Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311289
ทั่วไป:13270568
ทั้งหมด:13581857
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 317, 318, 319 ... 547, 548, 549  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 06/09/2017 6:59 pm    Post subject: Reply with quote

เทงบ 3.42แสนล.ผุด101โครงการเชื่อมโลจิสติกส์ พื้นที่ EEC แบบไร้รอยต่อ
MGR Online 6 ก.ย. 2560 15:42:00

Click on the image for full size
สนข.กางแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานหนุน Super Clusterใน พื้นที่ EEC ในช่วง 5 ปี (60-64) รวม 101 โครงการ มูลค่ากว่า 3.42 แสนล. จัดลำดับแผน บูรณาการ โครงข่าย"ถนน-มอเตอร์เวย์-รถไฟ"ไร้รอยต่อ ตั้งเป้าลดต้นทุนโลจิสติกส์ เหลือ 12% ในปี64 ดัน GDP แตะ4% เร่งสรุปชงบอร์ด บริหาร EECใน ก.ย.นี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยภายหลังเป็นประธานเปิดการสัมมนานำเสนอผลงานและรับฟังความคิดเห็นต่อร่างรายงานฉบับสมบูรณ์ โครงการศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษรูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ ว่า จากนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษในรูปแบบ Super Cluster และโครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor Development : EEC) ในการพัฒนา3 จังหวัด คือ ระยอง,ชลบุรีและฉะเชิงเทรา ซึ่งต่อยอดจากแผนพัฒนาอีสเทิร์นซีบอร์ด ที่เน้นการลงทุนอุตสาหกรรมที่เป็นแนวโน้มของโลกนั้น สนข.ได้มีการศึกษาแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานในพื้นที่ในช่วง 5 ปี (2560-2564) จำนวน 101 โครงการ วงเงินลงทุน 342,000 ล้านบาท ซึ่งไม่รวมโครงการที่รัฐร่วมลงทุนกับเอกชน( PPP) เช่น รถไฟความเร็วสูง เส้นทาง กรุงเทพ-พัทยา-ระยอง วงเงิน 2.19 แสนล้านบาท ,โครงการท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่3, ศูนย์ซ่อมอากาศยาน (MRO)

โดยแผนพัฒนาโครงข่ายโลจิสติกส์ จะคัดกรองจัดลำดับการลงทุนและงบประมาณโครงการด้านคมนาคมขนส่ง แต่ละปี ซึ่งจะทำให้แผนงานมีความสอดคล้องเชื่อมโยงกัน ทั้ง ถนน รางและ ท่าเรือ โดยมีโครงการในความรับผิดชอบของกรมทางหลวง (ทล.) 68โครงการ เช่น มอเตอร์เวย์สาย7( พัทยา-มาบตาพุด) 14,200 ล้านบาท ,ทางเลี่ยงเมือง ฉะเชิงเทรา 3,500 ล้านบาท,ทางหลวงหมายเลข3 พัทยา-สัตหีบ 1,900 ล้านบาท กรมทางหลวงชนบท (ทช.) 12 โครงการ เช่น เชื่อมทางหลวงหมายเลข7 กับท่าเรือแหลมฉบัง 1,500 ล้านบาท, สาย ฉช.3001-ลาดกระบัง 3,800 ล้านบาท การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) 5โครงการ นอกจากนี้ยังมีการลงทุนโครงการเพิ่มประสิทธิภาพอื่นๆ
ทั้งนี้คาดว่าเมื่อมีการพัฒนาตามแผนงาน ร่วมกับการพัฒนาเมือง ภาคอุตสาหกรรม และภาคการท่องเที่ยวจะส่งผลให้ GDP ประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 4 %ในปี 2564 และ 4.9 %ในปี 2569 และคาดว่า ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง จะมีการเติบโตทางเศรษฐกิจ 18 %ในปี 2564 และ 40 %ในปี 2569 สามารถลดต้นทุนโลจิสติกส์ทางถนนลงได้ 2.67 % หรือจาก 14.1% เหลือ 12% ในปี 2564 เกิดการจ้างงานเพิ่มขึ้น 1.5% รายได้เพิ่มขึ้น 4.46% มีนักท่องเที่ยวเพิ่ม 20-30%

ซึ่งสนข. ได้ว่าจ้างที่ปรึกษา ศึกษาระยะเวลา 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.60) วงเงิน 10 ล้านบาท จะสรุปรายงานฉบับสมบูรณ์ (Draft Final Report) นำเสนอ คณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (กรศ.) ที่มี นายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เป็นประธานในการ ประชุมเดือนก.ย.นี้ จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก ที่มีพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ก่อนรายงานคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อรับทราบต่อไป

นอกจากแผนงานหลักแล้ว ยังมีการเสนอโครงการเพิ่มเติมรองรับ การเดินทางภายในพื้นที่ EEC ประมาณ 51% เป็นระบบฟีดเดอร์เชื่อมชุมชนกับสถานีรถไฟความเร็วสูง เช่น ระบบรางเบา (Light Rail Transit or Street Car) รถไฟระยะสั้น สถานีชลบุรี-วัดญาณสังวราราม มี 8 สถานี ระยะทาง 63 กม. วงเงิน 25,200 ล้านบาท,สายสถานีรถไฟชลบุรี-หาดบางแสน,สถานีรถไฟชลบุรี-นิคมอมตะนคร,สายCity Hall- พัทยาเหนือ-พัทยาใต้-ท่าเทียบเรือใหม่-จอมเทียน-สนามกีฬาชัยพฤกษ์ ,สายCity Hall- สถานีรถไฟพัทยา-กระทิงลาย โดยสนข.จะมีการศึกษาเพิ่มเติมเป็นแผนแม่บทระบบขนส่งสาธารณะในเมือง ต่อไป

อย่างไรก็ตาม ทิศทางการพัฒนาด้านเศรษฐกิจในรูปแบบ “Cluster” คือการให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจแยกตามภาคการผลิตให้สอดคล้องกับพื้นที่เมือง สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี พ.ศ.2560-2579

และแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 เพื่อให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืนอีกทั้งทำให้การพัฒนาสร้างมูลค่าสูงสุดแก่พื้นที่ ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการในการเดินทางและการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต จึงจำเป็นต้องมีแผนการพัฒนาระบบขนส่งและโลจิสติกส์รองรับเพื่อบรรเทาปัญหาการจราจรติดขัด สนับสนุนการค้าชายแดนที่มีปริมาณสูงขึ้นทุกปี สนับสนุนการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและเพื่อให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาประเทศ ซึ่งเป็นที่มาของ “การศึกษาพัฒนาระบบเครือข่ายโลจิสติกส์รองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ รูปแบบอุตสาหกรรมอนาคต Super Cluster และประตูการค้าสำคัญของประเทศ” เพื่อรองรับการพัฒนาของประเทศในอนาคต


https://www.youtube.com/watch?v=guUMcUn18lk
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2017 10:19 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
รถไฟไทย-จีนเซ็นสัญญาร่วมกันแล้ว
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560, 19.15 น.


ไทยเซ็นสัญญาจ้างจีน 5.2 พันล้าน ออกแบบ-คุมงานไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราช
โดย: MGR Online
เผยแพร่: วันอังคาร ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560 19:33:00 ปรับปรุงวันอังคาร ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560 19:51:00

ไทย-จีนลงนามสัญญา 2 ฉบับ คิกออฟรถไฟไทย-จีน เส้นทาง กรุงเทพฯ-โคราช “อาคม” สั่งวางแผนเตรียมสำรวจออกแบบช่วงโคราช-หนองคายต่อเนื่อง หวังก่อสร้างตลอดสายใน 4 ปี เชื่อมหนองคาย-เวียงจันทน์ สปป.ลาว ในปี 64-65 วิ่งทะลุถึงคุนหมิงของจีนตามยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อ one belt one road

เมื่อวันที่ 4-5 กันยายน 2560 พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายดอน ปรมัตถ์วินัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พร้อมด้วยคณะผู้แทนไทย ได้เข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS (บราซิล รัสเซีย อินเดีย จีน และแอฟริกาใต้) กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา (Emerging Markets and Developing Countries Dialogue - EMDCD) ในช่วงการประชุม BRICS Xiamen Summit ครั้งที่ 9 ณ เมืองเซี่ยเหมิน สาธารณรัฐประชาชนจีน

ขณะที่ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Services Agreement) วงเงิน 1,706.771 ล้านบาท และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Services Agreement) วงเงิน 3,500 ล้านบาท

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามสัญญาออกแบบและสัญญาควบคุมงานก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมาแล้ว หลังจากนี้จะวางแผนการออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคายต่อเนื่องเลย เนื่องจากจะต้องใช้เวลาในการสำรวจและออกแบบ แม้ว่าในช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เส้นทางส่วนใหญ่จะเป็นที่ราบ และโครงการรถไฟทางคู่ สายตะวันออกเฉียงเหนือได้เตรียมพื้นที่เผื่อไว้ให้สำหรับรถไฟความเร็วสูงแล้ว

นอกจากนี้ การเร่งรัดเส้นทางระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย เพื่อให้รถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-โคราช-หนองคาย สามารถก่อสร้างได้แล้วเสร็จพร้อมๆ กับเส้นทางรถไฟความเร็วสูง ช่วงจากประเทศจีน-เวียงจันทน์ สปป.ลาว ซึ่งจะทำให้การเชื่อมต่อกับ สปป.ลาวได้ในปี 2564-2565 โดยทางลาวจะใช้เวลาก่อสร้างเส้นทางช่วงในประเทศลาวประมาณ 4 ปี ขณะที่ฝั่งไทยจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ 3-4 ปีเช่นกัน ซึ่งจะพอดีกันและจะทำให้เส้นทางรถไฟความเร็วสูงวิ่งเชื่อมต่อจากกรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุนหมิงได้ตลอดสายทาง ถือเป็นผลสำเสร็จในด้านยุทธศาสตร์การเชื่อมต่อ one belt one road

“การทำงานตลอด 2 ปีที่ผ่านมาแม้จะมีการเปลี่ยนแปลงบ้าง ซึ่งได้ตกลงกันและได้เดินตามแนวทางที่ไทยได้เสนอไป โดยนายกรัฐมนตรีได้ปรับให้ไทยเป็นผู้ลงทุนเองเพื่อแก้ปัญหาเรื่องการร่วมลงทุน และออกคำสั่งมาตรา 44 ในเรื่องวิศวกรผู้ออกแบบและควบคุมงานก่อสร้าง แก้ปัญหาได้หมดแล้ว รวมถึงจีนเข้าใจและยอมรับในประเด็นข้อกฎหมายและระเบียบของไทยมากขึ้น” นายอาคมกล่าว

Railway gazette ก็รายงานข่าวนี้เหมือนกัน
http://www.railwaygazette.com/news/high-speed/single-view/view/contracts-signed-as-thai-high-speed-project-progresses.html
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42743
Location: NECTEC

PostPosted: 06/09/2017 10:13 am    Post subject: Reply with quote


เอกสารว่าด้วยส่วนต่อขยาย Airport Link และ รถไฟความไวสูงเชื่อม 3 สนามบิน
https://www.youtube.com/watch?v=GWu4b29aEZg
http://www.hsr3airports.com/wp-content/uploads/2017/08/%E0%B9%82%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%96%E0%B9%84%E0%B8%9F%E0%B9%80%E0%B8%8A%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%A1-3-%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%9A%E0%B8%B4%E0%B8%99-%E0%B9%81%E0%B8%9A%E0%B8%9A%E0%B9%84%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B9%88%E0%B8%AD.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 10:18 pm    Post subject: Reply with quote

นายกฯ พอใจผลการประชุมBRICS
กรุงเทพธุรกิจ 05 กันยายน 2560

"พล.อ.ประยุทธ์" พอใจผลการประชุม BRICS ดีใจที่จีนและกลุ่มประเทศ BRICS เห็นศักยภาพ ของไทย เร่งสร้างความเป็นหุ้นส่วนในการพัฒนากับทุกประเทศ

เมื่อวันที่ 5 ก.ย.พล.อ.ประยุทธ์ จันทรโอชา นายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังเข้าร่วมประชุมผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ที่เมืองเซี่ยเหมินมณฑลฟูเจี้ยนระหว่างวันที่4-5 กันยายน ว่า การประชุมในครั้งนี้จีนให้ความสำคัญกับ5 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย ซึ่งการที่จีนเชิญไทยเข้าร่วม แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างไทยและจีน และการให้ความสำคัญกับไทยในฐานะตลาดเกิดใหม่ และศักยภาพในการเชื่อมโยง โดยในที่ประชุม ไทยได้เสนอประเด็นสำคัญที่ สร้างความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา โดยใช้จุดแข็งที่แต่ละประเทศมี มาส่งเสริมกันใน4ประเด็น คือการเติบโตไปพร้อมกันกับประเทศเพื่อนบ้านในแนวทาง ประเทศไทยบวกหนึ่ง สร้างความเข้มแข็งจากภายใน ซึ่งไทยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของในหลวงรัชกาลที่9 มาปฏิบัติ ควบคู่กับนโยบายไทยแลนด์4.0 หัวใจสำคัญคือการเชื่อมโยงทางดิจิตัล และความร่วมมือด้านการพัฒนาต่างๆ ซึ่งไทยพร้อมจะร่วมมือกับทุกประเทศ ตอกย้ำการเติบโตอย่างยั่งยืนโดยคำถึงถึงการพัฒนาประเทศควบคู่ไปกับการปกป้องสิ่งแวดล้อม และ ความร่วมมือเพื่อกรพัฒนาที่ต้องคำนึงถึงผู้รับเป็นหลัก มีช่องทางหลากหลาย ทั้งเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี

ส่วนการหารือทวิภาคีกับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีจีน นั้น นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ไทยได้ย้ำถึงความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ รอบด้านขับเคลื่อนที่ดำเนินการอยู่ให้เป็นรูปธรรม ตลอดจนความคืบหน้าของโครงการความร่วมมือรถไฟไทย-จีน ที่ต้องการดำเนินโครงการให้สำเร็จลุล่วง เพราะเป็นยุทธศาสตร์สำคัญในการเชื่อมโยงพัฒนา สอดคล้องยุทธศาสตร์ Belt and Road (BRI) ของจีนที่ไทยสนับสนุนเพื่อให้ประเทศและประชาชนได้รับประโยชน์จากเส้นทางสายไหมตลอดจน ให้ยุทธศาสตร์ BRI สอดคล้องกับ EEC ของไทยด้วยการยินดีให้การสนับสนุนนักลงทุนจากจีน

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการหารือกับนายวลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐรัสเซีย เป็นการพูดคุยและติดตามความก้าวหน้าจากการประชุมที่เมืองโซชิ ปีที่แล้วซึ่งเป็นการพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างไทยรัสเซีย 120 ปี โดยในเร็วๆ นี้จะมีการเฉลิมฉลองที่ไทยจะจัดโขนชุดใหญ่ไปแสดงทีรัสเซียเพื่อกระชับความสัมพันธ์ นอกจากนี้มีการหารือเรื่องความสัมพันธ์ด้านความมั่นคง ความร่วมมือการก่อการร้ายข้ามชาติ งานข่าวกรอง ก็จะมีการหารือกันในโอกาสต่อไป ซึ่งจะเปิดช่องทางใกล้ชิดกันให้มากขึ้น เพราะเป็นประเด็นที่อ่อนไหว

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในส่วนตัวไม่อยากให้มองว่าการที่ไทยหารือกับจีนและรัสเซียจะหารือเฉพาะเรื่องการค้าขายและการซื้ออาวุธเท่านั้น ยืนยันว่าเป็นเพียงเศษเสี้ยวของการพูดคุย หากมองให้ดีอาวุธคือสินค้าประเภทหนึ่งที่ไทยไม่สามารถผลิตเองได้ ไทยมีแต่สินค้าการเกษตรการพูดคุยกัน มีการหารือทั้งสินค้าต่างตอบแทน อย่ามองว่าพูดกับใครหรือคบกับใครจะเป็นแค่การซื้ออาวุธ อย่างไรก็ตามรัสเซียยังให้ความสนใจเรื่องการท่องเที่ยว ซึ่งชาวรัสเซียมาเที่ยวในประเทศไทยเป็นจำนวนมาก ซึ่งไทยเตรียมจะหาแนวทางให้มีการท่องเที่ยวได้ตลอดทั้งปี เชื่อมโยงจากภูมิภาคไปยังภูมิภาค เช่นเดียวกับที่ต่อยอดการท่องเที่ยวไปได้ถึง 7 มณฑลของจีน หากสามารถขยายผลไปยังรัสเซียได้ จะเพิ่มโอกาสการลงทุนด้านการคมนาคมขนส่งของไทยได้มากขึ้น

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในระหว่างการประชุมมีโอกาสทักทายประเทศสมาชิกที่เข้าร่วม อาทิ อินเดีย พูดคุยเรื่องการสร้างถนนไปสู่โครงการทวาย เมียนมา ซึ่งจะสามารถเชื่อมต่อโครงการ อีอีซีของไทยได้ และเชื่อมต่อวันเบลท์วันโรดได้อีกทางหนึ่งด้วย พร้อมกันนี้ได้คุยกับประเทศกินี และทาจิกิสถาน รวมถึงได้มีการพูดคุยกับเม็กซิโก เชิญให้มาเที่ยวประเทศไทย ซึ่งทางเม็กซิโกตอบรับคำเชิญ

"ผมพอใจภาพรวมในการประชุมครั้งนี้ โดยเฉพาะการที่ไทยได้รับเกียรติที่เข้าร่วมประชุมโดยสมาชิกทั้ง 5 ประเทศ เห็นพ้องกัน เราไม่ได้ถือว่าเป็นตัวแทนของอาเซียน แต่เราเป็นตัวแทนของประเทศที่มีศักยภาพและมีความสัมพันธ์ที่ดีกับจีน เป็นประเทศที่มีการพัฒนาการตลาดทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้น นอกนั้นก็เป็นโอกาสที่ได้พูดคุยเจรจากับทุกประเทศ มีโอกาสคุยกับใครก็คุยทันที ทั้งส่วนตัวและทวิภาคี ส่วนในโอกาสหน้าไทยจะได้เข้าร่วมประชุม BRICS อีกหรือไม่ ต้องขึ้นอยู่กับประเทศสมาชิกว่าจะเห็นชอบอย่างไร แต่ขณะนี้ต้องถือว่า เราเข้ามามีส่วนร่วมเป็นส่วนหนึ่งของBRICS แล้ว คือการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เรามีความเชื่อมโยงทางกายภาพ และอีกหลายเรื่องที่มีศักยภาพ ทั้งเศรษฐกิจดิจิทัลที่เราทำอยู่ ถึงแม้ว่าไทยจะไม่ได้เข้าประชุมครั้งหน้า แต่ก็ถือว่าไทยอยู่ในกระบวนการของ ได้รับประโยชน์อย่างแน่นอน ขอให้คนไทยสบายใจว่าตนพยายามอย่างเต็มที่ที่จะทำให้ประเทศต่าง ๆ ยอมรับประเทศไทยไม่ว่าจะอยู่ในฐานะใดก็ตาม ครั้งนี้ถือว่าได้รับโอกาสจากทุกประเทศอย่างเท่าเทียมกัน นายกรัฐมนตรีกล่าว

ทั้งนี้ เวลา 17.45 น.ที่ท่าอากาศยานทหาร (2) บน 6 พล.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางถึงกรุงเทพมหานคร โดยปฏิเสธที่จะให้สัมภาษณ์กับสื่อมวลชนในประเด็นอื่นนอกเหนือจากการเดินทางเข้าร่วมประชุม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 9:44 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนไปลาวปี 64
เดลินิวส์ อังคารที่ 5 กันยายน 2560 เวลา 21.30 น.

“อาคม” นำทีมรัฐบาลไทยลงนามสัญญารถไฟไทย-จีน 2 ฉบับ ร่วมกับรัฐบาลจีน เดินหน้าก่อสร้าง พร้อมเร่งรัดออกแบบระยะที่ 2 นครราชสีมา-หนองคายทันที ตั้งเป้าให้แล้วเสร็จปี 64-65 พร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาวทะลุจีน

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทย และรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) ระยะทาง 253 กม.จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง

นายอาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ระยะที่ 1 ทั้ง 2 ฉบับแล้ว ฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้เริ่มสำรวจออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย 394 กม. เพราะขั้นตอนสำรวจออกแบบต้องใช้เวลาพอสมควร ทั้งนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะง่ายกว่าระยะที่ 1 เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และมีการเตรียมพื้นที่ไว้บ้างแล้ว

นายอาคม กล่าวต่อว่า ต้องการให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย เสร็จพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว และเชื่อมต่อกันได้ในปี 64-65 โดยลาวจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนไทยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันและจีนก็เห็นด้วย ถ้าทำแล้วเชื่อมทะลุ กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุณหมิง ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt,One Road)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 8:02 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนเซ็นสัญญาร่วมกันแล้ว
บ้านเมือง วันอังคาร ที่ 05 กันยายน พ.ศ. 2560, 19.15 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังร่วมเป็นสักขีพยานการลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน จำนวน 4 ฉบับ ประกอบด้วย สัญญาการออกแบบโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสารธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค กรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงกรุงเทพฯ – นครราชสีมา (โคราช) ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร (กม.)

ระยะที่ 1 สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้างโครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาคช่วงกรุงเทพมหานคร – นครราชสีมา ระยะที่ 1 ร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน (พ.ศ. 2560-2564) และ ร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 ว่า หลังลงนามความร่วมมือแล้ว ทางจีนจะส่งแบบงานการก่อสร้างมาให้กับไทย โดยแบบแรกจะเป็นช่วงระยะทาง 3.5กิโลเมตร ซึ่งในส่วนของไทยอยู่ระหว่างการทำผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) ที่คาดว่าจะเสร็จประมาณเดือนกันยายน2560 -ตุลาคม2560นี้ รวมทั้งจะมีการส่งสถาปนิกของไทย เข้าอบรมกับจีนเป็นชุดแรกในวันที่ 22 กันยายนนี้ จากนั้นคาดว่าจะดำเนินการก่อสร้าง ระยะที่1 กรุงเทพฯ- นครราชสีมา (โคราช) อย่างเร็วสุดเดือนตุลาคม 2560

“ส่วนการก่อสร้างระยะแรก จะมีการวางแผนออกแบบระยะที่ 2 ช่วงนครราชสีมา -หนองคาย ควบคู่กันไปด้วย คาดเสร็จสมบูรณ์พร้อมใช้งานปี 2564- 2565 ซึ่งการก่อสร้างรถไฟเส้นทางจีน -เวียงจันทร์ ของสปป.ลาว จะแล้วเสร็จ ในช่วงเวลาใกล้เคียงกัน จะนำไปสู่ความร่วมมือ วันเบล์ทวันโรด ที่เชื่อมโยงภูมิภาคเข้าด้วยกัน”นายอาคม กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 7:06 pm    Post subject: Reply with quote

ไทย-จีน"ต้ังเป้าเชื่อมความเร็วสูงไทย-ลาว ปี 64
คมชัดลึก 5 ก.ย. 60

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย. ที่ผ่านมา นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Services Agreement) และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Services Agreement)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า หลังจากลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟส 1 ทั้ง 2 ฉบับแล้ว ฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้เริ่มสำรวจออกแบบเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตรทันที เพราะขั้นตอนสำรวจออกแบบต้องใช้เวลาพอสมควร

การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะง่ายกว่าเฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีการเตรียมพื้นที่ไว้ให้ส่วนหนึ่งแล้ว

“ต้องการให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย เสร็จพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว และเชื่อมต่อกันได้ในปี 2564-2565 โดยลาวจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนไทยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันและจีนก็เห็นด้วย ถ้าทำแล้วเชื่อมทะลุ กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุณหมิง ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt,One Road)” นายอาคมกล่าว

----

ไทยจับมือจีน ลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงกรุงเทพฯ-หนองคาย
โดย ไทยรัฐออนไลน์ 5 ก.ย. 2560 18:58

รัฐบาลไทยร่วมกับรัฐบาลจีน ลงนามสัญญาภายใต้โครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง เพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย พร้อมสร้างรถไฟความเร็วสูงจากลาวเชื่อมต่อในปี 2564 คาดใช้เวลา 4 ปี ในการก่อสร้าง

วันที่ 5 ก.ย.60 ผู้สื่อข่าวรายงานจากกระทรวงคมนาคมว่า เมื่อวานนี้ (4 ก.ย.) นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม และนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ร่วมลงนามสัญญาภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูงเพื่อเชื่อมโยงภูมิภาค เส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย (ระยะที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ - นครราชสีมา) จำนวน 2 สัญญา ได้แก่ สัญญา 2.1 การออกแบบรายละเอียด (Detailed Design Services Agreement) และสัญญา 2.2 ที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง (Construction Supervision Consultant Services Agreement)

ทั้งนี้ ภายหลังจากลงนามสัญญารถไฟความเร็วสูงไทย-จีนเฟส 1 ทั้ง 2 ฉบับแล้ว ฝ่ายไทยจะเร่งรัดให้เริ่มสำรวจออกแบบเฟส 2 ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 647 กิโลเมตรทันที เพราะขั้นตอนสำรวจออกแบบต้องใช้เวลาพอสมควร อย่างไรก็ตามการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย จะง่ายกว่าเฟสที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร เพราะส่วนใหญ่เป็นพื้นที่ราบ และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงนครราชสีมา-ขอนแก่น ก็มีการเตรียมพื้นที่ไว้ให้ส่วนหนึ่งแล้ว

อย่างไรก็ตาม ต้องการให้รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-หนองคาย เสร็จพร้อมกับรถไฟความเร็วสูงจากลาว และเชื่อมต่อกันได้ในปี 2564-2565 โดยลาวจะใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี ส่วนไทยคาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้าง 3-4 ปี ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกันและจีนก็เห็นด้วย ถ้าทำแล้วเชื่อมทะลุ กรุงเทพฯ-หนองคาย-เวียงจันทน์-คุณหมิง ก็ถือว่าประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ 1 แถบ 1 เส้นทาง (One Belt, One Road).
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 7:04 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 7 ปีที่รอคอย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ 05 กันยายน 2560

Click on the image for full size

โครงการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง เริ่มเปิดหวูด เตรียมติดสปีดแล้ว หลังรอคอยมานาน 7 ปี "ประยุทธ์" นำทีมเซ็นสัญญาจีนรับงานแรก 2 สัญญา ไทยลงทุนเอง 1.7 แสนล้านบาท

การไปเยือนประเทศจีนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี วันที่ 4-5 ก.ย.2560 นับเป็นการเยือนจีนอย่างน้อยครั้งที่ 4 แล้วนับตั้งแต่ พล.อ.ประยุทธ์ เป็นนายกรัฐมนตรีกว่า 3 ปี หลังรัฐประหารเมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557

ครั้งแรกที่พล.อ.ประยุทธ์ไปเยือนจีน คือ เมื่อวันที่ 22-23 ธ.ค.2557 ที่ครั้งนั้นนายกรัฐมนตรีและคณะได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมการบริหารรถไฟแห่งชาติจีน ที่สถานีรถไฟตอนใต้ของกรุงปักกิ่ง และยังได้ดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงของจีนด้วย

ครั้งนี้ในโอกาสเดินทางเข้าร่วมการประชุมระหว่างผู้นำกลุ่มประเทศ BRICS กับประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนา ที่เมืองเซี่ยเหมิน มณฑลฝูเจี้ยน สาธารณรัฐประชาชนจีน นายกรัฐมนตรีได้หารือทวิภาคี กับ นายสี จิ้นผิง ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน

ไทยย้ำความร่วมมือหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ สนับสนุนยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative (BRI) และ Made in China 2025 ให้ประเทศและประชาชน ตามแนวเส้นทางสายไหมได้รับประโยชน์อย่างทั่วถึง
t2
นอกจากการลงนามร่างแผนปฏิบัติการความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน (พ.ศ. 2560-2564) และลงนามร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในกรอบเส้นทางเศรษฐกิจสายไหมและเส้นทางสายไหมทางทะเลแห่งศตวรรษที่ 21 แล้ว ยังมีการลงนามสัญญา 2 เกี่ยวกับโครงการถไฟความเร็วสูงกทม.-นครราชสีมา ระยะที่ 1 คือสัญญาจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา 3,500 ล้านบาท และงานออกแบบรายละเอียด จ้าง China Railway International Co.Ltd. และ China Railway Design Corporation วงเงินค่าจ้าง 1,706.8 ล้านบาท

นับเป็นการออกสตาร์ทโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ไทยร่วมมือกับจีนอย่างเป็นทางการ หลังจากมีความพยายามมานานประมาณ 7 ปี นับตั้งแต่ยุคสมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปี 2553 โดยมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบความร่วมมือ ในส่วนของบทบาทการให้จีนลงทุนและสิทธิการใช้ประโยชน์จากที่ดินข้างทางรถไฟ มาจนถึงยุครัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ที่มีการปรับรูปแบบให้จีนร่วมทุนประมาณ 60% แต่ข้อตกลงไม่ลงตัว

จนในที่สุด ก็ได้ข้อสรุปว่ารัฐบาลจะลงทุนก่อสร้างโครงการนี้เองด้วยงบ 1.79 แสนล้านบาท โดยนำงบประมาณเพื่อใช้เวนคืนที่ดิน และงบก่อสร้างจะมีการกู้เงินลงทุน และมีคำชี้แจงของกระทรวงคมนาคมในการดำเนินการอื่น ๆ คือ
1.ไทยเป็นผู้พัฒนาเชิงพาณิชย์ในสถานีรถไฟและพื้นที่ด้านข้าง เพื่อให้มีรายได้กลับมายังภาครัฐ ซึ่งเบื้องวางแผนจะพัฒนาปากช่องเป็นพื้นที่นำร่อง
2.การก่อสร้างโยธาต้องเป็นของผู้รับเหมาไทย
3.วัสดุและอุปกรณ์ก่อสร้างต้องใช้ภายในประเทศให้ได้มากที่สุด
4.ต้องไม่มีการนำแรงงานก่อสร้างเข้ามาจากจีน ยกเว้นผู้เชี่ยวชาญที่เป็นวิศวกรและสถาปนิก และ 5.ผู้ที่ขับรถไฟความเร็วสูงเป็นบุคลากรไทยนับตั้งแต่วันแรกที่เปิดให้บริการ

ส่วนเรื่องการหาผู้รับเหมาก่อสร้าง และระบบการเดินรถ จะมีการประมูลจัดหาต่อไป

เส้นทางนี้มีระยะทาง 253 กม. คาดว่าจะเปิดให้บริการได้ในปี 2564 ความเร็วในการเดินรถ 250 กม.ต่อชม.ใช้เวลาเดินทาง 1 ชม. 17 นาที ค่าโดยสาร 80-535 บาท โดยคิดเพิ่ม 1.8 บาทต่อกม.

คาดว่าปี 2564 มีผู้โดยสาร 5,300 คนต่อวัน และอีก 30 ปี หรือปี 2594 มีผู้โดยสาร 26,800 คนต่อวัน

http://videolink.nationchannel.com/data/4/2017/09/05/7dbkkh56b9abk588gb6ib.mp4
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 05/09/2017 1:16 pm    Post subject: Reply with quote

ดัน”มักกะสัน”จุดเชื่อม 3 สนามบินอีอีซี-พัทยาเสริมโมโนเรล
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 5 กันยายน 2560 - 10:30 น.

ปรับแผนใหม่ - คมนาคมเตรียมเสนอบอร์ดอีอีซีขอให้เดินหน้ารถไฟเชื่อม 3 สนามบินดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา ใช้สถานีมักกะสันหรือลาดกระบังเป็นจุดเชื่อมต่อ
หวั่นโครงการล่าช้า “อาคม” เสนอทางเลือกบอร์ดอีอีซี เดินหน้าลงทุนรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา ไม่ต้องเดินรถแบบไร้รอยต่อ ใช้สถานี “มักกะสัน-ลาดกระบัง” เป็นจุดต่อเชื่อม เทงบฯ 102 ล้านให้เทศบาลเมืองพัทยาศึกษาสร้างโมโนเรลเสริมแกร่งท่องเที่ยว แก้รถติด

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า โครงการระบบการคมนาคมขนส่งจะลงทุนในเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นอกจากอุโมงค์ทางลอดพัทยากลางแล้ว จะมีมอเตอร์เวย์กรุงเทพฯ-ชลบุรี-พัทยา-มาบตาพุด ที่สร้างคู่ขนานกับถนนสุขุมวิท รวมถึงยังมีโครงการบรรจุไว้ในแผนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่รัฐบาลกำหนดให้ 3 จังหวัด คือ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เป็นพื้นที่พัฒนาโครงการ จะครอบคลุมถึงพื้นที่ อ.เมืองพัทยา ด้วย

“การพัฒนาอีอีซี นอกเหนือจากภาคอุตสาหกรรม การบิน ศูนย์ซ่อมอากาศยานแล้ว ยังมีเรื่องของการท่องเที่ยวด้วยที่รัฐบาลต้องการเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันของประเทศให้เป็นศูนย์กลางภูมิภาค”


นายอาคมกล่าวว่า สำหรับโครงการที่จะเข้ามายังเมืองพัทยา มีรถไฟทางคู่สายตะวันออกฉะเชิงเทรา-คลองสิบเก้า-แก่งคอย รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ระยะทาง 193 กม. เงินลงทุนกว่า 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งทางคณะกรรมการอีอีซีมีนโยบายให้เป็นรถไฟความเร็วสูงเชื่อมการเดินทาง 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ รองรับนักท่องเที่ยวจากดอนเมือง สุวรรณภูมิ และอู่ตะเภา ที่ถูกยกระดับเป็นสนามบินนานาชาติอย่างเต็มรูปแบบ รองรับผู้โดยสารได้ 15 ล้านคน 30 ล้านคน และ 60 ล้านคน ในอนาคต

“เมืองพัทยาเป็นจุดหนึ่งที่มีสถานีรถไฟความเร็วสูงจอดให้บริการ จะทำให้เกิดความสะดวกสบายต่อนักท่องเที่ยวต่างชาติจากกรุงเทพฯที่ต้องการเดินทางไปฉะเชิงเทรา พัทยา ระยอง และจันทบุรี”

นายอาคมกล่าวว่า ล่าสุดได้หารือร่วมกับนายอุตตม สาวนายน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม และนายคณิศ แสงสุพรรณ เลขาธิการคณะกรรมการอีอีซี ถึงแนวทางการพัฒนารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน หลังจากมีนโยบายให้รวมโครงการแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยาย พญาไท-สุวรรณภูมิ และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง เป็นโครงการเดียวกัน เพื่อให้การเดินทางแบบไร้รอยต่อ โดยมีผู้เดินรถรายเดียว ซึ่งการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กำลังดำเนินการศึกษาความเหมาะสมของโครงการ ทั้งเงินลงทุนและรูปแบบการให้เอกชนเข้าร่วมโครงการ ในเบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินลงทุนกว่า 3 แสนล้านบาท

ทั้งนี้เนื่องจากโครงการมีการออกแบบรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนการก่อสร้างไปยังสนามบินอู่ตะเภาและเชื่อมกับสนามบินสุวรรณภูมิ จะต้องมีการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) เพิ่มเติม โดยเตรียมจะเสนอรายงานอีไอเอภายในเดือน ต.ค.นี้ อาจจะใช้เวลาสักระยะหนึ่งกว่าจะได้รับการอนุมัติ ดังนั้นเพื่อให้โครงการสามารถเดินหน้าได้เร็ว และไม่ต้องใช้เงินลงทุนเพิ่ม

ล่าสุดกระทรวงจะเสนอแนวคิดให้เร่งรัดก่อสร้างโครงการตามความพร้อมเป็นรายโครงการ คือ เริ่มจากแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยายก่อน ขณะนี้อยู่ระหว่างการรออนุมัติอีไอเอ เช่นเดียวกับรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง ที่รออีไอเอ หากผ่านก็ดำเนินการต่อไป ปัจจุบันเดินหน้าโครงการแบบคู่ขนาน โดยเสนอโครงการไปยังคณะกรรมการ PPP เป็นที่เรียบร้อยแล้ว

“จริง ๆ 3 สนามบินนั้น สนามบินที่จะต้องพึ่งกันคือ สุวรรณภูมิกับดอนเมือง เพราะมีการคอนเน็กต์ไฟล์กันอยู่ แต่ถ้าอู่ตะเภาพัฒนาเป็น 30 ล้านคน 60 ล้านคน ในอนาคตจะใหญ่กว่าดอนเมือง เพราะฉะนั้นอู่ตะเภาจะเป็นเรื่องของบินในประเทศและต่างประเทศ ฉะนั้นในเรื่องของการเชื่อมต่อตรงนี้ ไม่จำเป็นจะต้องเชื่อมแบบไร้รอยต่อ แต่ว่ามีการต่อเชื่อมกันที่สถานีใดสถานีหนึ่งก็อาจจะทำได้ ไม่ว่ามักกะสันหรือลาดกระบัง แล้วเชื่อมเข้าสุวรรณภูมิ กำลังหารือกับฝ่ายเลขานุการอีอีซี ส่วนเงินลงทุนก็เท่าเดิมถ้าทำตามแนวคิดนี้ ทั้ง 2 โครงการก็เกือบ 2 แสนล้านบาท”

ด้าน พล.ต.ต.อนันต์ เจริญชาศรี นายกเมืองพัทยา กล่าวว่า ได้งบประมาณปี 2560 จำนวน 102 ล้านบาท จากคณะกรรมการอีอีซี เพื่อศึกษาความเหมาะสมโครงการลงทุนระบบรถไฟรางเดี่ยวหรือโมโนเรลในเมืองพัทยา เพื่อแก้ปัญหารถติดและรองรับการพัฒนาเขตเศรษฐกิจอีอีซีด้วย จะใช้เวลาศึกษาประมาณ 1 ปี จากนั้นถึงจะสรุปรูปแบบ วงเงิน และการลงทุนโครงการได้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44617
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 04/09/2017 9:48 pm    Post subject: Reply with quote

มึน!ไฮสปีดเทรนใช้เหล็กจีน ทล.ยันต้องเป็นวัสดุของไทย UNIQคว้าลพบุรี-ปากน้ำโพ
ไทยโพสต์ Tuesday, September 5, 2017 - 00:00

"กรมทางหลวง" มึน หลังวัสดุก่อสร้างยกคันดินนำร่องสร้างรถไฟไทย-จีน เฟสแรก 3.5 กม. พบวัสดุหลายอย่างเป็นของจีน ทั้งเหล็ก ตัวระบายน้ำใต้คันทาง บล็อกระบายน้ำทางลอด ลุยตั้งคณะทำงานต่อรองใช้วัสดุในไทยทั้งหมด UNIQ ซิวงานสัญญา 2 ทางคู่ลพบุรี-ปากน้ำโพ

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เฟสแรก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ว่า ได้ตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาคุณภาพและสเปกของวัสดุ พบว่า วัสดุบางอย่างกำหนดให้ใช้วัสดุจากจีน เช่น เหล็ก ต้องเป็นเหล็กที่เป็นสเปกของจีน ตัวระบายน้ำใต้คันทาง ตัวกันไหล่ไม่ให้กัดเซาะ บล็อกระบายน้ำทางลอด

ดังนั้น จึงต้องตั้งคณะทำงานขึ้นมาพิจารณาว่าเหมาะสมหรือไม่ โดยเชิญตัวแทนจากจีนเข้าร่วมประชุม เพื่อหาข้อสรุปว่าวัสดุที่ใช้นั้นควรที่จะเป็นของจากประเทศไทยหรือจีน และเพื่อไม่ให้โครงการมีความล่าช้า จึงได้ตั้งคณะทำงานในลักษณะคู่ขนานก่อนที่จะลงนามในบันทึกข้อตกลง หรือ MOU เพื่อที่จะให้ได้ข้อสรุปว่าวัสดุไหนบ้างที่จะใช้ในไทย ซึ่งในเบื้องต้นได้รายงานกับ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ว่า กรมจะมีการต่อรองใช้วัสดุในไทยทั้งหมด

นายธานินทร์กล่าวว่า กรมทางหลวงจะใช้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงในช่วงนี้จะเป็นต้นแบบในการดำเนินการในการก่อสร้างส่วนต่อขยายรถไฟความเร็วสูงทั้งเส้นทางดังกล่าวและเส้นทางอื่นๆ และที่สำคัญจะเป็นมาตรฐานกำหนดราคาที่ช่วยประหยัดงบประมาณสำหรับงานก่อสร้างอย่างชัดเจน งานต้องออกมาดี, รวดเร็ว, มีคุณภาพและประหยัด ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถดำเนินการก่อสร้างภายใต้เป้าหมาย

อย่างไรก็ตาม พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปร่วมประชุมความร่วมมือกลุ่มเศรษฐกิจใหม่ (บริคส์) ที่มณฑลเซี่ยเหมิน ประเทศจีน ในวันที่ 4-5 ก.ย.60 นี้พร้อมทั้งจะลงนามสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (2.1) วงเงิน 1,706.771 ล้านบาท และที่ปรึกษาควบคุมก่อสร้าง (2.2 ) คาดว่าจะตอกเข็มโครงการตอนแรก ระยะทาง 3.5 กม. (กลางดง-ปางอโศก) ในเดือน ต.ค.นี้

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ก.ย.2560 การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้เปิดเคาะราคารถไฟทางคู่เส้นทางลพบุรี-ปากน้ำโพ สัญญาที่ 2 ช่วงท่าแค-ปากน้ำโพ ระยะทาง 116 กิโลเมตร วงเงิน 8,813 ล้านบาท โดยผู้ชนะการประกวดราคา คือ บมจ.ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด วงเงิน 8,649 ล้านบาท ต่ำกว่าราคากลาง 164 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 5 ก.ย.นี้ จะเปิดซองทางประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร สัญญาที่ 1 ช่วงประจวบคีรีขันธ์-บางสะพานน้อย ราคากลาง 6,579.91 ล้านบาท และสัญญาที่ 2 ช่วงบางสะพานน้อย-ชุมพร ราคากลาง 6,071.50 ล้านบาท โดยงานทั้ง 2 สัญญาได้เลื่อนการประมูลมาจากวันที่ 31 ส.ค.ที่ผ่านมา.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 317, 318, 319 ... 547, 548, 549  Next
Page 318 of 549

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©