RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311235
ทั่วไป:13181294
ทั้งหมด:13492529
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 433, 434, 435 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 22/01/2022 7:51 am    Post subject: Reply with quote

ส่องโมเดลรื้อสัญญาไฮสปีด ลุ้นคลังเคาะ “ซีพี” ผ่อนจ่าย
กรุงเทพธุรกิจ 22 ม.ค. 2565 เวลา 6:30 น.

สกพอ.เตรียมปรับแก้สัญญาร่วมทุนไฮสปีดสามสนามบิน ปม “ซีพี” ร้องผลกระทบโควิด ขอผ่อนจ่ายค่าโอนสิทธิบริหารแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ กว่า 1 หมื่นล้านบาท เร่งขอความเห็นกระทรวงการคลังเคาะรูปแบบ พบมี 2 โมเดลยืดสัญญาระยะ 6 ปีและ 10 ปี

หลังการประชุมคณะกรรมการบริหารสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน เมื่อวันที่ 19 ม.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีตัวแทนจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ที่มีกลุ่มซีพีเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ในฐานะผู้รับสัมปทาน โดยที่ประชุมมีมติรับข้อเสนอของเอกชนในการขอปรับแก้เงื่อนไขในสัญญา เรื่องการจ่ายค่าโอนสิทธิบริหารรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์

รายงานข่าวจาก สกพอ.ออกมาระบุถึงผลการประชุมว่า ประชุมได้รับทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-19 ทำให้ปริมาณผู้โดยสารใช้บริการรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้เอกชนได้รับผลกระทบรายได้ที่จะจัดเก็บลดลง จึงเห็นชอบให้มีการปรับแก้ไขสัญญาร่วมลงทุน โดยจะต้องปรับแก้ในส่วนของสัญญาการจ่ายค่าโอนสิทธิ จากเดิมที่ต้องจ่ายเป็นนวงเงินเต็มกว่า 1 หมื่นล้านบาท เมื่อวันที่ 24 ต.ค.ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ดี เนื่องจากการหารือในครั้งนี้ยังไม่สามารถหาข้อสรุปร่วมกันได้ว่าจะแก้สัญญาในรูปแบบใด โดยจะกำหนดกรอบเวลาในการจ่ายค่าบริหารสิทธิเป็นระยะเวลากี่งวดจึงจะเหมาะสม ส่งผลให้ที่ประชุมมีมติให้ผู้ที่เกี่ยวข้องเร่งสอบถามความเห็นไปยังสำนักงบประมาณ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ และกระทรวงการคลัง ซึ่งเรื่องนี้ต้องดำเนินการอย่างเร่งด่วน และจะมีการหารืออีกครั้งในช่วงต้นเดือน ก.พ.นี้ ก่อนจะเร่งรัดนำเสนอสัญญาฉบับใหม่ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาภายในเดือน มี.ค.นี้

สำหรับโมเดลของการปรับแก้สัญญา เบื้องต้นพบว่ามี 2 รูปแบบ แบ่งเป็น

โมเดลที่ 1 กลุ่มซีพีเสนอ

จากเงื่อนไขสัญญาร่วมทุนที่ตกลงจะจ่ายค่าแอร์พอร์เรลลิงค์จำนวน 10,671.090 ล้านบาท เป็นก้อนเดียวในวันที่ 24 ต.ค. 2564 กลุ่มซีพีได้เจรจาขอเลื่อนชำระพร้อมกับแบ่งชำระ 10 งวด ระยะ 10 ปี พร้อมจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม

โมเดลที่ 2 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสนอ

แบ่งชำระเหลือ 6 งวด ระยะ 6 ปี โดยจะแบ่งเป็นเป็นอัตราขั้นบันได ปีแรกจ่ายในสัดส่วน 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 10% ปีที่ 4 จ่าย 10% ปีที่ 5 จ่าย 10% ปีที่ 6 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณ 67.7% พร้อมจ่ายดอกเบี้ยเพิ่ม โดยค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) จะอยู่ที่ 11,705.463 ล้านบาท ปรับเพิ่มจากวงเงินเดิมราว 1,034.373 ล้านบาท

สำหรับโมเดลที่มีการเสนอมานี้ การประชุมคณะกรรมการบริหารสัญญาไฮสปีดเชื่อมสามสนามบิน มีความเห็นด้วยว่า “ข้อเสนอเอกชนที่ขอผ่อน 10 ปี คงไม่ได้ เพราะที่ประชุมเล็งเห็นว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานเกินไป ส่วนกรณีที่การถไฟฯ ศึกษาว่าจะผ่อนจ่ายในระยะเวลา 6 งวด รวม 6 ปี เรื่องนี้ก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะใช้แนวทางนี้หรือไม่ จะเหมาะสมหรือไม่ ดังนั้นคงต้องรอฟังความเห็นจากหน่วยงานกระทรวงการคลัง” แหล่งข่าวกล่าว



รฟท.ขยายMOUซี.พี.เจรจาแก้สัญญา”ไฮสปีด”ถกโมเดลรัฐเลื่อนจ่ายคืนเร็วขึ้นแลกสร้างทับซ้อนไทย-จีน
เผยแพร่: 24 ม.ค. 2565 08:41 ปรับปรุง: 24 ม.ค. 2565 08:41 โดย: ผู้จัดการออนไลน์

รฟท.ขยาย MOU ถกแก้ไขสัญญาร่วมทุน”ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน” อีก 3 เดือน เปิดโมเดลเลื่อนจ่ายค่างานโยธาจากปีที่ 6 เป็นปีที่ 3 แลกซี.พี.รับภาระค่าก่อสร้างช่วงทับซ้อนรถไฟไทย-จีน”บางซื่อ-ดอนเมือง”เพิ่ม 9 พันล้าน จ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ปีละ10% หากโควิดจบจ่ายส่วนที่เหลือบวกดอกเบี้ย

นายนิรุฒ มณีพันธ์ ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากโควิด-19 ของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า จากที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้มีมติเมื่อวันที่ 19 ตุลาคม2564 มอบหมายให้ รฟท.และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ร่วมกันดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเร็วตามแนวทางที่คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (กพอ.) มีมติ โดยรฟท.ได้มีการทำบันทึกข้อตกลง (MOU) ร่วมกับบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด ในฐานะคู่สัญญาผู้รับสัมปทานเพื่อวางกรอบข้อกำหนดดำเนินการโดยมีระยะเวลาการเจรจา 3 เดือนนับจากวันที่ 24 ตุลาคม 2564 นั้น ขณะนี้การเจรจายังไม่ได้ข้อยุติ อีกทั้งยังมีขั้นตอนในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับระเบียบและข้อกฎหมายซึ่งจะต้องมีการนำเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาร่างแก้ไขสัญญา ทั้งอัยการสูงสุด และครม. จึงจำเป็นต้องขยายระยะเวลาในMOU ออกไปอีก 3 เดือน
หรือถึงวันที่ 24 เมษายน 2565

ทั้งนี้ ทางเอกชนได้ทำหนังสือแจ้งขยายเวลาเจรจามายังรฟท.แล้ว โดยยังเป็นการดำเนินการภายใต้มติกพอ.ที่ ครม.เห็นชอบให้กรรมการ
3 ฝ่ายหาข้อยุติร่วมกัน

โดยเมื่อวันที่ 19 ม.ค. 2565 คณะกรรมการร่วม 3 ฝ่ายประกอบด้วย รฟท. สกพอ.และบริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัดได้ มีการประชุมร่วมกัน ใน 2 ประเด็นหลักคือ
1. การขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากโควิด-19 ซึ่งเป็นประเด็นที่เกินกว่าเหตุสุดวิสัย โดยแนวทางการเยียวยาจะต้องไม่เกิดผลกระทบทำให้รฟท.เสียหาย ไม่มีภาระทางการเงินใดๆ เพิ่มเติม
2. ประเด็นการก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ซึ่งมีปัญหาพื้นที่ทับซ้อนระหว่างโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน(ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา) กับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งกพอ.มีมติให้มาดำเนินการแก้ไข โดยไม่เพิ่มภาระของภาครัฐ ซึ่งต้องมีการประชุมร่วมกันอีกครั้ง เพื่อสรุปรายละเอียดให้ชัดเจน เนื่องจากจะนำไปสู่การแก้ไขสัญญา โดยทางที่ปรึกษาของอีอีซี เข้ามาช่วยพิจารณาในแต่ละแนวทาง

สำหรับ การขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิร่วมลงทุนรถไฟฟ้าแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน
10,671.090 ล้านบาท ซึ่งตามสัญญาร่วมลงทุนฯกำหนดชำระในวันที่ 24 ต.ค. 2564 นั้น แต่จากผลกระทบโควิด-19 ทำให้ผู้โดยสารลดลงไปอย่างมาก โดยทางเอกชนเสนอขอแบ่งชำระปีละ 10 % เป็น 10 งวดนั้น ในการพิจารณายังกังวล กรณีสถานการณ์โควิด-19 จะยุติเมื่อใด หรือไม่มีแนวโน้มยุติ ดังนั้นจะต้องหาโมเดลที่ทุกฝ่ายยอมรับร่วมกัน

@จ่ายค่าแอร์พอร์ตลิงก์ปีละ10% -โควิดจบรวบจ่ายส่วนที่เหลือบวกดอกเบี้ย

รายงานข่าวแจ้งว่า การขยายเวลาการชำระค่าให้สิทธิแอร์พอร์ต เรล ลิงก์ จำนวน10,671.090 ล้านบาท 10 งวดนั้น การพิจารณาของที่ประชุมร่วม 3 ฝ่าย เห็นว่า กรณีผลกระทบจากโควิด-19 ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะยุติเมื่อใด แต่ก็ไม่ควรกำหนดว่าจะให้แบ่งจ่าย 10 ปี เช่นกัน ดังนั้นจึงเห็นว่า การจ่ายเฉลี่ยที่ 10 % หรือจำนวน 1,067.11 ล้านบาท แบบปีต่อปีไปก่อน และหากโควิด-19 ยุติลง ให้เอกชนชำระส่วนที่เหลือบวกดอกเบี้ย โดยความชัดเจนว่าโควิด-19 สิ้นสุดแล้วนั้น จะต้องมีนิยามที่ชัดเจนเพื่อกำหนดในเงื่อนไขสัญญาที่จะแก้ไข เช่น มีประกาศศบค. เป็นต้น

@เปิดโมเดล”วิน-วิน”ซี.พี.รับภาระค่าก่อสร้างทับซ้อน”ไทย-จีน”แลกรฟท.เลื่อนจ่ายคืนเร็วขึ้น

ส่วนปัญหาโครงสร้างทับซ้อนช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระหว่าง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน กับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน นั้น กพอ.ให้รฟท.เจรจากับทางเอเชีย เอรา วันให้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างร่วมส่วนของรถไฟไทย-จีน ตามมาตรฐานจีน รองรับความเร็ว 250 กม./ชม. ส่วนโครงสร้างแอร์พอร์ตเรลลิงก์ให้ดำเนินการตามแบบและเงื่อนไขเดิม

โดยคณะทำงานรฟท.ได้พิจารณาแบบงานโยธาโครงสร้างร่วม ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง และจัดทำราคากลางในการดำเนินการวงเงินรวม 24,085 ล้านบาท (ไม่รวมส่วนของรางรถไฟ) โดยแบ่งเป็นส่วนของเอเชีย เอรา วัน ที่ต้องรับผิดชอบในเงื่อนไขสัมปทาน รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน วงเงิน 11,006 ล้านบาท ขณะที่ รถไฟไทย-จีน สัญญา 4-1 (ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง) มีกรอบวงเงินเดิมที่ 3,896 ล้านบาท ดังนั้น จึงมีค่าใช้จ่ายเพิ่มจากกรอบประมาณ 9,200 ล้านบาท ซึ่งตามแนวทางของกพอ.ที่ให้รฟท.ดำเนินการ โดยไม่เพิ่มภาระงบประมาณนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อแก้ไขสัญญารถไฟเชื่อม 3 สนามบิน และเงื่อนไขการจ่ายเงิน ซึ่งจะทำให้สามารถก่อสร้างโครงสร้างร่วมได้ทันกับกำหนดเปิดเดินรถ

ทั้งนี้ ตามเงื่อนไขสัมปทาน รถไฟเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนจะต้องดำเนินการก่อสร้างโครงการให้แล้วเสร็จ โดยรฟท.จะเริ่มชำระคืนค่าก่อสร้างในปีที่ 6 (นับจากเข้าพื้นที่ก่อสร้าง) ในอัตราคงที่ เป็นระยะเวลา 10 ปี มีอัตราดอกเบี้ย 2.375% ซึ่งจากการหารือร่วมกับที่ปรึกษาทางการเงินของอีอีซี เห็นว่า มีความเป็นไปได้กรณีที่รฟท.จะเลื่อนชำระค่าก่อสร้างให้เร็วขึ้น จากปีที่ 6 เป็นปีที่ 3 ซึ่งการชำระคืนเอกชนเร็วขึ้นช่วยลดภาระดอกเบี้ย ส่วนวงเงินรวมไม่เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังเป็นแนวทางการแก้ไขการร่วมลงทุน ที่สามารถแก้ปัญหาการก่อสร้างช่วงทับซ้อนที่รถไฟไทย-จีน ที่มีค่าก่อสร้างเพิ่ม 9,200 ล้านบาท โดยรฟท.ไม่ต้องของบประมาณเพิ่มอีกด้วย

สำหรับโครงการรถไฟเชื่อม 3 สนามบินมีต้นทุนโครงการที่118,611 ล้านบาท บวกดอกเบี้ย 2.375% อัตราคิดลด (Discount Rate) ระยะ 10 ปี ประมาณ 30,000 ล้านบาท วงเงินรวมเป็น 149,650 ล้านบาทโดยเงื่อนไขเดิมรฟท.กำหนดชำระปีที่ 6 วงเงิน 14,965 ล้านบาท เป็น เวลา 10 ปี ซึ่งกรณีที่รฟท.เลื่อนชำระเร็วขึ้นเป็นปีที่ 3 จะทำให้ประหยัดค่าดอกเบี้ยลงไปได้ประมาณ 700 ล้านบาท หรือทำให้ต้นทุนรวมเหลือ 142,000 ล้านบาท

ซึ่ง อยู่ระหว่างพิจารณาวงเงินที่จะจ่ายแต่ละปี ที่รัฐจะประหยัดที่สุด โดยมี 3 ทางเลือกคือ กำหนดเฉลี่ยเท่ากันทุกปี หรือจ่ายตามคืบหน้าการก่อสร้าง หรือ เฉลี่ยค่างานโยธาส่วนเพิ่มรถไฟไทย-จีน ช่วงทับซ้อน 9,200 ล้านบาท แบ่งจ่ายใน3 ปีแรก โดยรฟท.จะหารือกับ กระทรวงการคลัง สำนักงบ และสบน. ร่วมพิจารณาเงื่อนไข ต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 25/01/2022 2:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ซี.พี. กู้ลงทุนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน แสนล้านปีหน้า
อสังหาริมทรัพย์
วันที่ 26 ตุลาคม 2564 เวลา 14:23 น.



ขณะที่ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งมอบพื้นที่พร้อมก่อสร้างของโครงการช่วงสุวรรณภูมิถึงอู่ตะเภาให้ บริษัท เอเชีย เอรา วัน จำกัด (เอกชนคู่สัญญา) แล้วร้อยละ 98.11 ระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร คิดเป็นพื้นที่ 3,513 ไร่ 1 งาน 3 ตารางวา ซึ่งเอกชนคู่สัญญา ได้ทยอยเข้าเตรียมการก่อสร้างแล้วตั้งแต่ปลายปี 2563

ประกอบด้วย การสร้างถนนและสะพานชั่วคราวของโครงการ การสร้างโรงหล่อชิ้นส่วนทางวิ่งรถไฟ การสร้างบ้านพักคนงาน โดย รฟท. จะส่งมอบพื้นที่ที่เหลืออีกร้อยละ 1.89 ภายในเดือนมกราคม 2565 และเมื่อเอกชนคู่สัญญาตรวจรับพื้นที่แล้วเสร็จ รฟท. จะออกหนังสือแจ้งเริ่มงานก่อสร้างอย่างเป็นทางการ (Notice to Proceed, NTP) คาดว่าประมาณเดือนมีนาคม 2565

ช่วงที่ 2 จากสนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กม. ขาดอีกแค่ 1.89% ก็จะ ครบ 𝟏𝟎𝟎% แล้ว

หากทางรฟท. สามารถส่งมอบพื้นที่ในช่วงที่ 2 ครบ ทั้ง 𝟏𝟎𝟎% ได้ตามกำหนดที่เลื่อนมาเรื่อยๆ ตั้งแต่วันที่ 24 ต.ค. 2564 มาเป็น 24 ม.ค. 65 และได้ข่าวว่ามีการเลื่อนออกไปเป็น 24 มี.ค. 65 อีก คาดว่าถ้ารฟท. ส่งมอบพื้นที่ช่วงที่ 2 (170 กม.) ได้ ทางซีพีเองก็น่าจะเริ่มเข้าพื้นที่ เพื่อตอกเสาเข็มกันแล้ว
.
🏗 ช่วงที่ 2 จากสนามบินสุวรรณภูมิ - สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 𝟏𝟕𝟎 กม. กำหนดส่งมอบพื้นที่ภายใน 1 ปี 3 เดือน ถึง 2 ปี นับจากวันที่เริ่มเซ็นต์สัญญาเมื่อวันที่ 24 ตุลาคม 2562 🏗

https://www.facebook.com/HST.DSU/posts/1843040885888397

"พื้นที่ส่วนที่เหลือนั้น ส่วนใหญ่เป็นการรื้อย้ายสาธารณูปโภคที่ต้องดำเนินการอย่างรอบคอบ รวมไปถึงบางพื้นที่ยังอยู่ในขั้นตอนกฎหมายที่มีความจำเป็นต้องฟ้องร้องขอคืนพื้นที่"
https://www.bangkokbiznews.com/business/983253
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2022 10:44 am    Post subject: Reply with quote

อัปเดต!!! เส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ในอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันที่ 25 มกราคม 2565
Jan 25, 2022
EASTER RAILWAY STATION IN THAILAND

ความคืบหน้างานก่อสร้างเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน ในส่วนของอำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี ช่วงตั้งแต่ เครื่องกั้น กม.128 - สถานีรถไฟชุมทางศรีราชา - หลักกิโลเมตรที่ 134

วันที่ 25 มกราคม 2565


https://www.youtube.com/watch?v=auZy1NYTFkg
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 26/01/2022 1:42 pm    Post subject: Reply with quote

เร่งปิดดีลส่งมอบพื้นที่ไฮสปีด3สนามบิน
Source - ฐานเศรษฐกิจ
Wednesday, January 26, 2022 06:02

Click on the image for full size

"อีอีซี" เคลียร์ชัดแผนส่งมอบพื้นที่ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน 2 ช่วง ภายในเดือนก.พ.-มี.ค.65 ลุยเจรจาคลังแก้สัญญาร่วมทุนเลื่อนจ่ายสิทธิแอร์พอร์ตลิงก์ 3 เดือน ฟากรฟท. เล็งหารือแบงก์ช่วยผู้บุกรุก หลังติดจำนองที่ดิน หวั่นกระทบค่าใช้จ่ายที่อยู่อาศัยใหม่"

กรณีมีกระแสข่าว บริษัท เอเชีย เอราวัน จำกัด(ในเครือซีพี) ไม่กล้ารับสัญญาเริ่มดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (สุวรรณภูมิ-ดอนเมือง-อู่ตะเภา) เพราะไม่มั่นใจภาครัฐส่งมอบพื้นที่ครบ 100% ได้ทันตามสัญญาที่กำหนด

รายงานจากสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) เปิดเผยว่า ทางอีอีซียืนยันว่าไม่เป็นความจริง เพราะในปัจจุบันพื้นที่บางส่วนภาครัฐได้ดำเนินการส่งมอบพื้นที่ช่วงสุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ราว 98% เพื่อให้เอกชนเข้าพื้นที่ดำเนินการแล้วขณะนี้อยู่ระหว่างการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนของโครงการฯ เบื้องต้นสำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สกพอ.) ได้ตั้งคณะกรรมการทั้ง 3 ฝ่ายที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาหาทางออกและทางเลือกให้กับเอกชนดำเนินการโครงการฯ

"ปัจจุบันที่ประชุมได้ข้อสรุปบางส่วนในการหารือดำเนินการโครงการฯแล้ว แต่เบื้องต้นต้องนำผลการหารือเสนอต่อกระทรวงคลังพิจารณาก่อน ซึ่งยังตอบไม่ได้ว่าจะใช้แนวทางใดในการดำเนินการ เนื่องจากเราไม่ทราบว่าทางกระทรวงคลังจะเลือกใช้แนวทางใดในการพิจารณา คาดว่าจะให้เอกชนขอเลื่อนการจ่ายสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ จำนวน 10,671 ล้านบาท ออกไปเป็นเวลา 3 เดือน เนื่องจากเอกชนให้เหตุผลว่าได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ทำให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง เพื่อดำเนินการแก้ไขสัญญาให้เรียบร้อยก่อน ทั้งนี้การเลื่อนจ่ายสิทธิแอร์พอร์ต เรลลิงก์ สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากกระบวนการยังดำเนินการไม่แล้วเสร็จ"
สำหรับแผนส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ระยะทาง 170 กิโลเมตร (กม.) ปัจจุบันภาครัฐได้ดำเนินการส่งมอบพื้นที่ อยู่ที่ 98% ซึ่งเหลือส่งมอบพื้นที่ราว 2% ให้กับเอกชนคู่สัญญา ขณะนี้ติดปัญหาในการเวนคืนที่ดิน เนื่องจากมีผู้บุกรุกบางส่วนติดจำนองที่ดินไว้กับสถาบันการเงินประมาณ 3-4 สัญญา จาก 100 สัญญา ซึ่งจะครบกำหนดให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) สามารถครอบครองสิทธิที่ดินได้ตามกฎหมาย ภายในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 ถึงแม้ว่ารฟท.ได้ดำเนินการจ่ายชดเชยค่าเวนคืนที่ดินแล้ว แต่ผู้บุกรุกต้องนำเงินค่าชดเชยเวนคืนที่ดินจากรฟท.คืนให้กับสถาบันการเงิน เป็นเหตุให้ผู้บุกรุกไม่มีรายจ่ายเพียงพอในการหาที่อยู่อาศัยใหม่ เบื้องต้นรฟท.อยู่ระหว่างหาแนวทางเจราจากับสถาบันการเงินเพื่อช่วยเหลือผู้บุกรุก คาดว่าจะส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา ได้ครบตามสัญญา 100% ภายในเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม 2565

ที่ผ่านมาได้การผ่อนชำระที่มีการศึกษาไว้ เป็นการชำระค่าสิทธิร่วมทุนพร้อมดอกเบี้ยและมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (Net Present Value : NPV) อยู่ที่ 11,705.463 ล้านบาท เพิ่มจากวงเงินเดิม 10,671.090 ล้านบาท ประมาณ 1,034.373 ล้านบาท โดยแบ่งชำระออกเป็น 6 งวด รวม 6 ปี กำหนดในปีแรกจ่ายในสัดส่วน 5% ปีที่ 2 จ่าย 7% ปีที่ 3 จ่าย 10% ปีที่ 4 จ่าย 10% ปีที่ 5 จ่าย 10% และปีที่ 6 จ่ายส่วนที่เหลือทั้งหมดประมาณ 67.7% ซึ่งจะเริ่มจ่ายเมื่อไหร่ต้องหารือในรายละเอียดของผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อให้ปริมาณผู้โดยสารเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ

ส่วนความคืบหน้าแผนการส่งมอบพื้นที่ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 10 กิโลเมตร (กม.) ขณะนี้อยู่ระหว่างการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภคใกล้แล้วเสร็จ แต่ยังติดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดไทยจีน) เบื้องต้นคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (บอร์ดอีอีซี) มีมติให้รฟท.ดำเนินการเจรจากับเอกชนผู้รับสัมปทานไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบินเป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างบริเวณพื้นที่ทับซ้อนของโครงการไฮสปีดไทย-จีน โดยเร่งเอกชนให้ดำเนินการก่อสร้างช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง เร็วขึ้นกว่าแผนที่กำหนดไว้ ปัจจุบันเอกชนอยู่ระหว่างเตรียมดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้างภายในเดือนมีนาคม 2565 จากเดิมตามสัญญากำหนดให้ภาครัฐส่งมอบพื้นที่ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ภายในเดือนตุลาคม 2566

"หากภาครัฐรอดำเนินการส่งมอบพื้นที่ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ภายในเดือนตุลาคม 2566 ตามแผนจะทำให้การก่อสร้างไฮสปีดไทย-จีน ล่าช้าไปด้วย ขณะที่พื้นที่ช่วงพญาไทดอนเมือง ระยะทาง 12 กิโลเมตร (กม.) ยังติดปัญหาการรื้อย้ายระบบสาธารณูปโภค เนื่องจากมีปัญหาการื้อย้ายสาธารณูปโภค 2 จุด ประกอบด้วย ระบบระบายน้ำและสถานีสูบน้ำคลองสามเสนของทางกรุงเทพมหานคร และท่อขนส่งน้ำมันของ บจ.ขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) คาดว่าจะส่งมอบในช่วงเดือนตุลาคม 2566 ทำให้ภาครัฐจะเร่งดำเนินการส่งมอบพื้นที่ช่วงบางซื่อดอนเมือง ครบ 100% ให้กับเอกชนคู่สัญญาภายในต้นปี 2565 พร้อมกับการส่งมอบพื้นที่ช่วงสนามบินสุวรรณภูมิ-สนามบินอู่ตะเภา เพื่อไม่ให้โครงการฯ มีความล่าช้ากว่าเดิม หลังจากภาครัฐส่งมอบพื้นที่แล้วเสร็จ ทั้งนี้เอกชนต้องดำเนินการตรวจสอบพื้นที่ที่ได้รับมอบภายใน 45 วัน ก่อนดำเนินการก่อสร้างโครงการฯ"

"แม้ว่ารฟท.จ่ายชดเชยค่าเวนคืนที่ดินแล้ว แต่ผู้บุกรุกต้องนำเงินคืนให้กับสถาบันการเงิน"

ที่มา: นสพ.ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 27 - 29 ม.ค. 2565
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/01/2022 2:52 pm    Post subject: Reply with quote

ฟังเสียงประชาชน การรถไฟฯชี้แจงปรับแบบรถไฟทางคู่-ไฮสปีดโคราช
ประชาชาติธุรกิจ วันที่ 27 มกราคม 2565 - 13:30 น.

เมกะโปรเจ็กต์ภาครัฐพาดผ่านไปที่ไหน นำมาซึ่งความเจริญควบคู่ไปกับผลกระทบต่อวิถีชีวิตพื้นถิ่น

ก่อนหน้านี้ มีตัวแทนประชาชนในพื้นที่ตำบลโคกกรวด และตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ได้แสดงความเห็นและข้อเสนอให้มีการปรับแบบแปลนการก่อสร้างรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูง เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อประชาชนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่นั้น

งานนี้ “เอกรัช ศรีอาระยันพงษ์” ผู้อำนวยการศูนย์ประชาสัมพันธ์ การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ชี้แจงว่า การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของการรถไฟฯให้ความสำคัญด้านการมีส่วนร่วมของประชาชนมาโดยตลอด

จุดโฟกัสอยู่ที่โครงการก่อสร้างทางรถไฟที่พาดผ่าน “ตำบลโคกกรวด-ตำบลบ้านใหม่” อำเภอเมืองนครราชสีมา มีการปรับปรุงรายละเอียดโครงการตามที่ได้หารือกับเทศบาลตำบลบ้านใหม่และจังหวัดนครราชสีมา

รถไฟรวมถึงผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในขั้นตอนศึกษาออกแบบรายละเอียดและจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ก่อนจะนำมาสู่รูปแบบการก่อสร้าง

ปัจจุบันพื้นที่ 2 ตำบล “โคกกรวด-บ้านใหม่” อยู่ระหว่างก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ซึ่งโครงการเต็มเส้นทางคือ กรุงเทพฯ-หนองคาย โดยตัดเฟส 1 มาทำก่อนช่วงกรุงเทพฯ-โคราช

กับอีกโครงการที่อยู่ในแผนเตรียมก่อสร้างคือ รถไฟทางคู่ เฟส 1 มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ โดยจุดเกิดเหตุอยู่ที่ “สัญญาที่ 2 ช่วงคลองขนานจิตร-ชุมทางถนนจิระ” ซึ่งการรถไฟฯได้ดำเนินการตามข้อเรียกร้องของพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านใหม่ ที่ต้องการให้ปรับรูปแบบโครงสร้างทางรถไฟแล้ว

เสียงประชาชน 2 ตำบลได้ยินมาถึง “นิรุฒ มณีพันธ์” ผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. ซึ่งจัดทริปลงพื้นที่โคราชเรียบร้อยแล้ว โดยมีข้อสรุปเบื้องต้นว่า สามารถปรับเพิ่มขนาดความสูงของทางลอดให้มากขึ้นได้ เพื่ออำนวยความสะดวกในการจราจรตามความต้องการของประชาชนในพื้นที่

จากเดิมความสูงของทางลอด 3.5 เมตร ปรับเพิ่มความสูงเป็น 4-5 เมตร เพื่อให้ยานพาหนะขนาดใหญ่สามารถลอดผ่านใช้งานได้

ส่วนข้อเสนอเพิ่มเติมที่ต้องการให้ปรับเปลี่ยนแบบก่อสร้างจากการยกระดับแบบคันดินเป็นการยกระดับแบบตอม่อนั้น การรถไฟฯรับเรื่องไว้พิจารณา

ทั้งนี้ เหตุผลหลักสำหรับข้อเสนอปรับเปลี่ยนทางเทคนิคทำให้การพิจารณารูปแบบของโครงสร้างทางรถไฟที่เหมาะสมจะต้องคำนึงถึงความเหมาะสมอย่างน้อย 3 ด้าน คือ “ด้านวิศวกรรม ความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ การเงิน”

ยังมีด้านที่ 4 คือ “ความเหมาะสมในการลดผลกระทบต่อชุมชนในพื้นที่ในระยะยาว”


ด้านที่ 5 “ผลกระทบในภาพรวมอันจะเกิดต่อผู้ใช้บริการรถไฟ” เช่น ไทม์ไลน์เปิดให้บริการที่อาจล่าช้าออกไปถ้ามีการปรับแบบ

และด้านที่ 6 “กรอบงบประมาณของโครงการก่อสร้างที่ต้องเพิ่มเติมขึ้น” โดยรถไฟความเร็วสูงได้ลงนามสัญญาแล้ว และอยู่ระหว่างดำเนินการ เป็นต้น

บรรทัดสุดท้าย ร.ฟ.ท.ย้ำว่า พร้อมรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอจากประชาชนทุกภาคส่วน เพื่อนำมาพิจารณาในมิติต่าง ๆ อย่างรอบด้าน ไม่ใช่แค่นักการเมืองที่ต้องฟัง ข้าราชการ-รัฐวิสาหกิจยิ่งต้องรับฟัง

เพราะเสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์ในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2022 9:33 am    Post subject: Reply with quote

การก่อสร้างทางรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ตอนที่ 1 บริเวณใกล้สถานีรถไฟบ้านคลองไผ่
Jan 28, 2022
พากินพาเที่ยว ต้อย โคราช


https://www.youtube.com/watch?v=6eUQIwubTjs
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2022 6:11 pm    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์การดำเนินงาน 2 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน l EEC
Jan 28, 2022
Daoreuk Channel

วีดิทัศน์การดำเนินงาน 2 ปี โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบิน

โดย คณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(สกพอ.) EEC


https://www.youtube.com/watch?v=DUL3vJzdIy8
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44332
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 28/01/2022 8:16 pm    Post subject: Reply with quote

แนวเส้นทางรถไฟความเร็วสูง เชื่อม 3 สนามบิน
Jan 28, 2022
The king communication


https://www.youtube.com/watch?v=CPEhLB1ztUk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 29/01/2022 8:58 pm    Post subject: Reply with quote

ข่าวประชาสัมพันธ์แจ้งให้ผู้ที่ใช้เส้นทางในการสัญจรและประชาชนที่อาศัยอยู่ใกล้เคียงพื้นที่ดำเนินการก่อสร้าง บริเวณถนนพหลโยธิน 6 ทราบ
ตั้งแต่วันอังคารที่ 1 กุมภาพันธ์ 2565 เป็นต้นไป
ทางโครงการฯ จะเข้าดำเนินการก่อสร้างทางยกระดับรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนช่วงสระบุรี-แก่งคอย บริเวณถนนพหลโยธิน 6
📌ตั้งแต่หน้าสถานีรถไฟสระบุรี จนถึง แยกถนนพหลโยธิน📌
จึงขออภัยในความไม่สะดวก มา ณ ที่นี้
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4889343641112542

29ม.ค.65 ความคืบหน้างานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-นครราชสีมา สัญญาที่ 4-7 ช่วงสระบุรี-แก่งคอย มีความคืบหน้าไปพอสมควรโดยเฉพาะงานฐานราก
https://www.facebook.com/ake.bluechifamily/posts/4888137917899781
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42625
Location: NECTEC

PostPosted: 30/01/2022 12:10 am    Post subject: Reply with quote

“คมนาคม” โหมบิ๊กโปรเจ็คต์ เร่งตอกเสาเข็มสร้าง “ไฮสปีดไทย-จีน”
หน้าเศรษฐกิจ Mega Project
ฐานเศรษฐกิจดิจิทัล |
วันศุกร์ ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 19:21 น.

“คมนาคม” อัพเดตคืบหน้าไฮสปีดไทย-จีน 14 สัญญา เผย 2 สัญญา สะดุด หลังเกิดข้อพิพาทผลอุทธรณ์ BPNP -ปรับแบบสถานีอยุธยา ขณะที่สัญญา 4-1 รฟท.สั่งจ้างซีพีสร้างแทน เหตุพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน ฟากอีก 3 สัญญา ติดหล่มพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดิน รอเข้าพื้นที่ก่อสร้าง

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า สำหรับความคืบหน้าโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดไทย-จีน) ทั้ง 14 สัญญา ปัจจุบันอยู่ระหว่างการรอลงนามสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง จำนวน 2 สัญญา ประกอบด้วย

1. สัญญา 3-1 งานโยธา ช่วงแก่งคอย-กลางดง และช่วงปางอโศก- บันไดม้า ระยะทาง 30 กม. วงเงิน 9,930 ล้านบาท โดย บมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนท์ เสนอราคาต่ำสุดที่ 9,349 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลางที่ 11,386 ล้านบาท ขณะนี้อยู่ระหว่างศาลปกครองพิจารณาข้อพิพาทผลอุทธรณ์ของบริษัทบีพีเอ็นพี จำกัด (นภาก่อสร้าง) หากจะลงนามสัญญาได้เมื่อไรขึ้นอยู่กับศาลฯเป็นผู้พิจารณา

2. ส่วนสัญญา 4-5 ช่วงบ้านโพ-พระแก้ว ระยะทาง 13.3 กม. วงเงิน 9,913 ล้านบาท โดยบมจ.อิตาเลียนไทย ดิเวล็อปเมนต์ อยู่ระหว่างหาข้อสรุปทางกฎหมายในการปรับแบบสัญญาให้สอดคล้องกับรายงานประเมินผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ช่วงผ่านสถานีอยุธยาเพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับการเป็นพื้นที่มรดกโลก คาดว่าจะลงนามสัญญาภายในต้นปี 2565 หลังจากนั้นผู้รับจ้างจะเริ่มดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้างต่อไป

ขณะที่สัญญา 4-1 ช่วงบางซื่อ-ดอนเมือง ระยะทาง 15.21 กม. วงเงิน 18,000 ล้านบาท ปัจจุบันทางการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้สั่งจ้างให้บริษัทเอเชีย เอราวัน จำกัด (บริษัท รถไฟความเร็วสูงสายตะวันออกเชื่อมสามสนามบิน จำกัด) หรือซีพี เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้าง เนื่องจากเป็นพื้นที่ทับซ้อนร่วมกับโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง–สุวรรณภูมิ–อู่ตะเภา) โดยรฟท.จะเป็นผู้จ่ายค่าชดเชยให้เอกชนตามสัญญา ซึ่งเอกชนอยู่ระหว่างเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้ไม่ต้องรอลงนามสัญญา


รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ด้านความคืบหน้าอีก 3 สัญญา ที่อยู่ระหว่างเตรียมการก่อสร้าง ประกอบด้วย
1. สัญญา 4-2 ช่วงดอนเมือง - นวนคร ระยะทาง 21.80 กม. วงเงิน 10,570 ล้านบาท ลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ดำเนินการโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ,
2. สัญญา 4-4 ศูนย์ซ่อมบำรุงเชียงรากน้อย วงเงิน 6,573 ล้านบาท ลงนามสัญญา จ้างเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ดำเนินการโดยบริษัท อิตาเลียน ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ,สัญญา 4-6 ช่วงพระแก้ว - สระบุรี ระยะทาง 31.60 กม. วงเงิน 9,429 ล้านบาท ลงนามสัญญาจ้างเมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2564 ดำเนินการโดย บริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ปัจจุบันเอกชนผู้รับจ้างอยู่ระหว่างรอพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) เวนคืนที่ดินมีผลบังคับใช้เพื่อดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้าง ทำให้ยังไม่ได้ออกหนังสือแจ้งให้เริ่มงาน (NTP) หากเอกชนดำเนินการเข้าพื้นที่ก่อสร้างก่อนพ.ร.ฎ.เวนคืนที่ดินมีผลบังคับใช้ อาจจะต้องขอขยายเวลาการก่อสร้างในสัญญาออกไปอีก
3. ส่วนอีก 1 สัญญา เริ่มดำเนินการก่อสร้างเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 คือ สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร - บ้านโพ ระยะทาง 23.00 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท ดำเนินการโดย กิจการร่วมค้า CNN ปริมาณงานตามแผนงาน 3.29% ผลงานสะสม 0.36% ล่าช้ากว่าแผนงาน 2.93%


สำหรับความก้าวหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูง ระยะที่ 1 (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) หรือไฮสปีดไทย-จีน ดังนี้ ก่อสร้างแล้วเสร็จ 1 สัญญา ได้แก่ สัญญา 1-1 ช่วงกลางดง – ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ดำเนินการโดยกรมทางหลวง (ทล.) และอยู่ระหว่างก่อสร้าง 7 สัญญา (ผลงาน 30 ธันวาคม 2564) ประกอบด้วย

1. สัญญา 2-1 ช่วงสีคิ้ว-กุดจิก ระยะทาง 11.00 กม. วงเงิน 3,114 ล้านบาท เริ่มงาน เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2562 ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิล คอนสตรัคชั่น เซอร์วิสเซส แอนด์ โปรดักส์ จำกัด ปริมาณงานตามแผนงาน 100% ผลงานสะสม 79.28% ล่าช้ากว่าแผนงาน 20.72% อยู่ระหว่างการขอขยายสัญญาครั้งที่ 2 ,
2. สัญญาที่ 3-2 งานอุโมงค์มวกเหล็กและลำตะคอง ระยะทาง 12.23 กม. วงเงิน 4,279 ล้านบาท ดำเนินการโดย บริษัท เนาวรัตน์พัฒนาการ จำกัด (มหาชน) เริ่มงานวันที่ 19 เมษายน 2564 ปริมาณงานตามแผนงาน 5.80% ผลงานสะสม 0.29% ล่าช้ากว่าแผนงาน 5.51%

3. ทั้งนี้สัญญา 3-3 ช่วงบันไดม้า - ลำตะคอง ระยะทาง 26.10 กม. วงเงิน 9,838 ล้านบาท ดำเนินการโดย บริษัท ไทย เอ็นยิเนียร์และอุตสาหกรรม จำกัด เริ่มงานเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณงานตามแผนงาน 12.48% ผลงานสะสม 1.48% ล่าช้ากว่าแผนงาน 11.00% ,
4. สัญญา 3-4 ช่วงลำตะคอง - สีคิ้ว และช่วงกุดจิก - โคกกรวด ระยะทาง 37.45 กม. วงเงิน 9,848 ล้านบาท ดำเนินการโดย บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) เริ่มงานเมื่อ วันที่ 26 มกราคม 2564 ปริมาณงานตามแผนงาน 10.13% ผลงานสะสม 14.38% เร็วกว่าแผนงาน 4.25% ,
5. สัญญา 3-5 ช่วงโคกกรวด - นครราชสีมา ระยะทาง 13.69 กม. วงเงิน 7,750 ล้านบาท ดำเนินการโดยกิจการร่วมค้า SPTK เริ่มงานเมื่อวันที่ 26 มกราคม 2564 ปริมาณงานตามแผนงาน 10.506% ผลงานสะสม 2.016% ล่าช้ากว่าแผนงาน 8.490% ,
6. สัญญา 4-3 ช่วงนวนคร - บ้านโพ ระยะทาง 23.00 กม. วงเงิน 11,525 ล้านบาท ดำเนินการโดยกิจการร่วมค้า CNN เริ่มงานเมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2564 ปริมาณงานตามแผนงาน 3.29% ผลงานสะสม 0.36% ล่าช้ากว่าแผนงาน 2.93% ,
7. สัญญา 4-7 ช่วงสระบุรี - แก่งคอย ระยะทาง 12.99 กม. วงเงิน 8,560 ล้านบาท ดำเนินการโดย บริษัท ซีวิลเอนจีเนียริง จำกัด (มหาชน) เริ่มงานเมื่อวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2564 ปริมาณงาน ตามแผนงาน 7.95% ผลงานสะสม 9.00% เร็วกว่าแผนงาน 1.05%
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 433, 434, 435 ... 542, 543, 544  Next
Page 434 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©