RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181805
ทั้งหมด:13493044
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 405, 406, 407 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 28/04/2021 9:06 pm    Post subject: Reply with quote

ทำไมรถไฟความเร็วสูงไทย ถึงความเร็วแค่ 250 กม/ชม!!!
เปรียบเทียบรูปแบบการก่อสร้าง และค่าใช้จ่ายต่างๆ ของโครงการรถไฟความเร็วสูง พร้อมตัวอย่างโครงข่ายต่างประเทศ!!!!
จากที่โพสต์รายละเอียดเรื่องความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว มีหลายๆคนพูดถึงความเร็วของรถไฟความเร็วสูงของไทย ว่าทำไมใช้ความเร็วแค่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง
แล้วไปเปรียบเทียบกับโครงการของอินโดนีเซีย ซึ่ง
ระยะทางแค่ 150 กิโลเมตร แต่ใช้ความเร็วถึง 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง
รู้หรือไม่ว่าถ้าทางรถไฟความเร็วสูงสายโคราชใช้ความเร็วเพิ่มขึ้นเป็น 350 จะลดเวลาการเดินทางได้แค่ 12 นาทีเท่านั้น!!! แต่ค่าโดยสารอาจจะต้องเพิ่มอีกอย่างน้อย 3 เท่าตัว!!!
ผมเลยได้ฤกษ์งามยามดีในการเอารายละเอียด และความแตกต่างของการออกแบบ ค่าก่อสร้าง และค่าโดยสารของความเร็วที่แตกต่างกัน
โดยเอารายละเอียดการเปรียบเทียบจากการศึกษาของจีน ซึ่งเป็นเจ้าของเทคโนโลยีของทั้งไทยเรา และอินโดนีเซีย ตามเอกสาร “China’s High-Speed Rail Development” ของ World Bank
ลิ้งค์เอกสารตัวเต็ม

http://documents1.worldbank.org/curated/en/933411559841476316/pdf/Chinas-High-Speed-Rail-Development.pdf
—————————
ในหัวข้อ Construction
ให้รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าก่อสร้างเฉลี่ย ของแต่ละความเร็ว (เป็นมาตรฐานรถไฟทางคู่) ตามนี้
- 350 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 139 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 700 ล้านบาท/กิโลเมตร)
- 250 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 114 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 570 ล้านบาท/กิโลเมตร)
- 200 กม/ชม ค่าก่อสร้าง 104 ล้านหยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 520 ล้านบาท/กิโลเมตร)
ซึ่งอย่างที่เห็น ค่าเฉลี่ยของความเร็ว 350 และ 250 มีค่าก่อสร้างแตกต่างกันถึง 20% !!!! ยังไม่รวมค่าซ่อมบำรุง และค่าเดินรถต่างๆซึ่งแพงกว่ากันอีกมาก
—————————
รายละเอียดความแตกต่างของการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ในแต่ละความเร็ว ระหว่างหว่างมาตรฐาน
- 350 กม/ชม(อินโดนีเซีย)
- 250 กม/ชม (ไทย)
- 160-200 กม/ชม (ลาว)
*** ของลาวไม่แน่ใจว่าเข้าเกณฑ์ได้มั้ยเพราะจากข้อมูลวิ่งแค่ 160 และเป็นทางเดี่ยว!!!
—————————
แบ่งเป็นไปตามหัวข้อดังนี้ครับ
Alignment
- ระยะห่างระหว่างทางรถไฟ (จากจุดกึ่งกลางรถไฟ)
350 กม/ชม ระยะห่าง 5 เมตร
250 กม/ชม ระยะห่าง 4.6 เมตร
160-200 กม/ชม ระยะห่าง 4.2 เมตร
- รัศมีโค้ง
350 กม/ชม Slabtrack 7,000 เมตร
250 กม/ชม Slabtrack 3,200 เมตร Ballasted 3500 เมตร
160-200 กม/ชม Slabtrack 2,200 เมตร
*** ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของค่าใช้จ่ายในการออกแบบ
รูปแบบทางรถไฟ (Track)
350 กม/ชม Slabtrack เท่านั้น
250 กม/ชม Slabtrack หรือ Ballasted
160-200 กม/ชม ส่วนมากเป็น Ballasted
ความกว้างฐานคันทางรถไฟ (Subgrade width)
350 กม/ชม Slabtrack 13.6 เมตร
250 กม/ชม Slabtrack 13.2 เมตร Ballasted 13.4 เมตร
160-200 กม/ชม Slabtrack 11.5 เมตร Ballasted 10.3 เมตร
ความหนาฐานคันทางรถไฟ (Subgrade thickness)
350 ,250 และ 200 กม/ชม ใช้ Slabtrack หนา 2.7 เมตร เท่ากันหมด
250 และ 200 กม/ชม ใช้ Ballasted หนา 3 เมตร เท่ากัน
ขนาดพื้นที่ผิวอุโมงค์ (Effective Area)
350 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 100 ตารางเมตร Single Track 70 ตารางเมตร
250 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 90 ตารางเมตร Single Track 58 ตารางเมตร
160-200 กม/ชม พื้นที่ผิว Double Track 72 ตารางเมตร Single Track 35 ตารางเมตร
อาณัติสัญญาณ
- มาตรฐานอาณัติสัญญาณ
350 กม/ชม CTCS L3
250 กม/ชม CTCS L3 หรือ CTCS L2
160-200 กม/ชม CTCS L2
- ระบบเชื่อมต่อข้อมูล ไร้สาย GSM-R
350 กม/ชม Single network interlaced coverage
250 กม/ชม CTCS L3 Single network interlaced coverage หรือ CTCS L2 Common Single network interlaced coverage
160-200 กม/ชม CTCS L2 Single network interlaced coverage
ระบบจ่ายไฟฟ้า (Power Supply)
350 ,250 กม/ชม จ่ายไฟผ่านระบบ Auto Transformer
200 กม/ชม ผ่านระบบจ่ายไฟตรงผ่านระบบ Current Return Wire
ระบบสายส่งไฟฟ้า (OCS)
- เสาหลัก (Subgrade Mast)
350 กม/ชม เสา H-Beam เดี่ยว
250 และ 200กม/ชม เป็นเสาคอนกรีตกลมเดี่ยว
- คานเกาะสาย OCS
350 กม/ชม คานอลูมิเนียมอัลลอย
250 และ 200กม/ชม คานเหล็ก
ซึ่งอย่างที่เห็นในรายละเอียดเปรียบเทียบของแต่ละส่วน เห็นได้ชัดเจนเลยว่า ความเร็ว 350 กม/ชม Spec และ ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างที่สูงกว่า 250 กม/ชม ที่เราใช้มากๆ
————————
แต่ความเร็วที่แตกต่างกัน ในการเดินทางมันต่างกันขนาดไหน???
- โครงการรถไฟความเร็วสูงของอินโดนีเซีย สาย Jakata-Bandung
ใช้ความรถไฟความเร็วสูงรุ่น CR400AF
มีระยะทาง 142 กิโลเมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 44 นาที
*** ความเร็วเฉลี่ย 193 กิโลเมตร/ชั่วโมง
*** ค่าโดยสารชั้น 2 (ชั้นทั่วไป) สูงสุดประมาณ 1000 บาท
*** เฉลี่ยกิโลเมตรละ 7 บาท
อยากรู้จักโครงการรถไฟความเร็วสูงอินโดนีเซีย ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1128227910949020/?d=n
เปรียบเทียบกับโครงการของไทย
- โครงการรถไฟความเร็วสาย กรุงเทพ-โคราช
ใช้ความรถไฟความเร็วสูงรุ่น CR300AF
มีระยะทาง 250 กิโลเมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ใช้เวลาประมาณ 90 นาที
*** ความเร็วเฉลี่ย 166 กิโลเมตร/ชั่วโมง
*** ค่าโดยสารชั้น 2 (ชั้นทั่วไป) สูงสุดประมาณ 536 บาท
*** เฉลี่ยกิโลเมตรละ 2.1 บาท!!!!
ลองเปรียบเทียบดูแล้วจะเข้าใจครับ ว่าทำไมเราถึงเลือกใช้ความเร็วสูงสุดแค่ 250 กม/ชม !!!!
***ซึ่งถ้าเราจะเพิ่มความเร็วเป็น 350 กม/ชม เราจะลดเวลาการเดินทางลงได้แค่ 12.5 นาที!!! แต่เราต้องเพิ่มค่าโดยสารอีกอย่างน้อย 3 เท่าตัว มันจะคุ้มมั้ย!!!!
———————
แล้วถ้าเทียบกับจีน ซึ่งมีทั้งโครงข่ายความเร็ว 350 และ 250 กม/ชม จีนได้ตั้งราคาค่าโดยสารไว้คือ
ความเร็ว 350 กม/ชม
- ชั้น 1 ราคาเฉลี่ย 0.75 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 3.75 บาท/กิโลเมตร)
- ชั้น 2 ราคาเฉลี่ย 0.46 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 2.3 บาท/กิโลเมตร)
ความเร็ว 250 กม/ชม
- ชั้น 1 ราคาเฉลี่ย 0.35 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 1.75 บาท/กิโลเมตร)
- ชั้น 2 ราคาเฉลี่ย 0.29 หยวน/กิโลเมตร (ประมาณ 1.45 บาท/กิโลเมตร)
ดังนั้นขนาดพี่จีนเอง ราคาของความเร็ว 350 ยังแพงกว่า 250 ถึงเท่าตัว!!!
———————
แล้วถ้าเปรียบเทียบโครงข่ายของประเทศใหญ่ๆ เค้าล่ะโครงข่ายรถไฟความเร็วสูงมีความเร็วเท่าไหร่บ้าง มากน้อยขนาดไหน
- จีน
ใช้ความเร็ว 350 เพียงแค่ในเส้นทางหลักระหว่างเมืองใหญ่ ซึ่งมีความหนาแน่นของผู้โดยสารมาก!!! เช่น ปักกิ่ง-เชี่ยงไฮ้ , ปักกิ่ง-เสินเจิ้น(ฮ่องกง) ,เชี่ยงไฮ้-คุนหมิง และเส้นหลักตามระหว่างมหานคร
ใช้ความเร็ว 250 ในเส้นทางที่เหลือ ตามเส้นทางระหว่างเชื่อมต่อเมืองย่อย ตามภูมิภาคที่มีความหนาแน่นของผู้โดยสารต่ำกว่า เช่น เส้นทางเลียบชายฝั่ง เชี่ยงไฮ้-เสินเจิ้น , กวางโจว-คุนหมิง, ซีอาน-อุรุมชี และเส้นย่อยอื่นๆ
ซึ่งอย่างที่เห็นว่าแม้กระทั่งพี่จีนซึ่งเป็นผู้นำของรถไฟความเร็วสูงยังเลือกใช้ความเร็วที่แตกต่างกันตามความจำเป็นและความหนาแน่นของผู้โดยสารเลยครับ!!!
- เยอรมัน
ความเร็วมากกว่า 300 กม/ชม มีแค่ 3 เส้นทางหลักๆ คือ Leipzig-Erfurt-Nuremburge, Nuremburge-Ingolstadt และ Frankfurt-Colone
ที่เหลือก็จะเป็นเส้นทางความเร็ว 250-200 กิโลเมตร/ชั่วโมงในเส้นทางอื่กๆ เป็นโครงข่ายรองรับ ซึ่งจริงๆเป็นความเร็วหลักของระบบ ICE (รถไฟความเร็วสูงเยอรมัน) เป็นหลัก
ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ ICE4 ซึ่งเป็นรถไฟรุ่นล่าสุดของเยอรมัน ใช้ความเร็วสูงสุดแค่ 250 กิโลเมตร/ชั่วโมง ซึ่งไม่เร็วมาแต่เน้นความสะดวกสบายในการโดยสารเป็นหลัก
———————
ดังนั้น ผมมองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสมแล้วที่ไทยเราเลือกรถไฟความเร็วสูงแค่ความเร็ว 250 กม/ชม เท่านั้น!!!
———————
ใครสนใจรายละเอียดโครงการรถไฟความเร็วสูงสายโคราช ดูได้ตามลิ้งค์นี้ครับ
ภายในโครงการแบ่งทางวิ่งเป็น 3 รูปแบบคือ
- ทางวิ่งระดับดิน มีระยะทางรวม 54.09 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ มีระยะทางรวม 188.68 กิโลเมตร
- อุโมงค์ มีระยะทางรวม 8 กิโลเมตร
รวมระยะทางในโครงการทั้งหมด 250.77 กิโลเมตรใช้เวลาเดินทาง 90 นาที
โดยในโครงการมีสถานีทั้งหมด 6 สถานี ได้แก่
- สถานีกลางบางซื่อ
- สถานีดอนเมือง
- สถานีอยุธยา
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629629310808885/?d=n
- สถานีสระบุรี
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/630481400723676/?d=n
- สถานีปากช่อง
รายละเอียดสถานี
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/634748183630331/?d=n
- สถานีนครราชสีมา (โคราช)
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/629142004190949/?d=n
มีศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟ และบำรุงทาง ทั้งหมด 3 แห่งคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟฟ้า และศูนย์ควบคุม เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง สระบุรี และ โคสะอาด
รายละเอียดสัญญางานระบบ และขบวนรถไฟฟ้า Fuxing Hao CR300 ที่ไทยใช้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1057547391350406/?d=n
ตัวอย่างการใช้งาน CR300AF จากจีน
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1132019530569858/?d=n
สัญญางานโยธาทั้ง 10 สัญญา ที่เซ็นไปแล้ว จากทั้งหมด 14 สัญญา
*** ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา คือ ช่วงกลางดง-ปางอโศก โดยกรมทางหลวง ซึ่งเป็น Site ทดลองปรับวัสดุภายในประเทศ
*** เริ่มก่อสร้างไปมากแล้ว 1 สัญญา คือ สัญญา 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กิโลเมตร
แบ่งเป็นงาน
- ทางวิ่งระดับดิน 6.7 กิโลเมตร
- ทางวิ่งยกระดับ 4.2 กิโลเมตร
- อาคารศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด
มูลค่าการก่อสร้างรวม 3,114 ล้านบาท
ก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิล เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด
ซึ่งจากรายงานล่าสุด ความคืบหน้าของโครงการช่วงนี้ เสร็จไปแล้ว 58% ณ วันที่ 23 เมษายน 64
*** สัญญาใหม่ที่พึ่งเซ็นสัญญาไป 8 สัญญา
- สัญญาที่ 3-2 งานโยธาสำหรับงานอุโมงค์ (มวกเหล็กและลำตะคอง)
ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างอุโมงค์ยาวรวม 8 กิโลเมตร และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.23 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-3 งานโยธาสำหรับช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง
ดำเนินการโดย บริษัท ไทยเอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด
ซึ่งมีงานก่อสร้างสถานีปากช่อง และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 26.10 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-4 งานโยธาสำหรับช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด
ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคือ มีงานก่อสร้างทางรถไฟระยะทางยาวที่สุดในโครงการ ถึง 37.45 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 3-5 งานโยธาสำหรับช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา
ดำเนินการโดย บริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด (ซึ่งประกอบด้วย บริษัท นภาก่อสร้าง จำกัด บริษัท ทิมเซคาร์ตาร์ เอสดีเอ็น บีเอชดีจำกัด และบริษัท
บิน่า พูรี่ เอสดีเอ็น บีเอชดี จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทจากประเทศมาเลเซีย)
ซึ่งเป็นงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.38 กิโลเมตร
- สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย
ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน)
ซึ่งมีจุดเด่นคืองานก่อสร้างสถานีสระบุรี และการก่อสร้างทางรถไฟระยะทางรวม 12.99 กิโลเมตร
อย่างที่เห็นรายชื่อบริษัทผู้รับเหมาที่ได้งานโยธาทั้งหมด ซึ่งเป็นงานจัดซื้อจัดจ้างผ่านระเบียบของไทยเราทั้งหมด ทำให้เอกชนในประเทศได้มีโอกาสรับงาน ไม่เหมือนกับโครงการที่จีนไปลงทุนก่อสร้างในประเทศอื่นๆ
ซึ่งในส่วนนี้เป็นส่วนที่น่าสนใจทั้งการก่อสร้างตัวสถานี ทั้ง 3 สถานี เป็นพื้นที่ผ่านเขา โดยจะมีการทำอุโมงค์ และสะพานยาว เพื่อลดความชัน และรัศมีโค้งของทางรถไฟ
เราได้เซ็นสัญญา เพิ่มอีก 3 สัญญา จากทั้งหมด 14 สัญญา คือ
- สัญญาที่ 4-3 งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ วงเงินก่อสร้าง 11,525,350,500 บาท
เป็น งานโยธาสำหรับช่วงนวนคร-บ้านโพ ประกอบด้วย
- งานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับ 23 กม.
- งานก่อสร้างทางวิ่งเข้าศูนย์ซ่อมบำรุง
งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า งานระบบระบายน้ำ งานรื้อย้ายรางและระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-4 งานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงินก่อสร้าง 6,573,000,000 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย ประกอบด้วย ทางรถไฟระดับพื้นในศูนย์ซ่อมบำรุง งานอาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงรวมถนนต่อเชื่อม ได้แก่
- อาคารระบบซ่อมบำรุงขบวนรถไฟ 19 อาคาร
- อาคารควบคุมระบบการจัดการเดินรถและฝึกอบรม 4 อาคาร
- อาคารสำหรับระบบซ่อมบำรุงทาง 8 อาคาร
งานก่อสร้างถนนงานระบบระบายน้ำและงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
- สัญญาที่ 4-6 งานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี วงเงินก่อสร้าง 9,428,999,969.37 บาท
เป็นงานโยธาสำหรับช่วงพระแก้ว-สระบุรี ประกอบด้วย งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 31.60 กม. แบ่งเป็น
- คันทางระดับดิน 7.02 กม.
- ทางยกระดับ 24.58 กม.
งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า 7 แห่ง รวมทั้งงานรื้อย้ายสถานีเดิม งานปรับปรุงย้ายถนนเดิม งานก่อสร้าง สะพานข้ามทางรถไฟ งานระบบระบายน้ำ และงานรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคต่างๆ
รายละเอียดเซ็นสัญญา 5 สัญญา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1080880232350455/?d=n
รายละเอียดเซ็นสัญญา 3 สัญญา
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/1161172834321194/?d=n
รายละเอียด Site ทดลอง กลางดง-ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร เพื่อทำการศึกษาวิธีการก่อสร้างคันทางรถไฟความเร็วสูง และปรับวัสดุก่อสร้าง ให้เข้ากับวัตถุดิบภายในประเทศ รายละเอียดตามนี้
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710350119403470?sfns=mo
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710985569339925?sfns=mo
และคลิปความคืบหน้า ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.facebook.com/491766874595130/posts/710488176056331?sfns=mo
ซึ่งสรุปคือ ตอนนี้เหลือรอเซ็นสัญญาอีก 3 สัญญา ถ้าเร่งให้เซ็นได้ภายในปีนี้ คาดว่าจะได้ใช้ปี 2569!!!!
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 29/04/2021 10:29 pm    Post subject: Reply with quote

ซี.พี. นับหนึ่งไฮสปีด 3 สนามบิน เซ็นจ้าง “อิตาเลียนไทย” เปิดหน้าดิน 3.6 พันล้าน
อสังหาริมทรัพย์
วันพฤหัสบดีที่ 29 เมษายน 2564 เวลา 15:35 น.


“อิตาเลียนไทย” แจ้ง “ตลาดหลักทรัพย์” จับมือ “ซีพี” นับหนึ่งเตรียมงาน งานก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา วงเงิน 3.6 พันล้าน คาด 31 ส.ค.นี้แล้วเสร็จ

เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2564 บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) แจ้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เรื่อง การลงนามในสัญญา งานเตรียมการเพื่อการก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ความว่า

เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 บริษัทได้ลงนามร่วมกับ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) เพื่อดำเนินการในงานเตรียมการเพื่อการก่อสร้างงานโยธาสำหรับโครงรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงินรวม 3,603.728 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1 เม.ย.-31 ส.ค. 2564

โดยเป็นงานเตรียมการในกิจกรรมต่าง ๆ ที่เป็นการเตรียมการล่วงหน้า (Early Work/Pre-NTP Work) ก่อนกำหนดวันแจ้งให้เริ่มงาน (Notice to Proceed:NTP) ตามสัญญาสัมปทานที่คาดว่าทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะกำหนดวันให้เริ่มงานได้ไม่ช้ากว่าวันที่ 23 ต.ค. 2564 เพื่อให้มั่นใจว่า งานก่อสร้างโยธาตามสัญญาหลักจะสามารถก่อสร้างและส่งมอบได้ทันตามเวลาที่กำหนด กิจกรรมต่าง ๆ ประกอบด้วย

1.งานเตรียมความพร้อมในส่วนของผู้รับจ้าง งานขนส่งในการทำงาน งานก่อสร้างสำนักงานสนาม ที่พักคนงาน ห้องทดลองในสนาม และพื้นที่เก็บกอง งานก่อสร้างโรงงานหล่อชิ้นคอนกรีตสำเร็จรูปสำหรับทำทางวิ่งรถไฟความเร็วสูง งานก่อสร้างโรงงานประกอบชิ้นส่วนพื้นโครงสร้างทางวิ่ง งานติดตามตรวจสอบผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม งานอำนวยความปลอดภัย และงานอำนวยจราจร งานเจาะสำรวจทางธรณี และเทคนิคในช่วงงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง


2.งานออกแบบรายละเอียดขั้นพื้นฐาน (Baseline Design)

3.เตรียมการเพื่อก่อสร้างโครงสร้าง ก่อสร้างถนนชั่วคราวตลอดความยาวของงานก่อสร้าง งานก่อสร้างสะพานขั่วคราวข้ามลำน้ำต่าง ๆ ตลอดความยาวก่อสร้าง งานทดสอบในสนามและในห้องทดลอง รวมงานทดสอบเสาเข็ม งานจัดหาเครื่องจักรพิเศษ เพื่องานติดตั้งพื้นโครงสร้างหล่อสำเร็จของทางวิ่งหลัก งานจัดหา Launching Truss เพื่องานติดตั้งพื้นโครงสร้างหล่อสำเร็จของทางวิ่งหลัก และ

4.ประสานงานเพื่อดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูปโภคต่าง ๆ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บจ. รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน เป็นนิติบุคคลเฉพาะกิจที่กลุ่ม ซี.พี.จัดตั้งเพื่อขึ้นเซ็นสัญญาร่วมทุนสัมปทาน 50 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. และแอร์พอร์ตลิงก์ (พญาไท-สุวรรณภูมิ) ด้วยทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท

ตามสัดส่วนการถือหุ้นปัจจุบัน ประกอบด้วย บจ.เจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง 70% บจ.ไชน่า เรลเวย์ คอนสตรัคชั่น (CRCC) 10% บมจ.ช.การช่าง และ บมจ.ทางด่วนและรถไฟฟ้ากรุงเทพ (BEM) 15% และ บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ 5%
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 03/05/2021 10:13 pm    Post subject: Reply with quote


งานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุงย่อยโคกสะอาด (Station Yard) โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-นครราชสีมา ประกอบด้วย ศูนย์ควบคุมการเดินรถ อาคารสำนักงาน ห้องพักพนักงาน โรงล้างรถไฟ ศูนย์ซ่อมบำรุงทางรถไฟ เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=nb8Yk8q1Bb0
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 05/05/2021 12:18 pm    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” ชงทางออกสร้าง “สถานีไฮสปีดอยุธยา”
*กำหนดผังเมืองห้ามพัฒนาเขตมรดกโลก
*หากไม่จบสร้างทางวิ่งก่อนสเตชั่นทีหลัง!!

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม แจ้งประเด็น 3 ข้อเสนอของทางคณะอนุกรรมการมรดกโลกฯ ประกอบด้วย

1.ให้สร้างสถานีอยุธยาเป็นสถานีใต้ดิน ซึ่งกระทรวงคมนาคมพิจารณาเบื้องต้นแล้ว พบว่า เป็นไปได้ยาก เพราะ จ.พระนครศรีอยุธยา เกิดเหตุการณ์น้ำท่วมบ่อยครั้ง จึงค่อนข้างมีความเสี่ยง และการจะทำระบบรองรับต้องใช้งบประมาณจำนวนมาก

2. ให้เปลี่ยนเส้นทางโดยเป็นเส้นทางเลี่ยงเมืองแทน ในประเด็นนี้คงไม่สามารถทำได้ เพราะสัญญาการก่อสร้างในส่วนอื่นได้ดำเนินการก่อสร้างไปแล้ว และ

3.ให้ขยับสถานีอยุธยาขึ้นไปด้านบน หรือด้านล่างให้ไกลจากพื้นที่เดิม ซึ่งข้อเสนอนี้สามารถดำเนินการได้ แต่เมื่อพิจารณาแล้วหากขยับออกไปอีก จะอยู่ห่างจากเมืองค่อนข้างมาก ทำให้ผู้โดยสารที่ใช้บริการสถานีดังกล่าวไม่ได้รับความสะดวก และกังวลว่าจะไม่มีผู้โดยสารมาใช้บริการสถานีแห่งนี้ ดังนั้นกระทรวงคมนาคม จึงต้องขอหารือร่วมเพื่อหาทางออกอื่นในการสร้างสถานีอยุธยาต่อไป
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2896951053859727
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2021 9:33 pm    Post subject: Reply with quote

ซี.พี.ตอกเข็มไฮสปีด “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 - 18:00 น.


อัพเดตแผนก่อสร้างไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ร.ฟ.ท.ยัน ต.ค.นี้ส่งมอบพื้นที่กลุ่ม ซี.พี.ได้ตามแผน เผยอนุมัติให้เข้าพื้นที่เตรียมไซต์ก่อสร้างไปแล้ว หารือสำนักงบฯของบฯกลางปี’64 วงเงิน 607 ล้าน เคลียร์เวนคืนเร่งด่วน สร้างเฟสแรก “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา” ที่เหลือขอปีหน้า เคาะจุดทับซ้อนช่วง “บางซื่อ-ดอนเมือง” เคาะ “รถไฟไทย-จีน” เป็นผู้สร้าง ดีเดย์ 25 ต.ค.เปิดวิ่งแอร์พอร์ตลิงก์โฉมใหม่

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า เมื่อเดือน มี.ค.ที่ผ่านมาอนุมัติให้ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่ม ซี.พี.) ผู้รับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท เข้าพื้นที่ก่อสร้างในเฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ทำถนน, ไซต์งานก่อสร้าง เป็นต้น โดยจ้าง บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เป็นผู้ดำเนินการ 3,603.728 ล้านบาท ระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย.-31 ส.ค. 2564

สำหรับความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างในส่วนต่าง ๆ ยังเป็นไปตามแผนเดิมทั้งหมด โดยรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงก์จากพญาไท-สุวรรณภูมิ ทางกลุ่ม ซี.พี.ยืนยันจ่ายค่าใช้สิทธิจำนวน 10,671 ล้านบาท และพร้อมรับมอบโครงการไปบริหาร จะเริ่มเดินรถวันแรกตั้งแต่วันที่ 25 ต.ค. 2564 เป็นต้นไป

เช่นเดียวกับการส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ยังกำหนดวันออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) ให้เอกชนเข้าพื้นที่เริ่มก่อสร้างได้ภายในวันที่ 24 ต.ค. 2564 จะใช้เวลาสร้าง 5 ปี ขณะนี้เอกชนยังไม่ได้มีการยื่นข้อเสนอขอยืดเวลาส่งมอบพื้นที่จากการแพร่ระบาดระลอกใหม่ของเชื้อไวรัสโควิด-19 แต่อย่างใด


แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า ขณะที่ความคืบหน้าหลังจากประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติเพิ่มกรอบวงเงินเวนคืนที่ดินอีก 2,170 ล้านบาท จากเดิม 3,570 ล้านบาท เป็น 5,740 ล้านบาท ตอนนี้กำลังประสานงานกับสำนักงบประมาณเพื่อขออนุมัติจากงบประมาณกลางปี 2564 วงเงิน 607 ล้านบาท เพื่อจ่ายค่าเวนคืนสำหรับการส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาให้ทันภายในเดือน ต.ค.นี้

โดยคาดว่าจะได้ข้อสรุปในเดือน พ.ค.-มิ.ย. 2564 นี้ ส่วนวงเงินที่เหลือจะจัดสรรจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2565 เพื่อเป็นค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินมาสำรวจอสังหาริมทรัพย์ และเผื่อเป็นค่าอุทธรณ์เพิ่มเติมต่อไป




นอกจากนี้ยังมีการหารือถึงแนวทางการดำเนินงานโครงสร้างที่ทับซ้อนกับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทางประมาณกว่า 10 กม. ในเบื้องต้นมีการหารือร่วมกันและสรุปว่าจะให้ ร.ฟ.ท.เป็นผู้ดำเนินการเอง เนื่องจากช่วงดังกล่าวหากให้กลุ่ม ซี.พี.เป็นผู้ดำเนินการตามแผนจะส่งมอบพื้นที่ช่วงดังกล่าวซึ่งรวมอยู่ในส่วนของพญาไท-ดอนเมือง จะส่งมอบได้ภายในเดือน ต.ค. 2566 อาจก่อสร้างไม่ทันตามแผนที่จะต้องเปิดบริการโครงการรถไฟไทย-จีน ภายในปลายปี 2567

ทั้งนี้ในรายละเอียดยังต้องหารือกันอีก เนื่องจากหากดำเนินการตามแนวทางนี้ยังมีเรื่องของการแก้ไขสัญญาสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน การย้ายขอบเขตงาน วงเงินสนับสนุนที่กลุ่ม ซี.พี.จะได้ไม่เกินค่างานโยธา จะต้องมีการปรับลดลงหรือไม่ รวมถึงเรื่องแบบการก่อสร้างอีกด้วย

“ทางเลือกในการออกแบบงานโครงสร้างมี 2 ทาง ทางที่ 1 ให้ฝ่ายจีนออกแบบให้ กับทางที่ 2 หากฝ่ายจีนไม่ยินยอม ทาง ร.ฟ.ท.อาจจะต้องเสนอ ครม.ขอเพิ่มวงเงินสำหรับออกแบบและก่อสร้างงานโครงสร้างช่วงนี้แทน โดยจะต้องเสนอให้ที่ประชุม ครม.รับทราบและอนุมัติแผนงานดังกล่าว ทั้งนี้ คาดว่าการหารือในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องแบบก่อสร้างจะแล้วเสร็จภายในกลางปีนี้ และน่าจะก่อสร้างพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าวได้ในปี 2565 ต่อไป” แหล่งข่าวกล่าว
https://www.youtube.com/watch?v=31zSusn3jfQ
https://www.youtube.com/watch?v=-bTqH-2qeWA


Last edited by Wisarut on 15/05/2021 12:30 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 07/05/2021 10:43 pm    Post subject: Reply with quote

ศูนย์ซ่อมบำรุงโคกสะอาด โครงการรถไฟความเร็วสูงสายโคราช มีไว้ทำอะไร มีอะไรอยู่บ้าง มีไว้ทำไม???
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
วันที่ 7 พฤษภาคม 2564 - 21:42 น.


วันนี้เอารายละเอียดของศูนย์ซ่อมบำรุงรถไฟความเร็วสูง มาให้เพื่อนๆชมกันบ้าง
ในโครงการรถไฟความเร็วสูงสายโคราช เรามีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ทั้งหมด 3 จุดคือ
- ศูนย์ซ่อมบำรุงหลัก เชียงรากน้อย
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเบา สระบุรี
- ศูนย์ซ่อมบำรุงเบา โคกสะอาด
ล่าสุดตอนนี้ที่เป็นรูปเป็นร่างก็เป็นศูนย์ซ่อมบำรุงเบา โคกสะอาด ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสัญญาที่ 2-1 ช่วง สีคิ้ว-กุดจิก ที่ผมพาไปชมมาหลายรอบ
ซึ่งช่วงนี้ก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง จำกัด เริ่มต้นก่อสร้างตั้งแต่ช่วงเดือน เมษายน 62 ซึ่งตามแผนจะใช้เวลาก่อสร้าง 540 วัน จะเสร็จประมาณ ช่วงเดือน ตุลาคม 63 (ปัจจุบันล่าช้าหลังการขยายเวลากว่าแผน 30 %)
—————————
เรามาดูรายละเอียดว่าศูนย์ซ่อมบำรุงเบา โคกสะอาด มีไว้ทำอะไร มีอะไรอยู่บ้าง และทำงานอย่างไร
หน้าที่ของศูนย์ซ่อมบำรุงเบาของรถไฟความเร็วสูง
เป็นย่านจอดรถไฟความเร็วสูง และซ่อมบำรุงซ่อมบำรุงตัวรถไฟเบื้องต้น รวมไปถึงเป็นพื้นที่จัดเก็บอุปกรณ์ในการซ่อมบำรุงทางรถไฟ และโครงสร้างพื้นฐานระบบรางแบบเบาในบางกรณีจะถูกจัดไว้เพื่อจอดขบวนรถไฟสำรองสำหรับเตรียมให้บริการในกรณีฉุกเฉิน
นอกจากนั้นแล้ว ยังเป็นพื้นที่ อาคารสำนักงานย่อยในแต่ละพื้นที่ พร้อมกับอาคารควบคุมอาณัติสัญญาณ อาคารจ่ายไฟฟ้าย่อย (Sub Station) และบ้านพักพนักงานของโครงการอีกด้วย
—————————
อาคารภายในศูนย์ซ่อมบำรุงย่อย โคกสะอาด
1. อาคารอาณัติสัญญาณ (Signaling Building)
2. อาคารจ่ายไฟฟ้า 22 kV (Sub Sataion 22 kV)
3. อาคารสำนักงาน
4. พื้นที่อาคารซ่อมบำรุงและย่านจอดรถไฟ (Work Area Rail Garage)
5. โรงเก็บอุปกรณ์ (Material Storage)
6. พื้นที่จัดเก็บน้ำมันซ่อมบำรุง (Work Area Oil Depot)
7. อาคารสื่อสาร (Communication Tower)
8. บ้านพักพนักงาน 3 หลัง
ใครอยากเห็นภาพเต็มๆหลังเสร็จของศูนย์ซ่อมบำรุงโคกสะอาด ดูได้จากในคลิปประชาสัมพันธ์สัญญา 2-1 ตามลิ้งค์นี้ครับ
https://www.youtube.com/watch?v=psIsh3xa0VI
—————————
แอบอิจฉาพนักงานในอนาคตของโครงการ ที่พักอยู่ในศูนย์ซ่อมบำรุงโคกสะอาดที่จะได้นอนดูรถไฟความเร็วสูง วิ่งผ่านตาที่ความเร็วสูงสุดผ่านตรงนี้ทุกชั่วโมงเลย………
—————————
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 09/05/2021 12:32 am    Post subject: Reply with quote

กทพ.หนุนขยาย ดอนเมืองเฟส3 รับไฮสปีดเชื่อม3สนามปี66
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 เวลา 02:30 น.
ตีพิมพ์ใน หน้า 7
ฐานเศรษฐกิจ
ฉบับที่ 3,675 วันที่ 2 - 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

กทพ.หนุนขยาย ดอนเมืองเฟส3 รับไฮสปีดเชื่อม3สนามปี66
กรณีบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เดินหน้าโครงการขยายท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 หรือก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่แห่งที่ 3 วงเงิน 3.8 หมื่นล้านบาท พร้อมเปิดประมูลภายในเดือนกันยายน 2564 บริเวณอาคารภายในประเทศหลังเดิมที่ปัจจุบันไม่ได้ใช้งานเพื่อรองรับการเดินทางนักท่องเที่ยวทั้งไทยและต่างชาติในอนาคตหลังสถานการณ์โควิดคลี่คลายนั้น


นายสุทธิพงษ์ คงพูล ผู้อำนวยการสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพท.) กล่าวว่า ในเชิงนโยบาย มองว่าดีเพราะปัจุจบันมีท่าอากาศยาน 3 แห่ง ที่ขยายเพิ่มเติมรองรับการเดินทางประกอบด้วย ท่าอากาศยานดอนเมือง ท่ากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา โดยมีรถไฟความเร็วสูงเชื่อมทั้ง 3 สนามบินเพราะถือว่ามีศักยภาพสูงภายในประเทศ รวมทั้งการบริหารจัดการเที่ยวบินให้เหมาะสมสามารถดำเนินการได้ง่ายขึ้น และการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิที่อยู่ระหว่างดำเนินการด้วย ทั้งนี้ต้องยอมรับว่าท่าอากาศยานดอนเมือง เป็นท่าอากาศยานที่ได้รับความนิยม โดยเฉพาะ (Domestic) ที่ผู้โดยสารส่วนใหญ่พอใจที่ใช้บริการท่าอากาศยานฯ นี้ โดยที่ผ่านมาก่อนที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเปิดให้บริการนั้น ในช่วงปี 2562 ถูกใช้บริการเป็นจำนวนมากตามความต้องการของประชาชนในประเทศ ซึ่งแนวทางที่ทอท.จะพัฒนานั้นถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพียงแต่จะต้องพัฒนาให้เต็มศักยภาพได้ตามแผน ทั้งนี้การพัฒนาท่าอากาศยานนั้นต้องคำนึงผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมของประชาชนด้วย”


ข่าวใหญ่ แม่-ลูกถูกศาลกรุงเทพตรวจสอบความสัมพันธ์ มันเกิดอะไรขึ้น!?
Women'sbeauty

โซเชียลฮือฮา! "นักฟิตหุ่นหน้าใหม่" ที่แท้คืออดีตธิดาช้างคนดัง..?
Mikanutra

สลายฝ้าสูตรธรรมชาติ ทำได้ที่บ้าน ไม่ต้องกลัวผิวติดสาร
BM Beauty



ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิดรอบ 3 นั้น กพท.ประเมินว่าที่ผ่านมาเที่ยวบินภายในประเทศกำลังจะดีขึ้น รวมทั้งเที่ยวบินต่างประเทศที่รัฐบาลเริ่มใช้แผนการเปิดประเทศโดยนำร่องที่จังหวัดภูเก็ตเป็นจังหวัดแรก และดำเนินการการเปิดเที่ยวบินในช่วงฤดูหนาวตั้งแต่เดือนตุลาคม เป็นต้นไป ซึ่งมีท่าอากาศยานบางแห่งเริ่มเปิดรับนักท่องเที่ยวที่ฉีดวัคซีนโควิด-19 เดินทางเข้าภายในประเทศได้ “ขณะเดียวกันหากดูจากการกำหนดระยะเวลาเข้า-ออกของสายการบิน (Timeslot) ที่ทำการจองเที่ยวบินถือว่ายังเร็วไปที่จะประเมิน เพราะเรายังไม่ได้สอบถามสายการบินต่างๆ ว่าเป็นอย่างไร แต่คาดว่าจะได้รับผลกระทบจากโควิด-19 บ้าง เนื่องจากบางจังหวัดเข้มงวดด้านการเดินทางข้ามจังหวัดมากขึ้น อาจทำให้ประชาชนต้องยกเลิกการเดินทางไปก่อน เบื้องต้นกพท.จะประสานกับสายการบินต่างๆ ว่ามีแผนเพิ่ม-ลดเที่ยวบินอย่างไรบ้าง ทั้งนี้เราประเมินว่าปริมาณผู้โดยสารของท่าอากาศยานดอนเมืองจะกลับมาฟื้นตัวได้คึกคักเหมือนในช่วงปี 2562 นั้น ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการควบคุมเชื้อไวรัสโควิด-19 รวมทั้งหยุดการแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้
โดยคาดการณ์ว่าภายในปี 2566 ปริมาณผู้โดยสารจะกลับมาคงที่ หากมาตรการด้านสาธารสุขสามารถควบคุมได้ดี จะทำให้เที่ยวบินภายในประเทศกลับมาดีขึ้น ส่วนประเทศที่หยุดชะงักด้านการท่องเที่ยวอย่างไทย จะเริ่มนำวัคซีนพาสปอตเข้ามาใช้งาน โดยปัจจุบันหลายประเทศยอมให้นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 ครบแล้ว สามารถเดินทางเข้ามาภายในประเทศได้สะดวกขึ้น ซึ่งจะต้องคำนึงถึงความปลอดภัยของนักท่องเที่ยวที่เข้ามาในประเทศเช่นกัน”
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/05/2021 12:09 pm    Post subject: Reply with quote

อีสานโวยรัฐ'เงียบฉี่'จี้เตรียมพร้อมรับ'ไฮสปีดจีน-ลาว'
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2564

เอกชนอีสานเหนือปลุกรัฐรีบตื่น เตรียมรับไฮสปีดจีน-ลาว ที่จะเปิดหวูดถึงเวียงจันทน์ปลายปีนี้ ชี้เป็นโอกาสปลุกเศรษฐกิจอีสานคึกคัก พร้อมการแข่งขันข้ามชาติที่จะดุเดือดยิงข้น จี้เพิ่มสิทธิพิเศษนิคมอุดรธานี ขยายเขตเศรษฐกิจชายแดนอุบล-เลย เพิ่มขบวนรถไฟพิเศษอุดร-เวียงจันทน์ รับคลื่นการค้า-ท่องเที่ยวถึงจีนตอนใต้

นายสวาท ธีระรัตนนุกูลชัยประธานหอการค้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงข่าวของทางการสปป.ลาว ประกาศจะเปิดใช้โครงการรถไฟความเร็วสูงจีน-ลาว 2 ธันวาคม 22564 นี้ เพื่อร่วมฉลองวันชาติลาว ว่า มองได้ 2 มิติ คือ ด้านที่เป็นประโยชน์กับภาคอีสานและไทย คือ จะเกิดการสร้างเครือข่ายเชื่อมโยงระบบโลจิส ติกส์ให้เชื่อมโยงกับจีน ตามนโยบาย "มอง ลงใต้-Look South" ของจีนมากขึ้น ด้านที่เป็นผลกระทบคือ จีนเป็นประเทศใหญ่มีประชากรมากและกำลังเจริญอย่างก้าวกระโดด จึงเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว

ภาคอีสานโดยเฉพาะอุดรธานี ซึ่งถูกวางเป็นฮับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง และจะเป็นสถานีแรกของรถไฟไฮสปีดจีน-ลาว-ไทย ในพื้นที่ประเทศไทย จึงต้องเตรียมรับกระแสต่าง ๆ โดยเฉพาะความเปลี่ยนแปลงด้านเศรษฐกิจ การเดินทาง การขนส่งสินค้า ที่จะเพิ่มขึ้น เพื่อให้ท้องถิ่นได้รับผลประโยชน์ให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แม้โครงการนี้จะยังเปิดใช้ในส่วนของจีน-ลาวถึงแค่เวียงจันทน์ก่อน แต่ผลจะทะลักข้ามน้ำโขงมาถึงอุดรฯและภาคอีสานแน่

นายสวาทกล่าวอีกว่า เรื่องนี้ภาคเอกชนในพื้นที่และของอุดรธานี ได้เรียกร้องผลักดันสู่ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ทั้งในรูปคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) หรือคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) ขอรับการสนับสนุนการเตรียมความพร้อมของทุกภาคส่วน ให้มีศักยภาพเพียงพอรับกระแสความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น แต่เสียงตอบรับยังไม่ค่อยจริงจัง เกรงจะล่าช้าไม่ทันการ"

เนื่องจากเมื่อมีทางรถไฟ ต้นทุนการขนส่งจะถูกลงและประหยัดเวลา การซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างกันจะเพิ่มขึ้น เศรษฐกิจในพื้นที่จะเคลื่อนไหวขยายตัวเกิดประโยชน์มากมาย ประการสำคัญคือการสร้างความพร้อมด้านต่างๆ ที่ภาครัฐต้องเป็นผู้นำ และเอกชนร่วมพัฒนาอย่างแข็งขัน ทั้งด้านการผลิต แปรรูป บรรจุหีบห่อ การขนส่ง ให้พร้อมที่จีนจะขนกลับเป็นสินค้าสำเร็จรูปอย่างเพียงพอ ไม่ใช่ขายเป็นวัตถุดิบ แล้วปล่อยให้จีนส่งสินค้ามาขายเราฝ่ายเดียว ซึ่งยังพอมีเวลาแต่ต้องเร่งทำอย่างจริงจัง

ข้อเสนอการเตรียมความพร้อมของภาคเอกชน นายสวาทกล่าวว่า ที่ผ่านมารัฐผลักดันเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดน ในอีสานมีที่หนองคายและมุกดาหาร แต่ยังไม่มีผู้เข้าลงทุน ล่าสุดพื้นที่อุดรธานีและนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี (นิคมกรีนอุดรฯ) ถูกบรรจุเข้าไปอยู่ในพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจพิเศษหนองคาย แต่ก็ยังมีเงื่อนไขที่ไม่คล่องตัวพอจะจูงใจแก่นักลงทุน ควรทบทวนข้อเสนอสิทธิพิเศษการลงทุนที่ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน เพื่อดึงดูดนักลงทุนทั้งไทยและต่างชาติสนใจลงทุนในประเทศมากขึ้น

นอกจากนี้ควรขยายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพิ่ม ในจังหวัดที่มีสะพานข้ามแม่น้ำโขง เช่น ที่จังหวัดบึงกาฬ ที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คาดแล้วเสร็จปี 2566 หรือพื้นที่มีโครงการที่จะก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงในอนาคต เช่น อุบลราชธานี จังหวัดเลย ที่อยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมสะพานข้ามโขงแห่งที่ 6 และ 7 ตามลำดับ

สอดคล้องกัน นายวีระพงษ์เต็งรังสรรค์ ประธานสภาอุตสาหกรรมจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า นักลงทุนจะตัดสินใจลงทุนที่ใด ต้องเปรียบเทียบแล้วว่า พื้นที่ใดให้สิทธิประโยชน์ดีกว่ากัน เพื่อให้คุ้มค่าการลงทุน ที่ผ่านมาภาคเอกชนผลักดันให้โครงการนิคมอุตสาหกรรมอุดรธานี ให้เข้าไปอยู่ในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนหนองคาย เพราะมีพื้นที่ติดต่อกันและให้มีสิทธิพิเศษการลงทุน และที่หนองคายเองไม่มีคนสนใจลงทุน ซึ่งทางภาครัฐสนใจน้อยมากและล่าช้า ล่าสุดสภาพัฒนาฯ เพิ่งบรรจุพื้นที่เขตจังหวัดอุดรธานี เข้าไปอยู่ในพื้นที่เขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนหนองคาย แต่ก็มีเงื่อนไขกับการลงทุนของนักธุรกิจลงทุน ที่ยังทำให้มีปัญหากับนักลงทุนอยู่อีกหลายประเด็นที่ขาดแรงจูงใจ

เมื่อเทียบกับเขตเศรษฐกิจพิเศษของลาวนั้น ให้สิทธิพิเศษการลงทุนที่ดีกว่าและจูงใจมากกว่า และมีหลายแห่งตามแนวชายแดนลาว-ไทย โดยบางพื้นที่ เช่น โครงการสะหวันเซโน ในแขวงสะหวันเขต ตรงข้ามกับมุกดาหาร มีนักลงทุนทั้งจากสิงคโปร์ มาเลเซีย จีน รวมทั้งนักธุรกิจไทย เข้าไปลงทุนก่อสร้างโรงงานดำเนินการผลิตแล้ว หรือโครงการบึงธาตุหลวงที่เวียงจันทน์ ที่กำลังดำเนินการโครงการโดยทุนจีน ก็ก้าวหน้าไปมากแล้ว

"โครงการเหล่านี้มีความพร้อมรับแรงงานทักษะ ทั้งระดับกลางและระดับสูงเข้าทำงานจำนวนมาก น่าจับตาทั้งเรื่องการเคลื่อนย้ายทุนและแรงงานทักษะ โดยเฉพาะระดับสูง เช่น วิศวกร ช่างฝีมือระดับสูงต่าง ๆ ซึ่งทุนจีนมีศักยภาพสูง พร้อมใช้ค่าตอบแทนดึงดูดกำลังแรงงานเหล่านี้ หากเมืองไทยและท้องถิ่นไม่พร้อม ก็ไม่สามารถปิดกั้นได้"

นายวีระพงษ์กล่าวอีกว่า ภาครัฐต้องเร่งทบทวนนโยบายและระเบียบต่างๆ ให้ทันกระแสความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น หลังสปป.ลาวเปิดใช้รถไฟไฮสปีดจีน-ลาว ในเดือนธันวาคมนี้ โดยอย่าเพียงตั้งรับอย่างเดียว ต้องเร่งพัฒนาด้านต่างๆ การเร่งผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรต่างๆ อย่างเพียงพอให้จีนขนส่งกลับไปด้วย อย่ารอขายเป็นวัตถุดิบอีกต่อไป

ก่อนหน้านี้ ภาคเอกชนอุดรธานี ยังเสนอโครงการรถไฟขบวนพิเศษเวียงจันทน์-อุดรธานี เพิ่มเติมจากขบวนรถไฟหนองคาย-ท่านาแล้ง ที่เปิดใช้อยู่ปัจจุบัน เพื่อเชื่อมโยงกับรถไฟจีน-ลาวที่จะมาถึงเวียงจันทน์ รองรับการเดินทางสัญจรของนักธุรกิจนักท่องเที่ยว ให้ต่อเข้าอุดรธานีและพื้นที่ในอีสานเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่

ควรทบทวนข้อเสนอสิทธิพิเศษการลงทุนที่ใกล้เคียงกับเพื่อนบ้าน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42631
Location: NECTEC

PostPosted: 13/05/2021 9:41 pm    Post subject: Reply with quote



สระบุรี-จัดพิธีลงเสาเข็มต้นแรกโครงการรถไฟความเร็วสูงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง12.99กม. วันนี้ 12 พ.ค. 64 เวลา 17:00 น. นายสมภพ สมิตะสิริ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธานพิธีลงเสาเข็มต้นแรกโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 4-7 งานโยธาสำหรับช่วงสระบุรี-แก่งคอย ณ บริเวณพื้นที่ช่วงหน้าวัดตลิ่งชัน ตำบลตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสระบุรี โครงการรถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย หรือ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สายตะวันออกเฉียงเหนือ (กรุงเทพมหานคร - หนองคาย - เวียงจันทน์) เป็นโครงการระบบขนส่งมวลชนแบบพิเศษที่เป็นหนึ่งในเส้นทางของโครงการรถไฟความเร็วสูงในประเทศไทย ดำเนินการก่อสร้างโดยการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ถือเป็นส่วนหนึ่งของโครงข่ายระบบขนส่งมวลชนทางราง คุนหมิง - สิงคโปร์ สาย Central Route ซึ่งเป็นโครงข่ายที่จะเชื่อมต่อประเทศกลุ่มซีเอ็มแอลวีเข้าเป็นผืนแผ่นเดียวกัน
https://www.youtube.com/watch?v=6FuDWCAgldY
https://www.youtube.com/watch?v=zQpNB9Hs99M
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/05/2021 11:45 am    Post subject: Reply with quote

บอร์ด รฟท.เบรกให้ UNIQ ได้งานรถไฟไทย-จีนสัญญา 4-2 เหตุราคายังสูง สั่งแจงเพิ่ม
InfoQuest ข่าวเศรษฐกิจ 09:56น.

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) รฟท.(13 พ.ค.) รับทราบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพ-หนองคาย(ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) งานโยธาสัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.8 กม.
ทั้งนี้ ในส่วนของข้อเสนอขออนุมัติสั่งจ้าง บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (UNIQ) ซึ่งเป็นผู้ยื่นข้อเสนออันดับ 2 วงเงิน 10,500 ล้านบาท หลังจากกลุ่มกิจการร่วมค้า SPTK ประกอบด้วย บจ.ซิโนไฮโดร, บจ.สหการวิศวกร และ บจ.ทิพากร ผู้ยื่นข้อเสนอที่ได้รบคัดเลือกรายแรก เสนอราคา 8,626.8 ล้านบาทไม่ยอมเข้าทำสัญญาจ้างก่อสร้างนั้น ที่ประชุมคณะกรมการ รฟท.วานนี้ให้ไปทำรายละเอียดเพิ่มเติม จึงยังไม่มีการอนุมัติตามข้อเสนอดังกล่าวแต่อย่างใด

ขณะที่ คณะกรรมการ รฟท.มีมติขออนุมัติจ้างบริษัท เอ็นพีเอสอี ร่วมค้า จำกัด ประกอบด้วย บริษัท นภาการก่อสร้าง และ บริษัท สิงห์ศิลา เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ดำเนินงานก่อสร้างโรงซ่อมรถจักร ที่แก่งคอย แขวงบำรุงทางแก่งคอย วงเงินค้าจ้างรวมภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% แล้วเป็นเงิน 1,560 ล้านบาท โดยมีระยะเวลาก่อสร้าง 730 วัน นับจากวันส่งมอบพื้นที่

สำหรับโครงการดังกล่าวจะเป็นการปรับปรุงโรงซ่อมบำรุงรถจักรเดิม พร้อมเพิ่มเครื่องจักรอุปกรณ์ สำหรับการซ่อมบำรุงหนัก เพื่อขยายขีดความสามารถ รองรับการซ่อมรถจักร 20 คัน ที่ครบวาระการซ่อม เนื่องจากใช้งานมาหลายปีแล้ว ที่ รวมถึงลดภารกิจช่วยแบ่งเบา โรงซ่อมรถจักรบางซื่อ ซึ่งปรับพื้นที่รองรับ รถไฟสายสีแดง

นอกจากนี้ คณะกรรมการ รฟท.ยังมีมติอนุมัติเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขสัญญา งานสัญญาที่ 3 งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมตู้รถไฟฟ้า โครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต และช่วงบางซื่อ – ตลิ่งชัน ที่มีกิจการร่วมค้า MHSC (บริษัทMITSUBISHI Heavy Industrial Ltd บริษัท Hitachi และ บริษัทSumitomo Corporation) เป็นผู้รับจ้าง เพื่อให้สามารถดำเนินการเปิดเดินรถไฟสายสีแดง โดยไม่เก็บค่าโดยสาร(Soft Opening) ช่วงปลายเดือนก.ค. 2564

ทั้งนี้ สัญญา 3 รถไฟสายสีแดง สิ้นสุดวันที่ 24 ก.ย.2564 ซึ่งการเปิดเดินรถในเดือนก.ค. ก่อนที่สัญญาสิ้นสุด ดังนั้นจะต้องเจรจากับผู้รับจ้างเพื่อให้ความยินยอมในการเร่งรัดการเปิดเดินรถเร็วกว่าสัญญา เนื่องจากผู้รับจ้างจะต้องเร่งงานให้ทันกับการเปิด Soft Opening ด้วย

โดย สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (14 พ.ค. 64)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 405, 406, 407 ... 542, 543, 544  Next
Page 406 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©