RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269486
ทั้งหมด:13580773
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 401, 402, 403 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 3:18 pm    Post subject: Reply with quote

ขอคืนพื้นที่เช่าบางจุดสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง
16 กรกฎาคม 2563
รับฟังความเห็นรอบแรก “รถไฟความเร็วสูง” สถานีหันหน้าไปหนองบัว-เฉือนที่ดินเช่าบางส่วน-ยกระดับสามจุด

เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2563 นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี เป็นประธานเปิดเวที รับฟังความคิดเห็นประชาชน ครั้งที่ 1 โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วง กทม.-หนองคาย ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ที่ศูนย์ประชุมมลฑาทิพย์ฮอลล์ ทน.อุดรธานี มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ร่วมรับฟังคำชี้แจงจาก การรถไฟแห่งประเทศไทย และ 8 บริษัทที่ปรึกษา



นายนิรัตน์ พงษ์สิทธิถาวร ผวจ.อุดรธานี กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง กทม.-หนองคาย เป็นโครงการขนาดใหญ่มาก กำลังก่อสร้างในระยะแรก กทม.-นครราชสีมา ขณะระยะที่ 2 จะต้องมารับฟังความคิดเห็นประชาชน แน่นอนโครงการขนาดใหญ่ จะกระทบสิ่งแวดล้อม-สังคมอยู่บ้าง จึงเปิดโอกาสให้รับฟังความคิดเห็น เพื่อให้โครงการสร้างประโยชน์สูงสุด และเกิดผลกระทบน้อยที่สุด การประชุมครั้งนี้เป็นครั้งแรก และจะมีการประชุมกลุ่มย่อยอีก ขอให้ประชาชนเฝ้าติดตาม การศึกษาครั้งนี้ต่อเนื่อง



ทั้งนี้ที่ปรึกษาโครงการ ร่วมชี้แจงโครงการว่า ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ครอบคลุม 4 จังหวัด คือ นครราชสีมา ขอนแก่น อุดรธานี และหนองคาย ระยะทางราว 356 กม. มีสถานีรถไฟ 5 สถานี ได้แก่ บัวใหญ่ , บ้านไผ่ , ขอนแก่น , อุดรธานี , หนองคาย และมีสถานีขนถ่ายสินค้า 1 แห่ง สถานีรถไฟนาทา จ.หนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง 4 แห่ง ที่อุดรธานี อยู่ที่สถานีโนนสะอาด จ.อุดรธานี ขนาดราง 1.435 เมตร

รถไฟมีความเร็วสูงสุด 250 กม./ชม. ขบวนรถยาว 200 ม. จุดคนได้ 600 คน ระยะทางรวม 356 กม. มีจุดตัดทางรถไฟ 241 แห่ง จะก่อสร้างในรูปแบบ สะพานรถไฟ , สะพานรถยนต์ , สะพานกลับรถรูปตัวยู , ทางลอดทางรถไฟ และทางบริการ ขณะโครงการสร้างรถไฟเป็นแบบระดับดิน และยกระดับ โดยช่วงผ่านอุดรธานี จะยกระดับที่ สถานีกุมภวาปี , สถานีห้วยเกิ้ง และนครอุดรธานี ใช้เวลาการเดินทางจากกรุงเทพฯ-หนองคาย 3 ชม. 15 นาที



นอกจากนั้นรถไฟทางคู่(เดิม) จะอยู่ด้านซ้ายของขาขึ้น ส่วนรถไฟความเร็วสูง จะอยู่ด้านขวาของขาขึ้น ทั้งในส่วนของรางรถไฟ และสถานที ซึ่งสถานีอุดรธานียังอยู่บริเวณสถานีเดิม เป็นอาคารสถานี 3 ชั้น (หันหน้าไปหนองบัววังมัจฉา) , ลานจอดรถ พื้นที่พักคอย และพื้นที่ธุรกิจ ตัวชานชราจะอยู่ชั้น 3 มีทางเชื่อมกับอาคารรถไฟทางคู่ ทั้งนี้ขอบเขตการใช้พื้นที่ อยู่ในพื้นที่ของการรถไฟทั้งหมด โดยพื้นที่เช่าบางส่วนจำเป็นต้องขอคืน อาทิ ไพร์ม สแควร์(บางส่วน) และศาลเจ้าปู่ย่า (ประตู)

การออกแบบอาคารสถานีอุดรธานี อัตลักษณ์ท้องถิ่นสถาปัตยกรรมภายนอก ประกอบด้วย ฝาผนังเรือนบ้านอีสาน , ราวระเบียงพื้นบ้านอีสาน , ลวดลายหน้าบัน , เรือนไทยเสากลมพื้นถิ่น และลายผ้าทออีสาน ส่วนอัตลักษณ์ท้องถิ่นสถาปัตยกรรมภายใน ประกอบด้วย ลวดลายดินเผาบ้านเชียง , ลายผ้าทออีสาน , ผสมผสานแนวคิดหลัก คือ องค์ประกอบของสถาปัตยกรรมพื้นถิ่น

ข้อมูลที่ระบุเป็นข้อมูลเบื้องต้น อาจะมีการเปลี่ยนแปลง หลังจากมีการรับฟังความคิดเห็น ในกระบวนการการมีส่วนร่วม สามารถติดตามความคืบหน้า และรายละเอียดของโครงการฯ ได้ที่ www.hsrkorat-nongkhai.com หรือทางแฟนเพจ www.facebook.comhsrkorttononghai “โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย”
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 08/03/2021 3:34 pm    Post subject: Reply with quote

เทียบไทม์ไลน์ 2 ไฮสปีด รถไฟไทย-จีนสร้างฟันหลอ “CP” เปิดหน้าดิน ต.ค.
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 8 มีนาคม 2564 - 15:00 น.

Click on the image for full size

รีวิว 2 โปรเจ็กต์รถไฟความเร็วสูงประเทศไทย สายไทย-จีน กทม.-โคราช ร.ฟ.ท.เดินหน้าสร้างแบบฟันหลอ ติดปมมรดกโลก รอศาลปกครองพิพากษาร้องผลประมูล ออกหนังสือเริ่มงานเพิ่ม 4 สัญญาจากภาชี-โคราช ส่อลากยาวช่วงดอนเมือง-บางซื่อ จุดทับซ้อนไฮสปีด ซี.พี. เตรียมเซ็นปิดจ็อบ 4 สัญญา กว่า 3.6 หมื่นล้าน กัดฟันยืนเป้าเปิดปี’68 ส่วนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน รอ ครม.เคาะค่าเวนคืนเพิ่ม 2.1 พันล้าน เร่งส่งมอบเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ปีนี้ เร่งให้เสร็จ 5 ปี

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ภาพรวมของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท (รถไฟไทย-จีน) แบ่งสร้าง 14 สัญญา ขณะนี้ได้ผู้รับเหมาแล้ว 13 สัญญา ยังเหลือประมูลช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. กว่า 10,000 ล้านบาท รอปรับแบบร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินของกลุ่ม ซี.พี.

“ร.ฟ.ท.ต้องการจะนำงานมาสร้างเอง แต่ปลัดคมนาคมไม่อยากให้แก้ไขในสัญญาร่วมทุน เกี่ยวข้องกับเงินอุดหนุนโครงการ 117,227 ล้านบาท ที่รัฐจะต้องชำระคืน ซี.พี. การเดินหน้าก่อสร้างช่วงนี้จะดูว่าให้ ซี.พี.เข้ามาสร้างเลย หรือให้รถไฟไทย-จีนชะลอประมูล ต้องหารือจีนที่เตรียมงานด้านระบบ เพราะกว่า ซี.พี.จะเข้าพื้นที่ต้องรออีก 2 ปี”

ให้เริ่มงานอีก 4 สัญญา
ปัจจุบันสร้างช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม.เสร็จแล้ว เป็นงานถมคันดิน มีกรมทางหลวงเป็นผู้สร้าง ใช้เวลา 2 ปี 6 เดือน อยู่ระหว่างสร้างสัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก 11 กม. มี บจ.ซีวิลเอนจีเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง ยังช้า 56% ติดส่งมอบพื้นที่ รื้อย้ายระบบอาณัติสัญญาณรถไฟปัจจุบัน ล่าสุดได้ขยายสัญญาให้อีก 217 วัน ถึงวันที่ 26 พ.ค. 2564

สำหรับ 5 สัญญา วงเงิน 40,275.33 ล้านบาท ที่เซ็นเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2563 จะทยอยเริ่มงานในปีนี้ มีออกหนังสือให้เริ่มงาน 4 สัญญา จะใช้เวลา 1,080 วัน หรือ 3 ปี เป็นงานก่อสร้างตั้งแต่บ้านภาชี-โคราช

เมื่อวันที่ 26 ม.ค. 2564 ให้เริ่มงานสัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 37.45 กม. 9,848 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ก่อสร้าง และสัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.38 กม. 7,750 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้าง ร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย) เมื่อวันที่ 19 ก.พ. 2564 เริ่มงานสัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 21.6 กม. 9,838 ล้านบาท มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ ก่อสร้าง และสัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.99 กม. 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอนจีเนียริงก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง 12.23 กม.ของ บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ 4,279 ล้านบาท ติดขอใช้พื้นที่จากกรมป่าไม้ จะให้เริ่มงานได้วันที่ 19 เม.ย.นี้

“จะไม่มีขยายสัญญาก่อสร้าง ผู้รับเหมาต้องเร่งงานให้เสร็จ 3 ปี เพราะโครงการล่าช้ามานานแล้ว”


เร่งเซ็นอีก 4 สัญญา 3.6 หมื่น ล.
ขณะเดียวกัน เตรียมจะเซ็นงานอีก 4 สัญญา มูลค่า 36,153 ล้านบาท ได้แก่ สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร 21.8 กม.ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร 8,626.8 ล้านบาท สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. ของกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK บจ.ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.เนาวรัตน์ฯและ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) 11,525.36 ล้านบาท

สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ 6,573 ล้านบาท และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. ของ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 9,429 ล้านบาท จะเว้นสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ 9,913 ล้านบาท ยังติดเรื่องแบบสถานีอยุธยา จะใช้แบบเก่าของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผ่านการอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ต้องรายงานให้พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีรับทราบก่อน เพราะใช้อำนาจคณะกรรมการบริหารการพัฒนาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีนแก้ไขปัญหานี้

เดินหน้าสร้างแบบฟันหลอ
“รถไฟไทย-จีนเดินหน้าสร้างแบบฟันหลอ ช่วงไหนพร้อมก็ทำไปก่อน ซึ่งสัญญา 3-1 น่าจะนานรอศาลปกครองมีคำพิพากษา หลังอิตาเลียนไทยที่จับกับรับเหมาจีนร้องคุณสมบัติของผู้เสนอราคาต่ำสุด ยังไม่รู้ว่าจะยกเลิกประมูลใหม่หรือรอศาล ส่วนการเปิดบริการตอนนี้ยังคงเป้าไว้ในปี 2568 แต่ดูแนวโน้มไทม์ไลน์อาจจะขยับ ยังเหลือเวนคืนที่ยังไม่ได้เริ่มอีก”

สำหรับสัญญา 3-1 เป็นงานช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. มีกลุ่มบีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 9,330 ล้านบาท ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ล่าสุด ร.ฟ.ท.ชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินการจัดซื้อจัดจ้างงานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้าว่า ตามที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลางพิจารณาให้กลุ่มบีพีเอ็นพีประกอบด้วย บจ.นภาก่อสร้าง และพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการเข้าร่วมประมูลโครงการ


ต่อมาทาง บจ.ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 เอ็นจิเนียริง กรุ๊ป ร่วมกับ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ภายใต้ชื่อ กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เพื่อขอทุเลาการบังคับตามคำสั่งของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง

ซึ่งศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน 3-1 ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ไฮสปีด EEC ของบฯเวนคืนเพิ่ม
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 1 มี.ค. 2564 ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน รับทราบความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 224,544 ล้านบาท มี บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) เป็นคู่สัญญา โดยมีค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นประมาณ 600 ล้านบาท จะเสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) จ่ายเวนคืนเร่งส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม ซี.พี.ในเดือน ต.ค.นี้ ขณะที่การส่งมอบพื้นที่เชิงพาณิชย์มักกะสัน 140 ไร่ คาดว่าจะเป็นในเดือน มี.ค. 2565 ยังติดการรื้อย้ายพวงราง

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ค่าเวนคืนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เพิ่มขึ้น 2,100 ล้านบาท จากเดิมที่ ครม.อนุมัติไว้ 3,570 ล้านบาท เป็น 5,670 ล้านบาท ต้องขอ ครม.อนุมัติงบฯกลาง 600 ล้านบาทในเดือน มี.ค. จ่ายให้ผู้ถูกเวนคืนให้เสร็จ พ.ค. เพื่อส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาให้ ซี.พี.เดือน ส.ค.-ต.ค.นี้ เริ่มงานก่อสร้าง ส่วนที่เหลือ 1,500 ล้านบาท จะขอในปี 2565 จ่ายให้กับผู้ถูกเวนคืนช่วงพญาไท-ดอนเมือง ส่งมอบในดือน ต.ต. 2566


ค่าที่ดินพุ่ง 3-6 เท่า
งบฯเวนคืนที่เพิ่มขึ้น 1.การเวนคืนที่ดิน คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นได้กำหนดพื้นที่เวนคืนเพิ่มเติมอีก 69.5 ไร่ เนื่องจากมีการออกแบบด้านวิศวกรรมเพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการก่อสร้างและการเดินรถ รวมถึงปรับตัวคูณราคาประเมินที่ดินใหม่จากเดิม 2.35 เท่าของราคาประเมิน เป็น 3.08-6.97 เท่าของราคาประเมิน ทำให้ที่ดินที่จะต้องเวนคืนเพิ่มขึ้นจากเดิม 850 ไร่ 794 แปลง เป็น 919 ไร่ 931 แปลง โดยวงเงินค่าทดแทนที่ดินเพิ่มขึ้น 1,069 ล้านบาท ทำให้วงเงินจากเดิม 2,763 ล้านบาท เพิ่มเป็น 3,832 ล้านบาท

ส่วนการทำสัญญาหลังประกาศค่าทดแทนจากทั้งหมด 754 สัญญา พื้นที่รวม 920 ไร่ วงเงิน 4,077.02 ล้านบาท ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 74% หรือ 556 สัญญา พื้นที่ 694 ไร่ วงเงิน 2,877 ล้านบาท เหลืออีก 26% จะเร่งทำสัญญาให้เสร็จภายในวันที่ 15 มี.ค. 2564 นี้ หากไม่มาทำสัญญา ร.ฟ.ท.จะออกประกาศครอบครองและวางทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดการครอบครองภายในวันที่ 19 ส.ค. 2564

ยังมีอาคารสิ่งปลูกสร้างเพิ่มขึ้นจาก 245 อาคาร เป็น 696 อาคาร คิดเป็นวงเงินค่าทดแทนอาคารก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น 102.266 ล้านบาท ทำให้วงเงินจากเดิม 762.73 ล้านบาท เพิ่มเป็น 864.996 ล้านบาท

พร้อมส่งมอบพื้นที่ ต.ค.นี้
การส่งมอบพื้นที่การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง คาดว่าจะส่งมอบส่วนแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาก่อนในเดือน ต.ค. 2564 นี้ จะส่งมอบพร้อมไปกับการโอนระบบรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ช่วงพญาไท-สนามบินสุวรรณภูมิ โดย ซี.พี.จะต้องจ่ายค่าใช้สิทธิ 10,671 ล้านบาท ทั้งนี้ ทาง ซี.พี.ขอต่อรองจะจ่ายเป็นงวด ๆ จะไม่จ่ายเป็นเงินก้อนเดียวจบ ในรายละเอียดการจ่ายยังไม่เปิดเผยเนื่องจากยังอยู่ระหว่างการเจรจา

“ต.ค.นี้ต้องส่งมอบแอร์พอร์ตลิงก์ พื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก และที่ดินมักกะสันบางส่วนที่ไม่ติดพวงราง ส่วนสถานีศรีราชารอ ซี.พี.สร้างอาคารทดแทนให้เสร็จก่อน ทั้งนี้ ซี.พี.ต้องสร้างรถไฟความเร็วสูงให้เสร็จใน 5 ปีตามแผนในปี 2569”

ขณะที่ส่วนสุดท้ายช่วงส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ได้ในปี 2566 เนื่องจากต้องเคลียร์อุปสรรคการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค 2 จุด คือ คลองไซฟอนใต้คลองสามเสนของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และท่อส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) ซึ่งทั้ง 2 ส่วนนี้หน่วยงานเจ้าของระบบสาธารณูปโภคยืนยันว่ามีเงินเพียงพอที่จะดำเนินการเองได้ โดยอยู่ระหว่างกำหนดจุดเหมาะสมในการเคลื่อนย้าย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 9:41 pm    Post subject: Reply with quote

ฤกษ์ดี! 29 มี.ค.นี้ เซ็น 4 สัญญาไฮสปีดไทย-จีน มูลค่า 3.61 หมื่นล้าน
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564

ดีเดย์! 29 มี.ค.นี้ รฟท.ลงนามไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา มูลค่า 3.61 หมื่นล้าน กรอบเวลาดำเนินการ 36 เดือนหลังออก NTP พร้อมเร่งเคลียร์สัญญาที่เหลือให้จบ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ในวันที่ 29 มี.ค. 2564 รฟท. เตรียมลงนามสัญญาจ้างในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย–จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา) จำนวน 4 สัญญา รวมวงเงิน 36,154.16 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง–นวนคร ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท,
2. สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร–บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท,
3. สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท และ
4. สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว–สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภายหลังการลงนาม 4 สัญญาในวันที่ 29 มี.ค.นี้นั้น รฟท. จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) พร้อมทั้งเร่งรัดการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดินต่อไป โดยทั้ง 4 สัญญา จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 36 เดือน (3 ปีนับจากวันออก NTP) ขณะที่สัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง, สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ

เซ็นรวด! 4 สัญญาไฮสปีดไทย-จีน 29 มี.ค.นี้
ศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 21.00 น.

ดีเดย์ 29 มี.ค.นี้ รฟท. เตรียมลงนามไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา มูลค่า 3.61 หมื่นล้านบาท


รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) แจ้งว่า ในวันที่ 29 มี.ค.64 รฟท. เตรียมลงนามสัญญาจ้างในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา) จำนวน 4 สัญญา รวมวงเงิน 36,154.16 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง–นวนคร ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท, สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร–บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท, สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว–สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท 

ทั้งนี้ภายหลังการลงนาม 4 สัญญาในวันที่ 29 มี.ค.แล้วนั้น รฟท. จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) พร้อมทั้งเร่งรัดการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดินต่อไป โดยทั้ง 4 สัญญา จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 36 เดือน (3 ปีนับจากวันออก NTP) ขณะที่สัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง, สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ซึ่งอยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ .

*29 มี.ค.ลงนามไฮสปีดไทย-จีนอีก 4 สัญญา 3.6 หมื่นล้าน
*รฟท.ลุยออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน/เร่งเวนคืน
*สัญญา4-1ต้องรอเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนยังไม่จบ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3877912362255680&set=a.2871014466278813
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2857676044453895


Last edited by Wisarut on 12/03/2021 11:58 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 12/03/2021 10:52 pm    Post subject: Reply with quote

พ.ค.นี้ ชงครม.ไฟเขียว แผนศึกษา TOD 6.4 หมื่นล. นำร่อง 3 จังหวัด

หน้าเศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 15:30 น.

สนข.เล็งชงครม.เคาะ ผลศึกษาTOD 6.4 หมื่นล้านบาท นำร่อง 3 จังหวัด ภายในเดือน พ.ค.64 จ่อออกกฎหมาย หวังพัฒนาพื้นที่รอบสถานีต่อเนื่อง


นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ว่า ปัจจุบันสนข.อยู่ระหว่างจัดทำเอกสารผลการศึกษา TOD แล้วเสร็จ ขณะเดียวกันจะดำเนินการจัดทำประชาสัมพันธ์เพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการดังกล่าว หลังจากนั้นจะเสนอกระทรวงคมนาคมพิจารณาได้ภายในเดือนเม.ย.นี้ และเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบหลักการภายในเดือน พ.ค.64 เพื่อรองรับกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิตและช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อย่างเต็มรูปแบบในช่วง พ.ย. 2564 หากครม.เห็นชอบผลการศึกษา ฯ หลังจากนั้นสนข.จะดำเนินการจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ที่จะดำเนินการและสามารถพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีได้



นายปัญญา กล่าวต่อว่า ส่วนรูปแบบการพัฒนาTOD นั้น จะดำเนินการตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เช่น สถานีรถไฟขอนแก่น ซึ่งเป็น 1 ใน 3 จากผลการศึกษาของ สนข. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ เกิดจากความต้องการของเทศบาลเมืองขอนแก่น ที่ต้องการการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว เบื้องต้นสนข. จะเป็นผู้กำหนดหลักการ และกฎหมายรองรับ การจัดทำแผนรายละเอียดต่างๆ รวมถึงมีผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่นั้นๆ

รายงานข่าวจาก สนข. กล่าวว่า ขณะที่ผลการศึกษาโครงการ TOD ของ สนข. ได้คัดเลือก 3 สถานี ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสร้างเมืองต้นแบบ TOD เพื่อต่อยอดผลการศึกษาให้เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว กรอบวงเงินรวมประมาณ 64,000 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.สถานีรถไฟขอนแก่น เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เป็นศูนย์กลางเมืองขอนแก่นแห่งใหม่ ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานมีการเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่. 2.สถานีรถไฟอยุธยา เป็น TOD ศูนย์กลางเมืองภาคกลาง ตัวแทนกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ระหว่างความเป็นเมืองเก่ากับความทันสมัย เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่สถานีความเร็วสูงที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่เข้ากับพื้นที่ชุมชนเมืองเดิมด้วยสะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ ท่าเรือข้ามฟาก และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ และ 3.สถานีรถไฟพัทยา เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา โดยเชื่อมโยงพื้นที่กับชายทะเลพัทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญเดิม เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูง


สนข. จ่อชง ครม.ไฟเขียวแผนแม่บทพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ภายใน พ.ค.นี้

12 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 13:22 น.


12มี.ค.64-นายปัญญา ชูพานิช ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ว่า ในขณะนี้ สนข.ได้ศึกษา TOD เสร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยอยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารรายละเอียดโครงการฯ รวมถึงจัดทำสื่อประชาสัมพันธ์โครงการฯ เพื่อประกอบในการเสนอไปยังกระทรวงคมนาคมภายใน เม.ย. 2564 ก่อนเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาเห็นชอบในหลักการภายใน พ.ค. 2564 ทั้งนี้ ให้สอดรับกับการเปิดให้บริการโครงการรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต และช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน อย่างเต็มรูปแบบในช่วง พ.ย. 2564

นอกจากนี้ สนข. ยังอยู่ระหว่างการร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) TOD เพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ของผู้ที่จะดำเนินการ และภาพรวมของโครงการก่อนส่งต่อ ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว ไปยังหน่วยงานที่จะเข้ามารับผิดชอบตามที่ ครม. มีมติมอบหมาย ขณะที่ ในส่วนของพื้นที่ที่จะนำมาพัฒนา TOD นั้น จะเป็นหน้าที่ของแต่ละท้องถิ่นที่มีความประสงค์จะดำเนินการ จะเป็นผู้กำหนดผังเมืองต่อไป ซึ่งจะทำให้เกิดประโยชน์กับเจ้าของพื้นที่ และประชาชนมากที่สุด

นายปัญญา กล่าวต่ออีกว่า รูปแบบของการพัฒนาพื้นที่ TOD จะดำเนินการตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่ เช่น สถานีรถไฟขอนแก่น ซึ่งเป็น 1 ใน 3 จากผลการศึกษาของ สนข. ที่มีศักยภาพในการพัฒนาเป็นเมืองต้นแบบ เกิดจากความต้องการของเทศบาลเมืองขอนแก่น ที่ต้องการการพัฒนาพื้นที่บริเวณดังกล่าว เป็นต้น โดยเจ้าของพื้นที่ จะเป็นเจ้าภาพในการดำเนินการ ซึ่ง สนข. จะเป็นผู้กำหนดหลักการ และกฎหมายรองรับ การจัดทำแผนรายละเอียดต่างๆ รวมถึงมีผู้ที่จะเข้ามาลงทุนในพื้นที่นั้นๆ

“ตามที่หลายคนตั้งข้อสังเกตว่า การเดินหน้า TOD ทำเพื่อประโยชน์ของภาคเอกชน ผมยืนยันว่า ไม่ได้ทำเพื่อบริษัทเอกชน แต่เราทำเพื่อประชาชนที่อยู่ในพื้นที่การพัฒนานั้นๆ เพราะการจะพัฒนาพื้นที่ TOD มาจากความต้องการของคนในพื้นที่ ในส่วนว่าจะเห็นการพัฒนาพื้นที่ TOD ได้เมื่อไหร่นั้น จะต้อง พ.ร.บ. TOD มีผลบังคับใช้อย่างเป็นรูปธรรมก่อน” นายปัญญา กล่าว

รายงานข่าวจาก สนข. ระบุว่า จากผลการศึกษาโครงการ TOD ของ สนข. ได้คัดเลือก 3 สถานี ที่มีศักยภาพในการพัฒนาสร้างเมืองต้นแบบ TOD เพื่อต่อยอดผลการศึกษาให้เป็นรูปธรรมอย่างรวดเร็ว กรอบวงเงินรวมประมาณ 64,000 ล้านบาท ได้แก่
1.สถานีรถไฟขอนแก่น เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้เป็นศูนย์กลางเมืองขอนแก่นแห่งใหม่ ที่มีการใช้ประโยชน์ที่ดินอย่างผสมผสานมีการเชื่อมโยงกันระหว่างพื้นที่ชุมชนเดิมและชุมชนใหม่ เพิ่มพื้นที่สำหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ

2.สถานีรถไฟอยุธยา เป็น TOD ศูนย์กลางเมืองภาคกลาง ตัวแทนกลุ่มแนวเส้นทางรถไฟสายเหนือ โดยมีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีให้สอดคล้องกลมกลืนกัน ระหว่างความเป็นเมืองเก่ากับความทันสมัย เน้นการเชื่อมต่อพื้นที่สถานีความเร็วสูงที่จะเป็นศูนย์กลางเมืองใหม่เข้ากับพื้นที่ชุมชนเมืองเดิมด้วยสะพานทางเดินข้ามแม่น้ำ ท่าเรือข้ามฟาก และระบบขนส่งมวลชนรอง (Feeder) เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมต่อกับสถานีรถไฟความเร็วสูงอย่างมีประสิทธิภาพ เชื่อมพื้นที่สาธารณะภายในเมืองด้วยโครงข่ายพื้นที่สีเขียว ทางจักรยาน ทางเท้า และทางยกระดับ รักษาสมดุลของการอนุรักษ์และพัฒนา

3.สถานีรถไฟพัทยา เป็น TOD ศูนย์ภูมิภาคตะวันออกและพื้นที่เขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) มีแนวคิดในการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีรถไฟพัทยาให้เป็นศูนย์กลางความเจริญแห่งใหม่ของพัทยา โดยเชื่อมโยงพื้นที่กับชายทะเลพัทยา ซึ่งเป็นศูนย์กลางความเจริญเดิม เพิ่มพื้นที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่ที่เชื่อมกับสถานีรถไฟความเร็วสูง ทั้งนี้ ล่าสุดได้ปรับขนาดของ TOD ลง เพื่อให้เข้ากับสภาพมรดกท้องถิ่น

นอกจากนี้ จากการศึกษา ยังพบว่า ประเทศไทยมีพื้นที่ที่มีศักยภาพ ในการพัฒนาเป็น TOD จำนวน 177 สถานี ตามแนวเส้นทางรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง (ไม่นับรวมในเขตกรุงเทพฯ ที่มีความหนาแน่นแตกต่างจากสถานีของภูมิภาค) โดยแบ่งการพัฒนาได้เป็น 5 ประเภท ตามศักยภาพของพื้นที่และบทบาทของสถานี ได้แก่
1.สถานีศูนย์ภูมิภาค 6 แห่ง
2.สถานีศูนย์กลางเมือง 49 แห่ง
3.สถานีศูนย์เมืองใหม่ 20 แห่ง
4.สถานีศูนย์ชุมชน 84 แห่ง และ
5.สถานีศูนย์แบบพิเศษ 18 แห่ง โดยมี 4 ประเภทย่อย ได้แก่ เมืองชายแดน 8 แห่ง เมืองการบิน 2 แห่ง เมืองท่องเที่ยว 6 แห่ง และเมืองการศึกษา 2 แห่ง


เมืองใหม่แปดริ้วของเจ้าสัวซีพี ที่ต้องมีรถไฟความไวสูงไปถึง
https://www.youtube.com/watch?v=5DkWyhOjmAk
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 15/03/2021 2:19 am    Post subject: Reply with quote

ดีเดย์ 29 มี.ค.นี้ รฟท.จ่อลงนามรถไฟไฮสปีดไทย-จีน 4 สัญญา มูลค่า 3.61 หมื่นล้าน

13 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 09:20 น.


13มี.ค.64 รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระบุว่า ในวันที่ 29 มี.ค. 2564 รฟท. เตรียมลงนามสัญญาจ้างในโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย–จีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร–หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วง กรุงเทพมหานคร–นครราชสีมา) จำนวน 4 สัญญา รวมวงเงิน 36,154.16 ล้านบาท

ทั้งนี้ประกอบด้วย
1.สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง–นวนคร ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท,
2. สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร–บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท,
3. สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท และ
4. สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว–สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท

ทั้งนี้ ภายหลังการลงนาม 4 สัญญาในวันที่ 29 มี.ค.นี้นั้น รฟท. จะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) พร้อมทั้งเร่งรัดการออกพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดินต่อไป โดยทั้ง 4 สัญญา จะใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 36 เดือน (3 ปีนับจากวันออก NTP) ขณะที่สัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง, สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ


Wisarut wrote:
ฤกษ์ดี! 29 มี.ค.นี้ เซ็น 4 สัญญาไฮสปีดไทย-จีน มูลค่า 3.61 หมื่นล้าน
วันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564


เซ็นรวด! 4 สัญญาไฮสปีดไทย-จีน 29 มี.ค.นี้
ศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2564 เวลา 21.00 น.

*29 มี.ค.ลงนามไฮสปีดไทย-จีนอีก 4 สัญญา 3.6 หมื่นล้าน
*รฟท.ลุยออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน/เร่งเวนคืน
*สัญญา4-1ต้องรอเคลียร์พื้นที่ทับซ้อนยังไม่จบ
https://www.facebook.com/photo/?fbid=3877912362255680&set=a.2871014466278813
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2857676044453895
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 18/03/2021 10:13 am    Post subject: Reply with quote

รีวิวสถานะ “ไฮสปีดไทย-จีน” เซ็นงานก่อสร้างเพิ่ม 4 สัญญา 29 มี.ค.นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 13 มีนาคม 2564 เวลา 15:57 น.


รีวิวสถานะงานก่อสร้าง 14 สัญญา รถไฟไทย-จีน ”กมม.-โคราช” เสร็จแล้วช่วงกลางดง-ปางอโศก กำลังตอกเข็ม 6 สัญญา ดีเดย์ 29 มี.ค.เซ็นรับเหมาเพิ่ม 4 สัญญา กว่า 3.6 หมื่นล้าน อีก 3 สัญญาติดหล่มรัองประมูล เคลียร์ที่ตั้งสถานี และแบบทับซ้อนไฮสปีด 3 สนามบิน กระทบไทม์ไลน์เปิดบริการขยับเป็นปี’69

เมื่อวันที่ 13 มี.ค.2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภาพรวมของโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท ซึ่งแบ่งการก่อสร้างงานโยธาเป็น 14 สัญญา ขณะนี้สร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 362.52 ล้านบาท

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิลเอนจีเนียริง เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท คืบหน้า 52.52%

สัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม.ของ บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ วงเงิน 4,279 ล้านบาท จะเริ่มงานวันที่ 19 เม.ย.นี้

สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.6 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.กรุงธนเอนยิเนียร์ ก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 19 ก.พ.2564 คืบหน้า 0.05%

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค.2564 คืบหน้า 0.1%

สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้าง ร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย) เริ่มงานวันที่ 26 ส.ค.2564

สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอนจีเนียริงก่อสร้าง เริ่มงานวันที่ 19ก.พ.2564 คืบหน้า 0.96%


ส่วนที่เหลือจะเซ็นสัญญาวันที่ 29 มี.ค.2564 จำนวน 4 สัญญา วงเงิน 36,153 ล้านบาท ได้แก่ สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม.กับกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วยบจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท

สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. กับกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่น เอ็นจิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น, บมจ.เนาวรัตน์ฯและ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท

สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ วงเงิน 6,573 ล้านบาท และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. ของ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น 9,429 ล้านบาท


โดยหลังเซ็นสัญญา ร.ฟ.ท.จะเร่งออกพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน ขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้ กรมชลประทาน กรมธนารักษ์ เพื่อให้รับเหมาเข้าพื้นที่ก่อสร้าง

ทั้งนี้เหลืออีก 3 สัญญาที่รอเซ็นสัญญาและเปิดประมูล ได้แก่ สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง เและปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. มีกลุ่มบีพีเอ็นพีเป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด วงเงิน 9,330 ล้านบาท อยู่ระหว่างดำเนินการตามมติคณะกรรมการอุทธรณ์

สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.วงเงินกว่า 10,000 ล้านบาท รอสรุปโครงสร้างร่วมกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

และสัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ของ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ วงเงิน 9,913 ล้านบาท รอคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกให้พิจารณาย้ายสถานี

ทั้งนี้จากการประเมินภาพรวมของโครงการ ทางการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)คาดว่าการเปิดบริการจะล่าช้าจากเป้าเดิมในปี 2568 เป็นในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 22/03/2021 4:20 pm    Post subject: Reply with quote

เทศบาลตำบลคลองไผ่ ร่วมตรวจพื้นที่แนวเวนคืนที่ดิน บริเวณชุมชนที่ 4 นิยมพัฒนา #เพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว) ร่วมกับธนารักษ์จังหวัด ฝ่ายปกครองท้องที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย บจก.อิตาเลียนไทย และบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/posts/278327360530852

งานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ช่วง สูงเนิน - กุดจิก ‼️🚄
https://www.facebook.com/TrainBusAirplane/posts/278296527200602
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 24/03/2021 7:39 pm    Post subject: Reply with quote

โละหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ 2 หมื่นล้านให้รัฐ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 มีนาคม 2564 - 17:10 น.


ซี.พี.จ่ายค่าใช้สิทธิระบบแอร์พอร์ตลิงก์ 10,671 ล้าน “คมนาคม” ขอแก้มติ ครม.ปลดแอกหนี้ค่าก่อสร้างกว่า 2.2 หมื่นล้าน ให้รัฐแบกแทน หลัง “รถไฟ” กู้เงินจ่ายดอกเบี้ยนาน 10 ปี เร่งเคลียร์พื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน เวนคืนแล้ว 75% กว่า 2 พันล้าน ขอ ครม.อัดเพิ่ม 2.1 พันล้าน พร้อมส่งมอบพื้นที่เฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ทันเดดไลน์ ต.ค.นี้

นายสรพงศ์ ไพฑูรย์พงษ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2564 ได้ประชุมหาแนวทางการรับภาระหนี้โครงการรถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (แอร์พอร์ตเรลลิงก์) โดยเป็นการดำเนินการหลังจากที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)

มีมติให้กระทรวงคมนาคม กระทรวงการคลัง สำนักงบประมาณ และสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สภาพัฒน์) หารือร่วมกันเกี่ยวกับต้นทุนเงินกู้ที่ดำเนินโครงการมาตั้งแต่ปี 2550 และโครงการนี้เป็นโครงการแรกที่ไม่มีมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเรื่องการให้รัฐบาลรับภาระด้านโครงสร้างพื้นฐาน

โดยภาระหนี้ของแอร์พอร์ตเรลลิงก์อยู่ที่ประมาณ 33,000 กว่าล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ค่างานโยธา วงเงิน 22,588 ล้านบาท และงานจัดหาขบวนรถรวมถึงงานระบบ วงเงิน 10,680 ล้านบาท โดยในวงเงินงานระบบคาดว่าจะได้รับการชำระจากการจ่ายค่าใช้สิทธิแอร์พอร์ตเรลลิงก์ โดย บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) คู่สัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินภายในเดือน ต.ค. 2564 นี้

สำหรับวงเงินหนี้ค่างานโยธา ที่ผ่านมารัฐบาลให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กู้เพื่อผ่อนชำระดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่เงินต้นยังไม่ได้มีการชำระแต่อย่างใด เนื่องจาก ร.ฟ.ท.ยังไม่มีศักยภาพที่จะหาเงินมาชำระเงินต้นดังกล่าวได้

“มติ ครม.ปี 2550 ก็ให้ไปเคลียร์เงินก้อนนี้ ซึ่งที่ประชุมมีแนวคิดว่ารถไฟฟ้าสายนี้ก็ควรจะปฏิบัติให้เหมือนสายอื่น ๆ คือ รัฐบาลต้องรับภาระเงินต้นของงานโยธาด้วย แต่ก็ต้องสอบถามนโยบายกับนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ก่อนจะให้ดำเนินการอย่างไรต่อไป”


แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท. เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า การโยกหนี้งานโยธากว่า 22,000 ล้านบาท ที่ประชุมสรุปว่าจะขอทบทวนมติ ครม.เมื่อ 16 ต.ค. 2550 ที่รัฐบาลให้ ร.ฟ.ท.รับภาระดังกล่าวไปก่อน จะขอเปลี่ยนเป็นให้รัฐรับภาระแทน ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ทำหนังสือถึงคมนาคมเพื่อหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงการคลัง และสำนักงบประมาณ ในรายละเอียดก่อนเสนอ ครม.ทบทวนมติเดิม คาดว่าจะเสนอ ครม.และมีผลได้ก่อนวันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งเป็นวันที่ ซี.พี.จ่ายค่าใช้สิทธิระบบแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 10,671 ล้านบาท

นายสุจิตต์ เชาว์ศิริกุล รองผู้ว่าการกลุ่มบริหารรถไฟฟ้า ร.ฟ.ท.กล่าวว่า แผนการส่งมอบแอร์พอร์ตลิงก์และพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินให้กลุ่ม ซี.พี.ยังคงเป็นภายในกรอบเวลา 2 ปี นับจากเซ็นสัญญาวันที่ 24 ต.ค. 2562 คือภายในเดือน ต.ค. 2564 นี้

“กลุ่ม ซี.พี.ส่งแผนการปรับปรุงแอร์พอร์ตลิงก์มาให้แล้ว เช่น ปรับขบวนรถตู้ขนกระเป๋าเป็นตู้รับผู้โดยสาร ติดป้ายบอกทาง และการบริการต่าง ๆ ซึ่งเอกชนสามารถรับมอบโครงการได้ก่อนวันที่ 24 ต.ค.ก็ได้”

นายสุจิตต์กล่าวอีกว่า วันที่ 25 มี.ค.นี้คณะทำงานส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน จะประชุมติดตามความคืบหน้าและปัญหาอุปสรรคต่าง ๆ ขณะนี้ ร.ฟ.ท.เคลียร์เวนคืนที่ดินเฟสแรกช่วงสุวรรณภุมิ-อู่ตะเภาได้แล้ว 75-76% จ่ายค่าเวนคืนไปแล้วกว่า 2,000 ล้านบาท ส่วนการรื้อย้ายผู้บุกรุกเสร็จแล้ว พร้อมจะส่งมอบพื้นที่ให้กลุ่ม ซี.พี.ตามกำหนด

“สิ้นเดือน มี.ค.นี้จะขอ ครม.อนุมัติวงเงินเวนคืนเพิ่ม 2,100 ล้านบาท จ่ายค่าเวนคืนเฟสแรก 600 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นค่าใช้จ่ายช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะมีปัญหาบุกรุกมากกว่า 300 ราย”

ทั้งนี้ ร.ฟ.ท.ร่วมกับการเคหะแห่งชาติ (กคช.) จะพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัยให้เช่าเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ได้รับผลกระทบเวนคืนรถไฟความเร็วสูง จะนำที่ดินบนถนนกำแพงเพชร 6 ตรงดอนเมือง ใกล้สายสีแดงสถานีหลักหก ตลาดสี่มุมเมือง 6 ไร่ ให้ กคช.เช่ายาว สร้างอาคาร 8 ชั้น รวม 300-500 ห้อง ขนาด 33-35 ตร.ม. คิดค่าเช่าในอัตราผู้มีรายได้น้อย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 25/03/2021 5:29 pm    Post subject: Reply with quote

ชงครม.เพิ่มค่าเวนคืนไฮสปีด 2.1พันล.ขยายเขตทาง เคลียร์บุกรุก-เวนคืน จบ ต.ค.64ส่งมอบ”ซีพี”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.
ปรับปรุง: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.

“คมนาคม"เคลียร์พื้นที่บุกรุกและเวนคืน"ไฮสปีด"จบแล้ว มั่นใจ ออกNTP ส่วนนอกเมืองจากสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ต.ค. 64 ส่วนในเมืองเร่งส่งมอบในธ.ค.65 เตรียมชงครม.เพิ่มค่าเวนคืน2.1 พันล้าน "ซีพี"รับพนักงาน 464 คน เตรียมพร้อมเดินรถแอร์พอร์ตลิงก์

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินครั้งที่ 2/2564 (ครั้งที่ 13) วันที่25 มี.ค.ว่า การเตรียมพื้นที่เพื่อส่งมอบให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) เพื่อเข้าก่อสร้างนั้น เป็นไปตามแผนสามารถส่งมอบพื้นที่ได้ภายใน วันที่ 24 ต.ค. 2564 ซึ่งมี 3 ส่วน คือ การโยกย้ายผู้บุกรุก 302 หลัง ดำเนินการเสร็จแล้ว 100% ส่วนการเวนคืนที่ดิน ยังเป็นไปตามแผนงาน โดยคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)ได้อนุมัติงบประมาณในการดำเนินการเรียบร้อยแล้ว ส่วนการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่ประชุมได้ติดตามรายละเอียดของแต่ละหน่วยงานที่ เพื่อให้ดำเนินการตามแผนงาน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่า การส่งมอบพื้นที่จะแบ่งเป็น 2 เฟส คือ ส่วนนอกเมืองตั้งแต่ สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ ภายในวันที่ 24 ต.ค2564 ส่วนพื้นที่ในเมืองตั้งแต่ พญาไท-ดอนเมือง มีกำหนดส่งภายใน 2 ปี หรือภายในเดือนต.ค. 2566 ซึ่งจากการติดตามความพร้อมคาดว่าจะสามารถเร่งรัดและส่งมอบได้ไม่เกิน เดือน ธ.ค. 2565 โดยที่ประชุมได้เร่งรัดการรื้อย้าย ท่อน้ำมันของบริษัท ขนส่งน้ำมันทางท่อ จำกัด (FPT) ท่อน้ำมันของบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย จำกัด (แทปไลน์) และอาคารไซฟ่อน (คลองส่งน้ำ) บริเวณคลองสามเสน ของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.)

สำหรับพื้นที่เวนคืนประมาณ 908 แปลง หรือประมาณ 750 สัญญา ขณะนี้ มีประชาชนเข้ามาทำสัญญาแล้ว 78% ที่เหลือคาดว่าจะทยอยเข้ามาในเดือนเม.ย.และคาดว่าจะเซ็นสัญญาได้หมดช่วงปลายเดือนส.ค.-ต้นก.ย. 2564 ส่วนกรอบวงเงินเวนคืนที่เพิ่มขึ้น จาก 3,500 ล้านบาท เป็น 5,600 ล้านบาท จะเสนอขอขยายกรอบวงเงินค่าเวนคืนจากครม.วันที่ 30 มี.ค.โดยขอใช้งบกลาง 600 ล้านบาท ส่วนที่เหลือรฟท.จะใช้งบประมาณประจำปีดำเนินการ

กรอบวงเงินเวนคืนที่เพิ่มขึ้นประมาณ 2,100 ล้านบาท เนื่องจากราคาที่ดินเพิ่มขึ้นจากกรอบประเมินเดิมทำไว้ตั้งแต่ปี 2560 เมื่อมีการสำรวจพื้นที่ก่อสร้างจริง และประเมินราคาที่ดินในปัจจุบันตามราคาตลาด
ตามพ.ร.บ.เวนคืนฯ ผู้ถูกเวนคืนมีสิทธิ์ที่จะได้รับเงินค่าเวนคืนเพิ่ม และมาจากการขยายพื้นที่เขตทางเพิ่มจาก 25 เมตรเป็น 35-50 เมตรในบางจุด เพื่อให้เพียงพอต่อรัศมีโค้ง จุดเบี่ยงหลบประตูน้ำกรมชลประทาน และพื้นที่สำหรับวางเครื่องจักรขนาดใหญ่เพื่ออำนวยความสะดวกและความปลอดภัยการทำงาน และประชาชนในขณะก่อสร้าง ช่วงสะพานข้ามแม่น้ำบางปะกง และอีกส่วนเป็นวงเงินเผื่ออุทธรณ์

ส่วนการย้ายตำแหน่งสถานีนั้น ยืนยันว่า ยังไม่มี และทางเอกชนไม่ได้เสนออะไรมาในตอนนี้ ดังนั้น ทุกอย่างยังเป็นไปตามเดิม ส่วนในอนาคต เอกชนมีสิทธิ์ในการขอเพิ่มหรือขอย้ายได้ ซึ่งจะเป็นการพิจารณาเพื่อเพิ่มความสะดวกในการบริการ

ส่วนการรับโอนโครงการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ภายใน 2 ปี หลังการลงนามในสัญญา หรือภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 พร้อมชำระเงิน จำนวน 10,671,090,000 นั้น ขณะนี้ทางเอกชนได้มีการออกแบบเพื่อปรับปรุงระบบที่เกี่ยวข้องกับการบริการต่างๆ รวมถึงเตรียมพร้อมด้านบุคลากร จำนวน 464 คน โดยอยู่ระหว่างการเปิดรับสมัคร ซึ่งมีพนักงานจากแอร์พอร์ตลิงก์เดิม และบุคคลภายนอก โดยจะครบจำนวนเดือนก.ค. 2564 เพื่อเตรียมพร้อมในการทดสอบอุปกรณ์และระบบย่อย ทดสอบระบบการเดินรถทั้งหมด และรับรองความปลอดภัยในการเดินรถก่อนส่งมอบในเดือนต.ค. 2564


30 มี.ค. ขอ ครม. เพิ่ม 2.1 พันล้าน จ่ายเวนคืนไฮสปีด เร่งส่งมอบพื้นที่ CP ต.ค.64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:13 น.


คณะทำงานส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด จ่อชง ครม. 30 มี.ค.นี้ ขอขยายกรอบเวนคืนเพิ่ม 2.1 พันล้าน และงบกลาง 600 ล้าน ใช้เวนคืนเร่งด่วน ยัน ต.ค. 64 พร้อมส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” และแอร์พอร์ตลิงก์ เผยตำแหน่งสถานียังคงเดิม ชี้ “ซี.พี.” ยังไม่ขอย้าย เปลี่ยนสถานี แต่มีสิทธิ์ขอได้ตามสัญญา

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 25 มี.ค. 2564 มีการประชุมเร่งรัดการรื้อย้ายและส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) มี นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน

“สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ส่งมอบ ต.ค.นี้
ที่ประชุมได้รับทราบแผนงานต่าง ๆ โดยการส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะส่งมอบได้ตามกำหนดเดิม คือ เดือน ต.ค. 2564 นี้ ในช่วงเฟสแรกสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ส่วนช่วงพญาไท-บางซื่อ จะมีกำหนดส่งมอบพื้นที่เดือน ต.ค. 2566 แต่ในที่ประชุมได้เร่งรัดให้ส่งมอบเร็วขึ้นเป็นเดือน ธ.ค. 2565

“อุปสรรคสำคัญคือ การรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค 2 จุด คือ คลองไซฟอนใต้คลองสามเสนของสำนักการระบายน้ำ กรุงเทพมหานคร (กทม.) และท่อส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) ซึ่งการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่าง ๆ ไม่ติดขัดปัญหาเรื่องงบประมาณใด ๆ เอกชนและรัฐวิสาหกิจมีงบประมาณดำเนินการทั้งหมดแล้ว“

ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะทางกว่า 10 กม. ยังไม่ได้หารือกัน เชื่อว่ายังมีเวลาเนื่องจากพื้นที่ช่วงนี้อยู่ในแผนการส่งมอบพื้นที่ในเฟสที่ 2 จะต้องส่งมอบในปี 2565


“การรื้อผู้บุกรุก 302 หลังดำเนินการแล้วเสร็จไปแล้ว ไม่มีปัญหาใด ๆ ซึ่ง ร.ฟ.ท.ล้อมรั้วต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว”

แอร์พอร์ตลิงก์ส่งมอบ ต.ค.นี้
ส่วนการรับโอนสิทธิ์การบริหารระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ วงเงิน 10,671 ล้านบาท ทาง บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) ยังยืนยันว่า จะจ่ายค่าใช้สิทธิ์และรับโอนระบบในเดือน ต.ค. 2564 เช่นเดิม และจ่ายค่าใช้สิทธิ์เป็นก้อน ไม่จ่ายเป็นงวด ๆ ตามที่มีกระแสข่าว

ชงขอ ครม.อนุมัติกรอบเวนคืน 30 มี.ค.นี้
แหล่งข่าวกล่าวต่อว่า ทั้งนี้วันที่ 30 มี.ค. 2564 จะเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ปรับกรอบวงเงินเวนคืนเพิ่ม 2,100 ล้านบาท จาก 3,500 ล้านบาท เป็น 5,600 ล้านบาท พร้อมกับขออนุมัติงบกลางปี 2564 วงเงิน 600 ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าเวนคืนเฟสแรกก่อน ส่วนที่เหลือหลังจากนั้น จะเอาไปบรรจุลงในงบประมาณรายจ่ายปี 2565 ต่อไป

ยังไม่มีขอย้ายสถานี
เมื่อผู้สื่อข่าวสอบถามถึงการย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงที่เคยเป็นประเด็นก่อนหน้านี้ แหล่งข่าวตอบว่า ยังไม่มีการย้ายสถานี ซี.พี.ไม่ได้ขออะไรมา ตอนนี้ยังยึดตามเดิมอยู่ ที่เป็นข่าวก็เป็นแค่ข่าว แต่ ซี.พี. มีสิทธิ์ขอเพิ่มหรือขอย้ายได้ตลอด เพราะเป็นสิทธิ์ที่ระบุไว้ในสัญญาของโครงการ

เร่งทำสัญญาจ่ายเวนคืน จบ ก.ย.นี้
ส่วนการทำสัญญาหลังประกาศค่าทดแทนจากการเวนคืนทั้งหมด 754 สัญญา พื้นที่รวม 920 ไร่ วงเงิน 4,077.02 ล้านบาท ตอนนี้ทำไปได้ประมาณ 70% ซึ่งคณะทำงานจะเร่งสรุปรายชื่อผู้ที่จะต้องทำสัญญาทั้งหมดให้จบภายในเดือน มิ.ย. 2564 นี้ จากนั้นจะดำเนินการทำสัญญาต่าง ๆ ให้เสร็จภายในเดือน ก.ย. 2564 นี้
Wisarut wrote:
โละหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ 2 หมื่นล้านให้รัฐ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 มีนาคม 2564 - 17:10 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42739
Location: NECTEC

PostPosted: 26/03/2021 1:26 pm    Post subject: Reply with quote

อ่วม เล็งชง ครม.ขยายวงเงินเวนคืนที่ดินไฮสปีดเพิ่ม2.1พันล้าน

วันศุกร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:02 น.



26 มี.ค. 2564 นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการรื้อย้าย ส่งมอบพื้นที่รถไฟเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย

1.การแก้ไขปัญหาผู้บุกรุก โดยในขณะนี้ได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบ 100%
2.การเวนคืนที่ดิน ซึ่งการดำเนินการเป็นไปตามแผน และ
3.การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาลงรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน

อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า กรอบระยะเวลาเป็นไปตามแผนที่กำหนด หรือจะส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาให้กับเอกชนคู่สัญญา ภายใน 24 ต.ค. 2564

รายงานข่าวจากที่ประชุมคณะทำงานฯ ระบุว่า ในวันที่ 30 มี.ค. 2564 เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายกรอบวงเงินสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์และสำรวจอสังหาริมทรัพย์ กรณีเวนคืนตามสัญญาร่วมลงทุนฯ วงเงิน 2,170 ล้านบาท ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จากเดิมที่มีมติอนุมัติไปแล้ว 3,570 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท ทั้งนี้ การขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มนั้น สืบเนื่องจากภายหลังการลงพื้นที่ พบว่า พื้นที่ที่จะเวนคืน มีราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงในบางพื้นที่ จะต้องมีการขยายเขตทางเพิ่มเติม

สำหรับวงเงิน 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น งบจำเป็นเร่งด่วน โดยขอรับงบกลางปี 2564 เพื่อจ่ายค่าเวนคืนช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 607.56 ล้านบาท จะเสนอ ครม. อีกครั้งต่อไป ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้ทันส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิภายใน 24 ต.ค. 2564 และขอรับงบประมาณประจำปี 2565 วงเงิน 1,562.59 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน ช่วงพญาไท-ดอนเมือง วงเงิน 792.11 ล้านบาท และค่าเผื่ออุทธรณ์ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (อาจไม่ต้องใช้) วงเงิน 770.48 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามขณะที่ การทำสัญญาหลังประกาศค่าทดแทนทั้งหมด 754 สัญญา พื้นที่รวม 920 ไร่นั้น ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 78% เหลืออีก 22% จะเร่งทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายในต้น ก.ย. 2564 ทั้งนี้ ภายใน มิ.ย. 2564 จะทราบว่า มีผู้มาทำสัญญาเท่าใด ซึ่งหากไม่มาทำสัญญา รฟท.จะออกประกาศครอบครองและวางทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดการครอบครองต่อไป

รายงานข่าวจากที่ประชุม ระบุอีกว่า การส่งมอบพื้นที่ของโครงการนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะส่งมอบพื้นที่ไม่เกินวันที่ 24 ต.ค. 2564 จากนั้นจะออกเอกสารแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) เพื่อให้เอกชนคู่สัญญาเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไป ส่วนระยะที่ 2 ช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะเร่งรัดส่งมอบพื้นที่ไม่เกิน ธ.ค. 2565 ซึ่งจะเร็วกว่าแผนที่กำหนด 1 ปี หรือจากเดิมกำหนดส่งมอบพื้นที่ภายใน ต.ค. 2566

ทั้งนี้ในส่วนของการย้ายสถานี ตามที่ก่อนหน้านี้มีกระแสว่า เอกชนจะย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา จากตำแหน่งเดิมที่เส้นทางทับกับสถานีรถไฟพัทยาในปัจจุบัน ไปตำแหน่งใหม่ใกล้ตลาดนํ้าสี่ภาคนั้น รายงานข่าว แจ้งว่า ในขณะนี้ยังไม่มีการเสนอขย้ายสถานีเข้ามาให้พิจารณา แต่ทั้งนี้ ในอนาคต หากมีความจำเป็นจะขอเพิ่มสถานีในโครงการฯ สามารถยื่นเสนอดำเนินการเพิ่มเติมได้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ประกาศแต่งตั้งผู้บริหารระดับสูง นายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ (President) รับผิดชอบบริหาร และกำหนดทิศทางการขับเคลื่อนธุรกิจของบริษัทฯ ในขณะที่ นายธิติฏฐ์ นันทพัฒน์สิริ ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาคณะผู้บริหาร (Executive Advisor) เพื่อให้คำปรึกษาด้านการวางกลยุทธ์ และดำเนินงาน เสริมสร้างความแข็งแกร่งของบริษัทฯ ต่อไป โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 15 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา


รฟท.ของบเพิ่ม เวนคืนที่สร้าง รถไฟ'ไฮสปีด' ชงครม.30มีนา
หน้า โลกธุรกิจ
วันศุกร์ ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการรื้อย้าย ส่งมอบพื้นที่รถไฟเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) ว่าในที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ 3 เรื่องคือ

1.การแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกที่ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จครบแล้ว
2.การเวนคืนที่ดิน ซึ่งปัจจุบันการดำเนินการยังเป็นไปตามแผน และ
3.การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ที่ได้มีการสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกลับไปพิจารณาลงรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน อย่างไรก็ตามยืนยันว่าแผนการดำเนินการยังเป็นตามกรอบที่วางไว้ หรือจะส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาให้กับเอกชนคู่สัญญา ภายใน 24 ต.ค.นี้

มีรายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม ระบุว่าได้มีการเตรียมเสนอเรื่องให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 30 มี.ค.นี้ เพื่อพิจารณาขยายกรอบวงเงินสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์และสำรวจอสังหาริมทรัพย์ กรณีเวนคืนตามสัญญาร่วมลงทุนฯ วงเงิน 2,170 ล้านบาท ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จากเดิมที่มีมติอนุมัติไปแล้ว 3,570 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น รวม 5,740 ล้านบาท ขณะที่การขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มนั้นเนื่องจากภายหลังการลงพื้นที่พบว่าพื้นที่ที่จะเวนคืน มีราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงในบางพื้นที่จะต้องมีการขยายเขตทางเพิ่มเติม

ชง ครม. ไฟเขียวขยายกรอบวงเงินค่าเวนคืนเพิ่ม 2,170 ล้าน 30 มี.ค.นี้
พฤหัสบดีที่ 25 มีนาคม 2564 เวลา 14.26 น.

“คมนาคม” เร่งส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน เฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ไม่เกิน 24 ต.ค.นี้ เฟส 2 “พญาไท-ดอนเมือง” เร่งให้จบเร็วขึ้นกว่าแผน 1 ปี จากเดิมปี ต.ค.66 เป็นปี 65  จ่อชง ครม. ขยายกรอบวงเงินค่าเวนคืนที่ดิน 2,170 ล้าน 30 มี.ค.นี้ ลุยทำสัญญาผู้ถูกเวนคืน 754 สัญญา พื้นที่ 920 ไร่ ให้จบ ก.ย.64 

นายชยธรรม์ พรหมศร ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะทำงานเร่งรัดการรื้อย้าย ส่งมอบพื้นที่รถไฟเชื่อมสามสนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) เมื่อวันที่ 25 มี.ค.64 ว่า ที่ประชุมได้ติดตามความคืบหน้าการดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1.การแก้ไขปัญหาผู้บุกรุกซึ่งได้ดำเนินการแล้วเสร็จครบ 100% 2.การเวนคืนที่ดิน ดำเนินการเป็นไปตามแผน และ 3.การรื้อย้ายสาธารณูปโภค ได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปพิจารณาลงรายละเอียดต่างๆ ให้ครบถ้วน ยืนยันว่ากรอบระยะเวลาเป็นไปตามแผนที่กำหนด หรือจะส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้กับเอกชนคู่สัญญา ภายใน 24 ต.ค.64 

รายงานข่าวแจ้งว่า วันที่ 30 มี.ค.นี้ เตรียมเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาขยายกรอบวงเงินสำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์และสำรวจอสังหาริมทรัพย์ กรณีเวนคืนตามสัญญาร่วมลงทุนฯ วงเงิน 2,170 ล้านบาท ให้กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จากเดิมที่มีมติอนุมัติไปแล้ว 3,570 ล้านบาท และจะเพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท ทั้งนี้ การขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มนั้นเนื่องจากภายหลังการลงพื้นที่ พบว่าพื้นที่ที่จะเวนคืน มีราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงในบางพื้นที่ต้องขยายเขตทางเพิ่มเติม 

สำหรับวงเงิน 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น งบจำเป็นเร่งด่วน โดยขอรับงบกลางปี 64 เพื่อจ่ายค่าเวนคืนช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 607.56 ล้านบาท จะเสนอ ครม. อีกครั้งต่อไป ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้ทันส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิภายใน 24 ต.ค.64 และขอรับงบประมาณประจำปี 65 วงเงิน 1,562.59 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน ช่วงพญาไท-ดอนเมือง วงเงิน 792.11 ล้านบาท และค่าเผื่ออุทธรณ์ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (อาจไม่ต้องใช้) วงเงิน 770.48 ล้านบาท 




ขณะที่การทำสัญญาหลังประกาศค่าทดแทนทั้งหมด 754 สัญญา พื้นที่รวม 920 ไร่ ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 78% เหลืออีก 22% จะเร่งทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายในต้น ก.ย.64 ทั้งนี้ภายใน มิ.ย.64 จะทราบว่ามีผู้มาทำสัญญาเท่าใด หากไม่มาทำสัญญา รฟท. จะออกประกาศครอบครองและวางทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มา ซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2562 เพื่อให้เกิดการครอบครองต่อไป 

รายงานแจ้งต่อว่า การส่งมอบพื้นที่ของโครงการนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะส่งมอบพื้นที่ไม่เกินวันที่ 24 ต.ค.64 จากนั้นจะออกเอกสารแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) เพื่อให้เอกชนคู่สัญญาเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไป ส่วนระยะที่ 2 ช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะเร่งรัดส่งมอบพื้นที่ไม่เกิน ธ.ค.65 ซึ่งจะเร็วกว่าแผนที่กำหนด 1 ปี หรือจากเดิมกำหนดส่งมอบพื้นที่ภายใน ต.ค.66 

ส่วนการย้ายสถานีตามที่ก่อนหน้านี้มีกระแสว่า เอกชนจะย้ายสถานีรถไฟความเร็วสูงพัทยา จากตำแหน่งเดิมที่เส้นทางทับกับสถานีรถไฟพัทยาในปัจจุบัน ไปตำแหน่งใหม่ใกล้ตลาดนํ้าสี่ภาคนั้น ขณะนี้ยังไม่มีการเสนอขย้ายสถานีเข้ามาให้พิจารณา แต่ทั้งนี้ในอนาคตหากมีความจำเป็นจะขอเพิ่มสถานีในโครงการฯ สามารถยื่นเสนอดำเนินการเพิ่มเติมได้ ..


Wisarut wrote:
ชงครม.เพิ่มค่าเวนคืนไฮสปีด 2.1พันล.ขยายเขตทาง เคลียร์บุกรุก-เวนคืน จบ ต.ค.64ส่งมอบ”ซีพี”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.
ปรับปรุง: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.

30 มี.ค. ขอ ครม. เพิ่ม 2.1 พันล้าน จ่ายเวนคืนไฮสปีด เร่งส่งมอบพื้นที่ CP ต.ค.64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:13 น.
โละหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ 2 หมื่นล้านให้รัฐ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 มีนาคม 2564 - 17:10 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 401, 402, 403 ... 547, 548, 549  Next
Page 402 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©