RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181334
ทั้งหมด:13492569
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 414, 415, 416 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 1:03 pm    Post subject: Reply with quote

3 โปรเจ็กต์อีอีซีเดินหน้า “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ส่งมอบพื้นที่ ก.ย. นี้
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 4 สิงหาคม 2564 - 18:23 น.


บอร์ดอีอีซี เผย 3 โปรเจ็กต์ยักษ์เดินหน้าทั้งหมด “ไฮสปีด 3 สนามบิน” ส่งมอบพื้นที่เสร็จ ก.ย. นี้ พร้อมให้ “ซี.พี.” ทำโครงสร้างร่วมบางซื่อ-ดอนเมือง “อู่ตะเภา” เร่งออกแบบ-เตรียมงานสาธารณูปโภคพื้นฐาน ด้าน “แหลมฉบัง” รออัยการสูงสุดเคาะร่างสัญญา

วันที่ 4 สิงหาคม 2564 นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ. หรือเลขาฯ อีอีซี) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้รับทราบการดำเนินโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ระเบียงเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ทั้ง 3 โครงการ





ส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด 3 สนามบิน ก.ย. นี้
เริ่มที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ระยะทาง 220 กม. วงเงิน 224,544 ล้านบาท ที่มีการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เป็นหน่วยงานเจ้าของโครงการ และมีบจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (กลุ่มซี.พี.) เป็นเอกชนคู่สัญญา ความคืบหน้าการส่งมอบพื้นที่มีความคืบหน้า 86% แล้ว และพร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 คู่ขนานไปกับการยกระดับแอร์พอร์ต เรลลิงก์ โฉมใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น

ให้ ซี.พี. ทำโครงสร้างร่วม “บางซื่อ – ดอนเมือง”
ขณะเดียวกัน ประเด็นการแก้ไขปัญหาโครงการทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพ – นครราชสีมา ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทาง และจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกัน (โครงสร้างโยธาร่วม) แต่มีระยะเวลาการก่อสร้าง และมาตรฐานเทคนิคทั้งสองโครงการไม่สอดคล้องกัน



ปี 69 เสร็จ
ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาการซ้อนทับทั้ง 2 โครงการ ดังกล่าว อีอีซี, กระทรวงคมนาคม และ ร.ฟ.ท. จะเจรจากับเอกชนคู่สัญญา จัดทำข้อเสนอการแก้ไขสัญญาร่วมทุน เพื่อให้เอกชนเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยจะเจรจาให้เอกชนรับพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างโยธาให้ได้มาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน คาดว่าจะสามารถใช้เส้นทางบางซื่อ – ดอนเมืองได้ภายในเดือน ก.ค. 2569


รวมทั้งเอกชนคู่สัญญา จะรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธาทั้งหมดรวมงานทางวิ่งของโครงการรถไฟความเร็งสูง ไทย-จีน ช่วงบางซื่อ – ดอนเมือง โดยยึดข้อตกลงทั้งมาตรฐานและระยะเวลาของ รถไฟไทย-จีนเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องระยะเวลา และด้านเทคนิคให้สามารถรองรับทั้งสองโครงการได้

ทั้งนี้ จะได้หาแนวทางร่วมกันกับเอกชนคู่สัญญา ในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เป็นภาระทางการเงินกับภาครัฐ และแผนก่อสร้างทั้งสองโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด

บอร์ดอีอีซีเคาะ ซี.พี.เร่งสร้างช่วงทับซ้อนไฮสปีด “ไทย-จีน” คาดเซ็นสัญญาแหลมฉบังเฟส 3 ส.ค.นี้
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 4 สิงหาคม 2564 - 16:31
ปรับปรุง: วันที่ 4 สิงหาคม 2564 - 16:31



บอร์ดอีอีซีเคาะแก้ปัญหาไฮสปีด 3 สนามบิน ทับซ้อน “ไทย-จีน” ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองให้รฟท.เจรจา ซี.พี.แก้สัญญาร่วมทุน เร่งสร้างตั้งเป้า “ไทย-จีน” เปิดใช้ ก.ค. 69 ส่วนแหลมฉบังเฟส 3 อัยการตรวจร่างสัญญา คาดเซ็น “กัลฟ์-ปตท.” ใน ส.ค.นี้

นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 วันที่ 4 ส.ค. 2564 โดยมี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ.เป็นประธานประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ได้รับทราบและพิจารณาการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่อีอีซี ได้แก่ การแก้ไขปัญหาซ้อนทับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน ในช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทาง และจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธาเสาและฐานรากร่วมกัน (โครงสร้างโยธาร่วม) แต่ระยะเวลาการก่อสร้าง และมาตรฐานเทคนิคทั้งสองโครงการไม่สอดคล้องกัน

โดยให้ สกพอ. กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเจรจากับ บจ.รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ซี.พี.) จัดทำข้อเสนอการแก้ไขสัญญาร่วมทุนรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน เพื่อให้เอกชนเร่งรัดดำเนินการก่อสร้างช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง โดยให้เอกชนรับพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างโยธาให้ได้มาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้โครงการรถไฟไทย-จีน สามารถใช้เส้นทางดอนเมือง-บางซื่อได้ภายในเดือน ก.ค. 2569

รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธาทั้งหมด รวมงานทางวิ่งของโครงการรถไฟฯ ไทย-จีน ช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง โดยยึดข้อตกลงทั้งมาตรฐานและระยะเวลาของรถไฟไทย-จีนเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องระยะเวลา และด้านเทคนิคให้สามารถรองรับทั้งสองโครงการได้

ทั้งนี้ จะได้หาแนวทางร่วมกันกับเอกชนคู่สัญญาในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐเพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เป็นภาระทางการเงินกับภาครัฐ และแผนก่อสร้างทั้งสองโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด

@อัยการตรวจร่างสัญญา ทลฉ.เฟส 3 เร่งเสนอ ครม.คาดลงนามใน ส.ค.

สำหรับโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือ F คณะทำงานเจรจาร่างสัญญาฯ ที่มีผู้แทนสำนักงานอัยการสูงสุดเป็นประธาน ได้ดำเนินการเจรจาร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนรวมทั้งสิ้น 14 ครั้ง และอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดจะลงนามสัญญาได้ในเดือน ส.ค.นี้

กพอ.พิจารณาผลการคัดเลือกเอกชน ผลการเจรจา และร่างสัญญาร่วมลงทุน ตามที่คณะกรรมการคัดเลือกฯ ได้ดำเนินการตามมติ ครม.เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2564 อนุมัติผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับจากโครงการฯ เป็นค่าสัมปทานคงที่ คิดเป็นมูลค่าปัจจุบัน 29,050 ล้านบาท และค่าสัมปทานผันแปรที่ 100 บาทต่อ TEU (หน่วยนับตู้คอนเทนเนอร์ซึ่งมีขนาด 20 ฟุต)

โดยกลุ่มกิจการร่วมค้า GPC ประกอบด้วย บริษัท กัลฟ์ เอ็นเนอร์จี ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) บริษัท พีทีที แทงค์ เทอร์มินัล จำกัด (PTT TANK) บริษัท ไชน่า ฮาร์เบอร์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นผู้ผ่านการประเมินข้อเสนอซองที่ 4 ซึ่งได้เสนอผลประโยชน์ตอบแทนทางการเงินที่ภาครัฐได้รับตามที่มติ ครม.ได้อนุมัติไว้ นอกจากนี้ ยังได้เจรจาผลตอบแทนเพิ่มเติม เช่น เอกชนตกลงเพิ่มเงื่อนไขการสร้างท่าเรือ F2 ให้เร็วขึ้น หากแนวโน้มตู้สินค้าเพิ่มขึ้นกว่าที่คาดการณ์ไว้ เอกชนจะสมทบเงินเข้ากองทุนเยียวยาความเสียหายในอัตรา 5,000 บาท/ไร่/ปี นับตั้งแต่วันเริ่มประกอบการท่าเทียบเรือ เป็นต้น
@รถไฟเชื่อมสามสนามบินส่งมอบพื้นที่ครบใน ก.ย.นี้

ส่วนความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนั้นมีการส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนคู่สัญญาไปแล้ว 86% และพร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 คู่ขนานไปกับการยกระดับรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงก์โฉมใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น

สำหรับสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก บริษัท อู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA จัดทำแผนแม่บทสนามบินอู่ตะเภาฉบับสมบูรณ์ พร้อมเริ่มว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก (SOM) ด้านกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่ง 2 และงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อย

โดยงานปรับถมดินทางขับระยะที่ 1 มีความคืบหน้า 80.53%, งานสาธารณูปโภค สกพอ.ได้ส่งมอบพื้นที่ให้ บริษัท บี.กริม ผู้ดูแลงานระบบไฟฟ้าและน้ำเย็น บริษัท อีสท์วอเตอร์ ผู้ดูแลงานระบบประปาและบำบัดน้ำเสียเพื่อเตรียมงานก่อสร้างแล้ว, งานบริการน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยานเจรจาสัญญาแล้วเสร็จ ผู้ประกอบการที่ได้รับคัดเลือกคือ บริษัทร่วมค้า BAFS-OR, กิจกรรมพัฒนาพื้นที่อุตสาหกรรมการบิน (ATZ) สกพอ.อยู่ระหว่างจัดทำแผนแม่บท ซึ่งมีกิจกรรมสำคัญๆ เช่น ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO) ศูนย์บริการอุปกรณ์ภาคพื้น และศูนย์ฝึกอบรมบุคลากรทักษะชั้นสูงด้านอุตสาหกรรมการบิน เป็นต้น

@รับทราบแผนจัดหาแหล่งน้ำ แก้ปัญหายั่งยืน

นอกจากนี้ ที่ประชุม กพอ.รับทราบการจัดหาแหล่งน้ำในพื้นที่อีอีซีที่มีระบบบริหารน้ำในภาพรวมครบถ้วน จากข้อสั่งการ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี อาทิ กรมชลประทาน เร่งเสนอโครงการก่อสร้างสถานีสูบน้ำกลับคลองสะพาน-ประแสร์ เส้นที่ 2 และเครือข่ายคลองวังโตนด-อ่างเก็บน้ำประแสร์ เส้นที่ 2 สร้างความมั่นคงการจัดการน้ำในระยะยาว นิคมอุตฯ จัดหาแหล่งน้ำสำรองของตนเอง รวมถึงเร่งเพิ่มน้ำต้นทุน เปลี่ยนน้ำทะเลเป็นน้ำจืด ดำเนินการให้คุ้มค่าสูงสุด เป็นต้น

แนวทางจัดหาแหล่งน้ำรองรับในพื้นที่ 30 กิโลเมตรรอบสนามบินอู่ตะเภา ที่เป็นจุดการพัฒนาที่สำคัญ และกระทรวงทรัพย์ฯ ได้ช่วยทำแผนที่น้ำใต้ดินซึ่งสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้กว่า 4,000 ล้านลูกบาศก์เมตร ถือเป็นครั้งแรกที่มีการบริหารน้ำผิวดินร่วมกับน้ำใต้ดิน

@อนุมัติลงทุนในอีอีซีแล้ว 1.59 ล้านล้านบาท
นายคณิตกล่าวว่า ความก้าวหน้าการลงทุนในอีอีซี เกิดการลงทุนรวมจากงบบูรณาการอีอีซี โครงสร้างพื้นฐาน (PPP) และการออกบัตรส่งเสริมลงทุนจากบีโอไอ มีมูลค่าสูงถึง 1,594,282 ล้านบาท (ณ 30 มิ.ย. 2564) มีการลงทุนที่สำคัญๆ เช่น โครงการร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน (โครงสร้างพื้นฐาน) ซึ่งได้ผู้ลงทุน 4 โครงการหลัก มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท เกิดการลงทุนในปี 2564 มูลค่า 26,588 ล้านบาท และลงทุนตลอดระยะเวลาที่เหลือของโครงการสูงถึง 606,205 ล้านบาท

นอกจากนี้ กพอ.พิจารณาจัดตั้ง และเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม 7 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี 4 แห่ง และจังหวัดระยอง 3 แห่ง พื้นที่โครงการรวมประมาณ 8,000 ไร่ มีพื้นที่รองรับประกอบกิจการรวมประมาณ 6,000 ไร่ โดยมีเป้าหมายเงินลงทุนรวมประมาณ 3 แสนล้านบาท ภายใน 10 ปี (2564-2573) ได้แก่ เขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการอุตสาหกรรม รูปแบบนิคมอุตสาหกรรมเพิ่มเติม จำนวน 5 แห่ง ตั้งอยู่ในจังหวัดชลบุรี 3 แห่ง ได้แก่ นิคมโรจนะแหลมฉบัง นิคมโรจนะหนองใหญ่ และนิคมเอเชียคลีน เพื่อรองรับอุตสาหกรรมยานยนต์สมัยใหม่ อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ การบินและโลจิสติกส์ เกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ และในจังหวัดระยอง 2 แห่ง ได้แก่ นิคมเอ็กโก และนิคมดับบลิวเอชเออินดัสเตรียลเอสเตทระยอง รองรับยานยนต์สมัยใหม่ หุ่นยนต์ การบินและโลจิสติกส์ โดยมีจำนวนพื้นที่โครงการ 6,884.42 ไร่ เป็นพื้นที่รองรับประกอบกิจการ 5,098.56 ไร่ เงินลงทุนสูงถึง 280,772.23 ล้านบาท


จัดตั้งเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษเพื่อกิจการพิเศษ จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ ศูนย์นวัตกรรมดิจิทัลและเทคโนโลยีขั้นสูงบ้านฉาง จังหวัดระยอง พื้นที่โครงการ 519 ไร่ รองรับงานวิจัยพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมดิจิทัล และกิจการที่เกี่ยวข้อง พื้นที่ประกอบกิจการ 360 ไร่ เงินลงทุนประมาณ 20,000 ล้านบาท รวมทั้ง ได้เห็นชอบเปลี่ยนแปลงเขตส่งเสริมเศรษฐกิจพิเศษ เพื่อกิจการพิเศษ ศูนย์นวัตกรรมการแพทย์ครบวงจร ธรรมศาสตร์ (พัทยา) หรือ EECmd โดยขยายพื้นที่เพิ่ม 18.68 ไร่ จากเดิมมีพื้นที่ 566 ไร่ เป็นพื้นที่รวมประมาณ 585 ไร่ เงินลงทุนประมาณ 8,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 5:11 pm    Post subject: Reply with quote

'กพอ.' เคาะรื้อสัญญา 'ซีพี' แก้ปัญหาทับซ้อน 'ไฮสปีดไทย-จีน'
5 สิงหาคม 2564

กพอ.ไฟเขียวแก้ปัญหา ซ้อนทับ โครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน ในช่วงบางซื่อ ถึง ดอนเมือง ให้ยึดข้อตกลงทั้งมาตรฐานและระยะเวลาของรถไฟไทย-จีนเป็นหลัก แต่ให้ยึดเทคนิคทั้งสองโครงการ
นายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานกรรมการ กพอ. เป็นประธานเมื่อวันที่ 4 ส.ค.ที่ผ่านมาได้พิจารณา แก้ปัญหาซ้อนทับ โครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน ในช่วงบางซื่อ ถึง ดอนเมือง ซึ่งใช้โครงสร้างโยธาร่วมกัน แต่เวลาการก่อสร้างและมาตรฐานเทคนิคไม่สอดคล้องกัน

ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว สกพอ. กระทรวงคมนาคม และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะเจรจาเอกชนคู่สัญญาทำข้อเสนอการแก้ไขสัญญาร่วมทุน เพื่อให้เอกชนเร่งก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง

โดยจะเจรจาให้เอกชนรับพื้นที่และเริ่มงานก่อสร้างโยธาให้ได้มาตรฐานเร็วกว่ากำหนด เพื่อให้โครงการรถไฟไทย-จีน ใช้เส้นทางดอนเมือง-บางซื่อได้ภายในเดือน ก.ค.2569


รวมทั้งเอกชนคู่สัญญาจะรับผิดชอบออกแบบและก่อสร้างงานโยธา รวมงานทางวิ่งของโครงการรถไฟไทย-จีน ช่วงบางซื่อ-ดอนเมืองด้วย

ทั้งนี้ยังให้ยึดข้อตกลงทั้งมาตรฐานและระยะเวลาของรถไฟไทย-จีนเป็นหลัก เพื่อแก้ปัญหาความไม่สอดคล้องระยะเวลา และด้านเทคนิคให้รองรับทั้ง 2 โครงการ โดยจะหาแนวทางร่วมกับเอกชนคู่สัญญาในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติม และแผนก่อสร้างทั้ง 2 โครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด



ส่วนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ อีอีซี โครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน การส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนคู่สัญญามีความคืบหน้า 86% แล้ว และพร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 คู่ขนานไปกับการยกระดับ แอร์พอร์ต เรลลิงก์ โฉมใหม่ ที่ผู้โดยสารจะได้รับบริการ ที่สะดวก รวดเร็ว และปลอดภัยยิ่งขึ้น

สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการที่เป็นการลงทุนของภาคเอกชนโดยเอกชนผู้รับสัมปทานคือบริษัทเครือเจริญโภคภัณฑ์ โดยได้มีการจัดตั้งบริษัทนิติบุคคลเฉพาะกิจขึ้นมาบริหารโครงการในชื่อ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด

จัดตั้งเพื่อขึ้นเซ็นสัญญาร่วมทุนสัมปทาน 50 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม. และแอร์พอร์ตลิงก์ ทุนจดทะเบียน 4,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 05/08/2021 7:12 pm    Post subject: Reply with quote

รื้อใหม่ไฮสปีด”เชียงใหม่/หัวหิน” กรมราง ทำโครงข่ายรถไฟใหม่ 1 ปี
ข่าวรอบวัน
วันที่ 5 สิงหาคม 2564 - 13:50 น.


“กรมราง” เปิดแผนศึกษา R-Map โครงข่ายรถไฟไร้รอยต่อทั่วประเทศ คาดใช้เวลา 1 ปีเสร็จ เผยรถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพ – เชียงใหม่” และ “กรุงเทพ – หัวหิน” ถูกรวบในแผนที่จะต้องศึกษาใหม่ด้วย

วันที่ 5 สิงหาคม 2564 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรมการขนส่งทางราง (ขร.) กำลังดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ (R-Map) โดยเดินหน้าดำเนินการพัฒนาและปรับปรุงโครงข่ายรถไฟไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างทางคู่ และทางสายใหม่ พร้อมทั้งพัฒนาระบบโทรคมนาคมแลอาณัติสัญญาณ รถจักรและล้อเลื่อน เพื่อให้ระบบขนส่งทางรางกลายเป็นระบบหลักในการการเดินทางและการขนส่งสินค้าของประเทศ

การศึกษา R-Map นี้จะเป็นการศึกษาเพื่อหาความเป็นไปได้ในการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศมากยิ่งขึ้น เพื่อเชื่อมโยงการเดินทางและขนส่งสินค้าจากพื้นที่เศรษฐกิจ แหล่งท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมของจังหวัดต่างๆ รวมถึงเชื่อมโยงกับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียน ตลอดจนการพัฒนาความร่วมมือในการให้บริการรถไฟระหว่างประเทศ พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวกและศูนย์บริการโลจิสติกส์ในรูปแบบต่างๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนรูปแบบการขนส่งสินค้าและเดินทาง

โดยจะเป็นการนำแผนแม่บทการพัฒนาโครงข่ายทางรถไฟมาทบทวนและต่อยอดโครงข่ายรถไฟเดิมให้ครอบคลุมทั่วประเทศ รวมทั้งทบทวนและพัฒนาการสนับสนุนเขตเศรษฐกิจพิเศษ แหล่งท่องเที่ยว นิคมอุตสาหกรรม การพัฒนาพื้นที่ในระดับภูมิภาคและประเทศเพื่อนบ้าน และสิ่งอำนวยความสะดวกและโครงสร้างพื้นฐานด้านโลจิสติกส์รูปแบบต่าง ๆ


เมื่อดำเนินการศึกษาแล้วเสร็จจะมีการจัดทำแผนการพัฒนาโครงข่ายรถไฟให้ครอบคลุมและเชื่อมโยงพื้นที่ทั่วประเทศและรองรับการขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบได้อย่างไร้รอยต่อ เพื่อให้เกิดการดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมเหมาะสมกับสถานะปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคตโดยบูรณาการร่วมกับการคมนาคมขนส่งอื่นๆ รวมทั้งเสนอแนะการลงทุนตามลำดับความสำคัญและความจำเป็นแต่ละเส้นทางในโครงการต่าง ๆ ในภาพรวมของประเทศและระดับภูมิภาค เพื่อเป็นส่วนช่วยในการฟื้นฟูสภาพเศรษฐกิจ หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด – 19 และรองรับการลงทุนหลังจากการเปิดประเทศต่อไป


ปัดฝุ่น 2 ไฮสปีด “เชียงใหม่/หัวหิน” ศึกษาใหม่
ด้านแหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย”ประชาชาติธุรกิจ”ว่า การศึกษา R-MAP ในครั้งนี้จะเอาผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงอีก 2 เส้นทางคือ ช่วงกรุงเทพ – เชียงใหม่ และช่วงกรุงเทพ – หัวหิน ที่เคยทำไว้เดิมมาศึกษาใหม่ด้วย เนื่องจากสถานการณ์ของประเทศเปลี่ยนแปลงไปจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ต้นปี 2563 ยาวมาจนถึงวันนี้ ทำให้ฐานะทางการคลังของประเทศมีความเปราะบางสูง บวกกับทั้ง 2 โครงการใช้เงินลงทุนสูงกว่าแสนล้านบาท จึงต้องนำทั้ง 2 โครงการมาพิจารณาศึกษาใหม่ถึงความจำเป็นอีกครั้งหนึ่งก่อน



1 ปีศึกษาเสร็จ
ส่วนระยะเวลาการศึกษาจะใช้เวลา 1 ปี คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2565 เมื่อแล้วเสร็จจะรายงานที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อทราบ หลังจากนั้นจะส่งผลการศึกษาให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) นำไปออกแบบในรายละเอียดของแต่ละเส้นทางต่อไป โดยจะประสานกับภาคส่วนต่างๆของประเทศทั้งรัฐ เอกชน และอื่นๆ มาร่วมกันวางแผนและพิจารณาร่วมกันในการออกแบบเส้นทางรถไฟและการคมนาคมขนส่วสายรอง เพื่อไม่ให้เกิดกรณีซ้ำรอยกับเคสรถไฟความเร็วสูงไทยจีนที่ต้องเคลียร์อุปสรรคเกี่ยวกับมรดกโลกในจ.อยุธยา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/08/2021 12:29 pm    Post subject: Reply with quote

"ประยุทธ์"ติดตามความก้าวหน้าโครงการอีอีซี-รถไฟความเร็วสูง
posttoday.com ฉบับวันที่ 09 สิงหาคม พ.ศ. 2564
วันที่ 09 ส.ค. 2564 เวลา 10:10 น.
https://www.posttoday.com/economy/news/660085

โฆษกรัฐบาลเผยรัฐบาลเดินหน้าพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก เร่งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 และพัฒนาแหล่งน้ำต่อเนื่อง รองรับ EEC

เมื่อวันที่ 9 ส.ค.นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรว.กลาโหม ติดตามและรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการต่างๆในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยมีรายละเอียดดังนี้

1.การจัดหาแหล่งน้ำรองรับพื้นที่อีอีซี เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นและวางแผนระยะยาวให้ยั่งยืน โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำจนถึงปีพ.ศ. 2580 มีทั้งสิ้น 38 โครงการมูลค่า 52,874.47 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 9 โครงการ นอกจากนี้ยังมีโครงการผลิตน้ำจืดจากทะเล (Desalination) ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัดทำโครงการ นอกจากนี้ ยังมีการปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่พื้นที่ 3,348 ไร่ โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ 4 แหล่งที่มีศักยภาพสูง และสามารถนำมาใช้ได้ถึง 4,039 ล้านลูกบาศก์เมตร

2.ความก้าวหน้าการลงทุนใน EEC มีมูลค่าสูงถึง 1,594,282 ล้านบาท (ณ 30 มิ.ย. 2564) โดยมีการลงทุนที่สำคัญ ๆ เช่น โครงการร่วมลงทุนรัฐ - เอกชน ซึ่งได้ผู้ลงทุน 4 โครงการหลัก มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท การส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนคู่สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน มีความคืบหน้า 86% แล้ว พร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือนกันยายน 2564 รวมทั้งการยกระดับแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จัดทำแผนแม่บทสนามบินอู่ตะเภาฉบับสมบูรณ์ พร้อมเริ่มว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก และกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 และงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

3.ท่าเรือแหลมฉบัง ฯ ได้ข้อตกลงในร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะเร่งนำเสนอ ครม. พิจารณา และลงนามสัญญาต่อไป

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาแก้ปัญหาซ้อนทับ โครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย- จีน ในช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทาง และจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธา ทั้งเสาและฐานรากร่วมกัน (โครงสร้างโยธาร่วม) แต่ระยะเวลาการก่อสร้าง และมาตรฐานเทคนิคทั้งสองโครงการไม่สอดคล้องกัน โดยสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย จะหาแนวทางร่วมกันกับเอกชนคู่สัญญา ในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติม และแผนก่อสร้างทั้งสองโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในเบื้องต้นให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ที่ความเร็ว 250 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง

นายอนุชา กล่าวว่า นายกรัฐมนตรียังได้ให้แนวคิดการจัดทำโครงการ EEC ให้วางแผนไปถึงอนาคต ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคมเพื่อเชื่อมโยงกันการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ ภูมิภาค และประเทศอื่น ๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่าง ๆ ของกระทรวงมหาดไทยด้วย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/08/2021 4:47 pm    Post subject: Reply with quote

รัฐโชว์บิ๊กโปรเจกต์อีอีซีไฮสปีดคืบ-จ่อเซ็นแหลมฉบัง
ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ผู้จัดการรายวัน360 - รัฐบาลโชว์ความคืบหน้าบิ๊กโปรเจกต์อีอีซี เผยการจัดหาแหล่งน้ำดำเนินการเสร็จแล้ว 9 โครงการ จาก 38 โครงการที่จะดำเนินการถึงปี 80 การส่งมอบ พื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินคืบหน้า 86% คาดส่งครบภายใน ก.ย.นี้ เตรียมชงสัญญาท่าเรือแหลมฉบับเฟส 3 ให้ ครม. พิจารณา ก่อนเซ็นสัญญา "บิ๊กตู่" ย้ำการเดินหน้าโครงการ ต้องสอดคล้องแผนด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ และเชื่อมโยงกับภูมิภาค

นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ. ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้ติดตามและรับทราบความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการต่างๆ ในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยนายกฯ ได้ให้แนวคิดการจัดทำโครงการอีอีซี ให้วางแผนไปถึงอนาคต ให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งและระบบโลจิสติกส์ของกระทรวงคมนาคม เพื่อเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภายในประเทศ ภูมิภาค และประเทศอื่นๆ อย่างเป็นระบบ รวมทั้งให้สอดคล้องกับการพัฒนาจังหวัดและกลุ่มจังหวัดต่างๆ ของกระทรวงมหาดไทย

สำหรับความคืบหน้าโครงการสำคัญ ได้แก่

1.การจัดหาแหล่งน้ำรองรับพื้นที่อีอีซี เพื่อแก้ปัญหาระยะสั้นและวางแผนระยะยาวให้ยั่งยืน โดยโครงการพัฒนาแหล่งน้ำและการจัดการทรัพยากรน้ำจนถึงปี พ.ศ.2580 มีทั้งสิ้น 38 โครงการมูลค่า 52,874.47 ล้านบาท ปัจจุบันดำเนินการแล้วเสร็จ 9 โครงการ และยังมีโครงการผลิตน้ำจืดจากทะเล (Desalination) ซึ่งคณะกรรมการพัฒนาทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (กนช.) ได้มีคำสั่งแต่งตั้งคณะทำงานทางเทคนิคการพัฒนาโครงการผลิตน้ำจืดจากน้ำทะเล ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการศึกษาแนวทางการจัด ทำโครงการ รวมถึงการปรับปรุงและพัฒนาอ่างเก็บน้ำคลองบางไผ่พื้นที่ 3,348 ไร่ โดยมอบหมายให้กรมชลประทาน กรมทรัพยากร น้ำและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการต่อไป ให้รวมถึงการพัฒนาแหล่งน้ำบาดาลขนาดใหญ่ 4 แหล่งที่มีศักยภาพสูง และสามารถนำมาใช้ได้ถึง 4,039 ล้านลูกบาศก์เมตร

2.ความก้าวหน้าการลงทุนในอีอีซี มีมูลค่าสูงถึง 1,594,282 ล้านบาท (ณ 30 มิ.ย. 2564) โดยมีการลงทุนที่สำคัญๆ เช่น โครง การร่วมลงทุนรัฐ-เอกชน ซึ่งได้ผู้ลงทุน 4 โครงการหลัก มูลค่ารวม 633,401 ล้านบาท การส่งมอบพื้นที่ให้กับเอกชนคู่สัญญาในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มีความคืบหน้า 86% แล้ว พร้อมส่งมอบทั้งหมดภายในเดือน ก.ย.2564 รวมทั้งการยกระดับแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออก จัดทำแผนแม่บทสนามบินอู่ตะเภาฉบับสมบูรณ์ พร้อมเริ่มว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก และกองทัพเรือได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 และงานที่เกี่ยวข้องเรียบร้อยแล้ว

3.ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ได้ข้อตกลง ในร่างสัญญาร่วมลงทุนกับเอกชนเรียบร้อยแล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาจากสำนักงานอัยการสูงสุด โดยจะเร่งนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และลงนามสัญญาต่อไป

นอกจากนี้ ในการประชุมคณะกรรม- การนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) ครั้งที่ 2/2564 เมื่อวันที่ 4 ส.ค.2564 ที่ผ่านมา ได้มีการพิจารณาแก้ปัญหาซ้อนทับโครงการรถไฟความเร็วเชื่อมสามสนามบิน และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ในช่วงบางซื่อถึงดอนเมือง ซึ่งเป็นช่วงที่ต้องใช้แนวเส้นทาง และจำเป็นต้องมีโครงสร้างโยธา ทั้งเสาและฐานรากร่วมกัน (โครงสร้างโยธาร่วม) แต่ระยะเวลา การก่อสร้าง และมาตรฐานเทคนิคทั้ง 2 โครงการไม่สอดคล้องกัน โดยสำนักงานคณะ กรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) กระทรวงคมนาคม และ การรถไฟแห่งประเทศไทย จะหาแนวทางร่วมกันกับเอกชนคู่สัญญา ในส่วนการปรับหลักเกณฑ์การร่วมลงทุนของรัฐ เพื่อชดเชยค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นกับเอกชนคู่สัญญาอย่างเหมาะสม โดยยึดหลักไม่ให้เกิดงบประมาณเพิ่มเติม และแผนก่อสร้างทั้งสองโครงการมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยในเบื้องต้นให้สามารถรองรับรถไฟความเร็วสูงได้ที่ความเร็ว 250 กม./ชม. ตลอดเส้นทาง.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 10/08/2021 7:37 pm    Post subject: Reply with quote

มาจริงใช่มั๊ย !!!!!!!
มีการติดป้ายขอยกเลิกทางจักรยานสถานีมักกะสัน ที่เปิดให้ประชาชนทั่วไปออกกำลังกาย เพื่อเตรียมพื้นที่ทำรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน
รู้สึกจะเป็น CP ที่ได้สัมปทาน ....แบบนี้เมืองใหม่มักกะสันใกล้ความจริงอีกก้าวแล้วหรือไม่?อย่างไร?

ตอนนี้ศูนย์ซ่อมบำรุงที่แปดริ้วกำลังสร้าง แถว บางเตย- แปดริ้ว ตลอดข้างทางที่ชลบุรีก็เริ่มเคลียร์พื้นที่แล้วครับ
https://www.facebook.com/propholic2014/posts/3861785320587910

Update การเคลียร์พื้นที่ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ช่วงลาดกระบัง-ฉะเชิงเทรา ครับ งานนี้ยังเป็นเพียงการเตรียมพื้นที่ สร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่ง สร้างถนนลำเลียงและสะพานชั่วคราวภายในพื้นที่ ยังไม่ใช่การก่อสร้างจริงนะครับ
4/7/2564
https://www.facebook.com/ThaiRailNews/posts/4087193424695952
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/08/2021 11:58 am    Post subject: Reply with quote

'ซีพี-บีทีเอส' เข้าพื้นที่ลุยไฮสปีด-อู่ตะเภา
ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 12 สิงหาคม พ.ศ. 2564

ซีพี-บีทีเอส เข้าพื้นที่เปิดหน้าดิน พร้อม ลุย"ไฮสปีด-อู่ตะเภา" 5 แสนล้าน ลุยเมกะโปรเจ็กต์ยักษ์อีอีซีขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศ คาดเปิดให้บริการพร้อมกันปี 2568 หลังโควิดคลี่คลาย สร้างความมั่นใจดึงนักลงทุนต่างชาติเข้าพื้นที่

แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ขณะนี้บริษัทรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ในเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี ได้เข้าพื้นที่ก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงอีอีซี มูลค่า 2.24 แสนล้านบาทแล้ว โดยว่าจ้างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือITD ผู้รับเหมางานโยธาเข้าพื้นที่ เพื่อสำรวจพื้นที่และ เจาะทดสอบสภาพดิน เพื่อเตรียมความพร้อมก่อนลงมือก่อสร้าง ซึ่งจะส่งมอบพื้นที่และออกหนังสือสัญญาเริ่มงานให้เอกชนคู่สัญญา (Notice to Proceed : NTP) ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564

"การส่งมอบพื้นที่ 100% จำนวน 5,521 ไร่ บริเวณสนามบินสุวรรณภูมิไปจนถึงสนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง170 กิโลเมตร ที่ดินบ้างแปลงยังมีปัญหาติดต่อเจ้าของไม่ได้ เพราะไม่ใช่คนพื้นที่ บ้างแปลงติดปัญหาการตั้งผู้จัดการมรดก ฯลฯ แต่หากรัฐบาลต้องการให้รฟท.ส่งมอบตามแผนเดิมเดือนกันยายน ก็สามารถดำเนินการได้ เพราะการเจรจาซื้อที่ดินคืบหน้าเกือบ 90%"

สำหรับรายละเอียดการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ได้ทำสัญญาซื้อขายแล้ว 634 สัญญา มูลค่า 3,599 ล้านบาท จากจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท เช่นเดียวกับการโยกย้ายผู้บุกรุก ที่กีดขวางการก่อสร้างช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา ได้ดำเนินการแล้วเสร็จ 100 % และงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค หน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้รื้อย้ายช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาแล้วเสร็จ 257 จุด อยู่ระหว่างการรื้อย้าย 396 จุด คาดว่าแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จะเร่งมือให้เสร็จทันภายในเดือนกันยายนนี้

เช่นเดียวกับ โครงการก่อสร้างสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินมูลค่า 2.9 แสนล้านบาท ที่บริษัทอู่ตะเภา อินเตอร์เนชั่นแนล เอวิเอชั่น จำกัด หรือ UTA ประกอบด้วย บมจ.การบินกรุงเทพ บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ เข้าพื้นที่เรียบร้อยแล้ว ทั้งเข้าสำรวจพื้นที่โครงการพร้อมก่อสร้างรั้วมาตรการเขตการบิน ความยาว 4.9 กิโลเมตร แล้วเสร็จ 95% รวมถึงงานออกแบบอาคารผู้โดยสารแห่งใหม่ ซึ่งทาง UTA ได้ว่าจ้างผู้ออกแบบระดับโลก บริษัท สกิดมอร์, โอวิงส์ และเมอร์ริล แอลแอลพี หรือ SOM บริษัทด้านสถาปัตยกรรมและวิศวกรรม ก่อตั้งในชิคาโก หนึ่งในบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีความชำนาญในด้านการออกแบบอาคารพาณิชย์ ตึกสูง กับแนวทางสถาปัตยกรรมนานาชาติร่วมสมัย หรือตึกระฟ้ากล่องกระจก เข้ามาเรียกเสียงฮือฮาให้กับสนามบินแห่งนี้

ขณะที่กองทัพเรือ (ทร.) หน่วยงานเจ้าของพื้นที่ ได้ออกแบบทางวิ่งที่ 2 แล้วเสร็จ ประกอบด้วย ทางวิ่ง 3,505 เมตร ทางขับที่เกี่ยวข้อง 6 เส้นทาง อุโมงค์ลอดใต้ทางวิ่งงานระบบที่เกี่ยวข้อง เป็นต้น ส่วนงานก่อสร้างระบบไฟฟ้า น้ำเย็น งานประปาและระบบน้ำเสียได้ส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนในฐานะคู่สัญญาเรียบร้อยแล้ว

นายสุรพงษ์ เลาหะอัญญา กรรมการบริหาร บมจ. บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ระบุว่า บริษัทมีความพร้อมทั้งบุคลากรและเม็ดเงินลงทุน พัฒนาโครงการ สนามบินอู่ตะเภา และเมืองการบินเชื่อมโยงกับ รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จพร้อมกันปี 2568 โดยจะพึ่งพาการขนส่งผู้โดยสารระหว่างกัน ทั้งสนามบินและไฮสปีด

ขณะนี้บริษัท และบริษัทผู้รับเหมาได้เข้าพื้นที่ ทดสอบสภาพดิน ปรับพื้นที่บริเวณก่อสร้าง ก่อนลงมือก่อสร้างแล้ว แต่ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างรอหนังสือสัญญาเริ่มงาน

ทั้งนี้ โครงการพัฒนาสนามบินอู่ตะเภาและเมืองการบินภาคตะวันออกถือเป็นหนึ่งในโครงการโครงสร้างพื้นฐานหลักสำคัญของ อีอีซี มีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับสนามบินอู่ตะเภาเป็น สนามบินนานาชาติเชิงพาณิชย์หลัก แห่งที่ 3 เชื่อมสนามบินดอนเมืองและสนามบินสุวรรณภูมิด้วยรถไฟความเร็วสูง ทำให้ทั้ง 3 สนามบินสามารถรองรับผู้โดยสาร ในอนาคต ได้ 200 ล้านคนต่อปี ซึ่งบีทีเอสและบริษัทรถไฟความเร็วสูงฯ จะต้องหารือร่วมกันเกี่ยวกับการเชื่อมโยงสถานีรับส่งผู้โดยสายภายใน พื้นที่ของสนามบินอู่ตะเภา ให้เป็นเนื้อเดียวกัน

แหล่งข่าววงการผู้รับเหมา มองว่า การขยับ2โครงการขนาดใหญ่ ไฮสปีด 3 สนามบินและสนามบินอู่ตะเภา ต่างเป็นทั้งหัวใจและเส้นเลือดใหญ่ ของอีอีซี เมื่อสามารถก่อสร้าง ได้ตามแผน จะสร้างความมั่นใจปลุกพื้นที่ที่ซบเซาจากสถานการณ์โควิให้พลิกฟื้นกลับมาได้ โดยเฉพาะความเชื่อมั่นของนักลงทุนต่างชาติ การเคลื่อนตัวของแรงงานขนาดใหญ่เข้าพื้นที่ การใช้วัสดุก่อสร้าง การจ้างงานผู้รับเหมาช่วง เชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อเศรษฐกิจประเทศในภาพรวมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 11/08/2021 6:14 pm    Post subject: Reply with quote

คลังโชว์รัฐวิสาหกิจเบิกจ่ายกระจาย 'รถไฟเร็วสูงไทยจีน-สายสีส้ม'แชมป์!

11 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 10:00 น.


11 ส.ค. 2564 นางปานทิพย์ ศรีพิมล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) เปิดเผยว่า ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564 รัฐวิสาหกิจ 43 แห่ง ที่ สคร.กำกับดูแลโดยตรง มีผลการเบิกจ่ายงบลงทุนสะสมเป็นไปตามแผน โดยสามารถเบิกจ่ายได้ 191,891ล้านบาท หรือคิดเป็น101% ของแผน โดยภาพรวมรัฐวิสาหกิจส่วนใหญ่สามารถเบิกจ่ายงบลงทุนได้ดีและเป็นไปตามแผน

เทรดฟอเร็กซ์ไปกับโบรกฯที่มีความน่าเชื่อถือระดับโลก
IC Markets
ขณะที่การเบิกจ่ายสะสม ประกอบด้วยการเบิกจ่ายงบลงทุน 9 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีงบประมาณ (ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2563 – เดือน มิ.ย.2564) จำนวน 34 แห่ง มีวงเงิน112,744ล้านบาท หรือคิดเป็น 98%ของแผนการเบิกจ่ายสะสม และการเบิกจ่ายงบลงทุน 6 เดือนของรัฐวิสาหกิจระบบปีปฏิทิน (เดือน ม.ค. – เดือน มิ.ย. 2564 ) จำนวน 9 แห่ง มีวงเงิน 79,146ล้านบาท หรือคิดเป็น 106%ของแผนเบิกจ่ายสะสม

“ปัจจุบันจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อบางโครงการ/แผนงานเนื่องจากบุคลากรไม่สามารถเข้าพื้นที่ที่อยู่ในเขตควบคุมและเฝ้าระวังเพื่อก่อสร้างหรือตรวจรับงานได้ รวมทั้งขาดแคลนแรงงานในการก่อสร้าง ดังนั้น สคร. จึงได้ทำงานร่วมกับรัฐวิสาหกิจอย่างใกล้ชิด และประสานการทำงานร่วมกับกระทรวงต่าง ๆ ในที่ประชุมคณะกรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 19ก.ค. ที่ผ่านมา เพื่อช่วยผลักดันโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจที่ยังสามารถดำเนินการได้ และเตรียมความพร้อมการดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ เพื่อให้การลงทุนของรัฐวิสาหกิจเป็นไปตามเป้าหมายและเป็นเครื่องมือของภาครัฐในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจต่อไป” นางปานทิพย์ กล่าว

นางสาวปิยวรรณ ล่ามกิจจา ที่ปรึกษาด้านพัฒนารัฐวิสาหกิจ กล่าวว่า ณ สิ้นเดือน มิ.ย. 2564รัฐวิสาหกิจหลายแห่งสามารถเบิกจ่ายได้เป็นไปตามแผนหรือสูงกว่าแผน เช่น การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.), การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) และการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) โดยมีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ ที่สามารถเบิกจ่ายได้สูงกว่าแผน อาทิ โครงการรถไฟความเร็วสูงไทย – จีน ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา), โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ – รังสิต และโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ของ รฟท., โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ -มีนบุรี ของ รฟม. และแผนปรับปรุง และขยายระบบจำหน่ายพลังงานไฟฟ้าฉบับที่ 12 ของ กฟน.

ทั้งนี้ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่เบิกจ่ายล่าช้า เช่น โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ปีงบประมาณ 2554 - 2560) และโครงการทางวิ่งเส้นที่ 3 ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ของบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน),โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครปฐม – ชุมพร, โครงการรถไฟฟ้าชานเมือง (สายสีแดง) ช่วงบางซื่อ - ตลิ่งชัน ของ รฟท.และแผนก่อสร้างอาคารศูนย์บริหารทางพิเศษ (ระยะที่ 2) ของการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 12/08/2021 9:23 pm    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม”ปัดฝุ่นรถไฟไฮสปีด”ชิงกันเซ็ง”ไทย-ญี่ปุ่น
*หาแนวทางลดต้นทุนเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
*รัฐบาลญี่ปุ่นชื่นชมความสำเร็จเปิด”สายสีแดง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2974334182788080


“ไทย-ญี่ปุ่น” ยันแผนพัฒนาไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ “ศักดิ์สยาม” โชว์ MR-Map ผุดมอเตอร์เวย์คู่รถไฟ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 สิงหาคม 2564 เวลา 14:30 น.
ปรับปรุง: 12 สิงหาคม 2564 เวลา 14:30 น.



“คมนาคม” ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (HLJC) ย้ำความร่วมมือพัฒนาแผนแม่บทระบบราง M-MAP2, เมืองอัจฉริยะบางซื่อ และรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ “ศักดิ์สยาม” โชว์แผน MR-Map นำร่อง 4 เส้นทางศักยภาพสูง

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 11 ส.ค.ได้ร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission : HLJC) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบทางไกล ในประเด็นด้านการพัฒนาความเชื่อมโยงในไทย และการพัฒนาอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งมีนายดอน ปรมัตถ์วินัย รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายโมเทกิ โทชิมิทสึ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศญี่ปุ่น เป็นประธานการประชุมร่วมกัน

นายศักดิ์สยามกล่าวว่า ตนได้เน้นย้ำการให้ความสำคัญการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านคมนาคมไทย-ญี่ปุ่นในปัจจุบัน ทั้งการจัดทำแผนแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2) การพัฒนาพื้นที่บางซื่อสู่เมืองอัจฉริยะ การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน และล่าสุดคือ บันทึกความร่วมมือระหว่างกระทรวงคมนาคม และกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร โดยเป็นการให้ความร่วมมือทางวิชาการให้ก่อเกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ



นอกจากนี้ ตนยังได้นำเสนอแผนแม่บทโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองกับระบบราง (MR-Map) ที่มีความคิดริเริ่มในก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง หรือมอเตอร์เวย์ ควบคู่ไปกับระบบราง เป็นเส้นทางเดียวกัน ซึ่งจะเริ่มใน 4 เส้นทางที่มีศักยภาพนำร่อง ได้แก่ 1. เส้นทางชุมพร-ระนอง เชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามัน-อ่าวไทย 2. เส้นทางหนองคาย-ท่าเรือแหลมฉบัง 3. เส้นทางกาญจนบุรี -อุบลราชธานี และ 4. เส้นทางวงแหวนรอบนอกกรุงเทพมหานคร รอบที่ 3

ผลการศึกษาเบื้องต้นจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 2564 ที่จะสอดรับกับนโยบาย Indo-Pacific เพื่อสร้างสรรค์โครงข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับภูมิภาคอาเซียน พร้อมกันนี้ ได้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทยเพื่อความเชื่อมโยงในทุกระดับ สร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค



ด้านนายวาตะนาเบะ ทาเคยูกิ (H.E. Mr. WATANABE Takeyuki) รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (State Minister of Ministry of Land, Infrastructure, Transport and Tourism) เห็นด้วยกับแนวทางการพัฒนา พร้อมทั้งการแสวงหาแนวทางลดต้นทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพมหานคร-เชียงใหม่ และการดำเนินการร่วมกันภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ โดยยกตัวอย่าง การพัฒนาโครงการอุโมงค์ทางลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา (นราธิวาส-สำโรง) ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ (Quality Infrastructure) และการดำเนินงานเชิงรุกกับกระทรวงคมนาคม ในการพัฒนาระบบรางและการเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป



พร้อมกันนี้ ไทยและญี่ปุ่นได้รับทราบถึงความสำเร็จของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่ได้เปิดทดลองให้บริการแล้วเมื่อวันที่ 2 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมาอีกด้วย

นอกจากนี้ ในที่ประชุมฯ ได้มีการหารือกันในประเด็นการประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจ Bio Circular Green (BCG) Economy ของไทย กับ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น การยกระดับความร่วมมือในด้านการค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างกัน รวมถึงประเด็นด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างยั่งยืน


“ญี่ปุ่น” พร้อมลุยเชิงรุกดันระบบรางไทยเชื่อมอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง
เศรษฐกิจ-ยานยนต์
12 สิงหาคม 2564 เวลา 13:40 น.

“ศักดิ์สยาม” ลุยโปรเจคท์คมนาคมไทย-ญี่ปุ่น หาแนวทางลดต้นทุนสร้างรถไฟไฮสปีด กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ รัฐมนตรีญี่ปุ่นชื่นชมความสำเร็จเปิดรถไฟฟ้าสายสีแดง พร้อมทำงานเชิงรุกดันระบบรางไทยเชื่อมอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง


นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมระดับสูงไทย-ญี่ปุ่น (High Level Joint Commission: HLJC) ครั้งที่ 5 ผ่านระบบทางไกลว่า กระทรวงคมนาคมได้เน้นย้ำถึงการให้ความสำคัญในการดำเนินโครงการความร่วมมือด้านคมนาคมไทย-ญี่ปุ่น ในปัจจุบัน ทั้งการจัดทำแม่บทขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล (พื้นที่ต่อเนื่อง) ระยะที่ 2 (M-MAP2), การพัฒนาพื้นที่บางซื่อสู่เมืองอัจฉริยะ, การศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่, ความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางถนน และความร่วมมือทางวิชาการกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น (MLIT) ด้านแผนงานนโยบายและเทคโนโลยีการจราจร เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมในการแปรนโยบายไปสู่การปฏิบัติ

นายศักดิ์สยาม กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ได้นำเสนอแผนแม่บทโครงข่ายทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง (มอเตอร์เวย์) กับระบบราง (MR-Map) ซึ่งเป็นการก่อสร้างมอเตอร์เวย์ควบคู่ไปกับระบบรางเป็นเส้นทางเดียวกัน จะเริ่มใน 4 เส้นทางที่มีศักยภาพนำร่อง ได้แก่ ชุมพร-ระนอง เชื่อมโยงระหว่างทะเลอันดามัน-อ่าวไทย, หนองคาย-ท่าเรือแหลมฉบัง, กาญจนบุรี -อุบลราชธานี  และวงแหวนรอบนอกกรุงเทพฯ รอบที่ 3  โดยผลการศึกษาเบื้องต้นจะแล้วเสร็จในไตรมาสที่ 4 ของปี 64 ซึ่งจะสอดรับกับนโยบาย Indo-Pacific เพื่อสร้างสรรค์โครงข่ายการพัฒนาเศรษฐกิจที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับภูมิภาคอาเซียน พร้อมกันนี้ได้ให้ความเชื่อมั่นสำหรับการเดินหน้าพัฒนาโครงข่ายโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมของไทย เพื่อความเชื่อมโยงในทุกระดับ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจของไทยและภูมิภาค


นายศักดิ์สยาม กล่าวด้วยว่า ในการประชุมครั้งนี้ นายวาตะนาเบะ ทาเคยูกิ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น เห็นด้วยกับการแสวงหาแนวทางลดต้นทุนโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ และการดำเนินการร่วมกันภายใต้บันทึกความร่วมมือฯ โดยยกตัวอย่างการพัฒนาโครงการอุโมงค์ทางลอดใต้แม่น้ำเจ้าพระยา (นราธิวาส-สำโรง) ตลอดจนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ (Quality Infrastructure) และการดำเนินงานเชิงรุกกับกระทรวงคมนาคมในการพัฒนาระบบราง และการเชื่อมโยงในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงต่อไป


นายศักดิ์สยาม กล่าวอีกว่า ทั้งนี้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวญี่ปุ่น ได้กล่าวถึงความสำเร็จของโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) ที่ได้เปิดทดลองให้บริการแล้ว เมื่อวันที่ 2 ส.ค.ที่ผ่านมาด้วย นอกจากนี้ที่ประชุมฯ ยังได้หารือกันในประเด็นการประสานความร่วมมือระหว่างโมเดลเศรษฐกิจ Bio Circular Green (BCG) Economy ของไทย กับ Green Growth Strategy ของญี่ปุ่น การยกระดับความร่วมมือในด้านค้า การลงทุน การพัฒนาอุตสาหกรรมและการเสริมสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจระหว่างกัน รวมถึงประเด็นด้านสาธารณสุข เพื่อนำไปสู่การแก้ไขปัญหาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างยั่งยืน.


Last edited by Wisarut on 14/08/2021 2:24 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42627
Location: NECTEC

PostPosted: 13/08/2021 5:06 pm    Post subject: Reply with quote


"ยังไม่เงียบ"รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพ- เชียงใหม่ ไทย-ญี่ปุ่น หาทางลดต้นทุน
https://www.youtube.com/watch?v=wQJXOqn9baA



ปัดฝุ่น รถไฟความเร็วสูง ชิงกันเซ็น (กรุงเทพ-เชียงใหม่) ญี่ปุ่นเห็นด้วย หาแนวทางลดต้นทุน
https://www.youtube.com/watch?v=sG_LE4lZv3o
https://www.youtube.com/watch?v=lP_pXyBVlXU


Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม”ปัดฝุ่นรถไฟไฮสปีด”ชิงกันเซ็ง”ไทย-ญี่ปุ่น
*หาแนวทางลดต้นทุนเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่
*รัฐบาลญี่ปุ่นชื่นชมความสำเร็จเปิด”สายสีแดง”
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/2974334182788080


“ไทย-ญี่ปุ่น” ยันแผนพัฒนาไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ “ศักดิ์สยาม” โชว์ MR-Map ผุดมอเตอร์เวย์คู่รถไฟ
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: 12 สิงหาคม 2564 เวลา 14:30 น.
ปรับปรุง: 12 สิงหาคม 2564 เวลา 14:30 น.
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 414, 415, 416 ... 542, 543, 544  Next
Page 415 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©