Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13271365
ทั้งหมด:13582654
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 424, 425, 426 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/11/2021 11:13 am    Post subject: Reply with quote

'ซีพี'พับแผนย้ายสถานี ไฮสปีดสามสนามบิน
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Friday, November 05, 2021 04:15
วรรณิกา จิตตินรากร

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และเอกชน คือ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1)

ซึ่งขณะนี้เอกชนได้เริ่มบริหารโครงการส่วนแรกอย่างรถไฟแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ส่วนงานก่อสร้างไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนเตรียมส่งมอบพื้นที่ ส่วนกรณีเอกชนคู่สัญญามีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา หลังจาก มีการหารืออย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา พบว่า ปัจจุบันข้อเสนอดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปหรือได้รับการอนุมัติ

รายงานข่าวจาก ร.ฟ.ท. ระบุถึงกรณี ข้อเสนอการย้ายสถานีไฮสปีดเทรนว่า ก่อนหน้านี้ ทางเอกชนมีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยา และสถานีฉะเชิงเทรา โดย ร.ฟ.ท.ได้ขอข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะมีพื้นที่ย้ายไปบริเวณใด จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประชาชนหรือชุมชนโดยรอบ และนำมาหารือประกอบการตัดสินใจ แต่ไม่ได้รับข้อมูลจากทางเอกชน และไม่ได้มีการนำเรื่องดังกล่าวกลับมาเจรจาอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยแผนส่งมอบพื้นที่โครงการดังกล่าวต้องเร่งรัดให้เป็นไปตามแผน ซึ่งขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมพื้นที่พร้อมส่งมอบ ใกล้ 100% แล้ว ดังนั้น เมื่อทางเอกชนไม่ส่งข้อมูลประกอบการพิจารณากรณีย้ายสถานี ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าพัฒนาสถานีตามผลการศึกษาเดิมที่ระบุไว้ในสัญญา โดยเอกชนจะต้องพัฒนาโครงการ แนวเส้นทาง และสถานี ให้เป็นไปตามแผนกำหนดไว้ หากอนาคตเล็งเห็นถึงความจำเป็นต้องย้ายสถานี จะต้องแก้ปัญหาด้วยการสร้างสถานีเพิ่มให้เป็นสถานีย่อย

"เมื่อไม่ได้รับความชัดเจนจากทางเอกชน การรถไฟฯ ก็มีความจำเป็นต้องเวนคืนตามแผน และเมื่อเวนคืนที่ดินไปแล้ว ท้ายที่สุดเอกชนจะมาปรับสถานี ก็ต้องนำพื้นที่นี้ไปด้วย และต้องนำไปพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ถ้าไม่ทำก็ผิดกฎหมาย อาจถูกฟ้อง และ หากเป็นเช่นนั้นเอกชนก็ต้องรับผิดชอบ"

สำหรับการส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ 1.การแก้ปัญหา ผู้บุกรุก ขณะนี้ได้ดำเนินการเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ระหว่างช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา และมีการย้ายออกแล้ว 2.การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ร.ฟ.ท.ต้องทำสัญญาซื้อขายจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 679 หลังคาเรือน 923 ไร่ และ 3.งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการ รื้อย้ายสาธารณูปโภคช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา จำนวน 756 จุด

วรวุฒิ มาลา ที่ปรึกษาพิเศษด้านโครงการรถไฟความเร็วสูง และ TOD สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการไฮสปีด เทรนเชื่อมสามสนามบิน โดยระบุว่า ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กิโลเมตร ซึ่ง ร.ฟ.ท.เคลียร์พื้นที่พร้อมส่งมอบแล้ว 98% คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ไม่เกินเดือน ม.ค.2565

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติให้ ร.ฟ.ท.เจรจาเอกชนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างโยธาร่วมทั้งหมด รองรับรถไฟความเร็วสูง ไทย-จีน โดยจะก่อสร้างในเดือน ก.พ.2565 ส่วนพญาไท-บางซื่อ เป็นงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ ต้องมีการรื้อย้ายท่อน้ำมัน คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มก่อสร้าง กลางปี 2566

"ตอนนี้ทุกอย่างยังเดินหน้าเป็นไปตามแผนงาน การรถไฟฯ เตรียมพื้นที่พร้อมส่งมอบอยู่แล้ว ดังนั้น ในปี 2565 จะเริ่มก่อสร้างไฮสปีดสามสนามบินช่วง สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภาแน่นอน และหลังจากนั้น จะทยอยส่งมอบช่วงอื่นๆ ตามแผน เพื่อเปิดให้ บริการในปี 2571"

ขณะที่บริหารแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ในช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ร.ฟ.ท.และ เอกชนได้จัดทำข้อตกลงให้เอกชนเข้า สนับสนุนการเดินรถ และซ่อมบำรุง แอร์พอร์ตเรลลิงก์ไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2564 และขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาร่วม ลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อปริมาณ ผู้โดยสาร

ทั้งนี้ เมื่อไฮสปีดเทรนสามสนามบิน เปิดให้บริการครบตลอดเส้นทาง จะใช้เวลาเดินทางจากดอนเมือง-อู่ตะเภา ประมาณ 1.25 ชั่วโมง ใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตร ต่อชั่วโมง ส่วนการเดินรถในเมืองช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ อาจใช้ความเร็วที่ประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยไฮสปีดเทรนสายนี้จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อพัฒนาโดยรอบสถานี หรือ TOD ที่สถานีมักกะสัน จำนวน 140 ไร่ เมื่อพัฒนาโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการพัฒนาเมือง เป็นศูนย์กลางการเดินทางในประเทศและภูมิภาค

สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบินจะใช้โครงสร้างและแนว เส้นทางการเดินรถเดิมแอร์พอร์ตเรลลิงก์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้ง จะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ในส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไทไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภา ประกอบไปด้วยสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง บางซื่อ มักกะสัน สุวรรณภูมิ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ศรีราชา พัทยา และสถานีอู่ตะเภา

ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 5 พ.ย. 2564

Click on the image for full size


Last edited by Mongwin on 06/11/2021 12:42 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 06/11/2021 12:36 am    Post subject: Reply with quote

รุมต้านแก้สัญญาไฮสปีด กลุ่มซีพี รัฐเสียเปรียบ เปิดทางขุดทองที่ดินมักกะสัน
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพุธ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:43 น.

รุมต้านรื้อสัญญาไฮสปีดอีอีซี ประภัสร์ จงสงวน -สหภาพรถไฟ -รับเหมา -ก้าวไกล ตั้งข้อสังเกตเอื้อกลุ่มซีพี ได้เยียวยาโควิด ทั้งที่ยังไม่ลงมือ รฟท.แบกหนี้ ผ่อนจ่าย 10 ปี ทั้งที่ แอร์พอร์ตลิงค์ ไม่ต้องลงทุนเพิ่มถึงจุดคุ้มทุนมีกำไร แถมได้ขุดทองบนสถานี-ที่ดินมักกะสัน50+49 ปี



ภายหลังคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติ เมื่อวันที่19 ตุลาคม 2564 เห็นชอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) แก้ไขสัญญาสัมปทานโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) หรือ ไฮสปีดเทรนเชื่อม 3 สนามบิน กับ บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด หรือบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบินในเครือเจริญโภคภัณฑ์หรือ กลุ่มซีพี ซึ่งในสัญญาเดิมกำหนดให้บริษัทต้องชำระค่าโอนกรรมสิทธิ์ รถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ 100% จำนวน 10,671 ล้านบาท



ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 ให้เป็นลักษณะการแบ่งชำระเป็นรายงวด จำนวน 10 งวด ระยะเวลา 10 ปี เพื่อเยียวยาผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ตามข้อเสนอของเอกชนคู่สัญญา โดยอ้างว่าจำนวนผู้โดยสารลดลงเหลือเพียง 1-2 หมื่นคนต่อเที่ยววันจากปกติ 7-8 หมื่นคนต่อเที่ยววันเกรงว่าหากจ่ายเงินก้อนใหญ่อาจประสบปัญหาขาดทุน



ซ้ำร้ายกว่านั้นครม.ยังให้เลื่อนการลงนามบันทึกข้อตกลงหรือเซ็น MOU ระหว่างเอกชนคู่สัญญากับ รฟท. ออกไปอีก 3 เดือน เพื่อรอการแก้ไขสัญญาให้สอดรับกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป แต่ทั้งนี้ มีเงื่อนไขว่าหาก สถานการณ์โควิดหมดไป เอกชนคู่สัญญาต้องจ่ายเงินทั้งหมดให้รฟท.นั้น



รุมต้านแก้สัญญาไฮสปีด กลุ่มซีพี รัฐเสียเปรียบ เปิดทางขุดทองที่ดินมักกะสัน
รุมต้านแก้สัญญาไฮสปีด กลุ่มซีพี รัฐเสียเปรียบ เปิดทางขุดทองที่ดินมักกะสัน


ซัดผิดสัญญาตั้งแต่ก้าวแรก

นายประภัสร์ จงสงวน อดีตผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า การไม่ปฏิบัติตามสัญญา แอร์พอร์ตลิงค์ ของเอกชนคู่สัญญา รฟท. จากชำระเงินด้วยเงินก้อน 100% ภายในวันที่ 24 ต.ค. เป็นผ่อนชำระ นานถึง 10 ปีๆละกว่า 1,000 ล้านบาท ถือว่าผิดสัญญาตั้งแต่ก้าวแรก จึงมีคำถามว่าเหตุใด รฟท. จึงไม่ยกเลิกสัญญา เพราะเป็นฝ่ายเสียเปรียบ ที่ต้องแบกภาระหนี้ ที่ต้องชำระกับกระทรวงการคลัง ไม่ใช้รัฐบาล



มองว่า เอกชนคู่สัญญา ไม่ต้องการนำเงินของตนเองมาลงทุนในแอร์พอร์ตลิงค์ แต่จะใช้เงินรายได้จากทางอื่นเช่น การบริหารแอร์พอร์ตลิงค์ และ โครงการพัฒนามักกะสัน มาชำระเป็นค่าแลกสิทธิ์แทน และอ้างว่า เกิดจากสถานการณ์โควิด ที่ให้รัฐบาลต้องเข้ามารับผิดชอบ เอื้อประโยชน์ให้กับเอกชน ซึ่งเห็นชัดเจนจากมติ ครม. ที่ผ่านมาขณะสัญญาเป็นสัญญาลับไม่มีใครทราบว่าจะเขียนออกมาเป็นอย่างไร และขณะนี้เอกชนได้ เข้าบริหารการเดินรถรวมถึงเข้าพื้นที่มักกะสันได้ก่อน

“มติ ครม. ที่ออกมาเอื้อประโยชน์ต่อภาคเอกชนกรณีการแบ่งชำระค่าโอนสิทธิ์ แอร์พอร์ตลิงค์ รายงวดนานถึง 10 ปี ทั้งที่ ควรจะจ่ายตามสัญญา ก้อนเดียว 10,671 ล้านบาท ภายในวันที่ 24 ตุลาคม 2564 แต่กลับอ้างสถานการณ์โควิด และนำไปสู่การขยายสัญญา”



นอกจากนี้ สาเหตุที่เอกชนขอต่อรองผ่อนชำระค่าสิทธิ์แอร์พอร์ตลิงค์เป็นเพราะสถาบันการเงินอาจไม่ปล่อยกู้เพราะกู้เต็มเพดานแล้ว ที่สำคัญไม่มีสถาบันการเงินไหนปล่อยกู้โครงการเกิน 30 ปี แม้แต่โครงการที่รัฐลงทุนเอง ขณะเป้าหมายการลงทุนไฮสปีด ของเอกชนรายนี้



นายประภัสร์ ระบุว่า บริษัทรายนี้ ไม่ต้องการทำธุรกิจเพื่อการเดินรถ เพราะทราบดีว่า รายได้จากค่าโดยสารไม่สามารถทำกำไรได้มากเท่ากับการพัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์อย่างมักกะสันที่มองว่าจะเกิดความคุ้มค่ามากกว่า ซึ่งเงื่อนไขในทีโออาร์ที่ คน รฟท. เห็นแล้วช้ำใจ คือ 50 ปี ต่ออีก 49 ปี

หวั่นซ้ำรอยโฮปเวลล์

นอกจากนี้ นายประภัสร์ยังตั้งข้อสังเกตอีกว่า โครงการไฮสปีดอีอีซี เป็นโครงการของรัฐบาลที่ รฟท. ไม่ได้เป็นผู้ริเริ่มและอาจซ้ำรอย เหมือนโฮป เวลล์ ที่รัฐมุ่งเน้นให้พัฒนาที่ดินเชิงพาณิชย์มากกว่าการเดินรถและในที่สุดก็ติดปัญหาการส่งมอบพื้นที่ที่ไม่ทราบว่าจะส่งมอบได้ทั้งหมดเมื่อใด ขณะการลงทุนมองว่าควรลากแอร์พอร์ตลิงค์ ไปถึงอู่ตะเภาที่ความเร็ว 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง แทนที่จะลงทุนไฮสปีด ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ความเร็วในการเดินทางไม่ต่างกันแต่ต้นทุนต่างกัน



โดยสรุปตั้งข้อสังเกตว่า 1. รัฐบาลอาจจะแก้สัญญายืดการชำระ และขยายสัญญาส่วนที่ก่อสร้างใหม่(ไฮสปีด) 2. ซีพียังไม่ได้เข้าบริหารแอร์พอร์ตลิงค์แล้วจะเยียวยาอย่างไร3. เปิดประเทศ คนใช้บริการตามปกติ



แอร์พอร์ตลิงค์ลามไฮสปีด



สอดรับกับแหล่งข่าวในวงการผู้รับเหมา สะท้อนว่า การขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิ์ร่วมลงทุนในโครงการแอร์พอร์ตลิงค์ ออกไปและขอทยอยจ่ายภายในระยะ 10 ปี ก่อนที่การรถไฟและสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก จะจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นเจรจาจัดทำความเห็นเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) และไฟเขียวให้ขยายเวลาจ่ายชำระค่าสิทธิ์ดังกล่าวออกไป 6 ปี



กรณีนี้แม้จะมีการลงนามในสัญญาร่วมลงทุนกันมานาน แต่บริษัทเอกชนคู่สัญญายังไม่ได้เข้ามาบริหารโครงการ แต่กลับอาศัยรายงานผลกระทบจากวิกฤติเศรษฐกิจและไวรัสโควิด-19 ที่เกิดขึ้น มาเป็นเหตุผลในการขอแก้ไขสัญญาไปก่อน ซึ่งเท่ากับปิดความเสี่ยงของเอกชนไปโดยปริยาย



นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมที่รายงานต่อที่ประชุม ครม .หากไม่ยอมแก้ไขสัญญายืดเวลาจ่ายค่าสิทธิ์ให้ตามที่เอกชนร้องขอ จะก่อให้เกิดปัญหาใหญ่ 3 ด้านคือ 1.แอร์ตพอร์ต เรลลิงค์ ต้องหยุดให้บริการหลังจากวันที่ 24 ต.ค.64 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อประชาชนในวงกว้าง 2.รฟท.ยังต้องแบกภาระการขาดทุนของแอร์พอร์ต ลิงค์ ต่อไป ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของ รฟท.และ 3.อาจส่งผลกระทบต่อโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นโครงการที่เกี่ยวเนื่องกัน



ทำให้สังคมต่างตั้งข้อกังขาว่า มติ ครม. ดังกล่าวสอดคล้องกับหลักการร่วมลงทุนและการร่วมแบกรับความเสี่ยงตรงไหน ในเมื่อรัฐคือ รฟท. ที่ลงทุนไปกับโครงการนี้กว่า 35,000 ล้านบาทนั้น เข้าไปแบกรับความเสี่ยงต่างๆ ให้กับเอกชนคู่สัญญาไปหมดเช่นนี้ และทำราวกับว่า หากเอกชนไม่สามารถรับมอบและบริหารโครงการได้ การรถไฟจะไม่สามารถเดินรถต่อไปได้



ได้ประโยชน์ตัวสถานี-ที่ดินมักกะสัน



นายสุวิช คุมานนท์ ประธานสมาพันธ์คนงานรถไฟ (สพ.รฟ.) มีหนังสือถึง นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่ารฟท. ระบุว่า เอกชนคู่สัญญา ต้องชำระเงินให้ รฟท. ทั้งหมดก่อนตามสัญญาร่วมลงทุนไฮสปีดอีอีซี ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2562 ที่ต้องส่งมอบสิทธิ์แอร์พอร์ต ลิงค์ ภายใน 24 เดือน 100% เอกชนจึงมีสิทธิเข้าไปดำเนินกิจการได้ ปัจจุบันมีสภาพพร้อมในการให้บริการและเข้าสู่จุดคุ้มทุนเริ่มมีกำไรหากเอกชนได้สิทธิ์ก็สามารถต่อยอดรายได้โดยไม่ต้องลงทุนใหม่



ยังสามารถนำสถานีและพื้นที่รอบสถานนีไปพัฒนาเชิงพาณิชย์ไม่รวมที่ดินย่านมักกะสัน และศรีราชาที่ได้สัญญา เช่าระยะยาว 50 ปี และยังได้สทธิเช่าต่ออีก 49 ปี ทำให้เอกชนได้ประโยชน์อย่างมากจากโครงการไฮสปีด โดยสรุปขอย้ำว่า รฟท. ต้องรับชำระเงินจำนวน 10,671 ล้านบาท ก่อนการส่งมอบสิทธิต่างๆ ให้เอกชน



นอกจากนี้ คณะอนุกรรมาธิการติดตามงบประมาณการลงทุนขนาดใหญ่ นำโดย นายสุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) แบบบัญชีรายชื่อและรองเลขาธิการพรรคก้าวไกล เป็นประธาน เตรียมเรียกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งเอกชนคู่สัญญา เข้าชี้แจงต่อคณะอนุกรรมาธิการ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/11/2021 9:39 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
รุมต้านแก้สัญญาไฮสปีด กลุ่มซีพี รัฐเสียเปรียบ เปิดทางขุดทองที่ดินมักกะสัน
หน้าเศรษฐกิจMega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล
วันพุธ ที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 14:43 น.

รฟท.เสียโอกาสล้างหนี้ ผ่อนแอร์พอร์ตลิงก์
หน้าแรก
เศรษฐกิจ
Mega Project
รฟท.เสียโอกาสล้างหนี้ ผ่อนแอร์พอร์ตลิงก์
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 06 พ.ย. 2564 เวลา 6:00 น.

Click on the image for full size

โวยบิ๊กตู่-อีอีซี อุ้มไฮสปีดผ่อนค่าโอนสิทธิ์ บริหารแอร์พอร์ตลิงก์ ด่านแรกสัญญาไฮสปีด ทำรฟท.เสียโอกาส ล้างหนี้ 3.5 หมื่นล้านกับกระทรวงการคลังในฐานะผู้ค้ำประกันเงินกู้สถาบันการเงิน ต้องกู้เพิ่มจ่ายหนี้-เสริมสภาพคล่องแทน

Arrow https://www.thansettakij.com/economy/502211



------


เปิด7เงื่อนไข รฟท.-คู่สัญญา ลงนาม MOU ไฮสปีดอีอีซี มีอะไรบ้าง
หน้าแรก
เศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 07 พ.ย. 2564 เวลา 10:37 น.

เปิดเงื่อนไข MOU ไฮสปีด อีอีซี รฟท.-คู่สัญญา แก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน ร่วมกับทางบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด เอกชนคู่สัญญา โดยบันทึกข้อตกลงที่ทำขึ้นนี้ ซึ่งเป็นการบริหารสัญญาภายใต้ข้อกำหนดที่ระบุไว้ในสัญญาร่วมลงทุนเดิมเพื่อแก้ไขปัญหาในการดำเนินโครงการเกี่ยวกับรถไฟในส่วนของแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และไม่กระทบบริการสาธารณะในช่วงที่การรถไฟฯ และเอกชนคู่สัญญาอยู่ระหว่างการดำเนินการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน

บันทึกข้อตกลง (MOU) ดังกล่าวมีรายละเอียดอันเป็นหลักการในเบื้องต้น ดังนี้

• บันทึกข้อตกลงสิ้นสุดผลการใช้บังคับเมื่อครบ 3 เดือน นับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564

• การรถไฟฯ ยังไม่มอบสิทธิการดำเนินการโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ให้แก่เอกชน และการรถไฟฯ มีสิทธิรับรายได้ค่าโดยสารและรายได้จากการดำเนินกิจการเชิงพาณิชย์

• โดยระหว่างที่มีการพิจารณาเงื่อนไขของสัญญาอยู่นั้น จะให้เอกชนคู่สัญญาเข้ามาช่วยสนับสนุนการรถไฟฯ และบริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด ในการดำเนินโครงการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ตามขอบเขตงานที่ได้รับมอบหมาย โดยเอกชนจะสนับสนุนบุคลากรและรับความเสี่ยงทั้งหมดโดยการรถไฟฯ บริษัท รถไฟฟ้า รฟท. จำกัด และที่ปรึกษาของการรถไฟฯ จะกำกับดูแล

ให้การดำเนินงานเป็นไปตาม KPI ที่บันทึกข้อตกลงฯ กำหนด รวมทั้ง เอกชนคู่สัญญาจะต้องรับผิดชอบค่าใช้จ่ายทั้งหมด โดยเอกชนสามารถนำรายได้ค่าโดยสารไปชำระค่าใช้จ่ายได้ แต่หากมีกำไรต้องส่งคืนให้การรถไฟฯ หากรายได้ค่าโดยสารไม่เพียงพอชำระค่าใช้จ่ายในงานที่ได้มอบหมายให้ดำเนินการ เอกชนจะต้องเป็นผู้ชำระในส่วนที่เกิน

• เอกชนจะต้องทำประกันภัยที่เกี่ยวข้องกับแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

• เอกชนคู่สัญญาต้องชำระเงิน 10% ของค่าสิทธิในการบริหารตามสัญญาร่วมลงทุนฯ เป็นเงิน 1,067 ล้านบาท เพื่อเป็นหลักประกันการดำเนินการตามบันทึกข้อตกลงฯ และสัญญาร่วมทุนฯ

• การรถไฟฯ มีสิทธิยึดถือหลักประกันจนกว่าจะมีการกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นในสัญญาแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ และหากต้องคืนหลักประกัน การรถไฟฯ คืนโดยไม่มีดอกเบี้ย

• หากไม่แก้ไขสัญญาร่วมลงทุนฯ ภายใน 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 หรือที่ขยายเพิ่มเติม การรถไฟฯ มีสิทธิริบหลักประกันเพื่อนำมาชำระการไม่ปฏิบัติตามสัญญาร่วมลงทุนของเอกชน

การรถไฟฯ ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.)ในการเดินหน้าร่วมแก้ไขปัญหาการให้บริการแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องไม่หยุดชะงัก ไม่เกิดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชนผู้ใช้บริการ การรถไฟฯ ขอยืนยันว่า การดำเนินการต่างๆนั้น

การรถไฟฯ ยึดหลักการและแนวทางที่คำนึงถึงผลกระทบของประชาชนเป็นหลัก รวมทั้ง คำนึงถึงการรักษาผลประโยชน์ขององค์กรและประเทศชาติเป็นสำคัญ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินนี้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ที่มีความสำคัญระดับประเทศ การดำเนินการต่างๆนั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องพิจารณาอย่างรอบคอบและครอบคลุมในทุกมิติ โดยจะไม่มีการดำเนินการใดๆอันเป็นการเอื้อประโยชน์แก่เอกชนโดยมิชอบอย่างเด็ดขาด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/11/2021 3:44 pm    Post subject: Reply with quote

ร.ฟ.ท. สั่ง “ซีพี” พับแผน หมดเวลาย้ายสถานีไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 07 พ.ย. 2564 เวลา 10:00 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย เดินหน้าส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเทรนสามสนามบิน ม.ค.นี้ ปัดย้ายจุดสร้างสถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา หลังเอกชนเคลียร์ไม่ชัดผลประโยชน์

โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) ซึ่งเป็นโครงการร่วมลงทุนระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และเอกชน คือ บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด หรือ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (AERA1) ซึ่งขณะนี้เอกชนได้เริ่มบริหารโครงการส่วนแรกอย่างรถไฟแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ส่วนงานก่อสร้างไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนเตรียมส่งมอบพื้นที่ ส่วนกรณีเอกชนคู่สัญญามีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา หลังจากมีการหารืออย่างต่อเนื่องในปีที่ผ่านมา พบว่าปัจจุบันข้อเสนอดังกล่าวยังไม่มีข้อสรุปหรือได้รับการอนุมัติ

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ระบุถึงกรณีข้อเสนอการย้ายสถานีไฮสปีดเทรนว่า ก่อนหน้านี้ทางเอกชนมีข้อเสนอขอย้ายสถานี 3 แห่ง คือ สถานีชลบุรี สถานีพัทยาและสถานีฉะเชิงเทรา โดย ร.ฟ.ท.ได้ขอข้อมูลประกอบการพิจารณาว่าจะมีพื้นที่ย้ายไปบริเวณใด จะเกิดประโยชน์อย่างไรกับประชาชน หรือชุมชนโดยรอบ และนำมาหารือประกอบการตัดสินใจ แต่ไม่ได้รับข้อมูลจากทางเอกชน และไม่ได้มีการนำเรื่องดังกล่าวกลับมาเจรจาอีกครั้ง

อย่างไรก็ดี เนื่องด้วยแผนส่งมอบพื้นที่โครงการดังกล่าวต้องเร่งรัดให้เป็นไปตามแผน ซึ่งขณะนี้ ร.ฟ.ท.ได้เตรียมพื้นที่พร้อมส่งมอบใกล้ 100% แล้ว ดังนั้นเมื่อทางเอกชนไม่ส่งข้อมูลประกอบการพิจารณากรณีย้ายสถานี ก็มีความจำเป็นที่จะต้องเดินหน้าพัฒนาสถานีตามผลการศึกษาเดิมที่ระบุไว้ในสัญญา โดยเอกชนจะต้องพัฒนาโครงการ แนวเส้นทาง และสถานี ให้เป็นไปตามแผนกำหนดไว้ หากอนาคตเล็งเห็นถึงความจำเป็นต้องย้ายสถานี จะต้องแก้ปัญหาด้วยการสร้างสถานีเพิ่มให้เป็นสถานีย่อย

Click on the image for full size

“เมื่อไม่ได้รับความชัดเจนจากทางเอกชน การรถไฟฯ ก็มีความจำเป็นต้องเวนคืนตามแผน และเมื่อเวนคืนที่ดินไปแล้ว ท้ายที่สุดเอกชนจะมาปรับสถานี ก็ต้องนำพื้นที่นี้ไปด้วย และต้องนำไปพัฒนาตามวัตถุประสงค์ของการเวนคืน ถ้าไม่ทำก็ผิดกฎหมาย อาจถูกฟ้อง และหากเป็นเช่นนั้นเอกชนก็ต้องรับผิดชอบ”

สำหรับการส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน ร.ฟ.ท.ได้ดำเนินการแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

1. การแก้ปัญหาผู้บุกรุก ขณะนี้ได้ดำเนินการเจรจากับผู้บุกรุกในพื้นที่ระหว่างช่วงสุวรรณภูมิ–อู่ตะเภาและมีการย้ายออกแล้ว

2.การเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ ร.ฟ.ท.ต้องทำสัญญาซื้อขายจำนวน 737 สัญญา มูลค่า 4,121 ล้านบาท ซึ่งมีผู้ได้รับผลกระทบทั้งสิ้น 679 หลังคาเรือน 923 ไร่

3.งานรื้อย้ายสาธารณูปโภค โดยหน่วยงานเจ้าของสาธารณูปโภคได้ดำเนินการรื้อย้ายสาธารณูโภคช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภา จำนวน 756 จุด

Click on the image for full size

วรวุฒิ มาลา ที่ปรึกษาพิเศษด้านโครงการรถไฟความเร็วสูงและ TOD สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าของโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน โดยระบุว่า ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนการส่งมอบพื้นที่ระยะแรก ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา 170 กิโลเมตร ซึ่ง ร.ฟ.ท. เคลียร์พื้นที่พร้อมส่งมอบแล้ว 98% คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนได้ไม่เกินเดือน ม.ค.2565

ส่วนระยะที่ 2 ช่วงบางซื่อ - ดอนเมือง ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติให้ ร.ฟ.ท.เจรจาเอกชนเพื่อก่อสร้างโครงสร้างโยธาร่วมทั้งหมด รองรับรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน โดยจะมีการก่อสร้างในเดือน ก.พ.2565 ส่วนพญาไท - บางซื่อ เป็นงานก่อสร้างอุโมงค์รถไฟ ต้องมีการรื้อย้ายท่อน้ำมัน คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ให้เอกชนเริ่มก่อสร้างกลางปี 2566

“ตอนนี้ทุกอย่างยังเดินหน้าเป็นไปตามแผนงาน การรถไฟฯ เตรียมพื้นที่พร้อมส่งมอบอยู่แล้ว ดังนั้นในปี 2565 จะเริ่มก่อสร้างไฮสปีดสามสนามบินช่วงสุวรรณภูมิ – อู่ตะเภาแน่นอน และหลังจากนั้นจะทยอยส่งมอบช่วงอื่นๆ ตามแผน เพื่อเปิดให้บริการในปี 2571”

ขณะที่บริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ในช่วงพญาไท-สุวรรณภูมิ ร.ฟ.ท.และเอกชนได้จัดทำข้อตกลงให้เอกชนเข้าสนับสนุนการเดินรถและซ่อมบำรุงแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ไปแล้วเมื่อวันที่ 25 ต.ค.2564 และขณะนี้อยู่ระหว่างแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน เพื่อแก้ไขปัญหาจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ส่งผลต่อปริมาณผู้โดยสาร

ทั้งนี้ เมื่อไฮสปีดเทรนสามสนามบินเปิดให้บริการครบตลอดเส้นทาง จะใช้เวลาเดินทางจากดอนเมือง-อู่ตะเภา ประมาณ 1.25 ชั่วโมง ใช้ความเร็ว 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่วนการเดินรถในเมืองช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ อาจใช้ความเร็วที่ประมาณ 160 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โดยไฮสปีดเทรนสายนี้จะมีพื้นที่เชิงพาณิชย์เพื่อพัฒนาโดยรอบสถานี หรือ TOD ที่สถานีมักกะสัน จำนวน 140 ไร่ เมื่อมีการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จ จะเป็นการพัฒนาเมือง เป็นศูนย์กลางการเดินทางในประเทศและภูมิภาค

สำหรับโครงการไฮสปีดเทรนเชื่อมสามสนามบิน จะใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมแอร์พอร์ต เรล ลิงค์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน พร้อมทั้งจะก่อสร้างทางรถไฟขนาด 1.435 เมตร (Standard Gauge) ในส่วนต่อขยาย 2 ช่วงจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภา โดยมีสถานีรถไฟความเร็วสูงจำนวน 9 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีสุวรรณภูมิ สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีอู่ตะเภา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 08/11/2021 1:11 pm    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าการก่อสร้างทางรถไฟความไวสูงแถวสูงเนิน
https://www.youtube.com/watch?v=nSX6FquDLKA


Last edited by Wisarut on 09/11/2021 3:50 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/11/2021 2:12 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ผู้ว่าการรถไฟฯ และอธิบดีกรมศุลกากร ลงพื้นที่หนองคาย ร่วมกันบูรณาการแผนงานยุทธศาสตร์
ด้านโลจิสติกส์เพื่อรองรับการขยายตัวขนส่งเชื่อมต่อจีน – ลาว ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ธันวาคมนี้

ทีมพีอาร์การรถไฟแห่งประเทศไทย
วันที่ 8 พฤศจิกายน 2564 เวลา 12:46 น.

รฟท. ปักธงเพิ่มขบวนรถไฟ “หนองคาย-ท่านาแล้ง(สปป.ลาว)” วันละ 24 ขบวน
เดลินิวส์ 8 พฤศจิกายน 2564 13:47 น.
เศรษฐกิจ-ยานยนต์

รฟท. ตั้งธงจัดเพิ่มขบวนรถไฟ “หนองคาย-ท่านาแล้ง” วันละ 24 ขบวน (ไป-กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ รองรับการขยายตัวขนส่งสินค้าเชื่อม จีน-ลาว-ไทย พร้อมลุยพัฒนาย่านสถานีหนองคาย 80 ไร่ หนุนไทยเป็นฮับโลจิสติกส์ในอนุภมิภาคลุ่มน้ำโขง

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยว่า ได้ร่วมประชุมวางแผนงานและบูรณาการแผนงานระหว่าง รฟท., กรมศุลกากร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเตรียมพร้อมรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าด้วยระบบรางเชื่อมระหว่าง จีน-ลาว-ไทย จากรถไฟลาว-จีน ผ่านสะพานมิตรภาพไทย-ลาว (หนองคาย-เวียงจันทน์) ทั้งนี้การเปิดให้บริการขบวนรถไฟขนส่งสินค้าข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาว ถือเป็นความสำเร็จในการเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระบบราง ซึ่งสอดรับกับยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของประเทศในการสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งของกลุ่มอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนรองรับปริมาณการขนส่งสินค้าข้ามแดนระหว่างไทย-ลาว ที่มีแนวโน้มขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะภายหลังการเปิดให้บริการรถไฟ ลาว-จีน ซึ่งจะเริ่มให้บริการในวันที่ 2 ธ.ค.64

นายนิรุฒ กล่าวต่อว่า เบื้องต้นในปี 64-65 รฟท. มีการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้า ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง (สปป.ลาว) จากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป – กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่ ส่วนในปี 66-68 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป – กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ และตั้งแต่ปี 69 เป็นต้นไป จะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป – กลับ) พ่วงขบวนละ 25 แคร่ ซึ่งไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศที่เดิมปกติมีให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป – กลับ) ทั้งนี้การเพิ่มขบวนรถไฟ จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ และอำนวยความสะดวกต่อการพัฒนาระบบขนส่งโลจิสติกส์ของทั้ง 2 ประเทศได้อย่างดี

นายนิรุฒ กล่าวอีกว่า รฟท. ยังมีแผนงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบูรณาการพัฒนาพื้นที่ย่านสถานีหนองคาย และพื้นที่ CY หรือศูนย์รวบรวมและเปลี่ยนถ่ายสินค้าที่สถานีรถไฟนาทา เพื่อเพิ่มศักยภาพการขนส่งสินค้าทางรางในพื้นที่ ให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าทางรถไฟ จากท่าเรือแหลมฉบัง มายังสถานีหนองคาย และต่อขยายถึงที่ลานตู้สินค้า ที่ท่านาแล้ง สปป.ลาว ได้โดยตรง เพื่อรองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจ การค้า การลงทุนในอนาคตด้วย

นายนิรุฒ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้แผนพัฒนาย่านสถานีหนองคาย จะมีการพัฒนาพื้นที่สถานีทั้งหมด 80 ไร่ รองรับการขนส่งผ่านสะพานเดิม และการเปลี่ยนถ่ายจากถนนสู่ระบบรางเชื่อมโยงภายในประเทศ ซึ่งจะเป็นการช่วยเสริมศักยภาพระบบขนส่งในภูมิภาค สร้างงานสร้างอาชีพ ก่อให้เกิดการพัฒนาเศรษฐกิจในท้องถิ่น และสนับสนุนให้ไทย เป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ของภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล.


----

รฟท.เชื่อม 2 ไฮสปีด จีน-ลาว-ไทย-จีน ผ่านสะพานมิตรภาพหนองคาย-เวียงจันทน์
หน้าแรก
เศรษฐกิจ
Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล | 08 พ.ย. 2564 เวลา 13:39 น.

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2021 10:11 am    Post subject: Reply with quote

พรุ่งนี้ (วันอังคารที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ.2564) เวลา 9.00 – 16.00 น. ฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสัมพันธ์ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
โดย รองศาสตราจารย์เนตรชนก บัวนาค รองคณบดีฝ่ายวิจัยและเครือข่ายสัมพันธ์
ขอเชิญรับชมถ่ายทอดสด “การจัดเวทีเสวนาเพื่อเรียนรู้ความสำเร็จการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงของจีน”
โดยได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิชาวไทยในภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง 15 หน่วยงาน และรองศาสตราจารย์ ดร.เอกรัตน์ เอกศาสตร์ คณบดีคณะวิทยาการจัดการ เป็นผู้ดำเนินรายการ
สามารถรับชมถ่ายทอดสดทาง Facebook Live ได้ที่ Page คณะวิทยาการจัดการ (FMS-NRRU Fan Page) https://web.facebook.com/fmsnrru.fanpage
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4592275267486049
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2021 10:48 am    Post subject: Reply with quote


ความก้าวหน้าการก่อสร้างทางช่วง 3-4
https://www.youtube.com/watch?v=WlNgF0L7XGg
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42744
Location: NECTEC

PostPosted: 09/11/2021 4:25 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
ร.ฟ.ท. สั่ง “ซีพี” พับแผน หมดเวลาย้ายสถานีไฮสปีด
กรุงเทพธุรกิจ 07 พ.ย. 2564 เวลา 10:00 น.

รฟท. เอือมระอากับการที่เอราวัน เล่นเกม กับบรรดานักเก็งกำไรที่ดิน เพื่อลดค่าเวนคืนที่ดินลงมา
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44626
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/11/2021 11:33 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ TOD ขอนแก่น I English Version I สนข.
Nov 9, 2021
Daoreuk Channel

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ TOD ขอนแก่น ฉบับภาษาอังกฤษ
โครงการศึกษาพัฒนาเมืองกับระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่ง
“TOD คมนาคมสร้างเมือง เมืองสร้างสุข สุขสร้างได้”

โดย สนข.


https://www.youtube.com/watch?v=r-JJ2Dvil6U


-------

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ TOD พัทยา I English Version I สนข.


https://www.youtube.com/watch?v=LfqAVuWRrbw


--------

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบ TOD อยุธยา I English Version I สนข.


https://www.youtube.com/watch?v=DGG8zoSu_r0
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 424, 425, 426 ... 547, 548, 549  Next
Page 425 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©