Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13264856
ทั้งหมด:13576139
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 306, 307, 308 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 02/12/2017 11:53 pm    Post subject: Reply with quote

อีไอเอรถไฟไทย-จีนผ่านฉลุย ดีเดย์ตอกเข็ม3.5กม.-เคลียร์เวนคืน


นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) โครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา หรือรถไฟไทย-จีน ระยะทาง 253 กม. เงินลงทุน 179,412.21 ล้านบาท ได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแล้วเมื่อ 30 พ.ย. 2560 ต่อจากนี้ จะนำเรื่องเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.)พิจารณาเดินหน้าโครงการ

“ในการประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 22 เมื่อ 24 พ.ย. ทั้งไทยและจีนเห็นร่วมกันว่าจะเริ่มงานก่อสร้างช่วงแรก จากสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม.ภายใน 21 ธ.ค.นี้ ซึ่งจะครบ 3 ปีพอดีที่ 2 รัฐบาลผลักดันโครงการ นับจากมีการเซ็น MOC ตั้งแต่ 19 ธ.ค. 2557”

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวเพิ่มเติมว่า อีไอเอรถไฟไทย-จีน ผ่านการอนุมัติโดยคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมมีความเห็นเพิ่มเติม ให้คมนาคมกำชับการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ทำตามมาตรการลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม เช่น ช่วงเทปูนต้องมีแผ่นกั้นป้องกันฝุ่นกระจาย ระหว่างออกแบบก่อสร้างให้ระมัดระวังสัตว์ตามแนวเส้นทาง เป็นต้น

“หลังอีไอเอผ่านแล้ว จะลงมือก่อสร้างช่วงแรก 3.5 กม. เป็นงานถมคันดิน วงเงิน 425 ล้านบาท โดยการรถไฟฯจะกู้เงินในประเทศ จ้างกรมทางหลวงดำเนินการ จะใช้เวลา 6 เดือน แล้วเสร็จกลางปี 2561”

ที่เหลืออีก 249 กม. ได้แก่ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม. จีนจะทยอยส่งแบบรายละเอียดภายใน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ทยอยเปิดประมูลแบบอีบิดดิ้ง วงเงินรวม 122,593.92 ล้านบาท แบ่ง 14 สัญญา ๆ

ละ 8,000-10,000 ล้านบาท เปิดให้ผู้รับเหมาไทยทั้งงานถนน อุโมงค์และรถไฟฟ้า เข้าร่วมประมูลได้ทุกสัญญา คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาครบปลายปี 2561 ใช้เวลาสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 2564

สำหรับการเวนคืนที่ดินและรื้อย้ายตลอดแนวเส้นทาง ใช้งบฯ 13,069 ล้านบาท แยกเป็นค่าเวนคืน 212 ล้านบาท เนื่องจากก่อสร้างบนแนวเส้นทางรถไฟเดิม ส่วนใหญ่เวนคืนในจุดที่เป็นจุดเลี้ยวโค้ง และที่ตั้งสถานี 10-15% หรือ 2,815 ไร่ จากการสำรวจต้องรื้อท่อก๊าซของ ปตท. จากช่วงรังสิต-ภาชี ระยะทาง 40 กม. และช่วงคลอง 1-คลองพุทรา ใกล้แนวเส้นทางโครงการ อาจไม่ปลอดภัย ต้องปรับแบบสร้างห่างจากแนวเดิม 13 เมตร ซึ่ง ปตท.จะออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร รมช.คมนาคม กล่าวว่า การรื้อท่อก๊าซ ปตท.แนวรถไฟไทย-จีน ไม่เป็นปัญหา สามารถดำเนินการได้ แต่ทางเทคนิคและการออกแบบระบบท่อก๊าซสามารถวางไว้ด้านข้างระบบรางหรือถนนได้ เพราะการวางระบบท่อก๊าซไปยังภูมิภาคต่าง ๆ เท่ากับนำความเจริญไปสู่ประชาชนในพื้นที่ ปัจจุบัน ปตท.มีในภาคกลาง ตะวันตกและตะวันออก ยังขาดภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 28/11/2017 11:49 pm    Post subject: Reply with quote


จีนเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทยได้ใช้ปี 65 (ตอนที่ 1)


จีนเดินหน้ารถไฟความเร็วสูง จีน-ลาว-ไทยได้ใช้ปี 65 (ตอนที่ 2)
https://www.youtube.com/watch?v=YVgw4N-B9b4[url][/url]

https://www.youtube.com/watch?v=VydLuTt5s6M
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2017 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
เจรจามาเลย์ทำไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์
พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 00.46 น.


หอการค้าภาคใต้/ชายแดน จ่อ ชง”บิ๊กตู่” ดันเมกกะโปรเจกต์ 2 แสนล้าน ตั้งเป้า จีดีพี อีก 30 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี
เผยแพร่: 27 พฤศจิกายน 2560 11:00:00 โดย: MGR Online


หอการค้าภาคใต้/ชายแดน จ่อ ชง”บิ๊กตู่” ดันเมกกะโปรเจกต์ 2 แสนล้าน ตั้งเป้า จีดีพี ปี 2579 หรืออีก 30 ปีเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี ฝันปีแรก 7.2 หมื่นล้าน ชูเชื่อมโยง 2 มหาสมุทร หนุนท่องเที่ยว การค้าลงทุน โดยเฉพาะ เสนอ “เส้นทางสายอัญมณี-วัฒนธรรม เสนอเร่งโครงสร้างพื้นฐาน ขายถนนเพชรเกษมระนอง-ตรัง ให้เสร็จปี 62 พร้อมหนุนงบโครงการที่ศึกษาเสร็จ “รถไฟท่องเที่ยวสุราษฎร์ฯ-ท่านุ่น” “ท่าเรือครูซ สมุย -กระบี่” พร้อมเร่งศึกษา “รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง” “สะพานสตูล -เปอร์ลิส (ตามะลัง ปูยูบูเก็ต-ปูเต๊ะ) มูลค่า 3 หมื่นล้าน

วันนี้(27 พ.ย.) มีรายงานจากทำเนียบรัฐบาลว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) จังหวัดภาคใต้และชายแดนใต้ ที่ โรงแรม บีพี สิมิหลาบีช อ.เมือง จ.สงขลา ในช่วงเย็นวันนี้ หอการค้าภาคใต้ จะเสนอแนวคิดทฤษฎี Big Bang Theory ซึ่งจะเป็นการเสนอทุ่มงบประมาณลงมาในจุดที่สำคัญ (Focus Areas) จนทำให้เกิดการกระจายตัวของการค้าการลงทุน และเกิดการเชื่อมโยงของเศรษฐกิจตลอดห่วงโซคุณค่า โดยจะมีการเชื่อมโยง อนุภูมิภาค (IMT-GT,BIMSTEC, Asean+6, GMS, CLMVT) ทั้งนี้ รายได้ประชากรของภาคใต้ (คน/ปี) ปี 2557 อยู่ที่ 123,684 บาท โดยตั้งเป้าว่า GRP ภาคใต้ จนถึงปี 2579 ต้องเพิ่มขึ้นร้อยละ 6 ต่อปี (ปีแรก 72,000 ล้านบาท)

“งบลงทุนที่หอการค้าภาคใต้ คาดว่าจะทำให้เกิดโครงการพัฒนาพื้นที่จังหวัดชายใต้ และพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นโครงการขนาดใหญ่ วงเงินประมาณ 2 แสนล้านบาท ที่จะเริ่มดำเนินการในปี 2562-2563”

สำหรับ โครงการพัฒนาภาคใต้และชายแดนใต้ ที่จะเกิดขึ้น ได้แก่ การพัฒนาและขยายโครงข่ายเส้นทางรถไฟจังหวัดชุมพร-จังหวัดระนอง ,โครงการขยายท่าเรือระนอง Land Bridge ชุมพร -ระนอง ,ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ สปา ชุมพร-ระนอง ,โครงการท่าเทียบเรือสำราญ (ท่าเรือครูสซ์) สุราษฎร์ธานี ,โครงการขยายเส้นทางเพชรเกษมสาย 4 เป็น 4 ช่องจราจร โครงการรถไฟท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (จ.พังงา) ,การพัฒนารถไฟสายอันดามัน เพื่อการท่องเที่ยว

โครงการท่าเทียบเรือสำราญ (ท่าเรือครูสซ์) กระบี่ ,ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปา กระบี่ ,Smart City จ.ภูเก็ต ,โครงการรถไฟทางคู่ช่วงสุราษฎร์ธานี -ชุมทาง หาดใหญ่ -สงขลา ,โครงการท่าเรือสงขลา 2 ,โครงการศึกษาและออกแบบถนนสะพานสตูล- เปอร์ลิส เพื่อสนับสนุนกิจกรรมเศรษฐกิจในภาคใต้ วงเงิน 2-3 หมื่นล้านบาท ,โครงการพัฒนารถไฟรางคู่ ปาดังเบซาร์ หาดใหญ่,โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สาย หาดใหญ่-ชายแดนมาเลเซีย ,โครงการท่าเรือนาเกลือ อ.กันตัง ,โครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่าง เมือง สายสงขลา -สตูล

โครงการ ICD ทุ่งสง โครงการท่าเทียบเรือประมงให้ได้มาตรฐาน ,เขตเศรษฐกิจพิเศษสะเดา จ.สงขลา ,โครงการท่าเรือนาเกลือ อ.กันตัง ,การจัดตั้งเขตเศรษฐกิจนราธิวาส สะพานข้ามแม่น้ำโก-ลกแห่งใหม่ พัฒนาท่าอากาศยานนราธิวาส และก่อสร้างท่าอากาศยาน เบตง พัฒนาศักยภาพด่านพรมแดนเบตง

มีรายงานว่า สำหรับประเด็นข้อเสนอ ที่หอการค้าภาคใต้ จะเสนอการเชื่อมโยง 2 สมุทร อ่าวไทยและอันดามัน เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวการค้า และการลงทุน โดยเฉพาะ โครงข่ายเพื่อการท่องเที่ยว Jewel Route เส้นทางสายอัญมณี และเส้นทางสายวัฒนธรรม

รวมถึง เสนอด้านโครงสร้างพื้นฐาน ประกอบด้วย 1. เร่งรัดโครงการและจัดสรรงบประมาณต่อเนื่อง เพื่อดำเนินการให้แล้วเสร็จตาม แผนงาน ประกอบด้วย 1.1 เร่งรัดการขยายถนน เป็น 4 ช่องจราจร เส้นทางหมายเลข 4 ถนนเพชร เกษม (จ.ระนอง -จ.ตรัง)ให้แล้วเสร็จทั้งระบบ ภายในปี 2562 2. สนับสนุนงบประมาณโครงการที่ได้ทำการศึกษาแล้วเสร็จ เพื่อให้มีการดำเนินงานตามแผนงาน ประกอบด้วย 2.1 รถไฟท่องเที่ยวเส้นทางสุราษฎร์ธานี-ท่านุ่น (จ.พังงา) 2.2 โครงการท่าเรือครูซ สมุย -กระบี่ 3. เร่งรัดการศึกษาและออกแบบโครงการที่เป็นศักยภาพของพื้นที่ ประกอบด้วย 3.1 รถไฟสายใหม่ชุมพร-ระนอง 3.2 โครงการศึกษาและออกแบบสะพานสตูล -เปอร์ลิส (ตามะลัง ปูยูบูเก็ต-ปูเต๊ะ)

สภาเกษตรกรแห่งชาติภาคใต้ เสนอแก้ “ยางพารา-ปาล์ม-ประมง”ระยะเร่งด่วน!

มีรายงานด้วยว่า สภาเกษตรกรแห่งชาติภาคใต้ และภาคใต้ชายแดน ยังจะเสนอ แนวทางแก้ปัญหาพืชเศรษฐกิจ 3 ชนิด ประกอบด้วย “ยางพารา” เสนอ ดังนี้ 1. รัฐบาลต้องผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมยางพาราในภาคใต้โดยด่วน

2. รัฐบาลออกมาตรการหรือประกาศเป็นวาระแห่งชาติเพื่อส่งเสริมให้มีการใช้ ยางพาราในประเทศอย่างเป็นรูปธรรม ดังนี้ 1. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น น ายางพารามาเป็นส่วนประกอบในการทำถนน Para Rubber Soil Cement ระหว่างหมู่บ้าน/ตำบล ตามผลงานวิจัยของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 2. ถนนสายหลักที่รับผิดชอบโดย กรมทางหลวงและกรมทางหลวงชนบทให้ใช้ ยางพาราเป็นส่วนผสม 5-7 %

3. ให้การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ดำเนินการ ดังนี้ 3.1 ยกเลิกบริษัทร่วมทุน จำกัด เพราะไม่เป็นไปตามเจตนารมย์ ของ พระราชบัญญัติการยางแห่งประเทศไทย พ.ศ.2558 3.2 เร่งหาตลาดให้องค์กรเกษตรกรที่มีการแปรรูปยางพาราเพื่อต่อยอดธุรกิจ การค้ายางพารา 3.3 นำยางพาราไปสร้างผลิตภัณฑ์ เช่น ยางรถยนต์ ยางรถจักรยานยนต์ และ ให้ส่วนราชการทุกส่วนใช้ผลิตภัณฑ์ ยางพาราที่ผลิตในประเทศก่อนเป็นอันดับแรก พร้อมทั้ง ส่งเสริม และรณรงค์ให้ประชาชนทั่วไปพิจารณาใช้ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในประเทศอย่างเป็น รูปธรรม

4. ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยางรายย่อย (มีพื้นที่ปลูก 25 ไร่ลงมา) ได้มีอาชีพเสริมในสวนยาง เช่น ปลูกหญ้า เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชร่วมยางหรืออาชีพอื่นๆ ตามความ ต้องการของตลาด และความเหมาะสมของแต่ละพื้นที่ โดยรัฐบาล สนับสนุนแหล่งเงินทุน ปลอดดอกเบี้ย หรือดอกเบี้ยต่ำในการประกอบอาชีพเสริม

แก้ปัญหาปาล์มน้ำมัน เสนอดังนี้ 1. รัฐบาลควรจะเร่งให้มีการประกาศใช้พระราชบัญญัติปาล์มน้ำมันและน้ำมัน ปาล์มโดยเร่งด่วน 2. เสนอให้เป็นมติ ครม. เพื่อให้การพัฒนาปาล์มน้ำมันเป็นไปตามยุทธศาสตร์การ ปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560-2579 ที่คณะกรรมการนโยบายปาล์มน้ำมันแห่งชาติ (กนป.) มีมติเห็นชอบเมื่อ วันที่ 26 ตุลาคม 2559 และคณะรัฐมนตรีมีมติ รับทราบแล้วเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2559

3. มาตรการเร่งด่วน 3.1 ให้กระทรวงพาณิชย์อำนวยความสะดวกให้ผู้ส่งออกน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) สามารถส่งออกได้โดยเร็ว เพื่อลดปริมาณน้ำมันคงคลัง (Stock) ให้ลดลงอย่างน้อย 1 แสนตัน 3.2 การจัดระบบซื้อขายปาล์มทะลายสดให้ดำเนินการตามแผนยุทธศาสตร์ การปฏิรูปปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มทั้งระบบ ปี 2560 - 2579 3.2.1 ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มประกาศเปอร์เซ็นต์น้ำมันปาล์มดิบที่ ผลิตได้ในวันถัดไปหลังจากการสกัด 3.2.2 ให้โรงงานสกัดน้ำมันปาล์มประกาศราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ทุกวันเพื่อจะกำหนดราคาซื้อขายปาล์มทะลายสดอย่างเป็นธรรม 3.2.3 ให้โรงงานรับซื้อปาล์มทะลายที่มีคุณภาพเท่านั้น (ที่เปอร์เซ็นต์ น้ำมันไม่ต่ำกว่า 18 %) ตามประกาศของกระทรวงพาณิชย์ที่จะต้องผลิตปาล์มคุณภาพที่ เปอร์เซ็นต์น้ำมัน 18-22

แก้ปัญหาประมง ดังนี้ 1. ให้รัฐบาลจัดตั้งศูนย์ฝึกอาชีพให้กับแรงงานไทย แทนแรงงานต่างด้าว ในด้าน ประมง เพื่อความยั่งยืนในอาชีพ โดยสร้างแรงจูงใจให้แก่แรงงานไทย ให้ค่าตอบแทนที่สูงกว่า แรงงานต่างด้าว ทั้งนี้ได้หารือและเป็นที่ยอมรับของสมาคมประมงแห่งประเทศไทยแล้ว 2. เพื่อรักษาระบบนิเวศชายฝั่งอย่างยั่งยืนและสามารถให้ประชาชนที่มีอาชีพ ประมงชายฝั่ง ทำมาหากินได้อย่างยั่งยืน จะต้องพัฒนาระบบการบำบัด น้ำเสียจากชุมชนเมือง ชุมชนริมแม่น้ำ ที่ปล่อยลงสู่แม่น้ำลำคลอง โดยจะต้องผ่านระบบบำบัดน้ำเสียก่อนปล่อยสู่ คลองธรรมชาติ.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2017 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ชง'บิ๊กตู่'ตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีนเฟส1ดีเดย์ 21ธ.ค.นี้
Publisher : 24 พฤศจิกายน 2560


เคาะแล้ว! ตอกเข็มรถไฟไทย-จีนเฟสแรก 3.5 กม. 21 ธ.ค.นี้ อีก 249 กม. แบ่งสร้าง 14 ตอน เริ่มปีหน้า
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 21:20 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า การประชุมความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีนครั้งที่ 22 ได้มีการหารือวันที่เริ่มต้นการก่อสร้างตอนที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร วงเงิน 425 ล้านบาท โดยกำหนดเป็นวันที่ 21 ธ.ค.60 ซึ่งต้องเรียนนายกรัฐมนตรีให้เป็นประธานการเริ่มโครงการ

ส่วนตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ตอนที่ 3 แก่งคอย-นคราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร และตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 110 กิโลเมตร จะแบ่งการก่อสร้างออกเป็น 14 สัญญา ซึ่งจัดลำดับตามความสำคัญโดยเริ่มจากกรุงเทพฯก่อน

“หากสถานีไหนก่อสร้างเสร็จก็จะเปิดการเดินรถให้ทันเป็นช่วงๆ เช่น เริ่มออกแบบ ประมูล ก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา และเปิดบริการก่อน เป็นต้น จากนั้นค่อยทยอยก่อสร้างสถานีต่อไป” นายอาคมกล่าว และว่า สัญญา 2.3 งานระบบรถไฟความเร็วสูง อาณัติสัญญาณตัวรถ การเดินรถและบำรุงรักษาเร่งให้ฝ่ายจีนหาข้อสรุปภายใน มี.ค.61 เพื่อให้ทันต่อการก่อสร้างและเปิดบริการ

ส่วนการศึกษารถไฟความเร็วสูงจากนครราชสีมา-หนองคาย ใช้ผลการศึกษาความเหมาะสมที่ฝ่ายไทย ได้แก่ สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่ประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา หลังจากนั้นไทยก็จะออกแบบรายละเอียดการก่อสร้าง ซึ่งมีจีนเป็นที่ปรึกษาขณะนี้รอความเห็นผลการศึกษาของฝ่ายจีนคาดว่าเริ่มต้นได้ภายในปี 2561

นอกจากนี้ยังได้หารือการถ่ายทอดเทคโนโลยี ซึ่งหลังจากการประชุมจีนจะส่งผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันรถไฟความเร็วสูงมาทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี ภายในเดือน ธ.ค.2560
แบ่งการถ่ายทอดออกเป็น 3 ส่วน คือ
1.การศึกษาด้านเทคนิค ระดับปริญญา
2.ฝึกอบรมด้านเทคนิครถไฟความเร็วสูง แลกเปลี่ยนหลักสูตรการสอน
3.ฝึกการขับรถและซ่อมบำรุง

รวมทั้งการเชื่อมต่อหนองคาย-เวียงจันทน์ ซึ่งไทย จีน และลาว จะต้องหารือร่วมกันเพื่อให้สามารถเชื่อมต่อได้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/11/2017 10:38 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
มีคนเอาภาพจากการสัมมนา Thailand – Japan Railway Partnership for Connectivity Success Sharing Advanced SHINKANSEN Technologies & Area development เอามาให้ผมดูทำให้ได้ข้อมูล เพิ่มเติมดังนี้

จากสถานีกลางบางซื่อ
ถึงดอนเมือง ระยะทาง 13.715 กม. - 6 นาที
ถึงอยุธยาระยะทาง 63.344 กม. - 25 นาที
ถึงลพบุรีระยะทาง - 115 + 533 กม. - 44 นาที
ถึงนครสวรรค์ระยะทาง - 237 + 448 กม. - 1 ชั่วโมง 14 นาที
ถึงพิจิตร 338.528 กม. - 1 ชั่วโมง 43 นาที
ถึงพิษณุโลก - 380.035 กม. - 1 ชั่วโมง 58 นาที
ถึงสุโขทัย - 434.954 กม. - 2 ชั่วโมง 15 นาที
ถึงศรีสัชนาลัย - 487 + 738 กม. - 2 ชั่วโมง 31 นาที
ถึงลำปาง - 587.873 กม. - 2 ชั่วโมง 58 นาที
ถึงลำพูน - 650.386 กม. - 3 ชั่วโมง 17 นาที
ถึงเชียงใหม่ - 672.848 กม. - 3 ชั่วโมง 27 นาที

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=1233986490035595&set=gm.1194673350662915&type=3&theater&ifg=1


ตอนนี้รู้แหล่งที่มาแล้ว - อยู่ที่ ASEAN Infrastructure Projects
https://www.facebook.com/Infrastructure.ASEAN/photos/pcb.129619347714504/129619264381179/?type=3&theater
https://www.facebook.com/Infrastructure.ASEAN/posts/129619347714504
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 26/11/2017 2:35 am    Post subject: Reply with quote

เจรจามาเลย์ทำไฮสปีดเทรนกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์
พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2559 เวลา 00.46 น.

"คมนาคม’ สั่งรฟท. เจรจาต่อยอดโครงการรถไฟความเร็วสูงถึงกัวลาลัมเปอร์ เผยจีน-ญี่ปุ่นเสนอตัวพร้อมช่วยศึกษาความเหมาะสม

 
            นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า  มีแผนหารือกับรมว.คมนาคมมาเลเซียโครงการเชื่อมต่อรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) ระหว่างกรุงเทพฯ ถึงกรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมอบหมายให้คณะทำงาน หารือกับระดับเจ้าหน้าที่ของประเทศมาเลเซียก่อนจะหารือกันอย่างเป็นทางการเกี่ยวกับกรอบทำงานและศึกษาความเหมาะสมร่วมกัน เนื่องจากเป็นโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางใหม่และมีระยะทางค่อนข้างยาว จึงต้องศึกษาว่า ประเทศใดประเทศหนึ่งจะศึกษาทั้งเส้นทางหรือแบ่งกันศึกษาคนละครึ่ง เป็นต้น

            “มีโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หัวหิน ซึ่งจะลงภาคใต้อยู่แล้ว จึงต้องศึกษาให้รอบคอบว่าควรต่อยอดจากช่วงหัวหินหรือเป็นเส้นใหม่เลย แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดคือต่อยอดจากรถไฟความเร็วสูงหัวหินไปถึงปาดังเบซาร์ จ.สงขลา”  

            นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม  กล่าวว่า ในการประชุมหัวหน้าหน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมวันที่ 22 พ.ย. ที่ผ่านมา  นายอาคม มอบให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ทำหน้าที่เป็นผู้เจรจากับคณะทำงานของประเทศมาเลเซียถึงขอบเขตการทำงาน หลังจากนั้นจะศึกษาความเหมาะสมโครงการว่าจะเป็นรูปแบบใด ซึ่งขณะนี้ญี่ปุ่นและจีนแสดงความสนใจพร้อมช่วยศึกษารูปแบบการดำเนินโครงการเบื้องต้นแล้ว

            สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์ จะมีระยะทางประมาณ 1,400 กิโลเมตร แบ่งเป็นระยะทางในประเทศมาเลเซียประมาณ 400-500 กิโลเมตร ความเร็วอย่างต่ำ 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ส่งผลให้สามารถเดินทางระหว่างเมืองหลวงของทั้ง 2 ประเทศได้ในระยะเวลาประมาณ 5-6 ชั่วโมง และประเทศไทยจะต้องวางรางขนาด 1.435 เมตรใหม่ เพราะปัจจุบันมีแต่โครงการรถไฟทางคู่ขนาดราง 1 เมตรเท่านั้น ซึ่งหากเดินหน้าโครงการจะช่วยต่อยอดโครงการถไฟความเร็วสูงเชื่อมระหว่างกัวลาลัมเปอร์-ประเทศสิงคโปร์ โดยรัฐบาลมาเลเซียกำลังผลักดัน เพราะหากมีการลงทุนรถไฟเชื่อมระหว่างกรุงเทพฯ-กัวลาลัมเปอร์จะเชื่อมต่อไปถึงประเทศลาวและจีนในอนาคต
 
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2017 9:58 pm    Post subject: Reply with quote

แข่งปักธงไฮสปีดเทรนไทยแลนด์ “จีน” ลุ้นตอกเข็มสิ้นปี “ญี่ปุ่น” รอปี”62
วันที่ 24 พฤศจิกายน 2560 - 07:00 น.

เดินหน้ารุกหนักอย่างต่อเนื่อง ระหว่าง 2 มหาอำนาจแห่งเอเชีย “จีน-ญี่ปุ่น กับการผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูงโปรเจ็กต์ความร่วมมือรัฐบาลไทย-จีน และไทย-ญี่ปุ่น ให้เป็นจริงในเร็ววัน

หลังโปรเจ็กต์เลื่อนการตอกเข็มมาหลายครั้งหลายครา นับจากลงนามความร่วมมือ19 ธ.ค. 2557 ล่าสุด “จีน” บี้ “ไทย” หลังสองผู้นำประเทศพบปะกันบนเวทีประชุมสุดยอดอาเซียนที่ประเทศสิงคโปร์ที่ผ่านมา

โดย “พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา” นายกรัฐมนตรี แจ้งในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงข้อความของนายกรัฐมนตรีของจีน ขอให้คมนาคมเร่งรัดดำเนินการรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท โดยเร็ว ว่ากันว่า จากงานนี้มีคำสั่งลับ หากปีนี้คมนาคมยังไม่สามารถเริ่มงานก่อสร้างเฟสแรกสถานีกลางดง-ปางอโศกได้ ไม่ใครก็ใครอาจจะถูกปลดกลางอากาศ

ล่าสุด ผู้เกี่ยวข้องกำลังหาฤกษ์ดีทำพิธีก่อสร้างปักธงสัญลักษณ์โครงการ รอเคลียร์คิวของผู้นำทั้งสองประเทศ คาดว่าจะเป็นช่วงกลางเดือน ธ.ค.เป็นต้นไป

หลังมั่นใจว่าเคลียร์รายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) จะยื่นเป็นครั้งที่ 7 ต่อที่ประชุมคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) วันที่ 24 พ.ย.นี้ผ่านฉลุย

“อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า วันที่ 16 พ.ย.ที่ผ่านมาคมนาคมจัดประชุมรถไฟไทย-จีนเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการ 4 ชุด เพิื่อดำเนินงานต่างๆ ส่วนแผนก่อสร้างขยับจากเดิมเป็นกลางเดือน ธ.ค.นี้ เพราะต้องรออีไอเอช่วงบ้านภาชี-โคราช ผ่านการอนุมัติ ส่วนช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีอยู่ในแนวเส้นทางเดียวกับกรุงเทพฯ-พิษณุโลก อีไอเอผ่านแล้ว ส่วนวันที่จะเริ่มก่อสร้างชัด ๆ จะหารือร่วมกับจีนในที่ประชุมคณะกรรมการร่วมครั้งที่ 22 วันที่ 24 พ.ย.นี้



การเตรียมการก่อสร้าง รถไฟไทย-จีนแบ่ง 4 ตอน คือ 1.สถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ได้รับแบบจากจีนแล้ว มอบให้กรมทางหลวง (ทล.) เป็นผู้ก่อสร้าง โดยใช้เงินการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.)

2.ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. 3.แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และ 4.กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม. ภายใน 6 เดือนจีนจะทยอยส่งแบบเพื่อนำไปสู่การ

จัดซื้อจัดจ้าง จะใช้ผู้รับเหมาไทย คาดว่าไตรมาสแรกปีหน้าจะทยอยเปิดประมูลฝ่ายไทยและจีนได้เซ็นสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ 1,706 ล้านบาท และ ที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง 3,500 ล้านบาทแล้ว ส่วนสัญญาจัดหาระบบและขบวนรถ ซึ่งใช้เทคโนโลยีจีน เมื่อเซ็นสัญญาแล้วคู่สัญญาจะเป็นการรถไฟไทยและการรถไฟจีน เมื่อมีข้อสรุปรูปแบบการเดินรถแล้วถึงจะถ่ายโอนให้กับองค์กรที่จะมาเดินรถอีกครั้ง

ด้านแหล่งเงินก่อสร้างจะใช้เงินกู้ภายในประเทศ ส่วนการซื้อระบบรถไฟต้องรอสรุปวงเงินวันที่ 24 พ.ย.นี้ขณะเดียวกัน จะหารือจีนศึกษาช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จปี 2565 พร้อมรถไฟจีน-ลาว

ท่ามกลางการรุกคืบของ “จีน” ในส่วนของ “ญี่ปุ่น” ได้ลงนาม MOC วันที่ 27 พ.ค. 2558 ก็เริ่มสปีด ล่าสุดจัดงานใหญ่โชว์ศักยภาพระบบรถไฟ

ชินคันเซ็นที่จะนำมาใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ มีระยะทาง 672 กม. ใช้เงินลงทุนกว่า 5 แสนล้านบาท จะประเดิมเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก 380 กม. ค่าก่อสร้าง 276,225 ล้านบาท

แต่ด้วยระยะทางที่ยาวและเงินลงทุนมากประกอบกับต้องใช้เวลาออกแบบรายละเอียดนาน 2 ปี ล่าสุด “ไทย” ขอ “ญี่ปุ่น” ทยอยออกแบบและสร้างเป็นเฟสๆเหมือนรถไฟไทย-จีน

“อาคม” กล่าวว่า ผลศึกษาช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกเสร็จแล้ว และผ่านการอนุมัติอีเอไอแล้ว ขณะนี้ขอให้ญี่ปุ่นช่วยดูรูปแบบการลงทุนใหม่เป็นเอกชนร่วมลงทุนPPP หรือรัฐบาลญี่ปุ่นร่วมลงทุนด้วย จากเดิมให้รัฐบาลลงทุนทั้งหมด

“เมื่อญี่ปุ่นอยากจะให้หลาย ๆ ประเทศใช้ระบบชินคันเซ็นก็ต้องแก้กฎหมายให้จัดตั้งบริษัทมาร่วมทุนในต่างประเทศได้ จากปัจจุบันเป็นแค่ที่ปรึกษาโครงการ ตัวอย่างโครงการที่ญี่ปุ่นเสนอ คือ ไฮสปีดไต้หวัน ช่วงแรกเอกชนเป็นผู้ดำเนินการ สุดท้ายรัฐบาลเข้ามารับภาระ”

และเพื่อให้โครงการนี้เกิดเป็นรูปธรรมเร็วที่สุด มีข้อเสนอแบ่งตอนออกแบบและก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก เป็น 3 ตอน จากกรุงเทพฯ-อยุธยา ระยะทาง 70 กม., อยุธยา-ลพบุรี และลพบุรี-พิษณุโลก เริ่มช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยาเป็นลำดับแรก คาดว่าจะเริ่มสร้างปี 2562 แล้วเสร็จปี 2564 เนื่องจากหากรอสร้างพร้อมกันทั้งโครงการจะใช้เวลาออกแบบรายละเอียด 2 ปี และก่อสร้าง 4-5 ปี รวม 7 ปี

เป็นความคืบหน้าล่าสุดไฮสปีดเทรนประเทศไทยของ 2 สัญชาติ ที่ปรารถนาจะปักธงรถไฟหัวกระสุนในไทยให้สำเร็จ ภายใต้การขับเคลื่อนของรัฐบาล คสช.

รอลุ้นที่สุดแล้ว “รถไฟไทย-จีน-ญี่ปุ่น” จะเป็นจริงหรือเป็นแค่รถไฟสายการทูตของรัฐบาลทหาร
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 24/11/2017 8:59 pm    Post subject: Reply with quote

ชง'บิ๊กตู่'ตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีนเฟส1ดีเดย์ 21ธ.ค.นี้
Publisher : 24 พฤศจิกายน 2560

ชง 'บิ๊กตู่'ตอกเสาเข็มรถไฟไทย-จีนเฟส1ดีเดย์ 21ธ.ค.นี้ แบ่งประมูล 14 สัญญา รวมงบก่อสร้าง 1.25 แสนล้าน เล็งสร้างช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยา หวังทยอยเปิดใช้บริการได้ก่อน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังจากการประชุมหารือกับฝ่ายจีนว่าได้กำหนดวันเริ่มตอกเสาเข็มโครงการรถไฟไทย-จีน เฟส1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา มูลค่าโครงการ 1.79 แสนล้านบาท ช่วงที่ 1 กลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ในวันที่ 21 ธันวาคมนี้ ซึ่งถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดี หลังจากนี้ตนจะนำกำหนดวันก่อสร้างเรียนพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเพื่อทราบต่อไป

สำหรับขั้นตอนการออกแบบก่อสร้างโครงการดังกล่าวอีก 3 ช่วง ประกอบด้วย ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 110 กิโลเมตรนั้น จะแบ่งสัญญาเพื่อร่างเอกสารประกวดราคา(ทีโออาร์)และเปิดประมูล รวม 14 สัญญา วงเงินก่อสร้างราว 1.25 แสนล้านบาท โดยจะจัดลำดับการออกแบบและก่อสร้างเพื่อทยอยเปิดใช้บริการเป็นช่วงๆ ไปคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างช่วงแรกก่อน ได้แก่ กรุงเทพ-อยุธยา คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 2-3 ปี ทั้งนี้กระทรวงคมนาคมมีเป้าหมายเปิดประมูลสัญญาแรกช่วงเดือนมีนาคม 2561

ส่วนด้านสัญญาที่ 2.3 (งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกล รวมทั้งจัดหาขบวนรถไฟและจัดฝึกอบรมบุคลากร) นั้น กระทรวงคมนาคมจะเร่งหารือรายละเอียดกับฝ่ายจีน เพื่อให้ได้ข้อสรุปภายในเดือนมีนาคม 2561 ทั้งเรื่องรายละเอียดตัวรถและวงเงิน เพื่อให้สอดคล้องกับการก่อสร้างต่อไป

ในส่วนการศึกษาด้านสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)นั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนพิจารณารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.) ทั้งนี้มั่นใจว่าจะผ่านความเห็นชอบอีไอเอเพื่อเริ่มก่อสร้างตามแผนที่วางไว้

สำหรับการก่อสร้างช่วงที่ 2 (นครราชสีมา-หนองคาย)นั้น เพื่อให้เกิดความรวดเร็วทางฝ่ายไทยจะอาศัยประสบการณ์จากช่วงที่ 1 มาดำเนินการเอง ทั้งการศึกษาความเหมาะสม ความคุ้มค่าด้านการลงทุน การออกแบบรายละเอียดโครงสร้าง โดยฝ่ายจีนจะเป็นที่ปรึกษา ทั้งนี้คาดว่าจะสามารถเริ่มดำเนินการช่วงที่ 2 ได้ภายในปี 2561 อย่างไรก็ตามในส่วนของการศึกษาความเหมาะสมฯ นั้น ขณะนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) และการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ส่งให้จีนพิจารณาแล้ว เมื่อฝ่ายจีนส่งผลการศึกษากลับคืนให้ฝ่ายไทยก็จะเร่งเสนอให้คณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาต่อไป

นายอาคม กล่าวอีกว่านอกจากนี้ที่ประชุมยังมีมติว่าในเดือนธันวาคมนี้ ฝ่ายจีนจะส่งคณะผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันรถไฟความเร็วสูงมาทำงานร่วมกับกระทรวงคมนาคม เพื่อจัดทำแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี ประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่

1.การส่งบุคลากรไปศึกษาตั้งแต่ระดับอาชีวศึกษา ถึงระดับอุดมศึกษา
2.การจัดหลักสูตรฝึกอบรมเทคนิควิศวกรรมรถไฟความเร็วสูง และ
3.การฝึกปฏิบัติจริง ทั้งการขับรถ และการบำรุงรักษา นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือการดำเนินการช่วงที่ 3 (หนองคาย-เวียงจันทน์)ซึ่งฝ่ายจีนรับไปดำเนินการศึกษา และออกแบบรายละเอียด โดยจะมีการหารือร่วมกัน 3 ประเทศ ได้แก่ ไทย จีน และลาวอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงของทั้ง 3 ประเทศเชื่อมต่อกันได้ตามแผนต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44539
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 23/11/2017 6:37 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟ‘ไทย-ญี่ปุ่น’เคาะปี62 แบ่ง3ตอนถึงพิษณุโลก-จี้สนข.เสนอครม.ใน3เดือน
ฐานเศรษฐกิจ 23 November 2017

“อาคม” เคาะความชัดเจนรถไฟไทย-ญี่ปุ่นเส้นกรุงเทพฯ-เชียงใหม่สร้างปี 62 วงเงินเบื้องต้น 4.9 แสนล้าน เผยปีหน้าออกแบบรายละเอียดและกระบวนการร่วมทุนแล้วเสร็จเร่งเสนอครม.เห็นชอบ แบ่งเฟสแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลกออกเป็น 3 ตอนก่อสร้าง มอบให้สนข.เร่งกำหนดกรอบระยะเวลาเสนอครม.ใน 3 เดือน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงความชัดเจนโครงการก่อสร้างรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่นเส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ว่าขณะนี้อยู่ระหว่างฝ่ายญี่ปุ่นศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโดยช่วงแรกเริ่มจากกรุงเทพฯ-พิษณุโลก และช่วงที่ 2 จากพิษณุโลก-เชียงใหม่ ระยะทางรวมทั้งสิ้น 672 กิโลเมตร วงเงินลงทุนกว่า 4.9 แสนล้านบาท

ทั้งนี้ในเบื้องต้นนั้นช่วงแรกกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ระยะทาง 380 กิโลเมตรอาจแบ่งออกเป็น 3 ตอนโดยจะก่อสร้างช่วงจากกรุงเทพฯ-พระนครศรีอยุธยาหรืออาจขยายไปถึงจังหวัดลพบุรีให้ได้ก่อนเพื่อให้สามารถเปิดเดินรถได้ในช่วงแรกก่อนที่จะทยอยเปิดให้บริการแต่ละสถานีต่อเนื่องกันไปได้ โดยคาดว่าจะสามารถเร่งออกแบบให้เสร็จในปี 2561 นี้ ปี 2562 เริ่มก่อสร้างและเปิดให้บริการในปี 2564-2565 ต่อไป

นอกจากนั้นฝ่ายญี่ปุ่นยังเสนอแนะให้ใช้ประโยชน์ด้านการพัฒนาเมืองทั้งตามแนวเส้นทางและตามพื้นที่โดยรอบสถานีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดโดยเฉพาะรูปแบบการพัฒนาเมืองรอบสถานี(TOD) ที่ดำเนินการในญี่ปุ่น โดยสามารถพัฒนาควบคู่ไปกับการก่อสร้างรถไฟเส้นทางดังกล่าวนี้ เบื้องต้นนั้นในเส้นทางนี้มี 6 เมืองหลักที่ฝ่ายไทยเตรียมแผนการพัฒนารองรับเอาไว้ด้วยแล้วนั้นซึ่งรอเพียงการศึกษาเพิ่มเติมของฝ่ายญี่ปุ่นในครั้งนี้ด้วย

ประการสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ฝ่ายญี่ปุ่นยังได้ศึกษาถึงรูปแบบการร่วมลงทุนให้ฝ่ายไทยว่ารูปแบบไหนจะเหมาะสมโดยเบื้องต้นฝ่ายญี่ปุ่นเสนอให้รัฐบาลไทยลงทุนเองทั้งหมด แต่ฝ่ายไทยเห็นว่าหากเป็นการร่วมลงทุนน่าจะเกิดประโยชน์กับฝ่ายไทยมากกว่า เพื่อแบ่งเบาภาระงบประมาณของรัฐบาลได้อีกทางหนึ่งด้วย เนื่องจากอายุสัญญายาวนานถึง 30 ปีน่าจะดึงดูดใจนักลงทุนได้ไม่มากก็น้อย

“ปีนี้น่าจะยังคงเป็นในเรื่องการเร่งรัดผลการศึกษา มีการประมาณค่าการลงทุนเบื้องต้นเอาไว้แล้วเพื่อเสนอรัฐบาลว่าจะเดินหน้าโครงการนี้ต่อไปอย่างไร หลังจากนั้นจึงจะเร่งออกแบบรายละเอียดช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก ให้สามารถก่อสร้างได้เร็วขึ้น อาจเริ่มดำเนินการทีละหนึ่งหรือสองสถานีก็เป็นไปได้ทั้งสิ้น ส่วนกรอบระยะเวลาดำเนินโครงการนั้นอยู่ระหว่างสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ไปดำเนินการเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) ได้ภายใน 3 เดือนนี้”

นายอาคมกล่าวอีกว่า ทั้งนี้ ในกระบวนการดำเนินโครงการออกแบบรายละเอียดนั้นฝ่ายญี่ปุ่นค่อนข้างจะใช้เวลานานจึงได้เร่งรัดให้แล้วเสร็จเร็วขึ้น แบ่งตอนดำเนินการจะรวดเร็วกว่าหรือไม่ หากสามารถลดระยะเวลาการออกแบบได้เร็วขึ้นคาดว่าปี 2562-2563 จะสามารถเริ่มงานก่อสร้างได้ซึ่งหากใช้รูปแบบดำเนินการพร้อมกันทั้ง 6 สถานีจะใช้ระยะเวลาก่อสร้างประมาณ 4 ปี

สำหรับการพัฒนาเมืองนั้นจะเริ่มต้นในจุดสถานีและโดยรอบ ซึ่งรูปแบบ TOD จะอำนวยความสะดวกให้การเดินทางของประชาชนสะดวกสบายรวดเร็วยิ่งขึ้นจากศูนย์กลางการเปลี่ยนถ่ายการเดินทางที่มีรถไฟฟ้าเป็นเมนหลัก ส่วนพื้นที่รอบสถานีก็จะให้แต่ละเมืองรับไปดำเนินการให้สอดคล้องต่อไป ให้สอดคล้องกับการวางผังเมืองและการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อให้เกิดมูลค่าทางเศรษฐกิจนั่นเอง

“เบื้องต้นนั้นฝ่ายไทยขอให้ฝ่ายญี่ปุ่นคำนวณระยะเวลาใหม่อีกครั้งในการก่อสร้างช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลกให้แล้วเสร็จคราวเดียวเลย ซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นแนะนำว่าน่าจะใช้รูปแบบดีไซน์แอนด์บิวต์นั่นคือทยอยก่อสร้างเป็นตอนๆ ไป น่าจะทำได้รวดเร็วขึ้น ดังนั้นหากปี 2561 สามารถรวบรวมข้อมูลนำเสนอครม.เห็นชอบได้เร็วก็จะสามารถเร่งงานออกแบบรายละเอียดให้แล้วเสร็จในปี 2561 ได้ชัดเจนยิ่งขึ้น พร้อมกันนั้นก็จะพิจารณาเรื่องรูปแบบการลงทุนควบคู่กันไปด้วย ประการสำคัญเรื่องการพัฒนาเมืองนั้นฝ่ายไทยก็ได้ศึกษาควบคู่กันไปด้วยแต่มีผู้เชี่ยวชาญของฝ่ายญี่ปุ่นมาให้คำแนะนำ รูปแบบของสถานีกลางบางซื่อจึงจะออกแบบให้เป็นสมาร์ท ซิตีและบิสิเนสเซ็นเตอร์ให้สอด คล้องกับการพัฒนาโครงการซึ่งฝ่ายญี่ปุ่นก็ได้ศึกษาในการพัฒนาสถานีกลางบางซื่อให้กับฝ่ายไทยในครั้งนี้ด้วยเช่นกัน”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,315 วันที่ 19 - 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 23/11/2017 9:47 am    Post subject: Reply with quote

"บิ๊กตู่"ไฟเขียวกรอบเวลาก่อสร้างอีอีซี
เดลินิวส์
พุธที่ 22 พฤศจิกายน 2560 เวลา 16.32 น.

บอร์ดใหญ่อีอีซี ผ่านกรอบเวลาทำโครงสร้างพื้นฐาน ขีดเส้นชัดๆ ปีหน้าหลายโครงการเริ่มตอกเข็ม โดยเฉพาะรถไฟความเร็วสูง ขั้นตอนประมูลต้องเสร็จ แล้วก่อสร้างทันที คาดเปิดบริการปี 66


พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังการประชุม คณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กนศ.) ว่า ประเด็นสำคัญของโครงการพัฒนาอีอีซีคือการสร้างความเข้าใจกับประชาชนทั้งในและนอกพื้นที่ว่าจะได้ประโยชน์อะไรจากการพัฒนาครั้งนี้
โดยเฉพาะประชาชนในพื้นที่ที่จะมีกองทุนต่างๆ ซึ่งเอกชนที่เข้ามาลงทุนจะต้องร่วมสมทบและนำมาพัฒนาชุมชน ให้เขาเห็นว่าจะได้ประโยชน์อะไรนอกจากการเยียวยา และต้องให้เกิดผลกระทบน้อยที่สุด ส่วนคนนอกพื้นที่ต้องทำให้เห็นว่าโครงการนี้สำคัญกับประเทศจะเป็นการเพิ่มรายได้ประเทศ ส่วนโร้ดแมปการทำงานของอีอีซีขณะนี้เป็นที่น่าพอใจ



นายอุตตม สาวนายน รมว.อุตสาหกรรม กล่าวว่า ที่ประชุม ได้เห็นชอบกำหนดเวลาของการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมดของโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรืออีอีซี ทั้งรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน การพัฒนาเมืองการบินภาคตะวันออก การพัฒนาท่าเรือและการขนส่งทางรางเชื่อมต่อ 3 ท่าเรือ โดยโครงการส่วนใหญ่จะเริ่มเดินหน้าได้ตั้งแต่ต้นปี 61 เป็นต้นไป
เพื่อจะช่วยสนับสนุนโครงการอีอีซีให้มีความสมบูรณ์ และช่วยดึงดูดความสนใจของนักลงทุนทั่วโลก



ทั้งนี้ในโครงการสำคัญ คือ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง ขณะนี้อยู่ระหว่างการร่างเอกสารประกวดราคา (ทีโออาร์) ภายใต้การลงทุนในรูปแบบรัฐร่วมกับเอกชน หรือพีพีพี คาดว่า จะจัดทำได้เสร็จภายในเดือนม.ค.61 ก่อนประกาศเชิญชวนเอกชนร่วมลงทุน ได้ภายในก.พ.61 แล้วจึงเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือกและเจรจาต่อรองกับเอกชนให้แล้วเสร็จภายในก.ค.61 และเริ่มก่อสร้าง แล้วจึงเปิดให้บริการได้ภายในปี 66
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 306, 307, 308 ... 545, 546, 547  Next
Page 307 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©