RailServe.Com

Main Menu

 
icon_home.gif Homepage
icon_community.gif Members Zone
· ข้อมูลส่วนตัว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ข่าวสารส่วนตัว
· บริการเว็บเมล์
· กระดานข่าว
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก กระดานฝากข้อความ
· รถไฟไทยแกลลอรี่
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก รายนามสมาชิก
· แบบสำรวจ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก สมุดเยี่ยม
· เกี่ยวกับสมาชิก
favoritos.gif News & Stories
· เรื่องทั้งหมด
· เนื้อหาสาระ
· เรื่องสำหรับพิมพ์
· ยอดฮิตติดอันดับ
· ค้นหาข่าวสาร
· ค้นหากระทู้เก่า
nuke.gif Contents
· กำหนดเวลาเดินรถ
· ประเภทขบวนรถโดยสาร
· ข้อมูลเส้นทางรถไฟ
· แผนที่เส้นทางรถไฟ
· อัตราค่าโดยสาร
· คำนวณค่าโดยสารรถไฟ
· รูปแบบการให้บริการรถไฟ
· หมายเลขโทรศัพท์ที่สำคัญ
· ทริปท่องเที่ยวโดยรถไฟ
· ระบบติดตามขบวนรถ
som_downloads.gif Services
· Downloads
· GoogleSearch
· Hotels Booking
· FlashGames
· Wallpaper 1
· Wallpaper 2
· Wallpaper 3
· Wallpaper 4
icon_members.gif Information
· เกี่ยวกับเรา
· นโยบายความเป็นส่วนตัว
· แผนผังเว็บไซต์ฯ
ใช้งานได้เฉพาะสมาชิก ส่งข้อแนะนำติชม
· ติดต่อลงโฆษณา
· แนะนำและบอกต่อ
· สถิติทั้งหมด
· สำหรับผู้ดูแลระบบ
 

Sponsors

 

Ads Service

 

Visitors

 


มีผู้เข้าเยี่ยมชม
สมาชิก:311232
ทั่วไป:13179801
ทั้งหมด:13491033
คน ตั้งแต่
01-08-2004
 


Rotfaithai.Com :: View topic - ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
 Forum FAQForum FAQ   SearchSearch   UsergroupsUsergroups   ProfileProfile   Log in to check your private messagesLog in to check your private messages   Log inLog in 

ข่าวรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน)
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 241, 242, 243 ... 542, 543, 544  Next
 
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย
View previous topic :: View next topic  
Author Message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 10/12/2017 12:27 am    Post subject: Reply with quote

ยิ่งรถไฟทำขบวนด้วยความเร็วสูงเท่าใดก็ยิ่งต้องมี โค้งที่รัศมีกว้างขึ้น

1. รถไฟความไวสูงจีนแดงที่ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 7000 เมตร

2. รถไฟความไวสูงจีนแดงที่ความเร็วสูงสุด 300 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 4000-5500 เมตร

3. รถไฟความไวสูงจีนแดงที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 3000 เมตร - ถ้าเป็นรถไฟ แบบ tilt train ให้ โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 2000 เมตร

4. รถไฟความไวสูงจีนแดงที่ความเร็วสูงสุด 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 2000 เมตร - ถ้าเป็นรถไฟ แบบ tilt train ให้ โค้งต้องกว้างอย่างน้อย 1300 เมตร

นอกจากนี้ ต้องคำนึงถึงค่า Cant และ ค่า cant deficiency ด้วย เท่าที่รู้ คือ
1. รถไฟความไวสูงที่ความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้มี cant deficiency ไม่เกิน 100 mm
2. รถไฟความไวสูงที่ความเร็วสูงสุด 350 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ให้มี cant deficiency ไม่เกิน 65 mm และ

ที่สำคัญคือ ความชันห้ามเกิน 15 ใน 1000 หรือ 12 ในพันเป็นระยะทางอย่างน้อย 12 กิโลเมตร
https://en.wikipedia.org/wiki/Cant_deficiency
https://en.wikipedia.org/wiki/Minimum_railway_curve_radius

http://www.europakorridoren.se/spargeometri.pdf
https://uic.org/IMG/pdf/high_speed_brochure.pdf
https://www.inti.gob.ar/cirsoc/pdf/puentes_hormigon/10-design_20B.pdf
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 11/12/2017 1:46 pm    Post subject: Reply with quote

ฝันรถไฟไทย-จีน ใกล้เป็นจริง ทล.ระดมเครื่องจักรลงพื้นที่
เดลินิวส์ จันทร์ที่ 11 ธันวาคม 2560 เวลา 11.40 น.

ทล.ลงเครื่องจักรเต็มสูบวางมุดรถไฟไทย-จีน พร้อมเร่งหารือ รฟท. สรุปราคากลางวัสดุก่อสร้าง 425 ล้านบาท ก่อนลุย ลงนาม ภายในสิ้นปี 60

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ  รมว.คมนาคม  เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 30 พ.ย. ที่ผ่านมา ที่ประชุมคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติหรือ กก.วล. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ สผ.มีมติเห็นชอบรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม หรืออีเอ( EIA)    โครงการรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีด)ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ระยะทาง 252.35 กม. แล้ว  โดยเตรียมเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรีหรือ ครม.  ในวันที่ 12 ธ.ค. นี้  พิจารณาอนุมัติให้กรมทางหลวง ( ทล.)ดำเนินการก่อสร้างตอนที่ 1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) อ. ปากช่อง จ. นครราชสีมา  เพื่อตอกเสาเข็มการก่อสร้างโครงการฯ วันที่ 21ธ.ค. นี้ตามเป้าหมายที่กำหนดไว้
 
ด้านนายธานินทร์  สมบูรณ์  อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.)  กล่าวว่า  ทล.เตรียมเข้าพื้นที่ พร้อมระดมเครื่องจักรและอุปกรณ์การก่อสร้างเข้าพื้นที่ก่อสร้างภายในสัปดาห์นี้ ก่อนเคลียร์พื้นที่การก่อสร้างและเร่งนำเข้าวัสดุจากจีนบางส่วนรวมทั้งการถอดแบบก่อสร้างในการใช้วัสดุก่อสร้างภายในประเทศ คาดว่าจะใช้เวลาก่อสร้างประมาณ4-6 เดือน  ขณะนี้คณะกรรมการร่วมระหว่างกรมทางหลวงการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)และฝ่ายจีนอยู่ระหว่างการพิจารณาตกลงราคาค่าก่อสร้างในกรอบงบประมาณราคากลางวงเงิน 425 ล้านบาท คาดว่าจะได้ข้อสรุปและลงนามบันทึกข้อตกลงภายในเดือนธ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 7:14 pm    Post subject: Reply with quote

ประมูลรถไฟสายระยองปี’61 ผู้ชนะลุ้นได้สิทธิพัฒนาที่‘มักกะสัน’
แนวหน้า วันอังคาร ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2560, 06.00 น.

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม ในฐานะรักษาการผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการ(บอร์ด) การรถไฟฯกำหนดประชุมนัดพิเศษในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เพื่อพิจารณา โครงการรถไฟความเร็วสูง (ไฮสปีดเทรน))ช่วงกรุงเทพฯ-ระยอง เชื่อมต่อ 3 สนามบินวงเงิน 2.15 แสนล้านบาท โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการลงทุนพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC)

ในเบื้องต้น ทางคณะกรรมการการรถไฟฯได้ให้พิจารณาดูแนวทางการสร้างรายได้ในพื้นที่มักกะสันแปลงA เนื้อที่ราว 130 ไร่ ซึ่งต้องยกสัมปทานระยะเวลา 30-50 ปี ให้สิทธิเอกชนที่เข้ามาบริหารรถไฟความเร็วสูงเส้นทางดังกล่าว และจากผลศึกษาคาดว่าจะสามาถสร้างรายได้ 1-2 หมื่นล้านบาท ตลอดระยะเวลาสัมปทานดังกล่าว

ทั้งนี้ที่ดินพื้นที่ดังกล่าวเป็นการลงทุนตามระยะเวลาสัมปทานแล้วแบ่งรายได้ค่าที่ดินตามสัดส่วนที่ตกลงกันกลับมาให้ การรถไฟฯ โดยหลังจากที่ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการ การรถไฟฯแล้วจะส่งเรื่องไปที่กระทรวงคมนาคมเพื่อขอความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อนเสนอ คณะกรรมการนโยบายระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (คณะกรรมการ EEC) ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 พร้อมกับไปกับการร่างเอกสารประกวดราคา(TOR)ที่ต้องแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม อย่างไรก็ตามหากสามารถดำเนินการตามแผนที่วางไว้ คาดว่าจะสามารถเปิดประมูลได้ภายในเดือน สิงหาคม-กันยายน 2561

นายพสุ โลหารชุน ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวถึงโครงการEEC ว่า ขณะนี้ มีนักลงทุนต่างชาติจำนวนมาก ให้ความสนใจมาเช่าพื้นที่ของ กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น จ.ชลบุรี (เป็นโรงงานเกษตรแปรรูปปาล์มน้ำมัน และยางอุตสาหกรรมตั้งอยู่ใน EEC) คาดว่าจะมีเม็ดเงินจากการลงทุนครั้งนี้ประมาณ 20,000 ล้านบาท ดังนั้น กระทรวงอุตสาหกรรมได้เตรียมประกาศให้กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น เป็นเขตประกอบการอุตสาหกรรมแห่งที่ 26 ภายในปี 2561

พร้อมทั้งได้ขอความร่วมมือให้กลุ่มบริษัท ไทยอีสเทิร์น เป็นพี่เลี้ยงในการช่วยเหลือชุมชน ด้วยการให้ความรู้แก่รัฐวิสาหกิจชุมชน เพื่อเป็นการตอบแทนสังคม และยังสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล ที่จะกระจายความรู้ พัฒนาผู้ประกอบการขนาดเล็ก ให้มีความสามารถมากขึ้น ทั้งนี้ กลุ่มบริษัทไทยอีสเทิร์น ถือเป็นอุตสาหกรรมต้นแบบศูนย์เรียนรู้ในการเป็น smart farmer หรือและการใช้พลังงานสีเขียว ลดต้นทุนการผลิต
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 7:18 pm    Post subject: Reply with quote

รถไฟเร่งร่างTOR ไฮสปีด 3 สนามบินเสร็จใน 3 เดือน ยันเปิดประมูลในก.พ.-มี.ค.61
เผยแพร่: 12 ธ.ค. 2560 18:43:00 โดย: MGR Online

“อาคม”เผยสัปดาห์หน้าชงครม.อนุมัติ รถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง เร่งเซ็นผู้รับเหมาในธ.ค.นี้ ส่วนรถไฟไทย-จีน ตอกเข็ม 21 ธ.ค.แน่นอน ด้าน”ผู้ว่าฯ ร.ฟ.ท.”เผยชงTOR รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบินเข้าบอร์ด 15 ธ.ค. คาดเปิดประมูลก.พ.-มี.ค. 61 ตามนโยบาย”สมคิด”

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ในสัปดาห์หน้า คาดว่าจะสามารถเสนอที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) เห็นชอบรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง ซึ่งได้มีการแบ่งออกเป็น 13 สัญญา โดยได้เปิดประมูลแล้ว 9 สัญญา ซึ่งหากครม.เห็นชอบ จะประสานกับกระทรวงการคลังเพื่อยืนยันมูลค่าโครงการตามขั้นตอนเงินกู้ เพื่อจะลงนามสัญญากับผู้รับเหมาทั้ง 9 สัญญาภายในเดือน ธ.ค.นี้

พร้อมกันนี้จะเสนอครม.ขออนุมัติให้กรมทางหลวง(ทล.) ดำเนินการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพฯ-นครราชสีมา ตอนที่1 ระยะทาง 3.5 กม. (สถานีกลางดง-ปางอโศก) วงเงิน 425 ล้านบาท เริ่มก่อสร้างวันที่ 21 ธ.ค. 2560

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการในตำแหน่งผู้ว่า การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) กล่าวว่า หลังจากนี้จะเร่งร่าง TOR รถไฟทางคู่ในส่วนงานระบบอาณัติสัญญาณ 3 สัญญาให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน ได้แก่ ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ วงเงิน 2,900 ล้านบาท ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ วงเงิน2,500 ล้านบาทและตลอดเส้นทางสายใต้ช่วง นครปฐม-ชุมพร วงเงิน 7,300 ล้านบาท โดยจะเปิดประมูลได้ในไตรมาส 1/ 2561

ส่วนความคืบหน้า โครงการรถไฟความเร็วสูง เชื่อมโยงท่าอากาศยาน 3 แห่ง (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ - อู่ตะเภา) นายอานนท์กล่าวว่า จะเสนอร่าง TOR ต่อที่ประชุมคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ บอร์ดได้ให้ปรับปรุงตัวเลขในการพัฒนาพื้นที่มักกะสัน ให้เป็นมูลค่าปัจจุบัน เนื่องจากเห็นว่ายังประเมินยังต่ำไป โดยหลังจากนั้นจะสอบถามความเห็นหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอคณะกรรมการ EEC และครม. อนุมัติก่อน จากนั้นจะประกาศTOR ได้ในเดือนก.พ. –มี.ค. 61 ซึ่งเป็นไปตามกรอบที่นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กำหนด
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 7:24 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ยัน 19 ธ.ค. ชงอนุมัติไฮสปีดไทย-จีน มั่นใจ 21 ธ.ค.ก่อสร้างแน่
มติชนออนไลน์ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 - 17:34 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า วันที่ 12 ธันวาคม กระทรวงคมนาคมยังไม่ได้นำเสนอผลการประกวดราคาโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทาง คือ 1.ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 2.ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 3.ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 4.ช่วงนครปฐม-หัวหิน และ 5.ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)พิจารณาอนุมัติ เนื่องจากยังอยู่ระหว่างรอหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแสดงความคิดเห็นตามขั้นตอน คาดว่าจะนำเสนอ ครม.ได้ในการประชุมครั้งต่อไป คือ วันที่ 19 ธันวาคม 2560 จากนั้นการรถไฟแห่งประเทศไทย(รฟท.)จึงจะสามารถลงนามในสัญญากับบริษัทเอกชนที่ชนะการประกวดราคาได้ในเดือนธันวาคมเพื่อเริ่มต้นก่อสร้างต่อไป

นายอาคม กล่าวว่า สำหรับโครงการรถไฟไทย-จีน หรือรถไฟความเร็วสูง(ไฮสปีดเทรน) เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ยังไม่เข้า ครม.เช่นเดียวกัน คาดว่าจะนำเสนอได้ในสัปดาห์หน้า ซึ่งขณะนี้ก็เตรียมดำเนินการตามโปรแกรมที่วางไว้ คือ จะเริ่มลงมือก่อสร้าง ตอนที่ 1 ช่วงกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร(กม.) ในวันที่ 21 ธันวาคม 2560 นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 12/12/2017 7:32 pm    Post subject: Reply with quote

‘อาคม’ ลั่นธ.ค. นี้ ลงนามสัญญาเอกชนสร้างรถไฟทางคู่ 5 เส้น 9.58 หมื่นล้าน
ข่าวสดออนไลน์ วันที่ 12 ธันวาคม 2560 - 17:41 น.

นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมว.คมนาคม เปิดเผยว่า ความคืบหน้าการนำเสนอผลการประมูลโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่เฟสแรก จำนวน 5 เส้นทาง คือ 1. ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร 2. ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนนจิระ 3. ช่วงลพบุรี-ปากน้ำโพ 4. ช่วงนครปฐม-หัวหิน และ 5. ช่วงหัวหิน-ประจวบฯ รวมระยะทาง 668 กิโลเมตร มูลค่ารวม 9.58 หมื่นล้านบาท ขณะนี้กำลังรอความเห็นเพิ่มเติมจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง คาดคาดว่าจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาอนุมัติได้ในวันที่ 19 ธ.ค. โดยหลังจากครม. พิจารณาอนุมติแล้ว กระทรวงจะต้องหารือร่วมกับกระทรวงการคลังในฐานะเจ้าของเงินอีกครั้งเพื่อให้ยืนยันความถูกต้องของวงเงินมูลค่าโครงการโดยจะต้องมีการจัดทำความตกลงร่วมกันด้วย คาดว่าจะสามารถลงนามในสัญญากับผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลได้ภายในเดือนธ.ค. 2560 นี้

ส่วนโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน เส้นทางกทม.-โคราช ระยะทาง 252.5 กิโลเมตร วงเงิน 1.79 แสนล้านบาท นั้น คาดว่าวันที่ 19 ธ.ค. จะเสนอให้ครม. พิจารณาอนุมัติให้กรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างตอนแรก ระยะทาง 3.5 ก.ม. กลางดง-ปางอโศก วงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาท ส่วนกำหนดการเริ่มต้นโครงการก่อสร้างยังเป็นกำหนดเดิมคือวันที่ 21 ธ.ค. นี้ ซึ่งขณะนี้รอการตอบรับจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เดินทางมาเป็นประธานในพิธีเริ่มงานก่อสร้าง

นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงคมนาคม รักษาการผู้ว่าการการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) กล่าวถึงความคืบหน้าโครงการเปิดประมูล งานติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ รถไฟทางคู่ 5 เส้น ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 สัญญา คือ 1. ลพบุรี-ปากน้ำโพ เงิน 2.9 พันล้านบาท 2. มาบกระเบา-ชุมทางจิระ วงเงิน 2.5 พันล้านบาท และ 3. นครปฐม-ชุมพร วงเงิน 7.3 พันล้านบาท รวม 3 สัญญามีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 1.27 หมื่นล้านบาท ว่า รฟท. ได้ทำการว่าที่บริษัทที่ปรึกษาให้จัดทำร่างทีโออาร์เพื่อเปิดประมูล ซึ่งจะใช้รูปแบบแบบอินเตอร์บิด คาดว่าจะใช้เวลาในการร่างทีโออาร์ประมาณ 3 เดือน และสามารถเปิดประมูลได้ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561

ส่วนโครงการรถไฟไทยจีน นั้น ภายหลังจากที่ครม.อนุมัติ เห็นชอบให้กรมทางหลวงดำเนินการก่อสสร้างช่วงตอนที่ 1 แล้ว รฟท. จะต้องลงนามข้อตกลงร่วมกับกรมทางหลวงเพื่อดำเนินโครงการ ในวันที่ 20 ธ.ค. ก่อนที่จะเริ่มพิธีก่อสร้างจริงในวันที่ 21 ธ.ค.

นายอานนท์ กล่าวต่อถึงโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อมต่อ 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) ว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำข้อมูลเพิ่มเติม เนื่องจากบอร์ดรฟท. ขอให้รฟท. กลับไปจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยกับอัตราผลตอบแทนจากการพัฒนาที่ดินแปลงเอ บริเวณมักกะสัน ที่จะเปิดประมูลพ่วงไปกับรถไฟ 3 สนามบิน โดยบอร์ดมองว่ารฟท. น่าจะหาประโยชน์ได้มากกว่าแผนเดิมที่นำเสนอ คาดว่าจะนำเสนอรายละเอียดโครงการภายหลังการปรับปรุงให้บอร์ด รฟท. พิจารณาอนุมัติโครงการได้ในวันที่ 15 ธ.ค.นี้
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 13/12/2017 1:08 pm    Post subject: Reply with quote

เคลียร์ปมพื้นที่ทับซ้อนไฮสปีดเทรนจีนคร่อมบนสุด
ออนไลน์เมื่อ วันที่ 13 ธันวาคม 2560 - 01:51 น.
ตีพิมพ์ในประชาชาติธุรกิจ (ปีที่ 40 ฉบับที่ 5000 วันจันทร์ที่ 11 - วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560)

อยู่คนละชั้น - หลังพื้นที่เขตทางรถไฟไม่เพียงพอจะวางรางรถไฟความเร็วสูงทั้งของจีนและญี่ปุ่น เพราะทั้ง 2 ประเทศไม่ต้องการใช้รางร่วมกัน ล่าสุดมีความชัดเจนจะสร้างโครงสร้างสูง 3 ชั้นช่วงวัดเสมียนนารี-หลักหกเพื่อให้จีนและญี่ปุ่นอยู่คนละชั้น
คมนาคมเร่งเคลียร์ปมพื้นที่ทับซ้อนวางรางไฮสปีดเทรนสายเหนือ-อีสาน รัศมีสถานีวัดเสมียนนารี-หลักหก ระยะทาง 15 กม. เล็งขึ้นโครงสร้างยกระดับสูง 3 ชั้น แบ่ง “จีน-ญี่ปุ่น” อยู่คนละชั้น ส่วนช่วงหลักหก-บ้านภาชี เวนคืนที่ดินเพิ่ม ด้านกรมทางหลวงพร้อมสุด ๆ เนรมิตเฟสแรก 3.5 กม. รับดีเดย์ตอกเข็ม 21 ธ.ค.นี้

นายชัยวัฒน์ ทองคำคูณ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ” ว่า มีข้อสรุปเบื้องต้นการแก้ปัญหาพื้นที่เขตทางรถไฟไม่พอสำหรับก่อสร้างโครงการรถไฟความเร็วสูงระหว่างไทย-จีน (กรุงเทพฯ-นครราชสีมา) และไทย-ญี่ปุ่น (กรุงเทพฯ-พิษณุโลก) จะมีพื้นที่วางรางทับซ้อนกันช่วงสถานีบางซื่อ-ชุมทางบ้านภาชี รวมระยะทาง 81.8 กม. เนื่องจากทั้งจีนและญี่ปุ่นไม่ต้องการใช้รางร่วมกัน (แชร์แทร็ก) เนื่องจากรถไฟความเร็วสูงเป็นคนละระบบกัน แม้ที่ผ่านมากระทรวงคมนาคมมีข้อเสนอให้ใช้รางร่วมกับแอร์พอร์ตลิงก์ส่วนต่อขยายพญาไท-ดอนเมืองแล้วก็ตาม

“พิจารณาแล้ว พื้นที่จะแน่นช่วงสถานีวัดเสมียนนารีถึงสถานีหลักหก มีระยะทางประมาณ 15 กม. วิธีการคือจะสร้างโครงสร้างยกระดับเหมือนโครงสร้างทางด่วนสูง 3 ชั้น แบ่งให้ระบบรถไฟความเร็วสูงของจีนและระบบชินคันเซ็นของญี่ปุ่นอยู่คนละชั้น ให้ระบบจีนอยู่ชั้นบนสุดเพราะสร้างก่อน ส่วนชั้น 2 เป็นระบบชินคันเซ็นของญี่ปุ่น และด้านล่างระดับพื้นที่ดินจะเป็นรถไฟสายสีแดงและรถไฟทางไกล ซึ่งจะทำให้ต้นทุนก่อสร้างเพิ่มขึ้น ซึ่งการรถไฟฯจะต้องไปทำรายละเอียดถึงจะสรุปวงเงินที่เพิ่มขึ้นได้”

รายงานข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับวงเงินก่อสร้างที่เพิ่มขึ้นนี้จะเป็นของโครงการที่ก่อสร้างภายหลัง ซึ่งขณะนี้รถไฟไทย-จีนมีความชัดเจนจะเริ่มก่อสร้างวันที่ 21 ธ.ค.นี้ ฉะนั้นไม่ต้องรับภาระค่าก่อสร้างที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นวงเงินที่เพิ่มขึ้นจะต้องไปรวมอยู่กับรถไฟไทย-ญี่ปุ่น เนื่องจากก่อสร้างภายหลัง

“ส่วนพื้นที่ทับซ้อนจากสถานีหลักหกไปถึงภาชี จะต้องมีการเวนคืนที่ดินเพิ่ม เพื่อให้ทั้ง 2 โครงการสร้างแยกรางกันได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับนโยบายของผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ขณะนี้ยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน”

นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง (ทล.) เปิดเผยว่า ขณะนี้รอการส่งมอบพื้นที่จากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อสร้างรถไฟไทย-จีนเฟสแรก สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. คาดว่าไม่เกินวันที่ 15 ธ.ค.นี้ กรมจะเข้าพื้นที่ก่อสร้างได้ ขณะนี้ก็เริ่มทยอยนำเครื่องจักรเข้าไปในพื้นที่แล้ว คาดว่าจะใช้เวลาสร้าง 6 เดือน หรือแล้วเสร็จในเดือน มิ.ย. 2561 เนื่องจากเป็นงานก่อสร้างคันดินอย่างเดียว ยังไม่เกี่ยวกับงานวางรางจึงใช้เวลาไม่มาก

สำหรับวัสดุก่อสร้างที่ใช้ส่วนใหญ่ใช้ในประเทศเป็นหลัก ยกเว้นแผ่นเจลเหล็กที่จะต้องนำเข้าจากจีน เนื่องจากใช้ระบบรถไฟของจีน แต่สัดส่วนไม่มาก และราคาไม่แพง เฉลี่ย 120 บาท/ตร.ม. รวม 3.5 กม. คิดเป็นวงเงินประมาณ 12 ล้านบาท

อนึ่ง รถไฟไทย-จีน มีระยะทางรวม 253 กม. เงินลงทุน 179,413 ล้านบาท แบ่งก่อสร้าง 4 เฟส ได้แก่ ช่วงที่1 สถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กม. ช่วงที่ 2 ปากช่อง-คลองขนานจิตร 11 กม. ช่วงที่ 3 แก่งคอย-นครราชสีมา 119.5 กม. และช่วงที่ 4 กรุงเทพฯ-แก่งคอย 119.5 กม. โดยจีนจะทยอยส่งแบบรายละเอียดช่วงที่ 2-4 ภายใน ธ.ค.นี้เป็นต้นไป เพื่อให้ ร.ฟ.ท.ทยอยเปิดประมูลแบบอีบิดดิ้ง วงเงินรวม 122,593.92 ล้านบาท แบ่ง 14 สัญญา ๆ ละ 8,000-10,000 ล้านบาท เปิดให้ผู้รับเหมาไทยทั้งงานถนน อุโมงค์และรถไฟฟ้า เข้าร่วมประมูลได้ทุกสัญญา คาดว่าจะได้ผู้รับเหมาครบปลายปี 2561 ใช้เวลาสร้าง 4 ปี เปิดบริการปี 2564


Wisarut wrote:
วันนี้อ่านข่าวประชาชาติธุรกิจ (ปีที่ 40 ฉบับที่ 5000 วันจันทร์ที่ 11 - วันพุธที่ 13 ธันวาคม 2560)
ได้ความว่า คมนาคมสั่งเคลียร์ปม เรื่องทางรถไฟความไวสูง ไทย-จีน และ ไทย - ญี่ปุ่น ที่ทับซ้อนกันจากสถานีกลางบางซื่อไปบ้านภาชีระยะทาง 82.8 กิโลเมตร โดยเฉพาะอย่างยิ่งทางช่วงตั้งแต่วัดเสมียนนารี ถึงหลักหก ระยะทาง 15 กิโลเมตรที่ค่าเวนคืนสูงเหลือเกิน ดั่งนี้

1. ช่วงสถานีวัดเสมียนนารี ถึงหลักหก ระยะทาง 15 กิโลเมตร ให้ใช้โครงสร้างร่วมกัน โดยรถไฟไทย - ญี่ปุ่น (สถานีกลางบางซื่อ - พิษณุโลก) อยู่ชั้น 2 ส่วนรถไฟไทย - จีน (สถานีกลางบางซื่อ - นครรราชสีมา) อยู่ชั้น 3 - ส่วน ชั้น 1 เป็นรถไฟฟ้าสายสีแดงและ รถไฟระหว่างเมือง ที่กำลังก่อสร้างอยู่

2. รฟท. ต้องสรุปเรื่องวงเงินที่ต้องจ่ายเพิ่ม เนื่องจากความจำเป็นในการนี้ ซึ่งจะต้องรวมในค่าใช้จ่ายสำหรับ การก่อสร้างทางถรไฟไทย - ญี่ปุ่น

3. ช่วงสถานีหลักหก ถึงบ้านภาชี นั้นให้เวนคืนที่ดินรถไฟเพิ่มเพื่อการนี้ แต่ยังไม่สรุปออกมาให้แน่ชัดว่าจะเวนคืนเท่าไหร่จึงจะพอมือ

ในขณะเดียวกัน ทางรถไฟไทย - จีนช่วง 3.5 กิโลเมตรแรกที่ กลางดง - ปางอโศก กรมทางหลวงจะเข้าพื้นที่ ภายในวันที่ 15 ธันวาคม 2560 เพื่อเริ่มพิธี การสร้างรถไฟไทย - จีน เมื่อ 21 ธันวาคม 2560 ใช้เวลา 6 เดือนทำงานให้เสร็จ โดยเน้นงานดินอย่างเดียวก่อน หมายว่าจะเสร็จมิถุนายน 2561 วัตถุุดิบวส่วยนใหญ่ใช้ในประเทศยกเว้น เจลและเหล้ก ที่ต้องสั่งจีนแดงเข้ามาราคา ตารางเมตรละ 120 บาท คิดเป็นเงิน 12 ล้านบาท -

จากนั้น จะเริ่มการก่อสร้างรถไฟไทย-จีน 4 เฟส โดยจะได้รับแบบก่อสร้าง ธั้นวาคม 2560
เมื่อรับแบบแล้วก็เริ่มเปิดประมูลผู้รับเหมา 14 สัญญา คิอสัญญาละ 8000 - 10000 ล้านยาท วงเงินรวม 122,593.92 ล้านบาท จากมูลค่าโครงการทั้งหมด 179ม413 ล้านบาทโดยทั้ง 4 เฟสประกอบด้วย

1. กลางดง - ปางอโศก 3.5 กิโลเมตร
2. ปากช่อง - คลองขนานจิตร 11 กิโลเมตร
3. แก่งคอย - นครราชสีมา 119.5 กิโลเมตร
4. สถานีกลางบางซื่อ - แก่งคอย 119.5 กิโลเมตร

หมายใจว่าจะได้ผู้รับเหมา ครบปลายปี 2461 เร่้งการก่อสร้าง 4 ปี จนเปิดให้บริการ ปลายปี 2464
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2017 1:25 am    Post subject: Reply with quote

วันนี้อ่านสยามธุรกิจ ปีที่ 23 ฉบับที่ 1669 9-15 ธันวาคม 2560 แล้วเจอข่าวพาดหัว เรื่องตอกเสาเข็มไฮสปีดเทรน [สายกรุงเทพ - โคราช มูลค่า 179.412.21 ล้่านบาท] ที่พูดถึงการเริ่มการก่อสร้างทาง (งานดิน) ช่วงแรก 3.5 กิโลเมตร จากกลางดงไปปางอโศก มูลค่า 425 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่ม เมื่อ 21 ธันวาคม 2560 นั้นต้องมีการย้ายรางไป 700 เมตร ส่วนวิสดุนำเข้านั้น เป็นวัสดุแผ่นใยสังเคราะห์สำหรับงานดิน ที่เรียกว่า Geo Textile ซึ่งเรายังทำเองไม่ได้ นอกนั้น เอาของไทยหมด

นอกจากนี้ ทำให้ทราบอัตราค่าโดยสารว่า จากสถานีกลางบางซื่อไปอยุธยา ก็ 195 บาท จากสถานีกลางบางซื่อไปสระบุรีแถวห้างโรบินสันสระบุรี ก็ 278 บาท จากสถานีกลางบางซื่อไปปากช่อง ก็ 393 บาท และ จากสถานีกลางบางซื่อไปนครราชสีมา ก็ 535 บาท และ ราคาที่ดินเมืองโคราช กรุงเก่า และปากช่องก็ปั่นเป็นลูกข่างเลยทีเดียว เพราะ 'ช้าง - อิออน' บุกโคราช แถมแสนสิริก็ลุยอยุธยาที่ไม่เคยเข้ามาก่อน ด้วย
Back to top
View user's profile Send private message
Wisarut
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 27/03/2006
Posts: 42623
Location: NECTEC

PostPosted: 14/12/2017 1:31 am    Post subject: Reply with quote

สุดล้ำ!! นวัตกรรมรถไฟความเร็วสูง จากจีนสู่ไทย
โดย: MGR Online
เผยแพร่: 13 ธันวาคม 2560 13:54:00

ไทยกับจีนมีความผูกพันและติดต่อกันมาอย่างยาวนาน มีการติดต่อค้าขายกันโดยตลอด และมีชาวจีนจำนวนไม่น้อยที่เข้ามาตั้งรกรากอยู่ในประเทศไทย กระทั่งมีคำกล่าวว่า“ไทยจีนใช่อื่นไกล พี่น้องกัน”ปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน ได้พัฒนาเป็นรูปธรรมมากขึ้นในหลายๆ ด้าน แม้จะมีระบบการปกครองแตกต่างกัน และในอนาคตประเทศไทยก็จะมีรถไฟความเร็วสูงที่ใช้นวัตกรรมสุดล้ำจากจีนมาให้บริการในประทศไทย โดยเริ่มจากกรุงเทพฯ ไปจังหวัดนครราชสีมาเป็นสายแรก

ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน - 2 ธันวาคม 2560 ที่ผ่านมา คณะผู้แทนสื่อมวลชนไทยในนามของสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน นำโดยนายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะนายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน เดินทางไปยังสาธารณรัฐประชานจีนเพื่อศึกษาดูงานรถไฟความเร็วสูง ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน และ สำนักข่าวซินหัว เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมือระหว่างจีนกับไทย เยี่ยมชมโรงงานรถไฟความเร็วสูงของประเทศจีนแบบเอ็กซ์คลูซีฟ

เยี่ยมชมฐานการผลิตและวิจัยของบริษัท CRRC QINGDAO SIFANG CO., LTD. ซึ่งเป็นบริษัทรัฐวิสาหกิจของจีนในเขต Chengyang ของเมืองชิงเต่า ชมกระบวนการออกแบบและการผลิตของอุตสาหกรรมรถไฟความเร็วสูงที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน ขบวนรถมีอุปกรณ์การขนส่งทางรถไฟที่สมบูรณ์แบบและทันสมัย ซึ่งจีนจัดเป็นประเทศอันดับแรกของโลกนับตั้งแต่ศตวรรษ 1990 - นักข่าวสยามธุรกิจก็ร่วมวงด้วย ดูจากรายงานพิเศษ ชิงเตาเมืองรถไฟความเร็วสูง

จีนเริ่มมีการศึกษาวิจัยเทคโนโลยีรถไฟความเร็วสูงที่มีการพัฒนารถไฟความเร็วสูงบนพื้นฐานของงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ แม้ในเขตที่มีสภาพทางภูมิศาสตร์อันสลับซับซ้อน รวมถึงภูมิอากาศที่แตกต่างในแต่ละพื้นที่ สะสมเทคโนโลยีควบคู่กับการศึกษาเรียนรู้จากรถไฟที่ทันสมัยทั่วโลก พร้อมกับการสร้างนวัตกรรมด้วยตนเอง โดยยึดหลักสภาพความเป็นจริงของชาติ จึงได้พัฒนารถไฟความเร็วสูงที่สมบูรณ์แบบ วิจัยและผลิตอุปกรณ์ ระบบความปลอดภัย การโยธาก่อสร้างและการบริหารดำเนินการ ต่างก็อยู่ในระดับแนวหน้าของโลก

งานวิจัยและผลิตของการรถไฟความเร็วสูงของจีนสามารถตอบสนองทั้งด้านความเร็ว ประหยัดทั้งทางด้านต้นทุนและเวลา รวมถึงด้านโลจิสติกส์ ตอบโจทย์ทุกความต้องการของผู้บริโภค และในอนาคต ทางบริษัทฯ ก็จะมีการพัฒนาระบบความเร็วให้เร็วยิ่งขึ้นไปอีกจนถึง 600 km/h อีกด้วย

นายชัยวัฒน์ วนิชวัฒนะ นายกสมาคมผู้สื่อข่าวไทย-จีน เผยถึงวัตถุประสงค์ของโครงการในครั้งนี้ว่า ต้องการจะเสริมสร้างให้นักข่าวไทยได้รู้จักประเทศจีนมากยิ่งขึ้น เพราะที่ผ่านมา คนไทยใกล้ชิดกับคนจีนมาก แต่ถ้าถามถึงนักข่าวไทยรู้จักเรื่องของจีนนั้นถือว่ายังน้อยมาก เป็นเพราะว่าสื่อไทยรับข้อมูลผ่านสื่อตะวันตกเป็นหลัก และอุปสรรคอีกข้อหนึ่งก็คือเรื่องภาษา

“การที่ตั้งสมาคมขึ้นมา เพราะว่ามีการจัดกิจกรรมเพื่อดึงดูดให้นักข่าวไทยได้รู้จักกิจกรรมที่เกี่ยวกับเมืองจีน เช่น เวลามีประเด็นสำคัญๆ ก็จะจัดงานสัมมนา ในช่วงสองปีก่อน ครบรอบ 40 ปี ความสัมพันธ์ไทย-จีน ก็จัดสัมมนาใหญ่ซึ่งมีทุกปีและในระหว่างปีก็มีกิจกรรมเล็กเป็นเสวนาโต๊ะกลม เช่น เสวนาโต๊ะกลมเกี่ยวกับเรื่องการท่องเที่ยวระหว่างไทย-จีน เพราะว่าสองปีที่ผ่านมา มีประเด็นเรื่องทัวร์ 0 เหรียญ ในขณะที่นักท่องเที่ยวจีนเข้าไทยมาเป็นอันดับ 1 จึงให้ความสำคัญหยิบประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุย

“ในส่วนของนักข่าว ปัจจุบันสมาคมฯ มีสมาชิกอยู่ 100 คน เราไม่ได้เน้นปริมาณมาก ซึ่งใน 100 คน มีสมาชิกจีนอยู่ประมาณ 30% ที่เหลือนอกนั้นเป็นนักข่าวไทยจากหลากหลายสาขา มีทั้งทีวี วิทยุ หนังสือพิมพ์รายวัน แม็กกาซีน หรือออนไลน์ ถามว่าครบทุกสื่อเลยไหม? ตอบว่ายัง แต่ว่าสื่อหลักๆ ตอนนี้ก็เข้ามาเป็นสมาชิกซึ่งสมาคมฯ ได้ก่อตั้งมาแล้ว 3 ปี โดยเริ่มจากปี 2014

“สำหรับการมาเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถไฟความเร็วสูงในครั้งนี้ ผมได้เห็นเรื่องการพัฒนาการขนส่งของจีนดีมากและรวดเร็วมากจากในอดีต ตอนนี้ก็ถือว่าจีนเป็นเบอร์ 1 ของเรื่อง High speed และเป็นที่ยอมรับจากทั่วโลก ในอดีตคือญี่ปุ่น แต่เดี๋ยวนี้ถือว่าจีนแซงหน้าไปไกลแล้ว ต้องเรียกว่าเป็นความคาดหวังของหลายๆ ประเทศ ที่จะใช้ไปในเรื่องการพัฒนาระบบการขนส่ง เพราะเดี๋ยวนี้หลายประเทศไปพัฒนาการขนส่งทางด้านรถยนต์

“ในขณะที่จีนพัฒนาการขนส่งทางด้านราง ทางด้านรถยนต์ ปัญหาก็คือการจราจรทุกเมืองใหญ่่เจอปัญหาหมด การขนส่งทางราง เป็นการแก้ปัญหาได้ส่วนหนึ่ง เมื่อจีนสามารถพัฒนาเรื่องความเร็วได้และสามารถลดต้นทุนได้ เชื่อว่าจะตอบโจทย์ได้ระดับหนึ่ง แต่ในขณะเดียวกันไม่ได้เป็นการแก้ปัญหาในประเทศเท่านั้น แต่จะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างประเทศ โดยเฉพาะเรื่องของ“อิ๊ไตอิ๊ลู่” One Belt One Roadหรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เป็นการขายความคิดในการเชื่อมโยงการขนส่งคมนาคมระหว่างประเทศ เมื่อนำเรื่องนี้มาใช้ร่วมกัน จึงกลายเป็นที่ยอมรับของนานาประเทศ ซึ่งผมก็อยากจะนั่งรถไฟจากไทยมาถึงจีนเช่นกัน

“ส่วนโครงการจัดสัมมนา“อิ๊ไตอิ๊ลู่่” One Belt One Road หรือหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง วัตถุประสงค์หลักเพื่อเป็นการสร้างความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจระหว่างไทย-จีน ทางสมาคมฯ มีแผนจะจัดเป็นงานนิทรรศการและสัมมนาใหญ่เกี่ยวกับเรื่องนี้ เพื่อสร้างความเข้าใจและให้เห็นภาพที่ชัดเจน โดยมีเรื่องรถไฟความเร็วสูงเป็นส่วนหนึ่งของนิทรรศการ เพราะค่อนข้างเป็นรูปธรรมของการเชื่อมโยงภูมิภาค อย่างเร็วคือกลางปีหน้่าซึ่งอาจยังต้องรอดูความพร้อมและความชัดเจนอีกทีครับ”

ทางด้าน “จาง เฉิง” (ZHANG CHENG)รองผู้อำนวยการแผนกการเมือง สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีนประจำประเทศไทย กล่าวถึงวัตถุประสงค์ในการเป็นเจ้าภาพเชิญสื่อมาวลชนมาประเทศจีนในครั้งนี้ว่า อยากจะส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกันระหว่างประชาชนของทั้งสองประเทศ ในขณะเดียวกันก็อยากจะให้พี่น้องประชาชนชาวไทยมีความรู้จักกับรถไฟความเร็วสูงจีนมากยิ่งขึ้น

ในขณะที่ “Ding Lei”Analyst ของสำนักข่าวชินหัว Xinhua News Agency กล่าวว่า “แผนกของฉันคือ Xinhua Silk Road ซึ่งเน้นที่ Belt and Road Initiative การเดินทางครั้งนี้ซึ่งจัดโดยสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย, สมาคมผู้สื่อข่าวไทย - จีน และ “Silk Road” ซินหัวภายใต้สำนักข่าวซินหัวได้ให้ความร่วมมือกัน นี่เป็นครั้งแรกที่ฉันไปเยี่ยมชมโรงงานผลิตรถไฟความเร็วสูง ฉันได้ใช้รถไฟความเร็วสูงนับไม่ถ้วน แต่ครั้งนี้ต่างออกไปเป็นการเยี่ยมชมโรงงาน ทำให้รู้สึกประทับใจกับเทคโนโลยีและรู้สึกเป็นความภาคภูมิใจของจีน และยินดีที่ได้ต้อนรับทุกคนค่ะ”


นอกจากคณะผู้แทนสื่อมวลชนไทยได้เยี่ยมโรงงานผลิตรถไฟความเร็วสูงของบริษัท CRRC QINGDAO SIFANG CO., LTD. โดยได้รับเกียรติในการการต้อนรับจาก Mr. Gong Ruiming รองผู้จัดการทั่วไปฝ่ายธุรกิจในต่างประเทศ ของบริษัทฯ ที่เมืองชิงเต่าแล้ว ในระหว่างที่อยู่ปักกิ่งก่อนที่จะเดินทางโดยรถไฟความเร็วสูงมาเมืองชิงเต่านั้น คณะผู้แทนสื่อมวลชนยังได้มีโอกาสเยี่ยมชมหน่วยงานสำคัญๆ ของจีน เช่น สำนักงานของสำนักข่าวชินหัว Xinhua News Agency และ สถานีโทรทัศน์ CCTV รวมทั้งศูนย์ช่วยเหลือฉุกเฉินของศูนย์กาชาดสากลปักกิ่ง (999) โดยความร่วมมือของสถานเอกอัครราชทูตจีนประจำประเทศไทย สมาคมผู้สื่อข่าวไทย - จีน และ สำนักข่าวซินหัว Xinhua News Agency เพื่อส่งเสริมการแลกเปลี่ยนและความร่วมมืออันดีระหว่างจีนและไทยเพิ่มมากขึ้น

ภาพที่เหลือดูจากที่นี่ก็ได้
https://www.facebook.com/EsarnPenTaHug/posts/2015970845341992
Back to top
View user's profile Send private message
Mongwin
1st Class Pass (Air)
1st Class Pass (Air)


Joined: 24/09/2007
Posts: 44320
Location: ทางรถไฟสายสุพรรณบุรี สายสงขลา

PostPosted: 14/12/2017 9:13 am    Post subject: Reply with quote

เร่ง 3 โปรเจกต์ยักษ์ดันลงทุน
โพสต์ทูเดย์ 14 ธันวาคม 2560 เวลา 08:34 น.

"สมคิด" ดัน 3 โครงการใหญ่รอนายกฯ เคาะ เปิดทางสายการบินต่างชาติลงทุนอีอีซี

นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ในช่วง 2 สัปดาห์ที่เหลือของปี 2560 จะเร่งขับเคลื่อนโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้เกิดการลงทุนไปถึงปี 2561 ประกอบไปด้วย

1.โครงการรถไฟความเร็วสูงความร่วมมือไทย-จีน เส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย ช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ-นครราชสีมา เริ่มเฟสแรกช่วงสถานีกลางดง-ปางอโศก ระยะทาง 3.5 กิโลเมตร (กม.) วงเงินก่อสร้าง 425 ล้านบาท ซึ่งมอบหมายให้กรมทางหลวง เป็นผู้ดำเนินการก่อสร้างงานโยธาเอง และไม่ต้องใช้วิธีการประมูลโดยจะเสนอให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ในวันที่ 19 ธ.ค.เพื่อพิจารณาเห็นชอบ

2.โครงการศูนย์ซ่อมบำรุงอากาศยาน ที่ท่าอากาศยานนานาชาติอู่ตะเภาเพื่อสนับสนุนโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) โดยในวันที่ 15 ธ.ค.จะมีการลงนามความร่วมมือระหว่างบริษัท การบินไทย และบริษัท แอร์บัส เพื่อพัฒนาโครงการศูนย์ซ่อมฯ ดังกล่าว ซึ่งการลงนามครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นการพัฒนาธุรกิจการบินและศูนย์ซ่อมอากาศยานในพื้นที่ อีอีซีเพื่อสนับสนุนนโยบายการเป็นเมืองศูนย์กลางทางการบินของไทย

อย่างไรก็ตาม นอกจากบริษัท แอร์บัส แล้วยังมีภาคเอกชนที่สนใจที่จะเข้ามาลงทุนในอีอีซี ซึ่งเป็นบริษัทเอกชนรายใหญ่รายอื่นๆ เช่น สายการบินแอร์เอเชีย และสายการบินลุฟต์ฮันซา (Lufthansa) ที่ให้ความสนใจเข้ามาลงทุน โดยรัฐบาลสนับสนุนทุกสายการบินที่จะเข้ามาขยายกิจการในไทยทั้งในด้านของเส้นทางการบิน รวมถึงศูนย์ซ่อมอากาศยานเพื่อส่งเสริมนโยบายการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาค แต่ภาคเอกชนที่จะเข้ามาลงทุนในไทยจะต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจนว่าจะเข้ามาช่วยส่งเสริมการท่องเที่ยวและพัฒนาอุตสาหกรรมการบินในประเทศไทยได้อย่างไรบ้าง

3.โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เฟสแรก 5 เส้นทางระยะทาง 702 กิโลเมตร วงเงิน 9. 58 หมื่นล้านบาท ได้แก่ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ หัวหิน-ประจวบคีรีขันธ์ โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ เส้นทางนครปฐมหัวหิน โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงประจวบคีรีขันธ์-ชุมพร โครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ ช่วงมาบกะเบา-ชุมทางถนน จิระ 3 สัญญา ระยะทางรวม 136 กม. และโครงการก่อสร้างรถไฟทางคู่ช่วงลพบุรี- ปากน้ำโพ 2 สัญญา เตรียมจะเสนอเข้าสู่ที่ประชุม ครม.ในวันที่ 19 ธ.ค. เพื่อรายงานผลการประมูลโครงการให้ ครม.รับทราบ

ทั้งนี้ เมื่อโครงการผ่านความเห็นชอบของ ครม.แล้ว ได้สั่งการให้ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) นัดหมายกับเอกชนผู้รับเหมาที่ชนะการประมูลในโครงการต่างๆ ให้มาประชุมรับฟังข้อมูลและลงนามในสัญญาให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้

"ปีหน้าซึ่งเป็นปีที่จะดูแลเศรษฐกิจในระดับฐานรากให้มากขึ้น โดย 2 สัปดาห์ที่เหลือของปีนี้ ผมจะเร่งโครงการสำคัญๆ ที่ต้องการให้มีแรงส่งไปถึง โดยโครงการรถไฟทางคู่ 5 เส้นทางที่จะเข้า ครม.ถือว่าเป็นโครงการที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจมาก หลังจากผ่าน ครม.ในสัปดาห์หน้าจะเร่งประสานกับ รฟท.ให้จัดประชุมและลงนามกับเอกชนเลย ซึ่งจะเป็นการปิดฉากโครงการลงทุนสำคัญในปี 2560 ขณะที่ในปี 2561 ก็เดินหน้าตามแผนงานที่วางไว้" นายสมคิด กล่าว

ด้าน นายอานนท์ เหลืองบริบูรณ์ รองอธิบดีกรมทางหลวงในฐานะรักษาการ ผู้ว่าการ (รฟท.) กล่าวว่า รฟท.ได้รับนโยบายจากนายสมคิด ในประเด็นการเร่งรัดการลงนามกับภาคเอกชนในสัญญารถไฟทางคู่ทั้ง 5 เส้นทางไปดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้ โดยหลังจากดำเนินการได้ตามระยะเวลาดังกล่าวจะส่งผลให้การเบิกจ่ายงบประมาณโครงการเป็นไปอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายของรัฐบาลที่ต้องการให้การเบิกจ่ายงบประมาณเป็นไปตามแผนที่วางไว้ โดยประเมินว่าในปี 2561 จะมี เม็ดเงินที่เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจจากโครงการ ดังกล่าวไม่ต่ำกว่า 6,000-7,000 ล้านบาท
Back to top
View user's profile Send private message Visit poster's website
Display posts from previous:   
Reply to topic    Rotfaithai.Com Forum Index -> ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับรถไฟไทย All times are GMT + 7 Hours
Goto page Previous  1, 2, 3 ... 241, 242, 243 ... 542, 543, 544  Next
Page 242 of 544

 

Share |

Jump to:  
You cannot post new topics in this forum
You cannot reply to topics in this forum
You cannot edit your posts in this forum
You cannot delete your posts in this forum
You cannot vote in polls in this forum

Powered by phpBB © 2001, 2005 phpBB Group


Forums ©