RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311238
ทั่วไป:13181676
ทั้งหมด:13492914
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 402, 403, 404 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/03/2021 10:30 am    Post subject: Reply with quote

3 ยักษ์คว้างานรถไฟไทยจีน 2.7 หมื่นล. รายกลางถอดใจ “ดอนเมือง-นวนคร”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 มีนาคม 2564 - 19:50 น.

29 มี.ค.นี้ คมนาคมเซ็นเพิ่ม 3 สัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เงินกว่า 2.7 หมื่นล้าน กลุ่มไชน่าเสตท-เนาวรัตน์-เอ.เอส. ITD ยูนิค เผยมี 1 สัญญาช่วงดอนเมือง-นวนคร รับเหมาถอดใจ ยืนราคาไม่ไหว อีก 3 สัญญารอเคลียร์เอกสาร ปักหมุดปี’69 ได้นั่งแน่

เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2564 น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เร่งดำเนินงานและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อให้การลงทุนภาครัฐเข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ลงนาม 3 สัญญา 29มี.ค.
ทั้งนี้ ล่าสุดโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จะมีการลงนามในสัญญาการก่อสร้างการพัฒนาระบบรถไฟความร่วมสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา อีก 3 สัญญาในวันที่ 29 มีนาคม 2564 นี้ ที่กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม จะเป็นประธานในพิธีลงนาม

ทั้ง 3 สัญญา มีวงเงินรวม 27,527 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.งานสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพมีกลุ่มกิจการร่วมค้า CAN ประกอบด้วย บจ.ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่นฯ, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท

2. งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย มีบมจ.อิตาเลียนไทยฯ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 6,573 ล้านบาท และ3.งานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว – สระบุรี มีบมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่งฯ เป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 9,429 ล้านบาท

ยังรอเคลียร์เอกสารอีก 3 สัญญา
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) จะออกหนังสือเริ่มดำเนินงานก่อสร้างได้ทันที ในส่วนสัญญาที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาที่ 4-1 งานโยธาสำหรับช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง งานสัญญาที่ 4-2 งานโยธาสำหรับช่วงดอนเมือง – นวนคร และงานสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาและจัดเตรียมเอกสาร เมื่อแล้วเสร็จจะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเดินหน้าการก่อสร้างตามโครงการต่อไป


น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา มีระยะทาง 253 กม. มี 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ(บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท

โดยฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง


ตั้งเป้าเปิดบริการปี2569
มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา มีความก้าวหน้าตามลำดับ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า แผนเดิมของกระทรวงคมนาคม จะมีการเซ็นสัญญาก่อสร้างในวันที่ 29 มีนาคมนี้ จำนวน 4 สัญญา แต่สัญญา 4-2 งานก่อสร้างช่วงดอนเมือง-นวนคร ทางกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร ที่ชนะประมูล วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท ไม่ยืนราคา เนื่องจากเสนอราคาต่ำกว่าราคากลางมาก

ซึ่งร.ฟ.ท.กำลังพิจารณาจะยกเลิกและเปิดประมูลใหม่หรือจะเชิญรายที่ 2 บมจ.ยูนิคฯที่เสนอราคาสูงกว่ารายแรกกว่า 2,000 ล้านบาท มาต่อรองราคา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 29/03/2021 10:33 am    Post subject: Reply with quote

นายกฯ สั่งลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดันเม็ดเงินหมุน ศก. พรุ่งนี้ รฟท.ลงนาม 3 สัญญารถไฟความเร็วสูง
เผยแพร่: 28 มี.ค. 2564 12:50 ปรับปรุง: 28 มี.ค. 2564 12:50 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รองโฆษกรัฐบาล เผยนายกรัฐมนตรีเร่งงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดันเม็ดเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจ ด้าน รฟท.ลงนาม 3 สัญญา ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง พรุ่งนี้ ‘ศักดิ์สยาม’ เป็นประธาน

วันนี้ (28 มี.ค.) น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เร่งดำเนินงานและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อให้การลงทุนภาครัฐเข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

ทั้งนี้ ล่าสุดโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาญาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จะมีการลงนามในสัญญาการก่อสร้างการพัฒนาระบบรถไฟความร่วมสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) อีก 3 สัญญาในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ที่กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม จะเป็นประธานในพิธีลงนาม

สัญญาทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย งานสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ, งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย, งานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนบริษัททั้ง 3 สัญญา

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะออกหนังสือเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่เหลือไม่ว่าจะเป็นสัญญาที่ 4-1 งานโยธาสำหรับช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง งานสัญญาที่ 4-2 งานโยธาสำหรับช่วงดอนเมืองนวนคร และงานสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาและจัดเตรียมเอกสาร ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จก็จะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเดินหน้าการก่อสร้างตามโครงการได้ทันที

น.ส.ไตรศุลีกล่าวว่า สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ (บางซื่อ) ดอนเมือง พระนครศรีอยุธยา สระบุรี ปากช่อง และนครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาท โดยฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา มีความก้าวหน้าตามลำดับ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 10:35 am    Post subject: Reply with quote

'ซีพี' เตรียมพนักงาน เข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 24 ต.ค.นี้
29 มีนาคม 2564

ร.ฟ.ฟ.ท. เผย “ซีพี” เตรียมพร้อมพนักงาน 490 คน เข้าบริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ 24 ต.ค.2564 คาดเริ่มทยอยอบรมงาน ก.ค.นี้ พร้อมระบุเอกชนมีแผนรีแบรนด์ ปรับปรุงสถานี และพื้นที่ใช้สอยเชิงพาณิชย์

นายสุเทพ พันธุ์เพ็ง กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท รถไฟฟ้า ร.ฟ.ท. จำกัด (ร.ฟ.ฟ.ท.) ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เปิดเผยถึงความคืบหน้าของการส่งมอบแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้กับกลุ่มซีพีผู้ชนะการประมูลรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) โดยระบุว่า ขณะนี้ทางเอกชนยังยืนยันที่จะรับมอบบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในวันที่ 24 ต.ค.2564 ปัจจุบันเอกชนเริ่มมีคณะทำงานเข้ามาศึกษาดูงานอย่างต่อเนื่อง


อย่างไรก็ดี ตามแผนงานระบุข้างต้น พบว่าเอกชนจะจัดหาบุคลากรเข้ามาบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ราว 490 คน ส่วนจะมีพนักงานของ ร.ฟ.ฟ.ท.โอนย้ายไปทำงานดังกล่าวหรือไม่นั้น ยังไม่สามารถตอบได้ แต่เบื้องต้น ร.ฟ.ฟ.ท. มีความพร้อมที่จะส่งมอบข้อมูล และความรู้ในการเดินรถ ตลอดจนบริหารงานต่างๆ ให้กับเอกชน โดยคาดว่า 2-3 เดือนก่อนจะมีการเข้าบริหารงานอย่างเป็นทางการ หรือราวเดือน ก.ค. - ส.ค.นี้ จะเริ่มเห็นบุคลากรของกลุ่มซีพีเข้ามาร่วมทดลองบริหารงาน

“ตอนนี้ทางซีพีก็เข้ามาดูงานอยู่ตลอด ทำงานร่วมกับเราเพื่อจัดทำแผนพัฒนาบริการของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ แน่นอนว่าก่อนบริหารงานจริงในเดือน ต.ค.นี้ ช่วง 2-3 เดือนก่อนหน้านั้น ก็จะต้องมีบุคลากรที่ทางซีพีเตรียมไว้ เข้ามาเริ่มทำงานร่วมกับเราแล้ว เพื่อให้การทำงานคล่องตัว”

นายสุเทพ ยังเผยอีกว่า ตามแผนพัฒนาแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ของเอกชนนั้น จากการหารือในเบื้องต้นพบว่าจะมีการปรับปรุงบริการ และตัวสถานีรถไฟฟ้าให้สอดรับกับการใช้งาน และสะดวกมากขึ้น โดยเป้าหมายของเอกชนทราบว่าจะมีการรีแบรนด์ใหม่ ปรับโฉมของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ รวมไปถึงปรับปรุงสถานีรถไฟให้มีป้ายบอกทาง มีพื้นที่เชิงพาณิชย์ อำนวยความสะดวก และปรับปรุงพื้นที่ชั้นถนน ให้ใช้งานได้มากขึ้น



ส่วนบุคลากรของ ร.ฟ.ฟ.ท.ที่มีอยู่ 256 คน จะถูกโอนย้ายไปบริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดง เนื่องจากขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เพิ่มพันธกิจให้ ร.ฟ.ฟ.ท.เข้าไปดำเนินงานบริหารรถไฟชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต และบางซื่อ - ตลิ่งชัน โดยคาดว่าบุคลากรส่วนนี้จะสามารถเข้าไปเริ่มงานได้ในเดือน พ.ย.2564 หลังโอนย้ายแอร์พอร์ต เรล ลิงก์แล้วเสร็จ และเพื่อให้การบริหารคล่องตัว เตรียมเปิดรับสมัครบุคลากรใหม่ราว 250 คน พร้อมเริ่มงานบริหารรถไฟสายสีแดงในเดือน ม.ค.2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 1:15 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.ลุยเซ็น 3 สัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 29 มี.ค.นี้
หน้าเศรษฐกิจมหภาค / EEC
วันที่ 28 มีนาคม 2564 -16:28 น.

รฟท.ลุยลงนาม 3 สัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 29 มี.ค.นี้ นายกฯ หวังเร่งงานลงทุนโครงสร้างพื้นฐานดันเม็ดเงินหมุนเวียนเศรษฐกิจ


โครงการรถไฟความเร็วสูง จะมีการลงนามสัญญาก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 3 สัญญา ในวันจันทร์ที่ 29 มี.ค.นี้

โดยจะมีการลงนามสัญญา 3 ฉบับ ประกอบด้วย งานสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ , งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย, งานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว - สระบุรี โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนบริษัททั้ง 3 สัญญา เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย จะออกหนังสือเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่เหลือ ไม่ว่าจะเป็น สัญญาที่ 4-1 งานโยธาสำหรับช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง งานสัญญาที่ 4-2 งานโยธาสำหรับช่วงดอนเมืองนวนคร และงานสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาและจัดเตรียมเอกสาร ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จก็จะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเดินหน้าการก่อสร้างตามโครงการได้ทันที



สำหรับโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา 253 กิโลเมตร ประกอบด้วย 6 สถานี ประกอบด้วย กรุงเทพ(บางซื่อ) ดอนเมือง อยุธยา สระบุรี ปากช่อง และ นครราชสีมา ใช้งบประมาณในการก่อสร้าง 179,412.21 ล้านบาทน.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจําสํานักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม ได้มีข้อสั่งการให้ทุกหน่วยงานที่ดูแลการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เร่งดำเนินงานและเบิกจ่ายงบประมาณให้เป็นไปตามแผนงาน เพื่อให้การลงทุนภาครัฐเข้าไปมีส่วนขับเคลื่อนเศรษฐกิจ

โดยโครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาญาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่อง จะลงนามในสัญญาการก่อสร้างการพัฒนาระบบรถไฟความร่วมสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) อีก 3 สัญญาในวันที่ 29 มี.ค.นี้ ที่กระทรวงคมนาคม โดยนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีทั้งนี้ ฝ่ายไทยได้ลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถและจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง มีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก อยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา มีความก้าวหน้าตามลำดับ คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569


ข่าวช่องวัน
วันที่ 29 มีนาคม 2564 - 12:31 น.

วันนี้ (29 มี.ค.64) โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน จะมีการลงนามในสัญญาการก่อสร้างการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 กรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) อีก 3 สัญญาที่กระทรวงคมนาคม
.
โดยสัญญาทั้ง 3 ฉบับ ประกอบด้วย งานสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ, งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย, งานสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี โดยเป็นการลงนามระหว่างผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และผู้แทนบริษัททั้ง 3 สัญญา
.
น.ส.ไตรศุลี กล่าวว่า เมื่อลงนามในสัญญาแล้ว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะออกหนังสือเริ่มดำเนินงานก่อสร้าง ส่วนสัญญาที่เหลือ ทั้งสัญญาที่ 4-1 งานโยธาสำหรับช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง งานสัญญาที่ 4-2 งานโยธาสำหรับช่วงดอนเมืองนวนคร และงานสัญญาที่ 4-5 งานโยธาสำหรับช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ยังอยู่ในกระบวนการพิจารณาและจัดเตรียมเอกสาร ซึ่งเมื่อแล้วเสร็จก็จะสามารถลงนามในสัญญาเพื่อเดินหน้าการก่อสร้างตามโครงการได้ทันที
.
โดยโครงการนี้ฝ่ายไทยลงทุนโครงการทั้งหมดและดำเนินการก่อสร้างงานโยธา ส่วนฝ่ายจีนรับผิดชอบการออกแบบรายละเอียดงานโยธา ควบคุมงานการก่อสร้างโยธา ออกแบบและติดตั้งงานระบบรางและระบบไฟฟ้า เครื่องกล ระบบควบคุมการเดินรถ และจัดนำขบวนรถไฟความเร็วสูง โดยมีการแบ่งสัญญาก่อสร้างงานโยธาออกเป็น 14 สัญญา ปัจจุบันได้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาแล้วเสร็จ 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางโศก และอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง 6 สัญญา คาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงได้ในปี 2569
Mongwin wrote:
3 ยักษ์คว้างานรถไฟไทยจีน 2.7 หมื่นล. รายกลางถอดใจ “ดอนเมือง-นวนคร”
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 28 มีนาคม 2564 - 19:50 น.


Last edited by Wisarut on 29/03/2021 1:54 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 1:49 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16.46 น.

วันนี้ (29 มี.ค. 64) เวลา 11.00 น. ณ ห้องประชุมอาคารสโมสร กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย และบริษัทคู่สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ผู้แทนจากบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผู้แทนจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ผู้แทนจาก บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน) โดยมีแขกผู้มีเกียรติ และสื่อมวลชน ร่วมเป็นสักขีพยาน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า พิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ในวันนี้ เป็นโครงการที่สำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลก และเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลทั้งสองประเทศ เป็นการเชื่อมความสัมพันธ์ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ซึ่งรัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งรัด ติดตามความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอด และในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ก็จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ โดยกระทรวงคมนาคมพยายามเร่งรัดโครงการให้เดินหน้าโดยเร็ว ล่าสุด ก็ได้มีการลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ส่วนวันนี้เป็นการลงนามในสัญญาก่อสร้างเพิ่มเติม 3 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท
สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท และ
สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท

มีระยะเวลาก่อสร้างแต่ละสัญญา 1,080 วัน รวมวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา 27,527,350,469.37 ล้านบาท

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า สำหรับสัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม. งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น คันทางระดับดิน 7.02 กม. และทางยกระดับ 24.58 กม. งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

ภายหลังเปิดงาน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ได้กล่าวในตอนท้ายว่า โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) ถือเป็นเส้นทางที่มีความสำคัญเนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 (Belt and Road Initiative: BRI) ที่เชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางของไทย อาเซียนและจีนให้เป็นหนึ่งเดียว โดยเมื่อโครงการก่อสร้างแล้วเสร็จจะเป็นการยกระดับมาตรฐานรถไฟไทย ให้มีความเจริญก้าวหน้า เป็นการลงทุนเพื่อวางรากฐานความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยในระยะยาว สนับสนุนให้ประเทศเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ของภูมิภาค สร้างโอกาสใหม่ทางการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว กระจายรายได้ นำความเจริญสู่ท้องถิ่นตลอดแนวเส้นทางโครงการ


รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
Suphalerk Soodyodprasert
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 13.47 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3923174137729502


จัดไปอีก 3 สัญญา!รถไฟไฮสปีดเฟส 1 รวม 54 กม. 2.7 หมื่นล้าน
*”ศักดิ์สยาม”จี้ปิดจ็อบลงนาม 4 สัญญาที่เหลือภายในปีนี้
*อดใจรอก่อสร้างแล้วเสร็จ/พร้อมเปิดบริการปลายปี 69
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2870241629864003


Last edited by Wisarut on 29/03/2021 5:00 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 4:34 pm    Post subject: Reply with quote

จากที่ CP เตรียมพนักงาน เข้าบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ 24 ต.ค.2564 นี้นั้น ราวเดือน ก.ค. - ส.ค.นี้ จะมีทีมงานจาก FS: Ferrovie dello Stato Italiane - บริษัทรถไฟแห่งชาติอิตาลี เริ่มทยอยเข้ามาร่วมทดลองบริหารงาน
จากนั้นทางผู็เข้าบริหารงานจะเริ่ม
-ปรับปรุงสถานี และพื้นที่โดยรอบ เพื่อเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ
-ปรับปรุงชานชาลาสถานีให้สามารถใช้งานร่วมกันได้ทั้งระบบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ และระบบรถไฟความเร็วสูง
-การจัดซื้อขบวนรถใหม่ และซ่อมบำรุงรถเก่า ให้สามารถใช้งานได้ตลอดระยะเวลาโครงการร่วมทุน 50 ปี
FS คือใคร ?
Ferrovie dello Stato Italiane - บริษัทรถไฟแห่งชาติอิตาลี
FS International เป็น บริษัท ในกลุ่ม FS Italiane เป็นรัฐวิสาหกิจบริการรถไฟในประเทศอิตาลี ที่ครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในโลก ประกอบด้วยบริษัท ประมาณ 100 แห่งซึ่งทำงานใน 5 ทวีปและในกว่า 60 ประเทศ เช่น ที่ตุรกี อียิปต์ โอมาน
FS International เป็นหนึ่งในผู้ให้บริการระบบคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ระบบขนส่งมวลชนทางราง โครงสร้างพื้นฐานทางถนนการจัดการทรัพย์สินเทคโนโลยีดิจิทัลตลอดจนบริการด้านความปลอดภัยและความปลอดภัย และมีความเชี่ยวชาญการบริหารบำรุงรักษาระบบรางและรถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/ERailsRoom/posts/1990524921133014
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 6:17 pm    Post subject: Reply with quote

เซ็นก่อสร้างรถไฟไทย-จีนอีก 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านบาท ยังปิดดีลไม่ลงอีก 4 สัญญาส่อยืดเปิดไปปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.


รฟท.เซ็น 3 สัญญาก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งเคลียร์พื้นที่ส่งมอบใน 2 เดือน ขณะที่เหลืออีก 4 สัญญาติดปัญหาอุทธรณ์ และทับซ้อนกับ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เผยโยธาเสร็จปลายปี 69 อาจขยับเปิดบริการต้นปี 70 ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคายออกแบบเสร็จ ก.ค.นี้ ขณะที่สัญญา 4-2 “ดอนเมือง-นวนคร” ส่อล้มประมูลใหม่หลังรับเหมาฟันราคาต่ำไปจนไม่เข้าทำสัญญา

วันนี้ (29 มี.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัทผู้รับเหมา จำนวน 3 สัญญา ว่า การก่อสร้างงานโยธาทั้ง 3 สัญญามีระยะทางรวม 54.6 กม. มีวงเงินก่อสร้างรวม 27,527,350,469.37 บาท (2.75 หมื่นล้านบาท) โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน ได้แก่
สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ
สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และ
สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี

ตามแผนงานการก่อสร้างงานโยธาทั้ง 3 สัญญาจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2569-2570 ตามแผนงานจะเปิดให้บริการช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปลายปี 2569 หรืออย่างช้าภายในปี 2570

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 606.4 กม. โดยระยะแรกเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท งานโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา ภาพรวมการก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนงาน โดยได้ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว 10 สัญญา เหลืออีก 4 สัญญาที่เหลืออยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้ประมูลและเซ็นสัญญาให้เสร็จภายในปีนี้ โดยสัญญาที่มีข้อพิพาททางกฎหมาย ได้กำชับให้ รฟท.จะดำเนินการตามระเบียบ ซึ่ง รฟท.คาดว่าออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ได้ภายใน 2 เดือน ส่วนสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยจะต้องรอ พ.ร.ฎ.เวนคืน ซึ่งจะต้องเสนอ ครม.อนุมัติก่อน

สำหรับสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูลในวงเงิน 8,626.8 ล้านบาท แต่เอกชนไม่ยืนราคา ทำให้ยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รฟท.กำลังพิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและมติ ครม. ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง (สัญญา 4-1) ซึ่งเป็นช่วงทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ซึ่งแผนส่งมอบพื้นที่ให้ทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบินยังเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่น่ามีปัญหา และทราบว่าทางกลุ่มซีพีที่เป็นคู่สัญญาที่จะดำเนินการตามแผนงาน

ส่วนความคืบหน้าเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม.นั้นอยู่ระหว่างการออกแบบ ซึ่งได้ให้นโยบาย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้หลีกเลี่ยงการตัดเส้นทางผ่านชุมชนหรือให้มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด และทำให้เกิดการกระจายการพัฒนา และเชื่อมเข้าสู่สถานีโดยใช้ระบบฟีดเดอร์ ซึ่งจะออกแบบแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2564 คาดว่าจะเปิดให้บริการถึงหนองคาย

การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) ถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลกไปทางด้านเหนือ โดยเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อที่จะเป็นศูนย์กลางของระบบราง ขณะที่ในอนาคตมีแผนพัฒนาเส้นทางไปยังภาคใต้เชื่อมโยงไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยมีโครงการแลนด์บริดจ์เป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ทางราง ทางบก ทางน้ำ เชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าภายในประเทศและเชื่อมโยงภูมิภาคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

ด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า งานโยธา 14 สัญญา ขณะนี้
ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 362.52 ล้านบาท

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่
สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท คืบหน้า 60%

สัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ของ บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ วงเงิน 4,279 ล้านบาท จะออก NTP ให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างในเดือน เม.ย. 64,
สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง (รวมสถานีปากช่อง) ระยะทาง 21.6 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.กรุงธนเอ็นยิเนียร์ ก่อสร้าง,
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง,
สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา (รวมสถานีนครราชสีมา) ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้าง ร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย),
สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย (รวมสถานีสระบุรี) ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงก่อสร้าง ได้เริ่มทยอยออก NTP ให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่ ม.ค.-2564

สำหรับ 3 สัญญาที่ลงนามวันนี้ ได้แก่
สัญญา 4-3 งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม. งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มีบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด ก่อสร้าง วงเงิน 11,525,350,500 บาท

สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนน งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง วงเงิน 6,573,000,000 บาท

สัญญา 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น คันทางระดับดิน 7.02 กม. และทางยกระดับ 24.58 กม. งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ก่อสร้าง วงเงิน 9,428,999,969.37 บาท

@รับเหมาฟันราคาสัญญา 4-2 ส่อล้มประมูลใหม่

รายงานข่าวแจ้งว่า สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูลวงเงิน 8,626.8 ล้านบาท ขณะที่ราคากลาง 10,917 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลางมากถึง 26.55% ซึ่งการที่เอกชนไม่ยืนราคา รฟท.จะพิจารณาใน 2 แนวทาง คือ
1. ยกเลิกประมูล
2. เจรจากับผู้เสนอราคารายที่ 2 โดยผู้ว่าฯ รฟท.จะเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟท.พิจารณาในเดือน เม.ย.นี้
https://www.youtube.com/watch?v=5MEbL0AY7yg
https://www.youtube.com/watch?v=shhS1gk56-8


Wisarut wrote:
รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16.46 น.


รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
Suphalerk Soodyodprasert
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 13.47 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3923174137729502


จัดไปอีก 3 สัญญา!รถไฟไฮสปีดเฟส 1 รวม 54 กม. 2.7 หมื่นล้าน
*”ศักดิ์สยาม”จี้ปิดจ็อบลงนาม 4 สัญญาที่เหลือภายในปีนี้
*อดใจรอก่อสร้างแล้วเสร็จ/พร้อมเปิดบริการปลายปี 69
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2870241629864003


Last edited by Wisarut on 29/03/2021 8:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 29/03/2021 8:26 pm    Post subject: Reply with quote

ใกล้ได้ใช้ รฟท.เซ็นรวด3สัญญารถไฟไทย-จีน วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน

29 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16:27 น.



29 มี.ค.2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และบริษัทคู่สัญญา โดยวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 ระยะทาง 54.6 กิโลเมตร(กม.) รวมวงเงิน 27,527 ล้านบาท

ทั้งนี้ ได้แก่สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ผู้แทนจากบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ (NWR) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด วงเงินก่อสร้าง 11,525 ล้านบาทสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ผู้แทนจาก บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) วงเงินก่อสร้าง 6,573 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ผู้แทนจาก บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น (UNIQ) วงเงินก่อสร้าง 9,429 ล้านบาท

ซื้อซิมผ่าน E-Store มีแต่คุ้ม
dtac business
อย่างไรก็ตาม สำหรับ 4 สัญญาที่เหลือจะเร่งประมูลให้แล้วเสร็จภายในปีนี้ ขณะที่มีบางสัญญายังมีข้อพิพาท อย่างไรก็ดี ตามนโยบายเปิดให้บริการในช่วงปลายปี69 หรืออย่างช้าในปี70 โดยสัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ขณะนี้กำลังเจรจากับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ซึ่งมีพื้นที่ทับซ้อนกันอยู่ คาดจะส่งมอบพื้นที่ได้ในปีนี้

นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สำหรับช่วงระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม.วงเงิน2.5 แสนล้าน แบ่งเป็น ทางรถไฟระดับพื้นดิน 185 กม. และทางรถไฟยกระดับ 171 กม. ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ คาดว่าผลการศึกษาสำรวจออกแบบได้เสร็จใน ก.ค.64 ซึ่งโจทย์ของรัฐบาลต้องการให้เส้นทางนี้ใช้ทางเลี่ยงเมือง เพื่อจะได้มีผลกระทบน้อยที่สุด โดยจะมีระบบรองเชี่อมต่อระบบขนส่งหลัก(Feeder) มาให้บริการ และคาดว่าจะเสร็จเปิดให้บริการหลังระยะที่1 ราว 3-4 ปี หรือในปี 72-73

"เรื่องนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี ที่จะเชื่อมต่อระบบรางไปด้านทิศเหนือทาง สปป.ลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน และในอนาคตจะมีการเชื่อมต่อไปทางภาคใต้เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศเพื่อนบ้านทางทิศใต้เช่น สิงคโปร์ และมาเลเซีย รวมถึงมีจุดตัดผ่านที่มีโครงการที่สำคัญอย่างโครงการเชื่อมระหว่างอ่าวไทยและอันดามัน (แลนด์บริดจ์) วงเงินกว่า 1 แสนล้านบาท ที่จะเพิ่มศักยภาพการเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ทางราง ทางน้ำ และทางบก ในการเดินทางและขนส่งสินค้าได้รวดเร็ว สะดวก ปลอดภัย และประหยัดต้นทุนมากยิ่งขึ้น รวมถึงเอกชนที่มาร่วมลงนามในสัญญาครั้งนี้ต่างเอกชนที่มีประสบการณ์ในการที่จะดำเนินงานเกี่ยวกับด้านโลจิสติกส์ทางราง และมั่นใจโครงการดังกล่าวจะดำเนินการได้ตามเป้ามายที่ได้วางแผนไว้"นายศักดิ์สยาม กล่าว

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่ออีกว่า สำหรับเส้นทางดังกล่าว จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI เชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ

รายงานข่าวจาก รฟท. ระบุว่า ในส่วนสัญญาที่เหลือ เช่น สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง–นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท ที่ก่อนหน้านี้ จะมีการลงนามในวันที่ 29 มี.ค. 2564 นั้น อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม ตามระเบียบกฎหมาย และมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ตามหลักธรรมาภิบาล, สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ–พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท อยู่ระหว่างการพิจารณาเพิ่มเติม และรอลงนามสัญญาจ้าง ในส่วนสัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ–ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างการเตรียมเอกสารประกวดราคา รวมถึงจะต้องรอความชัดเจนเนื่องจากโครงสร้างทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) ซึ่งในขณะนี้ อยู่ระหว่างการเร่งรัดหาข้อสรุปการดำเนินงาน เพื่อไม่ให้กระทบทั้ง 2 โครงการ

เซ็น 3 สัญญารถไฟฟ้าไทย-จีน คาดเปิดให้บริการได้ปี 69-70
ข่าวเศรษฐกิจ
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
อังคารที่ 30 มีนาคม 2564 เวลา 08:31 น.

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) รวม 3 สัญญา


ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทคู่สัญญาว่าการลงนามในครั้งนี้มี 3 สัญญาวงเงินรวมกว่า 27,527 ล้านบาท ประกอบด้วย สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ เป็นงานโครงสร้างทางรถไฟยกระดับ 23 กิโลเมตร (กม.) และงานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง วงเงินกว่า 11,525 ล้านบาท, สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท และสัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงิน 9,428,9 ล้านบาท โดยทั้ง 3 สัญญา รวมถึงช่วงนครราชสีมา-หนองคาย มีกำหนดแล้วเสร็จพร้อมทั้งโครงการ และจะเปิดให้บริการได้ภายในปี 69 หรืออย่างช้าปี 70.

ปักหมุดปีนี้ รฟท.จ่อลงนามสัญญารถไฟไทย-จีนเพิ่ม 4 สัญญา
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
จันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 13:43 น.

รฟท.เดินหน้าลงนามรถไฟไทย-จีน 3 สัญญา เร่งเอกชนเข้าพื้นที่ก่อสร้าง 2ปี กว่า เล็งเปิดให้บริการปี 2569 ลั่นในอนาคตผุดไฮสปีดตอนใต้เชื่อมมาเลเวีย-สิงคโปร์

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า สำหรับพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) หรือรถไฟไทย-จีน จำนวน 3 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 4-3 งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท ผู้แทนจากบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด => งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม. งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท ผู้แทนจาก บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) => งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท ผู้แทนจาก บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน) => งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น คันทางระดับดิน 7.02 กม. และทางยกระดับ 24.58 กม. งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ

เบื้องต้นหลังจากลงนามสัญญาทั้ง 3 สัญญาแล้วเสร็จ หลังจากนั้นเอกชนจะเข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้าง ซึ่งมีระยะเวลาก่อสร้างแต่ละสัญญา 1,080 วัน ( 2 ปี 9เดือน) รวมวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา 27,527,350,469.37 ล้านบาท คาดเปิดให้บริการภายในปี 2569

ทั้งนี้ในอนาคตมีแผนจะดำเนินการโครงการดังกล่าวฯ เชื่อมระบบขนส่งทางรางตอนใต้ของไทยเพื่อเชื่อมกับประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระบบขนส่งทางราง ทางบก และทางน้ำ

ขณะเดียวกันคาดว่าจะเร่งลงนามสัญญาให้ครบอีก 4 สัญญาภายในปีนี้ ประกอบด้วย

สัญญา4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง วงเงิน 18,000 ล้านบาท
สัญญา4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท
สัญญา4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว วงเงิน 9,913 ล้านบาท และ
สัญญา3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง ปางอโศก-บันไดม้า วงเงิน 9,930 ล้านบาท

ทั้งนี้รัฐบาลได้ให้ความสนใจและเร่งรัด ติดตามความก้าวหน้าของโครงการมาโดยตลอด และในขณะเดียวกัน เส้นทางนี้ก็จะเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ในการเชื่อมไทยไปสู่ สปป.ลาว และจีน โดยเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางสายไหมแห่งศตวรรษที่ 21 ที่เรียกว่า Belt and Road Initiative หรือ BRI ที่จะเชื่อมภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ไปถึงยุโรปได้ด้วยทางรถไฟ โดยกระทรวงคมนาคมพยายามเร่งรัดโครงการให้เดินหน้าโดยเร็ว ล่าสุดได้มีการลงนามในสัญญาจ้างงานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร (สัญญา 2.3) ของโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา) ไปเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา


—————————
***** ซึ่งตอนนี้ยังเหลือสัญญางานโยธาที่ยังไม่ได้เซ็นสัญญาอีก 4 สัญญา คือ
- สัญญา 4-2 ดอนเมือง-นวนคร มูลค่า 8,626 ล้านบาท ระยะทาง 21.80 กิโลเมตร
ซึ่งผู้รับเหมาที่ชนะขอสละสิทธิ์ ไม่ยืนราคา เพราะเกินช่วงเวลายืนราคาไปแล้ว อาจะมีต้นทุนที่สูงขึ้น
- สัญญา 4-5 บ้านโพ-พระแก้ว มูลค่า 9,913 ล้านบาท ระยะทาง 13.30 กิโลเมตร
รอเคลียร์ประเด็นผ่านพื้นที่อนุรักษ์ เมืองอยุธยา ซึ่งมีโอกาสจะย้ายตำแหน่งสถานี
- สัญญา 3-1 แก่งคอย-กลางดง และ ปางอโศก-บันไดม้า มูลค่า 9,348 ล้านบาท ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร
ซึ่งมีประเด็นอุทธรณ์ประเด็นจากการประมูลงาน ระหว่างบริษัทผู้รับเหมาที่ชนะการประมูล
- สัญญา 4-1 บางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร
เป็นส่วนทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่ CP จะเป็นผู้ก่อสร้างฐานรากให้ หรืออาจจะรวมการก่อสร้างทางวิ่งให้ด้วย ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจากับ CP
สุดท้ายคือการออก พรฏ เวนคืนที่ดินในโครงการ เพื่อเข้าพื้นที่ในส่วนต่างๆ
*** ตอนนี้ ส่วนที่น่ากลัวว่าจะทำให้โครงการช้า คือ
- ส่วนสัญญา 4-1 ซึ่งจะทับซ้อนกับ 3 สนามบิน ซึ่งจะเข้าพื้นที่อย่างน้อยอีก 2 ปี ตามสัญญา
- ส่วน พรฏ เวนคืนที่รออนุมัติจาก ครม. อยู่ ถ้าไม่ออก ในหลายๆสัญญาที่ใช้พื้นที่นอกเขตรถไฟ จะติดขัดเหมือนกับ โครงการทางคู่สายอีสานด้วยเช่นกัน
หวังว่าจะเคลียร์ให้จบไวๆนี้ครับ
—————————
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1161172834321194

Wisarut wrote:
เซ็นก่อสร้างรถไฟไทย-จีนอีก 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านบาท ยังปิดดีลไม่ลงอีก 4 สัญญาส่อยืดเปิดไปปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.

รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16.46 น.


รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
Suphalerk Soodyodprasert
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 13.47 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3923174137729502


จัดไปอีก 3 สัญญา!รถไฟไฮสปีดเฟส 1 รวม 54 กม. 2.7 หมื่นล้าน
*”ศักดิ์สยาม”จี้ปิดจ็อบลงนาม 4 สัญญาที่เหลือภายในปีนี้
*อดใจรอก่อสร้างแล้วเสร็จ/พร้อมเปิดบริการปลายปี 69
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2870241629864003


Last edited by Wisarut on 31/03/2021 12:09 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2021 10:18 am    Post subject: Reply with quote

ITD แจ้งตลาดคว้างานรถไฟไฮสปีดไทยจีน 6.5 พันล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 29 มีนาคม 2564 - 19:55 น.


“ITD”แจ้งตลาดคว้างานรถไฟไฮสปีดไทยจีน 6.5 พันล้าน “ยูนิค” ลุ้นสร้างช่วง “ดอนเมือง-นวนคร”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 บมจ.อิตาเลี่ยนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) ออกเอกสารแจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง ลงนามในสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟไทยจีน สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย

โดยบมจ.อิตาเลียนไทยฯ ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 บริษัทได้ร่วมลงนามกับการถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ – หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา งานสัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมเชียงรากน้อย รวมมูลค่าโครงการ 6,573 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) มีระยะเวลาสัญญา 1,080 วัน


โดยลักษณะงานก่อสร้างประกอบด้วย
1. งานก่อสร้างทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อม
2.งานอาคารภายในศูนย์ซ่อม รวมถนนต่อเชื่อม ประกอบด้วย อาคารระบบซ่อมบำรุงรถไฟ 19 อาคาร/ อาคารควบคุมระบบจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร/ อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร
3.งานก่อสร้างถนน ระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ และงานอื่นๆที่จำเป็นสำหรับโครงการ

ด้านนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการฯร.ฟ.ท. กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า ปัญหาสัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท ที่เดิมมีกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK (ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร ) เป็นผู้เสนอราคราต่ำสุดที่ 8,626 ล้านบาทแต่ไม่มีการยืนราคาตามกำหนด ร.ฟ.ท.

จะเสนอคณะกรรมการ(บอร์ด) พิจารณาเชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดลำดับถัดไปขึ้นมาเจรจา ซึ่งคือ บมจ.ยูนิคเอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42630
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2021 11:31 am    Post subject: Reply with quote

"เอกซเรย์" 14 สัญญา"ไฮสปีด"เฟส 1 กรุงเทพฯ-โคราช 1.79 แสนล้าน
จันทร์ที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 15.51 น.

"เอกซเรย์" 14 สัญญารถไฟไฮสปีดเฟส 1 กรุงเทพฯ-โคราช 1.79 แสนล้าน แล้วเสร็จ 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ลงนามใหม่ล่าสุด 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านบาท ขณะที่อีก 4 สัญญา เร่งปิดจ๊อบลงนามในปีนี้ คาดเปิดให้บริการปลายปี 69 

เมื่อวันที่ 29 มี.ค. ที่กระทรวงคมนาคม นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตำลงคุณธรรม และลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทบ รัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส) ที่ 1 ช่วง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 3 สัญญา ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) โดยนายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ รฟท. และบริษัทคู่สัญญา โดย 3 สัญญาที่ลงนามในครั้งนี้มีระยะทางรวม 54.6 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุนรวม 27,527 ล้านบาท ทั้งนี้การลงนามดังกล่าวได้รับเกียรติจากนายอธิรัฐ รัตนเศรษฐ และนายวีรศักดิ์ หวังศุภกิจโกศล รมช. ร่วมเป็นสักขีพยานด้วย
               
นายศักดิ์สยาม กล่าวว่า สำหรับ 3 สัญญาที่ลงนามในครั้งนี้ ประกอบด้วย
สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 1.15 หมื่นล้านบาท ดำเนินการโดยบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด, บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) และบริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด ซึ่งมีงานสำคัญเป็นการก่อสร้างทางรถไฟยกระดับ 23 กม.,
สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6.57 พันล้านบาท ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) และ
สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. วงเงินก่อสร้าง 9.42 พันล้านบาท ดำเนินการโดยบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ทั้ง 3 สัญญาจะก่อสร้างแล้วเสร็จประมาณปี 69
  
             

นายศักดิ์สยาม ยังกล่าวถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีด ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. จำนวน 14 สัญญา วงเงินรวม 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้
สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ก่อสร้างแล้วเสร็จ
อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. คืบหน้าประมาณ 60%,
สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. จะออกหนังสือให้เอกชนเข้าพื้นที่ (NTP) เดือน เม.ย.นี้  ขณะที่
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า - ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม.,
สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง - สีคิ้ว และช่วงกุดจิก - โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. และ
สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. ผู้รับเหมากำลังเข้าพื้นที่ก่อสร้าง
ส่วนสัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี - แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. อยู่ระหว่างก่อสร้าง คืบหน้าประมาณ 1%
               
นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า ส่วนที่เหลืออีก 4 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.,
สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง - นวนคร ระยะทาง 21.80 กม,
สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ – พระแก้ว ระยะทาง 13.30 กม. และ
สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กม. จะเร่งรัดให้สามารถลงนามในสัญญากับคู่สัญญาภายในปีนี้ ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีดมีความสมบูรณ์ คาดว่าทั้ง 14 สัญญาจะแล้วเสร็จ และพร้อมเปิดให้บริการได้ประมาณปลายปี 69 หรือช้าสุดไม่เกินต้นปี 70
              
นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการรถไฟไฮสปีด เส้นทาง กรุงเทพ-หนองคาย เฟสที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. วงเงินรวม 2.5 แสนล้านบาทนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาออกแบบรายละเอียด คาดว่าจะแล้วเสร็จสมบูรณ์ และที่ปรึกษาจะเสนอให้ รฟท. พิจารณาภายในเดือน ก.ค.นี้ อย่างไรก็ตามเบื้องต้นทราบว่าอยู่ระหว่างการปรับแบบ เนื่องจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีนโยบายให้ก่อสร้างในเส้นทางเลี่ยงเมือง เพื่อให้ประชาชนได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ซึ่งจะช่วยกระจายความเจริญไปนอกเมืองด้วย โดยให้นำระบบขนส่งย่อย (ฟีดเดอร์) เชื่อมต่อการเดินทาง อำนวยความสะดวกให้ประชาชนด้วย ทั้งนี้คาดว่าโครงการรถไฟไฮสปีด เฟส 2 จะเปิดให้บริการหลังจากรถไฟไฮสปีดเฟส 1 เปิดบริการประมาณ 3-4 ปี หรือประมาณปี 72-73.


Wisarut wrote:
เซ็นก่อสร้างรถไฟไทย-จีนอีก 3 สัญญา 2.7 หมื่นล้านบาท ยังปิดดีลไม่ลงอีก 4 สัญญาส่อยืดเปิดไปปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.
ปรับปรุง: วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16:01 น.


รฟท.เซ็น 3 สัญญาก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน วงเงิน 2.7 หมื่นล้าน “ศักดิ์สยาม” สั่งเร่งเคลียร์พื้นที่ส่งมอบใน 2 เดือน ขณะที่เหลืออีก 4 สัญญาติดปัญหาอุทธรณ์ และทับซ้อนกับ “ไฮสปีด 3 สนามบิน” เผยโยธาเสร็จปลายปี 69 อาจขยับเปิดบริการต้นปี 70 ส่วนช่วงนครราชสีมา-หนองคายออกแบบเสร็จ ก.ค.นี้ ขณะที่สัญญา 4-2 “ดอนเมือง-นวนคร” ส่อล้มประมูลใหม่หลังรับเหมาฟันราคาต่ำไปจนไม่เข้าทำสัญญา

วันนี้ (29 มี.ค.) นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังเป็นประธานในพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา) ระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กับบริษัทผู้รับเหมา จำนวน 3 สัญญา ว่า การก่อสร้างงานโยธาทั้ง 3 สัญญามีระยะทางรวม 54.6 กม. มีวงเงินก่อสร้างรวม 27,527,350,469.37 บาท (2.75 หมื่นล้านบาท) โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน ได้แก่
สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ
สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และ
สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี

ตามแผนงานการก่อสร้างงานโยธาทั้ง 3 สัญญาจะทยอยแล้วเสร็จในปี 2569-2570 ตามแผนงานจะเปิดให้บริการช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ในปลายปี 2569 หรืออย่างช้าภายในปี 2570

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงหรือรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 606.4 กม. โดยระยะแรกเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท งานโยธาแบ่งเป็น 14 สัญญา ภาพรวมการก่อสร้างยังเป็นไปตามแผนงาน โดยได้ลงนามสัญญาก่อสร้างแล้ว 10 สัญญา เหลืออีก 4 สัญญาที่เหลืออยู่ในขั้นตอนดำเนินการ ซึ่งจะเร่งรัดให้ประมูลและเซ็นสัญญาให้เสร็จภายในปีนี้ โดยสัญญาที่มีข้อพิพาททางกฎหมาย ได้กำชับให้ รฟท.จะดำเนินการตามระเบียบ ซึ่ง รฟท.คาดว่าออกหนังสือให้เริ่มงาน (NTP) เพื่อส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างสัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ และสัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ได้ภายใน 2 เดือน ส่วนสัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยจะต้องรอ พ.ร.ฎ.เวนคืน ซึ่งจะต้องเสนอ ครม.อนุมัติก่อน

สำหรับสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูลในวงเงิน 8,626.8 ล้านบาท แต่เอกชนไม่ยืนราคา ทำให้ยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้นั้น นายศักดิ์สยามกล่าวว่า รฟท.กำลังพิจารณาเพื่อให้เป็นไปตามระเบียบกฎหมายและมติ ครม. ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง (สัญญา 4-1) ซึ่งเป็นช่วงทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) นั้น ซึ่งแผนส่งมอบพื้นที่ให้ทางรถไฟเชื่อม 3 สนามบินยังเป็นไปตามเป้าหมาย ไม่น่ามีปัญหา และทราบว่าทางกลุ่มซีพีที่เป็นคู่สัญญาที่จะดำเนินการตามแผนงาน

ส่วนความคืบหน้าเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม.นั้นอยู่ระหว่างการออกแบบ ซึ่งได้ให้นโยบาย พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ให้หลีกเลี่ยงการตัดเส้นทางผ่านชุมชนหรือให้มีผลกระทบต่อชุมชนน้อยที่สุด และทำให้เกิดการกระจายการพัฒนา และเชื่อมเข้าสู่สถานีโดยใช้ระบบฟีดเดอร์ ซึ่งจะออกแบบแล้วเสร็จในเดือน ก.ค. 2564 คาดว่าจะเปิดให้บริการถึงหนองคาย

การพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย) ถือเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมไทยสู่โลกไปทางด้านเหนือ โดยเริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อที่จะเป็นศูนย์กลางของระบบราง ขณะที่ในอนาคตมีแผนพัฒนาเส้นทางไปยังภาคใต้เชื่อมโยงไปยังประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์ โดยมีโครงการแลนด์บริดจ์เป็นจุดเชื่อมโยงสำคัญระหว่างอ่าวไทยกับอันดามัน ซึ่งจะทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ ทางราง ทางบก ทางน้ำ เชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าภายในประเทศและเชื่อมโยงภูมิภาคได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และประหยัดต้นทุน เพิ่มขีดความสามารถแข่งขันและยกระดับคุณภาพชีวิตประชาชน

ด้าน นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า งานโยธา 14 สัญญา ขณะนี้
ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 362.52 ล้านบาท

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา ได้แก่
สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงเป็นผู้ก่อสร้าง วงเงิน 3,114.98 ล้านบาท คืบหน้า 60%

สัญญาที่ 3-2 อุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. ของ บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการ วงเงิน 4,279 ล้านบาท จะออก NTP ให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างในเดือน เม.ย. 64,
สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง (รวมสถานีปากช่อง) ระยะทาง 21.6 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.กรุงธนเอ็นยิเนียร์ ก่อสร้าง,
สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง,
สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา (รวมสถานีนครราชสีมา) ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท ก่อสร้างโดยกิจการร่วมค้า SPTK (นภาก่อสร้าง ร่วมกับรับเหมาประเทศมาเลเซีย),
สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย (รวมสถานีสระบุรี) ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงก่อสร้าง ได้เริ่มทยอยออก NTP ให้เข้าพื้นที่ก่อสร้างตั้งแต่ ม.ค.-2564

สำหรับ 3 สัญญาที่ลงนามวันนี้ ได้แก่
สัญญา 4-3 งานโยธา ช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม. งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มีบริษัท เอ.เอสแอสโซศซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) บริษัท ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่น เอนยิเนียริ่ง คอร์ปอเรชั่น ลิมิเต็ด ก่อสร้าง วงเงิน 11,525,350,500 บาท

สัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่ อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร งานก่อสร้างถนน งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง วงเงิน 6,573,000,000 บาท

สัญญา 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น คันทางระดับดิน 7.02 กม. และทางยกระดับ 24.58 กม. งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ก่อสร้าง วงเงิน 9,428,999,969.37 บาท

@รับเหมาฟันราคาสัญญา 4-2 ส่อล้มประมูลใหม่

รายงานข่าวแจ้งว่า สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ซึ่งกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร เป็นผู้ชนะประมูลวงเงิน 8,626.8 ล้านบาท ขณะที่ราคากลาง 10,917 ล้านบาท หรือต่ำกว่าราคากลางมากถึง 26.55% ซึ่งการที่เอกชนไม่ยืนราคา รฟท.จะพิจารณาใน 2 แนวทาง คือ
1. ยกเลิกประมูล
2. เจรจากับผู้เสนอราคารายที่ 2 โดยผู้ว่าฯ รฟท.จะเสนอที่ประชุมบอร์ด รฟท.พิจารณาในเดือน เม.ย.นี้
https://www.youtube.com/watch?v=5MEbL0AY7yg
https://www.youtube.com/watch?v=shhS1gk56-8


Wisarut wrote:
รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 16.46 น.


รฟท. เดินหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนต่อ ลงนามก่อสร้างงานโยธาอีก 3 สัญญา คาดให้บริการได้ในปี 2569
Suphalerk Soodyodprasert
วันที่ 29 มีนาคม 2564 เวลา 13.47 น.
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/3923174137729502


จัดไปอีก 3 สัญญา!รถไฟไฮสปีดเฟส 1 รวม 54 กม. 2.7 หมื่นล้าน
*”ศักดิ์สยาม”จี้ปิดจ็อบลงนาม 4 สัญญาที่เหลือภายในปีนี้
*อดใจรอก่อสร้างแล้วเสร็จ/พร้อมเปิดบริการปลายปี 69
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2870241629864003
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 402, 403, 404 ... 542, 543, 544  Next
Page 403 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©