินกู้นั้นจีนขอใช้ค่าเฉลี่ย โดยคิดตั้งแต่วันที่ยื่นเมื่อเดือนเม.ย. 2562 จนถึงวันลงนามสัญญา ซึ่งประเมินแล้วเป็นอัตราที่มีความเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย

เบื้องต้นได้รายงานความก้าวหน้าต่อ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี รับทราบแล้ว แต่เนื่องจากเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนที่ไม่เป็นไปตามเกณฑ์ทั่วไปที่จะใช้อัตราแลกเปลี่ยนวันที่ยื่นซองเป็นหลัก ดังนั้นจะต้องนำเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบก่อน เนื่องจากเป็นโครงการที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาล (จีทูจี)

หลังจาก ครม.เห็นชอบแนวทางการกำหนดอัตราดอกเบี้ยแล้ว จะประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน (Joint Committee หรือ JC) ครั้งที่ 28 เพื่อสรุปร่วมกันในเรื่องสกุลเงิน, อัตราแลกเปลี่ยน, วันลงนามสัญญา 2.3 ในขณะเดียวกัน การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะต้องเสนอขอความเห็นชอบจากคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. และนำร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และก่อนลงนามสัญญาจะต้องเสนอ ครม.ขออนุมัติอีกครั้ง

รมว.คมนาคมกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างประสานกับจีนเพื่อนัดประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 28 ซึ่งตามแผนงานจะต้องประชุมที่ประเทศไทย แต่หากจีนไม่สะดวก ไทยพร้อมที่จะไปประชุมที่ประเทศจีน ซึ่งคาดว่าจะประชุมคณะกรรมการร่วมฯไทย-จีนได้เร็วสุดช่วงต้นเดือน ม.ค. 2563

พร้อมกันนี้ ได้ทำเรื่องเสนอนายกรัฐมนตรีขอขยายเวลาตามคำสั่งและอำนาจหัวหน้า คสช.ขอขยายเวลาในการดำเนินงานในสัญญา 2.3 ที่ครบกำหนดในวันที่ 30 ธ.ค. 62 ออกไปด้วย อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมและรัฐบาลพยายามผลักดันการดำเนินงานโครงการรถไฟไทย-จีนให้เป็นไปตามแผน โดยจะเร่งรัดงานโยธา ซึ่งมีทั้งที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง และขั้นตอนการประมูลรวมถึงที่ประมูลเสร็จแล้วแต่ยังลงนามสัญญาไม่ได้ เนื่องจากยังติดประเด็น EIA เพิ่มเติม

รายงานข่าวแจ้งว่า จากการประเมินค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนนับตั้งแต่วันที่ยื่นซอง จนถึงวันลงนามสัญญา ซึ่งคาดว่าจะลงนามได้ประมาณเดือน ม.ค.-ก.พ. 2563 นั้น ค่าเฉลี่ยอัตราแลกเปลี่ยนจะอยู่ประมาณ 30.82 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ

สำหรับการก่อสร้างงานโยธามีวงเงิน 120,162.126 ล้านบาท แบ่งออกเป็น 14 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 2 สัญญา ได้แก่ ช่วงกลางดง-ปางอโศก มีความก้าวหน้า 47% และช่วงสีคิ้ว-กุดจิก มีความก้าวหน้า 2.15% รอลงนาม 5 สัญญา อยู่ระหว่างประมูล 5 สัญญา และรอระหว่างปรับแก้ TOR 1 สัญญา คือ ช่วงศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่อยู่ระหว่างรอความชัดเจน เนื่องจากโครงสร้างบางส่วนทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/12/2019 10:49 am    Post subject: Reply with quote

รฟท. เชิญชวน ประชาชน จ.ตราด ร่วมเวทีประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อแนวเส้นทางเลือกของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี – ตราด
สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์ 09 ธ.ค. 2562

(9 ธ.ค. 62) นายสุชีพ สุขสว่าง วิศวกรใหญ่ฝ่ายโครงการพิเศษและก่อสร้าง การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ตามที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม ได้ว่าจ้างกลุ่มบริษัทที่ปรึกษา ประกอบด้วย บริษัท ทีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท ทีแอลที คอนซัลแตนส์ จำกัด บริษัท วิศวกรรมธรณีและฐานราก จำกัด บริษัท เอ็มเอชพีเอ็ม จำกัด และบริษัท ดาวฤกษ์ คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด ให้ดำเนินการจ้างที่ปรึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี – ตราด โดยมีระยะเวลาดำเนินงาน 240 วัน โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาดังกล่าวได้เริ่มดำเนินงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2562 แล้ว ในการดำเนินโครงการดังกล่าวต้องมีการด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนและการประชาสัมพันธ์ จึงกำหนดให้มีการประชุมกลุ่มย่อยตามแนวเส้นทางเลือก ข้อดี – ข้อเสีย ของแต่ละแนวเส้นทางเลือก การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้นของโครงการ พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ สำหรับการนำไปวิเคราะห์ศึกษา ตลอดจนแนวทางแก้ไขประเด็นวิตกกังวลต่าง ๆ จึงได้กำหนดจัดเวทีประชุมดังกล่าวขึ้นในวันพุธที่ 11 ธันวาคม 2562 ระหว่างเวลา 08.30 – 11.30 น. ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองตราด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด

จึงขอเชิญชวนประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และผู้สนใจเข้าร่วมเวทีประชุมกลุ่มย่อยรับฟังความคิดเห็นประชาชนต่อแนวเส้นทางเลือกของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง – จันทบุรี – ตราด ในวันและเวลาดังกล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2019 11:48 am    Post subject: Reply with quote

สัญญา 'ไฮสปีด 3 สนามบิน' ประวัติศาสตร์การประมูล (38)
โดย... บากบั่น บุญเลิศ
คอลัมน์ทางออกนอกตำรา
ออนไลน์เมื่อ 8 ธันวาคม 2562
ตีพิมพ์ใน ฐานเศรษฐกิจ หน้า 6
ฉบับ 3529 ระหว่างวันที่ 8-11 ธันวาคม 2562


ผมนำเสนอโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 224,544 ล้านบาท ซึ่งเป็นประวัติศาสตร์การประมูลโครงการขนาดใหญ่ของไทยที่มีความล่าช้าในการเซ็นสัญญายาวนานที่สุด กลุ่มกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด หรือซีพีและพันธมิตร เสนอวงเงินสนับสนุนจากภาครัฐ 117,227 ล้านบาท น้อยกว่าคู่แข่งจึง
ชนะประมูล แต่กว่าจะมีการลงนามกันได้ต้องใช้เวลาเกือบ 1 ปี
สัญญาที่จะลงนามกันนั้นเป็นอย่างไร มาติดตามร่างสัญญาเรื่องข้อผูกพันของรัฐ และการประกันโครงการ 19. ความร่วมมือกับหน่วยงานรัฐฯ 19.1 การให้ความร่วมมือกับระบบขนส่งอื่นๆ

(1) เอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือแก่ รฟท.ในการจัดจำหน่ายตั๋วโดยสาร และรูปแบบอื่นๆ ของการประสานความร่วมมือสำหรับการขนส่งผู้โดยสารร่วมกับระบบขนส่งอื่นๆ และเอกชนคู่สัญญาจะให้ความร่วมมือกับผู้ประกอบกิจการระบบขนส่งอื่น
อย่างไรก็ตาม เอกชนคู่สัญญาจะรับภาระร่วมกับผู้ประกอบกิจการระบบขนส่งอื่นๆ สำหรับค่าใช้จ่ายทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการจัดให้มีระบบจำหน่ายตั๋วร่วมกันดังกล่าว หรือแผนการขนส่งผู้โดยสารตามที่ประสานงานร่วมกัน โดยเอกชนคู่สัญญาและผู้ประกอบกิจการระบบขนส่งอื่นจะร่วมกันพิจารณากำหนดวิธีการในการแบ่งรายได้และค่าใช้จ่ายในระหว่างระบบการขนส่งต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง การจัดจำหน่ายตั๋วโดยสารร่วม และ/หรือ การประสานความร่วมมือสำหรับการขนส่งผู้โดยสารร่วมกันดังกล่าวจะต้องไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อระบบรถไฟของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ หรือการสูญเสียรายได้หรือผลประโยชน์อื่นๆ ที่เอกชนคู่สัญญา และ/หรือ รฟท.ได้ประมาณการไว้ในสัญญาร่วมลงทุน

(2) ในกรณีที่เอกชนคู่สัญญาประสงค์จะทำระบบขนส่งต่อเนื่อง (Feeder System) ที่เชื่อมโยงและอำนวยความสะดวกผู้โดยสารมาใช้บริการในโครงการฯ รฟท.จะช่วยประสานงานกับหน่วยงานอื่นของรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ตามที่ รฟท.เห็นสมควร โดยจะต้องไม่กระทบต่อการให้บริการสาธารณะของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ


19.2 การเชื่อมโยงกับระบบรถไฟของโครงการอื่นของ รฟท.
(1) เอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ใช้ความพยายามอย่างดีที่สุดในการเชื่อมต่อการเดินรถไฟกับรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ หรือโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ หรือโครงการอื่นของ รฟท.เพื่อประโยชน์สูงสุดของรัฐในการแก้ไขปัญหาความซํ้าซ้อนของโครงการ และประหยัดค่าก่อสร้างโครงการ ทั้งนี้ ต้องไม่ทำให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินโครงการฯ หรือทำให้เอกชนคู่สัญญามีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มมากขึ้น

(2) เพื่อประโยชน์ในการจัดโครงข่ายการให้บริการโครงการรถไฟและการอำนวยความสะดวกในการจราจร เอกชนคู่สัญญาต้องยินยอมและให้ความสะดวกแก่ รฟท.หรือบุคคลที่รับสิทธิบริหารจัดการโครงการรถไฟและรถไฟรายอื่นให้สามารถเชื่อมต่อหรือร่วมใช้ระบบรถไฟของโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์ที่ รฟท.และเอกชนคู่สัญญาจะตกลงกัน รวมถึงการตกลงแบ่งปันผลประโยชน์จากค่าโดยสารในอัตราที่เป็นธรรม โดยคำนึงถึงภาระค่าใช้จ่ายและผลประโยชน์ที่พึงจะได้รับของทุกฝ่ายด้วย

20. การทำประกันภัยโครงการฯ 20.1 ประเภทของประกันภัย
(1) ประกันภัยในโครงการเกี่ยวกับรถไฟเอกชนคู่สัญญามีหน้าที่ต้องจัดทำประกันภัยดังต่อไปนี้กับบริษัทประกันภัยที่ รฟท.อนุมัติ สำหรับโครงการเกี่ยวกับรถไฟ
(ก) ประกันภัยสำหรับความเสี่ยงภัยทุกชนิด (All Risks Insurance) ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงภัยทุกชนิด รวมถึงกรณีของภัยจลาจล ภัยนัดหยุดงานและการก่อความไม่สงบ ซึ่งเป็นความเสี่ยงภัยที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟ รวมถึงเครื่องจักรและอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ภายในโครงการดังกล่าว โดยจะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญของประกันภัยดังกล่าว ดังต่อไปนี้

1) ผู้เอาประกันภัย ได้แก่ รฟท.และเอกชนคู่สัญญา
2) ผู้รับผลประโยชน์ ได้แก่ รฟท.และผู้สนับสนุนทางการเงิน(ถ้ามี) โดยจะใช้เงินที่ได้รับจากการประกันภัยเพื่อใช้ในการปรับปรุงซ่อมแซมทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟเท่านั้น เว้นแต่ รฟท.และผู้สนับสนุนทางการเงิน(ถ้ามี) ตกลงเป็นอย่างอื่น

3) ผู้รับผิดชอบเบี้ยประกันภัย ได้แก่ เอกชนคู่สัญญา และ

4) จำนวนเงินซึ่งเอกประกันภัยมีจำนวนไม่น้อยกว่ามูลค่าทรัพย์สินทดแทนทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟซึ่งเป็นมูลค่าที่ยังไม่หักค่าเสื่อมราคาที่เกี่ยวข้อง (FullReplacement Cost) เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดทำพร้อมส่งมอบสำเนากรมธรรม์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยประเภทนี้ให้แก่ รฟท.ภายในหกสิบ(60)วันนับจากวันที่ รฟท.ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ทั้งนี้ ต้องจัดทำประกันภัยดังกล่าวจนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1

ทั้งนี้ กรณีประกันภัยที่จัดทำขึ้นไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่สามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟได้ทั้งหมดโดยความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) เหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) หรือความผิดของ รฟท.เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนที่เหลือทั้งหมดรวมทั้งค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนแรก (First Deductible) ภายใต้กรมธรรม์ประกันภัยนี้ด้วย

(ข) ประกันภัยสำหรับความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Third Party Liability Insurance) ซึ่งครอบคลุมความเสี่ยงภัยทุกชนิด ทุกประเภทที่อาจเกิดขึ้นจากการเรียกร้อง การทวงถามและความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน การบาดเจ็บต่อร่างกายหรือการสูญเสียชีวิตตลอดจนความเสียหายใดๆ ที่เกิดขึ้นหรือเป็นผลสืบเนื่องจากทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟ หรือการกระทำของคู่สัญญาอันเกี่ยวเนื่องกับโครงการดังกล่าว โดยจะต้องระบุรายละเอียดที่สำคัญของประกันภัยข้างต้นดังต่อไปนี้

1) ผู้เอาประกันภัย ได้แก่ รฟท.และเอกชนคู่สัญญา
2) ผู้รับผิดชอบเบี้ยประกันภัย ได้แก่ เอกชนคู่สัญญา และ
3) วงเงินมีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าร้อยล้าน (500,000,000)บาทต่ออุบัติเหตุต่อครั้ง โดยไม่จำกัดจำนวนครั้ง

เอกชนคู่สัญญาจะต้องจัดทำพร้อมส่งมอบสำเนากรมธรรม์และเอกสารที่เกี่ยวข้องกับประกันภัยประเภทนี้ให้แก่ รฟท.ภายในหกสิบ(60)วัน นับจากวันที่ รฟท.ส่งมอบหนังสือแจ้งให้เริ่มงานในส่วนของการพัฒนาโครงการเกี่ยวกับรถไฟ ทั้งนี้ ต้องจัดทำประกันภัยดังกล่าวจนถึงวันที่สิ้นสุดระยะเวลาของโครงการฯ และเอกชนคู่สัญญาได้มีการส่งมอบทรัพย์สินที่ใช้ในโครงการเกี่ยวกับรถไฟให้แก่ รฟท.เสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตามที่กำหนดไว้ในข้อ 31.1

ทั้งนี้ กรณีประกันภัยที่จัดทำขึ้นไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายประเภทใดประเภทหนึ่งหรือไม่สามารถชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นกับบุคคลภายนอกที่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายและความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นเพราะเหตุสุดวิสัยตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(1) เหตุผ่อนผันตามที่กำหนดไว้ในข้อ 28.1(2) หรือความผิดของ รฟท.เอกชนคู่สัญญาตกลงที่จะรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นในส่วนที่เหลือทั้งหมด นี่คือหลักประกันในสัญญา ท่านว่าครอบคลุมหรือไม่
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2019 1:12 pm    Post subject: Reply with quote

การประชาพิจารณ์เรื่องการต่อขยายทางรถไฟความเร็วสูงสามสยามบินไประยอง:
การประชุมประชาสัมพันธ์โครงการ ส่วนต่อขยายรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน จาก อู่ตะเภา-ระยอง-จันทบุรี-ตราด ประชุมในพื้นที่ อ.เมือง และอ.บ้านฉาง เมืองระยอง วันที่ 17-18 ธันวาคม 62

วันอังคาร 17 ธ.ค. 2562
เวลา 08.30-11.00 น. ศาลาประชาคมอำเภอแกลง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
เวลา 13.30-16.30 น. ศาลาประชาคมอำเภอบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง

วันพุธที่ 18 ธ.ค. 2562
เวลา 08.30-11.30 น. ศาลาประชาคมอำเภอเมืองระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
เวลา 13.30-16.30 น. ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลเมืองบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

————————
มาตามที่ผมเคยบอกไว้ตั้งแต่แรกว่าทำไม รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน จบที่อู่ตะเภา เพราะมันติดปัญหา EHIA ช่วงผ่านมาบตาพุด ซึ่งจะทำให้โครงการช้าลงอีกมาก

ตอนนี้ก็มีการศึกษาเพื่อขยายไประยอง เป็นอย่างน้อย แต่การศึกษาเต็มไปถึงตราด ซึ่งอาจแบ่งทำเป็นเฟส ตามความคุ้มทุน จากผลการศึกษา

ดังนั้น ก็หวังว่าพี่น้องชาวระยองจะเข้าร่วมงานประชาสัมพันธ์โครงการ ตามพื้นที่ของตัวเองนะครับ

ลิ้งค์รายละเอียดงานประชุมครับ : งานจ้างที่ปรึกษาวิเคราะห์และศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้น โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด


—————————
สรุปรายละเอียดรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ใน 5 โพสต์ ตามลิ้งค์นี้ครับ

ตอนที่ 1 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/584586148646535/

ตอนที่ 2 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/587405518364598/

ตอนที่ 3 https://www.facebook.com/491766874595130/posts/590711901367293/

ตอนพิเศษ ประเทศไหน มีรถไฟความเร็วสูงเข้าสนามบินบ้าง
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/595939407511209?s=1160002750&sfns=mo

ดราม่า ชัชชาติ กับรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/595196974252119?s=1160002750&sfns=mo

รายละเอียดการประชุมตลอดโครงการ

1.วันพุธที่ 11 ธ.ค. 2562 เวลา 08.30-11.30 น. 
หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองตราด อำเภอเมืองตราด จังหวัดตราด
2 วันพุธที่ 11 ธ.ค. 2562 เวลา 13.30-16.30 น.
หอประชุมที่ว่าการอำเภอเขาสมิง อำเภอเขาสมิง จังหวัดตราด
3.วันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค. 2562 เวลา 08.30-11.30 น.
หอประชุมที่ว่าการอำเภอแหลมสิงห์ อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี
4.วันพฤหัสบดีที่ 12 ธ.ค. 2562 เวลา 13.30-16.00 น.
ศาลาประชาคมอำเภอมะขาม อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี
5. วันศุกร์ที่ 13 ธ.ค.2562 เวลา 08.30-11.30 น.
หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองจันทบุรี อำเภอเมืองจันทบุรี จังหวัดจันทบุรี
6. วันศุกร์ที่ 13 ธ.ค.2562 เวลา 13.30-16.30 น.
หอประชุมส่วนอำเภอขลุง อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรี
7. วันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. 2562 เวลา 08.30-11.30 น.
หอประชุมที่ว่าการอำเภอท่าใหม่ อำเภอท่าใหม่ จังหวัดจันทบุรี
8. วันจันทร์ที่ 16 ธ.ค. 2562 เวลา 13.30-16.30 น.
หอประชุมที่ว่าการอำเภอนายายอาม อำเภอนายายอาม จังหวัดจันทบุรี
9 วันอังคาร 17 ธ.ค. 2562 เวลา 08.30-11.00 น.
ศาลาประชาคมอำเภอแกลง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง 10. วันอังคาร 17 ธ.ค. 2562 เวลา 13.30-16.30 น.
ศาลาประชาคมอำเภอบ้านค่าย อำเภอบ้านค่าย จังหวัดระยอง
11. วันพุธที่ 18 ธ.ค. 2562 เวลา 08.30-11.30 น.
ศาลาประชาคมอำเภอเมืองระยอง อำเภอเมืองระยอง จังหวัดระยอง
12.วันพุธที่ 18 ธ.ค. 2562 เวลา 13.30-16.30 น.
ห้องประชุมชั้น 4 เทศบาลเมืองบ้านฉาง อำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง

Note: น่ากลัวว่าทางจะผ่านมาบตา่พุดไปไม่ได้ ส่อแววจะออกไปทางบ้านฉางก่อนหักเข้าทางหลวง 36 และ สถานีรถไฟความไวสูงระยอง จะอยู่ระหว่างแยกเกาะกลอย กะ คลองทับม้า, ตำบลเชิงเนิน อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ครับ งานนี้ ต้องจ่ายค่าเวนคืน โรงพยาบาลสัตว์ด็อก & แคท เฮลท์ เซนเตอร์ ระยอง(Dog & Cat Health Center Pet Hospital @Rayong) และ อู่ไพรวัลย์เซอร์วิส ไปเต็มๆ

งานนี้ เฟส 2 สร้าง ปี 2567 แล้ว เสร็จ 2571


Last edited by Wisarut on 12/12/2019 1:27 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2019 1:24 pm    Post subject: Reply with quote

ประชาชนอำเภอเมืองตราด อ.เขาสมิง ร่วมเวทีโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2
ภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์ 11 ธันวาคม 2562 14:29

ประชาชนอำเภอเมืองตราด อ.เขาสมิง ร่วมเวทีโครงการศึกษาความเหมาะสมฯ ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยาย จังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด หากทำตามโครงการจ.ตราดจะมีรถไฟความเร็วสูงในปี 2571 หรืออีก 9 ปี

วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองตราด การรถไฟแห่งประเทศไทย มีกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาฯ นำโดย นายอาคม ไตรสุวรรณ วิศวกรโครงการฯ นางพิมพ์ใจ ยุทธบรรดล ผู้เชี่ยวชาญด้านการประชาสัมพันธ์และการมีส่วนร่วมของประชาชน และนางสาวน้ำฝน พามา นักวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ เป็นผู้นำเสนอเส้นทางก่อสร้างฯ เปิดเวทีการประชุมกลุ่มย่อยแนวเส้นทางเลือกของโครงการงานจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมการเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด มีข้าราชการ ประชาชน ผู้นำชุมชน ผู้แทนภาคธุรกิจ เอกชน ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่สนใจเข้าร่วมเวทีดังกล่าว ที่หอประชุมที่ว่าการอำเภอเมืองตราด






นายอาคม กล่าวว่า การจัดเวทีการประชุมกลุ่มย่อยแนวเส้นทางเลือกของโครงการงานจ้างที่ปรึกษาศึกษาความเหมาะสมด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคมการเงิน และแนวทางการลงทุนที่เหมาะสม ตลอดจนงานออกแบบเบื้องต้นโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยาย จังหวัดระยอง –จันทบุรี – ตราด ในครั้งนี้ เป็นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของโครงการเพื่อให้ประชาชนในพื้นที่อำเภอเมืองตราด พิจารณาประกอบการลงความคิดเห็น ต่อการเลือกแนวเส้นทางการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะ 2 ส่วนต่อขยาย รวมไปถึงการศึกษาด้านวิศวกรรม การศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม และการดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะผ่านพื้นที่ในเขตอำเภอเมืองตราด โดยมีตัวแทนภาคประชาชน และภาคเอกชน ร่วมแสดงความคิดเห็นสนับสนุนให้ดำเนินการก่อสร้าง และข้อชี้แนะต่าง ๆ อาทิ ผู้แทนจากหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด



หากมี คนตราดจะเดินทางไปกรุงเทพ (ดอนเมือง)ได้ในเวลา 2.15 ชั่วโมง ด้วนราคาค่าโดยสาร 859 บาท (ตราดถึงจันทบุรี แค่ 18 นาที ค่าโดยสาร 207 บาท ,ตราดถึงแถลงเพียง 35 นาที ค่าโดยสาร 311 บาท ,ตราดถึงระยอง แค่ 48 นาที
ค่าโดยสาร 392 บาท ,ตราดถึงอู่ตะเภา เพียง 59 นาที ค่าโดยสาร 449 บาท ,ตราดถึงสุวรรณภูมิ 1.54 ชม.ค่าโดยสาร 766 บาท )โดยที่หากสามารถดำเนินการได้ตามขั้นตอน จะสามารถเปิดใช้งานได้ในปี 2571 หรืออีก 9 ปี โดยจะเริ่มก่อสร้างในปี 2567 เสร็จใน 4 ปี



อย่างไรก็ตามการจัดเวทีในครั้งนี้นอกจากเป็นการนำเสนอข้อมูลรายละเอียดของโครงการให้ประชาชนทราบแล้ว ข้อมูลที่ได้รับจากประชาชนที่เข้าร่วมเวทีครั้งนี้ ทางบริษัทที่ปรึกษาจะนำกลับไปปรับแก้ไขแบบโครงการ และจะนำข้อมูลที่ครบถ้วนมาชี้แจงต่อประชาชนในพื้นที่อีกครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 359, 360, 361 ... 542, 543, 544  Next
Page 360 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©