Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263480
ทั้งหมด:13574763
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 387, 388, 389 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 3:10 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
นายกฯ เตรียมลงนามรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา
เดลินิวส์ อังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 13.04 น.


พรุ่งนี้! นายกฯ เป็นประธานลงนาม 'รถไฟความเร็วสูง' ไทย-จีน สัญญา 2.3
อังคารที่ 27 ตุลาคม 2563

พรุ่งนี้! นายกฯ เตรียมเป็นประธานลงนาม "รถไฟความเร็วสูง" ความร่วมมือไทย-จีน สัญญา 2.3
เมื่อวันที่ 27 ต.ค.63 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จะเป็นประธานในพิธีการลงนามสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบ "รถไฟความเร็วสูง" เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นฐานะสักขีพยาน จัดขึ้นที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สัญญา 2.3 วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามร่วมกับ บริษัท ไซน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) โดยมีขอบเขตงาน คือการวางระบบรางระยะทาง 253 กิโลเมตร งานระบบ "รถไฟความเร็วสูง" ระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร งานจัดหาขบวนรถไฟ งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้ ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่


การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ
การเริ่มต้นงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี
การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน

น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือ "รถไฟความเร็วสูง" สูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ (บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวน "รถไฟความเร็วสูง" มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ซึ่งมีความก้าวหน้าร้อยละ 42 รวมถึงเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้าง 9 สัญญา อยู่ในกระบวนการหาผู้รับจ้างอีก 3 สัญญา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569

พรุ่งนี้ “ประยุทธ์” เซ็นสัญญาซื้อระบบรถไฟไทย-จีน 5 หมื่นล้าน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 09:08 น.
“รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน” วงเงิน 5 หมื่นล้าน ได้ฤกษ์ลงนามพรุ่งนี้"
วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 14:09 น.
นายกรัฐมนตรี เป็นประธานลงนามรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน วงเงิน 5 หมื่นล้าน ในวันที่ 28 ต.ค. นี้"


28 ต.ค. 63 คมนาคมเซ็นปิดดีล 5 หมื่นล้าน ซื้อระบบรถไฟความเร็วสูงจีนเดินหน้าโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-โคราช “ประยุทธ์” เป็นประธานในพิธี

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 28 ต.ค. 2563 เวลา 15.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหา ขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร สัญญา 2.3 ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กับบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล จำกัด และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์ปอเรชั่น รัฐวิสาหกิจจีน

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผยว่า ในวันที่ 28 ต.ค. 2563 นี้จะลงนามกับสาธารณรัฐประชาชนจีน หลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบปรับกรอบวงเงินและร่างข้อตกลงการจ้างและสัญญาที่ 2.3 ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะมาเป็นสักขีพยานในพิธีด้วย

ส่วนการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่าง รถไฟไทย-จีน (Joint Committee : JC) ครั้งที่ 29 ซึ่งมีกำหนดจะจัดในวันที่ 28 ต.ค.นี้ หลังมีการลงนามนั้น ตอนนี้ยังไม่ได้ข้อสรุปที่ชัดเจน

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สาระสำคัญของร่างสัญญา 2.3 ที่จะมีการลงนามนั้น เป็นสัญญาการจ้างรัฐวิสาหกิจซึ่งเป็นตัวแทนแห่งประเทศจีนที่มีประสบการณ์ตรงด้านการพัฒนารถไฟความเร็วสูงที่ได้รับการรับรองคุณภาพและประสิทธิภาพจาก National Development and Reform Commission แห่งประเทศจีน (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD. และ CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) มาเป็นผู้รับจ้างก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูง จัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร

ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่
1.การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ

2.การเริ่มต้นงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3.การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน

สำหรับแนวเส้นทางโครงการมีระยะทาง 253 กม. จะผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด มี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา

แบ่งเป็นการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา ช่วงกลางดง – ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ระยะทาง 11 กม. ที่เหลือเตรียมเซ็นสัญญา ใช้เงินก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท

โดยฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด และดําเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างงานโยธา และออกแบบและติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ระบบควบคุม การเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง และฝึกอบรมบุคลากร ทั้งนี้คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2569

เร่งไฮสปีด “ไทย-จีน” จ่อเซ็นรับเหมาระดมสร้างงานโยธา-28 ต.ค.ลงนามสัญญา 2.3 ซื้อระบบ 5 หมื่นล้าน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์

เผยแพร่: วันอังคารที่ 27 ตุลาคม 2563 เวลา 07:25


สผ.ปลดล็อก EIA ไฮสปีด “ไทย-จีน” รฟท.เตรียมพร้อมลงนามผู้รับเหมาลุยงานโยธา 10 สัญญา ขณะที่ ตัวแทนรัฐบาลไทย-จีนเตรียมลงนามสัญญา 2.3 “งานระบบ” วันที่ 28 ต.ค.นี้
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) มี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา (ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา) แล้วเมื่อวันที่ 22 ต.ค.ที่ผ่านมา ทำให้ รฟท.สามารถลงนามสัญญางานโยธากับผู้รับจ้างที่สรุปผลการประกวดราคาแล้วได้

ทั้งนี้ งานโยธาโครงการรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มีจำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท ซึ่งลงมือก่อสร้างไปแล้ว 2 สัญญา ที่เหลืออีก 12 สัญญานั้นดำเนินการประมูลและคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.อนุมัติผลประมูลแล้ว 10 สัญญา ซึ่งจะต้องตรวจสอบความพร้อมของร่างสัญญาเพื่อกำหนดการลงนามต่อไป

ส่วนสัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. อยู่ในขั้นตอนที่กรมบัญชีกลางกำลังพิจารณากรณีมีการยื่นอุทธรณ์ ขณะที่มีอีก 1 สัญญาที่ยังไม่ประมูล คือ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. รอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

ผู้ว่าฯ รฟท.กล่าวถึงแบบก่อสร้างสถานีพระนครศรีอยุธยาว่า ล่าสุดได้ข้อสรุปในการใช้แบบเดิม ซึ่งได้ตกลงร่วมกับกรมศิลปากรแล้ว ซึ่งเป็นแบบที่ได้ผ่าน EIA เรียบร้อยทำให้ไม่ติดปัญหาใดๆ ในการก่อสร้างเช่นกัน ทั้งนี้ สถานีพระนครศรีอยุธยาอยู่ในสัญญา 4-5 บ้านโพ-พระแก้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเป็นประธานในการลงนามงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) กรอบวงเงินสัญญาที่ 50,633.50 ล้านบาท ในวันที่ 28 ต.ค.นี้ ซึ่งจะทำให้การดำเนินโครงการถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทย-จีนเดินหน้าได้อย่างเต็มที่ หลังจากที่ผ่านมาต้องมีปัญหาอุปสรรคอย่างมาก จนต้องเลื่อนกำหนดเปิดให้บริการจากปี 2566 ไปเป็นปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 9:48 pm    Post subject: Reply with quote

เปิดสเปก “ฟู่ซิ่งเฮ่า” รถไฟความเร็วสูงเมดอินไชน่าปักหมุดไฮสปีด กทม.-โคราช
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 27 ตุลาคม 2563 - 17:27 น.

นับจากครั้งแรกวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ที่จับจอบขุดดินถมคันทางสร้างช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ณ มอหลักหิน เพื่อริเริ่มโครงการ

วันที่ 28 ต.ค. 2563 นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ ”พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง ”กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” โปรเจ็กต์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ร่วมแรง-ร่วมใจ พลักดันโครงการให้แจ้งเกิด โดยรัฐบาลประยุทธ์ทุ่มงบประมาณก่อสร้างเอง 179,412 ล้านบาท

หวังเชื่อมโยงหัวเมืองภูมิภาคของประเทศไทยไปสู่ สปป.ลาว และ จีน ภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative หรือ BRI จะเชื่อมภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ

ครั้งนี้ ”ประยุทธ์” เปิดทำเนียบจัดพิธีเซ็นสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากรที่ฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบ หลังฝ่ายไทยโดย ”คมนาคม” เจรจากับฝ่ายจีนอยู่หลายยกจนได้ข้อยุติร่วมกัน หลังกรอบวงเงินเพิ่มขึ้นจากเดิม 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.5 ล้านบาทและผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา



บนโต๊ะเจรจามีหลายประเด็น ทั้งสกุลเงินที่จะใช้ซื้อระบบจะมีทั้งสกุลดอลลาร์และเงินบาท เพื่อบาลานซ์ความเสี่ยงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต



นอกจากนี้ฝ่ายจีนยังขอเปลี่ยนระบบรถไฟความเร็วสูงใหม่ จาก CRG2G (Hexie Hao) หรือเรียกกันว่ารุ่น ”เหอเสีย” เป็น CR Series ( Fuxing Hao) หรือรุ่น “ฟู่ซิ่งเฮ่า”

ซึ่งฝ่ายจีนการันตีว่าเป็นระบบเทคโนโลยีทันสมัยและมีสมรรถนะที่ดีกว่า จึงทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นอีก 2,500 ล้านบาท รวมที่ฝ่ายไทยต้องซื้อ 6 ขบวน เป็นเงิน 7,010 ล้านบาท โดยจีนยอมลดราคาให้จากขบวนละ 1,200 ล้านบาท เหลือ 1,166 ล้านบาท

ทำไมถึงราคาแพงขึ้น ลองมาดูสเปกคร่าว ๆ ของรถไฟความเร็วสูง ”ฟู่ซิ่งเฮ่า” ผลิตโดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC) ออกแบบมีอายุใช้งาน 30 ปี ใน 1 ขบวนมีตู้รถไฟ 8 ตู้

แบ่งเป็นตู้สำหรับ Business Class 2 ตู้, Standard Class 4 ตู้, ตู้ธรรมดาที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก 1 ตู้ และตู้สำหรับรับประทานอาหาร 1 ตู้ โดยมีจำนวนที่นั่งรวม 594 ที่นั่ง แยกเป็น First Class 96 ที่นั่ง และ Standard Class 498 ที่นั่ง

ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งปรับปรุงระบบ traction Convertor ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 14.5%

ด้านระบบความปลอดภัย มีติดตั้งระบบวัดเสถียรภาพของตัวรถ จะตรวจวัดความสั่นสะเทือนทั้ง 3 แกน ได้แก่ Lateral, Vertical, Longitudinal แบบ Realtime และส่งสัญญาณผ่านระบบเครือข่ายเพื่อประมวลผลและแจ้ง เตือนเมื่อพบความสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเสถียรภาพของแคร่ และแจ้งเตือน เมื่อพบความผิดปกติ เช่น ความสั่นอุณหภูมิของเพลาล้อ เป็นต้น

เป็นครั้งแรกที่รถไฟความเร็วสูงจากจีนปักหมุดในประเทศไทยได้สำเร็จ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/10/2020 10:24 pm    Post subject: Reply with quote


การเพิ่มสถานีพระจอมเกล้า หรือหัวตะเข้ สำหรับรถไฟความเร็วสูสามสนามบินดูท่าจะจำเป็นจริงๆเสียแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=hVz2pkYp1oc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 10:27 am    Post subject: Reply with quote

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง ช่วงกทม.-หนองคาย วันนี้
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
พุธที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 06:01 น.


น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า วันนี้ (28 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ประธานในพิธีลงนามสัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร หรือสัญญา 2.3 ซึ่งจะพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เชื่อมกรุงเทพมหานคร-หนองคาย มูลค่าโครงการ 50,633 ล้านบาท


โดยระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย กรุงเทพฯ (บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา งบประมาณก่อสร้าง 179,412 ล้านบาท โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเป็นผู้ลงนามร่วมกับ บริษัท ไซน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น โดยคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 12:15 pm    Post subject: Reply with quote

มีข่าวว่าวันนี้ นายกจะเป็นประธาน การเซ็นสัญญา 2.3 งานระบบ รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วง กรุงเทพ (บางซื่อ) - โคราช ขอตะโกนดังๆว่า เซ็นแล้วโว้ยยยย!!!! เซ็นได้ซักทีโว้ยยยย!!!! ฮ่าๆ

ผมเลยขอเอารายละเอียดของงานสัญญา 2.3 เดิมมาให้อ่านไปพลางๆก่อน
เดี๋ยวตอนเย็นเอารายละเอียดของโครงการที่ได้รับการอนุมัติมาให้อ่านกันอีกทีครับ
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1057091428062669

“รถไฟไทย-จีน”ลงนาม สัญญา5หมื่นล้านวันนี้
28 ตุลาคม 2563
วันนี้ (28ต.ค.)“ประยุทธ์”เป็นประธานลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงตามความร่วมมือไทย-จีน มูลค่า 5หมื่นล้านเพื่อดำเนินการทั้งระบบราง จัดหาขบวนและจัดอบรมบุคลากร ในโครงการระยะแรก กรุงเทพฯ-โคราช ระยะทาง253 กิโลเมตร
นางสาวไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในวันนี้( 28 ต.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม จะเป็นประธานในพิธีการลงนามสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา)

โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) และผู้บริหารรัฐวิสาหกิจจีน โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมเป็นสักขีพยาน โดยพิธีลงนามจัดขึ้นที่ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล

สำหรับสัญญา 2.3 วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท โดยรฟท.ลงนามร่วมกับ บริษัท ไซน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) มีขอบเขตงาน คือการวางระบบรางระยะทาง 253 กิโลเมตร งานระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร งานจัดหาขบวนรถไฟ งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี


ทั้งนี้ ระยะเวลาเริ่มต้นของสัญญาแบ่งเป็น 3 ช่วง ได้แก่ 1.การเริ่มต้นงานออกแบบระบบรถไฟความเร็วสูง และออกแบบระบบต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนออกแบบขบวนรถไฟ 2.การเริ่มต้นงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และการถ่ายทอดเทคโนโลยี และ 3.การเริ่มต้นงานก่อสร้าง ติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล ระบบรถไฟความเร็วสูงที่เกี่ยวข้อง ระยะเวลาสิ้นสุดสัญญา 64 เดือน


นางสาวไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ(บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา

ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ซึ่งมีความก้าวหน้า42% รวมถึงเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้าง 9 สัญญา อยู่ในกระบวนการหาผู้รับจ้างอีก 3 สัญญา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริหารรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569


Last edited by Wisarut on 28/10/2020 7:04 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 3:14 pm    Post subject: Reply with quote

Live พิธีลงนาม "รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน" มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท
วันที่ 28 ตุลาคม 2563 เวลา 15:00 น.
"รับชม การถ่ายทอดสด พิธีลงนาม "รถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน" มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท จากทำเนียบรัฐบาล"

เวลา 15.00 น. ถ่ายทอดสดจากตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พิธีการลงนามสัญญางาน ระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) "โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน" หรือชื่ออย่างเป็นทางการคือ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา)

งานเซ็นสัญญาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ(บางซื่อ)-นครราชสีมา
สัญญาที่ 2.3 งานระบบราง ระบบรถไฟ อาณัติสัญญาณ ฝึกอบรม และถ่ายทอดเทคโนโลยี
ระหว่าง การรถไฟแห่งประเทศไทย กับ China Railway International และ China Railway Design Corporation
https://www.facebook.com/sod.mot/videos/1227957547588662/

Click on the image for full size


เปิดสเปก “ฟู่ซิ่งเฮ่า” รถไฟความเร็วสูงเมดอินไชน่าปักหมุดไฮสปีด กทม.-โคราช
อสังหาริมทรัพย์

วันที่ 27 ตุลาคม 2563 - 17:27 น.
Click on the image for full size

นับจากครั้งแรกวันที่ 21 ธ.ค. 2560 ที่จับจอบขุดดินถมคันทางสร้างช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ณ มอหลักหิน เพื่อริเริ่มโครงการ

วันที่ 28 ต.ค. 2563 นับเป็นครั้งที่ 2 ที่ ”พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทาง ”กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” โปรเจ็กต์ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ร่วมแรง-ร่วมใจ พลักดันโครงการให้แจ้งเกิด โดยรัฐบาลประยุทธ์ทุ่มงบประมาณก่อสร้างเอง 179,412 ล้านบาท

หวังเชื่อมโยงหัวเมืองภูมิภาคของประเทศไทยไปสู่ สปป.ลาว และ จีน ภายใต้ยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative หรือ BRI จะเชื่อมภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ

ครั้งนี้ ”ประยุทธ์” เปิดทำเนียบจัดพิธีเซ็นสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและฝึกอบรมบุคลากรที่ฝ่ายจีนเป็นผู้รับผิดชอบ หลังฝ่ายไทยโดย ”คมนาคม” เจรจากับฝ่ายจีนอยู่หลายยกจนได้ข้อยุติร่วมกัน หลังกรอบวงเงินเพิ่มขึ้นจากเดิม 38,558.38 ล้านบาท เป็น 50,633.5 ล้านบาทและผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 29 ก.ย. 2563 ที่ผ่านมา



บนโต๊ะเจรจามีหลายประเด็น ทั้งสกุลเงินที่จะใช้ซื้อระบบจะมีทั้งสกุลดอลลาร์และเงินบาท เพื่อบาลานซ์ความเสี่ยงการผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนในอนาคต



นอกจากนี้ฝ่ายจีนยังขอเปลี่ยนระบบรถไฟความเร็วสูงใหม่ จาก CRG2G (Hexie Hao) หรือเรียกกันว่ารุ่น ”เหอเสีย” เป็น CR Series ( Fuxing Hao) หรือรุ่น “ฟู่ซิ่งเฮ่า”

ซึ่งฝ่ายจีนการันตีว่าเป็นระบบเทคโนโลยีทันสมัยและมีสมรรถนะที่ดีกว่า จึงทำให้วงเงินเพิ่มขึ้นอีก 2,500 ล้านบาท รวมที่ฝ่ายไทยต้องซื้อ 6 ขบวน เป็นเงิน 7,010 ล้านบาท โดยจีนยอมลดราคาให้จากขบวนละ 1,200 ล้านบาท เหลือ 1,166 ล้านบาท

ทำไมถึงราคาแพงขึ้น ลองมาดูสเปกคร่าว ๆ ของรถไฟความเร็วสูง ”ฟู่ซิ่งเฮ่า” ผลิตโดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น คอร์ปอเรชั่น (CRCC) ออกแบบมีอายุใช้งาน 30 ปี ใน 1 ขบวนมีตู้รถไฟ 8 ตู้

แบ่งเป็นตู้สำหรับ Business Class 2 ตู้, Standard Class 4 ตู้, ตู้ธรรมดาที่ไม่มีสิ่งอำนวยความสะดวก 1 ตู้ และตู้สำหรับรับประทานอาหาร 1 ตู้ โดยมีจำนวนที่นั่งรวม 594 ที่นั่ง แยกเป็น First Class 96 ที่นั่ง และ Standard Class 498 ที่นั่ง

ขับเคลื่อนด้วยความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. โดยใช้พลังงานไฟฟ้าในการขับเคลื่อน ซึ่งปรับปรุงระบบ traction Convertor ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น จึงสามารถลดการใช้พลังงานไฟฟ้าได้ประมาณ 14.5%

ด้านระบบความปลอดภัย มีติดตั้งระบบวัดเสถียรภาพของตัวรถ จะตรวจวัดความสั่นสะเทือนทั้ง 3 แกน ได้แก่ Lateral, Vertical, Longitudinal แบบ Realtime และส่งสัญญาณผ่านระบบเครือข่ายเพื่อประมวลผลและแจ้ง เตือนเมื่อพบความสั่นสะเทือนที่ผิดปกติ และติดตั้งอุปกรณ์ตรวจวัดเสถียรภาพของแคร่ และแจ้งเตือน เมื่อพบความผิดปกติ เช่น ความสั่นอุณหภูมิของเพลาล้อ เป็นต้น

เป็นครั้งแรกที่รถไฟความเร็วสูงจากจีนปักหมุดในประเทศไทยได้สำเร็จ


จับตา นายกฯ เซ็นสัญญา "ไฮสปีดไทย-จีน" สัญญา 2.3 วันนี้
วันที่ 28 ตุลาคม 2563 - 07:30 น.

"รฟท.จับมือไชน่าเรลเวย์ ลงนามสัญญาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดไทย-จีน) ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จ่อทุ่มงบ 5 หมื่นล.จัดหาขบวนรถไฟ-เพิ่มบุคลากร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 5:02 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ เชื่อมั่นรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกทม.ถึงโคราช ช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานส่งเสริมเศรษฐกิจ

28 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:41 น.


28 ต.ค.63 - เมื่อเวลา 15.00 น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ภายหลังเสร็จสิ้น นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวสรุปสาระสำคัญ ดังนี้

นายกรัฐมนตรียืนยันรัฐบาลให้ความสำคัญกับโครงการความร่วมมือฯ นี้ เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญที่จะช่วยเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ และเป็นกลไกในการพัฒนาประเทศ และภูมิภาค โดยเฉพาะหัวเมืองหลักตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะสามารถต่อยอดและพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค เส้นทางนี้เปรียบเสมือนสายใยเชื่อมโยงไทยกับจีนให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นระหว่างกันในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อส่งเสริมความเจริญรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจ และความเชื่อมโยงทางคมนาคม ตลอดจนส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประชาชนกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น การลงนามนี้เป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีระหว่างกัน เชื่อมั่นว่าไทยจะนำองค์ความรู้มาสร้างสรรค์ให้เกิดประโยชน์ต่อประชาชน ประเทศ และภูมิภาคต่อไป


ในตอนท้าย นายกรัฐมนตรีขอบคุณกระทรวงคมนาคม การรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบโครงการ และบริษัทคู่สัญญาของโครงการ ตลอดจนผู้ปฏิบัติงานที่มีส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วน ที่ล้วนเป็น “กำลังสำคัญ” ในการผลักดันโครงการให้สำเร็จลุล่วงตามเป้าหมาย เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง โดยสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย เปรียบดังคำกล่าวที่ว่า “ถง ซิน เสีย ลี่, ซื่อ ซื่อ ซุ่น ลี่” หมายความว่า “น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น”
https://www.youtube.com/watch?v=MXrvjtH_7M8
https://www.youtube.com/watch?v=fPU7_C7DaRI


ลงนามแล้ว! รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน มูลค่า 5 หมื่นล้าน
แนะนำข่าวอสังหาริมทรัพย์

วันที่ 28 ตุลาคม 2563 - 17:32 น.

Click on the image for full size

วันที่ 28 ตุลาคม 2563 เพจไทยคู่ฟ้า รายงานว่า นายกรัฐมนตรีเป็นประธานพิธีลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล จัดหาขบวนรถไฟ และจัดฝึกอบรมบุคลากรของโครงการความร่วมมือระหว่างไทย – จีน (สัญญา 2.3) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท เพื่อพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ – หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ – นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กม.

ทั้งนี้โครงการรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา จะมีทั้งสิ้น 6 สถานี ได้แก่ กรุงเทพฯ (บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา โดยฝ่ายไทยจะลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง

“ขณะนี้อยู่ในระหว่างการก่อสร้างช่วงสีคิ้ว – กุดจิก ที่คืบหน้าไปแล้วกว่า 42% และคาดว่าโครงการนี้จะเปิดให้บริการเต็มรูปแบบได้ในปี 2569”

สำหรับเส้นทางรถไฟความเร็วสูงนี้ เป็นความมุ่งมั่นของรัฐบาลในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ เชื่อมโยงการเดินทางให้หัวเมืองหลักเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค และยังเป็นโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้พัฒนาเทคโนโลยีระหว่าง 2 ประเทศ เพื่อนำมาต่อยอดให้เกิดประโยชน์กับประชาชน ประเทศ และภูมิภาคต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 5:48 pm    Post subject: Reply with quote

ชาวบ้านยิ้ม!!ค่าเวนคืนไฮสปีด3สนามบิน6เท่าราคาประเมิน
*”คมนาคม”เตรียมชงขอเงินเพิ่มอีก 3 พันล้าน
*เริ่มจ่าย ม.ค.ปีหน้ามั่นใจส่งพื้นที่ครบ ส.ค.64
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2750227495198751
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 5:57 pm    Post subject: Reply with quote

พิธีลงนามสัญญางานขบวนรถไฟ ระบบไฟฟ้าและเครื่องกลและฝึกอบรมบุคลากรเดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ–นครราชสีมา คาดให้บริการได้ในปี 2568
กรมการขนส่งทางราง กระทรวงคมนาคม
28 ตุลาคม พ.ศ. 2563 เวลา 16:56 น.

วันนี้ (28 ต.ค. 63) เวลา 15.00 น. ณ ทำเนียบรัฐบาล นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม รักษาราชการแทนอธิบดีกรมการขนส่งทางราง พร้อมด้วยนายพิเชฐ คุณาธรรมรักษ์ รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ร่วมพิธีลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) โดยมีพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธี นายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้บริหาร บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) ผู้บริหาร บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) ซึ่งเป็นการลงนามระหว่างรัฐวิสาหกิจของไทยและจีน โดยมีแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน
รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศ โดยมีกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี และพยายามผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูง มิได้เป็นเพียงแต่เป็นทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ พัฒนาภูมิภาค โดยเฉพาะหัวเมืองหลักตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนควบคู่กันไป และในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ก็จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมยุคใหม่ ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ โดยได้ชื่นชมกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการ ที่ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม
การลงนามในวันนี้ เป็นการลงนามในสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์แนชันนัล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) และ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชัน (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) รัฐวิสาหกิจของจีน ในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐ (G to G) ซึ่งมีขอบเขตงานได้แก่ งานวางระบบราง ระยะทาง 253 กิโลเมตร งานระบบรถไฟความเร็วสูง ระบบไฟฟ้า ระบบอาณัติสัญญาณ ระบบสื่อสาร งานจัดหาขบวนรถไฟ งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี ทั้งนี้สัญญา 2.3 มีวงเงิน 50,633.5 ล้านบาท ซึ่งยังอยู่ในกรอบวงเงินรวมของโครงการ 179,412.21 ล้านบาท
สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร – หนองคาย แบ่งการดำเนินงานเป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา มีแนวเส้นทางโครงการผ่าน 5 จังหวัด มี 6 สถานี
คือ สถานีกลางบางซื่อ ผ่านสถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ซึ่ง 4 สถานีหลังเป็นสถานีรถไฟความเร็วสูงที่ก่อสร้างใหม่ในโครงการนี้ รวมระยะทาง 253 กิโลเมตร
โดยแบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือสัญญา 1-1 ช่วงกลางดง – ปางอโศก อยู่ระหว่างการก่อสร้าง 1 สัญญา คือสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก และเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้างอีก 9 สัญญา มีกรอบวงเงินรวมของโครงการ 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยรับภาระการลงทุนโครงการทั้งหมด และดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบออกแบบ และติดตั้งงานระบบราง ระบบไฟฟ้าเครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถ จัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง
และฝึกอบรมบุคลากร และระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง 354.5 กิโลเมตร เชื่อมไทย-ลาว-จีน อยู่ระหว่างการออกแบบรายละเอียดโดยฝ่ายไทยทั้งหมด ทั้งนี้ โครงการระยะที่ 1 รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2560 และ 30 พฤศจิกายน 2560 ส่วนรายละเอียดที่เปลี่ยนแปลงได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เมื่อวันที่ 22 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา
นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมจะเสนอการจัดตั้งสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบราง (องค์การมหาชน) เข้าสู่การพิจารณาคณะรัฐมนตรี โดยมีเป้าหมายในอนาคตเมื่อมีสถาบันวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีระบบรางแล้ว จะทำให้ประเทศไทยมีผู้เชี่ยวชาญระบบรางมากขึ้น มีองค์ความรู้ เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดให้คนไทยมีความสามารถในการออกแบบ ผลิตชิ้นส่วน ประกอบ และซ่อมบำรุงระบบราง เกิดงานวิจัย นวัตกรรม เทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมระบบรางของไทยเทียบเท่าชั้นมาตรฐานระดับสากล อันนำไปสู่การใช้วัสดุภายในประเทศ ส่งเสริมอุตสาหกรรมระบบรางไทย คิดเป็นมูลค่าเพิ่มในประเทศ 21,600 ล้านบาท และเกิดการจ้างงานอีกกว่า 6,000 ล้านบาทต่อปี ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ ตามนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จและคาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2568 จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กระจายรายได้ นำความเจริญสู่ท้องถิ่นตลอดแนวเส้นทางโครงการ นอกจากนี้ยังทำให้บุคลากรของประเทศไทยได้รับความรู้และเทคโนโลยีระบบรางจากจีน ต่อยอดองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต และยังเป็นการเปิดเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงไทย จีน และเอเชียให้เป็นหนึ่งเดียวอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2020 6:54 pm    Post subject: Reply with quote

นายกรัฐมนตรี เป็นประธานพิธีลงนามสัญญาจ้าง
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๗.๔๙ น.

งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา)
วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๕๖๓ เวลา ๑๕.๐๐ น. ณ ตึกภักดีบดินทร์ ทำเนียบรัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา ๒.๓) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล โดย Mr. Gao Feng (เกา เฟิง) ซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น โดย Mr. Ma Shengshuang (หม่า เซิ่งซวง) (THE CONSORTIUM OF CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD. AND CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) โดยมีนายอนุทิน ชาญวีรกุล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พลเอก อนุพงษ์ เผ่าจินดา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ผู้แทนสาธารณรัฐประชาชนจีน ผู้บริหาร บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) ผู้บริหาร บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) แขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยานในการลงนามสัญญาระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทยและรัฐวิสาหกิจของจีน
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า รัฐบาลให้ความสำคัญในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมและขนส่งของประเทศ โดยกำหนดไว้ในแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ ๒๐ ปี และพยายามผลักดันให้เกิดโครงการรถไฟความเร็วสูงเพื่อการพัฒนาประเทศอย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพัฒนารถไฟความเร็วสูง มิได้เป็นเพียงแค่ทางเลือกในการเดินทางที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยสำหรับประชาชนเท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาประเทศ พัฒนาภูมิภาค โดยเฉพาะหัวเมืองหลักตามแนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจะพัฒนาเป็นเมืองศูนย์กลางของภูมิภาค โดยรัฐบาลตั้งเป้าหมายที่จะเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ และยกระดับคุณภาพชีวิตของพี่น้องประชาชนควบคู่กันไป และในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ยังเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทาง สายไหมยุคใหม่ ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ ผมขอชื่นชมกระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย ในฐานะหน่วยงานเจ้าของโครงการที่ได้เร่งรัดการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงให้มีความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การลงนามในวันนี้เป็นการลงนามในสัญญา ๒.๓ งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร โดยการรถไฟแห่งประเทศไทย ลงนามจ้าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ อินเตอร์เนชั่นแนล (CHINA RAILWAY INTERNATIONAL CO., LTD.) ซึ่งเป็นกิจการค้าร่วมกับ บริษัท ไชน่า เรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น (CHINA RAILWAY DESIGN CORPORATION) รัฐวิสาหกิจของจีนในลักษณะความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ (G to G) ซึ่งมีขอบเขตงาน ระยะทาง ๒๕๓ กิโลเมตร งานวางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และจัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง (สามารถทำความเร็ว ๒๕๐ กิโลเมตร/ชั่วโมง) งานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุง และงานถ่ายทอดเทคโนโลยี สัญญา ๒.๓ มีวงเงิน ๕๐,๖๓๓.๕๐ ล้านบาท ภายใต้กรอบวงเงินรวมของโครงการ ๑๗๙,๔๑๒.๒๑ ล้านบาท
นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย กล่าวว่าสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพมหานคร – หนองคาย แบ่งการดำเนินงานเป็น ๒ ระยะ ได้แก่ ระยะที่ ๑ ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา มีสถานีรถไฟความเร็วสูง ๖ สถานี คือ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา รวมระยะทาง ๒๕๓ กิโลเมตร โดยแบ่งการก่อสร้างงานโยธาออกเป็น ๑๔ สัญญา
ปัจจุบันก่อสร้างแล้วเสร็จ ๑ สัญญา โดยกรมทางหลวง (สัญญา ๑-๑ ช่วงกลางดง – ปางอโศก)
อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ๑ สัญญา (สัญญา ๒-๑ ช่วงสีคิ้ว – กุดจิก โดยมีความคืบหน้าร้อยละ ๔๒)
อยู่ระหว่างเตรียมลงนามในสัญญาก่อสร้างจำนวน ๙ สัญญา
(สัญญา ๓-๒ งานอุโมงค์ช่วงมวกเหล็ก – ลำตะคอง
สัญญา ๓-๓ ช่วงบันไดม้า – ลำตะคอง
สัญญา ๓-๔ ช่วงลำตะคอง – สีคิ้วและกุดจิก – โคกกรวด
สัญญา ๓-๕ ช่วงโคกกรวด – นครราชสีมา
สัญญา ๔-๒ ช่วงดอนเมือง – นวนคร
สัญญา ๔-๓ ช่วงนวนคร – บ้านโพ
สัญญา ๔-๕ ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว
สัญญา ๔-๖ ช่วงพระแก้ว – สระบุรี
สัญญา ๔-๗ ช่วงสระบุรี – แก่งคอย)

อยู่ในขั้นตอนการประกาศผลการประกวดราคา ๒ สัญญา
(สัญญา ๓-๑ ช่วงแก่งคอย–กลางดง และปางอโศก–บันไดม้า
สัญญา ๔-๔ ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย) และ

อยู่ระหว่างจัดเตรียมเอกสารประกวดราคาอีก ๑ สัญญา (สัญญา ๔-๑ ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง) โดยฝ่ายไทยเป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียด (Detailed Design) โดยเริ่มงานตั้งแต่ กันยายน ๒๕๖๐ และออกแบบแล้วเสร็จ (สัญญา ๒.๑) ฝ่ายจีนเป็นผู้ควบคุมงานก่อสร้างงานโยธา (Construction Supervision Consultant ) (สัญญา ๒.๒) และดำเนินการงานวางระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล และจัดหาขบวนรถไฟความเร็วสูง พร้อมทั้งงานฝึกอบรมบุคลากรเพื่อการเดินรถและซ่อมบำรุงที่ลงนามสัญญา ๒.๓ ในวันนี้
ทั้งนี้ โครงการช่วงที่ ๑ ได้เสนอขอความเห็นชอบการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แบ่งเป็น ช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.) เมื่อวันที่ ๖ กรกฎาคม ๒๕๖๐ ช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (คชก.) เมื่อวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๖๓ และผ่านความเห็นชอบจาก กก.วล. เมื่อวันที่ ๒๒ ตุลาคม ๒๕๖๓ ที่ผ่านมา
เมื่อโครงการนี้แล้วเสร็จและคาดว่าจะเริ่มเปิดให้บริการในปี ๒๕๖๘ จะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กระจายรายได้ นำความเจริญสู่ท้องถิ่นตลอดแนวเส้นทางโครงการ นอกจากนี้ยังทำให้บุคลากรของประเทศไทยได้รับความรู้และเทคโนโลยีระบบรางจากจีนต่อยอดองค์ความรู้ต่อไปในอนาคต โดยการรถไฟฯ อยู่ระหว่างดำเนินการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ระยะที่ ๒ ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย ระยะทาง ๓๕๔.๕ กิโลเมตร เชื่อมไทย-ลาว-จีน และหลังจากที่ก่อสร้างทั้ง ๒ ระยะแล้วเสร็จ ก็จะเป็นการเปิดเส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมโยงไทย จีน และเอเชียให้เป็นหนึ่งเดียวกัน


Last edited by Wisarut on 13/11/2020 2:31 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 387, 388, 389 ... 545, 546, 547  Next
Page 388 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©