RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181365
ทั้งหมด:13492600
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 403, 404, 405 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2021 12:17 pm    Post subject: Reply with quote

เตรียมเปิดหลักสูตรใหม่ "วิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง" โดย ม.ขอนแก่น
11 มีนาคม 2564





มหาวิทยาลัยขอนแก่น เตรียมเปิดหลักสูตร “วิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง” เพื่อรองรับตลาดงานรถไฟความเร็วสูง ในความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยชั้นนำของจีน Southwest Jiaotong ซึ่งเป็นต้นแบบหลักสูตรวิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train Engineering)

โดยกงสุลใหญ่แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำจังหวัดขอนแก่น ได้เข้าร่วมประชุมโครงการ High Speed Train ร่วมมือกับต่างประเทศ เพื่อติดตามความคืบหน้าหลักสูตรใหม่ของมหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่กำลังจะเปิดสอนนี้

รศ.นพ.ชาญชัย พานทองวิริยะกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้กล่าวถึงหลักสูตร (โดยสรุป) ว่า



“โครงการเมกะโปรเจกต์ของไทย เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย เป็นความร่วมมือไทย-จีน ซึ่งจะเชื่อมโยงไทยสู่อาเซียน และไปถึงจีนได้ โดยโครงการจะแล้วเสร็จในปี 68 และเปิดให้ใช้งานในปี 72

แบ่งการดำเนินการก่อสร้างเป็น 2 ระยะด้วยกัน ดังนี้

การก่อสร้างระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา
การก่อสร้างระยะที่ 2 เส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย
โครงการรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว มีเส้นทางพาดผ่านประเทศลาวด้วย ผ่านจังหวัดหนองคาย ขอนแก่น และไปสู่กรุงเทพมหานคร

ในการดำเนินการก่อสร้างตามโครงการนี้ ทางมหาวิทยาลัยขอนแก่น จึงตระหนักถึงความสำคัญในการผลิตบัณฑิตที่มีศักยภาพเพื่อสนับสนุนโครงการนี้ได้”



โครงการรถไฟความเร็วสูง นอกจากการก่อสร้างในไทยแล้ว ยังมีการก่อสร้างดังกล่าวนี้ในประเทศเมียนมาร์ ลาว และมาเลเซียด้วยเช่นกัน

รถไฟความเร็วสูง มีส่วนอย่างมากในการผลักดันเศรษฐกิจ และอุตสาหกรรม ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรวางแผนเตรียมการทางด้านบุคลากร เพื่อรองรับตลาดงานด้านนี้ในอนาคต

ส่วนความคืบหน้าของหลักสูตร วิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง ขณะนี้กำลังอยู่ในช่วงปรึกษาหารือในรายละเอียดหลักสูตร เพื่อสรุปเนื้อหาการเรียนการสอน




Wisarut wrote:
“มข.” จับมือจีนเปิดหลักสูตรใหม่ "High Speed Train Engineering” รองรับรถไฟความเร็วสูง
การศึกษา
สยามรัฐออนไลน์
1 มีนาคม 2564 14:59 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 30/03/2021 5:16 pm    Post subject: Reply with quote

ครม. อัดฉีด 2.1 พันล้าน เวนคืนไฮสปีด CP ยังไม่พิจารณา แหลมฉบังเฟส3
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 30 มีนาคม 2564 - 17:35 น.


ครม.เคาะกรอบวงเงินเวนคืนไฮสปีดซี.พี. เพิ่ม 2,170 ล้าน แบ่งก้อนแรก 607 ล้านเวนคืน “สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา” ให้ทัน ต.ค. 64 ยังไม่มีการพิจารณา “แหลมฉบังเฟส 3” ของกลุ่มกัลฟ์-ปตท.ไชน่าฮาร์เบอร์

น.ส.ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มี.ค. 2564 เห็นชอบตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เสนอแผนงานขยายกรอบวงเงินเวนคืนและจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน

เคาะงบเวนคืนเพิ่ม 2,170 ล้าน
เป็นการอนุมัติให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ปรับเพิ่มกรอบวงเงินเวนคืนอีก 2,170 ล้านบาท ทำให้ค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจาก 3,570 ล้านบาทเป็น 5,740 ล้านบาท โดยวงเงินดังกล่าวแบ่งเป็น 1. ขออนุมัติจากงบกลางปี 2564 วงเงิน 607 ล้านบาท เนื่องจากมีความจำเป็นต้องใช้ในการส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา ซึ่งมีกำหนดจะต้องส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 นี้ โดยมีความจำเป็นต้องได้รับการจัดสรรในวันที่ 21 พ.ค. 2564 และ 2. จากการจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมาสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และเผื่อเป็นค่าอุทธรณ์จำนวน 1,562 ล้านบาท

อีอีซียังไม่ชง แหลมฉบังเฟส3
ด้านนายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ทางอีอีซียังไม่ได้เสนอผลการเจรจาโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ระยะที่ 1 ท่าเทียบเรือ F วงเงิน 84,361 ล้านบาท ระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี แต่อย่างใด

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้เรือโท กมลศักดิ์ พรหมประยูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย(กทท.) กล่าวว่า ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 (ท่าเทียบเรือ F) วงเงิน 84,361 ล้านบาท มีระยะเวลาสัมปทาน 35 ปี ผลประมูลมีกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บมจ. กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ ,บจ. พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล และบจ.ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง เป็นผู้ชนะ ประมูล

ล่าสุด คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ได้เห็นชอบผลการคัดเลือกแล้วอยู่ในขั้นตอนนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบกรณีวงเงินที่เจรจากับเอกชน ต่ำกว่ากรอบที่อนุมัติ

กัลฟ์-ปตท.ไชน่าฮาร์เบอร์เสนอเฉียด 3 หมื่นล้าน
“จากการเจรจากับเอกชนได้ปรับเพิ่มผลตอบแทนขึ้นมาที่ 29,050 ล้านบาท ต่ำกว่ากรอบราคาที่คาดหวัง 32,225 ล้านบาท ประมาณ 9.85% คาดว่าจะลงนามสัญญาได้ภายในปีนี้”

หลัง ครม.เห็นชอบ จะใช้เวลาอีกประมาณ 2 เดือน ส่งร่างสัญญาให้อัยการสูงสุดตรวจสอบ และเสนอ กพอ.อนุมัติก่อนลงนามสัญญา โดยหลังลงนามกลุ่ม GPC จะรับผิดชอบดำเนินการเรื่อง EIA ให้แล้วเสร็จใน 1 ปี และก่อสร้างใน 4 ปี

ทั้งนี้ ผลตอบแทนที่ 29,050 ล้านบาท หากคำนวณNPV ตลอดอายุสัมปทาน 35 ปี จะอยู่ที่กว่า 87,400 ล้านบาท ซึ่งยอมรับได้ และเมื่อเทียบกับตัวเลขที่ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน (FS) ต่ำกว่าประมาณ 300 ล้านบาท เท่านั้น

รายงานข่าวแจ้งว่า คาดว่าแหลมฉบังเฟส3ครม.จะอนุมัติในสัปดาห์หน้า

ครม.ไฟเขียวเพิ่มค่าเวนคืนไฮสปีด 3 สนามบิน 2.1 พัน ล.
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 30 มีนาคม 2564 เวลา 17:18
ปรับปรุง: วันที่ 30 มีนาคม 2564 เวลา 17:18

ครม.เคาะเพิ่มงบเวนคืนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 2.17 พันล้านบาท วงเงินรวมแตะ 5.74 พันล้านบาท โดยให้ใช้งบกลางปี 64 จ่ายก่อน 607 ล้านบาท เพื่อเร่งส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใน ต.ค. นี้

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 30 มี.ค.ได้เห็นชอบหลักการความคืบหน้า การส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำเสนอ เพิ่มค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 2,170 ล้านบาท จากกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ 3,570 ล้านบาท เพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท โดยสำนักงบประมาณมีความเห็นให้พิจารณาค่าเวนคืนตามความเป็นจริง ไม่ใช่ยึดแต่ราคาตลาด พร้อมกันนี้ ได้ทางอีอีซีพิจารณาหากมีวงเงินเหลือให้นำมาเป็นค่าเวนคืนได้

ทั้งนี้ ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เร่งดำเนินการและจัดทำไทม์ไลน์การดำเนินงาน รายงานต่ออีอีซีและกระทรวงคมนาคม ทุกเดือน เพื่อให้ช่วยกันติดตามแผนดำเนินงานให้ไปตามเป้าหมาย ซึ่งการส่งมอบพื้นที่จะแบ่งเป็น 3 ช่วง ขณะนี้ยังเป็นไปตามเป้าหมาย คือ ส่วนนอกเมืองตั้งแต่ สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ซึ่งจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed : NTP) ให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ ภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 และการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ช่วงสุวรรณภูมิ-มักกะสัน-พญาไท) และเฟส 2 ส่วนพื้นที่ในเมืองตั้งแต่ พญาไท-ดอนเมือง มีกำหนดส่งภายใน 2 ปี หรือภายในเดือนต.ค. 2566 ซึ่งจากการติดตามความพร้อมคาดว่าจะสามารถเร่งรัดและส่งมอบได้ไม่เกิน เดือน ธ.ค. 2565

สำหรับงบค่าเวนคืนที่เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ วงเงิน 607 ล้านบาท เป็นงบกลางปี 2564 ใช้สำหรับเป็นค่าเวนคืนที่ดิน ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา เพื่อให้สามารถส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ภายในเดือน ต.ค. 2564 และ ส่วนที่ 2 วงเงิน 1,562 ล้านบาท เป็นงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 สำหรับค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และเผื่อค่าอุทธรณ์เพิ่มเติม

อนุมัติแล้ว ครม.ไฟเขียวกรอบวงเงินเวนคืนไฮสปีดเพิ่ม 2,170 ล้าน

30 มีนาคม พ.ศ. 2564 เวลา 18:34 น.

30 มี.ค.64 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเห็นชอบหลักการความคืบหน้า การส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภค โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ซึ่งทางคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) นำเสนอ เพิ่มค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน จำนวน 2,170 ล้านบาท จากกรอบวงเงินค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ 3,570 ล้านบาท เพิ่มเป็น 5,740 ล้านบาท

ทั้งนี้ การขอขยายกรอบวงเงินเพิ่มนั้น สืบเนื่องจากภายหลังการลงพื้นที่ พบว่า พื้นที่ที่จะเวนคืน มีราคาตลาดเพิ่มสูงขึ้น รวมถึงในบางพื้นที่ จะต้องมีการขยายเขตทางเพิ่มเติม
สำหรับวงเงิน 2,170 ล้านบาท แบ่งเป็น งบจำเป็นเร่งด่วน โดยขอรับงบกลางปี 2564 เพื่อจ่ายค่าเวนคืนช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 607.56 ล้านบาท จะเสนอ ครม. อีกครั้งต่อไป ซึ่งถือว่ามีความจำเป็นเร่งด่วน ให้ทันส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิภายใน 24 ต.ค. 2564 และขอรับงบประมาณประจำปี 2565 วงเงิน 1,562.59 ล้านบาท ประกอบด้วย ค่าเวนคืน ช่วงพญาไท-ดอนเมือง วงเงิน 792.11 ล้านบาท และค่าเผื่ออุทธรณ์ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา (อาจไม่ต้องใช้) วงเงิน 770.48 ล้านบาท

อย่างไรก็ตามขณะที่ การทำสัญญาหลังประกาศค่าทดแทนทั้งหมด 754 สัญญา พื้นที่รวม 920 ไร่นั้น ขณะนี้ดำเนินการไปแล้ว 78% เหลืออีก 22% จะเร่งทำสัญญาให้แล้วเสร็จภายในต้น ก.ย. 2564 ทั้งนี้ ภายใน มิ.ย. 2564 จะทราบว่า มีผู้มาทำสัญญาเท่าใด ซึ่งหากไม่มาทำสัญญา รฟท.จะออกประกาศครอบครองและวางทรัพย์ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนและการได้มาซึ่งอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกิดการครอบครองต่อไป

รายงานข่าวจากที่ประชุม ระบุอีกว่า การส่งมอบพื้นที่ของโครงการนั้น จะแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา จะส่งมอบพื้นที่ไม่เกินวันที่ 24 ต.ค. 2564 จากนั้นจะออกเอกสารแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) เพื่อให้เอกชนคู่สัญญาเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไป ส่วนระยะที่ 2 ช่วงพญาไท-ดอนเมือง จะเร่งรัดส่งมอบพื้นที่ไม่เกิน ธ.ค. 2565 ซึ่งจะเร็วกว่าแผนที่กำหนด 1 ปี หรือจากเดิมกำหนดส่งมอบพื้นที่ภายใน ต.ค. 2566

Wisarut wrote:
ชงครม.เพิ่มค่าเวนคืนไฮสปีด 2.1พันล.ขยายเขตทาง เคลียร์บุกรุก-เวนคืน จบ ต.ค.64ส่งมอบ”ซีพี”
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.
ปรับปรุง: วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:48 น.


30 มี.ค. ขอ ครม. เพิ่ม 2.1 พันล้าน จ่ายเวนคืนไฮสปีด เร่งส่งมอบพื้นที่ CP ต.ค.64
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 25 มีนาคม 2564 - 16:13 น.

Wisarut wrote:
โละหนี้แอร์พอร์ตลิงก์ 2 หมื่นล้านให้รัฐ
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 24 มีนาคม 2564 - 17:10 น.


Last edited by Wisarut on 02/04/2021 2:37 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 31/03/2021 6:45 am    Post subject: Reply with quote

รับเหมายอมรับ เหนื่อย กับรถไฟ'ไทย-จีน'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564

รับเหมารายกลางโอดรถไฟไทย-จีน เช็นสัญญาช้า 2 ปี ทำมูลค่าโครงการขยับ ต้นทุนวัสดุก่อสร้าง เหล็กพุ่ง แรงงานต่างด้าวขาดจากพิษโควิด รับเหมา สัญญา 4-2 ดอนเมืองนวนคร ส่งสัญญาณโบกมือลายืนราคาไม่ไหว รฟท.จ่อประมูลใหม่ ด้าน คมนาคม สั่งลงนามเพิ่ม 4 สัญญา ในปีนี้ พร้อมลุยออกแบบรถไฟไทย-จีน เฟส 2 คาดแล้วเสร็จ ก.ค.นี้

กว่า 2 ปีหลังประมูลรถไฟไทย-จีนเฟสแรก หรือ โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพมหานครนครราชสีมา) ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท จำนวน 14 สัญญา มีความล่าช้า ทั้งการปรับแบบเพื่อความเหมาะสม ต้องทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอ เพิ่มเติม พระราชกฤษฎีกา (พรฎ.) เวนคืนที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ยังไม่ผ่านความ เห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.)ผู้รับเหมาที่ลงนามในสัญญาไปแล้ว บางรายอาจยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ และเนื่องจากรถไฟไทย-จีนเป็นโครงการประวัติศาสตร์ เอกชนจึงให้ความสำคัญสร้างประวัติศาสตร์ให้กับบริษัทของตนเองเช่นเดียวกัน จึงเกิดปรากฏการณ์ตัดราคาต่ำกว่าราคากลางค่อนข้างมาก ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น เมื่อการเช็นสัญญาล่าช้า ส่งผลให้ต้นทุนก่อสร้าง วัสดุก่อสร้าง อาทิ เหล็กขยับขึ้น แรงงานจากประเทศเพื่อนบ้านขาดแคลนจากสถานการณ์โควิด-19 บางรายถึงขั้นถอดใจ ขอยกเลิกงานประมูลก่อนลงนามในสัญญา เห็นได้ชัดอย่างสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท จากราคากลางกว่า 10,000 ล้านบาท

นายอังสุรัสมิ์ อารีกุล ประธานกรรมการ บริษัท เอ.เอส. แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) จำกัด ในฐานะนายกสมาคมก่อสร้างไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ที่ยอมรับว่า ได้ตัดราคาประมูลต่ำกว่าราคากลางถึง 20% ในสัญญา 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กิโลเมตร นามกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK (ไชน่าสเตท,เนาวรัตน์,เอ.เอส.แอสโซซิเอท) วงเงิน 11,525.36 ล้านบาท ล่าสุดเซ็นสัญญา เรียบร้อยแล้ว หลังรอมากว่า 2 ปี อย่างไรก็ตาม เพื่อสร้างเกียรติประวัติให้กับบริษัท แม้จะเหนื่อยจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น บริษัทและพันธมิตรมั่นใจว่าน่าจะสร้างผลกำไรที่ดีได้ในระยะยาว พร้อมทั้งเดินหน้าประมูลงานโครงการรถไฟไทย-จีนระยะที่ 2 (นครราชสีมาหนองคาย) เชื่อมโยง รถไฟจีน-ลาวที่จะเปิดเดินรถปลายปีนี้

ภายหลังจากเช็นสัญญา 3 สัญญาเพิ่มเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า จะให้เอกชนเข้าพื้นที่เพื่อลงมือก่อสร้าง ซึ่งมีระยะเวลาก่อสร้างแต่ละสัญญา 1,080 วัน (2 ปี 9 เดือน) รวมวงเงินก่อสร้างทั้ง 3 สัญญา 27,527,350,469.37 บาท คาดเปิดให้บริการภายในปี 2569 เพื่อเชื่อมโยง รถไฟ จีน-ลาว ที่ก่อสร้างแล้วเสร็จ พร้อมให้บริการเดิน รถปลายปีนี้ ขณะอนาคตมีแผนก่อสร้างเส้นทางตอนใต้ของไทย เชื่อมมาเลเซียและสิงคโปร์ ซึ่งจะทำให้ไทยเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ระบบขนส่งทางราง ทางบกและทางน้ำ

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพ-หนองคาย เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา (โคราช)-หนองคาย ระยะทางราว 356 กิโลเมตร ปัจจุบันการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างออกแบบรายละเอียด คาดแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2564 คาดว่าจะดำเนินการก่อสร้างแล้วเสร็จหลังจากช่วงแรกที่เปิดให้บริการราว 3-4 ปี

ขณะเดียวกันอีก 4 สัญญาคาดว่าจะเร่งลงนามสัญญาแล้วเสร็จภายในปีนี้ ประกอบด้วย สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กิโลเมตร วงเงิน 18,000 ล้านบาท สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กิโลเมตร วงเงิน 8,626.8 ล้านบาท สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กิโลเมตร วงเงิน 9,913 ล้านบาท และสัญญา 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง ปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30.21 กิโลเมตร วงเงิน 9,930 ล้านบาท

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวว่า ทั้ง 3 สัญญาที่ลงนามแล้วนั้น เบื้องต้นจะออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ภายใน 2 เดือน ขณะเดียวกันสัญญา 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ยังไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ เนื่องจากต้องรอพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน) นำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อออกประกาศ ก่อนถึงจะดำเนินการเข้าพื้นที่บริเวณดังกล่าวได้ ส่วนสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ไม่สามารถลงนามสัญญาได้ทันในวันที่ 29 มีนาคมที่ผ่านมา เนื่องจากกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร,บจ.สหการวิศวกรและบจ.ทิพากร ที่ชนะการประมูล วงเงิน 8,626.8 ล้านบาทที่ไม่ประสงค์ยืนราคา เพราะเสนอราคาต่ำกว่าราคากลาง

"ทั้งนี้สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างพิจารณาข้อกฎหมายยกเลิกและเปิดประมูลใหม่หรือเชิญเอกชนรายที่ 2 คือ บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่เสนอราคาสูงกว่ารายแรก 2,000 ล้านบาท ขณะเดียวกันเรามองว่ารฟท.มีแนวโน้มที่จะเปิดประมูลใหม่ เนื่องจากราคาที่เอกชนเสนอต่างกันเยอะ ถ้าเราเรียกเอกชนรายที่ 2 ขึ้นมาเสนอราคา เกรงว่าอาจจะเกิดข้อพิพาทได้หรือเราอาจจะทำหนังสือขอความคิดเห็นต่อกรมบัญชีกลาง หากได้ความชัดเจนแล้วจะเริ่มประมูลใหม่ ทั้งนี้จะต้องเสนอเข้าที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.พิจารณาเห็นชอบ คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 1-2 เดือนนี้"

อนาคตมีแผนก่อสร้างเส้นทางตอนใต้ของไทย เชื่อมมาเลเซียและสิงคโปร์
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/04/2021 11:21 am    Post subject: Reply with quote

เข็นรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเปิดใช้ปี’70
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 เมษายน 2564 - 09:25 น.

คืบหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน “กทม.-โคราช” เซ็นเพิ่ม 3 สัญญา กว่า 2.7 หมื่นล้าน ร.ฟ.ท.เร่งเคลียร์ปม 4 สัญญาที่เหลือ ติดปมร้องศาล ชงบอร์ดเจรจา “ยูนิค” สร้างช่วง “ดอนเมือง-นวนคร” หลังผู้ชนะไม่ยืนราคา เร่งถก CP สรุปแบบทับซ้อนช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองให้จบปีนี้ “ศักดิ์สยาม” ลั่นเปิดหวูดปี’69-70 ลุยออกแบบเฟส 2 ช่วง “โคราช-หนองคาย” ให้เสร็จ ก.ค.นี้ ลงทุน 2.5 แสนล้าน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 29 มี.ค. 2564 ได้ลงนามในสัญญางานโยธาโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงิน 179,413 ล้านบาท จำนวน 3 สัญญา วงเงิน 27,527 ล้านบาท

ได้แก่ สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525.35 ล้านบาท มีกลุ่มกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่าสเตทคอนสตรัคชั่นฯ, บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ และ บจ.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นคู่สัญญา, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ เป็นคู่สัญญา และสัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทาง 31.6 กม. วงเงิน 9,428.99 ล้านบาท มี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชัน เป็นคู่สัญญา

“ทั้ง 3 สัญญาจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ในปีนี้ ทำให้ภาพรวมของโครงการขณะนี้ลงนามก่อสร้างแล้ว 10 สัญญา เหลือ 4 สัญญา ติดขัดด้านข้อพิพาทกับเอกชน จะพยายามเร่งรัดให้เซ็นสัญญาในปีนี้ สำหรับการเปิดบริการ ตอนนี้วางเป้าไว้ในปี 2569-2570”

นายศักดิ์สยามกล่าวอีกว่า สำหรับ 4 สัญญาที่ยังไม่ได้ลงนาม ได้แก่ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม.กว่า 10,000 ล้านบาท ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน จะสรุปความชัดเจนการทำสถานีร่วมของทั้ง 2 โครงการในปีนี้

ขณะที่สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม. ราคากลาง 10,917 ล้านบาท เดิมกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากรเสนอราคาต่ำสุดที่ 8,626 ล้านบาท แต่ไม่ยืนราคาตามกำหนด ล่าสุดการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังพิจารณาเรื่องนี้จะเดินหน้าต่ออย่างไร

นอกจากนี้กระทรวงกำลังเร่งแบบรายละเอียดรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เฟส 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356 กม. วงเงิน 250,000 ล้านบาท คาดว่าในเดือน ก.ค.นี้แบบเบื้องต้นจะเสร็จ จากนั้นดูปัญหาอุปสรรค ซึ่งให้นโยบายว่า แนวเส้นทางไม่ควรเข้าไปในเขตชุมชน ให้ใช้ทางเลี่ยงเมือง เพื่อลดผลกระทบการเวนคืนของประชาชนและการขยายการพัฒนาออกไป จะทำให้งบประมาณไม่เพิ่มขึ้น

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. กล่าวกับ “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า รับทราบถึงปัญหาสัญญาที่ 4-2 ที่ผู้รับเหมาไม่ยืนราคาแล้ว แนวทางที่จะดำเนินการต่อไปคือ เชิญผู้เสนอราคาต่ำสุดลำดับถัดไปมาเจรจา คือ บมจ.ยูนิคฯ จะเสนอให้ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท.พิจารณาอนุมัติในเร็ว ๆ นี้

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ที่ติดข้อพิพาทที่ศาลปกครองขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอศาลมีคำพิพากษา ส่วนสัญญา 2.3 งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟ และฝึกอบรมบุคลากร วงเงิน 50,633 ล้านบาท ซึ่งลงนามกับประเทศจีนเมื่อเดือน ต.ค. 2563

ขณะนี้จีนส่งความคืบหน้างานออกแบบแล้ว แต่มีปัญหาการเบิกจ่ายเพราะจีนเตรียมเอกสารไม่ครบ ซึ่งการออกแบบยังอยู่ในกรอบเวลา 10 เดือน คาดว่าจะลงนามในหนังสือส่งมอบงาน (NTP) ฉบับที่ 2 ติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ ระบบไฟฟ้า และผลิตขบวนรถ 48,933 ล้านบาท ส่วนฉบับที่ 3 ฝึกอบรมบุคลากรและการถ่ายทอดเทคโนโลยี 1,000 ล้านบาท จะส่งมอบ NTP ต่อเมื่องานใน NTP ฉบับที่ 2 เริ่มงานไปแล้ว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถไฟไทย-จีน แบ่งสร้าง 14 สัญญา เสร็จแล้ว 1 สัญญา ช่วงกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. และอยู่ระหว่างสร้าง 6 สัญญา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2021 1:50 pm    Post subject: Reply with quote

“ไฮสปีดเทรน” เพิ่มทุน 4 พันล้าน ไตรมาส 4 ยกเครื่องแอร์พอร์ตลิงก์
อสังหาริมทรัพย์
วันศุกร์ที่ 2 เมษายน 2564 เวลา 07:45 น.

กลุ่ม ซี.พี.เพิ่มทุนอีก 4,000 ล้าน เดินหน้า “ไฮสปีด” เชื่อม 3 สนามบินลุยรีแบรนดิ้งแอร์พอร์ตลิงก์ เปิดหวูดโฉมใหม่ 25 ต.ค.นี้ ร.ฟ.ท.ส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ปรับแผน “พญาไท-บางซื่อ” เร็วขึ้น 1 ปี คมนาคมเร่งเคลียร์ปมทับซ้อนรถไฟไทย-จีน EEC คิกออฟเมืองการบินอู่ตะเภาปลายปีนี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า นับจากวันที่ 24 ต.ค. 2562 บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด นิติบุคคลเฉพาะกิจที่กลุ่ม ซี.พี.จัดตั้งขึ้นเซ็นสัญญาร่วมทุนสัมปทาน 50 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. และแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท

ตามสัดส่วนการถือหุ้น ได้แก่ บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 70% บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 15% และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 5% ซึ่งตามสัญญา กลุ่ม ซี.พี.จะต้องมีทุนจดทะเบียนชำระแล้วไม่น้อยกว่า 25,000 ล้านบาท ก่อนเริ่มการให้บริการเดินรถและบำรุงรักษาโครงการเกี่ยกับรถไฟ

กลุ่ม ซี.พี.เพิ่มทุนอีก 4 พันล้าน
ล่าสุด นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซี.พี.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า จะเพิ่มทุนจดทะเบียนในบริษัทอีก 4,000 ล้านบาท รวมกับทุนเดิม 4,000 ล้านบาท เป็นวงเงิน 8,000 ล้านบาท เพื่อนำมาใช้ดำเนินการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์ ซึ่งรัฐจะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างให้ภายในเดือน ต.ค. 2564 ตามกรอบเวลา 2 ปีที่กำหนดไว้ในสัญญา

“เราต้องทำตามสัญญา ทันทีที่รัฐส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างตามสัญญา เราพร้อมดำเนินการทันที จริง ๆ ตอนนี้เตรียมการลงทุนไปมากกว่า 2,000 ล้านบาท ในส่วนของรถไฟความเร็วสูง การทำงานทุกอย่างต้องเซฟ ซึ่งการเพิ่มทุนเป็นคนละส่วนกับแหล่งเงินทุนของโครงการ เราต้องมาจัดการอีกที ถ้าภาครัฐสนับสนุนแหล่งทุนก็เป็นเรื่องดี เพราะยังไงเราก็ต้องจัดหาแหล่งเงินทุนอยู่แล้ว”

รีแบรนด์ “แอร์พอร์ต ลิงก์”
นายศุภชัยกล่าวอีกว่า สำหรับการรับโอนสิทธิเดินรถแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ยังเป็นไปตามไทม์ไลน์คือจะรับโอนภายในวันที่ 24 ต.ค. และเปิดเดินรถวันแรกวันที่ 25 ต.ค. 2564 โดยบริษัทจะจ่ายค่าใช้สิทธิ์เดินรถให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จำนวน 10,671 ล้านบาท เป็นการจ่ายงวดเดียว

ส่วนการดำเนินการโครงการอยู่ระหว่างวางแผนร่วมกันและเตรียมการลงทุนในทันทีที่เข้าบริหารโครงการ แต่สิ่งสำคัญคือจะต้องมีความปลอดภัยและการโอเปอเรตการเดินรถจะต้องไม่สะดุด

“อาจรีแบรนดิ้งแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ใหม่ทั้งหมด อยู่ระหว่างสรุปรูปแบบและแบรนด์ร่วมกันอยู่ เพื่อปรับเปลี่ยนโครงการไปสู่ภาพลักษณ์ใหม่ แต่การเปลี่ยนแปลงต้องค่อยเป็นค่อยไป เพราะกว่ารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินจะก่อสร้างแล้วเสร็จก็อีก 5 ปี ยังมีเวลาเปลี่ยนผ่าน การจะเปลี่ยนแปลงอะไรในทันที ประชาชนอาจจะสับสนได้”

รัฐอัดค่าเวนคืน 2.1 พันล้าน
นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 30 มี.ค. 2564 คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติขยายกรอบวงเงินค่าเวนคืนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อีก 2,170 ล้านบาท ทำให้ค่าเวนคืนเพิ่มขึ้นจากเดิม 3,570 ล้านบาท เป็น 5,740 ล้านบาท โดยจะใช้งบฯกลางปี 2564 จำนวน 607 ล้านบาท จ่ายเวนคืนเร่งด่วนช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้ทันส่งมอบพื้นที่ให้ ซี.พี.ในเดือน ก.ย.นี้ และช่วงพญาไท-ดอนเมือง ในเดือน ต.ค. 2566


“ทราบว่าทาง ซี.พี.พร้อมมอบพื้นที่ตามสัญญาและมีการนำคนของแอร์พอร์ตลิงก์ไปบางส่วนบ้างแล้ว ส่วนแหลมฉบังเฟส 3 ยังไม่มีการเสนอ ครม.”

แหล่งข่าวจาก ร.ฟ.ท.กล่าวว่า พร้อมส่งมอบพื้นที่เฟสแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ให้ ซี.พี. วันที่ 24 ต.ค.นี้ ได้เคลียร์ผู้บุกรุก 302 หลัง ออกจากพื้นที่และล้อมรั้วเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง จะเร่งรัดส่งมอบในเดือน ธ.ค. 2565 เร็วขึ้นจากเดิมในเดือน ต.ค. 2566

เคลียร์จุดทับซ้อนไม่ลง
ส่วนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ที่ประชุมคณะทำงานมีปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน มีมติเร่งการส่งมอบพื้นที่ส่วนนี้ให้ได้ภายในเดือน ต.ค.นี้ จากเดิมจะส่งมอบในเดือน ต.ค. 2565 โดยให้กลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้ก่อสร้างช่วงนี้เพราะมีความพร้อมมากกว่ารถไฟไทย-จีน

“ยังมีปัญหาต้องแก้ไข เรื่องโครงสร้างเดิมที่ออกแบบไว้โดยจีน มีขนาดใหญ่มาก เพราะรองรับความเร็วสูงสุดของรถไฟความเร็วสูงที่ 250 กม./ชม. และไปกระทบกับระบบสาธารณูปโภคอื่น ๆ มีค่าใช้จ่ายเฉพาะงานโครงสร้างส่วนนี้ประมาณ 10,000 ล้านบาท ซึ่งกลุ่ม ซี.พี.ยินดีจะก่อสร้างให้ แต่ต้องลดขนาดโครงสร้าง เพราะใช้รถแอร์พอร์ตลิงก์วิ่งผ่านบริเวณนี้ ซึ่งใช้ความเร็วสูงสุดแค่ 160 กม./ชม. จะประหยัดค่าก่อสร้างลงไปอีก แต่จีนไม่ยอม ทำให้ยังไม่มีข้อสรุปในขณะนี้”

สิ้นปีคิกออฟอู่ตะเภา
นายโชคชัย ปัญญายงค์ ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ปลายปี 2564 จะส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา เนื้อที่ 6,500 ไร่ ให้กับ บจ.อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น (UTA) ประกอบกับ บมจ.การบินกรุงเทพ, บมจ.บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้ง และ บมจ.ซิโน-ไทยฯ ผู้รับสัมปทานโครงการ

การพัฒนาโครงการแบ่งเป็น 4 ระยะ ใช้เงินก่อสร้าง 2 แสนล้านบาท แยกเป็นค่าก่อสร้าง 1.3 แสนล้านบาท ค่ารีโนเวต-ซ่อมบำรุงตามวงรอบอีก 7 หมื่นล้านบาท โดยระยะที่ 1 ใช้เงินลงทุนประมาณ 3 หมื่นล้าน ประกอบด้วย อาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 พื้นที่ 157,000 ตร.ม. และหลุมจอดอากาศยาน 60 หลุมจอด เพื่อเพิ่มศักยภาพในการรองรับผู้โดยสารเป็น 15.9 ล้านคน/ปี จะแล้วเสร็จในปี 2567

“ต.ค.นี้กองทัพเรือจะประมูลรันเวย์ 2 สนามบินอู่ตะเภา วงเงิน 1.7 หมื่นล้านบาท หลังได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อม หรือ EHIA”

นายโชคชัยกล่าวอีกว่า ส่วนโครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) อู่ตะเภา วงเงิน 10,000 ล้านบาท ของ บมจ.การบินไทย ยังคงกันพื้นที่ไว้ให้ รอการบินไทยสรุปขนาดของโครงการเพราะมีการศึกษาใหม่เพื่อลดต้นทุน ซึ่งโครงการนี้ระบุไว้ในแผนฟื้นฟูกิจการแล้ว ปัจจุบันกองทัพเรือกำลังถมที่เพิ่มเพื่อพัฒนาเป็น MRO ในอนาคตทั้งของการบินไทยและสายการบินอื่น ๆ


Last edited by Wisarut on 05/04/2021 10:45 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 02/04/2021 8:25 pm    Post subject: Reply with quote

บรรยากาศงานเมืองแก่งคอยย้อนยุค ที่หลังสถานีรถไฟแก่งคอย ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกอาคารไม้หลังสถานีก่อนที่จะถูกริ๊อในโครงการรถไฟความเร็วสูง
https://www.facebook.com/teerayoot.khoonkhum/posts/3893640867350312
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2021 10:48 am    Post subject: Reply with quote

เวนคืนที่ดินไฮสปีด ชาวบ้านยอมถอย จ่าย5เท่าราคาประเมิน
ออนไน์เมื่อ วันที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 02:00 น.

ตีพิมพ์ใน ข่าวหน้า 1
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,667 วันที่ 4 - 7 เมษายน พ.ศ. 2564

เวนคืนที่ดินไฮสปีด ชาวบ้านยอมถอย จ่าย5เท่าราคาประเมิน
ชาวบ้านอู้ฟู่ ได้ชดเชยเวนคืน ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ตั้งแต่ 1 ล้าน-100 ล้าน รฟท.ทุ่มงบแจกไม่อั้น กว่า 5,000 ล้าน พร้อมยอมออกนอกพื้นที่ โรงงาน-บ้านจัดสรรหนักสุดมองว่าได้ไม่คุ้มเสีย

การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) เร่งชดเชยค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดิน ให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการเวนคืนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)ระยะทาง 250 กิโลเมตร

โดยเฉพาะช่วงตั้งแต่เขตลาดกระบังกรุงเทพมหานคร ไปจนถึงสนามบินอู่ตะเภา มีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จำนวน 931 แปลง 850 ไร่กว่า 700 สัญญาที่ผ่านมามีเจ้าของที่ดินทยอยเช็นสัญญาเหลือ 150 แปลง ยังไม่เซ็นสัญญาทั้งนี้หากใครไม่ยินยอมจะใช้วิธีออกประกาศเร่งด่วนเข้าครอบครองพื้นที่พร้อมวางเงินชดเชยไว้กับธนาคาร เพราะต้องการส่งมอบพื้นที่ให้กับบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินจำกัดตั้งขึ้นโดย กิจการร่วมค้าบริษัท เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตรในฐานะผู้รับสัมปทาน ภายในเดือนตุลาคมนี้การเวนคืนมี 11 จุด พื้นที่ที่ได้รับผลกระทบมากสุดจังหวัดฉะเชิงเทรา 500 ไร่ กว่า 400 แปลง เปิดหน้าดินใหม่ลดปัญหาโค้งหักศอก สร้างตัวสถานีและศูนย์ซ่อมบำรุงครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางเตย ตำบลวังตะเคียน ตำบลบ้านใหม่ เขตอำเภอเมืองซึ่งตำบลวังตะเคียงถูกเวนคืนมากกว่า200แปลงอย่างไรก็ตามในความสูญเสียกลับพบว่า รฟท. ได้ ทุ่มงบประมาณเยียวยา ให้ใกล้เคียงราคาตลาด ตั้งกรอบวงเงิน 3,700 ล้านบาท และ ล่าสุดเพิ่มงบประมาณ อีก 2,100 ล้านบาท ตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2564หากย้อนไปในช่วงต้นของโครงการ ชาวบ้าน, กลุ่มเอ็นจีโอหรือองค์กรเอกชน รวมกลุ่มต่อต้าน ที่รุนแรงที่สุดคือ ฉะเชิงเทรา ต่อมาในภายหลังได้พิจารณาเกณฑ์ค่าชดเชยให้สมน้ำสมเนื้อจนเป็นที่พอใจเพื่อมิให้ไฮสปีดสายประวัติศาสตร์เส้นนี้ต้องล่าช้า


ขณะปัจุบันแหล่งข่าวรฟท.ระบุว่า การโอนกรรมสิทธิ์ที่ดิน สำหรับสร้าง เส้นทางไฮสปีดฯ แต่ละสำนักงานที่ดิน ระหว่างชาวบ้านกับรฟท.เป็นไปอย่างคึกคักพร้อมรับเช็กสะพัดไปแล้ว 200-300 ใบ ค่าเวนคืนที่เบิกจ่ายสูงถึง 3-6 เท่า ของราคาประเมินกรมธนารักษ์ปี 2559 -2563 ประชาชนส่วนมากพอใจหากใครขายในช่วงนี้ย่อมถูกกดราคาหรือไม่มีใครซื้อเนื่อง จากสถานการณ์โควิดเกณฑ์การชดเชยยอมรับไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่หากเป็นบ้านจัดสรรจะให้ชดเชยเฉลี่ย 2.5 เท่าเนื่องจากกรมธนารักษ์ประเมินไว้สูงแล้วเพราะมีการพัฒนาวางระบบสาธารณูปโภคเข้าแปลงที่ดิน หากเป็นเลือกสวนไร่นา บ้านเรือนชาวบ้านจะให้เฉลี่ย 3-เกือบ 6 เท่าเพราะราคาประเมินค่อนข้างต่ำในภาพรวมได้รับค่าชดเชยไปกันตั้งแต่ 1 ล้านบาท-กว่า 100 ล้านบาทไล่ตั้งแต่ เขตลาดกระบัง แขวง คลองสาม แขวงประเวศ แขวงลาดกระบัง บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิจำนวน 111 แปลง ได้รับค่าชดเชย 3.08 เท่า เช่นที่ดินให้เช่าของวัดลาดกระบังสำหรับเจ้าใหญ่ได้รับเงินชดเชย ตั้งแต่1ล้านถึง 20 ล้านบาทโดย กทม.สูงสุด 3.1 เท่าใกล้แอร์พอร์ตเรลลิงค์ สถานีลาดกระบัง เนื้อที่ 9 ไร่เป็นพื้นที่ทำป้ายวางตู้คอนเทนเนอร์ได้ค่าชดเชย 20 ล้านบาทส่วนฉะเชิงเทรารับชดเชย 4 เท่า ส่วนใหญ่เป็นที่ดินเกษตรราคาประเมิน 600-800 บาทต่อตารางวา ชาวบ้านบางรายได้รับเงิน 6 ล้านบาท ทั้งที่เสียที่ดินไปไม่มาก ส่วนบ้านจัดสรรได้รับชดเชยเฉลี่ย 2.5 เท่าเนื่องจากราคาประเมินสูง 20,000-25,000 บาทต่อตารางวาและมีโรงงานผลิตยาได้รับชดเชยกว่า 50 ล้านบาท

ขณะจังหวัดชลบุรี บริเวณตำบลบ้านสวนหนองข้างคอกเวนคืน 30 แปลง 30-40 ไร่ ได้รับชดเชย 4 เท่าของราคาประเมินฯอำเภอบางละมุงใกล้สถานี จำนวน 70 แปลง 100 ไร่ ตำบลนาเกลือ หนองปรือชดเชย 3.5 เท่า เช่นเดียวกับอำเภอศรีราชาตำบลบางพระ, ตำบลสุรศักดิ์ได้ชดเชยกว่า 5 เท่า 25 แปลง เนื้อที่ 20-30 ไร่ ขณะพัทยาได้ชดเชย 3-4 เท่า เนื่องจากราคาประเมินสูง ในจังหวัดชลบุรีมีบริษัทพัฒนาที่ดินในพื้นที่ติดต่อขอทำสัญญารับเงินชดเชยไป 10 ล้านบาท ทำเลศรีราชา ซื้อที่ดินรอพัฒนา ขณะบางโครงการพัฒนาเป็นบ้านจัดสรรขายแล้ว รับค่าชดเชย 30-40 ล้านบาท นอกจากนี้ พื้นที่อำเภอ สัตหีบ บริเวณตำบลเขาชีจรรย์ และตำบลบางเสร่ เวนคืนกว่า 100 แปลง ค่าชดเชย 3-4 เท่าขณะอำเภอบ้านฉางตำบลสำนักท้อนชดเชย 5 เท่าเนื่องจากราคาประเมินฯ ต่ำตารางวาละหลัก 100 บาท ส่วนโรงงานอิเล็กทรอนิกส์ที่ระยองได้รับชดเชย กว่า 100 ล้านบาทสำหรับโครงการบ้านจัดสรรที่กระทบรุนแรงคือ “เดอะแกรนด์บางแสน” ถูกเวนคืนครึ่งโครงการจากทั้งหมด 147 หน่วยตั้งอยู่ ตำบลห้วยกะปิซอย 17อำเภอเมืองจังหวัดชลบุรีราคาขายตารางวาละ 26,000 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2021 4:07 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รับเหมายอมรับ เหนื่อย กับรถไฟ'ไทย-จีน'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2564


ลิงก์มาแล้วครับ : รับเหมายอมรับ เหนื่อย กับรถไฟ'ไทย-จีน'
ฐานเศรษฐกิจ
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:05 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7 ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,666 วันที่ 1 - 3 เมษายน พ.ศ. 2564
https://www.thansettakij.com/content/474586
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 05/04/2021 4:09 pm    Post subject: Reply with quote

'คมนาคม'เตรียมเจรจา "ซีพี"ควักจ่ายโครงสร้างพื้นฐาน"ไฮสปีดฯ"รองรับโครงการอื่นๆ
5 เมษายน 2564
คมนาคมสั่งทบทวนแผนพัฒนาส่วนต่อขยายรถไฟชานเมืองสายสีแดง 4 โครงการ เล็งเปิดพีพีพีก่อสร้างควบเดินรถ ร.ฟ.ท.ลั่นอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบ คาดเปิดประมูล 2567 เร่งผลักดันช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และบางซื่อ - หัวหมาก เป็นส่วนแรก เจรจา “ซีพี” ควักจ่ายงานโยธา พร้อม

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจค) โดยระบุว่า ปัจจุบันมีโครงการสำคัญที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติและอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการรวม 8 โครงการ วงเงินกว่า 3.69 แสนล้านบาท ซึ่งมี 4 โครงการที่กระทรวงฯ มีนโยบายให้ลงทุนในรูปแบบเอกชนร่วมลงทุนโครงการรัฐ (พีพีพี) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำรายงานพีพีพี คือ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง

โดยแบ่งเป็น

1. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงรังสิต - ม.ธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต) วงเงินโครงการ 6.57 พันล้านบาท

2.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน - ศาลายา) วงเงิน 1.02 หมื่นล้านบาท


3.โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงตลิ่งชัน - ศิริราช) วงเงิน 6.64 พันล้านบาท

4. โครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (ช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ - หัวหมาก) วงเงิน 4.41 หมื่นล้านบาท



รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เผยว่า ตามนโยบายของกระทรวงคมนาคมที่ต้องการเปิดให้เอกชนร่วมลงทุนรูปแบบพีพีพีในโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีแดง ส่งผลให้ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ต้องเริ่มดำเนินการศึกษารายละเอียดความเหมาะสม เพื่อจัดทำรายงานพีพีพี ปรับปรุงจากผลการศึกษาเดิมที่ ร.ฟ.ท.จะประมูลจัดหาเอกชนรับเหมางานโยธาเท่านั้น เบื้องต้นคาดว่าจะต้องใช้เวลาศึกษารายละเอียดประมาณ 3 ปีแล้วเสร็จ เพื่อเริ่มกระบวนการประกวดราคาในปี 2567

“เดิมโครงการส่วนต่อขยายนี้ การรถไฟฯ จะเปิดประมูลหาผู้รับเหมาตามโครงการทั่วไปที่เคยทำ ก็ศึกษาโครงการและเสนอผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) แล้ว แต่เมื่อมีนโยบายให้ปรับรูปแบบศึกษาทำพีพีพี จึงต้องนำโครงการมาทบทวน เพื่อให้ได้ยอดเงินลงทุนที่ชัดเจน เพราะก่อนหน้านี้จะมีแต่วงเงินค่าก่อสร้าง ตอนนี้ก็ต้องศึกษารวมไปถึงวงเงินค่าเดินรถ รูปแบบพีพีพีที่เหมาะสม ต้องใช้เวลาในการศึกษาอย่างละเอียด”

สำหรับโครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง เดิม ร.ฟ.ท.มีเป้าหมายเปิดประกวดราคาและเริ่มงานก่อสร้างภายในปี 2564 รวม 3 สัญญา ประกอบด้วย ช่วงรังสิต - มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต, ช่วงตลิ่งชัน – ศิริราช และช่วงตลิ่งชัน – ศาลายา ส่วนโครงการช่วงบางซื่อ - หัวลำโพง และช่วงบางซื่อ – หัวหมาก หรือที่เรียกว่า Missing Link เนื่องจากต้องใช้โครงสร้างทางร่วมกับรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน จึงเป็นโครงการที่ต้องเร่งหารือและแยกดำเนินการก่อสร้างงานโยธา

การเงินรายวัน
เศรษฐีไทย: ทำอย่างไรให้รวยทำงานจากที่บ้านโดยไม่ต้องขายอะไรเลย
เรียนรู้เพิ่มเติม
อ่านเลย→
"ปธ.วิปรัฐบาล" โยน "ชวน"" เลื่อน-งด ประชุมรัฐสภา หลังพบ"ส.ว."เสี่ยงติดโควิด-19
สุราษฎร์ธานี กักตัวเข้มผู้ร่วมกิจกรรมทูบีนัมเบอร์วัน หลังพบผู้ป่วย 'โควิด-19' จำนวน 6 ราย
พบโควิดคลัสเตอร์ใหม่
แหล่งข่าวยังเผยด้วยว่า จากการปรับแผนพัฒนาโครงการในรูปแบบพีพีพีนั้น เบื้องต้นประเมินว่าจะทำให้โครงการล่าช้าออกไปราว 3 ปี เพราะต้องเริ่มกระบวนการศึกษารูปแบบร่วมลงทุน ส่วนช่วง Missing Link ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้หารือร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษ ภาคตะวันออก (สกพอ.) และเอกชนผู้รับสัมปทานไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน เพื่อหาข้อสรุปในการลงทุนโครงสร้างทางร่วม

“นโยบายของรัฐบาล ผู้รับเหมาโครงการที่ต้องเข้าพื้นที่ก่อนเป็นผู้ลงทุนเตรียมฐานรากไว้ให้โครงการอื่นด้วย เพราะการเดินหน้าก่อสร้างครั้งเดียว ย่อมดีกว่าสร้างหลายครั้ง ผลกระทบประชาชนในพื้นที่ก็จะน้อยกว่า ซึ่งตอนนี้ก็อยู่ระหว่างการหารือว่าเอกชนโครงการไฮสปีดเทรนสามสนามบิน จะสามารถลงทุนงานโครงสร้างให้ก่อน และเมื่อได้เอกชนจากพีพีพีสายสีแดง ก็จะจ่ายชดเชยกันได้หรือไม่ หรือจะมีรูปแบบอื่นเหมาะสมกว่า”

ทั้งนี้ โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง จะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง ช่วงบางซื่อ - รังสิต และบางซื่อ - ตลิ่งชัน โดยปัจจุบัน ร.ฟ.ท.ได้เปิดทดลองเดินรถ และจะเปิดให้ประชาชนทดลองใช้บริการฟรี ในเดือน ก.ค. - พ.ย.นี้ ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์กลางเดือน พ.ย.2564 ซึ่งมีการกำหนดราคาสูงสุดไม่เกิน 42 บาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42628
Location: NECTEC

PostPosted: 06/04/2021 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูงที่จะผ่านเมืองแก่งคอย จะมีอาคารเก่าถูกรื้อออกบางส่วน แต่มีความจำเป็นต้องอนุรักษ์อาคารบางหลังไว้ จึงขอเรียนให้ชาวแก่งคอยได้ทราบว่า อาคารที่ไม่ถูกริ้อมีดังนี้
1.อาคารสถานีแก่งคอยจะปรับปรุงให้สวยงามยิ่งขึ้นแต่อยู่ในสภาพเดิม
2.บ้านสารวัตรบำรุงทาง ถูกเคลื่อนย้ายห่างออกไปจากที่ตั้งเดิมเล็กน้อย
3.บ้านวิศวกรอำนวยการศูนย์จะไม่ถูกรื้อเช่นเดียวกัน แต่จะถูกย้ายออกห่างจากที่ตั้งเดิมเล็กน้อย
ในส่วนอื่นๆให้สอบถามได้จากฝ่ายการช่างโยธา การรถไฟฯแก่งคอยครับ

https://www.facebook.com/teerayoot.khoonkhum/posts/3904558566258542
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 403, 404, 405 ... 542, 543, 544  Next
Page 404 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©