RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179808
ทั้งหมด:13491040
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 19/11/2014 9:20 pm    Post subject: Reply with quote

ศึกษาเสร็จ 'ไฮสปีด กทม.-ระยอง' พร้อมสร้าง
by Chitnapa sommano
Voice TV
19 พฤศจิกายน 2557 เวลา 11:55 น.

การรถไฟแห่งประเทศไทย สรุปผลการศึกษาโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพ-ระยอง เสร็จแล้ว เตรียมเสนอคณะรัฐมนตรี พิจารณา พร้อมก่อสร้างทันที หากได้รับการอนุมัติ

นายจุลเทพ จิตะสมบัติ วิศวกรกำกับการ กองก่อสร้างเขต 1 รฟท. กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ -ระยอง ได้สรุปผลการศึกษาและผลกระทบสิ่งแวดล้อม ซึ่งถือว่าสิ้นสุดกระบวนการดำเนินโครงการสัมมนาทางวิชาการแล้ว โดยปัจจุบัน รัฐบาลยังไม่ได้ส่งสัญญาณยกเลิก หรือเปลี่ยนแปลงตัวโครงการ หากไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ จะนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบวงเงินก่อสร้าง เมื่อได้รับการอนุมัติ จะก่อสร้างได้ทันที

โครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ (ลาดกระบัง) -ระยอง ระยะทาง 193.5 กิโลเมตร มูลค่าโครงการ 1.53 แสนล้านบาท ใช้เวลาเดินทาง 1 ชั่วโมง 10 นาที วิ่งด้วยความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง มีทั้งหมด 6 สถานี ภายในมีชั้นวีไอพี , ชั้น 1 และชั้นธรรมดา เป็นจุดเชื่อมต่อของนักท่องเที่ยวจากสนามบินสุวรรณภูมิ สู่จังหวัดท่องเที่ยวภาคกลางและตะวันออก และมีผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจ (EIRR) ที่ 13.26% และผลตอบแทนด้านการเงิน (FIRE) ที่ 0.26% ภายใต้อัตราค่าโดยสารที่ 1บาทต่อกิโลเมตร ถือว่ามีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์และน่าลงทุน

โดย 6 สถานีเริ่มที่ ลาดกระบัง , ฉะเชิงเทรา , ชลบุรี , ศรีราชา , พัทยา และระยอง เป็นสถานียกระดับทั้งสาย , มีอุโมงค์ระยะทาง 300 เมตรที่บริเวณ เขาชีจรรย์

ใช้ระบบราง 1.435 เมตร ใช้ระบบราง,ระบบไฟฟ้า และเครื่องกลสอดคล้องกับรถไฟความเร็วสูงของยุโรปและญี่ปุ่น

ที่ผ่านมา รฟท. ได้จัดรับฟังความคิดเห็นผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่พื้นที่โครงการ จำนวน 5 ครั้ง ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 6 เริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ 3-4 กันยายน 2556 เป็นต้นมา
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 03/11/2014 6:18 pm    Post subject: Reply with quote

ก็ดูกันไปว่า รถไฟความไวสูงจะเร็วเท่าไหร่แน่ ระหว่า 180 กิโลเมตรต่อชั่วโมงหรือ 250-300 กิโลเมตรต่อชั่วโฒง Embarassed Rolling Eyes
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 30/10/2014 6:34 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.ฟันธงค่าโดยสารรถไฟความเร็วสูง เชียงใหม่-กรุงเทพฯ 2 บาทต่อ กม.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 30 ตุลาคม 2557 15:04 น.

ศูนย์เชียงใหม่ - สนข.จัดประชุมสัมมนารับฟังความคิดเห็นระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ โครงการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง ระบุค่าโดยสารเบื้องต้นเชียงใหม่-กรุงเทพฯ เฉลี่ย 2 บาท/กม. พร้อมเตรียมตั้งคณะกรรมการกำหนดค่าชดเชยที่ดิน และทรัพย์สินของประชาชนที่อาจได้รับความเสียหายจากโครงการ

วันนี้ (30 ต.ค.) ที่ห้องเอ็มเพลสแกรนด์ฮอลล์ โรงแรมดิเอ็มเพลส จังหวัดเชียงใหม่ สำนักงานโครงการพัฒนาระบบราง สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจรจัดสัมมนานำเสนอสรุปผลการศึกษาและออกแบบรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อสรุปสาระสำคัญเกี่ยวกับผลการศึกษาโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การเงิน การลงทุน และสิ่งแวดล้อม แก่ผู้เข้าร่วมการสัมมนา พร้อมรับฟังความเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานราชการ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น องค์การธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษาในพื้นที่ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจ และภาคประชาชน จากจังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดลำพูน เข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน

โดยนายนาวิน สินธุสะอาด รองผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ ให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดสัมมนาดังกล่าว ทั้งนี้ นายสาธิต มาลัยธรรม วิศวกรโครงการได้นำเสนอสาระสำคัญของผลการศึกษาโครงการฯ ในทุกด้าน ประกอบด้วยแนวเส้นทางโครงการฯ ผ่าน 6 จังหวัด มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย สถานีศรีสัชนาลัย สถานีลำปาง สถานีลำพูน และสถานีเชียงใหม่ โดยส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ

โดยมีรายละเอียดของเส้นทางที่จะมีการตัด 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงแรกพิษณุโลก-ลำปาง ออกจากสถานีพิษณุโลกใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี่ยงซ้ายผ่าน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าสู่ อ.กงไกรลาส และสถานีสุโขทัย และเข้าสู่สถานีศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย แล้วเบี่ยงขวาผ่าน อ.วังชิ้น อ.ลอง จ.แพร่ จากนั้นยกระดับรถไฟข้ามทางหลวงหมายเลข 1023 แล้วลดระดับเป็นอุโมงค์ลอดใต้ทางหลวงหมายเลข 11 (เด่นชัย-แขวงลำปาง) ผ่าน อ.แม่ทะเข้าสู่สถานีรถไฟลำปาง

ช่วงที่สองลำปาง-เชียงใหม่ โดยช่วงหนองวัวเฒ่า-สถานีห้างฉัตร ใช้พื้นที่เขตทางรถไฟเดิมผ่าน อ.แม่ทา ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 11 และทางรถไฟเดิมบริเวณสถานีศาลาแม่ทา จากนั้นบรรจบเข้ากับทางรถไฟบริเวณเดิมบริเวณ กม.647+000 ก่อนถึงสถานีรถไฟลำพูนไปประมาณ 10 กม. ไปตามเขตทางรถไฟเดิมจนถึงสถานีรถไฟลำพูน เข้าสู่สถานีรถไฟเชียงใหม่ ระยะทางทั้งสิ้น 288 กิโลเมตร

โดยกำหนดให้มีศูนย์ซ่อมบำรุงอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่ และมีหน่วยซ่อมบำรุงทาง 3 แห่งที่ จ.สุโขทัย จ.แพร่ และ จ.ลำปาง รวมกำหนดรูปแบบการแก้ไขปัญหาจุดตัดทางรถไฟกับถนนจำนวน 365 จุด ซึ่งคำนึงถึงความเหมาะสมกับรูปแบบการเดินทางเดิมในท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนเดินทางได้อย่างปลอดภัยมากที่สุด โดยมีทั้งหมด 4 รูปแบบ ได้แก่ ทางยกระดับ, ยกระดับรถไฟ, อุโมงค์รถไฟ และทางลอดใต้สะพานรถไฟ โดยออกแบบรองรับความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ซึ่งปัจจุบันออกแบบให้มีความเร็วเฉลี่ยในการให้บริการ 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ พบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 13.19 มูลค่าการลงทุน 232,411 .88 ล้านบาท โดยกำหนดค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาท/กม. เมื่อเดินทางจากเชียงใหม่-พิษณุโลก มีค่าโดยสาร 505 บาท/เที่ยว ใช้เวลาเดินทางเพียง 1 ชั่วโมง 24 นาที เท่านั้น

นายประยุทธ เจริญกุล ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อมได้นำเสนอมาตรการในการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประชาชนแต่ละจังหวัดที่อยู่ในแนวเส้นทางโครงการฯ อาทิ แนวเส้นทางรถไฟที่จะผ่านอุทยานแห่งชาติเวียงโกศัย พื้นที่เตรียมประกาศเขตอุทยานแห่งชาติดอยขุนตาลและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง นั้น โครงการฯ จะออกแบบโครงสร้างทางรถไฟเป็นอุโมงค์ เพื่อลดผลกระทบต่อการสูญเสียพื้นที่ป่าไม้และไม่รบกวนการดำรงชีพของสัตว์ป่า

การชดเชยที่ดินและทรัพย์สินจากการพัฒนาแนวเส้นทางโครงการที่ตัดใหม่ตั้งแต่ จ.พิษณุโลก-ลำปาง บริเวณสถานีรถไฟความเร็วสูงสุโขทัยและศรีสัชนาลัย รวมทั้งแนวเขตทางรถไฟเดิมบริเวณที่เป็นทางโค้งนั้น โครงการฯ จะดำเนินการสำรวจที่ดิน สิ่งปลูกสร้าง ไม้ผลและไม้ยืนต้น พร้อมจัดตั้งคณะกรรมการชดเชยทรัพย์สินเพื่อดำเนินการจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินและชดเชยทรัพย์สินตลอดแนวเส้นทางโครงการตามขั้นตอนของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นธรรมมากที่สุดด้วยกระบวนการที่มีส่วนร่วมของทุกฝ่าย

ภายหลังการสัมมนาครั้งที่ 3 สนข.จะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน และนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/10/2014 10:33 am    Post subject: Reply with quote

จีนแดงจะสร้างทางคู่ไปเชื่อมไทยกะจีน
The Nation October 30, 2014 1:00 am

China has agreed in principle to build a dual-track railway linking Laos to Nong Khai and Bangkok, a source revealed yesterday.

The agreement was reached when Deputy Prime Minister and Defence Minister General Prawit Wongsuwan met with Chinese Defence Minister Chang Wanquan in Beijing yesterday.

Prawit, Deputy Foreign Minister Don Pramudwinai and the junta's special envoy Somkid Jatusripitak were visiting China to introduce themselves.

They also met Chinese state councillor Wang Yong during the visit.

Under the agreement, China will build a new standard gauge (1.435 metre) double-track railway line. The new track is broader than the single-track currently used in Thailand.

Beijing has agreed to a barter transaction besides offering a soft loan for the project, according to the source who accompanied the Thai delegation.

Thailand would repay the investment cost to China with exports of rice and rubber, while the soft loan would be repaid as per the terms, he said.

The agreement would be confirmed officially when Prime Minister Prayut Chan-o-cha visits China in November for the Asia-Pacific Economic Cooperation Summit, the source said.

Meanwhile, in a separate deal, China has agreed to buy 1.7 million tonnes of new rice and 1 million tonnes of old rice.
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 28/10/2014 4:49 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.เดินหน้าเปิดเวทีรถไฟความเร็วสูงพิษณุโลก-เชียงใหม่

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 28 ตุลาคม 2557 14:49 น.



สุโขทัย - สนข.เดินหน้าเปิดเวทีนำเสนอสรุปผลการศึกษารถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 (พิษณุโลก-เชียงใหม่) ก่อนชง EIA เสนอ สผ.ต่อ

วันนี้ (28 ต.ค.) นายปิติ แก้วสลับสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดงานสัมมนานำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการ และออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูง สายกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก-เชียงใหม่ เพื่อสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวกับผลการศึกษาโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การลงทุน และสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็นข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วนในพื้นที่จังหวัดสุโขทัย และจังหวัดพิษณุโลก ที่โรงแรมไพลินสุโขทัย

โดยมีการนำเสนอสาระสำคัญของผลการศึกษาโครงการในทุกด้าน ประกอบด้วยแนวเส้นทางผ่าน 6 จังหวัด มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย ศรีสัชนาลัย ลำปาง ลำพูน และสถานีเชียงใหม่ ส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) ไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงใหม่

แนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงพิษณุโลก-ลำปาง ออกจากสถานีพิษณุโลก ใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิมตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้ายผ่าน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าสู่ อ.กงไกรลาศ และสถานีสุโขทัย และเข้าสู่สถานีศรีสัชนาลัย แล้วเบี่ยงขวาผ่าน อ.วังชิ้น อ.ลอง จ.แพร่ ไปตามเส้นทางที่กำหนดจนถึงสถานีเชียงใหม่

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจของการพัฒนารถไฟความเร็วสูงช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ พบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจร้อยละ 13.19 มูลค่าการลงทุน 226,574.46 ล้านบาท กำหนดค่าโดยสารจากกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ เบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาท/กม. เมื่อเดินทางจากสุโขทัย-เชียงใหม่ มีค่าโดยสาร 414 บาท/เที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 8 นาที

ภายหลังการสัมมนาครั้งที่ 3 แล้ว สนข.จะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอน และนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป

//-------------------------------------

สรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
วันที่ 28 ตุลาคม 2557 เวลา 14:13:17 น.


วันที่ 28 ตุลาคม ที่โรงแรมไพลิน จังหวัดสุโขทัย นายปิติ แก้วสลับสี รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุโขทัย เป็นประธานเปิดงานสัมมนานำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการและออกแบบรถไฟฟ้าความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ เพื่อสรุปสาระสำคัญที่เกี่ยวกับผลการศึกษาโครงการ ทั้งด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ สังคม การลงทุนและสิ่งแวดล้อม แก่ผู้เข้าร่วมสัมมนาพร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน ในพื้นที่จังหวัดสุโขทัยและจังหวัดพิษณุโลกเข้าร่วมสัมมนากว่า 400 คน

ภายในงานสัมมนาครั้งนี้ ได้นำเสนอสาระสำคัญของผลการศึกษาโครงการฯ ในทุกด้าน ประกอบด้วยแนวเส้นทางโครงการณ ผ่าน 6 จังหวัด มี 5 สถานี ได้แก่ สถานีสุโขทัย สถานีศรีสัชนาลัย สถานีลำปาง สถานีลำพูนและสถานีเชียงใหม่ โดยส่วนใหญ่เป็นแนวเส้นทางตัดใหม่ มีจุดเริ่มต้นที่สถานีพิษณุโลก ซึ่งเป็นจุดเชื่อมต่อจากแนวรถไฟความเร็วสูงสายเหนือ ระยะที่ 1 (กรุ่งเทพฯ – พิษณุโลก) ไปสิ้นสุดที่สถานีเชียงใหม่ มีแนวเส้นทางแบ่งเป็น 2 ช่วง ได้แก่ ช่วงพิษณุโลก – ลำปาง ออกจากสถานีพิษณุโลกใช้พื้นที่ในเขตทางรถไฟเดิม ตัดผ่านทางหลวงหมายเลข 12 จากนั้นเลี้ยวซ้าย ผ่าน อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าสู่ อ.กงไกรลาศ และสถานีสุโขทัย และเข้าสู่สถานีศรีสัชนาลัย อ.ศรีสัชนาลัย จ.สุโขทัย แล้วเบี่ยงขวาผ่าน อ.วังชิ้น อ.ลอง จ.แพร่ ไปตามเส้นทางที่กำหนดจนถึงสถานีเชียงใหม่

สำหรับผลการศึกษาด้านเศรษฐกิจของการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วงพิษณุโลก – เชียงใหม่ พบว่ามีความเหมาะสมในการลงทุน โดยมีอัตราส่วนผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 13.19 มูลค่าการลงทุน 232,411.88 ล้านบาท โดยกำหนดค่าโดยสารจากกรุ่งเทพฯ – เชียงใหม่ เบื้องต้นเฉลี่ย 2 บาท / กม. เมื่อเดินทางจาก สุโขทัย – เชียงใหม่ มีค่าโดยสาร 414 บาท / เที่ยว ใช้เวลา 1 ชั่วโมง 8 นาที

ภายหลังการสัมมนาครั้งนี้ (ครั้งที่ 3) สนข.จะนำเสนอรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ต่อสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) เพื่อดำเนินการตามขั้นตอนและนำเสนอสรุปผลการศึกษาโครงการต่อกระทรวงคมนาคมต่อไป สนใจสามารถติดตามความคืบหน้าและรายละเอียดโครงการฯเพิ่มเติม ได้ที่ http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 27/10/2014 11:36 am    Post subject: Reply with quote

วีดิทัศน์ประกอบการสัมมนาครั้งที่ 3 รถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ ระยะที่ 2
Daoreuk Studio Oct 26, 2014

Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/10/2014 10:11 am    Post subject: Reply with quote

สุดยอดไอเดียออกแบบ "สถานีไฮสปีดเทรน" กทม.-เชียงใหม่ "ประจิน"ปิ๊งนำมาต่อยอดรถไฟทางคู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
9 ตุลาคม 2557 เวลา 20:34:43 น.


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2557 สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้มอบรางวัลมอบรางวัล และเปิดนิทรรศการแสดงผลงานการประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 ช่วงพิษณุโลก-เชียงใหม่ ภายใต้ชื่อ “อัตลักษณ์สร้างคุณค่า” (Identity Creates Value)

โดยมีรางวัลให้ผู้ชนะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือ
1. ระดับอาชีพ เป็นบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการออกแบบ และมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ และ ระดับสมัครเล่น คือนิสิต นักศึกษา และประชาชนทั่วไป มีเงินรางวัลแบ่งออกเป็น 3 สถานี สถานีละ 3 รางวัล ได้แก่
1.1 รางวัลที่ 1 รางวัลละ 40,000 บาท
1.2 รางวัลที่ 2 รางวัลละ 25,000บาท และ
1.3 รางวัลที่ 3 รางวัลละ 15,000 บาท

นอกจากนี้ ยังมีรางวัล popular vote อีก 1 รางวัลต่อสถานี รางวัลละ 10,000 บาท มูลค่าเงินรางวัลทั้งสิ้นรวม 510,000 บาท

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า การประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงครั้งนี้ เพื่อให้ประชาชน นิสิต และนักศึกษา มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ ผ่านการออกแบบอัตลักษณ์ภายในสถานีรถไฟให้มีความงาม สื่อถึงเอกลักษณ์ไทย สร้างเสน่ห์ดึงดูดให้คนจดจำ ช่วยเพิ่มมูลค่าในการให้บริการระบบรถไฟของประเทศไทย

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวว่า "ผลงานการประกวดที่ได้รับรางวัลในระดับต่างๆ นี้ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ประกอบการออกแบบสถานีรถไฟทางคู่ขนาดทางมาตรฐานหรือ Standard Gauge ตามยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและแนวนโยบายการพัฒนารถไฟทางคู่ของประเทศไทยต่อไป"

รถไฟทางคู่เป็นการพัฒนาแนวเส้นทางรถไฟให้เป็นโครงข่ายเดียวกัน โดยมีขนาดทางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร ในระยะแรก กำหนดให้ใช้ความเร็วสูงสุด 180 กิโลเมตร/ชั่วโมง รองรับน้ำหนักขบวนรถสินค้า น้ำหนักลงเพลา 20 ตันต่อเพลาได้ เป็นการพัฒนาเพื่อสร้างมาตรฐานใหม่ในด้านความปลอดภัย ความสะดวกรวดเร็ว และความเชื่อมั่นในการขนส่งสินค้าและการเดินทางให้กับประชาชน พร้อมทั้งสร้างบูรณภาพทางเศรษฐกิจของประเทศไทยในอนาคต

"ปี2558 จะออกแบบรถไฟทางคู่ราง 1.435 เมตรเสร็จ ในยุทธศาสตร์มี 2 สายทางเพื่อเชื่อมการค้ากับประเทศจีนในอนาคตที่หนองคายและเชียงของ" พล.อ.อ.ประจิน กล่าว

สำหรับประกวดแนวคิดการออกแบบภายในสถานีรถไฟความเร็วสูงสายกรุงเทพ ฯ – เชียงใหม่ ระยะที่ 2 พิษณุโลก – เชียงใหม่ ทาง สนข.เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2557 ใน 3 สถานี ได้แก่ สถานีพิษณุโลก (น่าจะเป็นสถานีสุโขทัยหละมากกว่า) สถานีลำปาง และสถานีเชียงใหม่ มีผู้สนใจส่งผลงาน เข้าประกวดรวม 52 ผลงาน

จากผลการตัดสินของคณะกรรมการ ได้แก่
1.ระดับสมัครเล่น

1.1 “สถานีเชียงใหม่” ผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานของนางสาวอิชยา ปิยสุนทราวงษ์ และ นายนพัตธร จิตวีรภัทร จากสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง โดยมีแนวคิดการออกแบบที่ได้แรงบันดาลใจจาก “การไหว้” ที่แสดงถึงความเคารพ ต้อนรับ ขอพร และการขอบคุณ ส่วนการออกแบบตัวอาคาร เน้นให้มีความอ่อนน้อมต่อบริบทรอบข้างอย่างลงตัว

1.2. “สถานีลำปาง” มีเฉพาะรางวัลที่ 3 ได้แก่ผลงานของนายเอกพล ลอเรืองโชค และนางสาวมุฑิตา พรเสริมสุข จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และ

1.3. “สถานีพิษณุโลก” (น่าจะเป็นสถานีสุโขทัย) ไม่มีผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ สำหรับรางวัลที่ 2 เป็นผลงานของนางสาวจุฑามาศ มาตุเวช และ นางสาวชนิตา วรรณมาศจากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ และรางวัลที่ 3 เป็นผลงานของนายธนธรณ์ ภูหริรักษ์สกุล และนายภคพล ทิพยรัตน์ จากมหาวิทยาลัยกรุงเทพ

2.ส่วนระดับอาชีพ

2.1 “สถานีเชียงใหม่” ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2.2 “สถานีลำปาง” มีผลงานที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ได้แก่ ผลงานของนายพิษณุ ฟูใจ จากบริษัทจุติ อาร์คิเท็คส์ จำกัด ได้แนวคิดจากสถาปัตยกรรมล้านนา โดยการนำเอกลักษณ์ของลำปางมาตกแต่งภายในอย่างครบครัน เช่น ซุ้ม ร่ม ส่วนรางวัลที่ 2 และ 3 ไม่มีผู้ได้รับรางวัล

2.3 “สถานีพิษณุโลก” ไม่มีผู้ได้รับรางวัลทั้งชนะเลิศและรางวัลที่ 2 ส่วนรางวัลที่ 3 ได้แก่ผลงานของนายพงศ์ธร ธาราไชย , นายธานินทร์ ศรีเบญจรัตน์ และนายไชบูน ลิม จาก บริษัท สวอน แอนด์ แมคคลาเรน (ประเทศไทย) จำกัด มีแนวคิดจากการนำสภาพแวดล้อมมาเป็นแรงบันดาลใจแล้วนำเสนอดีไซน์มุ่งสู่อนาคต

3. ส่วนรางวัล Popular Vote
3.1 “สถานีเชียงใหม่” เป็นผลงานของนางสาวอิชยา ปิยสุนทราวงษ์ และ นายนพัตธร จิตวีรภัทร ได้คะแนนโหวต 516 คะแนน

3.2 “สถานีลำปาง” เป็นผลงานของนายพิษณุ ฟูใจ ได้คะแนนโหวต 638 คะแนน และ
3.3 “สถานีพิษณุโลก” เป็นผลงานของ นางสาวจุฑามาศ มาตุเวช และ นางสาวชนิตา วรรณมาศ ได้คะแนนโหวต 542 คะแนน

สำหรับผู้สนใจสามารถเข้าเยี่ยมชมผลงานที่ได้รับรางวัล และผลงานการออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงทั้ง 52 ชิ้น ได้ ณ บริเวณโถงชั้น 1 อาคารสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ตั้งแต่วันที่ 10 ต.ค. – 10 พ.ย. 2557

รายละเอียดเพิ่มเติมเชิญชมได้ที่นี่ครับ
https://www.facebook.com/hispeedchiangmaiphase2
https://www.facebook.com/hispeedchiangmaiphase2/posts/730170777069032
http://www.youtube.com/watch?v=jJv1fj6tOjM
http://www.thaihispeedtrain.com/chiangmai_phase2/index.php

[youtube.http://www.youtube.com/v/NQ0quoRcz44[/youtube.]
วิดีโอรถไฟความไวสูง
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=NQ0quoRcz44
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 02/10/2014 11:36 pm    Post subject: Reply with quote

เอกชนไทยพร้อม ญี่ปุ่นเสนอให้เทคโนโลยี ลงขัน สร้างระบบราง
เดลินิวส์
วันพฤหัสบดี 2 ตุลาคม 2557 เวลา 16:45 น.

แผนลงทุนระบบรางเนื้อหอม เอกชน-ต่างชาติรุมทึ้งร่วมลงทุน ญี่ปุ่นเสนอตัวใช้เทคโนโลยี ชิงกันเซ็ง +เงินทุน ส่วนบีทีเอส สนใจบริหารรถไฟฟ้า 2 เส้น พร้อมรถไฟเร็วสูง 1.435 เมตร

พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รมว.คมนาคม เปิดเผยหลังหารือกับ นายมิโนะรุ คิอุชิ รมช.ต่างประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้แทนพิเศษรัฐบาลญี่ปุ่นว่า รัฐบาลญี่ปุ่นแสดงความสนใจร่วมลงทุนโครงการโครงสร้างพื้นฐานของไทย โดยเฉพาะโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าขนาดรางมาตรฐาน 1.435 เมตร รถไฟรางคู่ รวมถึงโครงการพัฒนาท่าเรือฝั่งทะเลอันดามัน และท่าเรือน้ำลึกทวาย เพื่อเชื่อมโยงการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียแปซิกฟิกกับยุโรปและตะวันออกกลาง

“รัฐบาลญี่ปุ่นต้องการให้ไทยช่วยพิจารณาการลงทุนจากญี่ปุ่นก่อน เพราะมีประสบการณ์เชี่ยวชาญทางเทคโนโลยี และความปลอดภัย จากรถไฟความเร็วสูงชิงกันเซ็งที่ใช้มากว่า 50 ปี จึงสนใจเข้ามาก่อสร้าง บริหารเดินรถ และร่วมทุนกับรัฐบาลไทย พร้อมเชิญนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีของไทยให้เดินทางไปญี่ปุ่นด้วย ขณะเดียวกันญี่ปุ่นยังพร้อมสนับสนุนเรื่องเงินลงทุน เทคโนโลยี และการขยายการลงทุนภาคอุตสาหกรรมอื่นๆ ให้ พร้อมการันตีนำชาวญี่ปุ่นมาท่องเที่ยวในไทยเพิ่ม”

ทั้งนี้รัฐบาลไทยได้ชี้แจงไปว่าไทยพร้อมเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เพื่อเชื่อมโยงระบบคมนาคมภายในประเทศ ชายแดน และประเทศเพื่อนบ้านทั้งทางถนน ราง อากาศ และทะเล ส่วนข้อเสนอของญี่ปุ่นไทยก็รับไปพิจารณา เพราะไทยมีนโยบายเปิดกว้างรับการลงทุนจากทุกประเทศ และหลังจากนี้จะมีการหารือกับตัวแทนรัฐบาลญี่ปุ่นเพื่อลงรายละเอียดอีกครั้ง สำหรับแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานทางบก ถนน และราง กระทรวงคมนาคมจะทำให้เสร็จใน 15 วัน และเสนอให้ ครม.ได้รับทราบ โดยโครงการที่สำคัญ คือการลงทุนรถไฟทางคู่

พล.อ.อ.ประจิน กล่าวต่อว่า ในวันเดียวกันนายคีรี กาญจน์พาสน์ ประธานบริหารบริษัทระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (บีทีเอสซี) ได้เข้าพบและแสดงความสนใจร่วมบริหารเดินรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต รวมทั้งเสนอขอเข้าร่วมลงทุนโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่รางมาตรฐานขนาด 1.435 เมตร แต่เรื่องนี้มอบให้ไปหารือกับนายรณชิต แย้มสะอาด รักษาการผู้ว่าการการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.)
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 30/09/2014 9:29 am    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:
ตอนนี้ผลการศึกษาทางรถไฟความไวสูง ซึ่งเป็น Airport Link ส่วนต่อขยาย จากลาดกระบังไปพัทยาและระยอง ออกมาแล้ว เชิญชมได้ที่นี่ครับ
http://www.thaihispeedtrain-rayong.com/PDF/ALSR%20PP-2%2011-12%20Dec%202013.pdf



ตอนนี้ออกเป็นวิดีโอคลิปแล้วหละ
http://www.youtube.com/watch?v=R0M0odtYZcY&feature=share
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 24/09/2014 2:08 am    Post subject: Reply with quote

ข้อเท็จจริงรถไฟไทย (ตอนที่ 4): รถไฟธรรมดา VS ความเร็วสูง ผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน
Thai Publica
18 กันยายน 2014

นอกจากประเด็นความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจของเส้นทางรถไฟแล้ว ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่มีความสำคัญสำหรับการตัดสินใจในเชิงยุทธศาสตร์ โดยเฉพาะโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่ขนาดรางมาตรฐาน 2 เส้นทาง ระยะทางกว่า 1,400 กิโลเมตร ที่กำลังถูกผลักดันเป็น “โครงการวางมาตรฐานใหม่สำหรับอนาคต” รองรับรถไฟความเร็วสูงในอนาคต ตามยุทธศาสตร์ 8 ปีของกระทรวงคมนาคม ซึ่งปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนของการศึกษาความเป็นไปได้ รวมไปถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

แม้ปัจจุบันภาครัฐจะบังคับให้โครงการต่างๆ เหล่านี้ต้องส่งรายงานการประเมินผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม หรืออีไอเอ ประกอบการตัดสินใจ แต่มักจะเป็นการศึกษาผลกระทบตามกรอบแต่ละโครงการ ขาดการศึกษาเชิงเปรียบเทียบของรถไฟรูปแบบต่างๆ ที่มีต่อสิ่งแวดล้อม ในลักษณะทางเลือกอื่นๆ ของโครงการ แตกต่างจากต่างประเทศที่มีการศึกษาเชิงเปรียบเทียบ เพื่อเลือกประเภทรถไฟที่เหมาะสมที่สุด

จากข้อมูลเน็ตเวิร์กเรล (Network Rail) เจ้าของและผู้ให้บริการรถไฟรายใหญ่ในประเทศอังกฤษ ได้ศึกษาเปรียบเทียบอัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกระหว่าง รถไฟแบบธรรมดา (ระบบรถไฟอังกฤษเป็นขนาดรางมาตรฐาน ความเร็วออกแบบ 200 กม./ชม. ลักษณะเดียวกับโครงการรถไฟทางคู่เส้นใหม่ 2 สายของไทยที่กำลังศึกษาในปัจจุบัน) กับรถไฟฟ้าความเร็วสูงที่ความเร็วมากกว่า 250-350 กม./ชม. เพื่อวางแผนการสร้างและพัฒนาระบบขนส่งทางรางของประเทศอังกฤษในปี 2568 – 2598 ระยะเวลา 30 ปี

ผลการศึกษาระบุว่า เมื่อเทียบประสิทธิภาพโดยตรงในการขนส่ง “ขบวนรถไฟที่มีจำนวนที่นั่งเท่ากัน” จากจุดหนึ่งไปจุดหนึ่ง (Direct Performance หรือ Per seat-km) รถไฟธรรมดาปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถไฟความเร็วสูงโดยเฉลี่ย 9.3% โดยรถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซที่ 12.8 กรัมเทียบเท่าคาร์บอนไดออกไซด์ต่อที่นั่งต่อกิโลเมตร (gCO2eq/seat-km) และรถไฟธรรมดาปล่อยก๊าซที่ 11.7 gCO2eq/seat-km ขณะที่ถ้าคำนวณตลอดระยะเวลาใช้งาน 30 ปี รถไฟธรรมดายังคงปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า แต่ลดลงเหลือเพียงน้อยกว่า 4.3%

อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อที่นั่ง

อย่างไรก็ดี เมื่อเทียบประสิทธิภาพต่อการขนส่งผู้โดยสาร (Per Passenger-km) แล้ว พบว่ารถไฟความเร็วสูงสร้างก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่ารถไฟธรรมดาถึง 15% ในปัจจุบัน และน้อยกว่าสูงถึง 18.8% เมื่อคำนวณตลอดระยะเวลาใช้งาน 30 ปี ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อเกิดการเปลี่ยนระบบการขนส่งจากทางอากาศและถนนมาเป็นรถไฟมากขึ้น หรือ Modal shift จะส่งผลให้รถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซเรือนกระจกน้อยกว่า 17.4% ในปัจจุบัน และ น้อยกว่า 23.5% เมื่อคำนวณตลอดระยะเวลาการใช้งาน 30 ปี

อัตราการปล่อยก๊าซกระจกต่อผู้โดยสาร

อัตราการปล่อยก๊าชเรือนกระจก

เหตุผลที่รถไฟความเร็วสูงปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารน้อยกว่ากรณีประสิทธิภาพโดยตรง เพราะรถไฟความเร็วสูงสามารถขนส่งผู้โดยสารจำนวนมากกว่าในระยะเวลาเท่ากัน เนื่องจากความเร็วที่มากกว่า ส่งผลให้จำนวนก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารลดลง
ทั้งนี้ ประสิทธิภาพแบบนี้จะเกิดขึ้นได้ รถไฟความเร็วสูงต้องอาศัยจำนวนผู้โดยสารมาใช้บริการขั้นต่ำระดับหนึ่ง โดยผลการศึกษาของเน็ตเวิร์กเรลระบุว่าต้องมีอัตราโดยสารมากกว่ารถไฟธรรมดาประมาณ 4% ถึงจะ “เริ่ม” ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่อผู้โดยสารน้อยกว่ารถไฟธรรมดา
Back to top
View user's profile Send private message
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 358, 359, 360 ... 542, 543, 544  Next
Page 359 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©