Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264150
ทั้งหมด:13575433
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 431, 432, 433 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 03/01/2022 8:04 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูง จากสะพานวงแหวนรอบนอก ถึง สถานีรถไฟกุดจิก แนวระดับดิน
Jan 3, 2022
ตะลอนไปทั่ว

รถไฟความเร็วสูง จากสะพานวงแหวนรอบนอก ถึง สถานีรถไฟกุดจิก แนวระดับดิน จะไม่มีการยกระดับทางรถไฟความเร็วสูง ที่สถานีรถไฟบ้านกุดจิกจะต้องทำการรื้อถอนสถานีรถไฟ เพราะไปกีดขวางทางรถไฟความเร็วสูง


https://www.youtube.com/watch?v=Ks6GZI3mcsM
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/01/2022 8:06 am    Post subject: Reply with quote

แผนลงทุน'คมนาคม'1.4ล้านล้าน ความหวังขับเคลื่อนเศรษฐกิจปี65
Source - กรุงเทพธุรกิจ
Tuesday, January 04, 2022 04:21
วรรณิกา จิตตินรากร

กรุงเทพธุรกิจ

ท่ามกลางการแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 นอกจากเป็นผลกระทบโดยตรงต่อการ ดำรงชีวิต แล้วผลกระทบด้านเศรษฐกิจ ก็หนีไม่พ้น เพราะหลายอุตสาหกรรมต้องหยุดชะงัก เครื่องจักรที่ยังพอเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจอย่างงานประมูลภาครัฐ โดยเฉพาะ โครงการโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ จึงเป็นความหวังว่า จะเป็นแรงส่งทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศในปีนี้

กระทรวงคมนาคมประกาศทิ้งท้าย เมื่อปี 2564 ว่าจะก้าวเข้าสู่ปี 2565 ด้วยการสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และยืนหยัดเป็น หัวหอกกระตุ้นเศรษฐกิจ ผ่านแผนการลงทุน ตามแผนที่กำหนดไว้ 37 โครงการ เม็ดเงิน รวมกว่า 1.4 ล้านล้านบาท มีโครงการ ลงทุนใหม่ถึง 24 โครงการ วงเงินกว่า 9.74 แสนล้านบาท

ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงรายละเอียด ของแผนลงทุนในปี 2565 โดยระบุว่า ในปี 2565 กระทรวงฯ จะสานต่อนโยบายเดิมที่ต้อง ดำเนินการต่อเนื่อง พร้อมผลักดันโครงการ ลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจทั้งหมด 37 โครงการ วงเงินลงทุน 1.4 ล้านล้านบาท แบ่งเป็น โครงการลงทุนต่อเนื่อง 13 โครงการ วงเงิน 5.16 แสนล้านบาท และโครงการ ลงทุนใหม่ 24 โครงการ วงเงิน 9.74 แสนล้านบาท

ในส่วนของโครงการลงทุนใหม่ที่ กระทรวงฯ จะผลักดันให้เข้าสู่กระบวนการประกวดราคาเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในปี 2565 แบ่งเป็นโครงการทางถนน 12 โครงการ วงเงิน 2.81 แสนล้านบาท อาทิ 1.โครงการมอเตอร์เวย์ M9 วงแหวนตะวันตก ช่วงบางขุนเทียน-บางบัวทอง วงเงิน 5.60 หมื่นล้านบาท 2.โครงการมอเตอร์เวย์ M5 ส่วนต่อขยายทางยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน วงเงิน 2.78 หมื่นล้านบาท

3.โครงข่ายเชื่อมต่อ M6 สายบางปะอินนครราชสีมา กับ ทล.32 วงเงิน 4.7 พันล้านบาท 4.โครงการมอเตอร์เวย์ M7 ทางยกระดับ ช่วงศรีนครินทร์-สุวรรณภูมิ วงเงิน 2.95 หมื่นล้านบาท 5.โครงการมอเตอร์เวย์ M8 สายนครปฐม-ชะอำ ช่วงนครปฐม-ปากท่อ วงเงิน 5.17 หมื่นล้านบาท และ 6.โครงการทางพิเศษ ขั้นที่ 3 สายเหนือ N1 และ N2 วงเงิน 3.78 หมื่นล้านบาท

ขณะที่โครงการทางบก มีจำนวน 1 โครงการคือโครงการศูนย์การขนส่งชายแดนจังหวัดนครพนม วงเงิน 1.36 พันล้านบาท ส่วนโครงการทางราง 5 โครงการ วงเงิน 6.24 แสนล้านบาท ได้แก่ 1.โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทางเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ วงเงิน 8.53 หมื่นล้านบาท 2.โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ เส้นทาง บ้านไผ่-นครพนม วงเงิน 6.79 หมื่นล้านบาท

3.โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรมฯ-บางขุนนนท์ วงเงิน 1.22 แสนล้านบาท 4.โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้ ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ วงเงิน 1.24 แสนล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 2.24 แสนล้านบาท

ส่วนโครงการทางน้ำ 2 โครงการ วงเงิน 7.56 พันล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการแนวป้องกันการกัดเซาะตลิ่ง วงเงิน 6.11 พันล้าน บาท และ 2.โครงการพื้นฟูชายหาด วงเงิน 1.44 พันล้านบาท และโครงการทางอากาศ 4 โครงการ วงเงิน 5.94 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการพัฒนาท่าอากาศยานเชียงใหม่ ระยะที่ 1 วงเงิน 1.58 หมื่นล้านบาท 2.โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง ระยะที่ 3 วงเงิน 3.68 หมื่นล้านบาท 3.ท่าอากาศยานชุมพร วงเงิน 3.25 พันล้านบาท และ 4.ท่าอากาศยานระนอง 3.55 พันล้านบาท

นอกจากนี้ โครงการลงทุนต่อเนื่อง 13 โครงการ วงเงิน 5.16 แสนล้านบาทที่จะเกิดการผลักดันต่อในปี 2565 อาทิ มอเตอร์เวย์ M82 สายบางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ช่วงมหาชัย-บ้านแพ้ว วงเงิน 3.22 หมื่นล้านบาท, โครงการศูนย์เปลี่ยนถ่ายรูปแบบการขนส่งสินค้าเชียงของ จ.เชียงราย วงเงิน 2.86 พันล้านบาท, โครงการรถไฟทางคู่ 3 เส้นทาง รวมไปถึงโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย - จีน เส้นทาง กรุงเทพฯนครราชสีมา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท

อีกทั้งในปี 2565 กระทรวงฯ จะเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) พิจารณาอนุมัติ ส่วนต่อขยาย ระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา - หนองคาย ระยะทาง 356 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมต่อ กับโครงข่ายทางรางของ สปป.ลาว - จีน โดยขณะนี้ออกแบบแล้วเสร็จอยู่ระหว่างการจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบ สิ่งแวดล้อม (EIA) คาดว่าจะเสนอ ครม.ได้ในปี 2565 เปิดใช้บริการได้ในปี 2571

รวมถึงจะมีการผลักดันรถไฟไทยจีน ระยะที่ 3 ช่วงหนองคาย-เวียงจันทร์ ระยะทาง 16 กิโลเมตร เพื่อเชื่อมการขนส่งสินค้าระหว่างไทย - สปป.ลาว - จีน ในอนาคต โดยที่ผ่านมาได้มีการหารือสามฝ่ายระหว่าง ไทยลาว-จีน ระดับอธิบดีเพื่อหารือในประเด็น แนวทางการเชื่อมโยงโครงการรถไฟ ไทย - จีน กับโครงการรถไฟ ลาว - จีน เพื่อขับเคลื่อน เป้าหมายการพัฒนาการขนส่งทางราง ที่ยั่งยืน และผลักดันไทยเป็นศูนย์กลางการขนส่งของภูมิภาคอาเซียน

จากแผนการลงทุนต่างๆตามแผนที่กำหนดขึ้น หากขั้นตอนการทำงานเป็นไปตาม ที่กำหนดไว้เม็ดเงินลงทุนเกือบล้าน ล้านบาท นี้จะช่วยสร้างงานและสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจให้ประเทศไทยได้ แต่ในทาง กลับกันหากขั้นตอนการทำงานไม่เป็นไปตามแผนด้วยเหตุผลต่างๆความหวังว่าเงินที่จะเข้าสู่ระบบก้อนนี้อาจเป็นแค่ความหวัง "ลมๆ แล้งๆ"ก็เป็นได้

'รฟท.'วางฐานโลจิสติกส์ภูมิภาค

ไตรศุลี ไตรสรณกุล รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อ วันที่ 28 ธ.ค.2564 ได้รับทราบ ความก้าวหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพฯ- หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ- นครราชสีมา จำนวน 14 สัญญา

ขณะนี้เหลือดำเนินการจัดซื้อ จัดจ้างเพียง 3 สัญญา อีกทั้ง ครม.ได้เร่งรัดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินโครงการรถไฟ ความเร็วสูงระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมาหนองคาย ที่มีระยะทางรวม 356.01 กิโลเมตร ประกอบด้วย 5 สถานี ได้แก่ สถานีบัวใหญ่ สถานีบ้านไผ่ สถานีขอนแก่น สถานีอุดรธานี และสถานีหนองคาย ซึ่ง ครม.มีมติเมื่อ วันที่ 16 พ.ย.2564 ให้ ร.ฟ.ท.เร่งรัดดำเนินโครงการก่อสร้างให้แล้วเสร็จโดยเร็ว โดยให้ถือเป็นนโยบายที่ต้องขับเคลื่อนให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

อย่างไรก็ดี เป้าหมายของการเร่งรัดพัฒนาส่วนต่อขยายโครงการดังกล่าว เพื่อเตรียมพัฒนาเป็น เส้นทางยุทธศาสตร์เชื่อมต่อการค้า การลงทุนกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และจีน โดยจะมีศูนย์ซ่อมบำรุงเบาและหนัก ศูนย์ซ่อมบำรุงทาง ย่านกองเก็บตู้สินค้า และย่านเปลี่ยนถ่ายสินค้าด้วย ซึ่งทราบว่า ขณะนี้บริษัทที่ปรึกษาได้ออกแบบ รายละเอียดงานโยธาและศึกษาผลกระทบ สิ่งแวดล้อมแล้วเสร็จ


ที่มา: นสพ.กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันที่ 4 ม.ค. 2565



ขั้นตอนการสร้างทางรถไฟความเร็วสูง ขุดเจาะ-วางฐานราก-วางตอม้อ-งานSegment
Jan 4, 2022
ตะลอนไปทั่ว


https://www.youtube.com/watch?v=4Ui8HsX_dH8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2022 10:41 pm    Post subject: Reply with quote

🚄 ลุยก่อสร้างเฟสแรก “ไฮสปีดอีซีซี” 170 กม. “สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา”
ชีวิตติดรถไฟฟ้า
วันอังคาร ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 18.00 น.

หลังจากที่การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ส่งมอบพื้นที่และการรื้อย้ายสาธารณูปโภคเพื่อก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) เฟสแรกช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร จากระยะทางทั้งหมด 220 กิโลเมตร ให้กับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด หรือบริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด ในเครือซีพี ผู้รับสัมปทาน 50 ปี ก่อสร้างและบริหารโครงการฯ วงเงิน 224,544 ล้านบาท ตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 64 และคาดว่า ในช่วงต้นปี 65 เอกชนรายดังกล่าวจะเข้าพื้นที่เริ่มดำเนินโครงการได้
.
ซึ่งขณะนี้ อยู่ในระหว่างขั้นตอนตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลการรื้อย้ายทรัพย์สิน รฟท. และการส่งมอบพื้นที่พร้อมส่งมอบฯ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินระหว่าง รฟท. กับเอกชนคู่สัญญา ส่วนการเวนคืนที่ดินและอสังหาริมทรัพย์ การโยกย้ายผู้บุกรุก และงานรื้อย้ายสาธารณูปโภค หน่วยงามที่เกี่ยวข้องสามารถดำเนินได้ตามแผนที่กำหนดไว้
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/01/2022 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

โคราชวุ่นไม่จบ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงผ่านเมือง ผวจ.ลงพื้นที่ได้ข้อสรุป ชาวบ้านไม่เอาคันดินขอตอม่อยกผ่าน
สยามรัฐออนไลน์ 5 มกราคม 2565 17:22 น. ภูมิภาค

Click on the image for full size

โคราชวุ่นไม่จบ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงผ่านเมือง ผวจ.ลงพื้นที่ได้ข้อสรุป ชาว บ้านไม่เอาคันดินขอตอม่อยกผ่าน อ้างผลกระทบอนาคต เตรียมชงให้ ครม.พิจารณา

Click on the image for full size

เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 5 มกราคม ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านภูเขาลาด ต.บ้านใหม่ อ.เมือง นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผวจ.นครราชสีมา พร้อมนายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รอง ผวจ.นครราชสีมา จัดการประชุมรับฟังปัญหาและผลกระทบจากการก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพมหานคร-หนองคาย ระยะที่ 1 กรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 251.9 กม. งานสัญญาที่ 3-5 งานโยธา ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา โดยมีนายวัชรพล โตมรศักดิ์ เลขาธิการพรรคชาติพัฒนา (ชพน.) ในฐานะ ส.ส เขต 2 เจ้าของพื้นที่ นายประพจน์ ธรรมประทีป สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด (ส.อบจ.) นครราชสีมา อ.เมือง เขต 4 นางมะลิวัลย์ บางนิ่มน้อย นายกเทศมนตรีตำบล (ทต.) บ้านใหม่ ผู้นำชุมชนและตัวแทนชาวบ้านกว่า 50 คน ร่วมรับฟังผู้แทนบริษัท กิจการร่วมค้า เอสพีทีเค จำกัด ในฐานะเป็นผู้รับจ้างดำเนินงานก่อสร้างและเจ้าหน้าที่การรถไฟแห่งประเทศไทย รฟท. ร่วมนำเสนอการดำเนินโครงการขอบเขตงาน 1.งานโครงสร้างทางรถไฟ ระยะทางรวม 12.52 กม. คันทางระดับดิน 7.85 กม. ทางยกระดับ 4.853 กม. 2.งานสถานีนครราชสีมา 3.งานอาคารและสิ่งปลูกสร้างรองรับงานระบบไฟฟ้า 4.งานรื้อย้ายต่างๆ รวมมูลค่า 7,750 ล้านบาท ระยะเวลาก่อสร้าง 1,080 วัน เริ่มงานวันที่ 26 มกราคม 2564 สิ้นสุดวันที่ 10 มกราคม 2567

Click on the image for full size

ทั้งนี้ผู้แทน รฟท.ได้ชี้แจงประโยชน์ของโครงการสามารถกระจายความเจริญสู่ภูมิภาค ยกระดับชีวิตในการเดินทางได้รับความสะดวก รวดเร็ว ประหยัดปลอดภัยยิ่งขึ้น ลดปริมาณการจราจรบนถนนสายหลัก ประหยัดพลังงานเชื้อเพลิงสามารถเพิ่มทางเลือกการเดินทางสู่ภาคอีสานและเชื่อมต่อ สปป.ลาว และจีนในอนาคต ส่วนสถานะของจุดตัดข้ามทางรถไฟได้ปรับปรุงรูปแบบดังนี้ 1.หมู่บ้านกรุงไทย 2 เป็นสะพานเกือกม้าสูง 10 เมตร ความยาว 1 กิโลเมตร 2.สถานีภูเขาลาด ทางลอดกว้าง 10 เมตร สูง 2.50 เมตร 3.หมู่บ้านบุรีสีมา ทางลอดกว้าง 10 เมตร สูง 3 เมตร และ 4.เสมาเพลส-มุขมนตรีซอย 23 ทางลอดกว้าง 25 เมตร สูง 4.5 เมตร รวมทั้งข้อมูลเชิงวิศวกรรม จากนั้นเปิดโอกาสให้แสดงความคิดเห็นและความต้องการของชาวบ้านในฐานะมีส่วนได้ส่วนเสีย

Click on the image for full size

โดยในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา ชาว ต.บ้านใหม่ ได้นัดรวมตัวเคลื่อนไหวแสดงจุดยืน “ต้องการยกระดับเป็นตอม่อไม่ใช่คันดิน” ได้เดินทางไปยื่นข้อเรียกร้องทั้งพลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม พลเอกยอดยุทธ บุญญาธิการ ประธานคณะกรรมาธิการคมนาคม วุฒิสภา นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ฯลฯ ขอให้พิจารณาทบทวนปรับรูปแบบการก่อสร้าง ผู้นำชุมชนยกตัวอย่างปัญหาความเดือดร้อนและร้องขอให้ปรับรูปแบบแต่ไม่ได้รับคำตอบที่ชัดเจน อ้างอำนาจการตัดสินใจอยู่ที่รัฐบาลในฐานะเจ้าของโครงการ ทำให้ชาว ต.บ้านใหม่ ไม่ยอมรับรูปแบบที่นำเสนอส่งผลให้กิจกรรมการมีส่วนร่วมเมื่อวันที่ 22 ธ.ค 64 ไม่ราบรื่นเท่าที่ควรและมีการปะทะคารมระหว่างผู้แทน รฟท. กับชาวบ้าน จึงไม่ได้ข้อสรุป

Click on the image for full size

นายประพจน์ ส.อบจ.นครราชสีมา ในฐานะตัวแทน ชาว ต.บ้านใหม่ เปิดเผยว่า กายภาพของ ต.บ้านใหม่ เป็นชุมชนชานเมืองขนาดใหญ่มี 12 หมู่บ้าน ประชากรกว่า 3 หมื่นคน โครงการบ้านจัดสรรจำนวน 15 แห่ง สถานศึกษา 9 แห่ง และที่ตั้งหน่วยงานราชการ รูปแบบเดิมช่วงเส้นทางผ่าน ต.บ้านใหม่ เป็นคันทางระดับดิน 7.85 กม. ก่อนจะยกระดับเข้าสู่สถานีรถไฟนครราชสีมา ซึ่งคันดินสูงประมาณ 2 เมตร เปรียบเสมือนกำแพงกั้นไม่ตอบโจทย์ความสะดวก ความปลอดภัย เสมือนการแบ่งแยกชาวบ้านที่อยู่สองข้างทางรถไฟออกจากกันส่งผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน

นายวิเชียร ผวจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ข้อสรุปชาวบ้านไม่เอาคันดินต้องการตอม่อ ที่ผ่านมา รฟท. ได้พยายามปรับรูปแบบหลายครั้ง เหตุผลสำคัญของคันดินจะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตในอนาคตทั้งปัญหาน้ำท่วม การแบ่งแยกชุมชนและทัศนียภาพไม่สวยงาม ฯ จึงเป็นเหตุผลที่ต้องจัดกิจกรรมเพื่อรวบรวมปัญหา ผลกระทบและความต้องการของชาวบ้านนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาด่วน

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 05/01/2022 10:05 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โคราชวุ่นไม่จบ ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงช่วงผ่านเมือง ผวจ.ลงพื้นที่ได้ข้อสรุป ชาวบ้านไม่เอาคันดินขอตอม่อยกผ่าน
ภูมิภาค
สยามรัฐออนไลน์
วันพุธ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 17:22 น.


พ่อเมืองโคราช-ตัวแทนชาวบ้าน 2 ตำบล จ่อบุกไล่บี้'ศักดิ์สยาม'ปมรถไฟรางคู่เจ้าปัญหา
วันพุธ ที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 15.39 น.



โคราชรถไฟรางคู่เจ้าปัญหาจบไม่ลง พ่อเมืองและตัวแทนชาวบ้าน 2 ตำบล จ่อบุกไล่บี้ “ศักดิ์สยาม” เจ้า ก.คมนาคมสัปดาห์หน้า จี้เสนอสร้างทางรถไฟความเร็วสูงผ่านเมืองแบบตอม่อยกระดับ แทนแบบคันดิน หวั่นเป็นเมืองอกแตก เกิดปัญหาน้ำท่วม การจราจร

วันที่ 5 มกราคม 2565 ที่หอประชุมโรงเรียนบ้านภูเขาลาด ม.5 ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.นครราชสีมา นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา และ นายวัชรพล โตมรศักดิ์ สส.นครราชสีมา พรรชาติพัฒนา ร่วมกันประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา ร่วมกับนายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบ้านใหม่ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลโคกกรวด ผู้นำชุม ประชาชน และบริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เพื่อหาข้อสรุปถึงการปรับแบบแปลนการก่อสร้างทางรถไฟไม่ให้เกิดผลกระทบต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกกรวดและตำบลบ้านใหม่ ที่ต้องการให้มีการสร้างทางรถไฟในรูปแบบตอม่อยกระดับแทนการสร้างแบบคันดิน




นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า จากการประชุมร่วมกันกับทุกฝ่ายในวันนี้ ชาวบ้าน ทั้งชาว ต.บ้านใหม่ และต.โคกกรวด ได้แสดงจุดยืน ต้องการให้สร้างทางรถไฟในรูปแบบยกระดับเป็นตอม่อไม่ใช่คันดิน ที่ผ่านมาได้มีการเสนอไปยังการรถไฟแห่งประเทศไทยแล้วเกี่ยวกับปัญหาความต้องการของชาวบ้านในพื้นที่ในส่วนตรงนี้ ซึ่งหากมีการดำเนินการก่อสร้างในรูปแบบของคันดินจะก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม ปัญหาด้านการจราจร ปัญหาเรื่องมลภาวะ และปัญหาเรื่องการแบ่งแยกภูมิทัศน์เมืองอีกด้วย ประชาชนในพื้นที่ทุกคนยืนยันต้องการให้สร้างในรูปแบบยกระดับตอม่อตั้งแต่สถานีตำบลโคกกรวดจนถึงสถานีนครราชสีมา รวมระยะทาง 7.5 กม.เมตร ข้อเสนอของชาวบ้านถือว่ามีเหตุมีผล ซึ่งทางการรถไฟแห่งประเทศไทยควรนำไปพิจารณา สำหรับค่าใช้จ่าย งบประมาณในการก่อสร้างนั้นน่าจะพอพอกันกับรูปแบบเดิมที่ต้องดำเนินการสร้างเกือกม้าสะพานบก และทางลอดกลับรถ หากการรถไฟแห่งประเทศไทยไม่พิจารณาไม่มีการปรับแบบแปลน จะส่งผลกระทบต่อวิถีชีวิตของพี่น้องใน 2 ตำบล นี้

ADVERTISEMENT


ซึ่งมีประชาชนอาศัยหนาแน่น เป็นชุมชน มีประชาชนอาศัย กว่า 40,000 คน เพราะฉะนั้นการสร้างทางรถไฟแบบคันดิน กั้นระหว่าง 2 ชุมชน นี้จึงไม่มีความเหมาะสม ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว อย่างไรก็ตาม ในสัปดาห์หน้าทางตนเองในฐานะผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย ตัวแทนชาวบ้าน ผู้นำชุมชน จะเดินทางไปยื่นหนังสือ ข้อเสนอของชาวบ้าน ที่กระทรวงคมนาคมและการรถไฟแห่งประเทศไทยเพื่อให้มีการพิจารณาเรื่องนี้แก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน โดยเร็ว นายวิเชียร กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/01/2022 6:15 am    Post subject: Reply with quote

สร้าง5ปีไฮสปีดไทย-จีนผลงาน3.53%
Source - เดลินิวส์
Thursday, January 06, 2022 04:46

รับเหมา 10 สัญญาเหนื่อยรอเข้าพื้นที่ ก.ม.เวนคืนไม่คลอดเปิดไม่ทันปี 69

รายงานข่าวแจ้งว่า ขณะนี้ภาพรวมการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ (เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กิโลเมตร(กม.) 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท คืบหน้า 3.53% ล่าช้ากว่าแผน 1.36%

แล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.

อยู่ระหว่างก่อสร้าง 10 สัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11 กม. คืบหน้า 79.28% ล่าช้า 20.72%,
สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง 12.2 กม. คืบหน้า 0.29% ล่าช้า 5.51%,
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง 21.6 กม. คืบหน้า 1.48% ล่าช้า 11%,
สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด 37.4 กม. คืบหน้า 14.38% เร็วกว่าแผน 4.25%,
สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.3 กม. คืบหน้า 2.01% ล่าช้า 8.5%, สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ก่อสร้างเดือน ม.ค. 65,
สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. คืบหน้า 0.36% ล่าช้า 2.84%,
สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย และสัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. เตรียมพื้นที่ก่อสร้าง ขณะที่
สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย 12.9 กม. คืบหน้า 9% เร็ว 1.05%

ส่วนที่เหลืออีก 3 สัญญา ยังรอลงนามสัญญา ประกอบด้วย
สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศกบันไดม้า 30.2 กม. ยังรอการพิจารณาของศาลปกครอง,
สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง 15.2 กม. อยู่ระหว่างกำหนดวงเงินก่อสร้างช่วงทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) และ
สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ติดปัญหาเรื่องสถานีอยุธยาต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

รายงานข่าวแจ้งอีกว่า แม้ขณะนี้ 10 สัญญาจะอยู่ระหว่างก่อสร้าง แต่มีหลายสัญญาที่ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ทั้งหมด เข้าได้บางส่วนเฉพาะพื้นที่ของ รฟท. เท่านั้น เพราะปัจจุบันพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ยังไม่ประกาศ ทำให้ผู้รับจ้างต้องรอพื้นที่ก่อสร้าง ซึ่งไม่ใช่แค่รอพื้นที่เอกชน ยังรวมถึงพื้นที่รัฐที่ประชาชนเช่าอาศัยอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย อาทิ พื้นที่กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้ จำเป็นต้องรอให้ พ.ร.ฎ. กำหนดเขตที่ดินฯ ประกาศก่อนเช่นกัน เพราะต้องเยียวยาประชาชนตามกฎหมายด้วย เมื่อ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ไม่ออกมา โครงการยิ่งล่าช้าออกไป

รายงานข่าวแจ้งด้วยว่า รฟท. เริ่มลงนามสัญญาโครงการรถไฟไฮสปีดฯ กับผู้ชนะประมูล ตั้งแต่เดือน พ.ย.63 ผ่านมากว่า 1 ปีแล้ว แต่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ดังนั้นการก่อสร้าง และการเปิดบริการรถไฟไฮสปีดฯ เฟสที่ 1 ไม่ทันตามแผนที่จะเปิดบริการปลายปี 69 แน่นอน หัวใจของงานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดฯ คือ สถานี เพราะเป็นงานแนวดิ่งที่ไม่สามารถเร่งงานได้ ต้องทำด้านล่างให้เสร็จก่อน จึงจะทำงานด้านบนต่อได้ ไม่เหมือนงานทางวิ่งที่สามารถเพิ่มเครื่องจักร และอุปกรณ์ เพื่อเร่งงานได้ อีกทั้งงานสถานี ยังมีองค์ประกอบอื่นด้วย อาทิ งานสถาปัตยกรรม งานติดตั้ง และทดสอบระบบ ทั้งนี้สถานีที่มีปัญหาคือ สถานีปากช่อง ติดปัญหา พ.ร.ฎ. และสถานีอยุธยา ติดปัญหา HIA

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานเริ่มงานก่อสร้างโครงการสัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง- ปางอโศก 3.5 กม. ที่ให้กรมทางหลวง (ทล.) ก่อสร้างคันทางเมื่อ วันที่ 21 ธ.ค. ปี 60 ก้าวสู่ปีที่ 5 ได้ผลงานก่อสร้างเพียง 3.53%.

ที่มา: นสพ.เดลินิวส์ ฉบับวันที่ 6 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/01/2022 8:34 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
สร้าง5ปีไฮสปีดไทย-จีนผลงาน3.53%
Source - เดลินิวส์
Thursday, January 06, 2022 04:46


ลิงก์มาแล้ว
ก้าวสู่ปีที่ 5 สร้างรถไฟไฮสปีดไทย-จีนผลงาน 3.53%
*ผู้รับเหมา10สัญญาเหนื่อยมากรอเข้าพื้นที่เต็มขั้น
*พ.ร.ฎ.เวนคืนไม่คลอดปลายปี69เสร็จไม่ทันชัวร์
*สถานี “ปากช่อง-อยุธยา” หัวใจสำคัญยังติดปม
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3084404585114372

5 ปี รถไฟไทย-จีน3.5% ไฮสปีดสายแรก…สโลว์ลี่!!
11 มกราคม 2565 เวลา 8:00 น.
https://www.dailynews.co.th/articles/650775/
5 ปี รถไฟไฮสปีด กับผลงานก่อสร้าง3.53% ความหวังของคนไทยที่จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงสายแรกยังอีกยาวไกลเเละดูเหมือนจะยังสโลว์ไลฟ์ไปเรื่อยๆ


Last edited by Wisarut on 12/01/2022 3:01 am; edited 2 times in total
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 07/01/2022 11:49 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงที่ ซับม่วง จันทึก เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว
Jan 7, 2022
ตะลอนไปทั่ว


https://www.youtube.com/watch?v=79lXavSrNL8

รถไฟความเร็วสูงที่ ซับม่วง จันทึก เริ่มดำเนินการก่อสร้างแล้ว ตามโครงการสัญญา ที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง รวมระยะทาง 26.10 กิโลเมตร รวมถึงการก่อสร้างตัวสถานีรถไฟความเร็วสูงปากช่องด้วย



ผู้ว่าโคราช ลงพื้นที่ ต.บ้านใหม่ ฟังความคิดเห็นการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง
Jan 7, 2022
KCTV Online Channel

ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วย บริษัทที่ปรึกษาโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงรับฟังความคิดเห็นการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงของการรถไฟแห่งประเทศไทย ช่วงสถานีโคกรวด-สถานีนครราชสีมา


https://www.youtube.com/watch?v=_iBw4xlXrc4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44530
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/01/2022 9:03 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
Mongwin wrote:
สร้าง5ปีไฮสปีดไทย-จีนผลงาน3.53%
Source - เดลินิวส์
Thursday, January 06, 2022 04:46


ลิงก์มาแล้ว
ก้าวสู่ปีที่ 5 สร้างรถไฟไฮสปีดไทย-จีนผลงาน 3.53%
*ผู้รับเหมา10สัญญาเหนื่อยมากรอเข้าพื้นที่เต็มขั้น
*พ.ร.ฎ.เวนคืนไม่คลอดปลายปี69เสร็จไม่ทันชัวร์
*สถานี “ปากช่อง-อยุธยา” หัวใจสำคัญยังติดปม
https://www.facebook.com/TransportDailynews/posts/3084404585114372

5 ปี รถไฟไทย-จีน3.5% ไฮสปีดสายแรก…สโลว์ลี่!!
เดลินิวส์ 11 มกราคม 2565 8:00 น.

5 ปี รถไฟไฮสปีด กับผลงานก่อสร้าง3.53% ความหวังของคนไทยที่จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงสายแรกยังอีกยาวไกลเเละดูเหมือนจะยังสโลว์ไลฟ์ไปเรื่อยๆ

เมื่อก้าวเข้าสู่ปี 2565  ก็ถือว่าสร้างมาได้ 5 ปีแล้ว สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีด) สายแรกของประเทศไทย ตามความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะ(เฟส)ที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร(กม.) รวม 14 สัญญา วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท  ภาพรวมโครงการมีความคืบหน้าเพียง 3.53% ล่าช้ากว่าแผน 1.36% 

ไล่เรียงรายละเอียดทั้ง 14 สัญญา แล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่
สัญญาที่ 1-1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.) ลงนามบันทึกข้อตกลงมอบหมายกรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ก่อสร้างคันทางรถไฟวงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาท  แล้วเสร็จเมื่อเดือนก.ย.ปี 63 พร้อมส่งมอบงานให้รฟท.ดำเนินการต่อในสัญญา 2.3 (สัญญาการวางราง และระบบการเดินรถ ระบบอาณัติสัญญาณ พร้อมขบวนรถ) วงเงิน  50,633.50 ล้านบาทโดยจีนอยู่ระหว่างออกแบบ กำลังก่อสร้าง 10 สัญญา ประกอบด้วย

สัญญาที่ 2-1 สีคิ้ว-กุดจิก  11 กม. คืบหน้า 79.28% ล่าช้า 20.72%,
สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็ก และลำตะคอง 12.2 กม. คืบหน้า 0.29% ล่าช้า 5.51%,
สัญญาที่ 3-3 ช่วงบันไดม้า-ลำตะคอง  21.6 กม. คืบหน้า 1.48% ล่าช้า 11%

สัญญาที่ 3-4 ช่วงลำตะคอง-สีคิ้ว และช่วงกุดจิก-โคกกรวด  37.4 กม. คืบหน้า 14.38% เร็วกว่าแผน 4.25%,
สัญญาที่ 3-5 ช่วงโคกกรวด-นครราชสีมา 12.3 กม. คืบหน้า 2.01% ล่าช้า 8.5%,
สัญญาที่ 4-2 ช่วงดอนเมือง-นวนคร ผู้รับจ้างเข้าพื้นที่ก่อสร้างเดือน ม.ค.65
สัญญาที่ 4-3 ช่วงนวนคร-บ้านโพ 23 กม. คืบหน้า 0.36% ล่าช้า 2.84%,
สัญญาที่ 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย
สัญญาที่ 4-6 ช่วงพระแก้ว-สระบุรี 31.6 กม. เตรียมพื้นที่ก่อสร้าง
ขณะที่สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย  12.9 กม. คืบหน้า 9% เร็ว 1.05%
ส่วนที่เหลืออีก 3 สัญญา รอลงนามประกอบด้วย

สัญญาที่ 3-1 ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก-บันไดม้า  30.2 กม. รอการพิจารณาของศาลปกครองในเรื่องฟ้องร้อง,
สัญญาที่ 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง  15.2 กม. กำลังกำหนดวงเงินก่อสร้างช่วงทับซ้อนกับโครงการรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) 
สัญญาที่ 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว 13.3 กม. ติดปัญหาเรื่องสถานีอยุธยา ต้องจัดทำรายงานผลกระทบด้านทรัพย์สินทางวัฒนธรรม (Heritage Impact Assessment : HIA) ของแหล่งมรดกโลกนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา

แม้ขณะนี้ 10 สัญญาจะอยู่ระหว่างก่อสร้าง แต่มีหลายสัญญาที่ผู้รับจ้างไม่สามารถเข้าพื้นที่ได้ทั้งหมด เข้าได้บางส่วนเฉพาะพื้นที่ของ รฟท. เท่านั้น  เพราะพระราชกฤษฎีกา(พ.ร.ฎ.) กำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืนโครงการรถไฟไฮสปีดไทย-จีน เฟสที่ 1 ยังไม่ประกาศ ทำให้ผู้รับจ้างต้องรอพื้นที่ก่อสร้าง   ไม่ใช่แค่รอพื้นที่เอกชน 

ยังรวมถึงพื้นที่รัฐที่ประชาชนเช่าอาศัยอยู่อย่างถูกต้องตามกฎหมายด้วย อาทิ พื้นที่กรมธนารักษ์ และกรมป่าไม้  จำเป็นต้องรอให้ พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ประกาศก่อนเช่นกัน เพราะต้องเยียวยาประชาชนตามกฎหมายด้วย เมื่อ พ.ร.ฎ. ไม่ออกมา โครงการยิ่งล่าช้าออกไป  

รฟท. เริ่มลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟไฮสปีดฯ กับผู้ชนะประมูล ตั้งแต่เดือน พ.ย.63 เกือบ2ปี แต่ยังไม่มี พ.ร.ฎ.กำหนดเขตที่ดินฯ ดังนั้นการก่อสร้างและเปิดบริการรถไฟไฮสปีดฯ เฟสที่ 1 ไม่ทันตามแผนที่ปรับใหม่จะเปิดบริการปลายปี 69 แน่นอน   

หัวใจของงานก่อสร้างรถไฟไฮสปีดฯ คือ สถานี เพราะเป็นงานแนวดิ่งไม่สามารถเร่งงานได้ ต้องทำด้านล่างให้เสร็จก่อน จึงจะทำงานด้านบนต่อได้ ไม่เหมือนงานทางวิ่งที่เพิ่มเครื่องจักร และอุปกรณ์เร่งงานได้ อีกทั้งงานสถานี ยังมีองค์ประกอบอื่นด้วย อาทิ งานสถาปัตยกรรม งานติดตั้ง และทดสอบระบบ ทั้งนี้สถานีที่มีปัญหาคือ สถานีปากช่อง ติดปัญหา พ.ร.ฎ. และสถานีอยุธยา ติดปัญหา HIA

ย้อนดูไทม์ไลน์โครงการ   พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรี และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาปฏิรูปแห่งชาติจีน  ร่วมทำพิธีเริ่มก่อสร้างคันทางรถไฟไฮสปีดสายประวัติศาสตร์ที่มอหลักหินรัชกาลที่ 5 ต.กลางดง  อ. ปากช่อง  เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 60  ภายใต้แนวคิด “น้ำหนึ่งใจเดียว ทุกเรื่องราบรื่น”  


โครงการรถไฟไฮสปีดกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.3 กม. เป็นทางยกระดับ 190 กม. อุโมงค์ 7.8 กม. มี 2 แห่ง บริเวณมวกเหล็ก และลำตะคอง และเป็นทางระดับพื้น 54.5 กม. ตลอดเส้นทางมีทั้งหมด 6 สถานี เป็นสถานียกระดับ ประกอบด้วย สถานีกลางบางซื่อ, สถานีดอนเมือง, สถานีอยุธยา, สถานีสระบุรี, สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ทางวิ่งมีขนาดราง 1.435 เมตร ใช้ความเร็วสูงสุด 250 กม.ต่อชั่วโมง(ชม.) 

พาดผ่านพื้นที่กรุงเทพฯ, จ.ปทุมธานี, พระนครศรีอยุธยา, สระบุรี และนครราชสีมา  เริ่มต้นจากสถานีกลางบางซื่อ วิ่งตรงไปทางทิศเหนือในเส้นทางเดียวกับรถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกผ่านท่าอากาศยานดอนเมือง เชื่อมต่อกับรถไฟฟ้าชานเมืองสายสีแดงเข้ม รถไฟฟ้าเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 

จากนั้นวิ่งตรงไปตามทางรถไฟสายเหนือไปจนถึงชุมทางบ้านภาชี แนวเส้นทางจะเบี่ยงไปใช้แนวเส้นทางรถไฟสายอีสานไปตลอดทางจนถึงสถานีแก่งคอย เป็นสถานีชุมทางที่แยกสายไปเชื่อมต่อเข้ากับสายตะวันออกที่สถานีฉะเชิงเทรา จากนั้นมุ่งหน้าไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และสิ้นสุดเส้นทางระยะแรกที่สถานีนครราชสีมาเดิม ใช้เวลาเดินทางประมาณ 1 ชั่วโมง 30 นาที

เดิมกำหนดเปิดบริการในปี 66 แต่เลื่อนมาเรื่อยๆ …. 5 ปี  กับผลงานก่อสร้าง3.53%  ความหวังของคนไทยที่จะได้ใช้รถไฟความเร็วสูงสายแรกยังอีกยาวไกล

————————————
คอลัมน์ มุมคนเมือง
โดย ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่ง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 12/01/2022 10:59 pm    Post subject: Reply with quote

นวรัตน์พัฒนาการเริ่มการเจาะอุโมงค์ใกล้ลำตะคองแล้ว
https://www.facebook.com/Nawaratpatanakar/posts/4643806249075247
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 431, 432, 433 ... 545, 546, 547  Next
Page 432 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©