RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Rotfaithai.Com

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311239
ทั่วไป:13181780
ทั้งหมด:13493019
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 235, 236, 237 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2017 9:22 pm    Post subject: Reply with quote

เข้มสถาปนิกจีนออกแบบสถานี"ชูวิถีไทย"
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 9 ตุลาคม 2560 เวลา 19.14 น.

ติวเข้มสถาปนิกจีน 17 คน ออกแบบสถานีรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา เน้นใส่วิถีถิ่นไทยตัวอาคาร ย้ำต้องใช้วัสดุก่อสร้างในประเทศ

นายเจตกำจร พรหมโยธี นายกสภาสถาปนิก  เปิดเผยความคืบหน้าการอบรมและทดสอบสถาปนิกจีนตามคำสั่งคสช.ฉบับที่30/2560 ที่จะเข้ามาปฏิบัติงานในโครงการรถไฟความเร็วสูงหรือไฮสปีดกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคา ยระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมาระยะทาง 253 กม. ว่า จีนแจ้งมาว่าจะมีสถาปนิกเข้ามาอบรมและทดสอบ 17คนรุ่นแรก 7 คน จะมาอบรมที่ประเทศไทย วันที่ 17-20 ต.ค.นี้ ที่เหลือรุ่นที่ 2 อบรมวันที่ 7-10 พ.ย.นี้ โดยจะอบรม ทำแบบทดสอบ และลงพื้นที่ดูสถานที่ก่อสร้างจริง รุ่นแรกจะพาไปดูพื้นที่ก่อสร้างสถานีใน จ.พระนครศรีอยุธยา  ถือว่าเป็นพื้นที่มีประวัติศาสตร์และมีความละเอียดอ่อน ส่วนการอบรมครั้งที่ 2 วิศวกร 10 คนยังไม่สรุปได้ว่าจะอบรมที่ประเทศไทยหรือประเทศจีน

ด้านนายประภากร วทานยกุล  กรรมการสภาสถาปนิก กล่าวว่า  มีข้อสอบทั้งหมด 5 วิชา วิชาละ100 ข้อ มีเนื้อหาเรื่องจรรยาบรรณประกอบอาชีพในประเทศไทย สิ่งที่ต้องคำนึงถึงการออกแบบ กฏหมายต่างๆที่เกี่ยวกับการออกแบบอาคาร ทั้งนี้การก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงฯกำหนดไว้ 6 สถานี แต่ละสถานีจะมีแบบต่างกันให้คำนึงด้านสถาปัตยกรรมไทย ดังนั้นแบบการก่อสร้างสถานีจะต้องสะท้อนความเป็นพื้นถิ่นมีความเป็นไทยที่อยู่ในระดับรับได้

นายประภากร กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังให้ความสำคัญเรื่องวัสดุก่อสร้างโดยได้รับนโยบาย จากนาย วิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ต้องให้สถาปนิกจีนรู้ขีดความสามารถของวัสดุก่อสร้างในประเทศอย่างไรก็ตามเรื่องความรู้ทางสถาปนิก ต้องใช้ผู้มีความรู้เฉพาะทาง ดังนั้นการอบรมฯจะใช้สถาปนิกไทยที่ทำงานในประเทศจีนอายุงาน 10 ปีมาเป็นล่ามในการแปลภาษา นอกจากนี้ยังได้จัดนิทรรศการแสดงวัสดุก่อสร้างจากภาคเอกชนไทย  ทั้งนี้เมื่อผ่านการทดสอบแล้วสถาปนิกจะได้ใบรับรองจากสภาฯ โดยอาจจะให้ใบรับรองมีอายุ  5 ปี เพื่อสามารถไปใช้ในการออกแบบก่อสร้างสถานี เฟส 2 ช่วงนครราชสีมา -หนองคาย
 
นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม  กล่าวถึงปัญหาความล่าช้าในการก่อสร้างช่วงแรกจากสถานีกลางดง-สถานีปางอโศก อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา  ระยะทาง 3.5 กม. ที่วางแผนล่าสุดขยับจากเดือน ต.ค.ไปเป็นเดือน พ.ย.  แต่ต้องเลื่อนออกไปไม่มีกำหนดเพราะติดปัญหายังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม(อีไอเอ)ว่ายังติดปัญหาการผ่านพื้นที่บริเวณ จ.สระบุรีได้เร่งรัดให้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.ลงพื้นที่ พร้อมเจรจาผู้ประกอบการเหมืองแร่ในพื้นที่ 3ราย เพื่อหาข้อสรุป ก่อนส่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาต่อไป  ยืนยันว่ายังเป็นไปตามแผนกรอบเวลาการตอกเสาเข็มเดือนพ.ย. เช่นเดิม
 
นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ  ผอ.สนข. กล่าวว่า ได้ลงพื้นที่และหารือผู้ประกอบการเหมืองแร่ทั้ง 3รายแล้ว โดยเฉพาะเรื่องค่าชดเชยเวนคืนที่ดินคาดว่าจะได้ข้อสรุปเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายในต.ค.นี้ เพื่อก่อสร้างช่วงแรกให้ทันตามแผน พ.ย.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 09/10/2017 9:29 pm    Post subject: Reply with quote

สนข.มั่นใจEIAรถไฟไทย-จีน สรุปได้ทันแผนก่อสร้าง
เดลินิวส์ วันจันทร์ ที่ 09 ตุลาคม พ.ศ. 2560, 19.49 น.

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการรถไฟ รถไฟความเร็วสูง (รถไฟไทย-จีน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ตอนที่ 1 ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กิโลเมตร ว่าขณะนี้ยังติดเรื่องการศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EAI) ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการเจราจร โดยยังติดปัญหาช่วงจังหวัดสระบุรี เนื่องจากมีการประกอบกิจการสัมปทานเหมืองหินปูน

ขณะนี้เหลือประเด็นเดียว ซึ่งทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ได้เร่งดำเนินการให้เรียบร้อยภายในเดือนต.ค.นี้ และเสนอคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) พิจารณาครั้งที่ 7 จากนั้นจะเสนอต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (กก.วล.)พิจารณาต่อไป

นายชัยวัฒน์ กล่าวว่า EIA ช่วงบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี ได้รับอนุมัติแล้ว เหลือเพียงช่วง ชุมทางบ้านภาชี-นครราชสีมา ซึ่งมีประเด็นสุดท้ายช่วงผ่านเหมืองหินปูน ซึ่งมีสัมปทาน 3 ราย ซึ่ง ทางสผ.ต้องการความชัดเจนและหลักฐานการยินยอมของเอกชนเพื่อไม่ให้เกิดปัญหา ซึ่งที่ปรึกษาของสนข.ได้ลงพื้นที่และเจรจาได้ข้อยุติกับ 2 รายแล้วเหลืออีก 1 รายซึ่งคาดว่าจะเรียบร้อยในเดือนต.ค.นี้ โดยยังคงเป้าหมายตอกเข็ม ระยะทาง 3.5 กม.ยังคงเป็นเดือนพ.ย.นี้ เนื่องมีเส้นทางที่ตัดผ่านบริเวณดังกล่าว อย่างไรก็ตาม ทางสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)ให้มีการเจรจากับผู้ประกอบการเหมืองว่า ต้องให้เกิดความชัดเจนว่าจะไม่เกิดปัญหา รวมถึงการชดเชยด้วย ขณะนี้ได้เจราจากับผู้รับสัมปทานดังกล่าวเรียบร้อย 2 บริษัท เหลือ 1 บริษัท ที่เจราจรแล้วแต่ยังไมาเรียบร้อย ซึ่งจะมีการหารือร่วมกันอีกครั้ง

ทั้งนี้ ที่ผ่านมา ได้มีการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลรายละเอียดเป็นที่เรียบร้อย ร่วมถึงการประชุมกลุ่มย่อยเรียบร้อยแล้ว แต่ทางสผ.ระบุว่าของข้อสรุปให้ชัดเจนดังกล่าวอีกครั้ง ก่อนจะเสนอ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.)อีกครั้ง ซึ่งขณะนี้ได้มอบหมายที่ปรึกษาดำเนินการแล้วโดยจะต้องสรุปได้ภายในเดือนตุลาคม 2560

"หากประเด็นนี้จบ ขั้นตอนต่อไปก็จะเข้าที่ประชุมกก.วล.ได้และสามารถเดินหน้าได้เลย โดยจะพยายามเร่งให้ทันกับกรอบระยะเวลาภายในเดือนพฤศจิกายน 2560 ส่วนค่าชดเชยนั้น จะต้องคงพูดคุยรายละเอียดอีกทีว่ามากน้อยแค่ไหน ทั้งนี้ ถือว่ายังไม่ช้าล่ากว่าแผนที่กำหนด เนื่องจากที่ผ่านมาก็ได้หารือกับทางจีนไว้ก่อนว่าทุกอย่างต้องผ่าน การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EAI) ก่อนจึงจะสามารถเริ่มก่อสร้างได้ ซึ่งทางจีนเข้าใจ"นายชัยวัฒน์ กล่าว
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 10/10/2017 4:54 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟไทย-จีน ติดหล่ม EIA “อาคม” เร่งเคลียร์ปมจบ ต.ค. ยันตอกเข็ม พ.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 ตุลาคม 2560 - 16:25 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้ารถไฟไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 253 กิโลเมตร วงเงิน 179,412 ล้านบาท ปัจจุบันลงนามสัญญา 2.1 ค่าที่ปรึกษาโครงการ (ออกแบบการก่อสร้าง) และ 2.2 ค่าจ้างผู้ควบคุมงานทั้งการก่อสร้างและระบบรถเรียบร้อยแล้ว เหลือสัญญาที่ 2.3 ระบบเหนือโครงสร้างพื้นฐาน อยู่ในระหว่างการเจรจา โดยให้จีนส่งแบบรายละเอียดการก่อสร้างช่วงที่ 1 ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรภายในเดือน ต.ค.นี้ ส่วนที่เหลือให้ส่งมาภายใน 6 เดือน

ทั้งนี้การก่อสร้างจะเริ่มต้นได้ต่อเมื่อรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอได้รับอนุมัติ ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) กระทรวงทรัพยากรและธรรมชาติ

เนื่องจาก คชก.ให้กลับไปทำข้อมูลเพิ่มเติมจากเหมืองปูนซีเมนส์ที่อยู่ในเส้นทางรถไฟไทย-จีนพาดผ่าน หลังจากนั้นจะเตรียมเสนอคณะกรรมการสิ่งแวดล้อม จะพยายามให้แล้วเสร็จภายในเดือน ต.ค.60 และได้เรียนทางจีนไปแล้วว่ารายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมจะต้องผ่านถึงจะสามารถเริ่มต้นก่อสร้างได้

“ในการทำงานไม่มีอุปสรรค ยังอยู่ในขั้นตอน ขณะนี้อยู่ระหว่างการออกใบอนุญาตวิศวกรและสถาปนิกจีนที่ผ่านการทดสอบแล้ว ถึงจะลงนามสัญญาการออกแบบ โดยช่วงที่ 1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร จะเริ่มส่งแบบตั้งแต่วันที่ 9 ต.ค.60 ตอนที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร ระยะทาง 11 กิโลเมตร ตอนที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร ตอนที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย ระยะทาง 119.5 กิโลเมตร จีนจะใช้เวลาในการส่งออกแบบ 6-8 เดือน” นายอาคมกล่าว

----

“บิ๊กตู่” เผยความคืบหน้ารถไฟความเร็วสูงไทย-จีน คาดเริ่มสร้าง พ.ย.นี้
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 10 ตุลาคม 2560 - 16:43 น.

เมื่อวันที่ 10 ต.ค.2560 เวลา 13.40 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ถึงการดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ว่า ขณะนี้ได้มีการหารือและร่วมมือกันมาโดยตลอด ซึ่งในส่วนของการอบรมวิศวกรไทย-จีนได้เดินหน้าไปแล้ว

“ในส่วนการเตรียมพื้นที่จุดแรกที่จะมีการก่อสร้างเพื่อเป็นจุดเริ่มต้นนั้น ยังมีการต้องพูดคุยกับสถานประกอบการ ซึ่งเป็นสถานประกอบการปูนซีเมนต์ 3 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในช่วงไม่เกินเดือน พ.ย. นี้”

ทั้งนี้ ยืนยันว่าทุกอย่างดำเนินการตามกฎหมายในการจัดทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม หรือ EIA ซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องใช้เวลา
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/10/2017 6:00 pm    Post subject: Reply with quote

ยืนยันรถไฟไทย-จีน เริ่มก่อสร้าง พ.ย.นี้
Thai PBS News Published on Oct 10, 2017
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมยืนยัน โครงการรถไฟไทย-จีน จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ ตามกำหนดการที่วางไว้ แม้ขณะนี้ยังติดปัญหาการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม


https://www.youtube.com/watch?v=BFMzIgYs-ZM

---

“อาคม” ยืนยันรถไฟไทย-จีน เริ่มก่อสร้าง พ.ย.นี้
ThaiPBS 13:10 | 11 ตุลาคม 2560

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ยืนยันว่า โครงการรถไฟไทย-จีน จะเริ่มก่อสร้างได้ในเดือนพฤศจิกายนนี้ตามกำหนดการที่วางไว้ แม้ขณะนี้ยังติดปัญหาการพิจารณาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม

วันนี้ (11 ต.ค.2560) ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ความคืบหน้าโครงการความร่วมมือรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะที่ 1 เส้นทางกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทางประมาณ 253 กิโลเมตร ที่ขณะนี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ)

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวยืนยันว่าโครงการรถไฟไทย-จีนจะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤศจิกายนนี้ ตามกำหนดการที่วางไว้ เพราะขณะนี้ขั้นตอนการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการไปแล้ว 6 ครั้ง แต่ยังติดปัญหาการผ่านพื้นที่บริเวณเหมืองแร่โรงปูน จังหวัดสระบุรี จึงได้เร่งรัดให้ทางสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ลงพื้นที่และดำเนินการเจรจากับผู้ประกอบการเหมืองปูนในพื้นที่ 3 ราย โดยขั้นตอน

ขณะนี้เหลือเพียงการขอรับรองจากกลุ่มบริษัทเหมือง 3 บริษัท ว่าจะมีเส้นทางของโครงการผ่านไปยังแนวเหมืองปูน ซึ่งเมื่อได้รับการยืนยันก็จะแจ้งกลับไปยังคณะกรรมการผู้ชำนาญการเพื่อเสนอให้คณะกรรมการพิจารณาอีไอเอดำเนินการต่อไป

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการ สนข. เปิดเผยว่า ได้ลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูล และหารือร่วมกับผู้ประกอบการเหมืองแร่ทั้ง 3 รายแล้ว โดยเฉพาะเรื่องของค่าชดเชยในการเวนคืนที่ดินที่จะใช้ในการก่อสร้างโครงการฯ ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปและเสนอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาได้ภายในเดือนนี้ เพื่อดำเนินการก่อสร้างช่วงแรกสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตรตามแผนการดำเนินการในเดือนพฤศจิกายน

ขณะที่ความคืบหน้าการเปิดประมูลช่วงที่ 2-4 ได้สั่งการให้การรถไฟแห่งประเทศไทยทำแผนการดำเนินงานก่อนส่งเรื่องมาให้ สนข. เพื่อเดินหน้าต่อไปกรณีการพิจารณาอีไอเอ
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/10/2017 7:05 pm    Post subject: Reply with quote

คมนาคม กลัวไฮสปีดเทรนไม่ปลอดภัย สั่งรถไฟ ศึกษาติดอุปกรณ์สกัดคลื่นรบกวนระบบเดินรถ
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 11 ตุลาคม 2560 - 18:56 น.

นายพีระพล ถาวรสุภเจริญ รองปลัดกระทรวงคมนาคม เปิดเผยหลังเป็นประธานการประชุมคลื่นความถี่สำหรับระบบคมนาคมขนส่งทางราง ว่า คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ได้ตกลงจัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 885-890 เมกะเฮิรตซ์ (ขาขึ้น) และ 930-935 เมกะเฮิรตซ์ (ขาลง) ที่มีความกว้าง 5 เมกะเฮิรตซ์ ให้กระทรวงคมนาคมนำมาใช้ในกิจการขนส่งทางรางของประเทศ โดยเฉพาะรถไฟฟ้าความเร็วสูง หรือไฮสปีดเทรน แต่กระทรวงมองว่าคลื่นความถี่ดังกล่าวมีความกว้างน้อยกว่าที่กระทรวงคมนาคมยื่นขอไปขนาด 10 เมกะเฮิรตซ์ จึงกังวลว่าจะส่งผลกระทบต่อความปลอดภัยของระบบขนส่งทางราง

ที่ประชุมฯ จึงเห็นควรให้กระทรวงต้องดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการรบกวน (Filter) เพื่อกรองคลื่นความถี่ของระบบรางให้แยกออกจากคลื่นความถี่ของกิจการโทรคมนาคมที่อยู่ในช่วงคลื่นความถี่ติดกัน เพื่อป้องกันปัญหาคลื่นรบกวนซึ่งอาจจะส่งจะกระทบต่อความปลอดภัยในการเดินรถ เบื้องต้นจะต้องมีการติดตั้งอุปกรณ์บริเวณสถานีรถไฟ ขบวนรถ และตลอดแนวเส้นทางที่รถวิ่ง ส่วนบริษัทโทรคมนาคมก็ต้องลงทุนติดตั้งอุปกรณ์ของตัวเองเช่นกัน

“มอบให้การรถไฟฯ ไปสรุปรายละเอียดและวงเงินการติดตั้งฟิลเตอร์ ซึ่งคาดว่าจะรู้ใน 1 เดือน จากนั้นต้องไปหารือและวางแผนกับผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือว่า พอเราพิจารณาร่วมกันแล้วก็แจ้งยืนยันให้ กสทช. ออกประกาศจัดสรรคลื่นความถี่ต่อไป” นายพีระพลกล่าว

นายพีระพลกล่าวต่อว่า สำหรับคลื่นความถี่ย่าน 800 เมกะเฮิรตซ์ ของระบบรางจะนำไปใช้ในการเดินรถไฟและรถไฟความเร็วสูง เช่น รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงกรุงเทพฯ-หนองคาย, รถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-ระยอง และรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน โดยคลื่นความถี่ย่าน 800 เป็นคลื่นที่มีมูลค่าสูง เพราะปัจจุบันนำมาจัดสสรรใช้ในกิจการโทรคมนาคม

นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคม ยังขอให้กสทช. จัดสรรคลื่นความถี่ย่าน 400 เมกะเฮิรตซ์เพิ่มเติม เพื่อใช้ในโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-ญี่ปุ่น ช่วงกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ด้วย เพื่อรองรับระบบชิงกันเซ็ง โดยตอนนี้ฝ่ายญี่ปุ่นและ กสทช. อยู่ระหว่างหารือร่วมกัน

นอกจากนี้ สั่งการให้ สนข. กลับไปศึกษาและจัดทำรายละเอียดแผนความต้องการใช้คลื่นความถี่ทางรางในระยะ 20 ปีข้างหน้าด้วย เพื่อนำเสนอข้อมูลให้ กสทช. นำไปใช้ประกอบการพิจารณาจัดสรรคลื่นความถี่ในอนาคต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 15/10/2017 6:10 pm    Post subject: Reply with quote

ฤกษ์ “รถไฟไทย-จีน” ตอกเข็มเมื่อพร้อม
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์ วันที่ 14 ตุลาคม 2560 - 23:30 น.

คอลัมน์ ชั้น 5 ประชาชาติ โดย ประเสริฐ จารึก

กว่า 2 ปีที่รัฐบาล คสช.ใช้ความพยายามคออย่างยิ่งยวดจะให้รถไฟไทย-จีน “กรุงเทพฯ-นครราชสีมา” เป็นรถไฟความเร็วสูงสายแรกของประเทศไทย

จึงทุ่มเม็ดเงินลงทุน 179,412 ล้านบาทเดินหน้าผลักดัน

แต่ดูเหมือนความปรารถนาจะถูกทอดเวลาออกไป หลังเจอโรคเลื่อนตอกเข็มซ้ำซาก

ทั้งที่ตัดแบ่งสร้างเป็น 4 เฟส และเลือกคิกออฟช่วงสั้น ๆ 3.5 กม. ที่ไม่มีปัญหาเวนคืนที่ดิน จาก “สถานีกลางดง-ปางอโศก” หวังให้เป็นจุดเริ่มต้นโครงการ

ล่าสุดกำหนดการลงเข็มต้นแรกเลื่อน 1 เดือน จาก ต.ค.เป็น พ.ย. นี้

ต้องรอการอบรมทดสอบวิศวกรจีน 77 คน ให้เสร็จปลายปีนี้

ต้องรอจีนส่งแบบเฟสแรก 3.5 กม.


ต้องรอรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ผ่านการอนุมัติ

ต้องรอคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้กรมทางหลวงเป็นผู้ก่อสร้างเฟสแรก

จะว่าไปแล้วแผนการปักธงสร้างไฮสปีดเทรนสัญชาติมังกรสายนี้ มีการขยับไทม์ไลน์มาหลายครั้ง

นับจากทั้งสองรัฐบาลเซ็น MOC ร่วมกันตั้งแต่วันที่ 19 ธ.ค. 2557

แต่เป็นเพราะผลการเจรจาไม่สะเด็ดน้ำ จึงทำให้ฤกษ์ตอกเข็มเลื่อนอยู่หลายรอบ

ครั้งแรกจาก ธ.ค. 2558 เป็น ธ.ค.2559

แต่เพราะผลเจรจาไม่ลงตัว เลื่อนมาเป็น มี.ค. 2560 จากนั้นขยับเรื่อยมา

ข่าวเลื่อนสร้างรถไฟไทย-จีน ได้ยินกันจนชิน เพราะเลื่อนแล้วเลื่อนอีก จากเดือนเป็นปี และยาวข้ามปี

แม้ “คสช.” จะงัด ม. 44 มาคลี่ปมข้อกฎหมายที่ยังจูนไม่ตรงกัน เพื่อรันโครงการที่ติด ๆ ขัด ๆ ให้สะดวก

รวมถึงจ้างตรง “กรมทางหลวง” มาเนรมิตเฟสแรกจุดเริ่มต้นโครงการ เพื่อให้สองประเทศปักธงแสดงสัญลักษณ์ความสำเร็จของโครงการทันปีนี้

แต่ถึงขณะนี้การเดินทางของรถไฟสายนี้ ยังฝ่าอุปสรรคไม่ได้สักที

ดังนั้นฤกษ์สร้างในเวลานี้ จึงมีคำตอบเดียว …เมื่อพร้อม

จะเป็นเมื่อไหร่ ? ยังไม่มีใครตอบได้

เพราะยังต้องฝ่าด่านหินคณะกรรมการผู้ชำนาญการ(คชก.)ไฟเขียวรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม ที่ไม่สามารถควบคุมเวลาได้

ที่ผ่านมาก็ปรับแก้รายงานกันมาถึง 6 ครั้ง กำลังจะยื่นครั้งที่ 7 ที่ยังติดปัญหาพื้นที่ช่วงมาบกะเบา จะต้องเจาะภูเขาสร้างเป็นอุโมงค์

ซึ่งแนวเส้นทางพาดผ่านพื้นที่ประทานบัตรทำเหมืองของ 4 ผู้ประกอบการผลิตปูนซีเมนต์ อาทิ ปูนซิเมนต์ไทย ปูนทีพีไอ ปูนนครหลวง คิดเป็นพื้นที่รวม 320 ไร่

ในผลศึกษาเดิม “กระทรวงอุตสาหกรรม” ต้องจัดหาพื้นที่ใหม่รัศมีแนวรถไฟทางคู่ให้เป็นการทดแทน

ซึ่ง “คชก.” ต้องการคำตอบที่แน่ชัดก่อนจะลงมติ เรื่องนี้สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ผู้รับผิดชอบการทำรายงานอีไอเอ

ได้สอบถาม 4 โรงปูนไปแล้วเมื่อหลายปีที่ผ่านมา ช่วงทำผลศึกษารถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ก่อนที่จะกลายร่างมาเป็นรถไฟไทย-จีน

แต่ด้วยเวลาที่ผ่านมาหลายปี “คชก.” จึงต้องการคำตอบที่ชัวร์ ไม่ได้มั่วนิ่ม

น่าจับตา “สนข.” จะเคลียร์ปมนี้จบภายในต.ค. เพื่อนำไปสู่การเริ่มต้นก่อสร้างภายในพ.ย.นี้ อย่างที่ “อาคม เติมพิทยาไพสิฐ” เจ้ากระทรวงคมนาคมเดดไลน์ได้หรือไม่

เพราะโครงการใหญ่ ใช้เงินลงทุนมหาศาล จึงต้องใช้เวลาจาระไนนานเป็นพิเศษ

ที่สำคัญรถไฟความเร็วสูงเป็นเรื่องใหม่ ไม่เคยมีมาก่อนในประเทศไทย

รอฟังคำตอบอีกครั้ง จากที่ประชุมคณะกรรมการร่วมไทย-จีนครั้งที่ 22 วันที่ 22-24 พ.ย.นี้

ฤกษ์ตอกเข็มจะยังเป็นปีนี้หรือปีหน้า
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 16/10/2017 9:34 pm    Post subject: Reply with quote

เวนคืน 45 ราย รถไฟความเร็วสูง เชื่อมเข้าสุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา
MGR Online เผยแพร่: 16 ต.ค. 2560 18:52:00 ปรับปรุง: 16 ต.ค. 2560 19:37:00

Click on the image for full size

ร.ฟ.ท. เตรียมสรุปผลศึกษา รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ ชง คณะ กก. EEC พ.ย. นี้ ค่าก่อสร้างกว่า 2 แสน ล. เปิดหาผู้ประกอบการ ภายในต้นปี 61 ก่อสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 66 ต้องออกแบบและศึกษา EIA ทางเชื่อมเข้าสุวรรณภูมิ, อู่ตะเภา เพิ่ม ประเมินเวนคืนไม่น้อยกว่า 42 ราย

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ภายในเดือน ต.ค. นี้ จะสรุปผลการศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง - สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริหารการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ภายในเดือน พ.ย. นี้ โดยตั้งเป้าจะเร่งรัดการดำเนินงานกระบวนการทำงานแบบ fast track เพื่อให้ได้ตัวผู้รับสัมปทานบริหารโครงการในเดือน ม.ค.- ก.พ. 2561

ทั้งนี้ ในการบริหารโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน แบบไร้รอยต่อ จะเป็นผู้ประกอบการรายเดียว ซึ่งจะรับบริหารโครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และ สถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมือง หรือ แอร์พอร์ตเรลลิงก์ (พญาไท - มักกะสัน - สุวรรณภูมิ), โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท - ดอนเมือง (ARLEX) และ โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ - ระยอง ทั้งหมด

โดยวันนี้ (16 ต.ค.) ร.ฟ.ท. ได้จัดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) งานศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เพื่อรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน และรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้ พิจารณาประกอบรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการ

ซึ่งการก่อสร้างจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ รถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) ช่วง พญาไท - ดอนเมือง ซึ่งจะเชื่อมต่อกับแอร์พอร์ตลิงก์ พญาไท - สุวรรณภูมิ วิ่งด้วยความเร็ว 160 กม./ชม. และช่วง ลาดกระบัง - ระยอง ความเร็ว 250 กม./ชม. และจะต้องมีการออกแบบเพิ่มเติมบริเวณทางเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) 4 กม. และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า 7 กม.- ขาออก 5 กม.) โดยมีระยะทางรวมทั้งหมด 260 กม. งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 200,000 ล้านบาท

ซึ่งจะต้องมีการเวนคืนที่ดินส่วนของทางเชื่อมเข้าสุวรรณภูมิ 3 ราย และเข้าอู่ตะเภา 42 ราย และจะต้องศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) เพิ่มเติมอีกด้วย ขณะที่บริเวณสถานีฉะเชิงเทรา จะเป็นศูนย์ซ่อมบำรุงสำหรับรถไฟความเร็วสูงโดยจะใช้พื้นที่ประมาณ 400 ไร่

มี 10 สถานี เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และ สถานีระยอง และ สถานีใต้ดิน 2 สถานี ได้แก่ สถานีสุวรรณภูมิ และ สถานีอู่ตะเภา

โดย ที่ปรึกษาประเมินผลตอบแทนทางเศรษฐกิจ (EIRR) มากกว่า 12% ขณะที่ผลตอบแทนทางการเงิน (FIRR) ไม่คุ้มค่า ภาครัฐต้องอุดหนุน และต้องพัฒนาพื้นที่มักกะสัน และ รอบสถานี ควบคู่ไปด้วย โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปี 2561 ใช้เวลาก่อสร้าง 4 ปี และทดสอบระบบเปิดให้บริการได้ในปี 2566 คาดการณ์ผู้โดยสารในปีที่เปิดให้บริการ ช่วงดอนเมือง - สุวรรณภูมิ บริการรถไฟธรรมดา (City Line) จำนวน 103,920 คน - เที่ยว/วัน ช่วงสุวรรณภูมิ - ระยอง บริการรถไฟความเร็วสูง จำนวน 65,630 คน - เที่ยว/วัน
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2017 12:45 pm    Post subject: Reply with quote

คาดปี 66 ได้ใช้รถไฟความเร็วสูงแบบไร้รอยต่อ
MGR Online เผยแพร่: 17 ต.ค. 2560 12:15:00

ศูนย์ข่าวศรีราชา - รฟท. เปิดฟังความเห็นชาวชลบุรี ครั้งที่ 2 สรุปผลศึกษารถไฟความเร็วสูงแบบไร้รอยต่อ คาดให้บริการได้ปี 2566 กระตุ้น ศก.-ท่องเที่ยว พร้อมยกระดับเมืองรองรับ EEC

วันนี้ (17 ต.ค.) ที่โรงแรมเอเชียพัทยา จ.ชลบุรี นายนริศ นิรามัยวงศ์ นายอำเภอบางละมุง ให้เกียรติเป็นประธานเปิดการประชุมใหญ่การมีส่วนร่วมของประชาชน ครั้งที่ 2 (สรุปผลการศึกษาโครงการ) งานศึกษา ทบทวน และวิเคราะห์ความเหมาะสม โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง – สุวรรณภูมิ – อู่ตะเภา) เพื่อนำเสนอผลสรุปการศึกษา ด้านวิศวกรรม เศรษฐกิจ และผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมรับฟังความคิดเห็น ข้อเสนอแนะจากทุกภาคส่วน โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ธุรกิจเอกชน สถาบันการศึกษา สื่อมวลชนและประชาชนจากจังหวัดชลบุรี และจังหวัดระยอง เข้าร่วมการสัมมนากว่า 200 คน

การประชุมครั้งนี้ได้นำเสนอผลสรุปแนวเส้นทางโครงการ โดยจะใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม ได้แก่ 1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว 2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท - ดอนเมือง (ARLEX) และ 3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง (HSR) โดยโครงการนี้มีการออกแบบเพิ่มเติมบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า-ขาออก) พาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระยะทางรวมทั้งหมด 260 กิโลเมตร

ประกอบด้วย 10 สถานี เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี ได้แก่ สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง และสถานีใต้ดิน 2 สถานี ได้แก่ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา โดยเป็นรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) สองทางวิ่ง โครงสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) มีโครงสร้างระดับดิน (At-Grade) และโครงสร้างใต้ดิน (Tunnel) บางช่วง โดยใช้งบประมาณในการก่อสร้างประมาณ 200,000 ล้านบาท

นอกจากนี้ ที่ประชุมยังได้นำเสนอมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประชาชน อาทิ กำหนดให้มีการฉีดพรมน้ำ เพื่อควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ การติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราวและทำการขุด เจาะ ในช่วงเวลากลางวัน เพื่อลดผลกระทบด้านการสั่นสะเทือน เป็นต้น

ทั้งนี้ โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ เป็นหนึ่งในแผนงานสำคัญด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานคมนาคมและโลจิสติกส์ ที่รัฐบาลให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งในการขับเคลื่อนการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC โดยได้รับการบรรจุไว้ในแผนการดำเนินโครงการและงบประมาณ ในปีงบประมาณ 2560 – 2561

ดังนั้น เมื่อการพัฒนาโครงการแล้วเสร็จในปี 2566 คาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟธรรมดา (City Line) ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ กว่า 103,920 คน/เที่ยว/วัน และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง (HSR) ช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง ถึงกว่า 65,630 คน/เที่ยว/วัน สำหรับระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (หยุดทุกสถานี) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (ไม่จอดระหว่างทาง) ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยกระตุ้นการเติบโตของเศรษฐกิจ อุตสาหกรรมและการท่องเที่ยว ให้แก่ จ.ชลบุรี จ.ระยอง และจังหวัดใกล้เคียง ตลอดจนเป็นการยกระดับการพัฒนาเมืองในแนวเส้นทางและจังหวัดที่อยู๋ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออกหรือ EEC อีกด้วย

ภายหลังจากจัดสัมมนาครั้งนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) จะรวบรวมข้อมูล ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะที่ได้จากผู้เข้าร่วมการประชุม นำมาพิจารณาประกอบรายงานสรุปผลการศึกษาโครงการฯ จากนั้นจึงนำเสนอต่อคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อพิจารณาอนุมัติต่อไป
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 17/10/2017 5:45 pm    Post subject: Reply with quote

คาดคนขึ้นรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสนามบินวันละ 1.6 แสนคน
โพสต์ทูเดย์ 17 ตุลาคม 2560 เวลา 07:42 น.

รถไฟไฮสปีดอีอีซี 2 แสนล้านผ่านฉลุยไร้เสียงคัดค้าน คาดผู้โดยสารทะลุ 1.6 แสนคนต่อวัน

นายสายันต์ อิ่มสม-สมบูรณ์ ผู้จัดการโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมสามสนามบินเปิดเผยว่า ความคืบหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบินแบบไร้รอยต่อ (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2 แสนล้านบาท หลังจากเปิดรับฟังความคิดเห็นชาวบ้านบริเวณการก่อสร้างไม่มีการคัดค้าน มีเพียงเรียกร้องลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและประชาชน อาทิ กำหนดให้มีการฉีดพรมน้ำ เพื่อควบคุมฝุ่นละอองอย่างสม่ำเสมอ การติดตั้งกำแพงกันเสียงชั่วคราว

นายสายันต์กล่าวต่อว่าคาดว่าจะมีผู้มาใช้บริการรถไฟธรรมดา (City Line) ช่วงดอนเมือง-สุวรรณภูมิ กว่า 103,920 คน/เที่ยว/วัน และมีผู้ใช้บริการรถไฟความเร็วสูง (HSR) ช่วงสุวรรณภูมิ-ระยอง ถึงกว่า 65,630 คน/เที่ยว/วัน สำหรับระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (หยุดทุกสถานี) ใช้เวลาประมาณ 2 ชม. และระยะเวลาการเดินทางจากดอนเมืองถึงระยอง (ไม่จอดระหว่างทาง) ใช้เวลาประมาณ 1 ชม. ใช้แนวเส้นทางระบบขนส่งมวลชนทางรางของโครงการเดิม ได้แก่

1.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิและสถานีรับส่งผู้โดยสารอากาศยานในเมืองหรือแอร์พอร์ตเรลลิงก์ (ARL) ซึ่งปัจจุบันเปิดให้บริการแล้ว

2.โครงการระบบขนส่งทางรถไฟเชื่อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ส่วนต่อขยาย ช่วงพญาไท - ดอนเมือง (ARLEX)

3.โครงการรถไฟความเร็วสูง สายกรุงเทพ-ระยอง (HSR) โดยโครงการนี้มีการออกแบบเพิ่มเติมบริเวณเชื่อมต่อเข้าสนามบินสุวรรณภูมิ (ขาออก) และสนามบินอู่ตะเภา (ขาเข้า-ขาออก) พาดผ่านพื้นที่ 5 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง ระยะทางรวมทั้งหมด 260 กิโลเมตร ประกอบด้วย 10 สถานี เป็นสถานียกระดับ 8 สถานี ได้แก่

สถานีดอนเมือง สถานีกลางบางซื่อ สถานีมักกะสัน สถานีฉะเชิงเทรา สถานีชลบุรี สถานีศรีราชา สถานีพัทยา และสถานีระยอง และสถานีใต้ดิน 2 สถานี ได้แก่ สถานีสุวรรณภูมิ และสถานีอู่ตะเภา โดยเป็นรถไฟขนาดทางมาตรฐาน 1.435 เมตร (Standard Gauge) สองทางวิ่ง โครงสร้างทางรถไฟส่วนใหญ่เป็นโครงสร้างทางยกระดับ (Elevated) มีโครงสร้างระดับดิน (At-Grade) และ โครงสร้างใต้ดิน (Tunnel)
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44335
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 19/10/2017 7:47 am    Post subject: Reply with quote

ลุ้นอีไอเอรถไฟไทย-จีนผ่านฉลุย
เดลินิวส์ พฤหัสบดีที่ 19 ตุลาคม 2560 เวลา 06.00 น.

สนข.มั่นใจอีไอเอ รถไฟไทย-จีนรอบนี้ผ่านฉลุย หลังเอกชนไฟเขียวให้ใช้พื้นที่ เร่งชง สผ.ภายในเดือน ต.ค.นี้ เปรยตอกเสาเข็มโครงการอาจไม่ทันปีนี้

รายงานข่าวจากสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผยความคืบหน้าโครงการ รถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพ-นครราชสีมา-หนองคาย ระยะทาง 252.5 กม. วงเงิน 179,412 ล้านบาท ภายหลังจากที่ติดปัญหาไม่ผ่านการพิจารณาผลกระทบสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) บริเวณเหมืองแร่ และโรงปูน ที่จ.สระบุรีว่า สนข. ได้เชิญเอกชนในพื้นที่ดังกล่าวเข้าร่วมประชุมหารือแนวการดำเนินโครงการ ตลอดจนแจ้งเพื่อทราบและขอใช้พื้นที่ก่อสร้างแล้ว พบว่าทางเอกชนไม่มีปัญหาอะไรพร้อมให้เดินหน้าดำเนินการ เนื่องจากเอกชนเคยรับทราบเรื่องการขอใช้พื้นที่มา 5 ปีแล้ว ดังนั้นจึงมั่นใจว่าการเสนอรายงานอีไอเอให้กับสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ครั้งนี้จะได้รับการพิจารณาอนุมัติโครงการอย่างแน่นอน โดย สนข. จะเสนอรายงานอีไอเอให้ สผ.พิจารณาภายใน 2 สัปดาห์นี้ แต่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ว่าจะได้รับอนุมัติจาก สผ.เมื่อใด ดังนั้นจึงยังไม่มีความแน่นอนว่าจะได้เห็นการตอกเสาเข็มทันปี 60 หรือไม่

รายงานข่าวจาก สนข. กล่าวต่อว่า สำหรับโครงการรถไฟความเร็วสูงกรุงเทพฯ-หัวหิน ยังไม่สามารถเสนอให้คณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (พีพีพี) พิจารณาได้ในการประชุมครั้งนี้เนื่องจากยังไม่ผ่านการอนุมัติผลอีไอเอจาก สผ. ส่งผลให้โครงการดังกล่าวยังต้องรอความคืบหน้าต่อไป.
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 235, 236, 237 ... 542, 543, 544  Next
Page 236 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©