Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271171
ทั้งหมด:13582460
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 408, 409, 410 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2021 9:49 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.02 น.

รถไฟไทย-จีนส่อดีเลย์ 7 ปีงบบาน 2 หมื่นล้าน ปมมรดกโลกอยุธยาไร้ทางออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.



รถไฟไทย-จีนสปีดไม่ขึ้น ติดหล่ม 4 สัญญา วิกฤตสุดสัญญา 4-5 ช่วงผ่านอยุธยาปมมรดกโลก เสี่ยงปรับแนวอ้อมเมือง ค่าก่อสร้างเพิ่ม 2 หมื่นล้านบาท ดีเลย์อย่างน้อย 7 ปี หวังรัฐบาลเร่งหาทางออก วันนี้ศาลปกครองตัดสินคดีอิตาเลียนฯ ร้องสัญญา 3-1

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า จากการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติด้วยว่าอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2564 โดยมี พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ซึ่งได้มีการรายงานถึง 5 แนวทางการก่อสร้างสถานีอยุธยาโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กระทรวงคมนาคม นำเสนอ ซึ่งคณะกรรมการฯ ยังมีความกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อมรดกโลก จึงให้ รฟท.ดำเนินการศึกษาเพิ่มเติมเพื่อให้สอดคล้องกับมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก

แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า ไม่ว่าจะใช้รูปแบบใดก่อสร้างสถานีอยุธยาจะต้องศึกษาเรื่อง HIA (Heritage Impact Assessment) ผลกระทบมรดกวัฒนธรรม แต่เนื่องจาก รฟท.ไม่เคยศึกษาเรื่อง HIA แบบนี้มาก่อน อีกทั้งในประเทศไทยไม่มีโครงการไหนทำมาก่อน จึงต้องประสานกรมศิลปากร และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) ซึ่งทางกรมศิลปากรได้ระบุว่าการศึกษา HIA จะใช้เวลาประมาณ 6 เดือน โดย รฟท.จะเร่งกระบวนการว่าจ้างศึกษาคาดว่าจะได้ผลสรุปปลายปี 2564 เมื่อศึกษาเสร็จต้องส่งไปที่ประชุมศูนย์มรดกโลกด้วย

สำหรับ 5 แนวทางช่วงผ่านอยุธยาที่ได้นำเสนอนั้น กรรมการมรดกโลกและกรมศิลปากรเห็นด้วยกับแนวทางที่ 1 และ 2 คือ 1. ก่อสร้างเป็นลักษณะสถานีและทางวิ่งใต้ดิน ค่าก่อสร้างจะเพิ่มกว่า 2 หมื่นล้านบาท ต้องขยายเวลาก่อสร้างออกไปอย่างน้อย 5 ปี 2. เปลี่ยนแนวเส้นทาง อ้อมออกไปจากแนวเดิมเลี่ยงพื้นที่มรดกโลก ซึ่งจะทำให้ระยะทางเพิ่มขึ้นอีกประมาณ 30 กม. การก่อสร้างใช้เวลาเพิ่มขึ้นอย่างน้อย 7 ปี

โดยทั้ง 2 แนวทางจะต้องมีการศึกษาออกแบบใหม่ รวมถึงศึกษาทำรายงาน EIA ใหม่ประมาณ 2-3 ปี ส่วนการก่อสร้าง หากจะใช้ระยะเวลา 36 เดือนตามปกติจะต้องเพิ่มเครื่องจักร แรงงาน ซึ่งจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายเพิ่ม นอกจากนี้การปรับแนวเส้นทางออกไปจะต้องมีการเวนคืนและออก พ.ร.ฎ.เวนคืน ใช้เวลาประมาณ 2 ปี

ส่วนแนวทางที่กรมศิลปากรไม่เห็นด้วย คือ 3. ก่อสร้างสถานีก่อนถึงสถานีรถไฟอยุธยาเดิม หรือสร้างเลยออกไป

4. ก่อสร้างสถานีในตำแหน่งสถานีเดิม โดยจัดทำผังเมืองเฉพาะ 5. ก่อสร้างเฉพาะทางวิ่งไปก่อน โดยจะกำหนดที่ตั้งสถานีภายหลัง

ค่าก่อสร้างเพิ่มไม่มีปัญหา ห่วงเวลายืดเยื้อ

แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า เรื่องค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ปัญหา แต่ประเด็นอยู่ที่ระยะเวลาโครงการต้องล่าช้าออกไป 5-7 ปี ซึ่งเรื่องนี้ทางรัฐบาลต้องพิจารณาหาทางออกที่ชัดเจน ส่วนจะก่อสร้างรูปแบบไหนทางด้านเทคนิคและวิศวกรรมนั้นสามารถดำเนินการได้หมด

สำหรับที่มีการออกแบบเป็นโครงสร้างยกระดับเพื่อข้ามสะพานสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และสะพานสมเด็จพระเอกาทศรถ แต่หากจะปรับแบบลดเป็นทางระดับดิน หลักการออกแบบจะต้องให้สูงกว่าระดับน้ำท่วงสูงสุด 100 ปีของอยุธยา ซึ่งยึดที่ปี 2554 พบว่าคันทางรถไฟจะมีความสูงประมาณ 7 เมตร เพื่อไม่ให้มีปัญหาน้ำท่วม แต่หากต้องการให้เป็นทางรถไฟระดับเดิม ทางเทคนิคก็ทำได้ โดยต้องออกแบบให้มีกำแพงกันน้ำ และระบบระบายน้ำตลอดแนวและโครงสร้างใต้ดินจะต้องมีเข็มรองรับพื้นทางวิ่งระบบรถไฟความเร็วสูงไปตลอดแนว โดยจะต้องออกแบบใหม่และทำรายงาน EIA ใหม่เช่นกัน

“ที่ผ่านมา รฟท.ได้ดำเนินการตามระเบียบ กรอบข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงทั้งหมดแล้ว รวมถึงได้รับอนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) แล้ว ซึ่ง รฟท.เข้าใจแนวคิดและมุมมองของกรมศิลปากรเกี่ยวกับเรื่องมรดโลก ซึ่งรัฐบาลคงต้องเร่งพิจารณาแก้ปัญหาไม่เช่นนั้นมีความเป็นไปได้สูงที่โครงการจะล่าช้าและไม่สามารถเปิดให้บริการได้ตามแผนในปี 2569 หรือปี 2570”

จับตา 31 พ.ค.ศาลปกครองนัดฟังคำสั่งสัญญา 3-1 คดีอิตาเลียนไทยฯ ร้องผลอุทธรณ์กรมบัญชีกลาง

รายงานข่าวแจ้งว่า วันนี้ (31 พ.ค.) ศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด คดีการประกวดราคาจ้างก่อสร้าง โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ซึ่งก่อนหน้านี้ศาลปกครองกลางได้มีคำสั่งให้ทุเลาการบังคับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ทั้งนี้ สืบเนื่องจากที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง พิจารณาให้ บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด (กลุ่มบริษัท นภาก่อสร้างและพันธมิตรจากประเทศมาเลเซีย) มีคุณสมบัติครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในการเข้าร่วมประมูล ต่อมาทาง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทนเอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ซึ่งทำสัญญาร่วมค้าอันมีลักษณะเป็นกิจการร่วมค้ากับ บมจ.อิตาเลียนไทยฯ ภายใต้ชื่อ กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลางเพื่อขอทุเลาการบังคับ

โดยสัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. มีบมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาทกว่า 2,037 ล้านบาท

แหล่งข่าวจาก รฟท.กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 250.77 กม. วงเงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท มีงานโยธาเป็น 14 สัญญา เซ็นก่อสร้างแล้ว 10 สัญญา ก่อสร้างเสร็จแล้ว 1 สัญญา อยู่ระหว่างก่อสร้าง 6 สัญญา เหลือ 4 สัญญา ได้แก่ สัญญา 4-2 (ดอนเมือง-นวนคร) ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 8,626.80 ล้านบาท ติดปัญหาผู้เสนอราคาต่ำสุดไม่ยืนราคาและไม่เข้าทำสัญญา อยู่ระหว่างตรวจสอบข้อกฎหมายเพื่อเสนอพิจารณาผู้เสนอราคาลำดับถัดไป

สัญญาที่ 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า รอศาลปกครองกลาง สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. อยู่ระหว่างหารือสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) สรุปโครงสร้างร่วมช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง กับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน
v

สัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. ประกวดราคาเสร็จแล้ว มี บมจ.อิตาเลียนไทยฯ เสนอราคาต่ำสุด 9,913 ล้านบาท แต่ยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้เนื่องจากติดปัญหาช่วงผ่านตัวเมืองอยุธยา
อธิบดีกรมศิลป์ ไขปมรื้อแบบ ‘ไฮสปีดสถานีอยุธยา’ สั่งศึกษามุดใต้ดิน-เบี่ยงแนวใหม่ ทำHIAเสนอศูนย์มรดกโลก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:26 น.

คณะกรรมการมรดกโลก เคาะ2แนวทางสร้างรถไฟความเร็วสูง”สถานีรถอยุธยา” ให้มุดใต้ดิน เบี่ยงแนวลากไปสร้างบนพื้นที่ใหม่ สั่งคมนาคมทำรายงานผลกระทบHIA เสนอศูนย์มรดกโลกชี้ขาด “อธิบดีกรมศิลปากร””แจงโครงสร้างสูง มีผลต่อภูมิทัศน์ มุมมอง คุณค่าประวัติศาสตร์

เมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม สืบเนื่องกระแสตั้งคำถามกรณีกรมศิลปากรมีความเห็นค้านรูปแบบการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยาของกระทรวงคมนาคม

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคมที่ผ่านมา กระทรวงคมนาคมโดยกรมการขนส่งทางราง(ขร.)และการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) ได้เสนอรูปแบบการก่อสร้างสถานีอยุธยา ซึ่งเป็น 1 ในสถานีของโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกมีพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธาน

หลังจากมีข้อเห็นต่างถึงรูปแบบสถานีที่สร้างบนสถานีรถไฟเดิมและจะผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อพื้นที่พระนครศรีอยุธยาที่ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกแล้ว โดยกระทรวงคมนาคมเสนอ 5 แนวทางเลือกให้คณะกรรมการฯพิจารณาอนุมัติ



แนวทางแรกก่อสร้างสถานีและทางวิ่งใต้ดินลอดผ่านพื้นที่มรดกโลก ระยะทาง 5 กิโลเมตร มีค่าใช้จ่าย 10,300 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี ต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) และออกแบบรายละเอียดใหม่

แนวทางที่2 ก่อสร้างเส้นทางรถไฟเลี่ยงพื้นที่มรดกโลกไปบทางขวามือของทางรถไฟ ระยะทาง 30 กิโลเมตร ค่าใช้จ่าย 26,360 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 7 ปี ต้องสำรวจเส้นทางใหม่ เวนคืนพื้นที่เพิ่ม 3,750 ไร่ รายงานEIA และออกแบบรายละเอียดใหม่

แนวทางที่ 3 ก่อสร้างสถานีก่อนถึงสถานีรถไฟอยุธยาเดิม หรือเลยออกไปอยู่บริเวณบ้านม้า ค่าใช้จ่าย 500 ล้านบาท ใช้เวลาดำเนินการ 5 ปี ทำรายงานHIA EIA ออกแบบรายละเอียด เวนคืนเพิ่ม 200 ไร่พื้นที่สถานีบ้านม้า และประชาชนเดินทางไม่สะดวก

แนวทางที่4 ก่อสร้างสถานีในตำแหน่งสถานีเดิมพร้อมจัดทําผังเมืองเฉพาะ มีค่าใช้จ่าย 80 ล้านบาท จัดทำผังเมืองเฉพาะบริเวณสถานีและทำHIA ใช้เวลาดำเนินการ 1 ปี ออกพระราชกฤษฎีกาผังเมือง

และแนวทางที่5 ก่อสร้างเฉพาะทางวิ่งไปก่อน โดยจะกำหนดที่ตั้งสถานีภายหลัง ค่าใช้จ่าย 50 ล้านบาท ทำรายงานHIA ใช้เวลาดำเนินการเป็นไปตามแผนเดิม แนวทางนี้จะคล้ายกับรถไฟฟ้าMRT สถานีวัดมังกรและBTSสถานีเซนต์หลุยส์

โดยกระทรวงคมนาคมเสนอว่า แนวทางที่4กับแนวทางที่5 เป็นแนวทางที่ดีที่สุด เนื่องจากมีการศึกษาความเหมาะสมด้านสิ่งแวดล้อมและโครงการได้รับอนุมัติEIAแล้ว ไม่กระทบต่องบประมาณ ระยะเวลาในการก่อสร้าง สามารถเปิดใช้ได้ตามกำหนดภายในปี2568-2569

ขณะที่แนวทางที่1-3 สถานีและระบบรางที่อยู่ในอุโมงค์มีความเสี่ยงจากการเกิดน้ำท่วม มีผลกระทบต่องบประมาณ ใช้ระยะเวลาศึกษา สำรวจ ออกแบบ กระทบต่อแผนงานโครงการ



จากประเด็นดังกล่าว นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ที่ต้องการนำรูปแบบมาพิจารณากันใหม่ เนื่องจากศูนย์มรดกโลกองค์การยูเนสโก ทำหนังสือถึงกรมโดยแสดงความห่วงใยและกังวลผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการต่อพื้นที่มรดกโลก โดยผลประชุมคณะกรรมการฯ พิจารณาแล้วจาก 5 แนวทางเลือกที่กระทรวงคมนาคมนำเสนอมานั้น แนวทางที่3-5 ไม่แก้ปัญหา และไม่น่าจะมีความเป็นไปได้ เนื่องจากยังสร้างด้วยโครงสร้างทางยกระดับที่พาดผ่านพื้นที่มรดกโลก มีความสูงถึง 20 เมตร จะมีผลต่อภูมิทัศน์ มุมมอง คุณค่าทางประวัติศาสตร์พื้นที่โดยรอบที่มีโบราณสถานเล็กๆอยู่ และการแก้กฎหมายก็ไม่เมคเซ้นส์



ดังนั้นแนวทางที่1และ2 จึงมีความเป็นไปได้มากที่สุด ซึ่งค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นนั้นยังเป็นเพียงการประมาณในเบื้องต้น และแม้ค่าใช้จ่ายจะมากขึ้น แต่ก็ต้องทำเพื่อไม่ให้มีผลระทบและเกิดความเสียหายต่อมรดกโลก โดยที่ประชุมได้เน้นย้ำถึงการศึกษาผลกระทบด้านมรดกศิลปวัฒนธรรมเป็นสำคัญจึงให้กระทรวงคมนาคมไปออกแบบรายละเอียดและทำรายงานHIA จะมีความเห็นของประชาชน นักวิชาการและการวิเคราะห์ผลกระทบของโครงการ มาประกอบการพิจารณาเพื่อเสนอต่อศูนย์มรดกโลก โดยกรมจะออกไกด์ไลน์และเนื้อหาการทำHIAให้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง ซึ่งจะใช้เวลาดำเนินการ 180 วัน เป็นอย่างน้อย เพื่อเสนอต่อให้คณะกรรมการแห่งชาติด้วยว่าอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกพิจารณาอีกครั้ง ถือเป็นการตัดสินใจครั้งสำคัญในนามประเทศไทย ก่อนที่จะทำรายงานเสนอไปยังที่ประชุมศูนย์มรดกโลก ซึ่งคาด่าผลการศึกษาHIA อาจจะเสนอให้ที่ประชุมศูนย์มรดกโลกพิจารณาไม่ทันภายในปีนี้

“โครงการจะทำได้หรือไม่ได้ ขึ้นอยู่กับรูปแบบใหม่ของกระทรวงคมนาคม และการตัดสินของศูนย์มรดกโลกว่าแบบที่ปรับใหม่จะกระทบต่อพื้นที่มรดกโลกของพระนครศรีอยุธยาหรือไม่ เพราะเป็นเคสแรกของประเทศไทยที่มีการทำHIA ซึ่งพื้นที่มรดกโลกได้มีการขยายพื้นที่จากเดิม 1,800 ไร่เป็น 3,000 ไร่ ไม่ได้อยู่เฉพาะกำแพงเมือง ยังมีชุมชนอาศัยรอบเมืองอีก และสถานีรถไฟก็อยู่ในพื้นที่เป็นสาระสำคัญ ในส่วนของพื้นที่บัฟเฟอร์โซน”อธิบดีกรมศิลปากรกล่าวทิ้งท้าย


รูปแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยาซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทยได้มีการออกแบบโดยสร้างคร่อมสถานีรถไฟเดิมและมีสถาปัตยกรรมโบราณ ซึ่งกรมศิลปากรมองว่าจะกระทบและคุณค่าประวัติศาสตร์พื้นที่มรดกโลก และคณะกรรมการมรดกโลกให้กลับไปใช้รูปแบบที่เรียบง่ายตามผลการศึกษาเดิม
ทั้งนี้แหล่งข่าวในกรมศิลปากรรายหนึ่ง เปิดเผยต่อ ‘มติชน’ ว่า รายงานEIAของโครงการไม่มีการกล่าวอ้างถึงเขตอุทยานประวัติศาสตร์หรือปรากฏจำนวนแหล่งโบราณสถานไม่ครบถ้วน

ส่วนที่มีข้อมูลปรากฏในโลกออนไลน์ว่า โครงการดังกล่าวห่างออกไป 2 กิโลเมตร ซึ่งเป็นเรื่องเขตรัศมีที่ต้องทำการสำรวจ แต่ระยะห่างโบราณสถานจริงที่อยู่ใกล้เคียงห่างออกไปเพียง 60-140เมตรเท่านั้น โดยมีบางแห่งอยู่ระหว่างการขึ้นทะเบียนโบราณสถานอีกด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 31/05/2021 11:09 pm    Post subject: Reply with quote

‘ซีวิลเอนจีเนียริง’ อัปเดตไฮสปีดไทย-จีน 2 สัญญา มูลค่า 1 หมื่นล้าน ลุยเข้าพื้นที่สัญญา 4-7 ‘ช่วงสระบุรี-แก่งคอย’ ด้านสัญญา 2-1 ‘ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก’ คืบหน้าแล้ว 70%
31 พฤษภาคม 2564

“ซีวิลเอนจีเนียริง” อัปเดตโปรเจ็กต์หลังคว้างาน “ไฮสปีดไทย-จีน” 2 สัญญา มูลค่ารวม 1 หมื่นล้าน ลุยเข้าพื้นที่ตามสัญญา 4-7 “ช่วงสระบุรี-แก่งคอย” ระยะทาง 12.99 กม. พร้อมเตรียมเดินหน้าตอกเสาเข็มก่อสร้างตามแผนแล้วเสร็จภายใน 1,080 วัน ด้านสัญญา 2-1 งานโยธาสำหรับ “ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก” คืบหน้าแล้ว 70% ช่วยอัพเกรดระบบราง ดันไทยสู่ฮับคมนาคมขนส่ง-โลจิสติกส์ในอาเซียน
นายปิยะดิษฐ์ อัศวศิริสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) หรือ CIVIL เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เข้าพื้นที่เพื่อดำเนินการก่อสร้างโครงการไฟความเร็วสูงไทย-จีน ภายใต้สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย รวมมูลค่างาน 8.56 พันล้านบาท ซึ่งเป็นโครงการมูลค่าสูงที่สุดเท่าที่บริษัทฯ เคยรับงานมา โดย CIVIL จะเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินการก่อสร้างงานโครงสร้างทางรถไฟเป็นทางยกระดับระยะทาง 12.99 กิโลเมตร (กม.) งานสถานีสระบุรี งานซ่อมบำรุงทางจำนวน 1 แห่ง งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบรถไฟฟ้า โดยใช้ระยะเวลาดำเนินการทั้งสิ้น 1,080 วัน

ทั้งนี้ CIVIL ได้นำประสบการณ์ความเชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมโยธา และการบริหารจัดการสมัยใหม่เพื่อเข้ามาบริหารจัดการด้านงานก่อสร้าง ด้วยทีมงานบุคลากรที่มีองค์ความรู้และความสามารถในงานโยธา รวมถึงการนำเทคโนโลยีก่อสร้างที่ทันสมัย และมีโรงงานผลิตวัสดุก่อสร้างที่จังหวัดสระบุรี เข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการโครงการนี้ให้ประสบความสำเร็จ ทั้งด้านระยะเวลา ความปลอดภัยและส่งมอบงานที่มีคุณภาพ เพื่อช่วยยกระดับโครงสร้างพื้นฐานระบบรางของไทย และสามารถใช้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงดังกล่าว เป็นเส้นทางเชื่อมโยงเครือข่ายระบบรางกับประเทศต่างๆ และผลักดันให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางด้านคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ในภูมิภาคอาเซียน



นายปิยะดิษฐ์ ยังกล่าวถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (เฟส 1) ภายใต้สัญญา 2-1 งานโยธาสำหรับช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทางประมาณ 11 กม. ว่า ถือเป็นอีกหนึ่งโครงการที่บริษัทฯ ได้เข้าไปมีส่วนร่วมดำเนินงานก่อสร้างโดยได้เริ่มดำเนินโครงการมาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2562 ที่ผ่านมา ปัจจุบันมีความคืบหน้าด้านงานก่อสร้างไปแล้วมากกว่า 70% และคาดว่าจะสามารถส่งมอบงานให้ได้ตามกำหนดเช่นกัน

“เรามีความภาคภูมิใจที่ได้เข้าไปมีส่วนร่วมสร้างความมั่นคงของโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมในระบบรางให้แก่ประเทศไทยในระยะยาว จากการนำศักยภาพของ CIVIL เข้าไปดำเนินงานก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทยจีน เฟส 1 จำนวน 2 โครงการ ที่มีมูลค่างานรวมกันมากกว่า 10,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นเส้นทางยุทธศาสตร์ที่สำคัญของไทย ที่จะช่วยให้เกิดการขยายตัวของเมืองและพื้นที่เศรษฐกิจโดยรอบเส้นทาง รวมถึงส่งเสริมการท่องเที่ยวและยกระดับคุณภาพชีวิตในการเดินทางของประชาชนที่ดีขึ้น” นายปิยะดิษฐ์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 2:41 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Wisarut wrote:
สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.02 น.

รถไฟไทย-จีนส่อดีเลย์ 7 ปีงบบาน 2 หมื่นล้าน ปมมรดกโลกอยุธยาไร้ทางออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.

อธิบดีกรมศิลป์ ไขปมรื้อแบบ ‘ไฮสปีดสถานีอยุธยา’ สั่งศึกษามุดใต้ดิน-เบี่ยงแนวใหม่
ทำHIAเสนอศูนย์มรดกโลก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:26 น.

ทัวร์ลง!!! ถล่ม”กรมศิลปากร”ต้นตอปัญหา”สถานีอยุธยา”
*ทำประเทศไทยเสียโอกาสไฮสปีดสายแรกช้าไป 7 ปี
*ตอนทำ”อีไอเอ”นิ่งเงียบไม่ค้านแล้วมาต่อต้านทีหลัง
*ประชาชนไม่ทนประกาศนัดรวมตัวฟ้องศาลปกครอง
*จุดจบปัญหาตัดสถานีออก”เมืองเก่า”เป็นแค่ทางผ่าน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2917575385130627


Last edited by Wisarut on 01/06/2021 4:14 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/06/2021 3:57 pm    Post subject: Reply with quote

เบรกประมูลรถไฟฟ้าแก่งคอย-กลางดง
ไทยรัฐ (กรอบบ่าย) ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 31 พ.ค. ศาลปกครองสูงสุด มีคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลปกครองกลางให้ทุเลาการบังคับกระบวนการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญา 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย-กลางดง และปางอโศก-บันไดม้า ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เพื่อพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) ไว้เป็นการชั่วคราวจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษา หรือคำสั่งเป็นอย่างอื่นตามที่บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทน เอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ได้ยื่นฟ้องการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียนกรมบัญชีกลาง ร่วมกันเปลี่ยนผลการจัดซื้อจัดจ้างโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน สัญญา 3-1 โดยให้บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด ชนะการประมูลไม่ชอบด้วยกฎหมาย

โดยศาลปกครองสูงสุดเห็นพ้องกับศาลปกครองกลาง ว่าคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลาง มีคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัดนั้น มีปัญหาด้วยเหตุนี้ คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ฯ จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการทุเลาบังคับคดีครั้งนี้ ไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของ รฟท.ในส่วนงานอื่นๆและไม่เป็นอุปสรรคแก่การบริหารงานของ รฟท.เนื่องจากยังมิได้เปิดให้บริการแก่ประชาชน.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 9:18 pm    Post subject: Reply with quote

“อธิบดีกรมศิลป์” กางเอกสารแจงยิบสถานีอยุธยารถไฟเร็วสูง

สยามรัฐออนไลน์
วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:23 น.


กรมศิลปากรกางเอกสารชี้แจงกรณีสถานีอยุธยาในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ นครราชสีมา
1 มิ.ย. 64 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อต่างๆ ในประเด็นข้อสงสัยต่อบทบาทกรมศิลปากร กรณีการก่อสร้างทางยกระดับและสถานีอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เนื่องจากมีเส้นทางผ่านเข้ามาใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากรขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Impact Assessment (EIA) เป็นอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ” ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกรมศิลปากรไม่มีตัวแทนอยู่ในองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวทั้ง 2 ชุด และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติไม่เคยมีหนังสือให้กรมศิลปากรเข้าร่วมประชุมหรือให้ความเห็นในการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ตลอดกระบวนการ

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกหรือ Heritage Impact Assessment (HIA) นั้น ศูนย์มรดกโลกมีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563 ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส มายังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ แจ้งให้ประเทศไทยรายงานการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดกับแหล่งมรดกโลก จากการดำเนินโครงการการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกนำเข้าในวาระการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 และคณะกรรมการฯ ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยาในพื้นที่ใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับแหล่งมรดกโลก พร้อมจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) โดยมอบให้กรมศิลปากรในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็นผู้ดำเนินการร่าง “กรอบข้อกำหนดประกอบรายงานประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment - HIA) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564 ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ส่งร่างข้อกำหนดฯ ดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว

เผยศูนย์มรดกโลกให้ประเมิน HIA สร้างสถานีรถไฟเร็วสูงอยุธยา
วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 20.04 น.

"ประทีป เพ็งตะโก" อธิบดีกรมศิลปากร แจงบทบาทกรมศิลป์ ทำตามมติคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ยันไม่เคยได้รับหนังสือให้ร่วมประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ EIA


นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ในประเด็นข้อสงสัยต่อบทบาทกรมศิลปากร กรณีการก่อสร้างทางยกระดับและสถานีอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เนื่องจากมีเส้นทางผ่านเข้ามาใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยานั้น กรมศิลปากรขอชี้แจงข้อเท็จจริง ว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Impact Assessment (EIA) เป็นอำนาจหน้าที่ของ คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกรมศิลปากรไม่มีตัวแทนอยู่ในองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวทั้ง 2 ชุด และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่เคยมีหนังสือให้กรมศิลปากรเข้าร่วมประชุมหรือให้ความเห็นในการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า ส่วนกรณีการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกหรือ Heritage Impact Assessment (HIA) นั้น ศูนย์มรดกโลกได้แจ้งเมื่อวันที่ 7 ก.ย.2563 ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส มายังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ แจ้งให้ประเทศไทยรายงานการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดกับแหล่งมรดกโลก จากการดำเนินโครงการการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกนำเข้าในวาระการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2563 และคณะกรรมการฯ ได้มีมติมอบให้กระทรวงคมนาคมศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยาในพื้นที่ใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับแหล่งมรดกโลก พร้อมจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก โดยมอบให้กรมศิลปากรในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็นผู้ดำเนินการร่างกรอบข้อกำหนดประกอบรายงานประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2564 โดยกรมศิลปากรได้ส่งร่างข้อกำหนดฯ ดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว.

'อธิบดีกรมศิลป์'กางเอกสารแจงยิบ! สถานีอยุธยารถไฟเร็วสูงผ่านเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลก

วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 21.25 น.
กรมศิลปากรชี้แจงกรณีสถานีอยุธยาในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ นครราชสีมา มีเส้นทางผ่านเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา



วันที่ 1 มิถุนายน 2564 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า ตามที่มีการเผยแพร่ข่าวผ่านสื่อต่าง ๆ ในประเด็นข้อสงสัยต่อบทบาทกรมศิลปากร กรณีการก่อสร้างทางยกระดับและสถานีอยุธยา ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เนื่องจากมีเส้นทางผ่านเข้ามาใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา กรมศิลปากรขอชี้แจงข้อเท็จจริงว่า การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรือ Environmental Impact Assessment (EIA) เป็นอำนาจหน้าที่ของ “คณะกรรมการผู้ชำนาญการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมด้านโครงการโครงสร้างพื้นฐานทางบกและอากาศ” ภายใต้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ซึ่งกรมศิลปากรไม่มีตัวแทนอยู่ในองค์ประกอบของคณะกรรมการดังกล่าวทั้ง 2 ชุด และคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ไม่เคยมีหนังสือให้กรมศิลปากรเข้าร่วมประชุมหรือให้ความเห็น ในการพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ตลอดกระบวนการ

ส่วนกรณีการประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกหรือ Heritage Impact Assessment (HIA) นั้น ศูนย์มรดกโลกมีหนังสืออิเลกทรอนิกส์ เมื่อวันที่ 7 กันยายน 2563 ผ่านสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงปารีส มายังสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมและสำนักงานยูเนสโก กรุงเทพฯ แจ้งให้ประเทศไทยรายงานการศึกษาผลกระทบที่อาจเกิดกับแหล่งมรดกโลก จากการดำเนินโครงการการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยา ซึ่งประเด็นนี้ได้ถูกนำเข้าในวาระการประชุมคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลก ครั้งที่ 2/2563 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2563 และคณะกรรมการฯ ได้มีมติมอบหมายให้กระทรวงคมนาคมศึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสถานีอยุธยาในพื้นที่ใหม่ เพื่อลดผลกระทบที่จะเกิดกับแหล่งมรดกโลก พร้อมจัดทำรายงานการศึกษาผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลก (HIA) โดยมอบให้กรมศิลปากรในฐานะกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการ เป็นผู้ดำเนินการร่าง “กรอบข้อกำหนดประกอบรายงานประเมินผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment - HIA) นครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา” ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกแล้ว ในคราวประชุมครั้งที่ 1/2564 เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2564



ทั้งนี้ กรมศิลปากรได้ส่งร่างข้อกำหนดฯ ดังกล่าวไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้ว


Last edited by Wisarut on 03/06/2021 5:07 pm; edited 3 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 9:41 pm    Post subject: Reply with quote


การพัฒนาที่ดิน ที่ Makkasan Central และ Bang Sue Grand Central
https://www.youtube.com/watch?v=hOsFatSL0nc
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 10:51 pm    Post subject: Reply with quote

ครม. อนุมัติงบกลาง 568 ล้าน เวนคืนที่ดิน รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน
ข่าวอสังหาริมทรัพย์
วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 15:51 น.


คณะรัฐมนตรี อนุมัติงบกลาง 568 ล้าน เวนคืนที่ดินในโครงการรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ส่งมอบที่ดินให้เอกชนก่อนเส้นตาย 24 ตุลาคม นี้

วันที่ 1 มิถุนายน 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 568 ล้านบาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ (สกพอ.)

ทั้งนี้ ฝ่ายรัฐต้องส่งมอบพื้นที่โครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้เอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวภายในวันที่ 8 มิถุนายน 2564 เพื่อให้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาได้ทันตามที่กำหนด ไม่เช่นนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะมีความเสี่ยงที่จะผิดสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งคู่สัญญาอาจมีหนังสือแจ้งรฟท.ให้สัญญาร่วมลงทุนมีผลสิ้นสุดลง หรือใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายได้แก่ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย


วงเงินที่ ครม.อนุมัติในครั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจาก มติ ครม. เมื่อ 30 มีนาคม 2564 ได้รับทราบการขยายกรอบวงเงินค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินฯ จากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เป็นไม่เกิน 5,740 ล้านบาท จากเดิม 3,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท ซึ่งในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ รฟท. ขอจัดสรรงบประมาณ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1)จำนวน 580 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากงบกลางฯ ปีงบประมาณ 2564 ส่วนที่เหลือให้ สกพอ. โอนจากงบบูรณาการภายใต้แผนงานบูรณาการ EEC และ 2)จำนวน 1,562 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณ ปี 2565

ทั้งนี้ สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ เป็นการพัฒนาพื้นที่โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 10 สถานี และโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 5 สถานี รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง


เชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา แบบไร้รอยต่อ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินกิจการ และบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้รับความเสี่ยงเกี่ยวกับรายได้ค่าโดยสารและปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการทั้งหมด คาดว่าในปีที่เปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสารประมาณ 1.47 แสนคนต่อวัน

โครงการนี้จะเป็นประโยชน์
1)สร้างงานระหว่างการก่อสร้าง 1.6 หมื่นอัตรา เกิดการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 1แสนอัตราในช่วง 5 ปี
2)เกิดการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ เช่น เหล็กจำนวน 1 ล้านตัน ปูนจำนวน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และ
3)เพิ่มมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจ ในรัศมี 2 กิโลเมตร ตามเส้นทางรถไฟกว่า 2.14 แสนล้านบาท
ส่วนความคืบหน้าของโครงการ รฟท. จะส่งมอบพื้นที่โครงการช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา ให้เอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ตุลาคมนี้

ครม.เคาะงบกลาง 568 ล้านบาทเวนคืน เร่งส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูง 3 สนามบิน
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 17:01 น.
ปรับปรุง: วันที่ 1 มิถุนายน 2564 เวลา 17:01 น.



ครม.อนุมัติงบกลางปี 64 จำนวน 568 ล้านบาทจ่ายเวนคืนที่ดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินส่วนที่เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาทจากกรอบเดิม ที่เหลือให้ใช้งบปี 65 ด้านรฟท.พร้อมส่งมอบ “แอร์พอร์ตเรลลิงก์” ให้ซี.พี.ใน ต.ค. 64 ตามเงื่อนไข

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 1 มิถุนายน 2564 มีมติอนุมัติจัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น วงเงิน 568 ล้านบาท ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับงานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและสำรวจอสังหาริมทรัพย์เพื่อการเวนคืนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ภายใต้แผนงานบูรณาการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ตามที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออกเสนอ (สกพอ.)

ซึ่งวงเงินที่ ครม.อนุมัติในครั้งนี้เป็นผลสืบเนื่องจากมติ ครม.เมื่อ 30 มีนาคม 2564 ได้รับทราบการขยายกรอบวงเงินค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินฯ จากคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เป็นไม่เกิน 5,740 ล้านบาท จากเดิม 3,570 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท ซึ่งในส่วนที่เพิ่มขึ้นนี้ให้ รฟท.ขอจัดสรรงบประมาณ แบ่งเป็น 2 ส่วน คือ
1. วงเงิน จำนวน 580 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากงบกลางฯ ปีงบประมาณ 2564 ส่วนที่เหลือให้ สกพอ.โอนจากงบบูรณาการภายใต้แผนงานบูรณาการ EEC และ
2. วงเงินจำนวน 1,562 ล้านบาท ให้ใช้จ่ายจากงบประมาณปี 2565

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้เป็นการพัฒนาพื้นที่โครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และโครงการแอร์พอร์ตเรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 10 สถานี และโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ ถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา จำนวน 5 สถานี รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา แบบไร้รอยต่อ โดยให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินกิจการ และบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้รับความเสี่ยงเกี่ยวกับรายได้ค่าโดยสารและปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการทั้งหมด คาดว่าในปีที่เปิดให้บริการจะมีผู้โดยสารประมาณ 1.47 แสนคนต่อวัน

รฟท.จะส่งมอบพื้นที่โครงการช่วงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภาให้ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (กลุ่มกิจการร่วมค้าบริษัทเจริญโภคภัณฑ์โฮลดิ้ง จำกัด และพันธมิตร) คู่สัญญา ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564

ทั้งนี้ ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากโครงการ ได้แก่ เกิดการสร้างงานระหว่างการก่อสร้าง 1.6 หมื่นอัตรา เกิดการจ้างงานในธุรกิจเกี่ยวเนื่องกว่า 1 แสนอัตราในช่วง 5 ปี, เกิดการใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ เช่น เหล็กจำนวน 1 ล้านตัน ปูนจำนวน 8 ล้านลูกบาศก์เมตร และเพิ่มมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจในรัศมี 2 กิโลเมตร ตามเส้นทางรถไฟกว่า 2.14 แสนล้านบาท
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4117391531641094


Last edited by Wisarut on 02/06/2021 5:59 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 01/06/2021 11:13 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้ารถไฟความเร็วสูงไทยจีน
https://www.youtube.com/watch?v=IGryyseWiEs
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 02/06/2021 12:46 am    Post subject: Reply with quote

อยุธยาจะไปไงต่อ: สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา กับ “กรมศิลปากร” มีอะไรกัน ?
1 มิถุนายน 2564 09:57 น.

ณ เวลานี้มีดรามา เรื่อง “สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา” ซึ่ง “กรมศิลปากร” แจ้งว่ามีผลกระทบกับทิวทัศน์ของอุทยานประวัติศาสตร์อยุธยา ซึ่งถูกประกาศให้เป็นมรดกโลกของ UNESCO ที่ห่างกัน ๒ กิโลเมตร ซึ่งหลายคนก็มองว่าไม่สมเหตุสมผลเอาซะเลย
เท้าความก่อน “สถานีรถไฟความเร็วสูง” เป็นรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะแรก คือ “กรุงเทพ-โคราช” ซึ่งในอนาคตจะไปต่อไปถึงหนองคาย เป็นระยะที่ ๒ คือ โคราช-หนองคาย เพื่อต่อกับรถไฟในประเทศลาว มีทั้งสิ้น ๖ สถานี คือ ในโครงการมีสถานีทั้งหมด ๖ สถานี ได้แก่ ๑. สถานีกลางบางซื่อ ๒. สถานีดอนเมือง ๓. สถานีอยุธยา ๔. สถานีสระบุรี ๕. สถานีปากช่อง และ ๖. สถานีนครราชสีมา (โคราช) รูปแบบทางวิ่งโครงการ : มี ๓ รูปแบบคือ ๑. ทางวิ่งระดับดิน ๒. ทางวิ่งยกระดับ และ ๓. อุโมงค์
สถานีที่เป็นประเด็น คือ “สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา” อยู่ห่างจากมรดกโลก ๒ กิโลเมตร สถานีนี้จะมีรถไฟ ๓ ประเภทที่เข้าจอดสถานีนี้ คือ รถไฟความเร็วสูง รถไฟทางไกล และรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดง (คล้าย ๆ กับสถานีกลางบางซื่อ) จึงมีขนาดใหญ่ มีความสูง ๔๖ เมตร ซึ่งแบบสถานีนี้ เป็นแบบที่ได้ทำการลดขนาดตัวอาคารหลักมาข้างละ ๓๐ เมตร และความสูงลดลง ๘.๕ เมตรแล้ว
แต่ “กรมศิลปากร” คัดค้าน อ้างว่า อาคารมีความสูงทำให้บดบังและรบกวนมุมมองสายตา แต่อย่างไรทาง “กรมศิลปากร” ก็ไม่ยอมให้ผ่านตามกระบวนการของการแก้ไข EIA เพื่อจะเปลี่ยนรูปแบบสถานี
ดังนั้น รฟท. จึงถอยกลับไปใช้แบบสถานีรถไฟความเร็วสูงตามรูปแบบเดิม ที่ใช้เสนอ EIA ปี ๒๕๕๖ ซึ่งก็เป็นแบบที่เรียบง่ายลงมา เน้นใช้วัสดุเป็นหลังคาและอาคารใส แต่ “กรมศิลปากร” ก็ยังไม่ยอม บอกว่าเสาของสถานีรถไฟความเร็วสูงนั้นบดบังพื้นที่ จึงไม่อยากให้มีเสา
ล่าสุดมีการประชุม มีการเสนอทางออก ๕ รูปแบบ คือ
๑. สถานีและทางวิ่งเป็นรูปแบบใต้ดิน ระยะทาง ๕ กิโลเมตร (ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก ๕ ปี) ยังไม่รวมกรณีที่ขุดใต้ดินแล้วไปเจอวัตถุโบราณ จึงอาจจะต้องเปลี่ยนเส้นทาง และพื้นที่เมืองอยุธยาเป็นพื้นที่ลุ่มน้ำท่วมเป็นประจำ
๒. ทำทางรถไฟเลี่ยงจาก เมืองอยุธยา ห่างออกไป ๓๐ กิโลเมตร (ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก ๗ ปี) รูปแบบนี้ประชาชนอยุธยาได้รับผลกระทบเต็ม ๆ ถ้าจะทำแบบนี้ สู้ไม่ทำสถานีอยุธยาเลยยังดีซะกว่า สร้างไปก็ไม่มีคนใช้บริการ
๓. ย้ายสถานีอยุธยาไปที่สถานีบ้านม้า ออกจากจุดเดิมไปอีก ๕ กิโลเมตร (ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก ๕ ปี)
๔. จัดทำผังเมืองเฉพาะเพื่อควบคุมการเจริญเติบโตของเมืองโดยรอบสถานีรถไฟความเร็วสูง (ใช้เวลาเพิ่มขึ้นอีก ๑ ปี) เพื่อให้สอดคล้องกับ โครงการ TOD อยุธยา ซึ่งจะไปวางเขตผังเมืองเฉพาะ เพื่อพัฒนาให้สอดคล้องกับบริบทของพื้นที่
๕. สร้างทางวิ่งก่อน แล้วค่อยหาตำแหน่ง และรูปแบบสถานีที่ทุกฝ่ายพึงพอใจ แต่ปัญหาคือ “สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา” จะเปิดช้ากว่าสถานีอื่น ๓-๕ ปี เพราะอาจจะต้องไปทำ EIA แก้ไขก่อน ซึ่งกว่าจะผ่านกระบวนการต่าง ๆ ก็จะช้าไปด้วย
---------------------------------
แต่ที่ประชาชนสงสัย “กรมศิลปากร” กันมาก คือ ในบริเวณนั้นมีอาคารพาณิชย์ สูง ๑๐ ชั้น โรงแรมกรุงศรีริเวอร์ และอาคารสูง ๘ ชั้น อยู่ติดแม่น้ำป่าสักเลย ซึ่งความสูงของทั้ง ๒ อาคารก็ไม่ต่างอะไรกับอาคารสถานีรถไฟความเร็วสูงเลย ทำไมจึงคัดค้าน
แล้วอีกประเด็น เรื่องการทำ EIA ซึ่งในคณะกรรมการผู้พิจารณา EIA นั้น​ ก็มีผู้แทนของ “กรมศิลปากร” ร่วมอยู่ด้วย แต่ครั้งนั้น “กรมศิลปากร” ไม่ได้มีการโต้แย้งแต่อย่างใด และที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมรับฟังมาโดยตลอด แม้กระทั่งการปรับแบบก่อสร้างสถานีอยุธยา ที่ให้คงขนาดความสูงตามรูปแบบสถาปัตยกรรมเดิม ทางกระทรวงคมนาคมก็ปฏิบัติตาม
และ “กรมศิลปากร” ก็ปล่อยเวลามาเนิ่นนานจน “สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา” ผ่าน EIA แต่พอจะสร้างจริง ๆ “กรมศิลปากร” ก็มาคัดค้าน ซึ่งประชาชนก็สงสัยว่าทำไมไม่คัดค้านตั้งแต่ทีแรก ซึ่งถ้าจัดทำ EIA ใหม่ ก็ต้องเสียเวลาเสียงบประมาณไปอีก รถไฟความเร็วสูงสายนี้ ก็จะเปิดช้าไปอีก อาจจะต้องขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก ๕-๗ ปี
Wisarut wrote:
สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.02 น.
รถไฟไทย-จีนส่อดีเลย์ 7 ปีงบบาน 2 หมื่นล้าน ปมมรดกโลกอยุธยาไร้ทางออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.

อธิบดีกรมศิลป์ ไขปมรื้อแบบ ‘ไฮสปีดสถานีอยุธยา’ สั่งศึกษามุดใต้ดิน-เบี่ยงแนวใหม่
ทำHIAเสนอศูนย์มรดกโลก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:26 น.

ทัวร์ลง!!! ถล่ม”กรมศิลปากร”ต้นตอปัญหา”สถานีอยุธยา”
*ทำประเทศไทยเสียโอกาสไฮสปีดสายแรกช้าไป 7 ปี
*ตอนทำ”อีไอเอ”นิ่งเงียบไม่ค้านแล้วมาต่อต้านทีหลัง
*ประชาชนไม่ทนประกาศนัดรวมตัวฟ้องศาลปกครอง
*จุดจบปัญหาตัดสถานีออก”เมืองเก่า”เป็นแค่ทางผ่าน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2917575385130627
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44618
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/06/2021 9:37 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ หมุนตามทุน: รถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบิน...ไปไกลแค่ไหนแล้ว...
แนวหน้า ฉบับวันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2564
กระบองเพชร

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) คือหนึ่งในโครงการเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานหลักในการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor : EEC) โดยเป็นโครงการที่ดำเนินการในรูปแบบสัญญาการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) โดยมีระยะเวลา สัญญา 50 ปี มีมูลค่ากว่า 224,544 ล้านบาท และเมื่อโครงการเสร็จสมบูรณ์ คาดว่าจะสร้างรายได้ ให้กับประชาชนในท้องถิ่น โดยมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจประมาณ 650,000 ล้านบาท รวมถึงการจ้างงานตลอดช่วงระยะเวลาการก่อสร้างสูงถึง 16,000 อัตรา และการจ้างงานในธุรกิจที่เกี่ยวข้องมากกว่า 100,000 อัตรา ใน 5 ปี

หลังจากได้มีการลงนามในสัญญาระหว่าง บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) กับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ไปแล้วเมื่อปี 2562 ทุกภาคส่วนก็ต่างเฝ้ามองความคืบหน้าของโครงการนี้ เพราะเป็นอีกหนึ่งความหวังที่จะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้เติบโตอย่างยั่งยืน พร้อมทั้งเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเอกชนไทย และทำให้ไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุนเป็นอันดับต้นๆ ของโลก

สำหรับความคืบหน้าล่าสุดของโครงการขณะนี้ มีรายงานข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.)ได้ระบุว่า ทั้งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ได้ร่วมกันเดินหน้าโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยมีความคืบหน้าสำคัญคือ การส่งมอบพื้นที่ก่อสร้าง โดย ร.ฟ.ท. ได้เตรียมการส่งมอบพื้นที่ในช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร (กม.) ซึ่งเป็นพื้นที่ในการดำเนินโครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว คาดจะพร้อมส่งมอบพื้นที่ ได้ทั้งหมด ภายในเดือนกันยายน 2564 นี้

นอกจากนี้ งานก่อสร้างโครงการฯ เริ่มเห็น เป็นรูปธรรมแล้ว โดยปัจจุบันบริษัทฯ เอกชนคู่สัญญา ได้ดำเนินการออกแบบ และเริ่มงานเตรียมการก่อสร้าง (early work) เช่น ก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวสำหรับงานก่อสร้างโครงการ ก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน และก่อสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนโครงสร้าง ทางวิ่ง เมื่อได้รับมอบพื้นที่โครงการฯ ช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา จาก ร.ฟ.ท. จะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4-5 ปี และจะเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงช่วงพญาไท สุวรรณภูมิ ถึงอู่ตะเภา ในปี 2568 ตามแผนเร่งรัด

อย่างไรก็ตาม อีกส่วนสำคัญของโครงการรถไฟ ความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน คือการเชื่อมต่อการเดินทาง ของประชาชนระหว่างชานเมืองเข้าสู่ในตัวเมือง เพื่อรองรับการเชื่อมต่อกับรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกฯ โดยรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ซึ่ง บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด จะได้รับโอนสิทธิ์การเดินรถแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จาก ร.ฟ.ท.

ทั้งนี้ นายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธาน คณะผู้บริหาร บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด และประธานกรรมการ บริษัท รถไฟความเร็วสูง สายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวถึงภาพรวมโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และความพร้อมในการรับมอบรถไฟฟ้า แอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ว่า บริษัทฯมีความพร้อมที่จะดำเนินการรับช่วงต่อจาก ร.ฟ.ท. ได้แบบ ไร้รอยต่อตามสัญญาซึ่งเป็นไปตามแผนงาน และกำหนดเวลาที่วางไว้ โดยสั่งการให้ผู้เชี่ยวชาญการเดินรถและให้บริการระบบรางทั้งจากต่างประเทศและในประเทศลงพื้นที่ตรวจสอบระบบอย่างละเอียด พร้อมสำรวจความคิดเห็นจากผู้โดยสารเพื่อนำไปเป็นแนวทางการพัฒนาและปรับปรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้พร้อมบริการได้อย่างต่อเนื่องทันทีที่เข้ามารับช่วง โดยเฉพาะในด้านความปลอดภัย และความสะดวกสบาย

"โครงการนี้ถือเป็นความหวังของประเทศในการฟื้นฟูเศรษฐกิจ บริษัทฯจึงทุ่มเทสรรพกำลังในการดำเนินงาน เพื่อให้ผู้โดยสารได้สัมผัสกับประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งขึ้นทันทีที่เราเข้าไปดำเนินงาน ซึ่งต้องทำให้ดีตั้งแต่ก้าวแรก ต้องพร้อมทั้งในแง่ของระบบการเดินรถ ความสะดวกสบาย และความปลอดภัย เพราะรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จะเป็นเส้นทางเชื่อมต่อสู่เส้นทางรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกในอนาคตอีกด้วย" นายศุภชัยกล่าว

ด้านนายสฤษดิ์ จิณสิทธิ์ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด กล่าวเพิ่มเติมว่า แม้ว่าตามสัญญาบริษัทฯ จะได้รับมอบสิทธิ์ในการบริหารจัดการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ตั้งแต่ วันที่ 25 ตุลาคม 2564 เป็นต้นไป แต่หลังจากที่บริษัทฯ ได้ส่ง ผู้เชี่ยวชาญระดับโลกลงพื้นที่ ประกอบกับผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนผู้ใช้บริการ ทำให้พบว่า มีความจำเป็นที่บริษัทฯจะต้องลงทุนเพิ่ม เพื่อปรับปรุงระบบ และสถานี ซึ่งจะทำให้บริษัทฯสามารถให้บริการประชาชนได้ทันที

"บริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการเตรียมความพร้อม ในการรับมอบเป็นอย่างมาก ดังนั้นเมื่อคณะผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศมีความเห็นให้ดำเนินการปรับปรุงระบบและสถานีให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน บริษัทฯ จึงมีมติให้ อัดฉีดงบประมาณเพิ่มเติมกว่า 1.7 พันล้านบาท สำหรับดำเนินงานล่วงหน้าก่อนรับโอนสิทธิ์ โดยเริ่มวางแผนงานตั้งแต่ต้นปี 2563 และทยอยดำเนินการในช่วงไตรมาสที่สองของปีนี้ ได้แก่ 1.การเตรียมการด้านบุคลากร และการถ่ายทอดเทคโนโลยี 2.การเตรียม ความพร้อมด้านระบบ และเทคนิค 3.การเตรียม ความพร้อมด้าน การปรับปรุงสถานี และการให้บริการ จัดให้มีการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ความสำคัญ กับกลุ่มผู้พิการ และกลุ่มเปราะบาง ด้วยการออกแบบ อารยสถาปัตย์ (universal design) ซึ่งเป็นการออกแบบ เพื่อทุกคน และ 4.การเตรียมความพร้อมด้านความ ปลอดภัย เพราะต้องการให้ความเชื่อมั่นกับผู้โดยสารว่า ทันทีที่บริษัทฯ เข้ามาดำเนินงาน ผู้โดยสารจะได้รับประสบการณ์การเดินทางที่ดียิ่งขึ้นตั้งแต่วันแรก และมีความต่อเนื่อง"

นอกจากการปรับปรุงการเดินรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ก่อนการรับมอบสิทธิ์ตามสัญญาร่วมลงทุน โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินแล้ว บริษัทฯ ยังมีแผนการพัฒนาและปรับปรุงในด้านอื่นๆ อีกที่จะต้องดำเนินการหลังรับมอบสิทธิ์ อาทิ การปรับปรุงรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ อย่างต่อเนื่อง และปรับปรุงเพื่อรองรับรถไฟความเร็วสูง (HSR) การปรับปรุงเพื่อเพิ่มความปลอดภัย (Safety and Security) การปรับปรุงเพื่อยกระดับคุณภาพบริการ (Level of Service and Customer Satisfaction) และการปรับปรุงเพื่อวัตถุประสงค์อื่นๆ เช่นการใช้งานเทคโนโลยี เป็นต้น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 408, 409, 410 ... 547, 548, 549  Next
Page 409 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©