Ads Service

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311283
ทั่วไป:13263965
ทั้งหมด:13575248
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 545, 546, 547  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 06/12/2016 10:35 am    Post subject: Reply with quote

เจรจารถไฟไทย-จีน ไทยต่อรองปลดเงื่อนไข ลงทุนไม่เสียเปรียบจีน ได้ฤกษ์ตอกเข็ม มี.ค. 60
โดย MGR Online
5 ธันวาคม 2559 07:56 น. (แก้ไขล่าสุด 5 ธันวาคม 2559 08:24 น.)

โครงการรถไฟไทย-จีนเจรจาสุดมาราธอน ไทยมุ่งมั่นถ้าจะลงทุนต้องไม่เสียเปรียบ ล่าสุดประชุมร่วมครั้งที่ 16 เห็นเค้าฝันเป็นจริง “อาคม” วางไทม์ไลน์ภายใน มี.ค. 60 ตอกเข็มช่วงแรก 3.5 กม. นำร่องโครงการ

โครงการรถไฟไทย-จีน ซึ่งรัฐบาล คสช.ภายใต้การนำของ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เริ่มต้นการพัฒนาเป็นระบบรถไฟทางคู่ขนาดทาง 1.435 เมตร (Standard Gauge) เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-กรุงเทพฯ และ แก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 873 กม. ซึ่งได้มีความร่วมมือในการดำเนินการระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลจีนในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ (Framework of Cooperation : FOC)

คณะทำงานร่วมไทย-จีนมีการหารือกัน 9 ครั้ง จึงได้ตกลงจะร่วมมือดำเนินโครงการรถไฟรูปแบบ EPC : Engineering Procurement and Construction โดยจะมีการจัดตั้งบริษัทร่วมทุน (SPV) เพื่อลงทุนใน 2 ส่วน คือ 1. ระบบรถไฟ การเดินรถ การซ่อมบำรุง 2. ส่วนของการก่อสร้าง เช่น แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้า ระบบสื่อสารโทรคมนาคมและระบบอาณัติสัญญาณ

และได้มีพิธีเชิงสัญลักษณ์ ปักธงเพื่อถือเป็นการเริ่มต้นโครงการ ณ สถานีรถไฟเชียงรากน้อย อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งจะเป็นศูนย์ควบคุมการเดินรถ หรือ OCC เมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2558 ซึ่งเป็นวันครบรอบ 1 ปี นับจากเมื่อวันที่ 19 ธ.ค. 2557 ที่ไทยและจีนได้เริ่มลงนามความร่วมมือนี้ร่วมกัน

เส้นทางแบ่งเป็น 4 ช่วง คือ
1. ช่วงกรุงเทพฯ (บางซื่อ)-แก่งคอย ระยะทาง 118.142 กิโลเมตร
2. ช่วงแก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 134.213 กิโลเมตร
3. ช่วงแก่งคอย-มาบตาพุด ระยะทาง 238.829 กิโลเมตร
4. ช่วงนครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 354.090 กิโลเมตร รวมระยะทาง 845.274 กิโลเมตร

ส่วนดอกเบี้ยเงินกู้ จีนเสนอที่ 2.5% พร้อมย้ำว่าพิจารณาอัตราที่ดีที่สุดให้ไทย ส่วนไทยต้องการที่ไม่เกิน 2% ซึ่งประเด็นนี้ยังไม่จบง่ายๆ ส่วนค่าก่อสร้างขยับไปอยู่ที่ประมาณ 5.3 แสนล้านบาท ตัวเลขสูงปรี๊ด ทำเอาหลายฝ่ายไม่สบายใจ

เพราะโครงการก่อสร้างรถไฟไทย-จีนตั้งต้นกันที่มูลค่าประมาณ 4 แสนล้านบาท ต่อมามูลค่าโครงการเพิ่มเป็นกว่า 5 แสนล้านบาท เนื่องจากจีนกำหนดค่าแรงสูงถึงวันละ 800 บาท และมีการนำเข้าวัสดุจากจีนทำให้ต้นทุนโครงการสูงขึ้น

จีนโขกค่าดอกเบี้ยแพง ค่าก่อสร้างบาน ทำให้มีกระแสว่าอาจจะยกเลิกการเจรจากับจีน และจะเปลี่ยนไปเจรจากับทางญี่ปุ่นให้ทำแทน เรื่องนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง มาช่วยเจรจาใน 2 เรื่องหลัก คือ รูปแบบการลงทุนโดยต้องการให้ทางจีนมีสัดส่วนการลงทุนที่มากขึ้น จากไทย 40 จีน 60 เป็น 30-70 เป็นต้น และสัดส่วนในการลงทุนจะต้องครอบคลุมไปถึงการก่อสร้างด้วยจากเดิมจะครอบคลุมเรื่องการเดินรถ

เมื่อค่าก่อสร้างบานปลายจึงมีการปรับแผนงาน แบ่งการก่อสร้างเป็นเฟส จาก 4 ตอน
1. กรุงเทพฯ (บางซื่อ)-แก่งคอย
2. แก่งคอย-มาบตาพุด
3. แก่งคอย-นครราชสีมา
4. นครราชสีมา-หนองคาย เพื่อลดภาระต้นทุนโครงการ

โดยจะก่อสร้างเฟสแรกในตอนที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย และ
ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา เป็นระบบทางคู่ และ
ตอนที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย ก่อสร้างเป็นทางเดี่ยวก่อน
ส่วนตอนที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด จะก่อสร้างในระยะต่อไปเพื่อลดค่าก่อสร้างลง โดยจะมีการเปลี่ยนถ่ายการขนส่งสินค้าที่หนองคาย และใช้ระบบทางคู่ ขนาดราง 1 เมตรลงไปยังท่าเรือแหลมฉบัง ส่วนตอนที่ 2 แก่งคอย-มาบตาพุด จะก่อสร้างในระยะต่อไป

แนวทางนี้ทำให้ลดต้นทุนโครงการจาก 5 แสนกว่าล้านบาท ลงประมาณ 1.6 แสนล้านบาท ขณะที่การเชื่อมต่อด้านผู้โดยสารจากจีน-ลาว เข้าหนองคาย-โคราช-กรุงเทพฯ ยังมีความสะดวกเชื่อมต่อไร้รอยต่อ ไม่มีปัญหาใดๆ เพราะแนวเส้นทางในลาวเป็นทางเดี่ยวที่เน้นขนส่งผู้โดยสาร ส่วนสินค้าใช้รถไฟทางคู่ ฉะเชิงเทรา-แหลมฉบังในการขนส่งสินค้าได้

รถไฟไทย-จีนมีการปรับรื้อแผนงานกันตลอดเวลา พร้อมกับเงื่อนไขใหม่ๆ ที่จีนอยากจะได้ เช่น สิทธิการพัฒนาพื้นที่สองข้างทางสถานี และรายได้อื่นที่ไม่เกี่ยวกับโครงการ ขณะที่ฝ่ายไทยย้ำชัดเจนจีนไม่มีสิทธิเรื่องที่ดินแน่นอน ที่ดินรถไฟให้ใครไม่ได้

ก่อนการหารือร่วม ครั้งที่ 10 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ใช้โอกาสในการหารือแบบทวิภาคีกับนายหลี่ เค่อเฉียง นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างการเดินทางไปประชุมผู้นำกรอบความร่วมมือแม่โขง-ล้านช้าง ครั้งที่ 1 ที่เมืองซานย่า มณฑลไห่หนาน สาธารณรัฐประชาชนจีน วันที่ 22-23 มี.ค. 59 ปรับแผนโครงการรถไฟไทย-จีนอีกครั้ง โดยจะก่อสร้างเป็นรถไฟความเร็วสูง (High Speed Train) แบบทางคู่ แค่เส้นทางกรุงเทพฯ-แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 250 กิโลเมตร (กม.) ความเร็ว 250 กม.ต่อชั่วโมง วงเงินลดลงมาอยู่ที่ 1.7 แสนล้านบาท ส่วนเส้นทางที่เหลือถึงหนองคายจะชะลอออกไปจนกว่าจะมีความพร้อม

“เป็นการพลิกเกม ตัดปัญหา และนำโครงการเข้าสู่ทิศทางที่เหมาะสมของไทยมากกว่าตามใจจีนจนเกินไป”

โดยรายละเอียดโครงการที่ปรับใหม่ คือ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมด โดยแบ่งเป็น

1. งานก่อสร้าง ที่ไทยจะรับผิดชอบทั้งงานพื้นราบ งานสะพานและอุโมงค์ แต่ฝ่ายจีนจะเข้ามาควบคุมงานสร้างสะพานและอุโมงค์ให้พร้อมใช้เทคโนโลยีจากจีน โดยจะใช้ผู้รับเหมาไทย ซึ่งเปลี่ยนจากแผนเดิมที่เคยแบ่งงานว่าฝ่ายไทยจะรับผิดชอบก่อสร้างเฉพาะงานพื้นราบ ส่วนสะพานและอุโมงค์ฝ่ายจีนจะรับผิดชอบโดยคัดเลือกผู้รับเหมาจีนเข้ามาก่อสร้าง

2. งานระบบและเดินรถ ฝ่ายไทยจะเป็นผู้รับผิดชอบทั้งหมดเช่นกัน ซึ่งปรับเปลี่ยนจากเดิมที่ไทยและจีนมีแผนจะร่วมทุนจัดตั้งนิติบุคคลเฉพาะกิจ (SPV) มาเป็นการจัดหาผู้รับสัมปทานเดินรถแบบรัฐและเอกชนลงทุนร่วมกัน (PPP), ตั้งบริษัทร่วมทุน ซึ่งจีนอาจเข้ามาร่วมก็ได้, ให้หน่วยงานรัฐวิสาหกิจเป็นผู้เดินรถ, จัดตั้งเป็นบริษัทเอกชน แต่ชัดเจนว่าระบบและตัวรถต้องใช้สินค้าจากประเทศจีนเท่านั้น

การประชุมครั้งที่ 10 เดินหน้า เร่งออกแบบรายละเอียด (Detail & Design) รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) เพื่อกำหนด TOR ประมูล และเริ่มต้นก่อสร้างงานโยธาส่วนแรกให้ได้ภายในเดือน ส.ค.-ก.ย. 2559 โดยไทยจะตั้งบริษัทเดินรถลงทุน 100% ยินดีใช้แหล่งเงินกู้จากจีนหากได้รับเงื่อนไขทางการเงินที่เหมาะสมและถูกที่สุด

มูลค่าโครงการจากที่จีนคำนวณไว้ที่ 1.9 แสนล้านบาท ไทยเจรจาลงมาที่กรอบวงเงินโครงการ 179,412.21 ล้านบาท โดยแบ่งออกเป็น 4 ตอน ประกอบด้วย

ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก)
ตอนที่ 2 จากปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กม.
ตอนที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119 กม.
ตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119 กม.

โดยจะก่อสร้างตอนที่ 1 (สถานีกลางดง-ปางอโศก) ระยะทาง 3.5 กม.ก่อนเพื่อให้โครงการได้เริ่มต้น เพราะเป็นจุดที่ไม่ต้องเวนคืน ทำได้เร็วสุด ตั้งเป้าตอกเข็มใน ธ.ค. 59 ค่าก่อสร้างคันดินฐานรากประมาณ 200 ล้านบาทเศษ

แต่จีนยังเล่นแง่ ออกแบบมาโดยใช้รหัสวัสดุเป็นของจีนหมด ทำให้ต้องเสียเวลาในการถอดแบบและปรับรหัสมาตรฐานวัสดุใหม่เพื่อเทียบเคียงกับมาตรฐานวัสดุไทยจึงจะคำนวนราคากลางออกมาได้

ล่าสุดประชุมร่วมครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า มีการปรับแผนขยับตอกเข็มเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) จาก ธ.ค. 59 ไปเป็น มี.ค. 2560 เนื่องจากประเด็นหลักเรื่องแบบก่อสร้าง ร่างสัญญา จ้างออกแบบ ควบคุมงาน ยังไม่เรียบร้อย แต่จะต้องยุติใน ธ.ค. 59 ให้ได้ เพราะยังมีขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลใน ก.พ. 60

นอกจากนี้ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี จะเข้าร่วมประชุมประจำปีของคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้าการลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน (JC : Joint Committee on Trade, Investment and Economic Cooperation China-Thai) ณ กรุงปักกิ่ง ช่วงวันที่ 7-12 ธ.ค. 2559 ซึ่งในวันที่ 9 ธ.ค.นั้นจะมีการหารือถึงความก้าวหน้าความร่วมมือโครงการรถไฟไทย-จีน พร้อมกับมีการลงนามใน MOC หรือบันทึกความร่วมมือไทย-จีน ยืนยันเจตนารมณ์ว่าไทยจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ-หนองคายเหมือนเดิม เรื่องนี้จีนกังวล รวมถึงนายกรัฐมนตรี สปป.ลาวได้เคยหารือถึงประเด็นนี้เช่นกัน เพราเกรงว่าจะไม่สามารถต่อเชื่อมกับรถไฟจีน-ลาว กับไทยได้

“โครงการนี้เจรจากันมาครบ 2 ปีแล้ว ยืดเยื้อ เจรจาไปเรื่อยๆ ถูกวิจารณ์สารพัด เลื่อนตอกเข็มหลายรอบก็เพื่อไม่ให้จีนเอาเปรียบ ไทยคือศูนย์กลางอาเซียน นี่คือแต้มต่อ สำคัญ รถไฟความเร็วสูงเป็นโครงการที่จะพัฒนายกระดับในหลายๆ ด้าน ทั้งเศรษฐกิจ ท่องเที่ยว คุณภาพชีวิต การค้าการลงทุน รัฐบาล คสช.ผลักดันรถไฟไทย-จีนโดยคำนึงถึงประโยชน์ของคนไทย ประเทศไทยก่อน ตามเป้าหมายอีกไม่นานจะเห็นกันว่า 2 ปีที่ประชุมกันมาราธอนเพื่อประโยชน์สูงสุด

ซึ่งไม่ใช่แค่ความร่วมมือไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) แต่ยังมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงเชื่อมออกไป 4 ภาคของไทย ซึ่งอีก 3 เส้นทาง กรุงเทพฯ-เชียงใหม่ (ความร่วมมือไทย-ญี่ปุ่น) ส่วนกรุงเทพฯ-ระยอง และกรุงเทพฯ-หัวหิน จะเปิดร่วมทุน PPP ในปี 2560 การผลักดันนโยบายของรัฐบาลอย่างจริงจัง เพื่อให้เป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนาที่ยั่งยืน
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 07/12/2016 4:28 pm    Post subject: Reply with quote

ครม.ไฟเขียว "สมคิด" ลงนามรถไฟไทย-จีน 9 ธ.ค.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
07 ธันวาคม 2559เวลา 15:50:02 น.

เมื่อเวลา 14.00 น.ที่ทำเนียบรัฐบาล พ.อ.อธิสิทธิ์ ไชยนุวัติ ผู้ช่วยโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม.มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่า ด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟ ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 เพื่อยืนยันความร่วมมือจะดำเนินการรถไฟเส้นทางกรุงเทพ ฯ-นครราชสีมา และ นครราชสีมา-หนองคาย โดยจะพยายามเริ่มการก่อสร้างโครงการรถไฟเส้นทางกรุงเทพ ฯ – นครราชสีมา ในต้นปี 2560 โดยทั้งสองฝ่ายเห็นชอบที่จะดำเนินการตามขั้นตอนภายในเพื่อให้สามารถลงนามบันทึกความร่วมมือได้ในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุนและความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย-จีน ซึ่งกำหนดจัดขึ้นในวันที่ 9 ธ.ค.2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นผู้ลงนาม
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 08/12/2016 1:17 pm    Post subject: Reply with quote

จีนส่งแบบสร้างรถไฟเร็วสูง 3.5 กม.ให้ไทย เร่งตรวจสรุปเสร็จก่อน ม.ค.60
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 08 ธันวาคม 2559 เวลา 11:30:01 น.


เดินหน้ารถไฟฟ้าไทย-จีน

เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทยจีน ครั้งที่ 5 ในวันที่ 9 ธันวาคม ที่กรุงปักกิ่ง นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี และนายหวัง หย่ง รัฐมนตรีแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จะเป็นประธานร่วมประชุม ในระหว่างการประชุมจะลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างตน และรองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติของไทย เพื่อยืนยันความร่วมมือโครงการก่อสร้างไทยจีนที่อยู่ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ดังกล่าว เพื่อให้โครงการดำเนินการตามแผนที่วางไว้

"ในการประชุม ครม.วันที่ 7 ธันวาคม ได้เห็นชอบร่างความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทย-จีน ว่าด้วยการกระชับความร่วมมือการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานการคมนาคมขนส่งของไทย (ปี 2558-2565) โดยโครงการรถไฟฟ้าไทย-จีนจะดำเนินการตามเจตนารมณ์ที่ผู้นำของทั้ง 2 ประเทศได้ตกลงกันไว้ ขณะนี้โครงการรถไฟฟ้าไทย-จีน คืบหน้า 3 เรื่อง คือ จีนได้ส่งแบบการก่อสร้าง 3.5 กิโลเมตร แรกให้กับไทยแล้วและอยู่ระหว่างตรวจแบบแล้ว 90% จะสรุปได้ธันวาคม หรือมกราคม 2560"

นายอาคมกล่าวและว่า ที่ผ่านมาได้เจรจากับจีนเพื่อให้มูลค่าลงทุนโครงการก่อสร้างลดลง โดยเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา งบลงทุนเหลือ 179,421 ล้านบาท จากเดิมอยู่ที่ 220,000 ล้านบาท การก่อสร้างในช่วงที่ 2 นั้นจะดำเนินการทันทีหลังลงนามสัญญาในเดือนมกราคม 2560 โดยจะทำคู่ขนานกับการก่อสร้างช่วงที่ 1 เพื่อให้มีความต่อเนื่อง" นายอาคมกล่าว

//----------------------

ครม.อนุมัติกรอบความร่วมมือรถไฟไทย-จีน "สมคิด-อาคม" บินปักกิ่งเซ็น MOC 9 ธ.ค.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
updated: 07 ธันวาคม 2559 เวลา 16:38:00 น.


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่าคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 7 ธันวาคม 2559 มีมติเห็นชอบร่างบันทึกความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟหรือรถไฟไทย-จีน ภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ. 2558 - 2565

ซึ่งในการประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยการค้า การลงทุน และความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างไทย - จีน ครั้งที่ 5 ในวันที่ 9 ธันวาคม 2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมของไทยจะลงนามในบันทึกความร่วมมือฯ กับรองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อยืนยันความร่วมมือในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างไทย - จีน โดยมีสาระสำคัญของบันทึกความร่วมมือฯ ดังนี้

1.ความร่วมมือดังกล่าวเป็นความร่วมมือโครงการรถไฟขนาดทางมาตรฐานสายแรกของประเทศไทย เส้นทางหนองคาย - นครราชสีมา - แก่งคอย - ท่าเรือมาบตาพุด และแก่งคอย - กรุงเทพฯ

2.แบ่งการดำเนินงานเป็น 4 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ - แก่งคอย ช่วงที่ 2 แก่งคอย - ท่าเรือมาบตาพุด ช่วงที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา และช่วงที่ 4 นครราชสีมา - หนองคาย

3.ทั้งสองฝ่ายยืนยันความร่วมมือการดำเนินโครงการรถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ - หนองคาย โดยเห็นชอบร่วมกันว่า ให้เริ่มดำเนินโครงการฯ เส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา เป็นลำดับแรก

ส่วนเส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย จะหารือร่วมกันทันทีภายหลังการลงนามในสัญญาการออกแบบรายละเอียดสัญญาที่ปรึกษาควบคุมงานก่อสร้าง สัญญางานระบบราง ระบบไฟฟ้าและเครื่องกล รวมทั้งขบวนรถไฟและการฝึกอบรมบุคลากรของเส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา โดยจะดำเนินการร่างสัญญาให้แล้วเสร็จภายในต้นปี 2560

4.เริ่มการก่อสร้างเส้นทางกรุงเทพฯ - นครราชสีมา ประมาณต้นปี 2560 และจะดำเนินการเตรียมรายละเอียดเส้นทางนครราชสีมา - หนองคาย เป็นลำดับต่อไป เพื่อให้การดำเนินโครงการฯ มีความต่อเนื่อง
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2016 9:18 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’เซ็นอีกยืนยันรถไฟไทย-จีน
มติชน
วันที่: 10 ธันวาคม 2559 เวลา 11:05 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวภายหลังการลงนามบันทึกความร่วมมือระหว่างไทย-จีน กับนายหวัง เสี่ยวเทา รองผู้อำนวยการคณะกรรมการพัฒนาและการปฏิรูปแห่งชาติจีน ที่ปักกิ่ง ว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้จะเป็นการยืนยันความร่วมมือในโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟระหว่างไทย-จีน อยู่ภายใต้บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน สำหรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทยภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมขนส่งของไทย พ.ศ.2558-2565 มีการลงนามไป

เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2557 และกรอบความร่วมมือระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ว่าด้วยการกระชับความร่วมมือในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟภายใต้กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟของประเทศไทย พ.ศ.2558-2565 โดยมีการลงนามไปเมื่อวันที่ 29 สิงหาคม 2559 ที่ผ่านมา

เริ่มกรุงเทพฯ-โคราชสายแรก

นายอาคมกล่าวว่า สาระสำคัญของบันทึกความร่วมมือดังกล่าวมีความสำคัญใน 4 เรื่อง คือ

1. ความร่วมมือที่ 1 ความร่วมมือจะเป็นโครงการรถไฟขนาดทางมาตรฐานสายแรกของประเทศไทย เส้นทางที่ 1 หนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด และแห่งที่ 2 แก่งคอย-กรุงเทพฯ

2. ความร่วมมือที่ 2 จะดำเนินการโครงการรถไฟออกเป็น 5 ช่วง คือ ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ช่วงที่ 2 แก่งคอย-ท่าเรือมาบตาพุด ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา และช่วงที่ 4 นครราชสีมา-หนองคาย และ

3. ความร่วมมือที่ 3 ทั้งสองฝ่ายยืนยันความร่วมมือดำเนินโครงการรถไฟเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ทั้งสองฝ่ายเห็นชอบร่วมกันว่าให้เริ่มโครงการลำดับแรกในเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา

ส่วนโครงการลำดับที่ 2 ดำเนินการในเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย โดยรายละเอียดของโครงการจะมีการหารือทันทีหลังการลงนามสัญญาเป็นที่เรียบร้อย สำหรับรายละเอียดของสัญญาจะว่าด้วยเรื่องของการออกแบบ ที่ปรึกษาคุมงาน ก่อสร้าง งานระบบราง ระบบไฟฟ้า และเครื่องกลรวมทั้งขบวนรถไฟ รวมไปถึงการฝึกอบรมบุคลากร โดยจะครอบคลุมในทุกเรื่อง สำหรับโครงการลำดับแรกคาดว่าจะดำเนินการร่างสัญญาให้แล้วเสร็จภายในต้นปี 2560 และจะเริ่มการก่อสร้างโครงการเส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ได้ภายในต้นปี 2560 และจะดำเนินการตามรายละเอียดของงานสำหรับโครงการเส้นทางนครราชสีมา-หนองคาย เป็นอันดับต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 27/12/2016 6:12 pm    Post subject: Reply with quote

เข็นรถไฟไทย-จีนเข้าครม.ต้นปีหน้า
เดลินิวส์
อังคารที่ 27 ธันวาคม 2559 เวลา 07.55 น.

กระทรวงคมนาคม อัพเดทการดำเนินงานแอคชั่นปี 59 เดินหน้าต่อเนื่อง เตรียมชง ครม. อนุมัติโครงการรถไฟไทย-จีน ม.ค.60 ก่อนบินถกที่ประเทศจีน 16-18 ม.ค.60 เล็งประกวดราคาไฮสปีด กทม.-หัวหิน และ กทม.-ระยอง ไตรมาส 3 ปี 60


                นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการติดตามแผนปฏิบัติการด้านคมนาคมระยะเร่งด่วน (แอคชั่นแพลน) ปี 2559 ว่า ที่ประชุมได้ติดตามการดำเนินงานของโครงการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมขนส่งของกระทรวงคมนาคม จำนวน 20 โครงการ วงเงินลงทุน 1,410,763 ล้านบาท โดยโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง ประกอบด้วย โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น คืบหน้า 13.41% โครงการพัฒนาท่าเทียบเรือชายฝั่ง A ที่ท่าเรือแหลมฉบัง คืบหน้า 53.25% โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งตู้สินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง (ระยะที่ 1) คืบหน้า 26.75% และโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือสายพัทยา-มาบตาพุด คืบหน้า 15.14%
                นายพีระพล กล่าวต่อว่า ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างประกวดราคา ประกอบด้วย โครงการทางหลวงพิเศษ สายบางปะอิน-นครราชสีมา จำนวน 40 ตอน ลงนามสัญญาแล้ว 25 ตอน อีก 14 ตอนประกวดราคาแล้ว ส่วนอีก  1 ตอน คาดว่าจะประกวดราคา ม.ค.60, สายบางใหญ่-กาญจนบุรี จำนวน 25 ตอน ลงนามสัญญาแล้ว 9 ตอน ที่เหลืออีก 15 ตอน จะลงนามสัญญาในเดือน ธ.ค.59 และอีก 1 ตอน อยู่ระหว่างประกวดราคา, โครงการพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระยะที่ 2 ดำเนินการแล้ว 3 งาน อยู่ระหว่างประกวดราคา 1 งาน, โครงการรถไฟฟ้าสายสีชมพู ช่วงแคราย-มีนบุรี สายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง และสายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี คาดว่าทั้ง 3 เส้นจะเสนอครม. ได้ เม.ย. 60 ก่อนลงนามสัญญา และเริ่มดำเนินงาน พ.ค.60 สำหรับโครงการรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร, ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ, ช่วงนครปฐม-หัวหิน และช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ คาดจะเสนอราคาวันที่ 1 มี.ค.60 ลงนามในสัญญา 26 มี.ค.60 และเริ่มดำเนินการก่อสร้างต่อไป ส่วนโครงการระบบรถไฟชานเมือง สายสีแดงอ่อน และสายสีแดงเข้ม เตรียมการประกวดราคา มี.ค.-ก.ค.60 ลงนามสัญญา ก.ย. และเริ่มก่อสร้าง ต.ค.60
                นายพีระพล กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการที่เตรียมเสนอ ครม. ได้แก่ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงเตาปูน-ราษฎร์บูรณะ คาดว่าจะเสนอเรื่องให้กระทรวงคมนาคมและ ครม. เห็นชอบได้ ม.ค.-ก.พ.60 ส่วนโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินการ จัดเตรียม และเจรจา ประกอบด้วย โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-หัวหิน และช่วงกรุงเทพฯ-พัทยา-ระยอง ทั้ง 2 เส้น เตรียมเปิดประกวดราคาในช่วงไตรมาส 3 ปี 60 (ก.ค.-ก.ย.60), โครงการความร่วมมือการก่อสร้างทางรถไฟไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย คาดเสนอ ครม. ม.ค.60 ก่อนที่ฝ่ายไทยจะเดินทางไปร่วมประชุมคณะกรรมการความร่วมมือการก่อสร้างทางรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 17 ที่กรุงปักกิ่ง ประเทศจีนในวันที่ 16-18 ม.ค.60  ส่วนโครงการความร่วมมือการก่อสร้างทางรถไฟไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-พิษณุโลก จะมีการเสนอรายงานความเหมาะสมของโครงการภายในไตรมาสแรกของปี 60 
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 02/01/2017 5:36 pm    Post subject: Reply with quote

โยกฮับไฮสปีดเทรนพ้นสถานีกลางบางซื่อสศช.ชงปักหมุด‘ภาชี’
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 2 January 2560

ผ่าทางตันเขตทางรถไฟเข้ากรุงเทพฯคับแคบ สศช.เสนอย้ายฮับรถไฟไฮสปีดไปไว้สถานีบ้านภาชี พระนครศรีอยุธยา พัฒนารถไฟสายสีแดง และรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิ้งค์เชื่อมโยง ลดความแออัดสถานีกลางบางซื่อไว้รองรับการพัฒนากิจกรรมทางเศรษฐกิจใหม่

แม้จะหารือกันร่วม 16 ครั้งแต่ดูเหมือนว่าโครงการรถไฟภายใต้ความร่วมมือไทย-จีน รวมทั้งโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่นจะยังไม่ลงตัว ปมปัญหาสำคัญข้อหนึ่งคือเขตทางรถไฟช่วงกรุงเทพฯ-อยุธยามีจำกัด โดยแต่ละประเทศอ้างจะใช้ระบบอาณัติสัญญาณของตนเอง จนทำให้ฝ่ายไทยต้องปรับแก้ไขแบบเส้นทางครั้งแล้วครั้งเล่า ล่าสุดเริ่มสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)แนะปลดล็อก จากเดิมที่วางแผนให้สถานีกลางบางซื่อเป็นศูนย์รวมรถไฟความเร็วสูง และเสนอให้ย้ายไปอยู่ที่จ.พระนครศรีอยุธยาเป็นจุดเริ่มต้นแทน

โดยเรื่องนี้แหล่งข่าวระดับสูงของสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) เปิดเผย “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า จากการร่วมหารือกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ถึงกรณีปมความล่าช้าการพัฒนาเส้นทางรถไฟไทย-จีนและไทย-ญี่ปุ่น โดยเฉพาะความไม่ลงตัวของการใช้เส้นทางช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี เนื่องจากทับซ้อนกับแอร์พอร์ตเรลลิงค์และเขตทางมีจำกัด

โดยควรกำหนดให้จุดเริ่มต้นโครงการอยู่ที่บ้านภาชี จ.พระนครศรีอยุธยา แทนที่จะมาสิ้นสุดที่บางซื่อ เพราะฝ่ายญี่ปุ่นยืนยันชัดเจนว่าจะใช้ระบบชินคันเซน ซึ่งจะไม่รองรับระบบรถไฟของจีน ต่างจากรถไฟจีนที่ระบบอาณัติสัญญาณจะเปิดกว้างมากกว่า อีกทั้งหากย้ายชุมทางรถไฟความเร็วสูงไปอยู่ที่จ.พระนครศรีอยุธยา จะเป็นการขยายพื้นที่ความเจริญออกไปสู่เมืองบริวารของกรุงเทพฯ ด้วยการสร้างจุดเด่นด้วยระบบราง และกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย

“เป็นการเริ่มต้นระบบของรถไฟไทยภายใต้ความร่วมมือต่อกันได้อย่างลงตัว เพียงปลดล็อกความคิดว่า ไม่ต้องเริ่มต้นที่บางซื่อก็ทำได้แล้ว อีกทั้งบางซื่อยังลดความหนาแน่นของชุมทางไปได้อีกมาก เพื่อให้เกิดการพัฒนากิจกรรมอื่นในอนาคตได้อีกด้วย โดยเฉพาะระบบรางเส้นทางอื่น ๆ ที่จะเชื่อมเข้ามายังสถานีกลางบางซื่อ โดยช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชีนั้นเพียงขยายแนวเส้นทางรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตลิงค์ออกไป อีกทั้งยังต่อขยายจากสนามบินสุวรรณภูมิไปถึงระยองได้อีกด้วย ประการสำคัญแนวเส้นทางที่ซ้ำซ้อนกันช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ก็จะลดความแออัดลงไป เนื่องจากจะมีเพียงสายสีแดงในเส้นทางรถไฟชานเมืองและแอร์พอร์ตลิงค์ใช้พื้นที่เขตทางเท่านั้น ทำให้สามารถใช้รถไฟทั้งสองระบบให้เกิดศักยภาพสูงสุด เพิ่มความถี่การเดินรถได้มากขึ้น และช่วยประหยัดงบประมาณลงไปได้อีกมากมาย”

นอกจากนั้นสนข.และสศช. ยังมองความคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ที่จะสามารถใช้เป็นเครื่องมือกระตุ้นการเจริญของเมือง เมืองตามแนวเส้นทางยังจะได้อานิสงส์ เพียงแต่จะต้องวางแผนของการพัฒนาแต่ละพื้นที่แต่ละเมืองตามไปด้วย อีกทั้งยังต้องหารือร่วมกันในด้านการพัฒนาพื้นที่รอบสถานี จัดพื้นที่ที่ไกลจากแนวเส้นทางให้เกิดการพัฒนาด้วยกิจกรรมหลากหลายรูปแบบที่โดดเด่นสามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ทั้งแหล่งท่องเที่ยว คลัสเตอร์อุตสาหกรรมใหม่ ศูนย์วิจัย สถาบันการศึกษา ถือเป็นกิจกรรมที่มีส่วนทำให้เติบโตทางเศรษฐกิจได้

“เปิดโอกาสให้เมืองเติบโตด้วยกิจกรรมต่าง ๆ แต่หากมีรถไฟฟ้านักลงทุนจะตัดสินใจเร็วขึ้น เพียงรัฐช่วยด้านการจัดหาพื้นที่ การวางผัง ระเบียบกฎหมาย ตลอดจนช่วยหาแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ประการสำคัญจ.พระนครศรีอยุธยาปัจจุบันเครือข่ายอุตสาหกรรม และแหล่งท่องเที่ยวมีพร้อม แต่อาจจะจัดหาเพิ่มด้านการเชื่อมโยงระบบขนส่ง อาทิ รถเช่า โรงแรม ร้านอาหาร จัดแหล่งท่องเที่ยวให้ดี องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องกำหนดแผนพัฒนาร่วมกับเอกชนในพื้นที่”

ทั้งนี้ เส้นทางส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงค์ ควรจะเข้ามามีบทบาทในการเชื่อมโยงภายในเขตกรุงเทพฯ-ปริมณฑลด้วยศักยภาพที่มีอยู่ในปัจจุบันสามารถต่อยอดได้อีกมากมาย โดยเริ่มต้นจากบ้านภาชี ผ่านสถานีกลางบางซื่อ เชื่อมไปสนามบินสุวรรณภูมิ ก่อนจะไปสิ้นสุดที่ระยอง หรือจังหวัดตราด เพียงเพิ่มศักยภาพให้บริการด้วยขบวนรถให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดอย่างเต็มที่เท่านั้น

ด้านนายมานพ พงศทัต ศาสตราภิชาน ภาควิชาเคหะการ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวว่า คงจะมีผลต่อการเติบโตของเมืองเหล่านั้นได้ไม่มากก็น้อย แต่ก็ต้องระมัดระวังกรณีไปกระทบเขตเมืองชั้นในของแต่ละจังหวัด โดยเฉพาะพระนครศรีอยุธยา และสุโขทัย แต่หากสามารถเข้าไปมีส่วนการพัฒนาเศรษฐกิจของแต่ละจังหวัดได้ ก็จะเกิดมูลค่าเพิ่มของโครงการ และกลับคืนสู่การลดต้นทุนของโครงการได้ไม่มากก็น้อย

“รถไฟความเร็วสูงจะเน้นเชื่อมโยงเมืองสู่เมือง หรือจังหวัดสู่จังหวัด ซึ่งแต่ละเส้นทางสามารถเชื่อมไปแต่ละภาคแต่จะต้องไม่ให้เกิดปัญหาเรื่องการเชื่อมต่อ เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับความสะดวกในการเดินทาง ไม่ต้องลากกระเป๋าไกลๆหรือเปลี่ยนขบวนบ่อยครั้งเท่านั้นเอง”

จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,223 วันที่ 1 – 4 มกราคม 2560
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 04/01/2017 12:22 pm    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
โยกฮับไฮสปีดเทรนพ้นสถานีกลางบางซื่อสศช.ชงปักหมุด‘ภาชี’
โดย ฐานเศรษฐกิจ - 2 January 2560

งานนี้สภาพัฒน์ โดนโห่และให้กล้วยแน่ๆ เพราะ ความคิดเช่นนี้มันไม่ต่างอะไรกะ คนที่มีหัวไว้คั่นใบหูโดยแท้
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2017 10:18 am    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีนติดปม วิศวกรจีนออกแบบขัด กม.ไทย จีนเสนอใช้ ม.44 ปลดล็อก
โดย MGR Online
10 มกราคม 2560 09:24 น. (แก้ไขล่าสุด 10 มกราคม 2560 09:31 น.)

รถไฟไทย- จีนส่อติดหล่ม เจอปัญหาใช้วิศวกรจีนออกแบบแต่กฎหมายไทยกำหนดให้ผู้ออกแบบต้องสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรของไทย จีนหัวใสเสนอไทยใช้คำสั่ง มาตรา 44 ปลดล็อก เล็งเจรจาจีนยอมสอบตามกฎหมายไทย

รายงานข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่า ความร่วมมือไทย-จีน ในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร (กม.) 179,412.21 ล้านบาท ซึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องการออกแบบ เรื่องสัญญาต่างๆ นั้น ขณะนี้ติดปัญหาสำคัญเรื่องการออกแบบที่กฎหมายประเทศไทยระบุให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างในไทยจะต้องสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศกรของไทย ขณะที่ฝ่ายจีนเห็นว่าวิศวกรของตนมีมาตรฐานอยู่แล้วจึงไม่จำเป็นต้องมาสอบใบอนุญาตในไทยอีก ซึ่งหากหาทางออกไม่ได้อาจจะส่งผลต่อการดำเนินโครงการได้

ทั้งนี้ เป้าหมายในการประชุมร่วมครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2559 นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ระบุว่า จะมีการตอกเข็มเริ่มก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) จากเดือน ธ.ค. 2559 ไปเป็น มี.ค. 2560 เนื่องจากประเด็นหลักเรื่องแบบก่อสร้าง, ร่างสัญญา จ้างออกแบบ ควบคุมงาน ยังไม่เรียบร้อย และยังมีขั้นตอนเสนอคณะรัฐมนตรี (ครม.) และเปิดประมูลใน ก.พ. 2560

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 9 ม.ค.ได้มีการประชุมเตรียมการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน กรุงเทพฯ-นครราชสีมา โดยมีนายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เป็นประธาน ซึ่งได้เชิญผู้แทนจากสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกมาร่วมหารือในประเด็นปัญหาการออกแบบ ที่กฎหมายประเทศไทยระบุให้ผู้ที่ออกแบบโครงการก่อสร้างในไทยจะต้องสอบผ่านใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศกรของไทย ซึ่งจีนเสนอให้ฝ่ายไทยใช้คำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ตามมาตรา 44 รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวปี 2557 เพื่อปลดล็อก

ขณะที่ฝ่ายไทยเห็นว่ายังไม่มีความจำเป็นต้องใช้กฎหมายมาตรา 44 เข้ามาช่วยเพราะอาจทำให้การทำงานไม่ได้รับการยอมรับ และหากจะใช้จริงก็ควรได้รับความยินยอมจากสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกด้วย ที่ประชุมเตรียมการฯ จึงมีความเห็นว่าในการเจรจาอย่างเป็นทางการครั้งที่ 17 ที่กรุงปักกิ่ง ควรเจรจาให้ฝ่ายจีนยอมกระทำตามกฎหมายของไทยด้วยการให้วิศวกรจีนมาสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของไทย และให้มีวิศกรไทยร่วมในการออกแบบด้วย แต่หากเจรจาแล้วไม่สามารถตกลงกันได้ ทางสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกเสนอว่าให้ใช้กฎหมายมาตรา 44 เข้ามาช่วยได้แต่ไม่ควรปลดล็อกทั้งหมด โดยฝ่ายจีนจะต้องส่งตัวแทนวิศวกรที่ออกแบบมาสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของไทย และต้องให้วิศวกรไทยร่วมในการออกแบบ

“ประเด็นที่จีนขอให้ไทยใช้มาตรา 44 มาปลดล็อกไม่ต้องให้วิศวกรจีนสอบใบอนุญาตประกอบวิชาชีพของไทย ไทยไม่อยากทำแบบนั้น เพราะเป็นเรื่องทางวิชาชีพ และอาจทำให้การทำงานไม่เป็นที่ยอมรับ ทางสภาวิศวกรกับสภาสถาปนิกก็ไม่เห็นด้วย” แหล่งข่าวกล่าว

แหล่งข่าวกล่าวว่า นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม ได้รับทราบปัญหาดังกล่าวในเบื้องต้นแล้ว ส่วนการออกแบบช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. บริเวณ กม.150+500 ถึง กม.154+000 ระหว่างสถานีกลางดง-สถานีปางอโศก อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งวิศวกรจีนดำเนินการเสร็จแล้วนั้น ขณะนี้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) อยู่ระหว่างการตรวจสอบ แต่ยังไม่สามารถอนุมัติแบบได้จนกว่าจะปลดล็อกเรื่องดังกล่าวก่อน และให้ฝ่ายจีนส่งแบบมาให้พิจารณาอีกครั้ง

สำหรับกำหนดการเจรจาอย่างเป็นทางการครั้งที่ 17 เลื่อนกำหนดจากวันที่ 16-18 มกราคม 2560 ที่ออกไปก่อน เนื่องจากทางไทยโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมติดภารกิจลงพื้นที่แก้ปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนทางจีนมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ ซึ่งคาดว่าจะต้องเลื่อนจากเดิมออกไปอีกประมาณ 2-3 สัปดาห์ เพื่อให้ทันกับแผนงานที่จะสรุปแบบในเดือน ก.พ. 60 และเสนอ ครม.อนุมัติโครงการใน มี.ค. 60
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42709
Location: NECTEC

PostPosted: 10/01/2017 6:20 pm    Post subject: Reply with quote

"อาคม"รายงาน ครม.ความก้าวหน้ารถไฟไทย-จีน ยันตอกเข็มทัน มี.ค.60
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
10 มกราคม 2560 เวลา 17:45:57 น.


"อาคม"รายงาน ครม.ความก้าวหน้ารถไฟไทย-จีน ยันตอกเข็มทัน มี.ค.60 ลุ้นบอร์ด EIA ไฟเขียวช่วงภาชี-โคราช

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 10 ม.ค.2560 กระทรวงคมนาคมรายงานผลการประชุมความร่วมมือรถไฟไทยจีนครั้งที่ 9-16 ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ ได้แก่ การบันทึกความร่วมมือ MOC ก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงต้นเดือน ธ.ค.2559 ที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนประเทศจีน โดยจะสร้างกรุงเทพฯ-นครราชสีมาก่อน

สำหรับการนำเสนอโครงการเพื่อให้ ครม.พิจารณาอนุมัติโครงการ ขณะนี้อยู่ในระหว่างรอการอนุมัติจากคณะกรรมการ (บอร์ด) สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เนื่องจากมีข้อมูลเพิ่มเติมที่กระทรวงคมนาคมจะต้องจัดส่งให้พิจารณา

ส่วนการยกร่างสัญญา 3 ฉบับ คือ ค่าที่ปรึกษาโครงการ (ออกแบบการก่อสร้าง), ค่าจ้างผู้ควบคุมงานทั้งการก่อสร้างและระบบรถ และระบบเหนือโครงสร้างพื้นฐาน พร้อมทั้งร่างเอกสารประกวดราคาการก่อสร้าง จะเร่งสรุปให้เสร็จภายในเดือน ม.ค.นี้ จากนั้นจะนำเสนอให้ ครม.เห็นชอบต่อไป

นอกจากนี้ยังรายงาน ครม.ให้รับทราบว่า จะมีการจัดตั้งสำนักงานบริหารโครงการรถไฟไทย-จีน เพื่อยกระดับให้เป็นโครงการของรัฐ โดยอาศัยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีเป็นแนวทางดำเนินการ

ทั้งนี้ ได้รายงานถึงผลการศึกษารายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (EIA) ของโครงการช่วงกรุงเทพฯ-บ้านภาชี ที่คณะผู้ชำนาญการ (คชก.) อนุมัติเห็นชอบในวันที่ 16 ก.ย.ที่ผ่านมา รอการพิจารณาจากคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมชุดใหญ่ ส่วนช่วงบ้านภาชี-นครราชสีมา ทาง คชก.ให้ปรับแก้รายงานใหม่ เนื่องจากผลกระทบของผู้ประกอบการเหมืองแร่ 2 ข้างทาง

ไการตอกเข็มรถไฟไทย-จีนจะยังคงเป้าภายในเดือนมี.ค.60 ยังไม่เลื่อน ส่วนที่เราเลื่อนการประชุมคณะกรรมการร่วมฯครั้งที่ 17 ที่ปักกิ่ง ประเทศจีน ในวันที่ 16 ม.ค.นี้ออกไปก่อน เพราะที่ปักกิ่งมีปัญหาเรื่องหมอกควัน และประเทศไทยมีปัญหาน้ำท่วมที่ภาคใต้ อย่างไรก็ตาม จะไม่ส่งผลกระทบต่อไทม์ไลน์การก่อสร้าง ทั้งกระบวนการเสนอโครงการเข้า ครม. การขออนุมัติจากสภาพัฒน์ฯ ตามแผนจะเปิดประมูลในเดือน ก.พ.-มี.ค.60 จะให้ผู้รับเหมาไทยเป็นหลักในการยื่นประมูล" นายอาคมกล่าวย้ำ
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44522
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/01/2017 11:27 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย- จีนไม่คืบ “อาคม”รายงานครม. เผยตอกเข็มมี.ค.60ยังไม่เลื่อน
โดย MGR Online 10 มกราคม 2560 18:36 น.

เลื่อนประชุมร่วมรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 17ออกไปอีก 1-2 สัปดาห์ “อาคม”เผยไทยติดน้ำท่วมภาคใต้ ส่วนจีนมีปัญหาหมอกควัน ยอมรับต้องประเมินสถานการณ์ เป้าตอกเข็มตอนแรก 3.5 กม. มี.ค. นี้อีกที เหตุยังต้องเร่งดำเนินการหลายเรื่อง พร้อมรายงานครม.คืบหน้าเตรียมเสนอ ขออนุมัติโครงการ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (10 ม.ค.) ได้รับทราบความคืบหน้าในการความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 16 ที่กรุงเทพ ในการพัฒนารถไฟความเร็วสูง ช่วง กรุงเทพ-นครราชสีมา (ไฮสปีดเทรน) ระยะทาง 252.5 กม. มูลค่า 179,412.21 ล้านบาท ในส่วนที่ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วม ครั้งที่ 9-16 ซึ่งในการประชุมร่วมครั้งที่ 17 ได้เลื่อนกำหนดการประชุม จากวันที่ 16-18 มกราคม 2560 ออกไปก่อน ประมาณ 1-2 สัปดาห์ เนื่องจากทางไทยยังมีปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนทางจีนมีปัญหาเรื่องมลภาวะทางอากาศ อย่างไรก็ตาม เป้าหมายในเดือนมี.ค. 2560 ที่จะตอกเข็มตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) อาจจะต้องประเมินสถานการณ์อีกที


ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานความคืบหน้าการดำเนินความร่วมมือไทย-จีนในโครงการรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. ในการประชุมร่วมตั้งแต่ครั้งที่ รวม 6 ประเด็น คือ
1. ได้มีการลงนาม MOC หรือบันทึกความร่วมมือไทย-จีน เพื่อยืนยันเจตนารมณ์ว่าไทยจะก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง จากกรุงเทพ-หนองคาย เหมือนเดิม เพื่อเขื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาค
2. เตรียมนำเสนอครม.เพื่อขออนุมัติโครงการ ซึ่งขณะนี้ ได้อยู่ระหว่างอยู่ในขั้นตอนการทำข้อมูลเพิ่มเติมเสนอคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
3. การจัดทำร่างสัญญาการเจรจา ร่างสัญญาEngineering Procurement and Construction (EPC-2 ) สัญญางานออกแบบ ,สัญญาควบคุมงาน ให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล และกฎหมายไทย ซึ่งจะเร่งให้ได้ข้อสรุปในเดือนม.ค.นี้
4. การจัดทำเอกสารประกวดราคา
5. การตั้งสำนักงานบริหารโครงการ ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการเตรียมร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
6.รายงานการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA ) ซึ่งแบ่งเป็นช่วง โดยช่วงกรุงเทพ-ชุมทางบ้านภาชี ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) เมื่อวันที่ 16 ก.ย. 2559 อยู่ระหว่างเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม (สผ.) ช่วงชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา คชก.ให้ปรับแก้ไขรายงาน EIA ประเด็นผลกระทบผู้ประกอบการสองข้างทาง โดยเฉพาะเหมืองแร่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 205, 206, 207 ... 545, 546, 547  Next
Page 206 of 547

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©