RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai Gallery in Facebook

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311286
ทั่วไป:13268220
ทั้งหมด:13579506
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 294, 295, 296 ... 546, 547, 548  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44599
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 08/02/2018 7:56 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
‘อาคม’ อ้อน ญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ชงครม.ไฟเขียวมี.ค.นี้
วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 14:47 น.

ลุ้นญี่ปุ่น ‘ร่วมทุน’ ไฮสปีดพิษณุโลก
กรุงเทพธุรกิจ 8 ก.พ. 61

ลุ้นญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีด กรุงเทพฯ-พิษณุโลก 2.76 แสนล้าน เหตุรัฐบาลไทยต้องการลดหนี้ ลงทุนเมกะโปรเจคไปแล้วหลายโครงการ

เสนอตัดสถานีลพบุรี-พิจิตร ลดต้นทุนโครงการ พร้อมเดินหน้ารถไฟทางคู่ตะวันตก-ตะวันออกด้านเหนือ หวังเชื่อมผู้โดยสารไฮสปีดญี่ปุ่น-ไฮสปีดจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมเรื่องรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น วานนี้ (7 ก.พ.) ว่า

ตอนนี้รัฐบาลไทยมีนโยบายจะลดงบประมาณลงทุน ดังนั้นจึงขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นกลับไปศึกษาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้กับฝ่ายไทยด้วย ขณะเดียวกันขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้าร่วมทุนในโครงการดังกล่าวทั้งหมด ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอว่า พร้อมให้ฝ่ายไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินโครงการ

รัฐบาลไทยต้องการลดภาระหนี้ โดยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศึกษารูปแบบการลงทุน รวมไปถึงรายละเอียดภาพรวมโครงการ ทั้งการปรับลดต้นทุน และแนวทางการพัฒนาพื้นกลับมาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาอีกครั้ง ก่อนที่จะนำผลการศึกษาเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติในเดือนมี.ค.นี้  นายอาคมกล่าว และว่า ที่ประชุมฯ ยังได้หารือร่วมกันใน 3 ประเด็นคือ ต้นทุนโครงการ ความเร็วของรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี

สำหรับเรื่องต้นทุนโครงการ ได้ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็น จากปัจจุบันกรอบวงเงินลงทุนช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกอยู่ที่ 2.76 แสนล้านบาท โดยฝ่ายญี่ปุ่นเสนอว่า ถ้าต้องการลดต้นทุนจะต้องตัดเส้นทางให้สั้นลง และยกเลิกบางสถานีแต่จะส่งผลให้ปริมาณผู้โดยสารลดลง

หากเราจะลดต้นทุนก่อสร้างเฟสแรก ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อาจต้องตัดบางสถานีออกไป เช่น ตัดสถานีพิจิตรออก หรือตัด 2 สถานีคือลพบุรีและพิจิตร จากนั้นค่อยมาสร้างเพิ่มในภายหลัง แต่เราคิดว่าไม่คุ้มกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไป จึงต้องหารือร่วมกัน 2 ฝ่ายอีกครั้งว่า จะมีแนวทางอื่น ๆ ที่ปรับลดต้นทุนหรือไม่ นายอาคมล่าว

ส่วนประเด็นเรื่องของความเร็ว นายอาคมยืนยันว่าจะใช้เทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงชินกันเซ็งในระดับ 300 กิโลเมตร (กม.) ต่อชั่วโมงตามเดิม เพราะผลการศึกษาของญี่ปุ่นระบุว่า หากปรับมาใช้ความเร็วต่ำ ประชาชนจะเลือกเดินทางโดยระบบอื่นแทน

ในระยะทางไม่เกิน 500 กม. การเดินทางด้วยรถยนต์จะคุ้มค่ากว่าการเดินทางด้วยรถไฟความเร็วปานกลาง ในระยะไกลตั้งแต่ 500 กม.ขึ้นไป การเดินทางด้วยรถไฟความเร็วสูงจะคุ้มกว่าและการเดินทาง 750 กม. เป็นระยะที่คนส่วนใหญ่ 80-90% จะตัดสินใจเปลี่ยนจากทางถนนมาเดินทางเป็นรถไฟแต่ถ้าไกลกว่านั้นก็จะเลือกการเดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มขึ้น

ฝ่ายญี่ปุ่นยังเสนอว่า หากจะให้โครงการเกิดความคุ้มค่าจะต้องพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย โดยจะทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) สูงถึง 14% แต่หากไม่การพัฒนาพื้นที่จะมีผลตอบแทนเพียงแค่ 7% เท่านั้น ซึ่ง 2 ฝ่ายต้องหารือร่วมกันว่าจะพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทางอย่างไร

ขณะเดียวกัน ได้หารือเกี่ยวกับการเชื่อมโยงกับโครงข่ายการเดินทาง เพราะหากเปรียบเทียบระหว่างรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พบว่าโครงการรถไฟไทย-จีน มีความได้เปรียบมากกว่า เพราะว่ามีการเชื่อมโยงทำให้มีผู้โดยสารเพิ่มขึ้นจากประเทศจีนส่วนรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เป็นเส้นทางที่ไม่มีการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ

ฝ่ายไทยจึงเสนอให้ญี่ปุ่นเข้ามาลงทุนโครงการรถไฟทางคู่เส้นตะวันตก- ตะวันออกด้วย เพราะในอนาคตจะมีศักยภาพมากและสามารถเชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงเส้น กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้ โดยรัฐบาลจะเร่งรัดพัฒนารถไฟทางคู่ฝั่งตะวันออกก่อนคือ ช่วงบ้านไผ่ –นครพนม

ด้านญี่ปุ่นจะศึกษาความเหมาะสมโครงการรถไฟทางคู่ช่วง บ้านไผ่-นครสวรรค์,การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) จะศึกษารถไฟทางคู่ ช่วงแม่สอด-ตาก-นครสวรรค์โดยรถไฟทางคู่ ช่วงแม่สอด-ตาก-นครสวรรค์-บ้านไผ่-นครพนม จะรับผู้โดยสารจากรถไฟไทย-จีน มาป้อนให้รถไฟไทย-ญี่ปุ่น ได้ที่สถานีนครสวรรค์

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ฝ่ายญี่ปุ่นได้เสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงเฟสแรก ช่วง กรุงเทพฯ-พิษณุโลกทั้งหมด เหมือนกรณีรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน แต่รัฐบาลไทยพยายามเสนอให้ฝ่ายญี่ปุ่นร่วมทุนด้วยเพื่อประหยัดงบประมาณ เพราะรัฐบาลได้ลงทุนเมกะโปรเจคจำนวนมาก ซึ่งตอนนี้ฝ่ายญี่ปุ่นก็อยู่ระหว่างพิจารณา เพราะฝ่ายญี่ปุ่นเกรงว่าถ้าร่วมทุนกับรัฐบาลไทยแล้ว ก็จะต้องใช้เป็นโมเดลในประเทศอื่น ๆ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2018 5:27 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ อ้อน ญี่ปุ่นร่วมลงทุนไฮสปีดเทรน กทม.-เชียงใหม่ ชงครม.ไฟเขียวมี.ค.นี้

วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 - 14:47 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับกระทรวงที่ดิน โครงสร้างพื้นฐาน การขนส่ง และการท่องเที่ยวแห่งญี่ปุ่น เกี่ยวกับโครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ไทย-ญี่ปุ่น เส้นทาง กทม.-เชียงใหม่ ว่า ญี่ปุ่นได้นำเสนอผลรายงานการศึกษากรณีที่ฝ่ายไทยขอปรับลดต้นทุนโครงการเพื่อลดภาระงบประมาณค่าก่อสร้างตามความเห็นของรัฐบาลไทยว่า ที่ประชุมได้หารือร่วมกัน 3 ประเด็นคือ ต้นทุนโครงการ ความเร็วของรถไฟ และการพัฒนาพื้นที่สถานี สำหรับเรื่องต้นทุนโครงการ 2 ฝ่าย ตั้งคณะทำงานร่วมกันเพื่อพิจารณาปรับลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นเพื่อลดค่าก่อสร้าง โดยญี่ปุ่นเสนอว่าต้องการลดต้นทุนโครงการจะต้องตัดระยะทางโครงการให้สั้นลง และต้องยกเลิกการก่อสร้างบางสถานีออกไปเพื่อประหยัดงบ แต่จะส่งผลกระทบต่อปริมาณผู้โดยสารทำให้เข้ามาใช้บริการ เพราะรถจอดเพียงไม่กี่สถานีเท่านั้น

ทั้งนี้ หากเราจะลดต้นทุนก่อสร้าง ช่วงเฟสแรก กทม.-พิษณุโลก อาจจะต้องตัดบงสถานีออก เช่น ตัดสถานีพิจิตร ออกหรือตัด 2 สถานี คือ ลพบุรี และมาก่อสร้างเพิ่มในภายหลัง ซึ่งช่วยลดต้นทุนได้ แต่เราคิดว่าไม่คุ้มกับผู้โดยสารที่จะหายไป ซึ่งต้องหารือ 2 ฝ่ายร่วมกันอีกครั้งว่าจะมีแนวทางอื่นๆ ที่จะปรับลดต้นทุนหรือไม่

นายอาคมกล่าวถึงประเด็นเรื่องของความเร็วนั้น ยืนยันว่าจะใช้ระบบเทคโนโลยีของรถไฟชินคันเซน ซึ่งจะเป็นรถไฟความเร็วสูง 300 ก.ม./ชม. ตามเดิม เพราะจากผลการศึกษาของญี่ปุ่นระบุว่า หากปรับมาใช้ความเร็วต่ำ ประชาชนจะเลือกเดินทางโดยระบบอื่นที่ไม่ใช่รถไฟแทน โดยพบว่าหากประชาชนเดินทางระยะไม่เกิน 500 ก.ม. การเดินทางโดยรถยนต์จะคุ้มค่ากว่าหากเทียบกับเดินทางโดยรถไฟความเร็วปานกลาง

แต่หากการเดินทางระยะไกลตั้งแต่ 500 ก.ม.ขึ้นไปการเดินทางโดยรถไฟจะคุ้มกว่า และที่ระยะทาง 750 ก.ม. ถือเป็นระยะที่คนส่วนใหญ่ 80-90% จะตัดสินใจเปลี่ยนจากทางถนนมาเดินทางโดยรถไฟเพราะเป็นจุดที่คุ้มค่าสูงสุด



“ญี่ปุ่นระบุว่าการเดินทางระยะทางที่น้อยกว่า 500 ก.ม. ขับรถยนต์จะคุ้มกว่า แต่หากเดินทางระยะทาง 500-750 ก.ม.ขึ้นไป เดินทางโดยรถไฟคุ้มค่ากว่า เพราะฉะนั้นความเร็วของรถไฟก็ถือว่าสำคัญ หากลดความเร็วลงมา การเดินทางก็ช้าลง คนก็จะเลือกไปเดินทางโดยเครื่องบินมากกว่า”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ส่วนประเด็นเรื่องแนวทางการพัฒนาพื้นที่บริเวณสถานีซึ่ง ญี่ปุ่นเสนอว่าหากจะให้โครงการเกิดความคุ้มค่าจะต้อง มีการพัฒนาพื้นที่รอบสถานีด้วย โดยจะทำให้โครงการมีผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูงถึง 14% แต่หากไม่การพัฒนาพื้นที่มีแต่สถานีจะมีผลตอบแทนเพียงแค่ 7% เท่านั้น ซึ่ง 2 ฝ่ายต้องหารือว่าจะร่วมกับพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทางได้อย่างไร

นายอาคมกล่าวต่อว่า ขณะนี้รัฐบาลไทยมีนโยบายที่จะลดภาระงบประมาณด้านการลงทุน ดังนั้นจึงเสนอขอให้ ญี่ปุ่นกลับไปศึกษาแนวทางการลงทุนที่เหมาะสมให้กับไทยด้วย เบื้องต้นได้นำเสนอแนวทางขอให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาร่วมทุนในโครงการดังกล่าว ขณะที่ญี่ปุ่นเสนอว่ามีความพร้อมที่จะให้ฝ่ายไทยกู้เงินในอัตราดอกเบี้ยต่ำ เพื่อดำเนินโครงการ

“รัฐบาลไทยต้องการลดภาระหนี้ โดยได้เสนอให้ญี่ปุ่นเข้าร่วมลงทุนในโครงการนี้ ซึ่งญี่ปุ่นก็ต้องกลับไปหารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และศึกษารูปแบบการลงทุน ร่วมทุน รวมไปถึงรายละเอียดภาพรวมโครงการ ทั้งการปรับลดต้นทุน และแนวทางการพัฒนาพื้นกลับมาเสนอให้ฝ่ายไทยพิจารณาอีกครั้งก่อนที่จะนำผลการศึกษาทั้งหมดเสนอให้ที่ประชุมครม.พิจารณาอนุมัติในเดือนมี.ค.นี้”

//--------------------

หั่นต้นทุนไม่ลง! ไฮสปีด “กทม.-พิษณุโลก” ญี่ปุ่นพร้อมปล่อยกู้-เมินลงขันร่วมลงทุน
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 16:31:00
ปรับปรุง: วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2561 16:36:00



“อาคม” ถกญี่ปุ่นหาทางปรับลดต้นทุนไฮสปีด “กรุงเทพฯ-พิษณุโลก” 2.76 แสนล้านไม่ได้ ประเมินแล้วตัดบางสถานีออกแต่พบทำให้ผู้โดยสารหายไปด้วย ได้ไม่คุ้มเสีย ส่วนความเร็วยันไม่น้อยกว่า 300 กม./ชม. ข้อด้อยเส้นทางสิ้นสุดที่เชียงใหม่ไม่เชื่อมต่อต่างประเทศ ขอญี่ปุ่นศึกษาแนวทางคู่เชื่อม ตาก-นครสวรรค์-มุกดาหาร หาทางดึงผู้โดยสารเข้าระบบเพิ่ม ด้านญี่ปุ่นเมินร่วมทุน เสนอไทยลง 100% เหมือน “ไทย-จีน”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังประชุมร่วมกับ Mr. Noriyoshi YAMAGAMI รองอธิบดีกรมการรถไฟญี่ปุ่น (MLIT) วานนี้ (7 ก.พ.) ว่า ได้หารือในรายละเอียดผลการศึกษาการสำรวจความเหมาะสมโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ภายใต้บันทึกความร่วมมือด้านระบบรางระหว่างไทย-ญี่ปุ่น โดยกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตร มูลค่าลงทุน 276,225 ล้านบาท โดยญี่ปุ่นได้รายงานข้อมูลเพิ่มเติมใน 3 ประเด็น คือ มูลค่าของโครงการ การพัฒนาพื้นที่ การพัฒนาการขนส่งสินค้า การเชื่อมโยงการเดินทางและการขนส่งสินค้าภายในประเทศ และรูปแบบการลงทุนจะสรุปผลการศึกษาความเป็นไปได้เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในเดือน มี.ค.นี้

การปรับลดต้นทุนโครงการลงนั้นจะต้องพิจารณารายละเอียดความจำเป็นของเนื้องานประกอบด้วยว่าอะไรจำเป็นอะไรยังไม่จำเป็น ซึ่งได้หารือว่า จาก 6 สถานี หากตัดบางสถานีออก เช่น สถานีพระนครศรีอยุธยา หรือสถานีพิจิตร จากทั้งหมด 7 สถานีจะเหลือ 5-6 สถานีได้หรือไม่ ซึ่งพบว่าแม้ทำให้ต้นทุนลด แต่เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนผู้โดยสารที่หายไปไม่คุ้มค่า ดังนั้นจึงไม่สรุปว่าจะตัดสถานีออก

ส่วนประเด็นความเร็วนั้น ยืนยันที่ 300 กม./ชม.ตามมาตรฐานของรถชินคันเซ็น ซึ่งญี่ปุ่นอธิบายถึงการกำหนดความเร็วกับระยะทางว่ามีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบขนส่ง เช่น ระยะทาง 500 กม. พบว่าการขับรถยนต์จะรวดเร็วกว่าใช้ขนส่งระบบอื่น กรณีระยะทางเกินกว่า 500-749 กม. จะเป็นระยะที่เหมาะสมกับใช้ระบบรถไฟเดินทางมากที่สุด ดังนั้นกรณีลดความเร็วระบบรถไฟลงจะทำให้ใช้เวลาเดินทางมากขึ้น มีผลต่อการตัดสินใจเลือกใช้ระบบขนส่งอื่นแทน ส่วนระยะทางเกิน 700 กม.ขึ้นไปจะใช้เครื่องบินเดินทาง

สำหรับการพัฒนาพื้นที่ จะเน้นที่พื้นที่สถานีและรอบสถานีเพื่อให้โครงการมีความคุ้มค่า โดยพบว่าช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) ประมาณ 14% หากไม่ทำอะไรเลย 7% ซึ่งจะทำข้อมูลเพิ่มในเรื่องวิธีการพัฒนาพื้นที่ตลอดเส้นทาง ซึ่งหลักคิดญี่ปุ่นจะมุ่งไปที่การพัฒนาเมือง โดยใช้รถไฟนำไปก่อน ดังนั้นการพัฒนาจะได้ต้องใช้เวลาเป็น 10 ปี

นอกจากนี้ จะต้องให้เกิดการเชื่อมโยงโครงข่าย ซึ่งรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เส้นทางกรุงเทพฯ-พิษณุโลก-เชียงใหม่ จะต่างกับรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-*นครราชสีมา-หนองคาย ที่ได้เปรียบที่มีการเชื่อมโยงระหว่างประเทศ มีปริมาณผู้โดยสารจาก สปป.ลาว และจีนเข้ามาในโครงข่าย ดังนั้น ได้เสนอให้ญี่ปุ่นพัฒนาเส้นทางรถไฟทางคู่ แนวตะวันออก-ตะวันตก เพื่อเชื่อมโครงข่ายภายในประเทศ โดยจะเริ่มที่ด้านตะวันออกก่อน เส้นทาง บ้านไผ่-มุกดาหาร ส่วนจากบ้านไผ่-นครสวรรค์ ทางญี่ปุ่นกำลังศึกษา ส่วนจากนครสวรรค์-แม่สอด-ตาก การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ดำเนินการศึกษาเอง ทำให้ผู้โดยสารสามารถใช้เส้นทางรถไฟจากด้านตะวันออก จากจีน-สปป.ลาว ใช้ระบบรถไฟทางคู่ที่มุกดาหาร-นครสวรรค์เพื่อใช้ระบบรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ได้

อย่างไรก็ตาม ในเรื่องการลงทุน ญี่ปุ่นมีความพร้อมในการให้เงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ แต่ไทยเห็นว่าควรมีการร่วมลงทุนเพื่อลดภาระหนี้และการลงทุนภาครัฐ จึงยังไม่ชัดเจน

รายงานข่าวแจ้งว่า ทางญี่ปุ่นเสนอให้ไทยลงทุนโครงการ 100% เช่นเดียวกับความร่วมมือรถไฟไทย-จีน โดยพร้อมในเรื่องเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ขณะที่ไทยต้องการให้ใช้การร่วมลงทุน ดังนั้นจะต้องมีการศึกษารายละเอียดกันอีกหลังจาก ครม.อนุมัติการศึกษาเบื้องต้นแล้ว
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 07/02/2018 10:45 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รุกประมูลรถไฟช่วง2‘ไทย-จีน’เม.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 6 ก.พ. 61


เร่งไฮสปีดเทรน ตอน 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร เปิดประมูลเม.ย.

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 - 12:56 น.

คมนาคมเดินหน้าก่อสร้างไฮสปีดเทรน กทม.-โคราชตอนที่เหลือ ยัน เม.ย.ประมูลตอนที่ 2 มั่นใจปีนี้ ครบทั้ง 13 สัญญา

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟไทยจีน หรือรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร(กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า ขณะนี้การพิจารณารายละเอียดเพื่อดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม. ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม.ยังเดินหน้าอย่างต่อเนื่อง ภายหลังได้ลงเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ไปเมื่อวันที่ 21 ธันวาคมที่ผ่านมา

“ตอนนี้ทางจีนได้ทยอยส่งรายละเอียดการออกแบบก่อสร้างตอนที่ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)พิจารณาอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าจะเริ่มทยอยเปิดประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างเพิ่มเติมได้ในเดือนเมษายนนี้”

นายพีระพล กล่าวว่า สำหรับการพิจารณารายละเอียดต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบการก่อสร้างในตอนที่ 2 จนถึงตอนที่ 4 จะใช้ระยะเวลาไม่นานเหมือนตอนที่ 1 เนื่องจากที่ผ่านมาได้ข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ในการก่อสร้างหมดแล้ว และทางจีนก็มีการส่งรายละเอียดให้ไทยเป็นภาษาอังกฤษเพื่อให้ไทยสามารถถอดแบบได้ ซึ่งจะแต่แตกต่างจากเดิมที่ส่งแบบมาเป็นภาษาจีนจนต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอยู่หลายครั้ง


นายพีระพล กล่าวว่า ก่อนจะมีการก่อสร้างตอนที่ 1 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)ได้มีการอนุมัติโครงการรวมถึงวงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างไปแล้ว ดังนั้นในการประกวดราคาตอนที่เหลือ ซึ่งได้แบ่งออกเป็น 13 สัญญา ก็ไม่ต้องเสนอให้ ครม.พิจารณาอนุมัติก่อน เพราะสามารถดำเนินการได้เลย
“ตามแผนงานที่กระทรวงคมนาคมวางไว้ ทุกตอนที่เหลือจะต้องมีประกวดราคาเพื่อก่อสร้างให้ได้ทั้งหมดภายในปีนี้ เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าไปตามแผนงานที่กำหนด”นายพีระพล กล่าว

นายพีระพล กล่าวว่า ในวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2561 นี้ จะมีการประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 23 ที่สาธารณะรัฐประชาชนจีน หลังจากครั้งที่ 22 ได้จัดขึ้นที่ประเทศไทยไปแล้ว โดยทางผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมก็จะทยอยเดินทางไปตั้งแต่วันที่ 6 กุมภาพันธ์ เพื่อประชุมกลุ่มย่อยก่อน จากนั้นจะมีการประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมประชุมด้วยในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งก็คาดว่าจะมีความคืบหน้าของการดำเนินงานมากขึ้นแน่นอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะมี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา เป็นทางยกระดับ 181.9 กม. ทางระดับพื้น 64.0 กม. เป็นอุโมงค์ 6.4 กม. ตั้งเป้าหมายก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี 2564 โดยใช้รถไฟรุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน ความเร็วสูงสุดได้ 250 กม./ชั่วโมง(ชม.) ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 1.30 ชม.
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44599
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2018 6:06 pm    Post subject: Reply with quote

ลุยก่อสร้างรถไฟเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช มั่นใจปี61 เปิดประมูลครบทั้ง 13สัญญา
โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์ 6 ก.พ. 2561 09:15

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-หนองคาย ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 179,000 ล้านบาทว่า การพิจารณารายละเอียดการก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม., ตอนที่ 3 ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กม. และตอนที่ 4 ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 กม. เดินหน้าต่อเนื่อง หลังจากเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. แล้วเมื่อวันที่ 21 ธ.ค.ที่ผ่านมา

"ตอนนี้จีนได้ทยอยส่งรายละเอียดการออกแบบก่อสร้างตอนที่ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) พิจารณาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะใช้เวลาพิจารณาไม่นานนัก เพราะมีข้อสรุปเกี่ยวกับรายละเอียดวัสดุอุปกรณ์ที่จะใช้ก่อสร้างหมดแล้ว คาดว่าจะทยอยเปิดประกวดราคา เพื่อหาผู้รับเหมาก่อสร้างได้ในเดือน เม.ย.นี้"

อย่างไรก็ตาม ในการก่อสร้างทั้ง 3 ตอนที่เหลือ ซึ่งแบ่งเป็น 13 สัญญานั้น ไม่ต้องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา เพราะ ครม.ได้อนุมัติโครงการก่อสร้าง และวงเงินที่ใช้ในการก่อสร้างในภาพรวมไปแล้ว ตั้งแต่ก่อนก่อสร้างตอนที่ 1 ทำให้สามารถก่อสร้างได้ทันที โดยตามแผนงานของกระทรวง ทั้ง 3 ตอน จะประกวดราคาเพื่อเริ่มก่อสร้างให้ได้ทั้งหมดภายในปี 61 นี้ ทั้งนี้ ในวันที่ 8 ก.พ.นี้ จะมีการประชุมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 23 ที่จีน คาดว่าจะมีความคืบหน้าของการดำเนินงานมากขึ้น ขณะที่ผู้สื่อข่าวรายงานว่า รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะมี 6 สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา ตั้งเป้าหมายเปิดให้บริการปี 64 ใช้รถไฟรุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน ความเร็วสูงสุด 250 กม./ชั่วโมง (ชม.) ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย 1.30 ชม.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2018 4:46 pm    Post subject: Reply with quote

6 เมืองน่าอยู่ สนข.กางแผนพัฒนาระบบขนส่งสาธารณะ
จันทร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2561 เวลา 12.19 น.
สนข.จัดสรรงบประมาณ 400 ล้านบาทศึกษาการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน นำร่อง 6เมืองหลัก

นางวิไลรัตน์ ศิริโสภณศิลป์ รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยว่า ในปี 61 สนข.ได้รับจัดสรรงบประมาณ 400 ล้านบาทว่าจ้างที่ปรึกษาศึกษาการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานีขนส่งมวลชน (Transit-Oriented Development หรือ TOD) ซึ่งกำลังคัดเลือกบริษัทที่ปรึกษา ใช้เวลาศึกษา 18 เดือน ในพื้นที่ 6 เมืองหลักที่มีการศึกษาระบบขนส่งสาธารณะ ได้แก่ จ.ขอนแก่น, อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา, ภูเก็ต, เชียงใหม่, นครราชสีมา และพิษณุโลก

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า การพัฒนา TOD จะส่งผลในการช่วยเพิ่มมูลค่าจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งยังนำรายได้มาสนับสนุนและพัฒนาระบบขนส่ง ย่านพื้นที่การขนส่ง และภายในเมืองนั้นๆ เบื้องต้นในการศึกษาอาจจะนำรูปแบบของประเทศญี่ปุ่นมาปรับใช้กับการพัฒนาของประเทศไทย ทั้งการวางผังเมือง การแก้กฎหมาย ระเบียบการพัฒนาระบบรางควบคู่กับการพัฒนาพื้นที่โดยรอบสถานี และเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจด้วย เนื่องจากญี่ปุ่นมีความเชี่ยวชาญการสร้างโครงสร้างพื้นฐานและพบว่าการพัฒนาระบบรางและการเพิ่มมูลค่าพื้นที่โดยรอบสถานีญี่ปุ่นทำได้ดีในระดับโลก อีกทั้งญี่ปุ่นยังเป็นแม่แบบการพัฒนาเมือง จัดรูปที่ดิน และการขนส่ง

นางวิไลรัตน์ กล่าวต่อว่า จากหลักการของการพัฒนา TOD ใน 6 เมืองข้างต้นนั้น ภาคท้องถิ่นเห็นด้วยและให้ความสำคัญให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ ซึ่งที่ผ่านมายังมีข้อจำกัดและความท้าทายของโครงการต่างๆ เช่น เส้นทางของท้องถิ่น ประสบปัญหาขาดทุน ไม่มีงบประมาณไปจุนเจือดูแลการพัฒนา TOD จะช่วยหารายได้ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 06/02/2018 4:45 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 289,930,600 บาท ได้แก่ โครงการศูนย์วิจัยพัฒนา ทดสอบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟคามเร็วสูงของประเทศไทย เป็นงบวิจัย การผลิตและพัฒนาแรงงาน การเป็นศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง และการสรุปติดตามและประเมินผลโครงการ
https://mgronline.com/daily/detail/9610000011606


เลขาฯสภาวิศวกร เผยความคืบหน้า “โครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน” เร่งจัดหลักสูตรถ่ายโอนเทคโนโลยี

วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2561 - 12:40 น.

ศ.ดร. อมร พิมานมาศ เลขาธิการสภาวิศวกร เปิดเผยความคืบหน้าโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีนว่า ขณะนี้ สภาวิศวกรกำลังเร่งจัดหลักสูตรถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านออกแบบงานโยธา 11 แขนง และการเชื่อมต่อกับแขนงอื่นๆ เช่นไฟฟ้า และเครื่องกลอีก 16 แขนง โดยเมื่อหลักสูตรได้รับความเห็นชอบจากทั้งสองฝ่ายแล้ว ทางไทยจะส่งผู้เชี่ยวชาญไปเข้ารับการอบรมในหลักสูตรดังกล่าวที่ประเทศจีน

โดยจะนำความรู้ที่ได้มาฝึกอบรมวิศวกรไทยรุ่นต่อๆไป เพื่อเตรียมความพร้อมวิศวกรไทยที่จะรองรับงานออกแบบด้านโยธาในเฟส 2 ช่วง นครราชสีมา-หนองคาย สำหรับการถ่ายโอนเทคโนโลยีด้านอื่นๆ เช่น การประกอบตู้รถ การสร้างห้องปฏิบัติการทดสอบ จะได้เจรจากับฝ่ายจีนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44599
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/02/2018 1:57 pm    Post subject: Reply with quote

รุกประมูลรถไฟช่วง2‘ไทย-จีน’เม.ย.นี้
กรุงเทพธุรกิจ 6 ก.พ. 61

นโยบายเศรษฐกิจ

คมนาคม เดินหน้าเปิดประมูลไฮสปีดเทรน ไทย-จีน ระยะที่ 2 เม.ย.นี้ ดันเปิดประมูลครบ 13 สัญญาในปีนี้ ด้าน อาคม บินร่วมประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 23 ที่จีน 8 ก.พ.นี้

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย เฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร (กม.) วงเงิน 1.79 แสนล้านบาทว่า

หลังจากกรมทางหลวง (ทล.) เริ่มก่อสร้างเส้นทางตอนที่1ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง3.5 กม.ไปเมื่อวันที่21ธ.ค. 2560 ตอนนี้อยู่ระหว่างพิจารณารายละเอียดเพื่อก่อสร้างตอนที่ 2 ช่วงปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง11 กม. ตอนที่3ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง119.5 กม. และตอนที่4ช่วงแก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง119 กม.

โดยการพิจารณารายละเอียดแบบก่อสร้างตอนที่ 2-4 รวม 13 สัญญางานโยธาจะใช้ระยะเวลาไม่นานเหมือนตอนที่1 เนื่องจากได้ข้อสรุปเรื่องวัสดุก่อสร้างหมดแล้ว และทางจีนได้ส่งรายละเอียดให้ฝ่ายไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อให้ฝ่ายไทยสามารถถอดแบบได้ แตกต่างจากเดิมที่ส่งแบบมาเป็นภาษาจีน จนต้องมีการหารือร่วมกันเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนอยู่หลายครั้ง

เบื้องต้นกระทรวงคมนาคมตั้งเป้าหมายจะประกวดราคางานโยธาให้ครบทั้ง 13 สัญญาภายในปีนี้ เพื่อให้การก่อสร้างเดินหน้าได้ตามแผน

ตอนนี้จีนได้ทยอยส่งรายละเอียดการออกแบบก่อสร้างตอนที่ 2 ให้การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) พิจารณาอย่างต่อเนื่อง จึงคาดว่าจะเริ่มทยอยเปิดประกวดราคาเพื่อหาผู้รับเหมาเข้ามาก่อสร้างเพิ่มเติมได้ในเดือน เม.ย. นี้ นายพีระพลกล่าว

สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 23 จะจัดขึ้นในวันที่ 8 ก.พ. นี้ ที่สาธารณะรัฐประชาชนจีน โดยผู้บริหารของกระทรวงคมนาคมก็จะทยอยเดินทางไปตั้งแต่วันนี้ (6ก.พ.) เพื่อประชุมกลุ่มย่อยก่อน จากนั้นจะประชุมคณะกรรมการชุดใหญ่ที่มีนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมร่วมประชุมด้วยในวันที่ 8 ก.พ. ซึ่งก็คาดว่าจะมีความคืบหน้าของการดำเนินงานมากขึ้นแน่นอน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า รถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา จะมี6สถานี ได้แก่ สถานีกลางบางซื่อ สถานีดอนเมือง สถานีอยุธยา สถานีสระบุรี สถานีปากช่อง และสถานีนครราชสีมา เป็นทางยกระดับ181.9 กม. ทางระดับพื้น64.0 กม. เป็นอุโมงค์6.4 กม. โดยตั้งเป้าหมายจะก่อสร้างแล้วเสร็จและเปิดให้บริการในปี2564-2565 ซึ่งจะใช้รถไฟรุ่น FUXINGHAO ซึ่งเป็นรถไฟความเร็วสูงรุ่นล่าสุดของจีน ทำความเร็วสูงสุดได้250 กม./ชั่วโมง ใช้เวลาเดินทางตลอดสาย1.30ชั่วโมง

Click on the image for full size
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44599
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/02/2018 9:43 pm    Post subject: Reply with quote

Update งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายนครราชสีมา ตอน 1 - 3/2/2561อัลบั้มUpdate งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายนครราชสีมา ตอน 1 - 3/2/2561

Update งานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายนครราชสีมา ตอน 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก - 3/2/2561 ดำเนินการก่อสร้างฐานรากโดยกรมทางหลวง

Arrow https://www.facebook.com/pg/ThaiRailNews/photos/?tab=album&album_id=1590842380997748
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2018 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

เอไอเอส-ดีแทค ค้านนำคลื่น 850-900 ไปใช้กับรถไฟความเร็วสูง
2 กุมภาพันธ์ 2561 -



เอไอเอส-ดีแทค ค้านนำคลื่น 850-900 ไปใช้กับระบบรถไฟความเร็วสูง ชี้ควรใช้งานสำหรับโมบายเหมือนเดิม เกรงสัญญาณรบกวนกัน

-2 ก.พ.61-ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2561 สมาคมโทรคมนาคมแห่งประเทศไทยได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ(Workshop)เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายแก่ภาครัฐในประเด็น"5G &Disruptive Technology Supporting Thailand 4.0:Challengs and Opportunities" ณ ห้องประชุม อาคาร5(อาคารโรงอาหาร) บริษัท ทีโอที จำกัด(มหาชน) ปรากฏว่า การประชุมเชิงวิชาการครั้งนี้ ค่ายมือถือสองราย คือ เอไอเอส หรือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด(มหาชน) และบริษัท โทเทิ่ลแอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่นส์ จำกัด(มหาชน) หรือ ดีแทค มีความเห็นสอดคล้องกันเกี่ยวกับเรื่องการนำคลื่นความถี่ 850-900 เมกะเฮิรตซ์ ไว้ใช้สำหรับระบบคมนาคมขนส่งทางราง (รถไฟความเร็วสูง) ว่า ควรนำคลื่นความถี่ดังกล่าวกลับมาใช้เป็นคลื่นโมบายเหมือนเดิม เพราะคลื่นความถี่ช่วง 850-900 เมกะเฮิรตซ์ถูกออกแบบมาเพื่อใช้กับกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่

"ถ้าเกิดนำมาใช้กับระบบขนส่งทางรางคลื่นอาจจะรบกวนกันได้"

สำหรับคลื่นความถี่อยู่ภายใต้ระบบสัมปทานของบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด(มหาชน) กับดีแทค จะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานกันยายน2561

นอกจากนี้ ดีแทค ยังมีข้อเสนอ กสทช.ควรจะจัดระบบข้อมูลผู้ที่นำคลื่นความถี่ไปใช้อย่างชัดเจน และการจัดทำแผนรีฟาร์มมิ่งคลื่นความถี่ แม้ กสทช.มีนโยบาย แต่ตอนนี้ยังไม่มีความเห็นที่ชัดเจน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42724
Location: NECTEC

PostPosted: 05/02/2018 10:28 am    Post subject: Reply with quote

สถาบันเทคโนโลยีเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 289,930,600 บาท ได้แก่ โครงการศูนย์วิจัยพัฒนา ทดสอบ และถ่ายทอดเทคโนโลยีรถไฟคามเร็วสูงของประเทศไทย เป็นงบวิจัย การผลิตและพัฒนาแรงงาน การเป็นศูนย์วิจัยและถ่ายทอดเทคโนโลยี การถ่ายทอดเทคโนโลยีขั้นสูง และการสรุปติดตามและประเมินผลโครงการ
https://mgronline.com/daily/detail/9610000011606
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 294, 295, 296 ... 546, 547, 548  Next
Page 295 of 548

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©