RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311287
ทั่วไป:13269964
ทั้งหมด:13581251
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 427, 428, 429 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 01/12/2021 7:47 pm    Post subject: Reply with quote

ประยุทธ์ เข้าวังนาคินทร์ คำชะโนด ขอให้บ้านเมืองหมดความขัดแย้ง
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 1 ธันวาคม 2564 - 17:13 น.

พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม

พล.อ.ประยุทธ์ ตรวจความพร้อมการเปิดเมืองที่ วังนาคินทร์คำชะโนด ในการต้อนรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล พร้อมขอพรปู่ศรีสุทโธ-ย่าศรีปทุมมา ให้คนไทยมีความสุข ประเทศชาติเจริญก้าวหน้าทุกมิติ ปราศจากความขัดแย้ง

วันที่ 1 ธันวาคม 2564 เวลา 14.40 น. ณ วังนาคินทร์ คำชะโนด อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เผยว่า พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมคณะ ตรวจความพร้อมในการเปิดเมืองเพื่อรับนักท่องเที่ยวตามนโยบายรัฐบาล

โดยมีนายสยาม ศิริมงคล ผู้ว่าราชการจังหวัดอุดรธานี ผู้ประกอบการร้านค้า ประชาชนชาวอุดรธานี และนักท่องเที่ยวให้การต้อนรับ โอกาสนี้นายกรัฐมนตรี เข้าสักการะปู่ศรีสุทโธและย่าศรีปทุมมา บริเวณศาลภายในวังนาคินทร์ คำชะโนด

นายกรัฐมนตรีได้ถวายพานบายศรีรูปพญานาค 9 เศียร พร้อมขอพรให้ประเทศชาติให้ประชาชนคนไทยมีความสุข ขอให้โควิด-19 หมดสิ้นไป และให้ประเทศไทยมีความเจริญก้าวหน้าในทุกมิติ ปราศจากความขัดแย้ง การบริหารราชการแผ่นดินเป็นไปด้วยความเรียบร้อย เพื่อประชาชนโดยรวม ครอบครัวมีความสุข สุขภาพร่างกายแข็งแรง เป็นกำลังใจให้กันตลอดไป คนทำดีก็ขอให้ประสบความสำเร็จ

นายกรัฐมนตรีกล่าวทักทายผู้ประกอบการร้านค้าและประชาชนว่า วันนี้มาเยี่ยมทุกคนและดูการจัดระบบรองรับนักท่องเที่ยวที่มากราบไหว้ปู่ศรีสุทโธและย่าศรีปทุมมา ของวังนาคินทร์ คำชะโนด ซึ่งมีการสร้างระบบที่ดี มีการจองล่วงหน้า จัดกลุ่ม จัดจำนวนคนเข้ากราบไหว้ในแต่ละรอบ จัดระยะห่างอย่างชัดเจนในระหว่างเข้ากราบไหว้ ทำให้ไม่มีการรอคิวนาน ไม่มีการเบียดเสียดกัน รักษาระห่างหรือ Social Distancing ตามคำแนะนำด้านสาธารณสุข เพื่อลดความเสี่ยงการระบาดของเชื้อโควิด-19

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำให้ปฏิบัติมาตรการด้านสาธารณสุขและปลอดภัยสำหรับองค์กร (COVID Free Setting) เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อย่างมีประสิทธิภาพ รองรับการเปิดรับนักท่องเที่ยว ที่จะเดินทางเข้ามาท่องเที่ยวในพื้นที่ ซึ่งจะส่งผลดีทั้งเศรษฐกิจในระดับพื้นที่และเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศอีกด้วย

นายกรัฐมนตรียังขอให้ทุกคนช่วยกันรักษากฎกติกาในการรับนักท่องเที่ยวผู้มาเยือนคำชะโนดไว้ให้ดี ป้องกันไม่ให้เกิดการระบาดของโรคขึ้น เพื่อไม่ให้ขาดรายได้ ขณะเดียวกันก็ให้ใช้ศักยภาพทางธรรมชาติและเอกลักษณ์ของท้องถิ่นมีอยู่มาให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ ควบคู่กับการพัฒนาให้เกิดความยั่งยืน

นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า โดยส่วนตัวแล้วมีความเป็นห่วงทุกคน และพร้อมสนับสนุนภาคการท่องเที่ยวของจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งพัฒนาเส้นทางคมนาคม ซึ่งรัฐบาลได้ปรับปรุงถนนที่จะเข้าสู่คำชะโนดให้สะดวกสบายมากขึ้น ขุดลอกแหล่งน้ำในหนองคำชะโนด เพื่อให้มีน้ำหล่อเลี้ยงตลอดปี ให้ต้นชะโนดที่เป็นสัญลักษณ์ของเกาะคำชะโนดยืนต้นอยู่ได้ นักท่องเที่ยวจะได้มาเที่ยวกันได้ตลอดปี และสร้างรายได้ให้กับผู้ค้าขายในบริเวณคำชะโนดได้ตลอดทั้งปีด้วย

โอกาสนี้ นายกรัฐมนตรียังได้สอบถามเจ้าหน้าที่ถึงความเป็นมาของวังนาคินทร์ คำชะโนด ด้วยความสนใจ เน้นให้ดูแลรักษาสถานที่และความสะอาด และทักทายประชาชนด้วยความห่วงใย พร้อมขอให้ทุกคนร่วมกันคิดแต่สิ่งที่ดีมีประโยชน์ ย้ำให้เด็กเยาวชนซึ่งเป็นอนาคตของประเทศให้รักพ่อ แม่ และรักชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ร่วมกันพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า

จากนั้น นายกรัฐมนตรียังได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า วันนี้เดินทางมาพร้อมกับรัฐมนตรี หลายกระทรวงที่เกี่ยวข้อง เพื่อมาติดตามความก้าวหน้าการพัฒนาจังหวัดอุดรธานี และจังหวัดอื่น ๆ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยย้ำความสำคัญในการสร้างความเชื่อมโยงทั้งภายในพื้นที่ระหว่างจังหวัด ขยายไปสู่การเชื่อมโยงประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางบก ทางอากาศ ทางเรือ ทางราง (เช่น รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง) แม้ขณะนี้ไทยยังไม่สามารถจะเชื่อมต่อกับรถไฟจีน – ลาวได้มากนัก

แต่ก็ได้มีการเตรียมแผนเรื่องนี้ไว้แล้ว รวมไปถึงต้องมีการทำที่เก็บสินค้าและบรรจุสินค้า ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเจรจาเพื่อจะสร้างเส้นทางรถไฟใหม่ห่างจากเส้นเดิม ซึ่งเป็นการพัฒนาทั้งรถไฟทางคู่และรถไฟความเร็วสูง โดยประเทศไทยจะลงทุนเองกว่า 2 แสนล้านบาท ยืนยันเปิดใช้งานได้ปี 2571

โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ที่ดินข้างทางต้องเป็นของคนไทย เชื่อมั่นการดำเนินการดังกล่าวเป็นการตัดสินใจที่ถูกต้อง สิ่งสำคัญคือการเวนคืนและการส่งมอบพื้นที่ รวมไปถึงการเร่งรัดแก้ปัญหาเรื่อง Missing Link การเชื่อมต่อ ทั้งเรื่องสะพานรถไฟใหม่และสะพานข้ามใหม่ รวมถึงเส้นทางรถยนต์ ซึ่งต้องมีการจัดเตรียมงบประมาณไว้สำหรับดำเนินการในส่วนนี้ด้วย


นายกรัฐมนตรียังพอใจการเดินทางมาจังหวัดอุดรธานีในครั้งนี้ โดยเฉพาะการประชุมหารือร่วมกันระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน ซึ่งสิ่งที่ภาคเอกชนเสนอมาก็สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาลดำเนินการอยู่แล้ว ซึ่งผู้ประกอบการ ภาคเอกชนได้ขอบคุณรัฐบาลที่ได้สนับสนุนส่งเสริมดำเนินการต่าง ๆ ทั้งเส้นทางคมนาคมต่าง ๆ รถไฟ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การประกอบธุรกิจ สิ่งที่รัฐบาลต้องแก้ป้ญหาต่อไปคือการแก้ไขปัญหาความยากจน

โดยเฉพาะภาคการเกษตรซึ่งมีรายได้น้อยมากและราคาพืชผลทางการเกษตรมีความผันผวน มีการใช้งบประมาณจำนวนมากโดยต้องเข้าไปดูแลช่วยเหลือเพื่อลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งต้องหาแนวทางลดการใช้จ่ายงบประมาณตรงนี้ให้น้อยลงโดยต้องมีการพัฒนาและหาวิธีการที่จะลดต้นทุนการผลิต โดยมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปดำเนินการแล้ว

นายกรัฐมนตรีกล่าวถึงการแก้ไขปัญหาความยากจนรายครัวเรือน ได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทยดำเนินการแล้ว และคณะกรรมการที่ พลเอก ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานอยู่ ควบคู่กับมีชุดเคลื่อนที่ลงไปในพื้นที่ สำรวจพื้นที่เพื่อนำข้อมูลกลับมาประกอบการพิจารณาดำเนินการให้เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่ด้วย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีย้ำให้จังหวัดอุดรธานีเตรียมความพร้อมทุกมิติในการนำเสนอตัว เพื่อให้ได้รับการคัดเลือกเป็นเจ้าภาพจัดงานมหกรรมพืชสวนโลกในปี 2569 ที่จังหวัดอุดรธานี
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/12/2021 5:21 am    Post subject: Reply with quote

เลาะไซต์ก่อสร้าง"รถไฟทางคู่"ดีเลย์ยกแผง ผู้รับเหมาขยายสูงสุด 20 เดือนเลื่อนปิดจ๊อบ "ไฮสปีดไทย-จีน" อืด! ส่อหลุดเป้าเปิดหวูด
Source - ผู้จัดการรายวัน 360 องศา
Thursday, December 02, 2021 05:22

รีวิวไซต์ก่อสร้างโครงการ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทางวงเงิน 88,014 ล้านบาท สารพัดปัญหารุม ทั้งปรับแบบเหตุสุดวิสัยทำให้ส่งมอบพื้นที่ล่าช้า เซ็นสัญญาเริ่มงานตั้งแต่ ปี 2561 การก่อสร้างหลุดเป้า ผู้รับเหมาดาหน้าขอต่อขยายเวลา 9 เดือน-20 เดือน เลื่อนปิดจ๊อบงานไปเป็นปี 2565 ขณะที่รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ที่เริ่มลงมือมาตั้งแต่ 21 ธ.ค. 2560 มีงานโยธาก่อสร้าง 14 สัญญา ล่าช้าไม่น้อยหน้ากัน มีปัญหาติดหล่มร้องเรียนประมูล ปรับแบบสถานีอยุธยากรณีกระทบมรดกโลกค่าเวนคืนที่ดินเพิ่ ทำให้ยังเหลืออีก 6 สัญญาจากทั้งหมด 14 สัญญาที่ยังไม่ได้เริ่มก่อสร้าง อาจทำให้ต้องขยับเปิดบริการจากเป้าปี 2570 ออกไปอีก

รายงานข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่จำนวน 5 เส้นทางระยะทางรวม 700 กม. ค่าก่อสร้างงานโยธา 76,591 ล้านบาท ค่างานติดตั้งระบบอาณัติสัญญา 3 เส้นทาง วงเงิน 11,423 ล้านบาท วงเงินรวม 88,014 ล้านบาท มีแววจะต้องขยับแผนเลื่อนเปิดหวูดเต็มรูปแบบในปี 2566 ออกไปหลังจากการก่อสร้างงานโยธา 5 เส้นทาง จำนวน 10 สัญญา มีอุปสรรคในการก่อสร้างทุกเส้นทาง

ปัญหาเพียบ ผู้รับเหมา ขอขยายเวลาก่อสร้าง 9 สัญญา

โดยสถานการณ์ก่อสร้าง 5 โครงการนั้นจะมี 10 สัญญาประกอบด้วย สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 บ้านกลับ-โคกกระเทียม ระยะทาง 32 กม. ค่าก่อสร้าง 10,050 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า ยูเอ็น-เอสเอช (ยูนิค/ชิโน-ไฮโดร) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 15 มิ.ย. 2561-14 มิ.ย. 2565 (48 เดือน) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 63.44 % เร็วกว่าแผน 4.45 %

สัญญาที่ 2 ท่าแค-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กม. ค่าก่อสร้าง 8,649 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 256-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 17 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 70.33% ช้ากว่าแผน 13.73%

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระระยะทาง 132 กม. แบ่งงานเป็น 3 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 มาบกะเบา-คลองขนานจิตร ระยะทาง 58 กม.ค่าก่อสร้าง 7,560 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ.2561-31 ม.ค. 2565 (48 เดือน) มีการขยายสัญญาอีก 309 วันจากเดิม ไปสิ้นสุดวันที่ 5 ธ.ค. 2565 ผลงาน ณ เดือน พ.ย.2564 คืบหน้า 92.29% ช้ากว่าแผน 7.39% เนื่องจากติดปัญหาพื้นที่ก่อสร้างอยู่ในเขตป่าไม้

สัญญาที่ 3 งานอุโมงค์รถไฟ ระยะทาง 8 กิโลเมตร มีจำนวน 3 อุโมงค์ โดยอุโมงค์ที่ 1 ระยะทาง 5.85 กม. อุโมงค์ที่ 2 ระยะทาง 0.65 กม. อุโมงค์ที่ 3 ระยะทาง 1.40 กม. ค่าก่อสร้าง9,290 ล้านบาท มี กิจการรวมค้า อิตาเลียนไทย ไรท์ทีนเนลลิ่ง(ITD-RT) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงานวันที่ 1ก.ค. 2561-30 ธ.ค. 2564 (42 เดือน) มีการขยายสัญญา 271 วัน ไปสิ้นสุด เดือนก.ย. 2565 ผลงาน ณ เดือนพ.ย.2564 คืบหน้า 89.139% เร็วกว่าแผน 0.13% มีปัญหางบประมาณเวนคืนไม่เพียงพอ

ส่วนสัญญาที่ 2 คลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 69 กม. ค่าก่อสร้าง 7,060.58 ล้านบาท ออกแบบเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติโครงการและ พิจารณา EIA โดยกำหนดระยะเวลาก่อสร้าง 42 เดือน ซึ่งงานก่อสร้างช่วงนี้ ติดปัญหากรณีการรื้อสะพานข้ามแยกสีมาธานี และก่อสร้างอุโมงค์ทดแทน ที่ต้องใช้เวลาในการหาข้อยุติร่วมกับหน่วยงานและประชาชนในพื้นที่

สายใต้ ช่วงนครปฐม-หัวหิน ระยะทาง 169 กม. แบ่งสร้าง 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 นครปฐม-หนองปลาไหล ระยะทาง 93 กม. ค่าก่อสร้าง 8,198 ล้านบาท มี บจก.เอ.เอส.แอสโซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณเดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 95.01% เร็วกว่าแผน 2.13%

สัญญาที่ 2 หนองปลาไหล-หัวหิน ระยะทาง 76 กม. ค่าก่อสร้าง 7,520 ล้านบาท มี บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่งแอนด์คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ก่อสร้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561 -31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 20 เดือน (ก.พ. 2564-ก.ย. 2565) ณ เดือน พ.ย.2564 งานคืบหน้า 90.763% เร็วกว่าแผน 0.012%

สายใต้ ช่วงหัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ ระยะทาง 84 กม. ค่าก่อสร้าง 5,807 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ก.ค. 2563 (30 เดือน) ขยายสัญญา 11 เดือน (1 ส.ค. 2563-30 มิ.ย. 2564) และขยายสัญญาครั้งที่ 2 อีก 4 เดือน ไปสิ้นสุดเดือน ต.ค. 2564 ปัจจุบันอยู่ระหว่างการตรวจสอบงาน ซึ่งพบว่า การก่อสร้างยังไม่แล้วเสร็จ ณ เดือน พ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 99.94% ยังล่าช้า 0.06%

สายใต้ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร ระยะทาง 167 กม. แบ่งงานเป็น 2 สัญญา ได้แก่

สัญญาที่ 1 ประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ระยะทาง 88 กม.ค่าก่อสร้าง 6,465 ล้านบาท มีกิจการร่วมค่า KS-C (เคเอสร่วมค้า / China Railway 11th) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561-31 ต.ค.2563 (33 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 พ.ย. 2563-31 ม.ค. 2565) ณ เดือน พ.ย. 2564 งานคืบหน้า 83.205% ช้ากว่าแผน 4.690%

สัญญาที่ 2 บางสะพานน้อย-ชุมพร ระยะทาง 79 กม. ค่าก่อสร้าง 5,992 ล้านบาทมีกิจการร่วมค้า STTP (ชิโน-ไทย/ไทยพีค่อน) เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 ก.พ. 2561- 31 ม.ค. 2564 (36 เดือน) ขยายสัญญา 15 เดือน (1 ก.พ. 2564-30 เม.ย.2565) ณ เดือนพ.ย. 2564 ผลงานคืบหน้า 82.88 % ช้ากว่าแผน 10.825 %

งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญา สายอีสานเสร็จช้าสุดต.ค.ปี 66

สำหรับโครงการจัดหาและติดตั้งงานระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคม รถไฟทางคู่ 3 สาย ได้แก่สายเหนือ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ ระยะทาง 145 กม. ค่าก่อสร้าง 2,988.57 ล้านบาท มีกลุ่มร่วมค้าบีที-ยูเอ็น ประกอบด้วย บริษัท บอมบาร์ดิเอร์ ทรานสปอร์เทชั่น ซิกเนล (ประเทศไทย) จำกัด และ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 39 เดือน เริ่มงานวันที่ 24 ม.ค.2563 กำหนดแล้วเสร็จเดือน เม.ย. 2566

สายตะวันออกเฉียงเหนือ ช่วง มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ระยะทาง 132 กม. ค่าก่อสร้าง 2,549.89 ล้านบาท มีกลุ่ม บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ และบริษัท LS Industrial Systems หรือ LSIS ประเทศเกาหลีใต้ เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 45 เดือน เริ่มวันที่ 24 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือนต.ค.2566

สายใต้ ช่วงนครปฐม-ชุมพร ระยะทาง 420 กม. ค่าก่อสร้าง 7,384.84 ล้านบาท มี บจ.China Railway Signal & Communication หรือ CRSC จากประเทศจีน เป็นผู้ดำเนินการ ระยะเวลา 36 เดือน เริ่มงานวันที่ 27 ม.ค. 2563 กำหนดเสร็จเดือน ม.ค. 2566

รถไฟไทย-จีน ก่อสร้างสะดุด ยังเหลืออีก 6 สัญญายังไม่ได้เริ่มตอกเข็ม

สำหรับบิ๊กโปรเจกต์อย่างโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท มีงานโยธาจำนวน 14 สัญญา ค่าก่อสร้าง 117,914.08 ล้านบา โดย มีสัญญาเดียวที่ก่อสร้างเสร็จคือ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. วงเงิน 362 ล้านบาท

อีก 7 สัญญาอยู่ระหว่างก่อสร้าง ได้แก่ สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลคอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ เป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 1 พ.ค. 2562 ก่อสร้าง 540 วัน (สิ้นสุด 21 ต.ค. 2563) ขยายสัญญาถึง 26 พ.ค. 2564 ล่าสุดงานคืบหน้า 76.85% ช้ากว่าแผน 23.15% อุปสรรคขาดแคลนแรงงาน และโควิด-19 อยู่ระหว่างขอต่อสัญญา

สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท มี บมจ.เนาวรัตน์ พัฒนาการผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 เม.ย.2564 สิ้นสุด 3 เม.ย. 2567 คืบหน้า 0.17% ล่าช้า 4.18% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้

สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง ระยะทาง 21.60 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท มี บจ.ไทย เอ็นจิเนียร์และอุตสาหกรรมเป็นผู้รับจ้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 1.06% ล่าช้า 7.72% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน และการขอใช้พื้นที่กรมป่าไม้ กรมชลประทานและกรมธนารักษ์

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวดระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาทมี บมจ.อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ ก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า 10.57% เร็วกว่าแผน 3.10%

สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ระยะทาง 12.38 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า SPTK จำกัดก่อสร้าง เริ่มงาน 26 ม.ค. 2564 สิ้นสุด 31 ม.ค. 2567 คืบหน้า1.823 % ล่าช้า 5.74% อุปสรรคเวนคืนที่ดิน

สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ ระยะทาง 23 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท มีกิจการร่วมค้า CAN (บจ.ไชน่า สเตท คอนสตรัคชั่นฯ, บจ.เอ.เอส.แอส โซซิเอท เอนยิเนียริ่ง (1964) และ บมจ.เนาวรัตน์พัฒนาการ เป็นผู้ก่อสร้าง สิ้นสุดสัญญาวันที่ 16 ส.ค. 2567 งานคืบหน้า 0.26% ล่าช้า 1.98%

สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท มี บจ.ซีวิลเอ็นจีเนียริงก่อสร้าง เริ่มงาน 19 ก.พ. 2564 สิ้นสุด 4 ก.พ. 2567 คืบหน้า 7.06% ล่าช้า 0.71%

รอเข้าพื้นที่ 3 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาทมี บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็นผู้เสนอราคาต่ำสุด, สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อยวงเงิน 6,573 ล้านบาท มี บมจ.อิตาเลียนไทย เป็นผู้รับจ้าง, สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี ระยะทางรวม 31.60 กม. วงเงิน 9,428.9 ล้านบาท มี บมจ. ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง เป็น ผู้รับจ้าง

ติดปัญหาปรับแบบสถานีอยุธยา สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้วระยะทาง 13.3 กม. มีบมจ. อิตาเลียนไทยเป็นผู้รับจ้าง และติดฟ้องคัดค้านผลประมูล สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า ระยะทาง30.21 กม.ราคากลาง 11,386 ล้านบาท และ สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. มีประเด็นโครงสร้างทับซ้อนกับไฮสปีด 3 สนามบิน

ออกแบบ "ระบบและขบวนรถ" ยังไม่นิ่งคาดเสร็จปี 65

ส่วนสัญญา 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) วงเงิน 50,633.50 ล้านบาท รฟท. เซ็นสัญญากับ บจ.ไชน่า เรลเวย์อินเตอร์เนชั่นแนล และ บจ. ไชน่าเรลเวย์ ดีไซน์ คอร์เปอเรชั่น เมื่อ 28 ต.ค.2563 ขณะนี้ อยู่ในขั้นตอนส่วนที่ 1 คือออกแบบระบบทั้งหมดและขบวน รถไฟ วงเงินประมาณ 700-800 ล้านบาท ซึ่งยังไม่ลงตัว

ยังเหลือส่วนที่ 2 งานติดตั้ง วงเงิน 40,000 ล้านบาท จะเริ่มได้หลังออกแบบเสร็จ และงานโยธามีความคืบหน้าพอที่จะสามารถส่งมอบพื้นที่ คาดว่าจะออก NTP ให้ในปี 2565 และยังมีงานส่วนที่3 งานฝึกอบรม ประมาณ 1,000 ล้านบาท มีการจัดตั้งองค์กร บริหารรถไฟความเร็วสูง คาดออก NTP หลังจากนี้ 1-2 ปี

ส่วนรถไฟไทย-จีน ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. มีจำนวน 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี สถานีหนองคาย มีศูนย์ซ่อมบำรุง (Depot) 2 แห่ง ที่นาทา และเชียงรากน้อย มี ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง (Maintenance Base) 4 แห่ง ที่บ้านมะค่า หนองเม็ก โนนสะอาด และนาทา มีย่านกองเก็บตู้สินค้า (CY) และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้า (Transshipment Yard) 1 แห่งที่นาทา

ปัจจุบันอยู่ระหว่างดำเนินโครงการศึกษาและออกแบบรายละเอียดเพื่อเชื่อมต่อทางรถไฟช่วงหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้เตรียมจัดประชุม คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 29 เพื่อหารือร่วมกับฝ่ายจีนในการดำเนินงานในระยะต่อไป

ขณะที่ฝั่ง สปป.ลาวที่เปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง เชื่อม สปป.ลาว-จีน ใน วันที่ 2 ธันวาคม 2564 ซึ่งฝั่งไทยยังเชื่อมต่อไม่ได้ จึงทำได้แค่เพียง รฟท. ใช้ปรับแผนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งข้ามแดนทางรถไฟ ช่วงหนองคาย-ท่านาแล้ง รองรับปริมาณสินค้าที่จะเพิ่มขึ้นทางราง โดยในปี2564-2565 มีการเพิ่มขบวนรถไฟขนส่งสินค้าจากเดิมวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ) เป็น 10 ขบวนไป-กลับ พ่วงขบวนละ 25 แคร่

และช่วงในปี 2566-2568 จะปรับเพิ่มขบวนรถขนส่งสินค้าเป็นวันละ 16 ขบวน (ไป-กลับ) และตั้งปี 2569 จะเพิ่มขบวนรถเป็น 24 ขบวน (ไป-กลับ) ซึ่งไม่รวมขบวนรถโดยสารระหว่างประเทศที่เดิมปกติมีให้บริการวันละ 4 ขบวน (ไป-กลับ)

ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ปักหมุดเริ่มสร้างปี 65

ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ- อู่ตะเภา) ระยะทาง 220 กม.มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท รฟท. ทำสัญญาสัมปทานให้บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด ก่อสร้างและบริหาร ซึ่งมีความก้าวหน้าต่อเนื่อง โดยจะทยอยส่งมอบพื้นที่ ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 160 กม. และออก NTP เริ่มงานช่วงเดือน มี.ค. 2565

ส่วนช่วงพญาไท-บางซื่อ-ดอนเมือง มีกรอบเวลาส่งมอบพื้นที่ภายในปี 2566 เอกชนมีเวลาก่อสร้าง 5 ปี หรือได้นั่งไม่เกินปี 2571 ใกล้เคียงกับ ไฮสปีดไทย-จีน เรียกว่ามาทีหลัง...แต่ปังกว่า!!! .

ที่มา: นสพ.ผู้จัดการรายวัน 360 องศา ฉบับวันที่ 2 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2021 6:55 pm    Post subject: Reply with quote

งานก่อสร้างสัญญาที่3-5 รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนโคกกรวด (นครราชสีมา)
คลิป👉 https://youtu.be/PFZcTBEBf_k
***สัญญาที่3-5***
งานก่อสร้างคันทางระดับดินและโครงสร้างยกระดับ ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา
ระยะทาง 13.69 กม. (8.51 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีนครราชสีมา
ก่อสร้างโดย:กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด
มูลค่าโครงการ:7,750 บาท
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=128313929605568&id=102531745517120
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2021 1:05 am    Post subject: Reply with quote

“ศักดิ์สยาม” เร่งไฮสปีดเทรน "ไทย-จีน” เฟส 2 เชื่อมลาว ปี 65 ชง ครม.ลุยตอกเข็ม ดันเปิดบริการปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 19:39 น.
ปรับปรุง: วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 19:39 น.


ศักดิ์สยาม ปักธง 2570 “ไฮสปีดเทรน-รถไฟทางคู่” ต้องถึงหนองคาย
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 18:47 น.


“ศักดิ์สยาม” ปักธง 2570 ไฮสปีดเทรน-รถไฟทางคู่ ต้องถึงปลายทางที่หนองคาย

วันที่ 2 ธันวาคม 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ได้ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.), กรมการขนส่งทางราง (ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เดินทางไปที่สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เพื่อหารือและตรวจสอบข้อมูลการเดินรถของรถไฟความเร็วปานกลางช่วงเวียงจันทน์-บ่อเต็น ระยะทาง 414 กม.แล้ว
“ศักดิ์สยาม”เร่งออกแบบรถไฟไทย-จีน เฟส 2 “โคราช-หนองคาย”พร้อมสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ คาดปี 65 เสนอครม.ลุยก่อสร้าง ลั่นเปิดบริการปี 70 ส่วนทางคู่ “ขอนแก่น-หนองคาย"คาดประมูลไตรมาส2/65 เปิดรถไฟ”ลาว-จีนช่วงแรกคน-สินค้ายังไม่มาก

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูง”ลาว-จีน” วันที่ 2 ธันวาคม 2564 นั้น ในส่วนของการเชื่อมต่อกับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มอบหมายนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวงฯ ทั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษา ไปที่สปป.ลาว เพื่อดูข้อมูล ข้อเท็จจริงในการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูง “ลาว-จีน“ ทั้งปริมาณผู้โดยสารและสินค้าต่อวัน เป็นอย่างไร

ทั้งนี้ระบบรถไฟความเร็วสูงของลาว-จีนนั้น เป็นระบบทางเดี่ยว และมีเส้นทาง บ่อเต็น-เวียงจันทน์ ซึ่งยังไม่ถึงชายแดนกับประเทศไทย ซึ่งในการเดินรถระยะแรก ยังมีขบวนรถวิ่งไม่มากนัก ดังนั้นคาดการณ์ว่า ปริมาณสินค้าและผู้โดยสารจะยังคงไม่มาก
สำหรับการพัฒนารถไฟของประเทศไทย เพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟของ ลาว-จีนนั้น มีการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง ส่วน ระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. บริษัทปรึกษา อยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ โดยจะเร่งรัดการดำเนินการ ซึ่งคาดว่าในปี 2565 จะสามารถสรุปรายละเอียดและเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อเริ่มดำเนินการ

นอกจากนี้ยังมีโครงการรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันเส้นทางถึงถึงขอนแก่นแล้ว ส่วนระยะที่ 2 จากขอนแก่น-หนองคาย ระยะทาง 169 กม. ซึ่งเตรียมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณา คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2565 จะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ โดยทั้งโครงการรถไฟทางคู่ จากขอนแก่น-หนองคายและรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย จะสามารถแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2570

ทั้งนี้ ในการเชื่อมต่อกับสปป.ลาว นั้น จะต้องมีการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงใหม่ เพื่อให้รถไฟความเร็วสูง และรถไฟทางคู่ สามารถวิ่งเชื่อมกันได้ เนื่องจากสะพานเดิม ซึ่งปัจจุบันใช้ร่วมทั้งการเดินทางของรถยนต์และรถไฟ และมีโครงสร้างที่ความสามารถรองรับน้ำหนักรถไฟได้ประมาณ 15 ตันต่อตู้เท่านั้น ซึ่งสะพานใหม่ ออกแบบให้รับน้ำหนัก ได้ประมาณ 30 ตันต่อตู้ จึงจะบูรณาการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้อย้างมีประสิทธิภาพสูงสุด

อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน เพื่อรองรับการเปิดเดินรถของลาว-จีน และปริมาณสินค้าที่อาจเพิ่มขึ้น กระทรวงคมนาคมได้มีการวางแผนในการเปลี่ยนขนถ่ายสินค้าทางบกไว้ก่อน ขณะที่ได้สั่งการให้กรมทางหลวง(ทล.) ลงเร่งดูพื้นที่ในการทำสถานีขนถ่ายสินค้าชั่วคราวก่อน จึงไม่น่ามีปัญหาอุปสรรคใดๆ


“เรื่องนี้ต้องพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียด เพราะเบื้องต้น รถไฟทางฝั่งสปป.ลาวยังเป็นทางเดี่ยว หากเป็นทางคู่ เชื่อว่าจะปริมาณสินค้าจะมาก ซึ่งคาดว่าจะต้องเวลาอีกระยะหนึ่งในการทำระบบขนส่งทางรางที่สมบูรณ์ และนายกรัฐมนตรีของไทย ให้นโยบาย การพิจารณาทำให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชขน์ระหว่างประทศให้เหมาะสม สามารถดำเนินการโดยยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย”


Last edited by Wisarut on 03/12/2021 7:21 pm; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 03/12/2021 9:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
“ศักดิ์สยาม” เร่งไฮสปีดเทรน "ไทย-จีน” เฟส 2 เชื่อมลาว ปี 65 ชง ครม.ลุยตอกเข็ม ดันเปิดบริการปี 70
โดย: ผู้จัดการออนไลน์
เผยแพร่: วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 19:39 น.
ปรับปรุง: วันที่ 2 ธันวาคม 2564 เวลา 19:39 น.


เล็งชงครม.ลุยทางคู่ พร้อมต่อขยายไฮสปีดไทย-จีน
วันศุกร์ ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2564 เวลา 06.00 น.


เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม และนายเกออร์กชมิดท์ เอกอัครราชทูตสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนีประจำประเทศไทย ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดงานสัมมนา “High Speed Rail : The ChangingFace of Thai Railways. In theSeries of Railway Technology, Operations and Management” พร้อมการประกาศก่อตั้งสมาคมระบบรางเยอรมนี - ไทย (German – Thai Railway Association : GTRA) อย่างเป็นทางการ

รมว.คมนาคมกล่าวว่า ในปีหน้าทางกระทรวงคมนาคมจะมีการเสนอโครงการรถไฟทางคู่สายขอนแก่น - หนองคาย และโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย - จีน ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติ และจะเร่งรัดประกวดราคาเริ่มก่อสร้างในปี 2566 เพื่อเปิดบริการในปี 2570


ขณะที่การเตรียมความพร้อมของการรองรับโครงการรถไฟลาว-จีน ที่เปิดให้บริการเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2564 นั้น ทางกรมการขนส่งทางราง(ขร.) และสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) พิจารณามาอย่างต่อเนื่อง และส่งคณะทำงานเพื่อดูข้อมูลของการเปิดการเดินรถของรถไฟลาว-จีน ที่เป็นระบบรางเดี่ยว ว่าสามารถดำเนินการรองรับปริมาณการขนสินค้า หรือผู้โดยสารต่อวันในจำนวนเท่าไหร่เพื่อนำมาวางแผนรองรับ


โดยปัจจุบันแผนการขนถ่ายสินค้าของไทยที่กำหนดตามแผนยังมีปริมาณเพียงพอ ขณะที่รถไฟจากฝั่งลาวปัจจุบันยังเป็นช่วงที่มาไม่ถึงชายแดนไทย และมีระบบรางเดี่ยวที่เชื่อมกันอยู่แล้ว ซึ่งปริมาณการขนส่งสินค้าในขณะนี้มีจำนวนไม่มากเท่าไหร่ ไทยจึงได้เร่งรัดโครงการรถไฟความเร็วสูงให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตามแผนอยู่แล้ว ประกอบกับการพัฒนารถไฟทางคู่ที่จะไปสิ้นสุดจังหวัดหนองคาย

พร้อมเชื่อว่าเมื่อเปิดให้บริการจะสามารถรองรับความต้องการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารได้เป็นอย่างดี อย่างไรก็ตามในการเชื่อมต่อโครงข่ายการขนส่งชายแดนลาวคือ การก่อสร้างสะพานที่สามารถรองรับการเชื่อมรถไฟ นอกจากนี้ยังมอบหมายให้กรมการขนส่งทางบกเร่งรัดพัฒนาศูนย์ขนถ่ายสินค้าชั่วคราวที่จังหวัดหนองคายด้วย



สำหรับกรณีการปรับลดบริการรถไฟเข้าสถานีหัวลำโพงนั้นในวันที่ 10 ธ.ค.นี้ การรถไฟฯ จะจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นออนไลน์ ผ่านช่องทางโซเชียลมีเดีย เพื่อรับฟังความคิดเห็นภาคประชาชนและบุคคลที่สนใจแสดงความเห็นเกี่ยวกับการปรับบริการสถานีหัวลำโพงโดยจะเปิดกว้างเปิดรับฟังความคิดเห็น และได้มีการเชิญนายสามารถ ราชพลสิทธิ์ และองค์กรผู้บริโภค เข้าร่วมแสดงความคิดเห็นในเวทีดังกล่าว ซึ่งยืนยันว่าทางการรถไฟฯมีแผนที่จะปรับบริการรถไฟจาก 118 ขบวน เหลือ 22 ขบวนเข้าสถานีหัวลำโพง ในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ โดยจะเปลี่ยนไปให้บริการที่สถานีกลางบางซื่อ แต่อย่างไรก็ดี แผนดังกล่าวยังไม่ใช่ข้อสรุปที่แน่ชัด กระทรวงฯพร้อมที่จะเปิดกว้างให้เอกชนแสดงความคิดเห็นก่อนจะจัดประชุมคณะกรรมการฯเพื่อสรุปประเด็นดังกล่าวอีกครั้ง
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/12/2021 12:49 pm    Post subject: Reply with quote

โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา ประจำเดือน กันยายน 2564
Dec 6, 2021
กิจการร่วมค้า SPTK


https://www.youtube.com/watch?v=FUDhBT3UXpY
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2021 7:22 am    Post subject: Reply with quote

อาชีวะ "จีน-ไทย" จับมือพัฒนาหัวกะทิ สนับสนุนโครงการรถไฟความเร็วสูง
Dec 6, 2021
BRIGHT TV


https://www.youtube.com/watch?v=JFiN2XbaDgQ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2021 2:36 pm    Post subject: Reply with quote


อย่าพึ่งเบื่อกันนะเรื่องรถไฟ อันนี้โครงการที่สถานีรถไฟนาทา (สถานีถัดลงมาจากสถานีหนองคาย 1 สถานี) มีแผนสร้างศูนย์สต๊อกสินค้าใหญ่มาก คล้ายกับสถานีรถไฟแหลมฉบัง ข้อมูลและภาพตามในคลิป เคลียพื้นที่วางรางมาได้สักพักหนึ่งแล้ว ตัวโครงการน่าจะสร้างพร้อมกับสะพานมิตรภาพหนองคายแห่งใหม่ ซึ่งเป็นสะพานรถไฟโดยเฉพาะ เป็นรางแบบ 1.000 m ที่ใช้วิ่งในไทย และราง 1.435 m ของโครงการรถไฟจีน
เมื่อโครงการเสร็จ ทีนี้รถไฟจากจีนก็วิ่งตรงมาหนองคายได้เลยโดยไม่ต้องแวะลาว รถไฟขนส่งสินค้าแบบ Cargo ลงมาจอดสถานีนาทา และรถไฟรับส่งคนแบบ Passenger จอดสถานีหนองคาย คนจีนอยากมา Bangkok ลงหนองคาย ตอกพาสปอร์ตและเปลี่ยนมาขึ้นรถไทย
ปล. หนองคายนี่แหละ Hub ตัวจริง ลาวทางผ่าน
https://www.facebook.com/groups/2072238029680391/posts/3104660456438138/
https://www.youtube.com/watch?v=H90oYx2oQx8
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/12/2021 3:40 pm    Post subject: Reply with quote

[อัพเดทล่าสุด] สัญญา4-7 รถไฟความสูงไทย-จีน ตอน ต.ตลิ่งชัน-แก่งคอย (สระบุรี) ประจำเดือน ธันวาคม 64
Dec 7, 2021
nanny official

***สัญญาที่4-7 รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เนื้องาน โครงสร้างยกระดับ ช่วงสระบุรี - แก่งคอย
ระยะทาง 12.99 กม. (8.07 ไมล์)
รวมงานก่อสร้างสถานีสระบุรี และปรับปรุงสถานีรถไฟแก่งคอย มูลค่าโครงการ 8,560 ล้านบาท บจ. ก่อสร้างโดย บริษัท ซีวิลเอ็นจิเนียริง ความก้าวหน้า 4.84%


https://www.youtube.com/watch?v=PQbvTEo-KMM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44615
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/12/2021 6:44 am    Post subject: Reply with quote

คอลัมน์ กระจกไร้เงา: เช็กสถานะรถไฟเชื่อมเพื่อนบ้าน
Source - ไทยโพสต์
Wednesday, December 08, 2021 04:04
กัลยา ยืนยง

กลายเป็นประเด็นถกเถียงเป็นวงกว้างหลังจากเส้นทางรถไฟสายสาธารณรัฐประชาชนจีน และสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว หรือ The China-Laos Railway ช่วงบ่อเต็น-นครเวียงจันทน์ เที่ยวปฐมฤกษ์ เมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยโครงการลงทุนรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน เป็นการร่วมทุนระหว่างรัฐบาลลาวและจีน มูลค่าการลงทุนประมาณ 6,000-6,800 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยฝ่ายจีนถือหุ้น 70% และรัฐบาลลาว 30% แน่นอนว่าหลายฝ่ายมีความกังวลว่าไทยจะเสียโอกาสในครั้งนี้

อย่างไรก็ตาม เรื่องนี้ได้รับการยืนยันจากกระทรวงคมนาคม โดยศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ให้ข้อมูลว่าในส่วนของการเชื่อมต่อกับประเทศไทยนั้น รัฐบาลได้มอบหมายนโยบายให้กระทรวงคมนาคมพิจารณาไว้แล้ว ซึ่งขณะนี้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของกระทรวง ทั้งกรมการขนส่งทางราง (ขร.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้ส่งเจ้าหน้าที่และที่ปรึกษาไปที่ สปป.ลาว เพื่อดูข้อมูล ข้อเท็จจริงในการเปิดเดินรถไฟความเร็วสูงลาว-จีน ทั้งปริมาณผู้โดยสารและสินค้าต่อวันเป็นอย่างไร

สำหรับการพัฒนารถไฟของประเทศไทยเพื่อเชื่อมต่อกับรถไฟของลาว-จีนนั้น มีการดำเนินโครงการ
    รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงินลงทุน 179,413 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างก่อสร้าง
    ส่วนระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 356.10 กม. บริษัทปรึกษาอยู่ระหว่างการสำรวจออกแบบ โดยจะเร่งรัดการดำเนินการ คาดว่าในปี 2565 จะสามารถสรุปรายละเอียดและเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อเริ่มดำเนินการ


ขณะที่โครงการรถไฟทางคู่สายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งปัจจุบันเส้นทางถึงขอนแก่นแล้ว ส่วนระยะที่ 2 จากขอนแก่นหนองคาย ระยะทาง 169 กม. ซึ่งเตรียมจะเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา คาดว่าไม่เกินไตรมาส 2 ปี 2565 จะดำเนินการจัดหาผู้รับจ้างก่อสร้างได้ โดยทั้งโครงการรถไฟทางคู่จากขอนแก่น-หนองคาย และรถไฟความเร็วสูงระยะที่ 2 จากนครราชสีมา-หนองคาย จะสามารถแล้วเสร็จและเปิดให้บริการได้ในปี 2570

สำหรับการเตรียมความพร้อมสำหรับแนวทางการเชื่อมโยงรถไฟไทย-ลาว-จีน เพื่อรองรับการขนส่งระหว่างประเทศ เช่น การก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งใหม่ โดยจะแยกเป็นสะพานเฉพาะสำหรับการเดินรถไฟเท่านั้น รวมทั้งการจัดเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกรองรับปริมาณการขนส่งที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอนาคต, การบริหารจัดการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพาน เป็นการบริหารจัดการการใช้ทางรถไฟและการใช้สะพานเดิม (ระหว่างรอการก่อสร้างสะพานแห่งใหม่) ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการพิจารณาหาข้อสรุปร่วมกันระหว่าง 3 ประเทศ

และการพัฒนาพื้นที่ศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าทางรถไฟ ระยะเร่งด่วนและระยะยาว การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) อยู่ระหว่างการพิจารณาพัฒนาพื้นที่รองรับโครงการรถไฟความเร็วสูงและรถไฟทางคู่ และเตรียมพื้นที่และสิ่งอำนวยความสะดวกให้สามารถรองรับการแลกเปลี่ยนสินค้าจากรถไฟที่เข้ามาจากจีนและลาว และส่งออกไปยังลาวและจีน

โดยตั้งอยู่ในพื้นที่ด้านหลังของลานขนถ่ายสินค้า สำหรับกองเก็บตู้สินค้าประเภทต่างๆ รวมถึงอาคารสำนักงาน, คลังสินค้า และอาคารประกอบอื่นๆ ของหน่วยงานที่เกี่ยวกับการนำเข้า-ส่งออก รวมถึงศูนย์การเอกซเรย์ตู้สินค้า เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้มาใช้บริการแบบ One-Stop Service โดยจะพัฒนาศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้า

ปัจจุบัน รฟท.อยู่ระหว่างของบประมาณเพื่อดำเนินการศึกษาและวิเคราะห์การให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้าและย่านกองเก็บตู้สินค้าเพื่อรองรับการขนส่งทางราง จังหวัดหนองคาย ตามมาตรา 22 แห่งพระราชบัญญัติการร่วมลงทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ.2562 คาดว่าจะสามารถคัดเลือกเอกชนผู้เข้าร่วมลงทุนแล้วเสร็จประมาณ 2 ปี

จะเห็นได้ว่าที่ผ่านมาไทยเราได้เดินหน้าโครงการมาโดยตลอด ซึ่งเรื่องนี้กระทรวงคมนาคมมีการสั่งการให้หน่วยงานพิจารณาข้อมูลอย่างละเอียดรอบคอบ เพราะเบื้องต้นรถไฟทางฝั่ง สปป.ลาวยังเป็นทางเดี่ยว หากเป็นทางคู่เชื่อว่าปริมาณสินค้าจะมาก ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งในการทำระบบขนส่งทางรางที่สมบูรณ์ และพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย ให้นโยบายการพิจารณาทำให้เกิดการแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างประทศให้เหมาะสม สามารถดำเนินการโดยยึดประโยชน์สูงสุดของประเทศไทย.

ที่มา: นสพ.ไทยโพสต์ ฉบับวันที่ 8 ธ.ค. 2564
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 427, 428, 429 ... 547, 548, 549  Next
Page 428 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©