RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311234
ทั่วไป:13180337
ทั้งหมด:13491571
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 224, 225, 226 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 12:50 pm    Post subject: Reply with quote

จีนโขก 4พันล้าน ค่าคุมงานก่อสร้างไฮสปีดโคราช
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 สิงหาคม 2560 - 23:00 น.

ค่าคุมงานไฮสปีดกรุงเทพฯ-โคราชทะลุ 4 พันล้าน ไทยบี้จีนลดราคา เร่งปิดดีลให้จบ ส.ค. เปิดไซต์ก่อสร้าง ต.ค.นี้ จับตาเงื่อนเวลาไม่เป็นใจ บีบนำเข้าเหล็กจีน 150 ตัน ตอกเข็ม 3.5 กม.หลังผู้ผลิตไทยเปิดไลน์ไม่ทัน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า วันที่ 15-17 ส.ค. 2560 จะมีประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 20 เดินหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงรุงเทพฯ-นครราชสีมา 253 กม. เงินลงทุน 179,412 ล้านบาท โครงการร่วมมือของรัฐบาลไทยและรัฐบาลจีน


ขณะนี้ไทยอยู่ระหว่างเจรจากับจีนค่าจ้างออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาและค่าคุมงานก่อสร้าง ให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว จากนั้นเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติและเซ็นสัญญาต่อไป ให้ทันกับกรอบเวลาก่อสร้างระยะแรกสถานีกลางดง-ปางอโศก 3.5 กม. วงเงิน 425 ล้านบาท ภายในเดือน ก.ย.-ต.ค. 2560 จากนั้นจะทยอยอีก 3 ตอน ได้แก่ ตอนที่ 2 อ.สีคิ้ว จ.นครราชสีมา 11 กม. ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และตอนที่ 4 แก่งคอย-กรุงเทพฯ 119 กม.

“ค่าจ้างออกแบบเจรจาจีนลดจาก 2,014 ล้านบาท อยู่ที่ 1,706 ล้านบาท ส่วนค่าคุมงานก่อสร้าง กำลังพิจารณากำลังคนที่ต้องจ้าง ซึ่งจีนเสนอ 500 คน วงเงิน 5,140 ล้านบาท จ้างคนจีน 50 คน และคนไทย 450 คน ตอนนี้ต่อรองลดลงมาอยู่ที่ 4,000 ล้านบาท จะให้ลดลงมาที่ 3,000 ล้านบาท แต่ยังเกินจากกรอบวงเงินที่ ครม.กำหนด 1,648 ล้านบาท”

ทั้งนี้การก่อสร้างทั้งโครงการ ฝ่ายไทยจะดำเนินการ 75% ได้แก่ งานโยธา แหล่งจ่ายไฟฟ้ากำลัง โดยใช้ผู้รับเหมา วัสดุและอุปกรณ์ผลิตในประเทศไทย ส่วนฝ่ายจีนจะดำเนินการ 25% ได้แก่ ระบบราง รถไฟฟ้า และอาณัติสัญญาณ เนื่องจากใช้ระบบเทคโนโลยีจากจีน และเป็นโครงการความร่วมมือรัฐบาลต่อรัฐบาลหรือจีทูจี

สำหรับการใช้เหล็กข้ออ้อยก่อสร้างในโครงการ คาดว่าจะใช้ 7-8 แสนตัน ได้ตกลงกับจีนแล้วสามารถใช้เหล็กข้ออ้อยผลิตในประเทศได้ โดยจะส่งสเป็กให้ไทยดำเนินการผลิตต่อไป

แต่เนื่องจากเป็นเหล็กข้ออ้อยที่ใช้สำหรับรถไฟความเร็วสูงที่ไทยไม่เคยผลิตมาก่อน ทางผู้ประกอบการต้องปรับไลน์การผลิตใหม่ให้ได้ตามสเป็กของจีน รวมถึงการขอมอก.เพราะไม่มีอยู่ในประเภทที่ มอก.รับรองไว้ อาจจะใช้เวลาพอสมควร ทำให้การเริ่มงานระยะแรก 3.5 กม.ในเดือน ต.ค.นี้ ทางผู้ผลิตเหล็กไทยอาจจะผลิตไม่ทัน ซึ่งกรมทางหลวง (ทล.) ผู้ก่อสร้าง อาจจะต้องนำเข้าจากต่างประเทศหรือจากจีนเพื่อให้ได้ตามสเป็กรถไฟความเร็วสูง ซึ่งงานช่วงนี้จะใช้ประมาณ 150 ตัน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ส.ค.-ก.ย.นี้จะเสนอ ครม.อนุมัติร่างสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ 1,706 ล้านบาท ส่วนการจ้างคุมงานก่อสร้างจะหารือในการประชุมครั้งที่ 20
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 2:40 pm    Post subject: Reply with quote

ไฮสปีดเชื่อม 3 สนามบิน พ่วงที่ดินมักกะสัน ไม่เอื้อเอกชนแต่เพื่อลดภาระภาครัฐ
โดย MGR Online 15 สิงหาคม 2560 12:13 น. (แก้ไขล่าสุด 15 สิงหาคม 2560 12:53 น.)

ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.ยันเปิดสัมปทานรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เอกชนลงทุนสร้างส่วนต่อขยายแอร์พอร์ตเรลลิงก์ จากพญาไท-ดอนเมือง และจากลาดกระบัง-อู่ตะเภา ส่วนตรงกลางใช้ทางวิ่งของแอร์พอร์ตลิงก์ พร้อมได้สิทธิ์บริหารพื้นที่มีกกะสันไม่ขัด พ.ร.บ.การรถไฟฯ และไม่เอื้อประโยชน์เอกชน เหตุช่วยลดภาระลงทุนและชดเชยของภาครัฐ

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ได้ชี้แจงประเด็นข้อสังเกตโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน คือ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ซึ่งมีแผนการเดินรถโดยให้รถไฟความเร็วสูงวิ่งจากสนามบินดอนเมือง ผ่านเข้าสถานีมักกะสัน ก่อนจะวิ่งต่อไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา และเอื้อประโยชน์ให้เอกชนได้ประโยชน์จากการใช้ที่ดินย่านมักกะสันในเชิงการค้าพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งเป็นที่ดินอันได้มาจากการเวนคืน เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรมนั้น

นายอานนท์กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Airport Rail Link ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภาและ จ.ระยอง การเดินรถผ่านสถานีมักกะสัน โดยใช้โครงสร้างเดิมของ Airport Rail Link และใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ ที่มีอยู่จะทำให้ลดภาระค่าก่อสร้างลงได้อย่างมาก เนื่องจากหากเปิดแนวเส้นทางใหม่จะส่งผลกระทบในหลายด้าน จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินในเขตใจกลางเมือง ทำให้ค่าก่อสร้างของโครงการสูงขึ้นมาก

นอกจากนี้ ที่ดินบริเวณย่านมักกะสันของการรถไฟฯ อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟฯ โดยจะเปิดให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจ่ายผลตอบแทนให้การรถไฟฯ ในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของการรถไฟฯ การมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านที่ดินย่านมักกะสันจะส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่มีศักยภาพสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเกื้อกูลให้ผลตอบแทนจากการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีมูลค่าสูงขึ้น ลดภาระค่าชดเชยโครงการของภาครัฐในอีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ที่ดินบริเวณย่านมักกะสันที่การรถไฟฯ ได้มาโดยพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติ พระราชกฤษฎีกา และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินหลายบทบัญญัติ ซึ่งการรถไฟฯ ได้เคยหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประเด็นการนำที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 1597/2559 เมื่อพฤศจิกายน 2559 สรุปได้ว่าที่ดินที่ได้มาโดยบทบัญญัติดังกล่าวถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟที่จะใช้ตามวัตถุประสงค์ของกรมรถไฟได้ ต่อมาเมื่อที่ดินนั้นโอนมาเป็นของการรถไฟฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การรถไฟฯ ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับกรมรถไฟ และสามารถนำที่ดินดังกล่าวมาดำเนินการใดๆ ตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟฯ ได้

สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการจัดหาที่ดินมาให้กรมรถไฟนั้น เป็นเพียงวัตถุประสงค์เบื้องต้น เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไปหมดความจำเป็นที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิม หรือมีความจำเป็นต้องนำที่ดินนั้นไปใช้ทำกิจการอื่นใด ก็ย่อมเป็นไปตามวิวัฒนาการขององค์กรที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือความจำเป็นของประเทศได้ ดังนั้นเมื่อการรถไฟฯ มีอำนาจในการจัดการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และธุรกิจอื่นซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ ซึ่งรวมถึงการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ ตามมาตรา 6 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การนำที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 3:43 pm    Post subject: Reply with quote

แจงแผนเดินรถไฟความเร็วสูงเข้าสถานีมักกะสัน
กรุงเทพธุรกิจ 15 สิงหาคม 2560

"รฟท." แจงแผนเดินรถไฟความเร็วสูงจากสนามบินดอนเมืองเข้าสถานีมักกะสัน ชี้ใช้เขตทางเดิมช่วยลดภาระค่าก่อสร้าง ไม่ต้องเวนคืนที่ดินเขตกลางใจเมือง

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชี้แจงประเด็น ข้อสังเกตโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง มีแผนการเดินรถโดยให้รถไฟความเร็วสูงวิ่งจากสนามบินดอนเมือง ผ่านเข้าสถานีมักกะสันก่อนจะวิ่งต่อไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา ตามลำดับ เอื้อประโยชน์ให้เอกชนได้ประโยชน์จากการใช้ที่ดินย่านมักกะสันในเชิงการค้าพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งเป็นที่ดินอันได้มาจากการเวนคืน เป็นการขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรม นั้น

นายอานนท์ฯ กล่าวว่า โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน Airport Rail Link ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยจะก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีลาดกระบัง ไปยังสนามบินอู่ตะเภาและ จ.ระยอง การเดินรถผ่านสถานีมักกะสัน โดยใช้โครงสร้างเดิมของ Airport Rail Link และใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ ที่มีอยู่จะทำให้ลดภาระค่าก่อสร้างลงได้อย่างมาก หากเปิดแนวเส้นทางใหม่ จะส่งผลกระทบในหลายด้าน จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินในเขตใจกลางเมือง ทำให้ค่าก่อสร้างของโครงการสูงขึ้นมาก

นอกจากนี้ ที่ดินบริเวณย่านมักกะสันของการรถไฟฯ อยู่ในแผนฟื้นฟูกิจการของการรถไฟฯ โดยจะเปิดให้เอกชนเช่าใช้พื้นที่ในช่วงระยะเวลาหนึ่งโดยจ่ายผลตอบแทนให้การรถไฟฯ ในอัตราที่เหมาะสมและเป็นธรรมตามศักยภาพของพื้นที่ โดยกรรมสิทธิ์ที่ดินยังเป็นของการรถไฟฯ การมีเส้นทางรถไฟความเร็วสูงผ่านที่ดินย่านมักกะสันจะส่งผลให้การพัฒนาพื้นที่มีศักยภาพสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็จะเกื้อกูลให้ผลตอบแทนจากการร่วมลงทุนในโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินมีค่าสูงขึ้น ลดภาระค่าชดเชยโครงการของภาครัฐในอีกทางหนึ่ง

อย่างไรก็ตาม ที่ดินบริเวณย่านมักกะสัน ที่การรถไฟฯ ได้มาโดยพระบรมราชโองการ พระราชบัญญัติพระราชกฤษฎีกา และประกาศที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาที่ดินหลายบทบัญญัติ ซึ่งการรถไฟฯ ได้เคยหารือสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเกี่ยวกับประเด็นการนำที่ดินของการรถไฟฯ บริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ โดยคณะกรรมการกฤษฎีกาได้มีคำวินิจฉัยเรื่องเสร็จที่ 1597/2559 เมื่อพฤศจิกายน 2559 สรุปได้ว่าที่ดินที่ได้มาโดยบทบัญญัติดังกล่าว ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของกรมรถไฟที่จะใช้ตามวัตถุประสงค์ของกรมรถไฟได้ ต่อมาเมื่อที่ดินนั้นโอนมาเป็นของการรถไฟฯ ตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การรถไฟฯ ย่อมมีสิทธิเช่นเดียวกับกรมรถไฟ และสามารถนำที่ดินดังกล่าวมาดำเนินการใด ๆ ตามวัตถุประสงค์ของการรถไฟฯ ได้

สำหรับวัตถุประสงค์ที่ระบุไว้ในการจัดหาที่ดินมาให้กรมรถไฟนั้น เป็นเพียงวัตถุประสงค์เบื้องต้น เมื่อกาลเวลาได้ล่วงเลยไปหมดความจำเป็นที่จะดำเนินการตามวัตถุประสงค์เดิม หรือมีความจำเป็นต้องนำที่ดินนั้นไปใช้ทำกิจการอื่นใด ก็ย่อมเป็นไปตามวิวัฒนาการขององค์กรที่เป็นเจ้าของที่ดิน หรือความจำเป็นของประเทศได้ ดังนั้นเมื่อการรถไฟฯ มีอำนาจในการจัดการและนำมาซึ่งความเจริญของกิจการรถไฟ เพื่อประโยชน์แห่งรัฐและประชาชน และธุรกิจอื่นซึ่งเป็นประโยชน์แก่กิจการรถไฟ ซึ่งรวมถึงการให้เช่าและดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินใด ๆ ตามมาตรา 6 และมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2494 การนำที่ดินบริเวณโรงงานมักกะสันไปทำโครงการพัฒนาเชิงพาณิชย์ จึงสามารถดำเนินการได้โดยไม่ขัดกับเจตนารมณ์ของกฎหมายและขัดรัฐธรรมนูญ รวมถึงหลักความเป็นธรรม
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/08/2017 9:28 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคมเล็งแจงรถไฟไทย-จีนในวงครม.สัญจร
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560 20:59 น.

กระทรวงคมนาคม เตรียมรายงาน ข้อมูลโครงการรถไฟไทย-จีนสัญญา 2.1 ในการประชุมครม.สัญจร


นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวถึงการลงพื้นที่ตรวจความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอนที่ 1 (ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา) ช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร ว่า สำหรับช่วงที่1 จะมีการปรับรูปแบบทางโค้งเส้นทาง ให้มีความเหมาะสมมากขึ้น ซึ่งได้ทำการปักหมุดจุดอ้างอิงแนวเส้นทางไว้แล้วโดยจะมีการปรับทางโค้งให้กว้างขึ้นควบคู่ไปกับเส้นทางรถไฟทางคู่ โดยการปรับแบบครั้งนี้จะไม่กระทบต่อแผนการก่อสร้าง

สำหรับประชุมโครงการรถไฟไฟไทย-จีนครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค.นี้ จะเร่งหาข้อสรุปในส่วนของสัญญา 2.1 สัญญาการออกแบบ และสัญญา 2.2 สัญญาที่ปรึกษาควบคุมงาน

นอกจากนี้ในการประชุม ครม.สัญจรกระทรวงคมนาคม ได้เตรียมเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการรถไฟไทย-จีนสัญญา 2.1 สัญญาการออกแบบของโครงการรถไฟไทย-จีน และการรายงานความก้าวหน้า ของโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองเส้นทาง บางปะอิน-โคราช ที่เกี่ยวของกับการของบประมาณและการขอค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมวงเงินประมาณ 500 ล้านบาท รวมถึงแผนฟื้นฟูอุทกภัยทางภาคอีสาน ที่จะมีการเสนอแผนฟื้นฟูด้านโครงสร้างพื้นฐานในระยะเร่งด่วน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42624
Location: NECTEC

PostPosted: 16/08/2017 2:38 am    Post subject: Reply with quote

Mongwin wrote:
จีนโขก 4พันล้าน ค่าคุมงานก่อสร้างไฮสปีดโคราช
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 สิงหาคม 2560 - 23:00 น.


Mongwin wrote:
คมนาคมเล็งแจงรถไฟไทย-จีนในวงครม.สัญจร
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันอังคารที่ 15 สิงหาคม พ.ศ.2560 20:59 น.


ชงสัญญาออกแบบรถไฟไทย-จีน ครม.สัญจรที่โคราช ด้าน “อาคม” สั่งเร่งต่อรองสรุปค่าคุมงาน
โดย MGR Online
15 สิงหาคม 2560 18:30 น. (แก้ไขล่าสุด 15 สิงหาคม 2560 20:23 น.)

“อาคม” เตรียมชง ครม.สัญจรอนุมัติร่างสัญญาจ้างออกแบบรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน พร้อมขอเพิ่มงบเวนคืนมอเตอร์เวย์บางปะอิน-โคราชอีก 500 ล้าน เผยประชุมไทย-จีนครั้งที่ 20 ยังต่อรองค่าจ้างที่ปรึกษาคุมงานไม่ลง ยอมรับอาจต้องเกินกรอบ 1.6 พันล้าน เหตุงานยากใช้วิศวกรเยอะ

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค.นี้จะติดตามความก้าวหน้าสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (สัญญา 2.1) ได้ร่างสัญญาเสร็จแล้ว และสัญญาค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างงานโยธา (สัญญา 2.2) โดยจะนำรายละเอียดของสัญญา 2.1 เสนอขออนุมัติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในการประชุม ครม.สัญจรที่โคราช ในวันที่ 21-22 ส.ค.นี้ด้วย ซึ่งนอกจากนี้จะรายงานความก้าวหน้าโครงการก่อสร้างทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายบางปะอิน-สระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร วงเงินลงทุน 84,600 ล้านบาท ซึ่งได้ลงนามสัญญาครบ 40 ช่วงแล้ว โดยจะเสนอ ครม.สัญจรของบประมาณค่าจัดกรรมสิทธิ์ที่ดินเพิ่มเติมอีก 500 ล้านบาท พร้อมทั้งเสนอแผนฟื้นฟูถนนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ได้รับความเสียหายจากอุทกภัย

สำหรับรถไฟความเร็วสูง กรุงเทพฯ-โคราชนั้น ในส่วนของสัญญา 2.2 นั้นอาจจะสรุปไม่ได้ภายในการประชุมครั้งที่ 20 เนื่องจากขณะนี้ยังต่อรองราคาให้อยู่ในกรอบที่ ครม.อนุมัติไว้ที่ 1,649.08 ล้านบาทไม่ได้ ซึ่งให้ตรวจสอบอย่างละเอียด อย่างไรก็ตาม หากไม่สามารถต่อรองลงได้ต่ำกว่ากรอบจะต้องมีเหตุผล ซึ่งงานควบคุมงานก่อสร้างยาก และใช้บุคลากรค่อนข้างมาก โดยเป็นวิศวกรไทย 450 คน วิศวกรจีน 50 คน

นายอาคมกล่าวว่า เมื่อวันที่ 13 ส.ค.ได้ลงพื้นที่บริเวณสถานีกลางดงและสถานีปางอโศก ซึ่งเป็นจุดก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. ในภาพรวมไม่มีปัญหา เนื่องจากเป็นพื้นที่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) โดยจะมีการปรับรัศมีความโค้งของเส้นทางในช่วงนี้ที่ค่อนข้างแคบให้กว้างขึ้นเพื่อให้รถไฟความเร็วสูงสามารถทำความเร็วได้ ซึ่งไม่กระทบต่อการเริ่มต้นไม่ทำให้ล่าช้าไปจากแผนก่อสร้างเนื่องจากในการสำรวจเริ่มต้น จีนได้ปรับโค้งไว้แล้ว และมีการปักหมุดอ้างอิงที่จะต้องขยับแนวไว้อยู่แล้ว พร้อมกันนี้จะปรับรัศมีโค้งให้กับแนวรถไฟทางคู่ด้วย ดังนั้นจะมีการรื้อแนวทางเดี่ยวเดิมออก

ทั้งนี้ สถานีกลางดงและสถานีปางอโศก รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-โคราช จะไม่จอดรับส่งเพราะเป็นสถานีเล็ก แต่ทั้ง 2 สถานีจะมีการปรับปรุงเพื่อรองรับการก่อสร้างรถไฟทางคู่ โดยในช่วง 3.5 กม.จะมีการขยับตัวอาคารสถานีเดิมเพื่อปรับพื้นที่สำหรับการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง

นอกจากนี้ยังได้ลงพื้นที่โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงชุมทางถนนจิระ-ขอนแก่น บริเวณสถานีรถไฟบ้านกระโดน (CY-1) ตำบลหนองไข่น้ำ อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัด ซึ่งจุดก่อสร้างสถานีบ้านกระโดนอยู่ห่างจากตัวเมืองนครราชสีมา 15 กม. จะมีการพัฒนาจากจุดจอดเป็นสถานี และเป็นศูนย์เปลี่ยนถ่ายสินค้า มีลานที่เก็บตู้คอนเทนเนอร์ หรือ Container Yard (CY) ของรถไฟทางคู่ เส้นทางจิระ-ขอนแก่น ซึ่งในพื้นที่ใกล้เคียงมีศูนย์กระจายสินค้าหรือ DC ของภาคเอกชนเป็นจำนวนมาก จึงมอบให้ ร.ฟ.ท.บูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานในสังกัดกระทรวงฯ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการจัดทำทางเข้า-ทางออก โดยให้คำนึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าเป็นสำคัญ เพื่อเชื่อมโยงโครงข่ายระบบรางและเพิ่มประสิทธิภาพการขนส่งทางราง ลดต้นทุน ลดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม การกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคทั้งภาคอุตสาหกรรม การขนส่ง และการท่องเที่ยว
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/08/2017 5:54 pm    Post subject: Reply with quote

Wisarut wrote:

ชงสัญญาออกแบบรถไฟไทย-จีน ครม.สัญจรที่โคราช ด้าน “อาคม” สั่งเร่งต่อรองสรุปค่าคุมงาน
โดย MGR Online 15 สิงหาคม 2560 18:30 น. (แก้ไขล่าสุด 15 สิงหาคม 2560 20:23 น.)

เร่งรถไฟไทย-จีน ออกสัญญาย่อย
โพสต์ทูเดย์ 16 สิงหาคม 2560 เวลา 12:14 น.

คมนาคมเตรียมเสนอ ครม.อนุมัติสัญญาออกแบบโยธารถไฟไทย-จีน 22 ส.ค.นี้ พร้อมเร่งสรุปสัญญาที่ปรึกษาก่อนลงนาม ก.ย.นี้

นายชาติชาย ทิพย์สุนาวี ปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วันที่ 22 ส.ค.นี้ พิจารณาเห็นชอบร่างสัญญาฉบับที่ 2.1 งานออกแบบโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาวงเงิน 1,706 ล้านบาท ของโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เพื่อให้สามารถดำเนินการลงนามสัญญากับองค์การออกแบบรถไฟแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ทันเดือน ก.ย.นี้

ทั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ได้ดำเนินการแปลร่างสัญญาฉบับที่ 2.1 เป็นภาษาไทยเสร็จเรียบร้อย และเสนอให้กระทรวงคมนาคมพิจารณา อยู่ระหว่างการส่งให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจสอบความถูกต้องของร่างสัญญาดังกล่าวอีกครั้งก่อนส่งให้ ครม.  ดังนั้นจึงยังไม่สามารถลงนามสัญญาได้ในการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 20 ระหว่างวันที่ 15-17 ส.ค.นี้ ที่กรุงเทพฯ

สำหรับการประชุมคณะกรรมการร่วมฯ รถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 20 มีวาระหารือในเรื่องร่างสัญญาฉบับที่ 2.1 รวมถึงร่างสัญญาฉบับที่ 2.2 งานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา วงเงินประมาณ 1,648 ล้านบาทด้วย ซึ่งต้องเร่งให้ได้ข้อสรุปโดยเร็ว เพื่อให้ลงนามสัญญาฉบับที่ 2.2 เดือน ก.ย.นี้เช่นกัน เพื่อให้สอดคล้องกับกรอบเวลาการเริ่มต้นก่อสร้างที่จะเริ่มในเดือน ต.ค. 2560

ด้าน นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการ รฟท. กล่าวถึงข้อสังเกตโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ได้แก่ สนามบินอู่ตะเภา สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง ที่มีแผนการเดินรถวิ่งจากสนามบินดอนเมือง ผ่านเข้าสถานีมักกะสันก่อนวิ่งไปที่สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินอู่ตะเภา เป็นการเอื้อให้เอกชนได้ประโยชน์จากการใช้ที่ดินย่านมักกะสันในเชิงการค้าพาณิชย์หรือไม่ ซึ่งในหลักการการเชื่อม 3 สนามบิน เป็นโครงการที่ใช้โครงสร้างและแนวเส้นทางการเดินรถเดิมของระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน แอร์พอร์ตลิงค์ ที่เปิดให้บริการอยู่ในปัจจุบัน โดยก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีพญาไท ไปยังสนามบินดอนเมือง และก่อสร้างส่วนต่อขยายจากสถานีลาดกระบังไปยังสนามบินอู่ตะเภาและ จ.ระยอง ซึ่งการใช้เขตทางเดิมของการรถไฟฯ ที่มีอยู่จะทำให้ลดภาระค่าก่อสร้างลงได้อย่างมาก หากเปิดแนวเส้นทางใหม่จะส่งผลกระทบในหลายด้าน จำเป็นต้องเวนคืนที่ดินในเขตใจกลางเมือง ทำให้มูลค่าการก่อสร้างของโครงการสูงขึ้นมาก
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2017 4:15 pm    Post subject: Reply with quote

การรถไฟแห่งประเทศไทย จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา)
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 17 ส.ค. 60

นางสาวกัญญรัตน์ เกียรติสุภา ประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ ได้รับแจ้งว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ดำเนินงานศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสมของโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) โดยการรถไฟฯ ได้เห็นความสำคัญของการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่โครงการ ตลอดจนส่วนราชการและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อันจะเอื้อประโยชน์สูงสุดต่อโครงการ จึงได้กำหนดจัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 1 (ปฐมนิเทศโครงการ) เพื่อนำเสนอข้อมูลรายละเอียดโครงการ แผนการศึกษา และขั้นตอนการดำเนินงาน พร้อมทั้งรับฟังความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาโครงการฯ สำหรับนำไปพิจารณาประกอบการศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยกำหนดประชุมฯ ในวันที่ 29 สิงหาคม 2560 เวลา 08.30-12.00 น. ณ ห้องเทพราช แกรนด์ โรงแรมซันธารา เวลเนสรีสอร์ท อำเภอเมืองฯ จังหวัดฉะเชิงเทรา

การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงขอเชิญชวนประชาชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมการประชุมฯ ตามวัน เวลา และสถานที่ดังกล่าว

ผู้สื่อข่าว : ไพโรจน์ รอดนิล
ผู้เรียบเรียง : วรรณวิไล สนิทผล
แหล่งที่มา : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดสมุทรปราการ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2017 7:13 pm    Post subject: Reply with quote

“ปลดล็อก” ความคุ้มค่า รถไฟความเร็วสูงด้วยแนวคิดการตลาด
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 17 สิงหาคม 2560 - 18:38 น.

คอลัมน์ เปิดมุมมอง
โดย ดร.ปาริชาติ พัฒนเมฆา, จามจุรี หอวิจิตร

รัฐบาลกำลังผลักดันโครงการรถไฟความเร็วสูง 4 เส้นทาง เพื่อเชื่อมโยงกรุงเทพฯ และเมืองภูมิภาคต่าง ๆ ประเด็นถกเถียงในวงนักวิชาการข้ามจุดที่ว่าโครงการจะเกิดขึ้นหรือไม่ ไปที่ความอยู่รอดภายหลังเปิดให้บริการ ซึ่งปัจจัยหลักของความอยู่รอดของโครงการรถไฟความเร็วสูง คือปริมาณผู้โดยสาร หรือจำนวนผู้ใช้บริการ

โครงการรถไฟความเร็วสูงสามารถอยู่รอดและเป็นกิจการหนึ่งของชาติที่ทำกำไรได้ อย่างน้อยไม่สร้างภาระทางการเงินให้กับภาครัฐ หากหน่วยงานภาครัฐบูรณาการศาสตร์ด้านการตลาดเข้ากับการวางแผนโครงการ


แนวคิดการตลาดในที่นี้จะเป็นมากกว่าการประชาสัมพันธ์ทั่วไป แต่เป็นการตลาดยุคใหม่ที่มองการให้บริการรถไฟความเร็วสูงว่าเป็นเสมือนสินค้าหรือบริการใหม่ที่ต้องสร้างแบรนด์ และต้องการการเปิดตัวที่ยิ่งใหญ่

หลายท่านเห็นภาพไม่ชัดกับคำว่า “การตลาด” เพราะมองการตลาดเป็นเรื่องจับต้องได้ยาก เป็นจินตนาการ ขาดตรรกะหรือเหตุผล ยิ่งเมื่อจะนำมาใช้กับการให้บริการสาธารณะที่บริหารจัดการโดยภาครัฐยิ่งมองภาพไม่ออก แต่ความเป็นจริงการสร้างยุทธศาสตร์ทางการตลาดมีกรอบแนวคิดเพื่อสื่อสารให้ตรงตามความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย กระทั่งสามารถนำเสนอสินค้าหรือบริการที่ล้ำหน้าเกินความต้องการผู้บริโภคจนสามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตของผู้บริโภคได้ อย่างเช่นที่เกิดขึ้นกับธุรกิจโทรศัพท์มือถือ หรือธุรกิจสายการบินต้นทุนต่ำ ยกตัวอย่างเช่น หากย้อนกลับไป 10 ปีที่แล้ว เมื่อมีคนบอกว่า ต่อไปคนไทยจะเดินทางไปกลับต่างจังหวัดโดยนั่งเครื่องบินเดือนละหลาย ๆ เที่ยว ก็ไม่มีใครเชื่อ

การตลาดสำหรับรถไฟความเร็วสูง ขั้นตอนแรก คือการวิเคราะห์พฤติกรรมการบริโภคของกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งคือผู้ที่มีโอกาสจะใช้รถไฟความเร็วสูง ได้แก่ ผู้เดินทางในระยะ 200-800 กิโลเมตร เพื่อให้สามารถเข้าใจว่ากลุ่มคนเหล่านี้เดินทางด้วยรูปแบบใด ด้วยค่าใช้จ่ายที่ยินดีจะจ่ายเท่าไหร่ และปัจจัยใดบ้างที่ใช้ในการตัดสินใจเปลี่ยนมาใช้รถไฟความเร็วสูง

โดยทั่วไปการวิเคราะห์ส่วนนี้ วิศวกรด้านการจราจรและขนส่งจะพัฒนาสมการทางคณิตศาสตร์เพื่อจำลองพฤติกรรมดังกล่าว แต่การตลาดจะวิเคราะห์กระบวนการรับรู้ทางนามธรรมของกลุ่มผู้โดยสารเพื่อสร้างแรงกระตุ้นให้มีการใช้บริการมากขึ้น

ผลการวิเคราะห์กระบวนการรับรู้ เช่น คำว่าแพงหรือถูกสำหรับผู้โดยสาร มักจะมองที่จ่ายเงินสดซื้อตั๋วโดยสารแต่การเปลี่ยนจากการจ่ายเงินสดเป็นการใช้บัตรสมาชิกที่มีส่วนลดการใช้งาน หรือทุกครั้งสามารถสะสมแต้มเพื่อเปลี่ยนเป็นสิทธิประโยชน์บางอย่าง จะเป็นการสร้างแรงจูงใจต่อการใช้บริการรถไฟความเร็วสูง แต่ละครั้งที่ใช้บริการ ผู้ใช้จะไม่รู้สึกว่าเสียเงิน ตรงกันข้ามกลับรู้สึกเสมือนได้ประโยชน์จากการใช้บริการ

ขั้นตอนที่สอง คือการสร้างแบรนด์ อย่างกรณีประเทศญี่ปุ่นเมื่อพูดถึงรถไฟ สิ่งแรกที่นึกถึงคือ รถไฟชินคันเซ็น รถไฟความเร็วสูงในประเทศไทยที่กำลังจะเปิดให้บริการก็เช่นเดียวกัน

การสร้างแบรนด์ เริ่มด้วยการตั้งชื่อพร้อมการออกแบบโลโก้เชิงสัญลักษณ์ ตามด้วยการโฆษณาเพื่อให้ประชาชนในวงกว้างคุ้นเคยและสามารถเข้าถึงการใช้บริการได้ง่าย ระยะเวลาเปิดตัวแบรนด์ควรเหมาะสมไม่เร็วหรือช้าเกินไป สิ่งที่ท้าทายในขั้นตอนนี้คือ การปลดล็อกความคิดด้านลบของผู้โดยสารผู้เดินทางที่มีเกี่ยวกับการเดินทางโดยใช้รถไฟในปัจจุบัน ซึ่งมักมองว่าระบบรถไฟล้าสมัย และมีความคลาดเคลื่อนในเรื่องเวลา

ดังนั้นการสร้างแบรนด์สำหรับรถไฟความเร็วสูงจึงต้องนำเสนอเรื่องเทคโนโลยีการก่อสร้าง และรูปแบบการบริหารจัดการการเดินรถที่ทันสมัยด้วย

ขั้นต่อไปคือ การออกแบบการสื่อสาร สำหรับทำให้การเปิดให้บริการครั้งแรกเป็นที่น่าประทับใจ และเกิดความต้องการใช้บริการซ้ำ การออกแบบการสื่อสารทางการตลาดที่เรียบง่ายและตรงประเด็นเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด แก่นสำคัญของการสื่อสาร (Key Message) ที่สื่อสารออกไป จะต้องเป็นข้อความหนึ่งเดียว (One Single Message) ตรงใจผู้บริโภค เพียงได้เห็นข้อความหรือชิ้นงานโฆษณาก็จะสามารถจุดประกายเปลี่ยนกรอบความคิด (Mindset) ได้ โดยไม่ต้องใช้กลไกการลดราคาหรือเปิดให้ใช้บริการฟรีเพื่อจูงใจให้หันมาใช้บริการ

การสื่อสารทางการตลาดที่ดีจะต้องบูรณาการการสื่อสารให้ครบทุกด้าน เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างครอบคลุมและตรงจุดบนฐานของการใช้งบประมาณอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

กรณีรถไฟความเร็วสูง กลุ่มเป้าหมายเป็นตลาดรวมคือคนไทยทั้งประเทศ แม้เป้าหมายหลักจะเป็นผู้ที่เดินทางระหว่างพื้นที่ตามแนวเส้นทาง หากแต่การใช้ภาพยนตร์โฆษณาทางโทรทัศน์จะทำให้คนไทยทั่วประเทศทุกพื้นที่ทุกกลุ่มสามารถรับรู้ได้ถึงการเปิดให้บริการรถไฟความเร็วสูงพร้อมกัน

การเลือกเผยแพร่ผ่านช่องฟรีทีวีและบางช่องทีวีดิจิทัลที่มีผู้ชมจำนวนมากนับเป็นทางเลือกที่ดี โฆษณาชุดดังกล่าวควรออกแบบเนื้อหาฉีกออกจากภาพการประชาสัมพันธ์ของรัฐทั่วไปที่เป็นอยู่ โฆษณาออกหลายช่อง กระทั่งบิลบอร์ด โปสเตอร์ โบรชัวร์ต่าง ๆ มีหลากหลายชุด ที่สำคัญคือทุกชุด ทุกเวอร์ชั่น ต้องมีความสอดคล้องเป็นเรื่องราวเดียว บนพื้นฐานของ One Single Message ที่ออกแบบไว้ เพื่อให้เกิดการจดจำและเห็นซ้ำในที่ต่าง ๆ

นอกจากนี้ เทคโนโลยีปัจจุบันการทำการสื่อสารในช่องทางออนไลน์ยังก่อให้เกิดการรับรู้สำหรับกลุ่มประชาชนยุคดิจิทัลเพิ่มเติม หลายคนอาจมองว่าช่องทางที่กล่าวมาข้างต้นอาจไปไม่ถึงประชาชนระดับห่างไกล จึงควรเพิ่มการสื่อสารในระดับท้องถิ่น ด้วยการจัดกิจกรรมเผยแพร่ความรู้ให้ผู้นำชุมชนบอกต่อคนในพื้นที่บริเวณรอบสถานีที่รถไฟความเร็วสูงวิ่งผ่าน ภายในระยะรัศมีอย่าง 10-20 กิโลเมตร

อย่างไรก็ดี การอาศัยแนวคิดทางการตลาดจะช่วยสร้างแบรนด์และกลยุทธ์เพิ่มผู้ใช้บริการได้ในช่วงระยะเวลาหนึ่ง แต่เพื่อให้โครงการรถไฟความเร็วสูงสามารถอยู่รอดได้อย่างยั่งยืนในระยะยาว การรักษาและปรับปรุงคุณภาพการบริการต้องไม่หยุดนิ่งมีการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาประยุกต์ใช้ทั้งในด้านการให้บริการผู้โดยสารและการดำเนินโครงการพร้อมไปกับการพัฒนาเชิงพื้นที่ที่รถไฟความเร็วสูงพาดผ่าน

ซึ่งปัจจุบันการพัฒนาเชิงพื้นที่เป็นนโยบายของภาครัฐในการกระจายความเจริญสู่ภูมิภาคก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ส่งผลต่อความคุ้มค่าของรถไฟความเร็วสูง
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2017 9:05 pm    Post subject: Reply with quote

‘บิ๊กตู่’ บินไปจีน 4 ก.ย.นี้ ลงนามไฮสปีดเทรนไทย-จีน 2 ฉบับ คมนาคมยันตอกเสาเข็มทันต.ค.นี้ แน่
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 17 สิงหาคม 2560 - 19:43 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟระหว่างไทย-จีน ครั้งที่ 20 เมื่อวันที่ 17 ส.ค.ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปร่วมกันเกี่ยวกับวงเงินค่าใช้จ่ายในสัญญา 2.2 งานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธาโครงการความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน หรือรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร ในวงเงินรวม 3,500 ล้านบาท

ซึ่งสูงกว่ากรอบวงเงินเดิมที่ตั้งไว้ที่ 3,300 ล้านบาท กระทรวงจะต้องรายงานให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) รับทราบ แต่จะไม่กระทบกรอบวงเงินลงทุนภาพรวมโดยจะยังคงอยุ่ในวงเงิน 1.7 แสนล้านบาท

“เดิมเราวางกรอบงบค่าจ้างรวมที่ 3,300 ล้านบาท แต่ทางฝ่ายจีนเสนอค่าจ้างมาสูงกว่ากรอบวงเงินมาก ฝ่ายไทยจึงแก้ปัญหาด้วยการขอปรับลดจำนวนที่ปรึกษาคุมงานฝ่ายจีนและไทยลง จากเดิมมีทั้งหมด 450 คน สุดท้ายสรุปตัวเลขค่าจ้างที่ 3,500 ล้านบาท ขณะนี้มอบให้คณะทำงาน 2 ฝ่ายไปสรุปรายละเอียดให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้”

นายอาคมกล่าวต่อว่า ระหว่างวันที่ 4-5 ก.ย.นี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทย จะเดินทางไปยังประเทศจีนเพื่อเข้าร่วมประชุม BRICS Summit ครั้งที่ 9 โดย พล.อ.ประยุทธ์ จะลงนามร่วมกับฝ่ายจีน รวม 2 ฉบับ พร้อมกันคือ สัญญา 2.1 งานออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐาน และสัญญา 2.2 สัญญางานจ้างที่ปรึกษาควบคุมงานการก่อสร้าง คาดว่าจะสามารถเริ่มงานก่อสร้างเส้นทางตอนที่ 1 ระยะที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ได้ทันตามกำหนดเดิมในเดือนต.ค.นี้

อย่างไรก็ตาม ในการประชุมครั้งนี้ ไทยและจีนยังเห็นชอบร่วมกันที่จะถ่ายทอดเทคโนโลยีระหว่างกันรวม 11 แขนง 4 กลุ่มได้แก่ 1. การออกแบบและควบคุมงาน 2. การเดินรถและซ่อมบำรุง 3. ระบบตัวรถ และ 4. ชิ้นส่วนและอุปกรณ์

นายอาคมกล่าวถึงโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ มาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ ที่ผ่านตัวเมืองโคราชว่า สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ชะลอการประมูลออกไปก่อน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนเตรียมประกาศรายชื่อผู้ผ่านคุณสมบัติในวันที่ 21 ส.ค. เนื่องจากปรับแก้ไขแบบก่อสร้างเส้นทางช่วงที่ผ่านตัวเมืองใหม่ให้เป็นทางยกระดับ ตามข้อเสนอของประชาชนในพื้นที่
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44325
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/08/2017 9:39 pm    Post subject: Reply with quote

'อาคม'ถกรถไฟไทย-จีนชัดกรอบสัญญา2.2
INN News ข่าวเศรษฐกิจ วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2560 21:08 น.

รัฐมนตรีฯคมนาคม ถก รถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 20 สรุปกรอบวงเงินสัญญา 2.2 จำนวน 3,500 ล้าน สั่งคณะทำงาน 2 ฝ่ายเร่งสรุป เล็ง MOU 4-5 ก.ย. 60

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีนช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ครั้งที่ 20 ว่า ที่ประชุมได้สรุปกรอบวงเงินค่าใช้จ่ายการดำเนินงานสัญญา 2.2 ซึ่งเป็นสัญญาจ้างที่ปรึกษาและควบคุมงาน จำนวน 3,500 ล้านบาท จากเดิมที่ได้หารือร่วมกันทั้ง 2 ฝ่ายอยู่ที่ 3,300 ล้านบาท หรือประมาณ 2.9% ของมูลค่างานก่อสร้างวงเงิน ประมาณ 120,000 ล้านบาท ที่เหลือจะเป็นค่าระบบอาณัติสัญญาณและระบบการเดินรถ

ทั้งนี้ได้มอบหมายให้คณะทำงานทั้งฝ่ายไทยและจีน หารือและสรุปรายละเอียดสัญญา 2.2 ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้เพื่อจะเสนอคณะรัฐมนตรีรับทราบและให้สามารถลงนามพร้อมกับสัญญา 2.1 ในการเดินทางเยือนประเทศจีนของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ระหว่างวันที่ 4-5 ก.ย. 2560 นี้

อย่างไรก็ตาม วงเงินที่เกินมาจำนวน 3,500 ล้านบาท ถือว่าไม่กระทบต่อกรอบวงเงินการดำเนินงานโดยรวมของโครงการ ซึ่งจะต้องรายงานการปรับวงเงินให้ที่ประชุมครม.รับทราบด้วย ส่วนกำหนดการตอกเสาเข็มยังคงเป็นเดือนตุลาคม 60 ตามเดิม แม้จะมีการปรับวงเงิน หรือการพิจารณาปรับลดบุคลากรลงบางส่วนที่จะอบรมและทดสอบในช่วงเดือนกันยายน-พฤศจิกายน 2560 ทั้งในส่วนของวิศวกรและสถาปนิกจะต้องแล้วเสร็จก่อนเริ่มก่อสร้าง

----

เคาะสัญญาออกแบบ-คุมงานโครงการรถไฟไทย-จีน5.2พันล้าน
โพสต์ทูเดย์ 17 สิงหาคม 2560 เวลา 22:15 น.

เคาะสัญญาไทย-จีน 5.2 พันล้าน ชง "บิ๊กตู่" ลงนามจีนต้นเดือนหน้า ลุยออกแบบต่อเนื่องภายใน 8 เดือน เร่งจัดสอบวิศวกรรม-กางแผนถ่ายทอดเทคโนโลยี 4 ด้าน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคมเปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมาวงเงิน 1.79 แสนล้านบาท ขณะนี้สามารถได้ข้อสรุปเรื่องสัญญาที่ 2.1 งานออกแบบรายละเอียดโครงสร้างพื้นฐานด้านโยธา วงเงิน 1,706ล้านบาท เรียบร้อยแล้วแล้วคาดว่าจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้ในช่วงสัปดาห์หน้า ขณะที่สัญญา 2.2 คุมงานก่อสร้างโครงการ ขณะนี้สามารถต่อรองวงเงินกับจีนได้แล้วอยู่ที่ 3,500 ล้านบาท โดยได้สั่งการให้กระทรวงคมนาคมเร่งไปหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ได้ข้อสรุปภายในสัปดาห์นี้ก่อนเสนอเข้าสู่คณะกรรมการ(บอร์ด) รฟท. และคณะอัยการเพื่อเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ต่อไป ทังนี้ตั้งเป้าว่าสัญญาที่ 2.1และ2.2 ต้องได้ข้อสรุปจากทุกฝ่ายเพื่อนำไปสู่การลงนามในวันที่ 4-5 ก.ย.นี้ระหว่างการเยือนประเทศจีนของนายกรัฐมนตรี พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อเริ่มตอกเสาเข็มก่อสร้างภายในเดือนต.ค.ตามเป้าหมาย

นายอาคมกล่าวต่อว่า โดยหลังจากนี้ทั้งสองฝ่ายจะทยอยออกแบบรายละเอียดช่วงต่อไปของโครงการ ได้แก่ ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ช่วงที่ 3 แก่งคอย-โคราช ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ช่วงที่ 4 แก่งคอย-บางซื่อ ระยะทาง 119 ให้แล้วเสร็จภายใน 8 เดือนหรือภายในกลางปีหน้า

นานอาคมกล่าวอีกว่า ส่วนด้านความคืบหน้าการจัดอบรมมาตรฐานวิศวกรจีนเพื่อดำเนินโครงการจำนวนทั้งสิ้น 430 คนนั้น จะเริ่มจัดสอบและอบรมตั้งแต่วันที่ 22 ก.ย. โดยตั้งเป้าให้ดำเนินขั้นตอนดังกล่าวแล้วเสร็จภายในเดือนพ.ย. ขณะที่ขั้นตอนการถ่ายทอดเทคโนโลยีซึ่งจะระบุไว้ในสัญญาที่ 3 นั้นได้ข้อสรุปร่วมกับจีนว่าจะมีการถ่ายทอดใน 11 สาขา รวม 4 แขนงประกอบด้วย
1.การออกแบบและควบคุมงาน
2.การเดินรถและซ่อมบำรุง
3.ตัวรถ EMU
4.ชิ้นส่วนและอุปกรณ์
อย่างไรก็ตามกรณีทีมีการปรับช่วงยกระดับในเส้นทางโครงการที่ผ่านเมืองนครราชสีมานั้นขอยืนยันว่าไม่ทำให้วงเงินโครงการเพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ทั้งนี้ในอนาคตการออกแบบสถานีรถไฟฟ้าความเร็วสูงจะพิจารณาให้บางสถานีใช้ร่วมกับรถไฟทางคู่อีกด้วยเพื่อให้ประชาชนสามารถขึ้นรถไฟได้ในที่เดียวกัน

----

คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ได้ข้อสรุปงบประมาณในการดำเนินงานควบคุมงานโยธาร่วมกันที่ 3,500 ล้านบาท
สำนักข่าวแห่งชาติ กรมประชาสัมพันธ์ 17 ส.ค. 2560

คณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ได้ข้อสรุปงบประมาณในการดำเนินงานควบคุมงานโยธาร่วมกันที่ 3,500 ล้านบาทพร้อมเร่งลงนามทั้ง 2 สัญญาร่วมกันในโอกาสที่นายกรัฐมนตรีของไทยเยือนประเทศจีน

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะกรรมการร่วมเพื่อความร่วมมือด้านรถไฟไทย-จีน ครั้งที่ 20 ภายใต้โครงการความร่วมมือด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ- นครราขสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,413 ล้านบาท ว่า ที่ประชุมได้ข้อสรุปวงเงินในการดำเนินงานตามสัญญาที่ 2.2 งานควบคุมงานโยธา ที่วงเงิน 3,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 2.9 ของมูลค่างานก่อสร้างที่ 120,000 ล้านบาท ซึ่งหลังจากนี้ได้มอบหมายให้คณะทำงานทั้งไทยและจีนดูรายละเอียดสัญญาที่ 2.2 ให้แล้วเสร็จภายในสัปดาห์นี้ เพื่อดำเนินการเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติ เพื่อนำไปสู่การลงนามในสัญญาที่ 2.1 และ 2.2 ร่วมกันในโอกาสที่พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางเข้าร่วมประชุมสุดยอดผู้นำ BRICS ครั้งที่ 9 ระหว่างวันที่ 4-5 กันยายนนี้ที่ประเทศจีน

สำหรับสัญญาที่ 2.1 งานออกแบบรายละเอียดงานโยธา กระทรวงคมนาคมจะเสนอต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีสัญจรที่จังหวัดนครราชสีมา พิจารณาอนุมัติในวันอังคารที่ 22 สิงหาคมนี้
นอกจากนี้ที่ประชุมยังได้หารือถึงการฝึกอบรมและทดสอบความรู้วิศวกรและสถาปนิกของจีน ที่จะเข้ามาร่วมโครงการรถไฟความเร็วสูงเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย หลังจากสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกของไทยได้หารือร่วมกับจีนได้ข้อสรุปว่าเริ่มดำเนินการทดสอบตั้งแต่วัน 22 กันยายนนี้เป็นต้นไป รวมจำนวน 6 ครั้ง โดยแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม

ข้อมูลข่าวและที่มา

ผู้สื่อข่าว : นภสร แก้วคำ(2) / สวท.
ผู้เรียบเรียง : ธนพิชฌน์ แก้วกา
แหล่งที่มา : Radio-สถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

----

นายกฯ เตรียมลงนามสัญญารถไฟไทย-จีน 2 ฉบับช่วงเดินทางไปจีน 4-5 ก.ย.นี้
ข่าวเศรษฐกิจ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 18 สิงหาคม 2560 10:03:39 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีน ครั้งที่ 20 วานนี้ว่า ที่ประชุมได้สรุปกรอบวงเงินค่าจ้างที่ปรึกษาควบคุมการก่อสร้างงานโยธา (สัญญา 2.2) โครงการรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กม. ไว้ที่ 3,500 ล้านบาท หรือคิดเป็นสัดส่วน 2.9% ของมูลค่าก่อสร้างงานโยธา 1.2 แสนล้านบาท ซึ่งสูงกว่ากรอบเดิมที่ ครม.อนุมัติไว้ที่ 1,600 ล้านบาท ดังนั้นจึงต้องเสนอ ครม.เพื่อขอความเห็นชอบปรับวงเงินอีกครั้ง แต่ในภาพรวมไม่ส่งผลกระทบต่อวงเงินลงทุนโครงการที่ 179,413 ล้านบาท

รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้สั่งการให้คณะทำงานเร่งพิจารณารายละเอียดสัญญา 2.2 โดยเร็วเพื่อเสนอคณะกรรมการ รฟท. และเสนอ ครม.เพื่อให้สามารถลงนามในสัญญา 2.1 และสัญญา 2.2 ได้พร้อมกันในช่วงที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีกำหนดเดินทางไปเยือนประเทศจีน ช่วงวันที่ 4-5 ก.ย.นี้

สำหรับค่าควบคุมการก่อสร้าง ส่วนใหญ่เป็นค่าบุคลากรที่คุมก่อสร้าง ระยะทาง 253 กม.ทำงานตลอดเวลาก่อสร้าง 3 ปี ซึ่งจีนเสนอใช้วิศวกรจีน 50 คน วิศวกรไทย 450 คน แต่ได้ต่อรองจำนวนให้ลดลงตามเนื้องานจริงและไม่กระทบต่อคุณภาพงาน อย่างไรก็ตามกำหนดการตอกเข็มเริ่มก่อสร้างช่วงแรกระยะทาง 3.5 กม.นั้นจะเป็นไปตามแผนภายในเดือน ต.ค.นี้

ส่วนการฝึกอบรมวิศวกรและสถาปนิกจีนนั้น ทางสภาวิศวกรและสภาสถาปนิกไทยได้ตกลงกับทางจีนแล้ว โดยจะเริ่มการฝึกอบรมในวันที่ 22 ก.ย.นี้เป็นต้นไป โดยวิศวกรจีนจะอบรมทั้งหมด 4 ครั้ง ซึ่งจะไปอบรมที่เมืองเทียนจินของจีน เนื่องจากวิศวกรจีนมีจำนวนมาก ส่วนสถาปนิกจะอบรมรวม 2 ครั้ง ส่วนการถ่ายทอดเทคโนโลยี 11 แขนง ใน 4 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มออกแบบและควบคุมการก่อสร้าง, กลุ่มเดินรถและซ่อมบำรุง, กลุ่มระบบตัวรถ, กลุ่มชิ้นส่วนและอุปกรณ์

ส่วนสัญญาจ้างที่ปรึกษาออกแบบ (สัญญา 2.1) ที่ได้ข้อสรุปไปก่อนหน้าแล้วจะเสนอร่างสัญญาขอความเห็นชอบต่อที่ประชุม ครม.สัญจรที่โคราช ในวันที่ 22 ส.ค.นี้


Last edited by Mongwin on 18/08/2017 11:09 am; edited 1 time in total
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 224, 225, 226 ... 542, 543, 544  Next
Page 225 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©