RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264957
ทั้งหมด:13576240
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 409, 410, 411 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/06/2021 8:58 am    Post subject: Reply with quote

ครม.เพิ่ม 2 พันล้านบาทเวนคืนที่ดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
กรุงเทพธุรกิจ 2 มิถุนายน 2564

ครม.เคาะค่าเวนคืนที่ดินรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน อีก 2.1 พันล้านบาท ขอจ่ายก้อนแรก 580 ล้าน ป้องกันผิดสัญญาส่งมอบที่ดิน

นางสาวรัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.)รับทราบตามข้อเสนอของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) กรณีการขยายกรอบวงเงินค่างานจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินฯ จากเดิม 3,570 ล้านบาท เพิ่มเป็นไม่เกิน 5,740 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 2,170 ล้านบาท

ทั้งนี้ในส่วนกรอบการเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้น ครม.เห็นชอบให้จัดสรรงบประมาณจากงบกลางรายการสำรองจ่ายกรณีฉุกเฉินและจำเป็นเร่งด่วนปีงบประมาณ 2564 - 2565 โดยในปีงบประมาณ 2564 จัดสรรงบกลางฯวงเงิน 580 ล้านบาท และในปี 2565 จัดสรรงบกลางฯให้วงเงิน1,562 ล้านบาท

สำหรับงบกลางฯปี 2564 ที่ต้องจัดสรรให้ก่อนในวงเงิน 580 ล้านบาทนั้น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ให้ข้อมูลว่าฝ่ายรัฐต้องส่งมอบพื้นที่โครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้เอกชนคู่สัญญาภายในวันที่ 24 ต.ค.2564 จึงมีความจำเป็นต้องได้รับการจัดสรรงบประมาณดังกล่าวภายในวันที่ 8 มิ.ย.2564 เพื่อให้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาได้ทันตามที่กำหนดในสัญญาร่วมลงทุนไม่เช่นนั้น รฟท.จะมีความเสี่ยงที่จะผิดสัญญาร่วมลงทุน ซึ่งคู่สัญญาอาจมีหนังสือแจ้งรฟท.ให้สัญญาร่วมลงทุนมีผลสิ้นสุดลง หรือใช้สิทธิ์เรียกค่าเสียหายได้แก่ค่าสินไหมทดแทนพร้อมดอกเบี้ย

โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม3สนามบินนี้ เป็นการพัฒนาพื้นที่โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์เดิม ช่วงพญาไทถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โครงการแอร์พอร์ต เรลลิงก์ส่วนต่อขยาย ช่วงท่าอากาศยานดอนเมืองถึงพญาไท จำนวน 10 สถานี และโครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯถึงท่าอากาศยานอู่ตะเภา 5 สถานี รวมระยะทางประมาณ 220 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง เชื่อมต่อระหว่างท่าอากาศยานดอนเมือง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานอู่ตะเภา แบบไร้รอยต่อ

โดยให้เอกชนร่วมลงทุนโครงการในรูปแบบ PPP Net Cost ซึ่งเอกชนจะเป็นผู้ออกแบบ ก่อสร้าง ดำเนินกิจการ และบำรุงรักษา รวมถึงเป็นผู้รับความเสี่ยงเกี่ยวกับรายได้ค่าโดยสารและปริมาณผู้โดยสารที่มาใช้บริการทั้งหมด คาดว่าในปีที่เปิดให้บริการ จะมีผู้โดยสารประมาณ 1.47 แสนคนต่อวัน และระหว่างการก่อสร้างจะทำให้เกิดการจ้างงาน1.6 อัตราและเพิ่มมูลค่าการพัฒนาเศรษฐกิจ กว่า 2.14 แสนล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 03/06/2021 5:10 pm    Post subject: Reply with quote

กรมศิลป์กางเอกสารร่ายยาวสถานีอยุธยารถไฟเร็วสูง ภาค 2

สยามรัฐออนไลน์
03 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 17:08 น.

3 มิ.ย. 64 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น
กรมศิลปากรขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2561 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟ หรือ EIA ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้แจ้งตอบในการประชุมว่ามีการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้วตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2560 โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ทางสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการตรวจสอบซึ่งไม่พบว่ามีการส่งรายงานสำรวจ EIA มายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา แต่อย่างใด สำหรับอาคารสถานีอยุธยา บริษัทฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการสร้างอาคารใหม่คร่อมอาคารหลังเก่า และปรับปรุงเป็นศูนย์ข้อมูลหรือพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ และการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (Transit Oriented Development - TOD) และหลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษา ฯ ตลอดมา



จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับกรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูงและใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน และมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด กรมศิลปากรจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง วันที่ 29 กันยายน 2563 กรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้มีการพิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ และขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา และขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป
และในวันที่ 6 ตุลาคม 2563 รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับอธิบดีกรมศิลปากร เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น 8 (เทเวศร์) ในครั้งนั้น กรมศิลปากรมีประเด็นนำเสนอว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมถึงให้ดำเนินการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็น

แฟ้มภาพ

ชี้ทุกฝ่ายรับรู้ผลกระทบมรดกโลกสร้างสถานีรถไฟเร็วสูงอยุธยา
พฤหัสบดีที่ 3 มิถุนายน 2564 เวลา 11.37 น.

อธิบดีกรมศิลปากร ยันตั้งแต่ทราบข้อมูลการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา ได้มีข้อทักท้วงถึงผลกระทบต่อมรดกโลกอยุธยามาโดยตลอดตั้งแต่เดือน ก.ค.2560 เผยทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องรับทราบข้อมูลนานแล้ว

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือน ธ.ค.2561 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ซึ่งในการประชุมดังกล่าวบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ซึ่งผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ จะต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟ หรือ EIA ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้แจ้งต่อที่ประชุมว่ามีการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้วตั้งแต่วันที่ 6 ก.ค.2560 โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ดังนั้นทางสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการตรวจสอบ แต่ไม่พบว่ามีการส่งรายงานสำรวจ EIA มายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยาแต่อย่างใด ซึ่งการประชุมดังกล่าวจึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ และการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (Transit Oriented Development - TOD) โดยหลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ มาโดยตลอด
    
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อไปว่า จนเมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 2562 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับกรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูงและใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน และมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด กรมศิลปากรจึงแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง และเมื่อวันที่ 29 ก.ย.2563 กรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้พิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และขอให้การรถไฟแห่งประเทศไทยส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา ทั้งขอให้นำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป 
    
นายประทีป กล่าวอีกว่า จากนั้นเมื่อวันที่ 6 ต.ค.2563 รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับกรมศิลปากร เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ที่ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น 8 (เทเวศร์) โดยกรมศิลปากรมีประเด็นนำเสนอว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมถึงให้ดำเนินการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็นด้วย

เปิดไทม์ไลน์อีไอเอสถานีอยุธยาฉลุยปี 60 ลั่นไม่เคยส่งรายงานให้กรมศิลป์ดู

03 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:32 น.

วันที่ 3 มิ.ย. นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใด ๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น กรมศิลปากรขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2561 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยาของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า ทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟ หรือ EIA ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้แจ้งตอบในการประชุมว่า มีการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้วตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2560 โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม

" ทางสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการตรวจสอบ ไม่พบว่า มีการส่งรายงานสำรวจ EIA มายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา แต่อย่างใด สำหรับอาคารสถานีอยุธยา บริษัทฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการสร้างอาคารใหม่คร่อมอาคารหลังเก่า และปรับปรุงเป็นศูนย์ข้อมูลหรือพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ และการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (Transit Oriented Development - TOD) จากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษา ฯ ตลอดมา " นายประทีป กล่าว

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับกรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูงและใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน และมีสิ่งก่อสร้างอื่น ๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด กรมศิลปากรจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง

ต่อมา วันที่ 29 กันยายน 2563 กรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่า พื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้มีการพิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ และขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา และขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป ต่อมาวันที่ 6 ตุลาคม 2563 รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับอธิบดีกรมศิลปากรเกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น 8 (เทเวศร์)

" ในครั้งนั้น กรมศิลปากรมีประเด็นนำเสนอว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมถึงให้ดำเนินการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็น " นายประทีป กล่าว
Wisarut wrote:
“อธิบดีกรมศิลป์” กางเอกสารแจงยิบสถานีอยุธยารถไฟเร็วสูง

สยามรัฐออนไลน์
วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 19:23 น.

เผยศูนย์มรดกโลกให้ประเมิน HIA สร้างสถานีรถไฟเร็วสูงอยุธยา
วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 20.04 น.


'อธิบดีกรมศิลป์'กางเอกสารแจงยิบ! สถานีอยุธยารถไฟเร็วสูงผ่านเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลก

วันอังคาร ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 21.25 น.

อยุธยาจะไปไงต่อ: สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา กับ “กรมศิลปากร” มีอะไรกัน ?
1 มิถุนายน 2564 09:57 น.

สถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยา VS กรมศิลป์ฯ
โครงสร้างพื้นฐาน ประเทศไทย Thailand Infrastructure
อาทิตย์ที่ 30 พฤษภาคม 2564 เวลา 14.02 น.
รถไฟไทย-จีนส่อดีเลย์ 7 ปีงบบาน 2 หมื่นล้าน ปมมรดกโลกอยุธยาไร้ทางออก
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.
ปรับปรุง: 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 07:45 น.

อธิบดีกรมศิลป์ ไขปมรื้อแบบ ‘ไฮสปีดสถานีอยุธยา’ สั่งศึกษามุดใต้ดิน-เบี่ยงแนวใหม่
ทำHIAเสนอศูนย์มรดกโลก
วันที่ 31 พฤษภาคม 2564 เวลา 12:26 น.

ทัวร์ลง!!! ถล่ม”กรมศิลปากร”ต้นตอปัญหา”สถานีอยุธยา”
*ทำประเทศไทยเสียโอกาสไฮสปีดสายแรกช้าไป 7 ปี
*ตอนทำ”อีไอเอ”นิ่งเงียบไม่ค้านแล้วมาต่อต้านทีหลัง
*ประชาชนไม่ทนประกาศนัดรวมตัวฟ้องศาลปกครอง
*จุดจบปัญหาตัดสถานีออก”เมืองเก่า”เป็นแค่ทางผ่าน
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2917575385130627


Last edited by Wisarut on 08/06/2021 12:56 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44541
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/06/2021 10:25 am    Post subject: Reply with quote

กรมศิลป์กางเอกสารร่ายยาวสถานีอยุธยารถไฟเร็วสูง ภาค 2
สยามรัฐออนไลน์ 3 มิถุนายน 2564 17:08 น.

กรมศิลปากรชี้แจงกรณีโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ฉบับที่ 2
3 มิ.ย. 64 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่าไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ในโครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น

กรมศิลปากรขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือนธันวาคม 2561 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงและศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด ซึ่งในการประชุมครั้งนั้น บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางบริษัทที่ปรึกษาจะต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟ หรือ EIA ก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาได้แจ้งตอบในการประชุมว่ามีการอนุมัติรายงาน EIA ไปแล้วตั้งแต่ 6 กรกฎาคม 2560 โดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม ทางสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา จึงดำเนินการตรวจสอบซึ่งไม่พบว่ามีการส่งรายงานสำรวจ EIA มายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา แต่อย่างใด สำหรับอาคารสถานีอยุธยา บริษัทฯ ชี้แจงว่าจะดำเนินการสร้างอาคารใหม่คร่อมอาคารหลังเก่า และปรับปรุงเป็นศูนย์ข้อมูลหรือพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ และการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง (Transit Oriented Development - TOD) และหลังจากนั้นเป็นต้นมาจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษา ฯ ตลอดมา

จนเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2562 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับกรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูงและใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน และมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด กรมศิลปากรจึงได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง วันที่ 29 กันยายน 2563 กรมศิลปากรได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงขอให้มีการพิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ และขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา และขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป

และในวันที่ 6 ตุลาคม 2563 รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับอธิบดีกรมศิลปากร เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ณ ห้องประชุมกรมศิลปากร ชั้น 8 (เทเวศร์) ในครั้งนั้น กรมศิลปากรมีประเด็นนำเสนอว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมถึงให้ดำเนินการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็น
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2021 10:36 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท.จ่อหย่าศึกบ.นภา-ITD เคลียร์สัญญา 3-1 สร้างรถไฟไทย-จีน

หน้าแรก / เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 15:58 น.
ตีพิมพ์ใน หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ
ปีที่41 ฉบับ3685 วันที่ 6-9มิถุนายน2564

รฟท.ยันรอคำสั่งศาลปกครองกลาง หลังศาลปกครองชั้นต้น มีคำสั่งทุเลาคดีอุทธรณ์บ.นภา เหตุกรมบัญชีกลางยกเว้นคุณสมบัติประมูลสัญญา 3-1 รถไฟไทย-จีน ด้าน ITD เดือดยื่นฟ้องศาลฯ หวั่นกระทบโครงการล่าช้า

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับความคืบหน้าการประกาศประกวดราคาโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) หรือ รถไฟไทย-จีน งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า ขณะนี้ศาลปกครองชั้นต้นมีคำสั่งให้ชะลอคำวินิจฉัยของบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) หลังจากนี้รฟท.ต้องรอฟังคำสั่งวินิจฉัยจากศาลปกครองกลางก่อนให้ดำเนินการอย่างไร

“ส่วนกระบวนการประมูลในสัญญานี้เป็นอย่างไรนั้น เรายังตอบไม่ได้ เพราะอยู่ในขั้นตอนกระบวนการของศาลปกครอง โดยในกรณีนี้ศาลปกครองสั่งทุเลาคำวินิจฉัย จากเดิมที่คณะกรรมการวินิจฉัยให้บริษัทบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) ขาดคุณสมบัติการประกวดราคาในสัญญาของโครงการนี้ ทำให้กลุ่มกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV เป็นผู้มีคุณสมบัติและเป็นผู้ชนะการประมูลในสัญญาดังกล่าว ซึ่งถือว่ากรณีที่กรมบัญชีกลางอนุมัติให้บริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด เข้าเกณฑ์คุณสมบัติการประกวดราคานั้น ถือเป็นเรื่องที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย”

รายงานข่าวจากศาลปกครอง กล่าวว่า ล่าสุดศาลปกครองกลางนัดอ่านคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ในคดีหมายเลขดำที่ 3/2564 ระหว่าง บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทนเอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด (ผู้ฟ้องคดี) กับ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ที่ 1 กับพวกรวม 3 คน โดยบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทน เอนจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด ซึ่งทำสัญญาร่วมค้าอันมีลักษณะเป็นกิจการร่วมค้ากับบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเม้นต์ จำกัด (มหาชน) ภายใต้ชื่อ กิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV ได้ฟ้องว่า รฟท.กับพวกรวม 3 คน ดำเนินการไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีคณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ กรมบัญชีกลาง มีคำสั่ง อนุมัติยกเว้นการปฏิบัติตามหนังสือคณะกรรมการนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐ ให้แก่บริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด (BINA จากมาเลเซีย-นภาก่อสร้าง) เป็นการเฉพาะราย

นอกจากนี้ การที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และข้อร้องเรียน กรมบัญชีกลางมีคำวินิจฉัยว่า การอุทธรณ์ของบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด ในประเด็นเกี่ยวกับคุณสมบัติและหนังสือรับรองผลงาน ฟังขึ้น และสั่งให้รฟท. กลับไปดำเนินการในขั้นตอนการพิจารณาผลการเสนอราคาของผู้ยื่นข้อเสนอให้ถูกต้องต่อไป ซึ่งไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งนี้บริษัทไชน่า เรลเวย์ จึงมีหนังสือโต้แย้งคัดค้าน ซึ่งเป็นผู้ชนะการประกวดราคาจ้างโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร - หนองคาย ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร - นครราชสีมา) งานสัญญาที่ 3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก - บันไดม้า ได้รับความเสียหาย

ทั้งนี้ศาลปกครองชั้นต้นพิจารณาแล้วเห็นว่า คดีนี้มีประเด็นที่ต้องวินิจฉัย เห็นสมควรที่ศาลฯมีคำสั่งวิธีการชั่วคราวก่อนการพิพากษา โดยให้ทุเลาตามคำสั่งของบริษัท บีพีเอ็นพี จำกัด จนกว่าศาลจะพิพากษาจะมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น ส่งผลกระทบต่อการบริหารสาธารณะทั้งโครงการฯ ของรฟท. เนื่องจากรฟท.ไม่สามารถว่าจ้างและทำการก่อสร้างได้จนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาเป็นอย่างอื่น

ขณะเดียวกันบริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์เทนเอ็นจิเนียริ่ง กรุ๊ป จำกัด สามารถเรียกร้องค่าเสียหายจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หากไม่ได้รับการคัดเลือกประมูลโครงการดังกล่าว หากในกรณีที่บริษัทไชน่า เรลเวย์ ไม่เรียกค่าเสียหายในคดีนี้แต่ต้องการลงนามสัญญาร่วมกับรฟท. ไม่สามารถเป็นข้อสรุปได้ว่าความเสียหายจะเกิดขึ้นกับบริษัทไชน่า เรลเวย์ในภายหลัง เนื่องจากผู้ฟ้องคดีเป็นเพียงสมาชิกของกิจการร่วมค้า ITD-CREC No.10 JV เท่านั้น จึงไม่ใช่ผู้เดือดร้อนเสียหาย รวมทั้ง รฟท.ยังไม่ได้มีคำสั่งเพิกถอนผลการประกวดราคาที่ให้ ITD-CREC No.10 JV เป็นผู้ชนะการประกวดราคา แต่สัญญาในโครงการฯ นี้จะล่าช้าออกไป ซึ่งจะกระทบต่อการก่อสร้าง เนื่องจากรฟท.ไม่สามารถส่งมอบงานโยธาให้แก่ผู้รับเหมางานระบบรถไฟฟ้าได้ทันเวลา ส่งผลให้รฟท.เสียค่าปรับแก่ผู้รับเหมาจากการส่งมอบงานโยธา หลังจากที่มีการลงนามสัญญาแล้วและจะกระทบต่อการเปิดให้บริการแก่ประชาชน

อย่างไรก็ตามทางบริษัท ไชน่า เรลเวย์ ระบุว่า กรณีที่กรมบัญชีกลางยกเว้นคุณสมบัติการประกวดราคาของบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ถือเป็นการทำผิดกฎหมาย หากคำสั่งของกรมบัญชีกลางและบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด ยังมีผลบังคับใช้จะทำให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทไชน่า เรลเวย์ เนื่องจากบริษัทได้เตรียมการตั้งแต่การเข้าร่วมยื่นข้อเสนอและทราบว่าเป็นผู้ชนะการประกวดราคา จึงได้เตรียมจัดซื้อและขนย้ายวัสดุอุปกรณ์ รวมทั้งค่าจ้างพนักงาน ค่าจ่ายในการเตรียมเอกสารเพื่อเตรียมดำเนินงานสัญญา3-1 งานโยธาสำหรับช่วงแก่งคอย - กลางดง และช่วงปางอโศก – บันไดม้า ทำให้บริษัทเสียโอกาสและเสียชื่อเสียง เพราะบริษัทเป็นตัวแทนของรัฐวิสาหกิจแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้รับมอบหมายให้ยื่นข้อเสนอโครงการดังกล่าว หากบริษัทไม่ได้ลงนามสัญญากับรฟท. ส่งผลให้บริษัทไม่ได้รับการสนับสนุนหรือได้รับความเชื่อมั่นในการเป็นตัวแทนในการยื่นข้อเสนอโครงการอื่นๆ ทั้งนี้บริษัทไม่ได้ต้องการเรียกร้องค่าเสียหายกับรฟท.แต่อย่างใด
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2021 11:35 pm    Post subject: Reply with quote

กพอ.เปิดความคืบหน้าอีอีซี เร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก.ย.นี้
หน้าเศรษฐกิจ
ศุกร์ 4 มิถุนายน 2564

กพอ. เผยความคืบหน้าเมกะโปรเจกต์ อีอีซี เร่งส่งมอบพื้นที่รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้ทั้งหมดเดือนก.ย.นี้ ก่อสร้างเสร็จปี 68 ด้าน สนามบินอู่ตะเภา จัดทำแผนแม่บทเสร็จ มิ.ย.นี้ พร้อมพัฒนาเมืองเก่า ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ ดึงท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) เปิดเผยว่า จากการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 3/2564 วันศุกร์ที่ 4 มิ.ย. 2564 โดยมี นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เป็นประธานการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้

1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน งานก่อสร้างเริ่มแล้ว พร้อมส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดในเดือนก.ย. 2564 ที่ประชุม กบอ. รับทราบความก้าวหน้าโครงการฯ โดย รฟท. เตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว และพร้อมส่งมอบพื้นที่ได้ทั้งหมด ภายในเดือนก.ย. 2564 โดยขณะนี้เอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4 – 5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ในปี 2568

ด้านการส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสาร ที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม นอกจากนี้จะได้รับการยกระดับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น อาทิ การปรับเปลี่ยนตู้ขนสัมภาระ จำนวน 4 ตู้ ให้เป็นตู้รองรับผู้โดยสารแทนได้มากถึง 1,000 คนต่อชั่วโมง ลดการรอคอยขบวนรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมปรับปรุงระบบควบคุมการเดินรถ ให้ขบวนรถมาตรงเวลามากขึ้น รวมถึงปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกรอบสถานี เพิ่มห้องน้ำ พื้นที่สีเขียว ระบบแสงสว่าง พัดลมระบายอากาศ และปรับปรุงระบบจราจร เป็นต้น


2. สนามบินอู่ตะเภา ฯ ก้าวหน้าครบทุกมิติ พร้อมรุกอุตสาหกรรมการบิน (ATZ) สร้างงานใหม่ รายได้เพิ่ม ที่ประชุม กบอ. รับทราบ ความก้าวหน้าการดำเนินการโครงการ ฯ ที่สำคัญ ๆ ได้แก่ ส่วนความรับผิดชอบภาครัฐ อาทิ การก่อสร้างทางวิ่งที่ 2 โดยกองทัพเรือ ซึ่งได้ออกแบบทางวิ่งและทางขับที่ 2 งานทางขับเชื่อมระหว่างทางวิ่ง พร้อมลานจอดศูนย์ซ่อมอากาศยานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประกอบด้วย ทางวิ่งความยาว 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่ง งานระบบที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น

ในด้านการเตรียมส่งมอบพื้นที่ สกพอ. ได้จัดทำร่างระเบียบการปฏิบัติงานในพื้นที่เขตส่งเสริมฯ สำหรับช่วงการก่อสร้างเพื่อใช้ในการบริหารจัดการพื้นที่ รวมถึงดูแลรักษาความปลอดภัยพื้นที่ งานก่อสร้างระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น สกพอ. ได้ส่งมอบที่ดินที่เช่า และบริษัท บี กริม. ได้เข้าเคลียร์พื้นที่เรียบร้อยแล้ว งานก่อสร้างระบบประปาและระบบน้ำเสีย สกพอ. ได้ส่งมอบที่ดินให้แก่ บริษัท อีสท์วอเตอร์ เรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างสำรวจสภาพพื้นที่


ส่วนความรับผิดชอบเอกชนคู่สัญญา (UTA) ได้เข้าสำรวจพื้นที่โครงการเรียบร้อย และได้ก่อสร้างรั้วมาตรฐานเขตการบิน (Airside) ความยาว 4.9 กิโลเมตร แล้วเสร็จประมาณ 95% เพื่อรักษาความปลอดภัย และอำนวยความสะดวกในช่วงการก่อสร้าง พร้อมจัดทำค่าระดับในพื้นที่โครงการ และกำหนดแนวเส้นทางเชื่อมโยงระหว่างอาคารผู้โดยสารกับสถานีรถไฟความเร็วสูง งานจัดทำแผนแม่บทสนามบินฉบับสมบูรณ์ กำหนดส่งมอบตามสัญญาเดือนมิ.ย.2564 นี้ งานออกแบบอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ ได้ว่าจ้างที่ปรึกษาระดับโลก กลุ่มบริษัท SOM (Skidmore, Owings and Merrill LLP : SOM) เพื่อออกแบบร่างขั้นต้นของอาคาร

สำหรับกิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน (Aviation Technical Zone : ATZ) สกพอ. เตรียมพัฒนาพื้นที่ประมาณ 539 ไร่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรมการบิน ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพื่อให้สนามบินอู่ตะเภาเป็นศูนย์กลางพัฒนาธุรกิจด้านอากาศยาน ซึ่งกิจกรรมใน ATZ ที่สำคัญ ๆ เช่น ศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน (MRO) ให้บริการซ่อมบำรุงเบา/หนัก ดัดแปลงอากาศยาน ศูนย์บริการอะไหล่อากาศยาน ศูนย์บริการอุปกรณ์ภาคพื้น ซ่อมบำรุงอุปกรณ์อากาศยาน ศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรด้านการบินและอวกาศ และที่จอดสำหรับอากาศยานที่เสีย และใช้เวลาซ่อมระยะยาว หรือรอจำหน่าย เป็นต้น


รู้จัก เซ้นส์เอนเตอร์เทนเมนท์ ทุ่ม 1.2 หมื่นล้านบาท บริหารลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดฟุตบอลไทย
ปัจจุบัน สกพอ. อยู่ระหว่างการจัดทำแผนแม่บทและวางผังภายในพื้นที่กิจกรรม ATZ และมีแผนจัดทำการทดสอบความสนใจของนักลงทุน (International Market Sounding) เพื่อศึกษาภาพรวมตลาดและเชิญชวนนักลงทุนในระหว่างเดือนก.ค. ถึงก.ย. 2564 ซึ่งการดำเนินการ ATZ คาดว่าจะ เพิ่มอัตราการจ้างงานด้านอุตสาหกรรมการบินกว่า 3,000 ตำแหน่ง สร้างรายได้ภาครัฐจากเอกชนที่เข้ามาลงทุน เพิ่มรายได้ให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ช่วยลดต้นทุนธุรกิจอุตสาหกรรมการบินของประเทศ และพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการบินในระดับภูมิภาคเอเชีย

3. ต้นแบบการพัฒนาเมืองเก่า ตลาดลานโพธิ์นาเกลือ ดึงท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี สู่อีอีซี ที่ประชุม กบอ. รับทราบ สกพอ. ร่วมกับเมืองพัทยา ริเริ่มโครงการก่อสร้างตลาดใหม่ลานโพธิ์นาเกลือ ตามแผนพัฒนาเมืองพัทยา สู่ NEO PATTAYA เพื่อเป็นโครงการนำร่องต้นแบบการพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดี และท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ พร้อมรักษาความเป็นเมืองเก่าของนาเกลือสู่แหล่งท่องเที่ยวชุมชน คู่ไปกับการพัฒนาเป็นตลาดอาหารทะเลชั้นนำของอีอีซี โดยนำเทคโนโลยี 5G มาใช้ เพิ่มความสะดวกและความปลอดภัยให้ชุมชน ปัจจุบันได้ศึกษาและสำรวจแนวคิดจากโครงการที่ประสบความสำเร็จ ปรับการออกแบบผัง แนวคิด ให้สอดคล้องกับสภาพพื้นที่ คงไว้ซึ่งอัตลักษณ์ชุมชน รักษาทัศนียภาพอันเป็นเอกลักษณ์ที่สวยงาม เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวทั่วโลกสู่อีอีซี

ทั้งนี้ จุดเด่นสำคัญของการพัฒนาโครงการตลาดใหม่ลานโพธิ์นาเกลือ คือ เป็นการพัฒนาเชิงพื้นที่แบบบูรณาการร่วมกันระหว่างรัฐ-ท้องถิ่น และเอกชน สร้างโอกาสในการเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ ขยายผลไปยังธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ฟื้นฟูเศรษฐกิจ คุณภาพชีวิตประชาชนหลังสถานการณ์โควิด 19 และเป็นโครงการต้นแบบที่สามารถดึงนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างประเทศเข้าสู่พื้นที่อีอีซี สร้างรายได้เพิ่มขึ้นให้แก่ชุมชนต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/06/2021 11:42 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
กรมศิลป์กางเอกสารร่ายยาวสถานีอยุธยารถไฟเร็วสูง ภาค 2
สยามรัฐออนไลน์ 3 มิถุนายน 2564 17:08 น.


ยันรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลก
ข่าวทั่วไทย
ไทยรัฐฉบับพิมพ์
ศุกร์ 4 มิถุนายน 2564 เวลา 10:53 น.

นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร เปิดเผยกรณีมีการกล่าวหาว่ากรมศิลปากรว่ามีส่วนทำให้โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ซึ่งกระทบมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา ล่าช้า ว่า กรมศิลปากรไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆกับการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน เนื่องจากไม่เคยมีการเชิญประชุมในคณะทำงานหรือสอบถามความคิดเห็นถึงการดำเนินงานมาก่อน อย่างไรก็ตาม สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา เคยให้ความเห็นว่าโครงการฯ มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยามาตลอด

อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ กรมศิลปากร เคยได้มีหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา และขอให้พิจารณาทางเลือกการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ และขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบรางและอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟ


ตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบ และขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกด้วยโครงการรถไฟความเร็วสูงฯ มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และต้องศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม หรือ HIA รวมถึงการจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน (TOD) ตามความจำเป็น ซึ่ง กรมศิลปกรยืนยันว่าทำงานตามนโยบายของรัฐบาลและศูนย์มรดกโลกที่มีความห่วงใยในแหล่งมรดกโลก ซึ่งไม่มีวาระแอบแฝงใดๆทั้งสิ้น” นายประทีปกล่าว.

กรมศิลปากร ห่วงสถานีรถไฟความเร็วสูงกระทบมรดกโลกอยุธยา
4 มิถุนายน 2564 เวลา 18:41




กรมศิลปากร กังวลสถานีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กระทบมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา พบไม่มีการสำรวจผลกระทบโบราณสถานริมทางรถไฟในรายงานอีไอเอ ที่อนุมัติเมื่อวันที่ 6 ก.ค.2560 แนะย้ายตั้งสถานีรถไฟ -เบี่ยงใช้เส้นทางอื่น คำนึงถึงบริบทมรดกทางวัฒนธรรม

วันนี้ (4 มิ.ย.2564) นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า หลังจากที่กรมศิลปากรได้ชี้แจงว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องใดๆ กับกระบวนการจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ในโครง การรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน ซึ่งมีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยาไปแล้วนั้น

กรมศิลปากร ขอชี้แจงเพิ่มเติมว่า เมื่อเดือน ธ.ค.2561 สำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้เข้าร่วมการประชุมเตรียมความพร้อมด้านโลจิสติกส์และการคมนาคม เพื่อรองรับการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง และศูนย์ซ่อมบำรุงและควบคุมการเดินรถจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในจังหวัด


ไม่พบสำรวจผลกระทบในรายงานอีไอเอ
ในการประชุมครั้งนั้น บริษัทที่ปรึกษาโครงการฯ ได้ชี้แจงรายละเอียดเกี่ยวกับการก่อสร้างอาคารสถานีอยุธยาและพื้นที่โดยรอบ ผู้แทนสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการฯ
มีงานก่อสร้างอาคารสถานีขนาดใหญ่ มีความสูงถึง 45 เมตร และอยู่ในเกณฑ์ที่อาจทำให้เกิดผลกระทบกับโบราณสถานและมรดกโลกอยุธยา จึงแจ้งให้ที่ประชุมทราบว่าทางบริษัทที่ปรึกษาฯ ต้องสำรวจผลกระทบต่อโบราณสถานที่อยู่ริมทางรถไฟก่อนการดำเนินงาน ซึ่งบริษัทที่ปรึกษาฯ ได้แจ้งตอบในการประชุมว่า มีการอนุมัติอีไอเอแล้วตั้งแต่ 6 ก.ค.2560

“คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ตรวจสอบแล้วไม่พบว่ามีการส่งรายงานสำรวจอีไอเอ มายังสำนักศิลปากรที่ 3 พระนครศรีอยุธยา ”
สำหรับอาคารสถานีอยุธยา บริษัทฯ ชี้แจงว่าจะสร้างอาคารใหม่คร่อมอาคารหลังเก่า และปรับปรุงเป็นศูนย์ข้อมูล หรือพิพิธภัณฑ์ จึงเป็นครั้งแรกที่กรมศิลปากรได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับการก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงยกระดับและสถานีขนาดใหญ่ รวมทั้งการจัดทำแนวทางการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่ง หลังจากนั้นจึงเป็นการหารือรายละเอียดการก่อสร้างระหว่างกรมศิลปากรและบริษัทที่ปรึกษาฯ

แนะออกแบบสถานีลดกระทบมรดกโลก
นายประทีป กล่าวอีกว่า กระทั่งเมื่อวันที่ 17 ธ.ค.2562 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) โดยกลุ่มบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง ขอเข้าหารือกับกรมศิลปากร ในประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับขนาดของอาคารสถานีที่มีความสูง และใหญ่เกินความจำเป็นต่อการใช้งาน รวมทั้งมีสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ที่เชื่อมต่อการเดินทางเข้าสู่เกาะเมือง จึงอาจส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกได้ จึงขอให้กรมศิลปากรประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการปรับปรุงรูปแบบอาคารให้กระทบต่อแหล่งมรดกโลกน้อยที่สุด

ทั้งนี้ กรมศิลปากร ได้แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อประสานงานติดตามแก้ไขปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยาโดยตรง และทำหนังสือถึงเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) และผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 29 ก.ย.2563 แจ้งว่าพื้นที่โครงการอยู่ในเขตโบราณสถาน และอยู่ใกล้เขตมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา


แนะย้ายที่ตั้งสถานีรถไฟ-ห่วงมรดกโลก
อธิบดีกรมศิลปากร กล่าวว่า ขอให้มีการพิจารณาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมอีกครั้ง เช่น ปรับลงเป็นทางลอดใต้ดิน หรือเบี่ยงไปใช้เส้นทางใหม่ หรือย้ายที่ตั้งสถานี และไม่เห็นด้วยกับรูปแบบสถานีที่มีการนำเสนอ โดยขอให้การรถไฟส่งรายละเอียดรูปแบบราง และอาคารสถานีในแนวเส้นทางรถไฟตลอดทั้งเส้นให้กรมศิลปากรตรวจสอบพิจารณา รวมทั้งขอให้มีนำเสนอต่อคณะกรรมการแห่งชาติว่าด้วยอนุสัญญาคุ้มครองมรดกโลกเพื่อทราบต่อไป

ต่อมาวันที่ 6 ต.ค.2563 รองปลัดกระทรวงคมนาคม รองอธิบดีกรมการขนส่งทางราง ผู้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนกรมการขนส่งทางราง ได้เข้าหารือกับอธิบดีกรมศิลปากร เกี่ยวกับการก่อสร้างสถานีอยุธยาของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา

กรมศิลปากร เสนอว่าโครงการรถไฟความเร็วสูง มีส่วนเข้าใกล้พื้นที่มรดกโลกพระนครศรีอยุธยา จึงควรให้ความสำคัญต่อบริบทความเป็นมรดกโลกของพื้นที่ และร่วมกันพิจารณาหาทางเลือกในการออกแบบสถานีที่เหมาะสมร่วมกัน และต้องดำเนินการศึกษาผลกระทบต่อมรดกทางวัฒนธรรม (HIA) ต่อแหล่งมรดกโลกพระนครศรีอยุธยา รวมทั้งจัดทำการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีขนส่งมวลชน ตามความจำเป็น

https://www.youtube.com/watch?v=ncK_s0O4B1Q
https://www.facebook.com/ThaiPBS/posts/10165776674115085

TOD สถานีอยุธยา
https://www.facebook.com/Thailand.Infra/posts/1205532853218525


Last edited by Wisarut on 06/06/2021 1:51 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/06/2021 11:18 pm    Post subject: Reply with quote

รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน”
หน้า เศรษฐกิจมหภาค / Mega Project
เสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 เวลา 21:08 น.

"ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" ชี้ชัด รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน” หลัง เส้นทางรถไฟ เวียงจันทน์ สปป.ลาว -มณฑลยูนาน จีนตอนใต้ 417กิโล สร้างเสร็จสมบูรณ์100% เมื่อวันที่5 มิ.ย.

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตรโพสต์เฟสบุ๊ก เมื่อวันที่ 5มิถุนายน ว่า “วันนี้ป็นวันที่ลาว-จีน วางรางรถไฟ ระยะทาง 417 กม.จากต้นทางเวียงจันทน์ ผ่านหลวงพระบาง หลวงน้ำทา บ่อเต็น ถึงปลายทางที่ชายแดนยูนนานของจีนได้เสร็จสมบูรณ์ 100% แล้วเป็นรางขนาด 1.435 เมตร มี 31 สถานีรวมทั้ง 5 สถานีหลัก วิ่งผ่านอุโมงค์ 76 แห่งที่มีความยาวรวม 195.78 กิโลเมตรและสะพาน 154 สะพานที่มีความยาวรวม 67.15 กิโลเมตร เงินลงทุนประมาณ 6,800 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 238,000 ล้านบาท)รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน”
รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน”

สามารถเชื่อมต่อระบบรถไฟจีน ไปเที่ยวถึงสิบสองปันนา แล้วต่อไปยังเมืองคุนหมิงซึ่งเป็นเมืองเอกของมณฑลยูนนาน เป็นไปตามโครงการ " Halfway Corridor" เป็น โครงการระหว่างแนวคิด "หนึ่งแถบ หนึ่งเส้นทาง" ของจีน และ ยุทธศาสตร์ของ สปป.ลาวในการเปลี่ยนจากประเทศไม่มีทางออกสู่ทะเล เป็นศูนย์กลางของการขนส่งทางบกแม้ในสถานการณ์โควิด-19 ก็ตาม รถไฟลาว-จีน ก็ดำเนินการไปตามแผนที่กำหนดซึ่งจะเปิดดำเนินการวันที่ 2 ธ.ค. ซึ่งเป็นวันชาติของ สปป.ลาว คนไทย-ลาวและจีนก็สามารถเลือกเดินทางระหว่างกัน ผ่านเส้นทางนี้สะดวกแล้ว มาขึ้นรถไฟที่นครหลวงเวียงจันทน์ สปป.ลาวได้รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน”
รฟท. ควรเป็นผู้เชื่อม “ไทย-จีน”

บริษัท Lao Song Laozhong Railway Co., Ltd. จัดซื้อรถไฟรุ่น CR200 J "Fuxing" ผลิต โดย บริษัท ร่วมทุนระหว่าง China Railway Group และ CRRC สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ 160 กม. / ชม. (สำรองอีก200กม./ชม.) มาให้บริการสองขบวนแรกโดย บริษัท China-Laos Railway Co. ทุนที่ก่อตั้งโดยบริษัทจีนและลาวในเวียงจันทน์ สปป. ลาว ด้วยทุนจดทะเบียน 1.5 หมื่นล้านหยวนไม่นานนัก นับถอยหลัง...ไป..เลย ไปจีนง่ายจัง ..”ผมเคยคุยกับอดีตพนักงาน รฟท. ได้รับข้อมูลว่า1 ถ้าจะเน้นการขนผู้โดยสาร ก็ต้องลงทุนรถไฟความเร็วสูง ก่อสร้างระบบราง 1.435 เมตร ยาวตลอดจากเวียงจันทร์ ลงไปถึงชายแดนมาเลเซีย ลงทุนมาก แต่จะใช้เวลาอีกระยะหนึ่ง กว่า demand จำนวนผู้โดยสารประจำวันจะสูงพอที่จะคุ้มทุน2 ถ้าจะเน้นการขนสินค้า รฟท. สามารถปรับเพิ่มราง 1 เมตรปัจจุบัน ให้มีรางที่สาม เป็น 1.435 เมตร และยกรางข้ามถนนไม่ให้มีจุดตัด ทำรั้วโปร่งป้องกันสัตว์ระบบสามราง จะรองรับรถไฟไทยปัจจุบัน และรถไฟจีนก็สามารถใช้ระบบนี้ได้ แต่จะต้องทำเป็นรางคู่ตลอดสายวิธีนี้ รฟท. ขยายธุรกิจได้ โดยลงทุนโบกี้ 1.435 เมตร และจะส่งสินค้าไทย-จีนได้ตลอดเส้นทาง โดยไม่ต้องเปลี่ยนถ่ายโบกี้ ไม่ต้องขนขึ้นขนลงโดยจะวิ่งความเร็วปกติมาตรฐานไทย เพียงแต่จะต้องจัดให้มีจุดเบี่ยงทั้งในจีนและในไทย เพื่อหลบทางให้แก่รถไฟความเร็วสูงของจีนแซง โดยจัดเป็นช่วงๆส่วนรถไฟจีน ก็ขยายธุรกิจได้ โดยขอวิ่งผ่านเข้ามาในไทย และจะส่งทั้งผู้โดยสารและสินค้าได้ตลอดเส้นทางเช่นกัน เพียงแต่จะต้องลดความเร็วลงเป็นปานกลางแนวทางนี้ จะสามารถวาง phase โครงการลงทุน ให้พอเหมาะกับกำลังเงินของฝ่ายไทย โดยไม่ต้องมีภาระหนี้ก้อนโตเริ่มแต่ต้น และจะเป็นการใช้โครงสร้างพื้นฐานเดิมให้เกิดประโยชน์ได้สูงสุดแนวทางนี้ น่าจะเอื้อให้การย้ายฐานการผลิตอุตสาหกรรมจากจีนมาไทย จะทำได้สะดวกมากขึ้น เช่นเดียวกับรถไฟที่เชื่อมจีนกับเวียดนาม หมายเหตุ: การกล่าวถึงชื่อบุคคลใดมิใช่เป็นการกล่าวหากระทำความผิด แต่เป็นเพื่อประกอบการบรรยายทางวิชาการเพื่อประโยชน์แก่ทางราชการในการรักษาประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญสำหรับฝั่งประเทศไทย ความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 ช่วงเส้นทาง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร(กม.) จำนวน 14 สัญญา วงเงินลงทุน 1.79 แสนล้านบาท ของการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) อยู่ระหว่างก่อสร้างและรอลงนามผู้รับจ้างอีก4สัญญารอประมูลอีก1สัญญา(ดอนเมือง-บางซื่อ) คาดว่าก่อสร้างแล้วเสร็จเปิดใช้เส้นทางอย่างเร็วในปี2569อย่างช้าปี2570เนื่องจากมีความล่าช้า ขณะโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพ-หนองคาย เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา (โคราช)-หนองคาย ระยะทางราว 356 กิโลเมตร วงเงินลงทุน ราว 2.5 แสนล้านบาท รฟท.เตรียมเปิดประมูลปลายปีนี้ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ5-6ปี หากแล้วเสร็จสามารถเชื่อมโยงการเดินทาง ท่องเที่ยว ขนส่งสินค้า กับรถไฟลาว-จีนที่ก่อสร้างแล้วเสร็จเตรียมเปิดใช้เส้นทางเดือนตุลาคมบริเวณด่านพรมแดนหนองคายฝั่งไทยกับ เวียงจันทน์ สปป.ลาว วิ่งยาวถึงสิบสองปันนาไปจีนตอนใต้ได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2021 12:03 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟสามสนามบินคืบหน้า เอกชนเข้าพื้นที่เตรียมก่อสร้าง

05 มิถุนายน พ.ศ. 2564 เวลา 11:10 น.


5 มิ.ย. 2564 นายสุพัฒนพงษ์ พันธ์มีเชาว์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยในฐานะเป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการบริหารการพัฒนาเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กบอ.) ครั้งที่ 3/2564 วันที่ 4 มิ.ย. 2564 ว่าที่ประชุมได้รับทราบ และพิจารณาความก้าวหน้าการดำเนินงานในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) มีรายละเอียดที่สำคัญ ดังนี้ 1. รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน งานก่อสร้างเริ่มแล้ว พร้อมส่งมอบพื้นที่ทั้งหมดก.ย. 64 ที่โดยเตรียมส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ ถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร ซึ่งเป็นพื้นที่โครงการประมาณ 5,521 ไร่ งานมีความคืบหน้า 86% ให้กับเอกชนคู่สัญญาแล้ว


โดยขณะนี้เอกชนได้เข้าพื้นที่ และเริ่มออกแบบเตรียมการก่อสร้าง เช่น งานปรับพื้นที่สำหรับเตรียมก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา งานก่อสร้างถนนและสะพานชั่วคราวเพื่อลำเลียงวัสดุ งานก่อสร้างสำนักงานสนาม บ้านพักคนงาน โรงหล่อชิ้นงานโครงสร้าง งานด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและการจัดจราจร โดยการก่อสร้างทั้งหมดจะใช้เวลาประมาณ 4 – 5 ปี และจะเปิดให้บริการช่วงพญาไท สุวรรณภูมิ ถึงอู่ตะเภา ในปี 2568

ขณะที่การส่งมอบรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรลลิงก์ พร้อมส่งมอบให้เอกชนคู่สัญญา โดยยืนยันว่า ผู้โดยสารจะไม่ได้รับผลกระทบใดๆ ระหว่างการถ่ายโอนกิจการ โดยเฉพาะเรื่องบัตรโดยสาร ที่สามารถใช้บัตรรายเดือนได้ตามเดิม นอกจากนี้จะได้รับการยกระดับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น อาทิ การปรับเปลี่ยนตู้ขนสัมภาระ จำนวน 4 ตู้ ให้เป็นตู้รองรับผู้โดยสารแทนได้มากถึง 1,000 คนต่อชั่วโมง ลดการรอคอยขบวนรถไฟฟ้าในชั่วโมงเร่งด่วน พร้อมปรับปรุงระบบควบคุมการเดินรถ ให้ขบวนรถมาตรงเวลามากขึ้น

Wisarut wrote:
กพอ.เปิดความคืบหน้าอีอีซี เร่งส่งมอบพื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงก.ย.นี้
หน้าเศรษฐกิจ
ศุกร์ 4 มิถุนายน 2564
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2021 10:33 pm    Post subject: Reply with quote

เริ่มเคลียร์พื้นที่สำหรับก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง 3 สนามบินแล้วครับ
อาทิตย์ที่ 6 มิถุนายน 2564 เวลา 18.10 น.

งานนี้อิตาเลียนไทยดิวิลอปเมนต์ รวมถึงก่อสร้างที่พักคนงาน ถนนเข้าพื้นที่ก่อสร้าง และอื่น ๆ ที่จะทำให้พร้อมก่อสร้างได้ทันทีหลังได้รับหนังสือแจ้งเริ่มงาน (NTP) ครับ
บริเวณเดียวกันนี้ยังมีงานย้ายท่อประปา สำหรับเตรียมพื้นที่ก่อสร้างด้วยเช่นกันครับ
https://www.facebook.com/RenderThailand/posts/347526906726860
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/06/2021 11:29 pm    Post subject: Reply with quote

กรมศิลป์ฯ กลัวสถานีรถไฟความเร็วสูงอยุธยากระทบวิวโบราณสถาน
Reporter Journey
เสาร์ที่ 5 มิถุนายน 2564 เวลา 17.45 น.

ถ้าหากว่าโครงการรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ - นครราชสีมา ที่หลังจากนี้การก่อสร้างและการเปิดให้บริการจะล่าช้าออกไปอีก ทั้งๆ ที่ก็ล่าช้าอยู่แล้ว ก็ขอให้รู้เลยว่าผลที่เกิดขึ้นนั้นอาจมาจากหน่วยงานที่ชื่อว่า "กรมศิลปากร" ที่เพิ่งจะออกมาพูดเอาตอนที่โครงการมันเดินหน้าจนสัญญาก่อสร้างช่วงท้ายๆ จะเซ็นกันอยู่แล้วว่า ไม่ต้องการให้สร้างสถานีรถไฟความเร็วสูง จ.พระนครศรีอยุธยา ในจุดที่มีการกำหนดเอาไว้ ซึ่งก็คือบริเวณสถานีรถไฟปัจจุบันตามการออกแบบสถานีเดิมที่เคาะมาเรียบร้อย ซึ่งตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยานอกเกาะเมือง ห่างจากอุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา หรือเมืองเก่าอยุธยา 2 กิโลเมตร
.
สาเหตุที่ไม่ต้องการให้สร้างในจุดนี้ตามแบบเดิมก็เพราะเกรงว่า อาคารสถานีและทางวิ่งยกระดับจะบดบังทัศนียภาพโบราณสถาน และถ้าหากไม่ขยับที่ตั้งสถานีก็จะต้องสร้างใหม่ให้เป็นรูปแบบใต้ดินแทน ซึ่งไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหนก็ทำให้กระทบต่อระยะเวลาการก่อสร้างของทั้งโครงการ และกำหนดการเปิดให้บริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพียงเพราะปัญหาจุดๆ เดียว
.
เนื่องจากหากต้องเปลี่ยนแปลงตามที่กรมศิลป์ฯ ต้องการ ก็จะต้องใช้เวลาการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ใหม่อีกครั้งเป็นเวลา 6 เดือน ทั้งๆ ที่การศึกษาผลกระทบฯ นั้นได้ผ่านเป็นที่เรียบร้อยมาตั้งนานแล้ว แต่เวลานั้นกรมศิลป์ฯ ไม่ได้มีการคัดค้านหรือแสดงความเห็นโต้แย้งใดๆ
.
นอกจากนี้ถ้าปรับเปลี่ยนรูปแบบสถานีเป็นแบบใต้ดิน ก็จะต้องใช้ระยะเวลาก่อสร้างเพิ่มขึ้นอีกมาก ซึ่งคณะกรรมการแห่งชาติฯ ก็ดึงดันจะให้ก่อสร้างเป็นสถานีใต้ดินแทนยกระดับหรือเปลี่ยนแนวเส้นทางใหม่ แต่การรถไฟแห่งประเทศไทย และกระทรวงคมนาคม ก็เคยยืนยันว่าการก่อสร้างสถานีใต้ดินต้องเริ่มทำ EIA ใหม่และเป็นแนวทางที่ไม่เหมาะสม เพราะพื้นที่อยุธยาเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมเสมอ เนื่องจากเป็นพื้นที่รับน้ำหลากจากภาคเหนือ จึงค่อนข้างเสี่ยง และต้องเพิ่มค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างอีกกว่า 1 หมื่นล้าน พร้อมขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 5 ปี
.
ส่วนการเปลี่ยนเส้นทางใหม่ นอกจากต้องทำ EIA ใหม่เช่นกันแล้ว จะกระทบกับประชาชน เพราะต้องเวนคืนที่ดินเพิ่มขึ้นประมาณ 2 พันกว่าไร่ รวมทั้งต้องใช้งบประมาณเพิ่มขึ้น 2 หมื่นกว่าล้านบาท และขยายเวลาก่อสร้างออกไปอีก 7 ปีอีกด้วย ทำให้การกำหนดเปิดให้บริการต้องล่าช้าออกไป
.
คำถามคือ ตอนที่มีการทำ EIA กรมศิลป์ฯ ก็เป็นคณะกรรมการพิจารณาด้วย ตอนนั้นทำไมกรมศิลป์ไม่เสนอแนะ คัดค้าน หรือแสดงความต้องการ ณ เวลานั้น แต่กลับเพิ่งจะมาคัดค้านเอาช่วงที่มีการเซ็นสัญญาก่อสร้างแล้ว จนกระทบต่อไทม์ไลน์โครงการในภาพรวมทั้งหมด
.
และถ้ากรมศิลป์ เป็นห่วงทัศนียภาพของโบราณสถานจริงๆ ทำไมกรมศิลป์ฯ ถึงปล่อยให้สภาพแวดล้อมในเกาะเมืองมีการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างที่ไม่เข้ากับพื้นที่ แทรกซึมอยู่ภายในมาได้ตั้งนาน รวมทั้งมีโรงแรมที่อยู่ริมแม่น้ำที่มีความสูงหลายชั้นมากกว่าทางวิ่งและสถานี ซึ่งน่าจะกระทบต่อทัศนียภาพภายในเขตโบราณสถานเช่นกัน แต่ทำไมกรมศิลป์ฯ ถึงไม่เห็นพูดอะไร หรือทำอะไร ปล่อยให้ดำเนินการก่อสร้างจนแล้วเสร็จ และเปิดให้บริการมาหลายสิบปีจนถึงปัจจุบัน
.
ขณะที่ในต่างประเทศซึ่งเป็นเมืองมรดกโลกทั้งเมือง และมีการก่อสร้างสถานีรถไฟความเร็วสูงแบบยกระดับ เช่น เมืองเกียวโต อดีตราชธานีของญี่ปุ่นอายุนับพันปี ที่มีวัดโบราณ สถานที่เก่าแกต่างๆ เต็มเมืองดังที่เห็นในภาพ กลับสามารถก่อสร้างสถานีรถไฟขนาดใหญ่ที่มีความสูงของอาคารเท่าตึก 7 ชั้นได้ ในระยะรัศมีห่างจากโบราณสถานสำคัญที่มีอายุกว่า 1,700 ปี ซึ่งเก่าแก่กว่ากรุงศรีอยุธยา และกรุงสุโขทัยเป็นราชธานีรวมกันเพียง 1 กิโลเมตร และไม่กระทบต่อการเป็นแหล่งมรดกโลกแต่อย่างใด อีกทั้งยังช่วยเสริมภาพลักษณ์การท่องเที่ยว และการคมนาคมของทั้งคนในจังหวัดและนักท่องเที่ยวให้เดินทางมาได้สะดวกสบายอีกด้วย
.
ถ้าหากโครงการนี้ล่าช้าออกไปอีก ก็ขอให้ประชาชนทั้งหลาย โดยเฉพาะชาวจังหวัดพระนครศรีอยุธยาเจ้าของพื้นที่ที่จะได้ใช้ประโยชน์จากโครงการนี้เต็มๆ ทราบไว้ว่า หน่วยงานที่ชื่อ "กรมศิลปากร" คือสาเหตุของความล่าช้านี้ที่ทำให้เสียเวลา เสียประโยชน์ เสียโอกาสออกไปอีกหลายปี
.
ผู้เขียนเลยคิดว่า ถ้ารถไฟความเร็วสูงสายนี้เจออุปสรรค เห็นทีโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน สายภาคตะวันออกของกลุ่ม CP ที่ตอนนี้ได้เคลียร์พื้นที่พร้อมส่งมอบเพื่อก่อสร้างแล้ว ซึ่งเกิดมาทีหลังหลายปี น่าจะก่อสร้างเสร็จก่อนเสียแล้วกระมัง และถ้าเป็นเช่นนั้นจริงๆ ความล่าช้าที่เกิดขึ้นเพราะหน่วยงานราชการเป็นผู้สร้างอุปสรรคมันขึ้นมาเอง จนประเทศและประชาชนเสียประโยชน์ และเสียงบประมาณมากขึ้น จะชดใช้มันอย่างไร?
.
ฝากไว้ให้ได้คิดกัน
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 409, 410, 411 ... 545, 546, 547  Next
Page 410 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©