RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264797
ทั้งหมด:13576080
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 394, 395, 396 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 11/12/2020 8:27 pm    Post subject: Reply with quote

ซีวิล ประกาศพร้อมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง
วีนที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 10:57 น.

‘ซีวิลเอนจีเนียริง’ ประกาศความพร้อมพัฒนาโครงการรถไฟความเร็วสูง ชูแนวคิด บริหารจัดการสมัยใหม่ ทีมบุคลากรและเทคโนโลยีก่อสร้าง ร่วมผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน

นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL เปิดเผยว่า บริษัทฯ รู้สึกเป็นเกียรติและมีความภาคภูมิใจที่ได้รับความไว้วางใจจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย เข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่1กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง 250.77 กิโลเมตร โดย CIVIL จะเข้าไปพัฒนาโครงการส่วนงานภายใต้สัญญา 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับรวม 12.99 กิโลเมตร งานสถานีสระบุรี ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง 1 แห่ง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับรถไฟฟ้าและงานรื้อย้ายต่างๆ รวมมูลค่างานก่อสร้างทั้งสิ้น 8,560 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน

CIVIL นำหลักบริหารจัดการสมัยใหม่ และฐานความรู้ที่ได้จากการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา สัญญาที่ 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ที่ปัจจุบันมีซีวิลกำลังก่อสร้างคืบหน้าไปกว่า 50% เข้ามาช่วยเสริมศักยภาพการดำเนินโครงการให้มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถส่งมอบงานทันกำหนด มีคุณภาพและความปลอดภัย โดยนำขีดความสามารถการดำเนินงานที่บริษัทฯ ซึ่งมีทีมบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญในงานวิศวกรรมโยธาครบวงจร มีเครื่องจักรและเทคโนโลยีการก่อสร้างที่ทันสมัย รวมถึงการมีโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง ได้แก่ โรงหล่อชิ้นส่วนคอนกรีตสำเร็จรูป คอนกรีตผสมเสร็จ โรงโม่ เป็นต้น ซึ่งตั้งอยู่ในจุดยุทธศาสตร์สำคัญในจังหวัดสระบุรี ห่างจากโครงการดังกล่าวเพียง 40 กิโลเมตร เพื่อสนับสนุนการพัฒนาโครงการนี้ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/12/2020 11:55 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้ารถไฟด่วนเชื่อมสามสนามบิน
https://www.youtube.com/watch?v=OhhlgNC9rjg


ความก้าวหน้ารถไฟไทยจีน
https://www.youtube.com/watch?v=7rmyEmS0syQ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2020 4:37 pm    Post subject: Reply with quote

{คลิปวีดีโอ} ความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-โคราช สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร ความคืบหน้า 44%
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure is feeling blessed.
13 ธันวาคม 2563 เวลา 12:31 น.



- ทางวิ่งระดับดินปรับพื้นดิน ใกล้สมบูรณ์ เตรียมวาง Top Layer แล้ว
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด กำลังก่อสร้างงานโยธา อาคาร คืบหน้าไปมาก
- ทางวิ่งยกระดับ ขุดเสาครบแล้ว บางส่วนหล่อเสร็จแล้วเตรียมวางคานทางวิ่ง
- เครื่องวางคานทางวิ่ง (Launcher) ประกอบเสร็จแล้ว ทั้ง 2 ชุด
* Luancher ด้านเหนือ ประกอบทางวิ่งช่วงเสาแรกเสร็จแล้วเตรียมวาง
* Luancher ด้านใต้ ประกอบเสร็จเตรียมเคลื่อนเข้าตำแหน่งประกอบคานทางวิ่ง
ปล. ไม่ต้องตกใจที่ขับเร็วนะครับ ผมเร่ง VDO จะได้ไม่ช้าไป
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากโพสต์หลังตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1092661761172302/?d=n
ลิ้งค์คลิปจาก YouTube
https://youtu.be/r-jkzgW-OO0
—————————
วันนี้พาเพื่อนไปชมความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง สายอีสาน กรุงเทพ-โคราช กันหน่อย
ช่วง สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร
แบ่งเป็นงาน
- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
ซึ่งจากรายงานล่าสุด ความคืบหน้าของโครงการช่วงนี้ เสร็จไปแล้ว 44%
—————————
เริ่มต้นขับรถมาจากทางสีคิ้ว
แล้วผ่านไหว้อนุสาวรีย์ รัชกาลที่ 5 ที่หลักศิลาจารึก ที่รัชกาลที่ 5 ทรงมาทอดพระเนตร การก่อสร้างรถไฟสานแรก กรุงเทพ-โคราช เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2443 หรือเมื่อกว่า 120 ปืที่แล้ว
จากนั้นเราก็มุ่งหน้า มาทางทิศใต้ของโครงการก่อสร้างงานโยธารถไฟความเร็วสูง สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก
ซึ่งก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
แบ่งเป็นงาน
- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
มูลค่าการก่อสร้างรวม 3,114 ล้านบาท
ด้านทิศใต้ของโครงการเป็นช่วงโครงสร้างระดับดิน ซึ่งจากที่สำรวจได้มีการทำฐานรากและถมคันดิน ไปแล้ว คืบหน้าพอสมควร
ส่วนใหญ่ มีการวางแผ่นกันน้ำ Geo Membrane และถมด้วยทรายแล้วบางส่วน
———
ใครยังไม่ได้อ่านวิธีก่อสร้างคันทางวิ่งระดับดินของรถไฟความเร็วสูง จากSite ทดลอง กลางดง-ปางอโศก เพื่อทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง และปรับวัสดุก่อสร้าง ให้เข้ากับวัตถุดิบภายในประเทศ รายละเอียดตามนี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo
———
ตรงต่อมาจากทางด้านทิศใต้ประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะเจออาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
ซึ่งจะมีย่านจอดรถไฟความเร็วสูง เพื่อซ่อมบำรุงเบา และจอดรอให้บริการ โดยตรงนี้จะเป็นอดีตสถานีโคกสะอาด ซึ่งมีการปรับลดให้เป็นที่หยุดรถ และเคลียร์พื้นที่ให้กับศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย
จากนั้น เดินทางขึ้นเหนือต่อไป อีกประมาณ 2 กิโลเมตร จะเจอเครื่องประกอบทางวิ่ง (Luancher) ตัวที่ 1 ซึ่งประกอบเรียบร้อยแล้ว เตรียมเข้าตำแหน่งเสาชุดแรก เพื่อประกอบคานทางวิ่งชุดแรก
ซึ่งเสาหลังจากจุดนี้ เสร็จสมบูรณ์ไปค่อนข้างมากแล้วพร้อมประกอบคานทางวิ่ง
หลังจากจุดนี้ไปก็จะมีเสาบางส่วนที่ทำฐานรากแล้วรอหล่อตัวเสา และบางส่วนหล่อเสาแล้ว แต่ยังไม่ได้หล่อหัวเสารับน้ำหนัก
ซึ่งทางยกระดับจะมุ่งหน้าไปเรื่อยๆ ผ่านเมืองสูงเนิน แล้วก็จดลมระดับลง หลังจากผ่านเมืองสูงเนินไปได้ประมาณ 1 กิโลเมตร
ที่ทางลาดปลายทางทิศเหนือ จะเจอเครื่องประกอบทางวิ่ง (Luancher) อีก 1 ตัว ซึ่งตัวนี้ได้เริ่มประกอบคานทางวิ่งช่วงเสาแรกแล้ว เตรียมวางเข้าตำแหน่ง
แล้วหลังจากจุดนี้ก็จะลงระดับดินต่ออีก ประมาณ 500 เมตร ก็สิ้นสุดเขตก่อสร้าง
—————————
ก่อนหน้านี้ พึ่งเซ็นสัญญางานโยธาทั้ง 5 สัญญาคือ
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
อย่างที่เห็นรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งานโยธาทั้งหมด ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระเบียบของไทยเราทั้งหมด ทำให้เอกชนในประเทศได้มีโอกาสรับงาน ไม่เหมือนกับโครงการที่จีนไปลงทุนก่อสร้างในประเทศอื่นๆ
ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่น่าสนใจทั้งการก่อสร้างตัวสถานี ทั้ง 3 สถานี เป็นพื้นที่ผ่านเขา โดยจะมีการทำอุโมงค์ และสะพานยาว เพื่อลดความชัน และรัศมีโค้งของทางรถไฟ
ซึ่งน่าจะเริ่มเข้าหน้างานในต้นปี 64
รายละเอียดตามลิ้งค์นี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1080880232350455/?d=n
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1093218334449978
https://www.youtube.com/watch?v=r-jkzgW-OO0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 16/12/2020 2:17 pm    Post subject: Reply with quote

ลงลึกรายละเอียด รถไฟความเร็วสูงไทย เร็วแค่ไหน ทำเลไหนบ้าง ราคาเท่าไร
12 ตุลาคม 2563

โครงการรถไฟความเร็วสูง EEC เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวทางเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบขนส่งมวลชนแอร์พอร์ตลิงก์ (ARL) ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) โดยมประกอบไปด้วยส่วนต่อขยาย 2 ช่วง จากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากช่วงสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินดอนเมือง เพื่อเชื่อมเข้าออกสนามบิน โดยรถไฟความเร็วสูง EEC ใช้เขตทางเดิมของการรถไฟแห่งประเทศไทย เป็นส่วนใหญ่ รวมระยะทางทั้งสิ้น 220 กิโลเมตร โดยมีผู้เดินรถเป็นรายเดียวกัน โดยรถไฟความเร็วสูง EEC มีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง เป็นรถไฟความเร็วสูง EEC ภายในระยะเวลาไม่เกิน 60 นาที ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูง จำนวน 9 สถานี ได้แก่

สถานีดอนเมือง (สถานีต้นทาง)
สถานีบางซื่อ (ชุมทางระบบขนส่งมวลชนทางราง สถานีกลางบางซื่อ)
สถานีพญาไท
สถานีราชปรารภ
สถานีมักกะสัน (สถานีหลักสำหรับ ซึ่งเป็น EEC Gateway พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนการให้บริการ และศูนย์ซ่อมบำรุง
สถานีรามคำแหง
สถานีหัวหมาก
สถานีบ้านทับช้าง
สถานีลาดกระบัง
รถไฟความเร็วสูงสถานีสนามบินนานาชาติสุวรรณภูมิ (จุดเริ่มต้นเส้นทางระหว่างรถไฟความเร็วสูง เมือง พื้นที่บริการเชื่อมสนามบินหลักและศูนย์ซ่อมบำรุง)
รถไฟความเร็วสูงสถานีฉะเชิงเทรา
รถไฟความเร็วสูงสถานีชลบุรี
รถไฟความเร็วสูงสถานีศรีราช (พัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนการให้บริการรถไฟ)
รถไฟความเร็วสูงสถานีพัทยา
รถไฟความเร็วสูงสถานีอู่ตะเภา (สนามบินหลักของประเทศแห่งที่ 3 และจุดสิ้นสุดเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ระหว่างเมือง)

สำหรับโครงสร้างทางวิ่งของโครงการรถไฟความเร็วสูง ประกอบไปด้วยทางวิ่งของโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ในปัจจุบัน ระยะทางประมาณ 29 กิโลเมตร และทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง ที่ต้องก่อสร้างใหม่ประมาณ 191 กิโลเมตร โดยเบื้องต้นมีการจำแนกลักษณะรูปแบบโครงการทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง ทั้งโครงการเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงแบบยกระดับระยะทางประมาณ 181 กิโลเมตร
ทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงแบบระดับดินระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
ทางวิ่งรถไฟความเร็วสูงแบบใต้ดินระยะทางประมาณ 8 กิโลเมตร

ระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา (รถไฟความเร็วสูง EEC)
เงินลงทุนค่าเวนคืนที่ดินเริ่มต้น 3,570.29 ล้านบาท
เงินลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาและงานวางราง (Civil and Track Works) เริ่มต้น 113,303.88 ล้านบาท
เงินลงทุนค่าก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงการสายสีแดง Missing Link เพื่อสร้างอุโมงค์ช่วงจิตรลดา และรถไฟความเร็วสูงสายเหนือและรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง เริ่มต้น 7,210.67 ล้านบาท
เงินลงทุนค่าระบบรถไฟฟ้า (M&E Works) เริ่มต้น 24,712 ล้านบาท
เงินลงทุนค่างานจัดหาตู้รถไฟความเร็วสูงเริ่มต้น 15,491.32 ล้านบาท
เงินลงทุนค่าวิศวกรที่ปรึกษารถไฟความเร็วสูง (ควบคุมงานก่อสร้าง และตรวจสอบอิสระ) เริ่มต้น 4,429.84 ล้านบาท
รวมเงินลงทุนระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา (รถไฟความเร็วสูง EEC) 168,718 ล้านบาท

การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟความเร็วสูง
เงินลงทุนบริเวณสถานีรถไฟแอร์พอร์ตลิงก์มักกะสันเริ่มต้น 40,193.26 ล้านบาท
เงินลงทุนบริเวณรถไฟความเร็วสูงสถานีศรีราชาเริ่มต้น 3,513.01 ล้านบาท
เงินลงทุนสาธารณูปโภค ทางเข้าออก และสะพานล้อเลื่อน เริ่มต้น 1,449 ล้านบาท
รวมมูลค่าโครงการทั้งหมดของ ระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา (รถไฟความเร็วสูง EEC)
ระบบขนส่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมท่าอากาศยานดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา (รถไฟความเร็วสูง EEC) เงินลงทุน 168,718 ล้านบาท
การพัฒนาพื้นที่เพื่อสนับสนุนบริการรถไฟความเร็วสูง เงินลงทุน 45,155.27 ล้านบาท
สิทธิการเดินรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 10,671.09 ล้านบาท
รวมเป็นเงินลงทุน 224,544.36 ล้านบาท


จำนวนสถานีรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช)
เส้นทางเริ่มต้นรถไฟความเร็วสูง โคราชที่สถานีกลางบางซื่อ โดยใช้รางร่วมกับรถไฟฟ้าสายสีแดงชานเมือง โดยในช่วงระยะที่ 1 รถไฟความเร็วสูง โคราชมีระยะทางประมาณ 252.3 กิโลเมตร ใช้ขนาดรางทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร ประกอบไปด้วย 6 สถานีสำหรับรถไฟความเร็วสูง โคราช และ 5 สถานีสำหรับ รถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย

สถานีกลางบางซื่อ คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการ 10,110 คนต่อวัน (จุดเริ่มต้นสถานี รถไฟความเร็วสูง โคราช)
สถานีดอนเมือง คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 3,210 คนต่อวัน
สถานีอยุธยา คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 1,000 คนต่อวัน
สถานีสระบุรี คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 680 คนต่อวัน
สถานีปากช่อง คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 110 คนต่อวัน
สถานีนครราชสีมา คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 210 คนต่อวัน (จุดสิ้นสุด รถไฟความเร็วสูง โคราช)
สถานีบัวใหญ่ คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 80 คนต่อวัน
สถานีบ้านไผ่ คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 70 คนต่อวัน
สถานีขอนแก่น คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 50 คนต่อวัน
สถานีอุดรธานี คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น 160 คนต่อวัน
สถานีหนองคาย คาดปริมาณผู้โดยสารปีแรกที่เปิดให้บริการเพิ่มขึ้น -คนต่อวัน (จุดสิ้นสุดสถานี รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ)

อัตราค่าโดยสารและแผนการเดินรถรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) เส้นทางกรุงเทพฯ – นครราชสีมา
อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) กรุงเทพฯ – ดอนเมือง 105 บาท
อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) กรุงเทพฯ – อยุธยา 195 บาท
อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) กรุงเทพฯ - สระบุรี 278 บาท
อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) กรุงเทพฯ - ปากช่อง 393 บาท
อัตราค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) กรุงเทพฯ - นครราชสีมา 535 บาท

ความเหมาะสมเบื้องต้นทางเศรษฐกิจของ รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ (รถไฟความเร็วสูง โคราช) และ รถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา – หนองคาย
รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง กรุงเทพฯ - นครราชสีมา ระยะทาง 256 กิโลเมตร เวลาเฉลี่ยการเดินทาง 1 ชั่วโมง 28 นาที เงินลงทุนเริ่มต้นรวม 96,826 ล้านบาท ราคาค่าโดยสารสูงสุด 410 บาทต่อเที่ยว ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ EIRR 17.44%
รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง กรุงเทพฯ - ขอนแก่น ระยะทาง 443 กิโลเมตร เวลาเฉลี่ยการเดินทาง 2 ชั่วโมง 22 นาที เงินลงทุนเริ่มต้นรวม 148,641 ล้านบาท ราคาค่าโดยสารสูงสุด 709 บาทต่อเที่ยว ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ EIRR 17.58%
รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง กรุงเทพฯ - หนองคาย ระยะทาง 615 กิโลเมตร เวลาเฉลี่ยการเดินทาง 3 ชั่วโมง 8 นาที เงินลงทุนเริ่มต้นรวม 201,449 ล้านบาท ราคาค่าโดยสารสูงสุด 984บาทต่อเที่ยว ความเหมาะสมทางเศรษฐกิจ EIRR 17.76%

พัฒนาย่านสถานีรถไฟความเร็วสูง เชิงพาณิชย์ สู่ความยั่งยืน
นอกจากการพัฒนาระบบการขนส่งทางรางแล้ว โครงการรถไฟความเร็วสูงนั้นยังมาพร้อมกับแนวทางการพัฒนาพื้นที่รถไฟความเร็วสูง เชิงพาณิชย์เพื่อความยั่งยืนของการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยแบ่งการพัฒนาที่ดินรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง เป็น 3 ประเภท คือ


1. การพัฒนาที่ดินรอบสถานีย่านรถไฟฟ้าชานเมือง - พัฒนาพื้นที่ย่านสถานีรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้มและสายสีแดงอ่อน จำนวน 7 สถานี รวมเนื้อที่กว่า 97 ไร่ โดยประกอบไปด้วย ย่านพาณิชยกรรม โรงแรม ที่พัก ร้านค้าปลีก สถานที่ทำงาน และศูนย์การเรียนรู้แบบครบวงจร

2. การพัฒนาที่ดินย่านสถานีรถไฟรางคู่ – โดยแบ่งการพัฒนาออกเป็น 2 ระยะ สำหรับระยะที่ 1 เป็นการพัฒนาพื้นที่จำนวน 13 สถานี ตามเส้นทางรถไฟทางคู่ 6 เส้นทาง และสำหรับการพัฒนาในระยะที่ 2 พัฒนาย่านสถานีเพิ่มขึ้นอีก 12 ย่านสถานี รวมการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีรถไฟทางคู่ทั้งหมด 25 สถานี

3. การพัฒนาที่ดินแปลงใหม่ศักยภาพสูงสู่การสร้างชุมชนใหม่ (New Community) - โดยเน้นการยกระดับศักยภาพที่ดินของการรถไฟแห่งประเทศไทยในบริเวณรอบสถานี 4 สถานี เพื่อการพัฒนาเชิงพาณิชยกรรม ประกอบไปด้วย 4 ทำเลทอง ได้แก่

ย่านสถานีกลางบางซื่อ (Bangsue Complex) พื้นที่การพัฒนากว่า 1,100 ไร่ ได้แก่ การพัฒนาเป็นศูนย์การค้า, พื้นที่อยู่อาศัย, ศูนย์การประชุมระดับนานาชาติระดับอารีนา, พื้นที่พาณิชยกรรมระดับประเทศ, ศูนย์กลางธุรกิจระดับประเทศ และสำนักงานของหน่วยงานราชการ ซึ่งจะมีการออกแบบเป็นตึกระฟ้าเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่
ย่านสถานีมักกะสัน พื้นที่การพัฒนาเนื้อที่กว่า 497 ไร่ เพื่อการพัฒนาให้เป็นพื้นที่เชิงพาณิชยกรรม สวนสาธารณะ และพิพิธภัณฑ์สำหรับระดับเมือง และมีพื้นที่ศูนย์ซ่อมบำรุง
โครงการพัฒนาสถานีย่านแม่น้ำ พื้นที่การพัฒนาจำนวน 277 ไร่ โดยพัฒนาเป็นพื้นที่พาณิชยกรรมและที่อยู่อาศัย แบ่งออกเป็น 5 โซน ได้แก่ Gateway Commercial Park, Iconic Marina, Cultural Promenade, Riverfront Residence และ Affordable Community เป็นต้น
โรงแรมรถไฟหัวหิน พื้นที่การพัฒนาถึง 72 ไร่ พัฒนาให้เป็นพื้นที่โรงแรมบังกะโล สำหรับจัดเลี้ยงและจัดประชุม โดยอนุรักษ์และปรับปรุงอาคารเดิม และสร้างอาคารใหม่พร้อมพื้นที่พาณิชยกรรม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 11:19 am    Post subject: Reply with quote

“รถไฟไทย-จีน” ลุ้นอนุฯ มรดกโลกเคาะศึกษาแบบสถานีอยุธยา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:09 น.

รฟท.ลุ้นมติคณะอนุฯ คุ้มครองมรดกโลกวันนี้ ศึกษาผลกระทบมรดกโลก แบบสถานีอยุธยา “รถไฟไทย-จีน” ควบคู่ไปพร้อมก่อสร้าง หวังลงนามผู้รับจ้างอีก 5 อีกสัญญา เร่งรัดก่อสร้าง หวั่นรอศึกษาจบต้องเลื่อนเปิดหวูดหลุดแผนปี 68

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า รฟท.ได้เตรียมรายงานวิเคราะห์ผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กม. ช่วงภาชี-นครราชสีมา ซึ่งมีประเด็นแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา นำเสนอที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 2/2563 ที่มี พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐในตรี เป็นประธาน ในวันนี้ (17 ธ.ค.)

ที่ผ่านมา รฟท.ได้มีการหารือร่วมกับกรมศิลปากร และคณะกรรมการมรดกโลก ซึ่งได้ข้อสรุปในการใช้แบบก่อสร้างเดิมซึ่งผ่าน EIA แล้ว ไม่มีการปรับแบบเพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อโครงสร้างสถาปัตยกรรม ของพื้นที่รอบสถานีที่ได้มีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกจากยูเนสโก แต่ทั้งนี้ คณะกรรมการมรดกโลก ให้ รฟท.ทำการศึกษาผลกระทบ กรณีที่จะมีต่อโบราณสถานเพิ่มเติมในรายงาน EIA ซึ่งเบื้องต้นคาดว่าใช้เวลาศึกษาประมาณ 3-4 เดือน

ทั้งนี้ เนื่องจากการศึกษาผลกระทบด้านมรดกโลกในการก่อสร้างโครงการรถไฟนั้นยังไม่เคยมีการดำเนินการมาก่อนทำให้ยังมีความไม่ชัดเจน เช่น ขั้นตอนและผู้มีอำนาจในการรับรองผลการศึกษา รวมถึงจะสามารถดำเนินการศึกษาเรื่องผลกระทบ คู่ขนานไปกับการก่อสร้างได้หรือไม่ ทั้งนี้เพื่อไม่ให้โครงการเกิดความล่าช้า เนื่องจากขณะนี้งานก่อสร้างจำนวน 5 สัญญา วงเงินประมาณ 4 .7 หมื่นล้านบาท ที่อยู่ในเส้นทางช่วงบางซื่อ-ภาชี ที่ได้ประมูลเสร็จแล้วแต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้

นอกจากนี้ยังมีเรื่องการเวนคืนและย้ายท่อก๊าซ ปตท. แนวเส้นทางช่วงดอนเมือง-รังสิตอีกด้วย ที่อาจจะส่งผลทำให้การก่อสร้างมีความล่าช้าออกไปได้ อย่างไรก็ตาม หากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีมติให้ รฟท.สามารถดำเนินการศึกษาผลกระทบด้านมรดกโลกควบคู่ไปกับการก่อสร้างได้ จะช่วยทำให้แผนงานก่อสร้างเป็นไปตามแผนมากขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. โดยมีงานโยธาจำนวน 14 สัญญา กรอบวงเงิน 117,914.08 ล้านบาท แผนเปิดให้บริการในปี 2568
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 11:23 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟเจรจา CP ขยายไฮสปีดระยอง 2 หมื่นล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:00 น.

“การรถไฟฯ” เจรจา “ซี.พี.” ลงทุนไฮสปีดอีอีซี “อู่ตะเภา-ระยอง” ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 2 หมื่นล้าน เผยสัญญาเปิดทางเอกชนรายเดิม เดินหน้าตามกระบวนการ PPP

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ขณะนี้ยังไม่มีแผนจะสร้างส่วนต่อขยายรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ต่อจากสถานีอู่ตะเภาไประยอง จันทบุรี ตราด ระยะทาง 190 กม. วงเงินลงทุนตลอดแนวเส้นทาง 101,728 ล้านบาท

เนื่องจากตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมให้เน้นที่โครงการส่วนแรกช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มี บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญาให้ก่อสร้างแล้วเสร็จตามแผนก่อน

“ต้องเร่งเคลียร์อุปสรรคของโครงการโดยเฉพาะการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ได้ภายในเดือน ต.ค. 2564”

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ระยะที่ 2 ส่วนต่อขยายจังหวัดระยอง-จันทบุรี-ตราด ขณะนี้สรุปผลการศึกษาแล้ว แต่เนื่องจากส่วนต่อขยายส่วนนี้ไม่เกิดความคุ้มค่าทั้งผลตอบแทนการลงทุนทางเศรษฐศาสตร์ (EIRR) และผลตอบแทนการลงทุนทางการเงิน (FIRR)

จะแบ่งพัฒนาเป็นเฟส เริ่มช่วงอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 20 กม. วงเงินลงทุน 20,510 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืนที่ดิน 1,837 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 471 ล้านบาท ค่างานโยธา 13,845 ล้านบาท ค่างานระบบ 2,025 ล้านบาท ซื้อขบวนรถ 2,332 ล้านบาทก่อน

“อาจจะเจรจากับกลุ่ม ซี.พี.ที่รับสัมปทานในระยะที่ 1 ก่อสร้างส่วนต่อขยายดังกล่าวเพิ่มอีก 20 กม. เพราะในสัญญาร่วมทุนทาง ซี.พี.ขอให้เจรจาเขาเป็นลำดับแรก”

ทั้งนี้จะประสานงานกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ในการดำเนินการเจรจา จะต้องเปิดประมูลใหม่หรือเจรจาร่วมกับสัมปทานเก่า อย่างไรก็ตาม คงต้องดูนโยบายของกระทรวงคมนาคมก่อนจะให้สร้างส่วนต่อขยายนี้อย่างไร หากกลุ่ม ซี.พี.ไม่เห็นด้วยก็อาจจะเปิดให้เอกชนร่วมลงทุน PPP net cost

“เป้าหมายจะให้ส่วนต่อขยายถึงระยอง ก่อสร้างและเปิดพร้อมกับช่วงแรกที่จะสร้างถึงสนามบินอู่ตะเภา ตอนนี้กำลังพิจารณาที่จะเจรจากับกลุ่ม ซี.พี. เพื่อให้ก่อสร้างช่วงดังกล่าวเพิ่มไปด้วย หาก ซี.พี.ไม่สนใจ คงจะต้องพิจารณาช่องทางเปิด PPP แต่จะต้องดูความคืบหน้าการก่อสร้างของส่วนแรกก่อนว่าคืบหน้าไปแค่ไหน จึงจะหารือและเสนอให้บอร์ดรถไฟพิจารณาเปิด PPP จะต่อไปถึงระยองอีกครั้ง”

สำหรับผลการศึกษาทั้งโครงการ ใช้เงินลงทุน 122,238 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 14,836 ล้านบาท ค่าจ้างที่ปรึกษา 3,300 ล้านบาท ค่างานโยธา 82,339 ล้านบาท งานระบบ 14,113 ล้านบาท และซื้อขบวนรถ 6,996 ล้านบาท แบ่งสร้าง 4 เฟส ระยะแรกสนามบินอู่ตะเภา-ระยอง ระยะทาง 20 กม. วงเงิน 20,510 ล้านบาท

ส่วนเฟสที่ 2 ช่วงระยอง-แกลง เงินลงทุน 40,951 ล้านบาท

เฟสที่ 3 ระยอง-จันทบุรี เงินลงทุน 71,013 ล้านบาท และ

เฟสที่ 4 จันทบุรี-ตราด เงินลงทุน 101,728 ล้านบาท ลงทุนรูปแบบ PPP net cost สัมปทาน 30-50 ปี มี 3 ทางเลือก

1.เอกชนลงทุนทั้งหมด ทั้งงานโยธา ระบบ ขบวนรถ บริหารเดินรถ และซ่อมบำรุง รัฐจัดหาที่ดิน
2.เอกชนดำเนินงานเฉพาะงานระบบและตัวรถ บริหารเดินรถและซ่อมบำรุง รัฐเป็นผู้จัดหาที่ดินและงานโยธา และ
3.เอกชนเป็นผู้ดำเนินการเฉพาะบริหารงานเดินรถและซ่อมบำรุง รัฐเป็นผู้จัดหาที่ดิน งานโยธา ระบบ และขบวนรถ

แนวเส้นทางมีจุดเริ่มต้นเชื่อมต่อจากรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน บริเวณฝั่งตะวันออกของสนามบินอู่ตะเภาผ่านสถานีรถไฟบ้านฉาง เข้าสู่สถานีระยอง ตั้งอยู่บนถนน 3574 ระยอง-บ้านค่าย ห่างจากสี่แยกเกาะลอย 3 กม. จากนั้นมุ่งหน้าสู่อำเภอแกลง เข้าสู่สถานีแกลง ตั้งอยู่บนถนน 344 ชลบุรี-แกลง ห่างสามแยกแกลง 2 กม.

จากนั้นวิ่งตามแนวรถไฟทางคู่ช่วงมาบตาพุด-บ้านฉางบางช่วง ผ่าน อ.นายายอาม อ.ท่าใหม่ เข้าสู่สถานีจันทบุรี ตั้งอยู่แยกเขาไร่ยา ผ่าน อ.เมืองจันทบุรี อ.มะขาม อ.ขลุง จ.จันทบุรี เข้า อ.เขาสมิง สิ้นสุดโครงการบริเวณสถานีตราด ตั้งอยู่ฝั่งตรงข้ามกับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค บนถนนสายสุขุมวิท ห่างสามแยกตราด 2 กม. รวมระยะทาง 190 กม.

ทั้งนี้มีปรับแนวใหม่ช่วงพาดผ่านนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดให้ฉีกไปทางบ้านฉางตรงไปยังถนนสาย 36 และปรับตำแหน่งสถานีระยองจากเดิมติดศูนย์การค้าเซ็นทรัล จะอยู่ห่างออกไป 2-3 กม. โดยจะต้องขออนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 17/12/2020 4:51 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“รถไฟไทย-จีน” ลุ้นอนุฯ มรดกโลกเคาะศึกษาแบบสถานีอยุธยา
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 08:09 น.


พล.อ.ประวิตร ประชุม คกก. เร่งผลักดัน แก่งกระจาน/เมืองศรีเทพ เป็นมรดกโลก มุ่งอนุรักษ์ธรรมชาติ/วัฒนธรรม สร้างชื่อเสียง/ความภาคภูมิใจ ดึงดูดนักท่องเที่ยว ภายหลังโควิด-19 ภายใต้นโยบายกระตุ้น ศก. ของรัฐบาล
สำนักประชาสัมพันธ์เขต 4 กรมประชาสัมพันธ์
เผยแพร่: วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 12:36 น.

เมื่อ 17 ธ.ค.63 พล.ต.พัชร์ชศักดิ์ ปฏิรูปานนท์ ผช.โฆษกประจำรอง นรม. เปิดเผยว่า วันนี้เวลา10.00น. พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รอง นรม. ได้เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการแห่งชาติ ว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 2/2563 โดยมี นายวราวุธ ศิลปอาชา รมว.ทส. และ นายอิทธิพล คุณปลื้ม รมว.วธ. เข้าร่วมประชุม ณ ห้องประชุมอารีย์สัมพันธ์ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
ที่ประชุม ได้รับทราบ การเปิดประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่44 ที่จะจัดขึ้นในห้วงเดือน มิ.ย.-ก.ค.64 โดยจะมีการขอขึ้นทะเบียนพื้นที่กลุ่มป่าแก่งกระจาน เป็นแหล่งมรดกโลก ทางธรรมชาติ ของประเทศไทย ซึ่งได้มีการบรรจุในวาระการประชุมไว้ด้วยแล้ว ทั้งนี้ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้เชิญ สหภาพสากลว่าด้วยการอนุรักษ์ (IUCN) เข้าสำรวจพื้นที่ และให้คำแนะนำในช่วงเดือน ก.พ.-มี.ค.64 จากนั้นได้รับทราบ ผลการประชุมคณะกรรมการมรดกโลก สมัยสามัญ ครั้งที่43 (พ.ศ.2562) ให้ประเทศไทยส่งเอกสารรายงานสถานภาพ การอนุรักษ์แหล่งมรดกโลก นครประวัติศาสตร์ พระนครศรีอยุธยา รวมถึง ได้รับทราบ รายงานการจัดกิจกรรม โดยมีผู้แทนสถานเอกอัครราชทูต รัฐภาคีสมาชิก ในคณะกรรมการมรดกโลก ที่ประจำอยู่ในประเทศไทย ทั้งหมด 8 ประเทศ ณ อุทยานแห่งชาติกุยบุรี และแก่งกระจาน ซึ่งมีความเห็นโดยสรุปของผู้เข้าร่วมกิจกรรม ที่มีความพึงพอใจระดับดีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 85
ทั้งนี้ คณะกรรมการฯ ได้มีการพิจารณาเรื่องสำคัญ ได้แก่ การดำเนินงาน การก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง จ.อยุธยาโดยมีมติมอบให้กระทรวงคมนาคม ทำการศึกษา และรายงานผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก(HIA) และผลกระทบต่อคุณค่าความโดดเด่นอันเป็นสากล(OUV) พร้อมทั้งให้มีการประสานงานร่วมกับกรมศิลปากร และ กต.อย่างใกล้ชิด. รวมทั้งเห็นชอบให้จัดทำร่างเอกสาร การนำเสนอ แหล่งมรดกทางวัฒนธรรม เมืองโบราณศรีเทพ ให้เป็นมรดกโลก ของประเทศไทย เพิ่มอีกหนึ่งแห่งด้วย
พล.อ.ประวิตร ได้กำชับ ทส.ให้ประสานงานร่วมกับ วธ.,กต. และกรมศิลปากรในการดำเนินงาน เพื่อผลักดันการขอขึ้นทะเบียน กลุ่มป่าแก่งกระจาน และเมืองโบราณศรีเทพ ให้เป็นมรดกโลกให้ได้ ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ พร้อมเน้นย้ำ คค. เรื่องการก่อสร้างสถานีรถไฟฟ้า ความเร็วสูง จ.อยุธยา จะต้องศึกษา อย่างจริงจัง/เร่งด่วน และต้องไม่ส่งผลกระทบ ต่อสิ่งแวดล้อม และต่อแหล่งมรดกโลก โดยเด็ดขาด

ผวาสร้างรถไฟความเร็วสูง กระทบมรดกโลก 'อยุธยา'
https://www.thebangkokinsight.com/504808/
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 21/12/2020 8:17 pm    Post subject: Reply with quote

ดึงสปก.7หมื่นไร่ ปั้นเมืองใหม่EEC ชงกพอ.ไฟเขียว3ตำบล จ.ชลบุรี
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:09:15 น.

พลิกที่สปก.-ไร่มันสำปะหลังชลบุรี ปั้นเมืองใหม่อีอีซี 7 หมื่นไร่ รับซีพีปรับสถานีจากพัทยามาห้วยใหญ่ สกพอ.โฟกัสพื้นที่ 3 ตำบล “โป่ง-ห้วยใหญ่-เขาไม้แก้ว” ของอำเภอบางละมุง จ่อดันเข้า กพอ. 18 ธ.ค.นี้ หรืออย่างช้า ม.ค.64 ประเดิม 7 พันไร่ ผุดสมาร์ทซิตี้"

แหล่งข่าวจาก สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก(สกพอ.) ยืนยันว่าการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจอีอีซี อยู่ระหว่างเร่งรัดเดินหน้าตามแผนที่วางไว้ โดยเฉพาะ เมืองใหม่อัจฉริยะ 7หมื่นไร่ครอบคลุม 3 ตำบล ได้แก่ ตำบล โป่ง ,ตำบลห้วยใหญ่ และ ตำบลเขาไม้แก้ว อำเภอบางละมุงจังหวัดชลบุรี เพื่อรองรับคนที่จะเข้ามาอยู่ในอนาคต 10-20ปีข้างหน้า โดยเฟสแรก มีเป้าหมายพัฒนา 7,000 ไร่

ล่าสุดช่วงเดือนที่ผ่านมาทีมงานได้เปิดรับฟังความคิดเห็นประชาชน นักลงทุนในพื้นที่ กรณีการจัดโซนพัฒนาเมืองใหม่ ให้สอดรับกับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานรัฐ โครงการรถไฟความเร็วสูง สนามบินอู่ตะเภาและมหานครการบิน ภาคตะวันออก ส่วนการย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูง จากพัทยามาที่ตำบลห้วยใหญ่ บางละมุงนั้นขณะนี้สกพอ.ยังรอคำตอบจาก เอกชนผู้รับสัมปทาน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2020 9:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ดึงสปก.7หมื่นไร่ ปั้นเมืองใหม่EEC ชงกพอ.ไฟเขียว3ตำบล จ.ชลบุรี
วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2563 เวลา 09:09:15 น.


ปั้นเมืองใหม่ –ย้ายสถานีไฮสปีด นักเก็งกำไรป่วน!
วันอังคารที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 04:05:26 น.

ชาวบ้านอีอีซีกระอัก- นักเก็งกำไร–ดีเวลอปเปอร์ป่วน สกพอ.พลิกแผน ใช้ที่ดินส.ป.ก. ตั้งเมืองใหม่ 7 หมื่นไร่ ชี้ ต้นทุนต่ำ รวมแปลงง่าย จ่อดึงเอกชนรายใหญ่ร่วมทุนพีพีพี เผยย้ายสถานีไฮสปีด ออกนอกเมือง ดีกว่าแออัดที่พัทยา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 22/12/2020 5:28 pm    Post subject: Reply with quote

ทุ่ม 2.5 แสนล้าน ลุยไฮสปีด “โคราช-หนองคาย” เชื่อมลาว-จีน ตอกเข็มปี’65
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 22 ธันวาคม 2563 - 13:33 น.

ได้ฤกษ์!!ปีหน้าประมูลรถไฟไฮสปีด “โคราช-หนองคาย” 2.5 แสนล้าน
ข่าวนวัตกรรมขนส่ง เดลินิวส์
วันที่ 22 ธันวาคม 2563 - 14:23 น.



*รฟท.เตรียมชงออกกฎหมายเวนคืนที่ดิน 356 กม. เริ่มก่อสร้างปี 65 เปิดบริการปี 72 นั่งฟินแค่ 3 ชม.

ร.ฟ.ท. เดินเครื่องรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคราช-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. ลงทุน 2.5 แสนล้าน เชื่อมต่อไทย-ลาว-จีน หนุนเศรษฐกิจสู่ภาคอีสาน ปีหน้าสำรวจเวนคืน ตอกเข็มปี’65 เสร็จปี’72 ใช้เวลาเดินทาง กทม.-หนองคาย 3 ชั่วโมง 15 นาที

วันที่ 22 ธันวาคม 2563 เวลา 09.00 น. ณ ห้องสุรนารี บอลรูม โรงแรม ดิ อิมพีเรียล โฮเทล แอนด์ คอนเวนชั่น เซ็นเตอร์ โคราช จังหวัดนครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานเปิดการประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 2 โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย)

เพื่อนำเสนอผลการศึกษาของโครงการ ผลการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์กรธุรกิจเอกชน และภาคประชาชน เข้าร่วมการประชุม



การประชุมครั้งนี้ ได้นำเสนอผลสรุปการศึกษาของโครงการ ตั้งแต่การก่อสร้างที่กำหนดเป็นทางรถไฟระดับพื้นระยะทาง 185 กม. และเป็นทางรถไฟยกระดับระยะทาง 171 กม.รวมระยะทางประมาณ 356 กส. มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 250,000 ล้านบาท


มี 5 สถานี ประกอบด้วย สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง บริเวณสถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุงที่เชียงรากน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา และที่นาทา จ.หนองคาย

พร้อมด้วยหน่วยซ่อมบำรุงทาง 4 แห่ง ที่สถานีบ้านมะค่า จ.นครราชสีมา สถานีหนองเม็ก จ.ขอนแก่น สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี และสถานีนาทา จ.หนองคาย มีจุดย่านกองเก็บตู้สินค้า (Container Yard) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่ง ที่นาทา จ.หนองคาย ใช้ความเร็วสูงสุดในการเดินรถ 250 กม./ชั่วโมง ส่งผลให้การเดินทางจากกรุงเทพมหานครถึงหนองคายใช้เวลา 3 ชั่วโมง 15 นาที

สำหรับรูปแบบการแก้ปัญหาจุดตัดทางรถไฟ ได้กำหนดให้มีการแก้ไขปัญหาจุดตัดเสมอระดับทางรถไฟ เพื่อความปลอดภัยในการเดินรถ โดยมี 5 รูปแบบ คือ สะพานรถไฟ จำนวน 120 แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับทางหลวงแผ่นดินสายหลักที่มีปริมาณการจราจรบริเวณจุดตัดค่อนสูง เพื่อแก้ปัญหาจุดตัดในเขตเมืองที่มีถนนสายหลักและสายรองตัดผ่านในระยะห่างใกล้กันหลายแห่ง

สะพานรถยนต์ จำนวน 25 แห่ง ใช้ในกรณีที่จุดตัดถนนสายหลักมีปริมาณการจราจรค่อนข้างมาก และมีเขตทางเพียงพอ

สะพานกลับรถรูปตัวยู จำนวน 23 แห่ง ใช้ในกรณีตัดกับถนนที่มีปริมาณจราจรน้อย มีอุปสรรคสิ่งกีดขวางทั้งสองด้าน เขตทางไม่พอให้สามารถออกแบบมาตรฐานในลักษณะทางตรงได้

ทางลอดรถไฟ จำนวน 84 แห่ง ใช้ในกรณีที่เป็นจุดตัดทางรถไฟกับถนนลำลองที่มีปริมาณการจราจรต่ำ บริเวณพื้นที่เกษตรกรรมสองข้างทางรถไฟ

และทางบริการ จำนวน 3 แห่ง ใช้บริเวณที่แนวเส้นทางรถไฟตัดผ่านถนนท้องถิ่นหลาย ๆ สาย โดยเชื่อมถนนท้องถิ่นเข้าด้วยกัน แล้วก่อสร้างทางลอดหรือทางข้ามเพียงจุดเดียว

ด้านผลการศึกษาวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาเฉพาะช่วงนครราชสีมา-หนองคาย พบว่ามีความเหมาะสมคุ้มค่าโดยคิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 11.24% ส่วนผลวิเคราะห์ความเหมาะสมการพัฒนาทั้ง 2 ระยะ (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) คิดเป็นผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) 12.10%

สำหรับแผนการดำเนินงานโครงการในระยะถัดไปภายหลังศึกษาโครงการนี้แล้วเสร็จการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะเริ่มดำเนินการขออนุมัติดำเนินโครงการ และออกร่างพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดิน ในปี 2564

จากนั้นจะดำเนินการประกวดราคา สำรวจรายละเอียดอสังหาริมทรัพย์ และเริ่มดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ในปี 2565 โดยจะใช้ระยะเวลาดำเนินการ 48 เดือน จากนั้นจึงเป็นงานติดตั้งระบบ โดยจะเริ่มดำเนินการในปี 2566 ใช้ระยะเวลาการดำเนินการ 66 เดือน คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ปี 2572
https://www.youtube.com/watch?v=SBuqDwtNxgQ


Last edited by Wisarut on 23/12/2020 7:08 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 394, 395, 396 ... 545, 546, 547  Next
Page 395 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©